• หุ้นยังลงได้อีก โยก LTF เป็น Thai ESGX คุ้มมั้ย? : คนเคาะข่าว 05-05-68
    : ประกิต สิริวัฒนเกตุ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอ
    ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์

    #คนเคาะข่าว #หุ้นไทย #LTF #ThaiESGX #กองทุนรวม #ลงทุนยั่งยืน #วิเคราะห์หุ้น #ภาษีและการลงทุน #ตลาดทุนไทย #ESGลงทุน #ประกิตสิริวัฒนเกตุ #นงวดีถนิมมาลย์ #ข่าวเศรษฐกิจ #กองทุนไทย #thaitimes #ลงทุนระยะยาว
    หุ้นยังลงได้อีก โยก LTF เป็น Thai ESGX คุ้มมั้ย? : คนเคาะข่าว 05-05-68 : ประกิต สิริวัฒนเกตุ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอ ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์ #คนเคาะข่าว #หุ้นไทย #LTF #ThaiESGX #กองทุนรวม #ลงทุนยั่งยืน #วิเคราะห์หุ้น #ภาษีและการลงทุน #ตลาดทุนไทย #ESGลงทุน #ประกิตสิริวัฒนเกตุ #นงวดีถนิมมาลย์ #ข่าวเศรษฐกิจ #กองทุนไทย #thaitimes #ลงทุนระยะยาว
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 113 มุมมอง 1 0 รีวิว
  • รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 13 ความสำคัญของการมีเงินออม
    .
    การเปลี่ยนการออมเป็นการลงทุนที่ชาญฉลาดและได้รับผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจจนอาจเรียกได้ว่า “เงินทำงานรับใช้” นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายดังพูด มีหลายประเด็นดังต่อไปนี้ที่ควรใคร่ครวญ
    .
    บ่อยครั้งที่เงินออมของเรามีไม่เพียงพอ จึงต้องกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่าดอกเบี้ยเงินกู้ บางครั้งการกู้ยืมและผ่อนชำระก็ถือได้ว่าเป็นเงินออมอย่างหนึ่งดังกรณีของบ้านและรถยนต์ บ้านเป็นสิ่งที่ให้คุณค่าในการอยู่อาศัย การผ่อนชำระหนี้บ้านทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน และเกิดความหวังว่าจะได้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย มีความรู้สึกว่าเป็นอิสระเพราะไม่ต้องพึ่งพิงคนอื่น ส่วนรถยนต์เป็นสิ่งสร้างความสะดวกสะบายที่ช่วยลดโสหุ้ยในเรื่องเวลาและการเดินทาง
    .
    อย่างไรก็ดี มีความเสี่ยงอยุ่ไม่น้อยในการกู้และผ่อนชำระจนครบ หรือพูดอีกอย่างนึงว่า กว่าจะออมจนประสบผลสำเร็จสามารถมีบ้านเป็นของตนเอง ข้อเท็จจริงหนึ่งที่สำคัญเมื่อกู้ยืมและผ่อนชำระบ้านหรือรถยนต์หรือโรงงานก็คือ แท้จริงแล้วทรัพย์สินเหล่านี้ยังไม่ใช่ของผู้กู้ตามกฏหมาย เนื่องจากโฉนดและเอกสารแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของยังมิได้ระบุตนเองเป็นเจ้าของ ซึ่งความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้ผ่อนชำระครบแล้วเท่านั้น ข้อเท็จจริงนี้ผู้กู้จะต้องตระหนักอยู่เสมอ จะได้มีพฤติกรรมอันเหมาะสมในการใช้จ่ายเงินในระหว่างที่เป็นหนี้
    .
    ความไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินอย่างแท้จริงดังกล่าว เป็นความเสี่ยงที่ผู้กู้ควรตระหนัก เพราะ “อุบัติเหตุ” หลายประการดังต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงเวลาของการกู้ยืม โดยเฉพาะการกู้ยืมที่มีระยะเวลายาวนาน นั่นก็คือ (1) รายจ่ายของครอบครัวอาจสูงขึ้นอย่างไม่คาดคิดอ้นเนื่องมาจากความเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว หรือมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หรือมีภาระผูกพันทางการเงินเพิ่มขึ้นอีก (2) รายได้ไม่ได้เพิ่มขึ้นดังที่หวังไว้ แต่อาจลดลงเพราะตกงานหรือเปลี่ยนงาน หรือสภาวะเศรษฐกิจผันผวนจนทำให้ธุรกิจที่เคยรุ่งโรจน์ซบเซา หรือธุรกิจต้องการเงินลงทุนเพิ่มขึ้น (3) อัตราดอกเบี้ยอาจสูงขึ้นในช่วงเวลาต่อมาจนต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนด้วยเงินก้อนใหญ่ขึ้น
    .
    อุทาหรณ์ในเรื่องนี้ก็คือ ก่อนการกู้ยืมควรใคร่ครวญให้รอบคอบและเลือกผ่อนซื้อสิ่งที่มีมูลค่าสอดคล้องกับฐานะของตนเองอย่างแท้จริงเท่านั้น มีข้อแนะนำว่าเพื่อความปลอดภัยจาก “อุบัติเหตุ” ดังกล่าว จึงไม่ควรกู้เงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งมีมูลค่าสูงเกินกว่าหนึ่งเท่าของรายได้ครัวเรือนในหนึ่งปี
    .
    เมื่อมีเงินออมและจะนำไปลงทุน มีข้อเท็จจริงหลายประการที่ควรทราบ ดังนี้
    (1) การลงทุนบางอย่างไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระหว่างที่ถือครองอยู่ แต่อาจมีมูลค่าสูงเมื่อเลิกการถือครองแล้วก็เป็นได้เช่น ทองคำ ที่ดิน เพชรนิลจินดา ของเก่ามีค่า เป็นต้น สิ่งที่ต้องยอมสละไประหว่างการถือครองก็คือดอกเบี้ย เงินปันผล หรือผลตอบแทนรูปอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเงินจำนวนเดียวกันนี้ไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือการลงทุนอย่างอื่น นอกจากนี้เจ้าของเองอาจไม่มีโอกาสได้เก็บเกี่ยวดอกผลจากมูลค่าที่สูงขึ้นเพราะเสียชีวิตไปก่อนก็เป็นได้
    (2) การลงทุนบางอย่างได้รับผลตอบแทนระหว่างที่ครอง แต่อาจมีมูลค่าไม่สูงดังคาดหวังเมื่อจบสิ้นช่วงเวลาหนึ่งก็เป็นได้ เช่น หุ้น บ้านหรืออพาร์ตเมนต์หรือคอนโดมิเนียมให้เช่า อย่างไรก็ดีแม้ผลตอบแทนจากการถือครองอาจไม่สูงนัก แต่ก็สามารถนำไปลงทุนต่อเพื่อให้เกิดเงิน “ชั้นลูกชั้นหลาน” ขึ้นมาได้
    (3) ความเสี่ยงในการลงทุนไม่เท่ากันระหว่างประเภทของการลงทุน เช่น หุ้นกับพันธบัตร หรือที่ดินกับกองทุนรวม ฯลฯ ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของการเกิดผลตอบแทนนั้นแตกต่างกัน นอกจากนี้ความเสี่ยงจากการลงทุนในประเภทเดียวกันของการลงทุนแต่ละอย่างก็แตกต่างกันอีกด้วย เช่น การลงทุนซื้อหุ้นธนาคาร ก. อาจมีความเสี่ยงมากกว่าธนาคาร ข. อาจเนื่องมาจากธนาคาร ข. มีระบบการบริการงานที่มีประสิทธิภาพกว่า และมีธรรมาภิบาลสูงกว่าก็เป็นได้
    (4) ในการตัดสินใจว่าร่วมลงทุนในกิจการใด ไม่ว่าในรูปของการลงทุนร่วมประกอบการ SME’s หรือซื้อหุ้นโดยตรง พึงพิจารณาคุณภาพของการบริหารกิจการนั้นเป็นสำคัญระวังการหลงติดกับภาพลักษณ์และการโฆษณาชวนเชื่อให้ร่วมลงทุน การบริหารที่มีคุณภาพสูงประกอบด้วยผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ มีประวัติดี มีคุณธรรม มีประวัติของความสำเร็จ มีทีมงานที่แข็งขันสนับสนุนกิจการ มีนโยบายและการปฏิบัติอย่างจริงจังในเรื่องธรรมาภิบาลอย่างเป็นที่ประจักษ์
    (5) คำพูดที่ว่า “เสี่ยงสูง – ผลตอบแทนสูง” นั้นหมายถึงว่า เมื่อผู้ลงทุนคาดหวังผลตอบแทนที่สูง ก็จำเป็นต้องลงทุนในกิจการที่มีความเสี่ยงสูงเป็นธรรมดา มิได้หมายความว่าถ้ากิจการมีความเสี่ยงสูงแล้วจะได้รับผลตอบแทนสูงเสมอไป
    .
    เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องการลงทุนเป็นเช่นนี้ จึงสมควรใช้เงินออมไปลงทุนในหลากหลายประเภทและหลากหลายหน่วยธุรกิจ เพราะความผันผวนในทางลบจากการลงทุนหนึ่งอาจถูกคานไว้ด้วยความผันผวนในด้านบวกจากอีกการลงทุนหนึ่ง
    .
    การลงทุนขึ้นอยู่กับโชค แต่ภายในขอบเขตหนึ่ง หากเลือกลงทุนอย่างมีเหตุมีผลแล้ว ตัวแปรสร้างความผันผวนที่ชื่อว่า “โชค” อาจลดอิทธิฤทธิ์ลงไปได้มากทีเดียว
    รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 13 ความสำคัญของการมีเงินออม . การเปลี่ยนการออมเป็นการลงทุนที่ชาญฉลาดและได้รับผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจจนอาจเรียกได้ว่า “เงินทำงานรับใช้” นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายดังพูด มีหลายประเด็นดังต่อไปนี้ที่ควรใคร่ครวญ . บ่อยครั้งที่เงินออมของเรามีไม่เพียงพอ จึงต้องกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่าดอกเบี้ยเงินกู้ บางครั้งการกู้ยืมและผ่อนชำระก็ถือได้ว่าเป็นเงินออมอย่างหนึ่งดังกรณีของบ้านและรถยนต์ บ้านเป็นสิ่งที่ให้คุณค่าในการอยู่อาศัย การผ่อนชำระหนี้บ้านทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน และเกิดความหวังว่าจะได้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย มีความรู้สึกว่าเป็นอิสระเพราะไม่ต้องพึ่งพิงคนอื่น ส่วนรถยนต์เป็นสิ่งสร้างความสะดวกสะบายที่ช่วยลดโสหุ้ยในเรื่องเวลาและการเดินทาง . อย่างไรก็ดี มีความเสี่ยงอยุ่ไม่น้อยในการกู้และผ่อนชำระจนครบ หรือพูดอีกอย่างนึงว่า กว่าจะออมจนประสบผลสำเร็จสามารถมีบ้านเป็นของตนเอง ข้อเท็จจริงหนึ่งที่สำคัญเมื่อกู้ยืมและผ่อนชำระบ้านหรือรถยนต์หรือโรงงานก็คือ แท้จริงแล้วทรัพย์สินเหล่านี้ยังไม่ใช่ของผู้กู้ตามกฏหมาย เนื่องจากโฉนดและเอกสารแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของยังมิได้ระบุตนเองเป็นเจ้าของ ซึ่งความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้ผ่อนชำระครบแล้วเท่านั้น ข้อเท็จจริงนี้ผู้กู้จะต้องตระหนักอยู่เสมอ จะได้มีพฤติกรรมอันเหมาะสมในการใช้จ่ายเงินในระหว่างที่เป็นหนี้ . ความไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินอย่างแท้จริงดังกล่าว เป็นความเสี่ยงที่ผู้กู้ควรตระหนัก เพราะ “อุบัติเหตุ” หลายประการดังต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงเวลาของการกู้ยืม โดยเฉพาะการกู้ยืมที่มีระยะเวลายาวนาน นั่นก็คือ (1) รายจ่ายของครอบครัวอาจสูงขึ้นอย่างไม่คาดคิดอ้นเนื่องมาจากความเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว หรือมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หรือมีภาระผูกพันทางการเงินเพิ่มขึ้นอีก (2) รายได้ไม่ได้เพิ่มขึ้นดังที่หวังไว้ แต่อาจลดลงเพราะตกงานหรือเปลี่ยนงาน หรือสภาวะเศรษฐกิจผันผวนจนทำให้ธุรกิจที่เคยรุ่งโรจน์ซบเซา หรือธุรกิจต้องการเงินลงทุนเพิ่มขึ้น (3) อัตราดอกเบี้ยอาจสูงขึ้นในช่วงเวลาต่อมาจนต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนด้วยเงินก้อนใหญ่ขึ้น . อุทาหรณ์ในเรื่องนี้ก็คือ ก่อนการกู้ยืมควรใคร่ครวญให้รอบคอบและเลือกผ่อนซื้อสิ่งที่มีมูลค่าสอดคล้องกับฐานะของตนเองอย่างแท้จริงเท่านั้น มีข้อแนะนำว่าเพื่อความปลอดภัยจาก “อุบัติเหตุ” ดังกล่าว จึงไม่ควรกู้เงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งมีมูลค่าสูงเกินกว่าหนึ่งเท่าของรายได้ครัวเรือนในหนึ่งปี . เมื่อมีเงินออมและจะนำไปลงทุน มีข้อเท็จจริงหลายประการที่ควรทราบ ดังนี้ (1) การลงทุนบางอย่างไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระหว่างที่ถือครองอยู่ แต่อาจมีมูลค่าสูงเมื่อเลิกการถือครองแล้วก็เป็นได้เช่น ทองคำ ที่ดิน เพชรนิลจินดา ของเก่ามีค่า เป็นต้น สิ่งที่ต้องยอมสละไประหว่างการถือครองก็คือดอกเบี้ย เงินปันผล หรือผลตอบแทนรูปอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเงินจำนวนเดียวกันนี้ไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือการลงทุนอย่างอื่น นอกจากนี้เจ้าของเองอาจไม่มีโอกาสได้เก็บเกี่ยวดอกผลจากมูลค่าที่สูงขึ้นเพราะเสียชีวิตไปก่อนก็เป็นได้ (2) การลงทุนบางอย่างได้รับผลตอบแทนระหว่างที่ครอง แต่อาจมีมูลค่าไม่สูงดังคาดหวังเมื่อจบสิ้นช่วงเวลาหนึ่งก็เป็นได้ เช่น หุ้น บ้านหรืออพาร์ตเมนต์หรือคอนโดมิเนียมให้เช่า อย่างไรก็ดีแม้ผลตอบแทนจากการถือครองอาจไม่สูงนัก แต่ก็สามารถนำไปลงทุนต่อเพื่อให้เกิดเงิน “ชั้นลูกชั้นหลาน” ขึ้นมาได้ (3) ความเสี่ยงในการลงทุนไม่เท่ากันระหว่างประเภทของการลงทุน เช่น หุ้นกับพันธบัตร หรือที่ดินกับกองทุนรวม ฯลฯ ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของการเกิดผลตอบแทนนั้นแตกต่างกัน นอกจากนี้ความเสี่ยงจากการลงทุนในประเภทเดียวกันของการลงทุนแต่ละอย่างก็แตกต่างกันอีกด้วย เช่น การลงทุนซื้อหุ้นธนาคาร ก. อาจมีความเสี่ยงมากกว่าธนาคาร ข. อาจเนื่องมาจากธนาคาร ข. มีระบบการบริการงานที่มีประสิทธิภาพกว่า และมีธรรมาภิบาลสูงกว่าก็เป็นได้ (4) ในการตัดสินใจว่าร่วมลงทุนในกิจการใด ไม่ว่าในรูปของการลงทุนร่วมประกอบการ SME’s หรือซื้อหุ้นโดยตรง พึงพิจารณาคุณภาพของการบริหารกิจการนั้นเป็นสำคัญระวังการหลงติดกับภาพลักษณ์และการโฆษณาชวนเชื่อให้ร่วมลงทุน การบริหารที่มีคุณภาพสูงประกอบด้วยผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ มีประวัติดี มีคุณธรรม มีประวัติของความสำเร็จ มีทีมงานที่แข็งขันสนับสนุนกิจการ มีนโยบายและการปฏิบัติอย่างจริงจังในเรื่องธรรมาภิบาลอย่างเป็นที่ประจักษ์ (5) คำพูดที่ว่า “เสี่ยงสูง – ผลตอบแทนสูง” นั้นหมายถึงว่า เมื่อผู้ลงทุนคาดหวังผลตอบแทนที่สูง ก็จำเป็นต้องลงทุนในกิจการที่มีความเสี่ยงสูงเป็นธรรมดา มิได้หมายความว่าถ้ากิจการมีความเสี่ยงสูงแล้วจะได้รับผลตอบแทนสูงเสมอไป . เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องการลงทุนเป็นเช่นนี้ จึงสมควรใช้เงินออมไปลงทุนในหลากหลายประเภทและหลากหลายหน่วยธุรกิจ เพราะความผันผวนในทางลบจากการลงทุนหนึ่งอาจถูกคานไว้ด้วยความผันผวนในด้านบวกจากอีกการลงทุนหนึ่ง . การลงทุนขึ้นอยู่กับโชค แต่ภายในขอบเขตหนึ่ง หากเลือกลงทุนอย่างมีเหตุมีผลแล้ว ตัวแปรสร้างความผันผวนที่ชื่อว่า “โชค” อาจลดอิทธิฤทธิ์ลงไปได้มากทีเดียว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 235 มุมมอง 0 รีวิว
  • “สคร. จัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสม ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2568 จำนวน 79,054 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45% ของเป้าหมายทั้งปี”นายธิบดี วัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2568 สคร. มีเป้าหมายในการจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 (เงินนำส่งรายได้แผ่นดินฯ) จำนวน 176,500 ล้านบาท โดยไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2568 (1 ตุลาคม 2567 - 31 มีนาคม 2568) มีประมาณการเงินนำส่งรายได้แผ่นดินฯ สะสมจำนวน 62,975 ล้านบาท และ สคร. สามารถจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินฯ สะสมรวมทั้งสิ้นจำนวน 79,054 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการสะสมอยู่ที่จำนวน 16,079 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 126 ของประมาณการสะสม และคิดเป็นร้อยละ 45 ของเป้าหมายการจัดเก็บทั้งปี ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 ที่นำส่งรายได้แผ่นดินสูงสุด 10 อันดับแรก (ไม่รวมภาษีหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ) แสดงได้ตามตาราง ดังนี้ลำดับที่ รัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 จำนวน (ล้านบาท)1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย1 26,349 2) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 22,610 3) ธนาคารออมสิน 8,323 4) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (10,000 of 14,285.7) 7,900 5) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 7,226 6) การไฟฟ้านครหลวง 3,468 7) การประปาส่วนภูมิภาค 1,820 8) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) 739 9) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 197 10) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย 109 หมายเหตุ: 1รวมเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากการจัดสรรกำไรสุทธิปี 2566 จำนวน 20,566 ล้านบาท สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สำนักนโยบายและแผนรัฐวิสาหกิจ โทร. 0 2298 5880 ต่อ 60113
    “สคร. จัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสม ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2568 จำนวน 79,054 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45% ของเป้าหมายทั้งปี”นายธิบดี วัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2568 สคร. มีเป้าหมายในการจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 (เงินนำส่งรายได้แผ่นดินฯ) จำนวน 176,500 ล้านบาท โดยไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2568 (1 ตุลาคม 2567 - 31 มีนาคม 2568) มีประมาณการเงินนำส่งรายได้แผ่นดินฯ สะสมจำนวน 62,975 ล้านบาท และ สคร. สามารถจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินฯ สะสมรวมทั้งสิ้นจำนวน 79,054 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการสะสมอยู่ที่จำนวน 16,079 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 126 ของประมาณการสะสม และคิดเป็นร้อยละ 45 ของเป้าหมายการจัดเก็บทั้งปี ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 ที่นำส่งรายได้แผ่นดินสูงสุด 10 อันดับแรก (ไม่รวมภาษีหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ) แสดงได้ตามตาราง ดังนี้ลำดับที่ รัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 จำนวน (ล้านบาท)1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย1 26,349 2) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 22,610 3) ธนาคารออมสิน 8,323 4) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (10,000 of 14,285.7) 7,900 5) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 7,226 6) การไฟฟ้านครหลวง 3,468 7) การประปาส่วนภูมิภาค 1,820 8) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) 739 9) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 197 10) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย 109 หมายเหตุ: 1รวมเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากการจัดสรรกำไรสุทธิปี 2566 จำนวน 20,566 ล้านบาท สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สำนักนโยบายและแผนรัฐวิสาหกิจ โทร. 0 2298 5880 ต่อ 60113
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 360 มุมมอง 0 รีวิว
  • รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 9 ทางเลือกในการลงทุนและความเสี่ยง (2)
    .
    1.ฝากเงินกับธนาคาร มีความเสี่ยงน้อยที่สุด
    2.ซื้อตราสารหนี้ ซางหมายถึงสัญญาที่ออกโดยกิจการหนึ่งเพื่อกู้เงินจากผู้อื่น ถ้ารัฐบาลเป็นผู้กู้ ตราสารหรือสัญญานี้เรียกว่าตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรรัฐบาล แต่ถ้าเป็นเอกชน จะเรียกว่าตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หรือหุ้นกู้ การลงทุนซื้อตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่า โดยเปรียบเทียบ เพราะผลตอบแทนอยู่ในรูปของดอกเบี้ยที่จ่ายให้เงินกู้ซึ่งแตกต่างจากผลตอบแทนในรูปเงินปันผลจากหุ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการประกอบการ
    .
    3.ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม หมายถึงการร่วมทุนกับนักลงทุนรายย่อยอื่นๆ เพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือ ตลาดตราสารหนี้ โดยมีบริษัทจัดการกองทุนตามกฏหมายเป็นผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ เนื่องจากมีความรอบรู้เป็นพิเศษในเรื่องการลงทุนในหลักทรัพย์เหล่านี้
