• วันนี้เรามาคุยกันถึงบทประพันธ์โบราณบทหนึ่งชื่อว่า ‘ฉางเหมินฟู่’ (长门赋) ซึ่งในละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> กล่าวถึงบ่อยครั้ง โดยหนึ่งในตัวละครเอกหยวนเซิ่นมักกล่าวอ้างอิงเพื่อเป็นคติสอนใจเกี่ยวกับความรักให้กับนางเอก

    ความมีอยู่ว่า...
    หยวนเซิ่นกล่าวอธิบาย “เรื่องเก็บหญิงงามในห้องทองคำกับบทกวีฉางเหมิน...วันนี้ห้องทองคำยังคงอยู่ ทว่าตำหนักฉางเหมินมิมีคนรักแล้ว เห็นได้ว่าสามีภรรยาในโลกหล้า เมื่อคราแรกพบต่างมีใจตรงกัน ยากจะพรากจากจึงมีบุพเพสันนิวาสนี้ แต่สุดท้ายเป็นเพียงรักที่จางหายรักสายเกินไป”
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> ตามซับไทย

    ‘ฉางเหมินฟู่’ เป็นบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่” และบทประพันธ์ ‘ซ่างหลินฟู่’ (Storyฯ เคยกล่าวถึงในหลายบทความแล้ว)

    Storyฯ ไม่อยากใช้คำว่า ‘บทกวี’ เพราะ ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ และซือหม่าเซียงหรูนี้เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญของบทประพันธ์ในรูปแบบ “ฟู่” นี้

    ‘ฉางเหมิน’ ในชื่อของบทประพันธ์นี้เป็นชื่อพระตำหนักของฮองเฮาเฉินอาเจียวในองค์ฮั่นอู่ตี้ (156-87 ปีก่อนคริสตกาล) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองฉางอัน โดยมีที่มาที่ไปสรุปเป็นเรื่องราวของฮองเฮาเฉินที่ไม่เป็นที่ทรงโปรดของฮั่นอู่ตี้ แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงจำใจอภิเษกด้วย เมื่ออำนาจทางการเมืองของพระนางอ่อนลงและทรงใช้เล่ห์กลให้ร้ายพระชายาและสนมรายอื่น ฮองเฮาเฉินก็ถูกกักบริเวณไว้ภายในพระตำหนักฉางเหมิน จึงทรงหาทางจ้างซือหม่าเซียงหรูแต่งบทประพันธ์นี้ขึ้น

    เนื้อหาของบทประพันธ์เป็นเรื่องราวความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวของฮองเฮาเฉินในพระตำหนักที่แสนจะเดียวดาย ทรงคอยชะเง้อหาแต่กลับเห็นพระสวามีมีความสุขกับสตรีอื่นทว่าไม่เคยย่างกรายมาเยี่ยมเยียนพระนาง ในยามที่ฝนตกฟ้าร้องก็ไร้ซึ่งผู้ใดเคียงข้าง ในพระตำหนักที่หรูหรากลับไร้ซึ่งเงาของคนรัก

    บทประพันธ์นี้ถูกองค์ฮองเฮาเฉินให้คนขับขานทั้งวัน แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ก็ยังไม่เคยทรงเหลียวแลพระนางอีกเลย ด้วยเนื้อหาของบทประพันธ์ทำให้มันถูกเรียกขานว่าเป็นจดหมายรักฉบับแรกในประวัติศาสตร์จีน และในเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> นี้ มันถูกใช้เป็นตัวอย่างของความรักที่ไม่ได้รับรักตอบแทน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://m.cyol.com/gb/articles/2022-08/04/content_449M3uWlp.html
    https://k.sina.cn/article_7069952700_1a566eabc00100yzo0.html
    https://baike.sogou.com/PicBooklet.v?imageGroupId=4666607&relateImageGroupIds=4666607&lemmaId=225502&category=#4666607_0
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5452fb360959.aspx
    https://baike.baidu.com/item/长门赋/3075468
    http://m.qulishi.com/news/201708/242962.html

    #ดาราจักรรักลำนำใจ #ฉางเหมินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู #เฉินอาเจียว #ฮ่านอู่ตี้



    วันนี้เรามาคุยกันถึงบทประพันธ์โบราณบทหนึ่งชื่อว่า ‘ฉางเหมินฟู่’ (长门赋) ซึ่งในละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> กล่าวถึงบ่อยครั้ง โดยหนึ่งในตัวละครเอกหยวนเซิ่นมักกล่าวอ้างอิงเพื่อเป็นคติสอนใจเกี่ยวกับความรักให้กับนางเอก ความมีอยู่ว่า... หยวนเซิ่นกล่าวอธิบาย “เรื่องเก็บหญิงงามในห้องทองคำกับบทกวีฉางเหมิน...วันนี้ห้องทองคำยังคงอยู่ ทว่าตำหนักฉางเหมินมิมีคนรักแล้ว เห็นได้ว่าสามีภรรยาในโลกหล้า เมื่อคราแรกพบต่างมีใจตรงกัน ยากจะพรากจากจึงมีบุพเพสันนิวาสนี้ แต่สุดท้ายเป็นเพียงรักที่จางหายรักสายเกินไป” - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> ตามซับไทย ‘ฉางเหมินฟู่’ เป็นบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่” และบทประพันธ์ ‘ซ่างหลินฟู่’ (Storyฯ เคยกล่าวถึงในหลายบทความแล้ว) Storyฯ ไม่อยากใช้คำว่า ‘บทกวี’ เพราะ ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ และซือหม่าเซียงหรูนี้เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญของบทประพันธ์ในรูปแบบ “ฟู่” นี้ ‘ฉางเหมิน’ ในชื่อของบทประพันธ์นี้เป็นชื่อพระตำหนักของฮองเฮาเฉินอาเจียวในองค์ฮั่นอู่ตี้ (156-87 ปีก่อนคริสตกาล) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองฉางอัน โดยมีที่มาที่ไปสรุปเป็นเรื่องราวของฮองเฮาเฉินที่ไม่เป็นที่ทรงโปรดของฮั่นอู่ตี้ แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงจำใจอภิเษกด้วย เมื่ออำนาจทางการเมืองของพระนางอ่อนลงและทรงใช้เล่ห์กลให้ร้ายพระชายาและสนมรายอื่น ฮองเฮาเฉินก็ถูกกักบริเวณไว้ภายในพระตำหนักฉางเหมิน จึงทรงหาทางจ้างซือหม่าเซียงหรูแต่งบทประพันธ์นี้ขึ้น เนื้อหาของบทประพันธ์เป็นเรื่องราวความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวของฮองเฮาเฉินในพระตำหนักที่แสนจะเดียวดาย ทรงคอยชะเง้อหาแต่กลับเห็นพระสวามีมีความสุขกับสตรีอื่นทว่าไม่เคยย่างกรายมาเยี่ยมเยียนพระนาง ในยามที่ฝนตกฟ้าร้องก็ไร้ซึ่งผู้ใดเคียงข้าง ในพระตำหนักที่หรูหรากลับไร้ซึ่งเงาของคนรัก บทประพันธ์นี้ถูกองค์ฮองเฮาเฉินให้คนขับขานทั้งวัน แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ก็ยังไม่เคยทรงเหลียวแลพระนางอีกเลย ด้วยเนื้อหาของบทประพันธ์ทำให้มันถูกเรียกขานว่าเป็นจดหมายรักฉบับแรกในประวัติศาสตร์จีน และในเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> นี้ มันถูกใช้เป็นตัวอย่างของความรักที่ไม่ได้รับรักตอบแทน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://m.cyol.com/gb/articles/2022-08/04/content_449M3uWlp.html https://k.sina.cn/article_7069952700_1a566eabc00100yzo0.html https://baike.sogou.com/PicBooklet.v?imageGroupId=4666607&relateImageGroupIds=4666607&lemmaId=225502&category=#4666607_0 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5452fb360959.aspx https://baike.baidu.com/item/长门赋/3075468 http://m.qulishi.com/news/201708/242962.html #ดาราจักรรักลำนำใจ #ฉางเหมินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู #เฉินอาเจียว #ฮ่านอู่ตี้ 
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 224 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ
    จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”...
    - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
    (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’?

    ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯)

    ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน

    แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว

    ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง

    หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ

    เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก

    วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3
    https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000
    http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html
    https://www.sohu.com/a/410514175_189939

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย ความมีอยู่ว่า ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”... - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’? ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯) ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3 https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000 http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html https://www.sohu.com/a/410514175_189939 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    MERCURY0314.PIXNET.NET
    《錦衣之下》分集劇情+心得分享(第1-55集大結局劇情)任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、姚奕辰、路宏主演,劇情角色演員介紹,根據藍色獅的同名小說改編,將「懸疑推理」與「古裝言情」相結合,一下夫婦劇中高甜互動,十分引人期待!
    錦衣之下 任嘉倫譚松韻主演 2019年末古裝大劇接連播出, 真的是讓人追劇追到上頭了, 這不又有一波優質古裝劇要開播, 那就是任嘉倫、譚松韻主演的 《錦衣之下》。 其實這部早在2018年
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 429 มุมมอง 0 รีวิว
  • **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 900 มุมมอง 0 รีวิว
  • สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’

    เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง

    ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์)

    แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้

    มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า
    – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ
    – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า
    – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป

    เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’

    ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ

    เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272
    https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html
    http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm
    https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000
    http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/
    https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00

    #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’ เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้ มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272 https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000 http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/ https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00 #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    《大宋宫词》评分下滑惨烈,古装剧只有唯美画风是不够的_百科TA说
    百度百科是一部内容开放、自由的网络百科全书,旨在创造一个涵盖所有领域知识,服务所有互联网用户的中文知识性百科全书。在这里你可以参与词条编辑,分享贡献你的知识。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 659 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยในเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งเคยถามมา สืบเนื่องจากเราเห็นละครจีนโบราณหลายเรื่องมีการกินน้ำแกงคุมกำเนิดหรือแม้แต่น้ำแกงที่ทำให้แท้งลูก อย่างตัวอย่างในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่หนึ่งในตัวละครหลักคืออนุฉินถูกบังคับให้กินน้ำแกงคุมกำเนิดมาตลอดจนภายหลังเมื่อตั้งครรภ์ก็แท้งลูกและไม่สามารถมีลูกได้อีก คำถามคือ มียาอย่างนี้จริงๆ หรือ?

    คำตอบคือ ‘น่าจะมี’ เพราะมีสูตรยาจีนโบราณหลายฉบับที่สืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน เพียงแต่ว่าไม่มีใครออกมายืนยันว่าได้ทดลองและได้ผลจริง สาเหตุก็เพราะว่าปัจจุบันมีวิธีและยาคุมกำเนิดหลากหลาย และยาสูตรโบราณเหล่านี้อาจมีผลร้ายในระยะยาวต่อร่างกายได้ ดังเช่นที่ตำรายาจีนโบราณเคยกล่าวไว้ว่า ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ (是药三分毒) อันหมายความว่า ยาอาจให้คุณและให้โทษได้

    จีนโบราณมีวิธีคุมกำเนิดหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการกินน้ำแกงป้องกันการมีบุตร (ปี้จื่อทั้ง / 避子汤) หรือสูตรยาที่หยุดครรภ์ (ต้วนฉ่านฟ้าง / 断产方) อย่างเช่นใน ‘ตำราครรภ์’ ของเต๋อเจิ๊นฉางในสมัยสุย-ถัง หรือ ‘สูตรยาสำคัญของสตรี’ ของซุ้นซื้อเหมี่ยว แพทย์สมัยถังที่เลื่องชื่อในประวัติศาสตร์จีน

    เท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลได้ พบว่ามีสูตรหลากหลาย แต่พอจะสรุปจากตัวยาหลักได้ว่าสรรพคุณโดยรวมของยาคุมกำเนิดและยาหยุดครรภ์เหล่านี้ก็คือ การเพิ่มฤทธิ์ธาตุหยิน (หรือฤทธิ์เย็น) ภายในร่างกาย และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ขับลม ขับเลือดเสีย ซึ่งมียาสมุนไพรจีนหลายตัวที่ให้สรรพคุณเหล่านี้ และหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายจะใช้เป็นยารักษาหรือยาบำรุงได้ เช่นว่า โบราณใช้เป็นยาก่อนตั้งครรภ์เพื่อล้างมดลูกให้สะอาดและบำรุงชี่ปรับสภาพร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น และยาหลังคลอดบุตรหรือหลังประจำเดือนหมดเพื่อขับเลือดเสียที่เกาะอยู่บนผนังมดลูกออกมา ตัวอย่างของยาที่อยู่ในกลุ่มประเภทนี้ก็มีหลายชนิด (ดูรูปตัวอย่าง) เช่น ต่อมหางกวางชะมด ดอกคำฝอย ชวนเกียง น้ำมันที่สกัดจากผักกาดก้านขาว (canola oil) เป็นต้น แน่นอนว่าสูตรยาแต่ละขนานจะประกอบด้วยตัวยาหลากชนิด จึงอาจมีสรรพคุณในด้านอื่นด้วย เช่น ขับลม ลดสภาวะอักเสบในร่างกาย ลดการจับตัวของไขมัน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น เป็นต้น

    แต่ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ หากรับประทานต่อเนื่องระยะยาวอาจทำให้มีภาวะโลหิตจาง ร่างกายอ่อนเพลียง่าย มดลูกทำงานไม่ปกติและประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และหากรับประทานในช่วงตั้งครรภ์จะขับลิ่มเลือดและทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้งลูกได้ ยกตัวอย่างคือดอกคำฝอย เพื่อนเพจที่ดื่มชาดอกคำฝอยจะทราบดีถึงคำเตือนว่าห้ามดื่มในระหว่างตั้งครรภ์

    เพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับยาสมุนไพรและยาจีนจะทราบว่า ยาเหล่านี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลดังที่ต้องการ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหารอย่างอื่นที่เรารับประทานว่ามีฤทธิค้านกัน หรือมีฤทธิเสริมกันแรงเกินไปหรือไม่ และขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน

    ดังนั้นยาสูตร ‘ปี้จื่อทั้ง’ หรือ ‘ต้วนฉ่านฟ้าง’ ที่สืบทอดมาแต่โบราณเหล่านี้ จะออกฤทธิ์ทันควันเหมือนที่เราเห็นในละครหรือไม่? หรือว่าออกฤทธิ์ได้จริงแบบที่เห็นในละครหรือไม่? Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ และไม่มีความรู้ลึกซึ้งถึงการรักษาแบบแผนจีนพอที่จะให้ความเห็น แต่ด้วยหลักการ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ เราจึงมักเห็นพล็อตละคร/นิยายที่มีการปรับสัดส่วนของสมุนไพรในสูตรยาหรือเพิ่มยาตัวอื่นเข้าไปให้กลายเป็นพิษนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://inf.news/entertainment/b6ddc93cc4f9a720bf5c3fd752c4e1b9.html
    https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802
    https://www.sohu.com/a/251057863_100011360
    https://www.sohu.com/a/249476484_242776
    https://www.sohu.com/a/525891685_121119111
    https://www.huachiewtcm.com/content/8036/ชวนซฺยง-川芎-ข้อมูลสมุนไพรจีน
    https://baike.baidu.com/item/红花/16556131
    https://zh.wikipedia.org/zh-hant/麝香

    #ร้อยรักปักดวงใจ #ปี้จื่อทัง #น้ำแกงห้ามลูก #สมุนไพรในละครจีน
    วันนี้มาคุยในเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งเคยถามมา สืบเนื่องจากเราเห็นละครจีนโบราณหลายเรื่องมีการกินน้ำแกงคุมกำเนิดหรือแม้แต่น้ำแกงที่ทำให้แท้งลูก อย่างตัวอย่างในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่หนึ่งในตัวละครหลักคืออนุฉินถูกบังคับให้กินน้ำแกงคุมกำเนิดมาตลอดจนภายหลังเมื่อตั้งครรภ์ก็แท้งลูกและไม่สามารถมีลูกได้อีก คำถามคือ มียาอย่างนี้จริงๆ หรือ? คำตอบคือ ‘น่าจะมี’ เพราะมีสูตรยาจีนโบราณหลายฉบับที่สืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน เพียงแต่ว่าไม่มีใครออกมายืนยันว่าได้ทดลองและได้ผลจริง สาเหตุก็เพราะว่าปัจจุบันมีวิธีและยาคุมกำเนิดหลากหลาย และยาสูตรโบราณเหล่านี้อาจมีผลร้ายในระยะยาวต่อร่างกายได้ ดังเช่นที่ตำรายาจีนโบราณเคยกล่าวไว้ว่า ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ (是药三分毒) อันหมายความว่า ยาอาจให้คุณและให้โทษได้ จีนโบราณมีวิธีคุมกำเนิดหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการกินน้ำแกงป้องกันการมีบุตร (ปี้จื่อทั้ง / 避子汤) หรือสูตรยาที่หยุดครรภ์ (ต้วนฉ่านฟ้าง / 断产方) อย่างเช่นใน ‘ตำราครรภ์’ ของเต๋อเจิ๊นฉางในสมัยสุย-ถัง หรือ ‘สูตรยาสำคัญของสตรี’ ของซุ้นซื้อเหมี่ยว แพทย์สมัยถังที่เลื่องชื่อในประวัติศาสตร์จีน เท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลได้ พบว่ามีสูตรหลากหลาย แต่พอจะสรุปจากตัวยาหลักได้ว่าสรรพคุณโดยรวมของยาคุมกำเนิดและยาหยุดครรภ์เหล่านี้ก็คือ การเพิ่มฤทธิ์ธาตุหยิน (หรือฤทธิ์เย็น) ภายในร่างกาย และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ขับลม ขับเลือดเสีย ซึ่งมียาสมุนไพรจีนหลายตัวที่ให้สรรพคุณเหล่านี้ และหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายจะใช้เป็นยารักษาหรือยาบำรุงได้ เช่นว่า โบราณใช้เป็นยาก่อนตั้งครรภ์เพื่อล้างมดลูกให้สะอาดและบำรุงชี่ปรับสภาพร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น และยาหลังคลอดบุตรหรือหลังประจำเดือนหมดเพื่อขับเลือดเสียที่เกาะอยู่บนผนังมดลูกออกมา ตัวอย่างของยาที่อยู่ในกลุ่มประเภทนี้ก็มีหลายชนิด (ดูรูปตัวอย่าง) เช่น ต่อมหางกวางชะมด ดอกคำฝอย ชวนเกียง น้ำมันที่สกัดจากผักกาดก้านขาว (canola oil) เป็นต้น แน่นอนว่าสูตรยาแต่ละขนานจะประกอบด้วยตัวยาหลากชนิด จึงอาจมีสรรพคุณในด้านอื่นด้วย เช่น ขับลม ลดสภาวะอักเสบในร่างกาย ลดการจับตัวของไขมัน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น เป็นต้น แต่ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ หากรับประทานต่อเนื่องระยะยาวอาจทำให้มีภาวะโลหิตจาง ร่างกายอ่อนเพลียง่าย มดลูกทำงานไม่ปกติและประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และหากรับประทานในช่วงตั้งครรภ์จะขับลิ่มเลือดและทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้งลูกได้ ยกตัวอย่างคือดอกคำฝอย เพื่อนเพจที่ดื่มชาดอกคำฝอยจะทราบดีถึงคำเตือนว่าห้ามดื่มในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับยาสมุนไพรและยาจีนจะทราบว่า ยาเหล่านี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลดังที่ต้องการ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหารอย่างอื่นที่เรารับประทานว่ามีฤทธิค้านกัน หรือมีฤทธิเสริมกันแรงเกินไปหรือไม่ และขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ดังนั้นยาสูตร ‘ปี้จื่อทั้ง’ หรือ ‘ต้วนฉ่านฟ้าง’ ที่สืบทอดมาแต่โบราณเหล่านี้ จะออกฤทธิ์ทันควันเหมือนที่เราเห็นในละครหรือไม่? หรือว่าออกฤทธิ์ได้จริงแบบที่เห็นในละครหรือไม่? Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ และไม่มีความรู้ลึกซึ้งถึงการรักษาแบบแผนจีนพอที่จะให้ความเห็น แต่ด้วยหลักการ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ เราจึงมักเห็นพล็อตละคร/นิยายที่มีการปรับสัดส่วนของสมุนไพรในสูตรยาหรือเพิ่มยาตัวอื่นเข้าไปให้กลายเป็นพิษนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://inf.news/entertainment/b6ddc93cc4f9a720bf5c3fd752c4e1b9.html https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802 https://www.sohu.com/a/251057863_100011360 https://www.sohu.com/a/249476484_242776 https://www.sohu.com/a/525891685_121119111 https://www.huachiewtcm.com/content/8036/ชวนซฺยง-川芎-ข้อมูลสมุนไพรจีน https://baike.baidu.com/item/红花/16556131 https://zh.wikipedia.org/zh-hant/麝香 #ร้อยรักปักดวงใจ #ปี้จื่อทัง #น้ำแกงห้ามลูก #สมุนไพรในละครจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 580 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยต่อกับสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่สิบเอ็ดที่จะคุยกันวันนี้คือภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปที่ตำหนักจิ่งหยางกง ซึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงภายหลังจากการซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่โดยองค์คังซีแล้ว ถูกใช้เป็นที่เก็บงานศิลปะ ไม่เคยเป็นที่ประทับของพระสนมหรือมเหสี

    หม่าฮองเฮาที่กล่าวถึงนี้คือ ฮองเฮาหมิงเต๋อ พระมเหสีในองค์หมิงตี้ (ค.ศ. 26-75) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของพระนางคือแม่ทัพหม่าหยวน หนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ พระราชบิดาขององค์หมิงตี้

    ไม่ปรากฏนามเดิมของหม่าฮองเฮาในบันทึกประวัติศาสตร์ มีเพียงกล่าวถึงว่า นางเสียบิดาและพี่ชายไปเมื่อยังเยาว์วัยในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ มารดาตรอมใจจนป่วยหนัก นางดูแลเรือนตระกูลหม่าแทนแม่ตั้งแต่อายุได้เพียงสิบขวบ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    พ่อของหม่าฮองเฮาถูกใส่ร้ายป้ายสีหลังจากเสียชีวิตกลางสนามรบ ตระกูลของนางตกต่ำ แต่สุดท้ายพี่ชายของนาง (ลูกของน้าชายของนาง) อาศัยผลงานความดีความชอบและความสัมพันธ์ด้านฝ่ายในของตระกูลหม่าที่มีมาหลายชั่วอายุคน ขอให้กวงอู่ตี้รับหนึ่งในลูกสาวสามคนของแม่ทัพหม่าหยวนเข้าวัง สุดท้ายเป็นลูกสาวคนเล็กที่ได้รับเลือกเข้าไปรับใช้ในพระตำหนักขององค์ชายรัชทายาทโดยไม่ได้มีการแต่งตั้งยศศักดิ์อะไร นางปรนนิบัติหลิวจวงอีกทั้งฮองเฮาและเหล่าพระภรรยาอย่างใกล้ชิดจนได้รับความเอ็นดูเป็นอย่างดี

    เมื่อองค์หลิวจวงขึ้นครองราชย์ นางได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน นางไม่มีบุตร แต่เพราะเป็นคนที่นิสัยอ่อนโยนมีการศึกษาดี ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น นางจึงได้รับมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกชายจากภรรยาอื่นของฮั่นหมิงตี้คือเด็กชายหลิวต๋า (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นจางตี้) จวบจนสามปีให้หลังจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาภายใต้การเสนอชื่อของไทเฮา

    เป็นที่กล่าวขานว่านางมีความรู้ความรอบคอบ หลายครั้งที่ฮั่นหมิงตี้ให้นางช่วยดูและให้ความเห็นต่อฎีกา นางก็ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี จึงเป็นที่ชื่นชมและโปรดปรานของฮั่นหมิงตี้ ต่อมาในรัชสมัยของฮั่นจางตี้ นางยังคงช่วยให้คำปรึกษาที่ดีต่อฮั่นจางตี้ในเรื่องการบริหารบ้านเมือง

    นางขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในฮองเฮาที่วางตัวได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีน และไม่เคยใช้อิทธิพลเกื้อหนุนตระกูลหม่า มีตัวอย่างว่า นางได้เสนอให้ลบชื่อพี่ชายของตนออกจากบันทึกคุณงามความดีของข้าราชสำนักเดิมตอนสมัยผัดเปลี่ยนรัชสมัยมาเป็นฮั่นจางตี้ อีกทั้งคัดค้านไม่ให้คนในตระกูลหม่ารับอิสริยยศ โดยให้เหตุผลต่อฮั่นจางตี้ว่า ไม่ต้องการให้ชนรุ่นหลังมองว่าเหล่าขุนนางสูงศักดิ์ที่ล้อมรอบฮั่นจางตี้ล้วนเป็นคนที่เกี่ยวดองกันในวังหลัง นางเตือนสติฮั่นจางตี้ว่า การให้อิสริยยศกับคนต่างสกุลต้องทำด้วยความรอบคอบ ผลงานของเหล่าข้าราชสำนักล้วนเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลให้มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น

    เพราะนาง คนในตระกูลหม่าปฏิเสธที่จะรับยศโหว แม้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ปฏิเสธไม่รับพื้นที่การปกครอง และสุดท้ายก็ลาออกจากตำแหน่งในที่สุด

    หม่าฮองเฮาริเริ่มให้มีการจัดทำบันทึกที่เรียกว่า ‘ฉี่จวีจู้’ (起居注) ซึ่งจริงๆ ก็คือไดอารี่บันทึกกิจวัตรประจำวันของฮ่องเต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบหนึ่งของวิธีบันทึกประวัติศาสตร์ในวัง และเป็นเอกสารสำคัญให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา นางจึงถูกยกย่องให้เป็นนักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน

    นอกจากนี้นางยังขึ้นชื่อว่าเป็นคนประหยัด ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นเขียนไว้ว่า เสื้อผ้าของนางล้วนตัดเย็บจากผ้าเนื้อหยาบต้มจนนิ่ม กระโปรงไม่เย็บแถบชาย เป็นการแต่งกายที่ไม่แตกต่างจากชาวบ้านธรรมดา เมื่อสนมนางในถาม นางให้เหตุผลว่าผ้าเนื้อหยาบที่หาได้ง่ายกว่าผ้าไหมและย้อมสีได้ดีกว่า ว่ากันว่า นางคือฮองเฮาคนแรกที่แต่งกายอย่างนี้ และนี่คือเรื่องราวหลังภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (หมายเหตุ ‘เลี่ยนอี’ คือการทำเสื้อผ้าจากผ้าเนื้อหยาบ)

    ภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึง มัธยัสถ์ และป้ายอักษรที่ถูกพระราชทานไปคู่กันเขียนว่า ‘โหรวเจียซู่จิ้ง’ (柔嘉肃静) แปลได้ประมาณว่า อ่อนโยนอ่อนหวาน สุขุมเงียบสงบ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/43223996
    https://www.sohu.com/a/279050528_100018792
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/明德皇后/29800
    https://www.gugong.net/wenhua/40018.html
    http://www.qulishi.com/renwu/mingdemahuanghou/
    https://www.163.com/dy/article/G087N9E10541M2R8.html
    https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100loe0.html

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #หม่าโฮ่ว #ฮั่นหมิงตี้ #หมิงเต๋อหวงโฮ่ว #กงซวิ่นถู
    วันนี้มาคุยต่อกับสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่สิบเอ็ดที่จะคุยกันวันนี้คือภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปที่ตำหนักจิ่งหยางกง ซึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงภายหลังจากการซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่โดยองค์คังซีแล้ว ถูกใช้เป็นที่เก็บงานศิลปะ ไม่เคยเป็นที่ประทับของพระสนมหรือมเหสี หม่าฮองเฮาที่กล่าวถึงนี้คือ ฮองเฮาหมิงเต๋อ พระมเหสีในองค์หมิงตี้ (ค.ศ. 26-75) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของพระนางคือแม่ทัพหม่าหยวน หนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ พระราชบิดาขององค์หมิงตี้ ไม่ปรากฏนามเดิมของหม่าฮองเฮาในบันทึกประวัติศาสตร์ มีเพียงกล่าวถึงว่า นางเสียบิดาและพี่ชายไปเมื่อยังเยาว์วัยในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ มารดาตรอมใจจนป่วยหนัก นางดูแลเรือนตระกูลหม่าแทนแม่ตั้งแต่อายุได้เพียงสิบขวบ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) พ่อของหม่าฮองเฮาถูกใส่ร้ายป้ายสีหลังจากเสียชีวิตกลางสนามรบ ตระกูลของนางตกต่ำ แต่สุดท้ายพี่ชายของนาง (ลูกของน้าชายของนาง) อาศัยผลงานความดีความชอบและความสัมพันธ์ด้านฝ่ายในของตระกูลหม่าที่มีมาหลายชั่วอายุคน ขอให้กวงอู่ตี้รับหนึ่งในลูกสาวสามคนของแม่ทัพหม่าหยวนเข้าวัง สุดท้ายเป็นลูกสาวคนเล็กที่ได้รับเลือกเข้าไปรับใช้ในพระตำหนักขององค์ชายรัชทายาทโดยไม่ได้มีการแต่งตั้งยศศักดิ์อะไร นางปรนนิบัติหลิวจวงอีกทั้งฮองเฮาและเหล่าพระภรรยาอย่างใกล้ชิดจนได้รับความเอ็นดูเป็นอย่างดี เมื่อองค์หลิวจวงขึ้นครองราชย์ นางได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน นางไม่มีบุตร แต่เพราะเป็นคนที่นิสัยอ่อนโยนมีการศึกษาดี ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น นางจึงได้รับมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกชายจากภรรยาอื่นของฮั่นหมิงตี้คือเด็กชายหลิวต๋า (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นจางตี้) จวบจนสามปีให้หลังจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาภายใต้การเสนอชื่อของไทเฮา เป็นที่กล่าวขานว่านางมีความรู้ความรอบคอบ หลายครั้งที่ฮั่นหมิงตี้ให้นางช่วยดูและให้ความเห็นต่อฎีกา นางก็ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี จึงเป็นที่ชื่นชมและโปรดปรานของฮั่นหมิงตี้ ต่อมาในรัชสมัยของฮั่นจางตี้ นางยังคงช่วยให้คำปรึกษาที่ดีต่อฮั่นจางตี้ในเรื่องการบริหารบ้านเมือง นางขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในฮองเฮาที่วางตัวได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีน และไม่เคยใช้อิทธิพลเกื้อหนุนตระกูลหม่า มีตัวอย่างว่า นางได้เสนอให้ลบชื่อพี่ชายของตนออกจากบันทึกคุณงามความดีของข้าราชสำนักเดิมตอนสมัยผัดเปลี่ยนรัชสมัยมาเป็นฮั่นจางตี้ อีกทั้งคัดค้านไม่ให้คนในตระกูลหม่ารับอิสริยยศ โดยให้เหตุผลต่อฮั่นจางตี้ว่า ไม่ต้องการให้ชนรุ่นหลังมองว่าเหล่าขุนนางสูงศักดิ์ที่ล้อมรอบฮั่นจางตี้ล้วนเป็นคนที่เกี่ยวดองกันในวังหลัง นางเตือนสติฮั่นจางตี้ว่า การให้อิสริยยศกับคนต่างสกุลต้องทำด้วยความรอบคอบ ผลงานของเหล่าข้าราชสำนักล้วนเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลให้มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น เพราะนาง คนในตระกูลหม่าปฏิเสธที่จะรับยศโหว แม้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ปฏิเสธไม่รับพื้นที่การปกครอง และสุดท้ายก็ลาออกจากตำแหน่งในที่สุด หม่าฮองเฮาริเริ่มให้มีการจัดทำบันทึกที่เรียกว่า ‘ฉี่จวีจู้’ (起居注) ซึ่งจริงๆ ก็คือไดอารี่บันทึกกิจวัตรประจำวันของฮ่องเต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบหนึ่งของวิธีบันทึกประวัติศาสตร์ในวัง และเป็นเอกสารสำคัญให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา นางจึงถูกยกย่องให้เป็นนักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน นอกจากนี้นางยังขึ้นชื่อว่าเป็นคนประหยัด ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นเขียนไว้ว่า เสื้อผ้าของนางล้วนตัดเย็บจากผ้าเนื้อหยาบต้มจนนิ่ม กระโปรงไม่เย็บแถบชาย เป็นการแต่งกายที่ไม่แตกต่างจากชาวบ้านธรรมดา เมื่อสนมนางในถาม นางให้เหตุผลว่าผ้าเนื้อหยาบที่หาได้ง่ายกว่าผ้าไหมและย้อมสีได้ดีกว่า ว่ากันว่า นางคือฮองเฮาคนแรกที่แต่งกายอย่างนี้ และนี่คือเรื่องราวหลังภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (หมายเหตุ ‘เลี่ยนอี’ คือการทำเสื้อผ้าจากผ้าเนื้อหยาบ) ภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึง มัธยัสถ์ และป้ายอักษรที่ถูกพระราชทานไปคู่กันเขียนว่า ‘โหรวเจียซู่จิ้ง’ (柔嘉肃静) แปลได้ประมาณว่า อ่อนโยนอ่อนหวาน สุขุมเงียบสงบ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/43223996 https://www.sohu.com/a/279050528_100018792 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/明德皇后/29800 https://www.gugong.net/wenhua/40018.html http://www.qulishi.com/renwu/mingdemahuanghou/ https://www.163.com/dy/article/G087N9E10541M2R8.html https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100loe0.html #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #หม่าโฮ่ว #ฮั่นหมิงตี้ #หมิงเต๋อหวงโฮ่ว #กงซวิ่นถู
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 668 มุมมอง 0 รีวิว
  • การเก็บมุกในจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ ผ่านบทความยาวๆ กันมาหลายสัปดาห์ วันนี้มาคุยกันสั้นหน่อยเกี่ยวกับการเก็บมุก เพื่อนเพจที่ได้ดู <ม่านมุกม่านหยก> คงจะจำได้ถึงเรื่องราวตอนเปิดเรื่องที่นางเอกเป็นทาสเก็บมุก และในฉากดำน้ำเก็บมุกจะเห็นว่าทาสเก็บมุกทุกคนมีถุงทรายช่วยถ่วงให้ลงน้ำได้เร็วขึ้น แต่ทุกคนดำน้ำได้ลึกมากและอึดมากจนอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่าในสมัยก่อนเขาดำน้ำเก็บมุกกันอย่างนี้จริงๆ หรือ

    การดำน้ำเก็บมุกมีมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏชัด แต่ไข่มุกเป็นของบรรณาการที่ต้องส่งเข้าวังมาแต่โบราณโดยในสมัยฉินมีการกล่าวถึงอย่างชัดเจน และในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีการกล่าวถึงการเก็บมุกในฝั่งทะเลตอนใต้ในเขตการปกครองที่เรียกว่า ‘เหอผู่’ ปัจจุบันคือแถบตอนใต้ของมณฑลก่วงซี ว่ากันว่าชาวบ้านในแถบพื้นที่นั้นไม่มีอาชีพอื่นเลยนอกจากเก็บมุก และเด็กเริ่มฝึกลงทะเลดำน้ำตั้งแต่อายุสิบขวบ

    การเก็บมุกในทะเลมีมาเรื่อยตลอดทุกยุคสมัย ยกเว้นในสมัยซ่งที่มีการประกาศห้ามลงทะเลเก็บมุกเพราะอันตรายเกินไปและมีการพัฒนามุกน้ำจืดและเรือเก็บหอยมุก แต่เมื่อพ้นสมัยซ่งก็กลับมาใช้คนลงทะเลเก็บมุกกันอีก โดยเฉพาะในสมัยหมิงการเก็บมุกทำกันอย่างขยันขันแข็ง มีคนเก็บมุกกว่าแปดพันคน จนทำให้จำนวนมุกที่เก็บได้มากสุดและจำนวนคนเก็บมุกตายมากสุดในประวัติศาสตร์จีน ทำเอามุกทะเลธรรมชาติร่อยหรอจนในสมัยชิงหันมาใช้ ‘มุกตะวันออก’ ซึ่งก็คือมุกน้ำจืดที่เก็บจากบริเวณแม่น้ำซงหัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

    ว่ากันว่ากรรมวิธีการดำน้ำเก็บมุกในทะเลไม่ได้เปลี่ยนไปมากตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมัน แต่เอกสารบรรยายเกี่ยวกับวิธีการเก็บมุกมีน้อยมาก และเอกสารที่คนมักใช้อ้างอิงคือบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 หนังสือเล่มนี้บรรยายถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเก็บมุกด้วย

    จริงๆ แล้ว ‘เทียนกงคายอู้’ เป็นเอกสารบรรยาย แต่ต่อมามีคนอิงเอกสารนี้จัดวาดเป็นภาพขึ้นในหลากหลายเวอร์ชั่น Storyฯ เอาเวอร์ชั่นที่คนส่วนใหญ่อ้างอิงเพราะใกล้เคียงกับคำบรรยายมากที่สุดมาให้ดู (รูปประกอบ 2)

    ‘เทียนกงคายอู้’ อธิบายไว้ว่า... เรือเก็บมุกจะรูปทรงอ้วนกว่าเรืออื่นและหัวมน บนเรือมีฟางมัดเป็นแผ่น เมื่อผ่านน้ำวนให้โยนแผ่นฟางลงไป เรือก็จะผ่านไปได้อย่างปลอดภัย... คนเก็บมุกลงน้ำพร้อมตะกร้าไผ่ เอวถูกมัดไว้กับเชือกยาวที่ถูกยึดไว้บนเรือ... คนเก็บมุกมีหลอดโค้งทำจากดีบุก ปลายหลอดเสียบเข้าที่จมูกและใช้ถุงหนังนิ่มพันรอบคอและซอกหูเพื่อช่วยหายใจ... คนที่ดำลงได้ลึกจริงๆ สามารถลงไปถึงสี่ห้าร้อยฉื่อ (ประมาณ 90-115 เมตร) เพื่อเก็บหอยมุกใส่ตะกร้า เมื่ออากาศใกล้หมดก็จะกระตุกเชือกให้คนข้างบนดึงขึ้นไป เมื่อขึ้นไปแล้วต้องรีบเอาผืนหนังต้มร้อนมาห่อตัวให้อุ่นเพื่อจะได้ไม่แข็งตาย

    ในหนังสือ ‘เทียนคายกงอู้’ ไม่ได้บรรยายไว้ว่าคนเก็บมุกแต่งกายอย่างไร แต่ข้อมูลอื่นรวมถึงภาพวาดหลายเวอร์ชั่นแสดงให้เห็นว่าในสมัยโบราณนั้น คนเก็บมุกใช้หินมัดไว้ที่เอวเพื่อถ่วงให้จมเร็วขึ้นและลงน้ำโดยไม่ใส่เสื้อผ้าเลย โดยปกติแล้วคนเก็บมุกออกเรือด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กและจับคู่กันเช่นพ่อลูกหรือพี่น้องชายผลัดกันดึงเชือกผลัดกันดำลงไป

    แม้ว่าการบรรยายข้างต้นจะพอให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่อย่างไรก็ดี เพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกเหมือน Storyฯ ว่าคำบรรยายในหนังสือยังมีประเด็นชวนสงสัยอีก เป็นต้นว่า ท่อหายใจกับถุงหนังต่อเข้ากันอย่างไร? กันน้ำได้อย่างไร? อากาศในถุงหนังคือคนเป่าเข้าไป? ฯลฯ แต่จนใจที่ Storyฯ หาข้อมูลเพิ่มเติมไม่พบ เพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็รบกวนมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g62771163/the-story-of-pearl-girl/
    https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm
    https://news.bjd.com.cn/read/2021/07/23/134795t172.html
    https://baike.baidu.com/item/天工开物/29312
    https://core.ac.uk/download/pdf/323959493.pdf

    #ม่านมุกม่านหยก #มุกทะเลใต้ #การเก็บมุก #คนเก็บมุก #ไฉ่จู #สาระจีน
    การเก็บมุกในจีนโบราณ สวัสดีค่ะ ผ่านบทความยาวๆ กันมาหลายสัปดาห์ วันนี้มาคุยกันสั้นหน่อยเกี่ยวกับการเก็บมุก เพื่อนเพจที่ได้ดู <ม่านมุกม่านหยก> คงจะจำได้ถึงเรื่องราวตอนเปิดเรื่องที่นางเอกเป็นทาสเก็บมุก และในฉากดำน้ำเก็บมุกจะเห็นว่าทาสเก็บมุกทุกคนมีถุงทรายช่วยถ่วงให้ลงน้ำได้เร็วขึ้น แต่ทุกคนดำน้ำได้ลึกมากและอึดมากจนอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่าในสมัยก่อนเขาดำน้ำเก็บมุกกันอย่างนี้จริงๆ หรือ การดำน้ำเก็บมุกมีมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏชัด แต่ไข่มุกเป็นของบรรณาการที่ต้องส่งเข้าวังมาแต่โบราณโดยในสมัยฉินมีการกล่าวถึงอย่างชัดเจน และในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีการกล่าวถึงการเก็บมุกในฝั่งทะเลตอนใต้ในเขตการปกครองที่เรียกว่า ‘เหอผู่’ ปัจจุบันคือแถบตอนใต้ของมณฑลก่วงซี ว่ากันว่าชาวบ้านในแถบพื้นที่นั้นไม่มีอาชีพอื่นเลยนอกจากเก็บมุก และเด็กเริ่มฝึกลงทะเลดำน้ำตั้งแต่อายุสิบขวบ การเก็บมุกในทะเลมีมาเรื่อยตลอดทุกยุคสมัย ยกเว้นในสมัยซ่งที่มีการประกาศห้ามลงทะเลเก็บมุกเพราะอันตรายเกินไปและมีการพัฒนามุกน้ำจืดและเรือเก็บหอยมุก แต่เมื่อพ้นสมัยซ่งก็กลับมาใช้คนลงทะเลเก็บมุกกันอีก โดยเฉพาะในสมัยหมิงการเก็บมุกทำกันอย่างขยันขันแข็ง มีคนเก็บมุกกว่าแปดพันคน จนทำให้จำนวนมุกที่เก็บได้มากสุดและจำนวนคนเก็บมุกตายมากสุดในประวัติศาสตร์จีน ทำเอามุกทะเลธรรมชาติร่อยหรอจนในสมัยชิงหันมาใช้ ‘มุกตะวันออก’ ซึ่งก็คือมุกน้ำจืดที่เก็บจากบริเวณแม่น้ำซงหัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ว่ากันว่ากรรมวิธีการดำน้ำเก็บมุกในทะเลไม่ได้เปลี่ยนไปมากตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมัน แต่เอกสารบรรยายเกี่ยวกับวิธีการเก็บมุกมีน้อยมาก และเอกสารที่คนมักใช้อ้างอิงคือบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 หนังสือเล่มนี้บรรยายถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเก็บมุกด้วย จริงๆ แล้ว ‘เทียนกงคายอู้’ เป็นเอกสารบรรยาย แต่ต่อมามีคนอิงเอกสารนี้จัดวาดเป็นภาพขึ้นในหลากหลายเวอร์ชั่น Storyฯ เอาเวอร์ชั่นที่คนส่วนใหญ่อ้างอิงเพราะใกล้เคียงกับคำบรรยายมากที่สุดมาให้ดู (รูปประกอบ 2) ‘เทียนกงคายอู้’ อธิบายไว้ว่า... เรือเก็บมุกจะรูปทรงอ้วนกว่าเรืออื่นและหัวมน บนเรือมีฟางมัดเป็นแผ่น เมื่อผ่านน้ำวนให้โยนแผ่นฟางลงไป เรือก็จะผ่านไปได้อย่างปลอดภัย... คนเก็บมุกลงน้ำพร้อมตะกร้าไผ่ เอวถูกมัดไว้กับเชือกยาวที่ถูกยึดไว้บนเรือ... คนเก็บมุกมีหลอดโค้งทำจากดีบุก ปลายหลอดเสียบเข้าที่จมูกและใช้ถุงหนังนิ่มพันรอบคอและซอกหูเพื่อช่วยหายใจ... คนที่ดำลงได้ลึกจริงๆ สามารถลงไปถึงสี่ห้าร้อยฉื่อ (ประมาณ 90-115 เมตร) เพื่อเก็บหอยมุกใส่ตะกร้า เมื่ออากาศใกล้หมดก็จะกระตุกเชือกให้คนข้างบนดึงขึ้นไป เมื่อขึ้นไปแล้วต้องรีบเอาผืนหนังต้มร้อนมาห่อตัวให้อุ่นเพื่อจะได้ไม่แข็งตาย ในหนังสือ ‘เทียนคายกงอู้’ ไม่ได้บรรยายไว้ว่าคนเก็บมุกแต่งกายอย่างไร แต่ข้อมูลอื่นรวมถึงภาพวาดหลายเวอร์ชั่นแสดงให้เห็นว่าในสมัยโบราณนั้น คนเก็บมุกใช้หินมัดไว้ที่เอวเพื่อถ่วงให้จมเร็วขึ้นและลงน้ำโดยไม่ใส่เสื้อผ้าเลย โดยปกติแล้วคนเก็บมุกออกเรือด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กและจับคู่กันเช่นพ่อลูกหรือพี่น้องชายผลัดกันดึงเชือกผลัดกันดำลงไป แม้ว่าการบรรยายข้างต้นจะพอให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่อย่างไรก็ดี เพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกเหมือน Storyฯ ว่าคำบรรยายในหนังสือยังมีประเด็นชวนสงสัยอีก เป็นต้นว่า ท่อหายใจกับถุงหนังต่อเข้ากันอย่างไร? กันน้ำได้อย่างไร? อากาศในถุงหนังคือคนเป่าเข้าไป? ฯลฯ แต่จนใจที่ Storyฯ หาข้อมูลเพิ่มเติมไม่พบ เพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็รบกวนมาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g62771163/the-story-of-pearl-girl/ https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm https://news.bjd.com.cn/read/2021/07/23/134795t172.html https://baike.baidu.com/item/天工开物/29312 https://core.ac.uk/download/pdf/323959493.pdf #ม่านมุกม่านหยก #มุกทะเลใต้ #การเก็บมุก #คนเก็บมุก #ไฉ่จู #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 703 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง

    ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10)

    Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง)

    บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง

    ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034

    ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร

    เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน

    ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย

    ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป

    ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน

    คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872)

    อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย

    เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง

    ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร

    ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9
    https://www.sohu.com/a/394407332_100120829
    https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://www.guoxue.com/?p=42472
    https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html
    https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5
    https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10) Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง) บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034 ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872) อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9 https://www.sohu.com/a/394407332_100120829 https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://www.guoxue.com/?p=42472 https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5 https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1048 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้ยังคงคุยกันเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก ภาพที่จะคุยกันคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ (昭容评诗图) ที่แขวนอยู่ในตำหนักอี้คุนกง ซึ่ง Storyฯ ก็จำไม่ได้แล้วว่าในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ อี้คุนกงเป็นที่ประทับของพระมเหสีองค์ไหน แต่ใน <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นั้น นี่เป็นพระตำหนักของหรูอี้

    จาวหรงเป็นหนึ่งในตำแหน่งพระสนมเอก แล้วจาวหรงที่กล่าวถึงในภาพนี้คือใคร?

    นางคือซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ (ค.ศ. 664-710) ผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ปราดเปรื่องที่สุดแห่งราชวงศ์ถัง แม้มิได้เป็นขุนนางฝ่ายนอกแต่บทบาทและอิทธิพลทางการเมืองของนางมีไม่น้อย จนได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘จิงกั๋วจ่ายเซี่ยง’ (แปลตรงตัวว่า ผ้าโพกผมสตรี + อัครมหาเสนาบดี หรือหมายความว่า อัครมหาเสนาบดีหญิงนั่นเอง) นางมีผลงานด้านวรรณกรรมมากมายที่ยังสืบทอดมาจนปัจจุบัน เพิ่งมีคนโพสต์เกี่ยวกับเรื่องราวของนางไปเมื่อไม่นานมานี้ (ดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง) Storyฯ ก็จะพยายามเล่าให้ไม่ซ้ำกันนะคะ

    ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นหลานปู่ของซ่างกวนอี๋ กวีและอัครเสนาบดีในสมัยถังเกาจง ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย เนื่องจากซ่างกวนอี๋และตระกูลถูกลงโทษโดยพระนางบูเช็กเทียน (สมัยยังเป็นเพียงฮองเฮา) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ซึ่งอายุเพียงขวบกว่าก็ต้องโทษตามมารดากลายเป็นทาสหลวงรับใช้อยู่ในส่วนของวังหลังที่เรียกว่า ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล แต่ภายใต้การดูแลสั่งสอนของมารดา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์อ่านหนังสือนับไม่ถ้วน ทั้งบทกวี บทความ ประวัติศาสตร์และบันทึกงานราชการของฝ่ายใน โตขึ้นเป็นเด็กที่ฉลาดและทำงานคล่องแคล่ว

    ต่อมาพระนางบูเช็กเทียนผ่านตาบทประพันธ์ของนาง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์จึงถูกเรียกให้ไปเข้าเฝ้า ตอนนั้นเป็นรัชสมัยของถังจงจงและพระนางบูเช็กเทียนกุมอำนาจในฐานะไทเฮา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์มีอายุเพียงสิบสามย่างสิบสี่ปี นางต้องแต่งบทความตอบโจทย์ต่อหน้าพระนางและทำได้อย่างดี ทั้งในแง่เนื้อหาและทักษะภาษา เป็นที่ถูกใจของพระนางบูเช็กเทียน จึงได้รับการปลดสถานะทาสและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชสำนักหญิงรับผิดชอบงานด้านประกาศและพระราชเสาวนีย์ โดยมีตำแหน่งไฉเหริน (แต่ไม่ได้เป็นสนม)

    ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นที่โปรดปรานของพระนางบูเช็กเทียน นางรับผิดชอบงานราชโองการและรับฎีกาของพระนางทั้งหมดภายหลังจากทรงยึดอำนาจตั้งตนเป็นจักรพรรดินี อีกทั้งพระนางยังหารือราชกิจกับนางบ่อยครั้ง แม้มีเหตุการณ์ขัดขืนพระราชโองการอยู่ครั้งหนึ่งแต่ก็ยังได้รับการไว้ชีวิตเพราะพระนางบูเช็กเทียนเสียดายในความรู้ความสามารถของนาง

    ต่อมาองค์ถังจงจงยึดบัลลังก์คืนมาจากบูเช็กเทียนได้ ก็รับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นพระสนมโดยยังคงรับหน้าที่ยกร่างพระราชโองการและงานราชเลขาเหมือนเดิม เรื่องราวสมัยที่นางเป็นพระสนมก็จะดูจะอีรุงตุงนังไม่แพ้เรื่องเกมการเมืองสมัยบูเช็กเทียน ประวัติศาสตร์จีนบันทึกว่านางสนิทกับอู่ซานซือ (หลานของบูเช็กเทียน) และชักนำให้อู่ซานซือมาเป็นพวกร่วมกับเหวยฮองเฮาและกลายเป็นขุนนางมือขวาของถังจงจง เป็นหนึ่งสายของขุมอำนาจด้านการเมือง แต่บทความต่างประเทศเขียนเจาะจงว่านางเป็นชู้กับอู่ซานซือ และเขาก็เป็นชู้กับเหวยฮองเฮาอีกด้วย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ แต่เรื่องราวการชิงอำนาจและตัวละครที่เกี่ยวข้องในยุคสมัยนั้นก็มีมากจนไม่สามารถเอามาเล่าให้ฟังหมด ขอสรุปสั้นๆ เพียงว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ใช้ชีวิตด้วยชั้นเชิงในการรักษาสมดุลและช่วงชิงอำนาจ และสุดท้ายก็จบชีวิตลงด้วยเกมการเมืองดังกล่าว

    ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ไม่เพียงฉลาดแต่ยังโฉมงาม นางจึงเป็นที่โปรดปรานของถังจงจง ได้รับการปรับระดับขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นถึงจาวหรง นางเป็นคนที่คอยชี้นำให้องค์ถังจงจงเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้เข้ามารับใช้ราชสำนักมากขึ้นและส่งเสริมด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง อีกทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลต่อสไตล์ของบทกวีในสมัยนั้น

    ภายใต้บรรยากาศที่ให้ความสำคัญต่อผู้ที่มีความรู้และความสามารถด้านอักษรนี้ องค์ถังจงจงจึงมักจัดงานเลี้ยงขึ้นเพื่อให้ข้าราชสำนักสังสรรค์และแสดงความสามารถกัน และเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหนึ่งในงานเลี้ยงดังกล่าวที่ถูกจัดขึ้นที่สระคุนหมิง มีเหล่าข้าราชสำนักร่วมแต่งบทกวีกว่า 100 บทภายใต้หัวข้อ ‘ชุน’ (วสันต์)

    ในงานเลี้ยงนี้ องค์ถังจงจงให้ซ่างกวนจาวหรงเป็นคนตัดสินคัดเลือกบทกวีที่ดีที่สุด มีการบรรยายฉากนี้ไว้ว่า นางนั่งอ่านบทกวีอยู่บนหอ ข้าราชสำนักรอฟังผลอยู่ข้างล่าง ครั้นเห็นกระดาษโปรยปรายลงมาก็พากันไปตามหาจนได้บทกวีของตัวเองคืนมา เหลืออยู่เพียงสองคนที่หาบทความของตนเองไม่เจอ คือเสิ่นเฉวียนชีและซ่งจือเวิ่น รอกันอีกสักพัก กระดาษแผ่นสุดท้ายก็ปลิวลงมา ปรากฏเป็นผลงานของเสิ่นเฉวียนชี ถือว่าซ่งจือเวิ่นเป็นผู้ชนะ โดยซ่างกวนเจาหรงวิจารณ์ไว้ว่า บทกวีของทั้งสองคนนั้น เนื้อหาใจความสูสีกันเพราะเป็นการบรรยายถึงบรรยากาศของงานเลี้ยงได้อย่างไพเราะและวรรคแรกเปิดตัวได้อย่างงดงามไม่แพ้กัน แต่ของเสิ่นเฉวียนชีนั้น วรรคท้ายใช้ภาษาในเชิงถ่อมตน ทำให้พลังของภาษาหดหาย ในขณะที่วรรคท้ายของซ่งจือเวิ่นนั้น แม้บทกวีจบลงแต่ให้ความหวัง ทำให้พลังของบทความคงอยู่ จึงเหนือชั้นกว่าของเสิ่นเฉวียนซีอยู่หนึ่งขั้น เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการจดจำในแง่ที่ว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ฉลาดในการวิจารณ์ เข้าใจถึงแก่นความหมายและมีทักษะด้านภาษาอย่างยิ่งยวด

    ผลงานที่โดดเด่นของซ่างกวนหว่านเอ๋อร์คือการเป็นผู้ดูแลและปรับปรุงหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในรัชสมัยของจักรพรรดินีบูเช็กเทียน คือ ‘ซิวเหวินก่วน’ (修文馆 ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น จาวเหวินก่วน / 昭文馆) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวมและดูแลหนังสือบันทึกต่างๆ และเป็นสำนักศึกษาหลวงเปิดการเรียนการสอนโดยแต่งตั้งขุนนางที่มีชื่อฝ่ายบุ๋นหลายคนมาเป็นอาจารย์ที่นี่ ภายใต้การดูแลของนาง หน่วยงานนี้จึงมีบทบาทและน้ำหนักในราชสำนักมากขึ้น

    ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ ถูกตีความว่า หมายถึงการศึกษา ภาพนี้จริงแท้หน้าแต่เป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดเกี่ยวกับเหตุการณ์เดียวกันแต่มีชื่อเรียกว่า ‘หว่านเอ๋อร์ตัดสินบทกวี’ ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปที่อี้คุนกงพร้อมกับภาพนี้เขียนว่า ‘อี้กงหว่านซุ่น’ (懿恭婉顺) แปลได้ประมาณว่า เคารพพระราชเสาวนีย์ คล้อยตามอย่างละมุนละม่อม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://waptv.sogou.com/teleplay/orswyzlqnrqxsxzwgmydsnjzbhi5h3h3xgs4fva.html
    https://kknews.cc/zh-sg/history/4bb8n3x.html#google_vignette

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=abb5f0b7bf81f3dcd9c7745c
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=08b8cb852955ec63d33764ec
    https://baike.baidu.com/item/上官婉儿/26942
    http://collection.sina.com.cn/plfx/20130924/1618128246.shtml
    https://www.sohu.com/a/221802957_752265
    https://www.sohu.com/a/365940296_348930

    บทความเกี่ยวกับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์: https://www.facebook.com/groups/288237788323632/permalink/1649073795573351

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ #บูเช็กเทียน #จาวหรงตัดสินบทกวี #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    วันนี้ยังคงคุยกันเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก ภาพที่จะคุยกันคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ (昭容评诗图) ที่แขวนอยู่ในตำหนักอี้คุนกง ซึ่ง Storyฯ ก็จำไม่ได้แล้วว่าในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ อี้คุนกงเป็นที่ประทับของพระมเหสีองค์ไหน แต่ใน <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นั้น นี่เป็นพระตำหนักของหรูอี้ จาวหรงเป็นหนึ่งในตำแหน่งพระสนมเอก แล้วจาวหรงที่กล่าวถึงในภาพนี้คือใคร? นางคือซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ (ค.ศ. 664-710) ผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ปราดเปรื่องที่สุดแห่งราชวงศ์ถัง แม้มิได้เป็นขุนนางฝ่ายนอกแต่บทบาทและอิทธิพลทางการเมืองของนางมีไม่น้อย จนได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘จิงกั๋วจ่ายเซี่ยง’ (แปลตรงตัวว่า ผ้าโพกผมสตรี + อัครมหาเสนาบดี หรือหมายความว่า อัครมหาเสนาบดีหญิงนั่นเอง) นางมีผลงานด้านวรรณกรรมมากมายที่ยังสืบทอดมาจนปัจจุบัน เพิ่งมีคนโพสต์เกี่ยวกับเรื่องราวของนางไปเมื่อไม่นานมานี้ (ดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง) Storyฯ ก็จะพยายามเล่าให้ไม่ซ้ำกันนะคะ ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นหลานปู่ของซ่างกวนอี๋ กวีและอัครเสนาบดีในสมัยถังเกาจง ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย เนื่องจากซ่างกวนอี๋และตระกูลถูกลงโทษโดยพระนางบูเช็กเทียน (สมัยยังเป็นเพียงฮองเฮา) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ซึ่งอายุเพียงขวบกว่าก็ต้องโทษตามมารดากลายเป็นทาสหลวงรับใช้อยู่ในส่วนของวังหลังที่เรียกว่า ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล แต่ภายใต้การดูแลสั่งสอนของมารดา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์อ่านหนังสือนับไม่ถ้วน ทั้งบทกวี บทความ ประวัติศาสตร์และบันทึกงานราชการของฝ่ายใน โตขึ้นเป็นเด็กที่ฉลาดและทำงานคล่องแคล่ว ต่อมาพระนางบูเช็กเทียนผ่านตาบทประพันธ์ของนาง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์จึงถูกเรียกให้ไปเข้าเฝ้า ตอนนั้นเป็นรัชสมัยของถังจงจงและพระนางบูเช็กเทียนกุมอำนาจในฐานะไทเฮา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์มีอายุเพียงสิบสามย่างสิบสี่ปี นางต้องแต่งบทความตอบโจทย์ต่อหน้าพระนางและทำได้อย่างดี ทั้งในแง่เนื้อหาและทักษะภาษา เป็นที่ถูกใจของพระนางบูเช็กเทียน จึงได้รับการปลดสถานะทาสและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชสำนักหญิงรับผิดชอบงานด้านประกาศและพระราชเสาวนีย์ โดยมีตำแหน่งไฉเหริน (แต่ไม่ได้เป็นสนม) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นที่โปรดปรานของพระนางบูเช็กเทียน นางรับผิดชอบงานราชโองการและรับฎีกาของพระนางทั้งหมดภายหลังจากทรงยึดอำนาจตั้งตนเป็นจักรพรรดินี อีกทั้งพระนางยังหารือราชกิจกับนางบ่อยครั้ง แม้มีเหตุการณ์ขัดขืนพระราชโองการอยู่ครั้งหนึ่งแต่ก็ยังได้รับการไว้ชีวิตเพราะพระนางบูเช็กเทียนเสียดายในความรู้ความสามารถของนาง ต่อมาองค์ถังจงจงยึดบัลลังก์คืนมาจากบูเช็กเทียนได้ ก็รับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นพระสนมโดยยังคงรับหน้าที่ยกร่างพระราชโองการและงานราชเลขาเหมือนเดิม เรื่องราวสมัยที่นางเป็นพระสนมก็จะดูจะอีรุงตุงนังไม่แพ้เรื่องเกมการเมืองสมัยบูเช็กเทียน ประวัติศาสตร์จีนบันทึกว่านางสนิทกับอู่ซานซือ (หลานของบูเช็กเทียน) และชักนำให้อู่ซานซือมาเป็นพวกร่วมกับเหวยฮองเฮาและกลายเป็นขุนนางมือขวาของถังจงจง เป็นหนึ่งสายของขุมอำนาจด้านการเมือง แต่บทความต่างประเทศเขียนเจาะจงว่านางเป็นชู้กับอู่ซานซือ และเขาก็เป็นชู้กับเหวยฮองเฮาอีกด้วย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ แต่เรื่องราวการชิงอำนาจและตัวละครที่เกี่ยวข้องในยุคสมัยนั้นก็มีมากจนไม่สามารถเอามาเล่าให้ฟังหมด ขอสรุปสั้นๆ เพียงว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ใช้ชีวิตด้วยชั้นเชิงในการรักษาสมดุลและช่วงชิงอำนาจ และสุดท้ายก็จบชีวิตลงด้วยเกมการเมืองดังกล่าว ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ไม่เพียงฉลาดแต่ยังโฉมงาม นางจึงเป็นที่โปรดปรานของถังจงจง ได้รับการปรับระดับขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นถึงจาวหรง นางเป็นคนที่คอยชี้นำให้องค์ถังจงจงเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้เข้ามารับใช้ราชสำนักมากขึ้นและส่งเสริมด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง อีกทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลต่อสไตล์ของบทกวีในสมัยนั้น ภายใต้บรรยากาศที่ให้ความสำคัญต่อผู้ที่มีความรู้และความสามารถด้านอักษรนี้ องค์ถังจงจงจึงมักจัดงานเลี้ยงขึ้นเพื่อให้ข้าราชสำนักสังสรรค์และแสดงความสามารถกัน และเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหนึ่งในงานเลี้ยงดังกล่าวที่ถูกจัดขึ้นที่สระคุนหมิง มีเหล่าข้าราชสำนักร่วมแต่งบทกวีกว่า 100 บทภายใต้หัวข้อ ‘ชุน’ (วสันต์) ในงานเลี้ยงนี้ องค์ถังจงจงให้ซ่างกวนจาวหรงเป็นคนตัดสินคัดเลือกบทกวีที่ดีที่สุด มีการบรรยายฉากนี้ไว้ว่า นางนั่งอ่านบทกวีอยู่บนหอ ข้าราชสำนักรอฟังผลอยู่ข้างล่าง ครั้นเห็นกระดาษโปรยปรายลงมาก็พากันไปตามหาจนได้บทกวีของตัวเองคืนมา เหลืออยู่เพียงสองคนที่หาบทความของตนเองไม่เจอ คือเสิ่นเฉวียนชีและซ่งจือเวิ่น รอกันอีกสักพัก กระดาษแผ่นสุดท้ายก็ปลิวลงมา ปรากฏเป็นผลงานของเสิ่นเฉวียนชี ถือว่าซ่งจือเวิ่นเป็นผู้ชนะ โดยซ่างกวนเจาหรงวิจารณ์ไว้ว่า บทกวีของทั้งสองคนนั้น เนื้อหาใจความสูสีกันเพราะเป็นการบรรยายถึงบรรยากาศของงานเลี้ยงได้อย่างไพเราะและวรรคแรกเปิดตัวได้อย่างงดงามไม่แพ้กัน แต่ของเสิ่นเฉวียนชีนั้น วรรคท้ายใช้ภาษาในเชิงถ่อมตน ทำให้พลังของภาษาหดหาย ในขณะที่วรรคท้ายของซ่งจือเวิ่นนั้น แม้บทกวีจบลงแต่ให้ความหวัง ทำให้พลังของบทความคงอยู่ จึงเหนือชั้นกว่าของเสิ่นเฉวียนซีอยู่หนึ่งขั้น เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการจดจำในแง่ที่ว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ฉลาดในการวิจารณ์ เข้าใจถึงแก่นความหมายและมีทักษะด้านภาษาอย่างยิ่งยวด ผลงานที่โดดเด่นของซ่างกวนหว่านเอ๋อร์คือการเป็นผู้ดูแลและปรับปรุงหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในรัชสมัยของจักรพรรดินีบูเช็กเทียน คือ ‘ซิวเหวินก่วน’ (修文馆 ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น จาวเหวินก่วน / 昭文馆) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวมและดูแลหนังสือบันทึกต่างๆ และเป็นสำนักศึกษาหลวงเปิดการเรียนการสอนโดยแต่งตั้งขุนนางที่มีชื่อฝ่ายบุ๋นหลายคนมาเป็นอาจารย์ที่นี่ ภายใต้การดูแลของนาง หน่วยงานนี้จึงมีบทบาทและน้ำหนักในราชสำนักมากขึ้น ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ ถูกตีความว่า หมายถึงการศึกษา ภาพนี้จริงแท้หน้าแต่เป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดเกี่ยวกับเหตุการณ์เดียวกันแต่มีชื่อเรียกว่า ‘หว่านเอ๋อร์ตัดสินบทกวี’ ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปที่อี้คุนกงพร้อมกับภาพนี้เขียนว่า ‘อี้กงหว่านซุ่น’ (懿恭婉顺) แปลได้ประมาณว่า เคารพพระราชเสาวนีย์ คล้อยตามอย่างละมุนละม่อม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://waptv.sogou.com/teleplay/orswyzlqnrqxsxzwgmydsnjzbhi5h3h3xgs4fva.html https://kknews.cc/zh-sg/history/4bb8n3x.html#google_vignette Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=abb5f0b7bf81f3dcd9c7745c https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=08b8cb852955ec63d33764ec https://baike.baidu.com/item/上官婉儿/26942 http://collection.sina.com.cn/plfx/20130924/1618128246.shtml https://www.sohu.com/a/221802957_752265 https://www.sohu.com/a/365940296_348930 บทความเกี่ยวกับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์: https://www.facebook.com/groups/288237788323632/permalink/1649073795573351 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ #บูเช็กเทียน #จาวหรงตัดสินบทกวี #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    《延禧攻略》全集-电视剧-免费在线观看
    电视剧《延禧攻略》高清免费在线播放,延禧攻略是是由惠楷栋;温德光导演,由秦岚,聂远,张嘉倪,吴谨言主演的中国大陆电视剧,剧情:乾隆六年,少女魏璎珞为寻求长姐死亡真相,...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 794 มุมมอง 0 รีวิว
  • พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์

    ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图)

    อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน

    ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง

    เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง

    สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ
    – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี
    – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์
    – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้
    – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน
    ฯลฯ

    บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย

    ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://inmywordz.com/archives/66897
    https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm
    https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444
    https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์ ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图) อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์ – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้ – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน ฯลฯ บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://inmywordz.com/archives/66897 https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620 https://baike.sogou.com/v74971288.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html https://baike.sogou.com/v74971288.htm https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444 https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    INMYWORDZ.COM
    《延禧攻略》最受寵的是令妃,生得最多的是純妃!乾隆為何卻選擇最心狠毒辣嫻妃為繼后?-我們用電影寫日記 - 冒牌生:寫作 • 旅行 • 生活
    而且還是在富察皇后離開後就馬上決定了😱 #延禧攻略 #繼皇后為什麼是她 #皇上考慮的真多 *正文開始 來源:美映椒房 整理:冒牌生 乾隆十三年三月,乾隆皇帝元配富察皇后忍著喪子悲痛,強顏歡笑帶病伺候皇帝和太后東巡,最終病逝於東巡途中。
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 987 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถู่ที้กง 土地公 "เจ้าแห่งผืนดิน"
    หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า ถู่ตี้ 土地 "ผืนดิน"
    หรือ ชาวจีนแต้จิ๋ว เรียกว่า ตี่จู๋เอี๊ยะ 地主爷 "เทพเจ้าแห่งผืนดิน"

    เทพถู่ที้กงมีตัวตนจริง ตามประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์จิว ชื่อเดิมว่าเตียเม่งเต็ก เป็นข้ารับใช้ขุนนางผู้มั่งคั่งนายหนึ่ง ครั้งหนึ่งขุนนางท่านนั้นได้ถูกเรียกให้เข้ารับราชการที่วังหลวงอย่างกะทันหัน จึงได้รีบออกเดินทางไปพร้อมกับภรรยาของเขา และให้เตียเม่งเต็กนำธิดาของเขาตามไปในวังหลวงทีหลัง เตียเม่งเต็กได้ออกเดินทางโดยแบกธิดาของขุนนางไว้บนหลัง และในมือทั้งสองได้ถือข้าวของสัมพาระต่าง ๆ ระหว่างการเดินทางนั้นได้เกิดพายุหิมะถล่มขึ้น เตียเม่งเต็กจึงจำถอดเสื้อคลุมของเขาสวมให้กับธิดาของขุนนางที่แบกไว้บนหลังจนกระทั่งตนเองเสียชีวิตจากความหนาวเหน็บ หลังเตียเม่งเต็กได้เสียชีวิตลงด้วยความเสียสละและจงรักภักดีต่อเจ้านาย บนท้องฟ้าได้ปรากฏดวงดาวขึ้นมาเป็นอักษรใจความว่า "ประตูสวรรค์ทางใต้ของเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ฮกเต็ก" ภายหลังได้มีผู้มาพบกับนางและได้ช่วยเหลือ นำไปส่งถึงครอบครัวโดยปลอดภัย หลังนางเติบโตขึ้นได้มีจิตใจกตัญญูต่อเตียเม่งเต็กและได้สร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อยกขึ้นเป็นเทพเจ้า ชื่อศาลเจ้าว่า "ศาลเจ้าฮกเต็ก" ศาลเจ้าดังกล่าวได้รับการนับถือมากจากฮ่องเต้พระองค์หนึ่งซึ่งได้ตั้งชื่อใหม่ให้กับเทพฮกเต็กว่า "ถู่ที้กง" อันแปลว่าเทพเจ้าแห่งผืนดินทั้งหลาย ชาวจีนจึงยึดถือว่าท่านเป็นเทพเจ้าที่มานับแต่นั้น.

    ภาพ : ถู่ที้กง 土地公 ที่เปี่ยมด้วยความสุข มีความเมตตา สร้างได้สวยที่สุดในโลก สั่งจากจากจีน ผลิตโดย บริษัท Putian Dazhuangyan Buddha Statue Craft Co., Ltd. (Miaozhuangyan Art (Fujian) Co., Ltd.
    ถู่ที้กง 土地公 "เจ้าแห่งผืนดิน" หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า ถู่ตี้ 土地 "ผืนดิน" หรือ ชาวจีนแต้จิ๋ว เรียกว่า ตี่จู๋เอี๊ยะ 地主爷 "เทพเจ้าแห่งผืนดิน" เทพถู่ที้กงมีตัวตนจริง ตามประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์จิว ชื่อเดิมว่าเตียเม่งเต็ก เป็นข้ารับใช้ขุนนางผู้มั่งคั่งนายหนึ่ง ครั้งหนึ่งขุนนางท่านนั้นได้ถูกเรียกให้เข้ารับราชการที่วังหลวงอย่างกะทันหัน จึงได้รีบออกเดินทางไปพร้อมกับภรรยาของเขา และให้เตียเม่งเต็กนำธิดาของเขาตามไปในวังหลวงทีหลัง เตียเม่งเต็กได้ออกเดินทางโดยแบกธิดาของขุนนางไว้บนหลัง และในมือทั้งสองได้ถือข้าวของสัมพาระต่าง ๆ ระหว่างการเดินทางนั้นได้เกิดพายุหิมะถล่มขึ้น เตียเม่งเต็กจึงจำถอดเสื้อคลุมของเขาสวมให้กับธิดาของขุนนางที่แบกไว้บนหลังจนกระทั่งตนเองเสียชีวิตจากความหนาวเหน็บ หลังเตียเม่งเต็กได้เสียชีวิตลงด้วยความเสียสละและจงรักภักดีต่อเจ้านาย บนท้องฟ้าได้ปรากฏดวงดาวขึ้นมาเป็นอักษรใจความว่า "ประตูสวรรค์ทางใต้ของเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ฮกเต็ก" ภายหลังได้มีผู้มาพบกับนางและได้ช่วยเหลือ นำไปส่งถึงครอบครัวโดยปลอดภัย หลังนางเติบโตขึ้นได้มีจิตใจกตัญญูต่อเตียเม่งเต็กและได้สร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อยกขึ้นเป็นเทพเจ้า ชื่อศาลเจ้าว่า "ศาลเจ้าฮกเต็ก" ศาลเจ้าดังกล่าวได้รับการนับถือมากจากฮ่องเต้พระองค์หนึ่งซึ่งได้ตั้งชื่อใหม่ให้กับเทพฮกเต็กว่า "ถู่ที้กง" อันแปลว่าเทพเจ้าแห่งผืนดินทั้งหลาย ชาวจีนจึงยึดถือว่าท่านเป็นเทพเจ้าที่มานับแต่นั้น. ภาพ : ถู่ที้กง 土地公 ที่เปี่ยมด้วยความสุข มีความเมตตา สร้างได้สวยที่สุดในโลก สั่งจากจากจีน ผลิตโดย บริษัท Putian Dazhuangyan Buddha Statue Craft Co., Ltd. (Miaozhuangyan Art (Fujian) Co., Ltd.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 439 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประวัติศาสตร์จีน มีมายาวนานกว่า 3000 ปี ...มีประเพณี และความเชื่อมากมาย...หลักคิดส่วนตัว..เชื่อว่า...มันต้องมี พิธีกรรม หรือประเพณีบางอย่าง...ที่กระทำแล้ว..ให้ผล ได้จริง....เพียงแค่เราไม่รู้ว่า...แบบใดบ้าง..? ...ไม่งั้น การดำรงความเป็น ชาติเดียว สืบต่อเนื่องกันมากว่า 3000 ปี และเป็น ชาติเดียวในโลก...ที่เป็นแบบนี้..คงต้องถูกเปลี่ยนแปลงไป ดังในหลายประเทศที่เคย เป็น อณาจักรมาก่อน เช่น กรีก โรมัน ไอยคุปต์ เปอร์เซีย ..และอื่นๆ ...ย้ำ..ไม่ได้บอกว่า พิธีกรรมใด ได้ผล หรือไม่ ประการใด..เพียงแค่ เป็น #หลักคิด
    ..ถ้าต้องเลือกเชื่อ.(แม้พิสูจน์ไม่ได้ทั้งคู่).ขอเชื่อ เครดิต กว่า 3000 ปี ..ที่แม้เป็นเรื่องเล่า...กับ เครดิต ที่เกิดขึ้น "เมื่อวาน" ขอเลือกอย่างแรก.
    ..เช่นในภาพ ศาลเจ้าพ่อเสือ นักธุรกิจไทย เชื้อสายจีน เริ่มต้นปีใหม่ ด้วยการสักการะที่นี่...ตัวผู้เขียนเองก็เช่นกัน..นั่นแปลว่าอะไร แปลว่า เขาทำแล้วมีผลใช่ไหม? ถึงสืบต่อกันมา รุ่นสู่รุ่น...
    ...ผู้เขียนต่อต้านสิธีคิดขิงคนไทยจำนวนไม่น้อย...ที่ละทิ้ง ความรู้ ความคิด ความเขื่อบางอย่าง....เพราะมีใครจากไหนก็ไม่รู้...มาบอกว่า .มันต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้...แล้วเขื่อเขาในทันที...จงคิด..ความรู้มีอยู่ทั่วไปในอากาศ...ทุกคนสืบค้นได้.
    ประวัติศาสตร์จีน มีมายาวนานกว่า 3000 ปี ...มีประเพณี และความเชื่อมากมาย...หลักคิดส่วนตัว..เชื่อว่า...มันต้องมี พิธีกรรม หรือประเพณีบางอย่าง...ที่กระทำแล้ว..ให้ผล ได้จริง....เพียงแค่เราไม่รู้ว่า...แบบใดบ้าง..? ...ไม่งั้น การดำรงความเป็น ชาติเดียว สืบต่อเนื่องกันมากว่า 3000 ปี และเป็น ชาติเดียวในโลก...ที่เป็นแบบนี้..คงต้องถูกเปลี่ยนแปลงไป ดังในหลายประเทศที่เคย เป็น อณาจักรมาก่อน เช่น กรีก โรมัน ไอยคุปต์ เปอร์เซีย ..และอื่นๆ ...ย้ำ..ไม่ได้บอกว่า พิธีกรรมใด ได้ผล หรือไม่ ประการใด..เพียงแค่ เป็น #หลักคิด ..ถ้าต้องเลือกเชื่อ.(แม้พิสูจน์ไม่ได้ทั้งคู่).ขอเชื่อ เครดิต กว่า 3000 ปี ..ที่แม้เป็นเรื่องเล่า...กับ เครดิต ที่เกิดขึ้น "เมื่อวาน" ขอเลือกอย่างแรก. ..เช่นในภาพ ศาลเจ้าพ่อเสือ นักธุรกิจไทย เชื้อสายจีน เริ่มต้นปีใหม่ ด้วยการสักการะที่นี่...ตัวผู้เขียนเองก็เช่นกัน..นั่นแปลว่าอะไร แปลว่า เขาทำแล้วมีผลใช่ไหม? ถึงสืบต่อกันมา รุ่นสู่รุ่น... ...ผู้เขียนต่อต้านสิธีคิดขิงคนไทยจำนวนไม่น้อย...ที่ละทิ้ง ความรู้ ความคิด ความเขื่อบางอย่าง....เพราะมีใครจากไหนก็ไม่รู้...มาบอกว่า .มันต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้...แล้วเขื่อเขาในทันที...จงคิด..ความรู้มีอยู่ทั่วไปในอากาศ...ทุกคนสืบค้นได้.
    Love
    1
    3 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 475 มุมมอง 0 รีวิว
  • วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน

    วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย)

    ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ

    ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน

    บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน

    ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด

    และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2)

    บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป

    สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/584621129_114988
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html
    https://mgronline.com/china/detail/9670000114488
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://m.shangshiwen.com/71990.html
    https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx
    https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย) ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2) บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/584621129_114988 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html https://mgronline.com/china/detail/9670000114488 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://m.shangshiwen.com/71990.html https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1065 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพลงดนตรีฉินโบราณ กว่างหลิงส่าน

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> น่าจะจำได้ว่าตระกูลเยียนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏและ เซี่ยเวยได้บรรเลงพิณกู่ฉินส่งอำลาเยียนโหวและเยียนหลิงสองครั้ง ชื่อของเพลงพิณนี้คือ ‘กว่างหลิงส่าน’ (广陵散 / เพลงกว่างหลิน)

    มีคนเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเพลงนี้พอสมควร และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับมันแล้ว (แต่อาจเจอหลายเวอร์ชั่นที่แตกต่าง) Storyฯ เชื่อว่ายังมีอีกหลายท่านที่ไม่เข้าใจถึงเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในเพลงนี้ เพื่อให้ได้อรรถรสในการดูมากขึ้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเพลงพิณเพลงนี้กัน

    เพลงกว่างหลิงส่านถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบสุดยอดเพลงพิณโบราณของจีน เป็นหนึ่งในเพลงพิณที่มีความยาวและความซับซ้อนมากที่สุด มีทั้งหมดสี่สิบห้าท่อนด้วยกัน จึงมีความหลากหลายของท่วงทำนองและความซับซ้อนในการบรรเลง เพื่อนเพจสามารถค้นหาบนเน็ตก็จะพบหลายเวอร์ชั่นที่นักดนตรีชั้นครูหลายท่านบรรเลงไว้ แต่ทั้งหมดจะเป็นการยกบางท่อนมาเล่นเพราะเพลงเต็มนั้นยาวเกินไป

    เอกสารเกี่ยวกับโน้ตเพลงกว่างหลิงส่านนี้ปรากฏครั้งแรกในตำราดนตรีสมัยหมิงที่ชื่อว่าตำราเสินฉีมี่ผู่ (神奇秘谱) เรียกว่า ‘โน้ต’ อาจทำให้นึกภาพผิด เพราะสมัยโบราณไม่ได้เขียนโน้ตด้วยสัญลักษณ์แบบปัจจุบัน แต่เป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดในลักษณะการบรรยาย จึงมีหน้าตาเป็นเหมือนหนังสือตำรา ในสมุดบันทึกดังกล่าวมีคำหมายเหตุที่เอ่ยถึงหลายชื่อบุคคลและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในสมัยจ้านกั๋ว จึงถูกมองว่าเป็นเพลงเดียวกับเพลงโบราณ ‘เนี่ยเจิ้งชึหานกุยฉวี่’ (聂政刺韩傀曲 /เพลงเนี่ยเจิ้งลอบสังหารหานกุย) ซึ่งเล่าถึงเรื่องราวของเนี่ยเจิ้ง หนึ่งในมือสังหารที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

    เรื่องราวของเนี่ยเจิ้งมีสองเวอร์ชั่นว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร Storyฯ สรุปใจความหลักมาให้ฟัง... เนี่ยเจิ้งผู้นี้เป็นคนมีฝีมือดีใจกล้ามีคุณธรรม เขาพาแม่และพี่สาวหลบไปซ่อนตัวอยู่ในชนบทตั้งแต่สมัยหนุ่ม เวอร์ชั่นแรก บอกว่าเขาเป็นลูกขุนนางที่ถูกอ๋องแห่งแคว้นหานฆ่าตายเลยต้องหนี ต่อมาฝึกเพลงพิณจนชำนาญและเข้าวังไปเป็นนักดนตรี ฉวยโอกาสงานรื่นเริงลอบสังหารอ๋องแห่งแคว้นหานสำเร็จ

    เวอร์ชั่นที่สองซึ่งสอดคล้องกับชื่อเพลงมากกว่านั้น เล่าว่าเขาช่วยคนอื่นแล้วพลั้งมือฆ่าคนตายเลยต้องหนีไปซ่อนตัว ต่อมาเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณเหยียนซุ่ยที่ดูแลแม่ของตนจึงรับงานสังหาร ซึ่งเหยียนซุ่ยคือขุนนางของแคว้นหานที่มีความแค้นกับหานกุย อัครเสนาบดีแคว้นหานที่ขึ้นชื่อว่าใช้อำนาจรังแกคนมากมายและเป็นอาของอ๋องแห่งแคว้นหาน เหยียนซุ่ยกลัวว่าจะถูกหานกุยกำจัดทิ้งเลยจะชิงลงมือก่อน ในเวอร์ชั่นนี้เนี่ยเจิ้งบุกเข้าไปฆ่าหานกุยสำเร็จตามลำพัง

    แต่ไม่ว่าจะเวอร์ชั่นไหน สิ่งที่พ้องกันคือ หลังจากสังหารอีกฝ่ายเสร็จแล้ว เนี่ยเจิ้งทำลายโฉมลอกหนังหน้าและควักลูกตาของตนออกมา ตายในที่เกิดเหตุโดยไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นใคร ทางการป่าวประกาศหาคนมาให้เบาะแส จวบจนพี่สาวของเขามาตามหาและโศกเศร้าจนกอดศพตายไปจึงรู้ว่าที่แท้มือสังหารคนนี้คือเนี่ยเจิ้ง และเรื่องราวถูกเล่าต่อกันถึงความกล้าหาญของเขา และความกตัญญูยอมทำลายโฉมตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อครอบครัว ต่อมากลายมาเป็นเรื่องราวที่แฝงไว้ซึ่งคำสอนว่าผู้ที่ปกครองบ้านเมืองควรมีคุณธรรม

    ชื่อเพลงแปรเปลี่ยนเป็นกว่างหลิงส่านตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ชนรุ่นหลังรู้จักชื่อ ‘ก่วงหลิงส่าน’ นี้เพราะจีคัง เขาคือนักปรัชญา นักเขียนและนักดนตรีชื่อดังในสมัยเว่ยจิ้นแห่งราชวงศ์เหนือใต้ ได้รับการเชิญให้เข้ารับราชการหลายครั้งแต่ก็ปฏิเสธเรื่อยมา เขาเป็นคนตรงและกล้าพูด ยอมหักไม่ยอมงอ ในสมัยที่สองพี่น้องสกุลซือหม่า (ซือหม่าซือและซือหม่าจาว) กุมอำนาจทางการเมือง เขาเป็นคนที่วิพากษ์วิจารณ์การปกครองของรัฐบาลอย่างเปิดเผยและรุนแรง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ที่เขาต่อต้านทางการเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวของสหายสนิท สุดท้ายถูกจับกุมและประหารชีวิตเมื่อตอนอายุสี่สิบปี ก่อนตายเขาบรรเลงเพลงพิณกว่างหลิงส่านนี้

    ตำนานเกี่ยวกับเพลงกว่างหลิงส่านและจีคังมีหลายเวอร์ชั่นเช่นกัน บ้างว่าเพลงนี้เขาได้รับการสอนจากเซียน บ้างว่าได้มาจากวิญญาณ โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามสอนต่อ บ้างว่าได้รับการสอนมาจากครอบครัวตระกูลตู้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพิณแต่ต่อมาไร้ผู้สืบทอด บ้างว่าเขาประพันธ์ขึ้นเอง แต่ที่เล่ากันต่อมาเป็นเสียงเดียวกันคือ จีคังบรรเลงเพลงนี้ได้ไพเราะจับใจ

    เนื่องจากเพลงกว่างหลิงส่านมีหลายท่อนหลายท่วงทำนอง จึงให้ความรู้สึกตามจินตนาการที่หลากหลาย เช่น ภาพม้าศึกออกรบ ความรู้สึกฮึกเหิม แรงต่อต้าน และมีบางช่วงทอดเสียงอ้อยอิ่งคล้ายเศร้าแต่ก็ให้ความหวัง มีคนตีความว่าเป็นบทเพลงที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมืองเนื่องจากโน้ตเพลงเน้นการใช้สายพิณเส้นที่หนึ่ง สอง และสาม ซึ่งหมายถึง ‘กง’ หรือราชัน ‘ซาง’ หรือข้าราชสำนัก และ ‘เจวี๋ย’ หรือประชาชน ตามลำดับ (หมายเหตุ อ่านย้อนเกี่ยวกับความหมายของสายพิณกู่ฉินได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837) และเพลงนี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการยึดมั่นในความถูกต้อง

    Storyฯ คิดว่าการใช้เพลงกว่างหลิงส่านมาเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> สะท้อนได้ดีถึงความรู้สึกของตัวละครหลายคนโดยเฉพาะตระกูลเยียนที่ยึดมั่นในคุณธรรมและความถูกต้อง และไม่หวั่นเกรงต่อความลำบากหรือผลร้ายที่จะตามมา เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้แล้ว คิดเห็นเป็นอย่างไรคะ?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://big5.huaxia.com/c/2023/11/09/1824224.shtml
    https://catalog.digitalarchives.tw/item/00/07/db/5a.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.guoxue.com/?p=6176
    https://baike.baidu.com/item/聂政
    https://baike.baidu.com/item/聂政刺韩傀/6263080
    https://baike.baidu.com/item/广陵散/234828
    https://baike.baidu.com/item/嵇康/151928
    https://www.sohu.com/a/214683627_718263
    https://m.cyol.com/gb/articles/2022-05/11/content_BN2qBSlY7.html

    #เล่ห์รักวังคุนหนิง #กว่างหลิงส่าน #ตำราเพลงกู่ฉิน #พิณโบราณ #เนี่ยเจิ้ง #จีคัง
    เพลงดนตรีฉินโบราณ กว่างหลิงส่าน สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> น่าจะจำได้ว่าตระกูลเยียนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏและ เซี่ยเวยได้บรรเลงพิณกู่ฉินส่งอำลาเยียนโหวและเยียนหลิงสองครั้ง ชื่อของเพลงพิณนี้คือ ‘กว่างหลิงส่าน’ (广陵散 / เพลงกว่างหลิน) มีคนเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเพลงนี้พอสมควร และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับมันแล้ว (แต่อาจเจอหลายเวอร์ชั่นที่แตกต่าง) Storyฯ เชื่อว่ายังมีอีกหลายท่านที่ไม่เข้าใจถึงเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในเพลงนี้ เพื่อให้ได้อรรถรสในการดูมากขึ้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเพลงพิณเพลงนี้กัน เพลงกว่างหลิงส่านถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบสุดยอดเพลงพิณโบราณของจีน เป็นหนึ่งในเพลงพิณที่มีความยาวและความซับซ้อนมากที่สุด มีทั้งหมดสี่สิบห้าท่อนด้วยกัน จึงมีความหลากหลายของท่วงทำนองและความซับซ้อนในการบรรเลง เพื่อนเพจสามารถค้นหาบนเน็ตก็จะพบหลายเวอร์ชั่นที่นักดนตรีชั้นครูหลายท่านบรรเลงไว้ แต่ทั้งหมดจะเป็นการยกบางท่อนมาเล่นเพราะเพลงเต็มนั้นยาวเกินไป เอกสารเกี่ยวกับโน้ตเพลงกว่างหลิงส่านนี้ปรากฏครั้งแรกในตำราดนตรีสมัยหมิงที่ชื่อว่าตำราเสินฉีมี่ผู่ (神奇秘谱) เรียกว่า ‘โน้ต’ อาจทำให้นึกภาพผิด เพราะสมัยโบราณไม่ได้เขียนโน้ตด้วยสัญลักษณ์แบบปัจจุบัน แต่เป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดในลักษณะการบรรยาย จึงมีหน้าตาเป็นเหมือนหนังสือตำรา ในสมุดบันทึกดังกล่าวมีคำหมายเหตุที่เอ่ยถึงหลายชื่อบุคคลและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในสมัยจ้านกั๋ว จึงถูกมองว่าเป็นเพลงเดียวกับเพลงโบราณ ‘เนี่ยเจิ้งชึหานกุยฉวี่’ (聂政刺韩傀曲 /เพลงเนี่ยเจิ้งลอบสังหารหานกุย) ซึ่งเล่าถึงเรื่องราวของเนี่ยเจิ้ง หนึ่งในมือสังหารที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เรื่องราวของเนี่ยเจิ้งมีสองเวอร์ชั่นว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร Storyฯ สรุปใจความหลักมาให้ฟัง... เนี่ยเจิ้งผู้นี้เป็นคนมีฝีมือดีใจกล้ามีคุณธรรม เขาพาแม่และพี่สาวหลบไปซ่อนตัวอยู่ในชนบทตั้งแต่สมัยหนุ่ม เวอร์ชั่นแรก บอกว่าเขาเป็นลูกขุนนางที่ถูกอ๋องแห่งแคว้นหานฆ่าตายเลยต้องหนี ต่อมาฝึกเพลงพิณจนชำนาญและเข้าวังไปเป็นนักดนตรี ฉวยโอกาสงานรื่นเริงลอบสังหารอ๋องแห่งแคว้นหานสำเร็จ เวอร์ชั่นที่สองซึ่งสอดคล้องกับชื่อเพลงมากกว่านั้น เล่าว่าเขาช่วยคนอื่นแล้วพลั้งมือฆ่าคนตายเลยต้องหนีไปซ่อนตัว ต่อมาเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณเหยียนซุ่ยที่ดูแลแม่ของตนจึงรับงานสังหาร ซึ่งเหยียนซุ่ยคือขุนนางของแคว้นหานที่มีความแค้นกับหานกุย อัครเสนาบดีแคว้นหานที่ขึ้นชื่อว่าใช้อำนาจรังแกคนมากมายและเป็นอาของอ๋องแห่งแคว้นหาน เหยียนซุ่ยกลัวว่าจะถูกหานกุยกำจัดทิ้งเลยจะชิงลงมือก่อน ในเวอร์ชั่นนี้เนี่ยเจิ้งบุกเข้าไปฆ่าหานกุยสำเร็จตามลำพัง แต่ไม่ว่าจะเวอร์ชั่นไหน สิ่งที่พ้องกันคือ หลังจากสังหารอีกฝ่ายเสร็จแล้ว เนี่ยเจิ้งทำลายโฉมลอกหนังหน้าและควักลูกตาของตนออกมา ตายในที่เกิดเหตุโดยไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นใคร ทางการป่าวประกาศหาคนมาให้เบาะแส จวบจนพี่สาวของเขามาตามหาและโศกเศร้าจนกอดศพตายไปจึงรู้ว่าที่แท้มือสังหารคนนี้คือเนี่ยเจิ้ง และเรื่องราวถูกเล่าต่อกันถึงความกล้าหาญของเขา และความกตัญญูยอมทำลายโฉมตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อครอบครัว ต่อมากลายมาเป็นเรื่องราวที่แฝงไว้ซึ่งคำสอนว่าผู้ที่ปกครองบ้านเมืองควรมีคุณธรรม ชื่อเพลงแปรเปลี่ยนเป็นกว่างหลิงส่านตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ชนรุ่นหลังรู้จักชื่อ ‘ก่วงหลิงส่าน’ นี้เพราะจีคัง เขาคือนักปรัชญา นักเขียนและนักดนตรีชื่อดังในสมัยเว่ยจิ้นแห่งราชวงศ์เหนือใต้ ได้รับการเชิญให้เข้ารับราชการหลายครั้งแต่ก็ปฏิเสธเรื่อยมา เขาเป็นคนตรงและกล้าพูด ยอมหักไม่ยอมงอ ในสมัยที่สองพี่น้องสกุลซือหม่า (ซือหม่าซือและซือหม่าจาว) กุมอำนาจทางการเมือง เขาเป็นคนที่วิพากษ์วิจารณ์การปกครองของรัฐบาลอย่างเปิดเผยและรุนแรง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ที่เขาต่อต้านทางการเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวของสหายสนิท สุดท้ายถูกจับกุมและประหารชีวิตเมื่อตอนอายุสี่สิบปี ก่อนตายเขาบรรเลงเพลงพิณกว่างหลิงส่านนี้ ตำนานเกี่ยวกับเพลงกว่างหลิงส่านและจีคังมีหลายเวอร์ชั่นเช่นกัน บ้างว่าเพลงนี้เขาได้รับการสอนจากเซียน บ้างว่าได้มาจากวิญญาณ โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามสอนต่อ บ้างว่าได้รับการสอนมาจากครอบครัวตระกูลตู้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพิณแต่ต่อมาไร้ผู้สืบทอด บ้างว่าเขาประพันธ์ขึ้นเอง แต่ที่เล่ากันต่อมาเป็นเสียงเดียวกันคือ จีคังบรรเลงเพลงนี้ได้ไพเราะจับใจ เนื่องจากเพลงกว่างหลิงส่านมีหลายท่อนหลายท่วงทำนอง จึงให้ความรู้สึกตามจินตนาการที่หลากหลาย เช่น ภาพม้าศึกออกรบ ความรู้สึกฮึกเหิม แรงต่อต้าน และมีบางช่วงทอดเสียงอ้อยอิ่งคล้ายเศร้าแต่ก็ให้ความหวัง มีคนตีความว่าเป็นบทเพลงที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมืองเนื่องจากโน้ตเพลงเน้นการใช้สายพิณเส้นที่หนึ่ง สอง และสาม ซึ่งหมายถึง ‘กง’ หรือราชัน ‘ซาง’ หรือข้าราชสำนัก และ ‘เจวี๋ย’ หรือประชาชน ตามลำดับ (หมายเหตุ อ่านย้อนเกี่ยวกับความหมายของสายพิณกู่ฉินได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837) และเพลงนี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการยึดมั่นในความถูกต้อง Storyฯ คิดว่าการใช้เพลงกว่างหลิงส่านมาเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> สะท้อนได้ดีถึงความรู้สึกของตัวละครหลายคนโดยเฉพาะตระกูลเยียนที่ยึดมั่นในคุณธรรมและความถูกต้อง และไม่หวั่นเกรงต่อความลำบากหรือผลร้ายที่จะตามมา เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้แล้ว คิดเห็นเป็นอย่างไรคะ? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://big5.huaxia.com/c/2023/11/09/1824224.shtml https://catalog.digitalarchives.tw/item/00/07/db/5a.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.guoxue.com/?p=6176 https://baike.baidu.com/item/聂政 https://baike.baidu.com/item/聂政刺韩傀/6263080 https://baike.baidu.com/item/广陵散/234828 https://baike.baidu.com/item/嵇康/151928 https://www.sohu.com/a/214683627_718263 https://m.cyol.com/gb/articles/2022-05/11/content_BN2qBSlY7.html #เล่ห์รักวังคุนหนิง #กว่างหลิงส่าน #ตำราเพลงกู่ฉิน #พิณโบราณ #เนี่ยเจิ้ง #จีคัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1057 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถิงจ้าง - การโบยพระราชทานสวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ถึงเรื่องราวตอนที่ผู้ตรวจการล่ายหมิงเฉิงร้องเรียนฮ่องเต้ว่าประพฤติตนไม่ถูกต้อง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) ฮ่องเต้เลย ‘ตกรางวัล’ ให้เป็นการลงทัณฑ์ด้วยการโบยพร้อมกับคำพูดที่ว่า ยอมเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองเพื่อให้ผู้ตรวจการล่ายมีชื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตีเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจากหลายซีรีส์และนิยายจีน การลงทัณฑ์นี้ทั่วไปเรียกว่า ‘จ้างสิง’ (杖刑) เป็นวิธีการลงทัณฑ์ที่ถูกบัญญัติเข้าไปในกฎหมาย เพียงแต่รูปแบบและรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ที่วันนี้จะคุยถึงคือการโบยที่เรียกว่า ‘ถิงจ้าง’ (廷杖) ซึ่งเป็นกรณีที่เราเห็นในเรื่อง <หาญชะตาฯ 2> ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ‘จ้าง’ แปลว่าตีด้วยไม้ ส่วน ‘ถิง’ หมายถึงส่วนของพระราชวังที่ฮ่องเต้ใช้ทรงงานและประชุมกับขุนนางหรือหมายถึงราชสำนัก ดังนั้น ‘ถิงจ้าง’ จึงเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้หมายถึงการโบยขุนนางระดับสูงหน้าพระที่นั่งและเป็นคำสั่งของฮ่องเต้เท่านั้น การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตามคำสั่งของฮ่องเต้มีมาตั้งแต่สมัยฮั่น แต่จากสมัยฮั่นจนถึงสมัยหยวนเกิดกรณีอย่างนี้น้อยมาก มันไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวและไม่ใช่บทลงโทษตามกฎหมาย หากแต่เป็นอำนาจของฮ่องเต้ที่จะเลือกใช้ได้ตามความต้องการและสั่งลงทัณฑ์ได้เลยโดยไม่ผ่านขั้นตอนพิจารณาความผิดตามกฎหมาย ต่อมาในสมัยหมิงมีการถิงจ้างหน้าพระที่นั่งบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์และมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน จริงๆ แล้วแรกเริ่มเลย การถิงจ้างในสมัยหมิงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษสถานหนัก หากแต่เป็นการสร้างความอัปยศอดสูให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพราะว่าหลักปฏิบัติแต่ไหนแต่ไรมาคือไม่ลงทัณฑ์ขุนนาง หากจะลงทัณฑ์จะปลดออกจากตำแหน่งก่อน ดังนั้น การที่ขุนนางถูกถกชุดชั้นนอกออกแล้วโบยก้นอีกทั้งทำต่อหน้าขุนนางด้วยกันนั้นจึงเป็นเรื่องอัปยศมาก ซึ่งเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในรัชสมัยขององค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง) เป็นช่วงตอนที่เพิ่งครองราชย์ได้สักแปดปี (ค.ศ. 1376) เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องของขุนนางจากกระทรวงราชทัณฑ์นามว่าหรูไท่ซู่ เขาถวายฎีกาฉบับหนึ่งยาวถึงหมื่นกว่าอักษรร้องเรียนการขาดแคลนข้าราชการที่มีคุณภาพ ซึ่งยาวจนองค์หมิงไท่จู่ต้องให้คนอ่านให้ฟัง ฟังๆ ไปก็รู้สึกว่าน้ำเยอะเนื้อน้อย ถ้อยคำที่ใช้ก็ยิ่งฟังไม่เข้าหู อุตส่าห์เรียกให้หรู่ไท่ซู่มานั่งคุยให้ฟัง แต่ก็ทนไม่ได้กับการพูดวกไปวนมา ว่ากันว่า ยังมีถ้อยคำที่ฟังดูเหมือนยกให้บัณฑิตสูงส่งกว่าซึ่งไม่เข้าหูฮ่องเต้ที่มีพื้นเพเป็นลูกชาวนา สุดท้ายฮ่องเต้โกรธจัดเลยสั่งให้โบยก้นต่อหน้าข้าราชสำนักในท้องพระโรง ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ว่าโบยไปกี่ครั้ง ต่อมาภายหลังองค์หมิงไท่จู่ไตร่ตรองทบทวนเห็นว่าบางข้อเสนอของฎีกานั้นน่าสนใจจึงเอาไปใช้ จึงกลายเป็นว่าความผิดที่ทำให้หรูไท่ซู่ถูกถิงจ้างไม่ใช่เป็นเพราะสาระ แต่เป็นเพราะเขียนยาวเกินไปทำให้สิ้นเปลืองเวลาของฮ่องเต้ เนื้อหาที่เขียนได้ภายในห้าร้อยอักษรกลับเขียนยาวถึงหมื่นอักษร และเพราะเหตุการณ์นี้องค์หมิงไท่จู่จึงให้มีการกำหนดรูปแบบของการเขียนฎีกาขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้อีก การโบยเพื่อสร้างความอัปยศเป็นการแสดงอำนาจของฮ่องเต้เมื่อถูกหมิ่นหรือขัดใจโดยขุนนาง แต่กลับกลายเป็นวัฒนธรรมที่ขุนนางมองว่าการถูกถิงจ้างนี้เป็นการแสดงความกล้าหาญและเป็นสิ่งที่ควรทำ ต่อมาการถิงจ้างจึงเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นตายได้ แน่นอนว่าการสั่งโบยได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนพิพากษาตามกฎหมายก็กลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่ฮ่องเต้ใช้ควบคุมขุนนางไม่ให้กระด้างกระเดื่อง จะตีเมื่อไหร่ ตีกี่ครั้ง ตีหนักตีเบา ล้วนแล้วแต่ฮ่องเต้จะกำหนดเอง ถิงจ้างกลายเป็นภาพที่เห็นบ่อยในราชสำนักเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางราชวงศ์หมิง สถานที่ลงทัณฑ์เปลี่ยนจากในท้องพระโรงมาเป็นริมทางเดินเข้าวังด้านประตูอู่เหมิน ซึ่งก็คือประตูด้านหน้าของวัง และถิงจ้างทวีความรุนแรงมากขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงอู่จง (ฮ่องเต้องค์ที่สิบเอ็ด) เมื่อมีการเปลี่ยนกฎไม่ให้วางเบาะรองและผู้ถูกโบยห้ามใส่กางเกง ตลอดการครองราชย์สิบหกปีขององค์หมิงอู่จงนั้น มีคนถูกถิงจ้างทั้งสิ้นกว่าหนึ่งร้อยคน ตายสิบเอ็ดคน และนี่เป็นรัชสมัยที่เริ่มใช้ถิงจ้างกับคนจากสำนักผู้ตรวจการ ในรายละเอียดมีเรื่องการใช้อำนาจเกินควรของกลุ่มขันที แต่ Storyฯ ขอไม่เล่าเพราะเรื่องยาวและออกนอกประเด็นเหตุการณ์ถิงจ้างที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนเกิดขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงซื่อจง (ฮ่องเต้องค์ที่ สิบสอง) เมื่อปีค.ศ. 1525 เพราะเป็นการโบยพร้อมกันถึงหนึ่งร้อยสามสิบสี่คน มีคนตายในระหว่างโบยสิบเจ็ดคน (หมายเหตุ เรื่องจำนวนคนแตกต่างกันในหลายบทความ แต่ตัวเลขนี้ Storyฯ ใช้ตามเอกสารของพิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม)เรื่องมีอยู่ว่าฮ่องเต้หมิงซื่อจงไม่ใช่ลูกของฮ่องเต้องค์ก่อนคือฮ่องเต้หมิงอู่จง หากแต่มีศักดิ์เป็นหลานลุง ตามธรรมเนียมเมื่อหมิงซื่อจงขึ้นครองราชย์แล้วก็ต้องรับฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นพ่อ ส่วนพ่อแม่ตัวเองก็ต้องกลายเป็นน้าและน้าสะใภ้ นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติ แต่องค์หมิงซื่อจงไม่ยอม ยืนยันจะคงไว้ว่าฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นลุง ขุนนางสองร้อยสามสิบคนคุกเข่าอ้อนวอนอยู่หน้าประตูพระที่นั่งเพื่อหวังจะบีบให้ฮ่องเต้เปลี่ยนใจ สุดท้ายขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปโดนปลด ที่เหลือโดนโบยหมู่และเนรเทศ ในการถิงจ้างสมัยหมิงนั้น ผู้ที่มีหน้าที่โบยคือขันทีหรือองครักษ์เสื้อแพร ว่ากันว่าจริงจังถึงขนาดฝึกซ้อมโบยโดยใช้หุ่นฟางยัดไส้แผ่นกระเบื้องแล้วห่อด้วยกระดาษ ต้องฝึกจนสามารถตีให้กระเบื้องข้างในแตกละเอียดได้โดยที่กระดาษหุ้มข้างนอกไม่ขาด! ที่ต้องฝึกเพราะคำสั่งโบยมีสองแบบคือ ‘ตีอย่างใส่ใจ’ (用心打) และ ‘ตีอย่างจริงจัง’ (着实打) ซึ่งแบบแรกคือไม่ให้เจ็บมากและแบบหลังคือจัดเต็ม และเนื่องจากมันต้องใช้แรงมาก จะมีการเปลี่ยนคนโบยทุกๆ ห้าครั้งจากที่ Storyฯ อ่านเจอมา ไม้ที่ใช้โบยนั้นทำจากไม้เนื้อแข็งอย่างไม้เกาลัด หน้าตาของมันมีสองแบบ แบบแรกคือไม้พลองที่มีปลายแบนหน้าตาเหมือนไม้พาย แบบที่สองฟังดูโหดร้ายคือเป็นไม้พลองที่มีปลายหุ้มด้วยแผ่นเหล็กบากเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ เป็นที่มาว่าทำไมคนจึงถูกโบยจนเนื้อก้นเละเหวอะหวะได้ ว่ากันว่าถูกโบยสิบพลองก็ทำต้องพักติดเตียงเป็นแรมเดือนแล้ว(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://reading.udn.com/read/story/7046/7952824https://www.163.com/dy/article/J2USN6TV0517QCSB.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.dpm.org.cn/Uploads/pdf/1942/T00017_00.pdf https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1800722 https://www.hunantoday.cn/news/xhn/202310/18872283.html https://www.sohu.com/a/771696490_121165427 https://www.sohu.com/a/773532850_121921623 https://www.163.com/dy/article/G86EPNJQ0528NB1M.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ถิงจ้าง #โบยตี #ลงทัณฑ์พระราชทาน #จูหยวนจาง
    ถิงจ้าง - การโบยพระราชทานสวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ถึงเรื่องราวตอนที่ผู้ตรวจการล่ายหมิงเฉิงร้องเรียนฮ่องเต้ว่าประพฤติตนไม่ถูกต้อง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) ฮ่องเต้เลย ‘ตกรางวัล’ ให้เป็นการลงทัณฑ์ด้วยการโบยพร้อมกับคำพูดที่ว่า ยอมเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองเพื่อให้ผู้ตรวจการล่ายมีชื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตีเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจากหลายซีรีส์และนิยายจีน การลงทัณฑ์นี้ทั่วไปเรียกว่า ‘จ้างสิง’ (杖刑) เป็นวิธีการลงทัณฑ์ที่ถูกบัญญัติเข้าไปในกฎหมาย เพียงแต่รูปแบบและรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ที่วันนี้จะคุยถึงคือการโบยที่เรียกว่า ‘ถิงจ้าง’ (廷杖) ซึ่งเป็นกรณีที่เราเห็นในเรื่อง <หาญชะตาฯ 2> ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ‘จ้าง’ แปลว่าตีด้วยไม้ ส่วน ‘ถิง’ หมายถึงส่วนของพระราชวังที่ฮ่องเต้ใช้ทรงงานและประชุมกับขุนนางหรือหมายถึงราชสำนัก ดังนั้น ‘ถิงจ้าง’ จึงเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้หมายถึงการโบยขุนนางระดับสูงหน้าพระที่นั่งและเป็นคำสั่งของฮ่องเต้เท่านั้น การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตามคำสั่งของฮ่องเต้มีมาตั้งแต่สมัยฮั่น แต่จากสมัยฮั่นจนถึงสมัยหยวนเกิดกรณีอย่างนี้น้อยมาก มันไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวและไม่ใช่บทลงโทษตามกฎหมาย หากแต่เป็นอำนาจของฮ่องเต้ที่จะเลือกใช้ได้ตามความต้องการและสั่งลงทัณฑ์ได้เลยโดยไม่ผ่านขั้นตอนพิจารณาความผิดตามกฎหมาย ต่อมาในสมัยหมิงมีการถิงจ้างหน้าพระที่นั่งบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์และมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน จริงๆ แล้วแรกเริ่มเลย การถิงจ้างในสมัยหมิงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษสถานหนัก หากแต่เป็นการสร้างความอัปยศอดสูให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพราะว่าหลักปฏิบัติแต่ไหนแต่ไรมาคือไม่ลงทัณฑ์ขุนนาง หากจะลงทัณฑ์จะปลดออกจากตำแหน่งก่อน ดังนั้น การที่ขุนนางถูกถกชุดชั้นนอกออกแล้วโบยก้นอีกทั้งทำต่อหน้าขุนนางด้วยกันนั้นจึงเป็นเรื่องอัปยศมาก ซึ่งเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในรัชสมัยขององค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง) เป็นช่วงตอนที่เพิ่งครองราชย์ได้สักแปดปี (ค.ศ. 1376) เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องของขุนนางจากกระทรวงราชทัณฑ์นามว่าหรูไท่ซู่ เขาถวายฎีกาฉบับหนึ่งยาวถึงหมื่นกว่าอักษรร้องเรียนการขาดแคลนข้าราชการที่มีคุณภาพ ซึ่งยาวจนองค์หมิงไท่จู่ต้องให้คนอ่านให้ฟัง ฟังๆ ไปก็รู้สึกว่าน้ำเยอะเนื้อน้อย ถ้อยคำที่ใช้ก็ยิ่งฟังไม่เข้าหู อุตส่าห์เรียกให้หรู่ไท่ซู่มานั่งคุยให้ฟัง แต่ก็ทนไม่ได้กับการพูดวกไปวนมา ว่ากันว่า ยังมีถ้อยคำที่ฟังดูเหมือนยกให้บัณฑิตสูงส่งกว่าซึ่งไม่เข้าหูฮ่องเต้ที่มีพื้นเพเป็นลูกชาวนา สุดท้ายฮ่องเต้โกรธจัดเลยสั่งให้โบยก้นต่อหน้าข้าราชสำนักในท้องพระโรง ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ว่าโบยไปกี่ครั้ง ต่อมาภายหลังองค์หมิงไท่จู่ไตร่ตรองทบทวนเห็นว่าบางข้อเสนอของฎีกานั้นน่าสนใจจึงเอาไปใช้ จึงกลายเป็นว่าความผิดที่ทำให้หรูไท่ซู่ถูกถิงจ้างไม่ใช่เป็นเพราะสาระ แต่เป็นเพราะเขียนยาวเกินไปทำให้สิ้นเปลืองเวลาของฮ่องเต้ เนื้อหาที่เขียนได้ภายในห้าร้อยอักษรกลับเขียนยาวถึงหมื่นอักษร และเพราะเหตุการณ์นี้องค์หมิงไท่จู่จึงให้มีการกำหนดรูปแบบของการเขียนฎีกาขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้อีก การโบยเพื่อสร้างความอัปยศเป็นการแสดงอำนาจของฮ่องเต้เมื่อถูกหมิ่นหรือขัดใจโดยขุนนาง แต่กลับกลายเป็นวัฒนธรรมที่ขุนนางมองว่าการถูกถิงจ้างนี้เป็นการแสดงความกล้าหาญและเป็นสิ่งที่ควรทำ ต่อมาการถิงจ้างจึงเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นตายได้ แน่นอนว่าการสั่งโบยได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนพิพากษาตามกฎหมายก็กลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่ฮ่องเต้ใช้ควบคุมขุนนางไม่ให้กระด้างกระเดื่อง จะตีเมื่อไหร่ ตีกี่ครั้ง ตีหนักตีเบา ล้วนแล้วแต่ฮ่องเต้จะกำหนดเอง ถิงจ้างกลายเป็นภาพที่เห็นบ่อยในราชสำนักเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางราชวงศ์หมิง สถานที่ลงทัณฑ์เปลี่ยนจากในท้องพระโรงมาเป็นริมทางเดินเข้าวังด้านประตูอู่เหมิน ซึ่งก็คือประตูด้านหน้าของวัง และถิงจ้างทวีความรุนแรงมากขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงอู่จง (ฮ่องเต้องค์ที่สิบเอ็ด) เมื่อมีการเปลี่ยนกฎไม่ให้วางเบาะรองและผู้ถูกโบยห้ามใส่กางเกง ตลอดการครองราชย์สิบหกปีขององค์หมิงอู่จงนั้น มีคนถูกถิงจ้างทั้งสิ้นกว่าหนึ่งร้อยคน ตายสิบเอ็ดคน และนี่เป็นรัชสมัยที่เริ่มใช้ถิงจ้างกับคนจากสำนักผู้ตรวจการ ในรายละเอียดมีเรื่องการใช้อำนาจเกินควรของกลุ่มขันที แต่ Storyฯ ขอไม่เล่าเพราะเรื่องยาวและออกนอกประเด็นเหตุการณ์ถิงจ้างที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนเกิดขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงซื่อจง (ฮ่องเต้องค์ที่ สิบสอง) เมื่อปีค.ศ. 1525 เพราะเป็นการโบยพร้อมกันถึงหนึ่งร้อยสามสิบสี่คน มีคนตายในระหว่างโบยสิบเจ็ดคน (หมายเหตุ เรื่องจำนวนคนแตกต่างกันในหลายบทความ แต่ตัวเลขนี้ Storyฯ ใช้ตามเอกสารของพิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม)เรื่องมีอยู่ว่าฮ่องเต้หมิงซื่อจงไม่ใช่ลูกของฮ่องเต้องค์ก่อนคือฮ่องเต้หมิงอู่จง หากแต่มีศักดิ์เป็นหลานลุง ตามธรรมเนียมเมื่อหมิงซื่อจงขึ้นครองราชย์แล้วก็ต้องรับฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นพ่อ ส่วนพ่อแม่ตัวเองก็ต้องกลายเป็นน้าและน้าสะใภ้ นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติ แต่องค์หมิงซื่อจงไม่ยอม ยืนยันจะคงไว้ว่าฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นลุง ขุนนางสองร้อยสามสิบคนคุกเข่าอ้อนวอนอยู่หน้าประตูพระที่นั่งเพื่อหวังจะบีบให้ฮ่องเต้เปลี่ยนใจ สุดท้ายขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปโดนปลด ที่เหลือโดนโบยหมู่และเนรเทศ ในการถิงจ้างสมัยหมิงนั้น ผู้ที่มีหน้าที่โบยคือขันทีหรือองครักษ์เสื้อแพร ว่ากันว่าจริงจังถึงขนาดฝึกซ้อมโบยโดยใช้หุ่นฟางยัดไส้แผ่นกระเบื้องแล้วห่อด้วยกระดาษ ต้องฝึกจนสามารถตีให้กระเบื้องข้างในแตกละเอียดได้โดยที่กระดาษหุ้มข้างนอกไม่ขาด! ที่ต้องฝึกเพราะคำสั่งโบยมีสองแบบคือ ‘ตีอย่างใส่ใจ’ (用心打) และ ‘ตีอย่างจริงจัง’ (着实打) ซึ่งแบบแรกคือไม่ให้เจ็บมากและแบบหลังคือจัดเต็ม และเนื่องจากมันต้องใช้แรงมาก จะมีการเปลี่ยนคนโบยทุกๆ ห้าครั้งจากที่ Storyฯ อ่านเจอมา ไม้ที่ใช้โบยนั้นทำจากไม้เนื้อแข็งอย่างไม้เกาลัด หน้าตาของมันมีสองแบบ แบบแรกคือไม้พลองที่มีปลายแบนหน้าตาเหมือนไม้พาย แบบที่สองฟังดูโหดร้ายคือเป็นไม้พลองที่มีปลายหุ้มด้วยแผ่นเหล็กบากเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ เป็นที่มาว่าทำไมคนจึงถูกโบยจนเนื้อก้นเละเหวอะหวะได้ ว่ากันว่าถูกโบยสิบพลองก็ทำต้องพักติดเตียงเป็นแรมเดือนแล้ว(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://reading.udn.com/read/story/7046/7952824https://www.163.com/dy/article/J2USN6TV0517QCSB.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.dpm.org.cn/Uploads/pdf/1942/T00017_00.pdf https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1800722 https://www.hunantoday.cn/news/xhn/202310/18872283.html https://www.sohu.com/a/771696490_121165427 https://www.sohu.com/a/773532850_121921623 https://www.163.com/dy/article/G86EPNJQ0528NB1M.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ถิงจ้าง #โบยตี #ลงทัณฑ์พระราชทาน #จูหยวนจาง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1115 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์

    อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง

    ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน

    คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป

    แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา

    ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย

    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ

    ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย

    แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร

    ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน

    แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย

    ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์"

    ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา

    Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น

    โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย

    พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง

    ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ

    ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม)

    ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน)

    กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น

    แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร

    ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา

    แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก

    ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย

    ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

    สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย

    หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า

    "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน

    จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ"

    แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น

    หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better
    ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok

    ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA

    #Thaitimes
    เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์ อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์" ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม) ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน) กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ" แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA #Thaitimes
    WWW.THEBETTER.CO.TH
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1532 มุมมอง 0 รีวิว
  • จีนเคยอดยาก ขาดอาหาร..กินรากไม้!! ตาย40-50ล้านชีวิต!! (24/10/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ความมั่นคงทางอาหารของจีน #ประวัติศาสตร์จีน #สังคมจีน
    จีนเคยอดยาก ขาดอาหาร..กินรากไม้!! ตาย40-50ล้านชีวิต!! (24/10/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ความมั่นคงทางอาหารของจีน #ประวัติศาสตร์จีน #สังคมจีน
    Like
    Sad
    Love
    Haha
    16
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2770 มุมมอง 513 1 รีวิว
  • เทียบเคียงประวัติศาสตร์จีน ในยุคปฎิวัติวัฒนธรรม Cultural Revolution ในช่วง คศ.1966-1976
    แก๊งสี่คน หรือ แก๊งออฟโฟร์ ( Gang of Four ) ที่ขับเคลื่อน ยุวชนแดง หรือ เรดการ์ด คือ เจียงชิง , เหยาเหวินหยวน , จางชุนเฉียว และหวังหงเหวิน
    อันนี้เป็น เวอร์ชั่นไทย มี แก๊งสี่คน หรือเรียกว่า up-pre of Four
    ที่ขับเคลื่อนชัดใย ยุวชนส้มสามกีบ คือ สหายทอน สหายทิม สหายเท้ง และ สหายทูม
    #พรรคประชาชน up-pre
    เทียบเคียงประวัติศาสตร์จีน ในยุคปฎิวัติวัฒนธรรม Cultural Revolution ในช่วง คศ.1966-1976 แก๊งสี่คน หรือ แก๊งออฟโฟร์ ( Gang of Four ) ที่ขับเคลื่อน ยุวชนแดง หรือ เรดการ์ด คือ เจียงชิง , เหยาเหวินหยวน , จางชุนเฉียว และหวังหงเหวิน อันนี้เป็น เวอร์ชั่นไทย มี แก๊งสี่คน หรือเรียกว่า up-pre of Four ที่ขับเคลื่อนชัดใย ยุวชนส้มสามกีบ คือ สหายทอน สหายทิม สหายเท้ง และ สหายทูม #พรรคประชาชน up-pre
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1271 มุมมอง 0 รีวิว
  • สิ้นแล้ว “อาจารย์ทองแถม นาถจำนง” เจ้าของนามปากกา “โชติช่วง นาดอน” มีผลงานด้านจีนศึกษา ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีนจำนวนมาก นักแปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ “สามก๊ก” สิริอายุ 69 ปี

    2 สิงหาคม 2567 - เพจเฟซบุ๊ก “สามก๊ก 1994 三国演义” โพสต์อาลัย “อาจารย์ทองแถม” นักแปลชื่อดัง อดีตบรรณาธิการสยามรัฐ เสียชีวิตแล้ว สิริอายุ 69 ปี โดยระบุข้อความว่า

    “อำลาอาลัย อาจารย์ทองแถม นาถจำนง

    ทองแถม นาถจำนง (๒๔๙๘-๒๕๖๗)

    滚滚长江东逝水,
    น้ำแยงซี รี่ไหล ไปบูรพา

    浪花淘尽英雄。
    คลื่นซัดกวาดพา วีรชน หล่นลับหาย

    是非成败转头空。
    ถูกผิดแพ้ชนะ วัฏจักร เวียนว่างดาย

    青山依旧在,几度夕阳红。
    สิงขรยังคง ตาวันยังฉาย นานเท่านาน

    บทกวีนำวรรณกรรมสามก๊กและบทเพลงเปิดภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994 แปลโดย อ.ทองเเถม นาถจำนง

    อาจารย์ทองแถม นาถจำนง นามปากกา “โชติช่วง นาดอน” มีผลงานด้านจีนศึกษา ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีนจำนวนมาก ผลงานหนึ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งสำหรับวงการสามก๊กในประเทศไทย คือการแปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994 三国演义 เป็นภาษาไทย ซึ่งนับเป็นงานใหญ่และยากยิ่ง แต่ท่านสามารถแปลและใช้คำได้อย่างไพเราะสละสลวยอย่างที่สุด ไม่สามารถพบได้ในสื่อหรือบทแปลภาพยนตร์และภาพยนตร์โทรทัศน์ใดในสมัยนี้ ทางผมเองได้เคยพูดคุยกับอาจารย์ทาง Messenger หลายครั้ง และเคยร่วมงานพิธีลงนามและแถลงข่าวการลงนามความร่วมมือทางวัฒนธรรมไทย-จีน

    ในการเผยแพร่ภาพยนตร์โทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์จีนชุด “สามก๊ก” 《三国演义》1994 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒ วันนั้นได้มีโอกาสเดินทางร่วมกับอาจารย์ทองแถมอย่างใกล้ชิด ได้สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับการทำงานแปลสามก๊ก 1994 ได้รับความรู้และเรื่องราวต่าง ๆ จากท่าน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่มีการจดบันทึก เป็นข้อมูลที่เกิดจากประสบการณ์และได้รับการถ่ายทอดด้วยการพูดคุยกับท่านโดยตรง นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง และประทับใจจนทุกวันนี้“

    กราบคารวะอาจารย์ทองแถมสู่สุคติในสัมปรายภพ

    บทสัมภาษณ์พิเศษ อ.ทองแถมที่ผู้จัดการออนไลน์บันทึกไว้เมื่อสิบปีที่แล้ว 10 ก.ค.2558 https://mgronline.com/china/detail/9580000078184#lzcmbn1540ec6hyp8mj บ่งบอกความลึกซึ้งในวิถีศรัทธาของอาจารย์ทองแถมในปรัชญาเต๋า เถายวนหมิง และแปลปรัชญาเต๋าของเล่าจื๊อ ที่ถือเป็นสุดยอดมรดกทางปัญญาของจีน

    หลักคิดของอาจารย์บนเส้นทางที่ยากลำบากของนักแปลปรัชญาวรรณกรรมจีนที่ให้ไว้กับคนรุ่นหลัง

    หนึ่ง-การเป็นนักเขียนอาชีพที่จะพึ่งรายได้ จากการแปลภาษาจีน มันยากมาก เราต้องมีความสามารถในเชิงวรรณศิลป์มาก ๆ สำนักพิมพ์จึงจะกล้าพิมพ์หนังสือให้เรา

    สอง-ต้องเข้าใจตลาดด้วย ต้องวิเคราะห์ให้เป็นว่า แนวเรื่องแบบใดจะขายได้ในตลาด เพื่อให้มีรายได้พอเลี้ยงชีพ

    สาม-เราควรมี “กล่อง” ไว้บ้าง คือมีงานมาสเตอร์พีซที่จะทำให้เราได้รับการยอมรับ แล้วสร้างแนวเรื่องของตนเองได้สำเร็จ เช่นว่าถ้าเรื่องกลยุทธ์บริหารโดยพิชัยสงครามจีนแล้ว อ่านงานของเราแล้วไม่ผิดหวัง

    สี่-ควรมีทั้งงานแปลและงานค้นคว้าเขียนเอง

    “ “ผมปรารถนาชีวิตสมถะ สงบสุข แบบเถายวนหมิง แม้จะรู้ว่าบางช่วงก็ต้องมีปัญหาด้านเศรษฐกิจบ้าง”อาจารยทองแถมกล่าว

    พิธีศพจัดที่ ศาลา 4 วัดภคินีนาถวรวิหาร ซอยราชวิถี 21 พิธีสวดอภิธรรมบำเพ็ญกุศล2-6 ส.ค.และพิธีฌาปนกิจในวันที่ 7 ส.ค.2567

    #Thaitimes
    สิ้นแล้ว “อาจารย์ทองแถม นาถจำนง” เจ้าของนามปากกา “โชติช่วง นาดอน” มีผลงานด้านจีนศึกษา ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีนจำนวนมาก นักแปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ “สามก๊ก” สิริอายุ 69 ปี 2 สิงหาคม 2567 - เพจเฟซบุ๊ก “สามก๊ก 1994 三国演义” โพสต์อาลัย “อาจารย์ทองแถม” นักแปลชื่อดัง อดีตบรรณาธิการสยามรัฐ เสียชีวิตแล้ว สิริอายุ 69 ปี โดยระบุข้อความว่า “อำลาอาลัย อาจารย์ทองแถม นาถจำนง ทองแถม นาถจำนง (๒๔๙๘-๒๕๖๗) 滚滚长江东逝水, น้ำแยงซี รี่ไหล ไปบูรพา 浪花淘尽英雄。 คลื่นซัดกวาดพา วีรชน หล่นลับหาย 是非成败转头空。 ถูกผิดแพ้ชนะ วัฏจักร เวียนว่างดาย 青山依旧在,几度夕阳红。 สิงขรยังคง ตาวันยังฉาย นานเท่านาน บทกวีนำวรรณกรรมสามก๊กและบทเพลงเปิดภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994 แปลโดย อ.ทองเเถม นาถจำนง อาจารย์ทองแถม นาถจำนง นามปากกา “โชติช่วง นาดอน” มีผลงานด้านจีนศึกษา ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีนจำนวนมาก ผลงานหนึ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งสำหรับวงการสามก๊กในประเทศไทย คือการแปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994 三国演义 เป็นภาษาไทย ซึ่งนับเป็นงานใหญ่และยากยิ่ง แต่ท่านสามารถแปลและใช้คำได้อย่างไพเราะสละสลวยอย่างที่สุด ไม่สามารถพบได้ในสื่อหรือบทแปลภาพยนตร์และภาพยนตร์โทรทัศน์ใดในสมัยนี้ ทางผมเองได้เคยพูดคุยกับอาจารย์ทาง Messenger หลายครั้ง และเคยร่วมงานพิธีลงนามและแถลงข่าวการลงนามความร่วมมือทางวัฒนธรรมไทย-จีน ในการเผยแพร่ภาพยนตร์โทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์จีนชุด “สามก๊ก” 《三国演义》1994 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒ วันนั้นได้มีโอกาสเดินทางร่วมกับอาจารย์ทองแถมอย่างใกล้ชิด ได้สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับการทำงานแปลสามก๊ก 1994 ได้รับความรู้และเรื่องราวต่าง ๆ จากท่าน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่มีการจดบันทึก เป็นข้อมูลที่เกิดจากประสบการณ์และได้รับการถ่ายทอดด้วยการพูดคุยกับท่านโดยตรง นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง และประทับใจจนทุกวันนี้“ กราบคารวะอาจารย์ทองแถมสู่สุคติในสัมปรายภพ บทสัมภาษณ์พิเศษ อ.ทองแถมที่ผู้จัดการออนไลน์บันทึกไว้เมื่อสิบปีที่แล้ว 10 ก.ค.2558 https://mgronline.com/china/detail/9580000078184#lzcmbn1540ec6hyp8mj บ่งบอกความลึกซึ้งในวิถีศรัทธาของอาจารย์ทองแถมในปรัชญาเต๋า เถายวนหมิง และแปลปรัชญาเต๋าของเล่าจื๊อ ที่ถือเป็นสุดยอดมรดกทางปัญญาของจีน หลักคิดของอาจารย์บนเส้นทางที่ยากลำบากของนักแปลปรัชญาวรรณกรรมจีนที่ให้ไว้กับคนรุ่นหลัง หนึ่ง-การเป็นนักเขียนอาชีพที่จะพึ่งรายได้ จากการแปลภาษาจีน มันยากมาก เราต้องมีความสามารถในเชิงวรรณศิลป์มาก ๆ สำนักพิมพ์จึงจะกล้าพิมพ์หนังสือให้เรา สอง-ต้องเข้าใจตลาดด้วย ต้องวิเคราะห์ให้เป็นว่า แนวเรื่องแบบใดจะขายได้ในตลาด เพื่อให้มีรายได้พอเลี้ยงชีพ สาม-เราควรมี “กล่อง” ไว้บ้าง คือมีงานมาสเตอร์พีซที่จะทำให้เราได้รับการยอมรับ แล้วสร้างแนวเรื่องของตนเองได้สำเร็จ เช่นว่าถ้าเรื่องกลยุทธ์บริหารโดยพิชัยสงครามจีนแล้ว อ่านงานของเราแล้วไม่ผิดหวัง สี่-ควรมีทั้งงานแปลและงานค้นคว้าเขียนเอง “ “ผมปรารถนาชีวิตสมถะ สงบสุข แบบเถายวนหมิง แม้จะรู้ว่าบางช่วงก็ต้องมีปัญหาด้านเศรษฐกิจบ้าง”อาจารยทองแถมกล่าว พิธีศพจัดที่ ศาลา 4 วัดภคินีนาถวรวิหาร ซอยราชวิถี 21 พิธีสวดอภิธรรมบำเพ็ญกุศล2-6 ส.ค.และพิธีฌาปนกิจในวันที่ 7 ส.ค.2567 #Thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1035 มุมมอง 0 รีวิว