• ฟรีดริช เมิร์ซ ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีจากพรรค CDU ซึ่งมีคะแนนนิยมจากผลการสำรวจมาเป็นอันดับหนึ่งอยู่ในขณะนี้ ประกาศว่า "จะยกเลิกข้อจำกัดการส่งออกอาวุธไปยังอิสราเอลทั้งหมด" หากพรรคของเขาชนะการเลือกตั้ง

    ในสุนทรพจน์ที่มูลนิธิ Koerber ในกรุงเบอร์ลิน เมิร์ซได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายต่างประเทศของพรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU/CSU) โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของเยอรมนีต่อความมั่นคงของอิสราเอล

    “รัฐบาลที่นำโดยผมจะทำให้ความสัมพันธ์กับอิสราเอลกลับมาแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้ง ผมจะยุติการคว่ำบาตรการส่งออกอาวุธของรัฐบาลปัจจุบันทันที” เมิร์ซกล่าวโดยพาดพิงไปถึงโอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีจากพรรค SPD

    ขณะเดียวกัน เมิร์ซไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของอิสราเอลในฉนวนกาซาและการเสียชีวิตของชาวปาเลสไตน์หลายพันคน และยังวิพากษ์วิจารณ์หมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ที่มีต่อนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู อีกด้วย และยังกล่าวอีกว่า จะทำทุกวิธีการเพื่อหาทางยกเลิกการบังคับใช้หมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ

    นอกจากนี้ เมิร์ซยังแสดงความเห็นเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ว่า จะหารือกับฝรั่งเศสและอังกฤษ เรื่องอาวุธนิวเคลียร์เพื่อปกป้องดินแดนยูเครน ท่ามกลางท่าทีที่เปลี่ยนไปของสหรัฐที่มีต่อยุโรป

    ปัจจุบัน เมิร์ซมีคะแนนนิยมนำคู่แข่งคนสำคัญอย่าง อลิซ ไวเดล ผู้สมัครจากพรรค AfD ในการสำรวจความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของเยอรมนี ก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ โดยพรรค CDU ของเขาได้รับการสนับสนุน 28%
    ฟรีดริช เมิร์ซ ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีจากพรรค CDU ซึ่งมีคะแนนนิยมจากผลการสำรวจมาเป็นอันดับหนึ่งอยู่ในขณะนี้ ประกาศว่า "จะยกเลิกข้อจำกัดการส่งออกอาวุธไปยังอิสราเอลทั้งหมด" หากพรรคของเขาชนะการเลือกตั้ง ในสุนทรพจน์ที่มูลนิธิ Koerber ในกรุงเบอร์ลิน เมิร์ซได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายต่างประเทศของพรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU/CSU) โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของเยอรมนีต่อความมั่นคงของอิสราเอล “รัฐบาลที่นำโดยผมจะทำให้ความสัมพันธ์กับอิสราเอลกลับมาแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้ง ผมจะยุติการคว่ำบาตรการส่งออกอาวุธของรัฐบาลปัจจุบันทันที” เมิร์ซกล่าวโดยพาดพิงไปถึงโอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีจากพรรค SPD ขณะเดียวกัน เมิร์ซไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของอิสราเอลในฉนวนกาซาและการเสียชีวิตของชาวปาเลสไตน์หลายพันคน และยังวิพากษ์วิจารณ์หมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ที่มีต่อนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู อีกด้วย และยังกล่าวอีกว่า จะทำทุกวิธีการเพื่อหาทางยกเลิกการบังคับใช้หมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ นอกจากนี้ เมิร์ซยังแสดงความเห็นเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ว่า จะหารือกับฝรั่งเศสและอังกฤษ เรื่องอาวุธนิวเคลียร์เพื่อปกป้องดินแดนยูเครน ท่ามกลางท่าทีที่เปลี่ยนไปของสหรัฐที่มีต่อยุโรป ปัจจุบัน เมิร์ซมีคะแนนนิยมนำคู่แข่งคนสำคัญอย่าง อลิซ ไวเดล ผู้สมัครจากพรรค AfD ในการสำรวจความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของเยอรมนี ก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ โดยพรรค CDU ของเขาได้รับการสนับสนุน 28%
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 144 มุมมอง 0 รีวิว
  • The Sun สื่ออังกฤษ รายงานว่า ทรัมป์ปฏิเสธกระแสข่าวว่าเขา 'จะเดินทางมาร่วมงาน "วันแห่งชัยชนะ" (Victory day) ในวันที่ 9 พฤษภาคมปีนี้ ที่กรุงมอสโก ร่วมกับปูติน และ สี จิ้นผิง

    "ไม่ ผมไม่ไป" เมื่อทรัมป์ถูกถามว่าเขาจะไปร่วมงานหรือไม่

    ก่อนหน้านี้สื่อฝรั่งเศส Le Point อ้างแหล่งข่าวจากรัสเซียว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะเข้าร่วมงานที่รัสเซีย

    สำหรับการจัดงานที่จัตุรัสแดง จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการชัยชนะของรัสเซียที่มีต่อนาซีเยอรมนีในปี 1945 และกลายเป็นงานสำคัญสำหรับผู้นำรัสเซีย


    The Sun สื่ออังกฤษ รายงานว่า ทรัมป์ปฏิเสธกระแสข่าวว่าเขา 'จะเดินทางมาร่วมงาน "วันแห่งชัยชนะ" (Victory day) ในวันที่ 9 พฤษภาคมปีนี้ ที่กรุงมอสโก ร่วมกับปูติน และ สี จิ้นผิง "ไม่ ผมไม่ไป" เมื่อทรัมป์ถูกถามว่าเขาจะไปร่วมงานหรือไม่ ก่อนหน้านี้สื่อฝรั่งเศส Le Point อ้างแหล่งข่าวจากรัสเซียว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะเข้าร่วมงานที่รัสเซีย สำหรับการจัดงานที่จัตุรัสแดง จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการชัยชนะของรัสเซียที่มีต่อนาซีเยอรมนีในปี 1945 และกลายเป็นงานสำคัญสำหรับผู้นำรัสเซีย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 113 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตามรายงานของนิวยอร์กโพสต์ ซึ่งอ้างอิงแหล่งข่าวใกล้ชิดเซเลนสกี เชื่อว่าหากเซเลนสกีต้องลี้ภัยต่างประเทศ

    “ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเขา คงหนีไม่พ้นฝรั่งเศส”
    ตามรายงานของนิวยอร์กโพสต์ ซึ่งอ้างอิงแหล่งข่าวใกล้ชิดเซเลนสกี เชื่อว่าหากเซเลนสกีต้องลี้ภัยต่างประเทศ “ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเขา คงหนีไม่พ้นฝรั่งเศส”
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 216 มุมมอง 0 รีวิว
  • -รายงานข่าว 20 กุมภาพันธ์ 2568-

    วันนี้ครบรอบ 1 เดือน (20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ 2568) ของการบริหารงานของนายโดนัล เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา นางคาโรไลน์ เลวิทท์ โฆษกทำเนียบขาว ออกมารายงานผลความคืบหน้าของทรัมป์ 2.0 ว่า มีคำสั่งอำนาจบริหารออกมารวม 73 ฉบับ มากกว่ายุคไบเดนและยุคโอบามา 2-3 เท่า...ครม.ของทรัมป์ยุคนี้ได้รับการไว้วางใจโวตยอมรับจากสภาสูงซีเนทมากถึง 18 คน มากกว่ายุคโอบามาปี 2009 และยุคไบเดนปี 2021...และนายทรัมป์จะประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดในวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้ โดยที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะมาเยือนในวันจันทร์ ตามด้วยนายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันพฤหัสบดี...ขณะรายงานข่าวทำเนียบขาวนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง Homeland Security ที่ปรึกษากฏหมายฝ่ายเศรษฐกิจแห่งชาติ และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย นายไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติหรือ National Security Advisor ตอบคำถามผู้สื่อข่าวประเด็นยุติสงครามในยูเครนว่า สงครามยูเครนต้องจบแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ต้องการนำเงินภาษีของคนอเมริกันไปช่วยเหลือสงครามยูเครนอีกต่อไปแล้ว โดยสหรัฐฯจะเข้าไปเจรจากับนายปูตินผู้นำรัสเซียในเร็ววันนี้..ข่าวล่าสุดในวันนี้ เมื่อตอนบ่าย สภาสูงหรือซีเนทของคองเกรส ได้ลงมติด้วยคะแนนชนะ 51:49 ให้นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ หรือสำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง ดูแลงานการสอบสวนและปราบปรามได้ทั่วประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมของคุณ แพม บอนดิ และเอฟบีไอยังต้องรายงานข่าวโดยตรงให้กับผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติกับคุณ ทุลซี แก็บบาร์ด ให้รับทราบอีกด้วย
    -รายงานข่าว 20 กุมภาพันธ์ 2568- วันนี้ครบรอบ 1 เดือน (20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ 2568) ของการบริหารงานของนายโดนัล เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา นางคาโรไลน์ เลวิทท์ โฆษกทำเนียบขาว ออกมารายงานผลความคืบหน้าของทรัมป์ 2.0 ว่า มีคำสั่งอำนาจบริหารออกมารวม 73 ฉบับ มากกว่ายุคไบเดนและยุคโอบามา 2-3 เท่า...ครม.ของทรัมป์ยุคนี้ได้รับการไว้วางใจโวตยอมรับจากสภาสูงซีเนทมากถึง 18 คน มากกว่ายุคโอบามาปี 2009 และยุคไบเดนปี 2021...และนายทรัมป์จะประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดในวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้ โดยที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะมาเยือนในวันจันทร์ ตามด้วยนายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันพฤหัสบดี...ขณะรายงานข่าวทำเนียบขาวนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง Homeland Security ที่ปรึกษากฏหมายฝ่ายเศรษฐกิจแห่งชาติ และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย นายไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติหรือ National Security Advisor ตอบคำถามผู้สื่อข่าวประเด็นยุติสงครามในยูเครนว่า สงครามยูเครนต้องจบแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ต้องการนำเงินภาษีของคนอเมริกันไปช่วยเหลือสงครามยูเครนอีกต่อไปแล้ว โดยสหรัฐฯจะเข้าไปเจรจากับนายปูตินผู้นำรัสเซียในเร็ววันนี้..ข่าวล่าสุดในวันนี้ เมื่อตอนบ่าย สภาสูงหรือซีเนทของคองเกรส ได้ลงมติด้วยคะแนนชนะ 51:49 ให้นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ หรือสำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง ดูแลงานการสอบสวนและปราบปรามได้ทั่วประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมของคุณ แพม บอนดิ และเอฟบีไอยังต้องรายงานข่าวโดยตรงให้กับผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติกับคุณ ทุลซี แก็บบาร์ด ให้รับทราบอีกด้วย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 193 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ หนึ่งในทีมงานที่ร่วมเจรจากับรัสเซียในซาอุฯ ออกมากล่าวสนับสนุนทรัมป์ หลังจากพวกวิจารณ์เซเลนสกีไปอย่างเผ็ดร้อน โดยระบุว่า ทรัมป์ไม่ได้พสดพิงไปถึงประชาชนชาวยูเครน ทรัมป์วิจารณ์ไปที่ตัวตนของเซเลนสกีเท่านั้น

    วอลซ์ยังตั้งคำถามไปถึงเซเลนสกีว่า ทำไมเซเลนสกีจึงไม่พยายามยุติสงครามนี้เพื่อทำให้ประเทศกลับมาดีกว่าเดิม และลองถามตัวเองดูว่าสถานะของยูเครนตอนนี้ในสนามรบดีขึ้นบ้างหรือไม่

    นอกจากนี้วอลซ์ยังต้องการให้ มาครงและสตาร์เมอร์ สองผู้นำจากฝรั่งเศสและอังกฤษ มาเยือนวอชิงตันในสัปดาห์หน้าเพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้งในยูเครน

    ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ หนึ่งในทีมงานที่ร่วมเจรจากับรัสเซียในซาอุฯ ออกมากล่าวสนับสนุนทรัมป์ หลังจากพวกวิจารณ์เซเลนสกีไปอย่างเผ็ดร้อน โดยระบุว่า ทรัมป์ไม่ได้พสดพิงไปถึงประชาชนชาวยูเครน ทรัมป์วิจารณ์ไปที่ตัวตนของเซเลนสกีเท่านั้น วอลซ์ยังตั้งคำถามไปถึงเซเลนสกีว่า ทำไมเซเลนสกีจึงไม่พยายามยุติสงครามนี้เพื่อทำให้ประเทศกลับมาดีกว่าเดิม และลองถามตัวเองดูว่าสถานะของยูเครนตอนนี้ในสนามรบดีขึ้นบ้างหรือไม่ นอกจากนี้วอลซ์ยังต้องการให้ มาครงและสตาร์เมอร์ สองผู้นำจากฝรั่งเศสและอังกฤษ มาเยือนวอชิงตันในสัปดาห์หน้าเพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้งในยูเครน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 283 มุมมอง 16 0 รีวิว
  • เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์แถลงว่า ยุโรปไม่ต้องการให้ชาติเอเชียต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท่ามกลางกระแสการแข่งขันโลกเชี่ยวกราก ปูทางประธานาธิบดี เอ็มมานุเอล มาครง ขึ้นเวทีการประชุมแชงกรีลาไดอะล็อกฟอรัม พฤษภาคมนี้ ขณะที่สิงคโปร์เปิดอกรับเอเชียมองวอชิงตันทำตัวเหมือนเจ้าของที่กำลังเรียกเก็บค่าเช่า
    .
    รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์ สตีเฟน มาร์กีซีโอ (Stephen Marchisio) เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่วันอังคาร (18) เปิดใจว่า ฝรั่งเศสเห็นแรงกดดันเพิ่มขึ้น “บางทีมาจากฝั่งสหรัฐฯ” ที่พันธมิตรในเอเชียจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกข้าง”
    .
    เขาย้ำว่า “มันมีความสำคัญที่ต้องกล่าวว่าพวกเราสามารถพูดคุยได้กับทุกคน” และเสริมว่า “พวกเราไม่ต้องการให้ใครต้องเลือก”
    .
    ทูตแดนน้ำหอมคนใหม่ของประธานาธิบดีเอ็มมานุเอล มาครงให้สัมภาษณ์กับนักข่าวระหว่างอาหารค่ำในสิงคโปร์ที่ซึ่งมาครงจะเดินทางมาที่นี่เพื่อขึ้นกล่าวในการประชุมความมั่นคงแชงกรีลาฟอรัมในวันที่ 30 พ.ค.ที่จะถึง
    .
    มาร์กีซีโอกล่าวว่า ประธานาธิบดีมาครงจะขึ้นกล่าวยืนยันบนเวทีว่า ทุกชาติภายในภูมิภาคสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติตัวเองได้
    .
    “พวกคุณสามารถทำได้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับรูปแบบทางการเมืองของจีน และคุณสามารถทำได้ถึงแม้คุณจะไม่ต้องการฐานทัพจากสหรัฐฯ ในดินแดนของพวกคุณก็ตาม”
    .
    สถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์ได้ตอบคำถามรอยเตอร์ไปยังแถลงการณ์ของกลุ่ม G-7 ที่ลงนามในมิวนิกโดยฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า สมาชิกทุกชาติมีพันธต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และมั่นคง
    .
    ตามแถลงการณ์ทูตฝรั่งเศสชี้ว่า ยุโรปต้องสามัคคี
    .
    มาร์กีซีโอยังชี้ว่า ยุโรปต้องมีความสามัคคีที่รวมไปถึงการสั่งซื้ออาวุธอเมริกัน ที่ชี้ว่าเป็นการตอบโต้คำแถลงจากรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดีเจ แวนซ์ ในมิวนิกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
    .
    ทูตแดนน้ำหอมกล่าวว่า มีบางประเทศมองความเกี่ยวข้องในการซื้ออาวุธเป็นหนทางที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทรัมป์สมัยแรก แต่ทว่ามุมมองนี้เปลี่ยนไปแล้วโดยเฉพาะหลังจากที่รองประธานาธิบดีแวนซ์ของสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณผ่านำแถลงที่เผ็ดร้อนในการประชุมมิวนิกฟอรัมในยุโรป
    .
    “เกิดอะไรขึ้นในมิวนิก? เขาพยายามโจมตีแก่นกลางของประชาธิปไตย” และเสริมต่อว่า “ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดไปสู่คำถามอื่นต่อ”
    .
    ดังนั้นเวลานี้ประเทศในยุโรปอาจจะไม่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกัน และเสริมต่อว่าเป็นเพราะไม่มีหลักประกันในการทำเช่นนั้นจะช่วยผ่อนคลายความกดดันของสหรัฐฯ ลงหรือวาทะโจมตีแสดงความเป็นปรปักษ์
    .
    “พวกเราไม่ต้องการที่จะกล่าวว่า ..แต่พวกเราจะตอบโต้หากว่าพวกเราต้องทำ” โดยอ้างไปถึงภาษีและแรงกดดันอื่นๆ ของสหรัฐฯ
    .
    มาร์กีซีโอรายงานว่า สถานการณ์ที่ดีที่สุดของฝรั่งเศสคือการไม่ต้องการตอบโต้เอาคืนจากการที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและชาติยุโรปต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันมากมายรวมไปถึงอุตสาหกรรม
    .
    การแสดงความเห็นของทูตฝรั่งเศสคนใหม่สะท้อนความเห็นรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ อึ้ง เอ็ง เฮง (Ng Eng Hen) ที่แถลงในการประชุมความมั่นคงยุโรปว่า “ภาพของอเมริกาที่มีต่อเอเชียได้เปลี่ยนไป”
    .
    “ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปจากผู้ปลดปล่อยไปสู่ผู้สร้างความปั่นป่วนไปสู่เจ้าของที่ต้องการเรียกเก็บค่าเช่า”
    .
    บลูมเบิร์กรายงานวันจันทร์ (17) ว่า อึ้ง เอ็ง เฮง แถลงในการประชุมนอกรอบที่การประชุมความมั่นคงมิวนิกว่า แนวคิดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
    .
    ทั้งนี้ เว็บไซต์รัฐบาลสิงคโปร์ได้โพสต์เมื่อสุดสัปดาห์ในคำแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์กล่าววิจารณ์สหรัฐฯ ในการประชุมมิวนิก
    .
    คำแถลงเกิดขึ้นหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่สมัยทรัมป์มืดมัวตาบอดไม่สนใจต่อประวัติศาสตร์ที่เป็นมาของพันธมิตรนาโตเปิดฉากแผนการหารือตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูตินต่ออนาคตของสงครามเครมลินในยูเครน
    .
    บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่า สิงคโปร์เป็นเหมือนเช่นชาติส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการแสวงหาทางสายกลางในการเพิ่มขึ้นของภาพที่ซับซ้อนทางการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อเสาะหาความสัมพันธ์ที่สมดุลกับสหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนความมั่นคงหลักและต่อจีนในฐานะแหล่งของการพัฒนาและหนึ่งในพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของตัวเอง
    .
    ทั้งนี้สหรัฐฯ ในสมัยอดีตรัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน อเมริกาได้ทำงานเพื่อสร้างข้อผูกพันทางความมั่นคงภายในภูมิภาคต่อต้านการรุกคืบจากจีนในทะเลจีนใต้ และเป็นความวิตกทางความมั่นคงที่ยังคงเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของปักกิ่งในการนำไต้หวันกลับสู่อ้อมอกอีกครั้งในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังหรือไม่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016775
    ..............
    Sondhi X
    เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์แถลงว่า ยุโรปไม่ต้องการให้ชาติเอเชียต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท่ามกลางกระแสการแข่งขันโลกเชี่ยวกราก ปูทางประธานาธิบดี เอ็มมานุเอล มาครง ขึ้นเวทีการประชุมแชงกรีลาไดอะล็อกฟอรัม พฤษภาคมนี้ ขณะที่สิงคโปร์เปิดอกรับเอเชียมองวอชิงตันทำตัวเหมือนเจ้าของที่กำลังเรียกเก็บค่าเช่า . รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์ สตีเฟน มาร์กีซีโอ (Stephen Marchisio) เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่วันอังคาร (18) เปิดใจว่า ฝรั่งเศสเห็นแรงกดดันเพิ่มขึ้น “บางทีมาจากฝั่งสหรัฐฯ” ที่พันธมิตรในเอเชียจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกข้าง” . เขาย้ำว่า “มันมีความสำคัญที่ต้องกล่าวว่าพวกเราสามารถพูดคุยได้กับทุกคน” และเสริมว่า “พวกเราไม่ต้องการให้ใครต้องเลือก” . ทูตแดนน้ำหอมคนใหม่ของประธานาธิบดีเอ็มมานุเอล มาครงให้สัมภาษณ์กับนักข่าวระหว่างอาหารค่ำในสิงคโปร์ที่ซึ่งมาครงจะเดินทางมาที่นี่เพื่อขึ้นกล่าวในการประชุมความมั่นคงแชงกรีลาฟอรัมในวันที่ 30 พ.ค.ที่จะถึง . มาร์กีซีโอกล่าวว่า ประธานาธิบดีมาครงจะขึ้นกล่าวยืนยันบนเวทีว่า ทุกชาติภายในภูมิภาคสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติตัวเองได้ . “พวกคุณสามารถทำได้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับรูปแบบทางการเมืองของจีน และคุณสามารถทำได้ถึงแม้คุณจะไม่ต้องการฐานทัพจากสหรัฐฯ ในดินแดนของพวกคุณก็ตาม” . สถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์ได้ตอบคำถามรอยเตอร์ไปยังแถลงการณ์ของกลุ่ม G-7 ที่ลงนามในมิวนิกโดยฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า สมาชิกทุกชาติมีพันธต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และมั่นคง . ตามแถลงการณ์ทูตฝรั่งเศสชี้ว่า ยุโรปต้องสามัคคี . มาร์กีซีโอยังชี้ว่า ยุโรปต้องมีความสามัคคีที่รวมไปถึงการสั่งซื้ออาวุธอเมริกัน ที่ชี้ว่าเป็นการตอบโต้คำแถลงจากรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดีเจ แวนซ์ ในมิวนิกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา . ทูตแดนน้ำหอมกล่าวว่า มีบางประเทศมองความเกี่ยวข้องในการซื้ออาวุธเป็นหนทางที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทรัมป์สมัยแรก แต่ทว่ามุมมองนี้เปลี่ยนไปแล้วโดยเฉพาะหลังจากที่รองประธานาธิบดีแวนซ์ของสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณผ่านำแถลงที่เผ็ดร้อนในการประชุมมิวนิกฟอรัมในยุโรป . “เกิดอะไรขึ้นในมิวนิก? เขาพยายามโจมตีแก่นกลางของประชาธิปไตย” และเสริมต่อว่า “ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดไปสู่คำถามอื่นต่อ” . ดังนั้นเวลานี้ประเทศในยุโรปอาจจะไม่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกัน และเสริมต่อว่าเป็นเพราะไม่มีหลักประกันในการทำเช่นนั้นจะช่วยผ่อนคลายความกดดันของสหรัฐฯ ลงหรือวาทะโจมตีแสดงความเป็นปรปักษ์ . “พวกเราไม่ต้องการที่จะกล่าวว่า ..แต่พวกเราจะตอบโต้หากว่าพวกเราต้องทำ” โดยอ้างไปถึงภาษีและแรงกดดันอื่นๆ ของสหรัฐฯ . มาร์กีซีโอรายงานว่า สถานการณ์ที่ดีที่สุดของฝรั่งเศสคือการไม่ต้องการตอบโต้เอาคืนจากการที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและชาติยุโรปต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันมากมายรวมไปถึงอุตสาหกรรม . การแสดงความเห็นของทูตฝรั่งเศสคนใหม่สะท้อนความเห็นรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ อึ้ง เอ็ง เฮง (Ng Eng Hen) ที่แถลงในการประชุมความมั่นคงยุโรปว่า “ภาพของอเมริกาที่มีต่อเอเชียได้เปลี่ยนไป” . “ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปจากผู้ปลดปล่อยไปสู่ผู้สร้างความปั่นป่วนไปสู่เจ้าของที่ต้องการเรียกเก็บค่าเช่า” . บลูมเบิร์กรายงานวันจันทร์ (17) ว่า อึ้ง เอ็ง เฮง แถลงในการประชุมนอกรอบที่การประชุมความมั่นคงมิวนิกว่า แนวคิดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง . ทั้งนี้ เว็บไซต์รัฐบาลสิงคโปร์ได้โพสต์เมื่อสุดสัปดาห์ในคำแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์กล่าววิจารณ์สหรัฐฯ ในการประชุมมิวนิก . คำแถลงเกิดขึ้นหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่สมัยทรัมป์มืดมัวตาบอดไม่สนใจต่อประวัติศาสตร์ที่เป็นมาของพันธมิตรนาโตเปิดฉากแผนการหารือตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูตินต่ออนาคตของสงครามเครมลินในยูเครน . บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่า สิงคโปร์เป็นเหมือนเช่นชาติส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการแสวงหาทางสายกลางในการเพิ่มขึ้นของภาพที่ซับซ้อนทางการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อเสาะหาความสัมพันธ์ที่สมดุลกับสหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนความมั่นคงหลักและต่อจีนในฐานะแหล่งของการพัฒนาและหนึ่งในพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของตัวเอง . ทั้งนี้สหรัฐฯ ในสมัยอดีตรัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน อเมริกาได้ทำงานเพื่อสร้างข้อผูกพันทางความมั่นคงภายในภูมิภาคต่อต้านการรุกคืบจากจีนในทะเลจีนใต้ และเป็นความวิตกทางความมั่นคงที่ยังคงเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของปักกิ่งในการนำไต้หวันกลับสู่อ้อมอกอีกครั้งในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังหรือไม่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016775 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1834 มุมมอง 0 รีวิว
  • 37 ปี ไทย-ลาว ประกาศหยุดยิง ยุติสมรภูมิบ้านร่มเกล้า สงครามบ่อแตน จุดพิพาทเนิน 1428

    📅 ย้อนไปเมื่อ 37 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531 นับเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย-ลาว เมื่อทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลง ประกาศหยุดยิงอย่างเป็นทางการ ในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า หลังจากการสู้รบที่ยืดเยื้อ มาอย่างยาวนานถึง 19 วัน สาเหตุหลักมาจาก ข้อพิพาทเรื่องเขตแดน ที่นำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรง ระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะบริเวณ นิน 1428 ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ

    สงครามครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งทหารและพลเรือน การเจรจาหยุดยิง นำไปสู่การตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน เพื่อหาข้อยุติที่ชัดเจน แม้เวลาจะผ่านไป 37 ปี แต่ปัญหาเรื่อง พรมแดนไทย-ลาว บริเวณนี้ ก็ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศต้องจับตาดู

    🔥 จุดเริ่มต้นของสงครามบ้านร่มเกล้า ข้อพิพาทเขตแดนไทย-ลาว 🎯
    ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนไทย-ลาว มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาปักปันเขตแดนไทย-ฝรั่งเศส เมื่อปี 2450 (ค.ศ. 1907) ซึ่งกำหนดให้ใช้ "แม่น้ำเหือง" เป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างไทยกับลาว ในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือ แม่น้ำเหืองมีสองสาย ได้แก่

    - แม่น้ำเหืองป่าหมัน มีต้นกำเนิดจากภูสอยดาว
    - แม่น้ำเหืองงา มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง

    ฝ่ายลาวยืนยันว่า "แม่น้ำเหืองป่าหมัน" ควรเป็นเส้นแบ่งพรมแดน แต่ฝ่ายไทยแย้งว่า สนธิสัญญากำหนดให้ใช้แม่น้ำ ที่มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง ซึ่งหมายถึง "แม่น้ำเหืองงา" ทำให้พื้นที่บ้านร่มเกล้า กลายเป็นพื้นที่พิพาทที่ ไทย-ลาว ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ครอบครอง

    🏕️ บ้านร่มเกล้า จากหมู่บ้านม้ง สู่สมรภูมิรบ
    "บ้านร่มเกล้า" ตั้งอยู่บนแนวชายแดนไทย-ลาว ในเขตหมู่ที่ 8 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชาวม้ง ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาชาติไทย ตามนโยบาย 66/23 ของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

    ต่อมารัฐบาลไทย ให้สัมปทานป่าไม้ ในพื้นที่บ้านร่มเกล้า ทำให้ฝ่ายลาวมองว่า ไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของตน และเป็นการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมาย จึงเกิดเหตุปะทะกันหลายครั้ง ระหว่างทหารพรานไทย กับกองกำลังลาว

    ⚔️ การสู้รบในสมรภูมิร่มเกล้า ปะทะครั้งใหญ่ 31 พฤษภาคม 2530 📌
    ทหารลาวเข้าโจมตีแคมป์คนงานไทย ที่ทำสัมปทานป่าไม้ คนงานไทยเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บหลายคน
    กองร้อยทหารพรานที่ 3405 เข้าช่วยเหลือ ทำให้เกิดการปะทะ หลังจากนั้น สถานการณ์เริ่มตึงเครียด กองทัพภาคที่ 3 ของไทย จึงส่งกำลังเสริม เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ

    🚀 ยุทธการสอยดาว 01 และ 02 ช่วงปลายปี 2530
    กองทัพไทยเปิดปฏิบัติการทางทหาร เต็มรูปแบบ ใช้ทหารราบ ทหารม้า ปืนใหญ่ และการโจมตีทางอากาศ เป้าหมายหลักคือ "เนิน 1428" ที่ทหารลาวยึดครอง อย่างไรก็ตาม เนิน 1428 อยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบ ทำให้ไทยไม่สามารถบุกยึด ได้อย่างเด็ดขาด

    ✈️ รบหนักสุด 1-19 กุมภาพันธ์ 2531
    กองทัพไทยระดมกำลังบุกเนิน 1428 โดยกองทัพอากาศไทย ส่งเครื่องบิน เอฟ-5 อี และโอวี-10 โจมตี
    แต่สูญเสียเครื่องบิน 2 ลำ ที่ถูกยิงตกโดยปืนต่อต้านอากาศยา นและจรวดแซม การรบยืดเยื้อนานถึง 19 วัน ทั้งสองฝ่ายสูญเสียหนัก

    🕊️ เจรจาหยุดยิง
    💬 11 กุมภาพันธ์ 2531 นายไกรสอน พรหมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาว ส่งสาส์นถึง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทย ขอให้หยุดยิง และตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน

    🤝 16-17 กุมภาพันธ์ 2531 ไทยและลาวเจรจากัน ที่กองบัญชาการ กองทัพอากาศไทย

    ✍️ 19 กุมภาพันธ์ 2531 ไทย-ลาว ลงนามข้อตกลงหยุดยิง และตกลงให้ถอยจากแนวปะทะ ฝ่ายละ 3 กิโลเมตร

    📉 ผลกระทบจากสงคราม
    💀 จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
    - ฝ่ายไทยเสียชีวิต 147 นาย บาดเจ็บกว่า 700 นาย
    - ฝ่ายลาวคาดว่าเสียชีวิต 300-400 นาย บาดเจ็บ 200-300 นาย

    💰 งบประมาณทางทหาร
    ไทยใช้งบประมาณในสงครามนี้กว่า 3,000 ล้านบาท

    🌍 ความสัมพันธ์ไทย-ลาว
    การรบทำให้ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ตกต่ำที่สุดในยุคนั้น แม้จะหยุดยิง แต่ปัญหาพรมแดน ยังคงไม่ได้ข้อยุติ จนถึงปัจจุบัน