    .
    กองทุนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) กองทุนปิด ซึ่งมีมูลค่ากองทุน (เงินลงทุนร่วมกันครั้งแรก) แน่นอน มีอายุเวลาไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดเวลาลงทุนชัดเจน หากผู้บริหารกองทุนมีความสามารถเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและมีเงินปันผลดี หน่วยลงทุนนั้นก็จะมีราคาสูงกว่าตอนซื้อครั้งแรก
    .
    (2) กองทุนเปิด ไม่กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนที่แน่นอน หากผู้ซื้อหน่วยลงทุนต้องการถอนการลงทุนเมื่อใดก็สามารถขายคืนให้บริษัทผู้จัดการกองทุนได้ โดยจะคำนวนราคาซื้อคืนตามมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนในขณะนั้น ทางการกำหนดให้บริษัทผู้จัดการกองทุนรายงานตัวเลขแสดงสินทรัพย์สุทธิของกองทุนที่เรียกว่า NAV ( Net Asset Value ) เป็นประจำทุกเดือน เพื่อรายงานว่ามูลค่าสุทธิของแต่ละหน่วยลงทุนนั้นมัมูลค่าเท่าใด เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือหุ้นกองทุนรวมกองหนึ่งกองใด สามารถตัดสินใจได้ว่าจะขายหรือถือไว้ต่อไป
    .
    4.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เรียกว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ( Retirement Mutual Fund ) เป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษ เพื่อส่งเสริมการออมเพื่อวัยเกษียณ เงินที่ซื้อกองทุนนี้สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ต้องไม่เกิน 300,000 บาท ผู้ซื้อต้องซื้อติดต่อจนถึงอายุ 55 ปี หรือซื้อต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี ในกรณีที่มีอายุ 55 ปี ขึ่นไปจึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี
    .
    5.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่เรียกว่า LTF ( Long Term Equity Fund ) หรือกองทุนหุ้นระยะยาว ซึ่งเป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษอีกกองทุนหนึ่ง เพื่อส่งเสริมการลงทุนตลาดหุ้นระยะยาว มีเงื่อนไขคล้ายกับ RMF กล่าวคือ ซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 300,000 บาท เงินที่ซื้อกองทุนสามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ลงทุนต้องซื้อติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมนี้ไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี
    .
    ผู้มีรายได้สามารถใช้สิทธิทางภาษีในการลดหย่อนภาษีของทั้ง RMF และ LMF กล่าวคือ ลดหย่อนได้สูงสุดด้วยการซื้อกองทุน RMF และ LMF อย่างละร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี โดยไม่เกินกองทุนละ 300,000 บาท รวมแล้วเป็นค่าลดหย่อนสูงสุด 600,000 บาทต่อปี
    .
    อนึ่ง ยอดเงินลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท ของ RMF ต้องรวมเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างและนายจ้างจ่ายรวมกันในแต่ละปีด้วย ผู้ซื้อกองทุน RMF สามารถเลือกกองทุนรวมประเภทซื้อหุ้นอย่างเดียว (เสี่ยงที่สุด) หรือซื้อตราสารหนี้อย่างเดียว (เสี่ยงน้อยที่สุด) หรือซื้อปนกันทั้งหั้นและตราสารหนี้ (ความเสี่ยงอยู่ระหว่างสองประเภทกองทุนข้างต้น) ก็ได้
    .
    LTF โดยทั่วไปมีความเสี่ยงสูงกว่า RMF (ยกเว้นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว) เนื่องจากเป็นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว การลงทุนใน RMF และ LTF น่าสนใจเพราะเงินที่ซื้อกองทุนเป็นค่าลดหย่อนภาษี และยอดเงินนี้ก็เป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่ผู้รู้ช่วยเลือกลงทุนให้ นอกจากนี้เมื่อครบกำหนด ก็ยังสามารถถอนออกมาได้โดยไม่เสียภาษีอีกด้วย
    .
    6.ซื้อหุ้นโดยตรง ซึงหมายถึงการเข้าร่วมลงทุนหรือร่วมเป็นเจ้าของบริษัทนั้นๆ หากบริษัทประสบผลสำเร็จก็ได้ส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล และมีโอกาสได้ส่วนต่างของราคาหุ้น ทั้งจากหุ้นที่ซื้อไปและหุ้นออกใหม่ที่ขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในราคาต่ำกว่าตลาด
    .
    7.ซื้อที่อยู่อาศัยไว้สำหรับเช่า ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด อพาร์ตเมนต์ หรือหอพักที่ตั้งอยู่ในทำเลดี มีผู้เช่าแน่นอน โดยใช้เงินออมเป็นเงินดาวน์ และใช้ค่าเช่าและบางส่วนของรายได้ประจำเป็นเงินผ่อนชำระเงินกู้นั้น การให้เช่าข้ามช่วงเวลาที่ยาวจนครบกำหนดเวลากู้ ก็จะได้อสังหาริมทรัพย์มาเป็นสมบัติของครอบครัว ในอนาคตลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากค่าเช่าและมูลค่าของที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นได้
    รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 9 ทางเลือกในการลงทุนและความเสี่ยง (2) . 1.ฝากเงินกับธนาคาร มีความเสี่ยงน้อยที่สุด 2.ซื้อตราสารหนี้ ซางหมายถึงสัญญาที่ออกโดยกิจการหนึ่งเพื่อกู้เงินจากผู้อื่น ถ้ารัฐบาลเป็นผู้กู้ ตราสารหรือสัญญานี้เรียกว่าตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรรัฐบาล แต่ถ้าเป็นเอกชน จะเรียกว่าตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หรือหุ้นกู้ การลงทุนซื้อตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่า โดยเปรียบเทียบ เพราะผลตอบแทนอยู่ในรูปของดอกเบี้ยที่จ่ายให้เงินกู้ซึ่งแตกต่างจากผลตอบแทนในรูปเงินปันผลจากหุ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการประกอบการ . 3.ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม หมายถึงการร่วมทุนกับนักลงทุนรายย่อยอื่นๆ เพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือ ตลาดตราสารหนี้ โดยมีบริษัทจัดการกองทุนตามกฏหมายเป็นผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ เนื่องจากมีความรอบรู้เป็นพิเศษในเรื่องการลงทุนในหลักทรัพย์เหล่านี้ . กองทุนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) กองทุนปิด ซึ่งมีมูลค่ากองทุน (เงินลงทุนร่วมกันครั้งแรก) แน่นอน มีอายุเวลาไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดเวลาลงทุนชัดเจน หากผู้บริหารกองทุนมีความสามารถเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและมีเงินปันผลดี หน่วยลงทุนนั้นก็จะมีราคาสูงกว่าตอนซื้อครั้งแรก . (2) กองทุนเปิด ไม่กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนที่แน่นอน หากผู้ซื้อหน่วยลงทุนต้องการถอนการลงทุนเมื่อใดก็สามารถขายคืนให้บริษัทผู้จัดการกองทุนได้ โดยจะคำนวนราคาซื้อคืนตามมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนในขณะนั้น ทางการกำหนดให้บริษัทผู้จัดการกองทุนรายงานตัวเลขแสดงสินทรัพย์สุทธิของกองทุนที่เรียกว่า NAV ( Net Asset Value ) เป็นประจำทุกเดือน เพื่อรายงานว่ามูลค่าสุทธิของแต่ละหน่วยลงทุนนั้นมัมูลค่าเท่าใด เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือหุ้นกองทุนรวมกองหนึ่งกองใด สามารถตัดสินใจได้ว่าจะขายหรือถือไว้ต่อไป . 4.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เรียกว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ( Retirement Mutual Fund ) เป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษ เพื่อส่งเสริมการออมเพื่อวัยเกษียณ เงินที่ซื้อกองทุนนี้สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ต้องไม่เกิน 300,000 บาท ผู้ซื้อต้องซื้อติดต่อจนถึงอายุ 55 ปี หรือซื้อต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี ในกรณีที่มีอายุ 55 ปี ขึ่นไปจึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี . 5.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่เรียกว่า LTF ( Long Term Equity Fund ) หรือกองทุนหุ้นระยะยาว ซึ่งเป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษอีกกองทุนหนึ่ง เพื่อส่งเสริมการลงทุนตลาดหุ้นระยะยาว มีเงื่อนไขคล้ายกับ RMF กล่าวคือ ซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 300,000 บาท เงินที่ซื้อกองทุนสามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ลงทุนต้องซื้อติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมนี้ไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี . ผู้มีรายได้สามารถใช้สิทธิทางภาษีในการลดหย่อนภาษีของทั้ง RMF และ LMF กล่าวคือ ลดหย่อนได้สูงสุดด้วยการซื้อกองทุน RMF และ LMF อย่างละร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี โดยไม่เกินกองทุนละ 300,000 บาท รวมแล้วเป็นค่าลดหย่อนสูงสุด 600,000 บาทต่อปี . อนึ่ง ยอดเงินลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท ของ RMF ต้องรวมเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างและนายจ้างจ่ายรวมกันในแต่ละปีด้วย ผู้ซื้อกองทุน RMF สามารถเลือกกองทุนรวมประเภทซื้อหุ้นอย่างเดียว (เสี่ยงที่สุด) หรือซื้อตราสารหนี้อย่างเดียว (เสี่ยงน้อยที่สุด) หรือซื้อปนกันทั้งหั้นและตราสารหนี้ (ความเสี่ยงอยู่ระหว่างสองประเภทกองทุนข้างต้น) ก็ได้ . LTF โดยทั่วไปมีความเสี่ยงสูงกว่า RMF (ยกเว้นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว) เนื่องจากเป็นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว การลงทุนใน RMF และ LTF น่าสนใจเพราะเงินที่ซื้อกองทุนเป็นค่าลดหย่อนภาษี และยอดเงินนี้ก็เป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่ผู้รู้ช่วยเลือกลงทุนให้ นอกจากนี้เมื่อครบกำหนด ก็ยังสามารถถอนออกมาได้โดยไม่เสียภาษีอีกด้วย . 6.ซื้อหุ้นโดยตรง ซึงหมายถึงการเข้าร่วมลงทุนหรือร่วมเป็นเจ้าของบริษัทนั้นๆ หากบริษัทประสบผลสำเร็จก็ได้ส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล และมีโอกาสได้ส่วนต่างของราคาหุ้น ทั้งจากหุ้นที่ซื้อไปและหุ้นออกใหม่ที่ขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในราคาต่ำกว่าตลาด . 7.ซื้อที่อยู่อาศัยไว้สำหรับเช่า ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด อพาร์ตเมนต์ หรือหอพักที่ตั้งอยู่ในทำเลดี มีผู้เช่าแน่นอน โดยใช้เงินออมเป็นเงินดาวน์ และใช้ค่าเช่าและบางส่วนของรายได้ประจำเป็นเงินผ่อนชำระเงินกู้นั้น การให้เช่าข้ามช่วงเวลาที่ยาวจนครบกำหนดเวลากู้ ก็จะได้อสังหาริมทรัพย์มาเป็นสมบัติของครอบครัว ในอนาคตลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากค่าเช่าและมูลค่าของที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นได้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 451 มุมมอง 0 รีวิว
  • รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 5 วิธีการทำให้เงินออมงอกเงย
    .
    เมื่อได้เงินออมมาด้วยความยากเย็นแล้ว ถ้าต้องการให้เงินออมงอกเงยเพื่อประโยชน์ของผู้ออม ก็สามารถดำเนินการได้หลายลักษณะดังต่อไปนี้
    - ฝากเงินกับธนาคารในลักษณะบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งให้ความคล่องตัวในการถอนและฝาก แต่ได้ดอกเบี้ยต่ำ ถ้าฝากบัญชีเงินฝากประจำ จะมีเวลาให้เลือกได้แก่ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน แต่ก็ยังสูงกว่าการฝากในรูปบัญชีออมทรัพย์ (ยิ่งระยะยาวนานดอกเบี้ยยิ่งสูง)
    - ซื้อกองทุนรวม หมายถึงบริษัทจัดการกองทุนรวมจะนำเงินออมที่ถูกนำมาซื้อหน่วยลงทุนไปลงทุนซื้อหุ้นตราสารหนี้ (ภาครัฐและบริษัทเอกชนกู้ยืมเงินเพื่อเอาไปลงทุน) เพื่อให้ได้รับผลตอบแทน การลงทุนผ่านกองทุนรวม เป็นการมอบหมายให้ผู้มีความรู้ในเรื่องการเงินเป็นผู้ตัดสินใจลงทุนแทน
    .
    กองทุนรวมในปัจจุบันมีหลายลักษณะ เช่น กองทุนรวมเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมเพื่อลงทุนในตราสารหนี้ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนหุ้นระยะยาว เป็นต้น
    - ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้ให้เช่า เช่น อพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม และบ้าน การใช้เงินออมร่วมกับค่าเช่าที่ได้รับจากอสังหาริมทรัพย์นั้น มาผ่อนชำระเพื่อจะได้เป็นเจ้าของในระยะยาว และหลังจากนั้นก็สามารถเก็บเกี่ยวค่าเช่าได้เต็มที่ และอาจได้รับส่วนเพิ่มของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย อย่างไรก็ดี ถ้ามีเงินออมเป็นก้อนใหญ่จนสามารถใช้เป็นเงินดาวน์ และสามารถใช้ค่าเช่าเป็นเงินผ่อนชำระได้ทั้งหมดแล้ว ก็จะเป็นกรณีที่เงินออมงอกเงยขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
    - ซื้อหุ้นด้วยเงินออม การลงทุนซื้อหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีสม่ำเสมอ อีกทั้งยังมีโอกาสสูงที่ราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตโดยหวังผลในระยะยาว เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
    - ซื้อตราสารหนี้ ซึ่งอาจเป็นพันธบัตรรัฐบาล (รัฐบาลกู้ยืมโดยออกเอกสารรับรอง) หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยธุรกิจเอกชน ผลตอบแทนจากการประกอบการที่มีความไม่แน่นอนสูงกว่า
    - ลงทุนประกอบธุรกิจเอง หรือเข้าหุ้นประกอบธุรกิจกับผู้อื่น การลงทุนลักษณะนี้มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากผลกำไร ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ประกอบการ
    .
    ยังมีวิธีการอื่นๆที่ทำให้เงินออมงอกเงย แต่ก็ไม่ใช่หนทางหลัก สิ่งที่ควรตระหนักเสมอในการลงทุนมีอยู่อย่างน้อย 2 ประการ คือ 1. จะมีเงินออมเพื่อนำไปลงทุนได้มากก็ต้องเริ่มจากการมีรายได้มากเป็นเบื้องแรก และสามารถควบคุมการใช้จ่ายได้ดีจนทำให้สามารถออมได้ 2. การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยงทั้งสิ้น ไม่มีการลงทุนใดที่ปราศจากความเสี่ยง ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อเปรียบเทียบแล้วการลงทุนใดมีความเสี่ยงมากกว่ากัน
    .
    การมีเงินออมอย่างสม่ำเสมอและอย่างมีจุดหมายเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางการเงินตลอดชีวิต การทำงานอันเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน จะก่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิตได้ก็ต่อเมื่อมีรายได้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีพ และเหลือเงินออมเพื่อนำไปลงทุนจนก่อให้เกิดทรัพย์สินและรายได้เพิ่มเติมอีกทางหนึ่ง นอกจากรายได้จากการทำงานที่ต้องออกแรง รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินเหล่านี้จะเป็นฐานสำคัญของการดำรงชีพหลังวัยทำงาน
    รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 5 วิธีการทำให้เงินออมงอกเงย . เมื่อได้เงินออมมาด้วยความยากเย็นแล้ว ถ้าต้องการให้เงินออมงอกเงยเพื่อประโยชน์ของผู้ออม ก็สามารถดำเนินการได้หลายลักษณะดังต่อไปนี้ - ฝากเงินกับธนาคารในลักษณะบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งให้ความคล่องตัวในการถอนและฝาก แต่ได้ดอกเบี้ยต่ำ ถ้าฝากบัญชีเงินฝากประจำ จะมีเวลาให้เลือกได้แก่ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน แต่ก็ยังสูงกว่าการฝากในรูปบัญชีออมทรัพย์ (ยิ่งระยะยาวนานดอกเบี้ยยิ่งสูง) - ซื้อกองทุนรวม หมายถึงบริษัทจัดการกองทุนรวมจะนำเงินออมที่ถูกนำมาซื้อหน่วยลงทุนไปลงทุนซื้อหุ้นตราสารหนี้ (ภาครัฐและบริษัทเอกชนกู้ยืมเงินเพื่อเอาไปลงทุน) เพื่อให้ได้รับผลตอบแทน การลงทุนผ่านกองทุนรวม เป็นการมอบหมายให้ผู้มีความรู้ในเรื่องการเงินเป็นผู้ตัดสินใจลงทุนแทน . กองทุนรวมในปัจจุบันมีหลายลักษณะ เช่น กองทุนรวมเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมเพื่อลงทุนในตราสารหนี้ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนหุ้นระยะยาว เป็นต้น - ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้ให้เช่า เช่น อพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม และบ้าน การใช้เงินออมร่วมกับค่าเช่าที่ได้รับจากอสังหาริมทรัพย์นั้น มาผ่อนชำระเพื่อจะได้เป็นเจ้าของในระยะยาว และหลังจากนั้นก็สามารถเก็บเกี่ยวค่าเช่าได้เต็มที่ และอาจได้รับส่วนเพิ่มของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย อย่างไรก็ดี ถ้ามีเงินออมเป็นก้อนใหญ่จนสามารถใช้เป็นเงินดาวน์ และสามารถใช้ค่าเช่าเป็นเงินผ่อนชำระได้ทั้งหมดแล้ว ก็จะเป็นกรณีที่เงินออมงอกเงยขึ้นได้อย่างรวดเร็ว - ซื้อหุ้นด้วยเงินออม การลงทุนซื้อหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีสม่ำเสมอ อีกทั้งยังมีโอกาสสูงที่ราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตโดยหวังผลในระยะยาว เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ - ซื้อตราสารหนี้ ซึ่งอาจเป็นพันธบัตรรัฐบาล (รัฐบาลกู้ยืมโดยออกเอกสารรับรอง) หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยธุรกิจเอกชน ผลตอบแทนจากการประกอบการที่มีความไม่แน่นอนสูงกว่า - ลงทุนประกอบธุรกิจเอง หรือเข้าหุ้นประกอบธุรกิจกับผู้อื่น การลงทุนลักษณะนี้มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากผลกำไร ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ประกอบการ . ยังมีวิธีการอื่นๆที่ทำให้เงินออมงอกเงย แต่ก็ไม่ใช่หนทางหลัก สิ่งที่ควรตระหนักเสมอในการลงทุนมีอยู่อย่างน้อย 2 ประการ คือ 1. จะมีเงินออมเพื่อนำไปลงทุนได้มากก็ต้องเริ่มจากการมีรายได้มากเป็นเบื้องแรก และสามารถควบคุมการใช้จ่ายได้ดีจนทำให้สามารถออมได้ 2. การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยงทั้งสิ้น ไม่มีการลงทุนใดที่ปราศจากความเสี่ยง ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อเปรียบเทียบแล้วการลงทุนใดมีความเสี่ยงมากกว่ากัน . การมีเงินออมอย่างสม่ำเสมอและอย่างมีจุดหมายเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางการเงินตลอดชีวิต การทำงานอันเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน จะก่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิตได้ก็ต่อเมื่อมีรายได้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีพ และเหลือเงินออมเพื่อนำไปลงทุนจนก่อให้เกิดทรัพย์สินและรายได้เพิ่มเติมอีกทางหนึ่ง นอกจากรายได้จากการทำงานที่ต้องออกแรง รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินเหล่านี้จะเป็นฐานสำคัญของการดำรงชีพหลังวัยทำงาน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 274 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดทรัพย์สิน "บิ๊กอ๊อบ" พล.อ.ทรงวิทย์ นั่ง ผบ.สส.ครบ 3 ปี รวย 326.4 ล้าน ที่ดิน-พระเครื่อง-ปืนเพียบ ปี 67 ขายที่ดิน-พระ รับทรัพย์ 20.8 ล้าน ด้านภรรยาลงทุนหุ้น-กองทุนกว่า 148 ล้าน

