• ช่วงเวลาที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของอาเซอร์ไบจานควบคุมตัวพนักงานของสำนักข่าวสปุตนิก 2 คน ในกรุงบากู เมืองหลวงาเซอร์ไบจาน

    ทางด้าน ซาคาโรวา โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียออกมาแสดงความกังวลว่าเป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมงที่นักการทูตรัสเซียไม่สามารถติดต่อนักข่าวของสปุตนิกได้

    ดมิทรี คิลิซอฟ หัวหน้าสถานีข่าวสปุตนิก กล่าวว่าสปุตนิกปฏิบัติการอย่างถูกกฎหมายในอาเซอร์ไบจาน แต่การกักขังดูเหมือน “เจตนาเพื่อทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแย่ลง”
    ช่วงเวลาที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของอาเซอร์ไบจานควบคุมตัวพนักงานของสำนักข่าวสปุตนิก 2 คน ในกรุงบากู เมืองหลวงาเซอร์ไบจาน ทางด้าน ซาคาโรวา โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียออกมาแสดงความกังวลว่าเป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมงที่นักการทูตรัสเซียไม่สามารถติดต่อนักข่าวของสปุตนิกได้ ดมิทรี คิลิซอฟ หัวหน้าสถานีข่าวสปุตนิก กล่าวว่าสปุตนิกปฏิบัติการอย่างถูกกฎหมายในอาเซอร์ไบจาน แต่การกักขังดูเหมือน “เจตนาเพื่อทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแย่ลง”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 208 มุมมอง 0 รีวิว
  • ความตกต่ำของกระทรวงการต่างประเทศ

    กระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้การนำของ มาริษ เสงี่ยมพงษ์ คนใกล้ชิดอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีผลงานโดดเด่น นอกจากไปเป็นพยานให้ทักษิณ ผู้ต้องหาคดี 112 ขออนุญาตศาลออกนอกประเทศ ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา ที่สองพ่อลูก ฮุน เซน และ ฮุน มาเนต ปลุกกระแสชาตินิยม นำปราสาทตาเมือนธม ตาเมือนโต๊ด ตาควาย และช่องบก ร้องต่อศาลโลก ขอให้ตกเป็นของกัมพูชา นอกจากจะแถลงข่าวรายวันก็ไม่มีอะไรโดดเด่น

    การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) นำโดย นายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย ประธานคณะกรรมาธิการเจบีซีฝ่ายไทย เป็นที่เคลือบแคลงสงสัย นอกจากจะเป็นคู่กรณีนายวีระ สมความคิด เคยบีบบังคับให้ยอมรับผิดว่าบุกรุกดินแดนกัมพูชาและด่าว่าเป็นตัวปัญหาแล้ว ในการประชุมเจบีซีมีไลน์หลุดออกมาว่า นายประศาสน์ พยายามโน้มน้าวให้ไทยยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ที่ทำให้ไทยเสียดินแดน ทำให้เจ้าตัวถึงกับโกรธและไม่คุยด้วย หนำซ้ำ กัมพูชายังสรุปผลการประชุมว่าตกลงใช้แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ทำให้คนไทยโกรธแค้นเพราะเสียเปรียบ ร้อนถึงกระทรวงต้องออกแถลงการณ์ตอนดึก ยืนยันว่าไม่ได้หารือ พร้อมแสดงความผิดหวังที่กัมพูชาเดินหน้านำพื้นที่ 4 จุดขึ้นสู่ศาลโลก

    สนธิ ลิ้มทองกุล ตั้งคำถามว่า ตั้งแต่ MOU 2543 ถึง MOU 2544 รู้อยู่แล้วว่าเป็นตัวการที่จะทำให้ไทยเสียดินแดน มีการระบุว่าต้องใช้แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ไม่ใช่ 1 ต่อ 50,000 เคยถามตัวเองหรือไม่ว่าทำไมกัมพูชาเจรจากับเวียดนามใช้แผนที่ 1 ต่อ 50,000 ทำไมไทยถึงยอมใช้มาตรา 1 ต่อ 200,000 ส่วนนายประศาสน์ นับตั้งแต่ไปประชุมเจบีซี 3 สัปดาห์แล้วกลับมา ไม่เคยบอกคนไทยว่าไปพูดอะไรบ้าง และไม่บอกว่าไปลงนามข้อตกลงอะไรไว้ เปรียบเป็นไส้ศึกของกัมพูชา

    ที่น่าสนใจ คือ บทความหัวข้อ Thai diplomacy is now in need of a reset เขียนโดย กวี จงกิจถาวร ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ระบุในตอนหนึ่งว่า แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทำผิดพลาดทางการทูตร้ายแรงจากคลิปเสียงสนทนากับ ฮุน เซน แม้กระทรวงการต่างประเทศพยายามอย่างหนักเพื่อกอบกู้สถานการณ์ทางการทูตที่เหลืออยู่ แต่ขวัญกำลังใจตกต่ำเป็นประวัติการณ์ นักการทูตและเจ้าหน้าที่รู้สึกว่าถูกละเลยและเพิกเฉย นับตั้งแต่แพทองธารเข้ารับตำแหน่ง การตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศก็ดำเนินการโดยทักษิณ และกลุ่มคนใกล้ชิด

    "นับตั้งแต่ ปานปรีย์ พหิทธานุกร อดีต รมว.ต่างประเทศ ก้าวลงจากตำแหน่งเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา กระทรวงฯ ก็ไร้ทิศทาง ไม่มีผู้นำที่เข้มแข็งมาควบคุม และไม่มีผู้ใดมีอำนาจที่จะควบคุมความเสียหายหรือวางแผนกลยุทธ์"

    #Newskit
    ความตกต่ำของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้การนำของ มาริษ เสงี่ยมพงษ์ คนใกล้ชิดอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีผลงานโดดเด่น นอกจากไปเป็นพยานให้ทักษิณ ผู้ต้องหาคดี 112 ขออนุญาตศาลออกนอกประเทศ ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา ที่สองพ่อลูก ฮุน เซน และ ฮุน มาเนต ปลุกกระแสชาตินิยม นำปราสาทตาเมือนธม ตาเมือนโต๊ด ตาควาย และช่องบก ร้องต่อศาลโลก ขอให้ตกเป็นของกัมพูชา นอกจากจะแถลงข่าวรายวันก็ไม่มีอะไรโดดเด่น การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) นำโดย นายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย ประธานคณะกรรมาธิการเจบีซีฝ่ายไทย เป็นที่เคลือบแคลงสงสัย นอกจากจะเป็นคู่กรณีนายวีระ สมความคิด เคยบีบบังคับให้ยอมรับผิดว่าบุกรุกดินแดนกัมพูชาและด่าว่าเป็นตัวปัญหาแล้ว ในการประชุมเจบีซีมีไลน์หลุดออกมาว่า นายประศาสน์ พยายามโน้มน้าวให้ไทยยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ที่ทำให้ไทยเสียดินแดน ทำให้เจ้าตัวถึงกับโกรธและไม่คุยด้วย หนำซ้ำ กัมพูชายังสรุปผลการประชุมว่าตกลงใช้แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ทำให้คนไทยโกรธแค้นเพราะเสียเปรียบ ร้อนถึงกระทรวงต้องออกแถลงการณ์ตอนดึก ยืนยันว่าไม่ได้หารือ พร้อมแสดงความผิดหวังที่กัมพูชาเดินหน้านำพื้นที่ 4 จุดขึ้นสู่ศาลโลก สนธิ ลิ้มทองกุล ตั้งคำถามว่า ตั้งแต่ MOU 2543 ถึง MOU 2544 รู้อยู่แล้วว่าเป็นตัวการที่จะทำให้ไทยเสียดินแดน มีการระบุว่าต้องใช้แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ไม่ใช่ 1 ต่อ 50,000 เคยถามตัวเองหรือไม่ว่าทำไมกัมพูชาเจรจากับเวียดนามใช้แผนที่ 1 ต่อ 50,000 ทำไมไทยถึงยอมใช้มาตรา 1 ต่อ 200,000 ส่วนนายประศาสน์ นับตั้งแต่ไปประชุมเจบีซี 3 สัปดาห์แล้วกลับมา ไม่เคยบอกคนไทยว่าไปพูดอะไรบ้าง และไม่บอกว่าไปลงนามข้อตกลงอะไรไว้ เปรียบเป็นไส้ศึกของกัมพูชา ที่น่าสนใจ คือ บทความหัวข้อ Thai diplomacy is now in need of a reset เขียนโดย กวี จงกิจถาวร ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ระบุในตอนหนึ่งว่า แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทำผิดพลาดทางการทูตร้ายแรงจากคลิปเสียงสนทนากับ ฮุน เซน แม้กระทรวงการต่างประเทศพยายามอย่างหนักเพื่อกอบกู้สถานการณ์ทางการทูตที่เหลืออยู่ แต่ขวัญกำลังใจตกต่ำเป็นประวัติการณ์ นักการทูตและเจ้าหน้าที่รู้สึกว่าถูกละเลยและเพิกเฉย นับตั้งแต่แพทองธารเข้ารับตำแหน่ง การตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศก็ดำเนินการโดยทักษิณ และกลุ่มคนใกล้ชิด "นับตั้งแต่ ปานปรีย์ พหิทธานุกร อดีต รมว.ต่างประเทศ ก้าวลงจากตำแหน่งเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา กระทรวงฯ ก็ไร้ทิศทาง ไม่มีผู้นำที่เข้มแข็งมาควบคุม และไม่มีผู้ใดมีอำนาจที่จะควบคุมความเสียหายหรือวางแผนกลยุทธ์" #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 380 มุมมอง 0 รีวิว
  • นิกรเดช พลางกูร นักการทูตที่ลิ่วล้อฮุน เซนดิ้น

    คำว่าสถานการณ์สร้างวีรบุรุษไม่เกินไปจากความเป็นจริง ชื่อของ นิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เมื่อนายเจีย ธิริธ โฆษกส่วนตัวของฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา กล่าวตอบโต้ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง หลังการแถลงข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. จากบทบาทโฆษกที่เป็นตัวแทนรัฐบาล พูดจาแบบเรียบๆ ดูน่าเบื่อบนช่องเอ็นบีที กลายเป็นบุคคลที่ชาวเน็ตในโหมด "ไทยนี้รักสงบแต่พร้อมตบลุงข้างบ้าน" เชียร์ให้โต้กลับแบบนักการทูต แบบดูดีมีชาติตระกูล

    ย้อนกลับไปในการแถลงข่าววันนั้น นายนิกรเดชกล่าวว่า มาตรการตอบโต้ระหว่างไทย-กัมพูชาที่ปรากฏในโซเชียลมีเดีย รวมถึงคำขู่ยื่นคำขาดว่าจะปิดด่านและจะห้ามนำเข้าสิ่งของจากไทย ขอเรียนโดยหลักการและความเชื่อว่า ไทยปฏิบัติตามหลักสากลว่า การเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ดี จะไม่ใช้การยื่นคำขาดต่อกัน (Ultimatum) โดยไม่ได้หารือเพื่อหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน ซึ่งจะมีผลเสียต่อประชาชนของทั้งสองฝ่ายมากที่สุด

    "แนวทางการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียถือว่าไม่ใช่ช่องทางที่เป็นทางการ การยื่นคำขาดอัลติเมตัมต่อกัน และข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดระดับประชาชนนั้น สะท้อนถึงว่ากัมพูชาขาดความตั้งใจจริงในการใช้กลไกทวิภาคีที่มีอยู่ร่วมกัน บนพื้นฐานของความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี รัฐบาลใช้วิจารณญาณ ความมีสติในการออกมาตรการตอบโต้อย่างรอบคอบ และมีวุฒิภาวะ ไม่ใช้อารมณ์ และจะไม่เอาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเป็นประเด็นทางการเมือง"

    ขณะที่โฆษกส่วนตัวของฮุน เซน ไปด่านายนิกรเดชว่าไร้ยางอาย ที่ว่าเพื่อนบ้านที่ดีไม่ควรทำเช่นนั้น แต่ประเทศไทยกลับปิดพรมแดนฝ่ายเดียว เป็นพฤติกรรมของเพื่อนบ้านที่ดีหรือไม่ ไทยปิดพรมแดนของตัวเองและต้องการให้กัมพูชาเจรจา กลัวที่จะถูกทำให้ขายหน้าและต้องการเล่นการทูตที่สกปรกกับพวกเขา งานนี้ชาวเน็ตไทยถึงกับทัวร์ลง

    นิกรเดช พลางกูร มีชื่อเล่นว่า แจ็กกี้ เป็นบุตรชายของ นพ.พิลิปดา พลางกูร เจ้าของบ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ ๕ ย่านบางรัก จบรัฐศาสตรบัณฑิต (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท Master of Arts (International Affairs), The American University สหรัฐอเมริกา เคยมีผลงานเมื่อครั้งเป็นเจ้าหน้าที่การทูต ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือคนไทยในลิเบีย เมื่อครั้งเกิดสงครามกลางเมือง ปี 2554 ปัจจุบันสมรสกับคุณหน่า ภูมิจิต พลางกูร ผู้บริหารสื่อในเครือโพสต์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีเดีย มีลูกสาว 1 คน ชื่อว่าน้องซีรีน

    #Newskit
    นิกรเดช พลางกูร นักการทูตที่ลิ่วล้อฮุน เซนดิ้น คำว่าสถานการณ์สร้างวีรบุรุษไม่เกินไปจากความเป็นจริง ชื่อของ นิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เมื่อนายเจีย ธิริธ โฆษกส่วนตัวของฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา กล่าวตอบโต้ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง หลังการแถลงข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. จากบทบาทโฆษกที่เป็นตัวแทนรัฐบาล พูดจาแบบเรียบๆ ดูน่าเบื่อบนช่องเอ็นบีที กลายเป็นบุคคลที่ชาวเน็ตในโหมด "ไทยนี้รักสงบแต่พร้อมตบลุงข้างบ้าน" เชียร์ให้โต้กลับแบบนักการทูต แบบดูดีมีชาติตระกูล ย้อนกลับไปในการแถลงข่าววันนั้น นายนิกรเดชกล่าวว่า มาตรการตอบโต้ระหว่างไทย-กัมพูชาที่ปรากฏในโซเชียลมีเดีย รวมถึงคำขู่ยื่นคำขาดว่าจะปิดด่านและจะห้ามนำเข้าสิ่งของจากไทย ขอเรียนโดยหลักการและความเชื่อว่า ไทยปฏิบัติตามหลักสากลว่า การเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ดี จะไม่ใช้การยื่นคำขาดต่อกัน (Ultimatum) โดยไม่ได้หารือเพื่อหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน ซึ่งจะมีผลเสียต่อประชาชนของทั้งสองฝ่ายมากที่สุด "แนวทางการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียถือว่าไม่ใช่ช่องทางที่เป็นทางการ การยื่นคำขาดอัลติเมตัมต่อกัน และข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดระดับประชาชนนั้น สะท้อนถึงว่ากัมพูชาขาดความตั้งใจจริงในการใช้กลไกทวิภาคีที่มีอยู่ร่วมกัน บนพื้นฐานของความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี รัฐบาลใช้วิจารณญาณ ความมีสติในการออกมาตรการตอบโต้อย่างรอบคอบ และมีวุฒิภาวะ ไม่ใช้อารมณ์ และจะไม่เอาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเป็นประเด็นทางการเมือง" ขณะที่โฆษกส่วนตัวของฮุน เซน ไปด่านายนิกรเดชว่าไร้ยางอาย ที่ว่าเพื่อนบ้านที่ดีไม่ควรทำเช่นนั้น แต่ประเทศไทยกลับปิดพรมแดนฝ่ายเดียว เป็นพฤติกรรมของเพื่อนบ้านที่ดีหรือไม่ ไทยปิดพรมแดนของตัวเองและต้องการให้กัมพูชาเจรจา กลัวที่จะถูกทำให้ขายหน้าและต้องการเล่นการทูตที่สกปรกกับพวกเขา งานนี้ชาวเน็ตไทยถึงกับทัวร์ลง นิกรเดช พลางกูร มีชื่อเล่นว่า แจ็กกี้ เป็นบุตรชายของ นพ.พิลิปดา พลางกูร เจ้าของบ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ ๕ ย่านบางรัก จบรัฐศาสตรบัณฑิต (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท Master of Arts (International Affairs), The American University สหรัฐอเมริกา เคยมีผลงานเมื่อครั้งเป็นเจ้าหน้าที่การทูต ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือคนไทยในลิเบีย เมื่อครั้งเกิดสงครามกลางเมือง ปี 2554 ปัจจุบันสมรสกับคุณหน่า ภูมิจิต พลางกูร ผู้บริหารสื่อในเครือโพสต์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีเดีย มีลูกสาว 1 คน ชื่อว่าน้องซีรีน #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 536 มุมมอง 0 รีวิว
  • อิหร่านกล่าวโทษอิสราเอลที่ทำให้การเจรจานิวเคลียร์กับสหรัฐฯ ล้มเหลว

    อับบาส อาราฆชี รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน กล่าวกับนักการทูตในกรุงเตหะรานว่า อิหร่านมี "ความตั้งมั่นอย่างแน่วแน่ และทำให้เห็นมาตลอดที่จะไม่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์" นอกจากนี้อิหร่านยังพร้อมที่จะให้คำมั่นในการเจรจากับสหรัฐฯในเรื่องเหล่านี้

    น่าเสียดายที่การเจรจาถูกยกเลิกไปแล้ว โดยอิสราเอลเป็นผู้บ่อนทำลายการทูตนั้น

    อาราฆชียังเรียกร้องให้วอชิงตันประณามการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานนิวเคลียร์ของอิหร่าน (ซึ่งพวกเราจะไม่มีวันได้เห็นการประณามนั้นอย่างแน่นอน)

    อาราฆชียังกล่าวอีกว่า อิหร่านไม่ยอมรับถึงคำปฏิเสธของสหรัฐว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการโจมตีโรงงานนิวเคลียร์นาตันซ์ ซึ่งเป็นโรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียมที่สำคัญของอิหร่าน

    ที่มา: Al Jazeera

    ข้อมูลเพิ่มเติม:
    อิหร่าน เป็นภาคีของสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons หรือเรียกทั่วไปว่า Non-Proliferation Treaty หรือ NPT) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกระจายของอาวุธนิวเคลียร์และเทคโนโลยีอาวุธ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ

    แต่อิสราเอลไม่ยอมเข้าร่วมในสนธิสัญญา NPT นี้!!! และไม่ยอมรับมาตรการป้องกันของ IAEA สำหรับกิจกรรมนิวเคลียร์หลักบางประการของประเทศ นอกจากนี้อิสราเอลยังไม่เคยเปิดเผยข้อมูลนิวเคลียร์ของอิสราเอลโดยที่ไม่มีประเทศใดคว่ำบาตรหรือกดดันอิสราเอลแม้แต่นิดเดียว!
    อิหร่านกล่าวโทษอิสราเอลที่ทำให้การเจรจานิวเคลียร์กับสหรัฐฯ ล้มเหลว อับบาส อาราฆชี รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน กล่าวกับนักการทูตในกรุงเตหะรานว่า อิหร่านมี "ความตั้งมั่นอย่างแน่วแน่ และทำให้เห็นมาตลอดที่จะไม่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์" นอกจากนี้อิหร่านยังพร้อมที่จะให้คำมั่นในการเจรจากับสหรัฐฯในเรื่องเหล่านี้ น่าเสียดายที่การเจรจาถูกยกเลิกไปแล้ว โดยอิสราเอลเป็นผู้บ่อนทำลายการทูตนั้น อาราฆชียังเรียกร้องให้วอชิงตันประณามการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานนิวเคลียร์ของอิหร่าน (ซึ่งพวกเราจะไม่มีวันได้เห็นการประณามนั้นอย่างแน่นอน) อาราฆชียังกล่าวอีกว่า อิหร่านไม่ยอมรับถึงคำปฏิเสธของสหรัฐว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการโจมตีโรงงานนิวเคลียร์นาตันซ์ ซึ่งเป็นโรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียมที่สำคัญของอิหร่าน ที่มา: Al Jazeera ข้อมูลเพิ่มเติม: 👉อิหร่าน เป็นภาคีของสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons หรือเรียกทั่วไปว่า Non-Proliferation Treaty หรือ NPT) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกระจายของอาวุธนิวเคลียร์และเทคโนโลยีอาวุธ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ 👉แต่อิสราเอลไม่ยอมเข้าร่วมในสนธิสัญญา NPT นี้!!! และไม่ยอมรับมาตรการป้องกันของ IAEA สำหรับกิจกรรมนิวเคลียร์หลักบางประการของประเทศ นอกจากนี้อิสราเอลยังไม่เคยเปิดเผยข้อมูลนิวเคลียร์ของอิสราเอลโดยที่ไม่มีประเทศใดคว่ำบาตรหรือกดดันอิสราเอลแม้แต่นิดเดียว!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 203 มุมมอง 0 รีวิว
  • รมต.กต.ถึงกรุงปารีสก่อนร่วมประชุม OECD พรุ่งนี้ เผยติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาใกล้ชิด สั่งปลัด กต รวบรวมหลักฐาน โดยเฉพาะข้อกฎหมาย เตรียมท่าทีสำหรับเจรจาในกรอบ JBC เร็วๆ นี้ ยันผู้นำกัมพูชาขอมติสภาส่งร้องศาลโลก เป็นสิทธิ์ ไม่กระทบคุย JBC เผยประท้วงกลับกัมพูชาแล้ว ย้ำไทยปฏิบัติตามหลักสากล ยึดหลักอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน

    เมื่อเวลา 11:00 น. วันที่ 2 มิ.ย.ตามเวลาประเทศฝรั่งเศส นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางถึงกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะมนตรี OECD ในระดับรัฐมนตรี ในวันพรุ่งนี้ พร้อมเผยถึง สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ว่าตน และกระทรวงการต่างประเทศ ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ต่อเนื่อง และได้สั่งการให้ปลัดกต.เรียกประชุมกรมกองที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาท่าทีในเรื่องนี้ โดยมอบนโยบายว่าเราจะต้องใช้ยุทธศาสตร์ที่เรามีทุกอย่าง ไปในทิศทางเดียวกัน ที่สำคัญที่สุด คืออยากจะเห็นนโยบายที่เราจะต้องเจรจา และหาทางแก้ไขปัญหานี้อย่างสันติ ไม่นำไปสู่การขยายตัวของความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตนไม่อยากเห็นว่าประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างยาวนาน สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี ไม่ใช้กำลัง จึงเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงการต่างประเทศ เป็นสิ่งที่นักการทูตจำเป็นจะต้องใช้

    อย่างไรก็ตาม ตนได้สั่งการให้ปลัด กต. ไปคุยกับกรมกองที่เกี่ยวข้องเพื่อไปรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกฎหมาย รวมภาพถ่ายทั้งหลายเตรียมท่าทีสำหรับไปเจรจาโดยเร็วในกรอบของ JBC ซึ่งตัวนี้จะมีความสำคัญ เพราะเราสามารถเจรจาหาทางออกได้ ซึ่งจะได้หรือไม่ได้นั้นตนไม่สามารถที่จะการันตีได้ แต่ว่าเป็นกลไกสำคัญที่เรามีอยู่กับกัมพูชา ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี ทั้งนี้ประเทศไทยได้ผลักดันกับทางกัมพูชา ที่จะขอให้มีการจัดการประชุม JBC โดยเร็วที่สุด ขณะนี้กัมพูชา จะต้องเป็นเจ้าภาพการประชุม แต่ตนก็ยืนยันไปด้วยว่า ถ้ากัมพูชายังไม่มีความพร้อม ประเทศไทยพร้อมจัด เนื่องจากเราเห็นความสำคัญของกลไกนี้ ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาใน 2 ด้าน 1. การลดความตึงเครียด ที่เกิดขึ้น และ 2. การมานั่งพูดคุยว่าเราจะกำหนด หรือหาทางแก้ไขเส้นเขตแดนระหว่างประเทศได้อย่างไร

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000051893

    #MGROnline #ไทย #กัมพูชา
    รมต.กต.ถึงกรุงปารีสก่อนร่วมประชุม OECD พรุ่งนี้ เผยติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาใกล้ชิด สั่งปลัด กต รวบรวมหลักฐาน โดยเฉพาะข้อกฎหมาย เตรียมท่าทีสำหรับเจรจาในกรอบ JBC เร็วๆ นี้ ยันผู้นำกัมพูชาขอมติสภาส่งร้องศาลโลก เป็นสิทธิ์ ไม่กระทบคุย JBC เผยประท้วงกลับกัมพูชาแล้ว ย้ำไทยปฏิบัติตามหลักสากล ยึดหลักอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน • เมื่อเวลา 11:00 น. วันที่ 2 มิ.ย.ตามเวลาประเทศฝรั่งเศส นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางถึงกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะมนตรี OECD ในระดับรัฐมนตรี ในวันพรุ่งนี้ พร้อมเผยถึง สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ว่าตน และกระทรวงการต่างประเทศ ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ต่อเนื่อง และได้สั่งการให้ปลัดกต.เรียกประชุมกรมกองที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาท่าทีในเรื่องนี้ โดยมอบนโยบายว่าเราจะต้องใช้ยุทธศาสตร์ที่เรามีทุกอย่าง ไปในทิศทางเดียวกัน ที่สำคัญที่สุด คืออยากจะเห็นนโยบายที่เราจะต้องเจรจา และหาทางแก้ไขปัญหานี้อย่างสันติ ไม่นำไปสู่การขยายตัวของความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตนไม่อยากเห็นว่าประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างยาวนาน สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี ไม่ใช้กำลัง จึงเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงการต่างประเทศ เป็นสิ่งที่นักการทูตจำเป็นจะต้องใช้ • อย่างไรก็ตาม ตนได้สั่งการให้ปลัด กต. ไปคุยกับกรมกองที่เกี่ยวข้องเพื่อไปรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกฎหมาย รวมภาพถ่ายทั้งหลายเตรียมท่าทีสำหรับไปเจรจาโดยเร็วในกรอบของ JBC ซึ่งตัวนี้จะมีความสำคัญ เพราะเราสามารถเจรจาหาทางออกได้ ซึ่งจะได้หรือไม่ได้นั้นตนไม่สามารถที่จะการันตีได้ แต่ว่าเป็นกลไกสำคัญที่เรามีอยู่กับกัมพูชา ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี ทั้งนี้ประเทศไทยได้ผลักดันกับทางกัมพูชา ที่จะขอให้มีการจัดการประชุม JBC โดยเร็วที่สุด ขณะนี้กัมพูชา จะต้องเป็นเจ้าภาพการประชุม แต่ตนก็ยืนยันไปด้วยว่า ถ้ากัมพูชายังไม่มีความพร้อม ประเทศไทยพร้อมจัด เนื่องจากเราเห็นความสำคัญของกลไกนี้ ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาใน 2 ด้าน 1. การลดความตึงเครียด ที่เกิดขึ้น และ 2. การมานั่งพูดคุยว่าเราจะกำหนด หรือหาทางแก้ไขเส้นเขตแดนระหว่างประเทศได้อย่างไร • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000051893 • #MGROnline #ไทย #กัมพูชา
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 337 มุมมอง 0 รีวิว
  • อิสราเอลยิงเตือนใส่กลุ่มนักการทูต จุดชนวนประณามท่ามกลางแรงกดดันในฉนวนกาซา
    https://www.thai-tai.tv/news/18836/
    อิสราเอลยิงเตือนใส่กลุ่มนักการทูต จุดชนวนประณามท่ามกลางแรงกดดันในฉนวนกาซา https://www.thai-tai.tv/news/18836/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 64 มุมมอง 0 รีวิว
  • กลุ่ม APT29 ซึ่งเชื่อมโยงกับหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของรัสเซีย (SVR) ได้เปิดตัว มัลแวร์ตัวใหม่ GRAPELOADER เพื่อใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์ต่อ นักการทูตยุโรป โดยใช้เทคนิค ฟิชชิงผ่านคำเชิญงานชิมไวน์

    APT29 ใช้ GRAPELOADER เพื่อเจาะระบบของนักการทูตยุโรป
    - กลุ่มแฮกเกอร์ปลอมตัวเป็น กระทรวงการต่างประเทศยุโรป และส่งคำเชิญงานชิมไวน์
    - เมื่อเป้าหมายคลิกลิงก์ จะถูกนำไปสู่การติดตั้ง GRAPELOADER ซึ่งเป็นมัลแวร์ใหม่

    GRAPELOADER ใช้เทคนิค DLL side-loading เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับ
    - มัลแวร์ถูกซ่อนอยู่ในไฟล์ wine.zip ซึ่งมีไฟล์ wine.exe และ DLL ที่ถูกดัดแปลง
    - เมื่อถูกโหลดเข้าสู่ระบบ GRAPELOADER จะ ตั้งค่าความคงอยู่และส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ควบคุม

    APT29 เคยใช้มัลแวร์ WINELOADER ในการโจมตีมาก่อน
    - WINELOADER ถูกใช้ในปี 2024 เพื่อโจมตี พรรคการเมืองเยอรมัน
    - ในการโจมตีครั้งนี้ WINELOADER อาจถูกใช้เป็น payload ขั้นสุดท้าย

    เทคนิคการหลบเลี่ยงการตรวจจับของ GRAPELOADER
    - ใช้ การเข้ารหัส HTTPS เพื่อสื่อสารกับเซิร์ฟเวอร์ควบคุม
    - ใช้ เทคนิคป้องกันการวิเคราะห์ เพื่อทำให้การตรวจสอบโค้ดยากขึ้น

    Check Point เผยแพร่ Indicators of Compromise (IoC) เพื่อช่วยป้องกันการโจมตี
    - รายงานประกอบด้วย ชื่อไฟล์, ค่าแฮช และ URL ของเซิร์ฟเวอร์ควบคุม
    - องค์กรสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อ สร้างระบบตรวจจับและป้องกันภัยคุกคาม

    https://www.csoonline.com/article/3964203/russia-linked-apt29-targets-european-diplomats-with-new-malware.html
    กลุ่ม APT29 ซึ่งเชื่อมโยงกับหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของรัสเซีย (SVR) ได้เปิดตัว มัลแวร์ตัวใหม่ GRAPELOADER เพื่อใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์ต่อ นักการทูตยุโรป โดยใช้เทคนิค ฟิชชิงผ่านคำเชิญงานชิมไวน์ ✅ APT29 ใช้ GRAPELOADER เพื่อเจาะระบบของนักการทูตยุโรป - กลุ่มแฮกเกอร์ปลอมตัวเป็น กระทรวงการต่างประเทศยุโรป และส่งคำเชิญงานชิมไวน์ - เมื่อเป้าหมายคลิกลิงก์ จะถูกนำไปสู่การติดตั้ง GRAPELOADER ซึ่งเป็นมัลแวร์ใหม่ ✅ GRAPELOADER ใช้เทคนิค DLL side-loading เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับ - มัลแวร์ถูกซ่อนอยู่ในไฟล์ wine.zip ซึ่งมีไฟล์ wine.exe และ DLL ที่ถูกดัดแปลง - เมื่อถูกโหลดเข้าสู่ระบบ GRAPELOADER จะ ตั้งค่าความคงอยู่และส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ควบคุม ✅ APT29 เคยใช้มัลแวร์ WINELOADER ในการโจมตีมาก่อน - WINELOADER ถูกใช้ในปี 2024 เพื่อโจมตี พรรคการเมืองเยอรมัน - ในการโจมตีครั้งนี้ WINELOADER อาจถูกใช้เป็น payload ขั้นสุดท้าย ✅ เทคนิคการหลบเลี่ยงการตรวจจับของ GRAPELOADER - ใช้ การเข้ารหัส HTTPS เพื่อสื่อสารกับเซิร์ฟเวอร์ควบคุม - ใช้ เทคนิคป้องกันการวิเคราะห์ เพื่อทำให้การตรวจสอบโค้ดยากขึ้น ✅ Check Point เผยแพร่ Indicators of Compromise (IoC) เพื่อช่วยป้องกันการโจมตี - รายงานประกอบด้วย ชื่อไฟล์, ค่าแฮช และ URL ของเซิร์ฟเวอร์ควบคุม - องค์กรสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อ สร้างระบบตรวจจับและป้องกันภัยคุกคาม https://www.csoonline.com/article/3964203/russia-linked-apt29-targets-european-diplomats-with-new-malware.html
    WWW.CSOONLINE.COM
    Russia-linked APT29 targets European diplomats with new malware
    The phishing campaign impersonates ambassadors by sending out invitations to wine tastings.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 405 มุมมอง 0 รีวิว
  • บริดเจ็ต บริงค์ (Bridget Brink) เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำยูเครน ประกาศลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ

    -กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐยืนยันการลาออกของเธอแล้ว

    ตามข้อมูลจากแหล่งข่าวระบุว่า การตัดสินใจของบริงค์เกิดจากปัจจัยทางการเมืองหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงเรื่องการตัดลดงบประมาณของ USAID เมื่อไม่นานนี้ ซึ่งเอกอัครราชทูตบริงค์ถือเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับพรรคเดโมแครตอย่างมาก และเป็นผู้สนับสนุนหลักของกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ได้รับทุนสนับสนุนหลายกลุ่มในยูเครน

    นอกจากนี้ เธอยังมีความเครียดจากการต้องทำหน้าที่อยู่ในประเทศที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงโดยไม่มีครอบครัวอยู่ด้วย ซึ่งยูเครนถูกจัดให้อยู่ในสถานะเป็นประเทศด่านหน้าสำหรับความยากลำบาก นักการทูตสหรัฐจะไม่สามารถพาครอบครัวมาอยู่ร่วมด้วยได้

    ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง บริงค์ และเซเลนสกี อยู่ในช่วงที่ไม่ราบรื่นนัก โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเซเลนสกีวิจารณ์เธออย่างรุนแรงที่ไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกมาประณามรัสเซียหลังจากขีปนาวุธของรัสเซียสังหารกองทหารต่างชาติไปกว่า 85 รายในเมือง Kryvyi Rih

    “น่าเสียดายที่การตอบสนองจากสถานทูตสหรัฐฯ นั้นน่าผิดหวังอย่างน่าประหลาดใจ – ประเทศที่เข้มแข็ง ประชาชนที่เข้มแข็ง แต่ปฏิกิริยากลับอ่อนแอ” เซเลนสกี เขียนบน X


    การลาออกของเธอได้รับการคาดหมายจากสื่อของสหรัฐมาล่วงหน้าแล้ว ตั้งแต่ทรัมป์กลับเข้าทำเนียบขาวเป็นสมัยที่สอง
    บริดเจ็ต บริงค์ (Bridget Brink) เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำยูเครน ประกาศลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ -กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐยืนยันการลาออกของเธอแล้ว ตามข้อมูลจากแหล่งข่าวระบุว่า การตัดสินใจของบริงค์เกิดจากปัจจัยทางการเมืองหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงเรื่องการตัดลดงบประมาณของ USAID เมื่อไม่นานนี้ ซึ่งเอกอัครราชทูตบริงค์ถือเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับพรรคเดโมแครตอย่างมาก และเป็นผู้สนับสนุนหลักของกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ได้รับทุนสนับสนุนหลายกลุ่มในยูเครน นอกจากนี้ เธอยังมีความเครียดจากการต้องทำหน้าที่อยู่ในประเทศที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงโดยไม่มีครอบครัวอยู่ด้วย ซึ่งยูเครนถูกจัดให้อยู่ในสถานะเป็นประเทศด่านหน้าสำหรับความยากลำบาก นักการทูตสหรัฐจะไม่สามารถพาครอบครัวมาอยู่ร่วมด้วยได้ ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง บริงค์ และเซเลนสกี อยู่ในช่วงที่ไม่ราบรื่นนัก โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเซเลนสกีวิจารณ์เธออย่างรุนแรงที่ไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกมาประณามรัสเซียหลังจากขีปนาวุธของรัสเซียสังหารกองทหารต่างชาติไปกว่า 85 รายในเมือง Kryvyi Rih “น่าเสียดายที่การตอบสนองจากสถานทูตสหรัฐฯ นั้นน่าผิดหวังอย่างน่าประหลาดใจ – ประเทศที่เข้มแข็ง ประชาชนที่เข้มแข็ง แต่ปฏิกิริยากลับอ่อนแอ” เซเลนสกี เขียนบน X การลาออกของเธอได้รับการคาดหมายจากสื่อของสหรัฐมาล่วงหน้าแล้ว ตั้งแต่ทรัมป์กลับเข้าทำเนียบขาวเป็นสมัยที่สอง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 524 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัสเซียไม่อาจยอมรับข้อเสนอของสหรัฐฯ สำหรับยุติสงครามในยูเครน ในรูปแบบปัจจุบัน สืบเนื่องจากเงื่อนไขต่างๆเหล่านั้นไม่จัดการกับปัญหาทั้งหลายที่มอสโกมองว่าเป็นรากเหง้าของความขัดแย้ง จากการเปิดเผยของนักการทูตระดับสูงรายหนึ่งของรัสซีย บ่งชี้ว่าการเจรจาระหว่างวอชิงตันกับมอสโกต้องประสบกับภาวะชะงักงัน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000031232
    รัสเซียไม่อาจยอมรับข้อเสนอของสหรัฐฯ สำหรับยุติสงครามในยูเครน ในรูปแบบปัจจุบัน สืบเนื่องจากเงื่อนไขต่างๆเหล่านั้นไม่จัดการกับปัญหาทั้งหลายที่มอสโกมองว่าเป็นรากเหง้าของความขัดแย้ง จากการเปิดเผยของนักการทูตระดับสูงรายหนึ่งของรัสซีย บ่งชี้ว่าการเจรจาระหว่างวอชิงตันกับมอสโกต้องประสบกับภาวะชะงักงัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000031232
    Like
    Love
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1482 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐและรัสเซียจะพบกันอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (27 กุมภาพันธ์) ที่อิสตันบูล ประเทศตุรกี
    - ลาฟรอฟ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศยรัสเซีย

    การประชุมครั้งนี้ จะเกี่ยวกับการทำงานของสถานทูตของทั้งสองประเทศโดยมีนักการทูตรัสเซียและอเมริกา รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าร่วมประชุม
    สหรัฐและรัสเซียจะพบกันอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (27 กุมภาพันธ์) ที่อิสตันบูล ประเทศตุรกี - ลาฟรอฟ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศยรัสเซีย การประชุมครั้งนี้ จะเกี่ยวกับการทำงานของสถานทูตของทั้งสองประเทศโดยมีนักการทูตรัสเซียและอเมริกา รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าร่วมประชุม
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 280 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์ทิ้งบอมบ์รอบใหม่ ขู่รีดภาษีศุลกากรรถนำเข้า 25% และจัดเก็บในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเซมิคอนดักเตอร์ ด้านจีนประณามมาตรการภาษีและการข่มขู่ของทรัมป์ระหว่างการประชุมองค์การการค้าโลกว่า เป็นการคุกคามระบบการค้าและทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอย
    .
    นับจากเข้ารับตำแหน่งปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้สั่งเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าของพวกประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดบางแห่งโดยอ้างว่า เพื่อตอบโต้กับแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่เอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับสหรัฐฯ นอกจากนั้น ในหลายกรณีก็ระบุเหตุผลว่าเพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของอเมริกา อย่างเช่นการปราบปรามการอพยพเข้าสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมาย
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศรีดภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าทุกรายการจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10% และปักกิ่งได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกันในขนาดขอบเขตที่แคบกว่า จากนั้นทรัมป์ยังสั่งขึ้นภาษีที่เก็บจากเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมนำเข้าจากทุกประเทศในอัตรา 25%
    .
    ล่าสุดในวันอังคาร (18 ก.พ.) ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรที่จะเรียกเก็บจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในอัตราประมาณ 25% โดยจะบังคับใช้ในราววันที่ 2 เมษายน
    .
    สำหรับสินค้าพวกยาและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งทรัมป์เคยบอกไว้ว่าจะพิจารณาเพิ่มภาษีในช่วงเวลาเดียวกับรถยนต์นั้น ทรัมป์ขยายความในคราวนี้ว่า จะเก็บสูงขึ้นในอัตรา 25% หรือสูงกว่านั้น แล้วจากนั้นจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายใน 1 ปี แต่เขายังไม่ระบุว่าจะเริ่มเมื่อใด
    .
    เขายังบอกว่า ต้องการให้เวลาพวกบริษัทที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้กลับลำมาทำธุรกิจในอเมริกา และเสริมด้วยว่า ประเทศคู่ค้าของวอชิงตันก็สามารถหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีเพิ่มได้ด้วยการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอเมริกา
    .
    อย่างไรก็ตาม พวกผู้เชี่ยวชาญย้ำคำเตือนที่ได้ให้ไว้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ที่ว่ามาตรการเพิ่มภาษีศุลกาการจากสินค้านำเข้านั้น คนอเมริกันเองมีแนวโน้มต้องแบกรับมากกว่าพวกผู้ส่งออกต่างชาติ เนื่องจากคนที่ต้องควักเงินจ่ายภาษีจริงๆ ก็คือผู้นำเข้าในอเมริกา และพวกเขาก็มักแบ่งเบาภาระนี้ด้วยการขึ้นราคาสินค้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ
    .
    เฉพาะรถยนต์นั้น ปัจจุบันรถยนต์ราว 50% ที่ขายในอเมริกาเป็นรถที่ผลิตภายในประเทศ ขณะที่รถนำเข้าประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถจากเม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบรนด์ระดับอินเตอร์ไปตั้งโรงงานประกอบกันที่นั่น นอกจากนั้นยังมีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนีที่เป็นซัปพลายเออร์รายสำคัญ
    .
    เอเชียจับตามาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างระมัดระวังมาก เนื่องจากมีซัปพลายเออร์หลักบางแห่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาตั้งอยู่
    .
    โยชิมาสะ ฮายาชิ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธว่า ญี่ปุ่นได้หยิบยกประเด็นภาษีศุลกากรรถยนต์หารือกับอเมริกาแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมควบคู่กับการตรวจสอบรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงของมาตรการภาษีดังกล่าว
    .
    ทางด้านไต้หวันที่เป็นฮับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกและถูกทรัมป์กล่าวหาว่า ปล้นอุตสาหกรรมชิปไปจากอเมริกานั้น ก็แสดงท่าทีตื่นตัวเฝ้าระวัง ถึงแม้กระทรวงเศรษฐกิจแถลงว่า ขอบเขตผลิตภัณฑ์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษียังไม่มีความชัดเจน และรัฐบาลจะติดตามทิศทางนโยบายของอเมริกาต่อไป รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อน
    .
    ก่อนหน้านี้ไทเปประกาศแล้วว่า จะเพิ่มการลงทุนในอเมริกาเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงมาตรการภาษีของทรัมป์
    .
    ผู้นำอเมริกายังแสดงความยินดีที่สหภาพยุโรป ลดภาษีศุลกากรรถยนต์จาก 10% เหลือ 2.5% เท่ากับอเมริกา และบอกว่า ถ้าทุกประเทศทำแบบนี้ การค้าทั่วโลกจะแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง หลี่ เฉิงกัง เอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ประณามมาตรการภาษีศุลกากรและการข่มขู่ของทรัมป์ ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีใหญ่ดับเบิลยูทีโอในวันอังคารโดยระบุว่า การขึ้นภาษีอย่างแรงและการดำเนินการฝ่ายเดียวของทรัมป์เช่นนี้ ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อระบบการค้าโลก ทำให้เศรษฐกิจไร้ความแน่นอนมากขึ้น การค้าโลกสะดุด เสี่ยงเกิดภาวะเฟ้อในอเมริกา บิดเบือนตลาด หรือแม้กระทั่งทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
    .
    ทว่า เดวิด บิสบี นักการทูตของอเมริกาตอบโต้ว่า เศรษฐกิจจีนเป็นระบบเศรษฐกิจนักล่าที่ไม่ได้อิงกับตลาด และเสริมว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่เข้าเป็นสมาชิก จีนละเมิด เพิกเฉย และหลบเลี่ยงกฎของดับเบิลยูทีโอมาหลายครั้ง
    .
    ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในดับเบิลยูทีโอเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตันละเมิดกฎ ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ปักกิ่งไม่สมควรได้รับสถานะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้รับการปฏิบัติพิเศษภายใต้กฎของดับเบิลยูทีโอ
    .
    นอกจากนั้น การที่คณะบริหารของทรัมป์ประกาศแผนถอนตัวจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง ยังเท่ากับว่า ดับเบิลยูทีโอไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำเนียบขาวคำนึงถึงมากนัก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016777
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์ทิ้งบอมบ์รอบใหม่ ขู่รีดภาษีศุลกากรรถนำเข้า 25% และจัดเก็บในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเซมิคอนดักเตอร์ ด้านจีนประณามมาตรการภาษีและการข่มขู่ของทรัมป์ระหว่างการประชุมองค์การการค้าโลกว่า เป็นการคุกคามระบบการค้าและทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอย . นับจากเข้ารับตำแหน่งปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้สั่งเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าของพวกประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดบางแห่งโดยอ้างว่า เพื่อตอบโต้กับแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่เอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับสหรัฐฯ นอกจากนั้น ในหลายกรณีก็ระบุเหตุผลว่าเพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของอเมริกา อย่างเช่นการปราบปรามการอพยพเข้าสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมาย . ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศรีดภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าทุกรายการจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10% และปักกิ่งได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกันในขนาดขอบเขตที่แคบกว่า จากนั้นทรัมป์ยังสั่งขึ้นภาษีที่เก็บจากเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมนำเข้าจากทุกประเทศในอัตรา 25% . ล่าสุดในวันอังคาร (18 ก.พ.) ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรที่จะเรียกเก็บจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในอัตราประมาณ 25% โดยจะบังคับใช้ในราววันที่ 2 เมษายน . สำหรับสินค้าพวกยาและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งทรัมป์เคยบอกไว้ว่าจะพิจารณาเพิ่มภาษีในช่วงเวลาเดียวกับรถยนต์นั้น ทรัมป์ขยายความในคราวนี้ว่า จะเก็บสูงขึ้นในอัตรา 25% หรือสูงกว่านั้น แล้วจากนั้นจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายใน 1 ปี แต่เขายังไม่ระบุว่าจะเริ่มเมื่อใด . เขายังบอกว่า ต้องการให้เวลาพวกบริษัทที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้กลับลำมาทำธุรกิจในอเมริกา และเสริมด้วยว่า ประเทศคู่ค้าของวอชิงตันก็สามารถหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีเพิ่มได้ด้วยการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอเมริกา . อย่างไรก็ตาม พวกผู้เชี่ยวชาญย้ำคำเตือนที่ได้ให้ไว้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ที่ว่ามาตรการเพิ่มภาษีศุลกาการจากสินค้านำเข้านั้น คนอเมริกันเองมีแนวโน้มต้องแบกรับมากกว่าพวกผู้ส่งออกต่างชาติ เนื่องจากคนที่ต้องควักเงินจ่ายภาษีจริงๆ ก็คือผู้นำเข้าในอเมริกา และพวกเขาก็มักแบ่งเบาภาระนี้ด้วยการขึ้นราคาสินค้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ . เฉพาะรถยนต์นั้น ปัจจุบันรถยนต์ราว 50% ที่ขายในอเมริกาเป็นรถที่ผลิตภายในประเทศ ขณะที่รถนำเข้าประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถจากเม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบรนด์ระดับอินเตอร์ไปตั้งโรงงานประกอบกันที่นั่น นอกจากนั้นยังมีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนีที่เป็นซัปพลายเออร์รายสำคัญ . เอเชียจับตามาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างระมัดระวังมาก เนื่องจากมีซัปพลายเออร์หลักบางแห่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาตั้งอยู่ . โยชิมาสะ ฮายาชิ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธว่า ญี่ปุ่นได้หยิบยกประเด็นภาษีศุลกากรรถยนต์หารือกับอเมริกาแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมควบคู่กับการตรวจสอบรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงของมาตรการภาษีดังกล่าว . ทางด้านไต้หวันที่เป็นฮับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกและถูกทรัมป์กล่าวหาว่า ปล้นอุตสาหกรรมชิปไปจากอเมริกานั้น ก็แสดงท่าทีตื่นตัวเฝ้าระวัง ถึงแม้กระทรวงเศรษฐกิจแถลงว่า ขอบเขตผลิตภัณฑ์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษียังไม่มีความชัดเจน และรัฐบาลจะติดตามทิศทางนโยบายของอเมริกาต่อไป รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อน . ก่อนหน้านี้ไทเปประกาศแล้วว่า จะเพิ่มการลงทุนในอเมริกาเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงมาตรการภาษีของทรัมป์ . ผู้นำอเมริกายังแสดงความยินดีที่สหภาพยุโรป ลดภาษีศุลกากรรถยนต์จาก 10% เหลือ 2.5% เท่ากับอเมริกา และบอกว่า ถ้าทุกประเทศทำแบบนี้ การค้าทั่วโลกจะแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม . ในอีกด้านหนึ่ง หลี่ เฉิงกัง เอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ประณามมาตรการภาษีศุลกากรและการข่มขู่ของทรัมป์ ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีใหญ่ดับเบิลยูทีโอในวันอังคารโดยระบุว่า การขึ้นภาษีอย่างแรงและการดำเนินการฝ่ายเดียวของทรัมป์เช่นนี้ ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อระบบการค้าโลก ทำให้เศรษฐกิจไร้ความแน่นอนมากขึ้น การค้าโลกสะดุด เสี่ยงเกิดภาวะเฟ้อในอเมริกา บิดเบือนตลาด หรือแม้กระทั่งทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย . ทว่า เดวิด บิสบี นักการทูตของอเมริกาตอบโต้ว่า เศรษฐกิจจีนเป็นระบบเศรษฐกิจนักล่าที่ไม่ได้อิงกับตลาด และเสริมว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่เข้าเป็นสมาชิก จีนละเมิด เพิกเฉย และหลบเลี่ยงกฎของดับเบิลยูทีโอมาหลายครั้ง . ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในดับเบิลยูทีโอเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตันละเมิดกฎ ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ปักกิ่งไม่สมควรได้รับสถานะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้รับการปฏิบัติพิเศษภายใต้กฎของดับเบิลยูทีโอ . นอกจากนั้น การที่คณะบริหารของทรัมป์ประกาศแผนถอนตัวจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง ยังเท่ากับว่า ดับเบิลยูทีโอไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำเนียบขาวคำนึงถึงมากนัก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016777 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2915 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย
    .
    ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
    .
    อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก
    .
    ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย
    .
    รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว
    .
    การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า
    .
    ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา
    .
    “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน”
    .
    ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง
    .
    ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    .
    ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่
    .
    บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย
    .
    การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน
    .
    รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย
    .
    การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา
    .
    เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ
    .
    โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น
    .
    รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ
    .
    คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน
    .
    ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น
    .
    บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง
    .
    ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย . ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น . อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก . ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย . รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว . การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า . ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา . “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน” . ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง . ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ . ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่ . บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย . การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน . รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย . การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา . เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ . โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น . รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ . คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน . ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น . บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง . ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2852 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เปิดเผยผลการเจรจาระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ดังนี้:
    - มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าฝ่ายอเมริกาเริ่มรับฟังจุดยืนของรัสเซียมากขึ้น: การสนทนามีประโยชน์มาก

    - ทั้งสองตกลงที่จะแต่งตั้งเอกอัครราชทูตเข้ามาทำหน้าที่อย่างรวดเร็วเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต

    - ตกลงที่จะขจัดอุปสรรคที่รัฐบาลไบเดนสร้างขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งขัดขวางการทำงานของคณะผู้แทนทางการทูตของทั้งสอง

    - อุปสรรคต่างๆ ที่ถูกสร้างโดยรัฐบาลของไบเดน ซึ่งทำให้การทำงานของนักการทูตประสบความยากลำบากนั้น จะต้องได้รับการกำจัดออกไป ซึ่งรวมถึงการยึดทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง

    - ตกลงที่จะจัดตั้งกระบวนการแก้ไขข้อขัดแย้งในยูเครน โดยจะมีการแต่งตั้งทีมเจรจาในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อทำงานเกี่ยวกับข้อตกลงยูเครนอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ

    - ตกลงที่จะสร้างเงื่อนไขสำหรับการฟื้นคืนความร่วมมือทวิภาคีควบคู่ไปกับการแก้ไขวิกฤตยูเครน

    - รัสเซียแจ้งโดยตรงต่อสหรัฐว่า การที่ยูเครนเข้าเป็นสมาชิก NATO คือภัยคุกคามโดยตรง และการมีทหารจากประเทศสมาชิก NATO แม้จะอยู่ภายใต้ธงประเทศในสหภาพยุโรปหรือธงอื่นๆ ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้

    - สหรัฐอเมริกา ต้องการให้ยกเลิกเป้าหมายในการโจมตีโครงสร้างด้านพลังงานทั้งในรัสเซียและยูเครนในช่วงระหว่างขั้นตอนการเจรจา

    - แต่ละประเทศล้วนชี้นำโดยผลประโยชน์ของชาติของตนเอง ทำให้ความเข้าใจระหว่างรัสเซียและสหรัฐในบางเรื่อง อาจมีความเห็นต่างกัน สิ่งสำคัญคือการหารือร่วมกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า
    เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เปิดเผยผลการเจรจาระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ดังนี้: - มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าฝ่ายอเมริกาเริ่มรับฟังจุดยืนของรัสเซียมากขึ้น: การสนทนามีประโยชน์มาก - ทั้งสองตกลงที่จะแต่งตั้งเอกอัครราชทูตเข้ามาทำหน้าที่อย่างรวดเร็วเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต - ตกลงที่จะขจัดอุปสรรคที่รัฐบาลไบเดนสร้างขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งขัดขวางการทำงานของคณะผู้แทนทางการทูตของทั้งสอง - อุปสรรคต่างๆ ที่ถูกสร้างโดยรัฐบาลของไบเดน ซึ่งทำให้การทำงานของนักการทูตประสบความยากลำบากนั้น จะต้องได้รับการกำจัดออกไป ซึ่งรวมถึงการยึดทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง - ตกลงที่จะจัดตั้งกระบวนการแก้ไขข้อขัดแย้งในยูเครน โดยจะมีการแต่งตั้งทีมเจรจาในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อทำงานเกี่ยวกับข้อตกลงยูเครนอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ - ตกลงที่จะสร้างเงื่อนไขสำหรับการฟื้นคืนความร่วมมือทวิภาคีควบคู่ไปกับการแก้ไขวิกฤตยูเครน - รัสเซียแจ้งโดยตรงต่อสหรัฐว่า การที่ยูเครนเข้าเป็นสมาชิก NATO คือภัยคุกคามโดยตรง และการมีทหารจากประเทศสมาชิก NATO แม้จะอยู่ภายใต้ธงประเทศในสหภาพยุโรปหรือธงอื่นๆ ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ - สหรัฐอเมริกา ต้องการให้ยกเลิกเป้าหมายในการโจมตีโครงสร้างด้านพลังงานทั้งในรัสเซียและยูเครนในช่วงระหว่างขั้นตอนการเจรจา - แต่ละประเทศล้วนชี้นำโดยผลประโยชน์ของชาติของตนเอง ทำให้ความเข้าใจระหว่างรัสเซียและสหรัฐในบางเรื่อง อาจมีความเห็นต่างกัน สิ่งสำคัญคือการหารือร่วมกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 647 มุมมอง 0 รีวิว
  • รายงานข่าวจากMGR Chinaระบุว่าหลายคนงง! ทำไมจีนส่ง “นักรบหมาป่า” ประจำด่านยุโรป

    ข่าวจีนแต่งตั้งนายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศส วัย 60 ปี เป็น #ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรป ทำเอานักการทูตรู้สึกประหลาดใจไปตามๆ กัน เนื่องจากเป็นการแต่งตั้งในช่วงที่ #ความสัมพันธ์จีน-ยุโรปมาถึงจุดเปลี่ยน แต่ด้วยสไตล์บู๊มากกว่าบุ๋นของนายหลู เขาจึงไม่น่าจะใช่กับช่วงเวลาที่มีความละเอียดอ่อนเช่นนี้

    นายหลูขึ้นชื่อในเรื่องการออกมาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างดุดัน จนได้รับฉายานักการทูต “นักรบหมาป่า” ( #Wolf Warrior) ตัวฉกาจ ฉายานี้ใช้เรียกบุคคลที่ออกมาตอบโต้นักวิจารณ์ซึ่งถูกมองว่าเป็นศัตรูกับจีนได้อย่างดุเด็ดเผ็ดมัน

    ท่านทูตผู้นี้เอ่ยวาทะเด็ด แต่ไม่เข้าหูชาติในสหภาพยุโรป (อียู) บ่อยครั้ง เช่น เมื่อปี 2566 ขณะประจำอยู่ที่ฝรั่งเศส นายหลูตั้งคำถามเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของรัฐอดีตสหภาพโซเวียต เขากล่าวกับสถานีโทรทัศน์ว่า รัฐเหล่านี้ไม่มีสถานะที่มีผลบังคับใช้ในกฎหมายระหว่างประเทศ นายหลูมีนัยถึง #กลุ่มรัฐบอลติกคือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนียซึ่งเคยเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต แต่ปัจจุบันเป็นสมาชิกอียูและองค์การนาโต

    “เรายังจำคำพูดเกี่ยวกับรัฐบอลติกนี้ได้ดี” นักการทูตยุโรปในกรุงปักกิ่งคนหนึ่งระบุ

    มีอยู่คราวหนึ่งนาย อังตวน บงดาซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนของมูลนิธิเพื่อการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (FRS) ซึ่งเป็นสถาบันนักคิด บ่นจีนว่ากดดันไม่ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติฝรั่งเศสไปเยือนไต้หวัน ท่านทูตหลูก็เลยจัดให้ชุดใหญ่ไฟกะพริบ ประณามนายบงดาซ์ว่า เป็น “อันธพาลตัวกะเปี๊ยก” “หมาไนบ้า” และ “ตัวป่วนอุดมการณ์” ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านจีน กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสออถแถลงการณ์ประณาม รับไม่ได้กับความคิดเห็นของนายหลู รวมถึง "การดูถูกและข่มขู่ต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติและนักวิจัยชาวฝรั่งเศส" เป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อปี 2564

    ต่อมาในปี 2565 นายหลูให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ แนะให้ชาวไต้หวันเข้ารับการปรับทัศนติเมื่อจีนผนวกไต้หวัน ฝ่ายสนับสนุนเอกราชไต้หวันถึงกับเต้น

    นายหลูดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศสจนครบวาระ 5 ปีในเดือนธันวาคมปี 2567

    ก่อนหน้านั้น สมัยเป็นเอกอัครราชทูตประจำแคนาดา เขาเคยกล่าวหารัฐบาลแคนาดาเมื่อเดือนมกราคมปี 2562 ว่าเป็นคนผิวขาวที่วางอำนาจยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น จากกรณีที่เรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวแคนาดา 2 คนซึ่งถูกจีนควบคุมตัว การจับกุมชาวแคนาดาเกิดขึ้น หลังจาก “เมิ่ง หวั่นโจว” ซีอีโอบริษัทหัวเว่ยถูกแคนาดาจับกุมตัวตามคำร้องขอของสหรัฐอเมริกา

    โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงข่าวการแต่งตั้งเมื่อวันพฤหัสฯ (6 ก.พ.) ว่า นายหลูจะช่วยเหลือและประสานงานการจัดการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอียู โดยเขาเป็นนักการทูตระดับสูงผู้รอบรู้สถานการณ์ในยุโรปเป็นอย่างดี

    ที่ว่าความสัมพันธ์จีน-ยุโรปเดินมาถึงจุดเปลี่ยนนั่นก็คือ พวกสายเหยี่ยวต้านจีนในอียู เช่น นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยนประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ส่งสัญญาณว่ายินดีที่จะทบทวนความสัมพันธ์จีน-อียู ที่กำลังย่ำแย่ อันเนื่องมาจากปัญหาขัดแย้งทางการค้าและความไม่พอใจที่จีนมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับรัสเซีย

    อียูเริ่มเปลี่ยนท่าทีท่ามกลางความตึงเครียดที่ส่อเค้าระหว่างอียู-สหรัฐฯ หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 10% และขู่ขึ้นภาษีกับยุโรปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

    ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปเป็นตำแหน่งที่จีนตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 โดยนายหลูรับตำแหน่งสืบต่อจากนายอู๋ หงปั๋ว วัย 72 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่งคนแรก

    ที่มา : เอเอฟพี/รอยเตอร์
    ภาพประกอบข่าว
    นายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำฝรั่งเศสและผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปคนใหม่ - ภาพ : ซินหัว
    รายงานข่าวจากMGR Chinaระบุว่าหลายคนงง! ทำไมจีนส่ง “นักรบหมาป่า” ประจำด่านยุโรป ข่าวจีนแต่งตั้งนายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศส วัย 60 ปี เป็น #ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรป ทำเอานักการทูตรู้สึกประหลาดใจไปตามๆ กัน เนื่องจากเป็นการแต่งตั้งในช่วงที่ #ความสัมพันธ์จีน-ยุโรปมาถึงจุดเปลี่ยน แต่ด้วยสไตล์บู๊มากกว่าบุ๋นของนายหลู เขาจึงไม่น่าจะใช่กับช่วงเวลาที่มีความละเอียดอ่อนเช่นนี้ นายหลูขึ้นชื่อในเรื่องการออกมาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างดุดัน จนได้รับฉายานักการทูต “นักรบหมาป่า” ( #Wolf Warrior) ตัวฉกาจ ฉายานี้ใช้เรียกบุคคลที่ออกมาตอบโต้นักวิจารณ์ซึ่งถูกมองว่าเป็นศัตรูกับจีนได้อย่างดุเด็ดเผ็ดมัน ท่านทูตผู้นี้เอ่ยวาทะเด็ด แต่ไม่เข้าหูชาติในสหภาพยุโรป (อียู) บ่อยครั้ง เช่น เมื่อปี 2566 ขณะประจำอยู่ที่ฝรั่งเศส นายหลูตั้งคำถามเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของรัฐอดีตสหภาพโซเวียต เขากล่าวกับสถานีโทรทัศน์ว่า รัฐเหล่านี้ไม่มีสถานะที่มีผลบังคับใช้ในกฎหมายระหว่างประเทศ นายหลูมีนัยถึง #กลุ่มรัฐบอลติกคือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนียซึ่งเคยเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต แต่ปัจจุบันเป็นสมาชิกอียูและองค์การนาโต “เรายังจำคำพูดเกี่ยวกับรัฐบอลติกนี้ได้ดี” นักการทูตยุโรปในกรุงปักกิ่งคนหนึ่งระบุ มีอยู่คราวหนึ่งนาย อังตวน บงดาซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนของมูลนิธิเพื่อการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (FRS) ซึ่งเป็นสถาบันนักคิด บ่นจีนว่ากดดันไม่ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติฝรั่งเศสไปเยือนไต้หวัน ท่านทูตหลูก็เลยจัดให้ชุดใหญ่ไฟกะพริบ ประณามนายบงดาซ์ว่า เป็น “อันธพาลตัวกะเปี๊ยก” “หมาไนบ้า” และ “ตัวป่วนอุดมการณ์” ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านจีน กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสออถแถลงการณ์ประณาม รับไม่ได้กับความคิดเห็นของนายหลู รวมถึง "การดูถูกและข่มขู่ต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติและนักวิจัยชาวฝรั่งเศส" เป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อปี 2564 ต่อมาในปี 2565 นายหลูให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ แนะให้ชาวไต้หวันเข้ารับการปรับทัศนติเมื่อจีนผนวกไต้หวัน ฝ่ายสนับสนุนเอกราชไต้หวันถึงกับเต้น นายหลูดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศสจนครบวาระ 5 ปีในเดือนธันวาคมปี 2567 ก่อนหน้านั้น สมัยเป็นเอกอัครราชทูตประจำแคนาดา เขาเคยกล่าวหารัฐบาลแคนาดาเมื่อเดือนมกราคมปี 2562 ว่าเป็นคนผิวขาวที่วางอำนาจยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น จากกรณีที่เรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวแคนาดา 2 คนซึ่งถูกจีนควบคุมตัว การจับกุมชาวแคนาดาเกิดขึ้น หลังจาก “เมิ่ง หวั่นโจว” ซีอีโอบริษัทหัวเว่ยถูกแคนาดาจับกุมตัวตามคำร้องขอของสหรัฐอเมริกา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงข่าวการแต่งตั้งเมื่อวันพฤหัสฯ (6 ก.พ.) ว่า นายหลูจะช่วยเหลือและประสานงานการจัดการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอียู โดยเขาเป็นนักการทูตระดับสูงผู้รอบรู้สถานการณ์ในยุโรปเป็นอย่างดี ที่ว่าความสัมพันธ์จีน-ยุโรปเดินมาถึงจุดเปลี่ยนนั่นก็คือ พวกสายเหยี่ยวต้านจีนในอียู เช่น นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยนประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ส่งสัญญาณว่ายินดีที่จะทบทวนความสัมพันธ์จีน-อียู ที่กำลังย่ำแย่ อันเนื่องมาจากปัญหาขัดแย้งทางการค้าและความไม่พอใจที่จีนมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับรัสเซีย อียูเริ่มเปลี่ยนท่าทีท่ามกลางความตึงเครียดที่ส่อเค้าระหว่างอียู-สหรัฐฯ หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 10% และขู่ขึ้นภาษีกับยุโรปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปเป็นตำแหน่งที่จีนตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 โดยนายหลูรับตำแหน่งสืบต่อจากนายอู๋ หงปั๋ว วัย 72 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่งคนแรก ที่มา : เอเอฟพี/รอยเตอร์ ภาพประกอบข่าว นายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำฝรั่งเศสและผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปคนใหม่ - ภาพ : ซินหัว
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1002 มุมมอง 0 รีวิว
  • อิตาลีจะมีการควบคุมข้อมูลอย่างเต็มที่ภายใต้ข้อตกลงที่อาจเกิดขึ้นกับ Starlink ของ Elon Musk สำหรับการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ปลอดภัย ตัวแทนของบริษัทอวกาศของ Musk ในอิตาลีกล่าวว่า โรมกำลังพิจารณาใช้ระบบโทรคมนาคมของ Musk เพื่อให้การสื่อสารที่เข้ารหัสระหว่างรัฐบาล นักการทูตอิตาลี และเจ้าหน้าที่กลาโหมที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยง

    โครงการนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากพรรคฝ่ายค้านที่ตั้งคำถามว่าการจัดการการสื่อสารดังกล่าวควรจะมอบหมายให้กับบริษัทที่เป็นเจ้าของโดยมหาเศรษฐีเทคโนโลยีสหรัฐหรือไม่ Starlink ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจอวกาศ SpaceX ของ Musk มีดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ 6,700 ดวงในวงโคจรต่ำของโลก และเป็นกำลังสำคัญในภาคส่วนนี้ อิตาลีกำลังพิจารณาข้อตกลงระยะเวลา 5 ปี มูลค่ารวม 1.5 พันล้านยูโร (ประมาณ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อใช้งานของกิจการภายในของรัฐบาล

    Andrea Stroppa ที่ปรึกษาของ Elon Musk กล่าวกับสถานีโทรทัศน์แห่งชาติอิตาลี RAI ว่า "ข้อมูลจะยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเต็มที่ของสถาบันอิตาลี ซึ่งจะสามารถใช้เทคโนโลยีของสหรัฐได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ปกป้องผลประโยชน์ของชาติ" นายกรัฐมนตรี Giorgia Meloni ของอิตาลี ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายค้านเกี่ยวกับการเจรจาเนื่องจากความสัมพันธ์ที่ดีกับ Musk ได้ปฏิเสธข้อกังวลที่ว่าความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการประเมินโครงการ

    การควบคุมข้อมูลอย่างเต็มที่ของอิตาลีในข้อตกลงนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ช่วยให้รัฐบาลสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของสหรัฐได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล ข้อตกลงนี้ยังเป็นการตอบสนองต่อความต้องการในการสื่อสารที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง

    ในความคิดลุงคือ เพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ อิตาลีไม่ควรจะใช้หรือพึ่งพิงดาวเทียมของอเมริกากับ กิจการภายในและภายนอกของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นความลับ ไม่ว่าจะเกิดการสอดส่อง copy ข้อมูลโดยคำสั่งของอเมีริกาเอง หรือ อเมริกาสั่งให้ตัดการสื่อสาร จะทำให้หน่วยงานความมั่นคงของอิตาลีทำงา่นไม่ได้เต็ม 100%

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/01/10/italy-will-fully-control-data-in-any-starlink-deal-musk-adviser-says
    อิตาลีจะมีการควบคุมข้อมูลอย่างเต็มที่ภายใต้ข้อตกลงที่อาจเกิดขึ้นกับ Starlink ของ Elon Musk สำหรับการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ปลอดภัย ตัวแทนของบริษัทอวกาศของ Musk ในอิตาลีกล่าวว่า โรมกำลังพิจารณาใช้ระบบโทรคมนาคมของ Musk เพื่อให้การสื่อสารที่เข้ารหัสระหว่างรัฐบาล นักการทูตอิตาลี และเจ้าหน้าที่กลาโหมที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยง โครงการนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากพรรคฝ่ายค้านที่ตั้งคำถามว่าการจัดการการสื่อสารดังกล่าวควรจะมอบหมายให้กับบริษัทที่เป็นเจ้าของโดยมหาเศรษฐีเทคโนโลยีสหรัฐหรือไม่ Starlink ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจอวกาศ SpaceX ของ Musk มีดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ 6,700 ดวงในวงโคจรต่ำของโลก และเป็นกำลังสำคัญในภาคส่วนนี้ อิตาลีกำลังพิจารณาข้อตกลงระยะเวลา 5 ปี มูลค่ารวม 1.5 พันล้านยูโร (ประมาณ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อใช้งานของกิจการภายในของรัฐบาล Andrea Stroppa ที่ปรึกษาของ Elon Musk กล่าวกับสถานีโทรทัศน์แห่งชาติอิตาลี RAI ว่า "ข้อมูลจะยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเต็มที่ของสถาบันอิตาลี ซึ่งจะสามารถใช้เทคโนโลยีของสหรัฐได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ปกป้องผลประโยชน์ของชาติ" นายกรัฐมนตรี Giorgia Meloni ของอิตาลี ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายค้านเกี่ยวกับการเจรจาเนื่องจากความสัมพันธ์ที่ดีกับ Musk ได้ปฏิเสธข้อกังวลที่ว่าความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการประเมินโครงการ การควบคุมข้อมูลอย่างเต็มที่ของอิตาลีในข้อตกลงนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ช่วยให้รัฐบาลสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของสหรัฐได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล ข้อตกลงนี้ยังเป็นการตอบสนองต่อความต้องการในการสื่อสารที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง ในความคิดลุงคือ เพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ อิตาลีไม่ควรจะใช้หรือพึ่งพิงดาวเทียมของอเมริกากับ กิจการภายในและภายนอกของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นความลับ ไม่ว่าจะเกิดการสอดส่อง copy ข้อมูลโดยคำสั่งของอเมีริกาเอง หรือ อเมริกาสั่งให้ตัดการสื่อสาร จะทำให้หน่วยงานความมั่นคงของอิตาลีทำงา่นไม่ได้เต็ม 100% https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/01/10/italy-will-fully-control-data-in-any-starlink-deal-musk-adviser-says
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Italy will fully control data in any Starlink deal, Musk adviser says
    MILAN (Reuters) - Italy would have full control of its data under any potential deal struck with Elon Musk's Starlink for secure satellite communications, an Italian representative for the billionaire's aerospace businesses said.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 790 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีรายงานที่ยืนยันแล้วว่า ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป นางฟอน เดอร์ เลเยน ไม่ได้รับคำเชิญเข้าร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์ในวันที่ 20 มกราคม

    แม้แต่สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนยังได้รับคำเชิญ แต่คาดว่าสีจะส่งนักการทูตเข้าร่วมพิธีแทน

    แต่การที่ฟอน เดอร์ เลเยนไม่ได้อยู่ในรายชื่อถูกรับเชิญนั้น ทำให้หลายฝ่ายจับตามองความสัมพันธ์ในยุคทรัมป์กับยุโรปจะดำเนินไปในรูปแบบไหน
    มีรายงานที่ยืนยันแล้วว่า ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป นางฟอน เดอร์ เลเยน ไม่ได้รับคำเชิญเข้าร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์ในวันที่ 20 มกราคม แม้แต่สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนยังได้รับคำเชิญ แต่คาดว่าสีจะส่งนักการทูตเข้าร่วมพิธีแทน แต่การที่ฟอน เดอร์ เลเยนไม่ได้อยู่ในรายชื่อถูกรับเชิญนั้น ทำให้หลายฝ่ายจับตามองความสัมพันธ์ในยุคทรัมป์กับยุโรปจะดำเนินไปในรูปแบบไหน
    Like
    Haha
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 548 มุมมอง 0 รีวิว
  • #เรื่องลับของสายลับ CIA | ตอนที่ 1
    โดย #อัษฎางค์ยมนาค

    การปฏิบัติการของ CIA ในการแทรกซึมเข้าไปในต่างประเทศบางครั้งอาจมีการใช้วิธีการส่งเจ้าหน้าที่ปลอมตัวเข้าไปอยู่ในชุมชนหรือองค์กรต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวกรอง โดยเจ้าหน้าที่เหล่านี้อาจแฝงตัวภายใต้บทบาทที่ไม่เป็นที่สงสัย เช่น นักธุรกิจ นักวิชาการ นักข่าว หรือแม้แต่นักการทูต การดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติการลับ (Covert Operations) ที่มุ่งเน้นการรวบรวมข้อมูลข่าวกรองและสร้างเครือข่ายในพื้นที่เป้าหมาย

    การแทรกซึมลักษณะนี้มักถูกใช้ในสถานการณ์ที่หน่วยข่าวกรองต้องการรวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับประเทศหรือกลุ่มเป้าหมาย เช่น ข้อมูลทางการเมือง การทหาร หรือความเคลื่อนไหวต่างๆ โดยการแฝงตัวและการปลอมตัวช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานได้โดยไม่เป็นที่สงสัยหรือตรวจพบจากหน่วยงานท้องถิ่น

    อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวมักถูกเก็บเป็นความลับและไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงต่อทั้งเจ้าหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

    การที่เจ้าหน้าที่ของ CIA สามารถแฝงตัวในองค์กรต่างๆ โดยที่คนในองค์กรหรือประเทศนั้นๆ ไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่ CIA นั้น มีสาเหตุจากหลายปัจจัยที่ซับซ้อน ทั้งการเตรียมการ การปกปิดข้อมูล และการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลายฝ่าย:

    1. การปลอมเอกสารและการจัดเตรียมประวัติ (Cover Story)

    • เจ้าหน้าที่ CIA ที่ถูกส่งเข้าไปปฏิบัติการในต่างประเทศมักจะมี cover story ซึ่งเป็นเรื่องราวและเอกสารที่สนับสนุนบทบาทของพวกเขา เช่น ปลอมตัวเป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ หรือนักข่าว โดยประวัติเหล่านี้มักจะถูกจัดทำอย่างละเอียด ทั้งประวัติการทำงาน การศึกษา รวมถึงการปลอมแปลงเอกสารที่แสดงว่าเขามีคุณสมบัติหรือประสบการณ์ที่สอดคล้องกับตำแหน่งงานนั้นๆ

    • รัฐบาลสหรัฐฯ หรือ CIA เองอาจมีการจัดเตรียมเอกสารที่ดูถูกต้องตามกฎหมายเพื่อสนับสนุนเรื่องราวของเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารที่ยืนยันอาชีพ การศึกษา หรือประสบการณ์ในสาขานั้นๆ ซึ่งทำให้ดูเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือสำหรับองค์กรที่รับสมัครงาน

    2. การฝึกอบรมด้านการปกปิดตัวตน (Tradecraft)

    • เจ้าหน้าที่ CIA ได้รับการฝึกฝนในเรื่องของ tradecraft ซึ่งรวมถึงการปกปิดตัวตน การแทรกซึม และการทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่ลับ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครสามารถสังเกตเห็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ ซึ่งพวกเขาจะเรียนรู้วิธีการสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูล และการปฏิบัติภารกิจโดยไม่เปิดเผยตัวตนที่แท้จริง

    3. ความร่วมมือขององค์กรหรือหน่วยงานภายในประเทศ

    • ในบางกรณี อาจมีหน่วยงานภายในประเทศหรือองค์กรที่ร่วมมือกับ CIA อย่างลับๆ เช่น หน่วยงานข่าวกรองท้องถิ่นหรือนักการเมืองบางกลุ่มที่ต้องการผลประโยชน์ร่วมกัน หรือสนับสนุนการปฏิบัติการของ CIA ภายในประเทศนั้นๆ

    • อย่างไรก็ตาม ในกรณีส่วนใหญ่ องค์กรที่เจ้าหน้าที่ CIA เข้าไปทำงานจะไม่รู้ว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ลับ เพราะ CIA ต้องการให้การปฏิบัติการเป็นความลับที่สุด การที่องค์กรทราบว่าเขาเป็น CIA อาจทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองหรือความเสี่ยงต่อปฏิบัติการลับนั้น

    4. ความลับและการปกปิดข้อมูล

    • การปฏิบัติการลับของ CIA มักมีการรักษาความลับอย่างสูงสุด มีการจำกัดข้อมูลที่สามารถเปิดเผย และเจ้าหน้าที่ในองค์กรที่ CIA เข้าไปฝังตัวจะไม่ได้รับข้อมูลใดๆ ที่บ่งบอกว่าเขาคือเจ้าหน้าที่ CIA ทำให้ไม่มีข้อสงสัยในตัวเขา

    สรุปคือ เจ้าหน้าที่ CIA สามารถแฝงตัวในองค์กรได้โดยไม่ถูกจับได้เนื่องจากการจัดเตรียมเอกสารที่เป็นมืออาชีพ การฝึกฝนในการปกปิดตัวตน และการทำงานอย่างรัดกุมของ CIA ในการทำให้การปฏิบัติการลับเหล่านี้เป็นไปอย่างแนบเนียน

    โปรดติดตามตอนต่อไป
    #TheNewGeopoliticaalArena #ThaiGeopoliticalSheft

    ตอนที่ 2: https://www.facebook.com/share/p/Uv9bMaUp1RNBH2fj/?mibextid=WC7FNe
    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/1DwX5jiJuU/
    #เรื่องลับของสายลับ CIA | ตอนที่ 1 โดย #อัษฎางค์ยมนาค การปฏิบัติการของ CIA ในการแทรกซึมเข้าไปในต่างประเทศบางครั้งอาจมีการใช้วิธีการส่งเจ้าหน้าที่ปลอมตัวเข้าไปอยู่ในชุมชนหรือองค์กรต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวกรอง โดยเจ้าหน้าที่เหล่านี้อาจแฝงตัวภายใต้บทบาทที่ไม่เป็นที่สงสัย เช่น นักธุรกิจ นักวิชาการ นักข่าว หรือแม้แต่นักการทูต การดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติการลับ (Covert Operations) ที่มุ่งเน้นการรวบรวมข้อมูลข่าวกรองและสร้างเครือข่ายในพื้นที่เป้าหมาย การแทรกซึมลักษณะนี้มักถูกใช้ในสถานการณ์ที่หน่วยข่าวกรองต้องการรวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับประเทศหรือกลุ่มเป้าหมาย เช่น ข้อมูลทางการเมือง การทหาร หรือความเคลื่อนไหวต่างๆ โดยการแฝงตัวและการปลอมตัวช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานได้โดยไม่เป็นที่สงสัยหรือตรวจพบจากหน่วยงานท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวมักถูกเก็บเป็นความลับและไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงต่อทั้งเจ้าหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การที่เจ้าหน้าที่ของ CIA สามารถแฝงตัวในองค์กรต่างๆ โดยที่คนในองค์กรหรือประเทศนั้นๆ ไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่ CIA นั้น มีสาเหตุจากหลายปัจจัยที่ซับซ้อน ทั้งการเตรียมการ การปกปิดข้อมูล และการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลายฝ่าย: 1. การปลอมเอกสารและการจัดเตรียมประวัติ (Cover Story) • เจ้าหน้าที่ CIA ที่ถูกส่งเข้าไปปฏิบัติการในต่างประเทศมักจะมี cover story ซึ่งเป็นเรื่องราวและเอกสารที่สนับสนุนบทบาทของพวกเขา เช่น ปลอมตัวเป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ หรือนักข่าว โดยประวัติเหล่านี้มักจะถูกจัดทำอย่างละเอียด ทั้งประวัติการทำงาน การศึกษา รวมถึงการปลอมแปลงเอกสารที่แสดงว่าเขามีคุณสมบัติหรือประสบการณ์ที่สอดคล้องกับตำแหน่งงานนั้นๆ • รัฐบาลสหรัฐฯ หรือ CIA เองอาจมีการจัดเตรียมเอกสารที่ดูถูกต้องตามกฎหมายเพื่อสนับสนุนเรื่องราวของเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารที่ยืนยันอาชีพ การศึกษา หรือประสบการณ์ในสาขานั้นๆ ซึ่งทำให้ดูเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือสำหรับองค์กรที่รับสมัครงาน 2. การฝึกอบรมด้านการปกปิดตัวตน (Tradecraft) • เจ้าหน้าที่ CIA ได้รับการฝึกฝนในเรื่องของ tradecraft ซึ่งรวมถึงการปกปิดตัวตน การแทรกซึม และการทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่ลับ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครสามารถสังเกตเห็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ ซึ่งพวกเขาจะเรียนรู้วิธีการสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูล และการปฏิบัติภารกิจโดยไม่เปิดเผยตัวตนที่แท้จริง 3. ความร่วมมือขององค์กรหรือหน่วยงานภายในประเทศ • ในบางกรณี อาจมีหน่วยงานภายในประเทศหรือองค์กรที่ร่วมมือกับ CIA อย่างลับๆ เช่น หน่วยงานข่าวกรองท้องถิ่นหรือนักการเมืองบางกลุ่มที่ต้องการผลประโยชน์ร่วมกัน หรือสนับสนุนการปฏิบัติการของ CIA ภายในประเทศนั้นๆ • อย่างไรก็ตาม ในกรณีส่วนใหญ่ องค์กรที่เจ้าหน้าที่ CIA เข้าไปทำงานจะไม่รู้ว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ลับ เพราะ CIA ต้องการให้การปฏิบัติการเป็นความลับที่สุด การที่องค์กรทราบว่าเขาเป็น CIA อาจทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองหรือความเสี่ยงต่อปฏิบัติการลับนั้น 4. ความลับและการปกปิดข้อมูล • การปฏิบัติการลับของ CIA มักมีการรักษาความลับอย่างสูงสุด มีการจำกัดข้อมูลที่สามารถเปิดเผย และเจ้าหน้าที่ในองค์กรที่ CIA เข้าไปฝังตัวจะไม่ได้รับข้อมูลใดๆ ที่บ่งบอกว่าเขาคือเจ้าหน้าที่ CIA ทำให้ไม่มีข้อสงสัยในตัวเขา สรุปคือ เจ้าหน้าที่ CIA สามารถแฝงตัวในองค์กรได้โดยไม่ถูกจับได้เนื่องจากการจัดเตรียมเอกสารที่เป็นมืออาชีพ การฝึกฝนในการปกปิดตัวตน และการทำงานอย่างรัดกุมของ CIA ในการทำให้การปฏิบัติการลับเหล่านี้เป็นไปอย่างแนบเนียน โปรดติดตามตอนต่อไป #TheNewGeopoliticaalArena #ThaiGeopoliticalSheft ตอนที่ 2: https://www.facebook.com/share/p/Uv9bMaUp1RNBH2fj/?mibextid=WC7FNe ที่มา https://www.facebook.com/share/p/1DwX5jiJuU/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 865 มุมมอง 0 รีวิว
  • อาห์เมด อัล-ชารา ผู้นำโดยพฤตินัยของซีเรีย แย้มอาจใช้เวลาสูงสุด 4 ปึ แล้วถึงจัดการเลือกตั้ง จากความเห็นที่เผยแพร่ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ ถือเป็นครั้งแรกที่เขาพูดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของกรอบเวลาในการเลือกตั้ง นับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ถูกโค่นอำนาจไปในช่วงต้นเดือน
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์อัล อาราบิยา สื่อมวลชนแห่งรัฐของซาอุดีอาระเบีย ทาง ชารา บอกว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่อาจใช้เวลาสูงสุด 3 ปี นอกจากนี้ เขายังระบุด้วยว่าอาจต้องใช้เวลาราว 1 ปี ชาวซีเรียถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างสุดขั้ว
    .
    ความเห็นจากชารา ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม ที่โค่นล้มอัสซาด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม มีขึ้นในขณะที่รัฐบาลใหม่ในดามัสกัส กำลังหาทางรับประกันกับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านว่า พวกเขากำลังถอยห่างจากรากเหง้าหัวรุนแรงอิสลามิสต์
    .
    ยุทธการจู่โจมสายฟ้าแลบของทางกลุ่ม นำมาซึ่งจุดจบสงครามกลางเมือง แต่ขณะเดียวกันก็ทิ้งไว้ซึ่งคำถามต่างๆ มากมายเกี่ยวกับอนาคตของประเทศที่ประกอบด้วยผู้คนหลายชาติพันธุ์แห่งนี้ ดินแดนที่ต่างชาติ ในนั้นรวมถึงตุรกีและรัสเซียแย่งชิงผลประโยชน์กันอย่างเต็มที่
    .
    ในขณะที่มหาอำนาจตะวันตกแสดงความยินดีเป็นส่วนใหญ่ต่อการสิ้นสุดระบอบการปกครองของตระกูลอัสซาดในซีเรีย แต่มันยังคงไม่เป็นที่ชัดเจนว่าทางกลุ่มจะกำหนดกฎหมายอิสลามิกอันเข้มงวดหรือไม่ หรือแสดงความยืดหยุ่น พร้อมกับมุ่งหน้าสู่ประชาธิปไตย
    .
    ชารา กล่าวว่า กลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม ที่มีชื่อเดิมว่า นุสรา ฟอนต์ จะถุกยุบ ณ ที่ประชุมระดับชาติแห่งหนึ่ง และพอถูกถามเกี่ยวกับการยุบกลุ่ม ชารา ระบุว่า "แน่นอน ประเทศแห่งนี้ไม่อาจบริหารโดยความคิดของกลุ่มและพวกติดอาวุธ"
    .
    ทางกลุ่มครั้งหนึ่งเคยมีความใกล้ชิดกับกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) และกลุ่มอัล-กออิดะห์ ทว่านับตั้งแต่นั้นได้ประกาศละทิ้งทั้ง 2 กลุ่ม และหาทางวางสถานะใหม่ของตนเอง ในฐานะขุมกำลังสายกลาง
    .
    พวกเขาประกาศซ้ำๆ ว่าจะปกป้องชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ซึ่งหวั่นเกรงว่าพวกผู้ปกครองใหม่อาจหาทางจัดตั้งรัฐบาลอิสลามิสต์ และเตือนถึงความพยายามปลุกระดมความขัดแย้งระหว่างนิกาย
    .
    ชารา บอกว่าที่ประชุมระดับชาติ จะมีผู้เข้าร่วมอย่างกว้างวางในสังคมซีเรีย โดยที่จะมีการลงมติในประเด็นต่างๆ อย่างเช่นยุบสภาและฉีกรัฐธรรมนูญ
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์ ทาง ชารา ยืนยันด้วยว่า ซีเรียมีผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ร่วมกับรัสเซีย พันธมิตรใกล้ชิดของอัสซาดระหว่างสงครามกลางเมือง และมีฐานทัพทหารในประเทศแห่งนี้ เน้นย้ำจุดยืนจะผูกไมตรีกับมอสโก แบบเดียวกับที่รัฐบาลของเขาเคยส่งสัญญาณก่อนหน้านี้
    .
    เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา ชารา ระบุว่าความสัมพันธ์ระหว่างซีเรียกับรัสเซีย ควรรับใช้ผลประโยชน์ร่วม ในขณะที่ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย บอกว่าสถานะของฐานทัพรัสเซียจะขึ้นอยู่กับการเจรจากับผู้นำคนใหม่ในดามัสกัส
    .
    "คำถามไม่ใช่แค่ว่าจะคงไว้ซึ่งฐานทัพหรือป้อมปราการของเราหรือไม่ แต่ยังรวมไปถึงสภาพแวดล้อมด้านปฏิบัติการ การบำรุงรักษาและข้อกำหนดของฐานทัพหรือป้อมปราการเหล่านั้น เช่นเดียวกับการสื่อสารกับพวกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น" ลาฟรอฟ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอาร์ไอเอ
    .
    แม้ส่งสัญญาณสานสัมพันธ์กับรัสเซีย แต่ทาง ชารา ยังแสดงความหวังว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรที่กำหนดเล่นงานซีเรีย หลังจากพวกนักการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ ที่เดินทางเยือนกรุงดามัสกัส เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา เผยว่า วอชิงตันตัดสินใจยกเลิกเงินค่าหัว 10 ล้านดอลลาร์ ที่ตั้งไว้สำหรับผู้นำกลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม รายนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000124985
    ..................
    Sondhi X
    อาห์เมด อัล-ชารา ผู้นำโดยพฤตินัยของซีเรีย แย้มอาจใช้เวลาสูงสุด 4 ปึ แล้วถึงจัดการเลือกตั้ง จากความเห็นที่เผยแพร่ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ ถือเป็นครั้งแรกที่เขาพูดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของกรอบเวลาในการเลือกตั้ง นับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ถูกโค่นอำนาจไปในช่วงต้นเดือน . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์อัล อาราบิยา สื่อมวลชนแห่งรัฐของซาอุดีอาระเบีย ทาง ชารา บอกว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่อาจใช้เวลาสูงสุด 3 ปี นอกจากนี้ เขายังระบุด้วยว่าอาจต้องใช้เวลาราว 1 ปี ชาวซีเรียถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างสุดขั้ว . ความเห็นจากชารา ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม ที่โค่นล้มอัสซาด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม มีขึ้นในขณะที่รัฐบาลใหม่ในดามัสกัส กำลังหาทางรับประกันกับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านว่า พวกเขากำลังถอยห่างจากรากเหง้าหัวรุนแรงอิสลามิสต์ . ยุทธการจู่โจมสายฟ้าแลบของทางกลุ่ม นำมาซึ่งจุดจบสงครามกลางเมือง แต่ขณะเดียวกันก็ทิ้งไว้ซึ่งคำถามต่างๆ มากมายเกี่ยวกับอนาคตของประเทศที่ประกอบด้วยผู้คนหลายชาติพันธุ์แห่งนี้ ดินแดนที่ต่างชาติ ในนั้นรวมถึงตุรกีและรัสเซียแย่งชิงผลประโยชน์กันอย่างเต็มที่ . ในขณะที่มหาอำนาจตะวันตกแสดงความยินดีเป็นส่วนใหญ่ต่อการสิ้นสุดระบอบการปกครองของตระกูลอัสซาดในซีเรีย แต่มันยังคงไม่เป็นที่ชัดเจนว่าทางกลุ่มจะกำหนดกฎหมายอิสลามิกอันเข้มงวดหรือไม่ หรือแสดงความยืดหยุ่น พร้อมกับมุ่งหน้าสู่ประชาธิปไตย . ชารา กล่าวว่า กลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม ที่มีชื่อเดิมว่า นุสรา ฟอนต์ จะถุกยุบ ณ ที่ประชุมระดับชาติแห่งหนึ่ง และพอถูกถามเกี่ยวกับการยุบกลุ่ม ชารา ระบุว่า "แน่นอน ประเทศแห่งนี้ไม่อาจบริหารโดยความคิดของกลุ่มและพวกติดอาวุธ" . ทางกลุ่มครั้งหนึ่งเคยมีความใกล้ชิดกับกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) และกลุ่มอัล-กออิดะห์ ทว่านับตั้งแต่นั้นได้ประกาศละทิ้งทั้ง 2 กลุ่ม และหาทางวางสถานะใหม่ของตนเอง ในฐานะขุมกำลังสายกลาง . พวกเขาประกาศซ้ำๆ ว่าจะปกป้องชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ซึ่งหวั่นเกรงว่าพวกผู้ปกครองใหม่อาจหาทางจัดตั้งรัฐบาลอิสลามิสต์ และเตือนถึงความพยายามปลุกระดมความขัดแย้งระหว่างนิกาย . ชารา บอกว่าที่ประชุมระดับชาติ จะมีผู้เข้าร่วมอย่างกว้างวางในสังคมซีเรีย โดยที่จะมีการลงมติในประเด็นต่างๆ อย่างเช่นยุบสภาและฉีกรัฐธรรมนูญ . ระหว่างให้สัมภาษณ์ ทาง ชารา ยืนยันด้วยว่า ซีเรียมีผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ร่วมกับรัสเซีย พันธมิตรใกล้ชิดของอัสซาดระหว่างสงครามกลางเมือง และมีฐานทัพทหารในประเทศแห่งนี้ เน้นย้ำจุดยืนจะผูกไมตรีกับมอสโก แบบเดียวกับที่รัฐบาลของเขาเคยส่งสัญญาณก่อนหน้านี้ . เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา ชารา ระบุว่าความสัมพันธ์ระหว่างซีเรียกับรัสเซีย ควรรับใช้ผลประโยชน์ร่วม ในขณะที่ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย บอกว่าสถานะของฐานทัพรัสเซียจะขึ้นอยู่กับการเจรจากับผู้นำคนใหม่ในดามัสกัส . "คำถามไม่ใช่แค่ว่าจะคงไว้ซึ่งฐานทัพหรือป้อมปราการของเราหรือไม่ แต่ยังรวมไปถึงสภาพแวดล้อมด้านปฏิบัติการ การบำรุงรักษาและข้อกำหนดของฐานทัพหรือป้อมปราการเหล่านั้น เช่นเดียวกับการสื่อสารกับพวกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น" ลาฟรอฟ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอาร์ไอเอ . แม้ส่งสัญญาณสานสัมพันธ์กับรัสเซีย แต่ทาง ชารา ยังแสดงความหวังว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรที่กำหนดเล่นงานซีเรีย หลังจากพวกนักการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ ที่เดินทางเยือนกรุงดามัสกัส เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา เผยว่า วอชิงตันตัดสินใจยกเลิกเงินค่าหัว 10 ล้านดอลลาร์ ที่ตั้งไว้สำหรับผู้นำกลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม รายนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000124985 .................. Sondhi X
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1649 มุมมอง 0 รีวิว
  • คงเป็นการพบปะอย่างทางการที่น่าอึดอัดใจที่สุด

    อาหมัด อัล-ชารา ผู้ปกครองซีเรีย และหัวหน้าหน่วยข่าวกรองซีเรีย ได้พบปะกับคณะผู้แทนอิรัก ซึ่งรวมถึงผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี และฮามิด อัล-ชาตรี หัวหน้าหน่วยข่าวกรองแห่งชาติอิรัก ในกรุงดามัสกัส

    ท่าทางของ อัล-ชารา ช่างดูเรียบร้อย และดูเป็นนักการทูตที่ดี โดยทิ้งคราบนักรบที่ต้องสวมชุดต่อสู้ทางทหารในอดีต และหันมาใส่สูทเต็มรูปแบบ หรือเขาไม่เคยเป็นนักรบตั้งแต่แรก เพียงแค่ถูกจับแต่งตัวให้ดูเหมือนเป็นนักรบ
    คงเป็นการพบปะอย่างทางการที่น่าอึดอัดใจที่สุด อาหมัด อัล-ชารา ผู้ปกครองซีเรีย และหัวหน้าหน่วยข่าวกรองซีเรีย ได้พบปะกับคณะผู้แทนอิรัก ซึ่งรวมถึงผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี และฮามิด อัล-ชาตรี หัวหน้าหน่วยข่าวกรองแห่งชาติอิรัก ในกรุงดามัสกัส ท่าทางของ อัล-ชารา ช่างดูเรียบร้อย และดูเป็นนักการทูตที่ดี โดยทิ้งคราบนักรบที่ต้องสวมชุดต่อสู้ทางทหารในอดีต และหันมาใส่สูทเต็มรูปแบบ หรือเขาไม่เคยเป็นนักรบตั้งแต่แรก เพียงแค่ถูกจับแต่งตัวให้ดูเหมือนเป็นนักรบ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 520 มุมมอง 6 0 รีวิว
  • ## ลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ ทวงคำตอบ กรณี MOU44 และ JC44 กับรัฐบาล ##
    ..
    ..
    ข้อเรียกร้อง ย่ออย่างสั้นที่สุดคือ...
    .
    1.ขอให้นายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี รักษาอธิปไตยของชาติ
    2.ขอให้นายกรัฐมนตรี นำเรื่อง MOU44 และ JC44 เข้า ครม. ลงมติ และ ส่ง ศาลรัฐธรรมนูญ ให้ตีความว่า การทำ MOU44 และ JC44 ชอบด้วย รัฐธรรมนูญหรือไม่
    3.หาก ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า MOU44 และ JC44 ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ขอให้เพิกถอน MOU44 และ JC44 ไป
    4.หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU44 และ JC44 ไม่ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ขอให้ รัฐบาลไปเจรจา กับ กัมพูชา เพื่อยกเลิก MOU44 และ JC44 เพื่อป้องกันความสุ่มเสี่ยงที่ประเทศไทย อาจจะเสียเปรียบในอนาคต บนเวทีสากล หรือ ศาลโลก
    5.ขอให้ยุติการตั้ง คณะกรรมาธิการร่วมทางเทคนิค ระหว่างไทยกับกัมพูชาด้านทะเล หรือ JTC เอาไว้ก่อน
    6.ขอให้รัฐบาลเปิดเวทีสาธารณะ เพื่อเสวนาและให้ความรู้ประชาชน และ สุดท้ายให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในเรื่องนี้
    .
    แต่ คำตอบของ นายกรัฐมนตรี คือ เห็นหนังสือร้องเรียนแล้ว ได้ส่งให้กระทรวงการต่างประเทศแล้ว หากมีเรื่องใดจะร้องทุกข์ให้มาที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 111
    .
    สรุปคำตอบของ ท่านนายกรัฐมนตรี คือ ถามวัว ตอบควาย...!!!
    .
    เนื่องจาก ครบกำหนด 15 วันแล้ว และ ท่าตอบไม่ตรงคำถาม ลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ จึงได้มาทวงถามคำตอบอีกครั้ง...
    ...
    ...
    โดยในวันที่ 24 ธันวาคม 2567 นายกรัฐมนตรี มอบหมาย นาย สมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง หอบหิ้ว ข้าราชการนับ 10 หน่วยงาน มาร่วมประชุมรับหน้า ลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ
    .
    เช่น...
    .
    1.ที่ปรึกษาสำนักปลัดสำนักยนายกรัฐมนตรี
    2.ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
    3.ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน
    4.ผู้เชี่ยวชาญด้านมวลชน
    5.ผู้อำนวยการส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน
    6.ผู้อำนวยการกองกฎหมายกรมสนธิสัญญา ***
    7.รองผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
    8.สำนักนโยบายและแผนกองบัญชาการกองทัพเรือ ***
    9.ตัวแทนกองบัญชาการกองทัพเรือ ***
    10.ผู้อำนวยการด้านกองความมั่นคงทางทะเล ***
    11.นักการทูตชำนาญการกระทรวงการต่างประเทศ ***
    12.นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการสภาความนั่นคงแห่งชาติ ***
    ...
    ...
    ผมว่าการเชิญข้าราชการเหล่านี้มาคุยเป็นเรื่องดีครับ แต่ในทางที่ถูกคือควรจะเปิดเผยต่อสาธารณะชนครับ
    .
    แน่นอนว่า วิธีนี้อาจเป็นการรักษาหน้าของ ข้าราชการที่ถูกเรียกมาให้ข้อมูลยันกับ คุณลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ
    .
    เพราะบางท่านอาจถูกบังคับให้มาด้วย ตำแหน่งหน้าที่ และ สายการบังคับบัญชา โดยที่ท่านเหล่านั้น อาจจะไม่ได้เต็มใจมาค้านข้อมูลของภาคประชาชนก็ได้
    .
    มีข้อสังเกตุว่า การตระเตรียมการนำข้าราชการหลาย 10 ท่าน มาในวันนั้น ไม่ได้มีการแจ้งภาคประชาชนมากก่อน
    .
    เพราะภาคประชาชนเพียงมาทวงคำตอบ จึงไม่ได้เตรียมเอกสารหรือข้อมูลมาเพื่อพูดคุยกัน
    .
    แต่เมื่อเริ่มประชุม ฝ่ายตัวแทนรัฐบาลกลับ เริ่มต้น ให้ ภาคประชาชนถามคำถามที่ค้างคาใจ...
    .
    แม้กระนั้น อาจารย์ปานเทพ ก็เทพ สมชื่อ จัดหนักข้อมูชุดใหญ่ให้ที่ประชุม แถม เสริม และ แย้ง ข้อมูลของ ผู้อำนวยการกองกฎหมายกรมสนธิสัญญา ที่พูดไม่ครบถ้วนกระบวนความ จนความหมายผิดเพียนไปได้อย่างหนักแน่น จนอึ้งไปกันหมดทุกคน...
    ...
    ...
    ประเด็นสำคัญคือ
    .
    พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงกำหนดวิธีการเจรจาไว้แล้ว ว่า ให้ใช้หลักกฎหมายสากล ซึ่งก็คือ เส้นมัธยฐาน
    .
    แต่ MOU44 และ JC44 ที่จัดทำขึ้นโดยไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของสภา จึง ขัดต่อบทบัญญัตของ รัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ การทำหนังสือสัญญาใดๆระหว่างประเทศ เป็น อำนาจ ของ พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นพระประมุขของประเทศ
    .
    เมื่อเป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ จึงต้องผ่านความเห็นชอบของสภา
    .
    เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของสภา ดังนั้น MOU44 และ JC44 จึงเป็น เอกสารเถื่อน มีผลป็น โมฆะ มาตั้งแต่ต้น
    .
    แถม MOU44 ยัง มีแผนที่ไหล่ทวีป ที่วาดเอาตามอำเภอใจของ กัมพูชา แนบท้ายมาใน MOU44 อีกด้วย
    .
    มีผลเป็นการ "รับรู้" และ เป็นครั้งแรก ที่เอกสารของประเทศไทย ได้มี แผนที่ไหล่ทวีป ที่วาดเอาตามอำเภอใจของ กัมพูชา เข้ามาสู้ระบบเอกสารของประเทศไทยอย่างทางการ
    .
    มีผลเป็นการที่ รัฐบาล และ หน่วยงานรัฐใดๆที่เกี่ยวข้อง "รับรู้" และ "ไม่ปฎิเสธ" แผนที่ไหล่ทวีป ที่วาดเอาตามอำเภอใจของ กัมพูชา
    .
    อีกทั้งใน MOU44 ยังมีเนื้อหาที่ ทำให้เกิดความพยายามที่จะยอมรับพื้นที่อ้างสิทธิระหว่างไทยกับกัมพูชา ด้านใต้ ละติจูดที่ 11 องศา ลงมา
    .
    ว่าเป็นพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกันเป็นที่ยุติแล้ว มีจำนวน 16,000 ตารางกิโลเมตร ที่ไม่ต้องมีการตกลงเรื่องเขตแดนกันอีก
    .
    โดยกำหนดพื้นที่ด้านใต้ ละติจูดที่ 11 องศา ให้แบ่งผลประโยชน์กัน ระหว่าง ประเทศไทย กับ กัมพูชา
    .
    ซึ่งวิธีการดังกล่าง เป็นการ ตกลงกันเป็นอย่างอื่น นอกเหนือจาก หลักกฎหมาย ของ กฎหมายสากลทางทะเล (เส้น มัธยฐาน)
    .
    ซึ่งจะทำให้ ประเทศไทย สูญเสียผลประโยชน์เกินกว่าความเป็นจริง และ เป็นการ ขัดพระบรมราชโองการ ประกาศเขตไหล่ทวีป ของ ในหลวงรัชการที่ 9 ซึ่งได้กำหนด วิธีการเจรจาไว้เป็นหนึ่งเดียว ตลอดไป...
    .
    สรุป สุดท้าน ภาคประชาชน ขอให้ รัฐบาลทำให้สือตอบกลับมาเป็น ลายลักษณ์อักษร หากท่านทำผิดกฎหมาย ภาคประชาชน จะไปดำเนินคดีกับท่านเอง
    .
    และได้ บอกกล่าวว่าปีหน้าจะ ไปยื่นหนังสือที่
    1.รัฐสภา
    2.กระทรวงการต่างประเทศ และ
    3.กองทัพเรือ
    .
    เรื่อง ดินแดน อำนาจอธิปไตย และ สิทธิอธิปไตย เป็นเรื่องที่คุกรุ่นอยู่ในใจของประชาชนครับ
    .
    สุดท้ายของฝากไว้...
    ....
    ....
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119

    ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
    ....
    ....
    https://youtu.be/pee-3jgOGrQ?si=VEkike7oS8olHZqn
    ## ลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ ทวงคำตอบ กรณี MOU44 และ JC44 กับรัฐบาล ## .. .. ข้อเรียกร้อง ย่ออย่างสั้นที่สุดคือ... . 1.ขอให้นายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี รักษาอธิปไตยของชาติ 2.ขอให้นายกรัฐมนตรี นำเรื่อง MOU44 และ JC44 เข้า ครม. ลงมติ และ ส่ง ศาลรัฐธรรมนูญ ให้ตีความว่า การทำ MOU44 และ JC44 ชอบด้วย รัฐธรรมนูญหรือไม่ 3.หาก ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า MOU44 และ JC44 ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ขอให้เพิกถอน MOU44 และ JC44 ไป 4.หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU44 และ JC44 ไม่ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ขอให้ รัฐบาลไปเจรจา กับ กัมพูชา เพื่อยกเลิก MOU44 และ JC44 เพื่อป้องกันความสุ่มเสี่ยงที่ประเทศไทย อาจจะเสียเปรียบในอนาคต บนเวทีสากล หรือ ศาลโลก 5.ขอให้ยุติการตั้ง คณะกรรมาธิการร่วมทางเทคนิค ระหว่างไทยกับกัมพูชาด้านทะเล หรือ JTC เอาไว้ก่อน 6.ขอให้รัฐบาลเปิดเวทีสาธารณะ เพื่อเสวนาและให้ความรู้ประชาชน และ สุดท้ายให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในเรื่องนี้ . แต่ คำตอบของ นายกรัฐมนตรี คือ เห็นหนังสือร้องเรียนแล้ว ได้ส่งให้กระทรวงการต่างประเทศแล้ว หากมีเรื่องใดจะร้องทุกข์ให้มาที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 111 . สรุปคำตอบของ ท่านนายกรัฐมนตรี คือ ถามวัว ตอบควาย...!!! . เนื่องจาก ครบกำหนด 15 วันแล้ว และ ท่าตอบไม่ตรงคำถาม ลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ จึงได้มาทวงถามคำตอบอีกครั้ง... ... ... โดยในวันที่ 24 ธันวาคม 2567 นายกรัฐมนตรี มอบหมาย นาย สมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง หอบหิ้ว ข้าราชการนับ 10 หน่วยงาน มาร่วมประชุมรับหน้า ลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ . เช่น... . 1.ที่ปรึกษาสำนักปลัดสำนักยนายกรัฐมนตรี 2.ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี 3.ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน 4.ผู้เชี่ยวชาญด้านมวลชน 5.ผู้อำนวยการส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน 6.ผู้อำนวยการกองกฎหมายกรมสนธิสัญญา *** 7.รองผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล 8.สำนักนโยบายและแผนกองบัญชาการกองทัพเรือ *** 9.ตัวแทนกองบัญชาการกองทัพเรือ *** 10.ผู้อำนวยการด้านกองความมั่นคงทางทะเล *** 11.นักการทูตชำนาญการกระทรวงการต่างประเทศ *** 12.นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการสภาความนั่นคงแห่งชาติ *** ... ... ผมว่าการเชิญข้าราชการเหล่านี้มาคุยเป็นเรื่องดีครับ แต่ในทางที่ถูกคือควรจะเปิดเผยต่อสาธารณะชนครับ . แน่นอนว่า วิธีนี้อาจเป็นการรักษาหน้าของ ข้าราชการที่ถูกเรียกมาให้ข้อมูลยันกับ คุณลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ . เพราะบางท่านอาจถูกบังคับให้มาด้วย ตำแหน่งหน้าที่ และ สายการบังคับบัญชา โดยที่ท่านเหล่านั้น อาจจะไม่ได้เต็มใจมาค้านข้อมูลของภาคประชาชนก็ได้ . มีข้อสังเกตุว่า การตระเตรียมการนำข้าราชการหลาย 10 ท่าน มาในวันนั้น ไม่ได้มีการแจ้งภาคประชาชนมากก่อน . เพราะภาคประชาชนเพียงมาทวงคำตอบ จึงไม่ได้เตรียมเอกสารหรือข้อมูลมาเพื่อพูดคุยกัน . แต่เมื่อเริ่มประชุม ฝ่ายตัวแทนรัฐบาลกลับ เริ่มต้น ให้ ภาคประชาชนถามคำถามที่ค้างคาใจ... . แม้กระนั้น อาจารย์ปานเทพ ก็เทพ สมชื่อ จัดหนักข้อมูชุดใหญ่ให้ที่ประชุม แถม เสริม และ แย้ง ข้อมูลของ ผู้อำนวยการกองกฎหมายกรมสนธิสัญญา ที่พูดไม่ครบถ้วนกระบวนความ จนความหมายผิดเพียนไปได้อย่างหนักแน่น จนอึ้งไปกันหมดทุกคน... ... ... ประเด็นสำคัญคือ . พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงกำหนดวิธีการเจรจาไว้แล้ว ว่า ให้ใช้หลักกฎหมายสากล ซึ่งก็คือ เส้นมัธยฐาน . แต่ MOU44 และ JC44 ที่จัดทำขึ้นโดยไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของสภา จึง ขัดต่อบทบัญญัตของ รัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ การทำหนังสือสัญญาใดๆระหว่างประเทศ เป็น อำนาจ ของ พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นพระประมุขของประเทศ . เมื่อเป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ จึงต้องผ่านความเห็นชอบของสภา . เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของสภา ดังนั้น MOU44 และ JC44 จึงเป็น เอกสารเถื่อน มีผลป็น โมฆะ มาตั้งแต่ต้น . แถม MOU44 ยัง มีแผนที่ไหล่ทวีป ที่วาดเอาตามอำเภอใจของ กัมพูชา แนบท้ายมาใน MOU44 อีกด้วย . มีผลเป็นการ "รับรู้" และ เป็นครั้งแรก ที่เอกสารของประเทศไทย ได้มี แผนที่ไหล่ทวีป ที่วาดเอาตามอำเภอใจของ กัมพูชา เข้ามาสู้ระบบเอกสารของประเทศไทยอย่างทางการ . มีผลเป็นการที่ รัฐบาล และ หน่วยงานรัฐใดๆที่เกี่ยวข้อง "รับรู้" และ "ไม่ปฎิเสธ" แผนที่ไหล่ทวีป ที่วาดเอาตามอำเภอใจของ กัมพูชา . อีกทั้งใน MOU44 ยังมีเนื้อหาที่ ทำให้เกิดความพยายามที่จะยอมรับพื้นที่อ้างสิทธิระหว่างไทยกับกัมพูชา ด้านใต้ ละติจูดที่ 11 องศา ลงมา . ว่าเป็นพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกันเป็นที่ยุติแล้ว มีจำนวน 16,000 ตารางกิโลเมตร ที่ไม่ต้องมีการตกลงเรื่องเขตแดนกันอีก . โดยกำหนดพื้นที่ด้านใต้ ละติจูดที่ 11 องศา ให้แบ่งผลประโยชน์กัน ระหว่าง ประเทศไทย กับ กัมพูชา . ซึ่งวิธีการดังกล่าง เป็นการ ตกลงกันเป็นอย่างอื่น นอกเหนือจาก หลักกฎหมาย ของ กฎหมายสากลทางทะเล (เส้น มัธยฐาน) . ซึ่งจะทำให้ ประเทศไทย สูญเสียผลประโยชน์เกินกว่าความเป็นจริง และ เป็นการ ขัดพระบรมราชโองการ ประกาศเขตไหล่ทวีป ของ ในหลวงรัชการที่ 9 ซึ่งได้กำหนด วิธีการเจรจาไว้เป็นหนึ่งเดียว ตลอดไป... . สรุป สุดท้าน ภาคประชาชน ขอให้ รัฐบาลทำให้สือตอบกลับมาเป็น ลายลักษณ์อักษร หากท่านทำผิดกฎหมาย ภาคประชาชน จะไปดำเนินคดีกับท่านเอง . และได้ บอกกล่าวว่าปีหน้าจะ ไปยื่นหนังสือที่ 1.รัฐสภา 2.กระทรวงการต่างประเทศ และ 3.กองทัพเรือ . เรื่อง ดินแดน อำนาจอธิปไตย และ สิทธิอธิปไตย เป็นเรื่องที่คุกรุ่นอยู่ในใจของประชาชนครับ . สุดท้ายของฝากไว้... .... .... ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต .... .... https://youtu.be/pee-3jgOGrQ?si=VEkike7oS8olHZqn
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1190 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## ลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ ทวงคำตอบ กรณี MOU44 และ JC44 กับรัฐบาล ##
    ..
    ..
    ข้อเรียกร้อง ย่ออย่างสั้นที่สุดคือ...
    .
    1.ขอให้นายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี รักษาอธิปไตยของชาติ

    2.ขอให้นายกรัฐมนตรี นำเรื่อง MOU44 และ JC44 เข้า ครม. ลงมติ และ ส่ง ศาลรัฐธรรมนูญ ให้ตีความว่า การทำ MOU44 และ JC44 ชอบด้วย รัฐธรรมนูญหรือไม่

    3.หาก ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า MOU44 และ JC44 ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ขอให้เพิกถอน MOU44 และ JC44 ไป

    4.หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU44 และ JC44 ไม่ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ขอให้ รัฐบาลไปเจรจา กับ กัมพูชา เพื่อยกเลิก MOU44 และ JC44 เพื่อป้องกันความสุ่มเสี่ยงที่ประเทศไทย อาจจะเสียเปรียบในอนาคต บนเวทีสากล หรือ ศาลโลก

    5.ขอให้ยุติการตั้ง คณะกรรมาธิการร่วมทางเทคนิค ระหว่างไทยกับกัมพูชาด้านทะเล หรือ JTC เอาไว้ก่อน

    6.ขอให้รัฐบาลเปิดเวทีสาธารณะ เพื่อเสวนาและให้ความรู้ประชาชน และ สุดท้ายให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในเรื่องนี้
    .
    แต่ คำตอบของ นายกรัฐมนตรี คือ เห็นหนังสือร้องเรียนแล้ว ได้ส่งให้กระทรวงการต่างประเทศแล้ว หากมีเรื่องใดจะร้องทุกข์ให้มาที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 111
    .
    สรุปคำตอบของ ท่านนายกรัฐมนตรี คือ ถามวัว ตอบควาย...!!!
    .
    เนื่องจาก ครบกำหนด 15 วันแล้ว และ ท่านตอบไม่ตรงคำถาม ลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ จึงได้มาทวงถามคำตอบอีกครั้ง...
    ...
    ...
    โดยในวันที่ 24 ธันวาคม 2567 นายกรัฐมนตรี มอบหมาย นาย สมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง หอบหิ้ว ข้าราชการนับ 10 หน่วยงาน มาร่วมประชุมรับหน้า ลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ
    .
    เช่น...
    .
    1.ที่ปรึกษาสำนักปลัดสำนักยนายกรัฐมนตรี
    2.ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
    3.ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน
    4.ผู้เชี่ยวชาญด้านมวลชน
    5.ผู้อำนวยการส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน
    6.ผู้อำนวยการกองกฎหมายกรมสนธิสัญญา ***
    7.รองผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
    8.สำนักนโยบายและแผนกองบัญชาการกองทัพเรือ ***
    9.ตัวแทนกองบัญชาการกองทัพเรือ ***
    10.ผู้อำนวยการด้านกองความมั่นคงทางทะเล ***
    11.นักการทูตชำนาญการกระทรวงการต่างประเทศ ***
    12.นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการสภาความนั่นคงแห่งชาติ ***
    ...
    ...
    ผมว่าการเชิญข้าราชการเหล่านี้มาคุยเป็นเรื่องดีครับ แต่ในทางที่ถูกคือควรจะเปิดเผยต่อสาธารณะชนครับ
    .
    แน่นอนว่า วิธีนี้อาจเป็นการรักษาหน้าของ ข้าราชการที่ถูกเรียกมาให้ข้อมูลยันกับ คุณลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ
    .
    เพราะบางท่านอาจถูกบังคับให้มาด้วย ตำแหน่งหน้าที่ และ สายการบังคับบัญชา โดยที่ท่านเหล่านั้น อาจจะไม่ได้เต็มใจมาค้านข้อมูลของภาคประชาชนก็ได้
    .
    มีข้อสังเกตุว่า การตระเตรียมการนำข้าราชการหลาย 10 ท่าน มาในวันนั้น ไม่ได้มีการแจ้งภาคประชาชนมากก่อน
    .
    เพราะภาคประชาชนเพียงมาทวงคำตอบ จึงไม่ได้เตรียมเอกสารหรือข้อมูลมาเพื่อพูดคุยกัน
    .
    แต่เมื่อเริ่มประชุม ฝ่ายตัวแทนรัฐบาลกลับ เริ่มต้น ให้ ภาคประชาชนถามคำถามที่ค้างคาใจ...
    .
    แม้กระนั้น อาจารย์ปานเทพ ก็เทพ สมชื่อ จัดหนักข้อมูชุดใหญ่ให้ที่ประชุม แถม เสริม และ แย้ง ข้อมูลของ ผู้อำนวยการกองกฎหมายกรมสนธิสัญญา ที่พูดไม่ครบถ้วนกระบวนความ จนความหมายผิดเพียนไปได้อย่างหนักแน่น จนอึ้งไปกันหมดทุกคน...
    ...
    ...
    ประเด็นสำคัญคือ
    .
    พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงกำหนดวิธีการเจรจาไว้แล้ว ว่า ให้ใช้หลักกฎหมายสากล ซึ่งก็คือ เส้นมัธยฐาน
    .
    แต่ MOU44 และ JC44 ที่จัดทำขึ้นโดยไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของสภา จึง ขัดต่อบทบัญญัตของ รัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ การทำหนังสือสัญญาใดๆระหว่างประเทศ เป็น อำนาจ ของ พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นพระประมุขของประเทศ
    .
    เมื่อเป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ จึงต้องผ่านความเห็นชอบของสภา
    .
    เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของสภา ดังนั้น MOU44 และ JC44 จึงเป็น เอกสารเถื่อน มีผลป็น โมฆะ มาตั้งแต่ต้น
    .
    แถม MOU44 ยัง มีแผนที่ไหล่ทวีป ที่วาดเอาตามอำเภอใจของ กัมพูชา แนบท้ายมาใน MOU44 อีกด้วย
    .
    มีผลเป็นการ "รับรู้" และ เป็นครั้งแรก ที่เอกสารของประเทศไทย ได้มี แผนที่ไหล่ทวีป ที่วาดเอาตามอำเภอใจของ กัมพูชา เข้ามาสู้ระบบเอกสารของประเทศไทยอย่างทางการ
    .
    มีผลเป็นการที่ รัฐบาล และ หน่วยงานรัฐใดๆที่เกี่ยวข้อง "รับรู้" และ "ไม่ปฎิเสธ" แผนที่ไหล่ทวีป ที่วาดเอาตามอำเภอใจของ กัมพูชา
    .
    อีกทั้งใน MOU44 ยังมีเนื้อหาที่ ทำให้เกิดความพยายามที่จะยอมรับพื้นที่อ้างสิทธิระหว่างไทยกับกัมพูชา ด้านใต้ ละติจูดที่ 11 องศา ลงมา
    .
    ว่าเป็นพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกันเป็นที่ยุติแล้ว มีจำนวน 16,000 ตารางกิโลเมตร ที่ไม่ต้องมีการตกลงเรื่องเขตแดนกันอีก
    .
    โดยกำหนดพื้นที่ด้านใต้ ละติจูดที่ 11 องศา ให้แบ่งผลประโยชน์กัน ระหว่าง ประเทศไทย กับ กัมพูชา
    .
    ซึ่งวิธีการดังกล่าง เป็นการ ตกลงกันเป็นอย่างอื่น นอกเหนือจาก หลักกฎหมาย ของ กฎหมายสากลทางทะเล (เส้น มัธยฐาน)
    .
    ซึ่งจะทำให้ ประเทศไทย สูญเสียผลประโยชน์เกินกว่าความเป็นจริง และ เป็นการ ขัดพระบรมราชโองการ ประกาศเขตไหล่ทวีป ของ ในหลวงรัชการที่ 9 ซึ่งได้กำหนด วิธีการเจรจาไว้เป็นหนึ่งเดียว ตลอดไป...
    .
    สรุป สุดท้าน ภาคประชาชน ขอให้ รัฐบาลทำให้สือตอบกลับมาเป็น ลายลักษณ์อักษร หากท่านทำผิดกฎหมาย ภาคประชาชน จะไปดำเนินคดีกับท่านเอง
    .
    และได้ บอกกล่าวว่าปีหน้าจะ ไปยื่นหนังสือที่
    1.รัฐสภา
    2.กระทรวงการต่างประเทศ และ
    3.กองทัพเรือ
    .
    เรื่อง ดินแดน อำนาจอธิปไตย และ สิทธิอธิปไตย เป็นเรื่องที่คุกรุ่นอยู่ในใจของประชาชนครับ
    .
    สุดท้ายของฝากไว้...
    ....
    ....
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119

    ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
    ....
    ....
    https://youtu.be/wR4PZ-c5ExA?si=onTI6IaLFkxZfEnv
    ## ลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ ทวงคำตอบ กรณี MOU44 และ JC44 กับรัฐบาล ## .. .. ข้อเรียกร้อง ย่ออย่างสั้นที่สุดคือ... . 1.ขอให้นายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี รักษาอธิปไตยของชาติ 2.ขอให้นายกรัฐมนตรี นำเรื่อง MOU44 และ JC44 เข้า ครม. ลงมติ และ ส่ง ศาลรัฐธรรมนูญ ให้ตีความว่า การทำ MOU44 และ JC44 ชอบด้วย รัฐธรรมนูญหรือไม่ 3.หาก ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า MOU44 และ JC44 ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ขอให้เพิกถอน MOU44 และ JC44 ไป 4.หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU44 และ JC44 ไม่ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ขอให้ รัฐบาลไปเจรจา กับ กัมพูชา เพื่อยกเลิก MOU44 และ JC44 เพื่อป้องกันความสุ่มเสี่ยงที่ประเทศไทย อาจจะเสียเปรียบในอนาคต บนเวทีสากล หรือ ศาลโลก 5.ขอให้ยุติการตั้ง คณะกรรมาธิการร่วมทางเทคนิค ระหว่างไทยกับกัมพูชาด้านทะเล หรือ JTC เอาไว้ก่อน 6.ขอให้รัฐบาลเปิดเวทีสาธารณะ เพื่อเสวนาและให้ความรู้ประชาชน และ สุดท้ายให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในเรื่องนี้ . แต่ คำตอบของ นายกรัฐมนตรี คือ เห็นหนังสือร้องเรียนแล้ว ได้ส่งให้กระทรวงการต่างประเทศแล้ว หากมีเรื่องใดจะร้องทุกข์ให้มาที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 111 . สรุปคำตอบของ ท่านนายกรัฐมนตรี คือ ถามวัว ตอบควาย...!!! . เนื่องจาก ครบกำหนด 15 วันแล้ว และ ท่านตอบไม่ตรงคำถาม ลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ จึงได้มาทวงถามคำตอบอีกครั้ง... ... ... โดยในวันที่ 24 ธันวาคม 2567 นายกรัฐมนตรี มอบหมาย นาย สมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง หอบหิ้ว ข้าราชการนับ 10 หน่วยงาน มาร่วมประชุมรับหน้า ลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ . เช่น... . 1.ที่ปรึกษาสำนักปลัดสำนักยนายกรัฐมนตรี 2.ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี 3.ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน 4.ผู้เชี่ยวชาญด้านมวลชน 5.ผู้อำนวยการส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน 6.ผู้อำนวยการกองกฎหมายกรมสนธิสัญญา *** 7.รองผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล 8.สำนักนโยบายและแผนกองบัญชาการกองทัพเรือ *** 9.ตัวแทนกองบัญชาการกองทัพเรือ *** 10.ผู้อำนวยการด้านกองความมั่นคงทางทะเล *** 11.นักการทูตชำนาญการกระทรวงการต่างประเทศ *** 12.นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการสภาความนั่นคงแห่งชาติ *** ... ... ผมว่าการเชิญข้าราชการเหล่านี้มาคุยเป็นเรื่องดีครับ แต่ในทางที่ถูกคือควรจะเปิดเผยต่อสาธารณะชนครับ . แน่นอนว่า วิธีนี้อาจเป็นการรักษาหน้าของ ข้าราชการที่ถูกเรียกมาให้ข้อมูลยันกับ คุณลุงสนธิ และ อาจารย์ปานเทพ . เพราะบางท่านอาจถูกบังคับให้มาด้วย ตำแหน่งหน้าที่ และ สายการบังคับบัญชา โดยที่ท่านเหล่านั้น อาจจะไม่ได้เต็มใจมาค้านข้อมูลของภาคประชาชนก็ได้ . มีข้อสังเกตุว่า การตระเตรียมการนำข้าราชการหลาย 10 ท่าน มาในวันนั้น ไม่ได้มีการแจ้งภาคประชาชนมากก่อน . เพราะภาคประชาชนเพียงมาทวงคำตอบ จึงไม่ได้เตรียมเอกสารหรือข้อมูลมาเพื่อพูดคุยกัน . แต่เมื่อเริ่มประชุม ฝ่ายตัวแทนรัฐบาลกลับ เริ่มต้น ให้ ภาคประชาชนถามคำถามที่ค้างคาใจ... . แม้กระนั้น อาจารย์ปานเทพ ก็เทพ สมชื่อ จัดหนักข้อมูชุดใหญ่ให้ที่ประชุม แถม เสริม และ แย้ง ข้อมูลของ ผู้อำนวยการกองกฎหมายกรมสนธิสัญญา ที่พูดไม่ครบถ้วนกระบวนความ จนความหมายผิดเพียนไปได้อย่างหนักแน่น จนอึ้งไปกันหมดทุกคน... ... ... ประเด็นสำคัญคือ . พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงกำหนดวิธีการเจรจาไว้แล้ว ว่า ให้ใช้หลักกฎหมายสากล ซึ่งก็คือ เส้นมัธยฐาน . แต่ MOU44 และ JC44 ที่จัดทำขึ้นโดยไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของสภา จึง ขัดต่อบทบัญญัตของ รัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ การทำหนังสือสัญญาใดๆระหว่างประเทศ เป็น อำนาจ ของ พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นพระประมุขของประเทศ . เมื่อเป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ จึงต้องผ่านความเห็นชอบของสภา . เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของสภา ดังนั้น MOU44 และ JC44 จึงเป็น เอกสารเถื่อน มีผลป็น โมฆะ มาตั้งแต่ต้น . แถม MOU44 ยัง มีแผนที่ไหล่ทวีป ที่วาดเอาตามอำเภอใจของ กัมพูชา แนบท้ายมาใน MOU44 อีกด้วย . มีผลเป็นการ "รับรู้" และ เป็นครั้งแรก ที่เอกสารของประเทศไทย ได้มี แผนที่ไหล่ทวีป ที่วาดเอาตามอำเภอใจของ กัมพูชา เข้ามาสู้ระบบเอกสารของประเทศไทยอย่างทางการ . มีผลเป็นการที่ รัฐบาล และ หน่วยงานรัฐใดๆที่เกี่ยวข้อง "รับรู้" และ "ไม่ปฎิเสธ" แผนที่ไหล่ทวีป ที่วาดเอาตามอำเภอใจของ กัมพูชา . อีกทั้งใน MOU44 ยังมีเนื้อหาที่ ทำให้เกิดความพยายามที่จะยอมรับพื้นที่อ้างสิทธิระหว่างไทยกับกัมพูชา ด้านใต้ ละติจูดที่ 11 องศา ลงมา . ว่าเป็นพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกันเป็นที่ยุติแล้ว มีจำนวน 16,000 ตารางกิโลเมตร ที่ไม่ต้องมีการตกลงเรื่องเขตแดนกันอีก . โดยกำหนดพื้นที่ด้านใต้ ละติจูดที่ 11 องศา ให้แบ่งผลประโยชน์กัน ระหว่าง ประเทศไทย กับ กัมพูชา . ซึ่งวิธีการดังกล่าง เป็นการ ตกลงกันเป็นอย่างอื่น นอกเหนือจาก หลักกฎหมาย ของ กฎหมายสากลทางทะเล (เส้น มัธยฐาน) . ซึ่งจะทำให้ ประเทศไทย สูญเสียผลประโยชน์เกินกว่าความเป็นจริง และ เป็นการ ขัดพระบรมราชโองการ ประกาศเขตไหล่ทวีป ของ ในหลวงรัชการที่ 9 ซึ่งได้กำหนด วิธีการเจรจาไว้เป็นหนึ่งเดียว ตลอดไป... . สรุป สุดท้าน ภาคประชาชน ขอให้ รัฐบาลทำให้สือตอบกลับมาเป็น ลายลักษณ์อักษร หากท่านทำผิดกฎหมาย ภาคประชาชน จะไปดำเนินคดีกับท่านเอง . และได้ บอกกล่าวว่าปีหน้าจะ ไปยื่นหนังสือที่ 1.รัฐสภา 2.กระทรวงการต่างประเทศ และ 3.กองทัพเรือ . เรื่อง ดินแดน อำนาจอธิปไตย และ สิทธิอธิปไตย เป็นเรื่องที่คุกรุ่นอยู่ในใจของประชาชนครับ . สุดท้ายของฝากไว้... .... .... ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต .... .... https://youtu.be/wR4PZ-c5ExA?si=onTI6IaLFkxZfEnv
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1177 มุมมอง 0 รีวิว
  • แมทธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ กล่าวโจมตีรัสเซีย หลังการโจมตีด้วยขีปนาวุธ 8 ลูกทั่วกรุงเคียฟ เมื่อวานนี้ ส่งผลให้สถานทูตหลายแห่งได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานทูตของแอลเบเนีย อาร์เจนตินา ปาเลสไตน์ มาซิโดเนียเหนือ โปรตุเกส และมอนเตเนโกร

    "การโจมตีนักการทูตหรือสถานประกอบการทางการทูตในทุกที่ถือเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เราขอเตือนรัสเซียถึงพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมต่อบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศ"

    หากย้อนกลับไปเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2024 อิสราเอลโจมตีสถานกงศุลอิหร่านในซีเรีย
    หรือแม้แต่ในปี 1999 สหรัฐทิ้งระเบิดในกรุงเบลเกรด ส่งผลให้สถานทูตจีนได้รับความเสีย

    "แต่ไม่เคยถูกใครประณามแต่อย่างใด"
    แมทธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ กล่าวโจมตีรัสเซีย หลังการโจมตีด้วยขีปนาวุธ 8 ลูกทั่วกรุงเคียฟ เมื่อวานนี้ ส่งผลให้สถานทูตหลายแห่งได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานทูตของแอลเบเนีย อาร์เจนตินา ปาเลสไตน์ มาซิโดเนียเหนือ โปรตุเกส และมอนเตเนโกร "การโจมตีนักการทูตหรือสถานประกอบการทางการทูตในทุกที่ถือเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เราขอเตือนรัสเซียถึงพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมต่อบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศ" หากย้อนกลับไปเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2024 อิสราเอลโจมตีสถานกงศุลอิหร่านในซีเรีย หรือแม้แต่ในปี 1999 สหรัฐทิ้งระเบิดในกรุงเบลเกรด ส่งผลให้สถานทูตจีนได้รับความเสีย "แต่ไม่เคยถูกใครประณามแต่อย่างใด"
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 366 มุมมอง 0 รีวิว
  • นักการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ เดินทางถึงกรุงดามัสกัสเพื่อพบกับผู้นำซีเรียคนใหม่ ซึ่งถือเป็นการเยือนครั้งแรกนับตั้งแต่ที่ประธานาธิบดีอัสซาดถูกโค่นล้ม โดยหวังว่าจะส่งเสริมแนวทางที่เป็นกลางและครอบคลุมผลประโยชน์ร่วมกัน

    ด้านโจลานีผู้นำ HTS วอนอย่ามองอดีต ขณะนี้เขาเปลี่ยนไปแล้ว ยินดีเป็นพันธมิตรที่ดีของอเมริกา!

    เน้นย้ำกันอีกครั้งว่า โจลานีและกลุ่ม HTS คือผู้ก่อการร้ายที่ประกาศโดยสหรัฐอเมริกา และจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีรายงานการตรวจพบอาวุธเคมีในซีเรีย ตามที่สหรัฐกล่าวหาแต่อย่างใด
    นักการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ เดินทางถึงกรุงดามัสกัสเพื่อพบกับผู้นำซีเรียคนใหม่ ซึ่งถือเป็นการเยือนครั้งแรกนับตั้งแต่ที่ประธานาธิบดีอัสซาดถูกโค่นล้ม โดยหวังว่าจะส่งเสริมแนวทางที่เป็นกลางและครอบคลุมผลประโยชน์ร่วมกัน ด้านโจลานีผู้นำ HTS วอนอย่ามองอดีต ขณะนี้เขาเปลี่ยนไปแล้ว ยินดีเป็นพันธมิตรที่ดีของอเมริกา! เน้นย้ำกันอีกครั้งว่า โจลานีและกลุ่ม HTS คือผู้ก่อการร้ายที่ประกาศโดยสหรัฐอเมริกา และจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีรายงานการตรวจพบอาวุธเคมีในซีเรีย ตามที่สหรัฐกล่าวหาแต่อย่างใด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 260 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฝ่ายค้านมาเลเซียวิจารณ์หนัก "อันวาร์ อิบราฮิม" ตั้ง "ทักษิณ" เป็นที่ปรึกษาช่วงเป็นประธานอาเซียนปี 2025 ถามอาเซียนจะได้ประโยชน์จริงหรือ ซัดตั้งคนที่ถูกพิพากษาจำคุกฐานใช้อำนาจโดยมิชอบ ทำไมไม่ตั้งนักการทูตหรือนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ ด้าน "ดร.มหาเธร์" งง ทำไมเลือกทักษิณ ทั้งที่มีคนอื่นมากมาย

    อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000121256

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ฝ่ายค้านมาเลเซียวิจารณ์หนัก "อันวาร์ อิบราฮิม" ตั้ง "ทักษิณ" เป็นที่ปรึกษาช่วงเป็นประธานอาเซียนปี 2025 ถามอาเซียนจะได้ประโยชน์จริงหรือ ซัดตั้งคนที่ถูกพิพากษาจำคุกฐานใช้อำนาจโดยมิชอบ ทำไมไม่ตั้งนักการทูตหรือนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ ด้าน "ดร.มหาเธร์" งง ทำไมเลือกทักษิณ ทั้งที่มีคนอื่นมากมาย อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000121256 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    Love
    Yay
    10
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1120 มุมมอง 0 รีวิว
  • อาหมัด อัล-ชารา ผู้นำตัวจริงของซีเรีย ชี้อิสราเอลแค่อ้างความมั่นคงของตัวเองเพื่อโจมตีซีเรีย กระนั้น เขาไม่คิดสร้างความขัดแย้งเพิ่มแต่จะมุ่งฟื้นฟูประเทศที่บอบช้ำหนักจากระบอบอัสซาด ด้านอเมริกาเผยได้ติดต่อโดยตรงกับกลุ่มกบฏซีเรียที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นกลุ่มก่อการร้ายแล้ว
    .
    ชารา หรือที่รู้จักกันในชื่ออบู โมฮัมเหม็ด อัล-โกลานี ผู้นำกลุ่มฮายัต ตอห์รีร์ อัล-ชาม (เอชทีเอส) ที่เป็นแกนนำการยึดอำนาจอดีตประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ให้สัมภาษณ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของซีเรีย ทีวี สถานีที่สนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอัสซาด เมื่อวันเสาร์ (14 ธ.ค.) ว่า ข้ออ้างของอิสราเอลในการบุกโจมตีซีเรียฟังไม่ขึ้นมากขึ้นทุกที
    .
    ผู้นำกลุ่มกบฏผู้นี้สำทับว่า อิสราเอลละเมิดข้อตกลงถอนทหารในซีเรียอย่างชัดเจน ซึ่งเสี่ยงปลุกเร้าให้เกิดสถานการณ์รุนแรงอย่างไม่มีเหตุผลครั้งใหม่
    .
    อย่างไรก็ดี เขาสำทับว่า ความอ่อนล้าจากสงครามและความขัดแย้งมานานหลายปีไม่เอื้ออำนวยให้ซีเรียเข้าสู่ความขัดแย้งอีก แต่ภารกิจสำคัญที่สุดคือการฟื้นฟูบูรณะประเทศและเสถียรภาพ และยังบอกว่า แนวทางทางการทูตเป็นวิธีเดียวในการรับประกันความมั่นคงและเสถียรภาพ รวมถึงสถานการณ์อันตรายทางทหารที่ไม่สามารถคำนวณได้
    .
    ทั้งนี้ กองทัพอิสราเอลบุกเข้าสู่เขตกันชนที่แบ่งแยกกองกำลังอิสราเอลกับซีเรียในบริเวณที่ราบสูงโกลันเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งสหประชาชาติ ระบุว่า เป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงปี 1974
    .
    อิสราเอลซึ่งยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในที่ราบสูงโกลันมาตั้งแต่ปีดังกล่าว รวมทั้งประกาศผนวนดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของตนแม้นานาชาติไม่รับรอง อ้างว่า สำหรับการยกทัพเข้าเขตกันชนเป็นการปฏิบัติการชั่วคราวและจำกัด ภายใต้เป้าหมายในการป้องกันตัวเองขณะที่สถานการณ์ในซีเรียไร้ความแน่นอน
    .
    ทั้งนี้ ภายหลังจากระบอบอัสซาดถูกโค่นล้มเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว (8) อิสราเอลก็ได้เร่งระดมโจมตีทางอากาศต่อโครงสร้างพื้นฐานทางทหารทั่วซีเรียหลายร้อยระลอก รวมทั้งส่งกำลังทหารรุกเข้าหลายพื้นที่ในซีเรีย รวมถึงภูเขาเฮอร์มอนด้านที่มองเห็นกรุงดามัสกัส
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อวันเสาร์ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เผยว่า อเมริกาได้ติดต่อโดยตรงกับกลุ่มกบฏเอชทีเอส รวมถึงฝ่ายต่างๆ ในซีเรีย แต่ไม่ได้ระบุว่า การติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างไร นอกจากนั้นยังเป็นที่น่าสังเกตว่า อเมริกาและประเทศตะวันตกหลายแห่งยังคงขึ้นบัญชีเอชทีเอสเป็นกลุ่มก่อการร้ายมาตั้งแต่ปี 2018
    .
    เมื่อวันเสาร์เช่นกัน นักการทูตจากอเมริกา ตุรกี สหภาพยุโรป (อียู) และประเทศอาหรับได้ร่วมหารือกันที่จอร์แดนเกี่ยวกับสถานการณ์ซีเรีย และออกคำแถลงย้ำให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อชาวซีเรียในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญนี้เพื่อสร้างอนาคตที่เต็มไปด้วยความหวัง มั่นคงปลอดภัย และมีสันติภาพ
    .
    คำแถลงยังเรียกร้องให้มีกระบวนการเปลี่ยนผ่านอำนาจที่นำโดยชาวซีเรียเพื่อสร้างรัฐบาลที่ยอมรับคนทุกกลุ่มและทุกนิกายศาสนาผ่านกระบวนการที่โปร่งใส และย้ำว่า ซีเรียได้รับโอกาสในการยุติช่วงเวลาหลายทศวรรษของการถูกโดดเดี่ยว
    .
    บลิงเคนสำทับว่า ยินดีกับท่าทีที่เป็นบวกบางอย่างที่กลุ่มกบฏซีเรียประกาศในช่วงหลายวันที่ผ่านมา แต่สิ่งสำคัญคือการกระทำที่ยั่งยืน และหากการเปลี่ยนผ่านอำนาจเป็นไปด้วยดี อเมริกาจะทบทวนมาตรการแซงก์ชันและมาตรการอื่นๆ ที่บังคับใช้กับซีเรีย
    .
    เกียร์ ปีเดอร์เซน ผู้แทนพิเศษของยูเอ็น เรียกร้องให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่จอร์แดนหารือเพื่อจัดหาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและรับประกันว่า สถาบันรัฐของซีเรียจะไม่ล่มสลาย
    .
    ทางด้านตุรกีนั้นได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตในดามัสกัสอีกครั้ง โดยรายงานระบุว่า อังการามีบทบาทสำคัญในความขัดแย้งในซีเรียในอดีตที่ผ่านมา และมีการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศนี้ ตลอดจนถึงให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มติดอาวุธหลายแห่ง และร่วมมือกับเอชทีเอสอย่างต่อเนื่อง
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000120417
    ..............
    Sondhi X
    อาหมัด อัล-ชารา ผู้นำตัวจริงของซีเรีย ชี้อิสราเอลแค่อ้างความมั่นคงของตัวเองเพื่อโจมตีซีเรีย กระนั้น เขาไม่คิดสร้างความขัดแย้งเพิ่มแต่จะมุ่งฟื้นฟูประเทศที่บอบช้ำหนักจากระบอบอัสซาด ด้านอเมริกาเผยได้ติดต่อโดยตรงกับกลุ่มกบฏซีเรียที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นกลุ่มก่อการร้ายแล้ว . ชารา หรือที่รู้จักกันในชื่ออบู โมฮัมเหม็ด อัล-โกลานี ผู้นำกลุ่มฮายัต ตอห์รีร์ อัล-ชาม (เอชทีเอส) ที่เป็นแกนนำการยึดอำนาจอดีตประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ให้สัมภาษณ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของซีเรีย ทีวี สถานีที่สนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอัสซาด เมื่อวันเสาร์ (14 ธ.ค.) ว่า ข้ออ้างของอิสราเอลในการบุกโจมตีซีเรียฟังไม่ขึ้นมากขึ้นทุกที . ผู้นำกลุ่มกบฏผู้นี้สำทับว่า อิสราเอลละเมิดข้อตกลงถอนทหารในซีเรียอย่างชัดเจน ซึ่งเสี่ยงปลุกเร้าให้เกิดสถานการณ์รุนแรงอย่างไม่มีเหตุผลครั้งใหม่ . อย่างไรก็ดี เขาสำทับว่า ความอ่อนล้าจากสงครามและความขัดแย้งมานานหลายปีไม่เอื้ออำนวยให้ซีเรียเข้าสู่ความขัดแย้งอีก แต่ภารกิจสำคัญที่สุดคือการฟื้นฟูบูรณะประเทศและเสถียรภาพ และยังบอกว่า แนวทางทางการทูตเป็นวิธีเดียวในการรับประกันความมั่นคงและเสถียรภาพ รวมถึงสถานการณ์อันตรายทางทหารที่ไม่สามารถคำนวณได้ . ทั้งนี้ กองทัพอิสราเอลบุกเข้าสู่เขตกันชนที่แบ่งแยกกองกำลังอิสราเอลกับซีเรียในบริเวณที่ราบสูงโกลันเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งสหประชาชาติ ระบุว่า เป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงปี 1974 . อิสราเอลซึ่งยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในที่ราบสูงโกลันมาตั้งแต่ปีดังกล่าว รวมทั้งประกาศผนวนดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของตนแม้นานาชาติไม่รับรอง อ้างว่า สำหรับการยกทัพเข้าเขตกันชนเป็นการปฏิบัติการชั่วคราวและจำกัด ภายใต้เป้าหมายในการป้องกันตัวเองขณะที่สถานการณ์ในซีเรียไร้ความแน่นอน . ทั้งนี้ ภายหลังจากระบอบอัสซาดถูกโค่นล้มเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว (8) อิสราเอลก็ได้เร่งระดมโจมตีทางอากาศต่อโครงสร้างพื้นฐานทางทหารทั่วซีเรียหลายร้อยระลอก รวมทั้งส่งกำลังทหารรุกเข้าหลายพื้นที่ในซีเรีย รวมถึงภูเขาเฮอร์มอนด้านที่มองเห็นกรุงดามัสกัส . ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อวันเสาร์ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เผยว่า อเมริกาได้ติดต่อโดยตรงกับกลุ่มกบฏเอชทีเอส รวมถึงฝ่ายต่างๆ ในซีเรีย แต่ไม่ได้ระบุว่า การติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างไร นอกจากนั้นยังเป็นที่น่าสังเกตว่า อเมริกาและประเทศตะวันตกหลายแห่งยังคงขึ้นบัญชีเอชทีเอสเป็นกลุ่มก่อการร้ายมาตั้งแต่ปี 2018 . เมื่อวันเสาร์เช่นกัน นักการทูตจากอเมริกา ตุรกี สหภาพยุโรป (อียู) และประเทศอาหรับได้ร่วมหารือกันที่จอร์แดนเกี่ยวกับสถานการณ์ซีเรีย และออกคำแถลงย้ำให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อชาวซีเรียในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญนี้เพื่อสร้างอนาคตที่เต็มไปด้วยความหวัง มั่นคงปลอดภัย และมีสันติภาพ . คำแถลงยังเรียกร้องให้มีกระบวนการเปลี่ยนผ่านอำนาจที่นำโดยชาวซีเรียเพื่อสร้างรัฐบาลที่ยอมรับคนทุกกลุ่มและทุกนิกายศาสนาผ่านกระบวนการที่โปร่งใส และย้ำว่า ซีเรียได้รับโอกาสในการยุติช่วงเวลาหลายทศวรรษของการถูกโดดเดี่ยว . บลิงเคนสำทับว่า ยินดีกับท่าทีที่เป็นบวกบางอย่างที่กลุ่มกบฏซีเรียประกาศในช่วงหลายวันที่ผ่านมา แต่สิ่งสำคัญคือการกระทำที่ยั่งยืน และหากการเปลี่ยนผ่านอำนาจเป็นไปด้วยดี อเมริกาจะทบทวนมาตรการแซงก์ชันและมาตรการอื่นๆ ที่บังคับใช้กับซีเรีย . เกียร์ ปีเดอร์เซน ผู้แทนพิเศษของยูเอ็น เรียกร้องให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่จอร์แดนหารือเพื่อจัดหาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและรับประกันว่า สถาบันรัฐของซีเรียจะไม่ล่มสลาย . ทางด้านตุรกีนั้นได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตในดามัสกัสอีกครั้ง โดยรายงานระบุว่า อังการามีบทบาทสำคัญในความขัดแย้งในซีเรียในอดีตที่ผ่านมา และมีการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศนี้ ตลอดจนถึงให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มติดอาวุธหลายแห่ง และร่วมมือกับเอชทีเอสอย่างต่อเนื่อง . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000120417 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    Angry
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1050 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts