• แม่ทัพภาคที่ 2 ชวนเที่ยวปราสาทตาเมือนธม-ตาเมือนโต๊ด-ตาควาย กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดน
    https://www.thai-tai.tv/news/19957/
    .
    #เที่ยวชายแดนไทยกัมพูชา #ปราสาทตาเมือนธม #ปราสาทตาควาย #ปราสาทตาเมือนโต๊ด #สุรินทร์ #แม่ทัพภาคที่2 #เที่ยวไทย #กระตุ้นเศรษฐกิจ #ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ #โบราณสถาน #อุดหนุนคนไทย
    แม่ทัพภาคที่ 2 ชวนเที่ยวปราสาทตาเมือนธม-ตาเมือนโต๊ด-ตาควาย กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดน https://www.thai-tai.tv/news/19957/ . #เที่ยวชายแดนไทยกัมพูชา #ปราสาทตาเมือนธม #ปราสาทตาควาย #ปราสาทตาเมือนโต๊ด #สุรินทร์ #แม่ทัพภาคที่2 #เที่ยวไทย #กระตุ้นเศรษฐกิจ #ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ #โบราณสถาน #อุดหนุนคนไทย
    0 Comments 0 Shares 70 Views 0 Reviews
  • 'ฮุน มาเนต' นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พบคณะที่ปรึกษากฎหมายกรณีกัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ซึ่งนำทีมโดยศาสตราจารย์ฌอง มาร์ค โซเรล (Prof.Jean-Marc  Sorel) อาจารย์ชาวฝรั่งเศส จากมหาวิทยาลัยปารีส

    นายฮุน มาเนต ระบุว่า การประชุมร่วมกันครั้งนี้เพื่อเดินหน้ากระบวนการนำ 4 พื้นที่พิพาท ได้แก่พื้นที่มอมเบย (ช่องบก) ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาควาย ยื่นต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice - ICJ)

    เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2025 ณ กรุงเฮก นาง Kimsour Sovannary เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำเนเธอร์แลนด์ซึ่งมีถิ่นพำนักในกรุงบรัสเซลส์ ได้ยื่นคำร้องของกัมพูชาต่อนาย Philippe Gautier นายทะเบียนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศด้วยตนเอง

    .

    รายงานของไทยพีบีเอสเมื่อปี 2556 ระบุว่า หากย้อนกลับไปในคดีตีความคำพิพากษากรณีปราสาทพระวิหาร ศาสตราจารย์ฌอง มาร์ค โซเรล คนนี้เป็นสมาชิกสำคัญในทีมที่ปรึกษาทางกฎหมาย ซึ่งมีส่วนช่วยให้กัมพูชาชนะในคดีตีความคำพิพากษาปี 2505 กรณีปราสาทพระวิหาร ซึ่งกลับมาพิจารณาในช่วงปี 2554-2556

    ศาสตราจารย์ฌอง มาร์ค โซเรล ในฐานะทนายความฝ่ายกัมพูชา สู้คดีโดยอ้างในตอนนั้นว่า รัฐไทยตีความคำพิพากษาเข้าข้างตนเอง โดยใช้ท่าทีไม่เป็นมิตร ด้วยภาษาและคำพูดที่เสียดสี บิดเบือน เพื่อทำให้เห็นว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนของไทย ทั้งพยายามนำเรื่องเขตแดนและการพิพากษามารวมไว้เป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งที่เป็นคนละเรื่อง
    'ฮุน มาเนต' นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พบคณะที่ปรึกษากฎหมายกรณีกัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ซึ่งนำทีมโดยศาสตราจารย์ฌอง มาร์ค โซเรล (Prof.Jean-Marc  Sorel) อาจารย์ชาวฝรั่งเศส จากมหาวิทยาลัยปารีส นายฮุน มาเนต ระบุว่า การประชุมร่วมกันครั้งนี้เพื่อเดินหน้ากระบวนการนำ 4 พื้นที่พิพาท ได้แก่พื้นที่มอมเบย (ช่องบก) ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาควาย ยื่นต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice - ICJ) เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2025 ณ กรุงเฮก นาง Kimsour Sovannary เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำเนเธอร์แลนด์ซึ่งมีถิ่นพำนักในกรุงบรัสเซลส์ ได้ยื่นคำร้องของกัมพูชาต่อนาย Philippe Gautier นายทะเบียนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศด้วยตนเอง . 👉รายงานของไทยพีบีเอสเมื่อปี 2556 ระบุว่า หากย้อนกลับไปในคดีตีความคำพิพากษากรณีปราสาทพระวิหาร ศาสตราจารย์ฌอง มาร์ค โซเรล คนนี้เป็นสมาชิกสำคัญในทีมที่ปรึกษาทางกฎหมาย ซึ่งมีส่วนช่วยให้กัมพูชาชนะในคดีตีความคำพิพากษาปี 2505 กรณีปราสาทพระวิหาร ซึ่งกลับมาพิจารณาในช่วงปี 2554-2556 👉ศาสตราจารย์ฌอง มาร์ค โซเรล ในฐานะทนายความฝ่ายกัมพูชา สู้คดีโดยอ้างในตอนนั้นว่า รัฐไทยตีความคำพิพากษาเข้าข้างตนเอง โดยใช้ท่าทีไม่เป็นมิตร ด้วยภาษาและคำพูดที่เสียดสี บิดเบือน เพื่อทำให้เห็นว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนของไทย ทั้งพยายามนำเรื่องเขตแดนและการพิพากษามารวมไว้เป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งที่เป็นคนละเรื่อง
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 173 Views 0 Reviews
  • เพื่อนบ้านที่ดีต้องไม่ขู่ กัมพูชาเมินคุย 4 พื้นที่ : [NEWS UPDATE]

    นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เผยถึงสถานการณ์ไทย-กัมพูชา กัมพูชาเลือกไม่หารือพื้นที่ 4 จุด ได้แก่ ช่องบก ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาควาย ในการประชุมเจบีซี ซึ่งไทยผิดหวังอย่างยิ่ง เพราะประเด็นเขตแดนทั้งหมดอยู่ในขอบเขตการทำงานของเจบีซี พร้อมรับมือกัมพูชาร้องศาลโลก การเป็นเพื่อนบ้านที่ดีจะไม่ยื่นคำขาดโดยไม่หารือ มอง การนำเรื่องไปสู่ฝ่ายที่สาม มิใช่หนทางดีที่สุดที่จะรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐไว้ได้

    -ชี้แจงทูตต่างประเทศ

    -เปิดแผนอพยพแรงงาน

    -ตรึงน้ำมันสู้สงคราม

    -อาหารอีสานกู้เศรษฐกิจ
    เพื่อนบ้านที่ดีต้องไม่ขู่ กัมพูชาเมินคุย 4 พื้นที่ : [NEWS UPDATE] นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เผยถึงสถานการณ์ไทย-กัมพูชา กัมพูชาเลือกไม่หารือพื้นที่ 4 จุด ได้แก่ ช่องบก ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาควาย ในการประชุมเจบีซี ซึ่งไทยผิดหวังอย่างยิ่ง เพราะประเด็นเขตแดนทั้งหมดอยู่ในขอบเขตการทำงานของเจบีซี พร้อมรับมือกัมพูชาร้องศาลโลก การเป็นเพื่อนบ้านที่ดีจะไม่ยื่นคำขาดโดยไม่หารือ มอง การนำเรื่องไปสู่ฝ่ายที่สาม มิใช่หนทางดีที่สุดที่จะรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐไว้ได้ -ชี้แจงทูตต่างประเทศ -เปิดแผนอพยพแรงงาน -ตรึงน้ำมันสู้สงคราม -อาหารอีสานกู้เศรษฐกิจ
    Like
    Haha
    8
    0 Comments 0 Shares 457 Views 38 0 Reviews
  • ปฐมบท ไทยเสียดินแดน?

    7 โมงเช้า 15 มิ.ย. พล.อ.ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ประกาศส่งจดหมายอย่างเป็นทางการถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือศาลโลก เพื่อขอแก้ไขข้อพิพาทชายแดนในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และสามเหลี่ยมมรกต อาศัยวันที่ศาลโลกตัดสินให้กัมพูชาชนะคดีปราสาทพระวิหารเมื่อ 63 ปีก่อน อ้างว่าต้องการแก้ไขข้อพิพาทชายแดนซึ่งเสี่ยงที่จะปะทะด้วยอาวุธ กลไกทวิภาคีไม่สามารถแก้ไขได้ และอ้างว่าขอความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความชัดเจนในการกำหนดเขตแดนและขอบเขตกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อที่คนรุ่นหลังจะไม่มีปัญหากันอีกต่อไป

    ขณะที่ผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) นอกจากจะอนุมัติวาระการประชุม 4 หัวข้อแล้ว นายลัม เจีย รัฐมนตรีประจำสำนักเลขาธิการกิจการชายแดน และประธานคณะกรรมาธิการชายแดนร่วมกัมพูชา ยังกล่าวว่า กัมพูชาจะนำข้อพิพาทชายแดนทั้ง 4 พื้นที่ขึ้นสู่ศาลโลก แม้ไทยจะไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลโลกก็ตาม โดยจะไม่นำมาเป็นหัวข้อในการหารือภายใต้กรอบ JBC อีกต่อไป อีกทั้งนโยบายรัฐบาลกัมพูชายังยึดถือ MOU 2543 โดยใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904 และ 1907 และไม่ยอมรับแผนที่ฝ่ายไทยวาดขึ้นเพียงฝ่ายเดียว

    ส่วนกระทรวงการต่างประเทศของไทย อ้างว่ามิได้มีการหารือในประเด็นที่กัมพูชาจะนำพื้นที่ 4 จุด เข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก โดยมิได้มีการหารือประเด็นแผนที่ 1:200,000 คณะกรรมการปักปันสยาม-อินโดจีน ตามที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างแต่อย่างใด

    พรมแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามีระยะทาง 798 กิโลเมตร ปักปันเขตแดนแล้ว 603 กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ถึงบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด รวม 73 หลัก แต่ยังไม่ปักปันเขตแดน 195 กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องสะงำ ถึงช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี กำหนดให้เป็นไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรัก แต่ไทยและกัมพูชาถือแผนที่คนละฉบับ กัมพูชาใช้แผนที่ 1:200,000 ที่มีมาตราส่วนหยาบ คลาดเคลื่อนจากเส้นสันปันน้ำจริงหลายจุด คลาดเคลื่อนหลักเขตแดนมากถึง 200 เมตร ขณะที่ไทยถือแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ที่จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร มีความละเอียดของเส้นแบ่งเขตแดนที่ชัดเจน เห็นแนวสันเขา ร่องน้ำที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางภูมิศาสตร์

    ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาทำสงครามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร กลับไม่มีท่าทีใดๆ ออกมาชัดเจน ท่ามกลางสังคมเคลือบแคลงสงสัยถึงความสัมพันธ์ลึกซึ้งระหว่างตระกูลชินวัตรกับตระกูลฮุนของกัมพูชา และความไม่ไว้วางใจของประชาชนชาวไทย ที่ประเทศไทยกำลังจะเสียดินแดนอีกครั้งต่อจากเขาพระวิหาร

    #Newskit
    ปฐมบท ไทยเสียดินแดน? 7 โมงเช้า 15 มิ.ย. พล.อ.ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ประกาศส่งจดหมายอย่างเป็นทางการถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือศาลโลก เพื่อขอแก้ไขข้อพิพาทชายแดนในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และสามเหลี่ยมมรกต อาศัยวันที่ศาลโลกตัดสินให้กัมพูชาชนะคดีปราสาทพระวิหารเมื่อ 63 ปีก่อน อ้างว่าต้องการแก้ไขข้อพิพาทชายแดนซึ่งเสี่ยงที่จะปะทะด้วยอาวุธ กลไกทวิภาคีไม่สามารถแก้ไขได้ และอ้างว่าขอความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความชัดเจนในการกำหนดเขตแดนและขอบเขตกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อที่คนรุ่นหลังจะไม่มีปัญหากันอีกต่อไป ขณะที่ผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) นอกจากจะอนุมัติวาระการประชุม 4 หัวข้อแล้ว นายลัม เจีย รัฐมนตรีประจำสำนักเลขาธิการกิจการชายแดน และประธานคณะกรรมาธิการชายแดนร่วมกัมพูชา ยังกล่าวว่า กัมพูชาจะนำข้อพิพาทชายแดนทั้ง 4 พื้นที่ขึ้นสู่ศาลโลก แม้ไทยจะไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลโลกก็ตาม โดยจะไม่นำมาเป็นหัวข้อในการหารือภายใต้กรอบ JBC อีกต่อไป อีกทั้งนโยบายรัฐบาลกัมพูชายังยึดถือ MOU 2543 โดยใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904 และ 1907 และไม่ยอมรับแผนที่ฝ่ายไทยวาดขึ้นเพียงฝ่ายเดียว ส่วนกระทรวงการต่างประเทศของไทย อ้างว่ามิได้มีการหารือในประเด็นที่กัมพูชาจะนำพื้นที่ 4 จุด เข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก โดยมิได้มีการหารือประเด็นแผนที่ 1:200,000 คณะกรรมการปักปันสยาม-อินโดจีน ตามที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างแต่อย่างใด พรมแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามีระยะทาง 798 กิโลเมตร ปักปันเขตแดนแล้ว 603 กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ถึงบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด รวม 73 หลัก แต่ยังไม่ปักปันเขตแดน 195 กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องสะงำ ถึงช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี กำหนดให้เป็นไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรัก แต่ไทยและกัมพูชาถือแผนที่คนละฉบับ กัมพูชาใช้แผนที่ 1:200,000 ที่มีมาตราส่วนหยาบ คลาดเคลื่อนจากเส้นสันปันน้ำจริงหลายจุด คลาดเคลื่อนหลักเขตแดนมากถึง 200 เมตร ขณะที่ไทยถือแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ที่จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร มีความละเอียดของเส้นแบ่งเขตแดนที่ชัดเจน เห็นแนวสันเขา ร่องน้ำที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางภูมิศาสตร์ ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาทำสงครามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร กลับไม่มีท่าทีใดๆ ออกมาชัดเจน ท่ามกลางสังคมเคลือบแคลงสงสัยถึงความสัมพันธ์ลึกซึ้งระหว่างตระกูลชินวัตรกับตระกูลฮุนของกัมพูชา และความไม่ไว้วางใจของประชาชนชาวไทย ที่ประเทศไทยกำลังจะเสียดินแดนอีกครั้งต่อจากเขาพระวิหาร #Newskit
    0 Comments 0 Shares 367 Views 0 Reviews
  • เตือนทักษิณ-อุ๊งอิ๊งค์ ระวังประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

    เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ประธานมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน พร้อมคณะยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ทำหน้าที่ปกป้องรักษาอธิปไตย และความมั่นคงของชาติ โดยมีข้อเรียกร้อง 6 ข้อ ได้แก่ 1. รัฐบาลไทยต้องประกาศย้ำไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก และจะใช้กลไกการเจรจาเรื่องเขตแดนผ่านคณะกรรมาธิการร่วมเขตแดนไทย-กัมพูชา (JBC) เท่านั้น

    2. รัฐบาลไทยต้องประท้วงอย่างเป็นทางการทั้งต่อกัมพูชาและสากลว่า ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และสามเหลี่ยมมรกต ศาลาตรีมุข เป็นดินแดนไทย และไม่ใช่ No man’s land 3. ยกเลิก MOU 2543 เพื่อยกเลิกแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ที่จัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว และให้ใช้กลไก JBC กำหนดจัดทำหลักเขตที่สูญหาย ตามสันปันน้ำและขอบหน้าผาตามธรรมชาติ โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นวิทยาศาสตร์

    4. ยกเลิก MOU 2544 เพื่อยกเลิกเส้นไหล่ทวีปที่รุกล้ำอธิปไตยน่านน้ำไทย ให้ใช้กลไกของคณะกรรมาธิการทางเทคนิคในทะเลไทย-กัมพูชา (JTC) กำหนดใช้เส้นมัธยะตามกฎหมายทะเลสากล 5. สั่งการและมีมติเพิ่มอำนาจต่อรองก่อนการประชุม JBC ยังคงหรือลดเวลาเปิดด่านไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะพื้นที่บ่อนคาสิโน เพื่อต่อรองให้หยุดการก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ 6. หากสถานการณ์ไทย-กัมพูชาเลวร้ายลง ให้กองทัพไทยสามารถประกาศกฎอัยการศึก เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

    นายสนธิ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะนายวีระ สมความคิด เป็นเหยื่อของคนที่ต้องการยกพื้นที่ประเทศไทยให้กัมพูชา ข้อเท็จจริงซึ่งพิสูจน์และปฎิเสธไม่ได้เลย คือ นายวีระตอนถูกจับยังไม่ถึงหมู่บ้านหนองจาน อีกทั้งตนไม่ได้สนใจเลยว่านายทักษิณ ชินวัตร และกรณีชั้น 14 จะตายโหงตายห่ายังไง เพราะรู้ว่าเมื่อเข้าสู่กระบวนการแล้วก็ต้องเป็นไปตามกระบวนการ แต่ตนสนใจคนที่ทรยศต่อชาติบ้านเมืองที่อยู่ในประเทศไทย ที่แอบส่งเสริมให้กัมพูชามายึดพื้นที่ของเรา

    "ผมยังยืนยันว่าเวลาที่จะต้องออกมาแสดงพลังกันทั่วประเทศนั้น มันคุกรุ่นมากและใกล้จะมาถึงแล้ว เพราะฉะนั้นแล้วถ้าคุณจะถามผมว่าจะมีการลงถนนไหม ก็ถ้าจำเป็นเพื่อที่จะปกป้องอธิปไตยไทย แล้วขับไล่รัฐบาลชั่วช้าแบบนี้ไป ถ้าจะลงถนนผมไม่ขัดข้อง ถึงอายุ 78 ปีแล้ว จะเป็นการลงถนนครั้งสุดท้ายก่อนตายผมก็ยินดี และผมก็เชื่อว่าพี่น้องเยอะแยะ อย่างน้อยทุกคนที่บนโต๊ะนี้ ผมเชื่อว่าเอากับผมแน่นอน เอากับพวกเรากันแน่นอน เพราะฉะนั้นแล้วผมจะฝากถึงแพทองธาร ชินวัตร ภูมิธรรม เวชยชัย และทักษิณ ชินวัตร ว่าประวัติศาสตร์กำลังจะซ้ำรอยพวกคุณ"

    #Newskit
    เตือนทักษิณ-อุ๊งอิ๊งค์ ระวังประวัติศาสตร์ซ้ำรอย เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ประธานมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน พร้อมคณะยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ทำหน้าที่ปกป้องรักษาอธิปไตย และความมั่นคงของชาติ โดยมีข้อเรียกร้อง 6 ข้อ ได้แก่ 1. รัฐบาลไทยต้องประกาศย้ำไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก และจะใช้กลไกการเจรจาเรื่องเขตแดนผ่านคณะกรรมาธิการร่วมเขตแดนไทย-กัมพูชา (JBC) เท่านั้น 2. รัฐบาลไทยต้องประท้วงอย่างเป็นทางการทั้งต่อกัมพูชาและสากลว่า ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และสามเหลี่ยมมรกต ศาลาตรีมุข เป็นดินแดนไทย และไม่ใช่ No man’s land 3. ยกเลิก MOU 2543 เพื่อยกเลิกแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ที่จัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว และให้ใช้กลไก JBC กำหนดจัดทำหลักเขตที่สูญหาย ตามสันปันน้ำและขอบหน้าผาตามธรรมชาติ โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นวิทยาศาสตร์ 4. ยกเลิก MOU 2544 เพื่อยกเลิกเส้นไหล่ทวีปที่รุกล้ำอธิปไตยน่านน้ำไทย ให้ใช้กลไกของคณะกรรมาธิการทางเทคนิคในทะเลไทย-กัมพูชา (JTC) กำหนดใช้เส้นมัธยะตามกฎหมายทะเลสากล 5. สั่งการและมีมติเพิ่มอำนาจต่อรองก่อนการประชุม JBC ยังคงหรือลดเวลาเปิดด่านไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะพื้นที่บ่อนคาสิโน เพื่อต่อรองให้หยุดการก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ 6. หากสถานการณ์ไทย-กัมพูชาเลวร้ายลง ให้กองทัพไทยสามารถประกาศกฎอัยการศึก เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน นายสนธิ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะนายวีระ สมความคิด เป็นเหยื่อของคนที่ต้องการยกพื้นที่ประเทศไทยให้กัมพูชา ข้อเท็จจริงซึ่งพิสูจน์และปฎิเสธไม่ได้เลย คือ นายวีระตอนถูกจับยังไม่ถึงหมู่บ้านหนองจาน อีกทั้งตนไม่ได้สนใจเลยว่านายทักษิณ ชินวัตร และกรณีชั้น 14 จะตายโหงตายห่ายังไง เพราะรู้ว่าเมื่อเข้าสู่กระบวนการแล้วก็ต้องเป็นไปตามกระบวนการ แต่ตนสนใจคนที่ทรยศต่อชาติบ้านเมืองที่อยู่ในประเทศไทย ที่แอบส่งเสริมให้กัมพูชามายึดพื้นที่ของเรา "ผมยังยืนยันว่าเวลาที่จะต้องออกมาแสดงพลังกันทั่วประเทศนั้น มันคุกรุ่นมากและใกล้จะมาถึงแล้ว เพราะฉะนั้นแล้วถ้าคุณจะถามผมว่าจะมีการลงถนนไหม ก็ถ้าจำเป็นเพื่อที่จะปกป้องอธิปไตยไทย แล้วขับไล่รัฐบาลชั่วช้าแบบนี้ไป ถ้าจะลงถนนผมไม่ขัดข้อง ถึงอายุ 78 ปีแล้ว จะเป็นการลงถนนครั้งสุดท้ายก่อนตายผมก็ยินดี และผมก็เชื่อว่าพี่น้องเยอะแยะ อย่างน้อยทุกคนที่บนโต๊ะนี้ ผมเชื่อว่าเอากับผมแน่นอน เอากับพวกเรากันแน่นอน เพราะฉะนั้นแล้วผมจะฝากถึงแพทองธาร ชินวัตร ภูมิธรรม เวชยชัย และทักษิณ ชินวัตร ว่าประวัติศาสตร์กำลังจะซ้ำรอยพวกคุณ" #Newskit
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 389 Views 0 Reviews
  • ประโยชน์ทับซ้อน 2 ผู้นำ กัมพูชาถอยไม่จริง : [THE MESSAGE]
    นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ประธานมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน เชื่อกัมพูชาถอยทางยุทธวิธี ยังไม่สามารถไว้ใจได้ ท่าทีกัมพูชายังเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงเศรษฐกิจไทย อีกทั้งยังประกาศว่าปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และสามเหลี่ยมมรกต เป็นของกัมพูชา จะนำเรื่องเข้าศาลโลก เรียกร้องให้รัฐบาลทำตาม 6 มาตรการ ดังนี้ 1.ไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก 2.ประท้วงอย่างเป็นทางการว่า 3 ปราสาทและ 1 ดินแดน เป็นของราชอาณาจักรไทย 3.ยกเลิกเอ็มโอยู 2543 เพื่อยกเลิกแผนที่ 1:200,000 4.ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 ใส่เส้นมัธยะตามหลักสากล 5.เพิ่มอำนาจต่อรอง ปิดด่าน และ 6.สนับสนุนให้กองทัพไทยประกาศกฎอัยการศึก เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนจากความผูกพันทางเครือญาตของผู้นำการเมืองทั้งสองประเทศ
    ประโยชน์ทับซ้อน 2 ผู้นำ กัมพูชาถอยไม่จริง : [THE MESSAGE] นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ประธานมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน เชื่อกัมพูชาถอยทางยุทธวิธี ยังไม่สามารถไว้ใจได้ ท่าทีกัมพูชายังเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงเศรษฐกิจไทย อีกทั้งยังประกาศว่าปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และสามเหลี่ยมมรกต เป็นของกัมพูชา จะนำเรื่องเข้าศาลโลก เรียกร้องให้รัฐบาลทำตาม 6 มาตรการ ดังนี้ 1.ไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก 2.ประท้วงอย่างเป็นทางการว่า 3 ปราสาทและ 1 ดินแดน เป็นของราชอาณาจักรไทย 3.ยกเลิกเอ็มโอยู 2543 เพื่อยกเลิกแผนที่ 1:200,000 4.ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 ใส่เส้นมัธยะตามหลักสากล 5.เพิ่มอำนาจต่อรอง ปิดด่าน และ 6.สนับสนุนให้กองทัพไทยประกาศกฎอัยการศึก เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนจากความผูกพันทางเครือญาตของผู้นำการเมืองทั้งสองประเทศ
    Like
    Love
    6
    0 Comments 0 Shares 449 Views 28 0 Reviews
  • กาสิโน กล่องดวงใจเขมร

    ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชารอบใหม่ เนื่องจากทหารกัมพูชาเผาศาลาตรีมุข ก่อนนำกำลังบุกยึดสามเหลี่ยมมรกต หรือมุมไบ ล้ำมาถึงช่องบกเข้าเขตดินแดนไทยด้าน อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ทำให้ทหารไทยยอมไม่ได้ เกิดการปะทะกันเมื่อวันที่ 28 พ.ค. ทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย ทหารไทยบาดเจ็บ 1 นาย ขณะที่รัฐบาลกัมพูชาเตรียมนำช่องบก ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาควาย ฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ให้ตกเป็นของกัมพูชา กระแสสังคมกดดันไปยังรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อย่างหนัก ด้วยข้อหาผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างตระกูลชินวัตร กับสมเด็จฯ ฮุนเซน

    ในที่สุดมาตรการทางทหารที่ออกมา โดยที่รัฐบาลไฟเขียวให้ทำหน้าที่อย่างเต็มกำลัง หนึ่งในนั้นคือการปิดด่านชายแดนไทย-กัมพูชา จำกัดการผ่านแดนเฉพาะบุคคลที่มีเหตุจำเป็น เช่น การค้าขาย การขนส่งสินค้า แรงงาน และงานจำเป็นอื่นๆ แต่ปิดตายห้ามนักท่องเที่ยวชาวไทย และนักพนันชาวไทยข้ามไปยังฝั่งกัมพูชา หนึ่งในนั้นคือด่านพรมแดนบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว กับฝั่งปอยเปต จังหวัดบันทายมีชัย ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา ปรับเวลาเปิดด่านเหลือ 4 โมงเย็น จากเดิม 4 ทุ่ม และห้ามนักท่องเที่ยวรวมถึงนักพนันชาวไทยออกนอกประเทศ ผลก็คือเกิดความโกลาหล ทั้งคนไทยที่ทำงานอยู่ในบ่อนกาสิโนฝั่งปอยเปต และชาวกัมพูชาเข้ามาค้าขายฝั่งไทย

    มาตรการควบคุมการเข้าออกด่าน และที่คาดว่าจะตามมา โดยเฉพาะการตัดกระแสไฟฟ้าที่ส่งไปยังฝั่งกัมพูชากระทบต่อธุรกิจกาสิโนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ที่กลุ่มเป้าหมายหลักคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้าไปเสี่ยงโชค และยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญของผู้มีอำนาจในกัมพูชาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ในที่สุด วันที่ 8 มิ.ย. พล.ท.สรัย ดึก รองผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการกองพลสนับสนุนที่ 3 กัมพูชา เชิญ พล.ต.สมภพ ภาระเวช ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี เข้าร่วมหารือฝ่ายทหารกัมพูชา ยอมถอนกำลังกลับไปยังจุดที่เคยประจำการอยู่เดิม และกลบคูเลตให้กลับคืนสู่สภาพธรรมชาติตามเดิม ตามข้อเสนอของฝ่ายไทย เพื่อเปิดทางให้ใช้กลไกระดับคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการพื้นที่ต่อไป

    ปัจจุบันตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา มีบ่อนกาสิโนให้บริการประมาณ 48 แห่ง ที่โดดเด่นที่สุดคือด่านปอยเปต มีกาสิโนให้บริการประมาณ 10 แห่ง โดยใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 5-6 ชั่วโมง นักเสี่ยงโชคส่วนใหญ่เป็นชาวไทย และชาวต่างชาติที่ถือหนังสือเดินทางต่างประเทศเท่านั้น เพราะรัฐบาลกัมพูชาไม่อนุญาตให้ชาวกัมพูชาเข้าไปเสี่ยงโชค ในปี 2566 สร้างรายได้ให้รัฐบาลกัมพูชาราว 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

    #Newskit
    กาสิโน กล่องดวงใจเขมร ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชารอบใหม่ เนื่องจากทหารกัมพูชาเผาศาลาตรีมุข ก่อนนำกำลังบุกยึดสามเหลี่ยมมรกต หรือมุมไบ ล้ำมาถึงช่องบกเข้าเขตดินแดนไทยด้าน อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ทำให้ทหารไทยยอมไม่ได้ เกิดการปะทะกันเมื่อวันที่ 28 พ.ค. ทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย ทหารไทยบาดเจ็บ 1 นาย ขณะที่รัฐบาลกัมพูชาเตรียมนำช่องบก ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาควาย ฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ให้ตกเป็นของกัมพูชา กระแสสังคมกดดันไปยังรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อย่างหนัก ด้วยข้อหาผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างตระกูลชินวัตร กับสมเด็จฯ ฮุนเซน ในที่สุดมาตรการทางทหารที่ออกมา โดยที่รัฐบาลไฟเขียวให้ทำหน้าที่อย่างเต็มกำลัง หนึ่งในนั้นคือการปิดด่านชายแดนไทย-กัมพูชา จำกัดการผ่านแดนเฉพาะบุคคลที่มีเหตุจำเป็น เช่น การค้าขาย การขนส่งสินค้า แรงงาน และงานจำเป็นอื่นๆ แต่ปิดตายห้ามนักท่องเที่ยวชาวไทย และนักพนันชาวไทยข้ามไปยังฝั่งกัมพูชา หนึ่งในนั้นคือด่านพรมแดนบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว กับฝั่งปอยเปต จังหวัดบันทายมีชัย ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา ปรับเวลาเปิดด่านเหลือ 4 โมงเย็น จากเดิม 4 ทุ่ม และห้ามนักท่องเที่ยวรวมถึงนักพนันชาวไทยออกนอกประเทศ ผลก็คือเกิดความโกลาหล ทั้งคนไทยที่ทำงานอยู่ในบ่อนกาสิโนฝั่งปอยเปต และชาวกัมพูชาเข้ามาค้าขายฝั่งไทย มาตรการควบคุมการเข้าออกด่าน และที่คาดว่าจะตามมา โดยเฉพาะการตัดกระแสไฟฟ้าที่ส่งไปยังฝั่งกัมพูชากระทบต่อธุรกิจกาสิโนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ที่กลุ่มเป้าหมายหลักคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้าไปเสี่ยงโชค และยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญของผู้มีอำนาจในกัมพูชาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ในที่สุด วันที่ 8 มิ.ย. พล.ท.สรัย ดึก รองผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการกองพลสนับสนุนที่ 3 กัมพูชา เชิญ พล.ต.สมภพ ภาระเวช ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี เข้าร่วมหารือฝ่ายทหารกัมพูชา ยอมถอนกำลังกลับไปยังจุดที่เคยประจำการอยู่เดิม และกลบคูเลตให้กลับคืนสู่สภาพธรรมชาติตามเดิม ตามข้อเสนอของฝ่ายไทย เพื่อเปิดทางให้ใช้กลไกระดับคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการพื้นที่ต่อไป ปัจจุบันตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา มีบ่อนกาสิโนให้บริการประมาณ 48 แห่ง ที่โดดเด่นที่สุดคือด่านปอยเปต มีกาสิโนให้บริการประมาณ 10 แห่ง โดยใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 5-6 ชั่วโมง นักเสี่ยงโชคส่วนใหญ่เป็นชาวไทย และชาวต่างชาติที่ถือหนังสือเดินทางต่างประเทศเท่านั้น เพราะรัฐบาลกัมพูชาไม่อนุญาตให้ชาวกัมพูชาเข้าไปเสี่ยงโชค ในปี 2566 สร้างรายได้ให้รัฐบาลกัมพูชาราว 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ #Newskit
    Like
    Haha
    2
    0 Comments 0 Shares 399 Views 0 Reviews
  • เขมรไม่ยอมหยุด! ยั่วยุเยาะเย้ย “ผู้การเนี๊ยะ” จากร้องเพลงปลุกใจ ในปราสาทตาเมือนธม สู่ยกพล 3 กองร้อย ประชิดพรมแดน

    สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากประเทศไทย เริ่มปราบปราม "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" อย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ที่มีเครือข่ายอยู่ในกัมพูชา

    แม้ว่าทางการกัมพูชา จะออกมาสนับสนุนไทยอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีเหตุการณ์ไม่สงบ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุรินทร์ และอุบลราชธานี

    และล่าสุด...

    เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2568 กองกำลังติดอาวุธทหารกัมพูชา จำนวน 3 กองร้อย รวม 528 นาย ได้เคลื่อนกำลังเข้าใกล้ชายแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อ้างว่า “พากำลังทหารมากราบไหว้ สักการะปราสาทตาเมือนธม” แต่กลับไม่มีการเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน หรือสิ่งของบูชาใด ๆ

    นี่คือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หรือเป็นมากกว่านั้น?

    พล.ต.เนี๊ยะ วงษ์ (Neak Vong) หรือผู้การเยี๊ยะ ผู้บังคับการกองพลน้อยทหารราบที่ 42 ของกัมพูชา เป็นตัวละครสำคัญในเหตุการณ์ครั้งนี้

    ย้อนรอยเหตุการณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด

    5 ตุลาคม 2567 ผู้การเนี๊ยะนำพระสงฆ์ และเด็กนักเรียนกัมพูชา เข้ามาในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม พร้อมร้องเพลงชาติกัมพูชา

    ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผู้การเนี๊ยะนำคณะแม่บ้าน 25 คน มาร้องเพลงปลุกใจ ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายไทย ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 2 กรมทหารราบที่ 23 กองทัพภาคที่ 2 ที่ประจำการรักษาอธิปไตยไทยในบริเวณนั้น ต้องกล่าวแจ้งเตือนไม่ให้ผู้การเนี้ยะ ทำกิจกรรมในเชิงสัญลักษณ์ สร้างความไม่พอใจให้ผู้การเนี๊ยะเป็นอย่างมาก ถึงขั้นโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หลุดปากกล่าวท้าทายทหารไทย "ให้มายิงกัน!"

    บ่ายวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15.00 น. นายเนียม จันญาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ได้นำคณะทหารกัมพูชา รวมถึงผู้การเนี๊ยะ เดินทางมาเจรจากับ พันโท จักรกฤษ ปิยะศุภฤกษ์ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 (ผบ.ร.23 พัน.4) ที่ปราสาทตาเมือนธม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ในกองทัพภูมิภาคที่ 4 กัมพูชา เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจจะด้วยความเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม

    วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2568 กองกำลังติดอาวุธ ทหารกัมพูชา 3 กองร้อย 528 นาย เคลื่อนพลมาประชิดพรมแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แล้วปลดอาวุธเดินข้ามพรมแดน อ้างว่ามากราบไหว้สักการะปราสาทตาเหมือนธม โดยที่ไม่มีการเตรียมธูปเทียนดอกไม้ หรือสิ่งของเซ่นไหว้มาด้วย จนคล้ายกับเป็นการยั่วยุเยาะเย้ยทหารไทย

    ฝ่ายไทยพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง โดยการเจรจาผ่านทางการทูต แต่กัมพูชากลับใช้วิธี ปลุกกระแสรักชาติในประเทศตนเอง

    แล้วอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของ “ผู้การเนี้ยะ” และรัฐบาลกัมพูชา?

    ปราสาทตาเมือนธม จุดยุทธศาสตร์และประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขต อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

    เป็นหนึ่งในปราสาทสำคัญ ของกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วย 3 ปราสาทหลัก ได้แก่
    1️⃣ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทหลักและใหญ่ที่สุด
    2️⃣ ปราสาทตาเมือนโต๊ด เชื่อว่าเคยเป็นโรงพยาบาลโบราณ
    3️⃣ ปราสาทตาเมือน หรือบายกรีม เป็นธรรมศาลา หรือสถานที่พักของนักเดินทาง

    ปราสาทแห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางโบราณ จากกัมพูชาสู่ภาคอีสานของไทย มีความสำคัญทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดน ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ

    นี่อาจเป็นเหตุผลที่กัมพูชา พยายามเข้ามาสร้างอิทธิพล ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม

    เบื้องหลังความขัดแย้ง การเมืองหรือศักดิ์ศรีชาติ? การเคลื่อนไหวของกัมพูชา ไม่ใช่แค่เรื่องประวัติศาสตร์หรือพรมแดน แต่นี่คือ "เกมการเมือง"

    เชื่อมโยงกับปัญหาการเมืองภายในของกัมพูชา ปัจจุบันรัฐบาล "ฮุน มาเนต" ลูกชายของฮุน เซน กำลังเผชิญแรงกดดันจากฝ่ายค้าน ที่ผ่านมา "ฮุน เซน" เคยใช้ประเด็นความขัดแย้งชายแดน ปลุกกระแสรักชาติ เพื่อรักษาอำนาจของตระกูลตนเอง การกระทำของผู้การเนี๊ยะ อาจเป็นแผนสร้างแรงสนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชา

    เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ไทย-กัมพูชา? ไทยและกัมพูชามีแผนขุดเจาะทรัพยากรน้ำมัน ในเขตทับซ้อนทางทะเล ข้อพิพาทชายแดน อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเจรจาต่อรอง ทางเศรษฐกิจและการเมือง

    หรือแท้จริงแล้ว นี่คือแผนของกัมพูชา ในการกดดันไทย?

    กัมพูชากำลังเล่นเกมอะไร? การกระทำของผู้การเนี๊ยะ และทหารกัมพูชา อาจเป็นเพียงแค่ หมากตัวหนึ่งของรัฐบาลกัมพูชา

    วิเคราะห์แนวทางที่เป็นไปได้ของกัมพูชา
    - สร้างกระแสรักชาติเพื่อดึงความสนใจ จากปัญหาการเมืองภายใน
    - กดดันไทยในประเด็นพรมแดน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเจรจาทางเศรษฐกิจ
    - ทดสอบปฏิกิริยาของรัฐบาลไทย ก่อนเดินเกมต่อไป

    ทางออกของไทยควรเป็นอย่างไร?
    รักษาความสัมพันธ์ทางการทูต หลีกเลี่ยงการใช้กำลัง
    เฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชา อย่างใกล้ชิด
    ใช้การเจรจาในระดับสูง เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ลุกลาม

    นี่คือเกมการเมือง หรือสงครามชายแดนรอบใหม่? ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด!

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090905 มี.ค. 2568

    #เขมรไม่หยุด #ตาเมือนธม #ชายแดนไทยกัมพูชา #สงครามชายแดน #ผู้การเนี้ยะ #กัมพูชา #ข่าวด่วน #ความขัดแย้งชายแดน #ไทยกัมพูชา #ปราสาทตาเมือน
    เขมรไม่ยอมหยุด! ยั่วยุเยาะเย้ย “ผู้การเนี๊ยะ” จากร้องเพลงปลุกใจ ในปราสาทตาเมือนธม สู่ยกพล 3 กองร้อย ประชิดพรมแดน 🔥 สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากประเทศไทย เริ่มปราบปราม "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" อย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ที่มีเครือข่ายอยู่ในกัมพูชา 🇰🇭 แม้ว่าทางการกัมพูชา จะออกมาสนับสนุนไทยอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีเหตุการณ์ไม่สงบ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุรินทร์ และอุบลราชธานี และล่าสุด... 💥 เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2568 กองกำลังติดอาวุธทหารกัมพูชา จำนวน 3 กองร้อย รวม 528 นาย ได้เคลื่อนกำลังเข้าใกล้ชายแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อ้างว่า “พากำลังทหารมากราบไหว้ สักการะปราสาทตาเมือนธม” แต่กลับไม่มีการเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน หรือสิ่งของบูชาใด ๆ 🔴 นี่คือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หรือเป็นมากกว่านั้น? 👤 พล.ต.เนี๊ยะ วงษ์ (Neak Vong) หรือผู้การเยี๊ยะ ผู้บังคับการกองพลน้อยทหารราบที่ 42 ของกัมพูชา เป็นตัวละครสำคัญในเหตุการณ์ครั้งนี้ 📌 ย้อนรอยเหตุการณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด 5 ตุลาคม 2567 ผู้การเนี๊ยะนำพระสงฆ์ และเด็กนักเรียนกัมพูชา เข้ามาในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม พร้อมร้องเพลงชาติกัมพูชา ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผู้การเนี๊ยะนำคณะแม่บ้าน 25 คน มาร้องเพลงปลุกใจ ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายไทย ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 2 กรมทหารราบที่ 23 กองทัพภาคที่ 2 ที่ประจำการรักษาอธิปไตยไทยในบริเวณนั้น ต้องกล่าวแจ้งเตือนไม่ให้ผู้การเนี้ยะ ทำกิจกรรมในเชิงสัญลักษณ์ สร้างความไม่พอใจให้ผู้การเนี๊ยะเป็นอย่างมาก ถึงขั้นโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หลุดปากกล่าวท้าทายทหารไทย "ให้มายิงกัน!" บ่ายวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15.00 น. นายเนียม จันญาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ได้นำคณะทหารกัมพูชา รวมถึงผู้การเนี๊ยะ เดินทางมาเจรจากับ พันโท จักรกฤษ ปิยะศุภฤกษ์ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 (ผบ.ร.23 พัน.4) ที่ปราสาทตาเมือนธม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ในกองทัพภูมิภาคที่ 4 กัมพูชา เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจจะด้วยความเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2568 กองกำลังติดอาวุธ ทหารกัมพูชา 3 กองร้อย 528 นาย เคลื่อนพลมาประชิดพรมแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แล้วปลดอาวุธเดินข้ามพรมแดน อ้างว่ามากราบไหว้สักการะปราสาทตาเหมือนธม โดยที่ไม่มีการเตรียมธูปเทียนดอกไม้ หรือสิ่งของเซ่นไหว้มาด้วย จนคล้ายกับเป็นการยั่วยุเยาะเย้ยทหารไทย 🇹🇭 ฝ่ายไทยพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง โดยการเจรจาผ่านทางการทูต แต่กัมพูชากลับใช้วิธี ปลุกกระแสรักชาติในประเทศตนเอง 🔴 แล้วอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของ “ผู้การเนี้ยะ” และรัฐบาลกัมพูชา? 📍 ปราสาทตาเมือนธม จุดยุทธศาสตร์และประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขต อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ 🏛️ เป็นหนึ่งในปราสาทสำคัญ ของกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วย 3 ปราสาทหลัก ได้แก่ 1️⃣ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทหลักและใหญ่ที่สุด 2️⃣ ปราสาทตาเมือนโต๊ด เชื่อว่าเคยเป็นโรงพยาบาลโบราณ 3️⃣ ปราสาทตาเมือน หรือบายกรีม เป็นธรรมศาลา หรือสถานที่พักของนักเดินทาง 🔎 ปราสาทแห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางโบราณ จากกัมพูชาสู่ภาคอีสานของไทย มีความสำคัญทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดน ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ 👉 นี่อาจเป็นเหตุผลที่กัมพูชา พยายามเข้ามาสร้างอิทธิพล ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม 🎭 เบื้องหลังความขัดแย้ง การเมืองหรือศักดิ์ศรีชาติ? การเคลื่อนไหวของกัมพูชา ไม่ใช่แค่เรื่องประวัติศาสตร์หรือพรมแดน แต่นี่คือ "เกมการเมือง" 📌 เชื่อมโยงกับปัญหาการเมืองภายในของกัมพูชา ปัจจุบันรัฐบาล "ฮุน มาเนต" ลูกชายของฮุน เซน กำลังเผชิญแรงกดดันจากฝ่ายค้าน ที่ผ่านมา "ฮุน เซน" เคยใช้ประเด็นความขัดแย้งชายแดน ปลุกกระแสรักชาติ เพื่อรักษาอำนาจของตระกูลตนเอง การกระทำของผู้การเนี๊ยะ อาจเป็นแผนสร้างแรงสนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชา 📌 เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ไทย-กัมพูชา? ไทยและกัมพูชามีแผนขุดเจาะทรัพยากรน้ำมัน ในเขตทับซ้อนทางทะเล ข้อพิพาทชายแดน อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเจรจาต่อรอง ทางเศรษฐกิจและการเมือง 🇰🇭 หรือแท้จริงแล้ว นี่คือแผนของกัมพูชา ในการกดดันไทย? 🔴 กัมพูชากำลังเล่นเกมอะไร? การกระทำของผู้การเนี๊ยะ และทหารกัมพูชา อาจเป็นเพียงแค่ หมากตัวหนึ่งของรัฐบาลกัมพูชา 📌 วิเคราะห์แนวทางที่เป็นไปได้ของกัมพูชา - สร้างกระแสรักชาติเพื่อดึงความสนใจ จากปัญหาการเมืองภายใน - กดดันไทยในประเด็นพรมแดน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเจรจาทางเศรษฐกิจ - ทดสอบปฏิกิริยาของรัฐบาลไทย ก่อนเดินเกมต่อไป 🇹🇭 ทางออกของไทยควรเป็นอย่างไร? ✅ รักษาความสัมพันธ์ทางการทูต หลีกเลี่ยงการใช้กำลัง ✅ เฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชา อย่างใกล้ชิด ✅ ใช้การเจรจาในระดับสูง เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ลุกลาม 🔥 นี่คือเกมการเมือง หรือสงครามชายแดนรอบใหม่? ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด! ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090905 มี.ค. 2568 #เขมรไม่หยุด #ตาเมือนธม #ชายแดนไทยกัมพูชา #สงครามชายแดน #ผู้การเนี้ยะ #กัมพูชา #ข่าวด่วน #ความขัดแย้งชายแดน #ไทยกัมพูชา #ปราสาทตาเมือน
    0 Comments 0 Shares 1433 Views 0 Reviews