กระดาษไป๋ลู่
สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องกระดาษโบราณ
ในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการสืบคดีในวังเพื่อหาคนที่เขียนข้อความที่มีความเกี่ยวพันกับก๊วนกบฏ และหนึ่งในหลักฐานที่ใช้คือกระดาษไป๋ลู่ (白鹿纸 ใช่ค่ะ... ไป๋ลู่อักษรเดียวกับชื่อนักแสดงหญิงที่หลายคนคุ้นเคย แปลว่ากวางขาว) มีการอธิบายไว้ในซีรีส์ว่า กระดาษไป๋ลู่มีใช้เพียงในวัง มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่าแจกจ่ายไปให้ใครเมื่อไหร่เป็นจำนวนเท่าใด
ข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่มีไม่มาก ส่วนใหญ่ระบุแต่เพียงว่ามันเป็นกระดาษที่ใช้ในวัง เป็นกระดาษที่ผลิตยากมาก เนื้อดีเหมาะกับการเขียนหรือวาดรูป เป็นกระดาษเซวียนจื่อชนิดหนึ่ง มีขนาดมาตรฐานคือยาวหนึ่งจ้างสองฉื่อ (คือยาวประมาณ 3.7 เมตร) จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษ ‘จ้างเอ้อร์เซวียน’ (丈二宣) ขนาดมาตรฐานปัจจุบันคือ 1.5 x 3.7 เมตร
แล้วกระดาษเซวียนจื่อ (宣纸) คืออะไร?
กระดาษเซวียนจื่อจัดอยู่ในกลุ่มกระดาษที่ทำจากเยื่อเปลือกไม้ ซึ่งกระดาษจีนโบราณจะจัดแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ตามวัสดุที่ใช้ผลิต คือ 1. กระดาษใยปอ/ใยป่าน (麻 纸 / หมาจื่อ) ทำจากเส้นใยปอและใยป่าน 2. กระดาษเยื่อเปลือกไม้ (皮纸 / ผีจื่อ) คือทำจากเยื่อเปลือกไม้ชนิดต่างๆ 3. กระดาษเยื่อไผ่ (竹 纸 / จู๋จื่อ) และ 4. กระดาษใยฝ้าย (棉 纸 / เหมียนจื่อ)
กระดาษเยื่อเปลือกไม้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสมัยถัง มีการพัฒนาขึ้นหลายชนิด เป็นกลุ่มกระดาษที่มีความหลากหลายมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเนื้อกระดาษแตกต่างกันไปตามชนิดของเปลือกไม้ที่ใช้และน้ำที่ใช้ รวมถึงอาจใช้เส้นใยปอหรือใยฝ้ายมาผสมให้หลากหลายยิ่งขึ้น และเป็นที่มาว่าทำไมในซีรีส์/นิยายจีนโบราณจึงมีการดูจากเนื้อกระดาษแล้วสามารถบอกได้ว่ามาจากพื้นที่ใดเพราะต้นไม้บางชนิดจะพบได้ในบางพื้นที่เท่านั้น กระดาษเยื่อเปลือกไม้มีทั้งเนื้อหยาบที่สามารถทำเป็นเสื้อผ้าสวมใส่ และเนื้อละเอียดที่ใช้ในงานเขียนหรืองานวาดที่ต้องใช้ความละเอียดมาก ว่ากันว่านักเขียนและนักวาดบางคนคิดค้นกระดาษเนื้อพิเศษของตนเองขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย
กรรมวิธีการผลิตกระดาษเยื่อเปลือกไม้ก็คล้ายกับการทำกระดาษสาบ้านเรา คือเอาไม้ไปแช่ในน้ำแล้วทุบแตกจนเปื่อย คัดเอาเยื่อออกมาต้ม อาจใส่ส่วนผสมอื่นเช่นเกลือหรือน้ำหัวไชเท้าเพื่อเสริมความเนียนและความคงทนของกระดาษ เคี่ยวและบดแล้วนำมากรอง จากนั้นเอามาปูบางๆ บนพิมพ์แล้วตากแห้ง แห้งแล้วก็นำมาเรียงและตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ แน่นอนว่านี่เป็นการเล่าโดยคร่าว ไม่สามารถสะท้อนถึงความพิถีพิถันของแต่ละขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ได้ ซึ่งความพิถีพิถันดังกล่าวเป็นหัวใจของการผลิตกระดาษที่มีคุณภาพแตกต่างกัน
กระดาษเซวียนจื่อเกิดขึ้นในสมัยถัง มีที่มาจากพื้นที่เซวียนโจว (แถบหวงซาน เขตพื้นที่มณฑลอันฮุยปัจจุบัน) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้สองชนิดคือ 1) เปลือกของไม้ชิงถาน (青檀 / Blue Sandalwood) อยู่ในกลุ่มไม้จันทร์ เป็นสายพันธุ์ที่มีเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ขึ้นตามธรรมชาติ และเปลือกไม้จันทร์ชนิดอื่นไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนในการผลิตกระดาษเซวียนจื่อนี้ได้ มันเป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้กระดาษมีความเหนียว คงสภาพได้ดีไม่ยับง่าย ไม่ถูกแมลงกัดกิน ทำให้กระดาษมีความคงทน และ 2) ต้นข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซาเถียนเต้า’ (沙田稻) โดยเป็นส่วนผสมที่ให้ความนุ่มต่อกระดาษด้วยเส้นใยที่สั้นกว่าไม้ชิงถาน ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครเพาะปลูกต้นข้าวชนิดนี้แล้ว ดังนั้นกระดาษเซวียนจื่อที่มีขายปัจจุบันจะมีเนื้อกระดาษที่ไม่เหมือนของโบราณและกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณได้สาบสูญไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง
กรรมวิธีการเตรียมเยื่อไม้ทั้งสองชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย แยกกันทำแล้วค่อยนำมาเคี่ยวผสมกัน และส่วนผสมของเยื่อไม้ทั้งสองและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างจะทำให้ได้เนื้อกระดาษเซวียนจื่อที่หลากหลายมาก มีความละเอียดและเนียนหยาบแตกต่างกัน มีความสามารถดูดซึมน้ำหมึกได้ต่างกัน (แน่นอนว่าผงหมึกก็มีความแตกต่าง แบ่งแยกเป็นของแพงและของถูก ฯลฯ) มีสีขาวเหลืองอ่อนแก่แตกต่างกัน เป็นต้น โดยภาพรวมแล้ว กระดาษเซวียนจื่อเป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับงานเขียนและงานวาดเพราะดูดซึมหมึกได้ดีและผิวเนียนเรียบกว่ากระดาษจากใยปอ/ใยป่านหรือกระดาษจากเปลือกไม้ชนิดอื่น และมีความคงทนกว่า จึงถูกยกย่องเป็น ‘กระดาษพันปี’
กระดาษเซวียนจื่อแบ่งได้เป็นสามเกรดหลักตามสัดส่วนของเยื่อเปลือกไม้ชิงถาน และกระดาษไป๋ลู่คือกระดาษเซวียนจื่อเกรดดีที่สุด คือมีส่วนผสมของเปลือกไม้ชิงถานไม่ต่ำกว่า 80% มีกรรมวิธีการผลิตที่ประณีต เป็นกระดาษที่ดูดซับน้ำหมึกได้ดี ทำให้ลายเส้นอักษรคมชัดแต่ไม่กระด้าง แสดงความพลิ้วไหวของลายเส้นได้ดี มีการบรรยายว่าเนื้อกระดาษเนียนนุ่มดุจไหม สีขาวนวลดุจหยก
ว่ากันว่า กระดาษไป๋ลู่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวนโดยนักพรตคนหนึ่งสำหรับไว้ใช้เอง ต่อมาถูกนำมาใช้ในวังเรียกว่ากระดาษไป๋ลู่หรือกวางขาวเพราะมีเส้นลายที่ดูเป็นลายหนังกวางซึ่งถูกมองว่าเป็นลายมงคล ต่อมามีคนที่ผลิตได้ไม่กี่ตระกูล จึงเป็นกระดาษที่มีปริมาณการผลิตที่จำกัดและหายากมาก
กระดาษมีหน่วยนับเป็น ‘เตา’ (刀 แปลว่ามีด) ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าในละครแปลไว้อย่างไร แต่หนึ่งเตาสมัยโบราณคือกระดาษจำนวน 25 แผ่น มีที่มาของการเรียกอย่างนี้ก็คือ หนึ่งมีดสามารถตัดกระดาษโดยไม่เบี้ยวที่ 25 แผ่นนั่นเอง (หมายเหตุ ด้วยวิวัฒนาการผลิต ปัจจุบันหนึ่งเตาคือหนึ่งรีมหรือ 100 แผ่น)
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/rain/a/20231130A00YSS00
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1263914
http://www.chinapaper.net/jjnews/show-353.html
http://www.chinapaper.net/jjnews/show-222.html
https://baike.baidu.com/item/檀皮宣纸/1802446
https://baike.baidu.com/item/宣纸/329910
https://www.sohu.com/a/362150345_616747
#เล่ห์รักวังคุนหนิง #ไป๋ลู่จื่อ #กระดาษไป๋ลู่ #กระดาษจีน #เซวียนจื่อ #การผลิตกระดาษจีน #กระดาษเยื่อเปลือกไม้
สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องกระดาษโบราณ
ในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการสืบคดีในวังเพื่อหาคนที่เขียนข้อความที่มีความเกี่ยวพันกับก๊วนกบฏ และหนึ่งในหลักฐานที่ใช้คือกระดาษไป๋ลู่ (白鹿纸 ใช่ค่ะ... ไป๋ลู่อักษรเดียวกับชื่อนักแสดงหญิงที่หลายคนคุ้นเคย แปลว่ากวางขาว) มีการอธิบายไว้ในซีรีส์ว่า กระดาษไป๋ลู่มีใช้เพียงในวัง มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่าแจกจ่ายไปให้ใครเมื่อไหร่เป็นจำนวนเท่าใด
ข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่มีไม่มาก ส่วนใหญ่ระบุแต่เพียงว่ามันเป็นกระดาษที่ใช้ในวัง เป็นกระดาษที่ผลิตยากมาก เนื้อดีเหมาะกับการเขียนหรือวาดรูป เป็นกระดาษเซวียนจื่อชนิดหนึ่ง มีขนาดมาตรฐานคือยาวหนึ่งจ้างสองฉื่อ (คือยาวประมาณ 3.7 เมตร) จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษ ‘จ้างเอ้อร์เซวียน’ (丈二宣) ขนาดมาตรฐานปัจจุบันคือ 1.5 x 3.7 เมตร
แล้วกระดาษเซวียนจื่อ (宣纸) คืออะไร?
กระดาษเซวียนจื่อจัดอยู่ในกลุ่มกระดาษที่ทำจากเยื่อเปลือกไม้ ซึ่งกระดาษจีนโบราณจะจัดแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ตามวัสดุที่ใช้ผลิต คือ 1. กระดาษใยปอ/ใยป่าน (麻 纸 / หมาจื่อ) ทำจากเส้นใยปอและใยป่าน 2. กระดาษเยื่อเปลือกไม้ (皮纸 / ผีจื่อ) คือทำจากเยื่อเปลือกไม้ชนิดต่างๆ 3. กระดาษเยื่อไผ่ (竹 纸 / จู๋จื่อ) และ 4. กระดาษใยฝ้าย (棉 纸 / เหมียนจื่อ)
กระดาษเยื่อเปลือกไม้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสมัยถัง มีการพัฒนาขึ้นหลายชนิด เป็นกลุ่มกระดาษที่มีความหลากหลายมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเนื้อกระดาษแตกต่างกันไปตามชนิดของเปลือกไม้ที่ใช้และน้ำที่ใช้ รวมถึงอาจใช้เส้นใยปอหรือใยฝ้ายมาผสมให้หลากหลายยิ่งขึ้น และเป็นที่มาว่าทำไมในซีรีส์/นิยายจีนโบราณจึงมีการดูจากเนื้อกระดาษแล้วสามารถบอกได้ว่ามาจากพื้นที่ใดเพราะต้นไม้บางชนิดจะพบได้ในบางพื้นที่เท่านั้น กระดาษเยื่อเปลือกไม้มีทั้งเนื้อหยาบที่สามารถทำเป็นเสื้อผ้าสวมใส่ และเนื้อละเอียดที่ใช้ในงานเขียนหรืองานวาดที่ต้องใช้ความละเอียดมาก ว่ากันว่านักเขียนและนักวาดบางคนคิดค้นกระดาษเนื้อพิเศษของตนเองขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย
กรรมวิธีการผลิตกระดาษเยื่อเปลือกไม้ก็คล้ายกับการทำกระดาษสาบ้านเรา คือเอาไม้ไปแช่ในน้ำแล้วทุบแตกจนเปื่อย คัดเอาเยื่อออกมาต้ม อาจใส่ส่วนผสมอื่นเช่นเกลือหรือน้ำหัวไชเท้าเพื่อเสริมความเนียนและความคงทนของกระดาษ เคี่ยวและบดแล้วนำมากรอง จากนั้นเอามาปูบางๆ บนพิมพ์แล้วตากแห้ง แห้งแล้วก็นำมาเรียงและตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ แน่นอนว่านี่เป็นการเล่าโดยคร่าว ไม่สามารถสะท้อนถึงความพิถีพิถันของแต่ละขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ได้ ซึ่งความพิถีพิถันดังกล่าวเป็นหัวใจของการผลิตกระดาษที่มีคุณภาพแตกต่างกัน
กระดาษเซวียนจื่อเกิดขึ้นในสมัยถัง มีที่มาจากพื้นที่เซวียนโจว (แถบหวงซาน เขตพื้นที่มณฑลอันฮุยปัจจุบัน) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้สองชนิดคือ 1) เปลือกของไม้ชิงถาน (青檀 / Blue Sandalwood) อยู่ในกลุ่มไม้จันทร์ เป็นสายพันธุ์ที่มีเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ขึ้นตามธรรมชาติ และเปลือกไม้จันทร์ชนิดอื่นไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนในการผลิตกระดาษเซวียนจื่อนี้ได้ มันเป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้กระดาษมีความเหนียว คงสภาพได้ดีไม่ยับง่าย ไม่ถูกแมลงกัดกิน ทำให้กระดาษมีความคงทน และ 2) ต้นข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซาเถียนเต้า’ (沙田稻) โดยเป็นส่วนผสมที่ให้ความนุ่มต่อกระดาษด้วยเส้นใยที่สั้นกว่าไม้ชิงถาน ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครเพาะปลูกต้นข้าวชนิดนี้แล้ว ดังนั้นกระดาษเซวียนจื่อที่มีขายปัจจุบันจะมีเนื้อกระดาษที่ไม่เหมือนของโบราณและกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณได้สาบสูญไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง
กรรมวิธีการเตรียมเยื่อไม้ทั้งสองชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย แยกกันทำแล้วค่อยนำมาเคี่ยวผสมกัน และส่วนผสมของเยื่อไม้ทั้งสองและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างจะทำให้ได้เนื้อกระดาษเซวียนจื่อที่หลากหลายมาก มีความละเอียดและเนียนหยาบแตกต่างกัน มีความสามารถดูดซึมน้ำหมึกได้ต่างกัน (แน่นอนว่าผงหมึกก็มีความแตกต่าง แบ่งแยกเป็นของแพงและของถูก ฯลฯ) มีสีขาวเหลืองอ่อนแก่แตกต่างกัน เป็นต้น โดยภาพรวมแล้ว กระดาษเซวียนจื่อเป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับงานเขียนและงานวาดเพราะดูดซึมหมึกได้ดีและผิวเนียนเรียบกว่ากระดาษจากใยปอ/ใยป่านหรือกระดาษจากเปลือกไม้ชนิดอื่น และมีความคงทนกว่า จึงถูกยกย่องเป็น ‘กระดาษพันปี’
กระดาษเซวียนจื่อแบ่งได้เป็นสามเกรดหลักตามสัดส่วนของเยื่อเปลือกไม้ชิงถาน และกระดาษไป๋ลู่คือกระดาษเซวียนจื่อเกรดดีที่สุด คือมีส่วนผสมของเปลือกไม้ชิงถานไม่ต่ำกว่า 80% มีกรรมวิธีการผลิตที่ประณีต เป็นกระดาษที่ดูดซับน้ำหมึกได้ดี ทำให้ลายเส้นอักษรคมชัดแต่ไม่กระด้าง แสดงความพลิ้วไหวของลายเส้นได้ดี มีการบรรยายว่าเนื้อกระดาษเนียนนุ่มดุจไหม สีขาวนวลดุจหยก
ว่ากันว่า กระดาษไป๋ลู่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวนโดยนักพรตคนหนึ่งสำหรับไว้ใช้เอง ต่อมาถูกนำมาใช้ในวังเรียกว่ากระดาษไป๋ลู่หรือกวางขาวเพราะมีเส้นลายที่ดูเป็นลายหนังกวางซึ่งถูกมองว่าเป็นลายมงคล ต่อมามีคนที่ผลิตได้ไม่กี่ตระกูล จึงเป็นกระดาษที่มีปริมาณการผลิตที่จำกัดและหายากมาก
กระดาษมีหน่วยนับเป็น ‘เตา’ (刀 แปลว่ามีด) ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าในละครแปลไว้อย่างไร แต่หนึ่งเตาสมัยโบราณคือกระดาษจำนวน 25 แผ่น มีที่มาของการเรียกอย่างนี้ก็คือ หนึ่งมีดสามารถตัดกระดาษโดยไม่เบี้ยวที่ 25 แผ่นนั่นเอง (หมายเหตุ ด้วยวิวัฒนาการผลิต ปัจจุบันหนึ่งเตาคือหนึ่งรีมหรือ 100 แผ่น)
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/rain/a/20231130A00YSS00
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1263914
http://www.chinapaper.net/jjnews/show-353.html
http://www.chinapaper.net/jjnews/show-222.html
https://baike.baidu.com/item/檀皮宣纸/1802446
https://baike.baidu.com/item/宣纸/329910
https://www.sohu.com/a/362150345_616747
#เล่ห์รักวังคุนหนิง #ไป๋ลู่จื่อ #กระดาษไป๋ลู่ #กระดาษจีน #เซวียนจื่อ #การผลิตกระดาษจีน #กระดาษเยื่อเปลือกไม้
กระดาษไป๋ลู่
สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องกระดาษโบราณ
ในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการสืบคดีในวังเพื่อหาคนที่เขียนข้อความที่มีความเกี่ยวพันกับก๊วนกบฏ และหนึ่งในหลักฐานที่ใช้คือกระดาษไป๋ลู่ (白鹿纸 ใช่ค่ะ... ไป๋ลู่อักษรเดียวกับชื่อนักแสดงหญิงที่หลายคนคุ้นเคย แปลว่ากวางขาว) มีการอธิบายไว้ในซีรีส์ว่า กระดาษไป๋ลู่มีใช้เพียงในวัง มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่าแจกจ่ายไปให้ใครเมื่อไหร่เป็นจำนวนเท่าใด
ข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่มีไม่มาก ส่วนใหญ่ระบุแต่เพียงว่ามันเป็นกระดาษที่ใช้ในวัง เป็นกระดาษที่ผลิตยากมาก เนื้อดีเหมาะกับการเขียนหรือวาดรูป เป็นกระดาษเซวียนจื่อชนิดหนึ่ง มีขนาดมาตรฐานคือยาวหนึ่งจ้างสองฉื่อ (คือยาวประมาณ 3.7 เมตร) จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษ ‘จ้างเอ้อร์เซวียน’ (丈二宣) ขนาดมาตรฐานปัจจุบันคือ 1.5 x 3.7 เมตร
แล้วกระดาษเซวียนจื่อ (宣纸) คืออะไร?
กระดาษเซวียนจื่อจัดอยู่ในกลุ่มกระดาษที่ทำจากเยื่อเปลือกไม้ ซึ่งกระดาษจีนโบราณจะจัดแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ตามวัสดุที่ใช้ผลิต คือ 1. กระดาษใยปอ/ใยป่าน (麻 纸 / หมาจื่อ) ทำจากเส้นใยปอและใยป่าน 2. กระดาษเยื่อเปลือกไม้ (皮纸 / ผีจื่อ) คือทำจากเยื่อเปลือกไม้ชนิดต่างๆ 3. กระดาษเยื่อไผ่ (竹 纸 / จู๋จื่อ) และ 4. กระดาษใยฝ้าย (棉 纸 / เหมียนจื่อ)
กระดาษเยื่อเปลือกไม้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสมัยถัง มีการพัฒนาขึ้นหลายชนิด เป็นกลุ่มกระดาษที่มีความหลากหลายมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเนื้อกระดาษแตกต่างกันไปตามชนิดของเปลือกไม้ที่ใช้และน้ำที่ใช้ รวมถึงอาจใช้เส้นใยปอหรือใยฝ้ายมาผสมให้หลากหลายยิ่งขึ้น และเป็นที่มาว่าทำไมในซีรีส์/นิยายจีนโบราณจึงมีการดูจากเนื้อกระดาษแล้วสามารถบอกได้ว่ามาจากพื้นที่ใดเพราะต้นไม้บางชนิดจะพบได้ในบางพื้นที่เท่านั้น กระดาษเยื่อเปลือกไม้มีทั้งเนื้อหยาบที่สามารถทำเป็นเสื้อผ้าสวมใส่ และเนื้อละเอียดที่ใช้ในงานเขียนหรืองานวาดที่ต้องใช้ความละเอียดมาก ว่ากันว่านักเขียนและนักวาดบางคนคิดค้นกระดาษเนื้อพิเศษของตนเองขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย
กรรมวิธีการผลิตกระดาษเยื่อเปลือกไม้ก็คล้ายกับการทำกระดาษสาบ้านเรา คือเอาไม้ไปแช่ในน้ำแล้วทุบแตกจนเปื่อย คัดเอาเยื่อออกมาต้ม อาจใส่ส่วนผสมอื่นเช่นเกลือหรือน้ำหัวไชเท้าเพื่อเสริมความเนียนและความคงทนของกระดาษ เคี่ยวและบดแล้วนำมากรอง จากนั้นเอามาปูบางๆ บนพิมพ์แล้วตากแห้ง แห้งแล้วก็นำมาเรียงและตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ แน่นอนว่านี่เป็นการเล่าโดยคร่าว ไม่สามารถสะท้อนถึงความพิถีพิถันของแต่ละขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ได้ ซึ่งความพิถีพิถันดังกล่าวเป็นหัวใจของการผลิตกระดาษที่มีคุณภาพแตกต่างกัน
กระดาษเซวียนจื่อเกิดขึ้นในสมัยถัง มีที่มาจากพื้นที่เซวียนโจว (แถบหวงซาน เขตพื้นที่มณฑลอันฮุยปัจจุบัน) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้สองชนิดคือ 1) เปลือกของไม้ชิงถาน (青檀 / Blue Sandalwood) อยู่ในกลุ่มไม้จันทร์ เป็นสายพันธุ์ที่มีเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ขึ้นตามธรรมชาติ และเปลือกไม้จันทร์ชนิดอื่นไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนในการผลิตกระดาษเซวียนจื่อนี้ได้ มันเป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้กระดาษมีความเหนียว คงสภาพได้ดีไม่ยับง่าย ไม่ถูกแมลงกัดกิน ทำให้กระดาษมีความคงทน และ 2) ต้นข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซาเถียนเต้า’ (沙田稻) โดยเป็นส่วนผสมที่ให้ความนุ่มต่อกระดาษด้วยเส้นใยที่สั้นกว่าไม้ชิงถาน ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครเพาะปลูกต้นข้าวชนิดนี้แล้ว ดังนั้นกระดาษเซวียนจื่อที่มีขายปัจจุบันจะมีเนื้อกระดาษที่ไม่เหมือนของโบราณและกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณได้สาบสูญไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง
กรรมวิธีการเตรียมเยื่อไม้ทั้งสองชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย แยกกันทำแล้วค่อยนำมาเคี่ยวผสมกัน และส่วนผสมของเยื่อไม้ทั้งสองและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างจะทำให้ได้เนื้อกระดาษเซวียนจื่อที่หลากหลายมาก มีความละเอียดและเนียนหยาบแตกต่างกัน มีความสามารถดูดซึมน้ำหมึกได้ต่างกัน (แน่นอนว่าผงหมึกก็มีความแตกต่าง แบ่งแยกเป็นของแพงและของถูก ฯลฯ) มีสีขาวเหลืองอ่อนแก่แตกต่างกัน เป็นต้น โดยภาพรวมแล้ว กระดาษเซวียนจื่อเป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับงานเขียนและงานวาดเพราะดูดซึมหมึกได้ดีและผิวเนียนเรียบกว่ากระดาษจากใยปอ/ใยป่านหรือกระดาษจากเปลือกไม้ชนิดอื่น และมีความคงทนกว่า จึงถูกยกย่องเป็น ‘กระดาษพันปี’
กระดาษเซวียนจื่อแบ่งได้เป็นสามเกรดหลักตามสัดส่วนของเยื่อเปลือกไม้ชิงถาน และกระดาษไป๋ลู่คือกระดาษเซวียนจื่อเกรดดีที่สุด คือมีส่วนผสมของเปลือกไม้ชิงถานไม่ต่ำกว่า 80% มีกรรมวิธีการผลิตที่ประณีต เป็นกระดาษที่ดูดซับน้ำหมึกได้ดี ทำให้ลายเส้นอักษรคมชัดแต่ไม่กระด้าง แสดงความพลิ้วไหวของลายเส้นได้ดี มีการบรรยายว่าเนื้อกระดาษเนียนนุ่มดุจไหม สีขาวนวลดุจหยก
ว่ากันว่า กระดาษไป๋ลู่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวนโดยนักพรตคนหนึ่งสำหรับไว้ใช้เอง ต่อมาถูกนำมาใช้ในวังเรียกว่ากระดาษไป๋ลู่หรือกวางขาวเพราะมีเส้นลายที่ดูเป็นลายหนังกวางซึ่งถูกมองว่าเป็นลายมงคล ต่อมามีคนที่ผลิตได้ไม่กี่ตระกูล จึงเป็นกระดาษที่มีปริมาณการผลิตที่จำกัดและหายากมาก
กระดาษมีหน่วยนับเป็น ‘เตา’ (刀 แปลว่ามีด) ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าในละครแปลไว้อย่างไร แต่หนึ่งเตาสมัยโบราณคือกระดาษจำนวน 25 แผ่น มีที่มาของการเรียกอย่างนี้ก็คือ หนึ่งมีดสามารถตัดกระดาษโดยไม่เบี้ยวที่ 25 แผ่นนั่นเอง (หมายเหตุ ด้วยวิวัฒนาการผลิต ปัจจุบันหนึ่งเตาคือหนึ่งรีมหรือ 100 แผ่น)
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/rain/a/20231130A00YSS00
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1263914
http://www.chinapaper.net/jjnews/show-353.html
http://www.chinapaper.net/jjnews/show-222.html
https://baike.baidu.com/item/檀皮宣纸/1802446
https://baike.baidu.com/item/宣纸/329910
https://www.sohu.com/a/362150345_616747
#เล่ห์รักวังคุนหนิง #ไป๋ลู่จื่อ #กระดาษไป๋ลู่ #กระดาษจีน #เซวียนจื่อ #การผลิตกระดาษจีน #กระดาษเยื่อเปลือกไม้
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
301 มุมมอง
0 รีวิว