    วันนี้(10 มี.ค.)สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินหนี้สินพลเอกทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กรณีดำรงตำแหน่งครบ 3 ปี โดยพลเอกทรงวิทย์ และ ปัญญดา หนุนภักดี คู่สมรส แจ้งมีทรัพย์สินรวม 326,482,272 บาท แบ่งเป็นทรัพย์สินของพลเอกทรงวิทย์ 100,548,815 บาท ประกอบด้วยเงินสด 400,000 บาทเงินฝาก 5 บัญชีรวม 4,551,232 บาท เงินลงทุน 25,400,309 บาท ส่วนใหญ่ลงทุนในกองทุนรวมและกองทุนเปิดต่างๆ ที่ดิน 41 แปลง ส่วนใหญ่ใน อ.สามเงา จ.ตาก และ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี อ.แม่ริมจ.เชียงใหม่ และเขตมีนบุรี กทม.รวมมูลค่า 32,144,995 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเป็น ตึกแถว บ้านพัก และห้องชุด ทั้งในกทม จ.ภูเก็ต เชียงใหม่สระบุรี รวม 6 หลังมูลค่า 11,650,000 บาท ยานพาหนะเป็นรถกระบะ Toyota Vigo 1 คันมูลค่า 200,000 บาท สิทธิและสัมปทานเป็นประกันชีวิตและสมาชิกสนามกอล์ฟตลอดชีพ 3 แห่งรวม 14,577,358 บาท ทรัพย์สินอื่น 11,625,000 บาท และมีหนี้สินเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 1,961 บาท

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000022967

    #MGROnline #บิ๊กอ๊อบ #บัญชีทรัพย์สิน
    เปิดทรัพย์สิน "บิ๊กอ๊อบ" พล.อ.ทรงวิทย์ นั่ง ผบ.สส.ครบ 3 ปี รวย 326.4 ล้าน ที่ดิน-พระเครื่อง-ปืนเพียบ ปี 67 ขายที่ดิน-พระ รับทรัพย์ 20.8 ล้าน ด้านภรรยาลงทุนหุ้น-กองทุนกว่า 148 ล้าน • วันนี้(10 มี.ค.)สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินหนี้สินพลเอกทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กรณีดำรงตำแหน่งครบ 3 ปี โดยพลเอกทรงวิทย์ และ ปัญญดา หนุนภักดี คู่สมรส แจ้งมีทรัพย์สินรวม 326,482,272 บาท แบ่งเป็นทรัพย์สินของพลเอกทรงวิทย์ 100,548,815 บาท ประกอบด้วยเงินสด 400,000 บาทเงินฝาก 5 บัญชีรวม 4,551,232 บาท เงินลงทุน 25,400,309 บาท ส่วนใหญ่ลงทุนในกองทุนรวมและกองทุนเปิดต่างๆ ที่ดิน 41 แปลง ส่วนใหญ่ใน อ.สามเงา จ.ตาก และ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี อ.แม่ริมจ.เชียงใหม่ และเขตมีนบุรี กทม.รวมมูลค่า 32,144,995 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเป็น ตึกแถว บ้านพัก และห้องชุด ทั้งในกทม จ.ภูเก็ต เชียงใหม่สระบุรี รวม 6 หลังมูลค่า 11,650,000 บาท ยานพาหนะเป็นรถกระบะ Toyota Vigo 1 คันมูลค่า 200,000 บาท สิทธิและสัมปทานเป็นประกันชีวิตและสมาชิกสนามกอล์ฟตลอดชีพ 3 แห่งรวม 14,577,358 บาท ทรัพย์สินอื่น 11,625,000 บาท และมีหนี้สินเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 1,961 บาท • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000022967 • #MGROnline #บิ๊กอ๊อบ #บัญชีทรัพย์สิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 684 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ตลาดหุ้นไทย หรือ SET หลังจากแรลลี่
    ขึ้นมากกว่า 170 จุด ตั้งแต่เดือน สิงหาคม
    จนถึง ตุลาคม 2567 จากปัจจัยหลักๆคือ
    1. กองทุนรวมวายุภักษ์1 ที่เข้าเทรดในตลาด
    มากกว่า 1.5 แสนล้านบาท
    2. ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง ในขณะที่
    ค่าเงินบาท แข็งค่าขึ้น ทำให้ฟันโฟว์
    หรือ เม็ดเงินจากนักลงทุนต่างประเทศ
    ไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งตลาดหุ้นไทย
    3. ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ได้ลดอัตราดอกเบี้ย
    นโยบายลง 0.5% เป็น 4.75 - 5.0%
    4. งบประมาณปี 2568 ของรัฐบาลผ่านความเห็นชอบ
    จากรัฐสภา
    5. มาตการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ด้วยดิจิทัลวอลเลต
    เฟส 1 (1.2 แสนล้านบาท) และ รอบเก็บตก

    ***ตอนนี้ กองทุน หรือ สถาบัน เริ่มเทขายหุ้นทำกำไรออกมา
    หลังจากเข้าซื้อมาตลอดระยะเวลา 3 เดือน***
    คาดการณ์ว่า นักลงทุนในประเทศ หรือ รายย่อย
    ที่เข้าซื้อแบบไล่ราคา จะมีโอกาสสูงที่จะติดดอยหุ้น
    ในระยะต่อไป

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ตลาดหุ้นไทย #SET
    #thaitimes
    💥💥ตลาดหุ้นไทย หรือ SET หลังจากแรลลี่ ขึ้นมากกว่า 170 จุด ตั้งแต่เดือน สิงหาคม จนถึง ตุลาคม 2567 จากปัจจัยหลักๆคือ 1. กองทุนรวมวายุภักษ์1 ที่เข้าเทรดในตลาด มากกว่า 1.5 แสนล้านบาท 2. ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง ในขณะที่ ค่าเงินบาท แข็งค่าขึ้น ทำให้ฟันโฟว์ หรือ เม็ดเงินจากนักลงทุนต่างประเทศ ไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งตลาดหุ้นไทย 3. ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ได้ลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายลง 0.5% เป็น 4.75 - 5.0% 4. งบประมาณปี 2568 ของรัฐบาลผ่านความเห็นชอบ จากรัฐสภา 5. มาตการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ด้วยดิจิทัลวอลเลต เฟส 1 (1.2 แสนล้านบาท) และ รอบเก็บตก ***ตอนนี้ กองทุน หรือ สถาบัน เริ่มเทขายหุ้นทำกำไรออกมา หลังจากเข้าซื้อมาตลอดระยะเวลา 3 เดือน*** คาดการณ์ว่า นักลงทุนในประเทศ หรือ รายย่อย ที่เข้าซื้อแบบไล่ราคา จะมีโอกาสสูงที่จะติดดอยหุ้น ในระยะต่อไป #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ตลาดหุ้นไทย #SET #thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1189 มุมมอง 0 รีวิว
  • เตือนนายกฯครั้งที่ 5 ! นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟสบุ๊ก “Thirachai Phuvanatnaranubala – – ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” ระบุว่า
    จดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ เรื่องกองทุนวายุภักษ์ ๑

    ด่วนที่สุด

    วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗

    เรื่อง กองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ อาจจะฝ่าฝืนกฎหมาย (ฉบับที่ ๖)

    เรียน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

    ตามที่ข้าพเจ้าได้มีหนังสือ ๕ ฉบับ ฉบับหลังสุดลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๗ (ฉบับที่ ๕) ร้องเรียนกรณีกระทรวงการคลังประกาศเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อกองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ (กองทุนฯ) วงเงิน ๑.๕ แสนล้านบาท ในวันที่ ๑๖-๒๐ กันยายนนี้ และให้นักลงทุนสถาบันจองซื้อในวันที่ ๑๘-๒๐ กันยายนนี้

    ซึ่งข้าพเจ้ามีความเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวอาจจะฝ่าฝืนกฎหมาย นั้น

    ข้าพเจ้าขอเรียนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง ดังนี้

    ๑. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑

    “มาตรา ๒๘ การมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดําเนินการนั้น ให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐนั้น เพื่อฟื้นฟูหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยหรือการก่อวินาศกรรม

    ในการมอบหมายตามวรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีต้องพิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ผลกระทบต่อการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายนั้น และแนวทางการบริหารจัดการภาระทางการคลังของรัฐและผลกระทบจากการดําเนินการดังกล่าว ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องมียอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการกําหนด

    ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรานี้ ไม่ว่าการมอบหมายนั้นจะเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือไม่ จัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการนั้น ๆ และแจ้งให้คณะกรรมการและกระทรวงการคลังทราบ”

    ๒. ประเด็นที่อาจฝ่าฝืนกฎหมาย

    เนื่องจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ ได้รับทราบโครงการกองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ (กองทุนฯ) และโดยที่เงื่อนไขในการประกาศเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อกองทุนฯ

    มีผลโดยอัตโนมัติเป็นการที่กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับผลตอบแทนแต่ละปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓ ต่อปี ทั้งจากรายได้แต่ละปี และจากกำไรสะสมของกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. และมีผลโดยอัตโนมัติเป็นการที่กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับคืนเงินลงทุนก่อนหน้ากระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข.

    ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า กรณีนี้เข้าข่ายเป็นการที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงการคลัง”ดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดําเนินการนั้น” ตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๘

    ๒.๑ ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกระทรวงการคลัง

    พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๐ กำหนดหน้าที่และอำนาจของกระทรวงการคลังไว้ว่า “กระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง”

    ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า เรื่องที่เสนอคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกระทรวงการคลังข้างต้น จึงกระทำมิได้

    ส่วนการที่กองทุนฯ จะแบ่งปันรายได้และกำหนดลำดับสิทธิในการคืนเงินลงทุนนั้น ถึงแม้อาจจะอยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ แต่กองทุนฯ ไม่มีหน้าที่และอำนาจที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินการให้มีผลเป็นการทำให้กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก.

    ๒.๒ คณะรัฐมนตรีอาจมิได้พิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หรือผลกระทบต่อการดําเนินงานของกระทรวงการคลัง

    ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า คณะรัฐมนตรีอาจมิได้พิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หรือผลกระทบต่อการดําเนินงานของกระทรวงการคลัง อันไม่เป็นการปฏิบัติตามวรรคสองของมาตรา ๒๘ เพราะข้าพเจ้าสืบค้นไม่พบการนำเสนอตัวเลขภาระที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรี

    ๒.๓ อาจไม่มีการจัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรมกองทุนฯ

    ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า กระทรวงการคลังอาจไม่มีการจัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรมกองทุนฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี อันไม่เป็นการปฏิบัติตามวรรตสามของมาตรา ๒๘ เพราะข้าพเจ้าสืบค้นไม่พบการนำเสนอตัวเลขประมาณการที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรี

    ๓. ขอให้สั่งการแก้ไข

    กรณีที่ถ้าหากท่านตรวจสอบแล้ว พบว่ามีการปฏิบัติที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้าพเจ้าขอเรียนว่า ท่านมีหน้าที่สั่งการให้แก้ไข และลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องโดยพลัน

    จึงขอให้ท่านโปรดพิจารณาว่าการกระทำที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามกฎหมายและหลักธรรมาภิบาลหรือไม่

    จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

    ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

    (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
    อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

    สำเนาเรียน
    ประธาน ป.ป.ช. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗
    ประธาน ค.ต.ง. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗
    ประธาน ก.ก.ต. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗“
    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/Ti8aaMp5mLUDpy1U/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    เตือนนายกฯครั้งที่ 5 ! นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟสบุ๊ก “Thirachai Phuvanatnaranubala – – ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” ระบุว่า จดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ เรื่องกองทุนวายุภักษ์ ๑ ด่วนที่สุด วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ เรื่อง กองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ อาจจะฝ่าฝืนกฎหมาย (ฉบับที่ ๖) เรียน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตามที่ข้าพเจ้าได้มีหนังสือ ๕ ฉบับ ฉบับหลังสุดลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๗ (ฉบับที่ ๕) ร้องเรียนกรณีกระทรวงการคลังประกาศเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อกองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ (กองทุนฯ) วงเงิน ๑.๕ แสนล้านบาท ในวันที่ ๑๖-๒๐ กันยายนนี้ และให้นักลงทุนสถาบันจองซื้อในวันที่ ๑๘-๒๐ กันยายนนี้ ซึ่งข้าพเจ้ามีความเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวอาจจะฝ่าฝืนกฎหมาย นั้น ข้าพเจ้าขอเรียนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง ดังนี้ ๑. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ “มาตรา ๒๘ การมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดําเนินการนั้น ให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐนั้น เพื่อฟื้นฟูหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยหรือการก่อวินาศกรรม ในการมอบหมายตามวรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีต้องพิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ผลกระทบต่อการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายนั้น และแนวทางการบริหารจัดการภาระทางการคลังของรัฐและผลกระทบจากการดําเนินการดังกล่าว ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องมียอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการกําหนด ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรานี้ ไม่ว่าการมอบหมายนั้นจะเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือไม่ จัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการนั้น ๆ และแจ้งให้คณะกรรมการและกระทรวงการคลังทราบ” ๒. ประเด็นที่อาจฝ่าฝืนกฎหมาย เนื่องจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ ได้รับทราบโครงการกองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ (กองทุนฯ) และโดยที่เงื่อนไขในการประกาศเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อกองทุนฯ มีผลโดยอัตโนมัติเป็นการที่กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับผลตอบแทนแต่ละปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓ ต่อปี ทั้งจากรายได้แต่ละปี และจากกำไรสะสมของกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. และมีผลโดยอัตโนมัติเป็นการที่กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับคืนเงินลงทุนก่อนหน้ากระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า กรณีนี้เข้าข่ายเป็นการที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงการคลัง”ดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดําเนินการนั้น” ตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๘ ๒.๑ ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกระทรวงการคลัง พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๐ กำหนดหน้าที่และอำนาจของกระทรวงการคลังไว้ว่า “กระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง” ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า เรื่องที่เสนอคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกระทรวงการคลังข้างต้น จึงกระทำมิได้ ส่วนการที่กองทุนฯ จะแบ่งปันรายได้และกำหนดลำดับสิทธิในการคืนเงินลงทุนนั้น ถึงแม้อาจจะอยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ แต่กองทุนฯ ไม่มีหน้าที่และอำนาจที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินการให้มีผลเป็นการทำให้กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ๒.๒ คณะรัฐมนตรีอาจมิได้พิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หรือผลกระทบต่อการดําเนินงานของกระทรวงการคลัง ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า คณะรัฐมนตรีอาจมิได้พิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หรือผลกระทบต่อการดําเนินงานของกระทรวงการคลัง อันไม่เป็นการปฏิบัติตามวรรคสองของมาตรา ๒๘ เพราะข้าพเจ้าสืบค้นไม่พบการนำเสนอตัวเลขภาระที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรี ๒.๓ อาจไม่มีการจัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรมกองทุนฯ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า กระทรวงการคลังอาจไม่มีการจัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรมกองทุนฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี อันไม่เป็นการปฏิบัติตามวรรตสามของมาตรา ๒๘ เพราะข้าพเจ้าสืบค้นไม่พบการนำเสนอตัวเลขประมาณการที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรี ๓. ขอให้สั่งการแก้ไข กรณีที่ถ้าหากท่านตรวจสอบแล้ว พบว่ามีการปฏิบัติที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้าพเจ้าขอเรียนว่า ท่านมีหน้าที่สั่งการให้แก้ไข และลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องโดยพลัน จึงขอให้ท่านโปรดพิจารณาว่าการกระทำที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามกฎหมายและหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ขอแสดงความนับถืออย่างสูง (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สำเนาเรียน ประธาน ป.ป.ช. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗ ประธาน ค.ต.ง. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗ ประธาน ก.ก.ต. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗“ ที่มา https://www.facebook.com/share/p/Ti8aaMp5mLUDpy1U/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 966 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไดอารี่ "วันนวมินทรฯ"

    ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 มีพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517

    แต่ปรากฏว่า จะด้วยเหตุอะไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยจากปีนั้นมา แทบไม่ได้พัฒนาไปตามแนวทางนี้เลย

    จนเกิด "วิกฤตต้มยำกุ้ง" ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2540 นี่แหละ

    คนไทยจำนวนไม่น้อยถึง "คิดได้" ขึ้นมา

    หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ "การจัดการความเสี่ยง"

    ผมบอกได้เต็มปากเลยว่า "การกระจายความเสี่ยง" (หรือนัยหนึ่งคือ "จัดพอร์ต") นี่แหละ ช่วยให้ผม "ไม่เจ็บตัว" จนเกินไป จากการขาดทุนเมื่อตอนเริ่มซื้อกองทุนรวมครั้งแรก

    ถ้าเทียบ "เกษตรทฤษฎีใหม่" ซึ่งเป็น subset ของเศรษฐกิจพอเพียง ที่แบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินในสัดส่วน 3:3:3:1 กับการ "จัดพอร์ต" กองทุนรวม...

    ...จะว่าไปแล้ว แก่นแท้ของสองอย่างนี้ก็คือ Risk Management/Diversification นั่นเอง

    ในโอกาสของการรำลึกถึงล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการนำ "คำสอน" ของพระองค์ไปสู่การปฏิบัติ

    "ประสบการณ์ตรง" ของผมบอกไว้อย่างนั้น!

    ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

    วีรภัทร ตั๊งวิบูลย์ชัย
    13 ตุลาคม 2567

    ภาพ: พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ โดยคุณ "วินทร์ เลียววาริณ" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2556
    ไดอารี่ "วันนวมินทรฯ" ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 มีพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 แต่ปรากฏว่า จะด้วยเหตุอะไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยจากปีนั้นมา แทบไม่ได้พัฒนาไปตามแนวทางนี้เลย จนเกิด "วิกฤตต้มยำกุ้ง" ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2540 นี่แหละ คนไทยจำนวนไม่น้อยถึง "คิดได้" ขึ้นมา หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ "การจัดการความเสี่ยง" ผมบอกได้เต็มปากเลยว่า "การกระจายความเสี่ยง" (หรือนัยหนึ่งคือ "จัดพอร์ต") นี่แหละ ช่วยให้ผม "ไม่เจ็บตัว" จนเกินไป จากการขาดทุนเมื่อตอนเริ่มซื้อกองทุนรวมครั้งแรก ถ้าเทียบ "เกษตรทฤษฎีใหม่" ซึ่งเป็น subset ของเศรษฐกิจพอเพียง ที่แบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินในสัดส่วน 3:3:3:1 กับการ "จัดพอร์ต" กองทุนรวม... ...จะว่าไปแล้ว แก่นแท้ของสองอย่างนี้ก็คือ Risk Management/Diversification นั่นเอง ในโอกาสของการรำลึกถึงล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการนำ "คำสอน" ของพระองค์ไปสู่การปฏิบัติ "ประสบการณ์ตรง" ของผมบอกไว้อย่างนั้น! ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น วีรภัทร ตั๊งวิบูลย์ชัย 13 ตุลาคม 2567 ภาพ: พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ โดยคุณ "วินทร์ เลียววาริณ" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2556
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 398 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้กระทำความผิด 2 ราย
    ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด
    เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.)
    กรณีซื้อหรือขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
    ก่อนทำรายการซื้อขายของกองทุน
    โดยใช้ข้อมูลการลงทุนของกองทุน และรายงาน
    การดำเนินการต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
    ได้รับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อปี 2566
    และตรวจสอบเพิ่มเติมพบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่า
    ผู้กระทำความผิดรวม 2 ราย ได้แก่ (1) นายโกเมน นิยมวานิช และ
    (2) นางสาวมนสิชา อุ้นพิพัฒน์ ได้ร่วมกันกระทำการเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น
    ในประการที่น่าจะทำให้กองทุนรวมเสียประโยชน์

    โดยนายโกเมนในฐานะผู้จัดการกองทุน (ขณะกระทำผิดสังกัดบริษัทหลักทรัพย์
    จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นบุคคลที่รู้หรือครอบครองข้อมูล
    เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนที่ตนเป็นผู้จัดการ ได้เปิดเผยข้อมูล
    เกี่ยวกับคำสั่งของกองทุนรวมที่นายโกเมนเป็นผู้จัดการกองทุนให้แก่
    นางสาวมนสิชา และนางสาวมนสิชาได้ส่งคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์
    และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ก่อนที่นายโกเมนจะส่งคำสั่งซื้อหรือขาย
    ให้แก่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนจำนวนหลายรายการ ในช่วงปี 2565
    อันเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 244/2 ประกอบมาตรา 244/1 และมาตรา 315
    แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ)
    แล้วแต่กรณี ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษบุคคลทั้ง 2 ราย ต่อ บก.ปอศ. เพื่อพิจารณา
    ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป

    พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ได้รายงานการดำเนินการดังกล่าวต่อ ปปง. เพื่อพิจารณา
    ดำเนินการต่อไป เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
    เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
    ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
    พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

    ทั้งนี้ ภายหลังการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย
    ทางอาญาต่อไป เป็นการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดี
    ของพนักงานอัยการ และการพิจารณาของศาลยุติธรรม ตามลำดับ
    โดย ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดี และจะร่วมมือกับ
    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย
    ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว

    ที่มา : ก.ล.ต.

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    🔥🔥ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้กระทำความผิด 2 ราย ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กรณีซื้อหรือขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ก่อนทำรายการซื้อขายของกองทุน โดยใช้ข้อมูลการลงทุนของกองทุน และรายงาน การดำเนินการต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อปี 2566 และตรวจสอบเพิ่มเติมพบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่า ผู้กระทำความผิดรวม 2 ราย ได้แก่ (1) นายโกเมน นิยมวานิช และ (2) นางสาวมนสิชา อุ้นพิพัฒน์ ได้ร่วมกันกระทำการเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น ในประการที่น่าจะทำให้กองทุนรวมเสียประโยชน์ โดยนายโกเมนในฐานะผู้จัดการกองทุน (ขณะกระทำผิดสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นบุคคลที่รู้หรือครอบครองข้อมูล เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนที่ตนเป็นผู้จัดการ ได้เปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับคำสั่งของกองทุนรวมที่นายโกเมนเป็นผู้จัดการกองทุนให้แก่ นางสาวมนสิชา และนางสาวมนสิชาได้ส่งคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ก่อนที่นายโกเมนจะส่งคำสั่งซื้อหรือขาย ให้แก่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนจำนวนหลายรายการ ในช่วงปี 2565 อันเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 244/2 ประกอบมาตรา 244/1 และมาตรา 315 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) แล้วแต่กรณี ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษบุคคลทั้ง 2 ราย ต่อ บก.ปอศ. เพื่อพิจารณา ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ได้รายงานการดำเนินการดังกล่าวต่อ ปปง. เพื่อพิจารณา ดำเนินการต่อไป เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ภายหลังการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ทางอาญาต่อไป เป็นการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดี ของพนักงานอัยการ และการพิจารณาของศาลยุติธรรม ตามลำดับ โดย ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดี และจะร่วมมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว ที่มา : ก.ล.ต. #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 572 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥วันนี้แอดมินเพจหุ้นติดดอย จะพาเพื่อนๆ
    มาพบวิธีการสร้างภูมิต้านทานการลงทุน
    ซึ่งมี 5 วิธีดังนี้

    🚩1. การศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
    การมีความรู้เกี่ยวกับการลงทุน และตลาดการเงิน
    ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างแรกที่ต้องมี เช่น การลงทุน
    ในหุ้น, พันธบัตรรัฐบาล, กองทุนรวม และ
    อสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการวิเคราะห์ปัจจัย
    ทางเทคนิค และ ปัจจัยทางพื้นฐานต่างๆ

    🚩2. การกระจายความเสี่ยง
    การลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายสามารถ
    ช่วยลดความเสี่ยงได้ เช่น การลงทุนในหุ้น
    จากหลากหลายอุตสาหกรรม มีประโยชน์เมื่อ
    อุตสาหกรรมใด อุตสาหกรรมหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นมา
    ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ช่วยประคองพอร์ตการลงทุน
    ภาพรวมได้

    🚩3. การวางแผนการเงิน
    การมีแผนการเงิน การลงทุน ที่ชัดเจน และมีวินัย
    ในการออม จะช่วยให้เราสามารถเกิดความมั่นคงได้
    ในระยะยาว

    🚩4. การติดตามและปรับปรุงพอร์ตการลงทุน
    ควรติดตามพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
    ว่าพอร์ตการลงทุนมีอะไรผิดปกติหรือไม่ เช่น
    หุ้นในพอร์ต ที่มีผล ติดลบ อย่างต่อเนื่อง
    และไม่มีทีท่าจะดีขึ้น ควรปรับลด หรือ ตัดออกไป
    จากพอร์ตการลงทุน เป็นต้น

    🚩5. การมีจิตใจที่มั่นคง
    คือ ไม่ลงทุนไปตามกระแสข่าว หรือแรงเชียร์
    แต่ลงทุนจากการวิเคราะห์ปัจจัยทางพื้นฐาน
    และ ทางเทคนิค เป็นต้น

    นี่ก็เเป็น 5 ภูมิต้านทานการลงทุน ที่ควรสร้าง
    ขึ้นมา เพื่อให้เราสามารถลงทุนได้อย่าง
    มั่นใจ มั่นคง และ ยืนระยะในตลาด
    ได้นานมากขึ้น

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #5ภูมิต้านการลงทุนที่ควรสร้างขึ้นมา
    #thaitimes
    💥💥วันนี้แอดมินเพจหุ้นติดดอย จะพาเพื่อนๆ มาพบวิธีการสร้างภูมิต้านทานการลงทุน ซึ่งมี 5 วิธีดังนี้ 🚩1. การศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง การมีความรู้เกี่ยวกับการลงทุน และตลาดการเงิน ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างแรกที่ต้องมี เช่น การลงทุน ในหุ้น, พันธบัตรรัฐบาล, กองทุนรวม และ อสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการวิเคราะห์ปัจจัย ทางเทคนิค และ ปัจจัยทางพื้นฐานต่างๆ 🚩2. การกระจายความเสี่ยง การลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายสามารถ ช่วยลดความเสี่ยงได้ เช่น การลงทุนในหุ้น จากหลากหลายอุตสาหกรรม มีประโยชน์เมื่อ อุตสาหกรรมใด อุตสาหกรรมหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นมา ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ช่วยประคองพอร์ตการลงทุน ภาพรวมได้ 🚩3. การวางแผนการเงิน การมีแผนการเงิน การลงทุน ที่ชัดเจน และมีวินัย ในการออม จะช่วยให้เราสามารถเกิดความมั่นคงได้ ในระยะยาว 🚩4. การติดตามและปรับปรุงพอร์ตการลงทุน ควรติดตามพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ว่าพอร์ตการลงทุนมีอะไรผิดปกติหรือไม่ เช่น หุ้นในพอร์ต ที่มีผล ติดลบ อย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท่าจะดีขึ้น ควรปรับลด หรือ ตัดออกไป จากพอร์ตการลงทุน เป็นต้น 🚩5. การมีจิตใจที่มั่นคง คือ ไม่ลงทุนไปตามกระแสข่าว หรือแรงเชียร์ แต่ลงทุนจากการวิเคราะห์ปัจจัยทางพื้นฐาน และ ทางเทคนิค เป็นต้น นี่ก็เเป็น 5 ภูมิต้านทานการลงทุน ที่ควรสร้าง ขึ้นมา เพื่อให้เราสามารถลงทุนได้อย่าง มั่นใจ มั่นคง และ ยืนระยะในตลาด ได้นานมากขึ้น #หุ้นติดดอย #การลงทุน #5ภูมิต้านการลงทุนที่ควรสร้างขึ้นมา #thaitimes
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1377 มุมมอง 569 0 รีวิว
  • 💥💥วันนี้แอดมินเพจหุ้นติดดอย จะพาเพื่อนๆ
    มาพบวิธีการสร้างภูมิต้านทานการลงทุน
    ซึ่งมี 5 วิธีดังนี้

    🚩1. การศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
    การมีความรู้เกี่ยวกับการลงทุน และตลาดการเงิน
    ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างแรกที่ต้องมี เช่น การลงทุน
    ในหุ้น, พันธบัตรรัฐบาล, กองทุนรวม และ
    อสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการวิเคราะห์ปัจจัย
    ทางเทคนิค และ ปัจจัยทางพื้นฐานต่างๆ

    🚩2. การกระจายความเสี่ยง
    การลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายสามารถ
    ช่วยลดความเสี่ยงได้ เช่น การลงทุนในหุ้น
    จากหลากหลายอุตสาหกรรม มีประโยชน์เมื่อ
    อุตสาหกรรมใด อุตสาหกรรมหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นมา
    ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ช่วยประคองพอร์ตการลงทุน
    ภาพรวมได้

    🚩3. การวางแผนการเงิน
    การมีแผนการเงิน การลงทุน ที่ชัดเจน และมีวินัย
    ในการออม จะช่วยให้เราสามารถเกิดความมั่นคงได้
    ในระยะยาว

    🚩4. การติดตามและปรับปรุงพอร์ตการลงทุน
    ควรติดตามพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
    ว่าพอร์ตการลงทุนมีอะไรผิดปกติหรือไม่ เช่น
    หุ้นในพอร์ต ที่มีผล ติดลบ อย่างต่อเนื่อง
    และไม่มีทีท่าจะดีขึ้น ควรปรับลด หรือ ตัดออกไป
    จากพอร์ตการลงทุน เป็นต้น

