• แกนนำไทยภักดี ง้างปาก “ภูมิธรรม” ทำไมจึงยอมให้กัมพูชากำหนดพื้นทางทะเล ด้วยการเล็งมาที่ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด? ยกคำพูด “ทักษิณ” สวน “นายกฯ อิ๊งค์” mou44 ยกเลิกไม่ได้ก็ไม่จริง ดักยังดื้อจะเป็นพรรคเพื่อเขมรแทนเพื่อไทย

    วันนี้ (10 พ.ย.) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า #ภูมิธรรมไปเกาะกูดไม่มีอะไรใหม่

    คุณภูมิธรรม มาลงพื้นที่เกาะกูด เพื่อมายืนยันว่า เกาะกูดเป็นของไทย เกาะกูดมีธรรมชาติที่สวยงาม พร้อมกับมาเยี่ยมกำลังพลที่ดูแลพื้นที่

    ผมยังยืนยันนะครับว่า วันนี้ประชาชนไทย หรือแม้แต่ประชาชนเกาะกูด ไม่ได้กังวลใจว่า เกาะกูดไม่ได้เป็นของไทย ย้ำนะครับว่า ไม่ได้กังวลใจว่า เกาะกูดไม่ได้เป็นของไทย เพราะเกาะกูดเป็นของไทยวันยังค่ำ

    ในเมื่อเกาะกูดเป็นของไทย พื้นที่ทางทะเลโดยรอบเกาะกูด 200 ไมล์ทะเล (370 กม.) ทั้งน้ำทะล กุ้งหอยปูปลา ผิวดินใต้ทะเล รวมทั้งพื้นดินใต้ผิวดินใต้ทะเล แหล่งพลังงาน ต้องเป็นของไทยด้วย ไม่ใช่เป็นของไทยแค่ตัวเกาะ

    สิ่งที่คนไทยกังวลใจกันมากๆ ก็คือ เมื่อเกาะกูดเป็นของไทย ไทยเราไปยอมรับเส้นอาณาเขตทางทะเล (ไหล่ทวีป) ของกัมพูชา ที่เล็งผ่านยอดเขาที่สูงสุดของเกาะกูด ออกไปอ่าวไทย ได้อย่างไร มันจึงเกิดพื้นที่ทับซ้อนมหาศาล

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000108138

    #MGROnline #เกาะกูด #ภูมิธรรมไปเกาะกูดไม่มีอะไรใหม่
    แกนนำไทยภักดี ง้างปาก “ภูมิธรรม” ทำไมจึงยอมให้กัมพูชากำหนดพื้นทางทะเล ด้วยการเล็งมาที่ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด? ยกคำพูด “ทักษิณ” สวน “นายกฯ อิ๊งค์” mou44 ยกเลิกไม่ได้ก็ไม่จริง ดักยังดื้อจะเป็นพรรคเพื่อเขมรแทนเพื่อไทย • วันนี้ (10 พ.ย.) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า #ภูมิธรรมไปเกาะกูดไม่มีอะไรใหม่ • คุณภูมิธรรม มาลงพื้นที่เกาะกูด เพื่อมายืนยันว่า เกาะกูดเป็นของไทย เกาะกูดมีธรรมชาติที่สวยงาม พร้อมกับมาเยี่ยมกำลังพลที่ดูแลพื้นที่ • ผมยังยืนยันนะครับว่า วันนี้ประชาชนไทย หรือแม้แต่ประชาชนเกาะกูด ไม่ได้กังวลใจว่า เกาะกูดไม่ได้เป็นของไทย ย้ำนะครับว่า ไม่ได้กังวลใจว่า เกาะกูดไม่ได้เป็นของไทย เพราะเกาะกูดเป็นของไทยวันยังค่ำ • ในเมื่อเกาะกูดเป็นของไทย พื้นที่ทางทะเลโดยรอบเกาะกูด 200 ไมล์ทะเล (370 กม.) ทั้งน้ำทะล กุ้งหอยปูปลา ผิวดินใต้ทะเล รวมทั้งพื้นดินใต้ผิวดินใต้ทะเล แหล่งพลังงาน ต้องเป็นของไทยด้วย ไม่ใช่เป็นของไทยแค่ตัวเกาะ • สิ่งที่คนไทยกังวลใจกันมากๆ ก็คือ เมื่อเกาะกูดเป็นของไทย ไทยเราไปยอมรับเส้นอาณาเขตทางทะเล (ไหล่ทวีป) ของกัมพูชา ที่เล็งผ่านยอดเขาที่สูงสุดของเกาะกูด ออกไปอ่าวไทย ได้อย่างไร มันจึงเกิดพื้นที่ทับซ้อนมหาศาล • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000108138 • #MGROnline #เกาะกูด #ภูมิธรรมไปเกาะกูดไม่มีอะไรใหม่
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 312 มุมมอง 0 รีวิว
  • 7/11/67

    https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0wtGwGxxx2yADXfGPcg1g2ssRuANArQV8YknfinwEfUuXxb7caxLMttmeKn9Pn3pjl&id=100050478820109

    เห็นหน้านายกแถลงจริงจัง เรื่องเกาะกูดเป็นของไทย MOU 44 เลิกไม่ได้ หากเลิกจะถูกฟ้องและ ต้องเดินหน้าเจรจาต่อ แล้วรู้สึกแปลก ๆ ว่าเธอจบรัฐศาสตร์จุฬาจริงหรือ ใครสอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือเธอไม่ตั้งใจเรียน

    1. เกาะกูดน่ะ อย่างไรก็เป็นของไทย ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อปี 2450 ที่ไทยยอมแลก พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เพื่อเอาจันทบุรี และตราดคืนมา โดยแบ่งพื้นที่ว่า เกาะกูดนั้นอยู่ในเขตแดนไทย ส่วนเกาะกง หรือเมืองประจันต์คีรีเขต ที่เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลทางตะวันออก คู่กับ ประจวบคีรีขันธ์ทางทิศตะวันตก นั้นเป็นของฝรั่งเศส

    2. MOU ก็แค่ Memorandum Of Understanding บันทึกความเข้าใจต่อกัน ไม่ใช่สนธิสัญญา (Treaty) ที่มีผลบังคับที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย สนธิสัญญานั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิด อีกฝ่ายสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศได้ แต่ MOU นั้นเป็นแค่บันทึกความเข้าใจ นำไปฟ้องร้องใด ๆ ไม่ได้ และหากอยากจะยกเลิก ก็ยกเลิกฝ่ายเดียวได้ คือ ผ่าน ครม. และผ่านสภา จากนั้นก็แจ้งฝ่ายตรงข้ามว่า ฉันขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เท่านั้น

    3. รัฐบาลจะเดินหน้าเจรจาต่อตาม MOU อันนี้ไม่ผิดอะไร แต่คุณเธอไม่พูดให้ชัดสักคำว่า การเดินหน้าเจรจาจะต้องเจรจาเรื่องเขตแดนให้ชัดเจนควบคู่ไปกับการเจรจาแบ่งปันประโยชน์ ไม่ใช่แบบอีตาอ้วนที่บอกว่า ขอเจรจาเรื่องผลประโยชน์ก่อน เขตแดนคุยไปก็ไม่จบ เสียเวลาคุย ราวกับหากช้าเดี๋ยวของที่อยู่ใต้ทะเลจะเน่าเสีย

    4. วันนึงเพื่อนบ้านคุณ ขีดเส้นมาผ่ากลางบ้านคุณ แล้วบอกว่า เป็นแค่เส้นสมมติ อย่าไปใส่ใจ เรามาขุดหาสมบัติใต้พื้นดินตรงนั้นกันดีกว่า ขุดได้แล้วหารสองแบ่งกันคนละครึ่ง หากคุณยอม ไม่โง่ ก็บ้า ครับ
    7/11/67 https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0wtGwGxxx2yADXfGPcg1g2ssRuANArQV8YknfinwEfUuXxb7caxLMttmeKn9Pn3pjl&id=100050478820109 เห็นหน้านายกแถลงจริงจัง เรื่องเกาะกูดเป็นของไทย MOU 44 เลิกไม่ได้ หากเลิกจะถูกฟ้องและ ต้องเดินหน้าเจรจาต่อ แล้วรู้สึกแปลก ๆ ว่าเธอจบรัฐศาสตร์จุฬาจริงหรือ ใครสอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือเธอไม่ตั้งใจเรียน 1. เกาะกูดน่ะ อย่างไรก็เป็นของไทย ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อปี 2450 ที่ไทยยอมแลก พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เพื่อเอาจันทบุรี และตราดคืนมา โดยแบ่งพื้นที่ว่า เกาะกูดนั้นอยู่ในเขตแดนไทย ส่วนเกาะกง หรือเมืองประจันต์คีรีเขต ที่เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลทางตะวันออก คู่กับ ประจวบคีรีขันธ์ทางทิศตะวันตก นั้นเป็นของฝรั่งเศส 2. MOU ก็แค่ Memorandum Of Understanding บันทึกความเข้าใจต่อกัน ไม่ใช่สนธิสัญญา (Treaty) ที่มีผลบังคับที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย สนธิสัญญานั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิด อีกฝ่ายสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศได้ แต่ MOU นั้นเป็นแค่บันทึกความเข้าใจ นำไปฟ้องร้องใด ๆ ไม่ได้ และหากอยากจะยกเลิก ก็ยกเลิกฝ่ายเดียวได้ คือ ผ่าน ครม. และผ่านสภา จากนั้นก็แจ้งฝ่ายตรงข้ามว่า ฉันขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เท่านั้น 3. รัฐบาลจะเดินหน้าเจรจาต่อตาม MOU อันนี้ไม่ผิดอะไร แต่คุณเธอไม่พูดให้ชัดสักคำว่า การเดินหน้าเจรจาจะต้องเจรจาเรื่องเขตแดนให้ชัดเจนควบคู่ไปกับการเจรจาแบ่งปันประโยชน์ ไม่ใช่แบบอีตาอ้วนที่บอกว่า ขอเจรจาเรื่องผลประโยชน์ก่อน เขตแดนคุยไปก็ไม่จบ เสียเวลาคุย ราวกับหากช้าเดี๋ยวของที่อยู่ใต้ทะเลจะเน่าเสีย 4. วันนึงเพื่อนบ้านคุณ ขีดเส้นมาผ่ากลางบ้านคุณ แล้วบอกว่า เป็นแค่เส้นสมมติ อย่าไปใส่ใจ เรามาขุดหาสมบัติใต้พื้นดินตรงนั้นกันดีกว่า ขุดได้แล้วหารสองแบ่งกันคนละครึ่ง หากคุณยอม ไม่โง่ ก็บ้า ครับ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 475 มุมมอง 0 รีวิว
  • คนไทยรู้ว่าเกาะกูดเป็นของไทย "อิ้ง" ไม่ต้องบอก ดันพูดแทนเขมรว่า "เขมรก็รู้" แล้วไอ้เส้นที่ลากผ่านเกาะกูดละ เขมรก็รู้ใช่ไม่ แต่อิ้งไม่รู้สา

    ไปเจรจาทำไม เมื่อเกาะเป็นของไทย เขตสิทธิ์และอธิปไตยในทะเลก็เป็นของไทยแน่นอน

    ปมเจรจา..บอกเขมรซิ ให้ลากเส้นให้ถูกตามหลักสากลเหมือนของไทย ก่อนแล้วค่อยว่ากัน

    บอกเลิกสัมปทานกับเชฟรอนก่อน มิใช่ทำแบบลับลวงพราง เอาประโยชน์เข้าตัวและไม่ต้องกังวลกับอเมริกัน..อันตพาลโลก
    คนไทยรู้ว่าเกาะกูดเป็นของไทย "อิ้ง" ไม่ต้องบอก ดันพูดแทนเขมรว่า "เขมรก็รู้" แล้วไอ้เส้นที่ลากผ่านเกาะกูดละ เขมรก็รู้ใช่ไม่ แต่อิ้งไม่รู้สา ไปเจรจาทำไม เมื่อเกาะเป็นของไทย เขตสิทธิ์และอธิปไตยในทะเลก็เป็นของไทยแน่นอน ปมเจรจา..บอกเขมรซิ ให้ลากเส้นให้ถูกตามหลักสากลเหมือนของไทย ก่อนแล้วค่อยว่ากัน บอกเลิกสัมปทานกับเชฟรอนก่อน มิใช่ทำแบบลับลวงพราง เอาประโยชน์เข้าตัวและไม่ต้องกังวลกับอเมริกัน..อันตพาลโลก
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 70 มุมมอง 0 รีวิว
  • มะม่วงริมรั้วอยู่ในเขตรั้วบ้านตัวเองแม้แต่ใบก็ไม่เลยแนวริ้ว แต่เมื่อมะม่วงออกลูกเราต้องเอาลูกมะม่วงไปให้เพื่อนบ้านด้วยนะ ไม่งั้นเดี๋ยวเขาจะเคืองด่าเราว่าเราขโมยวัฒนธรรม เอ๊ย...ไม่ใช่ ขโมยลูกมะม่วงของเขา

    #เกาะกูดเป็นของไทย #เกรงใจเพื่อนบ้านหน่อย
    มะม่วงริมรั้วอยู่ในเขตรั้วบ้านตัวเองแม้แต่ใบก็ไม่เลยแนวริ้ว แต่เมื่อมะม่วงออกลูกเราต้องเอาลูกมะม่วงไปให้เพื่อนบ้านด้วยนะ ไม่งั้นเดี๋ยวเขาจะเคืองด่าเราว่าเราขโมยวัฒนธรรม เอ๊ย...ไม่ใช่ ขโมยลูกมะม่วงของเขา #เกาะกูดเป็นของไทย #เกรงใจเพื่อนบ้านหน่อย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 79 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ภูมิธรรม" ท่องคำเดิมเกาะกูดเป็นของไทย จะรักษาไว้เท่าชีวิต เชื่อ MOU44 คือกลไกที่ดีที่สุด เป็นการรักษาสิทธิในเขตแดน ยันรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ได้ยกเลิก ย้อนกลุ่มการเมือง พปชร.ไปถามหัวหน้าพรรคตัวเอง เพราะเป็นคนนำเจรจาในปี 57 ยันไม่เกี่ยว "ทักษิณ" ใกล้ชิดกัมพูชา

    อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000106432

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    "ภูมิธรรม" ท่องคำเดิมเกาะกูดเป็นของไทย จะรักษาไว้เท่าชีวิต เชื่อ MOU44 คือกลไกที่ดีที่สุด เป็นการรักษาสิทธิในเขตแดน ยันรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ได้ยกเลิก ย้อนกลุ่มการเมือง พปชร.ไปถามหัวหน้าพรรคตัวเอง เพราะเป็นคนนำเจรจาในปี 57 ยันไม่เกี่ยว "ทักษิณ" ใกล้ชิดกัมพูชา อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000106432 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Angry
    Like
    Wow
    7
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2083 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣️ ปากบอกไม่ต้องสร้างความเชื่อมั่น เพราะเกาะกูดเป็นของไทย แล้วจะไปถลุงงบลงพื้นที่ทำไม ถ้ามิใช่ไปแสวงหาช่องทางผลประโยชน์
    #7ดอกจิก
    #เกาะกูด
    ♣️ ปากบอกไม่ต้องสร้างความเชื่อมั่น เพราะเกาะกูดเป็นของไทย แล้วจะไปถลุงงบลงพื้นที่ทำไม ถ้ามิใช่ไปแสวงหาช่องทางผลประโยชน์ #7ดอกจิก #เกาะกูด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 199 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน

    น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“

    โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“

    อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย

    การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้

    แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า

    ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“

    ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ

    1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511

    3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515

    และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้

    1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ

    1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา

    1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ

    ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ

    การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา

    จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่?

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    5 พฤศจิกายน 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“ โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“ อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้ แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ 1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515 และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้ 1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ 1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา 1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่? ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 พฤศจิกายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    Like
    Love
    11
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 571 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยืนยันเกาะกูดเป็นของไทย (04/11/67) #news1 #ภูมิธรรม #เกาะกูดเป็นของไทย #MOU44
    ยืนยันเกาะกูดเป็นของไทย (04/11/67) #news1 #ภูมิธรรม #เกาะกูดเป็นของไทย #MOU44
    Like
    Haha
    8
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1241 มุมมอง 402 0 รีวิว
  • “ภูมิธรรม” ยืนยันเกาะกูดเป็นของไทยอยู่แล้ว ถ้าจะเจรจาผลประโยชน์ทางทะเลต้องคุยเรื่องเขตแดนควบคู่ไปด้วย ต้องลากเป็นเส้นตรง ไม่อ้อมเกาะกูด ซึ่งยังคุยกันค้างอยู่ ทำมึนคนจุดกระแสต้องการให้ยกเลิกอะไร เผยรัฐบาลอภิสิทธิ์ยังไม่เคยยกเลิก MOU2544 เพราะไม่ใช่มติ ครม.

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106148

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “ภูมิธรรม” ยืนยันเกาะกูดเป็นของไทยอยู่แล้ว ถ้าจะเจรจาผลประโยชน์ทางทะเลต้องคุยเรื่องเขตแดนควบคู่ไปด้วย ต้องลากเป็นเส้นตรง ไม่อ้อมเกาะกูด ซึ่งยังคุยกันค้างอยู่ ทำมึนคนจุดกระแสต้องการให้ยกเลิกอะไร เผยรัฐบาลอภิสิทธิ์ยังไม่เคยยกเลิก MOU2544 เพราะไม่ใช่มติ ครม. อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106148 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Angry
    Like
    Wow
    Sad
    10
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2016 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปิโตรเลียมเกาะกูด น้ำมันแพงเหมือนเดิม

    มีคำกล่าวว่า "ข่าวลือมักจะมาก่อนข่าวจริงเสมอ" ประเด็นเกาะกูดเกิดขึ้นจากข่าวลือแบบปากต่อปากว่า นักการเมืองรายหนึ่งจะยกเกาะกูดให้เขมร กระทั่งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้พักการลงโทษจากคดีทุจริตไปแสดงวิสัยทัศน์ให้กับสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2567 เสนอให้รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันของไทยกับกัมพูชา หรือ OCA (Overlapping Claims Area) อ้างว่ากัมพูชาลากเส้นจากไหล่ทวีป 200 ไมล์ทะเลแล้วเกยกัน ถือว่าเป็นเขตทับซ้อน ถ้ามีทรัพยากรอยู่ก็ถือว่าแบ่งกันคนละครึ่ง

    แม้ว่าเกาะกูดเป็นของไทย ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 แต่เมื่อปี 2515 กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย 200 ไมล์ทะเลฝ่ายเดียว โดยลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 จ.ตราด ไปผ่ากลางครึ่งหนึ่งของเกาะกูด แต่ก็มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยในปี 2516 โดยแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 ระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายสากล คือ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ. 1958 แต่กัมพูชายังคงยึดถือเขตไหล่ทวีปของตนเอง หนำซ้ำรัฐบาลทักษิณไปเซ็น MOU 2544 ทำให้นายทักษิณอ้างว่าเป็นเขตทับซ้อน

    ต่อมาวันที่ 10 ต.ค. 2567 สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ลูกสาวนายทักษิณ จะเริ่มเจรจากับกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งที่มีมูลค่าอย่างน้อย 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 10 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เนื่องจากต้องการเพิ่มปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ลดลง ควบคุมค่าไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายนำเข้าเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น คาดว่าจะมีก๊าซธรรมชาติ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตและน้ำมันดิบ 300 ล้านบาร์เรล แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะทั้งสองประเทศขัดแย้งทางการทูตและความอ่อนไหวเรื่องอธิปไตย ทำให้การเจรจาหยุดชะงักตั้งแต่ปี 2544

    แม้เรื่องเกาะกูดจะไม่โด่งดัง แต่ก็เป็นที่พูดถึงในกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล กังวลว่าไทยจะเสียสิทธิ์ทางทะเล และเสียดินแดนเช่นเดียวกับกรณีปราสาทพระวิหาร ส่วนรัฐบาลตอบโต้ว่าเป็นพวกคลั่งชาติ ทำร้ายผลประโยชน์ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ถึงรัฐบาลทั้งสองประเทศจะร่วมกันนำพลังงานขึ้นมาใช้ แต่สุดท้ายคนไทยใช้น้ำมันแพงเหมือนเดิม เพราะอ้างอิงราคาน้ำมันจากประเทศสิงคโปร์ แถมต้นทุนโรงกลั่นในไทยสูงกว่าสิงค์โปร์ ส่วนธุรกิจก๊าซธรรมชาติยังจำกัดอยู่ที่รายใหญ่ เชื่อไม่ได้ว่าค่าไฟฟ้าจะถูกลง คนที่ได้ประโยชน์ตัวจริงคือนักการเมือง กับกลุ่มทุนพลังงานบางกลุ่มเท่านั้น

    #Newskit #เกาะกูด
    ปิโตรเลียมเกาะกูด น้ำมันแพงเหมือนเดิม มีคำกล่าวว่า "ข่าวลือมักจะมาก่อนข่าวจริงเสมอ" ประเด็นเกาะกูดเกิดขึ้นจากข่าวลือแบบปากต่อปากว่า นักการเมืองรายหนึ่งจะยกเกาะกูดให้เขมร กระทั่งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้พักการลงโทษจากคดีทุจริตไปแสดงวิสัยทัศน์ให้กับสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2567 เสนอให้รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันของไทยกับกัมพูชา หรือ OCA (Overlapping Claims Area) อ้างว่ากัมพูชาลากเส้นจากไหล่ทวีป 200 ไมล์ทะเลแล้วเกยกัน ถือว่าเป็นเขตทับซ้อน ถ้ามีทรัพยากรอยู่ก็ถือว่าแบ่งกันคนละครึ่ง แม้ว่าเกาะกูดเป็นของไทย ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 แต่เมื่อปี 2515 กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย 200 ไมล์ทะเลฝ่ายเดียว โดยลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 จ.ตราด ไปผ่ากลางครึ่งหนึ่งของเกาะกูด แต่ก็มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยในปี 2516 โดยแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 ระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายสากล คือ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ. 1958 แต่กัมพูชายังคงยึดถือเขตไหล่ทวีปของตนเอง หนำซ้ำรัฐบาลทักษิณไปเซ็น MOU 2544 ทำให้นายทักษิณอ้างว่าเป็นเขตทับซ้อน ต่อมาวันที่ 10 ต.ค. 2567 สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ลูกสาวนายทักษิณ จะเริ่มเจรจากับกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งที่มีมูลค่าอย่างน้อย 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 10 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เนื่องจากต้องการเพิ่มปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ลดลง ควบคุมค่าไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายนำเข้าเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น คาดว่าจะมีก๊าซธรรมชาติ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตและน้ำมันดิบ 300 ล้านบาร์เรล แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะทั้งสองประเทศขัดแย้งทางการทูตและความอ่อนไหวเรื่องอธิปไตย ทำให้การเจรจาหยุดชะงักตั้งแต่ปี 2544 แม้เรื่องเกาะกูดจะไม่โด่งดัง แต่ก็เป็นที่พูดถึงในกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล กังวลว่าไทยจะเสียสิทธิ์ทางทะเล และเสียดินแดนเช่นเดียวกับกรณีปราสาทพระวิหาร ส่วนรัฐบาลตอบโต้ว่าเป็นพวกคลั่งชาติ ทำร้ายผลประโยชน์ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ถึงรัฐบาลทั้งสองประเทศจะร่วมกันนำพลังงานขึ้นมาใช้ แต่สุดท้ายคนไทยใช้น้ำมันแพงเหมือนเดิม เพราะอ้างอิงราคาน้ำมันจากประเทศสิงคโปร์ แถมต้นทุนโรงกลั่นในไทยสูงกว่าสิงค์โปร์ ส่วนธุรกิจก๊าซธรรมชาติยังจำกัดอยู่ที่รายใหญ่ เชื่อไม่ได้ว่าค่าไฟฟ้าจะถูกลง คนที่ได้ประโยชน์ตัวจริงคือนักการเมือง กับกลุ่มทุนพลังงานบางกลุ่มเท่านั้น #Newskit #เกาะกูด
    Like
    14
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 568 มุมมอง 0 รีวิว
  • เป็นเรื่อง! ประเด็น “เกาะกูด ของใคร” กลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบัน เตรียมจัดกิจกรรมปกป้องดินแดนเกาะกูด วันเสาร์ที่ 9 พ.ย.นี้ ขณะที่ นอภ.เกาะกูด ออกแถลงการณ์ยันเกาะกูดเป็นของไทยตามสนธิสัญญาที่ฝรั่งเศสได้ทำไว้กว่า 100 ปีก่อน วอนกลุ่มการเมืองจัดกิจกรรมพิจารณาให้รอบครอบหวั่นกระทบเศรษฐกิจในพื้นที่

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105687

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    เป็นเรื่อง! ประเด็น “เกาะกูด ของใคร” กลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบัน เตรียมจัดกิจกรรมปกป้องดินแดนเกาะกูด วันเสาร์ที่ 9 พ.ย.นี้ ขณะที่ นอภ.เกาะกูด ออกแถลงการณ์ยันเกาะกูดเป็นของไทยตามสนธิสัญญาที่ฝรั่งเศสได้ทำไว้กว่า 100 ปีก่อน วอนกลุ่มการเมืองจัดกิจกรรมพิจารณาให้รอบครอบหวั่นกระทบเศรษฐกิจในพื้นที่ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105687 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    25
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 2014 มุมมอง 1 รีวิว
  • เกาะกูดเป็นของไทยแน่ แต่ประเด็นคือรัฐบาลอย่าตกลงกับเขมรโดยยอมรับเส้นเขตแดนที่เขมรลากผ่านเกาะกูดต่างหาก
    เกาะกูดเป็นของไทยแน่ แต่ประเด็นคือรัฐบาลอย่าตกลงกับเขมรโดยยอมรับเส้นเขตแดนที่เขมรลากผ่านเกาะกูดต่างหาก
    Like
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 165 มุมมอง 0 รีวิว
  • นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ แสดงทัศนะประเด็นอดีตโฆษกทร. สนับสนุน MOU44 ว่าดูละเอียดหรือยัง? เนื้อหาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนระบุว่า

    “ผมท้าทาย เชิญชวน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้ออกมาโต้แย้งประเด็นเทคนิคที่ทีมพรรคพลังประชารัฐเปิดเผยปัญหาแก่ประชาชนเรื่อง MOU44

    ยังไม่มีคนใดคนหนึ่งออกมาชี้แจง มีแต่พลเรือเอกจุมพล ลุมพิกานนท์ อดีตโฆษกกองทัพเรือ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการรักษาประโยชน์ของชาติทางทะเล ติดต่อขอให้ข้อมูลแก่ PPTV ในคลิปข้างล่าง PPTV ระบุว่า

    หลังจากที่ PPTV นำเสนอเรื่องข้อตกลงความร่วมมือ MOU44 ระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่หลายคนออกมาให้ความเห็นว่า อาจจะทำให้ไทยเสียเขตแดนทางทะเลให้กับกัมพูชาในอนาคต ซึ่งรวมถึงเกาะกูดด้วย เพราะเส้นเขตแดนที่ทางกัมพูชาลากมามันข้ามเกาะกูดมาเลย หลายคนจึงอยากจะให้ยกเลิก MOU44 ฉบับนี้ แต่ล่าสุด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ ออกมาให้ความเห็นอีกทาง ว่าไม่ควรจะยกเลิก MOU44 เพราะไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ ตรงกันข้าม นี่คือสารตั้งต้นที่จะทำให้เกิดการเจรจา แต่ถ้ายกเลิกต่างหากอาจจะมีผลเสียตามมาเพียบ

    ผมเชื่อว่าพลเรือเอกจุมพล ในฐานะเจ้าหน้าที่กองทัพเรือระดับสูง ย่อมมีเลือดรักชาติอยู่เต็มเปี่ยม แต่ขอเรียนด้วยความเคารพว่า คนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองมากเกินไป

    รูป 1 ท่านกล่าวว่า ชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของไทย จบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ชัดเจน ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907

    รูป 2 แสดงขั้นตอนเวลาที่เวียดนาม กัมพูชา และไทยประกาศเขตแดนไหล่ทวีป

    รูป 3 ท่านกล่าวว่า MOU44 ฉบับนี้จะเป็นกรอบที่ทั้งสองประเทศจะหยิบขึ้นมาเจรจากันต่อว่า เขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน รวมถึงเจรจาผลประโยชน์ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน

    รูป 4 แสดงเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน Joint Development Area (สีแดง) ส่วนพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นรุ้งที่ 11 องศา (สีน้ำเงิน) เป็นพื้นที่ทำการแบ่งเขต

    ผมให้ข้อสังเกตแก่ท่านพลเรือเอกจุมพล ในประเด็นจุดแยบยลทางกฎหมาย ดังนี้

    **หนึ่ง MOU44 ยอมรับกรอบขอบเขต boundaries พื้นที่สีแดงไปแล้ว

    ในรูป 5 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายพื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 2 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 2 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์

    ถ้อยคำในรูป 5 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน"

    ในรูป 6 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค พื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 3 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 3 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ล้วนๆ

    ถ้อยคำในรูป 6 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน"

    สรุปแล้ว ใน MOU44 ทั้งสองประเทศได้กำหนด "พื้นที่พัฒนาร่วม" "Joint Development Area" ขึ้นมา มิใช่ "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" แต่ "เพื่อเจรจาผลประโยชน์"

    ดังนั้น ใน MOU44 ทั้งสองประเทศจึงพอใจในกรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วมไปแล้ว

    **สอง กรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับกันไปแล้วนั้น ไม่ตรงตามสนธิสัญญาฯ

    ทั้งนี้ กรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วม ด้านทิศตะวันตก ในรูป 7 เส้นสีแดง นั้น เส้นสีแดงดังกล่าว เกิดขึ้นได้ มีสารตั้งต้น มีต้นกำเนิด เกิดจากเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูด ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ

    อธิบายแบบชาวบ้าน ถ้าไม่มีเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดไปจนถึงตำแหน่ง P เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ย่อมไม่สามารถตั้งต้นจากตำแหน่ง P เกิดขึ้นได้

    ดังนั้น เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ที่ตั้งต้นจากตำแหน่ง P จึงไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ และ

    การที่รัฐบาลไทยไปยอมรับเส้นแบ่งเขตสีแดงดังกล่าว ก็ย่อมแสดงว่า ** ไม่ขัดข้องกับตำแหน่ง P ** ทั้งที่ไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ **

    **สาม JDA ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน

    ถ้าดูแผนที่ JDA ไทย-มาเลเซีย จะเห็นได้ว่า ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ที่ทั้งสองประเทศอ้างอนุสัญญาสหประชาชาติฯ แตกต่างกัน โดยไทยถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่มาเลเซียไม่ถือว่าเป็นเกาะ

    ต่อมามีการแก้ไขอนุสัญญาสหประชาชาติฯ ไม่ถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่เนื่องจาก JDA ไทย-มาเลเซียได้เกิดขึ้นลงนามไปก่อนหน้า ไทยจึงได้ประโยชน์ระหว่างที่ JDA มีผลบังคับ

    แต่กรณีเส้นที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดนั้น เป็นการลากเส้นโดยอ้างสนธิสัญญาฯ อย่างที่ไม่ถูกต้อง

    ดังนั้น บัดนี้เมื่อคนไทยทราบถึงปัญหา จึงย่อมต้องเรียกร้องให้ ยกเลิกการอ้างที่ไม่ถูกต้อง การลากเส้นที่ขัดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ออกไปก่อนเริ่มต้นเจรจาแบ่งผลประโยชน์

    ทั้งนี้ การเจรจาแบ่งผลประโยชน์ จะสามารถทำได้เร็วถ้าทั้งสองประเทศยึดมั่นในความเป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ครอบครัว แต่ถ้ามีวาระซ่อนเร้น ถ้าคนไทยจะเสียเปรียบ ผมก็จะคัดค้านต่อไป

    ผมจึงขอสรุปว่า ประชาชนคนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองที่ไปเจรจาโดยยอมรับสิ่งที่กัมพูชา ดำเนินการไปผิดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ

    MOU44 ยอมรับพื้นที่พัฒนาร่วมที่กินล้ำทะเลจากตำแหน่ง P ที่ทำให้ไทยเสียประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นของประชาชนทุกคน

    การยอมรับเส้นกรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วม ที่เริ่มจากตำแหน่ง P อันสืบเนื่องมากจากเส้นที่ผิดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ย่อมจะทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนได้ในอนาคต

    ถ้าท่านพลเรือเอกจุมพลไม่เชื่อผม ขอให้ท่านอ่านถ้อยคำใน MOU44 เองได้เลยครับ”

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567

    นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ

    https://youtu.be/PEArT6M-wDE?si=NuuT8XefJDmOCmnO

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/1EgDTTKTHn/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ แสดงทัศนะประเด็นอดีตโฆษกทร. สนับสนุน MOU44 ว่าดูละเอียดหรือยัง? เนื้อหาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนระบุว่า “ผมท้าทาย เชิญชวน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้ออกมาโต้แย้งประเด็นเทคนิคที่ทีมพรรคพลังประชารัฐเปิดเผยปัญหาแก่ประชาชนเรื่อง MOU44 ยังไม่มีคนใดคนหนึ่งออกมาชี้แจง มีแต่พลเรือเอกจุมพล ลุมพิกานนท์ อดีตโฆษกกองทัพเรือ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการรักษาประโยชน์ของชาติทางทะเล ติดต่อขอให้ข้อมูลแก่ PPTV ในคลิปข้างล่าง PPTV ระบุว่า หลังจากที่ PPTV นำเสนอเรื่องข้อตกลงความร่วมมือ MOU44 ระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่หลายคนออกมาให้ความเห็นว่า อาจจะทำให้ไทยเสียเขตแดนทางทะเลให้กับกัมพูชาในอนาคต ซึ่งรวมถึงเกาะกูดด้วย เพราะเส้นเขตแดนที่ทางกัมพูชาลากมามันข้ามเกาะกูดมาเลย หลายคนจึงอยากจะให้ยกเลิก MOU44 ฉบับนี้ แต่ล่าสุด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ ออกมาให้ความเห็นอีกทาง ว่าไม่ควรจะยกเลิก MOU44 เพราะไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ ตรงกันข้าม นี่คือสารตั้งต้นที่จะทำให้เกิดการเจรจา แต่ถ้ายกเลิกต่างหากอาจจะมีผลเสียตามมาเพียบ ผมเชื่อว่าพลเรือเอกจุมพล ในฐานะเจ้าหน้าที่กองทัพเรือระดับสูง ย่อมมีเลือดรักชาติอยู่เต็มเปี่ยม แต่ขอเรียนด้วยความเคารพว่า คนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองมากเกินไป รูป 1 ท่านกล่าวว่า ชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของไทย จบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ชัดเจน ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 รูป 2 แสดงขั้นตอนเวลาที่เวียดนาม กัมพูชา และไทยประกาศเขตแดนไหล่ทวีป รูป 3 ท่านกล่าวว่า MOU44 ฉบับนี้จะเป็นกรอบที่ทั้งสองประเทศจะหยิบขึ้นมาเจรจากันต่อว่า เขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน รวมถึงเจรจาผลประโยชน์ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน รูป 4 แสดงเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน Joint Development Area (สีแดง) ส่วนพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นรุ้งที่ 11 องศา (สีน้ำเงิน) เป็นพื้นที่ทำการแบ่งเขต ผมให้ข้อสังเกตแก่ท่านพลเรือเอกจุมพล ในประเด็นจุดแยบยลทางกฎหมาย ดังนี้ **หนึ่ง MOU44 ยอมรับกรอบขอบเขต boundaries พื้นที่สีแดงไปแล้ว ในรูป 5 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายพื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 2 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 2 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ ถ้อยคำในรูป 5 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" ในรูป 6 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค พื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 3 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 3 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ล้วนๆ ถ้อยคำในรูป 6 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" สรุปแล้ว ใน MOU44 ทั้งสองประเทศได้กำหนด "พื้นที่พัฒนาร่วม" "Joint Development Area" ขึ้นมา มิใช่ "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" แต่ "เพื่อเจรจาผลประโยชน์" ดังนั้น ใน MOU44 ทั้งสองประเทศจึงพอใจในกรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วมไปแล้ว **สอง กรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับกันไปแล้วนั้น ไม่ตรงตามสนธิสัญญาฯ ทั้งนี้ กรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วม ด้านทิศตะวันตก ในรูป 7 เส้นสีแดง นั้น เส้นสีแดงดังกล่าว เกิดขึ้นได้ มีสารตั้งต้น มีต้นกำเนิด เกิดจากเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูด ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ อธิบายแบบชาวบ้าน ถ้าไม่มีเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดไปจนถึงตำแหน่ง P เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ย่อมไม่สามารถตั้งต้นจากตำแหน่ง P เกิดขึ้นได้ ดังนั้น เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ที่ตั้งต้นจากตำแหน่ง P จึงไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ และ การที่รัฐบาลไทยไปยอมรับเส้นแบ่งเขตสีแดงดังกล่าว ก็ย่อมแสดงว่า ** ไม่ขัดข้องกับตำแหน่ง P ** ทั้งที่ไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ ** **สาม JDA ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ถ้าดูแผนที่ JDA ไทย-มาเลเซีย จะเห็นได้ว่า ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ที่ทั้งสองประเทศอ้างอนุสัญญาสหประชาชาติฯ แตกต่างกัน โดยไทยถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่มาเลเซียไม่ถือว่าเป็นเกาะ ต่อมามีการแก้ไขอนุสัญญาสหประชาชาติฯ ไม่ถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่เนื่องจาก JDA ไทย-มาเลเซียได้เกิดขึ้นลงนามไปก่อนหน้า ไทยจึงได้ประโยชน์ระหว่างที่ JDA มีผลบังคับ แต่กรณีเส้นที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดนั้น เป็นการลากเส้นโดยอ้างสนธิสัญญาฯ อย่างที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น บัดนี้เมื่อคนไทยทราบถึงปัญหา จึงย่อมต้องเรียกร้องให้ ยกเลิกการอ้างที่ไม่ถูกต้อง การลากเส้นที่ขัดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ออกไปก่อนเริ่มต้นเจรจาแบ่งผลประโยชน์ ทั้งนี้ การเจรจาแบ่งผลประโยชน์ จะสามารถทำได้เร็วถ้าทั้งสองประเทศยึดมั่นในความเป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ครอบครัว แต่ถ้ามีวาระซ่อนเร้น ถ้าคนไทยจะเสียเปรียบ ผมก็จะคัดค้านต่อไป ผมจึงขอสรุปว่า ประชาชนคนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองที่ไปเจรจาโดยยอมรับสิ่งที่กัมพูชา ดำเนินการไปผิดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ MOU44 ยอมรับพื้นที่พัฒนาร่วมที่กินล้ำทะเลจากตำแหน่ง P ที่ทำให้ไทยเสียประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นของประชาชนทุกคน การยอมรับเส้นกรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วม ที่เริ่มจากตำแหน่ง P อันสืบเนื่องมากจากเส้นที่ผิดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ย่อมจะทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนได้ในอนาคต ถ้าท่านพลเรือเอกจุมพลไม่เชื่อผม ขอให้ท่านอ่านถ้อยคำใน MOU44 เองได้เลยครับ” วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ https://youtu.be/PEArT6M-wDE?si=NuuT8XefJDmOCmnO ที่มา https://www.facebook.com/share/p/1EgDTTKTHn/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 643 มุมมอง 0 รีวิว
  • อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า

    “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว !

    ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2

    แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย

    นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้

    เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ

    ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121

    การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้

    - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972)

    - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972)

    - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544)

    ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น

    ผิดทั้งหมด !

    เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว

    การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน

    แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ !

    ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้

    นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554

    นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด !

    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด

    “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้

    อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ

    เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา

    แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย

    จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา !

    นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย

    โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน

    ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร

    ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ…

    “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้”

    การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก

    แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน

    พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U

    วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา

    MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี

    แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด

    หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง

    ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ

    หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร

    ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ !

    ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน

    ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย

    แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982

    หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น

    เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ !

    หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้

    ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA

    #Thaitimes
    อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว ! ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2 แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้ เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121 การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้ - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972) - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972) - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544) ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น ผิดทั้งหมด ! เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ ! ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้ นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด ! ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้ อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา ! นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ… “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้” การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ ! ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ ! หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้ ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA #Thaitimes
    WWW.ISRANEWS.ORG
    เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้
    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด
    Love
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 535 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบรมราชโองการณ์ทางราชการพระมหากษัตริย์ในหลวงรัชกาลที่9"เป็นที่แน่ชัดเกาะกูดเป็นของไทยโดยสมบูรณ์ล้าน%โดยกฎหมายสากล"..ไม่มีไหล่ทวีปเขตทับซ้อนแต่อย่างใด Mou44"ผ่านความเห็นชอบจากสภาหรือ?แล้วลากเส้นใหม่มีสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในเขตอ่าวไทยต้องรื้อออกอย่างเดียวไม่มีความจำเป็นใดๆต้องเจรจา รบ.ไทยเร่งรีบทำทั้งที่กัมพูชาและหนังสือพิมพ์ของจีนก็บอกแล้วว่าทางเขาไม่ได้มีปัญหาอะไร ไทยเองที่เร่งรัด เพื่ออะไรคะ?จุดประสงค์🤔จะชักศึกเขาบ้านหรือๆต้องการให้🦅มาตั้งฐานทัพเผชิญหน้ากับจีนอยากเป็นแบบยูเครนเหรอ🔥!!!!!!🔊คนไทย🇹🇭ยอมงั้นหรือสงครามตัวแทนบ้านเราที่ร่มเย็นจะหมดไปเลยนะ จะเป็นดินแดนกระสุนตก💣💣💣💣💀💀💀💀
    พระบรมราชโองการณ์ทางราชการพระมหากษัตริย์ในหลวงรัชกาลที่9"เป็นที่แน่ชัดเกาะกูดเป็นของไทยโดยสมบูรณ์ล้าน%โดยกฎหมายสากล"..ไม่มีไหล่ทวีปเขตทับซ้อนแต่อย่างใด Mou44"ผ่านความเห็นชอบจากสภาหรือ?แล้วลากเส้นใหม่มีสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในเขตอ่าวไทยต้องรื้อออกอย่างเดียวไม่มีความจำเป็นใดๆต้องเจรจา รบ.ไทยเร่งรีบทำทั้งที่กัมพูชาและหนังสือพิมพ์ของจีนก็บอกแล้วว่าทางเขาไม่ได้มีปัญหาอะไร ไทยเองที่เร่งรัด เพื่ออะไรคะ?จุดประสงค์🤔จะชักศึกเขาบ้านหรือๆต้องการให้🦅มาตั้งฐานทัพเผชิญหน้ากับจีนอยากเป็นแบบยูเครนเหรอ🔥!!!!!!🔊คนไทย🇹🇭ยอมงั้นหรือสงครามตัวแทนบ้านเราที่ร่มเย็นจะหมดไปเลยนะ จะเป็นดินแดนกระสุนตก💣💣💣💣💀💀💀💀
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 245 มุมมอง 52 0 รีวิว