• วันนี้ Storyฯ มาแบบสั้นๆ เพื่อคุยเรื่อง ‘เอ๊ะ’ จากการดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ>

    เพื่อนเพจแฟนหนังหรือละครจีนโบราณน่าจะคุ้นตากับจอกสุราทรงเล็กสูงหรือมีสามขา หรือชามใส่เหล้าเวลากินกันแบบลุยๆ แต่หากใครได้ดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> และสังเกตเห็นอาจได้ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ เพราะชามใส่เหล้าที่ใช้ในละครเป็นชามแบนรูปทรงรี ก้นแบน มีหูจับทรงครึ่งวงกลมสองข้าง (ดูรูปประกอบ)

    ชามสุราดังกล่าวเรียกว่า ‘อวี่ซาง’ (羽觞 แปลตรงตัวว่า ขนปีกนก+ชาม) ซึ่ง ‘ซาง’ นี้คืออักษรเดียวกับที่ใช้ในกิจกรรมปล่อยชามสุราล่องไปตามสายน้ำและแต่งบทกวีหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน

    อวี่ซางนี้ บางครั้งก็เรียกว่า ‘เอ่อร์เปย’ (แปลตรงตัวว่า หู+ถ้วย) เป็นภาชนะใส่สุราที่มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (770-256 ก่อนคริสตกาล) นิยมใช้อย่างแพร่หลายในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น เนื่องจากสมัยฮั่นเป็นยุคที่การหมักสุราเฟื่องฟู พัฒนาจากการหมักสุราเพื่อใช้ในพิธีกรรมมาเป็นการหมักสุราเพื่อดื่มจรรโลงใจ

    การดื่มสุราคารวะด้วยอวี่ซางนี้ต้องใช้สองมือจับสองหูเพื่อให้เกียรติอีกฝ่าย คนที่จะใช้มือเดียวมักเป็นคนที่มีศักดิ์สูงสุดในงาน หรือหากเป็นการดื่มแบบเพื่อนฝูงไม่เป็นทางการก็อาจใช้มือเดียวได้เหมือนกัน

    วัสดุที่นิยมใช้ทำอวี่ซางมีทองคำ ทองเหลือง หยก เงิน หรือกระเบื้อง เคลือบเงาด้วยแล็กเกอร์ที่ทำจากเปลือกไม้ชนิดหนึ่ง ต่อมาการใช้อวี่ซางค่อยๆ หายไปในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้เพราะรูปทรงของถ้วยสุราที่นิยมนั้นเปลี่ยนไปเป็นชามทรงกลมไร้หูจับ
    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.goldposter.com/zh/13304223/
    https://www.sohu.com/a/582555969_121477205
    https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc
    https://zh.wikipedia.org/wiki/羽觞#/media/File:Eastern_Han_lacquerware_cup.JPG
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.sohu.com/a/582555969_121477205
    https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc
    https://baike.baidu.com/item/%E8%A7%9E/2708697

    #ชามสุราจีนโบราณ #อวี่ซาง #จอกเหล้าโบราณ #ดาราจักรรักลำนำใจ
    วันนี้ Storyฯ มาแบบสั้นๆ เพื่อคุยเรื่อง ‘เอ๊ะ’ จากการดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> เพื่อนเพจแฟนหนังหรือละครจีนโบราณน่าจะคุ้นตากับจอกสุราทรงเล็กสูงหรือมีสามขา หรือชามใส่เหล้าเวลากินกันแบบลุยๆ แต่หากใครได้ดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> และสังเกตเห็นอาจได้ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ เพราะชามใส่เหล้าที่ใช้ในละครเป็นชามแบนรูปทรงรี ก้นแบน มีหูจับทรงครึ่งวงกลมสองข้าง (ดูรูปประกอบ) ชามสุราดังกล่าวเรียกว่า ‘อวี่ซาง’ (羽觞 แปลตรงตัวว่า ขนปีกนก+ชาม) ซึ่ง ‘ซาง’ นี้คืออักษรเดียวกับที่ใช้ในกิจกรรมปล่อยชามสุราล่องไปตามสายน้ำและแต่งบทกวีหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน อวี่ซางนี้ บางครั้งก็เรียกว่า ‘เอ่อร์เปย’ (แปลตรงตัวว่า หู+ถ้วย) เป็นภาชนะใส่สุราที่มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (770-256 ก่อนคริสตกาล) นิยมใช้อย่างแพร่หลายในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น เนื่องจากสมัยฮั่นเป็นยุคที่การหมักสุราเฟื่องฟู พัฒนาจากการหมักสุราเพื่อใช้ในพิธีกรรมมาเป็นการหมักสุราเพื่อดื่มจรรโลงใจ การดื่มสุราคารวะด้วยอวี่ซางนี้ต้องใช้สองมือจับสองหูเพื่อให้เกียรติอีกฝ่าย คนที่จะใช้มือเดียวมักเป็นคนที่มีศักดิ์สูงสุดในงาน หรือหากเป็นการดื่มแบบเพื่อนฝูงไม่เป็นทางการก็อาจใช้มือเดียวได้เหมือนกัน วัสดุที่นิยมใช้ทำอวี่ซางมีทองคำ ทองเหลือง หยก เงิน หรือกระเบื้อง เคลือบเงาด้วยแล็กเกอร์ที่ทำจากเปลือกไม้ชนิดหนึ่ง ต่อมาการใช้อวี่ซางค่อยๆ หายไปในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้เพราะรูปทรงของถ้วยสุราที่นิยมนั้นเปลี่ยนไปเป็นชามทรงกลมไร้หูจับ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.goldposter.com/zh/13304223/ https://www.sohu.com/a/582555969_121477205 https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc https://zh.wikipedia.org/wiki/羽觞#/media/File:Eastern_Han_lacquerware_cup.JPG Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.sohu.com/a/582555969_121477205 https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc https://baike.baidu.com/item/%E8%A7%9E/2708697 #ชามสุราจีนโบราณ #อวี่ซาง #จอกเหล้าโบราณ #ดาราจักรรักลำนำใจ
    1 Comments 0 Shares 20 Views 0 Reviews
  • ฝากติดตามช่องเฮียผลงานเฮียด้วยนะครับ
    https://youtube.com/@shawsherryduck?si=J4Po_O9EzimtfJiv
    ขอบพระ​คุณครับ
    Shaw Sherry Duck : ชอว์​ เชอร์รี่​ดั๊ก​

    #Sherryduck #shawsherryduck #ชอว์เชอร์รี่ดั๊ก #เชอร์รี่ดั๊ก#ศิลปินนักร้องอัลเทอร์ยุค90 #indieArtist #อินดี้โคตรๆ #ชอว์พิชิต#Alternative #อัลเทอร์เนทีฟ #ศิลปะดนตรีกวีธรรมชาติ #ดงเพลง #DongplengRecord #เฮียชอว์#ดงเพลงออนแอร์
    ฝากติดตามช่องเฮียผลงานเฮียด้วยนะครับ https://youtube.com/@shawsherryduck?si=J4Po_O9EzimtfJiv ขอบพระ​คุณครับ Shaw Sherry Duck : ชอว์​ เชอร์รี่​ดั๊ก​ #Sherryduck #shawsherryduck #ชอว์เชอร์รี่ดั๊ก #เชอร์รี่ดั๊ก​ #ศิลปินนักร้องอัลเทอร์ยุค90 #indieArtist #อินดี้โคตรๆ #ชอว์พิชิต​ #Alternative #อัลเทอร์เนทีฟ #ศิลปะดนตรีกวีธรรมชาติ #ดงเพลง #DongplengRecord #เฮียชอว์​ #ดงเพลงออนแอร์
    YOUTUBE.COM
    Shaw Sherry Duck
    ดิ อินดี้ หรรษา เป็ดสายพันธุ์ดนตรี อารมณ์ดี อร่อยหู
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 50 Views 0 Reviews
  • 170 ปี สนธิสัญญาเบาว์ริง เปิดประเทศสู่เศรษฐกิจโลก ประโยชน์ไม่สมดุล ทุนต่างชาติครอบงำ ไม่ยุติธรรม! ไทยทำไม่ได้ที่อังกฤษ เปิดประเทศสู่โลก แต่ปิดความเท่าเทียม? 🇹🇭⚖️

    📚 สนธิสัญญาเบาว์ริงไม่ใช่แค่เรื่องในอดีต แต่คือจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่นำไทยเข้าสู่เวทีเศรษฐกิจโลก ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เท่าเทียม เปิดประตูสู่ความทันสมัย แต่ปิดโอกาสของความเสมอภาค ในการเจรจากับชาติตะวันตก ⚖️

    🧭 สนธิสัญญาที่เปิดประเทศ แต่ปิดความเสมอภาค ในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของไทย สู่โลกทุนนิยม 🌍

    แต่ภายใต้การเปิดเสรีนั้น กลับมีเงื่อนไขที่ไทยเสียเปรียบ ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การปกครอง และกฎหมายระหว่างประเทศ ทำให้สนธิสัญญานี้ถูกวิพากษ์ว่าเป็น "สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม"

    📜 “Treaty of Friendship and Commerce between the British Empire and the Kingdom of Siam” หรือ Bowring Treaty คือข้อตกลงระหว่างไทย หรือราชอาณาจักรสยามในสมัยนั้น กับอังกฤษ ที่ลงนามเมื่อวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398

    จุดเด่นของสนธิสัญญานี้ คือการเปิดให้พ่อค้าชาวอังกฤษ สามารถค้าขายอย่างเสรีในสยาม และได้รับ “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” (Extraterritorial Rights) 🛂

    กล่าวคือ คนในบังคับอังกฤษที่อยู่ในไทย จะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายไทย แต่ขึ้นกับศาลของอังกฤษเอง

    นอกจากนี้ สนธิสัญญายังเปิดทางให้พ่อค้าต่างชาติ ตั้งรกราก ซื้อขายทรัพย์สิน และถือครองที่ดินในบางพื้นที่ได้ด้วย

    💼 เหตุผลเบื้องหลัง อังกฤษต้องการอะไรกันแน่? หลายคนอาจเข้าใจว่า อังกฤษต้องการแค่เปิดตลาดการค้า แต่เบื้องหลังของข้อตกลงนี้ กลับลึกซึ้งกว่านั้นมาก…

    ผลประโยชน์จากการค้าฝิ่น อังกฤษต้องการสร้างเส้นทางการค้าฝิ่น ที่มั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการให้สยามเป็นทางผ่านการค้ากับจีน ฮ่องกง และอินเดีย 🚢 อำนาจและอิทธิพลทางการทูต

    หลังสงครามฝิ่นครั้งแรก จีนพ่ายแพ้ อังกฤษต้องการป้องกันไม่ให้เกิด “สยามเป็นจีนลำดับต่อไป” เบาว์ริงใช้วิธี “ทูตนุ่ม” มากกว่าการใช้กำลังทหาร

    ประโยชน์จากภาษีต่ำ ตามสนธิสัญญา ไทยเก็บภาษีนำเข้าได้แค่ 3% เท่านั้น ‼️ ฝิ่นไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษีเท่านั้น

    👑 ทำไมสยามถึงยอมเซ็น? พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเล็งเห็นว่า ประเทศไทยอยู่ในภาวะล้าหลัง เมื่อเทียบกับชาติตะวันตก หากไม่ยอมเปิดประเทศ อาจตกเป็นอาณานิคมเหมือนจีน พม่า หรืออินเดียได้

    การเปิดการค้าเสรี จะช่วยให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจาก “การส่งออกข้าว” ชาวนาก็จะมีเงินมากขึ้น ข้าวจะกลายเป็นสินค้าส่งออกของไทย สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาล... 🧺🌾

    🔍 ผลกระทบที่ตามมา เปิดเสรี หรือเปิดโอกาสให้ต่างชาติครอบงำ? ภายหลังการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง มีเรือต่างประเทศ เข้ามาค้าขายกว่า 100 ลำในปีเดียว ระบบเงินเหรียญ แทนพดด้วง เริ่มใช้อย่างเป็นระบบ เกิดการลงทุนของต่างชาติ เช่น โรงสี โรงเลื่อยไม้ โรงน้ำตาล

    ชาวนามีรายได้สูงขึ้น ราคาข้าวพุ่ง จาก 3–5 บาท ต่อเกวียน เป็น 16–20 บาท ต่อเกวียน ราษฎรสามารถ “จำนอง” หรือ “ขายฝาก” ที่ดินของตนได้ ชาวต่างชาติสามารถเช่า หรือซื้อที่ดินได้ในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนด 🏘️

    📈 ข้อดีของสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่น้อยคนนึกถึง...
    ✅ เปิดประตูการค้าเสรี
    ✅ ช่วยให้ไทยพัฒนาวิทยาการตะวันตก
    ✅ ราษฎรมีรายได้จากการค้าข้าว
    ✅ กระตุ้นการพัฒนาเมือง ถนนเจริญกรุง สีลม เริ่มก่อสร้าง
    ✅ ทำให้มีการแข่งขันทางการค้า → ราคาสินค้าลดลง

    📌 สินค้าไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น ข้าว ไม้สัก งาช้าง

    😞 ข้อเสียเปรียบของไทย ในสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่ถูกซ่อนไว้

    ❌ เสียสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ไม่สามารถเก็บภาษีนำเข้าตามต้องการได้ ต้องเปิดตลาดสินค้าให้ต่างชาติ โดยไม่มีข้อจำกัด

    ❌ เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คนอังกฤษไม่ต้องขึ้นศาลไทย ทำให้ศาลไทยไม่มีอำนาจเต็มที่

    ❌ ทุนต่างชาติเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจ ตั้งโรงงาน โรงสี โรงเลื่อยไม้ ฯลฯ โดยคนไทยแข่งขันไม่ได้

    ❌ คนไทยไม่สามารถทำการค้าในอังกฤษได้ ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียม เหมือนที่อังกฤษได้จากไทย

    ⚖️ ทำไมถึงเรียกว่า “สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม”?
    📍 ถูกเซ็นภายใต้แรงกดดัน จากอำนาจจักรวรรดิ
    📍 ไม่มีความเสมอภาคระหว่างสองประเทศ
    📍 ไทยไม่สามารถต่อรองเงื่อนไขได้มากนัก
    📍 คล้ายกับ “สนธิสัญญานานกิง” ที่จีนถูกบังคับให้เซ็นหลังสงครามฝิ่น

    📚 บทเรียนที่ไทยได้จากอดีต

    🇹🇭 สนธิสัญญาเบาว์ริง เป็นแรงผลักดันให้ไทยเร่งพัฒนา ปฏิรูประบบราชการ ระบบศาล และกฎหมาย เปิดการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาในภายหลัง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่งผลถึงการรักษาเอกราชของไทย ในขณะที่เพื่อนบ้านหลายประเทศ กลายเป็นอาณานิคม

    ✨ ไทยเสียเปรียบวันนี้ เพื่อไม่เสียประเทศในวันหน้า?

    “ไม่เสมอภาค แต่จำเป็น” คือคำจำกัดความที่ดีที่สุด ของสนธิสัญญาเบาว์ริง

    ถึงแม้สัญญาฉบับนี้ จะเต็มไปด้วยข้อเสียเปรียบ แต่ก็นำมาซึ่งการรอดพ้นจากอาณานิคม การเปิดประตูสู่โลกสมัยใหม่ การเตรียมประเทศ เข้าสู่ยุคการปฏิรูปในรัชกาลที่ 5

    สนธิสัญญาเบาว์ริงจึงเป็นเหมือน "ดาบสองคม" ที่ทั้งให้คุณและโทษ ในเวลาเดียวกัน ⚔️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181147 เม.ย. 2568

    📌 #สนธิสัญญาเบาว์ริง #เปิดประเทศแต่ไม่เปิดโอกาส #ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย
    #ThailandHistory #BowringTreaty #เปิดเสรีไม่เท่าเทียม
    #ThailandTradeHistory #อธิปไตยไทย #อังกฤษในไทย
    #โลกาภิวัตน์กับไทย
    170 ปี สนธิสัญญาเบาว์ริง เปิดประเทศสู่เศรษฐกิจโลก ประโยชน์ไม่สมดุล ทุนต่างชาติครอบงำ ไม่ยุติธรรม! ไทยทำไม่ได้ที่อังกฤษ เปิดประเทศสู่โลก แต่ปิดความเท่าเทียม? 🇹🇭⚖️ 📚 สนธิสัญญาเบาว์ริงไม่ใช่แค่เรื่องในอดีต แต่คือจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่นำไทยเข้าสู่เวทีเศรษฐกิจโลก ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เท่าเทียม เปิดประตูสู่ความทันสมัย แต่ปิดโอกาสของความเสมอภาค ในการเจรจากับชาติตะวันตก ⚖️ 🧭 สนธิสัญญาที่เปิดประเทศ แต่ปิดความเสมอภาค ในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของไทย สู่โลกทุนนิยม 🌍 แต่ภายใต้การเปิดเสรีนั้น กลับมีเงื่อนไขที่ไทยเสียเปรียบ ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การปกครอง และกฎหมายระหว่างประเทศ ทำให้สนธิสัญญานี้ถูกวิพากษ์ว่าเป็น "สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม" 📜 “Treaty of Friendship and Commerce between the British Empire and the Kingdom of Siam” หรือ Bowring Treaty คือข้อตกลงระหว่างไทย หรือราชอาณาจักรสยามในสมัยนั้น กับอังกฤษ ที่ลงนามเมื่อวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 จุดเด่นของสนธิสัญญานี้ คือการเปิดให้พ่อค้าชาวอังกฤษ สามารถค้าขายอย่างเสรีในสยาม และได้รับ “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” (Extraterritorial Rights) 🛂 กล่าวคือ คนในบังคับอังกฤษที่อยู่ในไทย จะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายไทย แต่ขึ้นกับศาลของอังกฤษเอง นอกจากนี้ สนธิสัญญายังเปิดทางให้พ่อค้าต่างชาติ ตั้งรกราก ซื้อขายทรัพย์สิน และถือครองที่ดินในบางพื้นที่ได้ด้วย 💼 เหตุผลเบื้องหลัง อังกฤษต้องการอะไรกันแน่? หลายคนอาจเข้าใจว่า อังกฤษต้องการแค่เปิดตลาดการค้า แต่เบื้องหลังของข้อตกลงนี้ กลับลึกซึ้งกว่านั้นมาก… ผลประโยชน์จากการค้าฝิ่น อังกฤษต้องการสร้างเส้นทางการค้าฝิ่น ที่มั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการให้สยามเป็นทางผ่านการค้ากับจีน ฮ่องกง และอินเดีย 🚢 อำนาจและอิทธิพลทางการทูต หลังสงครามฝิ่นครั้งแรก จีนพ่ายแพ้ อังกฤษต้องการป้องกันไม่ให้เกิด “สยามเป็นจีนลำดับต่อไป” เบาว์ริงใช้วิธี “ทูตนุ่ม” มากกว่าการใช้กำลังทหาร ประโยชน์จากภาษีต่ำ ตามสนธิสัญญา ไทยเก็บภาษีนำเข้าได้แค่ 3% เท่านั้น ‼️ ฝิ่นไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษีเท่านั้น 👑 ทำไมสยามถึงยอมเซ็น? พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเล็งเห็นว่า ประเทศไทยอยู่ในภาวะล้าหลัง เมื่อเทียบกับชาติตะวันตก หากไม่ยอมเปิดประเทศ อาจตกเป็นอาณานิคมเหมือนจีน พม่า หรืออินเดียได้ การเปิดการค้าเสรี จะช่วยให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจาก “การส่งออกข้าว” ชาวนาก็จะมีเงินมากขึ้น ข้าวจะกลายเป็นสินค้าส่งออกของไทย สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาล... 🧺🌾 🔍 ผลกระทบที่ตามมา เปิดเสรี หรือเปิดโอกาสให้ต่างชาติครอบงำ? ภายหลังการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง มีเรือต่างประเทศ เข้ามาค้าขายกว่า 100 ลำในปีเดียว ระบบเงินเหรียญ แทนพดด้วง เริ่มใช้อย่างเป็นระบบ เกิดการลงทุนของต่างชาติ เช่น โรงสี โรงเลื่อยไม้ โรงน้ำตาล ชาวนามีรายได้สูงขึ้น ราคาข้าวพุ่ง จาก 3–5 บาท ต่อเกวียน เป็น 16–20 บาท ต่อเกวียน ราษฎรสามารถ “จำนอง” หรือ “ขายฝาก” ที่ดินของตนได้ ชาวต่างชาติสามารถเช่า หรือซื้อที่ดินได้ในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนด 🏘️ 📈 ข้อดีของสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่น้อยคนนึกถึง... ✅ เปิดประตูการค้าเสรี ✅ ช่วยให้ไทยพัฒนาวิทยาการตะวันตก ✅ ราษฎรมีรายได้จากการค้าข้าว ✅ กระตุ้นการพัฒนาเมือง ถนนเจริญกรุง สีลม เริ่มก่อสร้าง ✅ ทำให้มีการแข่งขันทางการค้า → ราคาสินค้าลดลง 📌 สินค้าไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น ข้าว ไม้สัก งาช้าง 😞 ข้อเสียเปรียบของไทย ในสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่ถูกซ่อนไว้ ❌ เสียสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ไม่สามารถเก็บภาษีนำเข้าตามต้องการได้ ต้องเปิดตลาดสินค้าให้ต่างชาติ โดยไม่มีข้อจำกัด ❌ เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คนอังกฤษไม่ต้องขึ้นศาลไทย ทำให้ศาลไทยไม่มีอำนาจเต็มที่ ❌ ทุนต่างชาติเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจ ตั้งโรงงาน โรงสี โรงเลื่อยไม้ ฯลฯ โดยคนไทยแข่งขันไม่ได้ ❌ คนไทยไม่สามารถทำการค้าในอังกฤษได้ ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียม เหมือนที่อังกฤษได้จากไทย ⚖️ ทำไมถึงเรียกว่า “สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม”? 📍 ถูกเซ็นภายใต้แรงกดดัน จากอำนาจจักรวรรดิ 📍 ไม่มีความเสมอภาคระหว่างสองประเทศ 📍 ไทยไม่สามารถต่อรองเงื่อนไขได้มากนัก 📍 คล้ายกับ “สนธิสัญญานานกิง” ที่จีนถูกบังคับให้เซ็นหลังสงครามฝิ่น 📚 บทเรียนที่ไทยได้จากอดีต 🇹🇭 สนธิสัญญาเบาว์ริง เป็นแรงผลักดันให้ไทยเร่งพัฒนา ปฏิรูประบบราชการ ระบบศาล และกฎหมาย เปิดการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาในภายหลัง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่งผลถึงการรักษาเอกราชของไทย ในขณะที่เพื่อนบ้านหลายประเทศ กลายเป็นอาณานิคม ✨ ไทยเสียเปรียบวันนี้ เพื่อไม่เสียประเทศในวันหน้า? “ไม่เสมอภาค แต่จำเป็น” คือคำจำกัดความที่ดีที่สุด ของสนธิสัญญาเบาว์ริง ถึงแม้สัญญาฉบับนี้ จะเต็มไปด้วยข้อเสียเปรียบ แต่ก็นำมาซึ่งการรอดพ้นจากอาณานิคม การเปิดประตูสู่โลกสมัยใหม่ การเตรียมประเทศ เข้าสู่ยุคการปฏิรูปในรัชกาลที่ 5 สนธิสัญญาเบาว์ริงจึงเป็นเหมือน "ดาบสองคม" ที่ทั้งให้คุณและโทษ ในเวลาเดียวกัน ⚔️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181147 เม.ย. 2568 📌 #สนธิสัญญาเบาว์ริง #เปิดประเทศแต่ไม่เปิดโอกาส #ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย #ThailandHistory #BowringTreaty #เปิดเสรีไม่เท่าเทียม #ThailandTradeHistory #อธิปไตยไทย #อังกฤษในไทย #โลกาภิวัตน์กับไทย
    0 Comments 0 Shares 203 Views 0 Reviews
  • วันนี้เรามาคุยกันถึงบทประพันธ์โบราณบทหนึ่งชื่อว่า ‘ฉางเหมินฟู่’ (长门赋) ซึ่งในละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> กล่าวถึงบ่อยครั้ง โดยหนึ่งในตัวละครเอกหยวนเซิ่นมักกล่าวอ้างอิงเพื่อเป็นคติสอนใจเกี่ยวกับความรักให้กับนางเอก

    ความมีอยู่ว่า...
    หยวนเซิ่นกล่าวอธิบาย “เรื่องเก็บหญิงงามในห้องทองคำกับบทกวีฉางเหมิน...วันนี้ห้องทองคำยังคงอยู่ ทว่าตำหนักฉางเหมินมิมีคนรักแล้ว เห็นได้ว่าสามีภรรยาในโลกหล้า เมื่อคราแรกพบต่างมีใจตรงกัน ยากจะพรากจากจึงมีบุพเพสันนิวาสนี้ แต่สุดท้ายเป็นเพียงรักที่จางหายรักสายเกินไป”
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> ตามซับไทย

    ‘ฉางเหมินฟู่’ เป็นบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่” และบทประพันธ์ ‘ซ่างหลินฟู่’ (Storyฯ เคยกล่าวถึงในหลายบทความแล้ว)

    Storyฯ ไม่อยากใช้คำว่า ‘บทกวี’ เพราะ ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ และซือหม่าเซียงหรูนี้เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญของบทประพันธ์ในรูปแบบ “ฟู่” นี้

    ‘ฉางเหมิน’ ในชื่อของบทประพันธ์นี้เป็นชื่อพระตำหนักของฮองเฮาเฉินอาเจียวในองค์ฮั่นอู่ตี้ (156-87 ปีก่อนคริสตกาล) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองฉางอัน โดยมีที่มาที่ไปสรุปเป็นเรื่องราวของฮองเฮาเฉินที่ไม่เป็นที่ทรงโปรดของฮั่นอู่ตี้ แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงจำใจอภิเษกด้วย เมื่ออำนาจทางการเมืองของพระนางอ่อนลงและทรงใช้เล่ห์กลให้ร้ายพระชายาและสนมรายอื่น ฮองเฮาเฉินก็ถูกกักบริเวณไว้ภายในพระตำหนักฉางเหมิน จึงทรงหาทางจ้างซือหม่าเซียงหรูแต่งบทประพันธ์นี้ขึ้น

    เนื้อหาของบทประพันธ์เป็นเรื่องราวความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวของฮองเฮาเฉินในพระตำหนักที่แสนจะเดียวดาย ทรงคอยชะเง้อหาแต่กลับเห็นพระสวามีมีความสุขกับสตรีอื่นทว่าไม่เคยย่างกรายมาเยี่ยมเยียนพระนาง ในยามที่ฝนตกฟ้าร้องก็ไร้ซึ่งผู้ใดเคียงข้าง ในพระตำหนักที่หรูหรากลับไร้ซึ่งเงาของคนรัก

    บทประพันธ์นี้ถูกองค์ฮองเฮาเฉินให้คนขับขานทั้งวัน แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ก็ยังไม่เคยทรงเหลียวแลพระนางอีกเลย ด้วยเนื้อหาของบทประพันธ์ทำให้มันถูกเรียกขานว่าเป็นจดหมายรักฉบับแรกในประวัติศาสตร์จีน และในเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> นี้ มันถูกใช้เป็นตัวอย่างของความรักที่ไม่ได้รับรักตอบแทน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://m.cyol.com/gb/articles/2022-08/04/content_449M3uWlp.html
    https://k.sina.cn/article_7069952700_1a566eabc00100yzo0.html
    https://baike.sogou.com/PicBooklet.v?imageGroupId=4666607&relateImageGroupIds=4666607&lemmaId=225502&category=#4666607_0
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5452fb360959.aspx
    https://baike.baidu.com/item/长门赋/3075468
    http://m.qulishi.com/news/201708/242962.html

    #ดาราจักรรักลำนำใจ #ฉางเหมินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู #เฉินอาเจียว #ฮ่านอู่ตี้



    วันนี้เรามาคุยกันถึงบทประพันธ์โบราณบทหนึ่งชื่อว่า ‘ฉางเหมินฟู่’ (长门赋) ซึ่งในละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> กล่าวถึงบ่อยครั้ง โดยหนึ่งในตัวละครเอกหยวนเซิ่นมักกล่าวอ้างอิงเพื่อเป็นคติสอนใจเกี่ยวกับความรักให้กับนางเอก ความมีอยู่ว่า... หยวนเซิ่นกล่าวอธิบาย “เรื่องเก็บหญิงงามในห้องทองคำกับบทกวีฉางเหมิน...วันนี้ห้องทองคำยังคงอยู่ ทว่าตำหนักฉางเหมินมิมีคนรักแล้ว เห็นได้ว่าสามีภรรยาในโลกหล้า เมื่อคราแรกพบต่างมีใจตรงกัน ยากจะพรากจากจึงมีบุพเพสันนิวาสนี้ แต่สุดท้ายเป็นเพียงรักที่จางหายรักสายเกินไป” - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> ตามซับไทย ‘ฉางเหมินฟู่’ เป็นบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่” และบทประพันธ์ ‘ซ่างหลินฟู่’ (Storyฯ เคยกล่าวถึงในหลายบทความแล้ว) Storyฯ ไม่อยากใช้คำว่า ‘บทกวี’ เพราะ ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ และซือหม่าเซียงหรูนี้เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญของบทประพันธ์ในรูปแบบ “ฟู่” นี้ ‘ฉางเหมิน’ ในชื่อของบทประพันธ์นี้เป็นชื่อพระตำหนักของฮองเฮาเฉินอาเจียวในองค์ฮั่นอู่ตี้ (156-87 ปีก่อนคริสตกาล) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองฉางอัน โดยมีที่มาที่ไปสรุปเป็นเรื่องราวของฮองเฮาเฉินที่ไม่เป็นที่ทรงโปรดของฮั่นอู่ตี้ แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงจำใจอภิเษกด้วย เมื่ออำนาจทางการเมืองของพระนางอ่อนลงและทรงใช้เล่ห์กลให้ร้ายพระชายาและสนมรายอื่น ฮองเฮาเฉินก็ถูกกักบริเวณไว้ภายในพระตำหนักฉางเหมิน จึงทรงหาทางจ้างซือหม่าเซียงหรูแต่งบทประพันธ์นี้ขึ้น เนื้อหาของบทประพันธ์เป็นเรื่องราวความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวของฮองเฮาเฉินในพระตำหนักที่แสนจะเดียวดาย ทรงคอยชะเง้อหาแต่กลับเห็นพระสวามีมีความสุขกับสตรีอื่นทว่าไม่เคยย่างกรายมาเยี่ยมเยียนพระนาง ในยามที่ฝนตกฟ้าร้องก็ไร้ซึ่งผู้ใดเคียงข้าง ในพระตำหนักที่หรูหรากลับไร้ซึ่งเงาของคนรัก บทประพันธ์นี้ถูกองค์ฮองเฮาเฉินให้คนขับขานทั้งวัน แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ก็ยังไม่เคยทรงเหลียวแลพระนางอีกเลย ด้วยเนื้อหาของบทประพันธ์ทำให้มันถูกเรียกขานว่าเป็นจดหมายรักฉบับแรกในประวัติศาสตร์จีน และในเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> นี้ มันถูกใช้เป็นตัวอย่างของความรักที่ไม่ได้รับรักตอบแทน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://m.cyol.com/gb/articles/2022-08/04/content_449M3uWlp.html https://k.sina.cn/article_7069952700_1a566eabc00100yzo0.html https://baike.sogou.com/PicBooklet.v?imageGroupId=4666607&relateImageGroupIds=4666607&lemmaId=225502&category=#4666607_0 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5452fb360959.aspx https://baike.baidu.com/item/长门赋/3075468 http://m.qulishi.com/news/201708/242962.html #ดาราจักรรักลำนำใจ #ฉางเหมินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู #เฉินอาเจียว #ฮ่านอู่ตี้ 
    1 Comments 0 Shares 160 Views 0 Reviews
  • ช่วงนี้ Storyฯ กลับไปดูซีรีส์เก่าๆ ค่ะ มาลงเอยที่ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> และสะดุดกับเนื้อเรื่องตอนที่กล่าวถึงว่า พระรองพยายามจีบนางเอกด้วยการล่าสัตว์เอาสัตว์ป่ามาให้ ทำเอาพระเอกหึงจนร่ายยาวออกมาเป็นบทกวี แต่นางเอกฟังไม่เข้าใจ วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีนี้กันค่ะ

    ความมีอยู่ว่า
    ... “กวางสิ้นใจในป่าทึบ หญ้าคาขาวห่อหุ้มตัวมันไว้ หญิงสาวความรักผลิบาน ชายหนุ่มไล่ตามพูดหยอกเย้า ป่ามีต้นอ่อนถือกำเนิด พณาร้างมีกวางหนึ่งสิ้นใจ ห่อคาขาวนี้คิดมอบให้ผู้ใด มอบให้หญิงงามดุจยอดหยก อย่าได้รีบร้อนถอดนักซิ อย่าแตะต้องผ้าคาดเอวข้า อย่าทำสุนัขเห่าหอนมา ชาตินี้ข้าติดตามท่านแน่แล้ว” ... กล่าวคือบุรุษในกลอนนี้นำผ้าขาวห่อสัตว์ที่ล่ามาได้หลอกล่อหญิงสาวที่กำลังตกหลุมรักชายผู้นั้น ...
    - ถอดบทสนทนาจาก <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> (ตามซับไทย)

    กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ (野有死麕 แปลได้ตามซับไทยของละครว่า ‘กวางสิ้นใจในป่าทึบ’) (หมายเหตุ ‘จวิน’ เป็นกวางขนาดเล็กไม่มีเขา ไม่แน่ใจว่าใช่กระจงหรือไม่)

    บทกวีนี้มีทั้งหมดสามท่อน ท่อนละสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) จัดอยู่ในหมวด ‘กั๋วเฟิง’ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเพลงพื้นบ้าน

    ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ เป็นบทกวีที่สะท้อนถึงการเกี้ยวพาราสีของชายหญิง โดยเฉพาะท่อนหลังดูจะบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่ดูจะถึงเนื้อถึงตัว เป็นเนื้อหาที่ดูจะสะท้อนถึงอิสระของสตรีในแบบที่เราไม่ค่อยเห็นในกลอนจีนโบราณ

    แต่จริงๆ แล้วมันสะท้อนถึงสถานะสตรีในยุคสมัยนั้นได้ดี

    เราอาจคุ้นเคยว่าคติสอนหญิงของจีนโบราณคือบุรุษเป็นใหญ่ แต่จริงๆ แล้วก่อนยุคสมัยชุนชิวสถานะทางสังคมของสตรีนั้นสูงไม่เบา ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณปี 1600-1050 ก่อนคริสตกาล) จนถึงราชวงศ์ฮั่น ปรากฏสตรีมีอำนาจทางการทหาร มีที่ได้รับการอวยยศเป็นโหวหลายสิบคน และสตรีสามารถถือครองทรัพย์สินได้ ในยุคสมัยนั้นสตรีมีอิสระด้านการครองเรือนและการออกมาปรากฏกายในสาธารณะ สามารถเลือกคู่ครองเองได้ ขอหย่าได้ หย่าร้างแล้วก็สามารถแต่งงานใหม่ได้โดยไม่ถูกมองอย่างหยามเหยียด และมีตัวอย่างฮองเฮาหลายคนในประวัติศาสตร์ที่เคยมีสามีอื่นมาก่อน

    ต่อมาจึงเกิดแนวคิดแยกบทบาทให้บุรุษเน้นเรื่องนอกบ้าน สตรีเน้นเรื่องในบ้าน จนกลายเป็นแนวคิดเรื่องบุรุษเป็นใหญ่ที่แพร่หลายในสมัยฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 25 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220) ในช่วงเวลานั้นมีนักประพันธ์และนักวิชาการหลายคนมีผลงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่โด่งดังมากและเป็นมรดกตกทอดไปอีกหลายพันปีคือวรรณกรรมเรื่อง ‘เตือนหญิง’ (女诫 หรือ ‘หนี่ว์เจี้ย’) ซึ่งเป็นผลงานของนักวิชาการสตรีนาม ‘ปันเจา’ ที่กลายเป็นหนึ่งในหนังสือที่สตรีต้องเล่าเรียนไปอีกหลายยุคหลายสมัย

    บทกวี ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ ในบริบทของละครเป็นการเปรียบเปรยถึงการที่ผู้ชายพยายามจีบหญิง แต่พอเข้าใจถึงยุคสมัยที่เกี่ยวข้องก็ทำให้ Storyฯ อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ว่า วัฒนธรรมจีนโบราณแต่บรรพกาลก็คล้ายๆ วัฒนธรรมโบราณอื่นๆ ที่สตรีเคยเป็นใหญ่และมีบทบาททางสังคมไม่น้อยไปกว่าชาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://m.qulishi.com/article/202101/478420.html
    https://view.inews.qq.com/a/20200704A03V3J00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/召南·野有死麕/19680551
    https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhaonan/yeyousijun.html
    https://baike.baidu.com/item/女诫/3423545
    https://new.qq.com/rain/a/20200617A0R16W00
    https://www.sohu.com/a/249005081_100234890

    #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #ซือจิง #คัมภีร์บทกวี #หนี่ว์เจี้ย #วรรณกรรมจีนเตือนหญิง #กวางสิ้นใจในป่าทึบ
    ช่วงนี้ Storyฯ กลับไปดูซีรีส์เก่าๆ ค่ะ มาลงเอยที่ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> และสะดุดกับเนื้อเรื่องตอนที่กล่าวถึงว่า พระรองพยายามจีบนางเอกด้วยการล่าสัตว์เอาสัตว์ป่ามาให้ ทำเอาพระเอกหึงจนร่ายยาวออกมาเป็นบทกวี แต่นางเอกฟังไม่เข้าใจ วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีนี้กันค่ะ ความมีอยู่ว่า ... “กวางสิ้นใจในป่าทึบ หญ้าคาขาวห่อหุ้มตัวมันไว้ หญิงสาวความรักผลิบาน ชายหนุ่มไล่ตามพูดหยอกเย้า ป่ามีต้นอ่อนถือกำเนิด พณาร้างมีกวางหนึ่งสิ้นใจ ห่อคาขาวนี้คิดมอบให้ผู้ใด มอบให้หญิงงามดุจยอดหยก อย่าได้รีบร้อนถอดนักซิ อย่าแตะต้องผ้าคาดเอวข้า อย่าทำสุนัขเห่าหอนมา ชาตินี้ข้าติดตามท่านแน่แล้ว” ... กล่าวคือบุรุษในกลอนนี้นำผ้าขาวห่อสัตว์ที่ล่ามาได้หลอกล่อหญิงสาวที่กำลังตกหลุมรักชายผู้นั้น ... - ถอดบทสนทนาจาก <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> (ตามซับไทย) กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ (野有死麕 แปลได้ตามซับไทยของละครว่า ‘กวางสิ้นใจในป่าทึบ’) (หมายเหตุ ‘จวิน’ เป็นกวางขนาดเล็กไม่มีเขา ไม่แน่ใจว่าใช่กระจงหรือไม่) บทกวีนี้มีทั้งหมดสามท่อน ท่อนละสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) จัดอยู่ในหมวด ‘กั๋วเฟิง’ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเพลงพื้นบ้าน ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ เป็นบทกวีที่สะท้อนถึงการเกี้ยวพาราสีของชายหญิง โดยเฉพาะท่อนหลังดูจะบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่ดูจะถึงเนื้อถึงตัว เป็นเนื้อหาที่ดูจะสะท้อนถึงอิสระของสตรีในแบบที่เราไม่ค่อยเห็นในกลอนจีนโบราณ แต่จริงๆ แล้วมันสะท้อนถึงสถานะสตรีในยุคสมัยนั้นได้ดี เราอาจคุ้นเคยว่าคติสอนหญิงของจีนโบราณคือบุรุษเป็นใหญ่ แต่จริงๆ แล้วก่อนยุคสมัยชุนชิวสถานะทางสังคมของสตรีนั้นสูงไม่เบา ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณปี 1600-1050 ก่อนคริสตกาล) จนถึงราชวงศ์ฮั่น ปรากฏสตรีมีอำนาจทางการทหาร มีที่ได้รับการอวยยศเป็นโหวหลายสิบคน และสตรีสามารถถือครองทรัพย์สินได้ ในยุคสมัยนั้นสตรีมีอิสระด้านการครองเรือนและการออกมาปรากฏกายในสาธารณะ สามารถเลือกคู่ครองเองได้ ขอหย่าได้ หย่าร้างแล้วก็สามารถแต่งงานใหม่ได้โดยไม่ถูกมองอย่างหยามเหยียด และมีตัวอย่างฮองเฮาหลายคนในประวัติศาสตร์ที่เคยมีสามีอื่นมาก่อน ต่อมาจึงเกิดแนวคิดแยกบทบาทให้บุรุษเน้นเรื่องนอกบ้าน สตรีเน้นเรื่องในบ้าน จนกลายเป็นแนวคิดเรื่องบุรุษเป็นใหญ่ที่แพร่หลายในสมัยฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 25 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220) ในช่วงเวลานั้นมีนักประพันธ์และนักวิชาการหลายคนมีผลงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่โด่งดังมากและเป็นมรดกตกทอดไปอีกหลายพันปีคือวรรณกรรมเรื่อง ‘เตือนหญิง’ (女诫 หรือ ‘หนี่ว์เจี้ย’) ซึ่งเป็นผลงานของนักวิชาการสตรีนาม ‘ปันเจา’ ที่กลายเป็นหนึ่งในหนังสือที่สตรีต้องเล่าเรียนไปอีกหลายยุคหลายสมัย บทกวี ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ ในบริบทของละครเป็นการเปรียบเปรยถึงการที่ผู้ชายพยายามจีบหญิง แต่พอเข้าใจถึงยุคสมัยที่เกี่ยวข้องก็ทำให้ Storyฯ อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ว่า วัฒนธรรมจีนโบราณแต่บรรพกาลก็คล้ายๆ วัฒนธรรมโบราณอื่นๆ ที่สตรีเคยเป็นใหญ่และมีบทบาททางสังคมไม่น้อยไปกว่าชาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://m.qulishi.com/article/202101/478420.html https://view.inews.qq.com/a/20200704A03V3J00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/召南·野有死麕/19680551 https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhaonan/yeyousijun.html https://baike.baidu.com/item/女诫/3423545 https://new.qq.com/rain/a/20200617A0R16W00 https://www.sohu.com/a/249005081_100234890 #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #ซือจิง #คัมภีร์บทกวี #หนี่ว์เจี้ย #วรรณกรรมจีนเตือนหญิง #กวางสิ้นใจในป่าทึบ
    《我就是这般女子》在哪儿可以看?一周更新几集?-趣历史网
    关晓彤和侯明昊主演的《我就是这般女子》追剧日历出炉,自1月18日正式开播到2月15日大结局,见证班婳
    1 Comments 0 Shares 286 Views 0 Reviews
  • ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋

    บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง

    แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋

    เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ

    เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี

    เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้

    ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป

    หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html
    https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758
    https://gushici.china.com/srgushi/10.html
    https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html
    https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296
    https://www.sohu.com/a/341251009_100053536

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋ บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋ เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้ ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589 Credit รูปภาพจาก: https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758 https://gushici.china.com/srgushi/10.html https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296 https://www.sohu.com/a/341251009_100053536 #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    1 Comments 0 Shares 255 Views 0 Reviews
  • Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    2 Comments 0 Shares 317 Views 0 Reviews
  • รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ มีคำสั่งยกเลิกวีซ่าชาวซูดานใต้หมดทั้งประเทศ โดยอ้างเหตุผลความล่าช้าของรัฐบาลซูดานในการรับพลเมืองที่ถูกเนรเทศจากสหรัฐกลับสู่ซูดาน

    การยกเลิกวีซ่าทั้งหมดครั้งนี้จะมีผลบังคับใช้ทันที และพลเมืองซูดานใต้ที่ถือวีซ่านี้อยู่ ไม่สามารถเดินทางเข้าสหรัฐฯ และยังระงับการออกวีซ่าใหม่อีกด้วย

    รูบิโอเผยว่าคำสั่งนี้มีขึ้นหลังจากรัฐบาลเฉพาะกาลของซูดานใต้ ดำเนินการอย่างล่าช้าในการรับการส่งกลับพลเมืองชาวซูดานใต้ที่ถูกเนรเทศออกจากสหรัฐ

    สหรัฐจะกลับมาทบทวนมาตรการลงโทษนี้อีกครั้ง หากซูดานใต้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่

    รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ มีคำสั่งยกเลิกวีซ่าชาวซูดานใต้หมดทั้งประเทศ โดยอ้างเหตุผลความล่าช้าของรัฐบาลซูดานในการรับพลเมืองที่ถูกเนรเทศจากสหรัฐกลับสู่ซูดาน การยกเลิกวีซ่าทั้งหมดครั้งนี้จะมีผลบังคับใช้ทันที และพลเมืองซูดานใต้ที่ถือวีซ่านี้อยู่ ไม่สามารถเดินทางเข้าสหรัฐฯ และยังระงับการออกวีซ่าใหม่อีกด้วย รูบิโอเผยว่าคำสั่งนี้มีขึ้นหลังจากรัฐบาลเฉพาะกาลของซูดานใต้ ดำเนินการอย่างล่าช้าในการรับการส่งกลับพลเมืองชาวซูดานใต้ที่ถูกเนรเทศออกจากสหรัฐ สหรัฐจะกลับมาทบทวนมาตรการลงโทษนี้อีกครั้ง หากซูดานใต้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
    0 Comments 0 Shares 173 Views 0 Reviews
  • "ไทยรู้สึกตกใจต่อการยกเลิกวีซานักศึกษาต่างชาติของสหรัฐ กรณีนี้ตอกย้ำถึงความกังวลของไทยที่มีมาอย่างยาวนานต่อการใช้กฎหมายของสหรัฐ ไทยขอเรียกร้องให้ทางการสหรัฐเคารพเสรีภาพในการแสดงออกของนักศึกษาเหล่านั้น"
    "ไทยรู้สึกตกใจต่อการยกเลิกวีซานักศึกษาต่างชาติของสหรัฐ กรณีนี้ตอกย้ำถึงความกังวลของไทยที่มีมาอย่างยาวนานต่อการใช้กฎหมายของสหรัฐ ไทยขอเรียกร้องให้ทางการสหรัฐเคารพเสรีภาพในการแสดงออกของนักศึกษาเหล่านั้น"
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 166 Views 0 Reviews
  • กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯแถลง ประกาศชัดเจนสั่งยกเลิกวีซ่าทั้งหมดของซูดานใต้มีผลทันที กระทบ Khaman Maluach ดารานักบาสเก็ตบอลทีมมหาวิทยาลัย DUKE เจ้าของความสูง 7 ฟุต 2 นิ้วมีสิทธิ์โดนเนรเทศกลับซูดานใต้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000033234

    #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯแถลง ประกาศชัดเจนสั่งยกเลิกวีซ่าทั้งหมดของซูดานใต้มีผลทันที กระทบ Khaman Maluach ดารานักบาสเก็ตบอลทีมมหาวิทยาลัย DUKE เจ้าของความสูง 7 ฟุต 2 นิ้วมีสิทธิ์โดนเนรเทศกลับซูดานใต้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000033234 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    5
    0 Comments 0 Shares 999 Views 0 Reviews
  • สำหรับผม ญี่ปุ่นและไทยคล้ายคลึงกันมากในปริมณฑลเรื่องเหนือธรรมชาติ ไทยเรามีภูตผีหลากหลายดีไซน์มากพอ ๆ กับโยไคของญี่ปุ่น ต่างกันแค่ผีญี่ปุ่นยังมีการรวมตัวเดินขบวนพาเหรดเป็น "ขบวนแห่ร้อยอสูร" (百鬼夜行 - เฮียกกิยาเกียว) จนเมื่อได้อ่านนิยายเล่มนี้เองที่ได้เจอเรื่องราวของขบวนแห่แบบที่ว่าในรูปผสมผสานสองเชื้อชาติ

    'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' โดย กันตชาต ชวนะวิรัช เป็นนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกจาก บ.อมรินทร์ให้ตีพิมพ์ในโปรเจกต์ "ไทยเล่าไทยหลอน" เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในที่ที่เป็นไปได้มากว่าจะอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานท้องถิ่นกล่าวถึงขบวนแห่ร้อยผีที่มีผู้ร่วมขบวนทั้งผีไทยและผีญี่ปุ่น มีผู้นำขบวนคือ เทพอาคันตุกะ หรือนูราริเฮียง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งโยไคของญี่ปุ่น เล่ากันว่าหากคนทั่วไปที่ไม่ได้มีสัมผัสพิเศษมองเห็นขบวนแห่ร้อยผีเข้า ก็จะโดนทั้งขบวนตามล่าเพื่อนำวิญญาณไปร่วมขบวนด้วย ในเนื้อเรื่อง อัญรินทร์เห็นขบวนแห่นี้และโดนหมายหัว อัคร น้องชายวัย ม.ปลาย ซึ่งมองเห็นวิญญาณได้ จึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อพาพี่สาวหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผี แม้กระทั่งต้องเข้าไปซ่อนในบ้านเด็กกำพร้าผีสิงก็ตาม

    ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องผี มีคำว่า "ผี" อยู่ในชื่อเรื่อง แต่โทนเรื่องโดยรวมไม่ได้เน้นความน่ากลัวสยองขวัญเท่าไร (สำหรับผมอะนะ) ออกจะเป็นแฟนตาซีที่แฝงกลิ่นอายลึกลับแบบ Spirited Away ของสตูดิโอจิบลิมากกว่า คงเพราะมีผีญี่ปุ่นอยู่ในเรื่องด้วย (แต่ก็น่าเสียดายนิดหน่อยที่เอาจริง ๆ ถ้าเทียบแอร์ไทม์แล้ว ผีในขบวนแห่ร้อยผีกลับมีบทบาทน้อยกว่าผีที่ไม่ได้อยู่ในขบวนแห่เสียอีก) ทั้งนี้ ตอนจบทั้งสวยงามและปวดตับอย่างยิ่ง ต่อให้คุณพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ผมเชื่อว่าบทสุดท้ายก็น่าจะกระชากอารมณ์คุณไม่มากก็น้อย ยกเว้นก็แต่คุณจะอารมณ์ตายด้านไปแล้วหรือไม่ก็เป็นไซโคพาธ อี๋ย์ ไปให้พ้น ชิ่ว ๆ

    อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่พื้นที่ที่ผมจะรีวิวหนังสือ แต่ผมจะให้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์ในคลังของผมกำหนดประเด็นที่จะรีวิว วิจารณ์ หรือหยิบยกมาพูด แล้วผมจะนำมาแปลและถ่ายทอดต่ออีกที โดยสุ่มจับไพ่ 4 ใบ และใช้ไพ่ใต้กองอีก 1 ใบ

    สำหรับนิยายเล่มนี้ ซึ่งมีภูตผีญี่ปุ่นมาเกี่ยวข้อง ผมก็คิดว่าน่าจะเหมาะสมถ้าใช้ไพ่ที่มีธีมเป็นผีญี่ปุ่นมาทำการ "เผาเรื่อง" นั่นคือไพ่ชุด 'Yokai Tarot' โดย สนพ.Lo Scarabeo จากอิตาลี

    ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' ด้วย 'Yokai Tarot' ได้ ณ บัดนี้ครับ

    ----------

    "หลอกลวงคนอ่านอย่าง(เกือบ)แนบเนียน"
    🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance

    ไพ่ Magician ของ Yokai Tarot เลือกหน้าไพ่เป็นปีศาจทานุกิ ซึ่งเป็นโยไคที่ขึ้นชื่อเรื่องการแปลงร่างไปหลอกลวงหรือแกล้งมนุษย์ ตรงกับความหมายในแง่ "การหลอกลวง" ของไพ่นักมายากล ส่วนไพ่ Temperance มีหน้าไพ่เป็น "นิงเกียว" หรือก็คือนางเงือกแบบญี่ปุ่น เชื่อกันว่าเนื้อของเงือกญี่ปุ่นจะทำให้อายุยืนยาวหรือถึงขั้นเป็นอมตะ แต่เฉพาะในบริบทของไพ่แห่งความพอดี เงือกคือตัวตนที่แสดงถึงความสอดประสานกันอย่างลงตัว กลมเกลียว และ "แนบเนียน" ระหว่างสิ่งตรงข้าม ไม่ว่าจะคนและปลา หรือบกและน้ำ

    'เฮียกกิยาเกียว' เป็นนิยายที่ไม่ได้ใส่ผีมาหลอกตัวละครในเรื่องอย่างเดียว แต่ตัวมันยังพยายามหลอกคนอ่านอย่างเราให้เข้าใจผิดเกือบตลอดเวลา ซึ่งก็มาพร้อมกับ Plot twists หรือการหักมุมหลายตลบ แต่ก็ไม่ได้เป็นการหักแบบคอพับ 180 องศาชนิดไม่มีปี่มีขลุ่ย ระหว่างทาง เนื้อเรื่องจะแอบหยอดรายละเอียดที่ค่อย ๆ นำไปสู่การเฉลยปมหักมุมแต่ละเรื่อง ดังนั้นสำหรับผู้อ่านที่ช่างสังเกตและช่างคิด รวมถึงมีชั่วโมงบินเยอะ ก็อาจคาดเดาจุดหักมุมแต่ละจุดได้ไม่ยาก รวมถึง Plot twist ใหญ่ในหน้า 226

    นอกจากนี้ ผมชอบเป็นพิเศษที่ไพ่ Temperance ขึ้นมาในหัวข้อนี้พอดี ความหมายหลักอย่างหนึ่งของไพ่ใบนี้คือ "ความกลมเกลียว" และ "การสอดประสานกันอย่างลงตัว" ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายได้ดีอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับสังคมผีในนิยายเรื่องนี้ เนื้อเรื่องบรรยายว่าชุมชนในเรื่องเป็นที่ที่ผีและคนอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด จนบางครั้งพรมแดนระหว่าง 2 ภพก็พร่าเลือนโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะทั้ง 2 ฝ่ายไม่รู้ตัว ซึ่งนี่ก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนใช้หลอกลวงคนอ่านด้วย (แน่นอนว่าตรงนี้ไม่ได้สปอยล์สาระสำคัญของเรื่องแต่อย่างใด ;) )

    ----------

    "บูรณาการตำนาน(ผี)จากสองชาติ"
    🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles)

    โยไคบนหน้าไพ่ราชินีเหรียญของชุด Yokai Tarot คือ "ยามะฮิเมะ" (เจ้าหญิงแห่งขุนเขา) ซึ่งมีบทบาทคล้าย ๆ วิญญาณเจ้าป่าเจ้าเขาในไทยเรา เป็นผู้ปกปักรักษาสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่ภูเขาของตน ทั้งป่าดงพงไพร พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ที่อาศัยในบริเวณนั้นและเคารพบูชานาง บทบาทตามตำนานความเชื่อของโยไคตนนี้ตรงกับความหมายของไพ่ราชินีเหรียญในแง่การเป็นผูปกปักรักษา บำรุงเลี้ยงดู ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงกับความหมายด้านธรรมชาติของไพ่ใบนี้ด้วย ส่วนในบริบทของนิยายเรื่องนี้ ผมตีความว่าไพ่ใบนี้สื่อถึงสิ่งที่เป็นเสมือนธรรมชาติเก่าแก่ในชุมชนท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งก็คือวัฒนธรรม ตำนาน คติชน และเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณในท้องที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นหวนแหนและดูแลสืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง

    ส่วนไพ่ 3 เหรียญเป็นภาพของ "อิปปงดาตาระ" โยไคตาเดียวขาเดียวที่ว่ากันว่าเคยเป็นช่างฝีมือมาก่อน แต่แกทุ่มเทให้กับงานที่ทำมากเกินไปจนสูญเสียดวงตากับขาไปอย่างละข้าง ไพ่ชุดนี้นำโยไคตนนี้มาเชื่อมโยงกับไพ่ 3 เหรียญในแง่ที่ตัวมันเป็นภูตที่มีที่มาจากช่างฝีมือ ซึ่งเป็นความหมายหนึ่งของไพ่ใบนี้ ส่วนอีกความหมายที่รู้จักกันมากกว่าคือ "การร่วมมือ" (รวมถึงงานประเภทคอลแลบฯ ระหว่างศิลปิน) และ "การบูรณาการ"

    ไพ่สองใบนี้รวมกัน จึงสื่อถึง การบูรณาการของตำนานความเชื่อเก่าแก่ ซึ่งในบริบทของ 'เฮียกกิยาเกียว' มันก็คือการบูรณาการความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีของไทยและญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นขบวนแห่ร้อยผีประจำนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเรื่องที่ต้องชื่นชมความช่างคิดของผู้เขียนจริง ๆ

    ในขบวนแห่ร้อยผี นอกจากจะมีโยไคญี่ปุ่นอย่างนูราริเฮียงแล้ว ยังมีผีไทยที่คนภาคกลางอาจไม่คุ้นเคยเท่าไร เช่น ผีม้าบ้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งม้าคล้ายเซนทอร์ของกรีก (ในนิยายเล่มนี้เรียกผีม้าบ้องว่า "เซนทอร์แห่งล้านนา" ด้วยซ้ำ) หรือแมวจะกละ แมวดำที่ทำให้มนุษย์ที่ได้สัมผัสร่างต้องพบความตายอย่างน่าสยดสยอง นอกจากนั้นยังมีผีบางตนที่มีอยู่ในทั้งเรื่องผีของไทยและญี่ปุ่นอย่างผีกระสือ ซึ่งเวอร์ชันของญี่ปุ่นเรียกว่า "นูเกะคูบิ"

    นอกจากนั้น นิยายเรื่องนี้ยังบูรณาการเรื่องจริงที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องด้วย โดยเชื่อมโยงกับชีวิตของยามาดะ นางามาสะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมค่อนข้างเชื่อว่า ฉากท้องเรื่องของเรื่องนี้อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช)

    ----------

    "บางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น"
    ใต้กอง: 🃏Judgement

    ไพ่ใต้กองของการเปิดไพ่ "เผาเรื่อง" ครั้งนี้คือไพ่ Judgement ซึ่งเป็นภาพของโยไคชื่อ "คิโยะฮิเมะ" นางเป็นปีศาจงูที่ไปตกหลุมรักพระรูปหนึ่งอย่างจัง แต่พระหนุ่มไม่เล่นด้วย ทิ้งนางอย่างไม่ไยดี นางจึงตามล่าพระหนุ่มไปทั่วญี่ปุ่น จนในที่สุด พระหนุ่มไปหลบซ่อนในระฆังวัด แต่นางก็หาเจอ และคลายขนดหางออกมารัดระฆัง ก่อนจะพ่นไฟออกมาย่างสดพระหนุ่ม โหดฉิบ แต่ใด ๆ คือ ไพ่ชุดนี้เลือกวีรกรรมการตามล่าเหยื่ออย่างไม่ลดไม่ละของนางมาเชื่อมโยงกับความหมายของไพ่ Judgement ในด้านการมาถึงของบางสิ่งที่เราไม่อาจหนีพ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม อาจเป็นความจริงหรือสัจธรรมของจักรวาล

    การถูกตามล่าโดยบางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น คือแก่นเรื่องของ 'เฮียกกิยาเกียว' ใครก็ตามที่มองเห็นขบวนแห่ร้อยผี (ยกเว้นผู้มีตาทิพย์หรือสัมผัสพิเศษ) จะต้องถูกตามล่าไปตลอดกาล จนกว่าภูตผีในขบวนจะจับตัวและพาไปร่วมขบวนได้ อาจมีบางช่วงเวลาหรือเงื่อนไขที่ช่วยให้ยืดเวลาหรือหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผีได้ แต่ก็ทำได้แค่ชั่วคราว

    เมื่ออ่านนิยายเล่มนี้ไปเรื่อย ๆ คนอ่านจะพบว่า ไม่ได้มีแค่อัครและอัญรินทร์ สองตัวละครเอกที่พยายามหนีจากขบวนแห่ร้อยผี มีคนอื่นที่เคยพบเจอและพยายามหนีจากพวกมันด้วย รวมทั้งมีตัวละครอื่นที่พยายามหลบหนีจากอะไรอย่างอื่น แต่ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีทางหลบหนีพ้น ดังนั้นจึงมีทางเลือกแค่หาทางหนีประวิงเวลาไปเรื่อย ๆ หรือยอมจำนน

    ----------

    Final Verdict: 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance + 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) + 🃏Judgement (ใต้กอง)

    'เฮียกกิยาเกียว' เป็นเรื่องที่นำตำนานความเชื่อและเรื่องเหล่าอันแตกต่างหลากหลายมาผสมผสานและบูรณาการเข้าด้วยกันอย่าชาญฉลาดและลงตัว พร้อมกับทำให้ปิดเล่มไปด้วยความจรรโลงใจและการตระหนักซึ่งในสัจธรรมบางประการ

    🃏🃏🃏🃏🃏
    เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง (2025)
    • ผู้เขียน: กันตชาต ชวนะวิรัช
    • สำนักพิมพ์: Prism (ในเครืออมรินทร์)
    ไพ่ที่ใช้: Yokai Tarot (2024) ผลิตและจัดจำหน่ายโดย Lo Scarabeo Tarot
    สำหรับผม ญี่ปุ่นและไทยคล้ายคลึงกันมากในปริมณฑลเรื่องเหนือธรรมชาติ ไทยเรามีภูตผีหลากหลายดีไซน์มากพอ ๆ กับโยไคของญี่ปุ่น ต่างกันแค่ผีญี่ปุ่นยังมีการรวมตัวเดินขบวนพาเหรดเป็น "ขบวนแห่ร้อยอสูร" (百鬼夜行 - เฮียกกิยาเกียว) จนเมื่อได้อ่านนิยายเล่มนี้เองที่ได้เจอเรื่องราวของขบวนแห่แบบที่ว่าในรูปผสมผสานสองเชื้อชาติ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' โดย กันตชาต ชวนะวิรัช เป็นนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกจาก บ.อมรินทร์ให้ตีพิมพ์ในโปรเจกต์ "ไทยเล่าไทยหลอน" เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในที่ที่เป็นไปได้มากว่าจะอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานท้องถิ่นกล่าวถึงขบวนแห่ร้อยผีที่มีผู้ร่วมขบวนทั้งผีไทยและผีญี่ปุ่น มีผู้นำขบวนคือ เทพอาคันตุกะ หรือนูราริเฮียง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งโยไคของญี่ปุ่น เล่ากันว่าหากคนทั่วไปที่ไม่ได้มีสัมผัสพิเศษมองเห็นขบวนแห่ร้อยผีเข้า ก็จะโดนทั้งขบวนตามล่าเพื่อนำวิญญาณไปร่วมขบวนด้วย ในเนื้อเรื่อง อัญรินทร์เห็นขบวนแห่นี้และโดนหมายหัว อัคร น้องชายวัย ม.ปลาย ซึ่งมองเห็นวิญญาณได้ จึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อพาพี่สาวหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผี แม้กระทั่งต้องเข้าไปซ่อนในบ้านเด็กกำพร้าผีสิงก็ตาม ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องผี มีคำว่า "ผี" อยู่ในชื่อเรื่อง แต่โทนเรื่องโดยรวมไม่ได้เน้นความน่ากลัวสยองขวัญเท่าไร (สำหรับผมอะนะ) ออกจะเป็นแฟนตาซีที่แฝงกลิ่นอายลึกลับแบบ Spirited Away ของสตูดิโอจิบลิมากกว่า คงเพราะมีผีญี่ปุ่นอยู่ในเรื่องด้วย (แต่ก็น่าเสียดายนิดหน่อยที่เอาจริง ๆ ถ้าเทียบแอร์ไทม์แล้ว ผีในขบวนแห่ร้อยผีกลับมีบทบาทน้อยกว่าผีที่ไม่ได้อยู่ในขบวนแห่เสียอีก) ทั้งนี้ ตอนจบทั้งสวยงามและปวดตับอย่างยิ่ง ต่อให้คุณพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ผมเชื่อว่าบทสุดท้ายก็น่าจะกระชากอารมณ์คุณไม่มากก็น้อย ยกเว้นก็แต่คุณจะอารมณ์ตายด้านไปแล้วหรือไม่ก็เป็นไซโคพาธ อี๋ย์ ไปให้พ้น ชิ่ว ๆ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่พื้นที่ที่ผมจะรีวิวหนังสือ แต่ผมจะให้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์ในคลังของผมกำหนดประเด็นที่จะรีวิว วิจารณ์ หรือหยิบยกมาพูด แล้วผมจะนำมาแปลและถ่ายทอดต่ออีกที โดยสุ่มจับไพ่ 4 ใบ และใช้ไพ่ใต้กองอีก 1 ใบ สำหรับนิยายเล่มนี้ ซึ่งมีภูตผีญี่ปุ่นมาเกี่ยวข้อง ผมก็คิดว่าน่าจะเหมาะสมถ้าใช้ไพ่ที่มีธีมเป็นผีญี่ปุ่นมาทำการ "เผาเรื่อง" นั่นคือไพ่ชุด 'Yokai Tarot' โดย สนพ.Lo Scarabeo จากอิตาลี ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' ด้วย 'Yokai Tarot' ได้ ณ บัดนี้ครับ ---------- "หลอกลวงคนอ่านอย่าง(เกือบ)แนบเนียน" 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance ไพ่ Magician ของ Yokai Tarot เลือกหน้าไพ่เป็นปีศาจทานุกิ ซึ่งเป็นโยไคที่ขึ้นชื่อเรื่องการแปลงร่างไปหลอกลวงหรือแกล้งมนุษย์ ตรงกับความหมายในแง่ "การหลอกลวง" ของไพ่นักมายากล ส่วนไพ่ Temperance มีหน้าไพ่เป็น "นิงเกียว" หรือก็คือนางเงือกแบบญี่ปุ่น เชื่อกันว่าเนื้อของเงือกญี่ปุ่นจะทำให้อายุยืนยาวหรือถึงขั้นเป็นอมตะ แต่เฉพาะในบริบทของไพ่แห่งความพอดี เงือกคือตัวตนที่แสดงถึงความสอดประสานกันอย่างลงตัว กลมเกลียว และ "แนบเนียน" ระหว่างสิ่งตรงข้าม ไม่ว่าจะคนและปลา หรือบกและน้ำ 'เฮียกกิยาเกียว' เป็นนิยายที่ไม่ได้ใส่ผีมาหลอกตัวละครในเรื่องอย่างเดียว แต่ตัวมันยังพยายามหลอกคนอ่านอย่างเราให้เข้าใจผิดเกือบตลอดเวลา ซึ่งก็มาพร้อมกับ Plot twists หรือการหักมุมหลายตลบ แต่ก็ไม่ได้เป็นการหักแบบคอพับ 180 องศาชนิดไม่มีปี่มีขลุ่ย ระหว่างทาง เนื้อเรื่องจะแอบหยอดรายละเอียดที่ค่อย ๆ นำไปสู่การเฉลยปมหักมุมแต่ละเรื่อง ดังนั้นสำหรับผู้อ่านที่ช่างสังเกตและช่างคิด รวมถึงมีชั่วโมงบินเยอะ ก็อาจคาดเดาจุดหักมุมแต่ละจุดได้ไม่ยาก รวมถึง Plot twist ใหญ่ในหน้า 226 นอกจากนี้ ผมชอบเป็นพิเศษที่ไพ่ Temperance ขึ้นมาในหัวข้อนี้พอดี ความหมายหลักอย่างหนึ่งของไพ่ใบนี้คือ "ความกลมเกลียว" และ "การสอดประสานกันอย่างลงตัว" ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายได้ดีอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับสังคมผีในนิยายเรื่องนี้ เนื้อเรื่องบรรยายว่าชุมชนในเรื่องเป็นที่ที่ผีและคนอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด จนบางครั้งพรมแดนระหว่าง 2 ภพก็พร่าเลือนโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะทั้ง 2 ฝ่ายไม่รู้ตัว ซึ่งนี่ก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนใช้หลอกลวงคนอ่านด้วย (แน่นอนว่าตรงนี้ไม่ได้สปอยล์สาระสำคัญของเรื่องแต่อย่างใด ;) ) ---------- "บูรณาการตำนาน(ผี)จากสองชาติ" 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) โยไคบนหน้าไพ่ราชินีเหรียญของชุด Yokai Tarot คือ "ยามะฮิเมะ" (เจ้าหญิงแห่งขุนเขา) ซึ่งมีบทบาทคล้าย ๆ วิญญาณเจ้าป่าเจ้าเขาในไทยเรา เป็นผู้ปกปักรักษาสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่ภูเขาของตน ทั้งป่าดงพงไพร พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ที่อาศัยในบริเวณนั้นและเคารพบูชานาง บทบาทตามตำนานความเชื่อของโยไคตนนี้ตรงกับความหมายของไพ่ราชินีเหรียญในแง่การเป็นผูปกปักรักษา บำรุงเลี้ยงดู ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงกับความหมายด้านธรรมชาติของไพ่ใบนี้ด้วย ส่วนในบริบทของนิยายเรื่องนี้ ผมตีความว่าไพ่ใบนี้สื่อถึงสิ่งที่เป็นเสมือนธรรมชาติเก่าแก่ในชุมชนท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งก็คือวัฒนธรรม ตำนาน คติชน และเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณในท้องที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นหวนแหนและดูแลสืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง ส่วนไพ่ 3 เหรียญเป็นภาพของ "อิปปงดาตาระ" โยไคตาเดียวขาเดียวที่ว่ากันว่าเคยเป็นช่างฝีมือมาก่อน แต่แกทุ่มเทให้กับงานที่ทำมากเกินไปจนสูญเสียดวงตากับขาไปอย่างละข้าง ไพ่ชุดนี้นำโยไคตนนี้มาเชื่อมโยงกับไพ่ 3 เหรียญในแง่ที่ตัวมันเป็นภูตที่มีที่มาจากช่างฝีมือ ซึ่งเป็นความหมายหนึ่งของไพ่ใบนี้ ส่วนอีกความหมายที่รู้จักกันมากกว่าคือ "การร่วมมือ" (รวมถึงงานประเภทคอลแลบฯ ระหว่างศิลปิน) และ "การบูรณาการ" ไพ่สองใบนี้รวมกัน จึงสื่อถึง การบูรณาการของตำนานความเชื่อเก่าแก่ ซึ่งในบริบทของ 'เฮียกกิยาเกียว' มันก็คือการบูรณาการความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีของไทยและญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นขบวนแห่ร้อยผีประจำนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเรื่องที่ต้องชื่นชมความช่างคิดของผู้เขียนจริง ๆ ในขบวนแห่ร้อยผี นอกจากจะมีโยไคญี่ปุ่นอย่างนูราริเฮียงแล้ว ยังมีผีไทยที่คนภาคกลางอาจไม่คุ้นเคยเท่าไร เช่น ผีม้าบ้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งม้าคล้ายเซนทอร์ของกรีก (ในนิยายเล่มนี้เรียกผีม้าบ้องว่า "เซนทอร์แห่งล้านนา" ด้วยซ้ำ) หรือแมวจะกละ แมวดำที่ทำให้มนุษย์ที่ได้สัมผัสร่างต้องพบความตายอย่างน่าสยดสยอง นอกจากนั้นยังมีผีบางตนที่มีอยู่ในทั้งเรื่องผีของไทยและญี่ปุ่นอย่างผีกระสือ ซึ่งเวอร์ชันของญี่ปุ่นเรียกว่า "นูเกะคูบิ" นอกจากนั้น นิยายเรื่องนี้ยังบูรณาการเรื่องจริงที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องด้วย โดยเชื่อมโยงกับชีวิตของยามาดะ นางามาสะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมค่อนข้างเชื่อว่า ฉากท้องเรื่องของเรื่องนี้อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช) ---------- "บางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น" ใต้กอง: 🃏Judgement ไพ่ใต้กองของการเปิดไพ่ "เผาเรื่อง" ครั้งนี้คือไพ่ Judgement ซึ่งเป็นภาพของโยไคชื่อ "คิโยะฮิเมะ" นางเป็นปีศาจงูที่ไปตกหลุมรักพระรูปหนึ่งอย่างจัง แต่พระหนุ่มไม่เล่นด้วย ทิ้งนางอย่างไม่ไยดี นางจึงตามล่าพระหนุ่มไปทั่วญี่ปุ่น จนในที่สุด พระหนุ่มไปหลบซ่อนในระฆังวัด แต่นางก็หาเจอ และคลายขนดหางออกมารัดระฆัง ก่อนจะพ่นไฟออกมาย่างสดพระหนุ่ม โหดฉิบ แต่ใด ๆ คือ ไพ่ชุดนี้เลือกวีรกรรมการตามล่าเหยื่ออย่างไม่ลดไม่ละของนางมาเชื่อมโยงกับความหมายของไพ่ Judgement ในด้านการมาถึงของบางสิ่งที่เราไม่อาจหนีพ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม อาจเป็นความจริงหรือสัจธรรมของจักรวาล การถูกตามล่าโดยบางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น คือแก่นเรื่องของ 'เฮียกกิยาเกียว' ใครก็ตามที่มองเห็นขบวนแห่ร้อยผี (ยกเว้นผู้มีตาทิพย์หรือสัมผัสพิเศษ) จะต้องถูกตามล่าไปตลอดกาล จนกว่าภูตผีในขบวนจะจับตัวและพาไปร่วมขบวนได้ อาจมีบางช่วงเวลาหรือเงื่อนไขที่ช่วยให้ยืดเวลาหรือหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผีได้ แต่ก็ทำได้แค่ชั่วคราว เมื่ออ่านนิยายเล่มนี้ไปเรื่อย ๆ คนอ่านจะพบว่า ไม่ได้มีแค่อัครและอัญรินทร์ สองตัวละครเอกที่พยายามหนีจากขบวนแห่ร้อยผี มีคนอื่นที่เคยพบเจอและพยายามหนีจากพวกมันด้วย รวมทั้งมีตัวละครอื่นที่พยายามหลบหนีจากอะไรอย่างอื่น แต่ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีทางหลบหนีพ้น ดังนั้นจึงมีทางเลือกแค่หาทางหนีประวิงเวลาไปเรื่อย ๆ หรือยอมจำนน ---------- Final Verdict: 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance + 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) + 🃏Judgement (ใต้กอง) 'เฮียกกิยาเกียว' เป็นเรื่องที่นำตำนานความเชื่อและเรื่องเหล่าอันแตกต่างหลากหลายมาผสมผสานและบูรณาการเข้าด้วยกันอย่าชาญฉลาดและลงตัว พร้อมกับทำให้ปิดเล่มไปด้วยความจรรโลงใจและการตระหนักซึ่งในสัจธรรมบางประการ 🃏🃏🃏🃏🃏 เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง (2025) • ผู้เขียน: กันตชาต ชวนะวิรัช • สำนักพิมพ์: Prism (ในเครืออมรินทร์) ไพ่ที่ใช้: Yokai Tarot (2024) ผลิตและจัดจำหน่ายโดย Lo Scarabeo Tarot
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 351 Views 0 Reviews
  • ** โฉมงามอวี๋ บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู **

    สวัสดีค่ะ ก่อนอื่น Storyฯ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาและหวังเพื่อนเพจทั้งหลายแคล้วคลาดปลอดภัย

    สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงสีแดงจากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> มีการกล่าวถึงบทกวีที่มีชื่อว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人) หรือ ‘โฉมงามอวี๋’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมากแล้วแต่บทความถูกลบไป (อาจด้วยมีลิ้งค์ที่ต้องห้าม) วันนี้เลยแก้ไขแล้วเอามาลงใหม่ให้อ่านกัน

    ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีเลื่องชื่อของจีน และถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู> โดยชื่อของนางเอกพระเอก ‘ชุนฮวา’ และ ‘ชิวเยวี่ย’ มาจากวลีหนึ่งในบทกวีนี้ ซึ่งก็คือ ‘ชุนฮวาชิวเยวี่ยเหอสือเหลี่ยว หว่างซื่อจือตัวส่าว?’ (春花秋月何时了,往事知多少?) แปลตรงตัวว่า ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดูสิ้นสุดไปเมื่อใด มีเรื่องราวมากน้อยเท่าไรให้รำลึกถึง?’ โดยในซีรีส์เรื่องนี้มีการกล่าวถึงวรรคแรกของวลีนี้อยู่บ่อยครั้ง

    ฟังดูเหงาๆ โรแมนติก เป็นวลีฮอตฮิตยามชมจันทร์ ละครเรื่องนี้ก็เป็นแนวรักตลก จะมีเพื่อนเพจกี่ท่านที่ทราบถึงความเจ็บปวดที่แฝงไว้อยู่ในบทกวีนี้?

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทประพันธ์ขององค์หลี่อวี้ (ค.ศ. 937-978) ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถังปลายในช่วงยุคสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น (คือคนเดียวกับที่สั่งให้จิตรกรไปวาดภาพงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่ายที่ Storyฯ เคยเล่าถึง)

    พระองค์ทรงมีชื่อเสียงในฐานะกวีที่มีผลงานน่ายกย่องหลายชิ้น แต่ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่อ่อนแอที่สุดของจีน ภายหลังจากอาณาจักรถังปลายล่มสลาย องค์หลี่อวี้ถูกจับกุมเป็นเชลยศึกและกักบริเวณอยู่ที่เมืองตงจิง (เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง คือเมืองไคเฟิงปัจจุบัน) โดยองค์เจ้าควงอิ้งปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง หลี่อวี้ได้รับการอวยบรรดาศักดิ์ให้ใหม่เป็นระดับโหว นามว่า ‘เหวยมิ่งโหว’ (ก็คือถูกถอดยศกษัตริย์เนื่องจากชาติล่มสลายไปแล้ว) เขาถูกกักบริเวณอยู่ด้วยกันกับมเหสีองค์ที่สองผู้ซึ่งมาจากสกุลโจวเช่นเดียวกับพระมเหสีองค์แรก นามจริงไม่ปรากฏ เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า ‘เสี่ยวโจวโฮ่ว’ (มเหสีสกุลโจวเล็ก) ว่ากันว่าเขารักนางมาก

    ต่อมาเข้าสู่รัชสมัยขององค์เจ้ากวงอี้ (ฮ่องเต้องค์ที่สองของราชวงศ์ซ่ง) หลี่อวี้ได้ประพันธ์บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้ขึ้น ความหมายของบทกวีแปลได้ประมาณว่า: วันเวลาที่สวยงามสิ้นสุดไปแล้วอย่างรวดเร็ว เมื่อคืนนี้ลมบูรพาโชยมาอีกครา ภายใต้ดวงจันทร์ที่ทอแสงสุกสกาว จะทำอย่างไรให้ลืมความทุกข์ของการที่บ้านเมืองล่มสลาย? สถานที่ที่งดงามคงยังอยู่ แต่คนที่อยู่ในห้วงคะนึงหาคงล้วนแก่ชรากันไปตามเวลาแล้ว หากจะถามว่าใจข้าทุกข์เพียงใด... คงเปรียบได้ดั่งคลื่นนทีที่ไหล่รินสู่ทิศบูรพา

    จะเห็นได้ว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีที่บรรยายถึงความทุกข์ขมขื่นในยามที่มองจันทร์ แต่ถูกองค์เจ้ากวงอี้ตีความหมายว่าหลี่อวี้คิดไม่ซื่อกับราชสำนักซ่ง หวังจะพลิกฟื้นราชวงศ์เดิมขึ้นใหม่ จึงพระราชทานยาพิษให้หลี่อวี้ฆ่าตัวตาย

    แต่มีเรื่องเล่าขานกันว่านี่เป็นเพียงข้ออ้าง ว่ากันว่าองค์เจ้ากวงอี้ทรงรอจังหวะหาข้ออ้างสังหารหลี่อวี้อยู่แล้วเพราะทรงหลงไหลในชายาเสี่ยวโจวของหลี่อวี้ผู้ซึ่งงามพิลาส ถึงกับทรงล่อลวงนางเข้าวังแล้วขืนใจและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ในวัง จากนั้นมีการบังคับขืนใจนางอีกหลายครั้งครา มีการเล่าขานว่าทรงถึงขนาดให้จิตรกรมาวาดภาพขณะกำลังย่ำยีนางเพื่อส่งให้หลี่อวี้ดูเป็นการขยี้ใจ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจของบทกวีนี้ขึ้น... ข้อเท็จจริงใช่อย่างนี้หรือไม่? ไม่มีใครยืนยันได้ มีการกล่าวไว้เพียงว่าบทกวีอวี๋เหม่ยเหรินนี้ทำให้หลี่อวี้ถูกพระราชทานยาพิษตาย แต่ก็มีเอกสารเรื่องเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ในสมัยหมิงที่กล่าวถึงภาพวาดที่องค์เจ้ากวงอี้ได้ทรงให้คนวาดขึ้นนี้

    นอกจากชื่อบทกวีแล้ว ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ ยังเป็นชื่อเรียกดอกป๊อปปี้ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึงความทุกข์และการตายจากพลัดพรากมาแต่จีนโบราณอีกด้วย

    วันนี้จบกันแบบสั้นๆ เศร้าๆ อย่างนี้แล

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://image.tmdb.org/t/p/original/enj2s0CNvp2oaf84j87H8Vsdbr0.jpg
    https://bowuguan.bucm.edu.cn/kpzl/zyyzs/57214.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.lllst.com/guoxuejingdian/scmj/271349.html
    https://baike.baidu.com/item/虞美人·春花秋月何时了/10926799
    https://www.jianshu.com/p/8ff00c387fbe
    https://baike.sogou.com/v6849891.htm
    https://www.guwenxuexi.com/classical/24854.html
    https://k.sina.cn/article_1659337544_62e77b48001003bvc.html

    #บุปผาวสันต์ #จันทราสารทฤดู #ชุนฮวาชิวเยวี่ย #อวี๋เหม่ยเหริน #หลี่อวี
    ** โฉมงามอวี๋ บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู ** สวัสดีค่ะ ก่อนอื่น Storyฯ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาและหวังเพื่อนเพจทั้งหลายแคล้วคลาดปลอดภัย สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงสีแดงจากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> มีการกล่าวถึงบทกวีที่มีชื่อว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人) หรือ ‘โฉมงามอวี๋’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมากแล้วแต่บทความถูกลบไป (อาจด้วยมีลิ้งค์ที่ต้องห้าม) วันนี้เลยแก้ไขแล้วเอามาลงใหม่ให้อ่านกัน ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีเลื่องชื่อของจีน และถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู> โดยชื่อของนางเอกพระเอก ‘ชุนฮวา’ และ ‘ชิวเยวี่ย’ มาจากวลีหนึ่งในบทกวีนี้ ซึ่งก็คือ ‘ชุนฮวาชิวเยวี่ยเหอสือเหลี่ยว หว่างซื่อจือตัวส่าว?’ (春花秋月何时了,往事知多少?) แปลตรงตัวว่า ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดูสิ้นสุดไปเมื่อใด มีเรื่องราวมากน้อยเท่าไรให้รำลึกถึง?’ โดยในซีรีส์เรื่องนี้มีการกล่าวถึงวรรคแรกของวลีนี้อยู่บ่อยครั้ง ฟังดูเหงาๆ โรแมนติก เป็นวลีฮอตฮิตยามชมจันทร์ ละครเรื่องนี้ก็เป็นแนวรักตลก จะมีเพื่อนเพจกี่ท่านที่ทราบถึงความเจ็บปวดที่แฝงไว้อยู่ในบทกวีนี้? บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทประพันธ์ขององค์หลี่อวี้ (ค.ศ. 937-978) ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถังปลายในช่วงยุคสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น (คือคนเดียวกับที่สั่งให้จิตรกรไปวาดภาพงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่ายที่ Storyฯ เคยเล่าถึง) พระองค์ทรงมีชื่อเสียงในฐานะกวีที่มีผลงานน่ายกย่องหลายชิ้น แต่ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่อ่อนแอที่สุดของจีน ภายหลังจากอาณาจักรถังปลายล่มสลาย องค์หลี่อวี้ถูกจับกุมเป็นเชลยศึกและกักบริเวณอยู่ที่เมืองตงจิง (เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง คือเมืองไคเฟิงปัจจุบัน) โดยองค์เจ้าควงอิ้งปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง หลี่อวี้ได้รับการอวยบรรดาศักดิ์ให้ใหม่เป็นระดับโหว นามว่า ‘เหวยมิ่งโหว’ (ก็คือถูกถอดยศกษัตริย์เนื่องจากชาติล่มสลายไปแล้ว) เขาถูกกักบริเวณอยู่ด้วยกันกับมเหสีองค์ที่สองผู้ซึ่งมาจากสกุลโจวเช่นเดียวกับพระมเหสีองค์แรก นามจริงไม่ปรากฏ เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า ‘เสี่ยวโจวโฮ่ว’ (มเหสีสกุลโจวเล็ก) ว่ากันว่าเขารักนางมาก ต่อมาเข้าสู่รัชสมัยขององค์เจ้ากวงอี้ (ฮ่องเต้องค์ที่สองของราชวงศ์ซ่ง) หลี่อวี้ได้ประพันธ์บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้ขึ้น ความหมายของบทกวีแปลได้ประมาณว่า: วันเวลาที่สวยงามสิ้นสุดไปแล้วอย่างรวดเร็ว เมื่อคืนนี้ลมบูรพาโชยมาอีกครา ภายใต้ดวงจันทร์ที่ทอแสงสุกสกาว จะทำอย่างไรให้ลืมความทุกข์ของการที่บ้านเมืองล่มสลาย? สถานที่ที่งดงามคงยังอยู่ แต่คนที่อยู่ในห้วงคะนึงหาคงล้วนแก่ชรากันไปตามเวลาแล้ว หากจะถามว่าใจข้าทุกข์เพียงใด... คงเปรียบได้ดั่งคลื่นนทีที่ไหล่รินสู่ทิศบูรพา จะเห็นได้ว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีที่บรรยายถึงความทุกข์ขมขื่นในยามที่มองจันทร์ แต่ถูกองค์เจ้ากวงอี้ตีความหมายว่าหลี่อวี้คิดไม่ซื่อกับราชสำนักซ่ง หวังจะพลิกฟื้นราชวงศ์เดิมขึ้นใหม่ จึงพระราชทานยาพิษให้หลี่อวี้ฆ่าตัวตาย แต่มีเรื่องเล่าขานกันว่านี่เป็นเพียงข้ออ้าง ว่ากันว่าองค์เจ้ากวงอี้ทรงรอจังหวะหาข้ออ้างสังหารหลี่อวี้อยู่แล้วเพราะทรงหลงไหลในชายาเสี่ยวโจวของหลี่อวี้ผู้ซึ่งงามพิลาส ถึงกับทรงล่อลวงนางเข้าวังแล้วขืนใจและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ในวัง จากนั้นมีการบังคับขืนใจนางอีกหลายครั้งครา มีการเล่าขานว่าทรงถึงขนาดให้จิตรกรมาวาดภาพขณะกำลังย่ำยีนางเพื่อส่งให้หลี่อวี้ดูเป็นการขยี้ใจ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจของบทกวีนี้ขึ้น... ข้อเท็จจริงใช่อย่างนี้หรือไม่? ไม่มีใครยืนยันได้ มีการกล่าวไว้เพียงว่าบทกวีอวี๋เหม่ยเหรินนี้ทำให้หลี่อวี้ถูกพระราชทานยาพิษตาย แต่ก็มีเอกสารเรื่องเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ในสมัยหมิงที่กล่าวถึงภาพวาดที่องค์เจ้ากวงอี้ได้ทรงให้คนวาดขึ้นนี้ นอกจากชื่อบทกวีแล้ว ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ ยังเป็นชื่อเรียกดอกป๊อปปี้ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึงความทุกข์และการตายจากพลัดพรากมาแต่จีนโบราณอีกด้วย วันนี้จบกันแบบสั้นๆ เศร้าๆ อย่างนี้แล (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://image.tmdb.org/t/p/original/enj2s0CNvp2oaf84j87H8Vsdbr0.jpg https://bowuguan.bucm.edu.cn/kpzl/zyyzs/57214.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.lllst.com/guoxuejingdian/scmj/271349.html https://baike.baidu.com/item/虞美人·春花秋月何时了/10926799 https://www.jianshu.com/p/8ff00c387fbe https://baike.sogou.com/v6849891.htm https://www.guwenxuexi.com/classical/24854.html https://k.sina.cn/article_1659337544_62e77b48001003bvc.html #บุปผาวสันต์ #จันทราสารทฤดู #ชุนฮวาชิวเยวี่ย #อวี๋เหม่ยเหริน #หลี่อวี
    0 Comments 0 Shares 455 Views 0 Reviews
  • เฮียชอว์ ชวนฟัง 16.00 -18.00 น.
    เพลงไทย-สากลยุค​ 80,90​ ถึงบัดนาว
    โคราช​คลื่น​ 89.75​ SWEET​ WAVE
    คลิกรับฟัง​ >>> www.dongpleng.com
    DongPleng On Air - ทุกอารมณ์เพลง
    ศิลปะ​ ดนตรั กวี​ ธรรมชาติ
    #ดงเพลงออนแอร์ #dongplengonair #ชอว์พิชิต #ศิลปะดนตรีกวีธรรมชาติ #เสียงเพลงสร้างสรรค์ #ชอว์เชอร์รี่ดั๊ก #วิทยุอารมณ์ดี #Sherryduck #เฮียชอว์ชวนคุย #เพลงไทย #เพลงสากล #อัลเทอร์เนทีฟ90 #เฮียชอว์ชวนฟัง #เฮียชอว์ชายทุ่ง #วิทยุออนไลน์ #sweetwave #โคราชหวานมาก
    เฮียชอว์ ชวนฟัง 16.00 -18.00 น. เพลงไทย-สากลยุค​ 80,90​ ถึงบัดนาว โคราช​คลื่น​ 89.75​ SWEET​ WAVE คลิกรับฟัง​ >>> www.dongpleng.com DongPleng On Air - ทุกอารมณ์เพลง ศิลปะ​ ดนตรั กวี​ ธรรมชาติ #ดงเพลงออนแอร์ #dongplengonair #ชอว์พิชิต #ศิลปะดนตรีกวีธรรมชาติ #เสียงเพลงสร้างสรรค์ #ชอว์เชอร์รี่ดั๊ก #วิทยุอารมณ์ดี #Sherryduck #เฮียชอว์ชวนคุย #เพลงไทย #เพลงสากล #อัลเทอร์เนทีฟ90 #เฮียชอว์ชวนฟัง #เฮียชอว์ชายทุ่ง #วิทยุออนไลน์ #sweetwave #โคราชหวานมาก
    Dongpleng On Air : Variety Music Radio From Thailand
    Dongpleng On Air : Variety Music Radio From Thailand
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 251 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ
    จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”...
    - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
    (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’?

    ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯)

    ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน

    แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว

    ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง

    หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ

    เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก

    วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3
    https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000
    http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html
    https://www.sohu.com/a/410514175_189939

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย ความมีอยู่ว่า ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”... - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’? ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯) ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3 https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000 http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html https://www.sohu.com/a/410514175_189939 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    MERCURY0314.PIXNET.NET
    《錦衣之下》分集劇情+心得分享(第1-55集大結局劇情)任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、姚奕辰、路宏主演,劇情角色演員介紹,根據藍色獅的同名小說改編,將「懸疑推理」與「古裝言情」相結合,一下夫婦劇中高甜互動,十分引人期待!
    錦衣之下 任嘉倫譚松韻主演 2019年末古裝大劇接連播出, 真的是讓人追劇追到上頭了, 這不又有一波優質古裝劇要開播, 那就是任嘉倫、譚松韻主演的 《錦衣之下》。 其實這部早在2018年
    1 Comments 0 Shares 410 Views 0 Reviews
  • 120 ปี สิ้น “ฮัปมาสเตน” กัปตันบุช จากนายทหารเรือรบอังกฤษ สู่พลเรือเอกพระยาวิสูตรสาครดิฐ ข้าราชการต้นแบบแห่งสยาม

    📌 จากนายทหารเรือชาวอังกฤษผู้บังคับการเรือรบ สู่ข้าราชการไทยผู้จงรักภักดี "กัปตันจอห์น บุช" หรือ พลเรือเอก พระยาวิสูตรสาครดิฐ มีบทบาทสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์สยาม ทั้งในราชสำนักและกิจการท่าเรือ ครบร 120 ปี แห่งการจากไป ย้อนรอยชีวิตของ “กัปตันบุช” ที่กลายเป็นตำนานแห่งเจริญกรุง

    🧭 เมื่อกัปตันฝรั่ง กลายเป็นข้าราชการไทย หากเอ่ยถึง “ตรอกกัปตันบุช” หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่า ชื่อซอยเล็ก ๆ นี้ แท้จริงแล้วตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ แด่ชายชาวอังกฤษคนหนึ่ง ที่อุทิศชีวิตกว่า 40 ปี ให้กับราชสำนักไทย และราชการกรมเจ้าท่า "พลเรือเอก พระยาวิสูตรสาครดิฐ" หรือที่รู้จักกันในนาม "กัปตันบุช" (Captain John Bush) หรือ “ฮัปมาสเตน” ในเสียงคนไทยสมัยก่อน 🕊️

    ⚓ กัปตัน จอห์น บุช (John Bush) คือทหารเรือชาวอังกฤษ ที่เข้ารับราชการในราชสำนักไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มต้นจากการเป็นกัปตันเรือรบอังกฤษ ที่เทียบท่าในกรุงเทพฯ ก่อนจะได้รับการชักชวนจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ให้มาเป็นข้าราชการกรมเจ้าท่า

    ต่อมาได้รับตำแหน่ง "ฮัปมาสเตน" (Harbour Master) หรือนายท่าเรือ ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญ ในยุคที่สยามเปิดประเทศตามสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) ปี พ.ศ. 2398 โดยมีภารกิจจัดระเบียบเรือพาณิชย์ต่างชาติ ที่หลั่งไหลเข้าสยาม

    กัปตันบุชมีชื่อเสียงอย่างมากในยุคนั้น และในที่สุด ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาวิสูตรสาครดิฐ" พร้อมยศ "พลเรือเอก" ถือเป็นชาวต่างชาติไม่กี่คน ที่ได้รับเกียรติสูงเช่นนี้จากสยาม

    🇹🇭 กัปตันฝรั่งผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท หนึ่งในผลงานที่โดดเด่นที่สุดของกัปตันบุช คือการทำหน้าที่ บังคับการเรือพระที่นั่ง ในการเสด็จประพาสของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 🌍 อาทิ เสด็จสิงคโปร์และอินเดีย พ.ศ. 2413–2414 🚢 เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ และเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชวังบางปะอิน

    📜 เรื่องราวเหล่านี้ ไม่เพียงสะท้อนความไว้วางพระราชหฤทัย ที่ทั้งสองพระองค์มีต่อกัปตันบุช แต่ยังแสดงถึงการบุกเบิกยุคใหม่ของการเดินเรือ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในยุคนั้น

    🚢 อู่เรือบางกอกด็อค Bangkok Dock จุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมเดินเรือไทย นอกจากบทบาทราชการแล้ว กัปตันบุชยังเป็นนักธุรกิจผู้มีวิสัยทัศน์ โดยในปี พ.ศ. 2408 ได้ก่อตั้ง อู่เรือบางกอกด็อค (Bangkok Dock) ขึ้น ซึ่งกลายเป็นอู่ซ่อมเรือที่ใหญ่ และทันสมัยที่สุดในกรุงเทพฯ ยุคนั้น

    อู่แห่งนี้สามารถรองรับการซ่อมเรือ จากทั้งงานหลวงและเอกชน ไม่ต้องส่งเรือไปซ่อมถึงสิงคโปร์อีกต่อไป! 🤝💼

    ✨ “กัปตันบุชคือผู้วางรากฐาน ด้านพาณิชย์นาวีของไทยในยุคใหม่” คำกล่าวจากพิธีเปิดอนุสาวรีย์ที่กรมเจ้าท่า

    📚 ตำนานฮัปมาสเตน และการอ่านชื่อแบบไทย กัปตันบุชได้รับสมญานามว่า “ฮัปมาสเตน” จากคำว่า Harbour Master ที่คนไทยเรียกเพี้ยนตามสำเนียงโบราณ เช่นเดียวกับชื่อ “กัปตันบุด” ที่คนไทยใช้เรียกแทน “Captain Bush” ซึ่งสะท้อนถึงความกลมกลืนในวัฒนธรรมไทย 🎭

    💬 “กับตันบุด” คำนี้ติดปากชาวบ้านจนปัจจุบัน แม้จะไม่มีใครรู้ว่าเป็นใครโดยละเอียด

    🕯️ จุดเปลี่ยนชีวิต...จากวีรบุรุษสู่บทเรียนราคาแพง ถึงแม้กัปตันบุชจะมีบทบาทสำคัญยิ่งในราชสำนัก แต่ก็ประสบกับเหตุการณ์ที่ทำให้บทบาทลดลง นั่นคือเหตุการณ์ เรือพระที่นั่งเวสาตรี เกยหินที่ปากแม่น้ำกลัง พ.ศ. 2433

    เหตุการณ์นี้ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงไม่โปรด ให้กัปตันบุชบังคับเรืออีกต่อไป แม้กัปตันบุชจะเขียนรายงานชี้แจงว่า ไม่ใช่ความผิดของตนก็ตาม 📄

    แม้จะกลายเป็นความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ลบล้างคุณูปการอันใหญ่หลวงในอดีต 🙏

    🏠 ชีวิตช่วงบั้นปลาย การจากไปในสยาม หลังเกษียณ กัปตันบุชใช้ชีวิตอย่างสงบ ที่บ้านริมทะเลในอ่างศิลา จังหวัดชลบุรีต้อนรับนักเรียนและแขกต่างชาติอย่างอบอุ่น จนกลายเป็นที่รักของชาวบ้านท้องถิ่น 🏖️

    📅 กัปตันบุชเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2448 ขณะมีอายุ 86 ปี หลังจากใช้ชีวิตเกือบทั้งชีวิต ในราชอาณาจักรสยาม โดยมีอนุสาวรีย์ตั้งอยู่ที่สุสานโปรเตสแตนต์ ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ

    🏛️ อนุสรณ์และเกียรติประวัติที่คงอยู่ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557 กรมเจ้าท่าได้จัดพิธีเปิดอนุสาวรีย์ พระยาวิสูตรสาครดิฐ อย่างเป็นทางการ เพื่อรำลึกถึงคุณูปการอันยิ่งใหญ่ 🕯️

    ✨ “ประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องของอดีต แต่เป็นรากฐานของอนาคต” คำกล่าวของอธิบดีกรมเจ้าท่า

    📚 "กัปตันบุช" ตำนานที่ไม่ควรถูกลืม ไม่ใช่เพียงแค่กัปตันฝรั่งที่มีตรอกตั้งชื่อตาม แต่คือผู้บุกเบิกท่าเรือ พัฒนาอุตสาหกรรมเดินเรือ และรับราชการอย่างภักดีต่อราชวงศ์ไทย เป็นแบบอย่างของความซื่อสัตย์ วิสัยทัศน์ และการผสานวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน

    🎖️ คุณูปการของกัปตันบุช ควรค่าแก่การเรียนรู้ ไม่ใช่เพียงเพื่อจดจำ แต่เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ ให้คนไทยทุกยุคทุกสมัย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 031057 เม.ย. 2568

    📲#กัปตันบุช #ประวัติศาสตร์ไทย #บุคคลสำคัญสยาม #อู่กรุงเทพ #เจ้าท่า #เรือพระที่นั่ง #ข้าราชการอังกฤษในไทย #ฮัปมาสเตน #ตรอกกัปตันบุช #CaptainBush
    120 ปี สิ้น “ฮัปมาสเตน” กัปตันบุช จากนายทหารเรือรบอังกฤษ สู่พลเรือเอกพระยาวิสูตรสาครดิฐ ข้าราชการต้นแบบแห่งสยาม 📌 จากนายทหารเรือชาวอังกฤษผู้บังคับการเรือรบ สู่ข้าราชการไทยผู้จงรักภักดี "กัปตันจอห์น บุช" หรือ พลเรือเอก พระยาวิสูตรสาครดิฐ มีบทบาทสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์สยาม ทั้งในราชสำนักและกิจการท่าเรือ ครบร 120 ปี แห่งการจากไป ย้อนรอยชีวิตของ “กัปตันบุช” ที่กลายเป็นตำนานแห่งเจริญกรุง 🧭 เมื่อกัปตันฝรั่ง กลายเป็นข้าราชการไทย หากเอ่ยถึง “ตรอกกัปตันบุช” หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่า ชื่อซอยเล็ก ๆ นี้ แท้จริงแล้วตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ แด่ชายชาวอังกฤษคนหนึ่ง ที่อุทิศชีวิตกว่า 40 ปี ให้กับราชสำนักไทย และราชการกรมเจ้าท่า "พลเรือเอก พระยาวิสูตรสาครดิฐ" หรือที่รู้จักกันในนาม "กัปตันบุช" (Captain John Bush) หรือ “ฮัปมาสเตน” ในเสียงคนไทยสมัยก่อน 🕊️ ⚓ กัปตัน จอห์น บุช (John Bush) คือทหารเรือชาวอังกฤษ ที่เข้ารับราชการในราชสำนักไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มต้นจากการเป็นกัปตันเรือรบอังกฤษ ที่เทียบท่าในกรุงเทพฯ ก่อนจะได้รับการชักชวนจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ให้มาเป็นข้าราชการกรมเจ้าท่า ต่อมาได้รับตำแหน่ง "ฮัปมาสเตน" (Harbour Master) หรือนายท่าเรือ ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญ ในยุคที่สยามเปิดประเทศตามสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) ปี พ.ศ. 2398 โดยมีภารกิจจัดระเบียบเรือพาณิชย์ต่างชาติ ที่หลั่งไหลเข้าสยาม กัปตันบุชมีชื่อเสียงอย่างมากในยุคนั้น และในที่สุด ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาวิสูตรสาครดิฐ" พร้อมยศ "พลเรือเอก" ถือเป็นชาวต่างชาติไม่กี่คน ที่ได้รับเกียรติสูงเช่นนี้จากสยาม 🇹🇭 กัปตันฝรั่งผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท หนึ่งในผลงานที่โดดเด่นที่สุดของกัปตันบุช คือการทำหน้าที่ บังคับการเรือพระที่นั่ง ในการเสด็จประพาสของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 🌍 อาทิ เสด็จสิงคโปร์และอินเดีย พ.ศ. 2413–2414 🚢 เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ และเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชวังบางปะอิน 📜 เรื่องราวเหล่านี้ ไม่เพียงสะท้อนความไว้วางพระราชหฤทัย ที่ทั้งสองพระองค์มีต่อกัปตันบุช แต่ยังแสดงถึงการบุกเบิกยุคใหม่ของการเดินเรือ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในยุคนั้น 🚢 อู่เรือบางกอกด็อค Bangkok Dock จุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมเดินเรือไทย นอกจากบทบาทราชการแล้ว กัปตันบุชยังเป็นนักธุรกิจผู้มีวิสัยทัศน์ โดยในปี พ.ศ. 2408 ได้ก่อตั้ง อู่เรือบางกอกด็อค (Bangkok Dock) ขึ้น ซึ่งกลายเป็นอู่ซ่อมเรือที่ใหญ่ และทันสมัยที่สุดในกรุงเทพฯ ยุคนั้น อู่แห่งนี้สามารถรองรับการซ่อมเรือ จากทั้งงานหลวงและเอกชน ไม่ต้องส่งเรือไปซ่อมถึงสิงคโปร์อีกต่อไป! 🤝💼 ✨ “กัปตันบุชคือผู้วางรากฐาน ด้านพาณิชย์นาวีของไทยในยุคใหม่” คำกล่าวจากพิธีเปิดอนุสาวรีย์ที่กรมเจ้าท่า 📚 ตำนานฮัปมาสเตน และการอ่านชื่อแบบไทย กัปตันบุชได้รับสมญานามว่า “ฮัปมาสเตน” จากคำว่า Harbour Master ที่คนไทยเรียกเพี้ยนตามสำเนียงโบราณ เช่นเดียวกับชื่อ “กัปตันบุด” ที่คนไทยใช้เรียกแทน “Captain Bush” ซึ่งสะท้อนถึงความกลมกลืนในวัฒนธรรมไทย 🎭 💬 “กับตันบุด” คำนี้ติดปากชาวบ้านจนปัจจุบัน แม้จะไม่มีใครรู้ว่าเป็นใครโดยละเอียด 🕯️ จุดเปลี่ยนชีวิต...จากวีรบุรุษสู่บทเรียนราคาแพง ถึงแม้กัปตันบุชจะมีบทบาทสำคัญยิ่งในราชสำนัก แต่ก็ประสบกับเหตุการณ์ที่ทำให้บทบาทลดลง นั่นคือเหตุการณ์ เรือพระที่นั่งเวสาตรี เกยหินที่ปากแม่น้ำกลัง พ.ศ. 2433 เหตุการณ์นี้ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงไม่โปรด ให้กัปตันบุชบังคับเรืออีกต่อไป แม้กัปตันบุชจะเขียนรายงานชี้แจงว่า ไม่ใช่ความผิดของตนก็ตาม 📄 แม้จะกลายเป็นความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ลบล้างคุณูปการอันใหญ่หลวงในอดีต 🙏 🏠 ชีวิตช่วงบั้นปลาย การจากไปในสยาม หลังเกษียณ กัปตันบุชใช้ชีวิตอย่างสงบ ที่บ้านริมทะเลในอ่างศิลา จังหวัดชลบุรีต้อนรับนักเรียนและแขกต่างชาติอย่างอบอุ่น จนกลายเป็นที่รักของชาวบ้านท้องถิ่น 🏖️ 📅 กัปตันบุชเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2448 ขณะมีอายุ 86 ปี หลังจากใช้ชีวิตเกือบทั้งชีวิต ในราชอาณาจักรสยาม โดยมีอนุสาวรีย์ตั้งอยู่ที่สุสานโปรเตสแตนต์ ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ 🏛️ อนุสรณ์และเกียรติประวัติที่คงอยู่ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557 กรมเจ้าท่าได้จัดพิธีเปิดอนุสาวรีย์ พระยาวิสูตรสาครดิฐ อย่างเป็นทางการ เพื่อรำลึกถึงคุณูปการอันยิ่งใหญ่ 🕯️ ✨ “ประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องของอดีต แต่เป็นรากฐานของอนาคต” คำกล่าวของอธิบดีกรมเจ้าท่า 📚 "กัปตันบุช" ตำนานที่ไม่ควรถูกลืม ไม่ใช่เพียงแค่กัปตันฝรั่งที่มีตรอกตั้งชื่อตาม แต่คือผู้บุกเบิกท่าเรือ พัฒนาอุตสาหกรรมเดินเรือ และรับราชการอย่างภักดีต่อราชวงศ์ไทย เป็นแบบอย่างของความซื่อสัตย์ วิสัยทัศน์ และการผสานวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน 🎖️ คุณูปการของกัปตันบุช ควรค่าแก่การเรียนรู้ ไม่ใช่เพียงเพื่อจดจำ แต่เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ ให้คนไทยทุกยุคทุกสมัย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 031057 เม.ย. 2568 📲#กัปตันบุช #ประวัติศาสตร์ไทย #บุคคลสำคัญสยาม #อู่กรุงเทพ #เจ้าท่า #เรือพระที่นั่ง #ข้าราชการอังกฤษในไทย #ฮัปมาสเตน #ตรอกกัปตันบุช #CaptainBush
    0 Comments 0 Shares 570 Views 0 Reviews
  • Anthropic ใช้เทคนิค Circuit Tracing เพื่อติดตามวิธีการประมวลผลของ Claude ซึ่งเผยให้เห็นถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ เช่น การประมวลแนวคิดข้ามภาษา การคำนวณในรูปแบบสร้างสรรค์ และการแต่งบทกวีที่วางแผนล่วงหน้า งานนี้ช่วยให้เราเริ่มเข้าใจการทำงานของ LLMs มากขึ้น แต่ยังมีเรื่องที่ต้องศึกษาอีกมาก

    การเชื่อมโยงระหว่างภาษาต่าง ๆ:
    - การทดลองพบว่า Claude ใช้ "วงจรภาษากลาง" ในการตอบคำถาม เช่น คำถามว่า "อะไรคือตรงข้ามของคำว่าเล็ก" ในหลายภาษา Claude จะหาความหมายในแนวคิดเชิงนามธรรม (abstract concepts) ก่อนเลือกคำศัพท์ในภาษาเฉพาะ แสดงถึงความสามารถในการประมวลผลข้ามภาษา.

    การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ไม่ธรรมดา:
    - Claude ใช้วิธีคำนวณที่ดูแปลก เช่น การประมาณตัวเลขที่ใกล้เคียง ("40ish and 60ish") แล้วรวมข้อมูลอื่น ๆ เพื่อหาคำตอบ โดยไม่ใช้วิธีการแก้โจทย์แบบทั่วไปที่เรียนในโรงเรียน.

    การแต่งบทกวี:
    - Claude สามารถวางแผนล่วงหน้า เช่น การเลือกคำสุดท้ายสำหรับร้อยกรองก่อนสร้างประโยคที่เหลือ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพในการมองภาพรวมและความสามารถที่ไม่ใช่แค่การคาดเดาคำศัพท์ต่อ ๆ ไปตามลำดับ.

    ความหมายเชิงลึกของ Circuit Tracing:
    - การศึกษานี้เป็นแค่ "ยอดของภูเขาน้ำแข็ง" เพราะการแกะรอยกระบวนการของ AI ยังคงใช้เวลามาก และยังมีสิ่งที่ต้องค้นหาอีกมากมายในอนาคต

    https://www.techspot.com/news/107347-finally-beginning-understand-how-llms-work-no-they.html
    Anthropic ใช้เทคนิค Circuit Tracing เพื่อติดตามวิธีการประมวลผลของ Claude ซึ่งเผยให้เห็นถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ เช่น การประมวลแนวคิดข้ามภาษา การคำนวณในรูปแบบสร้างสรรค์ และการแต่งบทกวีที่วางแผนล่วงหน้า งานนี้ช่วยให้เราเริ่มเข้าใจการทำงานของ LLMs มากขึ้น แต่ยังมีเรื่องที่ต้องศึกษาอีกมาก การเชื่อมโยงระหว่างภาษาต่าง ๆ: - การทดลองพบว่า Claude ใช้ "วงจรภาษากลาง" ในการตอบคำถาม เช่น คำถามว่า "อะไรคือตรงข้ามของคำว่าเล็ก" ในหลายภาษา Claude จะหาความหมายในแนวคิดเชิงนามธรรม (abstract concepts) ก่อนเลือกคำศัพท์ในภาษาเฉพาะ แสดงถึงความสามารถในการประมวลผลข้ามภาษา. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ไม่ธรรมดา: - Claude ใช้วิธีคำนวณที่ดูแปลก เช่น การประมาณตัวเลขที่ใกล้เคียง ("40ish and 60ish") แล้วรวมข้อมูลอื่น ๆ เพื่อหาคำตอบ โดยไม่ใช้วิธีการแก้โจทย์แบบทั่วไปที่เรียนในโรงเรียน. การแต่งบทกวี: - Claude สามารถวางแผนล่วงหน้า เช่น การเลือกคำสุดท้ายสำหรับร้อยกรองก่อนสร้างประโยคที่เหลือ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพในการมองภาพรวมและความสามารถที่ไม่ใช่แค่การคาดเดาคำศัพท์ต่อ ๆ ไปตามลำดับ. ความหมายเชิงลึกของ Circuit Tracing: - การศึกษานี้เป็นแค่ "ยอดของภูเขาน้ำแข็ง" เพราะการแกะรอยกระบวนการของ AI ยังคงใช้เวลามาก และยังมีสิ่งที่ต้องค้นหาอีกมากมายในอนาคต https://www.techspot.com/news/107347-finally-beginning-understand-how-llms-work-no-they.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    We are finally beginning to understand how LLMs work: No, they don't simply predict word after word
    Circuit tracing is a relatively new technique that lets researchers track how an AI model builds its answers step by step – like following the wiring in...
    0 Comments 0 Shares 254 Views 0 Reviews
  • “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深)

    ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล)

    ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง!

    ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦)

    ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป

    จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้

    เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47
    https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深
    https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump

    #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深) ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล) ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง! ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦) ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47 https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深 https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    腾讯网
    腾讯网从2003年创立至今,已经成为集新闻信息,区域垂直生活服务、社会化媒体资讯和产品为一体的互联网媒体平台。腾讯网下设新闻、科技、财经、娱乐、体育、汽车、时尚等多个频道,充分满足用户对不同类型资讯的需求。同时专注不同领域内容,打造精品栏目,并顺应技术发展趋势,推出网络直播等创新形式,改变了用户获取资讯的方式和习惯。
    1 Comments 0 Shares 565 Views 0 Reviews
  • **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 Comments 0 Shares 870 Views 0 Reviews
  • 199 ปี ทัพลาวพ่าย ถอยร่นจากโคราช ย่าโมตั้งการ์ดสู้ เจ้าอนุวงศ์เผ่นกระเจิง

    ย้อนรอยศึกสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ไทย-ลาว กับเรื่องราววีรกรรมของท้าวสุรนารี และบทสรุปของการปะทะ ที่ยังคงถกเถียงถึงทุกวันนี้ ⚔️

    📝 ย้อนไปเมื่อ 199 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 เหตุการณ์ "สงครามปราบเจ้าอนุวงศ์" หรือที่รู้จักกันว่า "วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์" นำโดย "ท้าวสุรนารี" หรือ "คุณหญิงโม" วีรสตรีแห่งเมืองโคราช ที่ถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และการเสียสละของหญิงไทย ในการปกป้องบ้านเมืองจากการรุกรานของกองทัพเวียงจันทน์ ภายใต้การนำของเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์นครเวียงจันทน์องค์สุดท้าย

    📜 แต่เบื้องหลังเรื่องเล่าแห่งวีรกรรมครั้งนี้ ยังมีหลายแง่มุมที่ซับซ้อน ทั้งในมิติประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง ทั้งในสายตาของไทยและลาว

    🌾 บริบททางประวัติศาสตร์ ชนวนเหตุความขัดแย้ง สถานการณ์บ้านเมืองก่อนสงคราม ช่วงปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ราชอาณาจักรสยาม กำลังเผชิญปัญหาภายในหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความไม่สงบ ในหัวเมืองทางเหนือและอีสาน รวมถึงภัยคุกคามจากจักรวรรดิอังกฤษ ที่กำลังแผ่อิทธิพลเข้ามา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ในปี พ.ศ. 2367 รัชกาลที่ 2 สวรรคต กองทัพและระบบการปกครองสยาม กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจ ไปสู่รัชสมัยของรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเคยมีความสัมพันธ์อันดี ในฐานะประเทศราช กลับรู้สึกไม่พอใจ ที่คำขอส่งตัวชาวลาวและเชลยศึก ที่ถูกกวาดต้อนในอดีตไม่เป็นผล จึงมองเห็นโอกาส ในการกอบกู้เอกราชของนครเวียงจันทน์

    เป้าหมายของเจ้าอนุวงศ์ มีพระราชปณิธานแน่วแน่ ที่จะปลดปล่อยนครเวียงจันทน์ จากการเป็นประเทศราชของสยาม โดยเชื่อว่าช่วงเปลี่ยนผ่านรัชสมัยนี้ สยามจะอ่อนแอลง นำมาสู่แผนการยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา และกรุงเทพมหานครในที่สุด 🚩

    ⚔️ ศึกทุ่งสัมฤทธิ์ บทบาทของท้าวสุรนารี กองทัพลาวยึดเมืองนครราชสีมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ายึดเมืองนครราชสีมาโดยง่าย เนื่องจากพระยาปลัดทองคำ ผู้รักษาเมืองไม่อยู่ ชาวเมืองถูกกวาดต้อนเป็นเชลย รวมถึงคุณหญิงโม และราชบริพาร ถูกนำไปยังเวียงจันทน์ ผ่านเส้นทางเมืองพิมาย

    แผนปลดแอกของคุณหญิงโม วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 ระหว่างการเดินทาง คุณหญิงโมร่วมมือกับนางสาวบุญเหลือ และชาวบ้านคิดแผนปลดแอก โดยหลอกล่อให้ทหารลาวประมาท จนในคืนวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงพิมาย ชาวนครราชสีมาร่วมกันลุกฮือยึดอาวุธ ทำให้กองทัพลาวแตกพ่าย

    🔥 จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้น เมื่อนางสาวบุญเหลือ จุดไฟเผากองเกวียนที่บรรทุกดินปืน ส่งผลให้เกิดระเบิดครั้งใหญ่ ทำให้เพี้ยรามพิชัยและทหารลาว เสียชีวิตจำนวนมาก สถานที่นี้จึงถูกเรียกว่า "หนองหัวลาว" จวบจนปัจจุบัน

    🏹 เจ้าอนุวงศ์ถอยทัพ ผลกระทบในระดับภูมิภาค การถอยร่นของเจ้าอนุวงศ์ เมื่อกองทัพจากกรุงเทพฯ นำโดย กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ เดินทัพถึงนครราชสีมา เจ้าอนุวงศ์จึงตัดสินใจ ถอนกำลังกลับนครเวียงจันทน์ ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 เพราะเกรงว่าศึกนี้จะยืดเยื้อ จนไม่สามารถรับมือกับกองทัพสยาม ที่กำลังมุ่งหน้ามา

    ผลลัพธ์ของสงคราม ภายหลังการถอยทัพ เจ้าอนุวงศ์และราชวงศ์เวียงจันทน์ ไม่สามารถตั้งตัวรับมือศึกได้ กองทัพสยามตีเวียงจันทน์แตก และอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ อาทิ พระบาง, พระแซกคำ, พระสุก, พระใส มายังกรุงเทพฯ 🏯

    นครเวียงจันทน์สิ้นสุดความเป็นอิสระ และถูกลดฐานะ เป็นหัวเมืองประเทศราชของสยาม

    🌸 ยกย่องวีรกรรมของท้าวสุรนารี ท้าวสุรนารีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 พร้อมพระราชทานเครื่องยศทองคำ 👑 ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรสตรีปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน

    สร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ในปี พ.ศ. 2477 ชาวนครราชสีมาได้ร่วมใจกันสร้าง อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ที่ประตูชุมพล พร้อมนำอัฐิประดิษฐาน ที่ฐานอนุสาวรีย์ อนุสาวรีย์นี้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนโคราชจนถึงปัจจุบัน

    📚 ประเด็นข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ มุมมองของนักประวัติศาสตร์ แม้ตำนานท้าวสุรนารี จะเป็นที่ยอมรับในไทย แต่เอกสารลาว กลับไม่มีบันทึกเรื่องทุ่งสัมฤทธิ์ หรือการกระทำของท้าวสุรนารี กับนางสาวบุญเหลือ ก่อนปี พ.ศ. 2475 นักวิชาการบางคนตั้งข้อสงสัยว่า วีรกรรมนี้อาจเกิดขึ้นจริง แต่ถูกขยายความ เพื่อประโยชน์ทางการเมืองในภายหลัง

    วีรกรรมหรือภาพสร้าง? หนังสือการเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โดย "สายพิน แก้วงามประเสริฐ" ได้ตั้งคำถาม ต่อบทบาทของท้าวสุรนารี ว่าถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ชาติ และการเมืองในยุคสมัยหนึ่ง 🎭

    แต่ไม่ว่าอย่างไร ท้าวสุรนารีก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และการเสียสละ

    🔮 เจ้าอนุวงศ์ในสายตาประวัติศาสตร์ลาว ในสายตาชาวลาว "เจ้าอนุวงศ์" ถือเป็นมหาวีรกษัตริย์ ผู้พยายามกอบกู้เอกราชจากสยาม แม้จะพ่ายแพ้ แต่พระองค์ยังได้รับการยกย่อง ในฐานะนักสู้เพื่อเสรีภาพของลาว 🇱🇦

    ทว่าการมองต่างมุมของทั้งสองฝ่าย แสดงถึงความซับซ้อนของประวัติศาสตร์ ที่ถูกเล่าและจดจำแตกต่างกัน

    🏛️ เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2369 ไม่ใช่เพียงแค่สงครามแย่งชิงอำนาจ แต่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของภูมิภาคอีสานและลุ่มแม่น้ำโขง ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนนี้สอนให้เราเข้าใจว่า "ผู้ชนะ" ไม่ได้เป็นเพียงคนที่รอด แต่เป็นผู้ที่เขียนเรื่องเล่า ในประวัติศาสตร์ด้วย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231634 มี.ค. 2568

    📱 #ท้าวสุรนารี #ย่าโมโคราช #วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ #ประวัติศาสตร์ไทย #เจ้าอนุวงศ์ #สงครามไทยลาว #โคราชต้องรู้ #อนุสาวรีย์ย่าโม #เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ #199ปีทุ่งสัมฤทธิ์
    199 ปี ทัพลาวพ่าย ถอยร่นจากโคราช ย่าโมตั้งการ์ดสู้ เจ้าอนุวงศ์เผ่นกระเจิง ย้อนรอยศึกสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ไทย-ลาว กับเรื่องราววีรกรรมของท้าวสุรนารี และบทสรุปของการปะทะ ที่ยังคงถกเถียงถึงทุกวันนี้ ⚔️ 📝 ย้อนไปเมื่อ 199 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 เหตุการณ์ "สงครามปราบเจ้าอนุวงศ์" หรือที่รู้จักกันว่า "วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์" นำโดย "ท้าวสุรนารี" หรือ "คุณหญิงโม" วีรสตรีแห่งเมืองโคราช ที่ถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และการเสียสละของหญิงไทย ในการปกป้องบ้านเมืองจากการรุกรานของกองทัพเวียงจันทน์ ภายใต้การนำของเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์นครเวียงจันทน์องค์สุดท้าย 📜 แต่เบื้องหลังเรื่องเล่าแห่งวีรกรรมครั้งนี้ ยังมีหลายแง่มุมที่ซับซ้อน ทั้งในมิติประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง ทั้งในสายตาของไทยและลาว 🌾 บริบททางประวัติศาสตร์ ชนวนเหตุความขัดแย้ง สถานการณ์บ้านเมืองก่อนสงคราม ช่วงปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ราชอาณาจักรสยาม กำลังเผชิญปัญหาภายในหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความไม่สงบ ในหัวเมืองทางเหนือและอีสาน รวมถึงภัยคุกคามจากจักรวรรดิอังกฤษ ที่กำลังแผ่อิทธิพลเข้ามา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2367 รัชกาลที่ 2 สวรรคต กองทัพและระบบการปกครองสยาม กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจ ไปสู่รัชสมัยของรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเคยมีความสัมพันธ์อันดี ในฐานะประเทศราช กลับรู้สึกไม่พอใจ ที่คำขอส่งตัวชาวลาวและเชลยศึก ที่ถูกกวาดต้อนในอดีตไม่เป็นผล จึงมองเห็นโอกาส ในการกอบกู้เอกราชของนครเวียงจันทน์ เป้าหมายของเจ้าอนุวงศ์ มีพระราชปณิธานแน่วแน่ ที่จะปลดปล่อยนครเวียงจันทน์ จากการเป็นประเทศราชของสยาม โดยเชื่อว่าช่วงเปลี่ยนผ่านรัชสมัยนี้ สยามจะอ่อนแอลง นำมาสู่แผนการยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา และกรุงเทพมหานครในที่สุด 🚩 ⚔️ ศึกทุ่งสัมฤทธิ์ บทบาทของท้าวสุรนารี กองทัพลาวยึดเมืองนครราชสีมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ายึดเมืองนครราชสีมาโดยง่าย เนื่องจากพระยาปลัดทองคำ ผู้รักษาเมืองไม่อยู่ ชาวเมืองถูกกวาดต้อนเป็นเชลย รวมถึงคุณหญิงโม และราชบริพาร ถูกนำไปยังเวียงจันทน์ ผ่านเส้นทางเมืองพิมาย แผนปลดแอกของคุณหญิงโม วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 ระหว่างการเดินทาง คุณหญิงโมร่วมมือกับนางสาวบุญเหลือ และชาวบ้านคิดแผนปลดแอก โดยหลอกล่อให้ทหารลาวประมาท จนในคืนวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงพิมาย ชาวนครราชสีมาร่วมกันลุกฮือยึดอาวุธ ทำให้กองทัพลาวแตกพ่าย 🔥 จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้น เมื่อนางสาวบุญเหลือ จุดไฟเผากองเกวียนที่บรรทุกดินปืน ส่งผลให้เกิดระเบิดครั้งใหญ่ ทำให้เพี้ยรามพิชัยและทหารลาว เสียชีวิตจำนวนมาก สถานที่นี้จึงถูกเรียกว่า "หนองหัวลาว" จวบจนปัจจุบัน 🏹 เจ้าอนุวงศ์ถอยทัพ ผลกระทบในระดับภูมิภาค การถอยร่นของเจ้าอนุวงศ์ เมื่อกองทัพจากกรุงเทพฯ นำโดย กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ เดินทัพถึงนครราชสีมา เจ้าอนุวงศ์จึงตัดสินใจ ถอนกำลังกลับนครเวียงจันทน์ ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 เพราะเกรงว่าศึกนี้จะยืดเยื้อ จนไม่สามารถรับมือกับกองทัพสยาม ที่กำลังมุ่งหน้ามา ผลลัพธ์ของสงคราม ภายหลังการถอยทัพ เจ้าอนุวงศ์และราชวงศ์เวียงจันทน์ ไม่สามารถตั้งตัวรับมือศึกได้ กองทัพสยามตีเวียงจันทน์แตก และอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ อาทิ พระบาง, พระแซกคำ, พระสุก, พระใส มายังกรุงเทพฯ 🏯 นครเวียงจันทน์สิ้นสุดความเป็นอิสระ และถูกลดฐานะ เป็นหัวเมืองประเทศราชของสยาม 🌸 ยกย่องวีรกรรมของท้าวสุรนารี ท้าวสุรนารีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 พร้อมพระราชทานเครื่องยศทองคำ 👑 ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรสตรีปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน สร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ในปี พ.ศ. 2477 ชาวนครราชสีมาได้ร่วมใจกันสร้าง อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ที่ประตูชุมพล พร้อมนำอัฐิประดิษฐาน ที่ฐานอนุสาวรีย์ อนุสาวรีย์นี้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนโคราชจนถึงปัจจุบัน 📚 ประเด็นข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ มุมมองของนักประวัติศาสตร์ แม้ตำนานท้าวสุรนารี จะเป็นที่ยอมรับในไทย แต่เอกสารลาว กลับไม่มีบันทึกเรื่องทุ่งสัมฤทธิ์ หรือการกระทำของท้าวสุรนารี กับนางสาวบุญเหลือ ก่อนปี พ.ศ. 2475 นักวิชาการบางคนตั้งข้อสงสัยว่า วีรกรรมนี้อาจเกิดขึ้นจริง แต่ถูกขยายความ เพื่อประโยชน์ทางการเมืองในภายหลัง วีรกรรมหรือภาพสร้าง? หนังสือการเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โดย "สายพิน แก้วงามประเสริฐ" ได้ตั้งคำถาม ต่อบทบาทของท้าวสุรนารี ว่าถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ชาติ และการเมืองในยุคสมัยหนึ่ง 🎭 แต่ไม่ว่าอย่างไร ท้าวสุรนารีก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และการเสียสละ 🔮 เจ้าอนุวงศ์ในสายตาประวัติศาสตร์ลาว ในสายตาชาวลาว "เจ้าอนุวงศ์" ถือเป็นมหาวีรกษัตริย์ ผู้พยายามกอบกู้เอกราชจากสยาม แม้จะพ่ายแพ้ แต่พระองค์ยังได้รับการยกย่อง ในฐานะนักสู้เพื่อเสรีภาพของลาว 🇱🇦 ทว่าการมองต่างมุมของทั้งสองฝ่าย แสดงถึงความซับซ้อนของประวัติศาสตร์ ที่ถูกเล่าและจดจำแตกต่างกัน 🏛️ เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2369 ไม่ใช่เพียงแค่สงครามแย่งชิงอำนาจ แต่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของภูมิภาคอีสานและลุ่มแม่น้ำโขง ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนนี้สอนให้เราเข้าใจว่า "ผู้ชนะ" ไม่ได้เป็นเพียงคนที่รอด แต่เป็นผู้ที่เขียนเรื่องเล่า ในประวัติศาสตร์ด้วย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231634 มี.ค. 2568 📱 #ท้าวสุรนารี #ย่าโมโคราช #วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ #ประวัติศาสตร์ไทย #เจ้าอนุวงศ์ #สงครามไทยลาว #โคราชต้องรู้ #อนุสาวรีย์ย่าโม #เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ #199ปีทุ่งสัมฤทธิ์
    0 Comments 0 Shares 898 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง

    ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว

    ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท

    จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก?

    บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก)
    “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว
    แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย”
    ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม”

    และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง
    “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์
    เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย”
    - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง
    โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว

    ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้:
    หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค
    หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
    และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์
    เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้
    เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม

    เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml
    http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx
    https://www.sohu.com/a/239647354_661147

    #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก? บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก) “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย” ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม” และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์ เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย” - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้: หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์ เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้ เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx https://www.sohu.com/a/239647354_661147 #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????_Ӱ?????_????
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????
    1 Comments 0 Shares 705 Views 0 Reviews
  • เจสสิกา อาเบอร์ (Jessica Aber) วัย 43 ปี อดีตอัยการสูงสุดของสหรัฐฯในสมัยไบเดน ถูกพบเป็นศพที่บ้านพักในรัฐเวอร์จิเนีย หลังจากเปิดโปงเครือข่ายการออกวีซ่าโดยมิชอบให้กับชาวอิสราเอล

    สาเหตุการเสียชีวิตยัง 'ไม่ทราบแน่ชัด' กรมตำรวจเมืองอเล็กซานเดรียกำลังสืบสวนหาข้อเท็จจริง และสำนักงานนิติเวชศาสตร์ประจำรัฐเวอร์จิเนียจะทำการพิสูจน์สาเหตุและลักษณะการเสียชีวิต

    นี่เป็นหนึ่งในทวีตของเธอ ซึ่งน่าสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของเธอหรือไม่

    เจสสิกา อาเบอร์ (Jessica Aber) วัย 43 ปี อดีตอัยการสูงสุดของสหรัฐฯในสมัยไบเดน ถูกพบเป็นศพที่บ้านพักในรัฐเวอร์จิเนีย หลังจากเปิดโปงเครือข่ายการออกวีซ่าโดยมิชอบให้กับชาวอิสราเอล สาเหตุการเสียชีวิตยัง 'ไม่ทราบแน่ชัด' กรมตำรวจเมืองอเล็กซานเดรียกำลังสืบสวนหาข้อเท็จจริง และสำนักงานนิติเวชศาสตร์ประจำรัฐเวอร์จิเนียจะทำการพิสูจน์สาเหตุและลักษณะการเสียชีวิต นี่เป็นหนึ่งในทวีตของเธอ ซึ่งน่าสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของเธอหรือไม่
    0 Comments 0 Shares 363 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติเพราะ Storyฯ จะไปเที่ยววีคเอนด์นี้ เลยรีบมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากละครจีนโบราณเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีเรื่องราวให้พูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไม่น้อย มีตอนหนึ่งที่หนึ่งในตัวละครสมทบคือซูวุ่ยถูกกักบริเวณโดยแม่ของนาง และจะสามารถก้าวเท้าออกจากบ้านได้ก็ต่อเมื่อนางเรียนงานปัก ‘เปี้ยนซิ่ว’ ได้สำเร็จ สร้างความหนักใจให้แก่นางนัก เป็นการบอกเล่าให้พวกเราทราบได้ว่า งานปักชนิดนี้ยากนักหนา

    ‘เปี้ยนซิ่ว’ (汴绣)คืออะไร? มันคือสไตล์การปักที่มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ มีชื่อมาจากเมืองหลวงเปี้ยนจิง (หรือที่เราคุ้นหูว่าตงจิง) บ้างเรียกว่า ‘ซ่งซิ่ว’ (宋绣) บ้างจำแนกละเอียดกว่านั้นว่า เปี้ยนซิ่วเป็นงานชาววังในขณะที่ซ่งซิ่วเป็นงานของชาวบ้านทั่วไป

    Storyฯ ลองไปหาข้อมูลดูเลยพบเจอคลิปวีดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk เลยอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองดูกัน อาจจะยาวสักนิด แต่จะเห็นภาพได้ดีถึงขั้นตอนการทำต่างๆ ตั้งแต่เลือกผ้าจนปลดออกจากสะดึง และที่สำคัญมีการซูมให้ดูถึงรายละเอียดของงานปักที่ทำเอา Storyฯ รู้สึกทึ่งไม่น้อย

    งานปักจีนโบราณพัฒนาขึ้นมากในสมัยถังแต่ในสมัยนั้นยังมีเทคนิคการปักไม่กี่แบบ และเมื่อมาถึงสมัยซ่งก็ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปอีกเป็นกว่ายี่สิบเทคนิค จากบันทึกโบราณพบว่างานปักเปี้ยนซิ่วโดยหลักเกิดขึ้นจากในวัง เรียกได้ว่าเป็นงานปักชาววัง รับผิดชอบงานฉลองพระองค์และของใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัง ความนิยมและเทคนิคการปักได้รับความสำคัญจนถึงกับมีการก่อตั้งวิทยาลัยเฉพาะทาง (เหวินซิ่วย่วน / 文绣院) ขึ้นเมื่อปี 1005 มีช่างปักกว่าสามร้อยคน

    เปี้ยนซิ่วถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาจนแทบจะสูญหาย มีไม่กี่คนที่ยังสืบทอดมาภายหลังจากสิ้นราชวงศ์ งานเปี้ยนซิ่วรับการฟื้นฟูเมื่อมีผู้ที่สืบทอดเอาผลงานเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบสิบปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปีค.ศ. 1959 โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงชิ้นนี้ก็คืองานปัก <ชิงหมิงซ่างเหอถู> เป็นผลงานที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากประธานเหมา และปัจจุบันถูกจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม (ดูได้จากรูป 1 และรูป 2 บน และจากคลิปวีดีโอที่เป็นการสาธิตการปัก) ต่อมาเปี้ยนซิ่วถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าของสไตล์การปักที่โด่งดังที่สุดของจีน จัดเป็นศิลปะแห่งชาติแขนงหนึ่ง มีการสืบทอดอย่างเป็นทางการ

    เอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วคืออะไร?

    เปี้ยนซิ่วขึ้นชื่อว่าเป็นงานละเอียด ใช้เส้นด้ายเพียงหนึ่งหรือสองเส้นเท่านั้น (หมายเหตุ หากสังเกตดีๆ ไหมปักที่เราใช้ทั่วไปปัจจุบันนี้เป็นเกลียวที่ประกอบขึ้นจากด้ายปักหลายเส้น) นำมาปักจนทึบโดยไม่เห็นรอยช่องไฟใดๆ ริมขอบลายปักเลย และอาศัยเทคนิคการปักต่างๆ ไม่ว่าจะความหนานูน ทิศทางของฝีเข็มที่แตกต่าง หรือการคัดสีไหม เพื่อสร้างมิติให้แก่ภาพปัก เพราะเอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วนี้คือการนำงานศิลปะภาพวาดพู่กันจีนมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายภูผาวารี นก ดอกไม้ คนและสัตว์ รวมถึงบทกวีโคลงกลอนด้วย (ดูตัวอย่างได้ในรูป 2) เรียกได้ว่า งานปักสมัยซ่งนี้ ไม่เพียงปักสิ่งของใช้สอย แต่เป็นงานศิลปะที่มีไว้ชมอีกด้วย (เช่นภาพติดผนัง ภาพติดฉากกั้น ฯลฯ) นอกจากนี้ ยังมีการปักแบบสองด้าน ไม่แพ้งานปักสไตล์ชื่อดังอื่นๆ ของจีนที่เราอาจเคยผ่านตากันมา

    Storyฯ รู้สึกว่า เขียนอย่างไรก็บรรยายความงามของเปี้ยนซิ่วออกมาไม่ได้เพียงพอ ยังอยากให้เพื่อนเพจเข้าไปดูคลิปวีดิโอตามคลิปข้างบน ชอบไม่ชอบอะไรมาเม้นท์ให้ฟังกันบ้างนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://baike.baidu.com/item/雁归西窗月
    https://www.tvzn.com/15774/role/226234.html
    https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk
    http://m.news.xixik.com/content/55c6bf156997ce9f/
    http://5b0988e595225.cdn.sohucs.com/images/20190514/7e22d3dd9d0244ddada007df51228ee0.jpeg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.yxhenan.com/info/kf/scyjl_13025_1289.html
    https://kknews.cc/collect/4xyn5m2.html
    https://baike.baidu.com/item/汴绣/1124193
    #ดุจฝันบันดาลใจ #เปี้ยนซิ่ว #ซ่งซิ่ว #งานปักจีนโบราณ #ชิงหมิงซ่างเหอถู
    สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติเพราะ Storyฯ จะไปเที่ยววีคเอนด์นี้ เลยรีบมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากละครจีนโบราณเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีเรื่องราวให้พูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไม่น้อย มีตอนหนึ่งที่หนึ่งในตัวละครสมทบคือซูวุ่ยถูกกักบริเวณโดยแม่ของนาง และจะสามารถก้าวเท้าออกจากบ้านได้ก็ต่อเมื่อนางเรียนงานปัก ‘เปี้ยนซิ่ว’ ได้สำเร็จ สร้างความหนักใจให้แก่นางนัก เป็นการบอกเล่าให้พวกเราทราบได้ว่า งานปักชนิดนี้ยากนักหนา ‘เปี้ยนซิ่ว’ (汴绣)คืออะไร? มันคือสไตล์การปักที่มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ มีชื่อมาจากเมืองหลวงเปี้ยนจิง (หรือที่เราคุ้นหูว่าตงจิง) บ้างเรียกว่า ‘ซ่งซิ่ว’ (宋绣) บ้างจำแนกละเอียดกว่านั้นว่า เปี้ยนซิ่วเป็นงานชาววังในขณะที่ซ่งซิ่วเป็นงานของชาวบ้านทั่วไป Storyฯ ลองไปหาข้อมูลดูเลยพบเจอคลิปวีดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk เลยอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองดูกัน อาจจะยาวสักนิด แต่จะเห็นภาพได้ดีถึงขั้นตอนการทำต่างๆ ตั้งแต่เลือกผ้าจนปลดออกจากสะดึง และที่สำคัญมีการซูมให้ดูถึงรายละเอียดของงานปักที่ทำเอา Storyฯ รู้สึกทึ่งไม่น้อย งานปักจีนโบราณพัฒนาขึ้นมากในสมัยถังแต่ในสมัยนั้นยังมีเทคนิคการปักไม่กี่แบบ และเมื่อมาถึงสมัยซ่งก็ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปอีกเป็นกว่ายี่สิบเทคนิค จากบันทึกโบราณพบว่างานปักเปี้ยนซิ่วโดยหลักเกิดขึ้นจากในวัง เรียกได้ว่าเป็นงานปักชาววัง รับผิดชอบงานฉลองพระองค์และของใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัง ความนิยมและเทคนิคการปักได้รับความสำคัญจนถึงกับมีการก่อตั้งวิทยาลัยเฉพาะทาง (เหวินซิ่วย่วน / 文绣院) ขึ้นเมื่อปี 1005 มีช่างปักกว่าสามร้อยคน เปี้ยนซิ่วถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาจนแทบจะสูญหาย มีไม่กี่คนที่ยังสืบทอดมาภายหลังจากสิ้นราชวงศ์ งานเปี้ยนซิ่วรับการฟื้นฟูเมื่อมีผู้ที่สืบทอดเอาผลงานเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบสิบปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปีค.ศ. 1959 โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงชิ้นนี้ก็คืองานปัก <ชิงหมิงซ่างเหอถู> เป็นผลงานที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากประธานเหมา และปัจจุบันถูกจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม (ดูได้จากรูป 1 และรูป 2 บน และจากคลิปวีดีโอที่เป็นการสาธิตการปัก) ต่อมาเปี้ยนซิ่วถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าของสไตล์การปักที่โด่งดังที่สุดของจีน จัดเป็นศิลปะแห่งชาติแขนงหนึ่ง มีการสืบทอดอย่างเป็นทางการ เอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วคืออะไร? เปี้ยนซิ่วขึ้นชื่อว่าเป็นงานละเอียด ใช้เส้นด้ายเพียงหนึ่งหรือสองเส้นเท่านั้น (หมายเหตุ หากสังเกตดีๆ ไหมปักที่เราใช้ทั่วไปปัจจุบันนี้เป็นเกลียวที่ประกอบขึ้นจากด้ายปักหลายเส้น) นำมาปักจนทึบโดยไม่เห็นรอยช่องไฟใดๆ ริมขอบลายปักเลย และอาศัยเทคนิคการปักต่างๆ ไม่ว่าจะความหนานูน ทิศทางของฝีเข็มที่แตกต่าง หรือการคัดสีไหม เพื่อสร้างมิติให้แก่ภาพปัก เพราะเอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วนี้คือการนำงานศิลปะภาพวาดพู่กันจีนมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายภูผาวารี นก ดอกไม้ คนและสัตว์ รวมถึงบทกวีโคลงกลอนด้วย (ดูตัวอย่างได้ในรูป 2) เรียกได้ว่า งานปักสมัยซ่งนี้ ไม่เพียงปักสิ่งของใช้สอย แต่เป็นงานศิลปะที่มีไว้ชมอีกด้วย (เช่นภาพติดผนัง ภาพติดฉากกั้น ฯลฯ) นอกจากนี้ ยังมีการปักแบบสองด้าน ไม่แพ้งานปักสไตล์ชื่อดังอื่นๆ ของจีนที่เราอาจเคยผ่านตากันมา Storyฯ รู้สึกว่า เขียนอย่างไรก็บรรยายความงามของเปี้ยนซิ่วออกมาไม่ได้เพียงพอ ยังอยากให้เพื่อนเพจเข้าไปดูคลิปวีดิโอตามคลิปข้างบน ชอบไม่ชอบอะไรมาเม้นท์ให้ฟังกันบ้างนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://baike.baidu.com/item/雁归西窗月 https://www.tvzn.com/15774/role/226234.html https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk http://m.news.xixik.com/content/55c6bf156997ce9f/ http://5b0988e595225.cdn.sohucs.com/images/20190514/7e22d3dd9d0244ddada007df51228ee0.jpeg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.yxhenan.com/info/kf/scyjl_13025_1289.html https://kknews.cc/collect/4xyn5m2.html https://baike.baidu.com/item/汴绣/1124193 #ดุจฝันบันดาลใจ #เปี้ยนซิ่ว #ซ่งซิ่ว #งานปักจีนโบราณ #ชิงหมิงซ่างเหอถู
    0 Comments 0 Shares 745 Views 0 Reviews
  • คนอกหักรักร้างก็อย่างว่า
    ต่อมน้ำตาต้องแตกแล้วแหลกไหล
    ให้ครวญคร่ำร่ำหาหวนอาลัย
    ปิ่มว่าใจจะขาดชีวาตม์วาย
    ความอกหักรักหายมันร้ายกาจ
    สุดจะคาดคำนวณประมวลหมาย
    ผลของมันนั้นหนักอย่างมากมาย
    โถมทำร้ายฤดีทุกวี่วัน
    จะโหยหาอาวรณ์จนอ่อนอก
    ทั้งกระปรกกระเปรี้ยทั้งเสียขวัญ
    โอ้ขื่นขมตรมโศกวิโยคยัน
    สารพันพร่ำเพ้ออยากเจอใจ
    คนอกหักรักร้างก็อย่างนี้
    มันต้องมีหลั่งมาน้ำตาไหล
    มาครวญคร่ำร่ำหาโอ้อาลัย
    ปิ่มว่าใจจtขาดอนาถจริง
    คนอกหักรักร้างก็อย่างว่า ต่อมน้ำตาต้องแตกแล้วแหลกไหล ให้ครวญคร่ำร่ำหาหวนอาลัย ปิ่มว่าใจจะขาดชีวาตม์วาย ความอกหักรักหายมันร้ายกาจ สุดจะคาดคำนวณประมวลหมาย ผลของมันนั้นหนักอย่างมากมาย โถมทำร้ายฤดีทุกวี่วัน จะโหยหาอาวรณ์จนอ่อนอก ทั้งกระปรกกระเปรี้ยทั้งเสียขวัญ โอ้ขื่นขมตรมโศกวิโยคยัน สารพันพร่ำเพ้ออยากเจอใจ คนอกหักรักร้างก็อย่างนี้ มันต้องมีหลั่งมาน้ำตาไหล มาครวญคร่ำร่ำหาโอ้อาลัย ปิ่มว่าใจจtขาดอนาถจริง
    0 Comments 0 Shares 173 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ Storyฯ หายไปตามรอยซากุระมา จำได้ว่าตอนที่เคยเล่าถึงความหมายของดอกเหมยในวัฒนธรรมจีน มีเพื่อนเพจถามถึงดอกซากุระด้วย วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ

    เพื่อนเพจคงทราบดีว่าดอกซากุระเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีคนกล่าวถึงความหมายของมันต่อคนญี่ปุ่นว่าจริงแล้วคือ Rebirth หรือการเกิดใหม่ กล่าวคือการยอมรับความไม่จีรังในชีวิตแต่ยังเปี่ยมด้วยความหวังว่าสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นใหม่ เฉกเช่นดอกซากุระที่บานให้ชื่นชมเพียงไม่นานก็ร่วงโรยแต่แล้วก็จะผลิใหม่และเบ่งบานให้ชมอีกเรื่อยไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายความหมาย เช่น ความสำเร็จ หัวใจที่เข้มแข็ง ความรัก ความบริสุทธิ์ และความอ่อนโยน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนให้อารมณ์แห่งความหวังและความสุข

    แล้วที่จีนล่ะ?

    ดอกซากุระมีชื่อจีนว่า ‘อิงฮวา’ (樱花) หรือโบราณเคยเรียกว่า ‘อิงเถา’ แต่มีการระบุชัดว่าไม่ใช่ดอกท้อ (เถาฮวา) เฉพาะในประเทศจีนมีกว่าสี่สิบสายพันธุ์ เชื่อว่ามีการเริ่มปลูกต้นอิงฮวาในเขตพระราชฐานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น แต่แพร่สู่บ้านเรือนสามัญชนและพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยราชวงศ์ถัง (บ้างก็ว่าในช่วงสมัยถังนี่เองที่ อิงฮวาหรือซากุระถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่น) ต่อมาในสมัยซ่งเหนือคนหันมานิยมดอกเหมยมากกว่า ทำให้ดอกอิงฮวาถูกกล่าวขานถึงน้อยลง

    ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับอิงฮวามีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือภาพวาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดอกบ๊วยหรือดอกท้อที่ดูจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผลงานมากกว่า แรกเริ่มเลยในงานประพันธ์ต่างๆ จะเรียกมันว่า ‘ซันอิง’ หมายถึงต้นอิงฮวาที่โตตามป่าเขา โดยบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับอิงฮวาคือในสมัยราชวงศ์ใต้ ประพันธ์โดยเสิ่นเยวี้ย (ค.ศ. 441-513) เป็นการบรรยายถึงดอกซันอิงบานรับฤดูใบไม้ผลิ คงจะกล่าวได้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่ดอกอิงฮวาถูกโยงเข้ากับการมาเยือนของวสันตฤดู

    ในสมัยถังมีบทกวีเกี่ยวกับดอกอิงฮวามากกว่ายุคสมัยอื่น บ่งบอกถึงความนิยมในสมัยนั้น โดยนักการเมืองไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) ได้สร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกอิงฮวาไว้หลายบท แต่ผลงานของเขามักบ่งบอกถึงอารมณ์แห่งความเสียดายยามบุปผาโรยรา ทว่าแฝงไว้ซึ่งความหวังเพราะซันอิงยังจะคงอยู่และผลิบานใหม่ท่ามกลางป่าเขา โดยผลงานเหล่านี้สะท้อนถึงชีวิตทางการเมืองที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของเขา

    อิงฮวากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ในช่วงยุคสมัยถังเช่นเดียวกัน มีการกล่าวถึงธรรมเนียมการหักกิ่งอิงฮวามอบให้กันยามคู่รักต้องจากลา โดยใช้อิงฮวาเป็นตัวแทนแห่งความคนึงหา และในหลายบทกวีในยุคนั้น ใช้อิงฮวาเปรียบเปรยถึงความคิดถึงและความอ้างว้าง ดุจฉากดอกอิงฮวาร่วงโรยโปรยพลิ้วในสายลม Storyฯ ขอยกตัวอย่างจากบทกวี <หักกิ่งบุปผามอบอำลา> ของหยวนเจิ่นในสมัยถัง (ขออภัยหากแปลไม่สละสลวย) ที่กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของสตรียามต้องส่งชายคนรักจากไป:
    “ส่งท่านใต้ร่มเงาอิงเถา ใจวสันต์ฝากไว้ในกิ่ง
    ที่ใดชวนให้คำนึงถึงที่สุด นั่นคือป่าอิงเถาอันดารดาษ”

    ต่อมาอิงฮวากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเพศที่อ่อนหวานและอ่อนโยน ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามุมมองในลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ในบทกวี <ซันอิง> ของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ (คนเดียวกับที่ฝากผลงานอันโดดเด่น <เหมยฮวา> ที่ Storyฯ เคยเขียนไปแล้ว) มีการบรรยายเปรียบเปรยอิงฮวาดุจสตรีที่เอียงอายหลบอยู่ใต้เงาไม้และเบ่งบานหลังดอกไม้อื่น แต่เมื่อลมวสันต์โชยก็พัดพากลิ่นหอมขจรขจายให้ความงามเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน

    จะเห็นได้ว่า ในวัฒนธรรมจีนนั้น ความหมายของดอกอิงฮวาคล้ายคลึงกับซากุระในวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือเป็นตัวแทนแห่งความไม่จีรัง ความบริสุทธิ์ และความอ่อนหวาน

    แต่ในความคล้ายคลึงก็มีความแตกต่าง เพราะซากุระในญี่ปุ่นแฝงไว้ด้วยความหวังท่ามกลางความไม่จีรังในชีวิต แต่โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ รู้สึกว่าบทกวีเกี่ยวกับอิงฮวาของจีนมักแฝงไว้ด้วยความเศร้า หากจะกล่าวว่าดอกบ๊วยเป็นตัวแทนแห่งความงามที่คงทน ดอกอิงฮวาก็คงเป็นตัวแทนแห่งความงามที่เปราะบาง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    รูปภาพจาก: พี่ชายของ Storyฯ เอง
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://news.bjd.com.cn/2022/04/08/10066983.shtml
    https://www.baike.com/wikiid/4777101092071907963?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=32kicegvg8m000
    https://www.163.com/dy/article/HV0LDNRE05418YI9.html

    #อิงฮวา #ซากุระจีน
    สวัสดีค่ะ Storyฯ หายไปตามรอยซากุระมา จำได้ว่าตอนที่เคยเล่าถึงความหมายของดอกเหมยในวัฒนธรรมจีน มีเพื่อนเพจถามถึงดอกซากุระด้วย วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เพื่อนเพจคงทราบดีว่าดอกซากุระเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีคนกล่าวถึงความหมายของมันต่อคนญี่ปุ่นว่าจริงแล้วคือ Rebirth หรือการเกิดใหม่ กล่าวคือการยอมรับความไม่จีรังในชีวิตแต่ยังเปี่ยมด้วยความหวังว่าสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นใหม่ เฉกเช่นดอกซากุระที่บานให้ชื่นชมเพียงไม่นานก็ร่วงโรยแต่แล้วก็จะผลิใหม่และเบ่งบานให้ชมอีกเรื่อยไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายความหมาย เช่น ความสำเร็จ หัวใจที่เข้มแข็ง ความรัก ความบริสุทธิ์ และความอ่อนโยน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนให้อารมณ์แห่งความหวังและความสุข แล้วที่จีนล่ะ? ดอกซากุระมีชื่อจีนว่า ‘อิงฮวา’ (樱花) หรือโบราณเคยเรียกว่า ‘อิงเถา’ แต่มีการระบุชัดว่าไม่ใช่ดอกท้อ (เถาฮวา) เฉพาะในประเทศจีนมีกว่าสี่สิบสายพันธุ์ เชื่อว่ามีการเริ่มปลูกต้นอิงฮวาในเขตพระราชฐานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น แต่แพร่สู่บ้านเรือนสามัญชนและพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยราชวงศ์ถัง (บ้างก็ว่าในช่วงสมัยถังนี่เองที่ อิงฮวาหรือซากุระถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่น) ต่อมาในสมัยซ่งเหนือคนหันมานิยมดอกเหมยมากกว่า ทำให้ดอกอิงฮวาถูกกล่าวขานถึงน้อยลง ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับอิงฮวามีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือภาพวาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดอกบ๊วยหรือดอกท้อที่ดูจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผลงานมากกว่า แรกเริ่มเลยในงานประพันธ์ต่างๆ จะเรียกมันว่า ‘ซันอิง’ หมายถึงต้นอิงฮวาที่โตตามป่าเขา โดยบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับอิงฮวาคือในสมัยราชวงศ์ใต้ ประพันธ์โดยเสิ่นเยวี้ย (ค.ศ. 441-513) เป็นการบรรยายถึงดอกซันอิงบานรับฤดูใบไม้ผลิ คงจะกล่าวได้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่ดอกอิงฮวาถูกโยงเข้ากับการมาเยือนของวสันตฤดู ในสมัยถังมีบทกวีเกี่ยวกับดอกอิงฮวามากกว่ายุคสมัยอื่น บ่งบอกถึงความนิยมในสมัยนั้น โดยนักการเมืองไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) ได้สร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกอิงฮวาไว้หลายบท แต่ผลงานของเขามักบ่งบอกถึงอารมณ์แห่งความเสียดายยามบุปผาโรยรา ทว่าแฝงไว้ซึ่งความหวังเพราะซันอิงยังจะคงอยู่และผลิบานใหม่ท่ามกลางป่าเขา โดยผลงานเหล่านี้สะท้อนถึงชีวิตทางการเมืองที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของเขา อิงฮวากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ในช่วงยุคสมัยถังเช่นเดียวกัน มีการกล่าวถึงธรรมเนียมการหักกิ่งอิงฮวามอบให้กันยามคู่รักต้องจากลา โดยใช้อิงฮวาเป็นตัวแทนแห่งความคนึงหา และในหลายบทกวีในยุคนั้น ใช้อิงฮวาเปรียบเปรยถึงความคิดถึงและความอ้างว้าง ดุจฉากดอกอิงฮวาร่วงโรยโปรยพลิ้วในสายลม Storyฯ ขอยกตัวอย่างจากบทกวี <หักกิ่งบุปผามอบอำลา> ของหยวนเจิ่นในสมัยถัง (ขออภัยหากแปลไม่สละสลวย) ที่กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของสตรียามต้องส่งชายคนรักจากไป: “ส่งท่านใต้ร่มเงาอิงเถา ใจวสันต์ฝากไว้ในกิ่ง ที่ใดชวนให้คำนึงถึงที่สุด นั่นคือป่าอิงเถาอันดารดาษ” ต่อมาอิงฮวากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเพศที่อ่อนหวานและอ่อนโยน ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามุมมองในลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ในบทกวี <ซันอิง> ของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ (คนเดียวกับที่ฝากผลงานอันโดดเด่น <เหมยฮวา> ที่ Storyฯ เคยเขียนไปแล้ว) มีการบรรยายเปรียบเปรยอิงฮวาดุจสตรีที่เอียงอายหลบอยู่ใต้เงาไม้และเบ่งบานหลังดอกไม้อื่น แต่เมื่อลมวสันต์โชยก็พัดพากลิ่นหอมขจรขจายให้ความงามเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน จะเห็นได้ว่า ในวัฒนธรรมจีนนั้น ความหมายของดอกอิงฮวาคล้ายคลึงกับซากุระในวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือเป็นตัวแทนแห่งความไม่จีรัง ความบริสุทธิ์ และความอ่อนหวาน แต่ในความคล้ายคลึงก็มีความแตกต่าง เพราะซากุระในญี่ปุ่นแฝงไว้ด้วยความหวังท่ามกลางความไม่จีรังในชีวิต แต่โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ รู้สึกว่าบทกวีเกี่ยวกับอิงฮวาของจีนมักแฝงไว้ด้วยความเศร้า หากจะกล่าวว่าดอกบ๊วยเป็นตัวแทนแห่งความงามที่คงทน ดอกอิงฮวาก็คงเป็นตัวแทนแห่งความงามที่เปราะบาง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) รูปภาพจาก: พี่ชายของ Storyฯ เอง Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://news.bjd.com.cn/2022/04/08/10066983.shtml https://www.baike.com/wikiid/4777101092071907963?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=32kicegvg8m000 https://www.163.com/dy/article/HV0LDNRE05418YI9.html #อิงฮวา #ซากุระจีน
    樱花 花开花谢皆诗意的早春花木_北京日报网
    我国野生樱花品种最多 樱属植物广泛分布于北半球的温带与亚热带地区。亚洲、欧洲、北美洲均有分布,但主要集中在东亚地区。中国的西南、华南、长江流域、华北、东北地区,俄罗斯、日本、朝鲜一线,以及缅甸、不丹...
    0 Comments 0 Shares 681 Views 0 Reviews
  • 46 ปี สิ้น “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์ วีรสตรีอุบลราชธานี แม่คนที่สองของเชลยศึก 🌺

    ย้อนรำลึกถึงเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของ “ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์” วีรสตรีแห่งอุบลราชธานี ผู้เป็นเสมือนแม่คนที่สอง ของเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ในสงครามโลก ครั้งที่สอง บทเรียนแห่งความเมตตาและความกล้าหาญ ที่ควรค่าแก่การจารึกในประวัติศาสตร์

    🌏 เรื่องราวที่โลกต้องไม่ลืม ✨ ถ้าจะพูดถึงสงครามโลก ครั้งที่สอง คนส่วนใหญ่มักนึกถึงความโหดร้าย การสูญเสีย และความพินาศของชีวิตมนุษย์นับล้านคน แต่ในความโหดร้ายนั้น...กลับมีความงดงามของมนุษยธรรม และน้ำใจที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้น เรื่องเล่าของ "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" วีรสตรีแห่งเมืองอุบลราชธานี คือหนึ่งในเรื่องราวที่โลกต้องจารึก ✍️

    ย่าไหลไม่ได้เป็นนักรบ ไม่ได้มีอาวุธใด ๆ แต่เธอมี “หัวใจ” ที่ยิ่งใหญ่ เธอเป็น “แม่คนที่สอง” ของเชลยศึกสัมพันธมิตร ที่ถูกกักขังในสงครามมหาเอเชียบูรพา ยืนหยัดช่วยเหลือมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าความตายอยู่ไม่ไกลจากตัวเอง และครอบครัวเลยแม้แต่น้อย...

    🕊️ ย้อนรำลึกเหตุการณ์เมื่อ 46 ปี ที่ผ่านมา เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2522 โลกได้สูญเสีย “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” แห่งอุบลราชธานี "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" ในวัย 86 ปี เหล่าทหารสัมพันธมิตรจากหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ, อเมริกา, แคนาดา, ฮอลแลนด์, ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างร่วมไว้อาลัยด้วยความอาลัยรัก ❤️ เพราะยาไหลคือคนที่เคยให้ชีวิตใหม่ แก่พวกเขา

    "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" เป็นหญิงชาวอุบลราชธานีธรรมดา แต่ไม่ธรรมดาในหัวใจ ✨ ถูกกล่าวขานว่าเป็น “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” เพราะในยามที่ เชลยศึกสัมพันธมิตรหลายพันชีวิต ถูกกักขังอย่างโหดร้ายในจังหวัดอุบลราชธานี ย่าไหลและชาวบ้านกลุ่มเล็ก ๆ กลับไม่ละทิ้งมนุษยธรรม นำอาหาร, ยารักษาโรค, เครื่องนุ่งห่ม และแม้แต่การช่วยเหลือหลบหนี มาให้กับเชลยเหล่านั้น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ 🌾

    🕊️ ความกล้าหาญท่ามกลางความโหดร้าย 🗡️ ย้อนกลับไปในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2484 - 2488 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดประเทศไทย และกักขังเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ไว้จำนวนมาก โดยเฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี พวกเขาถูกทรมาน, อดอยาก และเผชิญโรคภัยต่าง ๆ ทหารญี่ปุ่นมีบทลงโทษที่โหดเหี้ยม เช่น หากจับได้ว่าใครขโมยน้ำมัน จะถูกกรอกน้ำมันจนตาย หรือขโมยตะปู ก็จะถูกตอกตะปูเข้าขา 😨

    แม้จะรู้ว่าความช่วยเหลือ อาจนำมาซึ่งความตาย แต่ย่าไหลก็ยังคงพายเรือฝ่าฝนฟ้าคะนอง นำเชลยศึกบางคน ที่อ่อนแอป่วยไข้ไปหายารักษา บางคืนถึงกับพาเชลยหนีไปตามแม่น้ำ โดยให้พวกเขาเกาะข้างเรือ ลอยไปในความมืด... ย่าไหลกล่าวไว้ว่า “เราคือข้าของแผ่นดิน จำไว้นะลูก เราต้องมีเมตตา ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่ต้องหวังสิ่งใด ๆ ตอบแทน” 💖

    🌏 อนุสาวรีย์แห่งความดีที่คนทั้งโลกต้องรู้ เพื่อรำลึกถึงความเสียสละ และความเมตตาอันยิ่งใหญ่ ชาวเชลยศึกสัมพันธมิตร จึงร่วมกันสร้าง “อนุสาวรีย์แห่งความดี” (Monument of Merit) ตั้งอยู่ที่ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 🏛️ โดยมีการจัดงานรำลึกทุกปีในวันที่ 11 เดือน 11 เวลา 11:11 น. เพื่อยกย่องน้ำใจของชาวอุบลฯ และย่าไหลที่ไม่เลือกฝ่าย แต่เลือกช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์

    🏅พิธีเชิดชูเกียรติ และรางวัลแห่งคุณงามความดี หลังสงครามสิ้นสุดในปี 2488 เหล่าทหารสัมพันธมิตร ได้เชิญย่าไหลไปยังค่ายทหาร ที่สนามบินอุบลราชธานี เพื่อแสดงความขอบคุณแ ละมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ รวมถึงสิ่งของและเงินช่วยเหลือ เพื่อเป็นการขอบคุณในน้ำใจอันประเสริฐ 🙏

    ❤️วีรสตรีที่ไม่ได้ถืออาวุธ แต่ถือหัวใจแห่งเมตตา ต่างจากวีรสตรีที่เราคุ้นเคยในประวัติศาสตร์ ย่าไหลไม่ได้เป็นนักรบ แต่เธอคือแม่พระที่ “ให้ชีวิตใหม่” ในยามที่คนหนึ่งไม่มีแม้แต่ความหวัง ในการมีชีวิตรอด... ย่าไหลใช้เพียง “หัวใจ” และ “มือเปล่า” เพื่อหยิบยื่นอาหาร ยารักษาโรค และเสื้อผ้าให้พวกเขา แม้จะเสี่ยงตายก็ไม่หวั่นเกรง 🌿

    คุณธรรมที่ส่งต่อผ่านสายเลือด และจิตวิญญาณ สิ่งที่ย่าไหลทำ ไม่ได้เกิดจากการอยากเป็นวีรสตรี แต่เป็นความเชื่อ และการปลูกฝังจากบรรพบุรุษ “เราคือข้าของแผ่นดิน” คือคำสอนที่แม่ถ่ายทอดสู่ย่าไหล และย่าไหลก็ถ่ายทอดต่อให้ลูกหลานเช่นกัน ✨

    🌾 มรดกทางจิตวิญญาณที่ยังคงอยู่จนถึงวันนี้ เรื่องราวของย่าไหลก ลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลัง เชลยศึกและทายาท ยังคงเดินทางกลับมาอุบลราชธานีทุกปี เพื่อแสดงความเคารพต่อย่าไหล และสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ระหว่างชาวอุบลราชธานีและนานาชาติ 🕊️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 191130 มี.ค. 2568

    #แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่ #ย่าไหลอุไรวรรณ #อนุสาวรีย์แห่งความดี #วีรสตรีอุบล #ช่วยเหลือเชลยศึก #ประวัติศาสตร์ไทย #อุบลราชธานี #สงครามโลกครั้งที่2 #มนุษยธรรม #แรงบันดาลใจ
    46 ปี สิ้น “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์ วีรสตรีอุบลราชธานี แม่คนที่สองของเชลยศึก 🌺 ย้อนรำลึกถึงเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของ “ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์” วีรสตรีแห่งอุบลราชธานี ผู้เป็นเสมือนแม่คนที่สอง ของเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ในสงครามโลก ครั้งที่สอง บทเรียนแห่งความเมตตาและความกล้าหาญ ที่ควรค่าแก่การจารึกในประวัติศาสตร์ 🌏 เรื่องราวที่โลกต้องไม่ลืม ✨ ถ้าจะพูดถึงสงครามโลก ครั้งที่สอง คนส่วนใหญ่มักนึกถึงความโหดร้าย การสูญเสีย และความพินาศของชีวิตมนุษย์นับล้านคน แต่ในความโหดร้ายนั้น...กลับมีความงดงามของมนุษยธรรม และน้ำใจที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้น เรื่องเล่าของ "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" วีรสตรีแห่งเมืองอุบลราชธานี คือหนึ่งในเรื่องราวที่โลกต้องจารึก ✍️ ย่าไหลไม่ได้เป็นนักรบ ไม่ได้มีอาวุธใด ๆ แต่เธอมี “หัวใจ” ที่ยิ่งใหญ่ เธอเป็น “แม่คนที่สอง” ของเชลยศึกสัมพันธมิตร ที่ถูกกักขังในสงครามมหาเอเชียบูรพา ยืนหยัดช่วยเหลือมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าความตายอยู่ไม่ไกลจากตัวเอง และครอบครัวเลยแม้แต่น้อย... 🕊️ ย้อนรำลึกเหตุการณ์เมื่อ 46 ปี ที่ผ่านมา เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2522 โลกได้สูญเสีย “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” แห่งอุบลราชธานี "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" ในวัย 86 ปี เหล่าทหารสัมพันธมิตรจากหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ, อเมริกา, แคนาดา, ฮอลแลนด์, ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างร่วมไว้อาลัยด้วยความอาลัยรัก ❤️ เพราะยาไหลคือคนที่เคยให้ชีวิตใหม่ แก่พวกเขา "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" เป็นหญิงชาวอุบลราชธานีธรรมดา แต่ไม่ธรรมดาในหัวใจ ✨ ถูกกล่าวขานว่าเป็น “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” เพราะในยามที่ เชลยศึกสัมพันธมิตรหลายพันชีวิต ถูกกักขังอย่างโหดร้ายในจังหวัดอุบลราชธานี ย่าไหลและชาวบ้านกลุ่มเล็ก ๆ กลับไม่ละทิ้งมนุษยธรรม นำอาหาร, ยารักษาโรค, เครื่องนุ่งห่ม และแม้แต่การช่วยเหลือหลบหนี มาให้กับเชลยเหล่านั้น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ 🌾 🕊️ ความกล้าหาญท่ามกลางความโหดร้าย 🗡️ ย้อนกลับไปในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2484 - 2488 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดประเทศไทย และกักขังเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ไว้จำนวนมาก โดยเฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี พวกเขาถูกทรมาน, อดอยาก และเผชิญโรคภัยต่าง ๆ ทหารญี่ปุ่นมีบทลงโทษที่โหดเหี้ยม เช่น หากจับได้ว่าใครขโมยน้ำมัน จะถูกกรอกน้ำมันจนตาย หรือขโมยตะปู ก็จะถูกตอกตะปูเข้าขา 😨 แม้จะรู้ว่าความช่วยเหลือ อาจนำมาซึ่งความตาย แต่ย่าไหลก็ยังคงพายเรือฝ่าฝนฟ้าคะนอง นำเชลยศึกบางคน ที่อ่อนแอป่วยไข้ไปหายารักษา บางคืนถึงกับพาเชลยหนีไปตามแม่น้ำ โดยให้พวกเขาเกาะข้างเรือ ลอยไปในความมืด... ย่าไหลกล่าวไว้ว่า “เราคือข้าของแผ่นดิน จำไว้นะลูก เราต้องมีเมตตา ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่ต้องหวังสิ่งใด ๆ ตอบแทน” 💖 🌏 อนุสาวรีย์แห่งความดีที่คนทั้งโลกต้องรู้ เพื่อรำลึกถึงความเสียสละ และความเมตตาอันยิ่งใหญ่ ชาวเชลยศึกสัมพันธมิตร จึงร่วมกันสร้าง “อนุสาวรีย์แห่งความดี” (Monument of Merit) ตั้งอยู่ที่ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 🏛️ โดยมีการจัดงานรำลึกทุกปีในวันที่ 11 เดือน 11 เวลา 11:11 น. เพื่อยกย่องน้ำใจของชาวอุบลฯ และย่าไหลที่ไม่เลือกฝ่าย แต่เลือกช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ 🏅พิธีเชิดชูเกียรติ และรางวัลแห่งคุณงามความดี หลังสงครามสิ้นสุดในปี 2488 เหล่าทหารสัมพันธมิตร ได้เชิญย่าไหลไปยังค่ายทหาร ที่สนามบินอุบลราชธานี เพื่อแสดงความขอบคุณแ ละมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ รวมถึงสิ่งของและเงินช่วยเหลือ เพื่อเป็นการขอบคุณในน้ำใจอันประเสริฐ 🙏 ❤️วีรสตรีที่ไม่ได้ถืออาวุธ แต่ถือหัวใจแห่งเมตตา ต่างจากวีรสตรีที่เราคุ้นเคยในประวัติศาสตร์ ย่าไหลไม่ได้เป็นนักรบ แต่เธอคือแม่พระที่ “ให้ชีวิตใหม่” ในยามที่คนหนึ่งไม่มีแม้แต่ความหวัง ในการมีชีวิตรอด... ย่าไหลใช้เพียง “หัวใจ” และ “มือเปล่า” เพื่อหยิบยื่นอาหาร ยารักษาโรค และเสื้อผ้าให้พวกเขา แม้จะเสี่ยงตายก็ไม่หวั่นเกรง 🌿 คุณธรรมที่ส่งต่อผ่านสายเลือด และจิตวิญญาณ สิ่งที่ย่าไหลทำ ไม่ได้เกิดจากการอยากเป็นวีรสตรี แต่เป็นความเชื่อ และการปลูกฝังจากบรรพบุรุษ “เราคือข้าของแผ่นดิน” คือคำสอนที่แม่ถ่ายทอดสู่ย่าไหล และย่าไหลก็ถ่ายทอดต่อให้ลูกหลานเช่นกัน ✨ 🌾 มรดกทางจิตวิญญาณที่ยังคงอยู่จนถึงวันนี้ เรื่องราวของย่าไหลก ลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลัง เชลยศึกและทายาท ยังคงเดินทางกลับมาอุบลราชธานีทุกปี เพื่อแสดงความเคารพต่อย่าไหล และสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ระหว่างชาวอุบลราชธานีและนานาชาติ 🕊️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 191130 มี.ค. 2568 #แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่ #ย่าไหลอุไรวรรณ #อนุสาวรีย์แห่งความดี #วีรสตรีอุบล #ช่วยเหลือเชลยศึก #ประวัติศาสตร์ไทย #อุบลราชธานี #สงครามโลกครั้งที่2 #มนุษยธรรม #แรงบันดาลใจ
    0 Comments 0 Shares 904 Views 0 Reviews
More Results