    🚩5. การมีจิตใจที่มั่นคง
    คือ ไม่ลงทุนไปตามกระแสข่าว หรือแรงเชียร์
    แต่ลงทุนจากการวิเคราะห์ปัจจัยทางพื้นฐาน
    และ ทางเทคนิค เป็นต้น

    นี่ก็เเป็น 5 ภูมิต้านทานการลงทุน ที่ควรสร้าง
    ขึ้นมา เพื่อให้เราสามารถลงทุนได้อย่าง
    มั่นใจ มั่นคง และ ยืนระยะในตลาด
    ได้นานมากขึ้น

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #5ภูมิต้านการลงทุนที่ควรสร้างขึ้นมา
    #thaitimes
    💥💥วันนี้แอดมินเพจหุ้นติดดอย จะพาเพื่อนๆ มาพบวิธีการสร้างภูมิต้านทานการลงทุน ซึ่งมี 5 วิธีดังนี้ 🚩1. การศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง การมีความรู้เกี่ยวกับการลงทุน และตลาดการเงิน ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างแรกที่ต้องมี เช่น การลงทุน ในหุ้น, พันธบัตรรัฐบาล, กองทุนรวม และ อสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการวิเคราะห์ปัจจัย ทางเทคนิค และ ปัจจัยทางพื้นฐานต่างๆ 🚩2. การกระจายความเสี่ยง การลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายสามารถ ช่วยลดความเสี่ยงได้ เช่น การลงทุนในหุ้น จากหลากหลายอุตสาหกรรม มีประโยชน์เมื่อ อุตสาหกรรมใด อุตสาหกรรมหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นมา ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ช่วยประคองพอร์ตการลงทุน ภาพรวมได้ 🚩3. การวางแผนการเงิน การมีแผนการเงิน การลงทุน ที่ชัดเจน และมีวินัย ในการออม จะช่วยให้เราสามารถเกิดความมั่นคงได้ ในระยะยาว 🚩4. การติดตามและปรับปรุงพอร์ตการลงทุน ควรติดตามพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ว่าพอร์ตการลงทุนมีอะไรผิดปกติหรือไม่ เช่น หุ้นในพอร์ต ที่มีผล ติดลบ อย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท่าจะดีขึ้น ควรปรับลด หรือ ตัดออกไป จากพอร์ตการลงทุน เป็นต้น 🚩5. การมีจิตใจที่มั่นคง คือ ไม่ลงทุนไปตามกระแสข่าว หรือแรงเชียร์ แต่ลงทุนจากการวิเคราะห์ปัจจัยทางพื้นฐาน และ ทางเทคนิค เป็นต้น นี่ก็เเป็น 5 ภูมิต้านทานการลงทุน ที่ควรสร้าง ขึ้นมา เพื่อให้เราสามารถลงทุนได้อย่าง มั่นใจ มั่นคง และ ยืนระยะในตลาด ได้นานมากขึ้น #หุ้นติดดอย #การลงทุน #5ภูมิต้านการลงทุนที่ควรสร้างขึ้นมา #thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1209 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (3)

    มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ นอกจากข้อดี-ข้อเสีย จากปัจจัยค่าเงินบาทแข็งค่า แล้วยังปัจจัยอื่น ที่มีผลต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับ เมื่อดูจาก NAV ของกองทุน เช่น

    • ค่าธรรมเนียมกองทุน เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย
    • ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ผลตอบแทนของ Feeder Fund ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก (Master Fund) เป็นหลัก
    • นโยบายการลงทุนของกองทุน แต่ละกองทุนจะมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อผลตอบแทนที่ได้รับ
    • เมื่อค่าเงินบาทแข็ง มักพบว่าหน่วยลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศ (Feeder Fund) ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน มี NAV ลดลง เมื่อเทียบกับกองทุนที่ลงทุนคล้ายกัน แต่มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หมายความว่าเงินบาทมีค่ามากกว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เมื่อแปลงกลับมูลค่าหน่วยลงทุนส่วนของเรา ที่แฝงอยู่ในหน่วยลงทุนหลักที่ปลายทางต่างประเทศ ซึ่งเป็นสกุลดอลลาร์ มีค่าลดลง เช่น ตอนเริ่มต้นลงทุน สมมุติว่าเราซื้อหน่วยลงทุน 1,000 หน่วย ตอนที่ค่าเงินบาทเท่ากับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และ NAV ของกองทุนอยู่ที่ 35 บาทต่อหน่วย หมายความว่า เงินของเรา 35,000 บาท จะถูกแปลงเป็นเงินดอลลาร์ประมาณ 1,000 ดอลลาร์ เพื่อไปลงทุนใน GLD ETF แต่พอต่อมาหลังจากนั้นสักระยะหนึ่งเกิดค่าเงินบาทแข็งค่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็น 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่ามูลค่าของทองคำใน GLD ETF จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อนำเงินกลับมาแปลงเป็นเงินบาท จะได้เงินบาทน้อยลง กลายเป็น 30,000 บาท ทำให้ NAV ของกองทุนลดลงเหลือ 30 บาทต่อหน่วย ทำให้มูลค่าของหน่วยลงทุนของเราลดลง
    กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (3) มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ นอกจากข้อดี-ข้อเสีย จากปัจจัยค่าเงินบาทแข็งค่า แล้วยังปัจจัยอื่น ที่มีผลต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับ เมื่อดูจาก NAV ของกองทุน เช่น • ค่าธรรมเนียมกองทุน เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย • ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ผลตอบแทนของ Feeder Fund ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก (Master Fund) เป็นหลัก • นโยบายการลงทุนของกองทุน แต่ละกองทุนจะมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อผลตอบแทนที่ได้รับ • เมื่อค่าเงินบาทแข็ง มักพบว่าหน่วยลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศ (Feeder Fund) ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน มี NAV ลดลง เมื่อเทียบกับกองทุนที่ลงทุนคล้ายกัน แต่มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หมายความว่าเงินบาทมีค่ามากกว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เมื่อแปลงกลับมูลค่าหน่วยลงทุนส่วนของเรา ที่แฝงอยู่ในหน่วยลงทุนหลักที่ปลายทางต่างประเทศ ซึ่งเป็นสกุลดอลลาร์ มีค่าลดลง เช่น ตอนเริ่มต้นลงทุน สมมุติว่าเราซื้อหน่วยลงทุน 1,000 หน่วย ตอนที่ค่าเงินบาทเท่ากับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และ NAV ของกองทุนอยู่ที่ 35 บาทต่อหน่วย หมายความว่า เงินของเรา 35,000 บาท จะถูกแปลงเป็นเงินดอลลาร์ประมาณ 1,000 ดอลลาร์ เพื่อไปลงทุนใน GLD ETF แต่พอต่อมาหลังจากนั้นสักระยะหนึ่งเกิดค่าเงินบาทแข็งค่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็น 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่ามูลค่าของทองคำใน GLD ETF จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อนำเงินกลับมาแปลงเป็นเงินบาท จะได้เงินบาทน้อยลง กลายเป็น 30,000 บาท ทำให้ NAV ของกองทุนลดลงเหลือ 30 บาทต่อหน่วย ทำให้มูลค่าของหน่วยลงทุนของเราลดลง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 615 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (2)

    ข้อดีของการซื้อถัวเฉลี่ยในช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น

    1. อาจได้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง คือเมื่อซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มในช่วงที่ราคาต่ำ จะช่วยลดต้นทุนเฉลี่ยของหน่วยลงทุนทั้งหมดลง ทำให้ในอนาคตเมื่อราคาฟื้นตัว อาจได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น
    • หลักคิดคือ เมื่อราคาของ Master Fund ฟื้นตัวขึ้น (NAV เพิ่มขึ้น) หน่วยลงทุนที่เราซื้อในราคาต่ำจะให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น แล้วทำให้ผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ตการลงทุนดีขึ้น เช่น สมมติว่าซื้อหน่วยลงทุนใน Feeder Fund เมื่อ NAV ของ Master Fund อยู่ที่ $100 และซื้อเพิ่มอีกครั้งเมื่อ NAV ลดลงเหลือ $80 ต้นทุนเฉลี่ยของเราอาจอยู่ที่ประมาณ $90 ซึ่งเมื่อราคาของ Master Fund กลับมาที่ $100 บาทอีกครั้ง ก็จะมีกำไรจากส่วนต่างที่เกิดขึ้น
    • ลดต้นทุนเฉลี่ย หมายถึงการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มในช่วงที่ราคาต่ำ เพื่อลดต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนทั้งหมด ซึ่งราคาต่ำในที่นี้หมายถึง การที่เราใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเปลี่ยนเป็นดอลลาร์สหรัฐ

    2. เป็นโอกาสในการซื้อในตอนราคาน่าสนใจ คือถ้าเชื่อมั่นในสินทรัพย์ที่กองทุนลงทุนอยู่ เช่น ทองคำ การซื้อในช่วงที่ราคาต่ำอาจเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อในราคาที่น่าสนใจ
    • ราคาน่าสนใจ หรือราคาต่ำ แต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน ขึ้นกับหลักคิดของแต่ละคน เช่น บางคนมองกราฟราคา บางคนวางกรอบราคาระยะสั้น-ยาว บางคนก็ศึกษามาเอง บางคนใช้ความเชื่อ บางคนฟังเขามาอีกที

    ข้อเสียของการซื้อถัวเฉลี่ยในช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น

    ต้นทุนเฉลี่ยอาจไม่ได้ลดลงจริง คือ กองทุนรวม Feeder Fund จะมีระบบบริหารงานภายใน เพื่อให้มีต้นทุนการดำเนินงานที่ควบคุมได้ เช่น
    • เงินดอลลาร์ที่ใช้หมุนเวียน กองทุน Feeder Fund จำเป็นต้องมีเงินดอลลาร์เพื่อนำไปลงทุนในกองทุนหลัก (Master Fund) ซึ่งมักจะใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เงินก้อนนี้ถือเป็นต้นทุนคงที่ของกองทุน กองทุนจึงต้องบริหารเงินทุนนี้ให้มีต้นทุนที่ไม่ผันผวนนัก
    • อาจไม่ได้รับผลจากค่าเงินบาทแข็งมากนัก นักลงทุนรายย่อยซื้อเพิ่มเข้ามาอีกในจำนวนที่ไม่มากนัก อาจไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนโดยรวมของกองทุนมากเท่าไร คือจริงๆ แล้วกองทุนอาจจ่ายเงินดอลลาร์ออกไป ด้วยต้นทุนเมื่อคิดเป็นเงินบาทแล้วไม่ต่างจากตอนปกติเท่าไรนัก นอกจากนี้ กองทุนอาจมีกลยุทธ์ในการบริหารเงินทุนที่ซับซ้อน เช่น การใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
    กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (2) ข้อดีของการซื้อถัวเฉลี่ยในช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น 1. อาจได้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง คือเมื่อซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มในช่วงที่ราคาต่ำ จะช่วยลดต้นทุนเฉลี่ยของหน่วยลงทุนทั้งหมดลง ทำให้ในอนาคตเมื่อราคาฟื้นตัว อาจได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น • หลักคิดคือ เมื่อราคาของ Master Fund ฟื้นตัวขึ้น (NAV เพิ่มขึ้น) หน่วยลงทุนที่เราซื้อในราคาต่ำจะให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น แล้วทำให้ผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ตการลงทุนดีขึ้น เช่น สมมติว่าซื้อหน่วยลงทุนใน Feeder Fund เมื่อ NAV ของ Master Fund อยู่ที่ $100 และซื้อเพิ่มอีกครั้งเมื่อ NAV ลดลงเหลือ $80 ต้นทุนเฉลี่ยของเราอาจอยู่ที่ประมาณ $90 ซึ่งเมื่อราคาของ Master Fund กลับมาที่ $100 บาทอีกครั้ง ก็จะมีกำไรจากส่วนต่างที่เกิดขึ้น • ลดต้นทุนเฉลี่ย หมายถึงการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มในช่วงที่ราคาต่ำ เพื่อลดต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนทั้งหมด ซึ่งราคาต่ำในที่นี้หมายถึง การที่เราใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเปลี่ยนเป็นดอลลาร์สหรัฐ 2. เป็นโอกาสในการซื้อในตอนราคาน่าสนใจ คือถ้าเชื่อมั่นในสินทรัพย์ที่กองทุนลงทุนอยู่ เช่น ทองคำ การซื้อในช่วงที่ราคาต่ำอาจเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อในราคาที่น่าสนใจ • ราคาน่าสนใจ หรือราคาต่ำ แต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน ขึ้นกับหลักคิดของแต่ละคน เช่น บางคนมองกราฟราคา บางคนวางกรอบราคาระยะสั้น-ยาว บางคนก็ศึกษามาเอง บางคนใช้ความเชื่อ บางคนฟังเขามาอีกที ข้อเสียของการซื้อถัวเฉลี่ยในช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น ต้นทุนเฉลี่ยอาจไม่ได้ลดลงจริง คือ กองทุนรวม Feeder Fund จะมีระบบบริหารงานภายใน เพื่อให้มีต้นทุนการดำเนินงานที่ควบคุมได้ เช่น • เงินดอลลาร์ที่ใช้หมุนเวียน กองทุน Feeder Fund จำเป็นต้องมีเงินดอลลาร์เพื่อนำไปลงทุนในกองทุนหลัก (Master Fund) ซึ่งมักจะใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เงินก้อนนี้ถือเป็นต้นทุนคงที่ของกองทุน กองทุนจึงต้องบริหารเงินทุนนี้ให้มีต้นทุนที่ไม่ผันผวนนัก • อาจไม่ได้รับผลจากค่าเงินบาทแข็งมากนัก นักลงทุนรายย่อยซื้อเพิ่มเข้ามาอีกในจำนวนที่ไม่มากนัก อาจไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนโดยรวมของกองทุนมากเท่าไร คือจริงๆ แล้วกองทุนอาจจ่ายเงินดอลลาร์ออกไป ด้วยต้นทุนเมื่อคิดเป็นเงินบาทแล้วไม่ต่างจากตอนปกติเท่าไรนัก นอกจากนี้ กองทุนอาจมีกลยุทธ์ในการบริหารเงินทุนที่ซับซ้อน เช่น การใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 666 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (1)

