• อย่าทำตัวเป็นอีแอบอยู่แบบนั้น
    เพราะว่าฉันไม่ได้เง่าเข้าใจด้วย
    ที่เห็นซื่อไม่ได้เซ่อ เธอจะซวย
    ถ้าฉันฉวยโอกาสแฉเธอแย่นะ!

    เตือนเพราะเห็นเคยเป็นมิตรไปคิดใหม่
    อย่าได้ใจสิ่งที่ทำจำไว้ล่ะ
    มอบโอกาสกลับใจ ละได้ละ
    ไม่งั้นจะเสียโอกาส..และขาดกัน

    ภ.ภาพวาด

    #บทกลอน
    #กวี
    อย่าทำตัวเป็นอีแอบอยู่แบบนั้น เพราะว่าฉันไม่ได้เง่าเข้าใจด้วย ที่เห็นซื่อไม่ได้เซ่อ เธอจะซวย ถ้าฉันฉวยโอกาสแฉเธอแย่นะ! เตือนเพราะเห็นเคยเป็นมิตรไปคิดใหม่ อย่าได้ใจสิ่งที่ทำจำไว้ล่ะ มอบโอกาสกลับใจ ละได้ละ ไม่งั้นจะเสียโอกาส..และขาดกัน ภ.ภาพวาด #บทกลอน #กวี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 3 มุมมอง 0 รีวิว
  • ต่อกลอน

    ป้าเขียนแนวเหน็บแนมแกมพร่ำบ่น
    พวกทำตนเหิมเกริมเพิ่มมุสา
    เบี่ยงประประเด็นแถแถกพูดแหกตา
    รวมหัวมาโกงกินแผ่นดินไทย
    - - ป้าหมู - -

    เอาให้ยับสับให้แหลกพวกแถกแถ
    มันย่ำแย่สันดานหน้าด้านใหญ่
    พูดกลับผิดกลับถูกเล่นลูกไม้
    ช่างงามไส้ยิ่งนักหนักแผ่นดิน
    - - ภ.ภาพวาด - -

    ภาพป่วยทิพย์แบบนี้มีนัยยะ
    มันหมายจะหลอกใครไอ้กังฉิน
    จากนักโทษหนีคดีมีมลทิน
    ข้อหาหมิ่นก็มีชี้ชัดเจน
    - - ป้าหมู - -

    ยังติดหูติดตาเรื่องคราเก่า
    มันห่ามเห่าเสียดสีแล้วหนีเผ่น
    ทั้งกล่าวล้ำคำร้ายมิวายเว้น
    ยังมุ่งเน้นล้มราชฯไอ้ชาติทราม
    - - ภ.ภาพวาด - -

    ขอบคุณป้าหมูค่ะ💖

    #บทกลอน
    #กวี.
    ต่อกลอน ป้าเขียนแนวเหน็บแนมแกมพร่ำบ่น พวกทำตนเหิมเกริมเพิ่มมุสา เบี่ยงประประเด็นแถแถกพูดแหกตา รวมหัวมาโกงกินแผ่นดินไทย - - ป้าหมู - - เอาให้ยับสับให้แหลกพวกแถกแถ มันย่ำแย่สันดานหน้าด้านใหญ่ พูดกลับผิดกลับถูกเล่นลูกไม้ ช่างงามไส้ยิ่งนักหนักแผ่นดิน - - ภ.ภาพวาด - - ภาพป่วยทิพย์แบบนี้มีนัยยะ มันหมายจะหลอกใครไอ้กังฉิน จากนักโทษหนีคดีมีมลทิน ข้อหาหมิ่นก็มีชี้ชัดเจน - - ป้าหมู - - ยังติดหูติดตาเรื่องคราเก่า มันห่ามเห่าเสียดสีแล้วหนีเผ่น ทั้งกล่าวล้ำคำร้ายมิวายเว้น ยังมุ่งเน้นล้มราชฯไอ้ชาติทราม - - ภ.ภาพวาด - - ขอบคุณป้าหมูค่ะ💖 #บทกลอน #กวี.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 7 มุมมอง 0 รีวิว
  • #บทกลอน
    #กวี
    #บทกลอน #กวี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 3 มุมมอง 0 รีวิว
  • จะสอนใครให้จำต้องทำก่อน
    อย่าสั่งสอนเพียงคำทำไม่ได้
    ผู้รับฟังคำสอนจักอ่อนใจ
    เพราะคำไม่ศักดิ์สิทธิ์ผิดตำรา

    จะสอนใครให้จำทำให้เห็น
    แบบอย่างเป็นตัวชี้ที่มีค่า
    สร้างน้ำหนักของคำทำออกมา
    จึงควรน่าฟังคำให้ทำตาม

    ภ.ภาพวาด😁

    #บทกลอน
    #กวี
    จะสอนใครให้จำต้องทำก่อน อย่าสั่งสอนเพียงคำทำไม่ได้ ผู้รับฟังคำสอนจักอ่อนใจ เพราะคำไม่ศักดิ์สิทธิ์ผิดตำรา จะสอนใครให้จำทำให้เห็น แบบอย่างเป็นตัวชี้ที่มีค่า สร้างน้ำหนักของคำทำออกมา จึงควรน่าฟังคำให้ทำตาม ภ.ภาพวาด😁 #บทกลอน #กวี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 3 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 4 ‘ซู’ และ ‘ซู่’

    ผ่านมาหลายสัปดาห์กับหกทักษะของสุภาพบุรุษจากตระกูลสูงศักดิ์ หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือ(หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数)

    สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงสองทักษะสุดท้าย ซึ่งไม่ตื่นตาตื่นใจเท่าสัปดาห์ที่แล้ว และในบันทึกโจวหลี่ไม่ได้มีการขยายความเพิ่มเติม เพียงระบุไว้ว่าต้องมีทักษะที่ห้า คือ ‘ลิ่วซู’ หรือหกอักษร และทักษะที่หกคือ ‘จิ่วซู่’ หรือเก้าคำนวณ และชนรุ่นหลังจึงต้องอาศัยหนังสืออื่นในสมัยฮั่นที่บรรยายเพิ่มเติมถึงสองทักษะนี้

    สำหรับทักษะที่ห้า ‘ซู’ หรืออักษรนี้ เพื่อนเพจอย่าได้เข้าใจผิดว่ามันหมายถึงงานโคลงกลอนวรรณกรรมชั้นสูง หรือการเขียนพู่กันรูปแบบอักษรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นทักษะพื้นฐานในการเขียนอ่านสำหรับเด็กเมื่อเริ่มเรียนหนังสือเมื่อกว่าสามพันปีที่แล้ว สรุปได้ดังนี้
    (1) เซี่ยงสิง (象形/Pictogram) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่เรามองเห็น ซึ่งเพื่อนเพจอย่าลืมว่าแรกเริ่มการเขียนของมนุษย์เรามาจากการวาดภาพ อักขระที่ใช้ในสมัยจีนบรรพกาลตามที่เราเห็นบนกระดูกโบราณก็เป็นลักษณะคล้ายภาพวาด อย่างเช่นอักษร ‘เหริน’ (人) ที่แปลว่าคน ก็คือมาจากการวาดรูปคนเดิน เป็นต้น
    (2) จื่อซื่อ (指事/Indicatives) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงความคิดความรู้สึกที่เราจับต้องไม่ได้ เช่น ตัวเลขจีนหรือคำว่าบนล่าง (‘ซ่างเซี่ย’ / 上下) เป็นต้น
    (3) ฮุ่ยอี้ (会意/Associative Compound) คืออักษรประสมที่เกิดจากการประกอบอักษรเดี่ยว (เซี่ยงสิงหรือจื่อซื่อ) มากกว่าหนึ่งอักษรเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นอีกความหมายหนึ่ง เช่น ‘จ้ง’ (众) ประกอบด้วยอักษร ‘เหริน’ สามตัว หมายถึงกลุ่มคน เป็นต้น
    (4) สิงเซิง (形声/Pictophonetic Compound) คืออักษรประสมที่ใช้อักษรหลักเดียวกัน แต่อาศัยอักษรข้างหรืออักษรบนล่างผันเสียงและ/หรือสร้างความหมายให้แตกต่างกันไป เช่น 绸 调 鲷 雕 และ 竿 笼 笔 筷 签 เป็นต้น ประเด็นนี้เพื่อนเพจที่ได้เรียนภาษาจีนจะเข้าใจได้ดีกว่าที่ Storyฯ อธิบาย

    สี่อักษรข้างต้นนั้น เป็นการวางรากฐานการเขียนและอักษรจีน แต่อีกสองอักษรที่เหลือเป็นหลักการการใช้ศัพท์ กล่าวคือ
    (5) จ่วนจู้ (转注/ Shared Component Characters) คืออักษรประสมที่อาจเขียนและออกเสียงแตกต่างแต่มีความหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีเงื่อนไขว่าอักษรนี้ต้องมีอักษรประกอบ (คืออักษรข้างหรืออักษรบนล่าง) ที่เหมือนกัน มีเสียงอ่านใกล้เคียงกัน และใช้อธิบายความหมายของกันและกันได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละพื้นที่ของจีนมีภาษาท้องถิ่นที่ออกเสียงแตกต่างกันไปจึงอาจมีการใช้อักษรบางตัวแตกต่างกันไป แต่หากเข้าใจหลักการของ ‘จ่วนจู้’ ก็จะสามารถเข้าใจความหมายของอักษรที่แตกต่างกันไปเหล่านั้นได้ เช่น ‘คง’ (空) แปลว่าว่างเปล่า และ ‘เชี่ยว’ (窍) แปลว่ารู เป็นต้น
    (6) เจี่ยเจี้ย (假借/Phonetic Loans) คือการยืมอักษรที่ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาใช้แทนกัน ซึ่งในสมัยโบราณมีการใช้ทักษะนี้ในการแต่งบทกลอนไม่น้อย และยังเห็นได้ในพวกคำมงคลต่างๆ เช่นคำว่า ‘เต้า’ (倒) ที่แปลว่ากลับหัว ถูกนำมาใช้ในบริบทของการติดป้ายมงคลกลับหัวเพื่อเรียกแทนคำว่า ‘เต้า’ (到) ที่แปลว่ามาถึง หรืออีกกรณีหนึ่งคือเจี่ยเจี้ยอาจหมายถึงการเอาอักษรหนึ่งมาใช้ในอีกบริบทหนึ่งจนเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่า ‘ลิ่ง’ (令) ซึ่งแปลว่าคำสั่ง ต่อมาถูกนำมาใช้รวมกับคำอื่นจนแปลว่าผู้นำหรือผู้มีอำนาจสั่งการอย่าง ‘เซี่ยนลิ่ง’ (县令) คือผู้ว่าการอำเภอ เป็นต้น และอักษรเจี่ยเจี้ยเหล่านี้ นานวันเข้าก็เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย

    ส่วนทักษะการคำนวณหรือ ‘จิ่วซู่’ นั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดมากเพราะว่ามาตรฐานและหน่วยวัดต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วตามกาลเวลา ขอสรุปสั้นๆ พอให้เห็นภาพว่า เก้าคำนวณนี้ประกอบด้วย

    (1) ฟางเถียน (方田) ซึ่งก็คือการคำนวณขนาดของพื้นที่ โจทย์โดยหลักคือที่นา
    (2) ซู่หมี่ (粟米) คือการคำนวณปริมาณตามน้ำหนักของข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวฟ่างน้ำหนักเท่านี้เทียบเท่ากับข้าวเจ้าน้ำหนักเท่าไหร่ เป็นต้น
    (3) ซวยเฟิน (衰分) แปลตรงตัวคือการซอยย่อยหรือการหาร
    (4) สาวก่วง (少广) แปลตรงตัวคือเพิ่มจากน้อยไปมาก ซึ่งก็คือการคูณ
    (5) ซังกง (商功) คือการคำนวณปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ใช้สำหรับงานก่อสร้าง
    (6) จวินซู (均输) คือการคำนวณเปรียบเทียบอัตราส่วน เช่น เมื่อวานมีเกลือจำนวนเท่านี้ ขนส่งมาด้วยระยะทางหนึ่งร้อยหลี่ คิดเป็นเงินเท่านี้ ถ้าวันนี้มีเกลือน้อยลงหนึ่งส่วนสี่ ขนส่งด้วยระยะทางแปดสิบหลี่ ควรคิดเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น
    (7) อิ๋งปู้จู๋ (盈不足) แปลตรงตัวคือกำไรขาดทุน ซึ่งก็คือการแก้สมการโดยมีโจทย์เป็นการคำนวณเงินๆ ทองๆ เช่น หากจะซื้อรถม้าสักคัน ถ้าออกเงินคนละห้าตำลึง จะขาดเงินเก้าสิบตำลึง ถ้าออกเงินคนละห้าสิบห้าตำลึง จะมีเงินเหลือสิบตำลึง ถามว่ามีคนออกเงินกี่คนและรถม้าราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
    (8) ฟางเฉิง (方程) คือการแก้สมการ เช่น มีวัวห้าตัวแพะสองตัว รวมเป็นมูลค่าสิบตำลึง แต่ถ้าวัวสองตัวแพะห้าตัวจะรวมมูลค่าได้แปดตำลึง ถามว่าวัวและแพะต่างมีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
    (9) โกวกู่ (勾股) คือการคำนวณความสัมพันธ์ในเรขาคณิต (Pythagoras' theorem) เช่นการคำนวณองศาและความยาว เป็นอีกหนึ่งทักษะสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง

    จะเห็นได้ว่า ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าการยิงธนู ห้าการขับขี่ หกอักษร และ เก้าคำนวณ) จริงๆ แล้วก็คือพื้นฐานการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น พื้นฐานเหล่านี้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมาตลอด แต่เรียกได้ว่าหกทักษะที่กำหนดไว้เมื่อกว่าสี่พันปีที่แล้วนี้ก็คือพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาจวบจนปัจจุบัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    https://www.sohu.com/a/584032470_121288924
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://www.sohu.com/a/584032470_121288924
    https://baike.baidu.com/item/汉字造字法/4018743
    https://studycli.org/zh-CN/chinese-characters/types-of-chinese-characters/
    https://ctext.org/nine-chapters/zhs

    #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 4 ‘ซู’ และ ‘ซู่’ ผ่านมาหลายสัปดาห์กับหกทักษะของสุภาพบุรุษจากตระกูลสูงศักดิ์ หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือ(หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数) สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงสองทักษะสุดท้าย ซึ่งไม่ตื่นตาตื่นใจเท่าสัปดาห์ที่แล้ว และในบันทึกโจวหลี่ไม่ได้มีการขยายความเพิ่มเติม เพียงระบุไว้ว่าต้องมีทักษะที่ห้า คือ ‘ลิ่วซู’ หรือหกอักษร และทักษะที่หกคือ ‘จิ่วซู่’ หรือเก้าคำนวณ และชนรุ่นหลังจึงต้องอาศัยหนังสืออื่นในสมัยฮั่นที่บรรยายเพิ่มเติมถึงสองทักษะนี้ สำหรับทักษะที่ห้า ‘ซู’ หรืออักษรนี้ เพื่อนเพจอย่าได้เข้าใจผิดว่ามันหมายถึงงานโคลงกลอนวรรณกรรมชั้นสูง หรือการเขียนพู่กันรูปแบบอักษรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นทักษะพื้นฐานในการเขียนอ่านสำหรับเด็กเมื่อเริ่มเรียนหนังสือเมื่อกว่าสามพันปีที่แล้ว สรุปได้ดังนี้ (1) เซี่ยงสิง (象形/Pictogram) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่เรามองเห็น ซึ่งเพื่อนเพจอย่าลืมว่าแรกเริ่มการเขียนของมนุษย์เรามาจากการวาดภาพ อักขระที่ใช้ในสมัยจีนบรรพกาลตามที่เราเห็นบนกระดูกโบราณก็เป็นลักษณะคล้ายภาพวาด อย่างเช่นอักษร ‘เหริน’ (人) ที่แปลว่าคน ก็คือมาจากการวาดรูปคนเดิน เป็นต้น (2) จื่อซื่อ (指事/Indicatives) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงความคิดความรู้สึกที่เราจับต้องไม่ได้ เช่น ตัวเลขจีนหรือคำว่าบนล่าง (‘ซ่างเซี่ย’ / 上下) เป็นต้น (3) ฮุ่ยอี้ (会意/Associative Compound) คืออักษรประสมที่เกิดจากการประกอบอักษรเดี่ยว (เซี่ยงสิงหรือจื่อซื่อ) มากกว่าหนึ่งอักษรเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นอีกความหมายหนึ่ง เช่น ‘จ้ง’ (众) ประกอบด้วยอักษร ‘เหริน’ สามตัว หมายถึงกลุ่มคน เป็นต้น (4) สิงเซิง (形声/Pictophonetic Compound) คืออักษรประสมที่ใช้อักษรหลักเดียวกัน แต่อาศัยอักษรข้างหรืออักษรบนล่างผันเสียงและ/หรือสร้างความหมายให้แตกต่างกันไป เช่น 绸 调 鲷 雕 และ 竿 笼 笔 筷 签 เป็นต้น ประเด็นนี้เพื่อนเพจที่ได้เรียนภาษาจีนจะเข้าใจได้ดีกว่าที่ Storyฯ อธิบาย สี่อักษรข้างต้นนั้น เป็นการวางรากฐานการเขียนและอักษรจีน แต่อีกสองอักษรที่เหลือเป็นหลักการการใช้ศัพท์ กล่าวคือ (5) จ่วนจู้ (转注/ Shared Component Characters) คืออักษรประสมที่อาจเขียนและออกเสียงแตกต่างแต่มีความหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีเงื่อนไขว่าอักษรนี้ต้องมีอักษรประกอบ (คืออักษรข้างหรืออักษรบนล่าง) ที่เหมือนกัน มีเสียงอ่านใกล้เคียงกัน และใช้อธิบายความหมายของกันและกันได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละพื้นที่ของจีนมีภาษาท้องถิ่นที่ออกเสียงแตกต่างกันไปจึงอาจมีการใช้อักษรบางตัวแตกต่างกันไป แต่หากเข้าใจหลักการของ ‘จ่วนจู้’ ก็จะสามารถเข้าใจความหมายของอักษรที่แตกต่างกันไปเหล่านั้นได้ เช่น ‘คง’ (空) แปลว่าว่างเปล่า และ ‘เชี่ยว’ (窍) แปลว่ารู เป็นต้น (6) เจี่ยเจี้ย (假借/Phonetic Loans) คือการยืมอักษรที่ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาใช้แทนกัน ซึ่งในสมัยโบราณมีการใช้ทักษะนี้ในการแต่งบทกลอนไม่น้อย และยังเห็นได้ในพวกคำมงคลต่างๆ เช่นคำว่า ‘เต้า’ (倒) ที่แปลว่ากลับหัว ถูกนำมาใช้ในบริบทของการติดป้ายมงคลกลับหัวเพื่อเรียกแทนคำว่า ‘เต้า’ (到) ที่แปลว่ามาถึง หรืออีกกรณีหนึ่งคือเจี่ยเจี้ยอาจหมายถึงการเอาอักษรหนึ่งมาใช้ในอีกบริบทหนึ่งจนเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่า ‘ลิ่ง’ (令) ซึ่งแปลว่าคำสั่ง ต่อมาถูกนำมาใช้รวมกับคำอื่นจนแปลว่าผู้นำหรือผู้มีอำนาจสั่งการอย่าง ‘เซี่ยนลิ่ง’ (县令) คือผู้ว่าการอำเภอ เป็นต้น และอักษรเจี่ยเจี้ยเหล่านี้ นานวันเข้าก็เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนทักษะการคำนวณหรือ ‘จิ่วซู่’ นั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดมากเพราะว่ามาตรฐานและหน่วยวัดต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วตามกาลเวลา ขอสรุปสั้นๆ พอให้เห็นภาพว่า เก้าคำนวณนี้ประกอบด้วย (1) ฟางเถียน (方田) ซึ่งก็คือการคำนวณขนาดของพื้นที่ โจทย์โดยหลักคือที่นา (2) ซู่หมี่ (粟米) คือการคำนวณปริมาณตามน้ำหนักของข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวฟ่างน้ำหนักเท่านี้เทียบเท่ากับข้าวเจ้าน้ำหนักเท่าไหร่ เป็นต้น (3) ซวยเฟิน (衰分) แปลตรงตัวคือการซอยย่อยหรือการหาร (4) สาวก่วง (少广) แปลตรงตัวคือเพิ่มจากน้อยไปมาก ซึ่งก็คือการคูณ (5) ซังกง (商功) คือการคำนวณปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ใช้สำหรับงานก่อสร้าง (6) จวินซู (均输) คือการคำนวณเปรียบเทียบอัตราส่วน เช่น เมื่อวานมีเกลือจำนวนเท่านี้ ขนส่งมาด้วยระยะทางหนึ่งร้อยหลี่ คิดเป็นเงินเท่านี้ ถ้าวันนี้มีเกลือน้อยลงหนึ่งส่วนสี่ ขนส่งด้วยระยะทางแปดสิบหลี่ ควรคิดเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น (7) อิ๋งปู้จู๋ (盈不足) แปลตรงตัวคือกำไรขาดทุน ซึ่งก็คือการแก้สมการโดยมีโจทย์เป็นการคำนวณเงินๆ ทองๆ เช่น หากจะซื้อรถม้าสักคัน ถ้าออกเงินคนละห้าตำลึง จะขาดเงินเก้าสิบตำลึง ถ้าออกเงินคนละห้าสิบห้าตำลึง จะมีเงินเหลือสิบตำลึง ถามว่ามีคนออกเงินกี่คนและรถม้าราคาเท่าไหร่ เป็นต้น (8) ฟางเฉิง (方程) คือการแก้สมการ เช่น มีวัวห้าตัวแพะสองตัว รวมเป็นมูลค่าสิบตำลึง แต่ถ้าวัวสองตัวแพะห้าตัวจะรวมมูลค่าได้แปดตำลึง ถามว่าวัวและแพะต่างมีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น (9) โกวกู่ (勾股) คือการคำนวณความสัมพันธ์ในเรขาคณิต (Pythagoras' theorem) เช่นการคำนวณองศาและความยาว เป็นอีกหนึ่งทักษะสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง จะเห็นได้ว่า ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าการยิงธนู ห้าการขับขี่ หกอักษร และ เก้าคำนวณ) จริงๆ แล้วก็คือพื้นฐานการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น พื้นฐานเหล่านี้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมาตลอด แต่เรียกได้ว่าหกทักษะที่กำหนดไว้เมื่อกว่าสี่พันปีที่แล้วนี้ก็คือพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาจวบจนปัจจุบัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU https://www.sohu.com/a/584032470_121288924 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://www.sohu.com/a/584032470_121288924 https://baike.baidu.com/item/汉字造字法/4018743 https://studycli.org/zh-CN/chinese-characters/types-of-chinese-characters/ https://ctext.org/nine-chapters/zhs #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    《度华年》定档0626 赵今麦张凌赫入宿命循环局_商业频道_中华网
    今日,由赵今麦、张凌赫领衔主演的古装轻喜剧《度华年》官宣定档6月26日于优酷全网独播。该剧由青梅影业、浙江影视集团、优酷出品,袁玉梅担任总制片人兼艺术总监,高翊浚执导,饶俊编剧。
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 64 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 2 ‘เยวี่ย’

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึง ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะที่สุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์พึงมี (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数)

    สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องทักษะแรกคือห้าพิธีการ วันนี้คุยกันต่อถึงทักษะที่สองคือ ‘เยวี่ย’ เรียกรวมกว่าหกดนตรี ซึ่ง Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจหลายคนคงเข้าใจผิดเหมือน Storyฯ ว่ามันหมายถึงการเล่นดนตรี และภาพที่ลอยมาในหัวคือคุณชายดีดพิณหรือเป่าขลุ่ย

    แต่จริงๆ แล้ว ‘เยวี่ย’ ในบริบทของหกทักษะของสุภาพบุรุษนี้หมายถึงการเต้นรำ

    ใช่ค่ะ สุภาพบุรุษโบราณต้องเรียนรู้ที่จะเต้นรำ แต่มันไม่ใช่การเต้นรำทั่วไป หากแต่หมายถึงการเต้นรำหมู่ของบุรุษประกอบการบวงสรวงหรืองานสำคัญ ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นในซีรีส์

    ‘ลิ่วเยวี่ย’ หรือหกดนตรี คือคำเรียกย่อของระบำหกยุคสมัย ‘ลิ่วไต้เยวี่ยอู่’ (六代乐舞) ซึ่งมีมาแต่หกยุคสมัยจีนโบราณบรรพกาล ประกอบด้วย
    (1) ‘อวิ๋นเหมินต้าเจวี้ยน’ (云门大卷/ระบำประตูเมฆ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘อวิ๋นเหมิน’ เป็นการงานเฉลิมฉลองร่วมกับประชาชนในสมัยของจักรพรรดิเหลือง (หวงตี้ ประมาณสองพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นการแซ่ซ้องคุณงามความดีและความเรืองรองของรัชสมัย จากรูปวาดโบราณจะเห็นว่าเป็นการเล่นเครื่องดนตรีบางชนิดไปพร้อมกับเดินเต้นไปด้วย ระบำนี้ในยุคสมัยโจวถูกใช้เป็นระบำหลักในการบวงสรวงฟ้าและเทพยดา
    (2) ‘เสียนฉือ’ (咸池) หรือ ‘ต้าเสียน’ (大咸) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิเหยา (ประมาณสองพันสามร้อยปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งคำว่าเสียนฉือเป็นชื่อเรียกเดิมของทิศพยัคฆ์ขาวหรือทิศตะวันตก ระบำเสียนฉือจึงถูกนำมาใช้เป็นระบำสักการะดินและเทพเจ้าแห่งผืนดิน
    (3) ‘ต้าสาว’ (大韶) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิซุ่น (ประมาณสองพันสองร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่เชิดชูความงดงามของธรรมชาติรอบกาย ผสมผสานบทกลอน ดนตรี และระบำเข้าด้วยกัน กล่าวคือมีคนอ่านกลอนเป็นท่วงทำนอง มีเสียงเครื่องดนตรีนับสิบชนิดบรรเลงประกอบโดยเน้นเสียงขลุ่ยเซียวเป็นหลัก และมีคนสวมหน้ากากแสดงเป็นเหล่าปักษาและนกเฟิ่งหวงฟ้อนรำ ถูกใช้เป็นระบำบวงสรวงสี่ทิศ
    (4) ‘ต้าเซี่ย’ (大夏) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย (ประมาณสองพันปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต้าสู่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถูกใช้เป็นระบำสักการะขุนเขาและสายน้ำ เป็นระบำโบราณเดียวที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันแม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมาไม่น้อย(ดูรูปประกอบ)
    (5) ‘ต้าฮู่’ (大濩) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณหนึ่งพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์เซี่ยสำเร็จ ใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษ
    (6) ‘ต้าอู่’ (大武) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์โจว เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์ซางสำเร็จ ถูกใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษเช่นกัน

    ทั้งนี้ ระบำสี่แบบแรกเป็นแบบที่เรียกว่า ‘เหวิน’ (หรือบุ๋น) แต่ระบำสองแบบสุดท้ายเป็นแบบที่เรียกว่า ‘อู่’ (หรือบู๊) ซึ่งเป็นการแสดงออกแนวฮึกเหิม นักแสดงถือโล่และอาวุธเช่นขวาน (แต่ไม่ได้ถอดเสื้อเหมือนใน <กำเนิดเทพเจ้า 1 อาณาจักรแห่งพายุ> นะ) ทั้งหมดนี้มีการกำหนดจัดเรียงแถวอย่างชัดเจน รวมแปดแถว แต่ละแถวแปดคน รวมหกสิบสี่คน และในงานใหญ่อาจมีการจัดการรำหลายแบบพร้อมกันบนลานกว้าง

    นอกจากนี้ ในงานใหญ่ยังมีการรำเสริมโดยเหล่าราชนิกุลชาย โดยกำหนดเป็นการรำอีกหกรูปแบบเรียกเป็น ‘รำเล็ก’ เพราะเป็นการรำเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก แต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดในชนิดของระบำ ทั้งนี้ ราชนิกุลชายในยุคราชวงศ์โจวเมื่ออายุสิบสามปีก็จะเริ่มเรียน ‘รำเล็ก’ อายุสิบห้าเรียนรำอาวุธ และเมื่ออายุได้ยี่สิบก็เรียน ‘รำใหญ่’ สำหรับพิธีบวงสรวงซึ่งก็คือหกระบำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง และเมื่อสำเร็จการเรียนรู้ระบำต่างๆ เหล่านี้แล้วจึงเข้ารับราชการบรรจุเป็นขุนนางได้

    ทักษะด้านการรำนี้ ถูกใช้สอนในเรื่องของความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และช่วยปรับท่าทางการเดินเหินให้สง่าผึ่งผาย รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับงานสักการะต่างๆ แน่นอนว่าสุภาพบุรุษต้องเรียนรู้การเล่นดนตรี เพียงแต่มันได้ถูกระบุเป็นหกทักษะของสุภาพบุรุษเท่านั้นเอง

    สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://app.xinhuanet.com/news/article.html?articleId=1e283da99d5077df8508b27c88bfaeae
    https://chinakongzi.org/zt/2021jikong/yange/202109/t20210922_521023.htm https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://m.jiemian.com/article/1154435.html
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    https://h.bkzx.cn/knowledge/1733

    #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 2 ‘เยวี่ย’ สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึง ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะที่สุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์พึงมี (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数) สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องทักษะแรกคือห้าพิธีการ วันนี้คุยกันต่อถึงทักษะที่สองคือ ‘เยวี่ย’ เรียกรวมกว่าหกดนตรี ซึ่ง Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจหลายคนคงเข้าใจผิดเหมือน Storyฯ ว่ามันหมายถึงการเล่นดนตรี และภาพที่ลอยมาในหัวคือคุณชายดีดพิณหรือเป่าขลุ่ย แต่จริงๆ แล้ว ‘เยวี่ย’ ในบริบทของหกทักษะของสุภาพบุรุษนี้หมายถึงการเต้นรำ ใช่ค่ะ สุภาพบุรุษโบราณต้องเรียนรู้ที่จะเต้นรำ แต่มันไม่ใช่การเต้นรำทั่วไป หากแต่หมายถึงการเต้นรำหมู่ของบุรุษประกอบการบวงสรวงหรืองานสำคัญ ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นในซีรีส์ ‘ลิ่วเยวี่ย’ หรือหกดนตรี คือคำเรียกย่อของระบำหกยุคสมัย ‘ลิ่วไต้เยวี่ยอู่’ (六代乐舞) ซึ่งมีมาแต่หกยุคสมัยจีนโบราณบรรพกาล ประกอบด้วย (1) ‘อวิ๋นเหมินต้าเจวี้ยน’ (云门大卷/ระบำประตูเมฆ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘อวิ๋นเหมิน’ เป็นการงานเฉลิมฉลองร่วมกับประชาชนในสมัยของจักรพรรดิเหลือง (หวงตี้ ประมาณสองพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นการแซ่ซ้องคุณงามความดีและความเรืองรองของรัชสมัย จากรูปวาดโบราณจะเห็นว่าเป็นการเล่นเครื่องดนตรีบางชนิดไปพร้อมกับเดินเต้นไปด้วย ระบำนี้ในยุคสมัยโจวถูกใช้เป็นระบำหลักในการบวงสรวงฟ้าและเทพยดา (2) ‘เสียนฉือ’ (咸池) หรือ ‘ต้าเสียน’ (大咸) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิเหยา (ประมาณสองพันสามร้อยปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งคำว่าเสียนฉือเป็นชื่อเรียกเดิมของทิศพยัคฆ์ขาวหรือทิศตะวันตก ระบำเสียนฉือจึงถูกนำมาใช้เป็นระบำสักการะดินและเทพเจ้าแห่งผืนดิน (3) ‘ต้าสาว’ (大韶) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิซุ่น (ประมาณสองพันสองร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่เชิดชูความงดงามของธรรมชาติรอบกาย ผสมผสานบทกลอน ดนตรี และระบำเข้าด้วยกัน กล่าวคือมีคนอ่านกลอนเป็นท่วงทำนอง มีเสียงเครื่องดนตรีนับสิบชนิดบรรเลงประกอบโดยเน้นเสียงขลุ่ยเซียวเป็นหลัก และมีคนสวมหน้ากากแสดงเป็นเหล่าปักษาและนกเฟิ่งหวงฟ้อนรำ ถูกใช้เป็นระบำบวงสรวงสี่ทิศ (4) ‘ต้าเซี่ย’ (大夏) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย (ประมาณสองพันปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต้าสู่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถูกใช้เป็นระบำสักการะขุนเขาและสายน้ำ เป็นระบำโบราณเดียวที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันแม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมาไม่น้อย(ดูรูปประกอบ) (5) ‘ต้าฮู่’ (大濩) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณหนึ่งพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์เซี่ยสำเร็จ ใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษ (6) ‘ต้าอู่’ (大武) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์โจว เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์ซางสำเร็จ ถูกใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษเช่นกัน ทั้งนี้ ระบำสี่แบบแรกเป็นแบบที่เรียกว่า ‘เหวิน’ (หรือบุ๋น) แต่ระบำสองแบบสุดท้ายเป็นแบบที่เรียกว่า ‘อู่’ (หรือบู๊) ซึ่งเป็นการแสดงออกแนวฮึกเหิม นักแสดงถือโล่และอาวุธเช่นขวาน (แต่ไม่ได้ถอดเสื้อเหมือนใน <กำเนิดเทพเจ้า 1 อาณาจักรแห่งพายุ> นะ) ทั้งหมดนี้มีการกำหนดจัดเรียงแถวอย่างชัดเจน รวมแปดแถว แต่ละแถวแปดคน รวมหกสิบสี่คน และในงานใหญ่อาจมีการจัดการรำหลายแบบพร้อมกันบนลานกว้าง นอกจากนี้ ในงานใหญ่ยังมีการรำเสริมโดยเหล่าราชนิกุลชาย โดยกำหนดเป็นการรำอีกหกรูปแบบเรียกเป็น ‘รำเล็ก’ เพราะเป็นการรำเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก แต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดในชนิดของระบำ ทั้งนี้ ราชนิกุลชายในยุคราชวงศ์โจวเมื่ออายุสิบสามปีก็จะเริ่มเรียน ‘รำเล็ก’ อายุสิบห้าเรียนรำอาวุธ และเมื่ออายุได้ยี่สิบก็เรียน ‘รำใหญ่’ สำหรับพิธีบวงสรวงซึ่งก็คือหกระบำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง และเมื่อสำเร็จการเรียนรู้ระบำต่างๆ เหล่านี้แล้วจึงเข้ารับราชการบรรจุเป็นขุนนางได้ ทักษะด้านการรำนี้ ถูกใช้สอนในเรื่องของความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และช่วยปรับท่าทางการเดินเหินให้สง่าผึ่งผาย รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับงานสักการะต่างๆ แน่นอนว่าสุภาพบุรุษต้องเรียนรู้การเล่นดนตรี เพียงแต่มันได้ถูกระบุเป็นหกทักษะของสุภาพบุรุษเท่านั้นเอง สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://app.xinhuanet.com/news/article.html?articleId=1e283da99d5077df8508b27c88bfaeae https://chinakongzi.org/zt/2021jikong/yange/202109/t20210922_521023.htm https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://m.jiemian.com/article/1154435.html https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 https://h.bkzx.cn/knowledge/1733 #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 77 มุมมอง 0 รีวิว
  • #thaitimes
    #กลอน
    #บทกวี
    #รักธรรมะ
    #ท่านจันทร์
    #กินเจ

    บทกลอนโดยท่านจันทร์
    #thaitimes #กลอน #บทกวี #รักธรรมะ #ท่านจันทร์ #กินเจ บทกลอนโดยท่านจันทร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 539 มุมมอง 0 รีวิว
  • บทกลอนความหมายดีๆ
    บทกลอน "สอนดร.มโน"
    จากเพจ
    #คิงส์โพธิ์แดง-สำรอง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    บทกลอนความหมายดีๆ บทกลอน "สอนดร.มโน" จากเพจ #คิงส์โพธิ์แดง-สำรอง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Like
    Love
    Haha
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1092 มุมมอง 0 รีวิว
  • #นิยายไทย
    #คู่กรรม2
    #ทมยันตี
    #หนังสือน่าอ่าน
    #thaitimes
    #14ตุลา



    อ่านจบเดือนครึ่งเกือบสองเดือนแล้วสำหรับคู่กรรม2 ของทมยันตี สองเล่ม 702 หน้า สนพ. ณ บ้านวรรณกรรม พิมพ์ที่อ่านนี้เป็นครั้งที่ 9 ปี 2552 (ยืมจากห้องสมุด) ในอดีตเคยอ่านแค่ตอนเดียวสมัยเรื่องนี้พิมพ์ลงในนิตยสาร โลกวลี ช่วงสมัยอยู่มัธยม

    เมื่อดูจากปกในที่ระบุว่ามีการรวมเล่มครั้งแรกปี 2534 เท่ากับว่าเรื่องนี้ปรากฏโฉมสู่สายตานักอ่านมาถึงปัจจุบันรวมเวลา 33 ปีล่วงแล้ว

    เคยชมภาพยนตร์ที่นำแสดงโดย คุณพล ตัณฑเสถียร และคุณศิริลักษณ์ ผ่องโชค เมื่อปี 2539 รู้สึกตอนจบรันทดหดหู่เนื่องจากลูกชายของอังศุมาลินตายเพราะช่วยลูกศิษย์ เลยไม่อยากอ่านหนังสือ แต่เพิ่งจะรู้ข้อมูลเมื่อไม่นานมานี้เองว่าบทสรุปในหนังสือนั้นต่างไปจากที่ถูกสร้างเป็นหนัง ดังนั้นจึงเกิดแรงใจในการหามาอ่านให้จบสมบูรณ์ หลังจากที่เคยอ่านภาคแรกจบตั้งแต่สามสิบกว่าปีก่อน

    พบคำผิดประปรายในการพิมพ์ครั้งที่ 9 บางคำก็ได้ความรู้เพิ่มเติมว่าสามารถเขียนได้สองแบบ เช่นคำว่า กระแหนะกระแหน ซึ่งเขียนว่า กระแนะกระแหน ก็ได้ ที่ผ่านมาตัวเองคุ้นชินกับการเขียนแบบมี ห นำหน้ามาตลอด พอเห็นว่าในหนังสือใช้เป็นแบบไม่มี ห นำ ยังคิดว่าน่าจะพิมพ์ผิด เมื่อลองค้นจึงค่อยทราบว่าไม่ผิด ซึ่งในเล่มช่วงแรก ก็ไม่มี ห แต่พอช่วงหลังมี ห โผล่มาซะงั้น อดคิดไม่ได้ว่าตกลงจะเลือกใช้แบบไหนก็น่าจะเอาสักทาง ให้เหมือนกันตลอดทั้งเรื่อง

    จากนี้ไปจะยาวมากครับ คงมีคนอ่านไม่มาก ถ้าใครอ่านต่อจนจบได้ขอโปรดรับคำขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย

    ในส่วนเนื้อเรื่องของภาคนี้ ดำเนินต่อจากความตายของโกโบริ คืออังศุมาลินท้องแก่และคลอดลูกชาย ให้ชื่อว่ากลินท์ที่หมายถึงพระอาทิตย์ ชื่อญี่ปุ่น โยอิจิ โยหมายถึงดวงอาทิตย์ อิจิคือลูกคนแรก พ่อของอังศุมาลินยังคงห่วงใยคนรักเก่าและลูกสาวที่บ้านสวน จึงมาบอกข่าวว่าอีกไม่นานญี่ปุ่นคงจะแพ้สงคราม ซึ่งจะส่งผลกระทบมาสู่แม่อร อังศุมาลินและลูกโดยตรง จึงอยากจะช่วยเหลือ แต่แม่อรปฏิเสธ ไม่ใช่แค่คนเป็นพ่อที่ห่วงใย แม้ตาผลตาบัวสองคู่หูคู่หอย ก็หมั่นนำข่าวมาบอกว่าอีกไม่นานพลพรรคจะนัดกันลุกฮือต่อสู้ญี่ปุ่น รวมถึงวนัสที่ได้รับอิสระจากความช่วยเหลือของโกโบริก่อนตาย จึงกลับมาหาอังศุมาลินเพื่อบอกข่าวและถามเธอว่าจะยอมแต่งงานกับเขาไหม เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาที่กำลังจะเกิด แต่อังศุมาลินปฏิเสธ เธอยินดีที่จะอยู่ดูแลลูกต่อไปในบ้านสวน ไม่ย้ายหนีไปไหนทั้งนั้น แล้วคุณยายแม่ของแม่อร และยายของอังศุมาลิน ก็จากไปเป็นคนแรกของภาคนี้ แต่เป็นการจากอย่างสงบ เตรียมตัวตายอย่างดี ไปถือศีลอยู่วัดไม่ต้องลำบากลูกหลาน

    เวลาผ่านไป ในที่สุดญี่ปุ่นแพ้สงครามพ่อของอังศุมาลินมาบอกทุกคนที่บ้านสวนว่าจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ช่วงบั้นปลายชีวิต ทุกคนร่วมอนุโมทนา หลังบวชท่านต่างจากพระอื่นในวัด ไปอยู่กุฏิเล็กโทรมเพียงรูปเดียว ฉันวันละมื้อ และปฏิบัติเคร่งครัดจนชาวบ้านพากันโจษจันไปทั่วคุ้งน้ำ ด้านเด็กชายกลินท์เจริญวัยขึ้น ได้รับความเอาใจใส่จากแม่ และปู่คือตาผลตาบัวที่อุปโลกน์ตนเอง โดยเล่าเรื่องราวต่างๆของแม่และโกโบริให้กับเด็กชายฟัง ก่อนที่ทั้งคู่จะทยอยตายจากไปเช่นกัน จึงเหลือเพียงแม่อร ที่มักไปอยู่วัดบ่อยเหมือนเช่นทวดของกลินท์ นาน ๆ ครั้งกลินท์จึงได้ติดตามยายกับแม่ไปกราบท่าน กาลล่วงเลยจนเด็กชายเติบใหญ่เป็นหนุ่มวัย 27 ปี ดีกรีอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์ที่ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นที่ชื่นชอบในบรรดาเหล่าลูกศิษย์โดยเฉพาะนักศึกษาหญิง

    ขณะที่เมืองไทยเข้าสู่ช่วงปีที่ในกรุงเทพกำลังเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้านสินค้าและอื่นใดที่มาจากญี่ปุ่น ซึ่งสร้างชาติอย่างรวดเร็วภายหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง โดยเน้นทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้โยอิจิที่มีปมเป็นลูกที่มีเลือดญี่ปุ่นครึ่งหนึ่ง นึกรังเกียจไม่พอใจชาติกำเนิดตนเอง ต่อต้านพ่อที่ตายไปแล้ว และไม่เข้าใจแม่ จึงกลายเป็นคนที่ให้คำแนะนำแก่บรรดาศิษย์หัวรุนแรง ก้าวหน้า ฝักใฝ่ปลดแอกประชาชนจากการเป็นทาสทุนนิยมบริโภคและทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น โดยไม่มีใครรู้ความจริงของพ่ออาจารย์

    ทางบ้านสวน แม้โยอิจิจะรักแม่มาก แต่ขณะเดียวกันใจก็ยังไม่ยอมรับพ่อ กลายเป็นเหมือนเด็กน้อยที่เอาแต่ใจ รั้น และดื้อเงียบ แต่เขาเข้ากันได้อย่างดีกับลุงวนัสที่สนิทสนมมาแต่เด็ก เข้าออกบ้านลุงบ่อย ตั้งแต่กำนันพ่อของวนัสยังมีชีวิตอยู่จนตายไปในเวลาต่อมา วนัสทำธุรกิจหลายอย่าง รวมถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเรือนไทยของตนให้เป็นที่ทำงานด้วย วนัสไม่ยอมแต่งงานสักทีตั้งแต่อกหักจากอังศุมาลิน แม้โยอิจิจะรู้ว่าวนัสมีการคบหาทำธุรกิจกับพวกคนญี่ปุ่น เขาไม่เห็นด้วยแต่ก็ยังรักชอบในฐานะลุงเช่นเดิม

    ส่วนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเขาเป็นอาจารย์สอนอยู่นั้น เขาคอยเป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มนิสิตนักศึกษาระดับผู้นำหลายคนที่เรียกร้องรัฐบาลให้บอยคอตคนญี่ปุ่นรวมถึงธุรกิจ สินค้าทุกชนิด โดยที่ไม่มีใครรู้ความจริงว่าเขามีพ่อเป็นใคร ขณะที่มีอาจารย์สาวคนหนึ่งชื่อ ชิตาภา หน้าตาดี ครอบครัวเป็นชาวจีนมีอันจะกินที่มาตั้งรกรากสร้างตัวจนกลายเป็นมีกิจการค้ารุ่งเรือง มักชอบเข้าหามาชวนเขาสนทนาอยู่บ่อยครั้ง ดูเหมือนเธอจะพึงใจในตัวโยอิจิอยู่บ้าง และน่าจะมีอะไรที่มากกว่านั้น แต่เขาไม่สนใจ มักคุยด้วยไม่นาน และสร้างขอบเขตส่วนตัวที่กันคนอื่นออกไปอยู่วงนอกเสมอ ไม่ยอมให้ใครเข้าถึงความในใจตนได้

    แล้ววันหนึ่งนักศึกษาสาวปีสามรัฐศาสตร์นามว่า ศราวณี ผู้เป็นแกนนำหัวรุนแรงที่ต่อต้านคนญี่ปุ่นและสินค้าญี่ปุ่น รวมถึงต่อต้านรัฐบาลทหารในช่วงนั้น ซึ่งรู้ความจริงเรื่องของพ่อโยอิจิ และมีความคับแค้นจากปมในครอบครัวตนซึ่งแม่ตายตั้งแต่เด็ก ถูกเลี้ยงดูมาจากยายและป้าที่เป็นพี่สาวของแม่ และเข้าใจผิดฝังหัวมาตลอดเกี่ยวกับครอบครัวบ้านสวนของอังศุมาลิน ที่มาแย่งชิงความรักไปจากคุณตาของเธอ เพราะทั้งยายและป้ามักเล่าความหลังโดยบิดความจริงแล้วใส่สีตีไข่ บริภาษแม่อรว่าคือผู้เป็นเมียน้อยที่แย่งความรักไป ทำให้ครอบครัวฝั่งยายลำบาก และโดนแย่งสมบัติไปหมด แม่และป้าจึงโตมาอย่างยากแค้นจนแม่ตายไปและป้าต้องรับเลี้ยงศราวณีต่อมาอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทำให้ป้ามักอารมณ์เสียใส่เธอเสมอตั้งแต่เด็กจนโต เพาะเป็นความเกลียดชังต่อครอบครัวฝั่งบ้านสวน ทั้งที่ตัวเองไม่เคยพบหน้าอีกฝ่าย จนเมื่อเข้ามาเป็นนักศึกษาและพบว่าโยอิจิสอนหนังสืออยู่ที่ธรรมศาสตร์ จึงพุ่งความโกรธเกลียดที่ตนเคยได้รับจากป้ามารวมอยู่ที่อาจารย์ทั้งหมด จนกระทั่งบอกความลับเรื่องพ่อของโยอิจิออกไปให้พวกเพื่อนกลุ่มหัวรุนแรงด้วยกันรับรู้

    วันที่พวกเธอและเพื่อนตามตัวให้โยอิจิมาที่ห้องซึ่งเป็นที่รวมพลเพื่อพูดคุยเรื่องจะทำอะไรต่อไป แล้วใครคนหนึ่งได้กล่าวเปิดโปงเรื่องโกโบริ และพูดจาดูถูกเหยียดหยามเชื้อชาติของพ่อ วินาทีนั้นเองโยอิจิกลับเพิ่งเข้าใจหัวใจตนเองเป็นครั้งแรกในชีวิต 27 ปีที่ผ่านมา ว่าแท้จริงเขารักพ่อและเทิดทูนในเกียรติยศของทหารหาญมากแค่ไหน เขายอมรับอย่างตรงไปตรงมาด้วยท่าทีแสดงออกถึงความภูมิใจในสายเลือดแห่งตนด้วยน้ำเสียงที่เปี่ยมพลัง ที่สามารถสยบเสียงโห่ฮาขับไล่ของเหล่านักศึกษาให้สงบลงได้ นั่นคือครั้งแรกเช่นกันที่สร้างความประหลาดใจแกมรู้สึกผิดอยู่เบื้องลึกให้เกิดขึ้นในหัวใจของศราวณี ที่ไม่นึกฝันว่าโยอิจิจะกล้ายอมรับอย่างไม่สะทกสะท้าน

    นับตั้งแต่วันนั้น โยอิจิเหมือนได้รับการปลดล็อกออกจากห้องขังที่ตนเองสร้างขึ้นเพื่อหนีความจริงสุดลึกที่เก็บกดไว้ เขาเข้าใจถึงความรักของแม่อันเป็นที่รักที่มีต่อพ่อชาวญี่ปุ่นอย่างท่วมท้นหัวใจแล้ว พ่อไม่เคยทำสิ่งไม่ดี มีแต่ทำตามหน้าที่ของชายชาติทหารที่ได้รับมอบหมาย ไม่ได้ทำไปด้วยความจงเกลียดจงชัง โยอิจิกลับไปที่บ้านสวนในเย็นวันนั้นอย่างคนที่บาดเจ็บสาหัส ไม่ใช่ทางกาย แต่ได้รับความกระทบกระเทือนทางใจอย่างรุนแรง อังศุมาลินรับรู้ได้ด้วยสายตาและหัวใจของคนเป็นแม่ แม้ไม่รู้ว่าลูกชายพบเจอเรื่องใดมาทำได้แค่ยกสองมือขึ้นโอบกอดถ่ายเทความรักความอบอุ่นที่มีให้กับลูกชายด้วยความเข้าใจอย่างสงบ

    โยอิจิไม่รู้ความจริงว่าศราวณีคือน้องสาวที่เป็นลูกพี่ลูกน้อง เกิดจากน้องสาวต่างมารดาของอังศุมาลิน มีเพียงอาจารย์ชิตาภาที่ทราบ เพราะเธอเป็นญาติที่มีศักดิ์เป็นคุณน้าของศราวณี แต่ยังไม่อาจเล่าให้เขาฟัง โยอิจิยังคงสงสัยและเคลือบแคลงว่าชิตาภาประสงค์สิ่งใดแน่จึงมักหาเหตุมาใกล้ชิดชวนสนทนากับตน

    ด้วยความรู้สึกผิดเกาะกินจากภายใน รวมถึงปัญหาต่าง ๆ รุมเร้า แม้ใจจะต่อต้านพี่ชายอย่างอาจารย์กลินท์ แต่เบื้องลึกเธอกลับมีความรู้สึกที่ดี รักเคารพในชายคนนี้อย่างไม่รู้ตัว วันหนึ่งโยอิจิพบเธอนั่งซึมอยู่ที่ท่าเรือ เหมือนรอคอยจะพบเขาและตามลงเรือมาที่บ้านสวนด้วย ศราวณีจึงได้พบกับสรวงสวรรค์บ้านเรือนไทยหลังเดียวในย่านนั้นที่ยังคงสภาพเหมือนเดิมกับช่วงเกิดสงคราม ในขณะที่บ้านหลังอื่นเปลี่ยนแปลงไปสร้างตามอย่างต่างชาติหมด เธอพบบรรยากาศที่ร่มรื่นชื่นเย็น สงบสุขอย่างไม่เคยได้รับยามเมื่อกลับถึงบ้านที่อยู่กับป้า ยิ่งเมื่อได้พบเจออังศุมาลิน ภาพที่เคยคิดไว้กลับตรงข้ามกับสิ่งที่เห็นและได้ยินทุกอย่างต่างจากที่ยายและป้าได้พูดใส่หูเธอมาตลอด เธอรู้สึกได้รับความสุข สงบ สบายใจและผ่อนคลายอย่างที่ไม่เคยเกิด และเริ่มเปลี่ยนความคิดที่มีต่อครอบครัวของโยอิจิ

    ทางด้านหลวงพ่อ หลังจากบวชเพื่อปฏิบัติอย่างเอาจริงอยู่จนล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย ที่สุดก็มรณภาพอย่างสงบในท่านั่งสมาธิอยู่ในกุฏิ ทำให้ชาวบ้านโจษจันต่างศรัทธานับถือ จนเจ้าอาวาสและทางกรรมการวัดเห็นเป็นโอกาสในการสร้างเรื่องเรียกคนเข้ามาทำบุญเพิ่ม ด้วยการยกให้หลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาทันที ทั้งที่ตอนมีชีวิต ไม่ใคร่สนใจ

    ที่บ้านสวนส่วนใหญ่อังศุมาลินอยู่บ้านคนเดียว ทำงานบ้านดูแลอาหารการกินเตรียมไว้ให้ลูกชาย ทว่าเริ่มมีอาการป่วยที่ค่อย ๆ รุนแรงมากขึ้นจนต้องแอบไปที่ศิริราช โดยมีเจ้าโก๊ะเด็กชายตัวน้อย ลูกของคนจรจัดหญิงชายที่มาขออาศัยอยู่ในสวนด้านหลังบ้านตามไปเป็นเพื่อน พ่อแม่ของโก๊ะนั้นเป็นประเภทไม่ชอบทำมาหากิน ขี้เหล้าเมายา เล่นพนันไปตามเรื่อง อังศุมาลินเคยหวังดีเอ่ยปากแนะนำให้ตั้งตัวขยันทำกินหลายครั้ง แต่ทั้งสองไม่สนใจ เอาแต่เก็บผักผลไม้จากในสวนของแม่อรและอังศุมาลิน มากินและขายด้วยถือวิสาสะว่าเหมือนของตน และมักใช้ให้โก๊ะมาขอเงินจากอังศุมาลินบ่อย ๆ

    ส่วนเหตุการณ์ทางด้านการบ้านการเมืองกลับทวีความรุนแรง คุกรุ่นขึ้นเรื่อย ๆ บรรดานักศึกษาต่างรวมตัวกันในสถาบันหลายแห่ง รวมถึงขึ้นเวทีพูดปลุกระดมให้ชาวบ้านฟังและเข้าร่วมสนับสนุนฝ่ายตนมากขึ้น ขณะที่ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องที่ร่างขึ้น เหตุการณ์ช่วงปี พ.ศ. 2516 เริ่มขมวดปมความขัดแย้งระหว่างฝ่ายผู้บริหารกับฝ่ายนักศึกษา ผ่านสายตาของโยอิจิและชิตาภาที่คอยเฝ้ามองอย่างห่าง ๆ ด้วยความเป็นห่วงในตัวศิษย์ แม้เคยกล่าวเตือนในหลายครั้งให้ศราวณีระมัดระวัง อย่าทำอะไรที่ผลีผลาม หุนหันพลันแล่น แต่อย่างไรเด็กก็คือเด็ก เมื่อเขามีความเชื่อฝังหัวไปทางด้านหนึ่ง ก็ขาดความใคร่ครวญพิจารณาอย่างรอบถ้วน และมองไม่เห็นถึงภัยร้ายที่จะบังเกิดขึ้นในเมื่อทุกสิ่งถูกปลุกเร้าเข้าสู่ห้วงวิกฤต

    สุดท้ายถึงวันแตกหักอันเป็นเหตุการณ์วิปโยคของคนไทยทุกคน จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับโยอิจิ ชิตาภา และศราวณี ในขณะที่อังศุมาลินนั้นก็มีอาการเจ็บป่วยที่มักเหนื่อยง่าย หน้าซีดจะเป็นลมบ่อย แต่ปิดไว้ไม่ให้ลูกชายรู้ ดูเหมือนเวลาชีวิตของเธอจะเหลืออีกไม่มากก่อนจะได้ตามไปอยู่กับโกโบริ สรุปสุดท้ายของนิยายจะลงเอยอย่างไรไปอ่านต่อได้ในคู่กรรม 2 ครับ

    🖋วิเคราะห์หลังอ่านจบ

    มีทั้งส่วนที่ชอบและไม่ชอบ ภาคนี้ต่างไปจากภาคแรกอย่างชนิดเหมือนเป็นนิยายคนละเรื่อง คนละแนวทาง คือภาคแรกมีความเป็นนิยายรักระหว่างรบ ที่มีทั้งปมความรัก ความขัดแย้งในตัวตนกับคนที่คิดว่าคือศัตรูเป็นแกนหลัก เน้นไปทางอารมณ์ความรู้สึกของอังศุมาลินและโกโบริ โดยมีเหตุการณ์น้อยใหญ่ที่เข้ามาสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกันของทั้งสองเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนถึงขั้นรัก แต่ไม่อาจเปิดใจเพราะติดที่กรอบซึ่งถูกสร้างขึ้นจากทั้งอังศุมาลินเอง และสังคมสร้างให้กลายเป็นขื่อคาที่ตรึงรั้งใจไว้ให้มิอาจแสดงออกถึงความรักได้ดังเช่นคู่สามีภรรยาปกติ จนนำไปสู่บทสรุปอันเจ็บปวดและขมขื่นในตอนท้ายเรื่องที่สร้างความจดจำและสะเทือนใจให้กับคนอ่านอย่างยิ่ง กลายเป็นอมตะนิยายรักแห่งโศกนาฏกรรมที่คนไทยรู้จักมากที่สุดเรื่องหนึ่ง

    มาในภาคนี้ เนื้อหาโครงสร้างหลักกลับเน้นไปที่ความมองโลกของคนเป็นแม่อย่างคนที่ผ่านประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตมาแล้ว และจะเลือกเดินหน้าต่อไปอย่างไรในสถานการณ์ที่คนไทยส่วนใหญ่เกลียดชังญี่ปุ่น ในขณะที่เธอคือภรรยาหม้ายและมีลูกชายสายเลือดที่เกิดจากทหารญี่ปุ่น ตลอดทั้งเล่มนี้ในความรู้สึกส่วนตัว ผมมองว่านี่คือนิยายธรรมะเล่มหนึ่งทีเดียว เพียงแต่ไม่ใช่ธรรมะที่เป็นคำบรรยายเทศน์ของพระผู้เป็นองค์ธรรมกถึก หากแต่เป็นหนังสือธรรมะที่นำพล็อตของนิยายมาสวม จึงพบได้ในหลายย่อหน้า แทบทุกตอนที่ผู้เขียนสอดแทรกแนวคิดหลักธรรมทางพุทธตามแนวที่ท่านเชื่อเป็นทางที่ถูกตรงลอยอบอวลอยู่ในการบรรยาย เหมือนตัวละครและฉากเหล่านั้นคือตัวแทนหรือเครื่องมือที่ต้องการสื่อสอนธรรมะไปสู่ผู้อ่านอยู่ตลอด โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องราวของความตาย ดังจะเห็นได้จากมีการจากไปของตัวละครเดิมที่มีบทบาทจากภาคแรก คนแล้วคนเล่า เริ่มตั้งแต่คุณยาย ตาผลตาบัว หลวงพ่อ และกำลังใกล้ตายอย่างอังศุมาลิน ทำนองแสดงสัจธรรมชีวิต

    หลายช่วงตอนที่มีการหยิบยกบทกลอนร้อยกรองจากในวรรณคดีไทย หรือที่ผู้เขียนแต่งขึ้น รวมถึงวลี ประโยคภาษาอังกฤษจากบทเพลง บทกวีต่าง ๆ ของทางตะวันตกมาใช้เพื่อสื่อแสดงถึงความรู้สึกของผู้เขียนที่ต้องการสะท้อนผ่านเรื่องราวของเหตุการณ์แวดล้อมรอบตัวโยอิจิ และตัวละครสำคัญ จนบางทีก็ดูมากไป อ่านไปเรื่อย ๆ อดที่จะคิดไม่ได้ว่าเล่มนี้ มีความคล้ายกันกับอีกเล่มของทมยันตีที่มีชื่อว่า จดหมายถึงลูก(ผู้)ชาย ที่เน้นสอนลูกของผู้เขียนเองและคนเป็นลูกชายทุกคน ด้วยการแทรกแนวคิดคำสุภาษิตไว้ในเนื้อหาตลอดเล่ม

    แล้วการเขียนลักษณะนี้ดีหรือไม่อย่างไร?

    คงขึ้นกับความชื่นชอบส่วนบุคคลของผู้อ่านที่มีรสนิยมแตกต่าง ส่วนผมเองนั้นไม่ถึงกับเรียกได้ว่าชอบทว่าก็ไม่ขัดใจมากมาย แต่ยอมรับว่าทมยันตีเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีความไม่ธรรมดาในด้านศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งหาตัวจับยาก แล้วนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการเขียนได้เก่งมากคนหนึ่งในเหล่านักเขียนรุ่นเก่า หากจะติบ้างก็คงเป็นความเข้าใจในทางหลักธรรมที่นำมาสอดแทรกไว้ในคู่กรรม2 นั้น ยังเป็นความเข้าใจที่เหมือนเช่นคนปฏิบัติธรรมทั่วไปในไทยเข้าใจกันว่าถูกต้อง คือเน้นการนั่งสมาธิเดินจงกรมว่าคือวิธีที่จะนำไปสู่การลดละกิเลสจนนำไปสู่ความหลุดพ้นได้ ดังที่ตัวละครหลวงพ่อในเรื่องได้ปฏิบัติและพูดคุยสอนธรรมกับโยอิจิ หรือแม่อร อังศุมาลิน ซึ่งโดยแท้จริงการปฏิบัติควรเน้นไปที่การมีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกที่จะจับอาการกิเลสแล้วกำจัดทิ้ง ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน หรืออิริยาบถย่อยอื่น ไม่ใช่เพียงแค่ตอนนั่งสมาธิเดินจงกรมเพียงเท่านั้น เพราะในชีวิตจริงมนุษย์ไม่อาจจะบังคับตนให้อยู่เพียงแค่ท่านั่งสมาธิต่อเนื่องยาวนานไปจนชั่วชีวิต

    นอกจากประเด็นที่กล่าวถึงนี้แล้วที่มีความเห็นไม่ตรงกับผู้เขียน ทางด้านอื่นถือว่าผมชอบนิยายเรื่องนี้ไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะการมองโลกที่มองทะลุถึงความเป็นจริงของสังคมไทย ลักษณะนิสัย ที่เจาะลึกให้เห็นว่าแม้นในอดีตสมัยสงครามคนไทยเป็นอย่างไร ปัจจุบันในยุคนี้ก็ยังคงพบเห็นได้ว่าไม่แตกต่างกันนัก จึงถือว่านิยายเล่มนี้ไม่ล้าสมัย โดยเฉพาะด้านการบ้านการเมืองที่ผู้มีอำนาจในฝ่ายรัฐ มักเลือกใช้วิถีทางแห่งความรุนแรงในการสยบปัญหาอยู่เสมอ โดยมีมือที่สามที่คอยฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ ยั่วยุ ปลุกปั่น และล่อลวงให้คู่กรณีระหว่างรัฐกับนักศึกษาและประชาชนปะทะแตกหัก จนเกิดความสูญเสีย อันมีแต่หายนะต่อประเทศชาติ

    ศราวณี คือตัวแทนที่เปรียบให้เห็นเด่นชัด ไม่ว่ายุคใด เหล่าเด็กหนุ่มสาวอนาคตชาติ มักถูกกระตุ้น ให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และปลุกเร้าจุดไฟติดได้โดยง่าย ด้วยพวกเขามีพลังงานล้นเหลือ เมื่อเลือกเชื่อไปทางใดทางหนึ่งแล้ว บางทีก็พุ่งไปข้างหน้าอย่างสุดกำลังโดยไม่ทันได้ใคร่ครวญ ยั้งคิด หรือพิจารณาทัศนียภาพรอบข้างระหว่างทางที่มุ่งไปให้ถี่ถ้วนรอบคอบ จึงมักตกเป็นฝ่ายที่ถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือให้ไปตายแทนคนบงการแท้จริงเบื้องหลังเสมอ

    และเมื่อเกิดความสูญเสียแล้วก็เป็นเช่นดังอะไหล่เลวที่โดนใช้แล้วทิ้งโดยไร้ความเสียดาย หรือจำเป็นต้องดูแลอย่างใดต่อไป กว่าพวกเขาจะรู้ตัว ความผิดพลาดพลั้งเผลอก็เกิดขึ้นและไปไกลเกินกว่าตนเองจะหยุดยั้ง ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ได้เสียแล้ว ดังจุดจบของตัวละครในเรื่องนี้หลังเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ความเก่งกล้า ไม่ยอมใคร ไม่ฟังอาจารย์ ความร้อนเร่าเอาแต่ใจ รั้นจะทำในสิ่งที่ตนคิดให้จงได้ ทว่าสุดท้ายกลับกลายพาเพื่อน คนที่ไม่รู้อะไรแต่ก็ตามกันไป ไปพบกับการบาดเจ็บล้มตายต่อหน้าต่อตา ถึงกับกรีดร้องอย่างบ้าคลั่ง หลบหนีตายจ้าละหวั่น กระทบกระเทือนถึงสภาพจิตใจอย่างรุนแรงจนแทบจะกลายเป็นบ้าไป เธอจึงได้รับบาดแผลลึกที่เสียใจก็ไม่ทันแล้ว กับไฟที่ตอนแรกเพียงแค่เหมือนไฟจากปลายก้านไม้ขีดในมือที่ขยับนิดเดียวก็ดับ สุดท้ายมันกลับกลายเป็นไฟกองใหญ่ที่โหมไหม้รวดเร็ว ลามเลียทำลายทุกสิ่งอย่างไม่อาจดับได้ด้วยแค่กำลังตนเอง

    นอกจากนี้ที่ชอบก็มีในส่วนของการใช้ภาพตัวละครในเรื่องอย่างครอบครัวของเจ้าโก๊ะ ที่สะท้อนภาพตัวแทนของชนชั้นล่างได้ชัดเจน ความเหลื่อมล้ำที่เหล่านักศึกษามักนำมาเป็นคำขวัญ ชูประเด็นเพื่อเรียกร้อง และรังเกียจเคียดแค้นเหล่าชนชั้นศักดินา ดังเช่นอาจารย์ชิตาภาที่ครอบครัวเป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่มาไทยอย่างเสื่อผืนหมอนใบ แต่ขยันขันแข็งและสร้างตัวจนมีทรัพย์ ร่ำรวยมีอันจะกินและสร้างธุรกิจด้วยการค้าขายขยับขยายฐานะ จนเลื่อนจากชนชั้นแรงงานต่างด้าวมาเป็นพ่อค้าวาณิชย์ที่มีกิจการมากมายและถูกแปะป้ายให้กลายเป็นศักดินาไป จนถูกมองว่าเป็นความผิดความเลวที่เข้ามากอบโกยนั้น หรือแม้แต่วนัสที่เป็นคนไทยแต่มีหัวในทางธุรกิจการค้า จึงติดต่อซื้อขายกับคนต่างชาติอย่างญี่ปุ่นหรือชาวตะวันตกจนมีฐานะเข้าขั้นเศรษฐี ทั้งที่ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นพวกเสรีไทย แต่ในภาคนี้เรียกได้ว่าแปะป้ายศักดินาตามความหมายของเหล่านักศึกษาได้เช่นกัน

    หากมองความจริงในอีกแง่มุม ย่อมเห็นได้ว่าคนไทยเองที่เป็นชนชั้นกรรมาชีพจำนวนมากนั้นมีสันดานเป็นอย่างพ่อและแม่ของเจ้าโก๊ะ ที่เอาแต่ชื่นชอบอยู่อย่างสบายไม่ต้องทำการทำงาน วันทั้งวันเอาแต่เมาหัวราน้ำ แม้นมีคนหยิบยื่นความช่วยเหลือหวังให้สร้างตัวเพื่อตั้งตนได้ แต่ก็ไม่กระตือรือร้นสนใจ หนักไม่เอาเบาไม่สู้ อยากแต่จะขอเขากินไปเรื่อย ๆ อาศัยความเมตตาและมีน้ำใจของครอบครัวแม่อรและอังศุมาลินเป็นเครื่องมือ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างคนขี้เกียจ รักสบายได้ต่อไป มีเงินก็หมดไปกับเหล้ายาและการพนัน เงินหมดก็ใช้ให้โก๊ะไปไถขอเอาใหม่ ด้วยรู้จุดว่าถ้าให้เด็กมาขออย่างไรก็ได้ นี่ไม่อาจยอมรับว่าไม่ว่าจะในนิยายซึ่งอยู่ในยุคหลังสงคราม หรือปัจจุบันที่ล่วงเลยมาอีกหลายสิบปี ก็ยังมีคนไทยที่เป็นเช่นนี้อีกเป็นจำนวนมาก แล้วจะไปโทษว่าแต่ความเหลื่อมล้ำเพราะชนชั้นได้เช่นไร ในเมื่อตนเองยินดีทำตนให้เป็นไปเช่นนั้น

    อังศุมาลินและโยอิชิคือตัวแทนของชนชั้นกลางที่น่าสนใจ ทั้งสองมีความรู้ตามทันยุคสมัยของความเปลี่ยนแปลง แต่ไม่หลงใหลปล่อยให้กระแสเชี่ยวแห่งคลื่นทุนนิยมเข้าครอบงำ ยังคงดำเนินชีวิตทั้งรูปแบบ และวิถีตามอย่างวัฒนธรรมอันดีงามในอดีตที่บรรพบุรุษสร้างไว้ ไม่ว่าจะเรือนพักอาศัยที่ไม่รื้อทิ้งหลังเก่าแล้วสร้างใหม่ และพยายามสงวนที่ดินสวนหลังบ้านไว้ปลูกผักปลูกไม้ผลให้พอเก็บกินไม่เดือดร้อน ในขณะครอบครัวอื่นขายที่ให้นายทุน และสร้างบ้านปูนกันไปเกือบหมด

    ภาพความขัดแย้งที่เห็นได้ชัดเจนนี้เองที่เป็นความงดงาม แม้นลำคลองจะไม่เหมือนเดิม คนไทยทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลงน้ำ ทำลายต้นกำเนิดรากเหง้าสายธารแห่งชีวิตของตนเอง ทำให้ปลา กุ้ง หอย สัตว์น้ำที่เคยมีลดน้อยจนกระทั่งหายไปไม่เหมือนก่อน เมื่อมาถึงยุคสมัยที่เรามีชีวิตอยู่นี้ เราจึงต้องแบกรับผลพวงที่ตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เราไม่ชอบ เราบ่นหรืออาจถึงขั้นก่นด่าคนรุ่นก่อน แต่เราเองก็ละเลยไม่ได้มองกลับเข้ามาในตน ว่าในแต่ละวันได้ทำอะไรที่เป็นไปในทางที่ทำร้าย ทำลายวิถีไทย สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมและประเพณีอันดีมากน้อยขนาดไหนอย่างไรบ้าง
    #นิยายไทย #คู่กรรม2 #ทมยันตี #หนังสือน่าอ่าน #thaitimes #14ตุลา อ่านจบเดือนครึ่งเกือบสองเดือนแล้วสำหรับคู่กรรม2 ของทมยันตี สองเล่ม 702 หน้า สนพ. ณ บ้านวรรณกรรม พิมพ์ที่อ่านนี้เป็นครั้งที่ 9 ปี 2552 (ยืมจากห้องสมุด) ในอดีตเคยอ่านแค่ตอนเดียวสมัยเรื่องนี้พิมพ์ลงในนิตยสาร โลกวลี ช่วงสมัยอยู่มัธยม เมื่อดูจากปกในที่ระบุว่ามีการรวมเล่มครั้งแรกปี 2534 เท่ากับว่าเรื่องนี้ปรากฏโฉมสู่สายตานักอ่านมาถึงปัจจุบันรวมเวลา 33 ปีล่วงแล้ว เคยชมภาพยนตร์ที่นำแสดงโดย คุณพล ตัณฑเสถียร และคุณศิริลักษณ์ ผ่องโชค เมื่อปี 2539 รู้สึกตอนจบรันทดหดหู่เนื่องจากลูกชายของอังศุมาลินตายเพราะช่วยลูกศิษย์ เลยไม่อยากอ่านหนังสือ แต่เพิ่งจะรู้ข้อมูลเมื่อไม่นานมานี้เองว่าบทสรุปในหนังสือนั้นต่างไปจากที่ถูกสร้างเป็นหนัง ดังนั้นจึงเกิดแรงใจในการหามาอ่านให้จบสมบูรณ์ หลังจากที่เคยอ่านภาคแรกจบตั้งแต่สามสิบกว่าปีก่อน พบคำผิดประปรายในการพิมพ์ครั้งที่ 9 บางคำก็ได้ความรู้เพิ่มเติมว่าสามารถเขียนได้สองแบบ เช่นคำว่า กระแหนะกระแหน ซึ่งเขียนว่า กระแนะกระแหน ก็ได้ ที่ผ่านมาตัวเองคุ้นชินกับการเขียนแบบมี ห นำหน้ามาตลอด พอเห็นว่าในหนังสือใช้เป็นแบบไม่มี ห นำ ยังคิดว่าน่าจะพิมพ์ผิด เมื่อลองค้นจึงค่อยทราบว่าไม่ผิด ซึ่งในเล่มช่วงแรก ก็ไม่มี ห แต่พอช่วงหลังมี ห โผล่มาซะงั้น อดคิดไม่ได้ว่าตกลงจะเลือกใช้แบบไหนก็น่าจะเอาสักทาง ให้เหมือนกันตลอดทั้งเรื่อง จากนี้ไปจะยาวมากครับ คงมีคนอ่านไม่มาก ถ้าใครอ่านต่อจนจบได้ขอโปรดรับคำขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย ในส่วนเนื้อเรื่องของภาคนี้ ดำเนินต่อจากความตายของโกโบริ คืออังศุมาลินท้องแก่และคลอดลูกชาย ให้ชื่อว่ากลินท์ที่หมายถึงพระอาทิตย์ ชื่อญี่ปุ่น โยอิจิ โยหมายถึงดวงอาทิตย์ อิจิคือลูกคนแรก พ่อของอังศุมาลินยังคงห่วงใยคนรักเก่าและลูกสาวที่บ้านสวน จึงมาบอกข่าวว่าอีกไม่นานญี่ปุ่นคงจะแพ้สงคราม ซึ่งจะส่งผลกระทบมาสู่แม่อร อังศุมาลินและลูกโดยตรง จึงอยากจะช่วยเหลือ แต่แม่อรปฏิเสธ ไม่ใช่แค่คนเป็นพ่อที่ห่วงใย แม้ตาผลตาบัวสองคู่หูคู่หอย ก็หมั่นนำข่าวมาบอกว่าอีกไม่นานพลพรรคจะนัดกันลุกฮือต่อสู้ญี่ปุ่น รวมถึงวนัสที่ได้รับอิสระจากความช่วยเหลือของโกโบริก่อนตาย จึงกลับมาหาอังศุมาลินเพื่อบอกข่าวและถามเธอว่าจะยอมแต่งงานกับเขาไหม เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาที่กำลังจะเกิด แต่อังศุมาลินปฏิเสธ เธอยินดีที่จะอยู่ดูแลลูกต่อไปในบ้านสวน ไม่ย้ายหนีไปไหนทั้งนั้น แล้วคุณยายแม่ของแม่อร และยายของอังศุมาลิน ก็จากไปเป็นคนแรกของภาคนี้ แต่เป็นการจากอย่างสงบ เตรียมตัวตายอย่างดี ไปถือศีลอยู่วัดไม่ต้องลำบากลูกหลาน เวลาผ่านไป ในที่สุดญี่ปุ่นแพ้สงครามพ่อของอังศุมาลินมาบอกทุกคนที่บ้านสวนว่าจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ช่วงบั้นปลายชีวิต ทุกคนร่วมอนุโมทนา หลังบวชท่านต่างจากพระอื่นในวัด ไปอยู่กุฏิเล็กโทรมเพียงรูปเดียว ฉันวันละมื้อ และปฏิบัติเคร่งครัดจนชาวบ้านพากันโจษจันไปทั่วคุ้งน้ำ ด้านเด็กชายกลินท์เจริญวัยขึ้น ได้รับความเอาใจใส่จากแม่ และปู่คือตาผลตาบัวที่อุปโลกน์ตนเอง โดยเล่าเรื่องราวต่างๆของแม่และโกโบริให้กับเด็กชายฟัง ก่อนที่ทั้งคู่จะทยอยตายจากไปเช่นกัน จึงเหลือเพียงแม่อร ที่มักไปอยู่วัดบ่อยเหมือนเช่นทวดของกลินท์ นาน ๆ ครั้งกลินท์จึงได้ติดตามยายกับแม่ไปกราบท่าน กาลล่วงเลยจนเด็กชายเติบใหญ่เป็นหนุ่มวัย 27 ปี ดีกรีอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์ที่ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นที่ชื่นชอบในบรรดาเหล่าลูกศิษย์โดยเฉพาะนักศึกษาหญิง ขณะที่เมืองไทยเข้าสู่ช่วงปีที่ในกรุงเทพกำลังเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้านสินค้าและอื่นใดที่มาจากญี่ปุ่น ซึ่งสร้างชาติอย่างรวดเร็วภายหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง โดยเน้นทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้โยอิจิที่มีปมเป็นลูกที่มีเลือดญี่ปุ่นครึ่งหนึ่ง นึกรังเกียจไม่พอใจชาติกำเนิดตนเอง ต่อต้านพ่อที่ตายไปแล้ว และไม่เข้าใจแม่ จึงกลายเป็นคนที่ให้คำแนะนำแก่บรรดาศิษย์หัวรุนแรง ก้าวหน้า ฝักใฝ่ปลดแอกประชาชนจากการเป็นทาสทุนนิยมบริโภคและทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น โดยไม่มีใครรู้ความจริงของพ่ออาจารย์ ทางบ้านสวน แม้โยอิจิจะรักแม่มาก แต่ขณะเดียวกันใจก็ยังไม่ยอมรับพ่อ กลายเป็นเหมือนเด็กน้อยที่เอาแต่ใจ รั้น และดื้อเงียบ แต่เขาเข้ากันได้อย่างดีกับลุงวนัสที่สนิทสนมมาแต่เด็ก เข้าออกบ้านลุงบ่อย ตั้งแต่กำนันพ่อของวนัสยังมีชีวิตอยู่จนตายไปในเวลาต่อมา วนัสทำธุรกิจหลายอย่าง รวมถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเรือนไทยของตนให้เป็นที่ทำงานด้วย วนัสไม่ยอมแต่งงานสักทีตั้งแต่อกหักจากอังศุมาลิน แม้โยอิจิจะรู้ว่าวนัสมีการคบหาทำธุรกิจกับพวกคนญี่ปุ่น เขาไม่เห็นด้วยแต่ก็ยังรักชอบในฐานะลุงเช่นเดิม ส่วนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเขาเป็นอาจารย์สอนอยู่นั้น เขาคอยเป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มนิสิตนักศึกษาระดับผู้นำหลายคนที่เรียกร้องรัฐบาลให้บอยคอตคนญี่ปุ่นรวมถึงธุรกิจ สินค้าทุกชนิด โดยที่ไม่มีใครรู้ความจริงว่าเขามีพ่อเป็นใคร ขณะที่มีอาจารย์สาวคนหนึ่งชื่อ ชิตาภา หน้าตาดี ครอบครัวเป็นชาวจีนมีอันจะกินที่มาตั้งรกรากสร้างตัวจนกลายเป็นมีกิจการค้ารุ่งเรือง มักชอบเข้าหามาชวนเขาสนทนาอยู่บ่อยครั้ง ดูเหมือนเธอจะพึงใจในตัวโยอิจิอยู่บ้าง และน่าจะมีอะไรที่มากกว่านั้น แต่เขาไม่สนใจ มักคุยด้วยไม่นาน และสร้างขอบเขตส่วนตัวที่กันคนอื่นออกไปอยู่วงนอกเสมอ ไม่ยอมให้ใครเข้าถึงความในใจตนได้ แล้ววันหนึ่งนักศึกษาสาวปีสามรัฐศาสตร์นามว่า ศราวณี ผู้เป็นแกนนำหัวรุนแรงที่ต่อต้านคนญี่ปุ่นและสินค้าญี่ปุ่น รวมถึงต่อต้านรัฐบาลทหารในช่วงนั้น ซึ่งรู้ความจริงเรื่องของพ่อโยอิจิ และมีความคับแค้นจากปมในครอบครัวตนซึ่งแม่ตายตั้งแต่เด็ก ถูกเลี้ยงดูมาจากยายและป้าที่เป็นพี่สาวของแม่ และเข้าใจผิดฝังหัวมาตลอดเกี่ยวกับครอบครัวบ้านสวนของอังศุมาลิน ที่มาแย่งชิงความรักไปจากคุณตาของเธอ เพราะทั้งยายและป้ามักเล่าความหลังโดยบิดความจริงแล้วใส่สีตีไข่ บริภาษแม่อรว่าคือผู้เป็นเมียน้อยที่แย่งความรักไป ทำให้ครอบครัวฝั่งยายลำบาก และโดนแย่งสมบัติไปหมด แม่และป้าจึงโตมาอย่างยากแค้นจนแม่ตายไปและป้าต้องรับเลี้ยงศราวณีต่อมาอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทำให้ป้ามักอารมณ์เสียใส่เธอเสมอตั้งแต่เด็กจนโต เพาะเป็นความเกลียดชังต่อครอบครัวฝั่งบ้านสวน ทั้งที่ตัวเองไม่เคยพบหน้าอีกฝ่าย จนเมื่อเข้ามาเป็นนักศึกษาและพบว่าโยอิจิสอนหนังสืออยู่ที่ธรรมศาสตร์ จึงพุ่งความโกรธเกลียดที่ตนเคยได้รับจากป้ามารวมอยู่ที่อาจารย์ทั้งหมด จนกระทั่งบอกความลับเรื่องพ่อของโยอิจิออกไปให้พวกเพื่อนกลุ่มหัวรุนแรงด้วยกันรับรู้ วันที่พวกเธอและเพื่อนตามตัวให้โยอิจิมาที่ห้องซึ่งเป็นที่รวมพลเพื่อพูดคุยเรื่องจะทำอะไรต่อไป แล้วใครคนหนึ่งได้กล่าวเปิดโปงเรื่องโกโบริ และพูดจาดูถูกเหยียดหยามเชื้อชาติของพ่อ วินาทีนั้นเองโยอิจิกลับเพิ่งเข้าใจหัวใจตนเองเป็นครั้งแรกในชีวิต 27 ปีที่ผ่านมา ว่าแท้จริงเขารักพ่อและเทิดทูนในเกียรติยศของทหารหาญมากแค่ไหน เขายอมรับอย่างตรงไปตรงมาด้วยท่าทีแสดงออกถึงความภูมิใจในสายเลือดแห่งตนด้วยน้ำเสียงที่เปี่ยมพลัง ที่สามารถสยบเสียงโห่ฮาขับไล่ของเหล่านักศึกษาให้สงบลงได้ นั่นคือครั้งแรกเช่นกันที่สร้างความประหลาดใจแกมรู้สึกผิดอยู่เบื้องลึกให้เกิดขึ้นในหัวใจของศราวณี ที่ไม่นึกฝันว่าโยอิจิจะกล้ายอมรับอย่างไม่สะทกสะท้าน นับตั้งแต่วันนั้น โยอิจิเหมือนได้รับการปลดล็อกออกจากห้องขังที่ตนเองสร้างขึ้นเพื่อหนีความจริงสุดลึกที่เก็บกดไว้ เขาเข้าใจถึงความรักของแม่อันเป็นที่รักที่มีต่อพ่อชาวญี่ปุ่นอย่างท่วมท้นหัวใจแล้ว พ่อไม่เคยทำสิ่งไม่ดี มีแต่ทำตามหน้าที่ของชายชาติทหารที่ได้รับมอบหมาย ไม่ได้ทำไปด้วยความจงเกลียดจงชัง โยอิจิกลับไปที่บ้านสวนในเย็นวันนั้นอย่างคนที่บาดเจ็บสาหัส ไม่ใช่ทางกาย แต่ได้รับความกระทบกระเทือนทางใจอย่างรุนแรง อังศุมาลินรับรู้ได้ด้วยสายตาและหัวใจของคนเป็นแม่ แม้ไม่รู้ว่าลูกชายพบเจอเรื่องใดมาทำได้แค่ยกสองมือขึ้นโอบกอดถ่ายเทความรักความอบอุ่นที่มีให้กับลูกชายด้วยความเข้าใจอย่างสงบ โยอิจิไม่รู้ความจริงว่าศราวณีคือน้องสาวที่เป็นลูกพี่ลูกน้อง เกิดจากน้องสาวต่างมารดาของอังศุมาลิน มีเพียงอาจารย์ชิตาภาที่ทราบ เพราะเธอเป็นญาติที่มีศักดิ์เป็นคุณน้าของศราวณี แต่ยังไม่อาจเล่าให้เขาฟัง โยอิจิยังคงสงสัยและเคลือบแคลงว่าชิตาภาประสงค์สิ่งใดแน่จึงมักหาเหตุมาใกล้ชิดชวนสนทนากับตน ด้วยความรู้สึกผิดเกาะกินจากภายใน รวมถึงปัญหาต่าง ๆ รุมเร้า แม้ใจจะต่อต้านพี่ชายอย่างอาจารย์กลินท์ แต่เบื้องลึกเธอกลับมีความรู้สึกที่ดี รักเคารพในชายคนนี้อย่างไม่รู้ตัว วันหนึ่งโยอิจิพบเธอนั่งซึมอยู่ที่ท่าเรือ เหมือนรอคอยจะพบเขาและตามลงเรือมาที่บ้านสวนด้วย ศราวณีจึงได้พบกับสรวงสวรรค์บ้านเรือนไทยหลังเดียวในย่านนั้นที่ยังคงสภาพเหมือนเดิมกับช่วงเกิดสงคราม ในขณะที่บ้านหลังอื่นเปลี่ยนแปลงไปสร้างตามอย่างต่างชาติหมด เธอพบบรรยากาศที่ร่มรื่นชื่นเย็น สงบสุขอย่างไม่เคยได้รับยามเมื่อกลับถึงบ้านที่อยู่กับป้า ยิ่งเมื่อได้พบเจออังศุมาลิน ภาพที่เคยคิดไว้กลับตรงข้ามกับสิ่งที่เห็นและได้ยินทุกอย่างต่างจากที่ยายและป้าได้พูดใส่หูเธอมาตลอด เธอรู้สึกได้รับความสุข สงบ สบายใจและผ่อนคลายอย่างที่ไม่เคยเกิด และเริ่มเปลี่ยนความคิดที่มีต่อครอบครัวของโยอิจิ ทางด้านหลวงพ่อ หลังจากบวชเพื่อปฏิบัติอย่างเอาจริงอยู่จนล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย ที่สุดก็มรณภาพอย่างสงบในท่านั่งสมาธิอยู่ในกุฏิ ทำให้ชาวบ้านโจษจันต่างศรัทธานับถือ จนเจ้าอาวาสและทางกรรมการวัดเห็นเป็นโอกาสในการสร้างเรื่องเรียกคนเข้ามาทำบุญเพิ่ม ด้วยการยกให้หลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาทันที ทั้งที่ตอนมีชีวิต ไม่ใคร่สนใจ ที่บ้านสวนส่วนใหญ่อังศุมาลินอยู่บ้านคนเดียว ทำงานบ้านดูแลอาหารการกินเตรียมไว้ให้ลูกชาย ทว่าเริ่มมีอาการป่วยที่ค่อย ๆ รุนแรงมากขึ้นจนต้องแอบไปที่ศิริราช โดยมีเจ้าโก๊ะเด็กชายตัวน้อย ลูกของคนจรจัดหญิงชายที่มาขออาศัยอยู่ในสวนด้านหลังบ้านตามไปเป็นเพื่อน พ่อแม่ของโก๊ะนั้นเป็นประเภทไม่ชอบทำมาหากิน ขี้เหล้าเมายา เล่นพนันไปตามเรื่อง อังศุมาลินเคยหวังดีเอ่ยปากแนะนำให้ตั้งตัวขยันทำกินหลายครั้ง แต่ทั้งสองไม่สนใจ เอาแต่เก็บผักผลไม้จากในสวนของแม่อรและอังศุมาลิน มากินและขายด้วยถือวิสาสะว่าเหมือนของตน และมักใช้ให้โก๊ะมาขอเงินจากอังศุมาลินบ่อย ๆ ส่วนเหตุการณ์ทางด้านการบ้านการเมืองกลับทวีความรุนแรง คุกรุ่นขึ้นเรื่อย ๆ บรรดานักศึกษาต่างรวมตัวกันในสถาบันหลายแห่ง รวมถึงขึ้นเวทีพูดปลุกระดมให้ชาวบ้านฟังและเข้าร่วมสนับสนุนฝ่ายตนมากขึ้น ขณะที่ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องที่ร่างขึ้น เหตุการณ์ช่วงปี พ.ศ. 2516 เริ่มขมวดปมความขัดแย้งระหว่างฝ่ายผู้บริหารกับฝ่ายนักศึกษา ผ่านสายตาของโยอิจิและชิตาภาที่คอยเฝ้ามองอย่างห่าง ๆ ด้วยความเป็นห่วงในตัวศิษย์ แม้เคยกล่าวเตือนในหลายครั้งให้ศราวณีระมัดระวัง อย่าทำอะไรที่ผลีผลาม หุนหันพลันแล่น แต่อย่างไรเด็กก็คือเด็ก เมื่อเขามีความเชื่อฝังหัวไปทางด้านหนึ่ง ก็ขาดความใคร่ครวญพิจารณาอย่างรอบถ้วน และมองไม่เห็นถึงภัยร้ายที่จะบังเกิดขึ้นในเมื่อทุกสิ่งถูกปลุกเร้าเข้าสู่ห้วงวิกฤต สุดท้ายถึงวันแตกหักอันเป็นเหตุการณ์วิปโยคของคนไทยทุกคน จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับโยอิจิ ชิตาภา และศราวณี ในขณะที่อังศุมาลินนั้นก็มีอาการเจ็บป่วยที่มักเหนื่อยง่าย หน้าซีดจะเป็นลมบ่อย แต่ปิดไว้ไม่ให้ลูกชายรู้ ดูเหมือนเวลาชีวิตของเธอจะเหลืออีกไม่มากก่อนจะได้ตามไปอยู่กับโกโบริ สรุปสุดท้ายของนิยายจะลงเอยอย่างไรไปอ่านต่อได้ในคู่กรรม 2 ครับ 🖋วิเคราะห์หลังอ่านจบ มีทั้งส่วนที่ชอบและไม่ชอบ ภาคนี้ต่างไปจากภาคแรกอย่างชนิดเหมือนเป็นนิยายคนละเรื่อง คนละแนวทาง คือภาคแรกมีความเป็นนิยายรักระหว่างรบ ที่มีทั้งปมความรัก ความขัดแย้งในตัวตนกับคนที่คิดว่าคือศัตรูเป็นแกนหลัก เน้นไปทางอารมณ์ความรู้สึกของอังศุมาลินและโกโบริ โดยมีเหตุการณ์น้อยใหญ่ที่เข้ามาสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกันของทั้งสองเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนถึงขั้นรัก แต่ไม่อาจเปิดใจเพราะติดที่กรอบซึ่งถูกสร้างขึ้นจากทั้งอังศุมาลินเอง และสังคมสร้างให้กลายเป็นขื่อคาที่ตรึงรั้งใจไว้ให้มิอาจแสดงออกถึงความรักได้ดังเช่นคู่สามีภรรยาปกติ จนนำไปสู่บทสรุปอันเจ็บปวดและขมขื่นในตอนท้ายเรื่องที่สร้างความจดจำและสะเทือนใจให้กับคนอ่านอย่างยิ่ง กลายเป็นอมตะนิยายรักแห่งโศกนาฏกรรมที่คนไทยรู้จักมากที่สุดเรื่องหนึ่ง มาในภาคนี้ เนื้อหาโครงสร้างหลักกลับเน้นไปที่ความมองโลกของคนเป็นแม่อย่างคนที่ผ่านประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตมาแล้ว และจะเลือกเดินหน้าต่อไปอย่างไรในสถานการณ์ที่คนไทยส่วนใหญ่เกลียดชังญี่ปุ่น ในขณะที่เธอคือภรรยาหม้ายและมีลูกชายสายเลือดที่เกิดจากทหารญี่ปุ่น ตลอดทั้งเล่มนี้ในความรู้สึกส่วนตัว ผมมองว่านี่คือนิยายธรรมะเล่มหนึ่งทีเดียว เพียงแต่ไม่ใช่ธรรมะที่เป็นคำบรรยายเทศน์ของพระผู้เป็นองค์ธรรมกถึก หากแต่เป็นหนังสือธรรมะที่นำพล็อตของนิยายมาสวม จึงพบได้ในหลายย่อหน้า แทบทุกตอนที่ผู้เขียนสอดแทรกแนวคิดหลักธรรมทางพุทธตามแนวที่ท่านเชื่อเป็นทางที่ถูกตรงลอยอบอวลอยู่ในการบรรยาย เหมือนตัวละครและฉากเหล่านั้นคือตัวแทนหรือเครื่องมือที่ต้องการสื่อสอนธรรมะไปสู่ผู้อ่านอยู่ตลอด โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องราวของความตาย ดังจะเห็นได้จากมีการจากไปของตัวละครเดิมที่มีบทบาทจากภาคแรก คนแล้วคนเล่า เริ่มตั้งแต่คุณยาย ตาผลตาบัว หลวงพ่อ และกำลังใกล้ตายอย่างอังศุมาลิน ทำนองแสดงสัจธรรมชีวิต หลายช่วงตอนที่มีการหยิบยกบทกลอนร้อยกรองจากในวรรณคดีไทย หรือที่ผู้เขียนแต่งขึ้น รวมถึงวลี ประโยคภาษาอังกฤษจากบทเพลง บทกวีต่าง ๆ ของทางตะวันตกมาใช้เพื่อสื่อแสดงถึงความรู้สึกของผู้เขียนที่ต้องการสะท้อนผ่านเรื่องราวของเหตุการณ์แวดล้อมรอบตัวโยอิจิ และตัวละครสำคัญ จนบางทีก็ดูมากไป อ่านไปเรื่อย ๆ อดที่จะคิดไม่ได้ว่าเล่มนี้ มีความคล้ายกันกับอีกเล่มของทมยันตีที่มีชื่อว่า จดหมายถึงลูก(ผู้)ชาย ที่เน้นสอนลูกของผู้เขียนเองและคนเป็นลูกชายทุกคน ด้วยการแทรกแนวคิดคำสุภาษิตไว้ในเนื้อหาตลอดเล่ม แล้วการเขียนลักษณะนี้ดีหรือไม่อย่างไร? คงขึ้นกับความชื่นชอบส่วนบุคคลของผู้อ่านที่มีรสนิยมแตกต่าง ส่วนผมเองนั้นไม่ถึงกับเรียกได้ว่าชอบทว่าก็ไม่ขัดใจมากมาย แต่ยอมรับว่าทมยันตีเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีความไม่ธรรมดาในด้านศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งหาตัวจับยาก แล้วนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการเขียนได้เก่งมากคนหนึ่งในเหล่านักเขียนรุ่นเก่า หากจะติบ้างก็คงเป็นความเข้าใจในทางหลักธรรมที่นำมาสอดแทรกไว้ในคู่กรรม2 นั้น ยังเป็นความเข้าใจที่เหมือนเช่นคนปฏิบัติธรรมทั่วไปในไทยเข้าใจกันว่าถูกต้อง คือเน้นการนั่งสมาธิเดินจงกรมว่าคือวิธีที่จะนำไปสู่การลดละกิเลสจนนำไปสู่ความหลุดพ้นได้ ดังที่ตัวละครหลวงพ่อในเรื่องได้ปฏิบัติและพูดคุยสอนธรรมกับโยอิจิ หรือแม่อร อังศุมาลิน ซึ่งโดยแท้จริงการปฏิบัติควรเน้นไปที่การมีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกที่จะจับอาการกิเลสแล้วกำจัดทิ้ง ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน หรืออิริยาบถย่อยอื่น ไม่ใช่เพียงแค่ตอนนั่งสมาธิเดินจงกรมเพียงเท่านั้น เพราะในชีวิตจริงมนุษย์ไม่อาจจะบังคับตนให้อยู่เพียงแค่ท่านั่งสมาธิต่อเนื่องยาวนานไปจนชั่วชีวิต นอกจากประเด็นที่กล่าวถึงนี้แล้วที่มีความเห็นไม่ตรงกับผู้เขียน ทางด้านอื่นถือว่าผมชอบนิยายเรื่องนี้ไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะการมองโลกที่มองทะลุถึงความเป็นจริงของสังคมไทย ลักษณะนิสัย ที่เจาะลึกให้เห็นว่าแม้นในอดีตสมัยสงครามคนไทยเป็นอย่างไร ปัจจุบันในยุคนี้ก็ยังคงพบเห็นได้ว่าไม่แตกต่างกันนัก จึงถือว่านิยายเล่มนี้ไม่ล้าสมัย โดยเฉพาะด้านการบ้านการเมืองที่ผู้มีอำนาจในฝ่ายรัฐ มักเลือกใช้วิถีทางแห่งความรุนแรงในการสยบปัญหาอยู่เสมอ โดยมีมือที่สามที่คอยฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ ยั่วยุ ปลุกปั่น และล่อลวงให้คู่กรณีระหว่างรัฐกับนักศึกษาและประชาชนปะทะแตกหัก จนเกิดความสูญเสีย อันมีแต่หายนะต่อประเทศชาติ ศราวณี คือตัวแทนที่เปรียบให้เห็นเด่นชัด ไม่ว่ายุคใด เหล่าเด็กหนุ่มสาวอนาคตชาติ มักถูกกระตุ้น ให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และปลุกเร้าจุดไฟติดได้โดยง่าย ด้วยพวกเขามีพลังงานล้นเหลือ เมื่อเลือกเชื่อไปทางใดทางหนึ่งแล้ว บางทีก็พุ่งไปข้างหน้าอย่างสุดกำลังโดยไม่ทันได้ใคร่ครวญ ยั้งคิด หรือพิจารณาทัศนียภาพรอบข้างระหว่างทางที่มุ่งไปให้ถี่ถ้วนรอบคอบ จึงมักตกเป็นฝ่ายที่ถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือให้ไปตายแทนคนบงการแท้จริงเบื้องหลังเสมอ และเมื่อเกิดความสูญเสียแล้วก็เป็นเช่นดังอะไหล่เลวที่โดนใช้แล้วทิ้งโดยไร้ความเสียดาย หรือจำเป็นต้องดูแลอย่างใดต่อไป กว่าพวกเขาจะรู้ตัว ความผิดพลาดพลั้งเผลอก็เกิดขึ้นและไปไกลเกินกว่าตนเองจะหยุดยั้ง ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ได้เสียแล้ว ดังจุดจบของตัวละครในเรื่องนี้หลังเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ความเก่งกล้า ไม่ยอมใคร ไม่ฟังอาจารย์ ความร้อนเร่าเอาแต่ใจ รั้นจะทำในสิ่งที่ตนคิดให้จงได้ ทว่าสุดท้ายกลับกลายพาเพื่อน คนที่ไม่รู้อะไรแต่ก็ตามกันไป ไปพบกับการบาดเจ็บล้มตายต่อหน้าต่อตา ถึงกับกรีดร้องอย่างบ้าคลั่ง หลบหนีตายจ้าละหวั่น กระทบกระเทือนถึงสภาพจิตใจอย่างรุนแรงจนแทบจะกลายเป็นบ้าไป เธอจึงได้รับบาดแผลลึกที่เสียใจก็ไม่ทันแล้ว กับไฟที่ตอนแรกเพียงแค่เหมือนไฟจากปลายก้านไม้ขีดในมือที่ขยับนิดเดียวก็ดับ สุดท้ายมันกลับกลายเป็นไฟกองใหญ่ที่โหมไหม้รวดเร็ว ลามเลียทำลายทุกสิ่งอย่างไม่อาจดับได้ด้วยแค่กำลังตนเอง นอกจากนี้ที่ชอบก็มีในส่วนของการใช้ภาพตัวละครในเรื่องอย่างครอบครัวของเจ้าโก๊ะ ที่สะท้อนภาพตัวแทนของชนชั้นล่างได้ชัดเจน ความเหลื่อมล้ำที่เหล่านักศึกษามักนำมาเป็นคำขวัญ ชูประเด็นเพื่อเรียกร้อง และรังเกียจเคียดแค้นเหล่าชนชั้นศักดินา ดังเช่นอาจารย์ชิตาภาที่ครอบครัวเป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่มาไทยอย่างเสื่อผืนหมอนใบ แต่ขยันขันแข็งและสร้างตัวจนมีทรัพย์ ร่ำรวยมีอันจะกินและสร้างธุรกิจด้วยการค้าขายขยับขยายฐานะ จนเลื่อนจากชนชั้นแรงงานต่างด้าวมาเป็นพ่อค้าวาณิชย์ที่มีกิจการมากมายและถูกแปะป้ายให้กลายเป็นศักดินาไป จนถูกมองว่าเป็นความผิดความเลวที่เข้ามากอบโกยนั้น หรือแม้แต่วนัสที่เป็นคนไทยแต่มีหัวในทางธุรกิจการค้า จึงติดต่อซื้อขายกับคนต่างชาติอย่างญี่ปุ่นหรือชาวตะวันตกจนมีฐานะเข้าขั้นเศรษฐี ทั้งที่ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นพวกเสรีไทย แต่ในภาคนี้เรียกได้ว่าแปะป้ายศักดินาตามความหมายของเหล่านักศึกษาได้เช่นกัน หากมองความจริงในอีกแง่มุม ย่อมเห็นได้ว่าคนไทยเองที่เป็นชนชั้นกรรมาชีพจำนวนมากนั้นมีสันดานเป็นอย่างพ่อและแม่ของเจ้าโก๊ะ ที่เอาแต่ชื่นชอบอยู่อย่างสบายไม่ต้องทำการทำงาน วันทั้งวันเอาแต่เมาหัวราน้ำ แม้นมีคนหยิบยื่นความช่วยเหลือหวังให้สร้างตัวเพื่อตั้งตนได้ แต่ก็ไม่กระตือรือร้นสนใจ หนักไม่เอาเบาไม่สู้ อยากแต่จะขอเขากินไปเรื่อย ๆ อาศัยความเมตตาและมีน้ำใจของครอบครัวแม่อรและอังศุมาลินเป็นเครื่องมือ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างคนขี้เกียจ รักสบายได้ต่อไป มีเงินก็หมดไปกับเหล้ายาและการพนัน เงินหมดก็ใช้ให้โก๊ะไปไถขอเอาใหม่ ด้วยรู้จุดว่าถ้าให้เด็กมาขออย่างไรก็ได้ นี่ไม่อาจยอมรับว่าไม่ว่าจะในนิยายซึ่งอยู่ในยุคหลังสงคราม หรือปัจจุบันที่ล่วงเลยมาอีกหลายสิบปี ก็ยังมีคนไทยที่เป็นเช่นนี้อีกเป็นจำนวนมาก แล้วจะไปโทษว่าแต่ความเหลื่อมล้ำเพราะชนชั้นได้เช่นไร ในเมื่อตนเองยินดีทำตนให้เป็นไปเช่นนั้น อังศุมาลินและโยอิชิคือตัวแทนของชนชั้นกลางที่น่าสนใจ ทั้งสองมีความรู้ตามทันยุคสมัยของความเปลี่ยนแปลง แต่ไม่หลงใหลปล่อยให้กระแสเชี่ยวแห่งคลื่นทุนนิยมเข้าครอบงำ ยังคงดำเนินชีวิตทั้งรูปแบบ และวิถีตามอย่างวัฒนธรรมอันดีงามในอดีตที่บรรพบุรุษสร้างไว้ ไม่ว่าจะเรือนพักอาศัยที่ไม่รื้อทิ้งหลังเก่าแล้วสร้างใหม่ และพยายามสงวนที่ดินสวนหลังบ้านไว้ปลูกผักปลูกไม้ผลให้พอเก็บกินไม่เดือดร้อน ในขณะครอบครัวอื่นขายที่ให้นายทุน และสร้างบ้านปูนกันไปเกือบหมด ภาพความขัดแย้งที่เห็นได้ชัดเจนนี้เองที่เป็นความงดงาม แม้นลำคลองจะไม่เหมือนเดิม คนไทยทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลงน้ำ ทำลายต้นกำเนิดรากเหง้าสายธารแห่งชีวิตของตนเอง ทำให้ปลา กุ้ง หอย สัตว์น้ำที่เคยมีลดน้อยจนกระทั่งหายไปไม่เหมือนก่อน เมื่อมาถึงยุคสมัยที่เรามีชีวิตอยู่นี้ เราจึงต้องแบกรับผลพวงที่ตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เราไม่ชอบ เราบ่นหรืออาจถึงขั้นก่นด่าคนรุ่นก่อน แต่เราเองก็ละเลยไม่ได้มองกลับเข้ามาในตน ว่าในแต่ละวันได้ทำอะไรที่เป็นไปในทางที่ทำร้าย ทำลายวิถีไทย สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมและประเพณีอันดีมากน้อยขนาดไหนอย่างไรบ้าง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1196 มุมมอง 0 รีวิว