เตือนนายกฯครั้งที่ 5 ! นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟสบุ๊ก “Thirachai Phuvanatnaranubala – – ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” ระบุว่า
จดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ เรื่องกองทุนวายุภักษ์ ๑

ด่วนที่สุด

วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗

เรื่อง กองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ อาจจะฝ่าฝืนกฎหมาย (ฉบับที่ ๖)

เรียน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ตามที่ข้าพเจ้าได้มีหนังสือ ๕ ฉบับ ฉบับหลังสุดลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๗ (ฉบับที่ ๕) ร้องเรียนกรณีกระทรวงการคลังประกาศเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อกองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ (กองทุนฯ) วงเงิน ๑.๕ แสนล้านบาท ในวันที่ ๑๖-๒๐ กันยายนนี้ และให้นักลงทุนสถาบันจองซื้อในวันที่ ๑๘-๒๐ กันยายนนี้

ซึ่งข้าพเจ้ามีความเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวอาจจะฝ่าฝืนกฎหมาย นั้น

ข้าพเจ้าขอเรียนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง ดังนี้

๑. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑

“มาตรา ๒๘ การมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดําเนินการนั้น ให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐนั้น เพื่อฟื้นฟูหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยหรือการก่อวินาศกรรม

ในการมอบหมายตามวรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีต้องพิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ผลกระทบต่อการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายนั้น และแนวทางการบริหารจัดการภาระทางการคลังของรัฐและผลกระทบจากการดําเนินการดังกล่าว ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องมียอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการกําหนด

ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรานี้ ไม่ว่าการมอบหมายนั้นจะเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือไม่ จัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการนั้น ๆ และแจ้งให้คณะกรรมการและกระทรวงการคลังทราบ”

๒. ประเด็นที่อาจฝ่าฝืนกฎหมาย

เนื่องจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ ได้รับทราบโครงการกองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ (กองทุนฯ) และโดยที่เงื่อนไขในการประกาศเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อกองทุนฯ

มีผลโดยอัตโนมัติเป็นการที่กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับผลตอบแทนแต่ละปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓ ต่อปี ทั้งจากรายได้แต่ละปี และจากกำไรสะสมของกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. และมีผลโดยอัตโนมัติเป็นการที่กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับคืนเงินลงทุนก่อนหน้ากระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข.

ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า กรณีนี้เข้าข่ายเป็นการที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงการคลัง”ดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดําเนินการนั้น” ตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๘

๒.๑ ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกระทรวงการคลัง

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๐ กำหนดหน้าที่และอำนาจของกระทรวงการคลังไว้ว่า “กระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง”

ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า เรื่องที่เสนอคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกระทรวงการคลังข้างต้น จึงกระทำมิได้

ส่วนการที่กองทุนฯ จะแบ่งปันรายได้และกำหนดลำดับสิทธิในการคืนเงินลงทุนนั้น ถึงแม้อาจจะอยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ แต่กองทุนฯ ไม่มีหน้าที่และอำนาจที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินการให้มีผลเป็นการทำให้กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก.

๒.๒ คณะรัฐมนตรีอาจมิได้พิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หรือผลกระทบต่อการดําเนินงานของกระทรวงการคลัง

ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า คณะรัฐมนตรีอาจมิได้พิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หรือผลกระทบต่อการดําเนินงานของกระทรวงการคลัง อันไม่เป็นการปฏิบัติตามวรรคสองของมาตรา ๒๘ เพราะข้าพเจ้าสืบค้นไม่พบการนำเสนอตัวเลขภาระที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรี

๒.๓ อาจไม่มีการจัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรมกองทุนฯ

ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า กระทรวงการคลังอาจไม่มีการจัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรมกองทุนฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี อันไม่เป็นการปฏิบัติตามวรรตสามของมาตรา ๒๘ เพราะข้าพเจ้าสืบค้นไม่พบการนำเสนอตัวเลขประมาณการที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรี

๓. ขอให้สั่งการแก้ไข

กรณีที่ถ้าหากท่านตรวจสอบแล้ว พบว่ามีการปฏิบัติที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้าพเจ้าขอเรียนว่า ท่านมีหน้าที่สั่งการให้แก้ไข และลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องโดยพลัน

จึงขอให้ท่านโปรดพิจารณาว่าการกระทำที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามกฎหมายและหลักธรรมาภิบาลหรือไม่

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

สำเนาเรียน
ประธาน ป.ป.ช. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗
ประธาน ค.ต.ง. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗
ประธาน ก.ก.ต. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗“
ที่มา https://www.facebook.com/share/p/Ti8aaMp5mLUDpy1U/?mibextid=CTbP7E

#Thaitimes
เตือนนายกฯครั้งที่ 5 ! นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟสบุ๊ก “Thirachai Phuvanatnaranubala – – ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” ระบุว่า จดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ เรื่องกองทุนวายุภักษ์ ๑ ด่วนที่สุด วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ เรื่อง กองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ อาจจะฝ่าฝืนกฎหมาย (ฉบับที่ ๖) เรียน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตามที่ข้าพเจ้าได้มีหนังสือ ๕ ฉบับ ฉบับหลังสุดลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๗ (ฉบับที่ ๕) ร้องเรียนกรณีกระทรวงการคลังประกาศเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อกองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ (กองทุนฯ) วงเงิน ๑.๕ แสนล้านบาท ในวันที่ ๑๖-๒๐ กันยายนนี้ และให้นักลงทุนสถาบันจองซื้อในวันที่ ๑๘-๒๐ กันยายนนี้ ซึ่งข้าพเจ้ามีความเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวอาจจะฝ่าฝืนกฎหมาย นั้น ข้าพเจ้าขอเรียนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง ดังนี้ ๑. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ “มาตรา ๒๘ การมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดําเนินการนั้น ให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐนั้น เพื่อฟื้นฟูหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยหรือการก่อวินาศกรรม ในการมอบหมายตามวรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีต้องพิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ผลกระทบต่อการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายนั้น และแนวทางการบริหารจัดการภาระทางการคลังของรัฐและผลกระทบจากการดําเนินการดังกล่าว ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องมียอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการกําหนด ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรานี้ ไม่ว่าการมอบหมายนั้นจะเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือไม่ จัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการนั้น ๆ และแจ้งให้คณะกรรมการและกระทรวงการคลังทราบ” ๒. ประเด็นที่อาจฝ่าฝืนกฎหมาย เนื่องจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ ได้รับทราบโครงการกองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ (กองทุนฯ) และโดยที่เงื่อนไขในการประกาศเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อกองทุนฯ มีผลโดยอัตโนมัติเป็นการที่กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับผลตอบแทนแต่ละปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓ ต่อปี ทั้งจากรายได้แต่ละปี และจากกำไรสะสมของกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. และมีผลโดยอัตโนมัติเป็นการที่กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับคืนเงินลงทุนก่อนหน้ากระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า กรณีนี้เข้าข่ายเป็นการที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงการคลัง”ดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดําเนินการนั้น” ตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๘ ๒.๑ ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกระทรวงการคลัง พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๐ กำหนดหน้าที่และอำนาจของกระทรวงการคลังไว้ว่า “กระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง” ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า เรื่องที่เสนอคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกระทรวงการคลังข้างต้น จึงกระทำมิได้ ส่วนการที่กองทุนฯ จะแบ่งปันรายได้และกำหนดลำดับสิทธิในการคืนเงินลงทุนนั้น ถึงแม้อาจจะอยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ แต่กองทุนฯ ไม่มีหน้าที่และอำนาจที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินการให้มีผลเป็นการทำให้กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ๒.๒ คณะรัฐมนตรีอาจมิได้พิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หรือผลกระทบต่อการดําเนินงานของกระทรวงการคลัง ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า คณะรัฐมนตรีอาจมิได้พิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หรือผลกระทบต่อการดําเนินงานของกระทรวงการคลัง อันไม่เป็นการปฏิบัติตามวรรคสองของมาตรา ๒๘ เพราะข้าพเจ้าสืบค้นไม่พบการนำเสนอตัวเลขภาระที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรี ๒.๓ อาจไม่มีการจัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรมกองทุนฯ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า กระทรวงการคลังอาจไม่มีการจัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรมกองทุนฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี อันไม่เป็นการปฏิบัติตามวรรตสามของมาตรา ๒๘ เพราะข้าพเจ้าสืบค้นไม่พบการนำเสนอตัวเลขประมาณการที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรี ๓. ขอให้สั่งการแก้ไข กรณีที่ถ้าหากท่านตรวจสอบแล้ว พบว่ามีการปฏิบัติที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้าพเจ้าขอเรียนว่า ท่านมีหน้าที่สั่งการให้แก้ไข และลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องโดยพลัน จึงขอให้ท่านโปรดพิจารณาว่าการกระทำที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามกฎหมายและหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ขอแสดงความนับถืออย่างสูง (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สำเนาเรียน ประธาน ป.ป.ช. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗ ประธาน ค.ต.ง. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗ ประธาน ก.ก.ต. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗“ ที่มา https://www.facebook.com/share/p/Ti8aaMp5mLUDpy1U/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
Like
2
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 378 มุมมอง 0 รีวิว