    คำถาม :
    ถ้ากองทุน feeder fund ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ลงทุนในกองทุนแม่ GLD ETF เป็นกอง Master Fund แล้วตอนนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ถ้าตอนนี้ NAV ของ Feeder Fund ที่ว่านี้ติดลบ ถ้าซื้อถัวไปอีก จะมีข้อดี-เสีย ยังไง

    ทั้งนี้
    • Feeder Fund คือ กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนหลัก (Master Fund) ในต่างประเทศ
    • Master Fund ในที่นี้คือ GLD ETF ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำ
    • ค่าเงินบาทแข็งค่า หมายความว่า เงินบาทมีค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
    • NAV ติดลบ: หมายถึง มูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ต่อหน่วยลงทุนของกองทุนลดลง

    ตอบ :
    ช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น นักลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนในช่วงเวลานั้น อาจไม่ได้รับประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีปัจจัยภายในของกองทุน เช่น ขนาดของเงินทุนที่กองทุนมีอยู่ กลยุทธ์การบริหารเงินทุน และค่าธรรมเนียมต่างๆ ล้วนมีส่วนสำคัญในการกำหนดผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับ
    กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (1) คำถาม : ถ้ากองทุน feeder fund ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ลงทุนในกองทุนแม่ GLD ETF เป็นกอง Master Fund แล้วตอนนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ถ้าตอนนี้ NAV ของ Feeder Fund ที่ว่านี้ติดลบ ถ้าซื้อถัวไปอีก จะมีข้อดี-เสีย ยังไง ทั้งนี้ • Feeder Fund คือ กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนหลัก (Master Fund) ในต่างประเทศ • Master Fund ในที่นี้คือ GLD ETF ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำ • ค่าเงินบาทแข็งค่า หมายความว่า เงินบาทมีค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ • NAV ติดลบ: หมายถึง มูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ต่อหน่วยลงทุนของกองทุนลดลง ตอบ : ช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น นักลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนในช่วงเวลานั้น อาจไม่ได้รับประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีปัจจัยภายในของกองทุน เช่น ขนาดของเงินทุนที่กองทุนมีอยู่ กลยุทธ์การบริหารเงินทุน และค่าธรรมเนียมต่างๆ ล้วนมีส่วนสำคัญในการกำหนดผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 412 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทุนรวมวายุภักษ์ 1
    กองทุนรวมวายุภักษ์ 1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 399 มุมมอง 70 0 รีวิว
  • 🔥🔥ก.ล.ต. ปรับปรุงหลักเกณฑ์กองทุนรวมวายุภักษ์
    รองรับการเสนอขายผู้ลงทุนทั่วไป

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ
    ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกประกาศปรับปรุง
    หลักเกณฑ์ กองทุนรวมวายุภักษ์รองรับการเสนอขาย
    ผู้ลงทุนทั่วไป เพื่อส่งเสริมการออมการลงทุน
    และขับเคลื่อนตลาดทุนไทย

    ตามที่คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่
    13 สิงหาคม 2567 ได้มีมติรับทราบการเสนอขาย
    หน่วยลงทุน ของกองทุนรวมวายุภักษ์ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป
    ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อส่งเสริมการออม
    และการลงทุน ให้กับประชาชนในระยะยาว
    และเพื่อพัฒนาตลาดทุนของประเทศ
    โดยสร้างกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์
    แห่งประเทศไทย (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) ซึ่งจะช่วยลด
    การพึ่งพิงเงินลงทุนต่างประเทศนั้น

    กองทุนรวมวายุภักษ์ มีแผนที่จะเสนอขายหน่วยลงทุน
    แก่ผู้ลงทุนทั่วไป (ผู้ถือหน่วยลงทุน ก.) ประมาณ
    100,000 – 150,000 ล้านบาท

    และจะนำหน่วยลงทุนดังกล่าวเข้าจดทะเบียน
    ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยผู้ถือหน่วยลงทุน ก.
    จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบเงินปันผล
    ไม่น้อยกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ
    และไม่เกินกว่าเพดานผลตอบแทนขั้นสูง
    ตามที่กำหนดตลอดระยะเวลา 10 ปี

    นอกจากนี้ ในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
    ของกองทุนลดลง ผู้ถือหน่วยลงทุน ก. มีสิทธิได้รับ
    ผลตอบแทนก่อนผู้ถือหน่วยลงทุน ข.
    (กระทรวงการคลังและนักลงทุนภาครัฐ)

    ก.ล.ต. จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่ใช้สำหรับกองทุนรวมวายุภักษ์
    ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

    🚩(1) การอนุญาตให้กำหนดราคาขายหน่วยลงทุน ก. ตามมูลค่า
    ที่ตราไว้ (10 บาทต่อหน่วย) ได้ นอกเหนือจากการขาย
    ตามมูลค่าทรัพย์สินต่อหน่วย

    🚩(2) การกำหนดเกณฑ์อัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์
    เป็นการเฉพาะ และขยายระยะเวลาผ่อนผันการลงทุน
    เกินเกณฑ์อัตราส่วนการลงทุน ที่มิได้เกิดจากการลงทุนเพิ่มเป็น 10 ปี
    นับตั้งแต่วันที่หน่วยลงทุน ก. ซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ฯ

    🚩และ (3) การอนุญาตให้กระทรวงการคลังชำระค่าซื้อหน่วยลงทุน
    เป็นหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่น (pay-in-kind) ได้
    ตามที่สำนักงานกองทุนรวมวายุภักษ์และบริษัท
    จัดการลงทุนขอมา

    ทั้งนี้ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงเกณฑ์กองทุนรวมวายุภักษ์
    มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2567

    ที่มา: ก.ล.ต.

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กองทุนรวมวายุภักษ์ #thaitimes
    🔥🔥ก.ล.ต. ปรับปรุงหลักเกณฑ์กองทุนรวมวายุภักษ์ รองรับการเสนอขายผู้ลงทุนทั่วไป สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกประกาศปรับปรุง หลักเกณฑ์ กองทุนรวมวายุภักษ์รองรับการเสนอขาย ผู้ลงทุนทั่วไป เพื่อส่งเสริมการออมการลงทุน และขับเคลื่อนตลาดทุนไทย ตามที่คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 ได้มีมติรับทราบการเสนอขาย หน่วยลงทุน ของกองทุนรวมวายุภักษ์ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อส่งเสริมการออม และการลงทุน ให้กับประชาชนในระยะยาว และเพื่อพัฒนาตลาดทุนของประเทศ โดยสร้างกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) ซึ่งจะช่วยลด การพึ่งพิงเงินลงทุนต่างประเทศนั้น กองทุนรวมวายุภักษ์ มีแผนที่จะเสนอขายหน่วยลงทุน แก่ผู้ลงทุนทั่วไป (ผู้ถือหน่วยลงทุน ก.) ประมาณ 100,000 – 150,000 ล้านบาท และจะนำหน่วยลงทุนดังกล่าวเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยผู้ถือหน่วยลงทุน ก. จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบเงินปันผล ไม่น้อยกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ และไม่เกินกว่าเพดานผลตอบแทนขั้นสูง ตามที่กำหนดตลอดระยะเวลา 10 ปี นอกจากนี้ ในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ของกองทุนลดลง ผู้ถือหน่วยลงทุน ก. มีสิทธิได้รับ ผลตอบแทนก่อนผู้ถือหน่วยลงทุน ข. (กระทรวงการคลังและนักลงทุนภาครัฐ) ก.ล.ต. จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่ใช้สำหรับกองทุนรวมวายุภักษ์ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ 🚩(1) การอนุญาตให้กำหนดราคาขายหน่วยลงทุน ก. ตามมูลค่า ที่ตราไว้ (10 บาทต่อหน่วย) ได้ นอกเหนือจากการขาย ตามมูลค่าทรัพย์สินต่อหน่วย 🚩(2) การกำหนดเกณฑ์อัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ เป็นการเฉพาะ และขยายระยะเวลาผ่อนผันการลงทุน เกินเกณฑ์อัตราส่วนการลงทุน ที่มิได้เกิดจากการลงทุนเพิ่มเป็น 10 ปี นับตั้งแต่วันที่หน่วยลงทุน ก. ซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ฯ 🚩และ (3) การอนุญาตให้กระทรวงการคลังชำระค่าซื้อหน่วยลงทุน เป็นหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่น (pay-in-kind) ได้ ตามที่สำนักงานกองทุนรวมวายุภักษ์และบริษัท จัดการลงทุนขอมา ทั้งนี้ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงเกณฑ์กองทุนรวมวายุภักษ์ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2567 ที่มา: ก.ล.ต. #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กองทุนรวมวายุภักษ์ #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 916 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥กระทรวงการคลัง เปิดจองซื้อ "กองทุนรวมวายุภักษ์"
    สำหรับประชาชนทั่วไป 16-20 กันยายน นี้
    ประกันผลตอบแทนขั้นต่ำ

    🚩ระบุ กองทุน เริ่มลงทุนเม็ดเงินจำนวน 1.5แสนล้านบาท
    ในตลาดหุ้น เริ่ม 1 ตุลาคม 2567 นี้ เพื่อหนุนให้
    ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัว
    ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กองทุนรวมวายุภักษ์
    #thaitimes
    🔥🔥กระทรวงการคลัง เปิดจองซื้อ "กองทุนรวมวายุภักษ์" สำหรับประชาชนทั่วไป 16-20 กันยายน นี้ ประกันผลตอบแทนขั้นต่ำ 🚩ระบุ กองทุน เริ่มลงทุนเม็ดเงินจำนวน 1.5แสนล้านบาท ในตลาดหุ้น เริ่ม 1 ตุลาคม 2567 นี้ เพื่อหนุนให้ ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัว ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กองทุนรวมวายุภักษ์ #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 906 มุมมอง 0 รีวิว