• #พระกรุ# ทำไมค่านิยม ไม่เหมือนเก่าก่อน...ต้องเรียนแบบนี้ พระกรุหลักๆ ที่นิยม ราคาไม่ได้ลง และเพิ่มด้วย..เช่น พระรอด นางพญา ขุนแผน หรืออื่นๆ ...หนึ่งเหตุผลหลักคือ ต้องยอมรับว่า ในยุคนี้ กลุ่มคนรุ่นใหม่ มีส่วนสำคัญในการจับเคลื้อนวงการพระ....และคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยเล่น พระกรุ ...ไม่เป็น...! เนื่องจากความรู้ วิธีดู ของคุณรุ่นเก่า มีการถ่ายทอดส่งต่อเรื่องพระกรุกันน้อยมาก .พอเล่นไมาเป็น ก็ไม่ก็ล้าซื้อ ของหมุนเวียนก็ไม่มี..ราคาจึงลดหายตามไปด้วย .ในกรุที่ไม่ใช่พระหลักยอดนิยม...ก่อนอื่นต้องบอกว่า เมืองไทย มีพระกรุ หลายร้อย หลายพันกรุุ...แตต่มียอดนิยมเพียงไม่มาก...แต่ถ้ามองในแง่ เล่นและศึกษา โบราณวัตถุ..ก็น่าสนใจไม่น้อย... #ในภาพเเป็นพระว่านจำปาศักดิ์ สปป.ลาว ..อายุหลายร้อยปี แกร่งเป็นไม้ไปแล้ว...พูดถึงว่านจำปาศักดิ์นิดนึง ยุคสงครามอินโดจีน ปี พศ.2485 ทหารไทย นำพระชนิดนี้ติดตัวไปรบกันมาก..ประสบการณ์มากมาย...ดังนั้น เกจิดังในยุคหลังปี 2485 หลายท่าน ทำพระผง พระเนื้อดิน ก็จะเอาพระว่านจำปาศักดิ์ ตำผสมใส่ลงไปด้วย.
    #พระกรุ# ทำไมค่านิยม ไม่เหมือนเก่าก่อน...ต้องเรียนแบบนี้ พระกรุหลักๆ ที่นิยม ราคาไม่ได้ลง และเพิ่มด้วย..เช่น พระรอด นางพญา ขุนแผน หรืออื่นๆ ...หนึ่งเหตุผลหลักคือ ต้องยอมรับว่า ในยุคนี้ กลุ่มคนรุ่นใหม่ มีส่วนสำคัญในการจับเคลื้อนวงการพระ....และคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยเล่น พระกรุ ...ไม่เป็น...! เนื่องจากความรู้ วิธีดู ของคุณรุ่นเก่า มีการถ่ายทอดส่งต่อเรื่องพระกรุกันน้อยมาก .พอเล่นไมาเป็น ก็ไม่ก็ล้าซื้อ ของหมุนเวียนก็ไม่มี..ราคาจึงลดหายตามไปด้วย .ในกรุที่ไม่ใช่พระหลักยอดนิยม...ก่อนอื่นต้องบอกว่า เมืองไทย มีพระกรุ หลายร้อย หลายพันกรุุ...แตต่มียอดนิยมเพียงไม่มาก...แต่ถ้ามองในแง่ เล่นและศึกษา โบราณวัตถุ..ก็น่าสนใจไม่น้อย... #ในภาพเเป็นพระว่านจำปาศักดิ์ สปป.ลาว ..อายุหลายร้อยปี แกร่งเป็นไม้ไปแล้ว...พูดถึงว่านจำปาศักดิ์นิดนึง ยุคสงครามอินโดจีน ปี พศ.2485 ทหารไทย นำพระชนิดนี้ติดตัวไปรบกันมาก..ประสบการณ์มากมาย...ดังนั้น เกจิดังในยุคหลังปี 2485 หลายท่าน ทำพระผง พระเนื้อดิน ก็จะเอาพระว่านจำปาศักดิ์ ตำผสมใส่ลงไปด้วย.
    Wow
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 176 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✨วันนี้ในอดีต ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓✨เสด็จฯ ไปยังบ้านโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถุงของขวัญแก่นาวิกโยธินและตำรวจตระเวนชายแดน สิ่งของเครื่องอุปโภคแก่ราษฎร และเครื่องเรียนให้แก่นักเรียน แล้วเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท cr : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี #วันนี้ในอดีต #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #21พฤศจิกายน
    ✨วันนี้ในอดีต ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓✨เสด็จฯ ไปยังบ้านโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถุงของขวัญแก่นาวิกโยธินและตำรวจตระเวนชายแดน สิ่งของเครื่องอุปโภคแก่ราษฎร และเครื่องเรียนให้แก่นักเรียน แล้วเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท cr : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี #วันนี้ในอดีต #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #21พฤศจิกายน
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 214 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✨วันนี้ในอดีต ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔✨ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน ตชด.บ้านตาเรือง ตำบลทรายขาว อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องเขียนและแบบเรียนแก่นักเรียนชายหญิงและทรงมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรที่ประสบอุทกภัย ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค Cr. กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน #วันนี้ในอดีต #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #18พฤศจิกายน
    ✨วันนี้ในอดีต ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔✨ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน ตชด.บ้านตาเรือง ตำบลทรายขาว อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องเขียนและแบบเรียนแก่นักเรียนชายหญิงและทรงมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรที่ประสบอุทกภัย ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค Cr. กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน #วันนี้ในอดีต #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #18พฤศจิกายน
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 220 มุมมอง 0 รีวิว
  • 14 พฤศจิกายน วันพระบิดาแห่งฝนหลวง////////////////////วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี 65 ปีแห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน นับจากวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งที่มีสาเหตุจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติ หรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้งได้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ทั้งนี้ ระหว่างทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และทางอากาศยาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดเป็นฝนตกได้ ดังนั้น ตั้งแต่พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนทรงมั่นพระราชหฤทัย ก่อนพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น และในปีถัดมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการบนท้องฟ้า กระทั่งในปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว เพื่อให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์ โดยในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการและหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรก ต่อมา ได้มีปฏิบัติการโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว และจากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน ก็ได้รับรายงานยืนยันจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด การทดลองดังกล่าวจึงเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และความสำเร็จดังกล่าวยังส่งผลให้มีการพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดโครงการฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน
    14 พฤศจิกายน วันพระบิดาแห่งฝนหลวง////////////////////วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี 65 ปีแห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน นับจากวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งที่มีสาเหตุจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติ หรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้งได้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ทั้งนี้ ระหว่างทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และทางอากาศยาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดเป็นฝนตกได้ ดังนั้น ตั้งแต่พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนทรงมั่นพระราชหฤทัย ก่อนพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น และในปีถัดมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการบนท้องฟ้า กระทั่งในปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว เพื่อให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์ โดยในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการและหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรก ต่อมา ได้มีปฏิบัติการโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว และจากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน ก็ได้รับรายงานยืนยันจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด การทดลองดังกล่าวจึงเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และความสำเร็จดังกล่าวยังส่งผลให้มีการพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดโครงการฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 460 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🍁 พระอะไร ทำปลอมง่ายที่สุด ต้นทุน ต่ำที่สุด... (เหมือนไม่เหมือน ก็ว่ากันไป)
    ...ทำ.ง่าย เอาดินเหนียว..มาทำบล๊อกแม่พิมพ์ก็ได้ ..ไม่ต้องใช้วัสดุแบบแข็งๆ ที่ต้องแกะสลัก เช่น ไม้ หรือหินสบู่ หรือ หล่อขึ้นมาด้วยโลหะ...การตกแต่งแก้ไขพิมพ์ก็ง่าย.....
    ..วัตถุดิบ ก็ตามธรรมชาติ...
    แรงงานคน ชาวบ้านทั่วไปทำได้..ไม่ต้องมีเครื่องจักรใดๆ ก็ได้....กด ขึ้น ตากแดด..จบ ...จะทำแกล้งเก่า ก็ว่าไป.
    ...หลายจังหวัด ที่มีพระกรุ เนื้อดิน จำนวนมาก...ล้วนมีงานข่างชาวบ้านแบบนี้...ลำพูน พิษณุโลก กำแพงเพชร ..เป็นต้น..แต่เขาจะไม่ใช้คำว่า ทำพระปลอม...เขาใช้คำว่า สินค้าชุมชน ทำเป็นของที่ระลึก........
    ....
    🍁 พระอะไร ทำปลอมง่ายที่สุด ต้นทุน ต่ำที่สุด... (เหมือนไม่เหมือน ก็ว่ากันไป) ...ทำ.ง่าย เอาดินเหนียว..มาทำบล๊อกแม่พิมพ์ก็ได้ ..ไม่ต้องใช้วัสดุแบบแข็งๆ ที่ต้องแกะสลัก เช่น ไม้ หรือหินสบู่ หรือ หล่อขึ้นมาด้วยโลหะ...การตกแต่งแก้ไขพิมพ์ก็ง่าย..... ..วัตถุดิบ ก็ตามธรรมชาติ... แรงงานคน ชาวบ้านทั่วไปทำได้..ไม่ต้องมีเครื่องจักรใดๆ ก็ได้....กด ขึ้น ตากแดด..จบ ...จะทำแกล้งเก่า ก็ว่าไป. ...หลายจังหวัด ที่มีพระกรุ เนื้อดิน จำนวนมาก...ล้วนมีงานข่างชาวบ้านแบบนี้...ลำพูน พิษณุโลก กำแพงเพชร ..เป็นต้น..แต่เขาจะไม่ใช้คำว่า ทำพระปลอม...เขาใช้คำว่า สินค้าชุมชน ทำเป็นของที่ระลึก........ ....
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 117 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✨วันนี้ในอดีต ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓✨

    ทรงพระราชปฏิสันถารกับราษฎร ตลอดจนมีพระราชดำรัสกับพระอาจารย์แสวง เจ้าอาวาสวัดโพธิสมพร บ้านโพนงาม ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการกุดบาก ซึ่งเป็นโครงการของวัดสำหรับให้การบริการแก่ราษฎรในหมู่บ้าน ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้คณะแพทย์พระราชทานที่โดยเสด็จพระราชดำเนินรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บป่วย

    Cr. สำนักราชเลขาธิการ

    #วันนี้ในอดีต #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #save112 #10พฤศจิกายน
    ✨วันนี้ในอดีต ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓✨ ทรงพระราชปฏิสันถารกับราษฎร ตลอดจนมีพระราชดำรัสกับพระอาจารย์แสวง เจ้าอาวาสวัดโพธิสมพร บ้านโพนงาม ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการกุดบาก ซึ่งเป็นโครงการของวัดสำหรับให้การบริการแก่ราษฎรในหมู่บ้าน ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้คณะแพทย์พระราชทานที่โดยเสด็จพระราชดำเนินรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บป่วย Cr. สำนักราชเลขาธิการ #วันนี้ในอดีต #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #save112 #10พฤศจิกายน
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 253 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถ้าท่านดูศิลปะ พระบูชา และแยกแยะสมัยออก...ท่านจะดูพระกรุ (เก๊) ออกได้ง่ายๆ เลย..เพราะคนปลอมแปลง (รุ่นเก่า) ไม่เข้าใจเรื่อง พุทธศิลป์ของแต่ละยุคสมัย
    #
    ถ้าท่านดูศิลปะ พระบูชา และแยกแยะสมัยออก...ท่านจะดูพระกรุ (เก๊) ออกได้ง่ายๆ เลย..เพราะคนปลอมแปลง (รุ่นเก่า) ไม่เข้าใจเรื่อง พุทธศิลป์ของแต่ละยุคสมัย #
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 49 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2567 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

    https://www.facebook.com/share/C2EzisRXtXy7ZPEC/
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2567 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา https://www.facebook.com/share/C2EzisRXtXy7ZPEC/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 58 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมรดกชาติไทย-มรดกของโลก
    .
    เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567
    .
    ทั้งนี้ เป็นพระราชพิธีสำคัญที่คนไทยทั้งประเทศต่างรอคอยชมความงดงามของริ้วขบวนเรือพระราชพิธี ดังจะเห็นได้จากในช่วงการซ้อมใหญ่ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนจับจองพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขบวนเรือเคลื่อนผ่านเป็นจำนวนมาก
    .
    สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นอย่างมากนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นโบราณราชประเพณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก แต่จะมีขึ้นเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญเท่านั้น อย่างล่าสุดที่คนไทยได้เห็นขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีพ.ศ.2562
    .
    พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในมิติของการเป็นพิธีการหนึ่งของรัฐเท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำอีกด้วย โดยสารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 1 เรือไทยคู่สายน้ำ และ ตอนที่ 2 ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้อธิบายถึงความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งดังนี้
    .
    "นับแต่อดีตชาวไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ เปรียบเสมือนสายชีวิตที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพสิ่ง เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในสมัยโบราณ นิยมสร้างบ้านเรือนใกล้ริมน้ำกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น เรือ จึงเป็นพาหนะ สำคัญที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำ การต่อเรือแต่ละลำ จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้งาน ...และยิ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว จะมีการจัดริ้วขบวนเรืออย่างสมพระเกียรติ ริ้วขบวนเรือนี้ เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค"
    .
    สำหรับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการจัดขบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในขบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติแสดงถึงพระบารมีแผ่ไพศาลของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่งแด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
    .
    โดยประเพณีเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2500 หลังจากว่างเว้นมานานถึง 50 ปี นับตั้งแต่การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยได้จัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธี อัญเชิญพระพุทธรูป ไตรปิฏก และพระสงฆ์ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา
    .
    นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 จนถึง พ.ศ.2555 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง โดยสิ่งที่เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของพระราชพิธีทางน้ำของประเทศไทย คือ การที่องค์การเรือโลก (World Ship Trust) แห่งสหราชอาณาจักรได้มอบรางวัล “มรดกเรือโลก” แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อปี 2535
    .
    ดังนั้น พระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม จึงเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
    ..............
    Sondhi X
    ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมรดกชาติไทย-มรดกของโลก . เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 . ทั้งนี้ เป็นพระราชพิธีสำคัญที่คนไทยทั้งประเทศต่างรอคอยชมความงดงามของริ้วขบวนเรือพระราชพิธี ดังจะเห็นได้จากในช่วงการซ้อมใหญ่ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนจับจองพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขบวนเรือเคลื่อนผ่านเป็นจำนวนมาก . สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นอย่างมากนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นโบราณราชประเพณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก แต่จะมีขึ้นเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญเท่านั้น อย่างล่าสุดที่คนไทยได้เห็นขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีพ.ศ.2562 . พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในมิติของการเป็นพิธีการหนึ่งของรัฐเท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำอีกด้วย โดยสารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 1 เรือไทยคู่สายน้ำ และ ตอนที่ 2 ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้อธิบายถึงความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งดังนี้ . "นับแต่อดีตชาวไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ เปรียบเสมือนสายชีวิตที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพสิ่ง เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในสมัยโบราณ นิยมสร้างบ้านเรือนใกล้ริมน้ำกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น เรือ จึงเป็นพาหนะ สำคัญที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำ การต่อเรือแต่ละลำ จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้งาน ...และยิ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว จะมีการจัดริ้วขบวนเรืออย่างสมพระเกียรติ ริ้วขบวนเรือนี้ เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" . สำหรับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการจัดขบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในขบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติแสดงถึงพระบารมีแผ่ไพศาลของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่งแด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร . โดยประเพณีเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2500 หลังจากว่างเว้นมานานถึง 50 ปี นับตั้งแต่การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยได้จัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธี อัญเชิญพระพุทธรูป ไตรปิฏก และพระสงฆ์ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา . นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 จนถึง พ.ศ.2555 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง โดยสิ่งที่เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของพระราชพิธีทางน้ำของประเทศไทย คือ การที่องค์การเรือโลก (World Ship Trust) แห่งสหราชอาณาจักรได้มอบรางวัล “มรดกเรือโลก” แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อปี 2535 . ดังนั้น พระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม จึงเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ .............. Sondhi X
    Like
    Love
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 934 มุมมอง 0 รีวิว
  • “...พระมหากรุณาธิคุณที่ผมและวงดนตรีได้รับพระราชทานมานี้ไม่มีทางใดที่จะใช้เป็นมาตร ที่จะวัด หรือคำนวณความใหญ่หลวงได้ เพราะว่าพระมหากรุณาธิคุณที่หลั่งพระราชทานมานั้นยิ่งใหญ่และพรั่งพร้อม

    ประการแรกเป็นพระมหากรุณาในฐานะองค์พระประมุขแห่งชาติและของชาวไทย

    ประการที่สองเป็นพระมหากรุณาที่พระราชทานเป็นส่วนพระองค์

    ประการที่สามเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานในฐานะที่กระผมเป็นศิลปินนักดนตรี

    และประการสุดท้ายในฐานะที่กระผมเป็นข้าใต้เบื้องพระบาท ซึ่งผมเชื่อว่าจะไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใด ที่ทรงพระกรุณานักดนตรีที่ต่ำต้อย เช่นอย่างกระผมเท่านี้ เช่นนี้จึงเป็นพระมหากรุณาที่แม้ผมหรือนักดนตรีในวงนี้จะได้ตายแล้วเกิดใหม่อีกสักกี่ชาติ เราก็จะหาทางสนองพระมหากรุณาธิคุณให้สมสาใจได้

    แม้เพียงเมื่อเช้านี้ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กระผมและนักดนตรีเข้าเฝ้าพระราชทานพรและพระราชทานน้ำสังข์ ทำให้กระผมปลื้มปิติอย่างสุดที่จะพรรณนาได้ ผมรู้สึกว่าหยาดน้ำสังข์ที่หลั่งมาบนหัวนั้น ได้ไหลซึมเข้ามาสู่ดวงใจของกระผมจนกระทั่งแทบจะหายใจไม่ออกด้วยความตื้นตันใจ และพระราชทานกระแสรับสั่ง และพรที่พระราชทานก็เช่นกัน ก้องเข้ามาในหูมากังวาลอยู่ในสมองอย่างที่ในชีวิตนี้จะมิมีทางเสื่อมเสียงกังวาลได้

    ผมและพวกชาวคณะสุนทราภรณ์ทุกคนถือว่านอกจากเราจะได้รับพระราชทานพรจากพระมหาราช ที่ยิ่งใหญ่ด้วยพระบารมีคุณแล้ว

    กระผมยังรู้สึกว่าได้รับพระราชทานพรจากนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ ที่เราบูชา บูชาทั้งพระกรุณาธิคุณ พระเกียรติคุณ บูชาน้ำพระราชหทัยและบูชาฝีพระหัตถ์ในเชิงนักดนตรี ซึ่งจัดว่ากระผมกับพวกได้รับพรและน้ำมนต์ที่ได้หลั่งจากพระหัตถ์ครูด้วยโดยแท้ จะหาสิ่งใดที่เป็นมิ่งมงคลที่ยิ่งกว่านี้มิได้แล้ว

    กระผมกับบรรดาศิลปินนักดนตรีจึงขอตั้งสัตยอธิษฐาน ขอให้องค์สมเด็จพระมหาราช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระราชโอรสธิดา จงทรงพระเจริญยิ่ง ๆ และตลอดไป ตราบเท่าที่มนุษย์ยังรู้จักฟังเสียงดนตรี เทอญ...“

    คำกล่าวของครูเอื้อ สุนทรสนาน
    ในโอกาสครบ 30 ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์
    ออกอากาศทางช่อง 4 บางขุนพรหม
    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2512

    ที่มา : เพจ เพลินเพลงเก่า สุนทราภรณ์
    https://www.facebook.com/share/GHk6mUnvTEUJrFD6/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    “...พระมหากรุณาธิคุณที่ผมและวงดนตรีได้รับพระราชทานมานี้ไม่มีทางใดที่จะใช้เป็นมาตร ที่จะวัด หรือคำนวณความใหญ่หลวงได้ เพราะว่าพระมหากรุณาธิคุณที่หลั่งพระราชทานมานั้นยิ่งใหญ่และพรั่งพร้อม ประการแรกเป็นพระมหากรุณาในฐานะองค์พระประมุขแห่งชาติและของชาวไทย ประการที่สองเป็นพระมหากรุณาที่พระราชทานเป็นส่วนพระองค์ ประการที่สามเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานในฐานะที่กระผมเป็นศิลปินนักดนตรี และประการสุดท้ายในฐานะที่กระผมเป็นข้าใต้เบื้องพระบาท ซึ่งผมเชื่อว่าจะไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใด ที่ทรงพระกรุณานักดนตรีที่ต่ำต้อย เช่นอย่างกระผมเท่านี้ เช่นนี้จึงเป็นพระมหากรุณาที่แม้ผมหรือนักดนตรีในวงนี้จะได้ตายแล้วเกิดใหม่อีกสักกี่ชาติ เราก็จะหาทางสนองพระมหากรุณาธิคุณให้สมสาใจได้ แม้เพียงเมื่อเช้านี้ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กระผมและนักดนตรีเข้าเฝ้าพระราชทานพรและพระราชทานน้ำสังข์ ทำให้กระผมปลื้มปิติอย่างสุดที่จะพรรณนาได้ ผมรู้สึกว่าหยาดน้ำสังข์ที่หลั่งมาบนหัวนั้น ได้ไหลซึมเข้ามาสู่ดวงใจของกระผมจนกระทั่งแทบจะหายใจไม่ออกด้วยความตื้นตันใจ และพระราชทานกระแสรับสั่ง และพรที่พระราชทานก็เช่นกัน ก้องเข้ามาในหูมากังวาลอยู่ในสมองอย่างที่ในชีวิตนี้จะมิมีทางเสื่อมเสียงกังวาลได้ ผมและพวกชาวคณะสุนทราภรณ์ทุกคนถือว่านอกจากเราจะได้รับพระราชทานพรจากพระมหาราช ที่ยิ่งใหญ่ด้วยพระบารมีคุณแล้ว กระผมยังรู้สึกว่าได้รับพระราชทานพรจากนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ ที่เราบูชา บูชาทั้งพระกรุณาธิคุณ พระเกียรติคุณ บูชาน้ำพระราชหทัยและบูชาฝีพระหัตถ์ในเชิงนักดนตรี ซึ่งจัดว่ากระผมกับพวกได้รับพรและน้ำมนต์ที่ได้หลั่งจากพระหัตถ์ครูด้วยโดยแท้ จะหาสิ่งใดที่เป็นมิ่งมงคลที่ยิ่งกว่านี้มิได้แล้ว กระผมกับบรรดาศิลปินนักดนตรีจึงขอตั้งสัตยอธิษฐาน ขอให้องค์สมเด็จพระมหาราช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระราชโอรสธิดา จงทรงพระเจริญยิ่ง ๆ และตลอดไป ตราบเท่าที่มนุษย์ยังรู้จักฟังเสียงดนตรี เทอญ...“ คำกล่าวของครูเอื้อ สุนทรสนาน ในโอกาสครบ 30 ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์ ออกอากาศทางช่อง 4 บางขุนพรหม วันที่ 20 พฤศจิกายน 2512 ที่มา : เพจ เพลินเพลงเก่า สุนทราภรณ์ https://www.facebook.com/share/GHk6mUnvTEUJrFD6/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Love
    Yay
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 352 มุมมอง 0 รีวิว
  • **มี 70 เหรียญ**
    #เหรียญดี ปีลึก
    #ในหลวงร.9 ทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง
    พระปางลีลา"พระพุทธอภัยมงคลสมังคี " เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะตามพระราชวินิจฉัยของในหลวง ร๙.และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พร้อมพระบรมราชวงศ์จักรี
    เสด็จพระราชดำเนินพิธี วางศิลาฤกษ์ พิธีพุทธาภิเษกวัดญาณสังวรารามฯจ.ชลบุรีปี 2525
    เนื้อทองแดง สภาพไม่ผ่านการใช้ ผิวเดิมๆ อยู่ในซีลเดิมคู่ตัวสมบูรณ์ ทุกเหรียญ รับประกันแท้ 100% ครับเปิดบูชาเพียง
    **เหรียญละ 119บ.**
    **ส่งems 50.**
    **โทร 085-5494951**
    **id : pookui*
    **มี 70 เหรียญ** #เหรียญดี ปีลึก #ในหลวงร.9 ทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง พระปางลีลา"พระพุทธอภัยมงคลสมังคี " เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะตามพระราชวินิจฉัยของในหลวง ร๙.และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พร้อมพระบรมราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชดำเนินพิธี วางศิลาฤกษ์ พิธีพุทธาภิเษกวัดญาณสังวรารามฯจ.ชลบุรีปี 2525 เนื้อทองแดง สภาพไม่ผ่านการใช้ ผิวเดิมๆ อยู่ในซีลเดิมคู่ตัวสมบูรณ์ ทุกเหรียญ รับประกันแท้ 100% ครับเปิดบูชาเพียง **เหรียญละ 119บ.** **ส่งems 50.** **โทร 085-5494951** **id : pookui*
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 90 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระมณฑป (#หอไตรจตุรมุข ) #วัดโพธิ์ พระมณฑป หรือ (หอไตรจตุรมุข) รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนา เป็นสถาปัตยกรรมจตุรมุขเครื่องยอดทรงมงกุฎ ประดับกระเบื้องเคลือบและถ้วยหลากสี ลวดลายงามวิจิตร ภายในมีตู้เก็บพระไตรปิฎก มีศาลาทิศรอบพระมณฑป ผนังภายในศาลาทิศมีภาพจิตรกรรม กำเนิดรามเกียรติ์ ประเพณีรามัญกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น ผนังภายนอกมีศิลาจารึกโคลงสุภาษิต เรียกว่า โคลงโลกนิติ ที่ซุ้มประตูทางเข้ามณฑปทั้งสองข้างมียักษ์วัดโพธิ์ ที่มีตำนานเล่าว่าไปรบกับยักษ์วัดแจ้งจนเป็นต้นกำเนิดท่าเตียน #วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม #วัดโพธาราม #กรุงเทพมหานคร
    พระมณฑป (#หอไตรจตุรมุข ) #วัดโพธิ์ พระมณฑป หรือ (หอไตรจตุรมุข) รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนา เป็นสถาปัตยกรรมจตุรมุขเครื่องยอดทรงมงกุฎ ประดับกระเบื้องเคลือบและถ้วยหลากสี ลวดลายงามวิจิตร ภายในมีตู้เก็บพระไตรปิฎก มีศาลาทิศรอบพระมณฑป ผนังภายในศาลาทิศมีภาพจิตรกรรม กำเนิดรามเกียรติ์ ประเพณีรามัญกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น ผนังภายนอกมีศิลาจารึกโคลงสุภาษิต เรียกว่า โคลงโลกนิติ ที่ซุ้มประตูทางเข้ามณฑปทั้งสองข้างมียักษ์วัดโพธิ์ ที่มีตำนานเล่าว่าไปรบกับยักษ์วัดแจ้งจนเป็นต้นกำเนิดท่าเตียน #วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม #วัดโพธาราม #กรุงเทพมหานคร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 155 มุมมอง 29 0 รีวิว
  • ขอเชิญประชาชนเฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทอดพระเนตรการแข่งขันการแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งกระชับมิตรไทย-จีน
    ในโอกาสนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ลงแข่งขันในนามทีมชาติไทย ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2567 เวลา 18.00 น. ณ สนามฮอกกี้น้ำแข็ง Thailand International Ice Hockey Arena เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และในโอกาสครบรอบ 75 ปี การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ทั้งสองประเทศมีสัมพันธ์ไมตรีที่ดีกันมาอย่างยาวนาน

    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    Cr. FB: สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 4 กรมประชาสัมพันธ์
    ขอเชิญประชาชนเฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทอดพระเนตรการแข่งขันการแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งกระชับมิตรไทย-จีน ในโอกาสนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ลงแข่งขันในนามทีมชาติไทย ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2567 เวลา 18.00 น. ณ สนามฮอกกี้น้ำแข็ง Thailand International Ice Hockey Arena เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และในโอกาสครบรอบ 75 ปี การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ทั้งสองประเทศมีสัมพันธ์ไมตรีที่ดีกันมาอย่างยาวนาน #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida Cr. FB: สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 4 กรมประชาสัมพันธ์
    Love
    Like
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 338 มุมมอง 0 รีวิว

  • 3 ตุลาคม 2567-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เชิญพวงมาลาพระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ วางหน้าหีบศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์รถบัสทัศนศึกษาของโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ที่ อาคารเอนกประสงค์ โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม Copyright © 2024 All Right Reserved

    ภาพโดย MGR PHOTO
    https://www.facebook.com/share/p/nBwvy9wkkaGRxm7f/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    3 ตุลาคม 2567-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เชิญพวงมาลาพระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ วางหน้าหีบศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์รถบัสทัศนศึกษาของโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ที่ อาคารเอนกประสงค์ โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม Copyright © 2024 All Right Reserved ภาพโดย MGR PHOTO https://www.facebook.com/share/p/nBwvy9wkkaGRxm7f/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Sad
    Love
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 785 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับ “โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง” ๑๕ โครงการ ครอบคลุม ๑๑ จังหวัด ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากภาวะวิกฤตภัยแล้ง

    จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งเป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง เป็นประจำทุกปี ประกอบกับการขยายตัวของชุมชน ทำให้ความต้องการใช้น้ำอุปโภคบริโภคมีมากขึ้น ระบบประปาเดิมไม่สามารถจ่ายน้ำได้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ รวมถึงแหล่งน้ำจาก ผิวดินซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ และบางพื้นที่ประสบปัญหาคุณภาพน้ำ ส่งผลทำให้ราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ซึ่งบางพื้นที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบรรทุกน้ำแจกจ่ายหลายล้านบาทต่อปี
    กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้สนองพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากภาวะวิกฤตภัยแล้ง ดำเนินการสำรวจพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ออกแบบ และวางแผนจัดทำโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหา ภัยแล้ง โดยการก่อสร้างระบบประปาบาดาลในบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพน้ำบาดาลที่เหมาะสม เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำอุปโภคบริโภค ประกอบกับการยินยอมของราษฎรให้ใช้พื้นที่สำหรับดำเนินงานโครงการ และความพร้อมในการรับมอบเป็นผู้ดูแลระบบหลังดำเนินการแล้วเสร็จ โดยการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลอย่าง มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

    .............................................................................................
    เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๑๙
    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปยังอ่างเก็บน้ำแม่ลี้ วัดบ้านนากลาง ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีพระราชกระแสว่า “ปัญหาเดือดร้อนเรื่องขาดแคลนน้ำสำหรับบริโภคและสำหรับเพาะปลูก ควรรีบทำการสำรวจแหล่งน้ำใต้ดิน ตลอดจนทำแผนที่แสดงแหล่งน้ำให้ละเอียด”

    #น้ำคือชีวิต#โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ#น้ำบาดาล#สยามโสภา#thaitimes

    https://youtu.be/F_etB7slcU0?si=ChL7TfEPf-prd6XH
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับ “โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง” ๑๕ โครงการ ครอบคลุม ๑๑ จังหวัด ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากภาวะวิกฤตภัยแล้ง จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งเป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง เป็นประจำทุกปี ประกอบกับการขยายตัวของชุมชน ทำให้ความต้องการใช้น้ำอุปโภคบริโภคมีมากขึ้น ระบบประปาเดิมไม่สามารถจ่ายน้ำได้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ รวมถึงแหล่งน้ำจาก ผิวดินซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ และบางพื้นที่ประสบปัญหาคุณภาพน้ำ ส่งผลทำให้ราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ซึ่งบางพื้นที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบรรทุกน้ำแจกจ่ายหลายล้านบาทต่อปี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้สนองพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากภาวะวิกฤตภัยแล้ง ดำเนินการสำรวจพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ออกแบบ และวางแผนจัดทำโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหา ภัยแล้ง โดยการก่อสร้างระบบประปาบาดาลในบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพน้ำบาดาลที่เหมาะสม เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำอุปโภคบริโภค ประกอบกับการยินยอมของราษฎรให้ใช้พื้นที่สำหรับดำเนินงานโครงการ และความพร้อมในการรับมอบเป็นผู้ดูแลระบบหลังดำเนินการแล้วเสร็จ โดยการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลอย่าง มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ............................................................................................. เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปยังอ่างเก็บน้ำแม่ลี้ วัดบ้านนากลาง ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีพระราชกระแสว่า “ปัญหาเดือดร้อนเรื่องขาดแคลนน้ำสำหรับบริโภคและสำหรับเพาะปลูก ควรรีบทำการสำรวจแหล่งน้ำใต้ดิน ตลอดจนทำแผนที่แสดงแหล่งน้ำให้ละเอียด” #น้ำคือชีวิต​ #โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ​ #น้ำบาดาล​ #สยามโสภา​ #thaitimes https://youtu.be/F_etB7slcU0?si=ChL7TfEPf-prd6XH
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 883 มุมมอง 0 รีวิว
  • EP.8 ชื่นฉ่ำฤทัย เมืองอุทัยฯที่รัก - สุขนิยาม สยามโสภา (อุทัยธานี)
    》》
    https://youtu.be/RFMEXgYQH8Y?si=Wr_V56Re1PoV7DkN
    《《
    ■จังหวัดเล็กๆ แต่เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์ ของสายน้ำสะแกกรัง
    》》เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนาน และวัดวาอารามอันลือเลื่อง
    》》ถนนคนเดินตรอกโรงยา ที่คึกคักด้วยนักท่องเที่ยว
    》》ประเพณีงานบุญออกพรรษาที่ยิ่งใหญ่ บริเวณเชิงเขาสะแกกรัง
    》》ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างศูนย์ฝึกทักษะและพัฒนางานอาชีพ
    》》และการทอผ้าลายโบราณ ซึ่งได้เผยแพร่สิ่งทอ ที่วิจิตรอันเป็นเอกลักษณ์
    ■■■■■■■■■■
    #TV5HDONLINE#สยามโสภา#ชื่นฉ่ำฤทัยเมืองอุทัยฯที่รัก#สายน้ำสะแกกรัง#เที่ยวจังหวัดอุทัยธานี
    #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    EP.8 ชื่นฉ่ำฤทัย เมืองอุทัยฯที่รัก - สุขนิยาม สยามโสภา (อุทัยธานี) 》》 https://youtu.be/RFMEXgYQH8Y?si=Wr_V56Re1PoV7DkN 《《 ■จังหวัดเล็กๆ แต่เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์ ของสายน้ำสะแกกรัง 》》เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนาน และวัดวาอารามอันลือเลื่อง 》》ถนนคนเดินตรอกโรงยา ที่คึกคักด้วยนักท่องเที่ยว 》》ประเพณีงานบุญออกพรรษาที่ยิ่งใหญ่ บริเวณเชิงเขาสะแกกรัง 》》ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างศูนย์ฝึกทักษะและพัฒนางานอาชีพ 》》และการทอผ้าลายโบราณ ซึ่งได้เผยแพร่สิ่งทอ ที่วิจิตรอันเป็นเอกลักษณ์ ■■■■■■■■■■ #TV5HDONLINE​ #สยามโสภา​ #ชื่นฉ่ำฤทัยเมืองอุทัยฯที่รัก​ #สายน้ำสะแกกรัง​ #เที่ยวจังหวัดอุทัยธานี​ #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1402 มุมมอง 0 รีวิว
  • โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด

    27 กันยายน 2567-รายงานจาก ราชกิจจานุเบกษาที่เผยแพร่ประกาศแต่งตั้ง ประธานศาลปกครองสูงสุด เนื่องจาก นายวรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ประธานศาลปกครองสูงสุด พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจาก อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2567 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567

    ทั้งนี้ คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือก นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ รองประธานศาลปกครองสูงสุด ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานศาลปกครองสูงสุด และได้เสนอชื่อต่อวุฒิสภา ซึ่งในการประชุมเมื่อ 3 กันยายน ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้ นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด

    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด

    #Thaitimes
    โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด 27 กันยายน 2567-รายงานจาก ราชกิจจานุเบกษาที่เผยแพร่ประกาศแต่งตั้ง ประธานศาลปกครองสูงสุด เนื่องจาก นายวรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ประธานศาลปกครองสูงสุด พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจาก อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2567 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ทั้งนี้ คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือก นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ รองประธานศาลปกครองสูงสุด ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานศาลปกครองสูงสุด และได้เสนอชื่อต่อวุฒิสภา ซึ่งในการประชุมเมื่อ 3 กันยายน ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้ นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด #Thaitimes
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 926 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงห่วงใยและทรงพระเมตตา ทรงจัดทำถุงพระราชทานสำหรับเด็กเพื่อเชิญไปพระราชแก่ผู้ประสบอุทกภัยในภาคต่างๆ

    เมื่อวันอังคารที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๒๗ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ ลงในถุงพระราชทานสำหรับเด็ก จำนวน ๑,๐๐๐ ถุง เพื่อเชิญไปพระราชทานแก่เด็กในพื้นที่ประสบอุทกภัยในภาคต่างๆ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระราชหฤทัยห่วงใยครอบครัวราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กแรกเกิดและเด็กเล็กที่ประสบอุทกภัยร้ายแรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดทำถุงพระราชทานสำหรับเด็กเล็กและจัดหาสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กบรรจุลงในถุงพระราชทาน อาทิ ตุ๊กตาผ้าห่ม เป้อุ้มเด็ก นมผง อาหารเด็ก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำลี ฟองน้ำเช็ดตัว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์ซักล้างสำหรับเด็ก โดยจัดพระราชทานสำหรับเด็กตั้งแต่
    แรกเกิดถึงอายุ ๒ ปี เพิ่มเติมจากถุงพระราชทานทั่วไป

    ทั้งนี้ จากสถานการณ์ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เป็นเหตุให้เกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินสไลด์ในบริเวณพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ติดแม่น้ำโขง ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน บาดเจ็บ และเสียชีวิต รวมถึงเกิดความเสียหายแก่บ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ องคมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับหน่วยราชการในพระองค์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งเข้าให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรในเบื้องต้น โดยนำสิ่งของพระราชทานไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วน ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ ตาก พิษณุโลก หนองคาย และจังหวัดเลย อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน และจัดรถครัวสนามปรุงอาหารให้กับประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่ที่ประสบภัยต่าง ๆ เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย แต่ยังมีความจำเป็นในการฟื้นฟูและ
    ทำความสะอาดบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากมีดินโคลนที่มากับน้ำเป็นจำนวนมากทับถมอยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง พร้อมอุปกรณ์ประกอบ ให้แก่กองบัญชาการกองทัพไทย โดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา สำหรับนำไปช่วยเหลือราษฎร ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ช่วยทุ่นแรงในการทำความสะอาดและฟื้นฟูบ้านเรือน ที่สาธารณประโยชน์ วัด ถนน และสถานที่ราชการ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และช่วยให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปรกติโดยเร็ว นอกจากนั้น พระมหากรุณาธิคุณยังครอบคลุมถึงกลุ่มบุคคลที่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนด้วยจิตสาธารณะ ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่ามีเจ้าหน้าที่และจิตอาสาเสียชีวิตระหว่างการปฏิบัติงาน ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพวงมาลาไปวางที่หน้าหีบศพผู้ใหญ่บ้านที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการศพแก่จิตอาสาที่เสียชีวิต พระราชทานทุนการศึกษาแก่บุตรของผู้เสียชีวิต รวมทั้งทรงรับจิตอาสาที่ได้รับบาดเจ็บไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงติดตามสถานการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด โดยมีพระเมตตาและพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณในการพระราชทานความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ พร้อมทั้งได้มีพระราชกระแสทรงห่วงใยประชาชนผู้ประสบภัยจากเหตุดังกล่าว และมีพระราชกระแสทรงชื่นชม และพระราชทานกำลังใจ แก่จิตอาสาจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งต่างเสียสละกำลังกาย กำลังปัญญา และกำลังทรัพย์ มาร่วมกันปฏิบัติการให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย แม้การช่วยเหลือจะเป็นไปอย่างยากลำบากท่ามกลางกระแสน้ำไหลเชี่ยว และข้อจำกัดต่าง ๆ แต่ทุกภาคส่วน และจิตอาสา ต่างร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มกำลัง ด้วยความรัก ความปรารถนาดี
    ต่อกัน เป็นเครื่องมือสำคัญทำให้ประชาชนได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เป็นไปตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ในการให้ทุกคนมีจิตอาสา พร้อมที่จะเสียสละ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนสามารถทำให้สถานการณ์รุนแรงคลี่คลายลงได้ตามลำดับ

    #ทรงพระเจริญ
    #สืบสานรักษาต่อยอด
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงห่วงใยและทรงพระเมตตา ทรงจัดทำถุงพระราชทานสำหรับเด็กเพื่อเชิญไปพระราชแก่ผู้ประสบอุทกภัยในภาคต่างๆ เมื่อวันอังคารที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๒๗ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ ลงในถุงพระราชทานสำหรับเด็ก จำนวน ๑,๐๐๐ ถุง เพื่อเชิญไปพระราชทานแก่เด็กในพื้นที่ประสบอุทกภัยในภาคต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระราชหฤทัยห่วงใยครอบครัวราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กแรกเกิดและเด็กเล็กที่ประสบอุทกภัยร้ายแรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดทำถุงพระราชทานสำหรับเด็กเล็กและจัดหาสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กบรรจุลงในถุงพระราชทาน อาทิ ตุ๊กตาผ้าห่ม เป้อุ้มเด็ก นมผง อาหารเด็ก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำลี ฟองน้ำเช็ดตัว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์ซักล้างสำหรับเด็ก โดยจัดพระราชทานสำหรับเด็กตั้งแต่ แรกเกิดถึงอายุ ๒ ปี เพิ่มเติมจากถุงพระราชทานทั่วไป ทั้งนี้ จากสถานการณ์ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เป็นเหตุให้เกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินสไลด์ในบริเวณพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ติดแม่น้ำโขง ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน บาดเจ็บ และเสียชีวิต รวมถึงเกิดความเสียหายแก่บ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ องคมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับหน่วยราชการในพระองค์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งเข้าให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรในเบื้องต้น โดยนำสิ่งของพระราชทานไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วน ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ ตาก พิษณุโลก หนองคาย และจังหวัดเลย อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน และจัดรถครัวสนามปรุงอาหารให้กับประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่ที่ประสบภัยต่าง ๆ เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย แต่ยังมีความจำเป็นในการฟื้นฟูและ ทำความสะอาดบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากมีดินโคลนที่มากับน้ำเป็นจำนวนมากทับถมอยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง พร้อมอุปกรณ์ประกอบ ให้แก่กองบัญชาการกองทัพไทย โดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา สำหรับนำไปช่วยเหลือราษฎร ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ช่วยทุ่นแรงในการทำความสะอาดและฟื้นฟูบ้านเรือน ที่สาธารณประโยชน์ วัด ถนน และสถานที่ราชการ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และช่วยให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปรกติโดยเร็ว นอกจากนั้น พระมหากรุณาธิคุณยังครอบคลุมถึงกลุ่มบุคคลที่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนด้วยจิตสาธารณะ ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่ามีเจ้าหน้าที่และจิตอาสาเสียชีวิตระหว่างการปฏิบัติงาน ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพวงมาลาไปวางที่หน้าหีบศพผู้ใหญ่บ้านที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการศพแก่จิตอาสาที่เสียชีวิต พระราชทานทุนการศึกษาแก่บุตรของผู้เสียชีวิต รวมทั้งทรงรับจิตอาสาที่ได้รับบาดเจ็บไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงติดตามสถานการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด โดยมีพระเมตตาและพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณในการพระราชทานความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ พร้อมทั้งได้มีพระราชกระแสทรงห่วงใยประชาชนผู้ประสบภัยจากเหตุดังกล่าว และมีพระราชกระแสทรงชื่นชม และพระราชทานกำลังใจ แก่จิตอาสาจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งต่างเสียสละกำลังกาย กำลังปัญญา และกำลังทรัพย์ มาร่วมกันปฏิบัติการให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย แม้การช่วยเหลือจะเป็นไปอย่างยากลำบากท่ามกลางกระแสน้ำไหลเชี่ยว และข้อจำกัดต่าง ๆ แต่ทุกภาคส่วน และจิตอาสา ต่างร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มกำลัง ด้วยความรัก ความปรารถนาดี ต่อกัน เป็นเครื่องมือสำคัญทำให้ประชาชนได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เป็นไปตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ในการให้ทุกคนมีจิตอาสา พร้อมที่จะเสียสละ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนสามารถทำให้สถานการณ์รุนแรงคลี่คลายลงได้ตามลำดับ #ทรงพระเจริญ #สืบสานรักษาต่อยอด
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 365 มุมมอง 48 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงห่วงใยและทรงพระเมตตา ทรงจัดทำถุงพระราชทานสำหรับเด็กเพื่อเชิญไปพระราชแก่ผู้ประสบอุทกภัยในภาคต่างๆ
    》》วันอังคาร
    ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๗
    》》เวลา ๑๘.๒๗ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ ลงในถุงพระราชทานสำหรับเด็ก จำนวน ๑,๐๐๐ ถุง เพื่อเชิญไปพระราชทานแก่เด็กในพื้นที่ประสบอุทกภัยในภาคต่างๆ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระราชหฤทัยห่วงใยครอบครัวราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กแรกเกิดและเด็กเล็กที่ประสบอุทกภัยร้ายแรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดทำถุงพระราชทานสำหรับเด็กเล็กและจัดหาสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กบรรจุลงในถุงพระราชทาน อาทิ ตุ๊กตาผ้าห่ม เป้อุ้มเด็ก นมผง อาหารเด็ก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำลี ฟองน้ำเช็ดตัว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์ซักล้างสำหรับเด็ก โดยจัดพระราชทานสำหรับเด็กตั้งแต่
    แรกเกิดถึงอายุ ๒ ปี เพิ่มเติมจากถุงพระราชทานทั่วไป

    #ทรงพระเจริญ
    #สืบสานรักษาต่อยอด
    #thaitimes
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงห่วงใยและทรงพระเมตตา ทรงจัดทำถุงพระราชทานสำหรับเด็กเพื่อเชิญไปพระราชแก่ผู้ประสบอุทกภัยในภาคต่างๆ 》》วันอังคาร ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๗ 》》เวลา ๑๘.๒๗ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ ลงในถุงพระราชทานสำหรับเด็ก จำนวน ๑,๐๐๐ ถุง เพื่อเชิญไปพระราชทานแก่เด็กในพื้นที่ประสบอุทกภัยในภาคต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระราชหฤทัยห่วงใยครอบครัวราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กแรกเกิดและเด็กเล็กที่ประสบอุทกภัยร้ายแรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดทำถุงพระราชทานสำหรับเด็กเล็กและจัดหาสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กบรรจุลงในถุงพระราชทาน อาทิ ตุ๊กตาผ้าห่ม เป้อุ้มเด็ก นมผง อาหารเด็ก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำลี ฟองน้ำเช็ดตัว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์ซักล้างสำหรับเด็ก โดยจัดพระราชทานสำหรับเด็กตั้งแต่ แรกเกิดถึงอายุ ๒ ปี เพิ่มเติมจากถุงพระราชทานทั่วไป #ทรงพระเจริญ #สืบสานรักษาต่อยอด #thaitimes
    Love
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 764 มุมมอง 476 0 รีวิว
  • ๒๔ กันยายน วันมหิดล
    น้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
    “บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของไทย”

    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
    ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร และพนักงาน ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ และศูนย์การค้าเดอะพรอมานาด รามอินทรา
    ๒๔ กันยายน วันมหิดล น้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของไทย” ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร และพนักงาน ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ และศูนย์การค้าเดอะพรอมานาด รามอินทรา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 103 มุมมอง 0 รีวิว
  • ๒๔ กันยายน วันมหิดล
    น้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
    “บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของไทย”

    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
    ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร และพนักงาน ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ และศูนย์การค้าเดอะพรอมานาด รามอินทรา
    ๒๔ กันยายน วันมหิดล น้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของไทย” ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร และพนักงาน ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ และศูนย์การค้าเดอะพรอมานาด รามอินทรา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 90 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง โรงครัวพระราชทาน ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
    เพื่อประกอบอาหาร ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
    พื้นที่ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
    —-
    His Majesty King Maha Vajiralongkorn and Her Majesty Queen Suthida of Thailand have command set up a royal kitchen to help flood victims to prepare food to help flood victims
    Area: Tha Bo District, Nong Khai Province.
    ___________________________
    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    Cr. FB : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี : We Love Her Majesty Queen Suthida Fanpage
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง โรงครัวพระราชทาน ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เพื่อประกอบอาหาร ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย พื้นที่ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย —- His Majesty King Maha Vajiralongkorn and Her Majesty Queen Suthida of Thailand have command set up a royal kitchen to help flood victims to prepare food to help flood victims Area: Tha Bo District, Nong Khai Province. ___________________________ #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida Cr. FB : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี : We Love Her Majesty Queen Suthida Fanpage
    Love
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 564 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เชิญถุงยังชีพพระราชทาน ไปมอบแก่ผู้ประสบอุทกภัยดินโคลนถล่ม พร้อมทั้งอัญเชิญพระราชกระแสทรงห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปกล่าวให้ผู้ประสบภัย ณ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
    —-
    His Majesty King Maha Vajiralongkorn and Her Majesty Queen Suthida of Thailand graciously ordered Mr. Plakorn Suwannarat, Privy Councilor, to deliver royal relief bags to those affected by floods and mudslides and along with inviting the Royal Messages of His Majesty the King and Her Majesty the Queen to speak to the victims in Mae Sai District, Chiang Rai Province.
    _____________________
    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    Cr. FB : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี : We Love Her Majesty Queen Suthida Fanpage
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เชิญถุงยังชีพพระราชทาน ไปมอบแก่ผู้ประสบอุทกภัยดินโคลนถล่ม พร้อมทั้งอัญเชิญพระราชกระแสทรงห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปกล่าวให้ผู้ประสบภัย ณ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย —- His Majesty King Maha Vajiralongkorn and Her Majesty Queen Suthida of Thailand graciously ordered Mr. Plakorn Suwannarat, Privy Councilor, to deliver royal relief bags to those affected by floods and mudslides and along with inviting the Royal Messages of His Majesty the King and Her Majesty the Queen to speak to the victims in Mae Sai District, Chiang Rai Province. _____________________ #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida Cr. FB : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี : We Love Her Majesty Queen Suthida Fanpage
    Love
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 542 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ผู้แทนพระองค์ นำพวงมาลาพระราชทานและดินฝังศพพระราชทาน ไปวางหน้าศพและหลุมศพ นายธีรยุทธ สิริวรรณสถิต ผู้ใหญ่บ้านดอยแหลม ซึ่งถึงแก่กรรมจากเหตุดินถล่ม ณ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
    —-
    His Majesty King Maha Vajiralongkorn and Her Majesty Queen Suthida of Thailand graciously ordered his representative to bring the royal wreath and royal burial soil to place in front of the body and grave of Mr. Thirayut Siriwannasathit, village headman of Doi Laem, who died in a landslide in Mae Ai District, Chiang Mai Province.
    __________________________
    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    Cr. FB : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี : We Love Her Majesty Queen Suthida Fanpage
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ผู้แทนพระองค์ นำพวงมาลาพระราชทานและดินฝังศพพระราชทาน ไปวางหน้าศพและหลุมศพ นายธีรยุทธ สิริวรรณสถิต ผู้ใหญ่บ้านดอยแหลม ซึ่งถึงแก่กรรมจากเหตุดินถล่ม ณ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ —- His Majesty King Maha Vajiralongkorn and Her Majesty Queen Suthida of Thailand graciously ordered his representative to bring the royal wreath and royal burial soil to place in front of the body and grave of Mr. Thirayut Siriwannasathit, village headman of Doi Laem, who died in a landslide in Mae Ai District, Chiang Mai Province. __________________________ #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida Cr. FB : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี : We Love Her Majesty Queen Suthida Fanpage
    Love
    Like
    5
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 541 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เชิญพวงมาลาหลวง และพวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ไปวางที่หน้าหีบศพ นายธีรยุทธ สิริวรรณสถิต ผู้ใหญ่บ้าน บ้านดอยแหลม ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในเหตุอุทกภัยดินสไลด์

    เย็นวันนี้ (15 ก.ย. 67) เวลา 16.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เชิญพวงมาลาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ไปวางที่หน้าหีบศพ นายธีรยุทธ สิริวรรณสถิต ผู้ใหญ่บ้าน บ้านดอยแหลม หมู่ 13 ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในเหตุอุทกภัยดินสไลด์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567 และตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ บ้านเลขที่67 หมู่ที่13 ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เชิญพวงมาลาหลวง และพวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ไปวางที่หน้าหีบศพ นายธีรยุทธ สิริวรรณสถิต ผู้ใหญ่บ้าน บ้านดอยแหลม ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในเหตุอุทกภัยดินสไลด์ เย็นวันนี้ (15 ก.ย. 67) เวลา 16.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เชิญพวงมาลาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ไปวางที่หน้าหีบศพ นายธีรยุทธ สิริวรรณสถิต ผู้ใหญ่บ้าน บ้านดอยแหลม หมู่ 13 ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในเหตุอุทกภัยดินสไลด์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567 และตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ บ้านเลขที่67 หมู่ที่13 ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 414 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts