• กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้เมื่อวันอังคาร (22 เม.ย.) พร้อมเตือนความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจากผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกของมาตรการขึ้นภาษีศุลกากรที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ นำมาใช้

    การประเมินของ IMF ซึ่งนำมาตรการภาษีบางส่วนที่ถูกประกาศในปีนี้มาคิดคำนวณ ระบุว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะขยายตัวเพียง 2.8% ลดลง 0.5% จากคาดการณ์ World Economic Outlook (WEO) เมื่อช่วงเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา

    สำหรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีหน้าอยู่ที่ 3.0% ซึ่งก็ลดลง 0.3% จากที่ประเมินไว้เมื่อเดือน ม.ค.

    “เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่ระบบเศรษฐกิจโลกซึ่งดำเนินมาตลอด 80 ปีกำลังถูกรีเซ็ต” ปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูรินชาส์ (Pierre-Olivier Gourinchas) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ IMF ให้สัมภาษณ์สื่อที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวานนี้ (22)

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/around/detail/9680000038009

    #MGROnline #กองทุนการเงินระหว่างประเทศ #เศรษฐกิจโลก
    กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้เมื่อวันอังคาร (22 เม.ย.) พร้อมเตือนความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจากผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกของมาตรการขึ้นภาษีศุลกากรที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ นำมาใช้ • การประเมินของ IMF ซึ่งนำมาตรการภาษีบางส่วนที่ถูกประกาศในปีนี้มาคิดคำนวณ ระบุว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะขยายตัวเพียง 2.8% ลดลง 0.5% จากคาดการณ์ World Economic Outlook (WEO) เมื่อช่วงเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา • สำหรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีหน้าอยู่ที่ 3.0% ซึ่งก็ลดลง 0.3% จากที่ประเมินไว้เมื่อเดือน ม.ค. • “เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่ระบบเศรษฐกิจโลกซึ่งดำเนินมาตลอด 80 ปีกำลังถูกรีเซ็ต” ปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูรินชาส์ (Pierre-Olivier Gourinchas) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ IMF ให้สัมภาษณ์สื่อที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวานนี้ (22) • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/around/detail/9680000038009 • #MGROnline #กองทุนการเงินระหว่างประเทศ #เศรษฐกิจโลก
    0 Comments 0 Shares 50 Views 0 Reviews
  • รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ได้ประกาศซื้อบิทคอยน์เพิ่มเติม ทำให้ยอดรวมบิทคอยน์ในกองทุนสำรองของประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 6,102 เหรียญ สำนักงานบิทคอยน์แห่งชาติได้โพสต์ข้อมูลนี้บนสื่อสังคมออนไลน์

    การประกาศซื้อบิทคอยน์ครั้งนี้เกิดขึ้นไม่กี่วันหลังจากคณะกรรมการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อนุมัติโครงการ 40 เดือนกับเอลซัลวาดอร์มูลค่า 1.4 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม การยอมรับของสาธารณะเกี่ยวกับการใช้บิทคอยน์เป็นเงินตรายังคงเป็นเรื่องสมัครใจ และไม่สามารถใช้ชำระภาษีได้ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังเมื่อบิทคอยน์ได้รับสถานะเป็นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมายในปี 2021

    รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ได้รับรองกับ IMF ว่าการเพิ่มจำนวนบิทคอยน์ในกองทุนสำรองนั้นสอดคล้องกับเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ และจะไม่สะสมบิทคอยน์เพิ่มเติมในระดับของภาครัฐอย่างเป็นทางการ ตามที่โฆษกของ IMF กล่าวไว้

    การประกาศซื้อบิทคอยน์ทำให้พันธบัตรดอลลาร์ของรัฐบาลเอลซัลวาดอร์ลดลงในตลาดในวันพุธ โดยพันธบัตรที่ครบกำหนดในปี 2050 และ 2041 ลดลง 0.75 เซ็นต์ต่อดอลลาร์

    รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ได้ซื้อบิทคอยน์เพิ่มอีก 12 เหรียญตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วเมื่อ IMF อนุมัติข้อตกลงปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลถือบิทคอยน์มูลค่าประมาณ 550 ล้านดอลลาร์

    การซื้อบิทคอยน์เพิ่มเติมนี้อาจเป็นการพยายามเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกองทุนสำรองของเอลซัลวาดอร์ แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากบิทคอยน์ยังคงมีความผันผวนในตลาด การรับรองจาก IMF ว่ารัฐบาลจะไม่สะสมบิทคอยน์เพิ่มเติมในภาครัฐอาจเป็นการพยายามสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงินในประเทศ

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/03/06/el-salvador-announces-more-bitcoin-purchases-gives-imf-assurances
    รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ได้ประกาศซื้อบิทคอยน์เพิ่มเติม ทำให้ยอดรวมบิทคอยน์ในกองทุนสำรองของประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 6,102 เหรียญ สำนักงานบิทคอยน์แห่งชาติได้โพสต์ข้อมูลนี้บนสื่อสังคมออนไลน์ การประกาศซื้อบิทคอยน์ครั้งนี้เกิดขึ้นไม่กี่วันหลังจากคณะกรรมการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อนุมัติโครงการ 40 เดือนกับเอลซัลวาดอร์มูลค่า 1.4 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม การยอมรับของสาธารณะเกี่ยวกับการใช้บิทคอยน์เป็นเงินตรายังคงเป็นเรื่องสมัครใจ และไม่สามารถใช้ชำระภาษีได้ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังเมื่อบิทคอยน์ได้รับสถานะเป็นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมายในปี 2021 รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ได้รับรองกับ IMF ว่าการเพิ่มจำนวนบิทคอยน์ในกองทุนสำรองนั้นสอดคล้องกับเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ และจะไม่สะสมบิทคอยน์เพิ่มเติมในระดับของภาครัฐอย่างเป็นทางการ ตามที่โฆษกของ IMF กล่าวไว้ การประกาศซื้อบิทคอยน์ทำให้พันธบัตรดอลลาร์ของรัฐบาลเอลซัลวาดอร์ลดลงในตลาดในวันพุธ โดยพันธบัตรที่ครบกำหนดในปี 2050 และ 2041 ลดลง 0.75 เซ็นต์ต่อดอลลาร์ รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ได้ซื้อบิทคอยน์เพิ่มอีก 12 เหรียญตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วเมื่อ IMF อนุมัติข้อตกลงปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลถือบิทคอยน์มูลค่าประมาณ 550 ล้านดอลลาร์ การซื้อบิทคอยน์เพิ่มเติมนี้อาจเป็นการพยายามเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกองทุนสำรองของเอลซัลวาดอร์ แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากบิทคอยน์ยังคงมีความผันผวนในตลาด การรับรองจาก IMF ว่ารัฐบาลจะไม่สะสมบิทคอยน์เพิ่มเติมในภาครัฐอาจเป็นการพยายามสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงินในประเทศ https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/03/06/el-salvador-announces-more-bitcoin-purchases-gives-imf-assurances
    WWW.THESTAR.COM.MY
    El Salvador announces more bitcoin purchases, gives IMF assurances
    SAN SALVADOR (Reuters) - El Salvador announced on Wednesday the purchase of a bitcoin, which takes the total in the country's strategic reserve to above 6,102 coins, the National Bitcoin Office posted on social media.
    0 Comments 0 Shares 314 Views 0 Reviews
  • ข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (IMF) อัพเดทเมื่อเดือนมกราคม 2025

    "เศรษฐกิจรัสเซียเติบโต 3.8% ในขณะที่ต้องทำสงครามกับยูเครนต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 3 และกำลังเข้าสู่ปีที่ 4"

    ขณะเดียวกันเศรษฐกิจเยอรมนีเติบโตติดลบที่ -0.2 %
    ฝรั่งเศส 1.1%
    อิตาลี 0.6%
    อังกฤษ 0.9%

    https://www.imf.org/en/Publications/WEO/Issues/2025/01/17/world-economic-outlook-update-january-2025
    ข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (IMF) อัพเดทเมื่อเดือนมกราคม 2025 "เศรษฐกิจรัสเซียเติบโต 3.8% ในขณะที่ต้องทำสงครามกับยูเครนต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 3 และกำลังเข้าสู่ปีที่ 4" ขณะเดียวกันเศรษฐกิจเยอรมนีเติบโตติดลบที่ -0.2 % ฝรั่งเศส 1.1% อิตาลี 0.6% อังกฤษ 0.9% https://www.imf.org/en/Publications/WEO/Issues/2025/01/17/world-economic-outlook-update-january-2025
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 413 Views 0 Reviews
  • ## เบื้องหลังมายากลระดับตำนาน ทักษิณ ผู้ปลดหนี้ IMF ด้วยเงิน 5 แสนล้าน ที่ตนเองไม่ได้หา ##
    ..
    ..
    วิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดขึ้นในสมัยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงปีพศ. 2540 มีการโจมตีค่าเงินบาทจากต่างชาติ
    .
    ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในเวลานั้นตัดสินใจใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศสู้การโจมตี ในการพยุงค่าเงินบาท ที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้คงที่ ที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด
    .
    จนในที่สุด ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำนวนมาก ก็แทบจะไม่เหลือ เมื่อพลเอกชวลิตทราบเรื่อง จึงตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท คือไม่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ให้ขึ้นลง ตามมูลค่าจริง ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
    .
    ค่าเงินบาทต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐเคยขึ้นไปสูงถึง 50-56 บาท
    .
    คนที่เคยเป็นหนี้เงินกู้ต่างประเทศ 1000 ดอลล่าร์ เทียบเป็นเงินไทย 27000 บาท กลายเป็น 50000 – 56000 บาท
    .
    ทุกอย่างพังพินาศในชั่วคืน
    .
    หลังเกิดวิกฤต รัฐบาล ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF
    และทาง IMF ก็ออกมาตรการที่เข้มงวดต่อระบบการเงินการคลังให้ไทยตัดรายจ่ายงบประมาณแผ่นดินและเพิ่มภาษีมูลค่าเป็นร้อยละ 10 ทั้ง ๆ ที่วิกฤตนี้เป็นวิกฤตภาคการเงิน ไม่ได้มาจากการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ และไทยเองก็มีการเกินดุลการคลังมาตลอดก่อนหน้า 10 ปี ทำให้มีเงินสะสมในคลังจำนวนมาก แต่ก็อาจจะเป็นเพราะสถานการณ์ในขณะนั้นที่ไทยมีการเติบโตที่ติดลบไปแล้วจึงต้องยอมปฏิบัติตาม
    .
    ผลจากวิกฤตนี้ ทำให้นายกชวลิต ลาออก ได้นายกคนใหม่ชื่อ ชวน หลีกภัย
    .
    รัฐบาลชวน หลีกภัย ในสมัยที่เข้ามารับช่วงต่อปี 2540 ได้เจรจาให้ IMF ยอมลดเงื่อนไขโดยให้ภาษีมูลค่าเพิ่มไปอยู่ที่ร้อยละ 7 และยอมให้มีการขยายรายจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินกู้จากญี่ปุ่นหลังจากที่เหล่าธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้จนทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถเดินได้
    นอกจากนี้การกอบกู้ไทยจาก IMF โดยมีญี่ปุ่นเป็นหัวหอกและประเทศอื่นๆ ในอาเซียนร่วมใจกัน ซึ่งสามารถระดมเงินมาได้ 17.2 พันล้านเหรียญฯ
    รัฐบาลชวน ได้เข้ามาควบคุม บริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอกชนให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการจัดตั้ง องค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) เพื่อจัดการควบรวมกิจการ ประกาศขายกิจการที่มีปัญหาเรื่องสินทรัพย์และหนี้สิน ท่ามกลางข้อครหาว่า เอากิจการที่มีมูลค่าสูงมาขายเลหลังในราคาถูก จนเรียกกันแบบล้อเลียนว่า ออกกฎหมายขายชาติ และมีแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ จนกระทั่งสถานการณ์ทางการเงินการคลังค่อยๆ ดีขึ้น
    .
    รัฐบาลไทยเบิกเงินจาก IMF จริงเพียงแค่ 14 พันล้านเหรียญ และทิ้งเงินส่วนที่เหลือ ราว 3 พันล้านเหรียญ และไม่เบิกจาก IMF ต่อในเดือนกันยายน 2542 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ต้องกู้เพิ่มเพราะการกู้มักจะยืดเยื้อไม่จบสิ้น
    เท่ากับว่า รัฐบาลชวนฯ สามารถกอบกู้ปัญหาดุลการชำระเงินให้เข้าสู่สภาวะปกติและมีเงินสำรองระหว่างประเทศกลับคืนมาอย่างรวดเร็วกว่าที่ IMF คาดไว้
    .
    ดังนั้นกระทรวงการคลังของไทยจึงได้ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยคืนหนี้ IMF ก่อนกำหนด เพราะเงินสำรองที่ถูกใช้เกือบหมดนั้น ได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อยากให้เก็บเงินสำรองไว้ก่อน จนรัฐบาลชวนหมดวาระในปี 2543
    .
    ประเทศไทยได้นายกคนใหม่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ในปีพ.ศ. 2544
    .
    นายกทักษิณ ชินวัตรได้เข้ามาบริหารประเทศ เห็นว่ารัฐบาลที่แล้ว เพิ่งใช้หนี้ IMF ไปแค่ส่วนหนึ่ง และเห็นว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่รัฐบาลที่แล้วสะสมเอาไว้มีมากพอที่จะใช้หนี้ เพื่อดึงเงินทุนสำรองนี้มาใช้ นายกทักษิณจึงปลดผู้ว่าของธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นออก แล้วนำเงินจากกองทุนเงินสำรองที่ได้สะสมเอาไว้จากการบริหารงานของรัฐบาลก่อนหน้าบวกกับเงินกู้จาก ADB อีกส่วนหนึ่ง คืนเจ้าหนี้ IMF ก่อนกำหนด
    .
    ข้อดีคือ ความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทยของนักลงทุนดีขึ้น สถานการณ์ของประเทศดีขึ้น
    และใช่ ทักษิณเป็นคนปลดหนี้จาก IMF
    .
    แต่เราจะพูดถึงแต่คนที่เอาเงินจากกระเป๋าที่มีเงินอยู่แล้ว ไปปลดหนี้
    โดยที่ไม่พูดถึงหรือไม่ให้เครดิตคนที่หาเงิน และบริหารเงินจนมีเงินในกระเป๋ามากพอที่จะใช้หนี้เลย คงจะไม่เป็นการยุติธรรมต่อกลุ่มคนเหล่านั้น มิใช่หรือ
    ....
    ....
    โดย เพจ ฤๅ - Lue History
    .
    https://www.facebook.com/share/p/1EqubFQLrq/
    ## เบื้องหลังมายากลระดับตำนาน ทักษิณ ผู้ปลดหนี้ IMF ด้วยเงิน 5 แสนล้าน ที่ตนเองไม่ได้หา ## .. .. วิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดขึ้นในสมัยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงปีพศ. 2540 มีการโจมตีค่าเงินบาทจากต่างชาติ . ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในเวลานั้นตัดสินใจใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศสู้การโจมตี ในการพยุงค่าเงินบาท ที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้คงที่ ที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด . จนในที่สุด ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำนวนมาก ก็แทบจะไม่เหลือ เมื่อพลเอกชวลิตทราบเรื่อง จึงตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท คือไม่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ให้ขึ้นลง ตามมูลค่าจริง ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 . ค่าเงินบาทต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐเคยขึ้นไปสูงถึง 50-56 บาท . คนที่เคยเป็นหนี้เงินกู้ต่างประเทศ 1000 ดอลล่าร์ เทียบเป็นเงินไทย 27000 บาท กลายเป็น 50000 – 56000 บาท . ทุกอย่างพังพินาศในชั่วคืน . หลังเกิดวิกฤต รัฐบาล ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF และทาง IMF ก็ออกมาตรการที่เข้มงวดต่อระบบการเงินการคลังให้ไทยตัดรายจ่ายงบประมาณแผ่นดินและเพิ่มภาษีมูลค่าเป็นร้อยละ 10 ทั้ง ๆ ที่วิกฤตนี้เป็นวิกฤตภาคการเงิน ไม่ได้มาจากการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ และไทยเองก็มีการเกินดุลการคลังมาตลอดก่อนหน้า 10 ปี ทำให้มีเงินสะสมในคลังจำนวนมาก แต่ก็อาจจะเป็นเพราะสถานการณ์ในขณะนั้นที่ไทยมีการเติบโตที่ติดลบไปแล้วจึงต้องยอมปฏิบัติตาม . ผลจากวิกฤตนี้ ทำให้นายกชวลิต ลาออก ได้นายกคนใหม่ชื่อ ชวน หลีกภัย . รัฐบาลชวน หลีกภัย ในสมัยที่เข้ามารับช่วงต่อปี 2540 ได้เจรจาให้ IMF ยอมลดเงื่อนไขโดยให้ภาษีมูลค่าเพิ่มไปอยู่ที่ร้อยละ 7 และยอมให้มีการขยายรายจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินกู้จากญี่ปุ่นหลังจากที่เหล่าธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้จนทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถเดินได้ นอกจากนี้การกอบกู้ไทยจาก IMF โดยมีญี่ปุ่นเป็นหัวหอกและประเทศอื่นๆ ในอาเซียนร่วมใจกัน ซึ่งสามารถระดมเงินมาได้ 17.2 พันล้านเหรียญฯ รัฐบาลชวน ได้เข้ามาควบคุม บริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอกชนให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการจัดตั้ง องค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) เพื่อจัดการควบรวมกิจการ ประกาศขายกิจการที่มีปัญหาเรื่องสินทรัพย์และหนี้สิน ท่ามกลางข้อครหาว่า เอากิจการที่มีมูลค่าสูงมาขายเลหลังในราคาถูก จนเรียกกันแบบล้อเลียนว่า ออกกฎหมายขายชาติ และมีแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ จนกระทั่งสถานการณ์ทางการเงินการคลังค่อยๆ ดีขึ้น . รัฐบาลไทยเบิกเงินจาก IMF จริงเพียงแค่ 14 พันล้านเหรียญ และทิ้งเงินส่วนที่เหลือ ราว 3 พันล้านเหรียญ และไม่เบิกจาก IMF ต่อในเดือนกันยายน 2542 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ต้องกู้เพิ่มเพราะการกู้มักจะยืดเยื้อไม่จบสิ้น เท่ากับว่า รัฐบาลชวนฯ สามารถกอบกู้ปัญหาดุลการชำระเงินให้เข้าสู่สภาวะปกติและมีเงินสำรองระหว่างประเทศกลับคืนมาอย่างรวดเร็วกว่าที่ IMF คาดไว้ . ดังนั้นกระทรวงการคลังของไทยจึงได้ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยคืนหนี้ IMF ก่อนกำหนด เพราะเงินสำรองที่ถูกใช้เกือบหมดนั้น ได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อยากให้เก็บเงินสำรองไว้ก่อน จนรัฐบาลชวนหมดวาระในปี 2543 . ประเทศไทยได้นายกคนใหม่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ในปีพ.ศ. 2544 . นายกทักษิณ ชินวัตรได้เข้ามาบริหารประเทศ เห็นว่ารัฐบาลที่แล้ว เพิ่งใช้หนี้ IMF ไปแค่ส่วนหนึ่ง และเห็นว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่รัฐบาลที่แล้วสะสมเอาไว้มีมากพอที่จะใช้หนี้ เพื่อดึงเงินทุนสำรองนี้มาใช้ นายกทักษิณจึงปลดผู้ว่าของธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นออก แล้วนำเงินจากกองทุนเงินสำรองที่ได้สะสมเอาไว้จากการบริหารงานของรัฐบาลก่อนหน้าบวกกับเงินกู้จาก ADB อีกส่วนหนึ่ง คืนเจ้าหนี้ IMF ก่อนกำหนด . ข้อดีคือ ความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทยของนักลงทุนดีขึ้น สถานการณ์ของประเทศดีขึ้น และใช่ ทักษิณเป็นคนปลดหนี้จาก IMF . แต่เราจะพูดถึงแต่คนที่เอาเงินจากกระเป๋าที่มีเงินอยู่แล้ว ไปปลดหนี้ โดยที่ไม่พูดถึงหรือไม่ให้เครดิตคนที่หาเงิน และบริหารเงินจนมีเงินในกระเป๋ามากพอที่จะใช้หนี้เลย คงจะไม่เป็นการยุติธรรมต่อกลุ่มคนเหล่านั้น มิใช่หรือ .... .... โดย เพจ ฤๅ - Lue History . https://www.facebook.com/share/p/1EqubFQLrq/
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 796 Views 0 Reviews
  • รัสเซียเชื่อว่าบรรดาชาติสมาชิกกลุ่ม BRICS จะมีผลผลิตทางเศรษฐกิจในสัดส่วนเกินครึ่งของเศรษฐกิจโลก ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจที่อาจท้าทายความเป็นเจ้าโลกของตะวันตก
    .
    BRICS กำลังโผล่ขึ้นมาอย่างรวดเร็วในฐานะผู้เล่นสำคัญในเศรษฐกิจโลก ด้วยจีดีพีรวมกันของทางกลุ่มคาดหมายว่าจะมีสัดส่วนเกินครึ่งของผลผลิตทางเศรษฐกิจของโลก ภายใน 10 ถึง 15 ปีข้างหน้า จากการคาดการณ์ของอเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่นเมื่อสัปดาห์แล้ว พร้อมเน้นย้ำถึงอิทธิพลที่เติบโตขึ้นเรื่อยของ BRICS