    🏛️ สมรภูมิบ้านร่มเกล้า เป็นหนึ่งในสงคราม ที่สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาพรมแดน ที่มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาทางประวัติศาสตร์ และความแตกต่างในการตีความแผนที่

    แม้สงครามจะจบลงแล้ว แต่ประเด็นเรื่องพรมแดนไทย-ลาว ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศ ต้องหารือร่วมกันต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ซ้ำรอยอีกในอนาคต

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190937 ก.พ. 2568

    🔗#ไทยลาว #สงครามบ้านร่มเกล้า #สงครามบ่อแตน #พรมแดนไทยลาว #เนิน1428 #หยุดยิง #ความสัมพันธ์ไทยลาว #ประวัติศาสตร์ไทย #สงครามเย็น #สมรภูมิร่มเกล้า 🎖️
    37 ปี ไทย-ลาว ประกาศหยุดยิง ยุติสมรภูมิบ้านร่มเกล้า สงครามบ่อแตน จุดพิพาทเนิน 1428 📅 ย้อนไปเมื่อ 37 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531 นับเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย-ลาว เมื่อทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลง ประกาศหยุดยิงอย่างเป็นทางการ ในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า หลังจากการสู้รบที่ยืดเยื้อ มาอย่างยาวนานถึง 19 วัน สาเหตุหลักมาจาก ข้อพิพาทเรื่องเขตแดน ที่นำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรง ระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะบริเวณ นิน 1428 ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สงครามครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งทหารและพลเรือน การเจรจาหยุดยิง นำไปสู่การตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน เพื่อหาข้อยุติที่ชัดเจน แม้เวลาจะผ่านไป 37 ปี แต่ปัญหาเรื่อง พรมแดนไทย-ลาว บริเวณนี้ ก็ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศต้องจับตาดู 🔥 จุดเริ่มต้นของสงครามบ้านร่มเกล้า ข้อพิพาทเขตแดนไทย-ลาว 🎯 ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนไทย-ลาว มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาปักปันเขตแดนไทย-ฝรั่งเศส เมื่อปี 2450 (ค.ศ. 1907) ซึ่งกำหนดให้ใช้ "แม่น้ำเหือง" เป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างไทยกับลาว ในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือ แม่น้ำเหืองมีสองสาย ได้แก่ - แม่น้ำเหืองป่าหมัน มีต้นกำเนิดจากภูสอยดาว - แม่น้ำเหืองงา มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง ฝ่ายลาวยืนยันว่า "แม่น้ำเหืองป่าหมัน" ควรเป็นเส้นแบ่งพรมแดน แต่ฝ่ายไทยแย้งว่า สนธิสัญญากำหนดให้ใช้แม่น้ำ ที่มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง ซึ่งหมายถึง "แม่น้ำเหืองงา" ทำให้พื้นที่บ้านร่มเกล้า กลายเป็นพื้นที่พิพาทที่ ไทย-ลาว ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ครอบครอง 🏕️ บ้านร่มเกล้า จากหมู่บ้านม้ง สู่สมรภูมิรบ "บ้านร่มเกล้า" ตั้งอยู่บนแนวชายแดนไทย-ลาว ในเขตหมู่ที่ 8 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชาวม้ง ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาชาติไทย ตามนโยบาย 66/23 ของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต่อมารัฐบาลไทย ให้สัมปทานป่าไม้ ในพื้นที่บ้านร่มเกล้า ทำให้ฝ่ายลาวมองว่า ไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของตน และเป็นการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมาย จึงเกิดเหตุปะทะกันหลายครั้ง ระหว่างทหารพรานไทย กับกองกำลังลาว ⚔️ การสู้รบในสมรภูมิร่มเกล้า ปะทะครั้งใหญ่ 31 พฤษภาคม 2530 📌 ทหารลาวเข้าโจมตีแคมป์คนงานไทย ที่ทำสัมปทานป่าไม้ คนงานไทยเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บหลายคน กองร้อยทหารพรานที่ 3405 เข้าช่วยเหลือ ทำให้เกิดการปะทะ หลังจากนั้น สถานการณ์เริ่มตึงเครียด กองทัพภาคที่ 3 ของไทย จึงส่งกำลังเสริม เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ 🚀 ยุทธการสอยดาว 01 และ 02 ช่วงปลายปี 2530 กองทัพไทยเปิดปฏิบัติการทางทหาร เต็มรูปแบบ ใช้ทหารราบ ทหารม้า ปืนใหญ่ และการโจมตีทางอากาศ เป้าหมายหลักคือ "เนิน 1428" ที่ทหารลาวยึดครอง อย่างไรก็ตาม เนิน 1428 อยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบ ทำให้ไทยไม่สามารถบุกยึด ได้อย่างเด็ดขาด ✈️ รบหนักสุด 1-19 กุมภาพันธ์ 2531 กองทัพไทยระดมกำลังบุกเนิน 1428 โดยกองทัพอากาศไทย ส่งเครื่องบิน เอฟ-5 อี และโอวี-10 โจมตี แต่สูญเสียเครื่องบิน 2 ลำ ที่ถูกยิงตกโดยปืนต่อต้านอากาศยา นและจรวดแซม การรบยืดเยื้อนานถึง 19 วัน ทั้งสองฝ่ายสูญเสียหนัก 🕊️ เจรจาหยุดยิง 💬 11 กุมภาพันธ์ 2531 นายไกรสอน พรหมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาว ส่งสาส์นถึง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทย ขอให้หยุดยิง และตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน 🤝 16-17 กุมภาพันธ์ 2531 ไทยและลาวเจรจากัน ที่กองบัญชาการ กองทัพอากาศไทย ✍️ 19 กุมภาพันธ์ 2531 ไทย-ลาว ลงนามข้อตกลงหยุดยิง และตกลงให้ถอยจากแนวปะทะ ฝ่ายละ 3 กิโลเมตร 📉 ผลกระทบจากสงคราม 💀 จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ - ฝ่ายไทยเสียชีวิต 147 นาย บาดเจ็บกว่า 700 นาย - ฝ่ายลาวคาดว่าเสียชีวิต 300-400 นาย บาดเจ็บ 200-300 นาย 💰 งบประมาณทางทหาร ไทยใช้งบประมาณในสงครามนี้กว่า 3,000 ล้านบาท 🌍 ความสัมพันธ์ไทย-ลาว การรบทำให้ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ตกต่ำที่สุดในยุคนั้น แม้จะหยุดยิง แต่ปัญหาพรมแดน ยังคงไม่ได้ข้อยุติ จนถึงปัจจุบัน 🏛️ สมรภูมิบ้านร่มเกล้า เป็นหนึ่งในสงคราม ที่สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาพรมแดน ที่มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาทางประวัติศาสตร์ และความแตกต่างในการตีความแผนที่ แม้สงครามจะจบลงแล้ว แต่ประเด็นเรื่องพรมแดนไทย-ลาว ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศ ต้องหารือร่วมกันต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ซ้ำรอยอีกในอนาคต ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190937 ก.พ. 2568 🔗#ไทยลาว #สงครามบ้านร่มเกล้า #สงครามบ่อแตน #พรมแดนไทยลาว #เนิน1428 #หยุดยิง #ความสัมพันธ์ไทยลาว #ประวัติศาสตร์ไทย #สงครามเย็น #สมรภูมิร่มเกล้า 🎖️
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 282 มุมมอง 0 รีวิว
  • พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน
    .
    ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ
    .
    บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย
    .
    มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้
    .
    ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน
    .
    ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน
    .
    กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้
    .
    ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว
    .
    อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ
    .
    มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน
    .
    นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน . ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ . บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย . มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้ . ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน . ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง . สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน . กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้ . ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่ . สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว . อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ . มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน . นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1845 มุมมอง 0 รีวิว
  • เช็ก โรมาเนีย และสโลวีเนียประท้วงการถูกกีดกันจากประชุมปารีส

    สาธารณรัฐเช็ก โรมาเนีย และสโลวีเนียแสดงความไม่พอใจที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมผู้นำยุโรปที่ปารีส

    แหล่งข่าวจากรัฐบาลเช็กระบุว่าไม่มีประเทศยุโรปใดรับผู้ลี้ภัยยูเครนต่อประชากรมากกว่าเช็ก พร้อมเน้นย้ำบทบาทสำคัญในการส่งกำลังบำรุงอาวุธให้ยูเครน โดยเฉพาะการจัดหากระสุนให้เคียฟ "นอกจากโปแลนด์แล้ว ไม่มีประเทศใดใกล้ชิดสงครามมากกว่าเช็ก" เจ้าหน้าที่กล่าว พร้อมวิจารณ์ "ความหยิ่งยโส" ของประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron ที่กีดกันพวกเขา

    ด้าน Cristian Diaconescu ที่ปรึกษาด้านกลาโหมและความมั่นคงของโรมาเนียแสดงความผิดหวังที่ถูกกีดกัน "แม้จะทุ่มเทช่วยเหลือมาตลอด" แต่ยืนยันว่าหากมีการประชุมต่อเนื่อง พวกเขาก็พร้อมจะมีส่วนร่วม

    ประธานาธิบดี Nataša Pirc Musar แห่งสโลวีเนียวิจารณ์การเลือกเชิญว่าส่งสัญญาณว่า "สมาชิก EU ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม" และเสริมว่า "นี่ไม่ใช่ยุโรปที่จะเป็นพันธมิตรที่คู่ควรกับสหรัฐฯ"
    เช็ก โรมาเนีย และสโลวีเนียประท้วงการถูกกีดกันจากประชุมปารีส สาธารณรัฐเช็ก โรมาเนีย และสโลวีเนียแสดงความไม่พอใจที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมผู้นำยุโรปที่ปารีส แหล่งข่าวจากรัฐบาลเช็กระบุว่าไม่มีประเทศยุโรปใดรับผู้ลี้ภัยยูเครนต่อประชากรมากกว่าเช็ก พร้อมเน้นย้ำบทบาทสำคัญในการส่งกำลังบำรุงอาวุธให้ยูเครน โดยเฉพาะการจัดหากระสุนให้เคียฟ "นอกจากโปแลนด์แล้ว ไม่มีประเทศใดใกล้ชิดสงครามมากกว่าเช็ก" เจ้าหน้าที่กล่าว พร้อมวิจารณ์ "ความหยิ่งยโส" ของประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron ที่กีดกันพวกเขา ด้าน Cristian Diaconescu ที่ปรึกษาด้านกลาโหมและความมั่นคงของโรมาเนียแสดงความผิดหวังที่ถูกกีดกัน "แม้จะทุ่มเทช่วยเหลือมาตลอด" แต่ยืนยันว่าหากมีการประชุมต่อเนื่อง พวกเขาก็พร้อมจะมีส่วนร่วม ประธานาธิบดี Nataša Pirc Musar แห่งสโลวีเนียวิจารณ์การเลือกเชิญว่าส่งสัญญาณว่า "สมาชิก EU ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม" และเสริมว่า "นี่ไม่ใช่ยุโรปที่จะเป็นพันธมิตรที่คู่ควรกับสหรัฐฯ"
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 194 มุมมอง 0 รีวิว
  • การประชุมฉุกเฉินของประธานาธิบดีมาครงแห่งฝรั่งเศส ดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่เด็กเล่นขายของ

    - การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีเลขาธิการนาโต้ นายกรัฐมนตรีจากอังกฤษ เดนมาร์ก สเปน โปแลนด์ และอิตาลี รวมถึงนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีเข้าร่วมด้วย

    - สำนักข่าวหลายแห่งรายงานพร้อมเพรียงกันก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้นว่า นี่เป็นความหวังเดียวของเซเลนสกี ที่จะทำให้เขายืนหยัดในการทำสงครามกับรัสเซียต่อไปได้

    - แต่หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ ออกมากล่าวว่า ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยูเครนในการประชุมสุดยอดฉุกเฉินครั้งนี้

    - "การประชุมดังกล่าวยังไม่มีผลในการตัดสินใจ เนื่องจากองค์กรนี้ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจผูกมัดหรือตัดสินใจขั้นสุดท้ายได้" ทัสก์กล่าวในการแถลงข่าว

    - สำหรับชอลซ์ กล่าวไว้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนการเริ่มประชุมแล้วว่า เบอร์ลินจะไม่ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปยังยูเครน จนกว่าสหรัฐฯ จะรับปากดำเนินการแบบเดียวกันกับกองกำลังของตนเอง

    - มีเพียงอังกฤษเท่านั้น ที่แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าพร้อมพิจารณาส่งกองกำลังเข้าสู่ยูเครน แต่ก็มีเงื่อนไขว่า เพื่อเป็นการปกป้องยูเครน และต้องหลังสงครามสิ้นสุดลงเท่านั้น!
    การประชุมฉุกเฉินของประธานาธิบดีมาครงแห่งฝรั่งเศส ดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่เด็กเล่นขายของ - การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีเลขาธิการนาโต้ นายกรัฐมนตรีจากอังกฤษ เดนมาร์ก สเปน โปแลนด์ และอิตาลี รวมถึงนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีเข้าร่วมด้วย - สำนักข่าวหลายแห่งรายงานพร้อมเพรียงกันก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้นว่า นี่เป็นความหวังเดียวของเซเลนสกี ที่จะทำให้เขายืนหยัดในการทำสงครามกับรัสเซียต่อไปได้ - แต่หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ ออกมากล่าวว่า ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยูเครนในการประชุมสุดยอดฉุกเฉินครั้งนี้ - "การประชุมดังกล่าวยังไม่มีผลในการตัดสินใจ เนื่องจากองค์กรนี้ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจผูกมัดหรือตัดสินใจขั้นสุดท้ายได้" ทัสก์กล่าวในการแถลงข่าว - สำหรับชอลซ์ กล่าวไว้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนการเริ่มประชุมแล้วว่า เบอร์ลินจะไม่ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปยังยูเครน จนกว่าสหรัฐฯ จะรับปากดำเนินการแบบเดียวกันกับกองกำลังของตนเอง - มีเพียงอังกฤษเท่านั้น ที่แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าพร้อมพิจารณาส่งกองกำลังเข้าสู่ยูเครน แต่ก็มีเงื่อนไขว่า เพื่อเป็นการปกป้องยูเครน และต้องหลังสงครามสิ้นสุดลงเท่านั้น!
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 160 มุมมอง 0 รีวิว
  • กรีซเตรียมส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-16 Block 30 ทั้ง 32 ลำให้กับยูเครน
    — สำนักข่าวเลอมงด์ของฝรั่งเศสรายงาน
    กรีซเตรียมส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-16 Block 30 ทั้ง 32 ลำให้กับยูเครน — สำนักข่าวเลอมงด์ของฝรั่งเศสรายงาน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 113 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผู้นำยุโรปว้าวุ่นหนัก หวั่นถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการเจรจายุติสงครามยูเครน ขณะที่อเมริกาประกาศชัดยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารือดังกล่าว แถมยังประกาศรายชื่อทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสไปประชุมกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟในซาอุดีอาระเบีย ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา-รัสเซีย ก็โทรศัพท์หารือกัน โดยระบุว่าคุยกันทั้งเรื่องสถานการณ์ในยูเครน และการหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้
    .
    ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ
    .
    ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย
    .
    ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง
    .
    ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ
    .
    ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ
    .
    รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น”
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน
    .
    ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป
    .
    ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกีไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
    .
    การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกีได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน
    .
    เซเลนสกียังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม
    .
    ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน
    .
    นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกีว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต
    .
    กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต หรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015540
    ..............
    Sondhi X
    ผู้นำยุโรปว้าวุ่นหนัก หวั่นถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการเจรจายุติสงครามยูเครน ขณะที่อเมริกาประกาศชัดยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารือดังกล่าว แถมยังประกาศรายชื่อทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสไปประชุมกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟในซาอุดีอาระเบีย ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา-รัสเซีย ก็โทรศัพท์หารือกัน โดยระบุว่าคุยกันทั้งเรื่องสถานการณ์ในยูเครน และการหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ . ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้ . ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ . ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย . ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง . ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ . ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ . รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น” . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน . ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป . ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกีไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง . การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกีได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน . เซเลนสกียังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม . ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน . นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกีว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต . กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต หรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015540 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1228 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยุโรปพร้อมสนับสนุนยูเครน โดยไม่สนว่าสหรัฐจะมีส่วนร่วมต่อไปหรือไม่!

    ภาพวิดีโอ "Ulf Kristersson" นายกรัฐมนตรีสวีเดน กล่าวระหว่างการเข้าพบเซเลนสกีว่า สวีเดนพร้อมให้การสนับสนุนยูเครนเป็นลำดับแรกในนโยบายต่างประเทศของตน และจะสนับสนุนความช่วยเหลือด้านการป้องกันประเทศแก่ยูเครนอย่างต่อเนื่อง และจะร่วมมือกับ "พันธมิตรยุโรป" กดดันรัสเซียด้วยมาตรการคว่ำบาตรต่อไป ปูตินจะต้องพ่ายแพ้ต่อยุโรปที่มีความแข็งแกร่งกว่า!

    ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศลิทัวเนีย ประกาศว่า พร้อมส่งกองกำลังเข้าสู่ยูเครนทันทีเช่นกัน หากยูเครนร้องขอ

    สำหรับฝรั่งเศสจะเรียกประชุมผู้นำยุโรปในวันจันทร์เพื่อหารือเกี่ยวกับความมั่นคงของยูเครน

    ยุโรปพร้อมสนับสนุนยูเครน โดยไม่สนว่าสหรัฐจะมีส่วนร่วมต่อไปหรือไม่! ภาพวิดีโอ "Ulf Kristersson" นายกรัฐมนตรีสวีเดน กล่าวระหว่างการเข้าพบเซเลนสกีว่า สวีเดนพร้อมให้การสนับสนุนยูเครนเป็นลำดับแรกในนโยบายต่างประเทศของตน และจะสนับสนุนความช่วยเหลือด้านการป้องกันประเทศแก่ยูเครนอย่างต่อเนื่อง และจะร่วมมือกับ "พันธมิตรยุโรป" กดดันรัสเซียด้วยมาตรการคว่ำบาตรต่อไป ปูตินจะต้องพ่ายแพ้ต่อยุโรปที่มีความแข็งแกร่งกว่า! ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศลิทัวเนีย ประกาศว่า พร้อมส่งกองกำลังเข้าสู่ยูเครนทันทีเช่นกัน หากยูเครนร้องขอ สำหรับฝรั่งเศสจะเรียกประชุมผู้นำยุโรปในวันจันทร์เพื่อหารือเกี่ยวกับความมั่นคงของยูเครน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 222 มุมมอง 14 0 รีวิว
  • ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฉุกเฉินเกี่ยวกับยูเครน หลังจากยุโรปถูกกีดกันจากสหรัฐในการเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาสันติภาพ

    ฝรั่งเศสจะเรียกประชุมผู้นำยุโรปในวันจันทร์เพื่อหารือเกี่ยวกับความมั่นคงของยูเครน หลังจากที่ทีมของทรัมป์ตัดยุโรปออกจากการเจรจากับรัสเซีย

    การประชุมดังกล่าว ซึ่งจะมีอังกฤษ เยอรมนี โปแลนด์ และเจ้าหน้าที่นาโตเข้าร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปบทบาทของยุโรปในการช่วยเหลือเคียฟและรักษาความปลอดภัยของยุโรปตะวันตก

    หลายปีที่ผ่านมา ประเทศที่เป็นผู้นำยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ พยายามมาตลอดในการออกจากอิทธิพลของสหรัฐ มาจับตาดูว่าครั้งนี้พวกเขาจะสามารถดำเนินการอย่างจริงจังได้หรือไม่
    ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฉุกเฉินเกี่ยวกับยูเครน หลังจากยุโรปถูกกีดกันจากสหรัฐในการเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาสันติภาพ ฝรั่งเศสจะเรียกประชุมผู้นำยุโรปในวันจันทร์เพื่อหารือเกี่ยวกับความมั่นคงของยูเครน หลังจากที่ทีมของทรัมป์ตัดยุโรปออกจากการเจรจากับรัสเซีย การประชุมดังกล่าว ซึ่งจะมีอังกฤษ เยอรมนี โปแลนด์ และเจ้าหน้าที่นาโตเข้าร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปบทบาทของยุโรปในการช่วยเหลือเคียฟและรักษาความปลอดภัยของยุโรปตะวันตก หลายปีที่ผ่านมา ประเทศที่เป็นผู้นำยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ พยายามมาตลอดในการออกจากอิทธิพลของสหรัฐ มาจับตาดูว่าครั้งนี้พวกเขาจะสามารถดำเนินการอย่างจริงจังได้หรือไม่
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 214 มุมมอง 0 รีวิว
  • อังกฤษและฝรั่งเศสกำลังร่วมกับประเทศยุโรปอื่นๆ กำลังวางแผนร่วมมือกันส่งทหารเข้าไปในยูเครนหลังสงครามสิ้นสุดลง
    - AP รายงาน
    อังกฤษและฝรั่งเศสกำลังร่วมกับประเทศยุโรปอื่นๆ กำลังวางแผนร่วมมือกันส่งทหารเข้าไปในยูเครนหลังสงครามสิ้นสุดลง - AP รายงาน
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 212 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหว

    🗣️ นับตั้งแต่ทรัมป์หาเสียงเลือกตั้ง โดยขายนโยบายตั้งกำแพงภาษี ต่อคู่ค้าของสหรัฐฯ

    เศรษฐกิจทั่วโลกก็ต้องเตรียมใจอยู่แล้ว

    แต่ข้อมูลล่าสุด แนวคิดของทรัมป์ จะดันเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ใกล้ริมปากเหวมากขึ้น

    รูป 1 ทรัมป์เพิ่งประกาศนโยบายเพิ่มเติม จะขึ้นกำแพงภาษี กับประเทศที่ค้าขายกับสหรัฐทั่วโลก

    โดยไม่ใช่คำนึงแต่เฉพาะว่า ประเทศนั้นกำหนดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าสหรัฐเท่าใด

    🧶 แต่จะขยายไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ด้วย

    ทรัมป์ทึกทักเอาว่า กรณีประเทศใดนำเข้าสินค้าสหรัฐ ถ้าราคาที่นำไปขายภายในประเทศนั้นมี VAT

    เขาถือเป็นการกีดกันอย่างหนึ่ง

    ตรงนี้แหวกกฎเศรษฐศาสตร์ เพราะ VAT เป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคภายในประเทศ

    และปกติ จะเก็บ VAT ในอัตราเดียวสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน ไม่ว่าผลิตในประเทศนั้น หรือนำเข้า

    🪢 VAT จึงเป็นนโยบายภาษีเฉพาะ domestic เน้นเก็บจากยอดบริโภค (ขารายจ่าย) แตกต่างจากภาษีเงินได้ ที่เก็บจากขารายได้

    กรณี VAT คือ ใครจ่ายบริโภคมาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่ามีรายได้หรือไม่

    กรณีภาษีเงินได้ คือ ใครรับรายได้มาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่าเอารายได้ไปใช้จ่ายหรือไม่

    ภาษีทั้งสองชนิด ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การนำเข้า ไม่ใช่เพื่อปกป้องการผลิตภายในประเทศ

    👗 การที่ทรัมป์จะขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ โดยเอา VAT ไปรวมด้วย จึงผิดหลักเศรษฐศาสตร์

    แต่ดูเหมือนไม่มีใครทัดทานทรัมป์

    รูป 2 แสดงอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐ ที่กำลังศึกษา และมีกำหนดจะประกาศต้นเดือน เม.ย.

    ซ้ายมือ ไม่คำนึงถึง VAT ขวามือ คำนึง

    น่าตกใจ ไทยอาจจะโดนถึงระดับ 5% อันดับที่ 23

    👙 รูป 3 นักวิเคราะห์ลองหักตัวเลขภาษีการค้าภายในสหรัฐออก อัตราลดลงบ้าง

    ที่น่ากลัวมากคือ กลุ่มยุโรป เพราะอัตรา VAT สูงมหาศาล หลายประเทศทะลุระดับ 20%

    ปริมาณการค้าโลก จะถูกกระทบอย่างกว้างขวางไม่น่าเชื่อ

    รูป 4 นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังสั่งให้ทีมงานศึกษาเพื่อเก็บภาษีตอบโต้

    จากการที่ฝรั่งเศสและอิตาลี เก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย

    👘 เขาอ้างแนวคิดวิตถารว่า รัฐบาลสหรัฐเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์เก็บภาษีจากบริษัทสหรัฐ

    ทั้งที่ ถ้าหากบริษัทโซเชียลมีเดียสหรัฐ ได้รายได้จากการทำธุรกิจในประเทศหนึ่ง เช่น Facebook ได้ค่าโฆษณา

    ด้วยหลักการปกติ ประเทศที่เป็นผู้จ่ายค่าโฆษณา ย่อมมีสิทธิ์ที่จะเก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย

    รูป5 กำแพงภาษีสหรัฐ จะกระทบส่งออกของไทยอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐเป็นตลาด 17% ของส่งออกทั้งหมด

    🩲 รูป 6-7 ไทยส่งออกไปสหรัฐ สูงสุดเป็นอันดับที่ 1 แต่ละปี 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เกินดุลอยู่ 3.5 หมื่นล้านดอลล่าร์

    แนวคิดของทรัมป์ นอกจากจะดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหวแล้ว ยังก่อความเสี่ยงต่อการเมืองโลกอีกด้วย

    รูป 8 แสดงแนวโน้มการค้าของโลกย้อนหลัง 200 ปี จะเห็นได้ว่า มีช่วงที่การค้าลดต่ำกว่า trend

    เส้นสีแดงสองเส้น แสดงห้วงเวลาสงครามโลกทั้งสองครั้ง

    🩴 นักประวัติศาสตร์หลายคนลงความเห็นว่า ปัจจัยหลักที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สองอย่างชัดเจน

    คือประเทศสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีสองครั้ง เส้นสีดำ

    ซึ่งนำไปสู่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และก่อความตึงเครียดทางการเมือง

    รูป 9-10 ปัจจัยสำคัญหนึ่ง ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็เกิดจากสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีเช่นเดียวกัน

    ที่สำคัญก็คือ มีการผสมโรงด้วย วิกฤติในตลาดการเงิน ปี 1907 ไปถึงปี 1913 เริ่มต้น WW1 พอดี

    🧐 ขณะนี้ สภาวะตลาดทุนตลาดเงิน ทั้งในสหรัฐ ยุโรป มีความเสี่ยงฟองสบู่ใกล้แตกเต็มที

    ถ้าเกิดวิกฤตในปีนี้ ดังที่ผมคาดไว้

    ก็จะต้องจับตาให้ดี เงื่อนไขที่นำไปสู่สงครามโลกในอดีต จะกลับมาอีกหรือไม่

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568

    นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ
    ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    ดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหว 🗣️ นับตั้งแต่ทรัมป์หาเสียงเลือกตั้ง โดยขายนโยบายตั้งกำแพงภาษี ต่อคู่ค้าของสหรัฐฯ เศรษฐกิจทั่วโลกก็ต้องเตรียมใจอยู่แล้ว แต่ข้อมูลล่าสุด แนวคิดของทรัมป์ จะดันเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ใกล้ริมปากเหวมากขึ้น รูป 1 ทรัมป์เพิ่งประกาศนโยบายเพิ่มเติม จะขึ้นกำแพงภาษี กับประเทศที่ค้าขายกับสหรัฐทั่วโลก โดยไม่ใช่คำนึงแต่เฉพาะว่า ประเทศนั้นกำหนดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าสหรัฐเท่าใด 🧶 แต่จะขยายไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ด้วย ทรัมป์ทึกทักเอาว่า กรณีประเทศใดนำเข้าสินค้าสหรัฐ ถ้าราคาที่นำไปขายภายในประเทศนั้นมี VAT เขาถือเป็นการกีดกันอย่างหนึ่ง ตรงนี้แหวกกฎเศรษฐศาสตร์ เพราะ VAT เป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคภายในประเทศ และปกติ จะเก็บ VAT ในอัตราเดียวสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน ไม่ว่าผลิตในประเทศนั้น หรือนำเข้า 🪢 VAT จึงเป็นนโยบายภาษีเฉพาะ domestic เน้นเก็บจากยอดบริโภค (ขารายจ่าย) แตกต่างจากภาษีเงินได้ ที่เก็บจากขารายได้ กรณี VAT คือ ใครจ่ายบริโภคมาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่ามีรายได้หรือไม่ กรณีภาษีเงินได้ คือ ใครรับรายได้มาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่าเอารายได้ไปใช้จ่ายหรือไม่ ภาษีทั้งสองชนิด ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การนำเข้า ไม่ใช่เพื่อปกป้องการผลิตภายในประเทศ 👗 การที่ทรัมป์จะขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ โดยเอา VAT ไปรวมด้วย จึงผิดหลักเศรษฐศาสตร์ แต่ดูเหมือนไม่มีใครทัดทานทรัมป์ รูป 2 แสดงอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐ ที่กำลังศึกษา และมีกำหนดจะประกาศต้นเดือน เม.ย. ซ้ายมือ ไม่คำนึงถึง VAT ขวามือ คำนึง น่าตกใจ ไทยอาจจะโดนถึงระดับ 5% อันดับที่ 23 👙 รูป 3 นักวิเคราะห์ลองหักตัวเลขภาษีการค้าภายในสหรัฐออก อัตราลดลงบ้าง ที่น่ากลัวมากคือ กลุ่มยุโรป เพราะอัตรา VAT สูงมหาศาล หลายประเทศทะลุระดับ 20% ปริมาณการค้าโลก จะถูกกระทบอย่างกว้างขวางไม่น่าเชื่อ รูป 4 นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังสั่งให้ทีมงานศึกษาเพื่อเก็บภาษีตอบโต้ จากการที่ฝรั่งเศสและอิตาลี เก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย 👘 เขาอ้างแนวคิดวิตถารว่า รัฐบาลสหรัฐเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์เก็บภาษีจากบริษัทสหรัฐ ทั้งที่ ถ้าหากบริษัทโซเชียลมีเดียสหรัฐ ได้รายได้จากการทำธุรกิจในประเทศหนึ่ง เช่น Facebook ได้ค่าโฆษณา ด้วยหลักการปกติ ประเทศที่เป็นผู้จ่ายค่าโฆษณา ย่อมมีสิทธิ์ที่จะเก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย รูป5 กำแพงภาษีสหรัฐ จะกระทบส่งออกของไทยอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐเป็นตลาด 17% ของส่งออกทั้งหมด 🩲 รูป 6-7 ไทยส่งออกไปสหรัฐ สูงสุดเป็นอันดับที่ 1 แต่ละปี 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เกินดุลอยู่ 3.5 หมื่นล้านดอลล่าร์ แนวคิดของทรัมป์ นอกจากจะดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหวแล้ว ยังก่อความเสี่ยงต่อการเมืองโลกอีกด้วย รูป 8 แสดงแนวโน้มการค้าของโลกย้อนหลัง 200 ปี จะเห็นได้ว่า มีช่วงที่การค้าลดต่ำกว่า trend เส้นสีแดงสองเส้น แสดงห้วงเวลาสงครามโลกทั้งสองครั้ง 🩴 นักประวัติศาสตร์หลายคนลงความเห็นว่า ปัจจัยหลักที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สองอย่างชัดเจน คือประเทศสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีสองครั้ง เส้นสีดำ ซึ่งนำไปสู่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และก่อความตึงเครียดทางการเมือง รูป 9-10 ปัจจัยสำคัญหนึ่ง ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็เกิดจากสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีเช่นเดียวกัน ที่สำคัญก็คือ มีการผสมโรงด้วย วิกฤติในตลาดการเงิน ปี 1907 ไปถึงปี 1913 เริ่มต้น WW1 พอดี 🧐 ขณะนี้ สภาวะตลาดทุนตลาดเงิน ทั้งในสหรัฐ ยุโรป มีความเสี่ยงฟองสบู่ใกล้แตกเต็มที ถ้าเกิดวิกฤตในปีนี้ ดังที่ผมคาดไว้ ก็จะต้องจับตาให้ดี เงื่อนไขที่นำไปสู่สงครามโลกในอดีต จะกลับมาอีกหรือไม่ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 247 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์อยากให้รัสเซียกลับมาเข้าร่วมกลุ่ม G7 อีกครั้ง

    "ผมอยากให้พวกเขากลับมา ผมคิดว่าการไล่พวกเขาออกไปเป็นความผิดพลาด"
    "มันไม่ใช่คำถามว่าชอบหรือไม่ชอบรัสเซีย แต่มันคือ G8"
    "พวกเขาควรนั่งร่วมโต๊ะกัน ผมคิดว่าปูตินคงอยากกลับมา" ทรัมป์กล่าว
    .
    ข้อมูลเพิ่มเติม:
    - ทรัมป์พยายามดึงรัสเซียเข้าร่วมกลุ่ม G8 อีกครั้งตั้งแต่สมัยแรกของเขา

    - กลุ่ม G7 คือ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2518 โดยมีสมาชิก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และแคนาดา แต่ในฉากหลัง เป็นความพยายามรวมกลุ่มของมหาอำนาจด้านประชาธิปไตยของโลกตะวันตก เพื่อมีอำนาจต่อเศรษฐกิจโลก

    - รัสเซียเข้าร่วมกลุ่ม G7 อย่างเป็นทางการในปี 1998 ส่งผลให้เกิดเป็นกลุ่มประเทศ G8 การที่กลุ่ม G7 เชิญรัสเซียเข้าร่วม เป็นการตัดสินใจจากเหตุผลทางการเมือง เนื่องจากในขณะนั้นรัสเซียยังไม่ใช่ประเทศมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ แต่เพื่อดึงรัสเซียให้เข้าสู่ระเบียบโลกตามแบบตะวันตก เนื่องจากขณะนั้นรัสเซียแสดงท่าทีสนับสนุนสหรัฐอเมริกาและโลกตะวันตกอย่างมาก ต่อมาการเป็นสมาชิกของรัสเซียถูกเมิน เพราะรัสเซียเริ่มต่อต้านระเบียบโลกตะวันตกรุนแรงขึ้น จนในที่สุดก็ถูกขับออกจาก G7 ในปี 2014 จากเหตุการณ์ผนวกดินแดนไครเมียของยูเครนในปี 2557 (2014) ส่งผลให้เหลือเพียง G7 ในปัจจุบัน

    - จีนไม่เคยได้รับการพิจารณาให้เป็นส่วนหนึ่งของ G7 เพราะจีนต่อต้านโดยตรงกับระเบียบโลกตามแนวคิดพื้นฐานของสหรัฐอเมริกาและตะวันตก ซึ่งในส่วนลึกแล้วเป็นเหตุผลเดียวกับที่รัสเซียถูกขับออก เหตุการณ์ไครเมียเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อความชอบธรรม
    ทรัมป์อยากให้รัสเซียกลับมาเข้าร่วมกลุ่ม G7 อีกครั้ง "ผมอยากให้พวกเขากลับมา ผมคิดว่าการไล่พวกเขาออกไปเป็นความผิดพลาด" "มันไม่ใช่คำถามว่าชอบหรือไม่ชอบรัสเซีย แต่มันคือ G8" "พวกเขาควรนั่งร่วมโต๊ะกัน ผมคิดว่าปูตินคงอยากกลับมา" ทรัมป์กล่าว . ข้อมูลเพิ่มเติม: - ทรัมป์พยายามดึงรัสเซียเข้าร่วมกลุ่ม G8 อีกครั้งตั้งแต่สมัยแรกของเขา - กลุ่ม G7 คือ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2518 โดยมีสมาชิก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และแคนาดา แต่ในฉากหลัง เป็นความพยายามรวมกลุ่มของมหาอำนาจด้านประชาธิปไตยของโลกตะวันตก เพื่อมีอำนาจต่อเศรษฐกิจโลก - รัสเซียเข้าร่วมกลุ่ม G7 อย่างเป็นทางการในปี 1998 ส่งผลให้เกิดเป็นกลุ่มประเทศ G8 การที่กลุ่ม G7 เชิญรัสเซียเข้าร่วม เป็นการตัดสินใจจากเหตุผลทางการเมือง เนื่องจากในขณะนั้นรัสเซียยังไม่ใช่ประเทศมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ แต่เพื่อดึงรัสเซียให้เข้าสู่ระเบียบโลกตามแบบตะวันตก เนื่องจากขณะนั้นรัสเซียแสดงท่าทีสนับสนุนสหรัฐอเมริกาและโลกตะวันตกอย่างมาก ต่อมาการเป็นสมาชิกของรัสเซียถูกเมิน เพราะรัสเซียเริ่มต่อต้านระเบียบโลกตะวันตกรุนแรงขึ้น จนในที่สุดก็ถูกขับออกจาก G7 ในปี 2014 จากเหตุการณ์ผนวกดินแดนไครเมียของยูเครนในปี 2557 (2014) ส่งผลให้เหลือเพียง G7 ในปัจจุบัน - จีนไม่เคยได้รับการพิจารณาให้เป็นส่วนหนึ่งของ G7 เพราะจีนต่อต้านโดยตรงกับระเบียบโลกตามแนวคิดพื้นฐานของสหรัฐอเมริกาและตะวันตก ซึ่งในส่วนลึกแล้วเป็นเหตุผลเดียวกับที่รัสเซียถูกขับออก เหตุการณ์ไครเมียเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อความชอบธรรม
    Like
    Yay
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 294 มุมมอง 0 รีวิว
  • 122 ปี ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง: ฝ่าอิทธิพลจักรวรรดินิยม รักษาเอกราช ทวงคืนอธิปไตยจันทบุรี

    📅 ย้อนกลับไปเมื่อ 122 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ถือเป็นหมุดหมายสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 เมื่อไทยและฝรั่งเศส 🇫🇷 ลงนามในสัญญาปักปันเขตแดน ระหว่างไทย-กัมพูชา และเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นดินแดน ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของฝรั่งเศสในขณะนั้น

    ภายใต้ข้อตกลงนี้ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ที่อยู่ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับการถอนทหารฝรั่งเศส ออกจากจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถูกยึดครองมา ตั้งแต่เหตุการณ์ วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 หรือสงครามฝรั่งเศส-สยาม (พ.ศ. 2436)

    อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของแรงกดดัน จากจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไทยต้องเผชิญกับ การบีบบังคับทางการเมืองเพิ่มเติม จนต้องยอมเสียเมืองตราด และหมู่เกาะใกล้เคียง เพื่อแลกกับการได้จันทบุรีคืน 📌

    🌍 กระแสล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส ในอินโดจีน 🔹
    ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลอย่างรวดเร็ว ในภูมิภาคอินโดจีน โดยสามารถยึดครองเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ได้สำเร็จ ทำให้ไทยกลายเป็นรัฐกันชน ที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากฝรั่งเศส ทางด้านตะวันออก

    💡 ฝรั่งเศสต้องการควบคุมดินแดน แถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมด เพื่อสร้างเส้นทางการค้าจากจีน ลงมาสู่อินโดจีนของตน ในขณะที่ไทย ต้องพยายามรักษาเอกราช และดินแดนของตนไว้

    🇹🇭 ไทยภายใต้รัชกาลที่ 5 พยายามรักษาเอกราช
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงภัยคุกคาม จากจักรวรรดินิยม และพยายามใช้นโยบายการทูตเชิงรุก เพื่อรักษาความเป็นอิสระของไทย ทรงดำเนินแผนการ ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย เพื่อลดข้ออ้างของมหาอำนาจตะวันตก ในการเข้ามาแทรกแซง

    อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสใช้ข้ออ้างเรื่องอธิปไตย เหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นเหตุผลในการเรียกร้องดินแดนเพิ่มเติมจากไทย

    🔹 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 จุดเริ่มต้นของการเสียเปรียบทางดินแดน
    📍 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศส ใช้กำลังทหารเรือ บุกรุกปากแม่น้ำเจ้าพระยา และปะทะกับทหารไทย จนเป็นเหตุให้รัฐบาลไทย ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญา ที่เสียเปรียบ

    📜 ข้อกำหนดสำคัญของสนธิสัญญา ร.ศ. 112
    ✔ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด รวมถึงลาว ให้แก่ฝรั่งเศส
    ✔ ฝรั่งเศสเข้ายึดจังหวัดจันทบุรี เป็นหลักประกันบังคับให้ไทย ปฏิบัติตามสัญญา
    ✔ ไทยต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมหาศาล ให้ฝรั่งเศส

    🛑 นี่เป็นครั้งแรกที่ไทย ต้องเสียดินแดนจำนวนมาก ให้แก่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส และทำให้สถานการณ์ของไทยในภูมิภาคนี้ ล่อแหลมยิ่งขึ้น

    🔹 สนธิสัญญา พ.ศ. 2446 การทวงคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วยดินแดนเพิ่ม
    หลังจากไทย ถูกฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรี ไว้นานถึง 10 ปี รัฐบาลไทยพยายามเจรจา ขอคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วย การยอมมอบดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ที่ตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส

    📌 สนธิสัญญานี้ ลงนามเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ทำให้ไทยได้รับจันทบุรีคืน แต่ฝรั่งเศสกลับยื่นเงื่อนไข ให้ไทยต้องยกเมืองตราด และหมู่เกาะอื่นๆ แทน

    🌏 ผลลัพธ์ของสนธิสัญญานี้
    ✅ ไทยได้จันทบุรีคืนจากฝรั่งเศส
    ❌ ไทยเสียเมืองตราด และหมู่เกาะให้ฝรั่งเศส
    ✅ ไทยยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ต้องจำยอมต่ออำนาจ ของมหาอำนาจตะวันตก

    🔹 ไทยทวงคืนเมืองตราดสำเร็จในปี พ.ศ. 2450
    4 ปี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ไทยสามารถทวงคืนเมืองตราด กลับมาได้สำเร็จ โดยแลกกับดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ที่อยู่ทางฝั่งกัมพูชา ให้ฝรั่งเศสแทน

    นี่เป็นอีกหนึ่งครั้ง ที่ไทยต้องเสียสละดินแดน เพื่อให้สามารถปกป้อง เอกราชของตนเองเอาไว้

    🧐 จากเหตุการณ์ ปักปันเขตแดนในปี พ.ศ. 2446 ไทยได้เรียนรู้ว่า
    ✔ อำนาจทางการทูต มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไทยสามารถใช้การเจรจา เพื่อลดความเสียหายได้ แม้ว่าจะต้องยอมเสียดินแดนบางส่วน
    ✔ จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไม่เคยหยุดกดดันไทย ต้องอาศัยนโยบายเชิงรุก เพื่อรักษาเอกราช
    ✔ ไทยต้องพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เพื่อป้องกันการถูกรุกรานในอนาคต

    🎯 แม้ว่าไทยจะต้องยอม สูญเสียดินแดนบางส่วน แต่ก็สามารถรักษา ความเป็นเอกราชเอาไว้ได้ ซึ่งแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ตกเป็นอาณานิคม ของจักรวรรดินิยมในช่วงเวลานั้น

    🔹 122 ปี แห่งความเปลี่ยนแปลงทางดินแดน และอธิปไตยของไทย
    🌏 ผ่านไป 122 ปี นับตั้งแต่สนธิสัญญา ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง เหตุการณ์นี้ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของไทย 🇹🇭

    📌 ถึงแม้ไทยจะเสียดินแดนไปบางส่วน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไทยยังคงรักษาเอกราชไว้ได้ ไม่ต้องตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน 💬

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 131208 ก.พ. 2568

    #ประวัติศาสตร์ไทย #ไทยฝรั่งเศส #อธิปไตย #วิกฤติการณ์รศ112 #เอกราชไทย
    122 ปี ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง: ฝ่าอิทธิพลจักรวรรดินิยม รักษาเอกราช ทวงคืนอธิปไตยจันทบุรี 📅 ย้อนกลับไปเมื่อ 122 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ถือเป็นหมุดหมายสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 เมื่อไทยและฝรั่งเศส 🇫🇷 ลงนามในสัญญาปักปันเขตแดน ระหว่างไทย-กัมพูชา และเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นดินแดน ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของฝรั่งเศสในขณะนั้น ภายใต้ข้อตกลงนี้ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ที่อยู่ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับการถอนทหารฝรั่งเศส ออกจากจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถูกยึดครองมา ตั้งแต่เหตุการณ์ วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 หรือสงครามฝรั่งเศส-สยาม (พ.ศ. 2436) อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของแรงกดดัน จากจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไทยต้องเผชิญกับ การบีบบังคับทางการเมืองเพิ่มเติม จนต้องยอมเสียเมืองตราด และหมู่เกาะใกล้เคียง เพื่อแลกกับการได้จันทบุรีคืน 📌 🌍 กระแสล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส ในอินโดจีน 🔹 ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลอย่างรวดเร็ว ในภูมิภาคอินโดจีน โดยสามารถยึดครองเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ได้สำเร็จ ทำให้ไทยกลายเป็นรัฐกันชน ที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากฝรั่งเศส ทางด้านตะวันออก 💡 ฝรั่งเศสต้องการควบคุมดินแดน แถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมด เพื่อสร้างเส้นทางการค้าจากจีน ลงมาสู่อินโดจีนของตน ในขณะที่ไทย ต้องพยายามรักษาเอกราช และดินแดนของตนไว้ 🇹🇭 ไทยภายใต้รัชกาลที่ 5 พยายามรักษาเอกราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงภัยคุกคาม จากจักรวรรดินิยม และพยายามใช้นโยบายการทูตเชิงรุก เพื่อรักษาความเป็นอิสระของไทย ทรงดำเนินแผนการ ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย เพื่อลดข้ออ้างของมหาอำนาจตะวันตก ในการเข้ามาแทรกแซง อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสใช้ข้ออ้างเรื่องอธิปไตย เหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นเหตุผลในการเรียกร้องดินแดนเพิ่มเติมจากไทย 🔹 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 จุดเริ่มต้นของการเสียเปรียบทางดินแดน 📍 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศส ใช้กำลังทหารเรือ บุกรุกปากแม่น้ำเจ้าพระยา และปะทะกับทหารไทย จนเป็นเหตุให้รัฐบาลไทย ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญา ที่เสียเปรียบ 📜 ข้อกำหนดสำคัญของสนธิสัญญา ร.ศ. 112 ✔ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด รวมถึงลาว ให้แก่ฝรั่งเศส ✔ ฝรั่งเศสเข้ายึดจังหวัดจันทบุรี เป็นหลักประกันบังคับให้ไทย ปฏิบัติตามสัญญา ✔ ไทยต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมหาศาล ให้ฝรั่งเศส 🛑 นี่เป็นครั้งแรกที่ไทย ต้องเสียดินแดนจำนวนมาก ให้แก่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส และทำให้สถานการณ์ของไทยในภูมิภาคนี้ ล่อแหลมยิ่งขึ้น 🔹 สนธิสัญญา พ.ศ. 2446 การทวงคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วยดินแดนเพิ่ม หลังจากไทย ถูกฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรี ไว้นานถึง 10 ปี รัฐบาลไทยพยายามเจรจา ขอคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วย การยอมมอบดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ที่ตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส 📌 สนธิสัญญานี้ ลงนามเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ทำให้ไทยได้รับจันทบุรีคืน แต่ฝรั่งเศสกลับยื่นเงื่อนไข ให้ไทยต้องยกเมืองตราด และหมู่เกาะอื่นๆ แทน 🌏 ผลลัพธ์ของสนธิสัญญานี้ ✅ ไทยได้จันทบุรีคืนจากฝรั่งเศส ❌ ไทยเสียเมืองตราด และหมู่เกาะให้ฝรั่งเศส ✅ ไทยยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ต้องจำยอมต่ออำนาจ ของมหาอำนาจตะวันตก 🔹 ไทยทวงคืนเมืองตราดสำเร็จในปี พ.ศ. 2450 4 ปี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ไทยสามารถทวงคืนเมืองตราด กลับมาได้สำเร็จ โดยแลกกับดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ที่อยู่ทางฝั่งกัมพูชา ให้ฝรั่งเศสแทน นี่เป็นอีกหนึ่งครั้ง ที่ไทยต้องเสียสละดินแดน เพื่อให้สามารถปกป้อง เอกราชของตนเองเอาไว้ 🧐 จากเหตุการณ์ ปักปันเขตแดนในปี พ.ศ. 2446 ไทยได้เรียนรู้ว่า ✔ อำนาจทางการทูต มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไทยสามารถใช้การเจรจา เพื่อลดความเสียหายได้ แม้ว่าจะต้องยอมเสียดินแดนบางส่วน ✔ จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไม่เคยหยุดกดดันไทย ต้องอาศัยนโยบายเชิงรุก เพื่อรักษาเอกราช ✔ ไทยต้องพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เพื่อป้องกันการถูกรุกรานในอนาคต 🎯 แม้ว่าไทยจะต้องยอม สูญเสียดินแดนบางส่วน แต่ก็สามารถรักษา ความเป็นเอกราชเอาไว้ได้ ซึ่งแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ตกเป็นอาณานิคม ของจักรวรรดินิยมในช่วงเวลานั้น 🔹 122 ปี แห่งความเปลี่ยนแปลงทางดินแดน และอธิปไตยของไทย 🌏 ผ่านไป 122 ปี นับตั้งแต่สนธิสัญญา ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง เหตุการณ์นี้ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของไทย 🇹🇭 📌 ถึงแม้ไทยจะเสียดินแดนไปบางส่วน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไทยยังคงรักษาเอกราชไว้ได้ ไม่ต้องตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน 💬 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 131208 ก.พ. 2568 #ประวัติศาสตร์ไทย #ไทยฝรั่งเศส #อธิปไตย #วิกฤติการณ์รศ112 #เอกราชไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 301 มุมมอง 0 รีวิว
  • เขย่าวงการรถยนต์ไฟฟ้าจนร้อนไปทั่วเมื่อหุ้น BYD พุ่งทะยานวันพุธ (12) หลังค่ายรถอีวีชื่อดังจีน BYD ประกาศจับมือบริษัท AI จีนชื่อดัง DeepSeek ให้เอาสมองกล AI ใส่ในรถ BYD ส่วนผู้ก่อตั้ง DeepSeek เหลียง เหวินเฟิง (Liang Wenfeng) ไม่เดินทางร่วมการประชุม AI Summit ที่กรุงปารีสซึ่งมีการประชุม 2 วันถึงแม้จะได้รับเชิญ หนังสือพิมพ์เซาท์มอร์นิ่งไชนาโพสต์ชี้ ไม่จำเป็นเพราะจีนได้ปักธงเป็นผู้ชนะสมรภูมิรบปัญญาประดิษฐ์ระดับโลกไปแล้วเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สหรัฐฯ กำลังวุ่นวายประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ สัปดาห์ที่แล้วสั่งระงับชั่วคราวโครงการสถานีชาร์เจอร์ของรถอีวีทั่วสหรัฐฯ 5 พันล้านดอลลาร์ระหว่าง อีลอน มัสก์ เจ้าของเทสลากำลังยุ่งกับการยกเลิกหน่วยงานรัฐไล่เจ้าหน้าที่รัฐออก
    .
    ยูโรนิวส์รายงานวันพุธ (12 ก.พ.) ว่า หุ้น BYD พุ่งทะยานสูงสุดวันพุธ (12) หลังค่าย BYD ยักษ์ใหญ่อีวีของจีนประกาศจับมือร่วมกันกับบริษัท DeepSeek เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จีนเมื่อต้นสัปดาห์นี้
    .
    BYD คู่แข่งสำคัญของค่ายเทสลาจากสหรัฐฯ แถลงว่า จะติดตั้งระบบขับขี่อัตโนมัติในรถทุกรุ่นของตัวเอง ตั้งแต่รุ่นที่ราคาต่ำสู่รุ่นระดับเอ็กซ์คลูซีฟ
    .
    ผู้ก่อตั้ง BYD Wang Chuanfu กล่าวในวันจันทร์ (10) ว่า บริษัท BYD ตั้งใจจะทำให้การขับขี่อัตโนมัติมีความหรูหราน้อยลงและฟีเจอร์ความปลอดภัยมากขึ้น
    .
    เทคโนโลยีใหม่ที่ว่านี้ถูกเรียกว่า “ดวงตาแห่งพระเจ้า” (God's Eye) จะได้รับการติดตั้งในรถที่มีราคาต่ำสุดตั้งแต่ 69,800 หยวน หรือ ราว 325,712.21 บาท อ้างอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนประจำวันพุธ (12)
    .
    BYD เปิดเผยว่า ทางบริษัทจะติดตั้งซอฟต์แวร์ AI ของ DeepSeek เข้าไปในบางรุ่นของระบบการขับขี่ของตัวเอง
    .
    ผู้เชี่ยวชาญต่างออกมาชี้ว่า DeepSeek จะทำให้ระบบเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติของ BYD มีความชาญฉลาดมากขึ้นทางด้านระบบเสียงสั่งการ และเพิ่มความสามารถการขับขี่อัตโนมัติ
    .
    การประกาศจับมือร่วมกันของ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ชื่อดังจากแดนมังกรทำเอาเทสลาของอีลอน มัสก์ตกที่นั่งลำบาก สื่อ city.am ของอังกฤษออกมาชี้ว่า ผลการประกาศจับมือร่วมกันระหว่าง BYD และ DeepSeek ส่งผลสะเทือนต่อหุ้นเทสลาในวันพุธ (12) ที่ตกลง 5 วันติดต่อกัน
    .
    เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่นักลงทุนต่างเริ่มวิตกถึงซีอีโอใหญ่ อีลอน มัสก์ ในการใช้เวลาของเขา แมตต์ บริตซแมน (Matt Britzman) จาก Hargreaves Lansdown
    .
    นอกเหนือจากที่เขาต้องวุ่นกับแพลตฟอร์ม X ที่ปรากฏการทวีตของมัสก์บนแพลตฟอร์มบ่อยครั้ง มัสก์ล่าสุดได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้นำสำนักงานประสิทธิภาพรัฐ DOGE และยังเปิดข้อเสนอ 97 พันล้านดอลลาร์เพื่อซื้อ OpenAI ของ แซม อัลต์แมน ทำให้วิตกว่า อีลอน จะไม่สนใจบริหาร Tesla อย่างมีประสิทธิภาพ
    .
    “แบรนด์ Tesla ตอนนี้พังแล้ว” รอส เกอร์เบอร์ (Ross Gerber) ซีอีโอบริหารประจำ Gerber Kawasaki แถลง
    .
    ขณะที่ผู้ก่อตั้ง DeepSeek เหลียง เหวินเฟิง (Liang Wenfeng) มีรายงานไม่บินเข้าร่วมการประชุม AI โลก 2 วันจัดขึ้นที่กรุงปารีส ถึงแม้จะถูกเชิญก็ตาม หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์รายงานวานนี้ (11) แสดงความเห็นว่า จากการที่จีนกลายเป็นแชมป์ด้าน AI ในระดับโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    .
    หนังสือฮ่องกงรายงานว่า แต่ทว่ามีปรากฏภาพซีอีโอบริษัท OpenAI ของสหรัฐฯ แซม อัลต์แมน เข้าร่วมงานในการประชุมนอกรอบในวันอังคาร (11)
    .
    งานซัมมิต AI โลกนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานุเอล มาครง อ้างอิงจากเดอะการ์เดียนวันจันทร์ (10) ได้ออกมาประกาศว่า “หากเป็นเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI แล้วขอให้เลือกยุโรปและฝรั่งเศส”
    .
    ฝรั่งเศสและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จับมือร่วมกันตั้งศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ AI 1 กิกะวัตต์ของบริษัท Mistral AI ที่ฝรั่งเศสมูลค่าถึง 50 พันล้านยูโร
    .
    ทั้งนี้ Mistral AI SAS เป็นสตาร์ทอัปด้านปัญญาประดิษฐ์จากฝรั่งเศส มีสำนักงานใหญ่ในกรุงปารีส มีความเชี่ยวชาญในโมเดลภาษาขนาดใหญ่แบบเปิดน้ำหนัก ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน 2023 โดยวิศวกรที่เคยทำงานโดย Google DeepMind และ Meta Platforms
    .
    ขณะเดียวกันในสหรัฐฯ ประเทศที่เป็นจุดเริ่มต้นทั้งรถไฟฟ้าและเทคโนโลยี AI เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานวันศุกร์ (7) เป็นที่น่าตกตะลึงเมื่อ รัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์ที่มี “อีลอน มัสก์” ทำงานร่วม ออกคำสั่งภายในวันพฤหัสบดี (6) ให้บรรดาผู้อำนวยการคมนาคมมลรัฐ และสำนักงานบริหารทางหลวงสหรัฐฯ FHWA
    .
    ห้ามมลรัฐต่างๆ ใช้เงินใดๆที่ส่งไปให้ภายใต้โครงการโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จเจอร์อีวี NEVI ของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ที่ต้องการขยายสถานีซูเปอร์ชาร์จเจอร์รถอีวีให้ครอบคลุมทั่วประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายโลกร้อนและสิ่งแวดล้อมของไบเดน
    .
    เดอะการ์เดียนชี้ว่า ปัจจุบันในสหรัฐฯ พบว่า 14 มลรัฐทั่วอเมริกามีสถานีชาร์จเจอร์ไม่ต่ำกว่า 1 แห่งเปิดบริการ และมาจนถึงพฤศจิกายนล่าสุด มีจุดชาร์จไฟสาธารณะร่วม 126 เปิดทั่วสถานีชาร์จเจอร์รัฐ NEVI 31 แห่งใน 9 รัฐ เพิ่มขึ้น 83% ในการเปิดนับตั้งแต่ไตรมาสที่แล้ว
    .
    ทรัมป์เคยออกมาประณามการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าของไบเดนว่าจะเป็นการนำความหายนะมาสู่อุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014306
    ..............
    Sondhi X
    เขย่าวงการรถยนต์ไฟฟ้าจนร้อนไปทั่วเมื่อหุ้น BYD พุ่งทะยานวันพุธ (12) หลังค่ายรถอีวีชื่อดังจีน BYD ประกาศจับมือบริษัท AI จีนชื่อดัง DeepSeek ให้เอาสมองกล AI ใส่ในรถ BYD ส่วนผู้ก่อตั้ง DeepSeek เหลียง เหวินเฟิง (Liang Wenfeng) ไม่เดินทางร่วมการประชุม AI Summit ที่กรุงปารีสซึ่งมีการประชุม 2 วันถึงแม้จะได้รับเชิญ หนังสือพิมพ์เซาท์มอร์นิ่งไชนาโพสต์ชี้ ไม่จำเป็นเพราะจีนได้ปักธงเป็นผู้ชนะสมรภูมิรบปัญญาประดิษฐ์ระดับโลกไปแล้วเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สหรัฐฯ กำลังวุ่นวายประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ สัปดาห์ที่แล้วสั่งระงับชั่วคราวโครงการสถานีชาร์เจอร์ของรถอีวีทั่วสหรัฐฯ 5 พันล้านดอลลาร์ระหว่าง อีลอน มัสก์ เจ้าของเทสลากำลังยุ่งกับการยกเลิกหน่วยงานรัฐไล่เจ้าหน้าที่รัฐออก . ยูโรนิวส์รายงานวันพุธ (12 ก.พ.) ว่า หุ้น BYD พุ่งทะยานสูงสุดวันพุธ (12) หลังค่าย BYD ยักษ์ใหญ่อีวีของจีนประกาศจับมือร่วมกันกับบริษัท DeepSeek เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จีนเมื่อต้นสัปดาห์นี้ . BYD คู่แข่งสำคัญของค่ายเทสลาจากสหรัฐฯ แถลงว่า จะติดตั้งระบบขับขี่อัตโนมัติในรถทุกรุ่นของตัวเอง ตั้งแต่รุ่นที่ราคาต่ำสู่รุ่นระดับเอ็กซ์คลูซีฟ . ผู้ก่อตั้ง BYD Wang Chuanfu กล่าวในวันจันทร์ (10) ว่า บริษัท BYD ตั้งใจจะทำให้การขับขี่อัตโนมัติมีความหรูหราน้อยลงและฟีเจอร์ความปลอดภัยมากขึ้น . เทคโนโลยีใหม่ที่ว่านี้ถูกเรียกว่า “ดวงตาแห่งพระเจ้า” (God's Eye) จะได้รับการติดตั้งในรถที่มีราคาต่ำสุดตั้งแต่ 69,800 หยวน หรือ ราว 325,712.21 บาท อ้างอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนประจำวันพุธ (12) . BYD เปิดเผยว่า ทางบริษัทจะติดตั้งซอฟต์แวร์ AI ของ DeepSeek เข้าไปในบางรุ่นของระบบการขับขี่ของตัวเอง . ผู้เชี่ยวชาญต่างออกมาชี้ว่า DeepSeek จะทำให้ระบบเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติของ BYD มีความชาญฉลาดมากขึ้นทางด้านระบบเสียงสั่งการ และเพิ่มความสามารถการขับขี่อัตโนมัติ . การประกาศจับมือร่วมกันของ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ชื่อดังจากแดนมังกรทำเอาเทสลาของอีลอน มัสก์ตกที่นั่งลำบาก สื่อ city.am ของอังกฤษออกมาชี้ว่า ผลการประกาศจับมือร่วมกันระหว่าง BYD และ DeepSeek ส่งผลสะเทือนต่อหุ้นเทสลาในวันพุธ (12) ที่ตกลง 5 วันติดต่อกัน . เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่นักลงทุนต่างเริ่มวิตกถึงซีอีโอใหญ่ อีลอน มัสก์ ในการใช้เวลาของเขา แมตต์ บริตซแมน (Matt Britzman) จาก Hargreaves Lansdown . นอกเหนือจากที่เขาต้องวุ่นกับแพลตฟอร์ม X ที่ปรากฏการทวีตของมัสก์บนแพลตฟอร์มบ่อยครั้ง มัสก์ล่าสุดได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้นำสำนักงานประสิทธิภาพรัฐ DOGE และยังเปิดข้อเสนอ 97 พันล้านดอลลาร์เพื่อซื้อ OpenAI ของ แซม อัลต์แมน ทำให้วิตกว่า อีลอน จะไม่สนใจบริหาร Tesla อย่างมีประสิทธิภาพ . “แบรนด์ Tesla ตอนนี้พังแล้ว” รอส เกอร์เบอร์ (Ross Gerber) ซีอีโอบริหารประจำ Gerber Kawasaki แถลง . ขณะที่ผู้ก่อตั้ง DeepSeek เหลียง เหวินเฟิง (Liang Wenfeng) มีรายงานไม่บินเข้าร่วมการประชุม AI โลก 2 วันจัดขึ้นที่กรุงปารีส ถึงแม้จะถูกเชิญก็ตาม หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์รายงานวานนี้ (11) แสดงความเห็นว่า จากการที่จีนกลายเป็นแชมป์ด้าน AI ในระดับโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว . หนังสือฮ่องกงรายงานว่า แต่ทว่ามีปรากฏภาพซีอีโอบริษัท OpenAI ของสหรัฐฯ แซม อัลต์แมน เข้าร่วมงานในการประชุมนอกรอบในวันอังคาร (11) . งานซัมมิต AI โลกนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานุเอล มาครง อ้างอิงจากเดอะการ์เดียนวันจันทร์ (10) ได้ออกมาประกาศว่า “หากเป็นเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI แล้วขอให้เลือกยุโรปและฝรั่งเศส” . ฝรั่งเศสและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จับมือร่วมกันตั้งศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ AI 1 กิกะวัตต์ของบริษัท Mistral AI ที่ฝรั่งเศสมูลค่าถึง 50 พันล้านยูโร . ทั้งนี้ Mistral AI SAS เป็นสตาร์ทอัปด้านปัญญาประดิษฐ์จากฝรั่งเศส มีสำนักงานใหญ่ในกรุงปารีส มีความเชี่ยวชาญในโมเดลภาษาขนาดใหญ่แบบเปิดน้ำหนัก ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน 2023 โดยวิศวกรที่เคยทำงานโดย Google DeepMind และ Meta Platforms . ขณะเดียวกันในสหรัฐฯ ประเทศที่เป็นจุดเริ่มต้นทั้งรถไฟฟ้าและเทคโนโลยี AI เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานวันศุกร์ (7) เป็นที่น่าตกตะลึงเมื่อ รัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์ที่มี “อีลอน มัสก์” ทำงานร่วม ออกคำสั่งภายในวันพฤหัสบดี (6) ให้บรรดาผู้อำนวยการคมนาคมมลรัฐ และสำนักงานบริหารทางหลวงสหรัฐฯ FHWA . ห้ามมลรัฐต่างๆ ใช้เงินใดๆที่ส่งไปให้ภายใต้โครงการโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จเจอร์อีวี NEVI ของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ที่ต้องการขยายสถานีซูเปอร์ชาร์จเจอร์รถอีวีให้ครอบคลุมทั่วประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายโลกร้อนและสิ่งแวดล้อมของไบเดน . เดอะการ์เดียนชี้ว่า ปัจจุบันในสหรัฐฯ พบว่า 14 มลรัฐทั่วอเมริกามีสถานีชาร์จเจอร์ไม่ต่ำกว่า 1 แห่งเปิดบริการ และมาจนถึงพฤศจิกายนล่าสุด มีจุดชาร์จไฟสาธารณะร่วม 126 เปิดทั่วสถานีชาร์จเจอร์รัฐ NEVI 31 แห่งใน 9 รัฐ เพิ่มขึ้น 83% ในการเปิดนับตั้งแต่ไตรมาสที่แล้ว . ทรัมป์เคยออกมาประณามการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าของไบเดนว่าจะเป็นการนำความหายนะมาสู่อุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014306 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Wow
    15
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2135 มุมมอง 0 รีวิว
  • อังกฤษประกาศมอบเงินช่วยเหลือทางทหาร 150 ล้านปอนด์แก่ยูเครน ซึ่งประกอบด้วยโดรนหลายพันลำ รถถังรบหลายสิบคัน ยานเกราะ และระบบป้องกันภัยทางอากาศ

    จอห์น ฮีลีย์ รัฐมนตรีกลาโหมของอังกฤษ ยืนยันในการประชุมสุดยอดยูเครนซึ่งมีรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมจากทั่วโลกมารวมตัวกันที่สำนักงานใหญ่นาโต้ กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของประเทศเบลเยียมในวันนี้ เช่น รัฐมนตรีกลาโหมยูเครน "รุสเต็ม อูเมรอฟ" / รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ "พีท เฮกเซธ" / รัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี "บอริส พิสตอริอุส" / รัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส "เซบาสเตียน เลอคอร์นู" และมาร์ก รุตเต้ เลขาธิการนาโต้
    อังกฤษประกาศมอบเงินช่วยเหลือทางทหาร 150 ล้านปอนด์แก่ยูเครน ซึ่งประกอบด้วยโดรนหลายพันลำ รถถังรบหลายสิบคัน ยานเกราะ และระบบป้องกันภัยทางอากาศ จอห์น ฮีลีย์ รัฐมนตรีกลาโหมของอังกฤษ ยืนยันในการประชุมสุดยอดยูเครนซึ่งมีรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมจากทั่วโลกมารวมตัวกันที่สำนักงานใหญ่นาโต้ กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของประเทศเบลเยียมในวันนี้ เช่น รัฐมนตรีกลาโหมยูเครน "รุสเต็ม อูเมรอฟ" / รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ "พีท เฮกเซธ" / รัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี "บอริส พิสตอริอุส" / รัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส "เซบาสเตียน เลอคอร์นู" และมาร์ก รุตเต้ เลขาธิการนาโต้
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 171 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron ได้กล่าวในงานประชุมสุดยอดปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ Grand Palais ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2025 เขาประกาศว่าฝรั่งเศสกำลังเข้าสู่การแข่งขันด้านปัญญาประดิษฐ์และเชิญชวนผู้เข้าร่วมงานให้เลือกยุโรปสำหรับความต้องการทางธุรกิจของพวกเขา

    จุดเด่นของฝรั่งเศสที่ Macron เน้นคือการใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดเพื่อตอบสนองการใช้พลังงานที่มากมายของ AI เขากล่าวว่า "ที่นี่ไม่มีความจำเป็นต้องขุดเจาะ เพียงแค่เสียบปลั๊ก"

    ปัจจุบันนี้ การใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและสะอาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในวงการเทคโนโลยี เพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดในฝรั่งเศสเป็นตัวอย่างที่ดีในการนำเทคโนโลยีและความยั่งยืนมาผสมผสานกัน

    สรุปได้ว่า ประธานาธิบดี Macron กำลังส่งเสริมให้ฝรั่งเศสเป็นผู้นำในด้าน AI ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดและเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเลือกยุโรปสำหรับธุรกิจของพวกเขา เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/11/macron-promotes-france039s-electric-powered-ai
    ประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron ได้กล่าวในงานประชุมสุดยอดปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ Grand Palais ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2025 เขาประกาศว่าฝรั่งเศสกำลังเข้าสู่การแข่งขันด้านปัญญาประดิษฐ์และเชิญชวนผู้เข้าร่วมงานให้เลือกยุโรปสำหรับความต้องการทางธุรกิจของพวกเขา จุดเด่นของฝรั่งเศสที่ Macron เน้นคือการใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดเพื่อตอบสนองการใช้พลังงานที่มากมายของ AI เขากล่าวว่า "ที่นี่ไม่มีความจำเป็นต้องขุดเจาะ เพียงแค่เสียบปลั๊ก" ปัจจุบันนี้ การใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและสะอาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในวงการเทคโนโลยี เพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดในฝรั่งเศสเป็นตัวอย่างที่ดีในการนำเทคโนโลยีและความยั่งยืนมาผสมผสานกัน สรุปได้ว่า ประธานาธิบดี Macron กำลังส่งเสริมให้ฝรั่งเศสเป็นผู้นำในด้าน AI ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดและเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเลือกยุโรปสำหรับธุรกิจของพวกเขา เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/11/macron-promotes-france039s-electric-powered-ai
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Macron promotes France's electric-powered AI
    PARIS (Reuters) - French President Emmanuel Macron declared on Monday that France was in the race for artificial intelligence and called on attendees at the AI Action Summit in Paris to choose Europe for their business needs.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 95 มุมมอง 0 รีวิว
  • รายงานข่าวจากMGR Chinaระบุว่าหลายคนงง! ทำไมจีนส่ง “นักรบหมาป่า” ประจำด่านยุโรป

    ข่าวจีนแต่งตั้งนายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศส วัย 60 ปี เป็น #ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรป ทำเอานักการทูตรู้สึกประหลาดใจไปตามๆ กัน เนื่องจากเป็นการแต่งตั้งในช่วงที่ #ความสัมพันธ์จีน-ยุโรปมาถึงจุดเปลี่ยน แต่ด้วยสไตล์บู๊มากกว่าบุ๋นของนายหลู เขาจึงไม่น่าจะใช่กับช่วงเวลาที่มีความละเอียดอ่อนเช่นนี้

    นายหลูขึ้นชื่อในเรื่องการออกมาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างดุดัน จนได้รับฉายานักการทูต “นักรบหมาป่า” ( #Wolf Warrior) ตัวฉกาจ ฉายานี้ใช้เรียกบุคคลที่ออกมาตอบโต้นักวิจารณ์ซึ่งถูกมองว่าเป็นศัตรูกับจีนได้อย่างดุเด็ดเผ็ดมัน

    ท่านทูตผู้นี้เอ่ยวาทะเด็ด แต่ไม่เข้าหูชาติในสหภาพยุโรป (อียู) บ่อยครั้ง เช่น เมื่อปี 2566 ขณะประจำอยู่ที่ฝรั่งเศส นายหลูตั้งคำถามเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของรัฐอดีตสหภาพโซเวียต เขากล่าวกับสถานีโทรทัศน์ว่า รัฐเหล่านี้ไม่มีสถานะที่มีผลบังคับใช้ในกฎหมายระหว่างประเทศ นายหลูมีนัยถึง #กลุ่มรัฐบอลติกคือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนียซึ่งเคยเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต แต่ปัจจุบันเป็นสมาชิกอียูและองค์การนาโต

    “เรายังจำคำพูดเกี่ยวกับรัฐบอลติกนี้ได้ดี” นักการทูตยุโรปในกรุงปักกิ่งคนหนึ่งระบุ

    มีอยู่คราวหนึ่งนาย อังตวน บงดาซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนของมูลนิธิเพื่อการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (FRS) ซึ่งเป็นสถาบันนักคิด บ่นจีนว่ากดดันไม่ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติฝรั่งเศสไปเยือนไต้หวัน ท่านทูตหลูก็เลยจัดให้ชุดใหญ่ไฟกะพริบ ประณามนายบงดาซ์ว่า เป็น “อันธพาลตัวกะเปี๊ยก” “หมาไนบ้า” และ “ตัวป่วนอุดมการณ์” ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านจีน กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสออถแถลงการณ์ประณาม รับไม่ได้กับความคิดเห็นของนายหลู รวมถึง "การดูถูกและข่มขู่ต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติและนักวิจัยชาวฝรั่งเศส" เป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อปี 2564

    ต่อมาในปี 2565 นายหลูให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ แนะให้ชาวไต้หวันเข้ารับการปรับทัศนติเมื่อจีนผนวกไต้หวัน ฝ่ายสนับสนุนเอกราชไต้หวันถึงกับเต้น

    นายหลูดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศสจนครบวาระ 5 ปีในเดือนธันวาคมปี 2567

    ก่อนหน้านั้น สมัยเป็นเอกอัครราชทูตประจำแคนาดา เขาเคยกล่าวหารัฐบาลแคนาดาเมื่อเดือนมกราคมปี 2562 ว่าเป็นคนผิวขาวที่วางอำนาจยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น จากกรณีที่เรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวแคนาดา 2 คนซึ่งถูกจีนควบคุมตัว การจับกุมชาวแคนาดาเกิดขึ้น หลังจาก “เมิ่ง หวั่นโจว” ซีอีโอบริษัทหัวเว่ยถูกแคนาดาจับกุมตัวตามคำร้องขอของสหรัฐอเมริกา

    โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงข่าวการแต่งตั้งเมื่อวันพฤหัสฯ (6 ก.พ.) ว่า นายหลูจะช่วยเหลือและประสานงานการจัดการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอียู โดยเขาเป็นนักการทูตระดับสูงผู้รอบรู้สถานการณ์ในยุโรปเป็นอย่างดี

    ที่ว่าความสัมพันธ์จีน-ยุโรปเดินมาถึงจุดเปลี่ยนนั่นก็คือ พวกสายเหยี่ยวต้านจีนในอียู เช่น นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยนประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ส่งสัญญาณว่ายินดีที่จะทบทวนความสัมพันธ์จีน-อียู ที่กำลังย่ำแย่ อันเนื่องมาจากปัญหาขัดแย้งทางการค้าและความไม่พอใจที่จีนมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับรัสเซีย

    อียูเริ่มเปลี่ยนท่าทีท่ามกลางความตึงเครียดที่ส่อเค้าระหว่างอียู-สหรัฐฯ หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 10% และขู่ขึ้นภาษีกับยุโรปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

    ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปเป็นตำแหน่งที่จีนตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 โดยนายหลูรับตำแหน่งสืบต่อจากนายอู๋ หงปั๋ว วัย 72 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่งคนแรก

    ที่มา : เอเอฟพี/รอยเตอร์
    ภาพประกอบข่าว
    นายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำฝรั่งเศสและผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปคนใหม่ - ภาพ : ซินหัว
    รายงานข่าวจากMGR Chinaระบุว่าหลายคนงง! ทำไมจีนส่ง “นักรบหมาป่า” ประจำด่านยุโรป ข่าวจีนแต่งตั้งนายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศส วัย 60 ปี เป็น #ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรป ทำเอานักการทูตรู้สึกประหลาดใจไปตามๆ กัน เนื่องจากเป็นการแต่งตั้งในช่วงที่ #ความสัมพันธ์จีน-ยุโรปมาถึงจุดเปลี่ยน แต่ด้วยสไตล์บู๊มากกว่าบุ๋นของนายหลู เขาจึงไม่น่าจะใช่กับช่วงเวลาที่มีความละเอียดอ่อนเช่นนี้ นายหลูขึ้นชื่อในเรื่องการออกมาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างดุดัน จนได้รับฉายานักการทูต “นักรบหมาป่า” ( #Wolf Warrior) ตัวฉกาจ ฉายานี้ใช้เรียกบุคคลที่ออกมาตอบโต้นักวิจารณ์ซึ่งถูกมองว่าเป็นศัตรูกับจีนได้อย่างดุเด็ดเผ็ดมัน ท่านทูตผู้นี้เอ่ยวาทะเด็ด แต่ไม่เข้าหูชาติในสหภาพยุโรป (อียู) บ่อยครั้ง เช่น เมื่อปี 2566 ขณะประจำอยู่ที่ฝรั่งเศส นายหลูตั้งคำถามเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของรัฐอดีตสหภาพโซเวียต เขากล่าวกับสถานีโทรทัศน์ว่า รัฐเหล่านี้ไม่มีสถานะที่มีผลบังคับใช้ในกฎหมายระหว่างประเทศ นายหลูมีนัยถึง #กลุ่มรัฐบอลติกคือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนียซึ่งเคยเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต แต่ปัจจุบันเป็นสมาชิกอียูและองค์การนาโต “เรายังจำคำพูดเกี่ยวกับรัฐบอลติกนี้ได้ดี” นักการทูตยุโรปในกรุงปักกิ่งคนหนึ่งระบุ มีอยู่คราวหนึ่งนาย อังตวน บงดาซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนของมูลนิธิเพื่อการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (FRS) ซึ่งเป็นสถาบันนักคิด บ่นจีนว่ากดดันไม่ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติฝรั่งเศสไปเยือนไต้หวัน ท่านทูตหลูก็เลยจัดให้ชุดใหญ่ไฟกะพริบ ประณามนายบงดาซ์ว่า เป็น “อันธพาลตัวกะเปี๊ยก” “หมาไนบ้า” และ “ตัวป่วนอุดมการณ์” ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านจีน กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสออถแถลงการณ์ประณาม รับไม่ได้กับความคิดเห็นของนายหลู รวมถึง "การดูถูกและข่มขู่ต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติและนักวิจัยชาวฝรั่งเศส" เป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อปี 2564 ต่อมาในปี 2565 นายหลูให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ แนะให้ชาวไต้หวันเข้ารับการปรับทัศนติเมื่อจีนผนวกไต้หวัน ฝ่ายสนับสนุนเอกราชไต้หวันถึงกับเต้น นายหลูดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศสจนครบวาระ 5 ปีในเดือนธันวาคมปี 2567 ก่อนหน้านั้น สมัยเป็นเอกอัครราชทูตประจำแคนาดา เขาเคยกล่าวหารัฐบาลแคนาดาเมื่อเดือนมกราคมปี 2562 ว่าเป็นคนผิวขาวที่วางอำนาจยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น จากกรณีที่เรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวแคนาดา 2 คนซึ่งถูกจีนควบคุมตัว การจับกุมชาวแคนาดาเกิดขึ้น หลังจาก “เมิ่ง หวั่นโจว” ซีอีโอบริษัทหัวเว่ยถูกแคนาดาจับกุมตัวตามคำร้องขอของสหรัฐอเมริกา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงข่าวการแต่งตั้งเมื่อวันพฤหัสฯ (6 ก.พ.) ว่า นายหลูจะช่วยเหลือและประสานงานการจัดการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอียู โดยเขาเป็นนักการทูตระดับสูงผู้รอบรู้สถานการณ์ในยุโรปเป็นอย่างดี ที่ว่าความสัมพันธ์จีน-ยุโรปเดินมาถึงจุดเปลี่ยนนั่นก็คือ พวกสายเหยี่ยวต้านจีนในอียู เช่น นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยนประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ส่งสัญญาณว่ายินดีที่จะทบทวนความสัมพันธ์จีน-อียู ที่กำลังย่ำแย่ อันเนื่องมาจากปัญหาขัดแย้งทางการค้าและความไม่พอใจที่จีนมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับรัสเซีย อียูเริ่มเปลี่ยนท่าทีท่ามกลางความตึงเครียดที่ส่อเค้าระหว่างอียู-สหรัฐฯ หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 10% และขู่ขึ้นภาษีกับยุโรปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปเป็นตำแหน่งที่จีนตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 โดยนายหลูรับตำแหน่งสืบต่อจากนายอู๋ หงปั๋ว วัย 72 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่งคนแรก ที่มา : เอเอฟพี/รอยเตอร์ ภาพประกอบข่าว นายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำฝรั่งเศสและผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปคนใหม่ - ภาพ : ซินหัว
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 376 มุมมอง 0 รีวิว
  • “โรม” ซัด “หม่องชิตตู่” ผู้นำกะเหรี่ยงสุดเลวร้าย ใช้ประชาชนเป็นตัวประกัน สร้างความร่ำรวยให้ตัวเอง อยู่เบื้องหลังแก๊งคอลเซนเตอร์ ออกข่าวว่าปราบปรามแต่กลับขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยใช้ทรัพยากรหลายอย่างจากประเทศไทย

    วันนี้(8 ก.พ.) นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ประธานกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “Rangsiman Rome - รังสิมันต์ โรม” ว่า “ขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับ พ.อ.หม่องชิตตู ผู้นำกองกำลัง BGF/KNA กองกำลังสำคัญที่ปกครองเมืองเมียวดีอยู่ในขณะนี้

    “หม่องชิตตู คนนี้ถูกแซงชั่นหรือคว่ำบาตรจากหลายประเทศ ไม่ว่าจะอังกฤษ สวิส ฝรั่งเศส หรืออียู เนื่องจากเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่สำคัญ คือเป็นพาร์ทเนอร์คนสำคัญของ เสอจื้อเจียง เจ้าของชเวก๊กโกซึ่งถูกจับในประเทศไทย

    “ที่ผ่านมากองกำลัง BGF พยายามปฏิเสธความเกี่ยวข้องคนตนเองกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์มาโดยตลอด แต่จะปฏิเสธได้อย่างไรในเมื่อหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ากองกำลัง BGF เป็นผู้ให้เช่าต่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งสร้างความเสียหายทั่วโลกมากมายมหาศาล และการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นก็ได้ทำลายภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยอย่างรุนแรง

    “แม้ว่ากองกำลัง BGF จะออกมาให้ข่าวเป็นระยะว่าจะดำเนินการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แต่ในทางปฏิบัติเรากลับพบว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยพวกนี้ได้ใช้ทรัพยากรหลายอย่างของประเทศไทย

    “กองกำลัง BGF ได้ใช้ประชาชนของตัวเองเป็นตัวประกัน ขณะเดียวกันก็สร้างความร่ำรวยให้กับตัวเองบนความเสียหายของหลายๆครอบครัวทั่วโลก นี่คือความเลวร้ายอย่างถึงที่สุดของกองกำลัง BGF”

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000012828

    #MGROnline #โรม #หม่องชิตตู่ #ผู้นำกะเหรี่ยง
    “โรม” ซัด “หม่องชิตตู่” ผู้นำกะเหรี่ยงสุดเลวร้าย ใช้ประชาชนเป็นตัวประกัน สร้างความร่ำรวยให้ตัวเอง อยู่เบื้องหลังแก๊งคอลเซนเตอร์ ออกข่าวว่าปราบปรามแต่กลับขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยใช้ทรัพยากรหลายอย่างจากประเทศไทย • วันนี้(8 ก.พ.) นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ประธานกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “Rangsiman Rome - รังสิมันต์ โรม” ว่า “ขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับ พ.อ.หม่องชิตตู ผู้นำกองกำลัง BGF/KNA กองกำลังสำคัญที่ปกครองเมืองเมียวดีอยู่ในขณะนี้ • “หม่องชิตตู คนนี้ถูกแซงชั่นหรือคว่ำบาตรจากหลายประเทศ ไม่ว่าจะอังกฤษ สวิส ฝรั่งเศส หรืออียู เนื่องจากเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่สำคัญ คือเป็นพาร์ทเนอร์คนสำคัญของ เสอจื้อเจียง เจ้าของชเวก๊กโกซึ่งถูกจับในประเทศไทย “ที่ผ่านมากองกำลัง BGF พยายามปฏิเสธความเกี่ยวข้องคนตนเองกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์มาโดยตลอด แต่จะปฏิเสธได้อย่างไรในเมื่อหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ากองกำลัง BGF เป็นผู้ให้เช่าต่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งสร้างความเสียหายทั่วโลกมากมายมหาศาล และการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นก็ได้ทำลายภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยอย่างรุนแรง • “แม้ว่ากองกำลัง BGF จะออกมาให้ข่าวเป็นระยะว่าจะดำเนินการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แต่ในทางปฏิบัติเรากลับพบว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยพวกนี้ได้ใช้ทรัพยากรหลายอย่างของประเทศไทย • “กองกำลัง BGF ได้ใช้ประชาชนของตัวเองเป็นตัวประกัน ขณะเดียวกันก็สร้างความร่ำรวยให้กับตัวเองบนความเสียหายของหลายๆครอบครัวทั่วโลก นี่คือความเลวร้ายอย่างถึงที่สุดของกองกำลัง BGF” • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000012828 • #MGROnline #โรม #หม่องชิตตู่ #ผู้นำกะเหรี่ยง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 339 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้รัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส เซบาสเตียน เลอกอร์นู ประกาศว่าเครื่องบินขับไล่ Mirage 2000-5F ลำแรกของฝรั่งเศสได้ส่งมอบให้กับยูเครนแล้ว

    จำนวนเครื่องบินที่จะส่งมอบยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 3 ถึง 6 ลำ

    ตามรายงานระบุว่า เครื่องบินของฝรั่งเศสเหล่านี้จะไม่ถูกใช้ทำหน้าที่หลักในการป้องกันภัยทางอากาศเช่นเดียวกับ F-16 แต่จะมาเข้าร่วมกองทัพในฐานะเครื่องบินทิ้งระเบิดที่แนวหน้าร่วมกับเครื่องบินทิ้งระเบิด Su-24 เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับกองทัพอากาศยูเครน

    มีรายงานด้วยว่าเครื่องบินเหล่านี้จะเป็นรุ่นอัปเกรดที่สามารถติดตั้งและยิงขีปนาวุธ Storm Shadow (สหราชอาณาจักร) และ SCALP-EG (ฝรั่งเศส) ที่มีระยะโจมตีเกิน 250 กม. ซึ่งยูเครนมีขีปนาวุธทั้งสองประเภทนี้ในคลังแสงอยู่แล้ว

    นอกจากนี้ รัฐมนตรีกลาโหมยูเครน รุสเตม อูเมรอฟ ยังรายงานอีกว่า เครื่องบินรบ F-16 จากเนเธอร์แลนด์ ก็มาถึงยูเครนแล้วเช่นกัน

    ทางด้านผู้สนับสนุนรัสเซียประกาศเสนอรางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับเครื่องบิน Mirage 2000 ลำแรกที่ถูกยิงตก
    วันนี้รัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส เซบาสเตียน เลอกอร์นู ประกาศว่าเครื่องบินขับไล่ Mirage 2000-5F ลำแรกของฝรั่งเศสได้ส่งมอบให้กับยูเครนแล้ว จำนวนเครื่องบินที่จะส่งมอบยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 3 ถึง 6 ลำ ตามรายงานระบุว่า เครื่องบินของฝรั่งเศสเหล่านี้จะไม่ถูกใช้ทำหน้าที่หลักในการป้องกันภัยทางอากาศเช่นเดียวกับ F-16 แต่จะมาเข้าร่วมกองทัพในฐานะเครื่องบินทิ้งระเบิดที่แนวหน้าร่วมกับเครื่องบินทิ้งระเบิด Su-24 เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับกองทัพอากาศยูเครน มีรายงานด้วยว่าเครื่องบินเหล่านี้จะเป็นรุ่นอัปเกรดที่สามารถติดตั้งและยิงขีปนาวุธ Storm Shadow (สหราชอาณาจักร) และ SCALP-EG (ฝรั่งเศส) ที่มีระยะโจมตีเกิน 250 กม. ซึ่งยูเครนมีขีปนาวุธทั้งสองประเภทนี้ในคลังแสงอยู่แล้ว นอกจากนี้ รัฐมนตรีกลาโหมยูเครน รุสเตม อูเมรอฟ ยังรายงานอีกว่า เครื่องบินรบ F-16 จากเนเธอร์แลนด์ ก็มาถึงยูเครนแล้วเช่นกัน ทางด้านผู้สนับสนุนรัสเซียประกาศเสนอรางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับเครื่องบิน Mirage 2000 ลำแรกที่ถูกยิงตก
    Like
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 249 มุมมอง 0 รีวิว
  • จาเร็ด​ คุชเนอร์ (Jared Kushner) สามีของอิวังก้า ทรัมป์ ลูกสาวคนโตของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถูกสื่อมวลชนเปิดโปงว่าคือผู้อยู่เบื้องหลังแนวคิดให้สหรัฐเข้ายึดครองกาซา และขับไล่ชาวปาเลสไตน์เกือบสองล้านคนออกไปจากถิ่นกำเนิดพวกเขา เพื่อสร้างกาซาขึ้นใหม่

    เนื่องจากแผนการของทรัมป์ คือสิ่งที่ จาเร็ด คุชเนอร์ ลูกเขยของเขา เคยกล่าวไว้เมื่อเดือนมีนาคม 2024 ว่าอิสราเอลควรขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากฉนวนกาซาและพัฒนาพื้นที่ริมทะเลแห่งนี้ขึ้นใหม่ โดยเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า “มีค่ามหาศาล” (very valuable)

    นายจาเร็ด คุชเนอร์ ชาวยิวที่มีบรรพบุรุษมาจากเบลารุส ปู่และย่าของเขารอดชีวิตจากค่ายกักกันที่นาซีเยอรมนีดำเนินการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างยึดครองเบลารุสอยู่ และอพยพมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2492 ต่อมา "ชาร์ล คุชเนอร์" พ่อของจาเร็ดก่อตั้งบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ จนประสบความสำเร็จมั่งคั่งร่ำรวยอย่างมาก

    ทรัมป์สมัยแรก แต่งตั้งให้ จาเร็ด คุชเนอร์ ลูกเขยคนโปรดเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาระดับอาวุโสในทำเนียบขาว โดยให้คำปรึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อทรัมป์โดยตรง โดยเฉพาะปัญหาเรื่องตะวันออกกลาง ซึ่งถือเป็น "มือขวา" ของทรัมป์ในสมัยนั้น

    เขาเป็นทั้งเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นักลงทุน และเจ้าของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ New York Observer

    ต่อมาในทรัมป์สมัยที่สอง ได้สร้างความฮือฮาด้วยการแต่งตั้ง ชาร์ลส์ คุชเนอร์ วัย 70 ปี พ่อของจาเร็ด เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำฝรั่งเศส ทั้งที่เคยถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุก 2 ปีเมื่อปี 2548 หลังจากรับสารภาพในความผิด 18 กระทงในคดีบริจาคเงินหาเสียงอย่างผิดกฎหมาย เลี่ยงภาษี และยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จึงถูกเพิกถอนใบอนุญาตการเป็นทนายความในรัฐนิวเจอร์ซีย์ นิวยอร์ก และเพนซิลเวเนีย แต่ได้รับการอภัยโทษทั้งหมดจากทรัมป์ในปี 2563 เมื่อครั้งที่ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีสมัยแรก





    จาเร็ด​ คุชเนอร์ (Jared Kushner) สามีของอิวังก้า ทรัมป์ ลูกสาวคนโตของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถูกสื่อมวลชนเปิดโปงว่าคือผู้อยู่เบื้องหลังแนวคิดให้สหรัฐเข้ายึดครองกาซา และขับไล่ชาวปาเลสไตน์เกือบสองล้านคนออกไปจากถิ่นกำเนิดพวกเขา เพื่อสร้างกาซาขึ้นใหม่ เนื่องจากแผนการของทรัมป์ คือสิ่งที่ จาเร็ด คุชเนอร์ ลูกเขยของเขา เคยกล่าวไว้เมื่อเดือนมีนาคม 2024 ว่าอิสราเอลควรขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากฉนวนกาซาและพัฒนาพื้นที่ริมทะเลแห่งนี้ขึ้นใหม่ โดยเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า “มีค่ามหาศาล” (very valuable) นายจาเร็ด คุชเนอร์ ชาวยิวที่มีบรรพบุรุษมาจากเบลารุส ปู่และย่าของเขารอดชีวิตจากค่ายกักกันที่นาซีเยอรมนีดำเนินการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างยึดครองเบลารุสอยู่ และอพยพมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2492 ต่อมา "ชาร์ล คุชเนอร์" พ่อของจาเร็ดก่อตั้งบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ จนประสบความสำเร็จมั่งคั่งร่ำรวยอย่างมาก ทรัมป์สมัยแรก แต่งตั้งให้ จาเร็ด คุชเนอร์ ลูกเขยคนโปรดเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาระดับอาวุโสในทำเนียบขาว โดยให้คำปรึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อทรัมป์โดยตรง โดยเฉพาะปัญหาเรื่องตะวันออกกลาง ซึ่งถือเป็น "มือขวา" ของทรัมป์ในสมัยนั้น เขาเป็นทั้งเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นักลงทุน และเจ้าของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ New York Observer ต่อมาในทรัมป์สมัยที่สอง ได้สร้างความฮือฮาด้วยการแต่งตั้ง ชาร์ลส์ คุชเนอร์ วัย 70 ปี พ่อของจาเร็ด เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำฝรั่งเศส ทั้งที่เคยถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุก 2 ปีเมื่อปี 2548 หลังจากรับสารภาพในความผิด 18 กระทงในคดีบริจาคเงินหาเสียงอย่างผิดกฎหมาย เลี่ยงภาษี และยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จึงถูกเพิกถอนใบอนุญาตการเป็นทนายความในรัฐนิวเจอร์ซีย์ นิวยอร์ก และเพนซิลเวเนีย แต่ได้รับการอภัยโทษทั้งหมดจากทรัมป์ในปี 2563 เมื่อครั้งที่ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีสมัยแรก
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 344 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts