• **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 300 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพลงดนตรีฉินโบราณ กว่างหลิงส่าน

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> น่าจะจำได้ว่าตระกูลเยียนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏและ เซี่ยเวยได้บรรเลงพิณกู่ฉินส่งอำลาเยียนโหวและเยียนหลิงสองครั้ง ชื่อของเพลงพิณนี้คือ ‘กว่างหลิงส่าน’ (广陵散 / เพลงกว่างหลิน)

    มีคนเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเพลงนี้พอสมควร และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับมันแล้ว (แต่อาจเจอหลายเวอร์ชั่นที่แตกต่าง) Storyฯ เชื่อว่ายังมีอีกหลายท่านที่ไม่เข้าใจถึงเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในเพลงนี้ เพื่อให้ได้อรรถรสในการดูมากขึ้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเพลงพิณเพลงนี้กัน

    เพลงกว่างหลิงส่านถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบสุดยอดเพลงพิณโบราณของจีน เป็นหนึ่งในเพลงพิณที่มีความยาวและความซับซ้อนมากที่สุด มีทั้งหมดสี่สิบห้าท่อนด้วยกัน จึงมีความหลากหลายของท่วงทำนองและความซับซ้อนในการบรรเลง เพื่อนเพจสามารถค้นหาบนเน็ตก็จะพบหลายเวอร์ชั่นที่นักดนตรีชั้นครูหลายท่านบรรเลงไว้ แต่ทั้งหมดจะเป็นการยกบางท่อนมาเล่นเพราะเพลงเต็มนั้นยาวเกินไป

    เอกสารเกี่ยวกับโน้ตเพลงกว่างหลิงส่านนี้ปรากฏครั้งแรกในตำราดนตรีสมัยหมิงที่ชื่อว่าตำราเสินฉีมี่ผู่ (神奇秘谱) เรียกว่า ‘โน้ต’ อาจทำให้นึกภาพผิด เพราะสมัยโบราณไม่ได้เขียนโน้ตด้วยสัญลักษณ์แบบปัจจุบัน แต่เป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดในลักษณะการบรรยาย จึงมีหน้าตาเป็นเหมือนหนังสือตำรา ในสมุดบันทึกดังกล่าวมีคำหมายเหตุที่เอ่ยถึงหลายชื่อบุคคลและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในสมัยจ้านกั๋ว จึงถูกมองว่าเป็นเพลงเดียวกับเพลงโบราณ ‘เนี่ยเจิ้งชึหานกุยฉวี่’ (聂政刺韩傀曲 /เพลงเนี่ยเจิ้งลอบสังหารหานกุย) ซึ่งเล่าถึงเรื่องราวของเนี่ยเจิ้ง หนึ่งในมือสังหารที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

    เรื่องราวของเนี่ยเจิ้งมีสองเวอร์ชั่นว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร Storyฯ สรุปใจความหลักมาให้ฟัง... เนี่ยเจิ้งผู้นี้เป็นคนมีฝีมือดีใจกล้ามีคุณธรรม เขาพาแม่และพี่สาวหลบไปซ่อนตัวอยู่ในชนบทตั้งแต่สมัยหนุ่ม เวอร์ชั่นแรก บอกว่าเขาเป็นลูกขุนนางที่ถูกอ๋องแห่งแคว้นหานฆ่าตายเลยต้องหนี ต่อมาฝึกเพลงพิณจนชำนาญและเข้าวังไปเป็นนักดนตรี ฉวยโอกาสงานรื่นเริงลอบสังหารอ๋องแห่งแคว้นหานสำเร็จ

    เวอร์ชั่นที่สองซึ่งสอดคล้องกับชื่อเพลงมากกว่านั้น เล่าว่าเขาช่วยคนอื่นแล้วพลั้งมือฆ่าคนตายเลยต้องหนีไปซ่อนตัว ต่อมาเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณเหยียนซุ่ยที่ดูแลแม่ของตนจึงรับงานสังหาร ซึ่งเหยียนซุ่ยคือขุนนางของแคว้นหานที่มีความแค้นกับหานกุย อัครเสนาบดีแคว้นหานที่ขึ้นชื่อว่าใช้อำนาจรังแกคนมากมายและเป็นอาของอ๋องแห่งแคว้นหาน เหยียนซุ่ยกลัวว่าจะถูกหานกุยกำจัดทิ้งเลยจะชิงลงมือก่อน ในเวอร์ชั่นนี้เนี่ยเจิ้งบุกเข้าไปฆ่าหานกุยสำเร็จตามลำพัง

    แต่ไม่ว่าจะเวอร์ชั่นไหน สิ่งที่พ้องกันคือ หลังจากสังหารอีกฝ่ายเสร็จแล้ว เนี่ยเจิ้งทำลายโฉมลอกหนังหน้าและควักลูกตาของตนออกมา ตายในที่เกิดเหตุโดยไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นใคร ทางการป่าวประกาศหาคนมาให้เบาะแส จวบจนพี่สาวของเขามาตามหาและโศกเศร้าจนกอดศพตายไปจึงรู้ว่าที่แท้มือสังหารคนนี้คือเนี่ยเจิ้ง และเรื่องราวถูกเล่าต่อกันถึงความกล้าหาญของเขา และความกตัญญูยอมทำลายโฉมตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อครอบครัว ต่อมากลายมาเป็นเรื่องราวที่แฝงไว้ซึ่งคำสอนว่าผู้ที่ปกครองบ้านเมืองควรมีคุณธรรม

    ชื่อเพลงแปรเปลี่ยนเป็นกว่างหลิงส่านตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ชนรุ่นหลังรู้จักชื่อ ‘ก่วงหลิงส่าน’ นี้เพราะจีคัง เขาคือนักปรัชญา นักเขียนและนักดนตรีชื่อดังในสมัยเว่ยจิ้นแห่งราชวงศ์เหนือใต้ ได้รับการเชิญให้เข้ารับราชการหลายครั้งแต่ก็ปฏิเสธเรื่อยมา เขาเป็นคนตรงและกล้าพูด ยอมหักไม่ยอมงอ ในสมัยที่สองพี่น้องสกุลซือหม่า (ซือหม่าซือและซือหม่าจาว) กุมอำนาจทางการเมือง เขาเป็นคนที่วิพากษ์วิจารณ์การปกครองของรัฐบาลอย่างเปิดเผยและรุนแรง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ที่เขาต่อต้านทางการเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวของสหายสนิท สุดท้ายถูกจับกุมและประหารชีวิตเมื่อตอนอายุสี่สิบปี ก่อนตายเขาบรรเลงเพลงพิณกว่างหลิงส่านนี้

    ตำนานเกี่ยวกับเพลงกว่างหลิงส่านและจีคังมีหลายเวอร์ชั่นเช่นกัน บ้างว่าเพลงนี้เขาได้รับการสอนจากเซียน บ้างว่าได้มาจากวิญญาณ โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามสอนต่อ บ้างว่าได้รับการสอนมาจากครอบครัวตระกูลตู้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพิณแต่ต่อมาไร้ผู้สืบทอด บ้างว่าเขาประพันธ์ขึ้นเอง แต่ที่เล่ากันต่อมาเป็นเสียงเดียวกันคือ จีคังบรรเลงเพลงนี้ได้ไพเราะจับใจ

    เนื่องจากเพลงกว่างหลิงส่านมีหลายท่อนหลายท่วงทำนอง จึงให้ความรู้สึกตามจินตนาการที่หลากหลาย เช่น ภาพม้าศึกออกรบ ความรู้สึกฮึกเหิม แรงต่อต้าน และมีบางช่วงทอดเสียงอ้อยอิ่งคล้ายเศร้าแต่ก็ให้ความหวัง มีคนตีความว่าเป็นบทเพลงที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมืองเนื่องจากโน้ตเพลงเน้นการใช้สายพิณเส้นที่หนึ่ง สอง และสาม ซึ่งหมายถึง ‘กง’ หรือราชัน ‘ซาง’ หรือข้าราชสำนัก และ ‘เจวี๋ย’ หรือประชาชน ตามลำดับ (หมายเหตุ อ่านย้อนเกี่ยวกับความหมายของสายพิณกู่ฉินได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837) และเพลงนี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการยึดมั่นในความถูกต้อง

    Storyฯ คิดว่าการใช้เพลงกว่างหลิงส่านมาเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> สะท้อนได้ดีถึงความรู้สึกของตัวละครหลายคนโดยเฉพาะตระกูลเยียนที่ยึดมั่นในคุณธรรมและความถูกต้อง และไม่หวั่นเกรงต่อความลำบากหรือผลร้ายที่จะตามมา เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้แล้ว คิดเห็นเป็นอย่างไรคะ?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://big5.huaxia.com/c/2023/11/09/1824224.shtml
    https://catalog.digitalarchives.tw/item/00/07/db/5a.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.guoxue.com/?p=6176
    https://baike.baidu.com/item/聂政
    https://baike.baidu.com/item/聂政刺韩傀/6263080
    https://baike.baidu.com/item/广陵散/234828
    https://baike.baidu.com/item/嵇康/151928
    https://www.sohu.com/a/214683627_718263
    https://m.cyol.com/gb/articles/2022-05/11/content_BN2qBSlY7.html

    #เล่ห์รักวังคุนหนิง #กว่างหลิงส่าน #ตำราเพลงกู่ฉิน #พิณโบราณ #เนี่ยเจิ้ง #จีคัง
    เพลงดนตรีฉินโบราณ กว่างหลิงส่าน สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> น่าจะจำได้ว่าตระกูลเยียนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏและ เซี่ยเวยได้บรรเลงพิณกู่ฉินส่งอำลาเยียนโหวและเยียนหลิงสองครั้ง ชื่อของเพลงพิณนี้คือ ‘กว่างหลิงส่าน’ (广陵散 / เพลงกว่างหลิน) มีคนเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเพลงนี้พอสมควร และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับมันแล้ว (แต่อาจเจอหลายเวอร์ชั่นที่แตกต่าง) Storyฯ เชื่อว่ายังมีอีกหลายท่านที่ไม่เข้าใจถึงเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในเพลงนี้ เพื่อให้ได้อรรถรสในการดูมากขึ้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเพลงพิณเพลงนี้กัน เพลงกว่างหลิงส่านถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบสุดยอดเพลงพิณโบราณของจีน เป็นหนึ่งในเพลงพิณที่มีความยาวและความซับซ้อนมากที่สุด มีทั้งหมดสี่สิบห้าท่อนด้วยกัน จึงมีความหลากหลายของท่วงทำนองและความซับซ้อนในการบรรเลง เพื่อนเพจสามารถค้นหาบนเน็ตก็จะพบหลายเวอร์ชั่นที่นักดนตรีชั้นครูหลายท่านบรรเลงไว้ แต่ทั้งหมดจะเป็นการยกบางท่อนมาเล่นเพราะเพลงเต็มนั้นยาวเกินไป เอกสารเกี่ยวกับโน้ตเพลงกว่างหลิงส่านนี้ปรากฏครั้งแรกในตำราดนตรีสมัยหมิงที่ชื่อว่าตำราเสินฉีมี่ผู่ (神奇秘谱) เรียกว่า ‘โน้ต’ อาจทำให้นึกภาพผิด เพราะสมัยโบราณไม่ได้เขียนโน้ตด้วยสัญลักษณ์แบบปัจจุบัน แต่เป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดในลักษณะการบรรยาย จึงมีหน้าตาเป็นเหมือนหนังสือตำรา ในสมุดบันทึกดังกล่าวมีคำหมายเหตุที่เอ่ยถึงหลายชื่อบุคคลและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในสมัยจ้านกั๋ว จึงถูกมองว่าเป็นเพลงเดียวกับเพลงโบราณ ‘เนี่ยเจิ้งชึหานกุยฉวี่’ (聂政刺韩傀曲 /เพลงเนี่ยเจิ้งลอบสังหารหานกุย) ซึ่งเล่าถึงเรื่องราวของเนี่ยเจิ้ง หนึ่งในมือสังหารที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เรื่องราวของเนี่ยเจิ้งมีสองเวอร์ชั่นว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร Storyฯ สรุปใจความหลักมาให้ฟัง... เนี่ยเจิ้งผู้นี้เป็นคนมีฝีมือดีใจกล้ามีคุณธรรม เขาพาแม่และพี่สาวหลบไปซ่อนตัวอยู่ในชนบทตั้งแต่สมัยหนุ่ม เวอร์ชั่นแรก บอกว่าเขาเป็นลูกขุนนางที่ถูกอ๋องแห่งแคว้นหานฆ่าตายเลยต้องหนี ต่อมาฝึกเพลงพิณจนชำนาญและเข้าวังไปเป็นนักดนตรี ฉวยโอกาสงานรื่นเริงลอบสังหารอ๋องแห่งแคว้นหานสำเร็จ เวอร์ชั่นที่สองซึ่งสอดคล้องกับชื่อเพลงมากกว่านั้น เล่าว่าเขาช่วยคนอื่นแล้วพลั้งมือฆ่าคนตายเลยต้องหนีไปซ่อนตัว ต่อมาเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณเหยียนซุ่ยที่ดูแลแม่ของตนจึงรับงานสังหาร ซึ่งเหยียนซุ่ยคือขุนนางของแคว้นหานที่มีความแค้นกับหานกุย อัครเสนาบดีแคว้นหานที่ขึ้นชื่อว่าใช้อำนาจรังแกคนมากมายและเป็นอาของอ๋องแห่งแคว้นหาน เหยียนซุ่ยกลัวว่าจะถูกหานกุยกำจัดทิ้งเลยจะชิงลงมือก่อน ในเวอร์ชั่นนี้เนี่ยเจิ้งบุกเข้าไปฆ่าหานกุยสำเร็จตามลำพัง แต่ไม่ว่าจะเวอร์ชั่นไหน สิ่งที่พ้องกันคือ หลังจากสังหารอีกฝ่ายเสร็จแล้ว เนี่ยเจิ้งทำลายโฉมลอกหนังหน้าและควักลูกตาของตนออกมา ตายในที่เกิดเหตุโดยไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นใคร ทางการป่าวประกาศหาคนมาให้เบาะแส จวบจนพี่สาวของเขามาตามหาและโศกเศร้าจนกอดศพตายไปจึงรู้ว่าที่แท้มือสังหารคนนี้คือเนี่ยเจิ้ง และเรื่องราวถูกเล่าต่อกันถึงความกล้าหาญของเขา และความกตัญญูยอมทำลายโฉมตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อครอบครัว ต่อมากลายมาเป็นเรื่องราวที่แฝงไว้ซึ่งคำสอนว่าผู้ที่ปกครองบ้านเมืองควรมีคุณธรรม ชื่อเพลงแปรเปลี่ยนเป็นกว่างหลิงส่านตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ชนรุ่นหลังรู้จักชื่อ ‘ก่วงหลิงส่าน’ นี้เพราะจีคัง เขาคือนักปรัชญา นักเขียนและนักดนตรีชื่อดังในสมัยเว่ยจิ้นแห่งราชวงศ์เหนือใต้ ได้รับการเชิญให้เข้ารับราชการหลายครั้งแต่ก็ปฏิเสธเรื่อยมา เขาเป็นคนตรงและกล้าพูด ยอมหักไม่ยอมงอ ในสมัยที่สองพี่น้องสกุลซือหม่า (ซือหม่าซือและซือหม่าจาว) กุมอำนาจทางการเมือง เขาเป็นคนที่วิพากษ์วิจารณ์การปกครองของรัฐบาลอย่างเปิดเผยและรุนแรง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ที่เขาต่อต้านทางการเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวของสหายสนิท สุดท้ายถูกจับกุมและประหารชีวิตเมื่อตอนอายุสี่สิบปี ก่อนตายเขาบรรเลงเพลงพิณกว่างหลิงส่านนี้ ตำนานเกี่ยวกับเพลงกว่างหลิงส่านและจีคังมีหลายเวอร์ชั่นเช่นกัน บ้างว่าเพลงนี้เขาได้รับการสอนจากเซียน บ้างว่าได้มาจากวิญญาณ โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามสอนต่อ บ้างว่าได้รับการสอนมาจากครอบครัวตระกูลตู้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพิณแต่ต่อมาไร้ผู้สืบทอด บ้างว่าเขาประพันธ์ขึ้นเอง แต่ที่เล่ากันต่อมาเป็นเสียงเดียวกันคือ จีคังบรรเลงเพลงนี้ได้ไพเราะจับใจ เนื่องจากเพลงกว่างหลิงส่านมีหลายท่อนหลายท่วงทำนอง จึงให้ความรู้สึกตามจินตนาการที่หลากหลาย เช่น ภาพม้าศึกออกรบ ความรู้สึกฮึกเหิม แรงต่อต้าน และมีบางช่วงทอดเสียงอ้อยอิ่งคล้ายเศร้าแต่ก็ให้ความหวัง มีคนตีความว่าเป็นบทเพลงที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมืองเนื่องจากโน้ตเพลงเน้นการใช้สายพิณเส้นที่หนึ่ง สอง และสาม ซึ่งหมายถึง ‘กง’ หรือราชัน ‘ซาง’ หรือข้าราชสำนัก และ ‘เจวี๋ย’ หรือประชาชน ตามลำดับ (หมายเหตุ อ่านย้อนเกี่ยวกับความหมายของสายพิณกู่ฉินได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837) และเพลงนี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการยึดมั่นในความถูกต้อง Storyฯ คิดว่าการใช้เพลงกว่างหลิงส่านมาเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> สะท้อนได้ดีถึงความรู้สึกของตัวละครหลายคนโดยเฉพาะตระกูลเยียนที่ยึดมั่นในคุณธรรมและความถูกต้อง และไม่หวั่นเกรงต่อความลำบากหรือผลร้ายที่จะตามมา เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้แล้ว คิดเห็นเป็นอย่างไรคะ? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://big5.huaxia.com/c/2023/11/09/1824224.shtml https://catalog.digitalarchives.tw/item/00/07/db/5a.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.guoxue.com/?p=6176 https://baike.baidu.com/item/聂政 https://baike.baidu.com/item/聂政刺韩傀/6263080 https://baike.baidu.com/item/广陵散/234828 https://baike.baidu.com/item/嵇康/151928 https://www.sohu.com/a/214683627_718263 https://m.cyol.com/gb/articles/2022-05/11/content_BN2qBSlY7.html #เล่ห์รักวังคุนหนิง #กว่างหลิงส่าน #ตำราเพลงกู่ฉิน #พิณโบราณ #เนี่ยเจิ้ง #จีคัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 941 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระดาษไป๋ลู่

    สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องกระดาษโบราณ

    ในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการสืบคดีในวังเพื่อหาคนที่เขียนข้อความที่มีความเกี่ยวพันกับก๊วนกบฏ และหนึ่งในหลักฐานที่ใช้คือกระดาษไป๋ลู่ (白鹿纸 ใช่ค่ะ... ไป๋ลู่อักษรเดียวกับชื่อนักแสดงหญิงที่หลายคนคุ้นเคย แปลว่ากวางขาว) มีการอธิบายไว้ในซีรีส์ว่า กระดาษไป๋ลู่มีใช้เพียงในวัง มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่าแจกจ่ายไปให้ใครเมื่อไหร่เป็นจำนวนเท่าใด

    ข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่มีไม่มาก ส่วนใหญ่ระบุแต่เพียงว่ามันเป็นกระดาษที่ใช้ในวัง เป็นกระดาษที่ผลิตยากมาก เนื้อดีเหมาะกับการเขียนหรือวาดรูป เป็นกระดาษเซวียนจื่อชนิดหนึ่ง มีขนาดมาตรฐานคือยาวหนึ่งจ้างสองฉื่อ (คือยาวประมาณ 3.7 เมตร) จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษ ‘จ้างเอ้อร์เซวียน’ (丈二宣) ขนาดมาตรฐานปัจจุบันคือ 1.5 x 3.7 เมตร

    แล้วกระดาษเซวียนจื่อ (宣纸) คืออะไร?

    กระดาษเซวียนจื่อจัดอยู่ในกลุ่มกระดาษที่ทำจากเยื่อเปลือกไม้ ซึ่งกระดาษจีนโบราณจะจัดแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ตามวัสดุที่ใช้ผลิต คือ 1. กระดาษใยปอ/ใยป่าน (麻 纸 / หมาจื่อ) ทำจากเส้นใยปอและใยป่าน 2. กระดาษเยื่อเปลือกไม้ (皮纸 / ผีจื่อ) คือทำจากเยื่อเปลือกไม้ชนิดต่างๆ 3. กระดาษเยื่อไผ่ (竹 纸 / จู๋จื่อ) และ 4. กระดาษใยฝ้าย (棉 纸 / เหมียนจื่อ)

    กระดาษเยื่อเปลือกไม้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสมัยถัง มีการพัฒนาขึ้นหลายชนิด เป็นกลุ่มกระดาษที่มีความหลากหลายมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเนื้อกระดาษแตกต่างกันไปตามชนิดของเปลือกไม้ที่ใช้และน้ำที่ใช้ รวมถึงอาจใช้เส้นใยปอหรือใยฝ้ายมาผสมให้หลากหลายยิ่งขึ้น และเป็นที่มาว่าทำไมในซีรีส์/นิยายจีนโบราณจึงมีการดูจากเนื้อกระดาษแล้วสามารถบอกได้ว่ามาจากพื้นที่ใดเพราะต้นไม้บางชนิดจะพบได้ในบางพื้นที่เท่านั้น กระดาษเยื่อเปลือกไม้มีทั้งเนื้อหยาบที่สามารถทำเป็นเสื้อผ้าสวมใส่ และเนื้อละเอียดที่ใช้ในงานเขียนหรืองานวาดที่ต้องใช้ความละเอียดมาก ว่ากันว่านักเขียนและนักวาดบางคนคิดค้นกระดาษเนื้อพิเศษของตนเองขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย

    กรรมวิธีการผลิตกระดาษเยื่อเปลือกไม้ก็คล้ายกับการทำกระดาษสาบ้านเรา คือเอาไม้ไปแช่ในน้ำแล้วทุบแตกจนเปื่อย คัดเอาเยื่อออกมาต้ม อาจใส่ส่วนผสมอื่นเช่นเกลือหรือน้ำหัวไชเท้าเพื่อเสริมความเนียนและความคงทนของกระดาษ เคี่ยวและบดแล้วนำมากรอง จากนั้นเอามาปูบางๆ บนพิมพ์แล้วตากแห้ง แห้งแล้วก็นำมาเรียงและตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ แน่นอนว่านี่เป็นการเล่าโดยคร่าว ไม่สามารถสะท้อนถึงความพิถีพิถันของแต่ละขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ได้ ซึ่งความพิถีพิถันดังกล่าวเป็นหัวใจของการผลิตกระดาษที่มีคุณภาพแตกต่างกัน

    กระดาษเซวียนจื่อเกิดขึ้นในสมัยถัง มีที่มาจากพื้นที่เซวียนโจว (แถบหวงซาน เขตพื้นที่มณฑลอันฮุยปัจจุบัน) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้สองชนิดคือ 1) เปลือกของไม้ชิงถาน (青檀 / Blue Sandalwood) อยู่ในกลุ่มไม้จันทร์ เป็นสายพันธุ์ที่มีเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ขึ้นตามธรรมชาติ และเปลือกไม้จันทร์ชนิดอื่นไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนในการผลิตกระดาษเซวียนจื่อนี้ได้ มันเป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้กระดาษมีความเหนียว คงสภาพได้ดีไม่ยับง่าย ไม่ถูกแมลงกัดกิน ทำให้กระดาษมีความคงทน และ 2) ต้นข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซาเถียนเต้า’ (沙田稻) โดยเป็นส่วนผสมที่ให้ความนุ่มต่อกระดาษด้วยเส้นใยที่สั้นกว่าไม้ชิงถาน ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครเพาะปลูกต้นข้าวชนิดนี้แล้ว ดังนั้นกระดาษเซวียนจื่อที่มีขายปัจจุบันจะมีเนื้อกระดาษที่ไม่เหมือนของโบราณและกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณได้สาบสูญไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง

    กรรมวิธีการเตรียมเยื่อไม้ทั้งสองชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย แยกกันทำแล้วค่อยนำมาเคี่ยวผสมกัน และส่วนผสมของเยื่อไม้ทั้งสองและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างจะทำให้ได้เนื้อกระดาษเซวียนจื่อที่หลากหลายมาก มีความละเอียดและเนียนหยาบแตกต่างกัน มีความสามารถดูดซึมน้ำหมึกได้ต่างกัน (แน่นอนว่าผงหมึกก็มีความแตกต่าง แบ่งแยกเป็นของแพงและของถูก ฯลฯ) มีสีขาวเหลืองอ่อนแก่แตกต่างกัน เป็นต้น โดยภาพรวมแล้ว กระดาษเซวียนจื่อเป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับงานเขียนและงานวาดเพราะดูดซึมหมึกได้ดีและผิวเนียนเรียบกว่ากระดาษจากใยปอ/ใยป่านหรือกระดาษจากเปลือกไม้ชนิดอื่น และมีความคงทนกว่า จึงถูกยกย่องเป็น ‘กระดาษพันปี’

    กระดาษเซวียนจื่อแบ่งได้เป็นสามเกรดหลักตามสัดส่วนของเยื่อเปลือกไม้ชิงถาน และกระดาษไป๋ลู่คือกระดาษเซวียนจื่อเกรดดีที่สุด คือมีส่วนผสมของเปลือกไม้ชิงถานไม่ต่ำกว่า 80% มีกรรมวิธีการผลิตที่ประณีต เป็นกระดาษที่ดูดซับน้ำหมึกได้ดี ทำให้ลายเส้นอักษรคมชัดแต่ไม่กระด้าง แสดงความพลิ้วไหวของลายเส้นได้ดี มีการบรรยายว่าเนื้อกระดาษเนียนนุ่มดุจไหม สีขาวนวลดุจหยก

    ว่ากันว่า กระดาษไป๋ลู่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวนโดยนักพรตคนหนึ่งสำหรับไว้ใช้เอง ต่อมาถูกนำมาใช้ในวังเรียกว่ากระดาษไป๋ลู่หรือกวางขาวเพราะมีเส้นลายที่ดูเป็นลายหนังกวางซึ่งถูกมองว่าเป็นลายมงคล ต่อมามีคนที่ผลิตได้ไม่กี่ตระกูล จึงเป็นกระดาษที่มีปริมาณการผลิตที่จำกัดและหายากมาก

    กระดาษมีหน่วยนับเป็น ‘เตา’ (刀 แปลว่ามีด) ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าในละครแปลไว้อย่างไร แต่หนึ่งเตาสมัยโบราณคือกระดาษจำนวน 25 แผ่น มีที่มาของการเรียกอย่างนี้ก็คือ หนึ่งมีดสามารถตัดกระดาษโดยไม่เบี้ยวที่ 25 แผ่นนั่นเอง (หมายเหตุ ด้วยวิวัฒนาการผลิต ปัจจุบันหนึ่งเตาคือหนึ่งรีมหรือ 100 แผ่น)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/rain/a/20231130A00YSS00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1263914
    http://www.chinapaper.net/jjnews/show-353.html
    http://www.chinapaper.net/jjnews/show-222.html
    https://baike.baidu.com/item/檀皮宣纸/1802446
    https://baike.baidu.com/item/宣纸/329910
    https://www.sohu.com/a/362150345_616747

    #เล่ห์รักวังคุนหนิง #ไป๋ลู่จื่อ #กระดาษไป๋ลู่ #กระดาษจีน #เซวียนจื่อ #การผลิตกระดาษจีน #กระดาษเยื่อเปลือกไม้
    กระดาษไป๋ลู่ สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องกระดาษโบราณ ในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการสืบคดีในวังเพื่อหาคนที่เขียนข้อความที่มีความเกี่ยวพันกับก๊วนกบฏ และหนึ่งในหลักฐานที่ใช้คือกระดาษไป๋ลู่ (白鹿纸 ใช่ค่ะ... ไป๋ลู่อักษรเดียวกับชื่อนักแสดงหญิงที่หลายคนคุ้นเคย แปลว่ากวางขาว) มีการอธิบายไว้ในซีรีส์ว่า กระดาษไป๋ลู่มีใช้เพียงในวัง มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่าแจกจ่ายไปให้ใครเมื่อไหร่เป็นจำนวนเท่าใด ข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่มีไม่มาก ส่วนใหญ่ระบุแต่เพียงว่ามันเป็นกระดาษที่ใช้ในวัง เป็นกระดาษที่ผลิตยากมาก เนื้อดีเหมาะกับการเขียนหรือวาดรูป เป็นกระดาษเซวียนจื่อชนิดหนึ่ง มีขนาดมาตรฐานคือยาวหนึ่งจ้างสองฉื่อ (คือยาวประมาณ 3.7 เมตร) จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษ ‘จ้างเอ้อร์เซวียน’ (丈二宣) ขนาดมาตรฐานปัจจุบันคือ 1.5 x 3.7 เมตร แล้วกระดาษเซวียนจื่อ (宣纸) คืออะไร? กระดาษเซวียนจื่อจัดอยู่ในกลุ่มกระดาษที่ทำจากเยื่อเปลือกไม้ ซึ่งกระดาษจีนโบราณจะจัดแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ตามวัสดุที่ใช้ผลิต คือ 1. กระดาษใยปอ/ใยป่าน (麻 纸 / หมาจื่อ) ทำจากเส้นใยปอและใยป่าน 2. กระดาษเยื่อเปลือกไม้ (皮纸 / ผีจื่อ) คือทำจากเยื่อเปลือกไม้ชนิดต่างๆ 3. กระดาษเยื่อไผ่ (竹 纸 / จู๋จื่อ) และ 4. กระดาษใยฝ้าย (棉 纸 / เหมียนจื่อ) กระดาษเยื่อเปลือกไม้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสมัยถัง มีการพัฒนาขึ้นหลายชนิด เป็นกลุ่มกระดาษที่มีความหลากหลายมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเนื้อกระดาษแตกต่างกันไปตามชนิดของเปลือกไม้ที่ใช้และน้ำที่ใช้ รวมถึงอาจใช้เส้นใยปอหรือใยฝ้ายมาผสมให้หลากหลายยิ่งขึ้น และเป็นที่มาว่าทำไมในซีรีส์/นิยายจีนโบราณจึงมีการดูจากเนื้อกระดาษแล้วสามารถบอกได้ว่ามาจากพื้นที่ใดเพราะต้นไม้บางชนิดจะพบได้ในบางพื้นที่เท่านั้น กระดาษเยื่อเปลือกไม้มีทั้งเนื้อหยาบที่สามารถทำเป็นเสื้อผ้าสวมใส่ และเนื้อละเอียดที่ใช้ในงานเขียนหรืองานวาดที่ต้องใช้ความละเอียดมาก ว่ากันว่านักเขียนและนักวาดบางคนคิดค้นกระดาษเนื้อพิเศษของตนเองขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย กรรมวิธีการผลิตกระดาษเยื่อเปลือกไม้ก็คล้ายกับการทำกระดาษสาบ้านเรา คือเอาไม้ไปแช่ในน้ำแล้วทุบแตกจนเปื่อย คัดเอาเยื่อออกมาต้ม อาจใส่ส่วนผสมอื่นเช่นเกลือหรือน้ำหัวไชเท้าเพื่อเสริมความเนียนและความคงทนของกระดาษ เคี่ยวและบดแล้วนำมากรอง จากนั้นเอามาปูบางๆ บนพิมพ์แล้วตากแห้ง แห้งแล้วก็นำมาเรียงและตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ แน่นอนว่านี่เป็นการเล่าโดยคร่าว ไม่สามารถสะท้อนถึงความพิถีพิถันของแต่ละขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ได้ ซึ่งความพิถีพิถันดังกล่าวเป็นหัวใจของการผลิตกระดาษที่มีคุณภาพแตกต่างกัน กระดาษเซวียนจื่อเกิดขึ้นในสมัยถัง มีที่มาจากพื้นที่เซวียนโจว (แถบหวงซาน เขตพื้นที่มณฑลอันฮุยปัจจุบัน) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้สองชนิดคือ 1) เปลือกของไม้ชิงถาน (青檀 / Blue Sandalwood) อยู่ในกลุ่มไม้จันทร์ เป็นสายพันธุ์ที่มีเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ขึ้นตามธรรมชาติ และเปลือกไม้จันทร์ชนิดอื่นไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนในการผลิตกระดาษเซวียนจื่อนี้ได้ มันเป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้กระดาษมีความเหนียว คงสภาพได้ดีไม่ยับง่าย ไม่ถูกแมลงกัดกิน ทำให้กระดาษมีความคงทน และ 2) ต้นข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซาเถียนเต้า’ (沙田稻) โดยเป็นส่วนผสมที่ให้ความนุ่มต่อกระดาษด้วยเส้นใยที่สั้นกว่าไม้ชิงถาน ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครเพาะปลูกต้นข้าวชนิดนี้แล้ว ดังนั้นกระดาษเซวียนจื่อที่มีขายปัจจุบันจะมีเนื้อกระดาษที่ไม่เหมือนของโบราณและกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณได้สาบสูญไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง กรรมวิธีการเตรียมเยื่อไม้ทั้งสองชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย แยกกันทำแล้วค่อยนำมาเคี่ยวผสมกัน และส่วนผสมของเยื่อไม้ทั้งสองและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างจะทำให้ได้เนื้อกระดาษเซวียนจื่อที่หลากหลายมาก มีความละเอียดและเนียนหยาบแตกต่างกัน มีความสามารถดูดซึมน้ำหมึกได้ต่างกัน (แน่นอนว่าผงหมึกก็มีความแตกต่าง แบ่งแยกเป็นของแพงและของถูก ฯลฯ) มีสีขาวเหลืองอ่อนแก่แตกต่างกัน เป็นต้น โดยภาพรวมแล้ว กระดาษเซวียนจื่อเป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับงานเขียนและงานวาดเพราะดูดซึมหมึกได้ดีและผิวเนียนเรียบกว่ากระดาษจากใยปอ/ใยป่านหรือกระดาษจากเปลือกไม้ชนิดอื่น และมีความคงทนกว่า จึงถูกยกย่องเป็น ‘กระดาษพันปี’ กระดาษเซวียนจื่อแบ่งได้เป็นสามเกรดหลักตามสัดส่วนของเยื่อเปลือกไม้ชิงถาน และกระดาษไป๋ลู่คือกระดาษเซวียนจื่อเกรดดีที่สุด คือมีส่วนผสมของเปลือกไม้ชิงถานไม่ต่ำกว่า 80% มีกรรมวิธีการผลิตที่ประณีต เป็นกระดาษที่ดูดซับน้ำหมึกได้ดี ทำให้ลายเส้นอักษรคมชัดแต่ไม่กระด้าง แสดงความพลิ้วไหวของลายเส้นได้ดี มีการบรรยายว่าเนื้อกระดาษเนียนนุ่มดุจไหม สีขาวนวลดุจหยก ว่ากันว่า กระดาษไป๋ลู่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวนโดยนักพรตคนหนึ่งสำหรับไว้ใช้เอง ต่อมาถูกนำมาใช้ในวังเรียกว่ากระดาษไป๋ลู่หรือกวางขาวเพราะมีเส้นลายที่ดูเป็นลายหนังกวางซึ่งถูกมองว่าเป็นลายมงคล ต่อมามีคนที่ผลิตได้ไม่กี่ตระกูล จึงเป็นกระดาษที่มีปริมาณการผลิตที่จำกัดและหายากมาก กระดาษมีหน่วยนับเป็น ‘เตา’ (刀 แปลว่ามีด) ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าในละครแปลไว้อย่างไร แต่หนึ่งเตาสมัยโบราณคือกระดาษจำนวน 25 แผ่น มีที่มาของการเรียกอย่างนี้ก็คือ หนึ่งมีดสามารถตัดกระดาษโดยไม่เบี้ยวที่ 25 แผ่นนั่นเอง (หมายเหตุ ด้วยวิวัฒนาการผลิต ปัจจุบันหนึ่งเตาคือหนึ่งรีมหรือ 100 แผ่น) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/rain/a/20231130A00YSS00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1263914 http://www.chinapaper.net/jjnews/show-353.html http://www.chinapaper.net/jjnews/show-222.html https://baike.baidu.com/item/檀皮宣纸/1802446 https://baike.baidu.com/item/宣纸/329910 https://www.sohu.com/a/362150345_616747 #เล่ห์รักวังคุนหนิง #ไป๋ลู่จื่อ #กระดาษไป๋ลู่ #กระดาษจีน #เซวียนจื่อ #การผลิตกระดาษจีน #กระดาษเยื่อเปลือกไม้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 742 มุมมอง 0 รีวิว
  • โล่วหู นาฬิกาหยดน้ำโบราณ

    สวัสดีค่ะ วันนี้เราอยู่กันกับซีรีส์เรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ

    หลายท่านคงทราบว่านาฬิกาโบราณนั้น มีนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายและนาฬิกาหยดน้ำ ก่อนจะพัฒนามาเป็นนาฬิกากลไกที่ใช้เฟือง มีบทความเกี่ยวกับนาฬิกาโบราณไม่น้อยให้เพื่อนเพจได้ค้นหาอ่านกัน วันนี้ Storyฯ มาขยายความเรื่องนาฬิกาน้ำแบบหยดน้ำ เพราะที่เห็นในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มันสวยเตะตาเหลือเกิน (แต่จนใจหาฉากที่เห็นรูปนาฬิกาแบบเต็มเรือนมาให้ดูไม่ได้)

    นาฬิกาหยดน้ำที่เห็นในซีรีส์เรื่องนี้มีองค์ประกอบและหลักการทำงานโดยสรุปดังนี้ (ดูรูปประกอบ): เป็นโถใส่น้ำอยู่ด้านบน ปล่อยให้น้ำค่อยๆ หยดลงบนถาด เมื่อน้ำปริ่มจนได้ระดับก็จะหยดลงในอ่างด้านล่าง ในอ่างด้านล่างมีไม้บรรทัดตั้งอยู่โดยเสียบผ่านถาดไม้บนอ่าง บนไม้บรรทัดมีขีดบอกเวลาสิบสองชั่วยาม เมื่อระดับน้ำในอ่างรับน้ำมีมากขึ้นไม้ก็จะค่อยๆ ลอยขึ้น ระดับความสูงของขอบถาดอยู่ตรงขีดไม้บรรทัดขีดไหนก็คือเวลานั้นๆ

    ดูจากหลักการทำงานตามที่กล่าวมาข้างต้น Storyฯ คิดว่านาฬิการุ่นนี้เป็นแบบขั้นบันได พูดแล้วเพื่อนเพจคงงงว่าเป็นแบบขั้นบันไดอย่างไร ก่อนอื่นมาดูรูปแบบของนาฬิกาหยดน้ำโบราณกันค่ะ

    นาฬิกาหยดน้ำเรียกว่า ‘โล่วหู’ (漏壶 แปลตรงตัวว่าโถที่มีรู) มีดีไซน์หลากหลาย แต่สามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็นสามกลุ่มตามหลักการที่ใช้ สรุปดังนี้

    1. แบบระบายน้ำ (泄水型 /เซี่ยสุ่ยสิง หรือ 沉箭漏 / เฉินเจี้ยนโล่ว): นี่เป็นแบบแรกเริ่มของนาฬิกาหยดน้ำในจีน โดยหลักการคือใช้โถปล่อยน้ำที่มีท่อเล็กระบายน้ำที่ส่วนล่าง ฝาโถมีรูให้เสียบก้านไม้ที่มีเส้นขีดบอกเวลาเพื่อว่าก้านไม้จะได้ไม่เอียง ด้านล่างของก้านไม้ยึดอยู่บนถาดที่ลอยอยู่ในโถ (ดูรูปประกอบ) เมื่อน้ำค่อยๆ หยดระบายออก ก้านไม้ในโถก็จะค่อยๆ ลดระดับ เมื่อมองจากด้านนอกก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ระดับใด โบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบเจอนั้นเป็นของสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 202 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 008)

    ข้อเสียของนาฬิกาหยดน้ำแบบระบายน้ำนี้ก็คือ ความช้าเร็วในการหยดของน้ำจะแตกต่างกันเมื่อระดับปริมาณน้ำในโถที่ลดลง เป็นเรื่องของแรงดันน้ำอันเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก คือน้ำในโถปล่อยยิ่งมาก แรงดันยิ่งสูง ก็จะยิ่งหยดเร็ว

    2. แบบสะสมน้ำ (受水型 /โซ่วสุ่ยสิง หรือ 浮箭漏/ฝูเจี้ยนโล่ว): ว่ากันว่านาฬิกาแบบนี้มีมาแต่สมัยฮั่นตะวันตกในช่วงปลายราชวงศ์ โดยหลักการคือเอาก้านไม้ที่บอกเวลาไปลอยไว้ในโถหรืออ่างรับน้ำที่วางอยู่ข้างล่าง เมื่อโถรับน้ำมีปริมาณน้ำสะสมมากขึ้นก็จะดันให้ก้านไม้ค่อยๆ ลอยสูงขึ้นพ้นขอบ ก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ขีดเวลาใด (ดูรูปประกอบเพื่อเปรียบเทียบ) เป็นหลักการที่พยายามแก้ไขปัญหาความเพี้ยนของการบอกเวลา

    แต่... มันยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ดี ดังนั้น จึงเกิดเป็นแบบที่สามขึ้นมา

    3. แบบขั้นบันได (阶梯式 /เจี้ยทีซึ): คือมีโถปล่อยน้ำเรียงหลายขั้นลดหลั่นกันลงมา แรกเริ่มคือเป็นโถปล่อยน้ำ 2 ขั้น มีใช้ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25-220 ) ต่อมาเพิ่มโถปล่อยน้ำอีกหลาย ในราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เป็นโถปล่อยน้ำ 3 ขั้น หลักการทำงานคือมีก้านไม้บอกเวลาลอยอยู่ในโถรับน้ำ (เหมือนแบบสะสมน้ำ) แต่ที่เพิ่มเติมคือมีการรักษาให้ปริมาตรของน้ำจากโถปล่อยน้ำมีความคงที่ด้วยการแบ่งเป็นหลายโถ โถขั้นกลางและล่างจะได้มีปริมาตรและแรงดันที่ค่อนข้างคงที่ ยิ่งจำนวนโถปล่อยน้ำขั้นกลางมีมากเท่าไหร่ น้ำที่หยดลงสู่อ่างรับน้ำก็จะยิ่งมีระยะห่างที่สม่ำเสมอ เป็นการสร้างเสถียรภาพในการบอกเวลาได้ดี

    แต่มันก็ยังไม่แม่นยำนัก ต่อมาในยุคหลังจึงเกิดนาฬิกากลไกขึ้นมา

    Storyฯ เล่าหลักการแบบง่ายๆ นะคะ แต่ในความเป็นจริงต้องมีการคำนวณอย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นความกว้างความสูงของทุกชิ้นส่วนของภาชนะ การตีเส้นบนก้านไม้ ตำแหน่งความสูงของหลอดปล่อยน้ำ ฯลฯ

    กลับมาที่นาฬิกาเรือนสวยลายนกเป็ดน้ำในซีรีส์ <เล่ห์รักวังคุนหนิง>... ที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นนาฬิกาหยดน้ำแบบขั้นบันไดก็เพราะว่ามีการรักษาปริมาตรของน้ำเพื่อให้น้ำหยดลงในระยะห่างที่คงที่ด้วยการใช้ถาดใบบัวมาขั้นนั่นเอง (ดูรูปประกอบ) แน่นอนว่ามันมีหน้าตาสวยงามกว่าต้นแบบที่ต้องใช้โถหลายใบวางเรียงกันแต่ก็คงแม่นยำไม่เท่าด้วย

    นาฬิกาหยดน้ำเป็นสิ่งประดิษฐ์ของจีนหรือว่าได้รับอิทธิพลมาจากทางตะวันตก? เรื่องนี้คำตอบไม่แน่ชัด บ้างบอกว่าได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งตะวันตกเพราะดูจากหลักฐานโบราณวัตถุที่ค้นพบในจีนนั้นเป็นของยุคสมัยฮั่นตะวันตก แต่นาฬิกาหยดน้ำที่ใช้ในโลกตะวันตกมีต้นแบบมาจากสมัยบาบีโลนของอียิปต์ (ประมาณพันห้าร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นแบบระบายน้ำเรียกว่า clepsydra โดยของฝั่งโลกตะวันตกไม่ได้ใช้ก้านไม้ขีดเส้นลอยอยู่ในน้ำ แต่เป็นการบากเส้นขึ้นในภาชนะและจะใช้เป็นภาชนะปากกว้างเช่นอ่างเพื่อให้เห็นเส้นขีดบอกเวลาภายใน

    แต่มีบางบทความอ้างอิงว่าในบันทึกโจวหลี่มีการเขียนไว้ว่า ในสมัยราชวงศ์ซางมีตำแหน่งข้าราชการที่เรียกว่า ‘เชี่ยหูซึ’ (挈壶氏) มีหน้าที่คอยดูเวลาที่นาฬิกาหยดน้ำ บ่งบอกว่านาฬิกาหยดน้ำมีใช้ในจีนโบราณมาตั้งแต่สี่พันปีที่แล้ว

    จริงๆ ในซีรีส์เรื่องนี้มีนาฬิกาโบราณแบบอื่นให้เห็นด้วย มีเพื่อนเพจท่านใดจำได้บ้างไหม?

    หมายเหตุ: แก้ไขรูปประกอบที่ผิดพลาดเมื่อวันที่ 17/5 เวลา 16.30น. นะคะ ขออภัยที่สร้างความสับสนมาก่อนหน้านี้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/582597735
    http://www.chinajl.com.cn/jiliangqiwu/57554.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://art.people.com.cn/n/2014/0521/c206244-25043967.html
    https://www.cctv.com/geography/news/20030514/7.html#:~:text=中国最早的漏壶,或“浮箭漏”。
    https://zh.wikipedia.org/wiki/水鐘
    http://m.cnwest.com/sxxw/a/2021/12/21/20176664.html

    #เล่ห์รักวังคุนหนิง #นาฬิกาโบราณ #นาฬิกาหยดน้ำ #โล่วหู
    โล่วหู นาฬิกาหยดน้ำโบราณ สวัสดีค่ะ วันนี้เราอยู่กันกับซีรีส์เรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ หลายท่านคงทราบว่านาฬิกาโบราณนั้น มีนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายและนาฬิกาหยดน้ำ ก่อนจะพัฒนามาเป็นนาฬิกากลไกที่ใช้เฟือง มีบทความเกี่ยวกับนาฬิกาโบราณไม่น้อยให้เพื่อนเพจได้ค้นหาอ่านกัน วันนี้ Storyฯ มาขยายความเรื่องนาฬิกาน้ำแบบหยดน้ำ เพราะที่เห็นในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มันสวยเตะตาเหลือเกิน (แต่จนใจหาฉากที่เห็นรูปนาฬิกาแบบเต็มเรือนมาให้ดูไม่ได้) นาฬิกาหยดน้ำที่เห็นในซีรีส์เรื่องนี้มีองค์ประกอบและหลักการทำงานโดยสรุปดังนี้ (ดูรูปประกอบ): เป็นโถใส่น้ำอยู่ด้านบน ปล่อยให้น้ำค่อยๆ หยดลงบนถาด เมื่อน้ำปริ่มจนได้ระดับก็จะหยดลงในอ่างด้านล่าง ในอ่างด้านล่างมีไม้บรรทัดตั้งอยู่โดยเสียบผ่านถาดไม้บนอ่าง บนไม้บรรทัดมีขีดบอกเวลาสิบสองชั่วยาม เมื่อระดับน้ำในอ่างรับน้ำมีมากขึ้นไม้ก็จะค่อยๆ ลอยขึ้น ระดับความสูงของขอบถาดอยู่ตรงขีดไม้บรรทัดขีดไหนก็คือเวลานั้นๆ ดูจากหลักการทำงานตามที่กล่าวมาข้างต้น Storyฯ คิดว่านาฬิการุ่นนี้เป็นแบบขั้นบันได พูดแล้วเพื่อนเพจคงงงว่าเป็นแบบขั้นบันไดอย่างไร ก่อนอื่นมาดูรูปแบบของนาฬิกาหยดน้ำโบราณกันค่ะ นาฬิกาหยดน้ำเรียกว่า ‘โล่วหู’ (漏壶 แปลตรงตัวว่าโถที่มีรู) มีดีไซน์หลากหลาย แต่สามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็นสามกลุ่มตามหลักการที่ใช้ สรุปดังนี้ 1. แบบระบายน้ำ (泄水型 /เซี่ยสุ่ยสิง หรือ 沉箭漏 / เฉินเจี้ยนโล่ว): นี่เป็นแบบแรกเริ่มของนาฬิกาหยดน้ำในจีน โดยหลักการคือใช้โถปล่อยน้ำที่มีท่อเล็กระบายน้ำที่ส่วนล่าง ฝาโถมีรูให้เสียบก้านไม้ที่มีเส้นขีดบอกเวลาเพื่อว่าก้านไม้จะได้ไม่เอียง ด้านล่างของก้านไม้ยึดอยู่บนถาดที่ลอยอยู่ในโถ (ดูรูปประกอบ) เมื่อน้ำค่อยๆ หยดระบายออก ก้านไม้ในโถก็จะค่อยๆ ลดระดับ เมื่อมองจากด้านนอกก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ระดับใด โบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบเจอนั้นเป็นของสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 202 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 008) ข้อเสียของนาฬิกาหยดน้ำแบบระบายน้ำนี้ก็คือ ความช้าเร็วในการหยดของน้ำจะแตกต่างกันเมื่อระดับปริมาณน้ำในโถที่ลดลง เป็นเรื่องของแรงดันน้ำอันเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก คือน้ำในโถปล่อยยิ่งมาก แรงดันยิ่งสูง ก็จะยิ่งหยดเร็ว 2. แบบสะสมน้ำ (受水型 /โซ่วสุ่ยสิง หรือ 浮箭漏/ฝูเจี้ยนโล่ว): ว่ากันว่านาฬิกาแบบนี้มีมาแต่สมัยฮั่นตะวันตกในช่วงปลายราชวงศ์ โดยหลักการคือเอาก้านไม้ที่บอกเวลาไปลอยไว้ในโถหรืออ่างรับน้ำที่วางอยู่ข้างล่าง เมื่อโถรับน้ำมีปริมาณน้ำสะสมมากขึ้นก็จะดันให้ก้านไม้ค่อยๆ ลอยสูงขึ้นพ้นขอบ ก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ขีดเวลาใด (ดูรูปประกอบเพื่อเปรียบเทียบ) เป็นหลักการที่พยายามแก้ไขปัญหาความเพี้ยนของการบอกเวลา แต่... มันยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ดี ดังนั้น จึงเกิดเป็นแบบที่สามขึ้นมา 3. แบบขั้นบันได (阶梯式 /เจี้ยทีซึ): คือมีโถปล่อยน้ำเรียงหลายขั้นลดหลั่นกันลงมา แรกเริ่มคือเป็นโถปล่อยน้ำ 2 ขั้น มีใช้ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25-220 ) ต่อมาเพิ่มโถปล่อยน้ำอีกหลาย ในราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เป็นโถปล่อยน้ำ 3 ขั้น หลักการทำงานคือมีก้านไม้บอกเวลาลอยอยู่ในโถรับน้ำ (เหมือนแบบสะสมน้ำ) แต่ที่เพิ่มเติมคือมีการรักษาให้ปริมาตรของน้ำจากโถปล่อยน้ำมีความคงที่ด้วยการแบ่งเป็นหลายโถ โถขั้นกลางและล่างจะได้มีปริมาตรและแรงดันที่ค่อนข้างคงที่ ยิ่งจำนวนโถปล่อยน้ำขั้นกลางมีมากเท่าไหร่ น้ำที่หยดลงสู่อ่างรับน้ำก็จะยิ่งมีระยะห่างที่สม่ำเสมอ เป็นการสร้างเสถียรภาพในการบอกเวลาได้ดี แต่มันก็ยังไม่แม่นยำนัก ต่อมาในยุคหลังจึงเกิดนาฬิกากลไกขึ้นมา Storyฯ เล่าหลักการแบบง่ายๆ นะคะ แต่ในความเป็นจริงต้องมีการคำนวณอย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นความกว้างความสูงของทุกชิ้นส่วนของภาชนะ การตีเส้นบนก้านไม้ ตำแหน่งความสูงของหลอดปล่อยน้ำ ฯลฯ กลับมาที่นาฬิกาเรือนสวยลายนกเป็ดน้ำในซีรีส์ <เล่ห์รักวังคุนหนิง>... ที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นนาฬิกาหยดน้ำแบบขั้นบันไดก็เพราะว่ามีการรักษาปริมาตรของน้ำเพื่อให้น้ำหยดลงในระยะห่างที่คงที่ด้วยการใช้ถาดใบบัวมาขั้นนั่นเอง (ดูรูปประกอบ) แน่นอนว่ามันมีหน้าตาสวยงามกว่าต้นแบบที่ต้องใช้โถหลายใบวางเรียงกันแต่ก็คงแม่นยำไม่เท่าด้วย นาฬิกาหยดน้ำเป็นสิ่งประดิษฐ์ของจีนหรือว่าได้รับอิทธิพลมาจากทางตะวันตก? เรื่องนี้คำตอบไม่แน่ชัด บ้างบอกว่าได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งตะวันตกเพราะดูจากหลักฐานโบราณวัตถุที่ค้นพบในจีนนั้นเป็นของยุคสมัยฮั่นตะวันตก แต่นาฬิกาหยดน้ำที่ใช้ในโลกตะวันตกมีต้นแบบมาจากสมัยบาบีโลนของอียิปต์ (ประมาณพันห้าร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นแบบระบายน้ำเรียกว่า clepsydra โดยของฝั่งโลกตะวันตกไม่ได้ใช้ก้านไม้ขีดเส้นลอยอยู่ในน้ำ แต่เป็นการบากเส้นขึ้นในภาชนะและจะใช้เป็นภาชนะปากกว้างเช่นอ่างเพื่อให้เห็นเส้นขีดบอกเวลาภายใน แต่มีบางบทความอ้างอิงว่าในบันทึกโจวหลี่มีการเขียนไว้ว่า ในสมัยราชวงศ์ซางมีตำแหน่งข้าราชการที่เรียกว่า ‘เชี่ยหูซึ’ (挈壶氏) มีหน้าที่คอยดูเวลาที่นาฬิกาหยดน้ำ บ่งบอกว่านาฬิกาหยดน้ำมีใช้ในจีนโบราณมาตั้งแต่สี่พันปีที่แล้ว จริงๆ ในซีรีส์เรื่องนี้มีนาฬิกาโบราณแบบอื่นให้เห็นด้วย มีเพื่อนเพจท่านใดจำได้บ้างไหม? หมายเหตุ: แก้ไขรูปประกอบที่ผิดพลาดเมื่อวันที่ 17/5 เวลา 16.30น. นะคะ ขออภัยที่สร้างความสับสนมาก่อนหน้านี้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/582597735 http://www.chinajl.com.cn/jiliangqiwu/57554.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://art.people.com.cn/n/2014/0521/c206244-25043967.html https://www.cctv.com/geography/news/20030514/7.html#:~:text=中国最早的漏壶,或“浮箭漏”。 https://zh.wikipedia.org/wiki/水鐘 http://m.cnwest.com/sxxw/a/2021/12/21/20176664.html #เล่ห์รักวังคุนหนิง #นาฬิกาโบราณ #นาฬิกาหยดน้ำ #โล่วหู
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 565 มุมมอง 0 รีวิว