• 20 กันยายน 2567 -Highlight จากงาน BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow

    ช่วงหนึ่ง ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติบอกว่า ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยตาม Fed โดยย้ำว่า นโยบายการเงินในประเทศ ยังอิงอยู่กับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก

    รายงานจากเพจ Today Biznews เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ลดดอกเบี้ย ว่า Fed ลดดอกเบี้ย 0.50% หรือ 50 เบสิสพอยท์ (bps) สำหรับ Fed ถือว่าไม่น้อย

    แต่ในแง่ผลกระทบ มองว่า ตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์อ่อนค่า ค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทแข็งค่า สะท้อนไปแล้วระดับหนึ่ง

    ส่วนช่องทางที่กระทบเศรษฐกิจไทย หลักๆ คือ กระทบตลาดเงินและค่าเงิน ในแง่ผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ก็มีบ้าง

    แต่โดยรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่ได้มากมายขนาดนั้น เพราะเราเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งระบบแบงก์เป็นส่วนใหญ่ ช่องที่เห็นที่กระทบเยอะคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์

    อีกอย่างที่ซ้ำเติมคือราคาทองคำที่ทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) ส่วนหนึ่งก็มาจากดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งค่าเงินไทยมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับทองค่อนข้างสูง สูงกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค

    ส่วนผลในแง่เศรษฐกิจหลัง Fed ลดดอกเบี้ย สะท้อนว่า Fed ให้ความสำคัญกับ Soft Landing หรือให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เทียบกับความเป็นห่วงในด้านเงินเฟ้อ

    ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ อาจจะทำให้ไทยสบายใจขึ้นได้หน่อยว่า โอกาส Soft Landing ในสหรัฐจะสูงขึ้น แต่ตัวเลขต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น

    ‘นี่ (การลดดอกเบี้ยของ Fed) ก็เหมือนการซื้อประกัน Make Sure ว่าโอกาสเกิด Hard Landing ให้มันน้อยๆ’

    [ นโยบายอิงกับปัจจัยในประเทศ ]

    ส่วนผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเรา ผู้ว่าฯ บอกว่า นโยบายการเงินของไทย เน้นเรื่องภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก (ที่แบงก์ชาติบอกอยู่เสมอ) คือ

    1. เศรษฐกิจ: การเติบโตว่าจะเข้าสู่ศักยภาพหรือไม่
    2. เงินเฟ้อ: เงินเฟ้อของเราจะเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อหรือไม่
    3. เสถียรภาพทางด้านการเงิน: ซึ่งช่วงหลังให้ความสำคัญ

    ทั้ง 3 ปัจจัย ไม่ได้เห็นอะไรที่จะทำให้ภาพการประเมินแตกต่างจากที่มองเอาไว้ ทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มีแต่เสถียรภาพทางด้านการเงิน เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพิ่มสูงขึ้นเยอะ

    แต่ก็ต้องคำนึงถึงภาพรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตอนที่ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งจะกระทบภาพรวม และมีนัยต่อประเด็นข้างต้น ทำให้ต้องคำนึงถึง

    ‘การที่เราย้ำว่า เรา Outlook Dependent เป็นการตัดสินใจ หรือกรอบความคิดที่เหมาะสมแล้ว และถูกต้อง เพราะเราเห็นแล้วว่าที่อื่นที่เน้น Data Dependent มันสร้าง noise ต่อตลาดเยอะ’

    ส่วนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ตอนนี้ยังประชุมตามเดิม (รอบหน้า 16 ต.ค. 2567) ถ้าต้องมีการประชุมเพิ่มเติมพิเศษก็มีได้

    [ ดอกเบี้ยลด หนี้ไม่ลด ]

    เมื่อถามถึงความคาดหวังให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อลดหนี้ครัวเรือน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ อธิบายว่า สำหรับตัวบน (หนี้) มี 2 ส่วน คือ ผลต่อหนี้เก่า ซึ่งถ้าลดดอกเบี้ย จะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายบนหนี้เก่าลดลง ส่วนหนี้ใหม่ คำถามคือ ถ้าลดดอกเบี้ยแล้วทำให้สินเชื่อโตเร็วขึ้น ตัวหนี้โดยรวมมันก็จะเพิ่มขึ้น

    ซึ่งการดูตรงนี้ต้องชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ส่วน แต่ยังไงแบงก์ชาติก็ไม่ได้อยากเห็นตัวเลขหนี้ต่อจีดีพีโตพุ่งสูงต่อเนื่อง เพราะในแง่ของเสถียรภาพมันคงไม่เหมาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะให้มันลงเร็ว ลงแรง จนเกินไป เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจ

    ต้องบอกว่า ภาระหนี้เป็นอะไรที่แบงก์ชาติเป็นห่วง เพราะมีสัดส่วนครัวเรือนไม่น้อยที่มีปัญหาหนี้ แต่อยากฝากไว้ว่า การลดดอกเบี้ย ผลที่ส่งต่อภาระหนี้มันก็ไม่ได้เต็มที่

    หนี้ของเราสัดส่วนไม่น้อยไม่ได้เป็นหนี้ Floating แต่เป็น Fixed Rate และ Fixed Installment พวกนี้ภาระหนี้ไม่ได้ลด ในแง่ที่ต้องจ่ายรายเดือน เพราะฉะนั้น จะไปคาดหวังให้ดอกเบี้ยลงปุ๊ปและภาระหนี้ทุกคนลด ก็ไม่ใช่

    ‘เรื่องของ Fed มันไม่ใช่ว่า Fed ลดแล้วเราต้องลด แต่การที่ Fed ลด อย่างที่บอก มันก็กระทบปัจจัยหลายอย่าง กระทบเรื่องของภาพรวมอะไรต่างๆ กระทบตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย’

    ผู้ว่าฯ อธิบายอีกว่า เราไม่เหมือนประเทศที่ fix ค่าเงิน เช่น ฮ่องกง หรือตะวันออกกลาง ที่ fix ค่าเงินกับดอลลาร์ เมื่อ Fed ลดดอกเบี้ย เขาก็ต้องลดดอกเบี้ยไปโดยปริยาย แต่ของเราไม่ใช่แบบนั้น

    [ เงินไหลออกน้อยกว่าปีก่อน ]

    ส่วนผลกระทบต่อค่าเงินบาท แน่นอนว่าแบงก์ชาติไม่ได้อยากเห็นค่าเงินที่ผันผวนขนาดนี้ และค่าความผันผวน (Volatility) ของเราก็สูง และการแข็งค่า โดยเฉพาะช่วงหลัง ก็เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว

    ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) บาทแข็งค่าไป 2.4% แต่ก็ยังมีประเทศที่แข็งค่ามากกว่าเรา เช่น มาเลเซีย ที่ช่วงหลังแข็งค่าค่อนข้างเยอะ

    สำหรับการประเมิน แบงก์ชาติจะดูว่าที่มาของการแข็งค่าคืออะไร 1. ถ้ามาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหรือเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งในเคสนี้มาจากเรื่องดอลลาร์อ่อนค่าและ Fed ลดดอกเบี้ย ก็เป็นการปรับตามกลไกตลาด

    แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ 2. การเคลื่อนไหวที่เร็วและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น กระแสเงินที่มาจากการเก็งกำไร (Speculated Flow) หรือเงินร้อน (Hot Money) ซึ่งเข้ามาเก็งกำไรและทำให้ความผันผวนเกิดขึ้น โดยที่ไม่สะท้อนเรื่องของพื้นฐาน อันนี้แบงก์ชาติจะ sensitive กว่า

    ซึ่งภาพรวมของเงินทุนในช่วงหลัง การไหลออกน้อยกว่าปีที่แล้วเยอะ (ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น) โดยปีก่อน (2566) เงินทุนไหลออก 9,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.2 แสนล้านบาท)

    ส่วนปีนี้ (2567) YTD อยู่ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.2 หมื่นล้านบาท) ช่วงหลังเห็นการไหลเข้าค่อนข้างเยอะ จากปัจจัยของโลกและปัจจัยแวดล้อมของเรา เช่น ความชัดเจนด้านการเมือง

    ที่มา https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/news-and-media/speeches/speechgov_20sep2024.pdf
    ชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/_z66w8oG260?si=v16T3b9bMjKajLvF

    #Thaitimes
    20 กันยายน 2567 -Highlight จากงาน BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow ช่วงหนึ่ง ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติบอกว่า ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยตาม Fed โดยย้ำว่า นโยบายการเงินในประเทศ ยังอิงอยู่กับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก รายงานจากเพจ Today Biznews เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ลดดอกเบี้ย ว่า Fed ลดดอกเบี้ย 0.50% หรือ 50 เบสิสพอยท์ (bps) สำหรับ Fed ถือว่าไม่น้อย แต่ในแง่ผลกระทบ มองว่า ตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์อ่อนค่า ค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทแข็งค่า สะท้อนไปแล้วระดับหนึ่ง ส่วนช่องทางที่กระทบเศรษฐกิจไทย หลักๆ คือ กระทบตลาดเงินและค่าเงิน ในแง่ผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ก็มีบ้าง แต่โดยรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่ได้มากมายขนาดนั้น เพราะเราเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งระบบแบงก์เป็นส่วนใหญ่ ช่องที่เห็นที่กระทบเยอะคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ อีกอย่างที่ซ้ำเติมคือราคาทองคำที่ทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) ส่วนหนึ่งก็มาจากดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งค่าเงินไทยมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับทองค่อนข้างสูง สูงกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ส่วนผลในแง่เศรษฐกิจหลัง Fed ลดดอกเบี้ย สะท้อนว่า Fed ให้ความสำคัญกับ Soft Landing หรือให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เทียบกับความเป็นห่วงในด้านเงินเฟ้อ ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ อาจจะทำให้ไทยสบายใจขึ้นได้หน่อยว่า โอกาส Soft Landing ในสหรัฐจะสูงขึ้น แต่ตัวเลขต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น ‘นี่ (การลดดอกเบี้ยของ Fed) ก็เหมือนการซื้อประกัน Make Sure ว่าโอกาสเกิด Hard Landing ให้มันน้อยๆ’ [ นโยบายอิงกับปัจจัยในประเทศ ] ส่วนผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเรา ผู้ว่าฯ บอกว่า นโยบายการเงินของไทย เน้นเรื่องภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก (ที่แบงก์ชาติบอกอยู่เสมอ) คือ 1. เศรษฐกิจ: การเติบโตว่าจะเข้าสู่ศักยภาพหรือไม่ 2. เงินเฟ้อ: เงินเฟ้อของเราจะเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อหรือไม่ 3. เสถียรภาพทางด้านการเงิน: ซึ่งช่วงหลังให้ความสำคัญ ทั้ง 3 ปัจจัย ไม่ได้เห็นอะไรที่จะทำให้ภาพการประเมินแตกต่างจากที่มองเอาไว้ ทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มีแต่เสถียรภาพทางด้านการเงิน เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพิ่มสูงขึ้นเยอะ แต่ก็ต้องคำนึงถึงภาพรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตอนที่ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งจะกระทบภาพรวม และมีนัยต่อประเด็นข้างต้น ทำให้ต้องคำนึงถึง ‘การที่เราย้ำว่า เรา Outlook Dependent เป็นการตัดสินใจ หรือกรอบความคิดที่เหมาะสมแล้ว และถูกต้อง เพราะเราเห็นแล้วว่าที่อื่นที่เน้น Data Dependent มันสร้าง noise ต่อตลาดเยอะ’ ส่วนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ตอนนี้ยังประชุมตามเดิม (รอบหน้า 16 ต.ค. 2567) ถ้าต้องมีการประชุมเพิ่มเติมพิเศษก็มีได้ [ ดอกเบี้ยลด หนี้ไม่ลด ] เมื่อถามถึงความคาดหวังให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อลดหนี้ครัวเรือน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ อธิบายว่า สำหรับตัวบน (หนี้) มี 2 ส่วน คือ ผลต่อหนี้เก่า ซึ่งถ้าลดดอกเบี้ย จะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายบนหนี้เก่าลดลง ส่วนหนี้ใหม่ คำถามคือ ถ้าลดดอกเบี้ยแล้วทำให้สินเชื่อโตเร็วขึ้น ตัวหนี้โดยรวมมันก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งการดูตรงนี้ต้องชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ส่วน แต่ยังไงแบงก์ชาติก็ไม่ได้อยากเห็นตัวเลขหนี้ต่อจีดีพีโตพุ่งสูงต่อเนื่อง เพราะในแง่ของเสถียรภาพมันคงไม่เหมาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะให้มันลงเร็ว ลงแรง จนเกินไป เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจ ต้องบอกว่า ภาระหนี้เป็นอะไรที่แบงก์ชาติเป็นห่วง เพราะมีสัดส่วนครัวเรือนไม่น้อยที่มีปัญหาหนี้ แต่อยากฝากไว้ว่า การลดดอกเบี้ย ผลที่ส่งต่อภาระหนี้มันก็ไม่ได้เต็มที่ หนี้ของเราสัดส่วนไม่น้อยไม่ได้เป็นหนี้ Floating แต่เป็น Fixed Rate และ Fixed Installment พวกนี้ภาระหนี้ไม่ได้ลด ในแง่ที่ต้องจ่ายรายเดือน เพราะฉะนั้น จะไปคาดหวังให้ดอกเบี้ยลงปุ๊ปและภาระหนี้ทุกคนลด ก็ไม่ใช่ ‘เรื่องของ Fed มันไม่ใช่ว่า Fed ลดแล้วเราต้องลด แต่การที่ Fed ลด อย่างที่บอก มันก็กระทบปัจจัยหลายอย่าง กระทบเรื่องของภาพรวมอะไรต่างๆ กระทบตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย’ ผู้ว่าฯ อธิบายอีกว่า เราไม่เหมือนประเทศที่ fix ค่าเงิน เช่น ฮ่องกง หรือตะวันออกกลาง ที่ fix ค่าเงินกับดอลลาร์ เมื่อ Fed ลดดอกเบี้ย เขาก็ต้องลดดอกเบี้ยไปโดยปริยาย แต่ของเราไม่ใช่แบบนั้น [ เงินไหลออกน้อยกว่าปีก่อน ] ส่วนผลกระทบต่อค่าเงินบาท แน่นอนว่าแบงก์ชาติไม่ได้อยากเห็นค่าเงินที่ผันผวนขนาดนี้ และค่าความผันผวน (Volatility) ของเราก็สูง และการแข็งค่า โดยเฉพาะช่วงหลัง ก็เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) บาทแข็งค่าไป 2.4% แต่ก็ยังมีประเทศที่แข็งค่ามากกว่าเรา เช่น มาเลเซีย ที่ช่วงหลังแข็งค่าค่อนข้างเยอะ สำหรับการประเมิน แบงก์ชาติจะดูว่าที่มาของการแข็งค่าคืออะไร 1. ถ้ามาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหรือเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งในเคสนี้มาจากเรื่องดอลลาร์อ่อนค่าและ Fed ลดดอกเบี้ย ก็เป็นการปรับตามกลไกตลาด แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ 2. การเคลื่อนไหวที่เร็วและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น กระแสเงินที่มาจากการเก็งกำไร (Speculated Flow) หรือเงินร้อน (Hot Money) ซึ่งเข้ามาเก็งกำไรและทำให้ความผันผวนเกิดขึ้น โดยที่ไม่สะท้อนเรื่องของพื้นฐาน อันนี้แบงก์ชาติจะ sensitive กว่า ซึ่งภาพรวมของเงินทุนในช่วงหลัง การไหลออกน้อยกว่าปีที่แล้วเยอะ (ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น) โดยปีก่อน (2566) เงินทุนไหลออก 9,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.2 แสนล้านบาท) ส่วนปีนี้ (2567) YTD อยู่ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.2 หมื่นล้านบาท) ช่วงหลังเห็นการไหลเข้าค่อนข้างเยอะ จากปัจจัยของโลกและปัจจัยแวดล้อมของเรา เช่น ความชัดเจนด้านการเมือง ที่มา https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/news-and-media/speeches/speechgov_20sep2024.pdf ชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/_z66w8oG260?si=v16T3b9bMjKajLvF #Thaitimes
    Like
    Yay
    6
    0 Comments 1 Shares 311 Views 0 Reviews
  • ราคาทองคำผันผวนมากกับการลดดอกเบี้ย0.50%

    การตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว0.50%ของธนาคารกลางสหรัฐ ส่งผลให้ราคาทองคำผันผวนอย่างมาก

    ในช่วงบ่ายแก่ๆ สัญญาทองคำล่วงหน้าสำหรับการส่งมอบเดือนธันวาคมปิดที่ 2,584.80 ดอลลาร์ ลดลง 11.60 ดอลลาร์ตลอดทั้งวัน

    โลหะมีค่ามีการซื้อขายผันผวนอย่างหนัก เปิดที่ 2,596 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแตะระดับสูงสุดในรอบวัน 2,627.20 ดอลลาร์ ก่อนที่จะร่วงลงมาปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบวันเล็กน้อยที่ 2,572.50 ดอลลาร์

    ล่าสุด ราคาทองคำสปอตซื้อขายที่ 2,578-2,579เหรียญต่อออนซ์

    การเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งนี้เน้นย้ำถึงพันธกรณีสองประการของเฟดในการรักษาอัตราการจ้างงานเต็มที่ในขณะที่ดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

    ประธานเฟด เจโรม พาวเวลล์แสดงความมั่นใจว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งก่อนมีผลทำให้เงินเฟ้อลดลงอย่างมีประสิทธิผล และเงินเฟ้อจะยังคงเข้าใกล้เป้าหมายที่ต้องการต่อไป

    อัตราดอกเบี้ยกองทุนเฟดใหม่ขณะนี้อยู่ระหว่าง 4.75% ถึง 5% โดยเฟดส่งสัญญาณถึงความตั้งใจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับปกติที่ประมาณ 3% ในปีหน้า

    ปฏิกิริยาของตลาดต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนในกลุ่มสินทรัพย์ต่างๆ ดัชนีหุ้นหลักปิดตลาดด้วยการลดลงเล็กน้อยหลังจากที่เพิ่มขึ้นในช่วงแรก

    ดัชนี S&P 500 ลดลง 0.29% เหลือ 5,618.26 จุด ดัชนี Dow Jones Industrial Average ลดลง 0.25% เหลือ 41,503.10 จุด และดัชนี NASDAQ Composite ลดลง 0.31% เหลือ 17,573.30 จุด ดัชนีดอลลาร์สหรัฐลดลงเล็กน้อย 0.18% เหลือ 100.978 จุด
    ที่มา Kitco
    ราคาทองคำผันผวนมากกับการลดดอกเบี้ย0.50% การตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว0.50%ของธนาคารกลางสหรัฐ ส่งผลให้ราคาทองคำผันผวนอย่างมาก ในช่วงบ่ายแก่ๆ สัญญาทองคำล่วงหน้าสำหรับการส่งมอบเดือนธันวาคมปิดที่ 2,584.80 ดอลลาร์ ลดลง 11.60 ดอลลาร์ตลอดทั้งวัน โลหะมีค่ามีการซื้อขายผันผวนอย่างหนัก เปิดที่ 2,596 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแตะระดับสูงสุดในรอบวัน 2,627.20 ดอลลาร์ ก่อนที่จะร่วงลงมาปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบวันเล็กน้อยที่ 2,572.50 ดอลลาร์ ล่าสุด ราคาทองคำสปอตซื้อขายที่ 2,578-2,579เหรียญต่อออนซ์ การเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งนี้เน้นย้ำถึงพันธกรณีสองประการของเฟดในการรักษาอัตราการจ้างงานเต็มที่ในขณะที่ดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ประธานเฟด เจโรม พาวเวลล์แสดงความมั่นใจว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งก่อนมีผลทำให้เงินเฟ้อลดลงอย่างมีประสิทธิผล และเงินเฟ้อจะยังคงเข้าใกล้เป้าหมายที่ต้องการต่อไป อัตราดอกเบี้ยกองทุนเฟดใหม่ขณะนี้อยู่ระหว่าง 4.75% ถึง 5% โดยเฟดส่งสัญญาณถึงความตั้งใจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับปกติที่ประมาณ 3% ในปีหน้า ปฏิกิริยาของตลาดต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนในกลุ่มสินทรัพย์ต่างๆ ดัชนีหุ้นหลักปิดตลาดด้วยการลดลงเล็กน้อยหลังจากที่เพิ่มขึ้นในช่วงแรก ดัชนี S&P 500 ลดลง 0.29% เหลือ 5,618.26 จุด ดัชนี Dow Jones Industrial Average ลดลง 0.25% เหลือ 41,503.10 จุด และดัชนี NASDAQ Composite ลดลง 0.31% เหลือ 17,573.30 จุด ดัชนีดอลลาร์สหรัฐลดลงเล็กน้อย 0.18% เหลือ 100.978 จุด ที่มา Kitco
    Like
    Sad
    21
    0 Comments 0 Shares 306 Views 0 Reviews
  • สหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้ในปี2026/2027

    Martin Armstrong นักการเงิน และนักวิเคราะห์ชื่อดังให้สัมภาษณ์กับFinancial Senseว่าสหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้ในปี2026/2027 ซึ่งจะเป็นช่วงไซเกิ้ลของสงครามโลกคร้ังที่ 3ที่จะเกิดขึ้นพอดี

    การผิดนัดชำระหนี้หมายถึงการที่กระทรวงการคลังสหรัฐออกพันธะบัตรแล้วไม่มีคนซื้อ เพราะว่าไม่มั่นใจกับปริมาณหนี้มหาศาลที่สหรัฐแบกรับอยู่ และนโยบายแซงชั่นของรัฐบาลสหรัฐ ทำให้ดอกเบี้ยจะพุ่งสูง ค่าเงินดอลล่าร์จะด้อยค่า จนท้ายที่สุดไม่มีใครต้องการถือครองทรัพย์สินดอลล่าร์อีกต่อไป

    หรืออีกวิธีหนึ่งของการผิดนัดชำระหนี้คือการก่อสงคราม แล้วหยุดจ่ายหนี้ หรือเบี้ยวหนี้ไปเลย

    อาร์มสตรองบอกว่า ความจริงพันธะบัตรสหรัฐมีปัญหาอยู่แล้ว อันเห็นได้จากการที่เจเน็ต เยลเลน รมว คลังสหรัฐบินไปปักกิ่งหลายคร้ังในช่วงที่ผ่านมา เพื่อขอร้องให้รัฐบาลจีนไม่ให้ขายพันธบัตรสหรัฐ หรือให้ซื้อพันธบัตรล็อตใหม่ แต่ถูกทางจีนปฏิเสธ

    ตัวเลขหนี้สาธารณะล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐอยู่ที่$35.2ล้านล้าน เทียบกับขนาดของจีดีพีที่$28ล้านล้าน ในขณะที่มีหนี้นอกงบประมาณที่$70ล้านล้าน ซึ่งเป็นพันธะด้านสวัสดิการสังคมต่างๆที่ต้องจ่ายในอนาคต ลำพังแค่ต้องจ่ายเฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยด้วยการออกพัน
    ธะบัตรมารีไฟแนนซ์ รัฐบาลสหรัฐมีภาระต้องจ่าย$1ล้านล้านต่อปี ซึ่งเป็นการใช้จ่ายที่สูงสุดในงบประมาณ สูงกว่างบของกระทรวงกลาโหมที่800,000กว่าล้านเสียอีก หนี้ส่วนที่เป็นเงินต้นสหรัฐไม่คิดที่จะจ่ายคืนอยู่แล้ว นอกจากนี้รัฐบาลสหรัฐยังขาดดุลงบประมาณปีละ2ล้านล้าน

    หนี้สินทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นกว่า 15 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2023 สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ใหม่ที่ 313 ล้านล้านดอลลาร์ โดยประมาณ 55% ของการเพิ่มขึ้นนี้มาจากเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว โดยส่วนใหญ่คือสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมนี หนี้สินที่ไม่ได้รับการจัดสรร (unfunded liabilities)ในสหรัฐอเมริกามีมูลค่า 72 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 300% ของ GDP ซึ่งอาจดูสูงเกินไปจนกว่าจะหันไปดูสเปนที่มีหนี้ต่อ GDPที่ 500% ฝรั่งเศสที่มีหนี้ต่อ GDP เกือบ 400% หรือเยอรมนีที่มีหนี้ต่อ GDP เกือบ 350%

    งบดุลของประเทศแบบนี้ถือว่าล้มละลายแล้ว หนี้ของประเทศในยุโรปท้ังในงบดุลและนอกงบดุลก็ประสบวิกฤตคล้ายๆกับสหรัฐ ทำให้สหรัฐและยุโรปจับมือกันก่อสงครามกับรัสเซียผ่านตัวแทนยูเครนเพื่อหาทางเบี้ยวหนี้ หรือรีเซ็ตระบบการเงินใหม่เพื่อรักษาสถานภาพเดิมทางอำนาจทางการเงิน

    การยึดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซียโดยสหรัฐและยุโรปทำให้หลายประเทศทิ้งทรัพย์สินดอลล่าร์ และหันไปถือครองทองคำแทน เพราะเกรงว่าจะถูกยึดเหมือนรัสเซียถ้าดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ไม่ถูกใจวอชิงตัน ทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดราคาทองคำ2,574เหรียญต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำฟิวเจอร์สส่งมอบเดือนธันวาคมพุ่งทะลุระดับ2,600เหรียญต่อออนซ์ไปแล้ว

    ธนาคารกลางทั่วโลกก็หันมาตุนทองคำ โดยขายพันธะบัตรสหรัฐออกไปเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงทางการเงินท่ามกลางความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น การซื้อทองคำของธนาคารกลาง1,136ตันในปี 2022 และ1,037ตันในปี 2023 เป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีน้ำหนักมากที่สุดที่ทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงในช่วงที่ผ่านมา ปี2024น่าจะเป็นอีกปีของการสร้างสถิติการซื้อทองคำของธนาคารกลาง

    กลุ่มBRICSมีนโยบายออกจากดอลล่าร์ (de-dollarization) ด้วยการค้าการกันเองผ่านเงินสกุลประจำชาติ และไม่ใช้ดอลล่าร์ รวมท้ังการวางโครงการที่จะเอาทองคำมาหนุนหลังค่าเงินของเงินสกุลร่วมBRICS ที่เรียกกันว่า the Unit โดยใช้ทองคำ40%หนุนหลัง และอีก60%หนุนหลังค่าเงินก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนทั่วโลกเห็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของความเป็นเงินสกุลหลักของโลกของดอลล่าร์ที่โดยเนื้อแท้แล้วเป็นเงินกระดาษเปล่าๆที่ไม่มีทรัพย์สินอะไรหนุนหลัง

    อย่างไรก็ดี โดนัลด์ ทรัมป์ประกาศว่าเขาจะเก็บภาษี100%สำหรับประเทศใดก็ตามที่หันหลังให้กับดอลล่าร์ เพื่อที่จะปกป้องดอลล่าร์ให้เป็นเงินสกุลหลักของโลกต่อไป ท่าทีของทรัมป์แม้ว่าจะเป็นการพูดหาเสียงแต่ก็สะท้อนความเข้าใจของทรัมป์ว่าเงินดอลล่าร์กำลังหมดความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซาอุดิ อาราเบียได้ออกมาให้ข่าวว่าจะขายน้ำมันแลกเงินหยวนของจีน ซึ่งถือว่าเป็นการออกจากเปโตรดอลล่าร์ที่ซาอุฯเป็นผู้ค้ำประกันมาตั้งแต่ปี1974

    สหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้ในปี2026/2027 Martin Armstrong นักการเงิน และนักวิเคราะห์ชื่อดังให้สัมภาษณ์กับFinancial Senseว่าสหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้ในปี2026/2027 ซึ่งจะเป็นช่วงไซเกิ้ลของสงครามโลกคร้ังที่ 3ที่จะเกิดขึ้นพอดี การผิดนัดชำระหนี้หมายถึงการที่กระทรวงการคลังสหรัฐออกพันธะบัตรแล้วไม่มีคนซื้อ เพราะว่าไม่มั่นใจกับปริมาณหนี้มหาศาลที่สหรัฐแบกรับอยู่ และนโยบายแซงชั่นของรัฐบาลสหรัฐ ทำให้ดอกเบี้ยจะพุ่งสูง ค่าเงินดอลล่าร์จะด้อยค่า จนท้ายที่สุดไม่มีใครต้องการถือครองทรัพย์สินดอลล่าร์อีกต่อไป หรืออีกวิธีหนึ่งของการผิดนัดชำระหนี้คือการก่อสงคราม แล้วหยุดจ่ายหนี้ หรือเบี้ยวหนี้ไปเลย อาร์มสตรองบอกว่า ความจริงพันธะบัตรสหรัฐมีปัญหาอยู่แล้ว อันเห็นได้จากการที่เจเน็ต เยลเลน รมว คลังสหรัฐบินไปปักกิ่งหลายคร้ังในช่วงที่ผ่านมา เพื่อขอร้องให้รัฐบาลจีนไม่ให้ขายพันธบัตรสหรัฐ หรือให้ซื้อพันธบัตรล็อตใหม่ แต่ถูกทางจีนปฏิเสธ ตัวเลขหนี้สาธารณะล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐอยู่ที่$35.2ล้านล้าน เทียบกับขนาดของจีดีพีที่$28ล้านล้าน ในขณะที่มีหนี้นอกงบประมาณที่$70ล้านล้าน ซึ่งเป็นพันธะด้านสวัสดิการสังคมต่างๆที่ต้องจ่ายในอนาคต ลำพังแค่ต้องจ่ายเฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยด้วยการออกพัน ธะบัตรมารีไฟแนนซ์ รัฐบาลสหรัฐมีภาระต้องจ่าย$1ล้านล้านต่อปี ซึ่งเป็นการใช้จ่ายที่สูงสุดในงบประมาณ สูงกว่างบของกระทรวงกลาโหมที่800,000กว่าล้านเสียอีก หนี้ส่วนที่เป็นเงินต้นสหรัฐไม่คิดที่จะจ่ายคืนอยู่แล้ว นอกจากนี้รัฐบาลสหรัฐยังขาดดุลงบประมาณปีละ2ล้านล้าน หนี้สินทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นกว่า 15 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2023 สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ใหม่ที่ 313 ล้านล้านดอลลาร์ โดยประมาณ 55% ของการเพิ่มขึ้นนี้มาจากเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว โดยส่วนใหญ่คือสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมนี หนี้สินที่ไม่ได้รับการจัดสรร (unfunded liabilities)ในสหรัฐอเมริกามีมูลค่า 72 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 300% ของ GDP ซึ่งอาจดูสูงเกินไปจนกว่าจะหันไปดูสเปนที่มีหนี้ต่อ GDPที่ 500% ฝรั่งเศสที่มีหนี้ต่อ GDP เกือบ 400% หรือเยอรมนีที่มีหนี้ต่อ GDP เกือบ 350% งบดุลของประเทศแบบนี้ถือว่าล้มละลายแล้ว หนี้ของประเทศในยุโรปท้ังในงบดุลและนอกงบดุลก็ประสบวิกฤตคล้ายๆกับสหรัฐ ทำให้สหรัฐและยุโรปจับมือกันก่อสงครามกับรัสเซียผ่านตัวแทนยูเครนเพื่อหาทางเบี้ยวหนี้ หรือรีเซ็ตระบบการเงินใหม่เพื่อรักษาสถานภาพเดิมทางอำนาจทางการเงิน การยึดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซียโดยสหรัฐและยุโรปทำให้หลายประเทศทิ้งทรัพย์สินดอลล่าร์ และหันไปถือครองทองคำแทน เพราะเกรงว่าจะถูกยึดเหมือนรัสเซียถ้าดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ไม่ถูกใจวอชิงตัน ทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดราคาทองคำ2,574เหรียญต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำฟิวเจอร์สส่งมอบเดือนธันวาคมพุ่งทะลุระดับ2,600เหรียญต่อออนซ์ไปแล้ว ธนาคารกลางทั่วโลกก็หันมาตุนทองคำ โดยขายพันธะบัตรสหรัฐออกไปเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงทางการเงินท่ามกลางความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น การซื้อทองคำของธนาคารกลาง1,136ตันในปี 2022 และ1,037ตันในปี 2023 เป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีน้ำหนักมากที่สุดที่ทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงในช่วงที่ผ่านมา ปี2024น่าจะเป็นอีกปีของการสร้างสถิติการซื้อทองคำของธนาคารกลาง กลุ่มBRICSมีนโยบายออกจากดอลล่าร์ (de-dollarization) ด้วยการค้าการกันเองผ่านเงินสกุลประจำชาติ และไม่ใช้ดอลล่าร์ รวมท้ังการวางโครงการที่จะเอาทองคำมาหนุนหลังค่าเงินของเงินสกุลร่วมBRICS ที่เรียกกันว่า the Unit โดยใช้ทองคำ40%หนุนหลัง และอีก60%หนุนหลังค่าเงินก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนทั่วโลกเห็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของความเป็นเงินสกุลหลักของโลกของดอลล่าร์ที่โดยเนื้อแท้แล้วเป็นเงินกระดาษเปล่าๆที่ไม่มีทรัพย์สินอะไรหนุนหลัง อย่างไรก็ดี โดนัลด์ ทรัมป์ประกาศว่าเขาจะเก็บภาษี100%สำหรับประเทศใดก็ตามที่หันหลังให้กับดอลล่าร์ เพื่อที่จะปกป้องดอลล่าร์ให้เป็นเงินสกุลหลักของโลกต่อไป ท่าทีของทรัมป์แม้ว่าจะเป็นการพูดหาเสียงแต่ก็สะท้อนความเข้าใจของทรัมป์ว่าเงินดอลล่าร์กำลังหมดความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซาอุดิ อาราเบียได้ออกมาให้ข่าวว่าจะขายน้ำมันแลกเงินหยวนของจีน ซึ่งถือว่าเป็นการออกจากเปโตรดอลล่าร์ที่ซาอุฯเป็นผู้ค้ำประกันมาตั้งแต่ปี1974
    Like
    23
    0 Comments 1 Shares 567 Views 0 Reviews
  • ทองคำฟิวเจอร์สสร้างสถิติพุ่งทะลุระดับ2,600เหรียญ

    ในสัปดาห์ประวัติศาสตร์สำหรับตลาดโลหะมีค่า โกลด์ฟิวเจอร์สได้ทำลายสถิติ โดยทะลุระดับ 2,600 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์เป็นครั้งแรก

    ณ เวลา 17.00 น. EDTของวันศุกร์ที่ผ่านมา สัญญาเซื้อขายทองคำสำหรับเดือนธันวาคมอยู่ที่ 2,606.20 ดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ 19 ดอลลาร์หรือ 0.73% สำหรับวันนั้น การพุ่งขึ้นนี้ถือเป็นวันที่สองติดต่อกันของการทำลายสถิติสูงสุด โดยจุดสูงสุดระหว่างวันแตะระดับ $2,614.60 อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

    การเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งของราคาทองคำเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของเมื่อวันศุกร์ที่ 47 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในวันเดียวที่สำคัญที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม การเพิ่มขึ้นอย่างมากของสัปดาห์นี้จะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ทางการเงินอย่างไม่ต้องสงสัย ในขณะที่ราคาทองคำล่วงหน้าก้าวข้ามหลักชัยที่ 2,600 ดอลลาร์

    ในขณะที่ฝุ่นจางหายไปในเหตุการณ์สำคัญนี้ ผู้เข้าร่วมตลาดกำลังมุ่งความสนใจไปที่การประชุมคณะกรรมการตลาดกลางของรัฐบาลกลาง (FOMC) ในสัปดาห์หน้า โดยคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่ปี 2020 มีความเห็นพ้องต้องกันระหว่างนักวิเคราะห์ นักเศรษฐศาสตร์ และผู้สังเกตการณ์ตลาดก็คือการลดอัตราดอกเบี้ยนั้นเป็นสิ่งที่แน่นอน

    เวทีสำหรับการตัดสินใจครั้งสำคัญนี้เกิดขึ้นในวันที่ 20 สิงหาคม เมื่อประธานธนาคารกลางสหรัฐ เจอโรม พาวเวลล์ ส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางมีความพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ที่เมืองแจ็กสันโฮล รัฐไวโอมิง จุดยืนของพาวเวลล์สะท้อนจากเจ้าหน้าที่เฟดคนอื่นๆ โดยเน้นย้ำถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นว่าการผ่อนคลายทางการเงินกำลังใกล้เข้ามา

    เมื่อเร็วๆ นี้ นาย Austan Goolsbee ประธานเฟดแห่งชิคาโกเน้นย้ำว่าแนวโน้มระยะยาวทั้งในตลาดแรงงานและข้อมูลเงินเฟ้อ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วไปสู่นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น Goolsbee เตือนไม่ให้ใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเป็นเวลานาน โดยอ้างถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับระดับการจ้างงาน

    แม้ว่าความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะมีสูง แต่ประเด็นสำคัญยังคงเป็นประเด็นถกเถียง นักเศรษฐศาสตร์ที่ Fitch คาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดจุดพื้นฐาน 0.25%สองครั้ง หนึ่งครั้งในสัปดาห์หน้าและอีกครั้งในเดือนธันวาคม

    อย่างไรก็ตาม เสียงบางส่วน เช่น Krishna Guha จาก Evercore ISI สนับสนุนการลดดอกเบี้ยพื้นฐาน 0.50%เพื่อปกป้องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
    ที่มา Kitco
    ทองคำฟิวเจอร์สสร้างสถิติพุ่งทะลุระดับ2,600เหรียญ ในสัปดาห์ประวัติศาสตร์สำหรับตลาดโลหะมีค่า โกลด์ฟิวเจอร์สได้ทำลายสถิติ โดยทะลุระดับ 2,600 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์เป็นครั้งแรก ณ เวลา 17.00 น. EDTของวันศุกร์ที่ผ่านมา สัญญาเซื้อขายทองคำสำหรับเดือนธันวาคมอยู่ที่ 2,606.20 ดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ 19 ดอลลาร์หรือ 0.73% สำหรับวันนั้น การพุ่งขึ้นนี้ถือเป็นวันที่สองติดต่อกันของการทำลายสถิติสูงสุด โดยจุดสูงสุดระหว่างวันแตะระดับ $2,614.60 อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งของราคาทองคำเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของเมื่อวันศุกร์ที่ 47 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในวันเดียวที่สำคัญที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม การเพิ่มขึ้นอย่างมากของสัปดาห์นี้จะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ทางการเงินอย่างไม่ต้องสงสัย ในขณะที่ราคาทองคำล่วงหน้าก้าวข้ามหลักชัยที่ 2,600 ดอลลาร์ ในขณะที่ฝุ่นจางหายไปในเหตุการณ์สำคัญนี้ ผู้เข้าร่วมตลาดกำลังมุ่งความสนใจไปที่การประชุมคณะกรรมการตลาดกลางของรัฐบาลกลาง (FOMC) ในสัปดาห์หน้า โดยคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่ปี 2020 มีความเห็นพ้องต้องกันระหว่างนักวิเคราะห์ นักเศรษฐศาสตร์ และผู้สังเกตการณ์ตลาดก็คือการลดอัตราดอกเบี้ยนั้นเป็นสิ่งที่แน่นอน เวทีสำหรับการตัดสินใจครั้งสำคัญนี้เกิดขึ้นในวันที่ 20 สิงหาคม เมื่อประธานธนาคารกลางสหรัฐ เจอโรม พาวเวลล์ ส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางมีความพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ที่เมืองแจ็กสันโฮล รัฐไวโอมิง จุดยืนของพาวเวลล์สะท้อนจากเจ้าหน้าที่เฟดคนอื่นๆ โดยเน้นย้ำถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นว่าการผ่อนคลายทางการเงินกำลังใกล้เข้ามา เมื่อเร็วๆ นี้ นาย Austan Goolsbee ประธานเฟดแห่งชิคาโกเน้นย้ำว่าแนวโน้มระยะยาวทั้งในตลาดแรงงานและข้อมูลเงินเฟ้อ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วไปสู่นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น Goolsbee เตือนไม่ให้ใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเป็นเวลานาน โดยอ้างถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับระดับการจ้างงาน แม้ว่าความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะมีสูง แต่ประเด็นสำคัญยังคงเป็นประเด็นถกเถียง นักเศรษฐศาสตร์ที่ Fitch คาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดจุดพื้นฐาน 0.25%สองครั้ง หนึ่งครั้งในสัปดาห์หน้าและอีกครั้งในเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม เสียงบางส่วน เช่น Krishna Guha จาก Evercore ISI สนับสนุนการลดดอกเบี้ยพื้นฐาน 0.50%เพื่อปกป้องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ที่มา Kitco
    Like
    Love
    Haha
    14
    0 Comments 1 Shares 750 Views 0 Reviews
  • ซาอุฯแอบซื้อทอง160ตันจากสวิตเซอปร์แลนดืตั้งแต่ปี2022

    ซาอุดิ อาระเบียได้เข้าร่วมกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียในการมองข้ามความอ่อนไหวต่อราคาทองคำในระยะยาว Jan Nieuwenhuijs แห่งMoney Metals Exchangeรายงานว่า มีหลักฐานบ่งชี้ว่าธนาคารกลางซาอุดิอาระเบียแอบซื้อทองคำจำนวน 160 ตันในสวิตเซอร์แลนด์ตั้งแต่ต้นปี 2565 ซึ่งมีส่วนสนับสนุนตลาดกระทิงของทองคำในปัจจุบัน

    แม้ว่าซาอุดิ อาระเบียจะมีบทบาทสำคัญในการให้กำเนิดมาตรฐานดอลลาร์โลกในช่วงต้นทศวรรษ 1970 แต่คราวนี้พวกเขาอาจกลายเป็นแกนหลักในการยกเลิกเปโตรดอลล่าร์ หรือการขายน้ำมันเป็นเงินสกุลดอลล่าร์อย่างเดียว อันเห็นได้จากการที่ซาอุดิ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมกับกลุ่มBRICSซึ่งมีนโยบายต้องการออกจากระบบดอลล่าร์ (de-dollarization)

    จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ความต้องการทองคำของซาอุดิอาระเบียจะลดลงเมื่อราคาทองคำสูงขึ้นและความต้องการเพิ่มขึ้นเมื่อราคาลง ทำให้สร้างความผันผวนในตลาดทองคำ ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของตะวันตกมานานหลายทศวรรษ

    นับตั้งแต่ตะวันตกยึดทรัพย์สินดอลลาร์ของรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ผู้ที่มีความขัดแย้งทางการทูตกับชาติตะวันตกก็เริ่มแลกเปลี่ยนดอลลาร์ของตนเป็นทองคำมากขึ้น

    ซาอุดิอาระเบียเป็นประเทศล่าสุด รองจากจีนและไทย ซึ่งมีสถิติการค้าข้ามพรมแดนที่แสดงว่าซาอุดีอาระเบียเปลี่ยนจากปัจจัยความอ่อนไหวด้านราคามาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนราคา


    Trading Economicsรายงานว่า ทองคำสำรองในซาอุดีอาระเบียยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ 323.07 ตันในไตรมาสแรกของปี 2024 จาก 323.07 ตันในไตรมาสที่สี่ของปี 2023 ทองคำสำรองในซาอุดิอาระเบียเฉลี่ย 263.59 ตันในช่วงปี 2000 ถึงปี 2024 ซึ่งแตะระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 323.07 ตันในไตรมาสแรกของปี 2016 และต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 142.95 ตันในไตรมาสที่สองของปี 2000

    อย่างไรก็ตาม Nieuwenhuijsเชื่อว่า ซาอุดิ อาราเบียมีทองคำสำรองมากกว่าที่ประกาศอย่างเป็นทางการ

    ที่มา https://www.linkedin.com/pulse/saudi-central-bank-caught-secretly-buying-160-tonnes-gold-bv3ue
    ซาอุฯแอบซื้อทอง160ตันจากสวิตเซอปร์แลนดืตั้งแต่ปี2022 ซาอุดิ อาระเบียได้เข้าร่วมกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียในการมองข้ามความอ่อนไหวต่อราคาทองคำในระยะยาว Jan Nieuwenhuijs แห่งMoney Metals Exchangeรายงานว่า มีหลักฐานบ่งชี้ว่าธนาคารกลางซาอุดิอาระเบียแอบซื้อทองคำจำนวน 160 ตันในสวิตเซอร์แลนด์ตั้งแต่ต้นปี 2565 ซึ่งมีส่วนสนับสนุนตลาดกระทิงของทองคำในปัจจุบัน แม้ว่าซาอุดิ อาระเบียจะมีบทบาทสำคัญในการให้กำเนิดมาตรฐานดอลลาร์โลกในช่วงต้นทศวรรษ 1970 แต่คราวนี้พวกเขาอาจกลายเป็นแกนหลักในการยกเลิกเปโตรดอลล่าร์ หรือการขายน้ำมันเป็นเงินสกุลดอลล่าร์อย่างเดียว อันเห็นได้จากการที่ซาอุดิ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมกับกลุ่มBRICSซึ่งมีนโยบายต้องการออกจากระบบดอลล่าร์ (de-dollarization) จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ความต้องการทองคำของซาอุดิอาระเบียจะลดลงเมื่อราคาทองคำสูงขึ้นและความต้องการเพิ่มขึ้นเมื่อราคาลง ทำให้สร้างความผันผวนในตลาดทองคำ ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของตะวันตกมานานหลายทศวรรษ นับตั้งแต่ตะวันตกยึดทรัพย์สินดอลลาร์ของรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ผู้ที่มีความขัดแย้งทางการทูตกับชาติตะวันตกก็เริ่มแลกเปลี่ยนดอลลาร์ของตนเป็นทองคำมากขึ้น ซาอุดิอาระเบียเป็นประเทศล่าสุด รองจากจีนและไทย ซึ่งมีสถิติการค้าข้ามพรมแดนที่แสดงว่าซาอุดีอาระเบียเปลี่ยนจากปัจจัยความอ่อนไหวด้านราคามาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนราคา Trading Economicsรายงานว่า ทองคำสำรองในซาอุดีอาระเบียยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ 323.07 ตันในไตรมาสแรกของปี 2024 จาก 323.07 ตันในไตรมาสที่สี่ของปี 2023 ทองคำสำรองในซาอุดิอาระเบียเฉลี่ย 263.59 ตันในช่วงปี 2000 ถึงปี 2024 ซึ่งแตะระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 323.07 ตันในไตรมาสแรกของปี 2016 และต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 142.95 ตันในไตรมาสที่สองของปี 2000 อย่างไรก็ตาม Nieuwenhuijsเชื่อว่า ซาอุดิ อาราเบียมีทองคำสำรองมากกว่าที่ประกาศอย่างเป็นทางการ ที่มา https://www.linkedin.com/pulse/saudi-central-bank-caught-secretly-buying-160-tonnes-gold-bv3ue
    WWW.LINKEDIN.COM
    Saudi Central Bank Caught Secretly Buying 160 Tonnes of Gold in Switzerland
    Money Metals Exchange By Jan Nieuwenhuijs The Saudis have joined other Asian countries in ditching their long-term sensitivity to the gold price. Evidence suggests the Saudi central bank has been covertly buying 160 tonnes of gold in Switzerland since early 2022, contributing to the current gold bul
    Like
    11
    0 Comments 0 Shares 639 Views 0 Reviews
  • โดยมุมมอง และความคิดเห็นส่วนตัวของแอดมิน
    แอดมินมองว่า ทองคำ คือ สินทรัพย์ที่มีความเสถียร
    และมั่นคงที่สุดในยุคปัจจุบัน ล่าสุด ทองคำ(สัญญาซื้อขายทองคำ)
    ได้ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เมื่อวาน 12/09/2567
    ที่ ราคา 2580.70 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์

    จุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้ทองคำมีความมั่นคง
    และ เสถียรมากที่สุดในโลก ในปัจจุบัน ให้สังเกตจาก
    ค่าเงินดอลลารNสหรัฐ จะแข็งค่า หรือ อ่อนค่าลง
    แทบจะไม่มีผลต่อแนวโน้มของราคาทองคำ
    ที่ปรับตัวสูงขึ้น แม้ราคาทองคำ หรือ สัญญาซื้อขายทองคำ จะผูกติด
    กับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็ตาม ในการซื้อขาย
    เช่น ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ก็ตาม
    แต่ราคาทองคำ ยังขยับขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการ
    หรือ Demand ยังคงมีอยู่มาก

    สาเหตุที่ demand หรือความต้องการทองคำในตลาดมีมากขึ้น
    อันเนื่องมาจาก การกำเนิดขึ้นของกลุ่ม BRICS สมาชิกเช่น
    รัสเซีย,จีน,อินเดีย,บราซิล,แอฟริกาใต้ เป็นต้น
    โดยเฉพาะ รัสเซีย,จีน และ อินเดีย คือ 3 ประเทศหลัก
    ที่มีการซื้อทองคำ เข้ามาตุนใน ธนาคารกลางของประเทศ
    มากกว่า 50% ในปัจจุบัน

    ซึ่งกลุ่ม BRICS มีแนวทางที่จะลดการใช้เงินดอลลาร์ลง
    และสามารถใช้เงินสกุลอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนระหว่างกัน
    มากขึ้น โดยแนวคิดนี้เกิดขึ้น ภายหลังรัสเซียโดนยึด
    ทรัพย์สินต่างๆที่ฝากไว้ในต่างประเทศ เช่นที่สหรัฐ
    และยุโรป เป็นต้น จากการทำสงครามกับยูเครน

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ทองคำ #สัญญาซื้อขายทองคำ
    #thaitimes
    💥💥โดยมุมมอง และความคิดเห็นส่วนตัวของแอดมิน แอดมินมองว่า ทองคำ คือ สินทรัพย์ที่มีความเสถียร และมั่นคงที่สุดในยุคปัจจุบัน ล่าสุด ทองคำ(สัญญาซื้อขายทองคำ) ได้ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เมื่อวาน 12/09/2567 ที่ ราคา 2580.70 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ 🚩จุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้ทองคำมีความมั่นคง และ เสถียรมากที่สุดในโลก ในปัจจุบัน ให้สังเกตจาก ค่าเงินดอลลารNสหรัฐ จะแข็งค่า หรือ อ่อนค่าลง แทบจะไม่มีผลต่อแนวโน้มของราคาทองคำ ที่ปรับตัวสูงขึ้น แม้ราคาทองคำ หรือ สัญญาซื้อขายทองคำ จะผูกติด กับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็ตาม ในการซื้อขาย เช่น ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ก็ตาม แต่ราคาทองคำ ยังขยับขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการ หรือ Demand ยังคงมีอยู่มาก 🚩สาเหตุที่ demand หรือความต้องการทองคำในตลาดมีมากขึ้น อันเนื่องมาจาก การกำเนิดขึ้นของกลุ่ม BRICS สมาชิกเช่น รัสเซีย,จีน,อินเดีย,บราซิล,แอฟริกาใต้ เป็นต้น โดยเฉพาะ รัสเซีย,จีน และ อินเดีย คือ 3 ประเทศหลัก ที่มีการซื้อทองคำ เข้ามาตุนใน ธนาคารกลางของประเทศ มากกว่า 50% ในปัจจุบัน 🚩ซึ่งกลุ่ม BRICS มีแนวทางที่จะลดการใช้เงินดอลลาร์ลง และสามารถใช้เงินสกุลอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนระหว่างกัน มากขึ้น โดยแนวคิดนี้เกิดขึ้น ภายหลังรัสเซียโดนยึด ทรัพย์สินต่างๆที่ฝากไว้ในต่างประเทศ เช่นที่สหรัฐ และยุโรป เป็นต้น จากการทำสงครามกับยูเครน #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ทองคำ #สัญญาซื้อขายทองคำ #thaitimes
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 1099 Views 0 Reviews
  • สายัณห์ รุจิรโมรา

    Resource Talks
    $20,000 Gold Revaluation. Radiculous Or Reality?

    การปรับค่าทองคำ เรื่องตลกหรือเรื่องจริง

    Andy Schectman Aug 16, 2024

    24:35.....Resource Talks.....
    คอนเซ็ปท์เรื่องการปรับมูลค่าทองคำเป็นเรื่องน่าทึ่งมาก เงื่อนไขมันต้องเป็นยังไงหรือ..ธนาคารกลางถึงจะต้องมีการปรับค่ากัน สำหรับผมมันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากไปหน่อยนะ

    Andy.....
    รุนแรงยังไง.. มันเคยเกิดขึ้นมาแล้ว ปธน.รูสเวลท์ปรับค่าทองคำถึง 40% หลังจากที่ออกกฎหมายยึดทองคำจากประชาชนเมื่อปี 1933 ....ดังนั้นเมื่อเราเห็นธนาคารกลางทั่วโลกพากันเก็บสะสมทองคำในหกเดือนที่ผ่านมา มากกว่าทุกครั้งในประวัติศาสตร์ จีนมีการเพิ่มพรีเมี่ยมซึ่งเป็นการขึ้นราคาทองคำและซิลเวอร์ เพื่อจูงใจให้มีการย้ายทองคำจากตะวันตกเข้ามายังตะวันออกมากขึ้น

    ถ้าสมมติในทันที ..จีนมีการปรับค่าให้ทองคำมีราคา $10,000 ต่อออนซ์ จะเกิดอะไรขึ้น ....ใน balance sheet ของเกือบทุกธนาคารกลางที่มีการขาดทุนมหาศาลทางบัญชี ก็จะออฟเซ็ท..หายจากการขาดทุนในงบดุลทันที

    เรารู้ว่า Fed มีทางเลือกสองทางในการแก้ปัญหา หนึ่งคือเพิ่มเงินไปเรื่อย ๆ สองคือชักดาบหนี้ ซึ่ง Fed ก็เลือกทางพิมพ์เงินเพิ่มมาตลอด ...ทางเลือกที่สามคือ ใช้ดอลลาร์เป็นอาวุธ แล้วหาผู้ร้ายมาเป็นเป็นแพะ ในกรณีนี้คือรัสเซียและก็หาเรื่องแซงค์ชั่นพวกเขา ยึดทรัพย์ที่ฝากเราเอาไว้ซะ ....แต่วิธีนี้เราได้ชาติที่ต่อต้าน ยืนตรงข้ามเรามากมายเลย พวกเขารวมกันเป็นกลุ่มที่ต่อต้านดอลลาร์ เพราะรู้ว่าอาจต้องเป็นเหยื่อของอาวุธดอลลาร์ซักวันหนึ่ง จากการที่ต้องเก็บดอลลาร์ไว้เป็นรีเสิร์ฟมากว่า 50 ปี เพื่อใช้ซื้อน้ำมันจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

    แต่ตอนนี้กลุ่ม BRICS ก็โตขึ้นทุกวัน ...และแม้แต่ซาอุดิ อราเบียและกลุ่ม OPEC ก็เข้าไปอยู่กับ Belt Road Initiatives แล้ว ....เมื่อตอนที่มีการประชุม G7 ที่อิตาลี มีการเชิญมกุฎราชกุมารซาอุดิ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงเข้าร่วม แต่กลับส่งรัฐมนตรีคลังเข้าร่วมการประชุม BRICS ที่มีการประกาศหลักการของเรื่องเงิน UNIT ซึ่งมีการหนุนด้วยทองคำและใช้ mBridge ที่ซาอุดิฯ ร่วมอยู่ในกลุ่มผู้พัฒนาด้วย

    ประเทศเหล่านี้กำลังทิ้งพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งในที่สุดแล้ว ก็จะเกิดเงินเฟ้อที่เกิดจากดอลลาร์เหล่านั้นที่ไหลกลับประเทศ มีแต่อัตราดอกเบี้ยสูงเท่านั้นที่พอจะสู้กับอำนาจซื้อที่หายไปได้ แต่ดอกเบี้ย 5% จะไปสู้อะไรได้กับเงินเฟ้อ 30% ...และนั่นก็จะถึงเวลาของ Klaus Schwab ที่จะบอกว่า You will own nothing and be happy.

    ทั้งหมดนั้นเป็นสามทางเลือก ...Fed ยังมีทางเลือกที่สี่ คือการปรับมูลค่าของทองคำที่..ถ้ายังมีอยู่ ....ราคาที่ปรับจะต้องสูงมาก ๆ เพราะถ้าแค่ $4,000 ต่อออนซ์ จากทั้งหมดที่มี 261 ล้านออนซ์ (8,300 ตัน) มันก็ได้มาแค่ $1 trillion เท่านั้น แต่ถ้าถึงออนซ์ละ $120,000 ก็น่าจะพอใช้หนี้ของประเทศได้หมด

    แล้วก็เริ่มเงิน CBDC ใหม่ที่อิงกับทองคำไปได้เลย เพราะ IMF ก็รับรองไปแล้วว่าทองคำนี่แหละเป็น ทรัพย์สินชั้น tier1

    ทองคำเป็นทรัพย์สินที่ยอมรับกันทั้งในตะวันตกและทุกส่วนของโลก ไม่ใช่แค่นักลงทุนเท่านั้น แต่กับทุกคน

    30:48.....Resource Talks....
    เรื่องนี้จะเกิดได้ชั่วข้ามคืนเลยหรือเปล่า หรือจะต้องมีอะไรมาทำให้มันเกิดขึ้น?

    Andy.....
    ตอนนี้ แม้แต่รัฐมนตรีคลังสหรัฐ นางเจเน็ต เยลเลน ก็ยังเร่ง Fed ให้มีการ revalue ทองคำเลย ถึงแม้จะไม่พูดผ่านทางสภา

    เรื่องทั้งหมด มันจะเกิดขึ้นแบบที่ละน้อยก่อน แต่แล้วก็จะเกิดขึ้นทันทีทันใดเลย ...Little by litle and then suddenly .....ดอลลาร์ค่อย ๆ เสื่อมสลายทีละนิดมานานนับสิบปีแล้ว ตอนนี้ก็ใกล้จะถึง all at once moment แล้ว

    มีเรื่องของ Operation Sandman ที่ 150 ประเทศรวมตัวกันเตรียมทิ้งพันธบัตรสหรัฐที่มีอยู่พร้อมกัน เรียกว่าเป็นการเปิดสวิทช์ทีเดียวให้จบไปเลย เรื่องนี้อาจเป็นทฤษฎี แต่ก็มีความเป็นไปได้มาก

    หลายปีมานี้ ทำไมธนาคารกลางทั้งหลายถึงมีการสะสมทองคำกันมากขนาดที่เห็น ...และยังอีกกว่า 40 ประเทศมีการทวงคืนทองคำที่ฝากไว้ที่ลอนดอนและนิวยอร์ค แต่จะยังอยู่หรือเปล่า ในเมื่อผู้รับฝากมีการขายทองคำไปเพื่อทุบราคามาตลอดทั้งที่ Comex และ LBMA

    ใน White Paper ของ UNIT มีการพูดถึงทองคำที่จะมาหนุนค่านั้น เป็นทองคำที่อยู่ในมือของประชาชนที่เก็บอยู่ในประเทศสมาชิก โดยมีการ audit เป็นอิสระอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการส่งทองคำไปเก็บยังศูนย์กลาง โดยแต่ละประเทศมีบัญชี Escrow ระหว่างคู่สัญญา (ระบบการทำธุรกรรมที่มีการคุ้มครองทั้งสองฝ่าย)

    และทั้งหมดนี้ mBridge จะเป็นสื่อชำระเงินแทนการใช้ SWIFT ที่เราคุ้นกันมานาน

    BIS หรือธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศเป็นผู้อยู่เบื้องหลังทั้งหมด เป็นผู้สนับสนุนให้ทองคำเป็นทรัพย์สิน tier1 มาตั้งแต่ปี 2017 แล้ว ...และยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนา mBridge อีกด้วย นับว่าเป็นผู้ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกมีการซื้อทองคำกันมากมายขนาดนี้

    นี่จะเป็นการตายของดอลลาร์ ....โลกกำลังจะเปลี่ยนจากระบบ trustless ไปสู่ระบบที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า
    สายัณห์ รุจิรโมรา Resource Talks $20,000 Gold Revaluation. Radiculous Or Reality? การปรับค่าทองคำ เรื่องตลกหรือเรื่องจริง Andy Schectman Aug 16, 2024 24:35.....Resource Talks..... คอนเซ็ปท์เรื่องการปรับมูลค่าทองคำเป็นเรื่องน่าทึ่งมาก เงื่อนไขมันต้องเป็นยังไงหรือ..ธนาคารกลางถึงจะต้องมีการปรับค่ากัน สำหรับผมมันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากไปหน่อยนะ Andy..... รุนแรงยังไง.. มันเคยเกิดขึ้นมาแล้ว ปธน.รูสเวลท์ปรับค่าทองคำถึง 40% หลังจากที่ออกกฎหมายยึดทองคำจากประชาชนเมื่อปี 1933 ....ดังนั้นเมื่อเราเห็นธนาคารกลางทั่วโลกพากันเก็บสะสมทองคำในหกเดือนที่ผ่านมา มากกว่าทุกครั้งในประวัติศาสตร์ จีนมีการเพิ่มพรีเมี่ยมซึ่งเป็นการขึ้นราคาทองคำและซิลเวอร์ เพื่อจูงใจให้มีการย้ายทองคำจากตะวันตกเข้ามายังตะวันออกมากขึ้น ถ้าสมมติในทันที ..จีนมีการปรับค่าให้ทองคำมีราคา $10,000 ต่อออนซ์ จะเกิดอะไรขึ้น ....ใน balance sheet ของเกือบทุกธนาคารกลางที่มีการขาดทุนมหาศาลทางบัญชี ก็จะออฟเซ็ท..หายจากการขาดทุนในงบดุลทันที เรารู้ว่า Fed มีทางเลือกสองทางในการแก้ปัญหา หนึ่งคือเพิ่มเงินไปเรื่อย ๆ สองคือชักดาบหนี้ ซึ่ง Fed ก็เลือกทางพิมพ์เงินเพิ่มมาตลอด ...ทางเลือกที่สามคือ ใช้ดอลลาร์เป็นอาวุธ แล้วหาผู้ร้ายมาเป็นเป็นแพะ ในกรณีนี้คือรัสเซียและก็หาเรื่องแซงค์ชั่นพวกเขา ยึดทรัพย์ที่ฝากเราเอาไว้ซะ ....แต่วิธีนี้เราได้ชาติที่ต่อต้าน ยืนตรงข้ามเรามากมายเลย พวกเขารวมกันเป็นกลุ่มที่ต่อต้านดอลลาร์ เพราะรู้ว่าอาจต้องเป็นเหยื่อของอาวุธดอลลาร์ซักวันหนึ่ง จากการที่ต้องเก็บดอลลาร์ไว้เป็นรีเสิร์ฟมากว่า 50 ปี เพื่อใช้ซื้อน้ำมันจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง แต่ตอนนี้กลุ่ม BRICS ก็โตขึ้นทุกวัน ...และแม้แต่ซาอุดิ อราเบียและกลุ่ม OPEC ก็เข้าไปอยู่กับ Belt Road Initiatives แล้ว ....เมื่อตอนที่มีการประชุม G7 ที่อิตาลี มีการเชิญมกุฎราชกุมารซาอุดิ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงเข้าร่วม แต่กลับส่งรัฐมนตรีคลังเข้าร่วมการประชุม BRICS ที่มีการประกาศหลักการของเรื่องเงิน UNIT ซึ่งมีการหนุนด้วยทองคำและใช้ mBridge ที่ซาอุดิฯ ร่วมอยู่ในกลุ่มผู้พัฒนาด้วย ประเทศเหล่านี้กำลังทิ้งพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งในที่สุดแล้ว ก็จะเกิดเงินเฟ้อที่เกิดจากดอลลาร์เหล่านั้นที่ไหลกลับประเทศ มีแต่อัตราดอกเบี้ยสูงเท่านั้นที่พอจะสู้กับอำนาจซื้อที่หายไปได้ แต่ดอกเบี้ย 5% จะไปสู้อะไรได้กับเงินเฟ้อ 30% ...และนั่นก็จะถึงเวลาของ Klaus Schwab ที่จะบอกว่า You will own nothing and be happy. ทั้งหมดนั้นเป็นสามทางเลือก ...Fed ยังมีทางเลือกที่สี่ คือการปรับมูลค่าของทองคำที่..ถ้ายังมีอยู่ ....ราคาที่ปรับจะต้องสูงมาก ๆ เพราะถ้าแค่ $4,000 ต่อออนซ์ จากทั้งหมดที่มี 261 ล้านออนซ์ (8,300 ตัน) มันก็ได้มาแค่ $1 trillion เท่านั้น แต่ถ้าถึงออนซ์ละ $120,000 ก็น่าจะพอใช้หนี้ของประเทศได้หมด แล้วก็เริ่มเงิน CBDC ใหม่ที่อิงกับทองคำไปได้เลย เพราะ IMF ก็รับรองไปแล้วว่าทองคำนี่แหละเป็น ทรัพย์สินชั้น tier1 ทองคำเป็นทรัพย์สินที่ยอมรับกันทั้งในตะวันตกและทุกส่วนของโลก ไม่ใช่แค่นักลงทุนเท่านั้น แต่กับทุกคน 30:48.....Resource Talks.... เรื่องนี้จะเกิดได้ชั่วข้ามคืนเลยหรือเปล่า หรือจะต้องมีอะไรมาทำให้มันเกิดขึ้น? Andy..... ตอนนี้ แม้แต่รัฐมนตรีคลังสหรัฐ นางเจเน็ต เยลเลน ก็ยังเร่ง Fed ให้มีการ revalue ทองคำเลย ถึงแม้จะไม่พูดผ่านทางสภา เรื่องทั้งหมด มันจะเกิดขึ้นแบบที่ละน้อยก่อน แต่แล้วก็จะเกิดขึ้นทันทีทันใดเลย ...Little by litle and then suddenly .....ดอลลาร์ค่อย ๆ เสื่อมสลายทีละนิดมานานนับสิบปีแล้ว ตอนนี้ก็ใกล้จะถึง all at once moment แล้ว มีเรื่องของ Operation Sandman ที่ 150 ประเทศรวมตัวกันเตรียมทิ้งพันธบัตรสหรัฐที่มีอยู่พร้อมกัน เรียกว่าเป็นการเปิดสวิทช์ทีเดียวให้จบไปเลย เรื่องนี้อาจเป็นทฤษฎี แต่ก็มีความเป็นไปได้มาก หลายปีมานี้ ทำไมธนาคารกลางทั้งหลายถึงมีการสะสมทองคำกันมากขนาดที่เห็น ...และยังอีกกว่า 40 ประเทศมีการทวงคืนทองคำที่ฝากไว้ที่ลอนดอนและนิวยอร์ค แต่จะยังอยู่หรือเปล่า ในเมื่อผู้รับฝากมีการขายทองคำไปเพื่อทุบราคามาตลอดทั้งที่ Comex และ LBMA ใน White Paper ของ UNIT มีการพูดถึงทองคำที่จะมาหนุนค่านั้น เป็นทองคำที่อยู่ในมือของประชาชนที่เก็บอยู่ในประเทศสมาชิก โดยมีการ audit เป็นอิสระอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการส่งทองคำไปเก็บยังศูนย์กลาง โดยแต่ละประเทศมีบัญชี Escrow ระหว่างคู่สัญญา (ระบบการทำธุรกรรมที่มีการคุ้มครองทั้งสองฝ่าย) และทั้งหมดนี้ mBridge จะเป็นสื่อชำระเงินแทนการใช้ SWIFT ที่เราคุ้นกันมานาน BIS หรือธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศเป็นผู้อยู่เบื้องหลังทั้งหมด เป็นผู้สนับสนุนให้ทองคำเป็นทรัพย์สิน tier1 มาตั้งแต่ปี 2017 แล้ว ...และยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนา mBridge อีกด้วย นับว่าเป็นผู้ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกมีการซื้อทองคำกันมากมายขนาดนี้ นี่จะเป็นการตายของดอลลาร์ ....โลกกำลังจะเปลี่ยนจากระบบ trustless ไปสู่ระบบที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า
    0 Comments 0 Shares 405 Views 0 Reviews
  • ราคาทองคำแท่งวันพุธที่ 24 เม.ย. 67 ครั้งที่ 1 เวลา 09:06 น. [+100] ร้านทองซื้อเข้าบาทละ 40,350 ขายออกบาทละ 40,450

    https://www.goldtraders.or.th #ทองคำ #ราคาทอง #ทองคำแท่ง #ทองคำวันนี้
    ราคาทองคำแท่งวันพุธที่ 24 เม.ย. 67 ครั้งที่ 1 เวลา 09:06 น. [+100] ร้านทองซื้อเข้าบาทละ 40,350 ขายออกบาทละ 40,450 https://www.goldtraders.or.th #ทองคำ #ราคาทอง #ทองคำแท่ง #ทองคำวันนี้
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 455 Views 0 Reviews
  • แนวโน้มทองคําขึ้น-ลง มาจากปัจจัยอะไร? เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น #2

    4.ฤดูกาล ทองคำจะปรับตัวขึ้น
    เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ฤดูกาลมักจะมีความต้องการซื้อทองคำเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นตามเหตุปัจจัยอุปสงค์อุปทาน โดยเฉพาะเทศกาลใหญ่ๆ ของ 2 ประเทศผู้บริโภคทองคำอันดับต้นๆ ของโลก คือ
    -เทศกาลตรุษจีน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และ
    -เทศกาลติวาลีของอินเดียในช่วงไตรมาส 4

    5.ค่าเงินบาท มีผลกับเฉพาะราคาทองคำในประเทศ
    โดยหากค่าเงินบาทอ่อนค่า ทองคำจะมีราคาสูงขึ้นหรือแพงขึ้น ตรงกันข้ามหากวันใหนที่ ค่าเงินบาทแข็งค่า ทองคำจะถูกลงทันที
    เหตุที่เช่นนั้นเพราะ เงินบาทอ่อนคือมูลค่าเงินบาทจะมากขึ้น และเมื่อนำมารวมคำนวณก็จะส่งผลทองคำให้มีมูลค่าแพงขึ้น โดยทั้งนี้การแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินบาท จะมีปัจจัยกระตุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

    ปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นปัจจัยหลักๆ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาทองคำ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกทั้งทั้งตรงและทางอ้อมที่อาจจะส่งผลกระทบให้ปัจจัยหลักเหล่านี้มีเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการติดตามข่าวสารต่างๆ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เรารู้เท่าทันและพอจะคาดการณ์ราคาทองคำล่วงหน้าได้ไม่มากก็น้อย
    แนวโน้มทองคําขึ้น-ลง มาจากปัจจัยอะไร? เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น #2 4.ฤดูกาล ทองคำจะปรับตัวขึ้น เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ฤดูกาลมักจะมีความต้องการซื้อทองคำเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นตามเหตุปัจจัยอุปสงค์อุปทาน โดยเฉพาะเทศกาลใหญ่ๆ ของ 2 ประเทศผู้บริโภคทองคำอันดับต้นๆ ของโลก คือ -เทศกาลตรุษจีน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และ -เทศกาลติวาลีของอินเดียในช่วงไตรมาส 4 5.ค่าเงินบาท มีผลกับเฉพาะราคาทองคำในประเทศ โดยหากค่าเงินบาทอ่อนค่า ทองคำจะมีราคาสูงขึ้นหรือแพงขึ้น ตรงกันข้ามหากวันใหนที่ ค่าเงินบาทแข็งค่า ทองคำจะถูกลงทันที เหตุที่เช่นนั้นเพราะ เงินบาทอ่อนคือมูลค่าเงินบาทจะมากขึ้น และเมื่อนำมารวมคำนวณก็จะส่งผลทองคำให้มีมูลค่าแพงขึ้น โดยทั้งนี้การแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินบาท จะมีปัจจัยกระตุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นปัจจัยหลักๆ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาทองคำ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกทั้งทั้งตรงและทางอ้อมที่อาจจะส่งผลกระทบให้ปัจจัยหลักเหล่านี้มีเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการติดตามข่าวสารต่างๆ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เรารู้เท่าทันและพอจะคาดการณ์ราคาทองคำล่วงหน้าได้ไม่มากก็น้อย
    Like
    Love
    2
    1 Comments 0 Shares 444 Views 0 Reviews
  • แนวโน้มทองคําขึ้น-ลง มาจากปัจจัยอะไร? เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

    เท่าที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดราคาทองคำให้ขึ้นหรือลงนั้น มาจากหลากหลายปัจจัย แต่ที่เป็นปัจจัยหลักๆ ที่พบบ่อยๆ นั้นมีไม่มาก และเรามาดูว่าปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อทองคำให้ปรับตัวขึ้น หรือ ลดลงได้อย่างไร และทำไมต้องเป็นเช่นนั้น มาดูกันเลย

    1.ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับทองคำ
    -ดอลลาร์อ่อน ทองคำจะขึ้น
    เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ทองคำซื้อขายในรูปแบบสกุลเงินดอลลาร์ เมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนลง ทองคำจะมีราคาถูกลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น จึงสร้างความน่าดึงดูดและแรงซื้อทองคำจากนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่น

    -ดอลลารแข็งค่า ทองคำจะลง
    เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ทองคำซื้อขายในรูปแบบสกุลเงินดอลลาร์ เมื่อค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า ทองคำก็จะมีราคาแพง และก็จะถูกลดความน่าสนใจในการเข้าซื้อ ตรงกันข้ามนักลงทุนก็จะเทขายทองคำที่มีอยู่เพื่อทำกำไร

    2. เงินเฟ้อ มักจะมีทิศทางเดียวกันกับทองคำ เงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้นทองคำจะปรับตัวขึ้น
    ทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าในตัวเอง เป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ เมื่อเงินเฟ้อดีดตัวสูงขึ้น ทองคำจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น
    เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ เงินเฟ้อส่งผลต่อ Fiat Money(เงินกระดาษ)ที่มีค่าจากการรับรองของรัฐบาลแต่ละประเทศ และจำเป็นต้องมีสิ่งหนุนหลัง ซึ่งหากเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นจะทำให้มูลค่าของเงินกระดาษเสื่อมลงนั่นเอง

    3. ภาวะสงครามหรือความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ จะส่งผลให้ทองคำปรับตัวขึ้น
    เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ภาวะสงครามหรือความขัดแย้งในโลกล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความต้องการซื้อทองคำที่เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากทองคำจัดเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เมื่อไปอยู่ที่ไหนก็สามารถแลกเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ทันที แตกต่างจากเงินธนบัตรหรือหุ้น ที่เมื่อเกิดความไม่มั่นใจหรือประเทศนั้น ๆ ตัดสินใจทำอะไรที่รุนแรงบานปลายก็จะทำให้มูลค่าของสิ่งเหล่านั้นลดลงไป

    แนวโน้มทองคําขึ้น-ลง มาจากปัจจัยอะไร? เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เท่าที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดราคาทองคำให้ขึ้นหรือลงนั้น มาจากหลากหลายปัจจัย แต่ที่เป็นปัจจัยหลักๆ ที่พบบ่อยๆ นั้นมีไม่มาก และเรามาดูว่าปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อทองคำให้ปรับตัวขึ้น หรือ ลดลงได้อย่างไร และทำไมต้องเป็นเช่นนั้น มาดูกันเลย 1.ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับทองคำ -ดอลลาร์อ่อน ทองคำจะขึ้น เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ทองคำซื้อขายในรูปแบบสกุลเงินดอลลาร์ เมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนลง ทองคำจะมีราคาถูกลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น จึงสร้างความน่าดึงดูดและแรงซื้อทองคำจากนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่น -ดอลลารแข็งค่า ทองคำจะลง เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ทองคำซื้อขายในรูปแบบสกุลเงินดอลลาร์ เมื่อค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า ทองคำก็จะมีราคาแพง และก็จะถูกลดความน่าสนใจในการเข้าซื้อ ตรงกันข้ามนักลงทุนก็จะเทขายทองคำที่มีอยู่เพื่อทำกำไร 2. เงินเฟ้อ มักจะมีทิศทางเดียวกันกับทองคำ เงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้นทองคำจะปรับตัวขึ้น ทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าในตัวเอง เป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ เมื่อเงินเฟ้อดีดตัวสูงขึ้น ทองคำจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ เงินเฟ้อส่งผลต่อ Fiat Money(เงินกระดาษ)ที่มีค่าจากการรับรองของรัฐบาลแต่ละประเทศ และจำเป็นต้องมีสิ่งหนุนหลัง ซึ่งหากเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นจะทำให้มูลค่าของเงินกระดาษเสื่อมลงนั่นเอง 3. ภาวะสงครามหรือความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ จะส่งผลให้ทองคำปรับตัวขึ้น เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ภาวะสงครามหรือความขัดแย้งในโลกล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความต้องการซื้อทองคำที่เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากทองคำจัดเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เมื่อไปอยู่ที่ไหนก็สามารถแลกเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ทันที แตกต่างจากเงินธนบัตรหรือหุ้น ที่เมื่อเกิดความไม่มั่นใจหรือประเทศนั้น ๆ ตัดสินใจทำอะไรที่รุนแรงบานปลายก็จะทำให้มูลค่าของสิ่งเหล่านั้นลดลงไป
    Like
    1
    1 Comments 0 Shares 470 Views 0 Reviews
  • โลกร้อน-เดือด ไข่ไก่แพง ทองคำพุ่ง

    ยุคข้าวหมากแพงอะไรต่อมิอะไรก็จะดูแพงไปเสียทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาราคาไข่ไก่ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวของประชาชนทั่วไปมากที่สุด ไปจนถึงทองแพงที่อาจเป็นปัญหาของคนจำนวนหนึ่งเท่านั้น

    เริ่มกันที่ราคาไข่ไก่ เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ 4 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด, สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี จำกัด, สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด ได้ออกประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกร วันที่ 17 เม.ย. 2567 อยู่ที่ฟองละ 3.60 บาท

    การประกาศเช่นนี้ทำให้ราคาไข่ไก่ปรับขึ้นแผงละ 6 บาท โดยข้อมูลจากสมาคมการค้าผู้ค้าไข่ไทย พบว่า ราคาไข่ไก่ขายส่ง เบอร์ 0 ราคา 4.40 บาทต่อฟอง, ไข่ไก่เบอร์ 1 ราคา 4.20 บาทต่อฟอง, ไข่ไก่เบอร์ 2 ราคา 4 บาทต่อฟอง ส่วนราคาขายปลีก ราคาไข่ไก่ขายส่ง เบอร์ 0 ราคา 5 บาทต่อฟอง, ไข่ไก่เบอร์ 1 ราคา 4.70 บาทต่อฟอง ,ไข่ไก่เบอร์ 2 ราคา 4.40 บาทต่อฟอง

    สำหรับสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาไข่พุ่งสูงขึ้นมาจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดมากกว่าทุกปี จนส่งผลให้แม่ไก่ออกไข่ลดลง ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการที่เลี้ยงไก่แบบเล้าเปิดไม่อาจควบคุมอุณหภูมิได้ จึงเป็นเหตุให้ปริมาณผลผลิตลดลง

    สลับมากันที่ราคาทอง ซึ่งด้านหนึ่งอาจเป็นโอกาสของนักเก็งกำไร โดยตลอดเมื่อวันที่ 16 เมษายน มีการปรับขึ้นลงของราคารวมทั้งหมด 10 ครั้ง ทองคำแท่ง รับซื้อ 41,100 บาท ขายออก 41,200. บาท ทองรูปพรรณ รับซื้อ 40,355 ขายออก 41,700 เท่ากับว่าตลอดเดือนเมษายนราคาทองคำปรับขึ้นแล้วรวม 2,650 บาท

    ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ราคาทองคำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง คือ สถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง และความผันผวนของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา
    โลกร้อน-เดือด ไข่ไก่แพง ทองคำพุ่ง ยุคข้าวหมากแพงอะไรต่อมิอะไรก็จะดูแพงไปเสียทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาราคาไข่ไก่ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวของประชาชนทั่วไปมากที่สุด ไปจนถึงทองแพงที่อาจเป็นปัญหาของคนจำนวนหนึ่งเท่านั้น เริ่มกันที่ราคาไข่ไก่ เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ 4 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด, สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี จำกัด, สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด ได้ออกประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกร วันที่ 17 เม.ย. 2567 อยู่ที่ฟองละ 3.60 บาท การประกาศเช่นนี้ทำให้ราคาไข่ไก่ปรับขึ้นแผงละ 6 บาท โดยข้อมูลจากสมาคมการค้าผู้ค้าไข่ไทย พบว่า ราคาไข่ไก่ขายส่ง เบอร์ 0 ราคา 4.40 บาทต่อฟอง, ไข่ไก่เบอร์ 1 ราคา 4.20 บาทต่อฟอง, ไข่ไก่เบอร์ 2 ราคา 4 บาทต่อฟอง ส่วนราคาขายปลีก ราคาไข่ไก่ขายส่ง เบอร์ 0 ราคา 5 บาทต่อฟอง, ไข่ไก่เบอร์ 1 ราคา 4.70 บาทต่อฟอง ,ไข่ไก่เบอร์ 2 ราคา 4.40 บาทต่อฟอง สำหรับสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาไข่พุ่งสูงขึ้นมาจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดมากกว่าทุกปี จนส่งผลให้แม่ไก่ออกไข่ลดลง ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการที่เลี้ยงไก่แบบเล้าเปิดไม่อาจควบคุมอุณหภูมิได้ จึงเป็นเหตุให้ปริมาณผลผลิตลดลง สลับมากันที่ราคาทอง ซึ่งด้านหนึ่งอาจเป็นโอกาสของนักเก็งกำไร โดยตลอดเมื่อวันที่ 16 เมษายน มีการปรับขึ้นลงของราคารวมทั้งหมด 10 ครั้ง ทองคำแท่ง รับซื้อ 41,100 บาท ขายออก 41,200. บาท ทองรูปพรรณ รับซื้อ 40,355 ขายออก 41,700 เท่ากับว่าตลอดเดือนเมษายนราคาทองคำปรับขึ้นแล้วรวม 2,650 บาท ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ราคาทองคำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง คือ สถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง และความผันผวนของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา
    Sad
    1
    0 Comments 0 Shares 1158 Views 0 Reviews