'ฮุน มาเนต' นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พบคณะที่ปรึกษากฎหมายกรณีกัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ซึ่งนำทีมโดยศาสตราจารย์ฌอง มาร์ค โซเรล (Prof.Jean-Marc  Sorel) อาจารย์ชาวฝรั่งเศส จากมหาวิทยาลัยปารีส

นายฮุน มาเนต ระบุว่า การประชุมร่วมกันครั้งนี้เพื่อเดินหน้ากระบวนการนำ 4 พื้นที่พิพาท ได้แก่พื้นที่มอมเบย (ช่องบก) ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาควาย ยื่นต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice - ICJ)

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2025 ณ กรุงเฮก นาง Kimsour Sovannary เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำเนเธอร์แลนด์ซึ่งมีถิ่นพำนักในกรุงบรัสเซลส์ ได้ยื่นคำร้องของกัมพูชาต่อนาย Philippe Gautier นายทะเบียนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศด้วยตนเอง

.

รายงานของไทยพีบีเอสเมื่อปี 2556 ระบุว่า หากย้อนกลับไปในคดีตีความคำพิพากษากรณีปราสาทพระวิหาร ศาสตราจารย์ฌอง มาร์ค โซเรล คนนี้เป็นสมาชิกสำคัญในทีมที่ปรึกษาทางกฎหมาย ซึ่งมีส่วนช่วยให้กัมพูชาชนะในคดีตีความคำพิพากษาปี 2505 กรณีปราสาทพระวิหาร ซึ่งกลับมาพิจารณาในช่วงปี 2554-2556

ศาสตราจารย์ฌอง มาร์ค โซเรล ในฐานะทนายความฝ่ายกัมพูชา สู้คดีโดยอ้างในตอนนั้นว่า รัฐไทยตีความคำพิพากษาเข้าข้างตนเอง โดยใช้ท่าทีไม่เป็นมิตร ด้วยภาษาและคำพูดที่เสียดสี บิดเบือน เพื่อทำให้เห็นว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนของไทย ทั้งพยายามนำเรื่องเขตแดนและการพิพากษามารวมไว้เป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งที่เป็นคนละเรื่อง
'ฮุน มาเนต' นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พบคณะที่ปรึกษากฎหมายกรณีกัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ซึ่งนำทีมโดยศาสตราจารย์ฌอง มาร์ค โซเรล (Prof.Jean-Marc  Sorel) อาจารย์ชาวฝรั่งเศส จากมหาวิทยาลัยปารีส นายฮุน มาเนต ระบุว่า การประชุมร่วมกันครั้งนี้เพื่อเดินหน้ากระบวนการนำ 4 พื้นที่พิพาท ได้แก่พื้นที่มอมเบย (ช่องบก) ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาควาย ยื่นต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice - ICJ) เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2025 ณ กรุงเฮก นาง Kimsour Sovannary เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำเนเธอร์แลนด์ซึ่งมีถิ่นพำนักในกรุงบรัสเซลส์ ได้ยื่นคำร้องของกัมพูชาต่อนาย Philippe Gautier นายทะเบียนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศด้วยตนเอง . 👉รายงานของไทยพีบีเอสเมื่อปี 2556 ระบุว่า หากย้อนกลับไปในคดีตีความคำพิพากษากรณีปราสาทพระวิหาร ศาสตราจารย์ฌอง มาร์ค โซเรล คนนี้เป็นสมาชิกสำคัญในทีมที่ปรึกษาทางกฎหมาย ซึ่งมีส่วนช่วยให้กัมพูชาชนะในคดีตีความคำพิพากษาปี 2505 กรณีปราสาทพระวิหาร ซึ่งกลับมาพิจารณาในช่วงปี 2554-2556 👉ศาสตราจารย์ฌอง มาร์ค โซเรล ในฐานะทนายความฝ่ายกัมพูชา สู้คดีโดยอ้างในตอนนั้นว่า รัฐไทยตีความคำพิพากษาเข้าข้างตนเอง โดยใช้ท่าทีไม่เป็นมิตร ด้วยภาษาและคำพูดที่เสียดสี บิดเบือน เพื่อทำให้เห็นว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนของไทย ทั้งพยายามนำเรื่องเขตแดนและการพิพากษามารวมไว้เป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งที่เป็นคนละเรื่อง
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 123 มุมมอง 0 รีวิว