    โนวัค กล่าวว่า "BRICS มีศักยภาพในระดับสูงในจีพีดีโลก คิดเป็นสัดส่วนราว 35% และกำลังเติบโตขึ้นทุกๆ ปี องค์กรแห่งนี้รวมไปถึงบรรดาประเทศขนาดใหญ่ อย่างบราซิลและจีน เราคาดหมายว่าในปี 10-15 ปีข้างหน้า จีดีพีรวมกันของ BRICS จะมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งของเศรษฐกิจโลกทั้งหมด"
    .
    มุมมองในแง่บวกดังกล่าวสะท้อนถึงน้ำหนักทางเศรษฐกิจที่เพิ่มข้นเรื่อยๆ ของบรรดาสมาชิกกลุ่ม BRICS ซึ่งปัจจุบันมีผลผลิตทางเศรษฐกิจรวมกันแซงหน้ากลุ่ม G7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    .
    เบื้องต้น BRICS ประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ก่อนขยายขอบเขตสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2024 อ้าแขนต้อนรับอียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเตส์ การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนอิทธิพลที่เติบโตขึ้นของ BRICS ในฐานะตัวถ่วงดุลสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การครอบงำของตะวันตก
    .
    การขยายวงกลุ่มยังช่วยเสริมอิทธิพลด้านพลังงานโลกของ BRICS เนื่องจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอาจรวมถึงซาอุดีอาระเบีย เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ และช่วยยกระดับการมีส่วนร่วมในด้านภูมิรัฐศาสตร์ของทางกลุ่ม ในนั้นรวมถึงประเทศต่างๆ จากตะวันออกกลางและแอฟริกา
    .
    ทั้งนี้ เหล่าสมาชิกใหม่จะนำมาซึ่งความหลากหลายและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดย อิหร่าน ช่วยเสริมยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงทางการค้าและทางพลังงาน ส่วนอียิปต์และเอธิโอเปีย ช่วยสนับสนุนการเป็นตัวแทนของแอฟริกา การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งสัญญาณว่า BRICS มีเจตนาปรับโฉมธรรมาภิบาลโลก ด้วยการขยายสุ้มเสียงจากซีกโลกใต้ให้ดังยิ่งขึ้น
    .
    ณ เวทีประชุมบิสซิเนส ฟอรัม BRICS เมื่อเดือนธันวาคม ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย อ้างว่า BRICS มีสัดส่วนเศรษฐกิจในจีดีพีโลก แซงหน้าจี 7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เขาเน้นย้ำว่าบทบาทสำคัญของ BRICS คือปรับโฉมเศรษฐกิจโลก ให้จำกัดความเหล่าสมาชิกว่าเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการเติบโตและพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
    .
    จากข้อมูลที่เผยแพร่ต่อสาธารณะในปี 2024 เศรษฐกิจของ BRICS คิดเป็นสัดส่วนราว 37.3% ของจีพีดีโลก บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (PPP) แซงหน้าจี7 ที่อยู่ที่ 30% สะท้อนถึงผลผลิตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ
    .
    อ้างอิงข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จีน เพียงชาติเดียวมีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 19.05% ของจีดีพีโลก ส่วน อินเดีย มีสัดส่วนคิดเป็น 8.23% ขณะที่อีกฟากหนึ่ง สหรัฐฯ มีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 14.5% ของเศรษฐกิจโลก เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม จี7 ยังคงนำหน้าในด้านจีพีดีปกติ โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 44% ด้าน BRICS มีสัดส่วนเศรษฐกิจคิดเป็น 28% ตามข้อมูลของไอเอ็มเอฟ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000000047
    ..............
    Sondhi X
    รัสเซียเชื่อว่าบรรดาชาติสมาชิกกลุ่ม BRICS จะมีผลผลิตทางเศรษฐกิจในสัดส่วนเกินครึ่งของเศรษฐกิจโลก ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจที่อาจท้าทายความเป็นเจ้าโลกของตะวันตก . BRICS กำลังโผล่ขึ้นมาอย่างรวดเร็วในฐานะผู้เล่นสำคัญในเศรษฐกิจโลก ด้วยจีดีพีรวมกันของทางกลุ่มคาดหมายว่าจะมีสัดส่วนเกินครึ่งของผลผลิตทางเศรษฐกิจของโลก ภายใน 10 ถึง 15 ปีข้างหน้า จากการคาดการณ์ของอเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่นเมื่อสัปดาห์แล้ว พร้อมเน้นย้ำถึงอิทธิพลที่เติบโตขึ้นเรื่อยของ BRICS โนวัค กล่าวว่า "BRICS มีศักยภาพในระดับสูงในจีพีดีโลก คิดเป็นสัดส่วนราว 35% และกำลังเติบโตขึ้นทุกๆ ปี องค์กรแห่งนี้รวมไปถึงบรรดาประเทศขนาดใหญ่ อย่างบราซิลและจีน เราคาดหมายว่าในปี 10-15 ปีข้างหน้า จีดีพีรวมกันของ BRICS จะมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งของเศรษฐกิจโลกทั้งหมด" . มุมมองในแง่บวกดังกล่าวสะท้อนถึงน้ำหนักทางเศรษฐกิจที่เพิ่มข้นเรื่อยๆ ของบรรดาสมาชิกกลุ่ม BRICS ซึ่งปัจจุบันมีผลผลิตทางเศรษฐกิจรวมกันแซงหน้ากลุ่ม G7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว . เบื้องต้น BRICS ประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ก่อนขยายขอบเขตสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2024 อ้าแขนต้อนรับอียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเตส์ การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนอิทธิพลที่เติบโตขึ้นของ BRICS ในฐานะตัวถ่วงดุลสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การครอบงำของตะวันตก . การขยายวงกลุ่มยังช่วยเสริมอิทธิพลด้านพลังงานโลกของ BRICS เนื่องจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอาจรวมถึงซาอุดีอาระเบีย เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ และช่วยยกระดับการมีส่วนร่วมในด้านภูมิรัฐศาสตร์ของทางกลุ่ม ในนั้นรวมถึงประเทศต่างๆ จากตะวันออกกลางและแอฟริกา . ทั้งนี้ เหล่าสมาชิกใหม่จะนำมาซึ่งความหลากหลายและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดย อิหร่าน ช่วยเสริมยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงทางการค้าและทางพลังงาน ส่วนอียิปต์และเอธิโอเปีย ช่วยสนับสนุนการเป็นตัวแทนของแอฟริกา การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งสัญญาณว่า BRICS มีเจตนาปรับโฉมธรรมาภิบาลโลก ด้วยการขยายสุ้มเสียงจากซีกโลกใต้ให้ดังยิ่งขึ้น . ณ เวทีประชุมบิสซิเนส ฟอรัม BRICS เมื่อเดือนธันวาคม ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย อ้างว่า BRICS มีสัดส่วนเศรษฐกิจในจีดีพีโลก แซงหน้าจี 7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เขาเน้นย้ำว่าบทบาทสำคัญของ BRICS คือปรับโฉมเศรษฐกิจโลก ให้จำกัดความเหล่าสมาชิกว่าเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการเติบโตและพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ . จากข้อมูลที่เผยแพร่ต่อสาธารณะในปี 2024 เศรษฐกิจของ BRICS คิดเป็นสัดส่วนราว 37.3% ของจีพีดีโลก บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (PPP) แซงหน้าจี7 ที่อยู่ที่ 30% สะท้อนถึงผลผลิตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ . อ้างอิงข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จีน เพียงชาติเดียวมีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 19.05% ของจีดีพีโลก ส่วน อินเดีย มีสัดส่วนคิดเป็น 8.23% ขณะที่อีกฟากหนึ่ง สหรัฐฯ มีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 14.5% ของเศรษฐกิจโลก เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม จี7 ยังคงนำหน้าในด้านจีพีดีปกติ โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 44% ด้าน BRICS มีสัดส่วนเศรษฐกิจคิดเป็น 28% ตามข้อมูลของไอเอ็มเอฟ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000000047 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    10
    0 Comments 0 Shares 1596 Views 0 Reviews
  • สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ส่งเสียงเตือนไปยังสหรัฐฯ เกี่ยวกับการกระพือสงครามการค้ารอบใหม่ ระบุจะ "ไม่มีผู้ชนะ" แม้ในขณะเดียวกันผู้นำรายนี้ประกาศกร้าวจะปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ
    .
    ประธานธิบดีสี แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้เมื่อวันอังคาร (10 ธ.ค.) ระหว่างพบปะกับเหล่าผู้นำสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่ง ในนั้นรวมถึงเวิลด์แบงก์ และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หนึ่งวันหลังจากคณะผู้ควบคุมกฎระเบียบของจีน แถลงสืบสวนบริษัทเอ็นวิเดีย ผู้ผลิตชิปสัญชาติสหรัฐฯ ฐานต้องสงสัยละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด
    .
    การตรวจสอบดังกล่าวถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นการยกระดับครั้งสำคัญในการต่อสู้ที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อครองความเป็นเจ้าปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ซึ่งทั้งวอชิงตันและปักกิ่งเชื่อว่ามีความสำคัญยิ่งสำหรับปกป้องความมั่นคงของชาติ แม้กระทั่งก่อนหน้าที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จะกลับคืนสู่ทำเนียบขาวก็ตาม
    .
    "สงครามรีดภาษี สงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีล้วนแต่สวนทางกับแนวโน้มทางประวัติศาสตร์และกฎหมายทางเศรษฐกิจ และจะไม่มีผู้ชนะ" สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี สื่อมวลชนหแงรัฐของจีน รายงานโดยอ้างคำกล่าวของสี
    .
    สี บอกต่อว่า "การปิดกั้นลานบ้านเล็กๆ ด้วยกำแพงสูงลิ่ว การแยกและทำลายห่วงโซ่อุปทาน จะสร้างความเจ็บปวดแก่คนอื่นๆ และไม่เป็นประโยชน์กับตนเอง จีนเชื่อเสมอว่าถ้าจีนดีโลกก็ดีด้วย และเมื่อโลกดี จีนก็ดียิ่งขึ้นไปอีก" เขากล่าว
    .
    เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ เคยใช้คำพูดเกี่ยวกับ "ลานบ้านเล็กๆ และกำแพงสูง" จำกัดความยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะเปิดทางให้การค้าส่วนใหญ่กับจีนดำเนินไปตามปกติ แต่จะกำหนดข้อจำกัดกับสินค้าบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆ อย่างเช่นเซมิคอนดัคเตอร์ ที่เชื่อว่าอาจถูกนำไปใช้งานด้านการทหาร
    .
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลไบเดน แถลงมาตรการควบคุมการส่งออกรอบที่ 3 ในรอบหลายปี จำกัดปักกิ่งจากการเข้าถึงเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์หลายสิบรุ่นและชิปความจำล้ำสมัย เช่นเดียวกับกำหนดมาตรการควบคุมบริษัทจีนมากกว่า 100 แห่ง
    .
    ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เตือนเมื่อเดือนที่แล้ว ว่า จีนจะต้องเจอกับการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าอีก 10% เพิ่มเติมจากระดับภาษีใดๆ ในปัจจุบัน จนกว่าปักกิ่งจะสกัดไม่ให้กระแสยาผิดกฎหมายไหลบ่าเข้าสู่สหรัฐฯ
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอ็นบีซี ที่ออกอากาศในวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) ทรัมป์ บอกว่าเขาและสี "ได้พูดคุยสื่อสารกัน" ในช่วงไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ขณะที่โฆษกระทรวงการต่างประเทศจีน ไม่ยืนยันหรือปฏิเสธใดๆ เมื่อถูกถามเกี่ยวกับการสนทนาระหว่าง 2 ฝ่าย
    .
    จึง พึ่งพิงการส่งออก โดยเฉพาะกับคู่ค้ารายใหญ่อย่างเช่นสหรัฐฯ เป็นเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในระหว่างที่อุปสงค์ภายในประเทศดำดิ่ง สืบเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยข้อมูลของทางการที่เผยแพร่ออกมาในวันอังคาร (10 ธ.ค.) พบว่าการส่งออกลดลงอย่างมาก ส่วนการนำเข้าก็หดตัวอย่างไม่คาดคิดเมื่อเดือนที่แล้ว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000118740
    ..............
    Sondhi X
    สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ส่งเสียงเตือนไปยังสหรัฐฯ เกี่ยวกับการกระพือสงครามการค้ารอบใหม่ ระบุจะ "ไม่มีผู้ชนะ" แม้ในขณะเดียวกันผู้นำรายนี้ประกาศกร้าวจะปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ . ประธานธิบดีสี แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้เมื่อวันอังคาร (10 ธ.ค.) ระหว่างพบปะกับเหล่าผู้นำสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่ง ในนั้นรวมถึงเวิลด์แบงก์ และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หนึ่งวันหลังจากคณะผู้ควบคุมกฎระเบียบของจีน แถลงสืบสวนบริษัทเอ็นวิเดีย ผู้ผลิตชิปสัญชาติสหรัฐฯ ฐานต้องสงสัยละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด . การตรวจสอบดังกล่าวถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นการยกระดับครั้งสำคัญในการต่อสู้ที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อครองความเป็นเจ้าปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ซึ่งทั้งวอชิงตันและปักกิ่งเชื่อว่ามีความสำคัญยิ่งสำหรับปกป้องความมั่นคงของชาติ แม้กระทั่งก่อนหน้าที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จะกลับคืนสู่ทำเนียบขาวก็ตาม . "สงครามรีดภาษี สงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีล้วนแต่สวนทางกับแนวโน้มทางประวัติศาสตร์และกฎหมายทางเศรษฐกิจ และจะไม่มีผู้ชนะ" สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี สื่อมวลชนหแงรัฐของจีน รายงานโดยอ้างคำกล่าวของสี . สี บอกต่อว่า "การปิดกั้นลานบ้านเล็กๆ ด้วยกำแพงสูงลิ่ว การแยกและทำลายห่วงโซ่อุปทาน จะสร้างความเจ็บปวดแก่คนอื่นๆ และไม่เป็นประโยชน์กับตนเอง จีนเชื่อเสมอว่าถ้าจีนดีโลกก็ดีด้วย และเมื่อโลกดี จีนก็ดียิ่งขึ้นไปอีก" เขากล่าว . เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ เคยใช้คำพูดเกี่ยวกับ "ลานบ้านเล็กๆ และกำแพงสูง" จำกัดความยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะเปิดทางให้การค้าส่วนใหญ่กับจีนดำเนินไปตามปกติ แต่จะกำหนดข้อจำกัดกับสินค้าบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆ อย่างเช่นเซมิคอนดัคเตอร์ ที่เชื่อว่าอาจถูกนำไปใช้งานด้านการทหาร . เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลไบเดน แถลงมาตรการควบคุมการส่งออกรอบที่ 3 ในรอบหลายปี จำกัดปักกิ่งจากการเข้าถึงเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์หลายสิบรุ่นและชิปความจำล้ำสมัย เช่นเดียวกับกำหนดมาตรการควบคุมบริษัทจีนมากกว่า 100 แห่ง . ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เตือนเมื่อเดือนที่แล้ว ว่า จีนจะต้องเจอกับการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าอีก 10% เพิ่มเติมจากระดับภาษีใดๆ ในปัจจุบัน จนกว่าปักกิ่งจะสกัดไม่ให้กระแสยาผิดกฎหมายไหลบ่าเข้าสู่สหรัฐฯ . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอ็นบีซี ที่ออกอากาศในวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) ทรัมป์ บอกว่าเขาและสี "ได้พูดคุยสื่อสารกัน" ในช่วงไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ขณะที่โฆษกระทรวงการต่างประเทศจีน ไม่ยืนยันหรือปฏิเสธใดๆ เมื่อถูกถามเกี่ยวกับการสนทนาระหว่าง 2 ฝ่าย . จึง พึ่งพิงการส่งออก โดยเฉพาะกับคู่ค้ารายใหญ่อย่างเช่นสหรัฐฯ เป็นเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในระหว่างที่อุปสงค์ภายในประเทศดำดิ่ง สืบเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยข้อมูลของทางการที่เผยแพร่ออกมาในวันอังคาร (10 ธ.ค.) พบว่าการส่งออกลดลงอย่างมาก ส่วนการนำเข้าก็หดตัวอย่างไม่คาดคิดเมื่อเดือนที่แล้ว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000118740 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    5
    0 Comments 0 Shares 1187 Views 0 Reviews
  • สิ้น สมชัย ฤชุพันธุ์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต-อดีตสปช. อายุ 86 ปี 

    เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 มีรายงานว่า นายสมชัย ฤชุพันธุ์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปช.) เสียชีวิต เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 สิริอายุ 86 ปี

    สำหรับ นายสมชัย เป็นน้องชายของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2481 สำเร็จการศึกษา เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คุรุศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Master of Philosophy The University of Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Doctor of Philosophy The University of Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา

    นายสมชัย เคยดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง นักเศรษฐศาสตร์ประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อีกทั้งยัง ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และกรรมการองค์กร และบริษัทชั้นนำอีกหลายแห่ง

    ที่มา https://www.matichon.co.th/politics/news_4885914

    #Thaitimes
    สิ้น สมชัย ฤชุพันธุ์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต-อดีตสปช. อายุ 86 ปี  เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 มีรายงานว่า นายสมชัย ฤชุพันธุ์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปช.) เสียชีวิต เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 สิริอายุ 86 ปี สำหรับ นายสมชัย เป็นน้องชายของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2481 สำเร็จการศึกษา เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คุรุศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Master of Philosophy The University of Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Doctor of Philosophy The University of Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา นายสมชัย เคยดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง นักเศรษฐศาสตร์ประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อีกทั้งยัง ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และกรรมการองค์กร และบริษัทชั้นนำอีกหลายแห่ง ที่มา https://www.matichon.co.th/politics/news_4885914 #Thaitimes
    WWW.MATICHON.CO.TH
    สิ้น สมชัย ฤชุพันธุ์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต อายุ 86 ปี
    สิ้น สมชัย ฤชุพันธุ์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต อายุ 86 ปี
    0 Comments 0 Shares 630 Views 0 Reviews
  • 🔥🔥กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ IMF
    คาดหนี้สาธารณะโลกจะพุ่งแตะ 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
    หรือ ประมาณ 3,400 ล้านล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้

    🚩กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกคำเตือน
    เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า สถานการณ์หนี้สาธารณะทั่วโลก
    อาจเลวร้ายกว่าที่หลายคนคิด โดยเน้นย้ำถึงการขาดดุล
    การคลัง ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐและจีน

    🚩หน่วยงานดังกล่าวคาดการณ์ว่าหนี้สาธารณะทั่วโลก
    จะพุ่งสูงเกิน 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ
    ประมาณ 3,400 ล้านล้านบาท ภายในสิ้นปี 2567
    โดยคาดการณ์ว่าหนี้สาธารณะทั่วโลกจะพุ่งสูงถึง 100%
    ของ GDP ของโลกภายในสิ้นทศวรรษนี้

    🚩สหรัฐฯ และจีนมีสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
    หากไม่รวมทั้งสองประเทศนี้ในการคำนวณ อัตราส่วน
    หนี้สาธารณะต่อ GDP ทั่วโลกจะลดลงประมาณ 20%

    ที่มา : cnbc

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #IMF #thaitimes
    🔥🔥กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ IMF คาดหนี้สาธารณะโลกจะพุ่งแตะ 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 3,400 ล้านล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้ 🚩กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกคำเตือน เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า สถานการณ์หนี้สาธารณะทั่วโลก อาจเลวร้ายกว่าที่หลายคนคิด โดยเน้นย้ำถึงการขาดดุล การคลัง ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐและจีน 🚩หน่วยงานดังกล่าวคาดการณ์ว่าหนี้สาธารณะทั่วโลก จะพุ่งสูงเกิน 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 3,400 ล้านล้านบาท ภายในสิ้นปี 2567 โดยคาดการณ์ว่าหนี้สาธารณะทั่วโลกจะพุ่งสูงถึง 100% ของ GDP ของโลกภายในสิ้นทศวรรษนี้ 🚩สหรัฐฯ และจีนมีสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก หากไม่รวมทั้งสองประเทศนี้ในการคำนวณ อัตราส่วน หนี้สาธารณะต่อ GDP ทั่วโลกจะลดลงประมาณ 20% ที่มา : cnbc #หุ้นติดดอย #การลงทุน #IMF #thaitimes
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 1178 Views 0 Reviews
  • IMF จัดอันดับรัสเซียเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก

    23 ตุลาคม 2567- รายงานกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประกาศว่ารัสเซียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ (PPP) รองจากสหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย โดยเศรษฐกิจรัสเซียแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นมาอยู่อันดับที่ 4 ของโลกในแง่ PPP (ความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ) ตามข้อมูลแก้ไขของธนาคารโลกที่เผยแพร่เมื่อต้นเดือนมิถุนายน

    IMF คาดการณ์ว่ารัสเซียจะคงสถานะนี้ไว้ได้อย่างน้อยจนถึงปี 2029 นอกจากนี้ กองทุนยังได้ปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตของ GDP ของรัสเซีย โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 3.6% ภายในสิ้นปีนี้

    #Thaitimes
    IMF จัดอันดับรัสเซียเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก 23 ตุลาคม 2567- รายงานกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประกาศว่ารัสเซียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ (PPP) รองจากสหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย โดยเศรษฐกิจรัสเซียแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นมาอยู่อันดับที่ 4 ของโลกในแง่ PPP (ความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ) ตามข้อมูลแก้ไขของธนาคารโลกที่เผยแพร่เมื่อต้นเดือนมิถุนายน IMF คาดการณ์ว่ารัสเซียจะคงสถานะนี้ไว้ได้อย่างน้อยจนถึงปี 2029 นอกจากนี้ กองทุนยังได้ปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตของ GDP ของรัสเซีย โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 3.6% ภายในสิ้นปีนี้ #Thaitimes
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 429 Views 0 Reviews
  • 🧵💲 เหตุการณ์สำคัญใดบ้างที่นำไปสู่การล่มสลายของระบบดอลลาร์ทั่วโลก?

    การประชุมประจำปี ๒๐๒๔ ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกลุ่มธนาคารโลก (WBG) จะเปิดขึ้นในวันที่ ๒๑ ตุลาคม เพื่อมุ่งเน้นไปที่หนี้สาธารณะทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว, ซึ่งคาดว่าจะสูงถึง ๑๐๐ ล้านล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปีนี้ หนี้, ส่วนใหญ่, เกิดจากการกู้ยืมเงินของสหรัฐฯมากเกินไป, โดยปัจจุบันหนี้ของรัฐบาลอยู่ที่ ๓๕.๖๘ ล้านล้านดอลลาร์
    .
    ในขณะเดียวกัน, ส่วนแบ่งของสหรัฐฯในเศรษฐกิจโลกที่คำนวณโดยใช้ความเท่าเทียมของอำนาจซื้อได้แตะระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์, โดยร่วงลงต่ำกว่า ๑๕%, จากการวิเคราะห์ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศของสปุตนิก คาดว่าจะลดลงอีก, โดยแตะระดับ ๑๔.๗๖% เมื่อสิ้นสุดวาระของประธานาธิบดีโจ ไบเดน
    .
    ระบบการเงินของสหรัฐฯและระบบดอลลาร์ทั่วโลก เริ่มสูญเสียอิทธิพลเมื่อใด?

    ◻️ สหรัฐฯคาดว่ามี ๔๘-๕๒% ของ GDP ทั่วโลก และประมาณ ๖๐% ของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกในปี ๑๙๔๔
    .
    ◻️ อเมริกาได้รับสถานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒, เมื่อมีการสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศที่เรียกว่าระบบเบรตตันวูดส์ขึ้นในเดือนกรกฎาคม ๑๙๔๔ การประชุมเบรตตันวูดส์ได้แต่งตั้งให้ดอลลาร์สหรัฐฯเป็นสกุลเงินสำรองของโลกอย่างเป็นทางการ, โดยมีทองคำสำรองที่ใหญ่ที่สุดในโลกหนุนหลังอยู่ สกุลเงินอื่นๆจะถูกผูกไว้กับค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ
    .
    ◻️ กฎเกณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับการค้าระหว่างประเทศได้ถูกกำหนดไว้ในข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) ในปี ๑๙๔๗ ในปี ๑๙๙๕, ข้อตกลงดังกล่าวได้ถูกแปลงเป็นองค์การการค้าโลก (WTO) สหรัฐอเมริกาใช้ "เครื่องมือ" เหล่านี้เพื่อรักษาอิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์ในยุโรปและญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออก, สหภาพโซเวียต, และจีน ยังคงอยู่ภายนอกเขตการขยายตัวของอเมริกา
    .
    ◻️ ภายใต้แผนการมาร์แชลล์, สหรัฐฯจัดสรรเงิน, โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเงินช่วยเหลือ, เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ในเวลาเดียวกัน, สหรัฐฯยังได้ส่งคำสั่งซื้อที่ทำกำไรมหาศาลให้กับบริษัทในอเมริกา, กระตุ้นเศรษฐกิจของตนเองไปพร้อมกับเสริมสร้างอิทธิพลที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของยุโรปตะวันตก ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากประมาณ ๒๐๐ พันล้านดอลลาร์ในปี ๑๙๔๐ เป็นมากกว่า ๕๐๐ พันล้านดอลลาร์ในปี ๑๙๖๐
    .
    🧵💲 What were the milestones leading to the global dollar system’s collapse?

    The 2024 Annual Meetings of the International Monetary Fund (IMF) and the World Bank Group (WBG) are opening on October 21 to focus on skyrocketing global public debt, which is expected to reach $100 trillion by the end of this year. The debt, in large part, is driven by the borrowing binge of the US, where the government debt currently stands at $35.68 trillion.
    .
    Meanwhile, the US’ share of the global economy calculated using purchasing power parity has reached a historic low, plunging below 15%, Sputnik’s analysis of World Bank and IMF calculations has showed. It is expected to sag further, to reach 14.76% by the end of President Joe Biden's term.
    .
    When did US finances and the global dollar system start losing clout?

    ◻️ The US is estimated to have accounted for 48-52% of global GDP and about 60% of global industrial production in 1944.
    .
    ◻️ America secured its economic superpower status at the end of WWII, when the international monetary system known as the Bretton Woods system was forged in July 1944. The Bretton Woods Conference officially crowned the US dollar as the global reserve currency, backed by the world’s largest gold reserves. Other currencies were pegged to the US dollar’s value.
    .
    ◻️ International rules for foreign trade were laid out in the General Agreement on Tariffs and Trade (GATT) in 1947. In 1995, the agreement was transformed into the WTO. The US wielded these “tools” to secure geopolitical influence across Europe and Japan. Eastern Europe, the USSR, and China remained outside the zone of American expansion.
    .
    ◻️ Under the Marshall Plan, the US provided money, chiefly in the form of grants, to rebuild war-ravaged European economies. At the same time, it funneled lucrative orders to American companies, stimulating its own economy while solidifying its influence over Western Europe's economic systems. US gross national product rose from about $200 billion in 1940 to more than $500 billion in 1960.
    .
    10:27 PM · Oct 21, 2024 · 8,506 Views
    https://x.com/SputnikInt/status/1848385613361225740
    🧵💲 เหตุการณ์สำคัญใดบ้างที่นำไปสู่การล่มสลายของระบบดอลลาร์ทั่วโลก? การประชุมประจำปี ๒๐๒๔ ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกลุ่มธนาคารโลก (WBG) จะเปิดขึ้นในวันที่ ๒๑ ตุลาคม เพื่อมุ่งเน้นไปที่หนี้สาธารณะทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว, ซึ่งคาดว่าจะสูงถึง ๑๐๐ ล้านล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปีนี้ หนี้, ส่วนใหญ่, เกิดจากการกู้ยืมเงินของสหรัฐฯมากเกินไป, โดยปัจจุบันหนี้ของรัฐบาลอยู่ที่ ๓๕.๖๘ ล้านล้านดอลลาร์ . ในขณะเดียวกัน, ส่วนแบ่งของสหรัฐฯในเศรษฐกิจโลกที่คำนวณโดยใช้ความเท่าเทียมของอำนาจซื้อได้แตะระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์, โดยร่วงลงต่ำกว่า ๑๕%, จากการวิเคราะห์ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศของสปุตนิก คาดว่าจะลดลงอีก, โดยแตะระดับ ๑๔.๗๖% เมื่อสิ้นสุดวาระของประธานาธิบดีโจ ไบเดน . ระบบการเงินของสหรัฐฯและระบบดอลลาร์ทั่วโลก เริ่มสูญเสียอิทธิพลเมื่อใด? ◻️ สหรัฐฯคาดว่ามี ๔๘-๕๒% ของ GDP ทั่วโลก และประมาณ ๖๐% ของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกในปี ๑๙๔๔ . ◻️ อเมริกาได้รับสถานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒, เมื่อมีการสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศที่เรียกว่าระบบเบรตตันวูดส์ขึ้นในเดือนกรกฎาคม ๑๙๔๔ การประชุมเบรตตันวูดส์ได้แต่งตั้งให้ดอลลาร์สหรัฐฯเป็นสกุลเงินสำรองของโลกอย่างเป็นทางการ, โดยมีทองคำสำรองที่ใหญ่ที่สุดในโลกหนุนหลังอยู่ สกุลเงินอื่นๆจะถูกผูกไว้กับค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ . ◻️ กฎเกณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับการค้าระหว่างประเทศได้ถูกกำหนดไว้ในข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) ในปี ๑๙๔๗ ในปี ๑๙๙๕, ข้อตกลงดังกล่าวได้ถูกแปลงเป็นองค์การการค้าโลก (WTO) สหรัฐอเมริกาใช้ "เครื่องมือ" เหล่านี้เพื่อรักษาอิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์ในยุโรปและญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออก, สหภาพโซเวียต, และจีน ยังคงอยู่ภายนอกเขตการขยายตัวของอเมริกา . ◻️ ภายใต้แผนการมาร์แชลล์, สหรัฐฯจัดสรรเงิน, โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเงินช่วยเหลือ, เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ในเวลาเดียวกัน, สหรัฐฯยังได้ส่งคำสั่งซื้อที่ทำกำไรมหาศาลให้กับบริษัทในอเมริกา, กระตุ้นเศรษฐกิจของตนเองไปพร้อมกับเสริมสร้างอิทธิพลที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของยุโรปตะวันตก ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากประมาณ ๒๐๐ พันล้านดอลลาร์ในปี ๑๙๔๐ เป็นมากกว่า ๕๐๐ พันล้านดอลลาร์ในปี ๑๙๖๐ . 🧵💲 What were the milestones leading to the global dollar system’s collapse? The 2024 Annual Meetings of the International Monetary Fund (IMF) and the World Bank Group (WBG) are opening on October 21 to focus on skyrocketing global public debt, which is expected to reach $100 trillion by the end of this year. The debt, in large part, is driven by the borrowing binge of the US, where the government debt currently stands at $35.68 trillion. . Meanwhile, the US’ share of the global economy calculated using purchasing power parity has reached a historic low, plunging below 15%, Sputnik’s analysis of World Bank and IMF calculations has showed. It is expected to sag further, to reach 14.76% by the end of President Joe Biden's term. . When did US finances and the global dollar system start losing clout? ◻️ The US is estimated to have accounted for 48-52% of global GDP and about 60% of global industrial production in 1944. . ◻️ America secured its economic superpower status at the end of WWII, when the international monetary system known as the Bretton Woods system was forged in July 1944. The Bretton Woods Conference officially crowned the US dollar as the global reserve currency, backed by the world’s largest gold reserves. Other currencies were pegged to the US dollar’s value. . ◻️ International rules for foreign trade were laid out in the General Agreement on Tariffs and Trade (GATT) in 1947. In 1995, the agreement was transformed into the WTO. The US wielded these “tools” to secure geopolitical influence across Europe and Japan. Eastern Europe, the USSR, and China remained outside the zone of American expansion. . ◻️ Under the Marshall Plan, the US provided money, chiefly in the form of grants, to rebuild war-ravaged European economies. At the same time, it funneled lucrative orders to American companies, stimulating its own economy while solidifying its influence over Western Europe's economic systems. US gross national product rose from about $200 billion in 1940 to more than $500 billion in 1960. . 10:27 PM · Oct 21, 2024 · 8,506 Views https://x.com/SputnikInt/status/1848385613361225740
    Like
    Wow
    2
    8 Comments 0 Shares 1604 Views 0 Reviews
  • ดอลลาร์สหรัฐจะเสื่อมค่าลง ถึงแม้จะพยายามก่อสงครามและโรคระบาดก็ตาม / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    สถานการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในปัญหาความไม่เชื่อมั่นต่อ ดอลลาร์สหรัฐ มี 2 เรื่องสำคัญ คือ 1.การพิมพ์แบงค์ก่อหนี้ไม่หยุดและไม่สามารถชำระหนี้ได้ และ 2. การยึดทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซีย ทำให้ทั่วโลกกำลังหาสินทรัพย์อย่างอื่น

    อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงจุดที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงได้ต่อไป ก็ยิ่งทำให้เงินทั่วโลกเทขายพันธบัตรและเงินดอลลาร์หันไปลงทุนสินทรัพย์อย่างอื่น โดยเฉพาะตลาดหุ้นในเอเชีย (ซึ่งแปลงเป็นเงินสกุลอื่น) คริปโตเคอเรนซี่ และทองคำ ประเทศใดไม่ทันระวังตัว หลงเพลินกับดัชนีราคาหุ้นที่สูงขึ้น ก็อาจจะได้รับผลกระทบทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเสื่อมค่าลงด้วยเพราะดอลลาร์ที่ท่วมในทุนสำรองระหว่างประเทศกำลังเสื่อมค่าลงเช่นกั

    ด้วยเหตุผลนี้ธนาคารกลางของหลายประเทศที่มีเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก ก็มีแนวโน้มจะซื้อทองคำมากขึ้น เพื่อรักษามูลค่าของทุนสำรองระหว่างประเทศให้มั่นคง กว่าการมีสินทรัพย์ที่มีเงินดอลลาร์มากเกินไป

    ด้วยเหตุผลนี้ทองคำมีแนวโน้มจะมีราคาสูงขึ้นต่อไปเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา

    ดังนั้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ช่วยทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับความเสียหาย อีกทั้งต้องสั่งซื้อวัคซีนและยารักษาโรคในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐจากอเมริกา และยุโรป

    การก่อหนี้สาธารณอันมหาศาลเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 ในการหาซื้อยา วัคซีน เวชภัณฑ์ รวมถึงการเยียวยาความเสียหายทางเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศต่อก่อหนี้เพิ่มมากขึ้น บางประเทศที่ขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่แล้ว ก็ต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF มากขึ้น

    และการที่ประเทศที่ได้รับความเสียหายจากสงครามหรือโรคระบาดที่ต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น ก็คือการรักษาความต้องการเงินดอลลาร์ให้ยังคงอยู่ต่อไป และต้องถูกแลกมาด้วยการสูบทรัพยากรจากประเทศลูกหนี้เหล่านั้นให้มาชดใช้หนี้ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาและยุโรป

    และนี่คือเหตุผลสำคัญที่กระทรวงกลาโหมต้องออกมาปล่อยข่าวปลอมในการใส่ร้ายและทำลายวัคซีนจากจีน เพื่อต้องการสูบความมั่งคั่งจากทั่วโลกให้มาเพิ่งเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไป

    อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงจุดที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจะดำรงได้ต่อไป จึงถูกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจบีบคั้นให้ลดอัตราดอกเบี้ยและมีแนวโน้มจะลดลงไปเรื่อยๆ โดยหวังว่าทำให้เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาเดินหน้าต่อไป

    แต่การลดดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ก็แลกกลับมาด้วยเงินทุนไหลออกจากดอลลาร์สหรัฐอย่างรวดเร็ว ไปสู่สินทรัพย์อื่นที่ปลอดภัยมากกว่าอย่างรวดเร็ว ทั้งทองคำ เงินดิจิตอลคริปโตเคอเรนซี่ หุ้นในประเทศในเอเชีย

    ส่งผลทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มจะเสื่อมค่าลงเรื่อยๆ

    เมื่อนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาดอลลาร์อย่างสันติวิธีได้ ประชาคมโลกจึงมีความเสี่ยงที่จะได้เห็นปรากฏการณ์เร่งทำสงครามให้บานปลายมากขึ้น หรืออาจมีความเสี่ยงการก่อโรคระบาดใหม่ได้มากขึ้น

    เพราะการก่อสงครามของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ได้ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญความเสี่ยงในการสูญเสียในสมรภูมิสงครามโดยตรง ทำให้หลายประเทศต้องซื้ออาวุธสงครามด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้น

    และการปฏิบัติการด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ต่อสู้กันนั้น ก็ย่อมทำให้ต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น ดังนั้นน้ำมันที่เพิ่มมูลค่ามากขึ้น ย่อมทำให้สหรัฐอเมริกาได้รับประโยชน์ทำกำไรมากขึ้น และรักษาเงินดอลลาร์ได้มากขึ้นเช่นกัน เพราะทำให้สหรัฐอเมริการมีรายได้มาช่วยชำระหนี้มากขึ้น

    ยังไม่นับความเสี่ยงประเทศคู่กรณีกับสหรัฐอเมริกา ก็อาจจะถูกประเทศสหรัฐอเมริกาชักดาบ ไม่ต้องชำระหนี้พันธบัตรสหรัฐ และยึดทุนสำรองระหว่างประเทศมาชดใช้หนี้ให้สหรัฐอเมริการหรือให้มาซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของสหรัฐอเมริกาได้ด้วย

    กรณีศึกษาที่ชัดเจนว่าฝ่ายรักษาเงินดอลลาร์ที่ได้ทำลายการขนส่งก๊าซของรัสเซียในยุโรปก็ดี การมีเป้าหมายทำลายบ่อน้ำมันหรือโรงกลั่นน้ำมันของอิหร่านก็ดี มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการทำลายปิโตรเลียมของชาติอื่นๆ ที่จะไม่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายน้ำมัน(ปิโตรดอลลาร์) เพื่อหวังจะทำให้ปิโตรเลียมที่ค้าขายด้วยดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นที่จะครองสัดส่วนหลักของโลกได้ต่อไป ซึ่งเป็นวิธีดิ้นเฮือกสุดท้ายที่มีความเสี่ยงสูง เป็นการเดิมพันเพื่อรักษาเงินดอลลาร์เอาไว้ให้ได้

    นั่นหมายความว่า “ราคาน้ำมัน” มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปด้วย

    ดังนั้นลักษณะสงครามโลก หรือหากจะมีสงครามโรคเพื่อรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นไปในลักษณะ “จำกัดพื้นที่” และ “ยืดเยื้อ”ไม่ให้เป็นสงครามที่มีผลกระทบต่อแผ่นดินของสหรัฐอเมริกา

    แต่ก็ใช่ว่าแนวทางรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่ไม่ใช่แนวทางสันติวิธีแบบนี้จะทำได้ตามอำเภอใจ เพราะประเทศคู่กรณีอย่างจีน รัสเซีย ที่มีสมาชิก BRICS เข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ ที่กำลังลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐให้ลดน้อยลง

    จีน รัสเซีย เกาหลีเหนือ อิหร่าน อินเดีย ซึ่งกำลังทยอยลดการถือครองสินทรัพย์ที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ต่างมีอาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยี ที่ไม่เพียงจะไม่แพ้สหรัฐอเมริกาและยุโรปเท่านั้น แต่ยังอาจจะเหนือกว่าสหรัฐอเมริกาแล้วด้วย

    ดังนั้นการทำสงครามแบบ “จำกัดพื้นที่” และ “ยืดเยื้อ” อาจถูกโต้กลับด้วยแสนยานุภาพทำให้สงครามสิ้นสุดลงได้เช่นกัน

    ในขณะที่การทำสงครามโรคระบาดก็อาจจะไม่ง่ายอีกเช่นกัน เพราะหลังจากการเกิดโรคระบาดโควิด-19 เริ่มทำให้หลายประเทศได้ตระหนักถึงความเสียหายรอบด้าน และมีการเตรียมความพร้อมมากขึ้น ทั้งยารักษาโรค การพึ่งพาตัวเองได้สมุนไพร การเร่งรัดงานวิจัย หรือแม้กระทั่งการผลิตวัคซีน

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนได้ถ่วงอำนาจทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก ด้วยการปล่อยกู้และลงทุนอันมหาศาลให้กับหลายประเทศที่ติดหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ อีกทั้งยังขยายบทบาทการพึ่งพาทางเศรษฐกิจให้กับหลายประเทศทั่วโลกมากกว่าสหรัฐอเมริกา และทำให้ความจำเป็นในการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐอเมริกาลดลงไปด้วย และยังลงทุนก่อสร้างไปในธุรกิจพลังงาน และเหมืองแร่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสินทรัพย์ที่เป็นตัวเปลี่ยนเทคโนโลยีของจีน ที่เหนือกว่าการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ

    จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น แนวโน้มดอลลาร์สหรัฐจะไม่สามารถรักษามูลค่าต่อไปได้ ต่อให้ปั่นกระแสข่าวการทำสงคราม การขึ้นภาษีกีดกันทางการค้า ต่างก็มีข้อจำกัดด้วยแสนยานุภาพของประเทศมหาอำนาจคู่กรณี

    ในสถานการณ์เช่นนี้ประเทศไทยจะต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้

    1.ความมั่นคงในทุนสำรองระหว่างประเทศที่จะต้องปรับเปลี่ยนสัดส่วนของสินทรัพย์ให้ทันพลวัตต่อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

    2.ต้องมีการบริหารจัดการรักษา “เสถียรภาพ” ค่าเงินบาทไม่ให้เกิดการ “ผันผวน” ผิดปกติเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มเดียวกัน ควบคู่ไปกับการพิจารณาเรื่องเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ กับความสามารถในการแข่งขันในเวทีการส่งออกและการนำเข้าระหว่างประเทศ

    3.ต้องบริหารจัดการให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานเพื่อการพึ่งพาตัวเอง ในภาวะสงครามทั่วโลก โดยเฉพาะการส่งเสริมโซลาร์เซลล์ และรถไฟฟ้าทั่วไทยอย่างจริงจัง

    4.ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางอาหารให้พึ่งพาตัวเองได้ ในภาวะสงครามทั่วโลก

    5.ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางยาด้านสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตัวเอง ในภาวะสงครามทั่วโลก

    แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่เห็นรัฐบาลได้ตระหนักหรือมีวิสัยทัศน์กับปัญหาเหล่านี้เลย

    คงเหลือแต่ประชาชนเท่านั้นที่ได้อ่านบทความนี้ต้องเริ่มแสวงหาแนวทางการพึ่งพาตัวเองให้มากขึ้น ทั้งการพึ่งพาตัวเองด้านพลังงาน อาหาร และสมุนไพร หรือปรัชญาพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    10 ตุลาคม 2567
    ดอลลาร์สหรัฐจะเสื่อมค่าลง ถึงแม้จะพยายามก่อสงครามและโรคระบาดก็ตาม / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ สถานการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในปัญหาความไม่เชื่อมั่นต่อ ดอลลาร์สหรัฐ มี 2 เรื่องสำคัญ คือ 1.การพิมพ์แบงค์ก่อหนี้ไม่หยุดและไม่สามารถชำระหนี้ได้ และ 2. การยึดทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซีย ทำให้ทั่วโลกกำลังหาสินทรัพย์อย่างอื่น อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงจุดที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงได้ต่อไป ก็ยิ่งทำให้เงินทั่วโลกเทขายพันธบัตรและเงินดอลลาร์หันไปลงทุนสินทรัพย์อย่างอื่น โดยเฉพาะตลาดหุ้นในเอเชีย (ซึ่งแปลงเป็นเงินสกุลอื่น) คริปโตเคอเรนซี่ และทองคำ ประเทศใดไม่ทันระวังตัว หลงเพลินกับดัชนีราคาหุ้นที่สูงขึ้น ก็อาจจะได้รับผลกระทบทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเสื่อมค่าลงด้วยเพราะดอลลาร์ที่ท่วมในทุนสำรองระหว่างประเทศกำลังเสื่อมค่าลงเช่นกั ด้วยเหตุผลนี้ธนาคารกลางของหลายประเทศที่มีเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก ก็มีแนวโน้มจะซื้อทองคำมากขึ้น เพื่อรักษามูลค่าของทุนสำรองระหว่างประเทศให้มั่นคง กว่าการมีสินทรัพย์ที่มีเงินดอลลาร์มากเกินไป ด้วยเหตุผลนี้ทองคำมีแนวโน้มจะมีราคาสูงขึ้นต่อไปเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ดังนั้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ช่วยทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับความเสียหาย อีกทั้งต้องสั่งซื้อวัคซีนและยารักษาโรคในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐจากอเมริกา และยุโรป การก่อหนี้สาธารณอันมหาศาลเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 ในการหาซื้อยา วัคซีน เวชภัณฑ์ รวมถึงการเยียวยาความเสียหายทางเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศต่อก่อหนี้เพิ่มมากขึ้น บางประเทศที่ขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่แล้ว ก็ต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF มากขึ้น และการที่ประเทศที่ได้รับความเสียหายจากสงครามหรือโรคระบาดที่ต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น ก็คือการรักษาความต้องการเงินดอลลาร์ให้ยังคงอยู่ต่อไป และต้องถูกแลกมาด้วยการสูบทรัพยากรจากประเทศลูกหนี้เหล่านั้นให้มาชดใช้หนี้ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาและยุโรป และนี่คือเหตุผลสำคัญที่กระทรวงกลาโหมต้องออกมาปล่อยข่าวปลอมในการใส่ร้ายและทำลายวัคซีนจากจีน เพื่อต้องการสูบความมั่งคั่งจากทั่วโลกให้มาเพิ่งเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงจุดที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจะดำรงได้ต่อไป จึงถูกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจบีบคั้นให้ลดอัตราดอกเบี้ยและมีแนวโน้มจะลดลงไปเรื่อยๆ โดยหวังว่าทำให้เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาเดินหน้าต่อไป แต่การลดดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ก็แลกกลับมาด้วยเงินทุนไหลออกจากดอลลาร์สหรัฐอย่างรวดเร็ว ไปสู่สินทรัพย์อื่นที่ปลอดภัยมากกว่าอย่างรวดเร็ว ทั้งทองคำ เงินดิจิตอลคริปโตเคอเรนซี่ หุ้นในประเทศในเอเชีย ส่งผลทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มจะเสื่อมค่าลงเรื่อยๆ เมื่อนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาดอลลาร์อย่างสันติวิธีได้ ประชาคมโลกจึงมีความเสี่ยงที่จะได้เห็นปรากฏการณ์เร่งทำสงครามให้บานปลายมากขึ้น หรืออาจมีความเสี่ยงการก่อโรคระบาดใหม่ได้มากขึ้น เพราะการก่อสงครามของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ได้ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญความเสี่ยงในการสูญเสียในสมรภูมิสงครามโดยตรง ทำให้หลายประเทศต้องซื้ออาวุธสงครามด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้น และการปฏิบัติการด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ต่อสู้กันนั้น ก็ย่อมทำให้ต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น ดังนั้นน้ำมันที่เพิ่มมูลค่ามากขึ้น ย่อมทำให้สหรัฐอเมริกาได้รับประโยชน์ทำกำไรมากขึ้น และรักษาเงินดอลลาร์ได้มากขึ้นเช่นกัน เพราะทำให้สหรัฐอเมริการมีรายได้มาช่วยชำระหนี้มากขึ้น ยังไม่นับความเสี่ยงประเทศคู่กรณีกับสหรัฐอเมริกา ก็อาจจะถูกประเทศสหรัฐอเมริกาชักดาบ ไม่ต้องชำระหนี้พันธบัตรสหรัฐ และยึดทุนสำรองระหว่างประเทศมาชดใช้หนี้ให้สหรัฐอเมริการหรือให้มาซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของสหรัฐอเมริกาได้ด้วย กรณีศึกษาที่ชัดเจนว่าฝ่ายรักษาเงินดอลลาร์ที่ได้ทำลายการขนส่งก๊าซของรัสเซียในยุโรปก็ดี การมีเป้าหมายทำลายบ่อน้ำมันหรือโรงกลั่นน้ำมันของอิหร่านก็ดี มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการทำลายปิโตรเลียมของชาติอื่นๆ ที่จะไม่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายน้ำมัน(ปิโตรดอลลาร์) เพื่อหวังจะทำให้ปิโตรเลียมที่ค้าขายด้วยดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นที่จะครองสัดส่วนหลักของโลกได้ต่อไป ซึ่งเป็นวิธีดิ้นเฮือกสุดท้ายที่มีความเสี่ยงสูง เป็นการเดิมพันเพื่อรักษาเงินดอลลาร์เอาไว้ให้ได้ นั่นหมายความว่า “ราคาน้ำมัน” มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปด้วย ดังนั้นลักษณะสงครามโลก หรือหากจะมีสงครามโรคเพื่อรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นไปในลักษณะ “จำกัดพื้นที่” และ “ยืดเยื้อ”ไม่ให้เป็นสงครามที่มีผลกระทบต่อแผ่นดินของสหรัฐอเมริกา แต่ก็ใช่ว่าแนวทางรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่ไม่ใช่แนวทางสันติวิธีแบบนี้จะทำได้ตามอำเภอใจ เพราะประเทศคู่กรณีอย่างจีน รัสเซีย ที่มีสมาชิก BRICS เข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ ที่กำลังลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐให้ลดน้อยลง จีน รัสเซีย เกาหลีเหนือ อิหร่าน อินเดีย ซึ่งกำลังทยอยลดการถือครองสินทรัพย์ที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ต่างมีอาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยี ที่ไม่เพียงจะไม่แพ้สหรัฐอเมริกาและยุโรปเท่านั้น แต่ยังอาจจะเหนือกว่าสหรัฐอเมริกาแล้วด้วย ดังนั้นการทำสงครามแบบ “จำกัดพื้นที่” และ “ยืดเยื้อ” อาจถูกโต้กลับด้วยแสนยานุภาพทำให้สงครามสิ้นสุดลงได้เช่นกัน ในขณะที่การทำสงครามโรคระบาดก็อาจจะไม่ง่ายอีกเช่นกัน เพราะหลังจากการเกิดโรคระบาดโควิด-19 เริ่มทำให้หลายประเทศได้ตระหนักถึงความเสียหายรอบด้าน และมีการเตรียมความพร้อมมากขึ้น ทั้งยารักษาโรค การพึ่งพาตัวเองได้สมุนไพร การเร่งรัดงานวิจัย หรือแม้กระทั่งการผลิตวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนได้ถ่วงอำนาจทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก ด้วยการปล่อยกู้และลงทุนอันมหาศาลให้กับหลายประเทศที่ติดหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ อีกทั้งยังขยายบทบาทการพึ่งพาทางเศรษฐกิจให้กับหลายประเทศทั่วโลกมากกว่าสหรัฐอเมริกา และทำให้ความจำเป็นในการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐอเมริกาลดลงไปด้วย และยังลงทุนก่อสร้างไปในธุรกิจพลังงาน และเหมืองแร่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสินทรัพย์ที่เป็นตัวเปลี่ยนเทคโนโลยีของจีน ที่เหนือกว่าการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น แนวโน้มดอลลาร์สหรัฐจะไม่สามารถรักษามูลค่าต่อไปได้ ต่อให้ปั่นกระแสข่าวการทำสงคราม การขึ้นภาษีกีดกันทางการค้า ต่างก็มีข้อจำกัดด้วยแสนยานุภาพของประเทศมหาอำนาจคู่กรณี ในสถานการณ์เช่นนี้ประเทศไทยจะต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ 1.ความมั่นคงในทุนสำรองระหว่างประเทศที่จะต้องปรับเปลี่ยนสัดส่วนของสินทรัพย์ให้ทันพลวัตต่อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 2.ต้องมีการบริหารจัดการรักษา “เสถียรภาพ” ค่าเงินบาทไม่ให้เกิดการ “ผันผวน” ผิดปกติเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มเดียวกัน ควบคู่ไปกับการพิจารณาเรื่องเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ กับความสามารถในการแข่งขันในเวทีการส่งออกและการนำเข้าระหว่างประเทศ 3.ต้องบริหารจัดการให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานเพื่อการพึ่งพาตัวเอง ในภาวะสงครามทั่วโลก โดยเฉพาะการส่งเสริมโซลาร์เซลล์ และรถไฟฟ้าทั่วไทยอย่างจริงจัง 4.ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางอาหารให้พึ่งพาตัวเองได้ ในภาวะสงครามทั่วโลก 5.ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางยาด้านสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตัวเอง ในภาวะสงครามทั่วโลก แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่เห็นรัฐบาลได้ตระหนักหรือมีวิสัยทัศน์กับปัญหาเหล่านี้เลย คงเหลือแต่ประชาชนเท่านั้นที่ได้อ่านบทความนี้ต้องเริ่มแสวงหาแนวทางการพึ่งพาตัวเองให้มากขึ้น ทั้งการพึ่งพาตัวเองด้านพลังงาน อาหาร และสมุนไพร หรือปรัชญาพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 10 ตุลาคม 2567
    Like
    Love
    Yay
    Sad
    110
    5 Comments 9 Shares 4082 Views 5 Reviews
  • ยิ่งไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยสูงตรึงเงินดอลลาร์ได้ ยิ่งเร่งสงครามโลกและสงครามโรคเร็วขึ้น/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    ความขัดแย้งกันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์นั้น ต้องพิจารณาในยุคนี้ด้วยว่า นอกจากมาตรการตอบโต้กันทางด้านการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ สงครรามทุนระหว่างประเทศ สงครามค่าเงิน ถึงขนาดที่เรียกว่าเรื่องนี้อาจมีจุดจบที่ต้องมีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดชนะกันไปข้างหนึ่ง

    โดยเฉพาะสถานภาพของเงินสกุลสหรัฐอเมริกา ก็ไม่สามารถดำรงสถานภาพเป็นเงินสกุลหลักของโลกได้เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายปิโตรเลียมที่ไม่ได้ยึถถือเงินสกุลดอลลาร์ (ปิโตรดอลลาร์)แต่เพียงสกุลเดียวได้เหมือนเดิม แต่ถึงกระนั้นสหรัฐอเมริกาก็เลือกหนทางในการทำให้เกิดการโจมตีแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช่พันธมิตรอเมริกาทั่วโลก เพื่อให้ราคาปิโตรเลียมของธุรกิจในเครือสหรัฐอเมริกายังคงดำรงสถานภาพปิโตรดอลลาร์ต่อไป

    อย่างไรก็ตามการเปลี่ยแปลงเงินสกุลหลักของโลกแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแบบยืดเยื้อ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเครื่องมือเป็นเงินกู้เข้าแทรกแซงช่วยเหลืออยู่หลายประเทศ โดยสถานภาพของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นเจ้าหนี้ของประเทศต่างๆที่มีพันธะผูกพันจำนวน 94 ประเทศ มีมูลค่าหนี้คงค้างกว่า 112 ล้านเหรียญสหรัฐChoawalit Chotwattanaphong

    นอกจากนั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลกยังคงเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกามากถึงร้อยละ 54.06[2] โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ออกพันธบัตรก่อหนี้มหาศาลมากถึง 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐแล้ว[3] โดยยังไม่เพียงแค่ปัญหาว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทางว่าจะชำระหนี้คืนได้อย่างไรเท่านั้น แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะหยุดการก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร

    การที่สหรัฐอเมริกาก่อหนี้อย่างมหาศาล อีกทั้งธนาคารกลางหลายประเทศเทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ปริมาณอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐล้นระบบเกินความต้องการของอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเงิน และทำให้ธนาคารกลางได้เพิ่มสัดส่วนเงินสกุลของคู่ค้าประเทศอื่นๆและทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

    ปัญหาที่แท้จริงในเรื่องนี้คือปัญหา “ความไม่เชื่อมั่น” ในเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ก่อหนี้ไม่หยุด หรือไม่หยุดการพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาโดยที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง

    ส่งผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง และทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาต้องตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อดึงเงินจากทั่วโลกให้ยังคงรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐให้เป็นที่ต้องการในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป

    แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงของสหรัฐอเมริกา กลับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ด้วยเพราะทำให้ธุรกิจเอกชนในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หนี้สินครัวเรือน และหนี้สินส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การก่อหนี้เสีย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อสถานภาพธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย

    ปรากฏการณ์เพียงแค่ธนาคารกลางผ่อนปรนลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาคารกลางลงเท่านั้น เม็ดเงินทั่วโลกก็ได้ทยอยเทขายทรัพย์สินในเงินดอลลาร์สหรัฐไหลไปสู่ทรัพย์สินที่มั่นคงกว่าทันที และทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงฉับพลันและยังมีแนวโน้มว่าจะเสื่อมค่าอย่างต่อเนื่องด้วย

    และนั่นทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐถูกเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชีย และทำให้ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินสกุลหลายประเทศในเอเชียจึงแข็งค่าขึ้น

    โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศติดอันดับโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเป็นเป้าหมายในการลงทุนไปด้วย ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทะยานต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือเงินดอลลาร์ที่กำลังเสื่อมค่าถูกนำมาแปลงสภาพผ่านทุนเคลื่อนย้ายสุทธิเข้าในตลาดหุ้น กองทุน หรือพันธบัตรในเอเชีย ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเป้าหมายในการลงทุนกลับยิ่งมีเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางต้องเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทองคำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

    ราคาทองคำจึงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

    และเมื่อมีแนวโน้มว่าอิสราเอลจะตั้งเป้าโจมตีทำลายแหล่งปิโตรเลียมอิหร่าน ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกราคาเพิ่มสูงขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ด้วยเพราะธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกพยายามจะได้พยายามลดการถือครองพันธบัตร เพื่อหวังจะทำให้การเปลี่ยนสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศจากเงินดอลลาร์สหรัฐให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นๆ หรือทองคำนั้นให้มากขึ้นนั้น เป็นการคิดพร้อมๆกันของหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้หลายประเทศไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ตามใจชอบ

    อย่างไรก็ตามประเทศใดมีทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมเท่ากับว่าประเทศนั้นถือครองทรัพย์สินที่อ่อนค่าลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สกุลเงินในประเทศที่มีทรัพย์สินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าไปด้วยอยู่ดี

    เมื่อถึงสถานการณ์ที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางกลายเป็นข้อจำกัด และถูกบีบให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง หากสหรัฐอเมริกาจะยังคงสถานภาพเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อต้องบีบให้ทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้มากที่สุด

    สถานการณ์ใกล้ตีบตันแล้ว จึงเหลือหนทางแค่ 2 ทางเท่านั้น

    หนทางที่หนึ่ง คือ “ก่อสงคราม” เพื่อทำให้ประเทศที่มีสงครามต้องสั่งซื้อ สั่งผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น และเมื่ออาวุธ ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ขายในรูปของดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นผลทำให้ประเทศคู่ขัดแย้งมีความต้องการเงินดอลลาร์ศหรัฐมากขึ้น

    การสร้างสถานการณ์เพื่อทำให้เกิดสงครามยังจะเป็นผลทำให้ราคาปิโตรเลียมทั่วโลกราคาสูงขึ้น และทำให้ดึงความมั่งคั่งของโลกมาซื้อทรัพยากรปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกามากขึ้น

    ตัวอย่างสมรภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครน กับรัสเซีย ชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริการสามารถทำกำไรอย่างมหาศาลทั้งจากธุรกิจอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และธุรกิจน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการสมรู้ร่วมคิดสนับสนุนอิสราเอลเพื่อก่อสงครามในตะวันออกลาง ก็เพื่อเร่งการซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ ให้มากขึ้น

    อย่างไรก็ตามแสนยานุภาพของมหาอำนาจหลายขั้วอยู่ในระดับที่ไม่แพ้กัน ทำให้การก่อสงครามด้วยสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะของการจำกัดพื้นที่ ”ในประเทศอื่นๆ“ และให้มีความยืดเยื้อ และมีเป้าหมายในการทำลายแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ

    หนทางที่สอง “ก่อโรคระบาดใหม่” เพื่อทำให้ทุกประเทศต้องก่อหนี้สินมหาศาลในการช่วยเหลือประชาชน หากล้มละลาย และยังเป็นการดูดความมั่งคั่งเหล่านี้ไปซื้อวัคซีน และยารักษาโรคจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป

    หากประเทศเหล่านั้นยากจนเงินไม่เพียงพอ ก็ต้องให้มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นหนทางในการบีบให้ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในประเทศนั้นๆอยู่ดี

    และเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐ ย่อมเท่ากับยอมรับว่าไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยสูงในการรักษาการยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา “แบบสันติวิธี” ได้นานกว่านี้ได้แล้ว

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อมูลของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐได้พิสูจน์ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับที่ก่อสงคราม หรือการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้เกิดการก่อหนี้อันมหาศาลของหลายประเทศนั้น ได้ส่งผลดำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และยังคงเป็นยุทธวิธีที่ดำรงสถานภาพของเงินดอลลาร์สหรัฐได้[4]

    โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง[4] สถานการณ์นี้เป็นตัวนบีบเงื่อนไขในรักษาเงินดอลลาร์ “มีเวลาน้อยลง” เรื่อยๆ

    ดังนั้นโลกกำลังเข้าสู่ความเสี่ยงในการเร่งทำสงครามจำกัดพื้นที่แต่ยืดเยื้ออย่างชัดเจนขึ้น โดยมีเป้าหมายในการทำลาายแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ออกจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ

    แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นเกินกว่าที่ประเทศที่ถูกอิสราเอลหรือนาโต้จะรับได้ ทั้งต่อประเทศในตะวันออกกลางคู่ขัดแย้งกับอิสราเอล หรือ การทำสงครามรัสเซียกับยูเครนก็ตาม “ความยืดเยื้อ” ในระหว่างประเทศอาจถูกทำให้ยุติ ได้ด้วยการตอบโต้ที่รุนแรงและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงในการทำสงครามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วย

    ซึ่งเชื่อว่าประเทศมหาอำนาจทั่วโลกพยายามยับยั้งชั่งใจไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์​

    เพราะหากถึงจุดนั้น ก็เท่ากับสงครามต้อง “หมดยก” และต้องยุติลงด้วยชัยชนะหรือพ่ายแพ้กันไปข้างหนึ่ง และทำให้สงครามเศรษฐกิจที่เพิ่มความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องยุติลงฉับพลันเช่นกัน

    เมื่อสถานการณ์การเร่งสถานการณ์สงครามมีความเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องยับยั้งชั่งใจในมิติการก่อสงคราม จึงเหลืออีกหนทางหนึ่งคือ “การก่อโรคระบาด” ที่อาจจะเป็นหนทางสุดท้ายที่ทำให้ทั่วโลกต้องมาหาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกามาซื้อวัคซีนหรือยารักษาโรคที่มีราคาแพงจากสหรัฐอเมริกา

    ในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยควรจะมีผู้นำที่มาชี้นำทางความคิดในการเตรียมตัวในการรับมือกับสถานการณสงครามโลก สงครามโรค ในสงครามความโลภทั้งหลาย

    โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมทางด้าน ”ความมั่นคงทางพลังงาน, ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางยาสมุนไพรเพื่อการพี่งพาตนเอง“

    เอาจริงๆแล้วยังไม่เห็นรัฐบาลเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้เลย

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    4 ตุลาคม 2567

    อ้างอิง
    Choawalit Chotwattanaphong INTERNATIONAL MONETARY FUND, Total IMF Credit Outstanding �Movement From September 01, 2024 to October 01
    https://www.imf.org/external/np/fin/tad/balmov2.aspx?type=TOTAL

    [2] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserve (COFER), World allocated Reserves by Currency for 2023 Q2
    https://data.imf.org/?sk=e6a5f467-c14b-4aa8-9f6d-5a09ec4e62a4

    [3] Peterson G. Foundation, What is the National Debt Today?,
    https://www.pgpf.org/national-debt-clock?gad_source=1&gbraid=0AAAAABdefgYCJ8Ko6Ivna9fcfHx0Y_lqt&gclid=EAIaIQobChMIhbGExczxiAMVyqpLBR2NuhvEEAAYASAAEgJXjvD_BwE

    [4] marketwatch, US Dollar Index(DXY)
    https://www.marketwatch.com/investing/index/dxy
    ยิ่งไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยสูงตรึงเงินดอลลาร์ได้ ยิ่งเร่งสงครามโลกและสงครามโรคเร็วขึ้น/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ความขัดแย้งกันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์นั้น ต้องพิจารณาในยุคนี้ด้วยว่า นอกจากมาตรการตอบโต้กันทางด้านการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ สงครรามทุนระหว่างประเทศ สงครามค่าเงิน ถึงขนาดที่เรียกว่าเรื่องนี้อาจมีจุดจบที่ต้องมีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดชนะกันไปข้างหนึ่ง โดยเฉพาะสถานภาพของเงินสกุลสหรัฐอเมริกา ก็ไม่สามารถดำรงสถานภาพเป็นเงินสกุลหลักของโลกได้เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายปิโตรเลียมที่ไม่ได้ยึถถือเงินสกุลดอลลาร์ (ปิโตรดอลลาร์)แต่เพียงสกุลเดียวได้เหมือนเดิม แต่ถึงกระนั้นสหรัฐอเมริกาก็เลือกหนทางในการทำให้เกิดการโจมตีแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช่พันธมิตรอเมริกาทั่วโลก เพื่อให้ราคาปิโตรเลียมของธุรกิจในเครือสหรัฐอเมริกายังคงดำรงสถานภาพปิโตรดอลลาร์ต่อไป อย่างไรก็ตามการเปลี่ยแปลงเงินสกุลหลักของโลกแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแบบยืดเยื้อ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเครื่องมือเป็นเงินกู้เข้าแทรกแซงช่วยเหลืออยู่หลายประเทศ โดยสถานภาพของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นเจ้าหนี้ของประเทศต่างๆที่มีพันธะผูกพันจำนวน 94 ประเทศ มีมูลค่าหนี้คงค้างกว่า 112 ล้านเหรียญสหรัฐ[1] นอกจากนั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลกยังคงเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกามากถึงร้อยละ 54.06[2] โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ออกพันธบัตรก่อหนี้มหาศาลมากถึง 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐแล้ว[3] โดยยังไม่เพียงแค่ปัญหาว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทางว่าจะชำระหนี้คืนได้อย่างไรเท่านั้น แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะหยุดการก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร การที่สหรัฐอเมริกาก่อหนี้อย่างมหาศาล อีกทั้งธนาคารกลางหลายประเทศเทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ปริมาณอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐล้นระบบเกินความต้องการของอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเงิน และทำให้ธนาคารกลางได้เพิ่มสัดส่วนเงินสกุลของคู่ค้าประเทศอื่นๆและทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่แท้จริงในเรื่องนี้คือปัญหา “ความไม่เชื่อมั่น” ในเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ก่อหนี้ไม่หยุด หรือไม่หยุดการพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาโดยที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง ส่งผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง และทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาต้องตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อดึงเงินจากทั่วโลกให้ยังคงรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐให้เป็นที่ต้องการในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงของสหรัฐอเมริกา กลับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ด้วยเพราะทำให้ธุรกิจเอกชนในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หนี้สินครัวเรือน และหนี้สินส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การก่อหนี้เสีย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อสถานภาพธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย ปรากฏการณ์เพียงแค่ธนาคารกลางผ่อนปรนลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาคารกลางลงเท่านั้น เม็ดเงินทั่วโลกก็ได้ทยอยเทขายทรัพย์สินในเงินดอลลาร์สหรัฐไหลไปสู่ทรัพย์สินที่มั่นคงกว่าทันที และทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงฉับพลันและยังมีแนวโน้มว่าจะเสื่อมค่าอย่างต่อเนื่องด้วย และนั่นทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐถูกเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชีย และทำให้ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินสกุลหลายประเทศในเอเชียจึงแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศติดอันดับโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเป็นเป้าหมายในการลงทุนไปด้วย ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทะยานต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือเงินดอลลาร์ที่กำลังเสื่อมค่าถูกนำมาแปลงสภาพผ่านทุนเคลื่อนย้ายสุทธิเข้าในตลาดหุ้น กองทุน หรือพันธบัตรในเอเชีย ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเป้าหมายในการลงทุนกลับยิ่งมีเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางต้องเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทองคำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ราคาทองคำจึงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และเมื่อมีแนวโน้มว่าอิสราเอลจะตั้งเป้าโจมตีทำลายแหล่งปิโตรเลียมอิหร่าน ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกราคาเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยเพราะธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกพยายามจะได้พยายามลดการถือครองพันธบัตร เพื่อหวังจะทำให้การเปลี่ยนสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศจากเงินดอลลาร์สหรัฐให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นๆ หรือทองคำนั้นให้มากขึ้นนั้น เป็นการคิดพร้อมๆกันของหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้หลายประเทศไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ตามใจชอบ อย่างไรก็ตามประเทศใดมีทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมเท่ากับว่าประเทศนั้นถือครองทรัพย์สินที่อ่อนค่าลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สกุลเงินในประเทศที่มีทรัพย์สินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าไปด้วยอยู่ดี เมื่อถึงสถานการณ์ที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางกลายเป็นข้อจำกัด และถูกบีบให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง หากสหรัฐอเมริกาจะยังคงสถานภาพเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อต้องบีบให้ทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้มากที่สุด สถานการณ์ใกล้ตีบตันแล้ว จึงเหลือหนทางแค่ 2 ทางเท่านั้น หนทางที่หนึ่ง คือ “ก่อสงคราม” เพื่อทำให้ประเทศที่มีสงครามต้องสั่งซื้อ สั่งผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น และเมื่ออาวุธ ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ขายในรูปของดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นผลทำให้ประเทศคู่ขัดแย้งมีความต้องการเงินดอลลาร์ศหรัฐมากขึ้น การสร้างสถานการณ์เพื่อทำให้เกิดสงครามยังจะเป็นผลทำให้ราคาปิโตรเลียมทั่วโลกราคาสูงขึ้น และทำให้ดึงความมั่งคั่งของโลกมาซื้อทรัพยากรปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกามากขึ้น ตัวอย่างสมรภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครน กับรัสเซีย ชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริการสามารถทำกำไรอย่างมหาศาลทั้งจากธุรกิจอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และธุรกิจน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการสมรู้ร่วมคิดสนับสนุนอิสราเอลเพื่อก่อสงครามในตะวันออกลาง ก็เพื่อเร่งการซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามแสนยานุภาพของมหาอำนาจหลายขั้วอยู่ในระดับที่ไม่แพ้กัน ทำให้การก่อสงครามด้วยสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะของการจำกัดพื้นที่ ”ในประเทศอื่นๆ“ และให้มีความยืดเยื้อ และมีเป้าหมายในการทำลายแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หนทางที่สอง “ก่อโรคระบาดใหม่” เพื่อทำให้ทุกประเทศต้องก่อหนี้สินมหาศาลในการช่วยเหลือประชาชน หากล้มละลาย และยังเป็นการดูดความมั่งคั่งเหล่านี้ไปซื้อวัคซีน และยารักษาโรคจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป หากประเทศเหล่านั้นยากจนเงินไม่เพียงพอ ก็ต้องให้มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นหนทางในการบีบให้ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในประเทศนั้นๆอยู่ดี และเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐ ย่อมเท่ากับยอมรับว่าไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยสูงในการรักษาการยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา “แบบสันติวิธี” ได้นานกว่านี้ได้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อมูลของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐได้พิสูจน์ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับที่ก่อสงคราม หรือการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้เกิดการก่อหนี้อันมหาศาลของหลายประเทศนั้น ได้ส่งผลดำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และยังคงเป็นยุทธวิธีที่ดำรงสถานภาพของเงินดอลลาร์สหรัฐได้[4] โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง[4] สถานการณ์นี้เป็นตัวนบีบเงื่อนไขในรักษาเงินดอลลาร์ “มีเวลาน้อยลง” เรื่อยๆ ดังนั้นโลกกำลังเข้าสู่ความเสี่ยงในการเร่งทำสงครามจำกัดพื้นที่แต่ยืดเยื้ออย่างชัดเจนขึ้น โดยมีเป้าหมายในการทำลาายแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ออกจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นเกินกว่าที่ประเทศที่ถูกอิสราเอลหรือนาโต้จะรับได้ ทั้งต่อประเทศในตะวันออกกลางคู่ขัดแย้งกับอิสราเอล หรือ การทำสงครามรัสเซียกับยูเครนก็ตาม “ความยืดเยื้อ” ในระหว่างประเทศอาจถูกทำให้ยุติ ได้ด้วยการตอบโต้ที่รุนแรงและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงในการทำสงครามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ซึ่งเชื่อว่าประเทศมหาอำนาจทั่วโลกพยายามยับยั้งชั่งใจไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์​ เพราะหากถึงจุดนั้น ก็เท่ากับสงครามต้อง “หมดยก” และต้องยุติลงด้วยชัยชนะหรือพ่ายแพ้กันไปข้างหนึ่ง และทำให้สงครามเศรษฐกิจที่เพิ่มความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องยุติลงฉับพลันเช่นกัน เมื่อสถานการณ์การเร่งสถานการณ์สงครามมีความเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องยับยั้งชั่งใจในมิติการก่อสงคราม จึงเหลืออีกหนทางหนึ่งคือ “การก่อโรคระบาด” ที่อาจจะเป็นหนทางสุดท้ายที่ทำให้ทั่วโลกต้องมาหาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกามาซื้อวัคซีนหรือยารักษาโรคที่มีราคาแพงจากสหรัฐอเมริกา ในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยควรจะมีผู้นำที่มาชี้นำทางความคิดในการเตรียมตัวในการรับมือกับสถานการณสงครามโลก สงครามโรค ในสงครามความโลภทั้งหลาย โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมทางด้าน ”ความมั่นคงทางพลังงาน, ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางยาสมุนไพรเพื่อการพี่งพาตนเอง“ เอาจริงๆแล้วยังไม่เห็นรัฐบาลเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้เลย ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 4 ตุลาคม 2567 อ้างอิง [1] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Total IMF Credit Outstanding �Movement From September 01, 2024 to October 01 https://www.imf.org/external/np/fin/tad/balmov2.aspx?type=TOTAL [2] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserve (COFER), World allocated Reserves by Currency for 2023 Q2 https://data.imf.org/?sk=e6a5f467-c14b-4aa8-9f6d-5a09ec4e62a4 [3] Peterson G. Foundation, What is the National Debt Today?, https://www.pgpf.org/national-debt-clock?gad_source=1&gbraid=0AAAAABdefgYCJ8Ko6Ivna9fcfHx0Y_lqt&gclid=EAIaIQobChMIhbGExczxiAMVyqpLBR2NuhvEEAAYASAAEgJXjvD_BwE [4] marketwatch, US Dollar Index(DXY) https://www.marketwatch.com/investing/index/dxy
    Like
    Love
    Yay
    86
    7 Comments 5 Shares 4236 Views 1 Reviews
  • ผู้สนับสนุนนาโต้ของยูเครนรายงานว่า กลัวว่าจะไม่มีเงินเหลือพอที่จะเติมเชื้อเพลิงให้กับสงครามตัวแทนต่อต้านรัสเซียจนถึงปี ๒๐๒๕

    การส่งอาวุธให้ยูเครนอย่างต่อเนื่องนั้นมีความเสี่ยง เนื่องจากผู้สนับสนุนนาโต้รายใหญ่ของระบอบเซเลนสกีขาดเงินทุนอย่างเร่งด่วน, แหล่งข่าววงในนโยบายบอกกับบลูมเบิร์ก

    สิ่งที่เป็นเดิมพันคือข้อตกลงเงินกู้มูลค่า ๕ หมื่นล้านดอลลาร์ ที่สร้างความขัดแย้งขึ้นจากกำไรของสินทรัพย์ของธนาคารกลางรัสเซียที่ถูกอายัดไว้ในธนาคารตะวันตก, ซึ่งรายงานระบุว่าวอชิงตันกลัวว่าฮังการีอาจปิดกั้นหรือลดจำนวนลง แม้แต่จำนวนเงินนั้นก็เพียงพอที่จะให้เคียฟมีเสบียงสำหรับสงครามได้เพียงครึ่งปีเท่านั้น

    นั่นยังไม่นับรวมสถานการณ์เศรษฐกิจของเคียฟ, ซึ่งรวมถึงช่องว่างที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ๓๕,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ในงบประมาณปี ๒๐๒๕, ซึ่งอีกประมาณ ๑๕,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ยังไม่สามารถนำมาคำนวณได้ หลังจากใช้เงินอุดหนุนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและสหภาพยุโรป การขาดดุลดังกล่าวอาจผลักดันให้เคียฟเข้าสู่การเจรจาสันติภาพกับรัสเซีย ‘จากจุดยืนที่อ่อนแอ’, แหล่งข่าวของ Bloomberg ระบุ

    ดูเหมือนว่าเคียฟจะประสบปัญหาในการโน้มน้าวใจผู้สนับสนุนให้ยังคงควักเงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์เพื่อซื้ออาวุธสำหรับความขัดแย้ง เนื่องจากการผลิตอาวุธของรัสเซียที่เพิ่มขึ้น "เกินหน้า" ผลผลิตรวมของชาติตะวันตก

    จากนั้นยังมีแรงกดดันต่อเซเลนสกีว่า คาดว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะต้องใช้มาตรการนี้, หากเขาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี, 🤣และสถานะที่ขัดสนเงินสดของเยอรมนี, ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่เป็นอันดับสองของยูเครน รองจากสหรัฐอเมริกา, ซึ่งข้อจำกัดด้านหนี้ตามรัฐธรรมนูญได้ส่งผลกระทบต่อการสนับสนุนไปแล้ว ในขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจกำลังแผ่กระจายไปทั่วฝรั่งเศส, อิตาลี, และสหราชอาณาจักร, ประเทศเหล่านี้อาจลดความช่วยเหลือลงเช่นกัน, แม้ว่ารัฐบาลสตาร์เมอร์จะให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนเคียฟอย่างเต็มที่ต่อไป แม้ว่าจะต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่ยากลำบากในด้านงบประมาณภายในประเทศก็ตาม🤣

    วิกฤตการณ์ด้านความช่วยเหลือเป็นครั้งที่สองในปีนี้ที่โอกาสในสนามรบของเคียฟต้องเผชิญความท้าทายจากความลังเลใจของผู้สนับสนุนที่จะควักเงินเพิ่ม ในเดือนเมษายน, สภาผู้แทนราษฎรที่พรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากได้ผ่านแพ็คเกจความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยมูลค่า ๔๘,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สำหรับยูเครน หลังจากเกิดความขัดแย้งกันนาน ๖ เดือน จากวิกฤตที่ชายแดนทางใต้ของสหรัฐฯ
    .
    Ukraine’s NATO patrons reportedly fear running out of money to fuel anti-Russia proxy war into 2025

    The continued delivery of weaponry to Ukraine is at risk due to a pressing lack of funds among the Zelensky regime’s top NATO sponsors, policy insiders have told Bloomberg.

    At stake is a controversial $50 billion loan agreement generated by the profits of Russian Central Bank assets frozen in Western banks, which Washington reportedly fears could be blocked by Hungary or whittled down. Even that sum would be enough to keep Kiev stocked up on war materiel for only half the year.

    That’s not counting Kiev’s economic situation, including a projected $35 billion gap in the 2025 budget, about $15 billion of which has yet to be accounted for after IMF and EU subsidies are applied. The shortfall could push Kiev into peace talks with Russia ‘from a position of weakness’, Bloomberg’s sources indicated.

    Kiev is apparently also having a hard time convincing patrons to continue shelling out tens of billions of dollars worth of arms for the conflict as ramped-up Russian production “outpaces” the combined output of the collective West.

    Then there is the pressure on Zelensky that Donald Trump is expected to apply, should he win the White House, and the cash-poor position of Germany, Ukraine’s second-largest sponsor after the US, whose constitutional debt restrictions have already affected support. As economic troubles sweep over France, Italy, and the UK, these countries may similarly reduce assistance, although the Starmer government has vowed to continue backing Kiev up to the hilt despite hard budgetary choices to make at home.

    The aid crunch is the second time this year that Kiev’s battlefield prospects have been challenged by its patrons’ reluctance to fork over more cash. In April, the Republican-held House of Representatives passed a $48 billion package of security aid for Ukraine after a six-month deadlock connected to the crisis at the US’s southern border.
    .
    11:29 PM · Sep 27, 2024 · 1,960 Views
    https://x.com/SputnikInt/status/1839703912816783372
    ผู้สนับสนุนนาโต้ของยูเครนรายงานว่า กลัวว่าจะไม่มีเงินเหลือพอที่จะเติมเชื้อเพลิงให้กับสงครามตัวแทนต่อต้านรัสเซียจนถึงปี ๒๐๒๕ การส่งอาวุธให้ยูเครนอย่างต่อเนื่องนั้นมีความเสี่ยง เนื่องจากผู้สนับสนุนนาโต้รายใหญ่ของระบอบเซเลนสกีขาดเงินทุนอย่างเร่งด่วน, แหล่งข่าววงในนโยบายบอกกับบลูมเบิร์ก สิ่งที่เป็นเดิมพันคือข้อตกลงเงินกู้มูลค่า ๕ หมื่นล้านดอลลาร์ ที่สร้างความขัดแย้งขึ้นจากกำไรของสินทรัพย์ของธนาคารกลางรัสเซียที่ถูกอายัดไว้ในธนาคารตะวันตก, ซึ่งรายงานระบุว่าวอชิงตันกลัวว่าฮังการีอาจปิดกั้นหรือลดจำนวนลง แม้แต่จำนวนเงินนั้นก็เพียงพอที่จะให้เคียฟมีเสบียงสำหรับสงครามได้เพียงครึ่งปีเท่านั้น นั่นยังไม่นับรวมสถานการณ์เศรษฐกิจของเคียฟ, ซึ่งรวมถึงช่องว่างที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ๓๕,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ในงบประมาณปี ๒๐๒๕, ซึ่งอีกประมาณ ๑๕,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ยังไม่สามารถนำมาคำนวณได้ หลังจากใช้เงินอุดหนุนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและสหภาพยุโรป การขาดดุลดังกล่าวอาจผลักดันให้เคียฟเข้าสู่การเจรจาสันติภาพกับรัสเซีย ‘จากจุดยืนที่อ่อนแอ’, แหล่งข่าวของ Bloomberg ระบุ ดูเหมือนว่าเคียฟจะประสบปัญหาในการโน้มน้าวใจผู้สนับสนุนให้ยังคงควักเงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์เพื่อซื้ออาวุธสำหรับความขัดแย้ง เนื่องจากการผลิตอาวุธของรัสเซียที่เพิ่มขึ้น "เกินหน้า" ผลผลิตรวมของชาติตะวันตก จากนั้นยังมีแรงกดดันต่อเซเลนสกีว่า คาดว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะต้องใช้มาตรการนี้, หากเขาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี, 🤣และสถานะที่ขัดสนเงินสดของเยอรมนี, ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่เป็นอันดับสองของยูเครน รองจากสหรัฐอเมริกา, ซึ่งข้อจำกัดด้านหนี้ตามรัฐธรรมนูญได้ส่งผลกระทบต่อการสนับสนุนไปแล้ว ในขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจกำลังแผ่กระจายไปทั่วฝรั่งเศส, อิตาลี, และสหราชอาณาจักร, ประเทศเหล่านี้อาจลดความช่วยเหลือลงเช่นกัน, แม้ว่ารัฐบาลสตาร์เมอร์จะให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนเคียฟอย่างเต็มที่ต่อไป แม้ว่าจะต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่ยากลำบากในด้านงบประมาณภายในประเทศก็ตาม🤣 วิกฤตการณ์ด้านความช่วยเหลือเป็นครั้งที่สองในปีนี้ที่โอกาสในสนามรบของเคียฟต้องเผชิญความท้าทายจากความลังเลใจของผู้สนับสนุนที่จะควักเงินเพิ่ม ในเดือนเมษายน, สภาผู้แทนราษฎรที่พรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากได้ผ่านแพ็คเกจความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยมูลค่า ๔๘,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สำหรับยูเครน หลังจากเกิดความขัดแย้งกันนาน ๖ เดือน จากวิกฤตที่ชายแดนทางใต้ของสหรัฐฯ . Ukraine’s NATO patrons reportedly fear running out of money to fuel anti-Russia proxy war into 2025 The continued delivery of weaponry to Ukraine is at risk due to a pressing lack of funds among the Zelensky regime’s top NATO sponsors, policy insiders have told Bloomberg. At stake is a controversial $50 billion loan agreement generated by the profits of Russian Central Bank assets frozen in Western banks, which Washington reportedly fears could be blocked by Hungary or whittled down. Even that sum would be enough to keep Kiev stocked up on war materiel for only half the year. That’s not counting Kiev’s economic situation, including a projected $35 billion gap in the 2025 budget, about $15 billion of which has yet to be accounted for after IMF and EU subsidies are applied. The shortfall could push Kiev into peace talks with Russia ‘from a position of weakness’, Bloomberg’s sources indicated. Kiev is apparently also having a hard time convincing patrons to continue shelling out tens of billions of dollars worth of arms for the conflict as ramped-up Russian production “outpaces” the combined output of the collective West. Then there is the pressure on Zelensky that Donald Trump is expected to apply, should he win the White House, and the cash-poor position of Germany, Ukraine’s second-largest sponsor after the US, whose constitutional debt restrictions have already affected support. As economic troubles sweep over France, Italy, and the UK, these countries may similarly reduce assistance, although the Starmer government has vowed to continue backing Kiev up to the hilt despite hard budgetary choices to make at home. The aid crunch is the second time this year that Kiev’s battlefield prospects have been challenged by its patrons’ reluctance to fork over more cash. In April, the Republican-held House of Representatives passed a $48 billion package of security aid for Ukraine after a six-month deadlock connected to the crisis at the US’s southern border. . 11:29 PM · Sep 27, 2024 · 1,960 Views https://x.com/SputnikInt/status/1839703912816783372
    Haha
    2
    0 Comments 0 Shares 719 Views 0 Reviews
  • 🤠#สหรัฐฯ ค่อยๆ เข้ามาแทนที่อังกฤษและกลายเป็นเจ้าโลกได้อย่างไร? #การรื้ออำนาจเจ้าโลกจะมีผลกระทบอะไรบ้าง ตอน 02.🤠

    🤯สาม การพลิกกลับ🤯

    สถานการณ์สงครามโลกที่ไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างโลกทำให้ทางการสหรัฐฯไม่พอใจอย่างมาก หลังจากที่ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน(Woodrow Wilson伍德罗·威尔逊) ลาออกจากตำแหน่ง นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ ก็กลับเข้าสู่ลัทธิโดดเดี่ยวอย่างเดิม

    เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1935 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำในสงครามโลกครั้งที่ 1 สภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาจึงผ่านกฎหมายความเป็นกลาง ซึ่งกำหนดให้มีการคว่ำบาตร "อาวุธ กระสุน และยุทโธปกรณ์" ไปยังประเทศคู่สงครามทั้งหมด และห้ามเรือค้าขายของสหรัฐฯ จากการขนส่งอาวุธไปยังประเทศคู่สงคราม ขบวนการโดดเดี่ยวในสหรัฐอเมริกาถึงจุดสูงสุด

    ในเวลานี้ ท้องฟ้าเหนือยุโรปเต็มไปด้วยเมฆหมอกแห่งสงคราม นโยบายการโอนอ่อนผ่อนตามของอังกฤษและฝรั่งเศสมีส่วนทำให้เกิดความหยิ่งลำพองของเยอรมนีมีความเป็นฟาสซิสต์มากขึ้น ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 นาซีเยอรมนีเปิดการโจมตีแบบสายฟ้าแลบต่อโปแลนด์ และสงครามโลกครั้งที่สองก็ปะทุขึ้น

    ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ฝรั่งเศสซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะมหาอำนาจโดยมีกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปยอมจำนน ในเดือนพฤศจิกายนของปีถัดมา ญี่ปุ่นซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจฝ่ายอักษะได้เปิดฉากโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ต่อสหรัฐอเมริกา และลากสหรัฐอเมริกาเข้าสู่วังวนแห่งสงคราม สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามโลกครั้งที่ 1 แตกต่างกันออกไป ในเวลานี้ สหรัฐฯมีบทบาทเป็นผู้นำ โดยควบคุมในแอฟริกาเหนือ แนวรบด้านตะวันตก และสนามรบในมหาสมุทรแปซิฟิก

    ในช่วงสงคราม รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ลืมวางแผนสำหรับรูปแบบโลกหลังสงคราม และไม่ต้องการทำผิดพลาดแบบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซ้ำอีก

    สิ่งแรกที่ต้องจัดการคือเรื่องการครอบงำทางการเงินของโลกที่อังกฤษโดยก่อตั้งขึ้นตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม

    ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1942 ไวท์( White) ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ได้เปิดตัวแผนของไวท์( White) ซึ่งเป็นแผนเศรษฐกิจในช่วงสงคราม

    แผนดังกล่าวรวมถึงการจัดตั้งสถาบันสองแห่ง ได้แก่ กองทุนรักษาเสถียรภาพแห่งชาติ (National Stabilization Fund) และธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนา (Bank for Reconstruction and Development.) ทั้งสองสถาบันนี้เป็นสถาบันก่อนหน้าของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund)และธนาคารโลก (World Bank.)ในอนาคต

    เพื่อป้องกันอิทธิพลอำนาจทางการเงินของสหรัฐอเมริกาหลังสงครามและปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง สหราชอาณาจักรยังเสนอให้จัดตั้งศูนย์หักบัญชีระหว่างประเทศ (international clearing center) ตาม "ลัทธิเคนส์ (Keynesianism)" และออกแบบระบบการเงินที่มีทองคำเป็นหน่วยการชำระหนี้

    อย่างไรก็ตาม ในเวลานี้สหราชอาณาจักรมีแรงใจมากล้นแต่ไม่มีกำลังกายเพียงพอ และความแข็งแกร่งทางการทหารและเศรษฐกิจทำให้อังกฤษไม่สามารถแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาเพื่อครอบงำทางการเงินได้

    เพียงสองปีหลังจากการเสนอแผนของไวท์( White) ทางการสหรัฐฯ ได้จัดการประชุมการเงินและการเงินแห่งสหประชาชาติ (United Nations Monetary and Financial Conference)ที่เบรตตันวูดส์ (Bretton Woods) ทางการสหรัฐฯมีอำนาจเหนือการเจรจาอย่างท่วมท้น และในที่สุดประเทศต่างๆ ก็ลงนามใน "ข้อตกลงเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods Agreement)" อันโด่งดัง

    ข้อตกลงดังกล่าวเชื่อมโยงสกุลเงินของประเทศต่างๆ อย่างเป็นทางการกับดอลลาร์สหรัฐ และสร้างระบบมาตรฐานทองคำที่ดอลลาร์สหรัฐเชื่อมโยงกับทองคำ สำนักงานใหญ่ของกองทุนการเงินแห่งชาติ (National Monetary Fund)ตั้งอยู่ในวอชิงตัน (Washington) เห็นได้ชัดว่าระบบเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods system)เป็นข้อตกลงที่ลงนามโดยสหรัฐอเมริกาที่มีอำนาจมากที่สุดและเหล่าบริวารอื่น ๆ ในสภาพแวดล้อมสงครามในขณะนั้น

    แม้ว่าอังกฤษไม่เต็มใจที่จะมอบอำนาจทางการเงินของตนให้กับผู้อื่น แต่ความรุ่งโรจน์ของจักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดินก็สูญสิ้นไปนานแล้ว สหรัฐฯ ขู่ว่าจะปฏิเสธคำขอกู้ยืมของอังกฤษและบังคับให้ทางการอังกฤษยอมรับข้อตกลงดังกล่าว ขณะเดียวกันพวกเขาก็ใช้การล่มสลายของระบบอาณานิคมในอนาคตเป็นข้อแก้ตัวด้วย บังคับให้ฝ่ายอังกฤษละทิ้งระบบจักรวรรดิดั้งเดิมที่ให้การปฏิบัติเระบบสิทธิพิเศษ และใช้เงินปอนด์ที่แปลงสภาพอย่างเสรี

    ในท้ายที่สุด อังกฤษก็ยอมสละอำนาจทางการเงินของตน และสหรัฐฯ ได้ขจัดอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการก้าวไปสู่อำนาจอำนาจของโลก

    🤯4. บทสรุปและการรู้แจ้ง🤯

    อารยธรรมของมนุษย์ดำรงอยู่มานานนับพันปี ในประวัติศาสตร์อันยาวนาน ประเทศที่มีอำนาจเหนือกว่าจำนวนนับไม่ถ้วนได้ถือกำเนิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีระบอบการปกครองใดที่สามารถรักษาความได้เปรียบของตนไว้ได้ตลอดไปในสถานการณ์ระหว่างประเทศที่ซับซ้อน

    ตัวแทนของยุคอาณานิคมตอนต้น - สเปนและโปรตุเกส สเปนใช้ประโยชน์จากยุคแห่งการค้นพบ และยึดครองดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกา แต่เขาสูญเสียเรือรบทั้งหมดในการรบทางเรือกับอังกฤษ ผู้ครองอำนาจเจ้าโลกรุ่นแรกจึงจำต้องสละสิทธิทางทะเลแก่สหราชอาณาจักรด้วยประการฉะนี้นี้

    บนพื้นฐานของลัทธิล่าอาณานิคมสเปน อังกฤษได้ก่อตั้งกลุ่มอาณานิคมขึ้น เช่น บริษัทอินเดียตะวันออก และดำเนินกิจกรรมปล้นสะดมขนาดใหญ่ในแอฟริกา เอเชีย และอเมริกา ถือเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมในเวลาต่อมา

    ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง บรรดาสุภาพบุรุษผู้สูงศักดิ์ชาวอังกฤษคอยกินบุญเก่าซึ่งมีรายชื่อในสมุดความดีความชอบมุ่งมั่นที่จะรักษาระบบอาณานิคมของตนไว้ โดยไม่สนใจการเพิ่มทวีขึ้นของจิตสำนึกแห่งชาติเผ่าของอาณานิคม และพยายามใช้วิธีการที่ต่ำทรามน่ารังเกียจต่างๆ เพื่อรักษาสถานะที่ว่าอาณาจักรที่ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดินของตนไว้

    ด้วยการผงาดรุ่งเรืองขึ้นของประเทศทุนนิยมเกิดใหม่ และการทำลายล้างเศรษฐกิจของอังกฤษโดยสงครามโลกครั้งที่สอง ในที่สุดอังกฤษก็ถูกบังคับให้สละอำนาจเจ้าโลกของตนในที่สุด สหรัฐฯ ผ่านการปฏิบัติการหลายประการมีการสถาปนาอำนาจนำในหลายแง่มุมซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศตน

    😎ในกระบวนการแย่งชิงอำนาจของอังกฤษโดยสหรัฐอเมริกา การรวมอำนาจทางการเมือง การขยายอาณาเขต การรักษาความสามัคคี และการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพื้นฐานของการได้รับอำนาจเป็นเจ้าโลก😎

    เมื่อความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและความแข็งแกร่งทางการทหารมีมากกว่าประเทศอื่นๆ มาก การโอนอำนาจก็สามารถเกิดขึ้นได้ในทันที ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง การเก็บตัวและสังเกตการณ์อยู่ข้างสนามและการแทรกแซงสงครามในเวลาที่เหมาะสม ล้วนแสดงให้เห็นถึงความเฉียบแหลมทางการเมืองอันยอดเยี่ยมของกลุ่มนักคิดของรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อประเทศในยุโรปไม่สามารถทำได้หากปราศจากการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา การโอนอำนาจเจ้าโลกจะเป็นเรื่องที่สำเร็จแน่นอน

    ในปัจจุบัน ขณะที่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งที่สามกำลังจะสิ้นสุดลง และการปฏิวัติอุตสาหกรรมรอบใหม่กำลังจะแตกออก อำนาจของอเมริกาก็มาถึงทางแยกแห่งโชคชะตาเนื่องจากมีเหตุการณ์เป็นตัวเร่งคือเรื่องของการเสริมกำลังทหารและความขัดแย้งภายในของตัวเอง

    สหรัฐฯ ไม่เต็มใจที่จะปล่อยให้จีนดำเนินตามขั้นตอนเดิมพัฒนาในลักษณะที่ไม่สำคัญต่อไป จากยุทธศาสตร์ปิดล้อมด้วย“สายโซ่แห่งดินแดนวงล้อมชั้นแรก” (First Island Chain)รวมกับเครือข่ายพื้นที่แผ่นดินใหญ่ในยุคโอบามา ไปจนถึงสงครามการค้ากับจีนในยุคทรัมป์ และการโจมตีจีนโดยรัฐบริวารในเอเชียในเรื่องต่างๆ จะเห็นได้ว่าความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการรักษาสิ่งที่เรียกว่าอำนาจเป็นใหญ่นั้นเปรียบเสมือนนักรบที่ติดอยู่ในสนามประลอง

    ในยุคแห่งความขัดแย้งครั้งใหญ่นี้ การยืนหยัดบนเส้นทางของตัวเองและระวังการแทรกซึมของกองกำลังศัตรูเป็นหนทางที่จะทำลายแผนการสมรู้ร่วมคิดของสหรัฐฯ และอำนาจเจ้าโลกของสหรัฐฯ

    🤯โปรดติดตามบทความที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า🤯

    🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    🤠#สหรัฐฯ ค่อยๆ เข้ามาแทนที่อังกฤษและกลายเป็นเจ้าโลกได้อย่างไร? #การรื้ออำนาจเจ้าโลกจะมีผลกระทบอะไรบ้าง ตอน 02.🤠 🤯สาม การพลิกกลับ🤯 สถานการณ์สงครามโลกที่ไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างโลกทำให้ทางการสหรัฐฯไม่พอใจอย่างมาก หลังจากที่ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน(Woodrow Wilson伍德罗·威尔逊) ลาออกจากตำแหน่ง นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ ก็กลับเข้าสู่ลัทธิโดดเดี่ยวอย่างเดิม เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1935 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำในสงครามโลกครั้งที่ 1 สภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาจึงผ่านกฎหมายความเป็นกลาง ซึ่งกำหนดให้มีการคว่ำบาตร "อาวุธ กระสุน และยุทโธปกรณ์" ไปยังประเทศคู่สงครามทั้งหมด และห้ามเรือค้าขายของสหรัฐฯ จากการขนส่งอาวุธไปยังประเทศคู่สงคราม ขบวนการโดดเดี่ยวในสหรัฐอเมริกาถึงจุดสูงสุด ในเวลานี้ ท้องฟ้าเหนือยุโรปเต็มไปด้วยเมฆหมอกแห่งสงคราม นโยบายการโอนอ่อนผ่อนตามของอังกฤษและฝรั่งเศสมีส่วนทำให้เกิดความหยิ่งลำพองของเยอรมนีมีความเป็นฟาสซิสต์มากขึ้น ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 นาซีเยอรมนีเปิดการโจมตีแบบสายฟ้าแลบต่อโปแลนด์ และสงครามโลกครั้งที่สองก็ปะทุขึ้น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ฝรั่งเศสซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะมหาอำนาจโดยมีกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปยอมจำนน ในเดือนพฤศจิกายนของปีถัดมา ญี่ปุ่นซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจฝ่ายอักษะได้เปิดฉากโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ต่อสหรัฐอเมริกา และลากสหรัฐอเมริกาเข้าสู่วังวนแห่งสงคราม สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามโลกครั้งที่ 1 แตกต่างกันออกไป ในเวลานี้ สหรัฐฯมีบทบาทเป็นผู้นำ โดยควบคุมในแอฟริกาเหนือ แนวรบด้านตะวันตก และสนามรบในมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงสงคราม รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ลืมวางแผนสำหรับรูปแบบโลกหลังสงคราม และไม่ต้องการทำผิดพลาดแบบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซ้ำอีก สิ่งแรกที่ต้องจัดการคือเรื่องการครอบงำทางการเงินของโลกที่อังกฤษโดยก่อตั้งขึ้นตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1942 ไวท์( White) ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ได้เปิดตัวแผนของไวท์( White) ซึ่งเป็นแผนเศรษฐกิจในช่วงสงคราม แผนดังกล่าวรวมถึงการจัดตั้งสถาบันสองแห่ง ได้แก่ กองทุนรักษาเสถียรภาพแห่งชาติ (National Stabilization Fund) และธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนา (Bank for Reconstruction and Development.) ทั้งสองสถาบันนี้เป็นสถาบันก่อนหน้าของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund)และธนาคารโลก (World Bank.)ในอนาคต เพื่อป้องกันอิทธิพลอำนาจทางการเงินของสหรัฐอเมริกาหลังสงครามและปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง สหราชอาณาจักรยังเสนอให้จัดตั้งศูนย์หักบัญชีระหว่างประเทศ (international clearing center) ตาม "ลัทธิเคนส์ (Keynesianism)" และออกแบบระบบการเงินที่มีทองคำเป็นหน่วยการชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม ในเวลานี้สหราชอาณาจักรมีแรงใจมากล้นแต่ไม่มีกำลังกายเพียงพอ และความแข็งแกร่งทางการทหารและเศรษฐกิจทำให้อังกฤษไม่สามารถแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาเพื่อครอบงำทางการเงินได้ เพียงสองปีหลังจากการเสนอแผนของไวท์( White) ทางการสหรัฐฯ ได้จัดการประชุมการเงินและการเงินแห่งสหประชาชาติ (United Nations Monetary and Financial Conference)ที่เบรตตันวูดส์ (Bretton Woods) ทางการสหรัฐฯมีอำนาจเหนือการเจรจาอย่างท่วมท้น และในที่สุดประเทศต่างๆ ก็ลงนามใน "ข้อตกลงเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods Agreement)" อันโด่งดัง ข้อตกลงดังกล่าวเชื่อมโยงสกุลเงินของประเทศต่างๆ อย่างเป็นทางการกับดอลลาร์สหรัฐ และสร้างระบบมาตรฐานทองคำที่ดอลลาร์สหรัฐเชื่อมโยงกับทองคำ สำนักงานใหญ่ของกองทุนการเงินแห่งชาติ (National Monetary Fund)ตั้งอยู่ในวอชิงตัน (Washington) เห็นได้ชัดว่าระบบเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods system)เป็นข้อตกลงที่ลงนามโดยสหรัฐอเมริกาที่มีอำนาจมากที่สุดและเหล่าบริวารอื่น ๆ ในสภาพแวดล้อมสงครามในขณะนั้น แม้ว่าอังกฤษไม่เต็มใจที่จะมอบอำนาจทางการเงินของตนให้กับผู้อื่น แต่ความรุ่งโรจน์ของจักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดินก็สูญสิ้นไปนานแล้ว สหรัฐฯ ขู่ว่าจะปฏิเสธคำขอกู้ยืมของอังกฤษและบังคับให้ทางการอังกฤษยอมรับข้อตกลงดังกล่าว ขณะเดียวกันพวกเขาก็ใช้การล่มสลายของระบบอาณานิคมในอนาคตเป็นข้อแก้ตัวด้วย บังคับให้ฝ่ายอังกฤษละทิ้งระบบจักรวรรดิดั้งเดิมที่ให้การปฏิบัติเระบบสิทธิพิเศษ และใช้เงินปอนด์ที่แปลงสภาพอย่างเสรี ในท้ายที่สุด อังกฤษก็ยอมสละอำนาจทางการเงินของตน และสหรัฐฯ ได้ขจัดอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการก้าวไปสู่อำนาจอำนาจของโลก 🤯4. บทสรุปและการรู้แจ้ง🤯 อารยธรรมของมนุษย์ดำรงอยู่มานานนับพันปี ในประวัติศาสตร์อันยาวนาน ประเทศที่มีอำนาจเหนือกว่าจำนวนนับไม่ถ้วนได้ถือกำเนิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีระบอบการปกครองใดที่สามารถรักษาความได้เปรียบของตนไว้ได้ตลอดไปในสถานการณ์ระหว่างประเทศที่ซับซ้อน ตัวแทนของยุคอาณานิคมตอนต้น - สเปนและโปรตุเกส สเปนใช้ประโยชน์จากยุคแห่งการค้นพบ และยึดครองดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกา แต่เขาสูญเสียเรือรบทั้งหมดในการรบทางเรือกับอังกฤษ ผู้ครองอำนาจเจ้าโลกรุ่นแรกจึงจำต้องสละสิทธิทางทะเลแก่สหราชอาณาจักรด้วยประการฉะนี้นี้ บนพื้นฐานของลัทธิล่าอาณานิคมสเปน อังกฤษได้ก่อตั้งกลุ่มอาณานิคมขึ้น เช่น บริษัทอินเดียตะวันออก และดำเนินกิจกรรมปล้นสะดมขนาดใหญ่ในแอฟริกา เอเชีย และอเมริกา ถือเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมในเวลาต่อมา ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง บรรดาสุภาพบุรุษผู้สูงศักดิ์ชาวอังกฤษคอยกินบุญเก่าซึ่งมีรายชื่อในสมุดความดีความชอบมุ่งมั่นที่จะรักษาระบบอาณานิคมของตนไว้ โดยไม่สนใจการเพิ่มทวีขึ้นของจิตสำนึกแห่งชาติเผ่าของอาณานิคม และพยายามใช้วิธีการที่ต่ำทรามน่ารังเกียจต่างๆ เพื่อรักษาสถานะที่ว่าอาณาจักรที่ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดินของตนไว้ ด้วยการผงาดรุ่งเรืองขึ้นของประเทศทุนนิยมเกิดใหม่ และการทำลายล้างเศรษฐกิจของอังกฤษโดยสงครามโลกครั้งที่สอง ในที่สุดอังกฤษก็ถูกบังคับให้สละอำนาจเจ้าโลกของตนในที่สุด สหรัฐฯ ผ่านการปฏิบัติการหลายประการมีการสถาปนาอำนาจนำในหลายแง่มุมซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศตน 😎ในกระบวนการแย่งชิงอำนาจของอังกฤษโดยสหรัฐอเมริกา การรวมอำนาจทางการเมือง การขยายอาณาเขต การรักษาความสามัคคี และการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพื้นฐานของการได้รับอำนาจเป็นเจ้าโลก😎 เมื่อความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและความแข็งแกร่งทางการทหารมีมากกว่าประเทศอื่นๆ มาก การโอนอำนาจก็สามารถเกิดขึ้นได้ในทันที ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง การเก็บตัวและสังเกตการณ์อยู่ข้างสนามและการแทรกแซงสงครามในเวลาที่เหมาะสม ล้วนแสดงให้เห็นถึงความเฉียบแหลมทางการเมืองอันยอดเยี่ยมของกลุ่มนักคิดของรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อประเทศในยุโรปไม่สามารถทำได้หากปราศจากการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา การโอนอำนาจเจ้าโลกจะเป็นเรื่องที่สำเร็จแน่นอน ในปัจจุบัน ขณะที่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งที่สามกำลังจะสิ้นสุดลง และการปฏิวัติอุตสาหกรรมรอบใหม่กำลังจะแตกออก อำนาจของอเมริกาก็มาถึงทางแยกแห่งโชคชะตาเนื่องจากมีเหตุการณ์เป็นตัวเร่งคือเรื่องของการเสริมกำลังทหารและความขัดแย้งภายในของตัวเอง สหรัฐฯ ไม่เต็มใจที่จะปล่อยให้จีนดำเนินตามขั้นตอนเดิมพัฒนาในลักษณะที่ไม่สำคัญต่อไป จากยุทธศาสตร์ปิดล้อมด้วย“สายโซ่แห่งดินแดนวงล้อมชั้นแรก” (First Island Chain)รวมกับเครือข่ายพื้นที่แผ่นดินใหญ่ในยุคโอบามา ไปจนถึงสงครามการค้ากับจีนในยุคทรัมป์ และการโจมตีจีนโดยรัฐบริวารในเอเชียในเรื่องต่างๆ จะเห็นได้ว่าความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการรักษาสิ่งที่เรียกว่าอำนาจเป็นใหญ่นั้นเปรียบเสมือนนักรบที่ติดอยู่ในสนามประลอง ในยุคแห่งความขัดแย้งครั้งใหญ่นี้ การยืนหยัดบนเส้นทางของตัวเองและระวังการแทรกซึมของกองกำลังศัตรูเป็นหนทางที่จะทำลายแผนการสมรู้ร่วมคิดของสหรัฐฯ และอำนาจเจ้าโลกของสหรัฐฯ 🤯โปรดติดตามบทความที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า🤯 🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 655 Views 0 Reviews
  • มาครงมาแปลก เรียกร้องให้ปฏิรูประบบโลกในปัจจุบันที่ไม่ยุติธรรม

    ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง เรียกร้องให้มีการปฏิรูประเบียบโลกที่ “ไม่ยุติธรรม” ในปัจจุบัน เพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติมากขึ้น

    เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เขาได้สรุปวิสัยทัศน์ของเขาในงานประชุมนานาชาติ “Imagining Peace” ที่กรุงปารีส ซึ่งนำบุคคลสำคัญทางการเมืองและศาสนามารวมตัวกัน

    ในการกล่าวต่อหน้าชุมชนคาทอลิกแห่งซานต์เอจิดิโอ มาครงกล่าวว่า “เราต้องมีจินตนาการมากพอที่จะคิดถึงสันติภาพของวันพรุ่งนี้ สันติภาพในยุโรปในรูปแบบใหม่”

    หากทวีปยุโรปต้องการมีเสถียรภาพมากขึ้น ทุกคนควรยอมรับว่า “ไม่ใช่สหภาพยุโรปหรือ NATO อย่างเด็ดขาด” เขากล่าว “เราจะต้องคิดรูปแบบใหม่ขององค์กรยุโรปและคิดทบทวนความสัมพันธ์ของเรากับรัสเซีย” หลังจากความขัดแย้งในยูเครนสิ้นสุดลง

    ในสุนทรพจน์ของเขา มาครงกล่าวอ้างว่าระบบโลกที่สร้างขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น “ไม่สมบูรณ์และไม่ยุติธรรม” เนื่องจากประเทศที่เกิดขึ้นมาใหม่จำนวนมากยังไม่มีอยู่จริงในเวลานั้น และไม่มีส่วนร่วมในโต๊ะเจรจา

    เขากล่าวว่าองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ควรได้รับการปฏิรูป

    สิ่งที่มาครงนำเสนอก็เพียงแต่คำพูด เพราะว่าผู้ที่จะปฏิรูปโครงสร้างระบบโลกได้ก็คือสหรัฐและอังกฤษ ซึ่งไม่ต้องการทำสิ่งนั้่นอยู่แล้ว เพราะว่าต้องการรักษาสถานภาพของอำนาจที่มีอยู่
    ผ่านมาตรการแซงชั่น การเมือง และการทหาร

    แต่ในขณะเดียวกัน จีนและรัสเซียเป็นผู้นำของประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องการปฏิรูประบบโลกผ่านความร่วมมือของกลุ่มBRICS เพื่อสร้างสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจและการเงินของโลกใหม่

    มาครงอ้างว่าต้องการสันติภาพ แต่ในทางปฏิบัติเขาเป็นพวกสายเหยี่ยวที่ต้องการให้นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย เท่ากับว่าเขาสนับสนุนสงครามโลกครั้งที่ 3 ให้เกิดขึ้น ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศนาโต้ที่ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างแข็งขันในการทำสงครามกับรัสเซียผ่านการเงินและการส่งมอบอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้มีทหารฝรั่งเศสเดินทางเข้ายูเครน พร้อมกับทหารนาโต้ชาติอื่นๆเพื่อรบกับรัสเซียโดยตรงอีกด้วย

    มาครงต้องการประกาศส่งทหารฝรั่งเศสเข้าช่วยยูเครนรบกับรัสเซียอย่างเป็นทางการ และเรียกร้องให้นาโต้กระทำตาม โดยอ้างว่ายุโรปและนาโต้จะสูญเสียความน่าเชื่อถือถ้าหากปล่อยให้รัสเซียมีชัยชนะเหนือยูเครน แต่คำประกาศที่เป็นทางการไม่เกิดขึ้น หลังจากรัสเซียขู่ว่าจะตอบโต้ด้วยสงครามนิวเคลียร์กับนาโต้

    ผู้นำยุโรปที่เรียกร้องสันติภาพที่แท้จริงไม่ใช่มาครง แต่เป็นวิคเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีของฮังการี และโรเบิร์ต ฟิโก้ ผู้นำของสโลวาเนีย ซึ่งถูกลอบสังหารแต่รอดชีวิตมาได้ เพราะว่าแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับสงครามยูเครน

    คำปราศรัยของมาครงเกิดขึ้นในขณะที่นายวลาดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนเตรียมพบกับนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพื่อนำเสนอแผนที่เรียกว่า "ชัยชนะ" ซึ่งเป็นแผนงานในการกดดันให้รัสเซียยอมรับความพ่ายแพ้ เซเลนสกี้ต้องการคำอนุญาตให้ใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลของตะวันตกเพื่อโจมตีลึกเข้าไปในดินแดนของรัสเซีย

    ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่บริจาคฮาร์ดแวร์ทางทหารดังกล่าวให้กับยูเครนในรูปแบบของขีปนาวุธร่อน SCALP/Storm Shadow ซึ่งฝรั่งเศสผลิตร่วมกับสหราชอาณาจักร เจ้าหน้าที่อังกฤษสนับสนุนคำขอของเคียฟในการโจมตีรัสเซีย แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายนั้นเข้าใจกันว่าอยู่ในมือของวอชิงตัน

    มาครงไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจที่แท้จริงในยุโรป หรือนาโต้ เพราะว่าเขาเป็นเพียงแค่เชียร์ลีดเดอร์

    มาครงมาแปลก เรียกร้องให้ปฏิรูประบบโลกในปัจจุบันที่ไม่ยุติธรรม ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง เรียกร้องให้มีการปฏิรูประเบียบโลกที่ “ไม่ยุติธรรม” ในปัจจุบัน เพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติมากขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เขาได้สรุปวิสัยทัศน์ของเขาในงานประชุมนานาชาติ “Imagining Peace” ที่กรุงปารีส ซึ่งนำบุคคลสำคัญทางการเมืองและศาสนามารวมตัวกัน ในการกล่าวต่อหน้าชุมชนคาทอลิกแห่งซานต์เอจิดิโอ มาครงกล่าวว่า “เราต้องมีจินตนาการมากพอที่จะคิดถึงสันติภาพของวันพรุ่งนี้ สันติภาพในยุโรปในรูปแบบใหม่” หากทวีปยุโรปต้องการมีเสถียรภาพมากขึ้น ทุกคนควรยอมรับว่า “ไม่ใช่สหภาพยุโรปหรือ NATO อย่างเด็ดขาด” เขากล่าว “เราจะต้องคิดรูปแบบใหม่ขององค์กรยุโรปและคิดทบทวนความสัมพันธ์ของเรากับรัสเซีย” หลังจากความขัดแย้งในยูเครนสิ้นสุดลง ในสุนทรพจน์ของเขา มาครงกล่าวอ้างว่าระบบโลกที่สร้างขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น “ไม่สมบูรณ์และไม่ยุติธรรม” เนื่องจากประเทศที่เกิดขึ้นมาใหม่จำนวนมากยังไม่มีอยู่จริงในเวลานั้น และไม่มีส่วนร่วมในโต๊ะเจรจา เขากล่าวว่าองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ควรได้รับการปฏิรูป สิ่งที่มาครงนำเสนอก็เพียงแต่คำพูด เพราะว่าผู้ที่จะปฏิรูปโครงสร้างระบบโลกได้ก็คือสหรัฐและอังกฤษ ซึ่งไม่ต้องการทำสิ่งนั้่นอยู่แล้ว เพราะว่าต้องการรักษาสถานภาพของอำนาจที่มีอยู่ ผ่านมาตรการแซงชั่น การเมือง และการทหาร แต่ในขณะเดียวกัน จีนและรัสเซียเป็นผู้นำของประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องการปฏิรูประบบโลกผ่านความร่วมมือของกลุ่มBRICS เพื่อสร้างสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจและการเงินของโลกใหม่ มาครงอ้างว่าต้องการสันติภาพ แต่ในทางปฏิบัติเขาเป็นพวกสายเหยี่ยวที่ต้องการให้นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย เท่ากับว่าเขาสนับสนุนสงครามโลกครั้งที่ 3 ให้เกิดขึ้น ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศนาโต้ที่ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างแข็งขันในการทำสงครามกับรัสเซียผ่านการเงินและการส่งมอบอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้มีทหารฝรั่งเศสเดินทางเข้ายูเครน พร้อมกับทหารนาโต้ชาติอื่นๆเพื่อรบกับรัสเซียโดยตรงอีกด้วย มาครงต้องการประกาศส่งทหารฝรั่งเศสเข้าช่วยยูเครนรบกับรัสเซียอย่างเป็นทางการ และเรียกร้องให้นาโต้กระทำตาม โดยอ้างว่ายุโรปและนาโต้จะสูญเสียความน่าเชื่อถือถ้าหากปล่อยให้รัสเซียมีชัยชนะเหนือยูเครน แต่คำประกาศที่เป็นทางการไม่เกิดขึ้น หลังจากรัสเซียขู่ว่าจะตอบโต้ด้วยสงครามนิวเคลียร์กับนาโต้ ผู้นำยุโรปที่เรียกร้องสันติภาพที่แท้จริงไม่ใช่มาครง แต่เป็นวิคเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีของฮังการี และโรเบิร์ต ฟิโก้ ผู้นำของสโลวาเนีย ซึ่งถูกลอบสังหารแต่รอดชีวิตมาได้ เพราะว่าแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับสงครามยูเครน คำปราศรัยของมาครงเกิดขึ้นในขณะที่นายวลาดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนเตรียมพบกับนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพื่อนำเสนอแผนที่เรียกว่า "ชัยชนะ" ซึ่งเป็นแผนงานในการกดดันให้รัสเซียยอมรับความพ่ายแพ้ เซเลนสกี้ต้องการคำอนุญาตให้ใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลของตะวันตกเพื่อโจมตีลึกเข้าไปในดินแดนของรัสเซีย ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่บริจาคฮาร์ดแวร์ทางทหารดังกล่าวให้กับยูเครนในรูปแบบของขีปนาวุธร่อน SCALP/Storm Shadow ซึ่งฝรั่งเศสผลิตร่วมกับสหราชอาณาจักร เจ้าหน้าที่อังกฤษสนับสนุนคำขอของเคียฟในการโจมตีรัสเซีย แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายนั้นเข้าใจกันว่าอยู่ในมือของวอชิงตัน มาครงไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจที่แท้จริงในยุโรป หรือนาโต้ เพราะว่าเขาเป็นเพียงแค่เชียร์ลีดเดอร์
    Like
    Haha
    Wow
    22
    1 Comments 0 Shares 2139 Views 0 Reviews
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียสำหรับปี 2567 เป็น 4.5% ในปีนี้ เพิ่มขึ้น 0.3% จากที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อ 6 เดือนก่อน แต่ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยเหลือ 2.7% ลดลง 0.5 % จากที่เคยคาดการณ์
    อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000037399
    กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียสำหรับปี 2567 เป็น 4.5% ในปีนี้ เพิ่มขึ้น 0.3% จากที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อ 6 เดือนก่อน แต่ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยเหลือ 2.7% ลดลง 0.5 % จากที่เคยคาดการณ์ อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000037399
    0 Comments 0 Shares 703 Views 0 Reviews