• "จบข่าว"

    คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะได้มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติของ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หลังจากการประชุมร่วมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยพิจารณาคุณสมบัติในภาพรวมทั้งหมด ไม่ได้พิจารณาแยกเป็นข้อๆ ตามแหล่งข่าวจากคณะกรรมการกฤษฎีกา
    .
    กรรมการกฤษฎีกากล่าวว่า การพิจารณาคุณสมบัติของนายกิตติรัตน์ไม่ได้ดูข้อใดข้อหนึ่งเป็นพิเศษ แต่พิจารณาทั้งพฤติกรรมและการทำงานทั้งหมด จึงมีความเห็นว่าไม่ผ่านเกณฑ์สำหรับตำแหน่งประธานบอร์ด ธปท. ซึ่งถือเป็นการตัดสินที่สำคัญ

    https://www.thansettakij.com/business/615414
    "จบข่าว" คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะได้มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติของ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หลังจากการประชุมร่วมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยพิจารณาคุณสมบัติในภาพรวมทั้งหมด ไม่ได้พิจารณาแยกเป็นข้อๆ ตามแหล่งข่าวจากคณะกรรมการกฤษฎีกา . กรรมการกฤษฎีกากล่าวว่า การพิจารณาคุณสมบัติของนายกิตติรัตน์ไม่ได้ดูข้อใดข้อหนึ่งเป็นพิเศษ แต่พิจารณาทั้งพฤติกรรมและการทำงานทั้งหมด จึงมีความเห็นว่าไม่ผ่านเกณฑ์สำหรับตำแหน่งประธานบอร์ด ธปท. ซึ่งถือเป็นการตัดสินที่สำคัญ https://www.thansettakij.com/business/615414
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 99 มุมมอง 0 รีวิว
  • เลขาฯ กฤษฎีกา แจงยังไม่สรุป “กิตติรัตน์” ขาดคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติหรือไม่ ยังอยู่ระหว่างหารือ เผยเตรียมประชุมคณะกรรมการร่วม สอบคุณสมบัติ วันที่ 25 ธ.ค.67 นี้

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000123414

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    เลขาฯ กฤษฎีกา แจงยังไม่สรุป “กิตติรัตน์” ขาดคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติหรือไม่ ยังอยู่ระหว่างหารือ เผยเตรียมประชุมคณะกรรมการร่วม สอบคุณสมบัติ วันที่ 25 ธ.ค.67 นี้ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000123414 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 601 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกฯ บอก “กิตติรัตน์” ไม่ผ่านคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ด ธปท.ให้เป็นไปตามขั้นตอน ปัดตอบเรื่องค่าแรง 400 บาท มอบหมาย "สมคิด" คุย"สนธิ" ทวงคำตอบให้ยุติ MOU44

    วันนี้(24 ธ.ค.) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยก่อนเข้าประชุม ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ต้องว่ากันไปตามกระบวนการ

    เมื่อถามต่อว่าจะต้องล้มกระบวนการและมีการสรรหาใหม่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ตอบคำถาม

    ผู้สื่อข่าวจึงถามถึงมาตรการค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีก็ไม่ตอบเช่นเดียวกัน

    ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินเข้าตึกบัญชาการผู้สื่อข่าวจึงบอกว่าขอให้นายกรัฐมนตรี เตรียมคำตอบ เพราะวันนี้ครบกำหนดที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล จะทวงคำตอบเรื่องให้ยุติเอ็มโอยู 2544 ที่เคยยื่นไว้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีหันมาพร้อมผายมือไปที่นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พร้อมระบุว่า เดี๋ยวมีคนคุย

    #MGROnline #กิตติรัตน์ #ประธานบอร์ด #ธปท. #ค่าแรง #400บาท
    นายกฯ บอก “กิตติรัตน์” ไม่ผ่านคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ด ธปท.ให้เป็นไปตามขั้นตอน ปัดตอบเรื่องค่าแรง 400 บาท มอบหมาย "สมคิด" คุย"สนธิ" ทวงคำตอบให้ยุติ MOU44 • วันนี้(24 ธ.ค.) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยก่อนเข้าประชุม ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ต้องว่ากันไปตามกระบวนการ • เมื่อถามต่อว่าจะต้องล้มกระบวนการและมีการสรรหาใหม่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ตอบคำถาม • ผู้สื่อข่าวจึงถามถึงมาตรการค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีก็ไม่ตอบเช่นเดียวกัน • ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินเข้าตึกบัญชาการผู้สื่อข่าวจึงบอกว่าขอให้นายกรัฐมนตรี เตรียมคำตอบ เพราะวันนี้ครบกำหนดที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล จะทวงคำตอบเรื่องให้ยุติเอ็มโอยู 2544 ที่เคยยื่นไว้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีหันมาพร้อมผายมือไปที่นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พร้อมระบุว่า เดี๋ยวมีคนคุย • #MGROnline #กิตติรัตน์ #ประธานบอร์ด #ธปท. #ค่าแรง #400บาท
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 161 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ กฤษฎีกาตีตก คุณสมบัติของกิตติรัตน์ ไม่เหมาะเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หลังเคยเป็นที่ปรึกษาอดีตนายกฯ เศรษฐา อาจซ้ำรอยพิชิต ถุงขนม ที่ทำให้เศรษฐาถูกถอดถอน ล่มทั้งครม.
    #7ดอกจิก
    ♣ กฤษฎีกาตีตก คุณสมบัติของกิตติรัตน์ ไม่เหมาะเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หลังเคยเป็นที่ปรึกษาอดีตนายกฯ เศรษฐา อาจซ้ำรอยพิชิต ถุงขนม ที่ทำให้เศรษฐาถูกถอดถอน ล่มทั้งครม. #7ดอกจิก
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 125 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ##
    ..
    ..
    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้
    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้
    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม
    .
    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ
    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ
    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ
    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย
    .
    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก
    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    .
    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล
    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว
    .
    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย
    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน
    .
    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้
    .
    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
    .
    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน
    .
    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที
    .
    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
    .
    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง
    .
    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป
    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้
    .
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ## .. .. เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม . ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย . ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 . ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว . ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน . จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ . 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 . 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน . 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที . 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป . 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง . 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ . https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 148 มุมมอง 0 รีวิว
  • สะพัดปลัดกระทรวงการคลังระบุ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ไม่ผ่านคุณสมบัติประธานบอร์แบงก์ชาติ แต่ให้ไปถาม "พิชัย" เอาเอง คาดขัดคุณสมบัติดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง เผย 2 แนวทาง เลือก "กุลิศ สมบัติศิริ" อดีตปลัดพลังงาน 1 ในแคนดิเดตที่เหลือ หรือคัดเลือกกันใหม่ตั้งแต่ต้น
    .
    วันนี้ (24 ธ.ค.) หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นธุรกิจ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าว นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้รับทราบผลการตีความทางกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีต รมว.คลัง และอดีตผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่วนรายละเอียดในฐานะปลัดกระทรวงการคลังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เนื่องจากเป็นอำนาจของนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยข้อมูล
    .
    “มีการคอนเฟิร์มแล้วว่า นายกิตติรัตน์ ไม่ผ่านคุณสมบัติ รายละเอียดต้องไปถามรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง” นายลวรณ กล่าว
    .
    ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กรณีดังกล่าวยังไม่เคยเกิดปัญหาแบบนี้มาก่อน ส่วนแนวทางการสรรหาประธานบอร์ดแบงก์ชาติขั้นตอนต่อไปอาจจะออกมาสองแนวทางคือ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และในฐานะประธานคัดเลือก ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย อาจจะเลือกนายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน ให้ รมว.คลังพิจารณา หรืออีกแนวทางคือ เริ่มการคัดเลือกกันใหม่ตั้งแต่ต้น
    .
    รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า สำหรับรายชื่อที่เข้ารับการคัดเลือกประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย มี 3 ราย คือ นายกิตติรัตน์ เสนอโดยกระทรวงการคลัง นายกุลิศ เสนอโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และนายสุรพล นิติไกรพจน์ ศาสตราจารย์ประจำสาขากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
    .
    ปรากฎว่าที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2567 มีมติเลือกนายกิตติรัตน์เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หลังการประชุมผ่านไป 5 ชั่วโมง แต่ไม่มีกรรมการคนใดออกมาให้สัมภาษณ์ รวมทั้งนายสถิตย์เอง ที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่าจะออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ก็เดินทางกลับไปในทันที โดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ ซึ่งในวันดังกล่าวได้มีตัวแทนคณะศิษยานุศิษย์ที่น้อมนำธรรมองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ยื่นหนังสือคัดค้านนายกิตติรัตน์ และมีผู้ชุมนุมจากกองทัพธรรม ร่วมกับเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ปักหลักชุมนุมหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม
    .
    ทั้งนี้ คาดว่าสาเหตุที่นายกิตติรัตน์ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากเมื่อพิจารณาจาก คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 2485 ข้อ 4 ระบุไว้ว่า "ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี" และข้อ 5 ระบุว่า "ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วหนึ่งปี"
    .
    หากพิจารณาจากตำแหน่งในทางการเมืองของนายกิตติรัตน์ ทั้งในบทบาทของประธานที่ปรึกษาของนายกฯ ในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน และตำแหน่งประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย จึงน่าจะเข้าข่ายขัดคุณสมบัติ และอาจจะกลายเป็นปัญหาหากมีผู้ร้องว่าเป็นการแต่งตั้งที่ขัดกฎหมายดังกล่าว
    .
    ก่อนหน้านี้ นายพิชัย ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2567 ว่า เรื่องดังกล่าวอาจล่าช้าและจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ในช่วงเดือน ม.ค. 2568
    ..............
    Sondhi X
    สะพัดปลัดกระทรวงการคลังระบุ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ไม่ผ่านคุณสมบัติประธานบอร์แบงก์ชาติ แต่ให้ไปถาม "พิชัย" เอาเอง คาดขัดคุณสมบัติดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง เผย 2 แนวทาง เลือก "กุลิศ สมบัติศิริ" อดีตปลัดพลังงาน 1 ในแคนดิเดตที่เหลือ หรือคัดเลือกกันใหม่ตั้งแต่ต้น . วันนี้ (24 ธ.ค.) หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นธุรกิจ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าว นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้รับทราบผลการตีความทางกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีต รมว.คลัง และอดีตผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่วนรายละเอียดในฐานะปลัดกระทรวงการคลังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เนื่องจากเป็นอำนาจของนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยข้อมูล . “มีการคอนเฟิร์มแล้วว่า นายกิตติรัตน์ ไม่ผ่านคุณสมบัติ รายละเอียดต้องไปถามรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง” นายลวรณ กล่าว . ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กรณีดังกล่าวยังไม่เคยเกิดปัญหาแบบนี้มาก่อน ส่วนแนวทางการสรรหาประธานบอร์ดแบงก์ชาติขั้นตอนต่อไปอาจจะออกมาสองแนวทางคือ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และในฐานะประธานคัดเลือก ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย อาจจะเลือกนายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน ให้ รมว.คลังพิจารณา หรืออีกแนวทางคือ เริ่มการคัดเลือกกันใหม่ตั้งแต่ต้น . รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า สำหรับรายชื่อที่เข้ารับการคัดเลือกประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย มี 3 ราย คือ นายกิตติรัตน์ เสนอโดยกระทรวงการคลัง นายกุลิศ เสนอโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และนายสุรพล นิติไกรพจน์ ศาสตราจารย์ประจำสาขากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอโดยธนาคารแห่งประเทศไทย . ปรากฎว่าที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2567 มีมติเลือกนายกิตติรัตน์เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หลังการประชุมผ่านไป 5 ชั่วโมง แต่ไม่มีกรรมการคนใดออกมาให้สัมภาษณ์ รวมทั้งนายสถิตย์เอง ที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่าจะออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ก็เดินทางกลับไปในทันที โดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ ซึ่งในวันดังกล่าวได้มีตัวแทนคณะศิษยานุศิษย์ที่น้อมนำธรรมองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ยื่นหนังสือคัดค้านนายกิตติรัตน์ และมีผู้ชุมนุมจากกองทัพธรรม ร่วมกับเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ปักหลักชุมนุมหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม . ทั้งนี้ คาดว่าสาเหตุที่นายกิตติรัตน์ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากเมื่อพิจารณาจาก คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 2485 ข้อ 4 ระบุไว้ว่า "ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี" และข้อ 5 ระบุว่า "ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วหนึ่งปี" . หากพิจารณาจากตำแหน่งในทางการเมืองของนายกิตติรัตน์ ทั้งในบทบาทของประธานที่ปรึกษาของนายกฯ ในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน และตำแหน่งประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย จึงน่าจะเข้าข่ายขัดคุณสมบัติ และอาจจะกลายเป็นปัญหาหากมีผู้ร้องว่าเป็นการแต่งตั้งที่ขัดกฎหมายดังกล่าว . ก่อนหน้านี้ นายพิชัย ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2567 ว่า เรื่องดังกล่าวอาจล่าช้าและจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ในช่วงเดือน ม.ค. 2568 .............. Sondhi X
    Like
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 390 มุมมอง 0 รีวิว
  • ด่วน!
    กฤษฎีกาชี้ "กิตติรัตน์" ขาดคุณสมบัตินั่ง "ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ" เตรียมเปิดสรรหาใหม่เร็วๆ นี้

    ลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยเรื่องดังกล่าวว่า กระทรวงการคลังทราบผลการตีความทางกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
    ขณะที่รายละเอียดต้องรอ พิชัย ชุณหวชิร รมว.คลัง ออกมาเปิดเผยอีกครั้งหนึ่ง
    ด่วน! กฤษฎีกาชี้ "กิตติรัตน์" ขาดคุณสมบัตินั่ง "ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ" เตรียมเปิดสรรหาใหม่เร็วๆ นี้ ลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยเรื่องดังกล่าวว่า กระทรวงการคลังทราบผลการตีความทางกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะที่รายละเอียดต้องรอ พิชัย ชุณหวชิร รมว.คลัง ออกมาเปิดเผยอีกครั้งหนึ่ง
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 117 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาล ปค.สั่งเจ้าหน้าที่ขนส่ง จตุจักร ออกป้ายกำกับการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ให้ผู้ค้างค่าปรับรายหนึ่งที่ขับรถเร็วบนทางด่วนบูรพาวิถี พร้อมให้จ่ายสินไหมทดแทนอีก 3,151 บาท เหตุเจ้าพนักงานจราจร ไม่ทำหนังสือแจ้งผู้ขับขี่ ถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้ครบถ้วน จนท.ขนส่งฯ จึงไม่มีอำนาจชะลอการออกป้ายวงกลม

    วันนี้ (20 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ลงวันที่ 18 ธ.ค.2567 พิพากษาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับชำระค่าภาษีรถยนต์สำนักงานขนส่งกรุงเทพฯพื้นที่ 5 (จตุจักร) ในฐานะนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปี พ.ศ. 2568 ให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ ภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้กรมขนส่งทางบก ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ เป็นเงินจำนวน 3,151.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 7 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ตามที่ นายอำนาจ แก้วประสงค์ ยื่นฟ้องกล่าวหาว่า กรมการขนส่งทางบก อธิบดีกรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ฝ่ายทะเบียนสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ในการปฏิเสธไม่ออกป้ายภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) ให้ โดยอ้างว่า นายอำนาจยังค้างชำระค่าปรับจากการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร

    ศาลปกครองให้เหตุผลว่า แม้จะเป็นความจริงว่า ระหว่างกรใขนส่งทางบก กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับกรมการขนส่งทางบก ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 8 ก.พ.2566 และในการปฏิบัติงานด้านจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในแต่ละขั้นตอนต่างๆ เรียกว่า "ระบบบริหารจัดการใบสั่ง"

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000122270

    #MGROnline #ศาลปกครองกลาง #ระบบบริหารจัดการใบสั่ง
    ศาล ปค.สั่งเจ้าหน้าที่ขนส่ง จตุจักร ออกป้ายกำกับการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ให้ผู้ค้างค่าปรับรายหนึ่งที่ขับรถเร็วบนทางด่วนบูรพาวิถี พร้อมให้จ่ายสินไหมทดแทนอีก 3,151 บาท เหตุเจ้าพนักงานจราจร ไม่ทำหนังสือแจ้งผู้ขับขี่ ถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้ครบถ้วน จนท.ขนส่งฯ จึงไม่มีอำนาจชะลอการออกป้ายวงกลม • วันนี้ (20 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ลงวันที่ 18 ธ.ค.2567 พิพากษาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับชำระค่าภาษีรถยนต์สำนักงานขนส่งกรุงเทพฯพื้นที่ 5 (จตุจักร) ในฐานะนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปี พ.ศ. 2568 ให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ ภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้กรมขนส่งทางบก ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ เป็นเงินจำนวน 3,151.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 7 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ตามที่ นายอำนาจ แก้วประสงค์ ยื่นฟ้องกล่าวหาว่า กรมการขนส่งทางบก อธิบดีกรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ฝ่ายทะเบียนสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ในการปฏิเสธไม่ออกป้ายภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) ให้ โดยอ้างว่า นายอำนาจยังค้างชำระค่าปรับจากการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร • ศาลปกครองให้เหตุผลว่า แม้จะเป็นความจริงว่า ระหว่างกรใขนส่งทางบก กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับกรมการขนส่งทางบก ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 8 ก.พ.2566 และในการปฏิบัติงานด้านจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในแต่ละขั้นตอนต่างๆ เรียกว่า "ระบบบริหารจัดการใบสั่ง" • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000122270 • #MGROnline #ศาลปกครองกลาง #ระบบบริหารจัดการใบสั่ง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 263 มุมมอง 0 รีวิว
  • 9/12/67

    เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ)

    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้

    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้

    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม

    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ

    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ

    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ

    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย

    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก

    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล

    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว

    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย

    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน

    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้

    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน

    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที

    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป

    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง

    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป

    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    9/12/67 เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 496 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เรียกร้องสำหรับข้อตกลงหยุดยิงในทันทีและขอให้มีการเจรจาระหว่างยูเครนกับรัสเซีย เพื่อยุติ "เรื่องบ้าๆ" ความเคลื่อนไหวที่กระตุ้นให้ทั้งประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนและวังเครมลิน ต่างลิสต์บัญชีเงื่อนไขความต้องการของฝ่ายตนเอง
    .
    เสียงเรียกร้องของทรัมป์ มีขึ้นไม่กี่ชั่วโมง หลังพบปะกับ เซเลนสกี ในกรุงปารีส ซึ่งถือเป็นการพูดคุยแบบเจอหน้ากันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ทรัมป์ คว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อเดือนก่อนที่ผ่านมา ทรัมป์ ประกาศมาตลอดว่าจะนำมาซึ่งการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้ง แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่เคยให้รายละเอียดใดๆ
    .
    "เซเลนสกีและยูเครนอยากทำข้อตกลงและหยุดเรื่องบ้าๆ" ทรัมป์ เขียนบนทรัตช์ โซเชียล แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ของเขา พร้อมระบุเคียฟสูญเสียกำลังพลไปแล้วราว 400,000 นาย "ควรมีข้อตกลงหยุดยิงในทันที และการเจรจาควรเริ่มต้นขึ้น ผมรู้จัก วลาดิมีร์ ดี นี่คือเวลาที่เขาต้องลงมือ จีนสามารถช่วยได้ โลกกำลังรออยู่" ทรัมป์ ระบุอ้างถึงประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย
    .
    ทรัมป์ เดินทางไปยังกรุงปารีส ร่วมพิธีเปิดรอบใหม่มหาวิหารนอร์เทรอดาม ตามหลังการบูรณะครั้งใหญ่ โดยเขานั่งคุยกับ เซเลนสกี เป็นเวลาราว 1 ชั่วโมง ในวันเสาร์ (7 ธ.ค.) ร่วมด้วยเจ้าภาพอย่าง เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
    .
    ในภาพข่าวพบเห็น ทรัมป์ และเซเลนสกี จับมือและยิ้มให้กัน แต่ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการสนทนาระหว่างทั้งคู่เป็นไปในทิศทางไหน อ้างอิงข้อมูลจากทั้งฝ่ายฝรั่งเศสและยูเครน พวกเขาบอกเพียงว่าการพูดคุยเป็นไปด้วยดีและผลิดอกออกผล
    .
    เซเลนสกี ขานรับสารจากทรัมป์ในวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) ว่าสันติภาพไม่ใช่แค่เศษกระดาษ แต่จำเป็นต้องรับประกันความมั่นคง "ตอนที่เราพูดเกี่ยวกับสันติภาพที่มีประสิทธิผลกับรัสเซีย สิ่งแรกและสำคัญที่สุดที่เราต้องพูดถึงคือการรับประกันสันติภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ยูเครนต้องการสันติภาพมากกว่าใครๆ" เขาโพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์
    .
    "สงครามไม่อาจจบลงง่ายๆ ด้วยเศษกระดาษและการลงนามอีกนิดหน่อย การหยุดยิงโดยปราศจากคำรับประกัน อาจโหมกระพือขึ้นรอบใหม่ได้ทุกเวลา แบบเดียวกับที่ ปูติน เคยทำมาก่อน เพื่อรับประกันว่าชาวยูเครนจะไม่ประสบความสูญเสียอีกต่อไป เราต้องรับประกันความน่าเชื่อถือของสันติภาพและไม่หลับตาให้พวกผู้รุกราน" เซเลนสกีกล่าว
    .
    รอยเตอร์เชื่อว่าตัวเลขของทรัมป์ เกี่ยวกับความสูญเสียด้านกำลังพลกว่า 400,000 นายของยูเครนในสงคราม น่าจะนับรวมทั้งทหารที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากก่อนหน้านี้ เซเลนสกี อ้างว่ามีทหารยูคเรนเสียชีวิตเพียง 43,000 นาย และที่ได้รับบาดเจ็บมีจำนวน 370,000 นาย
    .
    ดมิทรี เปสคอฟ นัดแถลงข่าวทางไกลกับบรรดาผู้สื่อข่าว ในเรื่องเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อสารของทรัมป์ โดยเขาบอกว่ารัสเซียเปิดกว้างสำหรับการเจรจา แต่มันต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อตกลงต่างๆ ที่เห็นพ้องกันในอิสตันบูลใน 2022 และข้อเท็จจริงในปัจจุบันของสนามรบ บริเวณที่กองกำลังรัสเซียกำลังรุกคืบในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่วันแรกๆของสงครามในปี 2022
    .
    ปูติน เน้นย้ำว่าข้อตกลงในเบื้องต้นดังกล่าวที่บรรลุความเห็นพ้องต้องกันโดยคณะผู้แทนเจรจาของรัสเซียและยูเครน ในสัปดาห์แรกๆของสงคราม ณ โต๊ะเจรจาในอิสตันบูล แต่ไม่เคยถูกบังคับใช้ ควรถูกใช้เป็นพื้นฐานของการเจรจาใดๆ ในอนาคต
    .
    "จุดยืนของเราในเรื่องยูเครนเป็นที่รู้กันดี" เปสคอฟกล่าว "เงื่อนไขต่างๆ สำหรับการหยุดความเป็นปรปักษ์ในทันที ถูกวางไว้โดยประธานาธิบดีปูติน ครั้งที่ท่านกล่าวปราศรัยที่กระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ในเดือนมิถุนายนปีนี้ มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเท้าความว่า ยูเครน เป็นฝ่ายปฏิเสธและยังคงปฏิเสธการเจรจา" เขากล่าว
    .
    ปูติน กล่าวในตอนนั้นว่า ยูเครน ต้องไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกพันธมิตรทหารนาโต และรัสเซียควรถูกปล่อยให้ยึดครอง 4 แคว้นของยูเครน ที่ทหารของเขาควบคุมอยู่บางส่วน อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพื่อบรรลุข้อตกลงสันติภาพ
    .
    เปสคอฟ เน้นว่า เซเลนสกี สั่งแบนการติดต่อกับผู้นำรัสเซียผ่ายกฤษฎีกาฉบับหนึ่ง ซึ่ง เปสคอฟ บอกว่า เซเลนสกี จำเป็นต้องถอนคำสั่งดังกล่าวก่อน เพื่อให้การเจรจาเดินหน้าไปได้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000118049
    ..................
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เรียกร้องสำหรับข้อตกลงหยุดยิงในทันทีและขอให้มีการเจรจาระหว่างยูเครนกับรัสเซีย เพื่อยุติ "เรื่องบ้าๆ" ความเคลื่อนไหวที่กระตุ้นให้ทั้งประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนและวังเครมลิน ต่างลิสต์บัญชีเงื่อนไขความต้องการของฝ่ายตนเอง . เสียงเรียกร้องของทรัมป์ มีขึ้นไม่กี่ชั่วโมง หลังพบปะกับ เซเลนสกี ในกรุงปารีส ซึ่งถือเป็นการพูดคุยแบบเจอหน้ากันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ทรัมป์ คว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อเดือนก่อนที่ผ่านมา ทรัมป์ ประกาศมาตลอดว่าจะนำมาซึ่งการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้ง แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่เคยให้รายละเอียดใดๆ . "เซเลนสกีและยูเครนอยากทำข้อตกลงและหยุดเรื่องบ้าๆ" ทรัมป์ เขียนบนทรัตช์ โซเชียล แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ของเขา พร้อมระบุเคียฟสูญเสียกำลังพลไปแล้วราว 400,000 นาย "ควรมีข้อตกลงหยุดยิงในทันที และการเจรจาควรเริ่มต้นขึ้น ผมรู้จัก วลาดิมีร์ ดี นี่คือเวลาที่เขาต้องลงมือ จีนสามารถช่วยได้ โลกกำลังรออยู่" ทรัมป์ ระบุอ้างถึงประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย . ทรัมป์ เดินทางไปยังกรุงปารีส ร่วมพิธีเปิดรอบใหม่มหาวิหารนอร์เทรอดาม ตามหลังการบูรณะครั้งใหญ่ โดยเขานั่งคุยกับ เซเลนสกี เป็นเวลาราว 1 ชั่วโมง ในวันเสาร์ (7 ธ.ค.) ร่วมด้วยเจ้าภาพอย่าง เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส . ในภาพข่าวพบเห็น ทรัมป์ และเซเลนสกี จับมือและยิ้มให้กัน แต่ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการสนทนาระหว่างทั้งคู่เป็นไปในทิศทางไหน อ้างอิงข้อมูลจากทั้งฝ่ายฝรั่งเศสและยูเครน พวกเขาบอกเพียงว่าการพูดคุยเป็นไปด้วยดีและผลิดอกออกผล . เซเลนสกี ขานรับสารจากทรัมป์ในวันอาทิตย์ (8 ธ.ค.) ว่าสันติภาพไม่ใช่แค่เศษกระดาษ แต่จำเป็นต้องรับประกันความมั่นคง "ตอนที่เราพูดเกี่ยวกับสันติภาพที่มีประสิทธิผลกับรัสเซีย สิ่งแรกและสำคัญที่สุดที่เราต้องพูดถึงคือการรับประกันสันติภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ยูเครนต้องการสันติภาพมากกว่าใครๆ" เขาโพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ . "สงครามไม่อาจจบลงง่ายๆ ด้วยเศษกระดาษและการลงนามอีกนิดหน่อย การหยุดยิงโดยปราศจากคำรับประกัน อาจโหมกระพือขึ้นรอบใหม่ได้ทุกเวลา แบบเดียวกับที่ ปูติน เคยทำมาก่อน เพื่อรับประกันว่าชาวยูเครนจะไม่ประสบความสูญเสียอีกต่อไป เราต้องรับประกันความน่าเชื่อถือของสันติภาพและไม่หลับตาให้พวกผู้รุกราน" เซเลนสกีกล่าว . รอยเตอร์เชื่อว่าตัวเลขของทรัมป์ เกี่ยวกับความสูญเสียด้านกำลังพลกว่า 400,000 นายของยูเครนในสงคราม น่าจะนับรวมทั้งทหารที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากก่อนหน้านี้ เซเลนสกี อ้างว่ามีทหารยูคเรนเสียชีวิตเพียง 43,000 นาย และที่ได้รับบาดเจ็บมีจำนวน 370,000 นาย . ดมิทรี เปสคอฟ นัดแถลงข่าวทางไกลกับบรรดาผู้สื่อข่าว ในเรื่องเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อสารของทรัมป์ โดยเขาบอกว่ารัสเซียเปิดกว้างสำหรับการเจรจา แต่มันต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อตกลงต่างๆ ที่เห็นพ้องกันในอิสตันบูลใน 2022 และข้อเท็จจริงในปัจจุบันของสนามรบ บริเวณที่กองกำลังรัสเซียกำลังรุกคืบในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่วันแรกๆของสงครามในปี 2022 . ปูติน เน้นย้ำว่าข้อตกลงในเบื้องต้นดังกล่าวที่บรรลุความเห็นพ้องต้องกันโดยคณะผู้แทนเจรจาของรัสเซียและยูเครน ในสัปดาห์แรกๆของสงคราม ณ โต๊ะเจรจาในอิสตันบูล แต่ไม่เคยถูกบังคับใช้ ควรถูกใช้เป็นพื้นฐานของการเจรจาใดๆ ในอนาคต . "จุดยืนของเราในเรื่องยูเครนเป็นที่รู้กันดี" เปสคอฟกล่าว "เงื่อนไขต่างๆ สำหรับการหยุดความเป็นปรปักษ์ในทันที ถูกวางไว้โดยประธานาธิบดีปูติน ครั้งที่ท่านกล่าวปราศรัยที่กระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ในเดือนมิถุนายนปีนี้ มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเท้าความว่า ยูเครน เป็นฝ่ายปฏิเสธและยังคงปฏิเสธการเจรจา" เขากล่าว . ปูติน กล่าวในตอนนั้นว่า ยูเครน ต้องไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกพันธมิตรทหารนาโต และรัสเซียควรถูกปล่อยให้ยึดครอง 4 แคว้นของยูเครน ที่ทหารของเขาควบคุมอยู่บางส่วน อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพื่อบรรลุข้อตกลงสันติภาพ . เปสคอฟ เน้นว่า เซเลนสกี สั่งแบนการติดต่อกับผู้นำรัสเซียผ่ายกฤษฎีกาฉบับหนึ่ง ซึ่ง เปสคอฟ บอกว่า เซเลนสกี จำเป็นต้องถอนคำสั่งดังกล่าวก่อน เพื่อให้การเจรจาเดินหน้าไปได้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000118049 .................. Sondhi X
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 674 มุมมอง 0 รีวิว
  • ต้องปลดแอกจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสกฤษฎีกากัมพูชาที่เกี่ยวข้องกับเขตแดนในทะเล มีสองฉบับ**หนึ่ง กฤษฎีกาเลขที่ 439/72/PRK ที่กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีป**สอง กฤษฎีกาเลขที่ 518/72/PRK ที่กำหนดทะเลอาณาเขตปรากฏว่าทั้งสองฉบับรุกล้ำทะเลอาณาเขตของไทยโดยอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส คศ 1907 ##กรณีเส้นเขตไหล่ทวีปรูป 1 จากเพจปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ กัมพูชาประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปครั้งแรกปี 2513 ผ่านเกาะกูดเต็มที่รูป 2 ต่อมาเปลี่ยนเป็นกฤษฎีกาเลขที่ 439/72/PRK เกาะกูดอยู่ที่ปลายลูกศรสีแดง กลับเขียนเกาะกูดมีเส้นขยุกขยิก ทำให้ไม่ชัดเจนว่าเส้นผ่านเกาะกูดหรือไม่รูป 3 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เขียนเอกสารวิชาการว่า เส้นไม่ได้ผ่านเกาะกูด แต่มาจรดชายฝั่งสองด้าน รูป 4 คือล้ำเข้ามาในทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของไทย วงกลมสีเหลือง##กรณีทะเลอาณาเขตรูป 5 ดร.สุรเกียรติ์ แสดงแผนที่ในกฤษฎีกาเลขที่ 518/72/PRK ปรากฏว่ากัมพูชาลากเส้นทะเลอาณาเขต จากหมุด 73 บนชายฝั่งมาจรดเกาะกูด แล้วหักลงใต้ผมค้นหากฤษฎีกาเลขที่ 518/72/PRK ในกูเกิ้ล ไม่พบเลย จึงขอเรียกร้องให้กระทรวงต่างประเทศเอาเอกสารสำคัญทั้งหมดเผยแพร่ในเว็บไซต์รูป 6 เส้นทะเลอาณาเขตของกัมพูชาก็รุกล้ำเข้ามาในทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของไทยอีกเช่นกัน วงกลมสีเหลืองรูป 7 จากเว็บไซต์ CIA สถานฑูตในกรุงพนมเปญรายงานว่า กัมพูชาตราเส้นทะเลอาณาเขตเกินระยะทาง 12 ไมล์ทะเลมาประชิดเกาะกูด ก็โดยอ้างอิงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส คศ 1907ผมให้ข้อมูลดังนี้:-หนึ่ง เส้นเขตไหล่ทวีปที่ประชิดเกาะกูดสองด้านนั้น อ้างพื้นฐานมาจากเส้นทะเลอาณาเขตเกินระยะทาง 12 ไมล์ทะเลที่กัมพูชาลากมาประชิดเกาะกูดนั่นเองสอง กัมพูชาลากเส้นทะเลอาณาเขตมาประชิดเกาะกูด เป็นการรุกล้ำเขตอธิปไตยของประเทศไทย(เขตอธิปไตยของประเทศไทยซึ่งกองทัพไทยมีหน้าที่ต้องปกป้องทันทีถ้ามีการรุกราน ไม่ว่าทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ คือผืนแผ่นดินไทยซึ่งบวกกับทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล)สาม MOU44 มีการแสดงเส้นเขตไหล่ทวีปที่มีพื้นฐานมาจากเส้นทะเลอาณาเขต จึงเป็นการรับรู้ว่า กัมพูชาลากเส้นทะเลอาณาเขตรุกล้ำเข้ามาในเขตอธิปไตยของประเทศไทยพูดแบบชาวบ้าน เป็นการไปรับรู้ว่า อาณาเขตทางทะเลของกัมพูชา กินแดนเข้ามาในอาณาเขตทางทะเลของไทยสี่ กัมพูชาอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส คศ 1907 บิดเบือน เพราะสนธิสัญญาฯพูดถึงการแบ่งเขตบนชายฝั่ง ไม่ใช่ในทะเลห้า เส้นเขตไหล่ทวีปที่ประชิดเกาะกูดสองด้านนั้น ไม่ถูกต้องตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป เพราะอนุสัญญาใช้สำหรับเล็งเส้นในทะเล ไม่ใช่เล็งเส้นผ่านพื้นที่บนบกและอนุสัญญาฯไม่ได้ยอมให้อ้างอิงสิทธิทางประวัติศาสตร์กล่าวโดยสรุป เหตุผลสนับสนุนยกเลิก MOU44 อีกประการหนึ่งคือ MOU44 ไปรับรู้ ทั้งเส้นเขตไหล่ทวีป และเส้นทะเลอาณาเขตของกัมพูชา รับรู้ว่าทั้งสองเส้นรุกล้ำเข้ามาในเขตอธิปไตยของประเทศไทยวันที่ 6 ธันวาคม 2567นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    ต้องปลดแอกจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสกฤษฎีกากัมพูชาที่เกี่ยวข้องกับเขตแดนในทะเล มีสองฉบับ**หนึ่ง กฤษฎีกาเลขที่ 439/72/PRK ที่กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีป**สอง กฤษฎีกาเลขที่ 518/72/PRK ที่กำหนดทะเลอาณาเขตปรากฏว่าทั้งสองฉบับรุกล้ำทะเลอาณาเขตของไทยโดยอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส คศ 1907 ##กรณีเส้นเขตไหล่ทวีปรูป 1 จากเพจปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ กัมพูชาประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปครั้งแรกปี 2513 ผ่านเกาะกูดเต็มที่รูป 2 ต่อมาเปลี่ยนเป็นกฤษฎีกาเลขที่ 439/72/PRK เกาะกูดอยู่ที่ปลายลูกศรสีแดง กลับเขียนเกาะกูดมีเส้นขยุกขยิก ทำให้ไม่ชัดเจนว่าเส้นผ่านเกาะกูดหรือไม่รูป 3 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เขียนเอกสารวิชาการว่า เส้นไม่ได้ผ่านเกาะกูด แต่มาจรดชายฝั่งสองด้าน รูป 4 คือล้ำเข้ามาในทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของไทย วงกลมสีเหลือง##กรณีทะเลอาณาเขตรูป 5 ดร.สุรเกียรติ์ แสดงแผนที่ในกฤษฎีกาเลขที่ 518/72/PRK ปรากฏว่ากัมพูชาลากเส้นทะเลอาณาเขต จากหมุด 73 บนชายฝั่งมาจรดเกาะกูด แล้วหักลงใต้ผมค้นหากฤษฎีกาเลขที่ 518/72/PRK ในกูเกิ้ล ไม่พบเลย จึงขอเรียกร้องให้กระทรวงต่างประเทศเอาเอกสารสำคัญทั้งหมดเผยแพร่ในเว็บไซต์รูป 6 เส้นทะเลอาณาเขตของกัมพูชาก็รุกล้ำเข้ามาในทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของไทยอีกเช่นกัน วงกลมสีเหลืองรูป 7 จากเว็บไซต์ CIA สถานฑูตในกรุงพนมเปญรายงานว่า กัมพูชาตราเส้นทะเลอาณาเขตเกินระยะทาง 12 ไมล์ทะเลมาประชิดเกาะกูด ก็โดยอ้างอิงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส คศ 1907ผมให้ข้อมูลดังนี้:-หนึ่ง เส้นเขตไหล่ทวีปที่ประชิดเกาะกูดสองด้านนั้น อ้างพื้นฐานมาจากเส้นทะเลอาณาเขตเกินระยะทาง 12 ไมล์ทะเลที่กัมพูชาลากมาประชิดเกาะกูดนั่นเองสอง กัมพูชาลากเส้นทะเลอาณาเขตมาประชิดเกาะกูด เป็นการรุกล้ำเขตอธิปไตยของประเทศไทย(เขตอธิปไตยของประเทศไทยซึ่งกองทัพไทยมีหน้าที่ต้องปกป้องทันทีถ้ามีการรุกราน ไม่ว่าทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ คือผืนแผ่นดินไทยซึ่งบวกกับทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล)สาม MOU44 มีการแสดงเส้นเขตไหล่ทวีปที่มีพื้นฐานมาจากเส้นทะเลอาณาเขต จึงเป็นการรับรู้ว่า กัมพูชาลากเส้นทะเลอาณาเขตรุกล้ำเข้ามาในเขตอธิปไตยของประเทศไทยพูดแบบชาวบ้าน เป็นการไปรับรู้ว่า อาณาเขตทางทะเลของกัมพูชา กินแดนเข้ามาในอาณาเขตทางทะเลของไทยสี่ กัมพูชาอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส คศ 1907 บิดเบือน เพราะสนธิสัญญาฯพูดถึงการแบ่งเขตบนชายฝั่ง ไม่ใช่ในทะเลห้า เส้นเขตไหล่ทวีปที่ประชิดเกาะกูดสองด้านนั้น ไม่ถูกต้องตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป เพราะอนุสัญญาใช้สำหรับเล็งเส้นในทะเล ไม่ใช่เล็งเส้นผ่านพื้นที่บนบกและอนุสัญญาฯไม่ได้ยอมให้อ้างอิงสิทธิทางประวัติศาสตร์กล่าวโดยสรุป เหตุผลสนับสนุนยกเลิก MOU44 อีกประการหนึ่งคือ MOU44 ไปรับรู้ ทั้งเส้นเขตไหล่ทวีป และเส้นทะเลอาณาเขตของกัมพูชา รับรู้ว่าทั้งสองเส้นรุกล้ำเข้ามาในเขตอธิปไตยของประเทศไทยวันที่ 6 ธันวาคม 2567นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 374 มุมมอง 0 รีวิว
  • กฤษฎีกาเผยคลังยังไม่ส่งชื่อ ว่าที่ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ตรวจสอบ 03/12/67 #กฤษฎีกา #กระทรวงการคลัง #ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
    กฤษฎีกาเผยคลังยังไม่ส่งชื่อ ว่าที่ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ตรวจสอบ 03/12/67 #กฤษฎีกา #กระทรวงการคลัง #ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 757 มุมมอง 86 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีไบเดนอภัยโทษลูกชาย ฮันเตอร์ ไบเดน“การอภัยโทษอย่างสมบูรณ์และไม่มีเงื่อนไข” เกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่ประธานาธิบดีไบเดนจะออกจากตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ ทั้งๆที่ โฆษกของประธานาธิบดีปฏิเสธมานานหลายเดือนว่าไบเดนไม่มีเจตนาที่จะอภัยโทษให้ลูกชายของเขาประธานาธิบดีไบเดนออกคำสั่งอภัยโทษอย่างสมบูรณ์และไม่มีเงื่อนไขแก่ฮันเตอร์ บุตรชายของเขาเมื่อคืนวันอาทิตย์ หลังจากที่เขายืนกรานซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าเขาจะไม่ทำเช่นนั้น โดยใช้พลังอำนาจของตำแหน่งของตนปัดเป่าปัญหาทางกฎหมายที่สะสมมาหลายปี รวมทั้งการถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญาในข้อหาซื้อปืนผิดกฎหมายและการหลีกเลี่ยงภาษีในแถลงการณ์ที่ออกโดยทำเนียบขาว นายไบเดนกล่าวว่าเขาได้ตัดสินใจที่จะออกพระราชกฤษฎีกาผ่อนผันโทษแก่บุตรชายของเขา "สำหรับความผิดต่อสหรัฐอเมริกาที่เขาได้ก่อขึ้นหรืออาจก่อขึ้นหรือมีส่วนร่วมในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2014 ถึง 1 ธันวาคม 2024"เขากล่าวว่าเขาตัดสินใจเช่นนี้เพราะข้อกล่าวหาต่อฮันเตอร์มีแรงจูงใจทางการเมืองและออกแบบมาเพื่อทำร้ายเขาทางการเมือง“ข้อกล่าวหาในคดีของเขาเกิดขึ้นหลังจากที่คู่แข่งทางการเมืองหลายคนในสภาคองเกรสยุยงให้พวกเขาโจมตีฉันและต่อต้านการเลือกตั้งของฉัน” นายไบเดนกล่าวในแถลงการณ์ “ไม่มีบุคคลที่มีเหตุผลคนใดที่มองข้อเท็จจริงในคดีของฮันเตอร์แล้วสามารถสรุปอะไรได้อีกนอกจากว่าฮันเตอร์ถูกเลือกเพียงเพราะเขาเป็นลูกชายของฉันเท่านั้น ซึ่งนั่นไม่ถูกต้อง”เขากล่าวเสริมว่า “มีการพยายามทำลายฮันเตอร์ ซึ่งเลิกเหล้ามาได้ห้าปีครึ่งแล้ว แม้จะต้องเผชิญกับการโจมตีอย่างต่อเนื่องและการดำเนินคดีที่เลือกปฏิบัติ ในความพยายามที่จะทำลายฮันเตอร์ พวกเขาพยายามทำลายฉัน และไม่มีเหตุผลใดที่จะเชื่อว่ามันจะหยุดอยู่แค่ตรงนี้ พอแล้ว”นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและทำงานมาเป็นเวลากว่า 5 ทศวรรษ โดยยึดมั่นในแนวคิดที่ว่าเขาจะไม่ก้าวก่ายการบริหารงานยุติธรรม ในปี 2020 เขาเสนอให้ปลดอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ เจ. ทรัมป์ออกจากตำแหน่งเพื่อฟื้นฟูความเป็นอิสระดังกล่าวในระบอบประชาธิปไตยของอเมริกา และเขาได้โต้แย้งในประเด็นเดียวกันนี้ในปี 2024อย่างไรก็ตาม ในแถลงการณ์ นายไบเดนพยายามหาเหตุผลสนับสนุนการแทรกแซง โดยกล่าวหาว่าศัตรูทางการเมืองของเขาพยายามดำเนินคดีกับลูกชายของเขาด้วยวิธีที่คนอื่นจะไม่ทำ นายไบเดนกล่าวว่าเขายังคงเชื่อมั่นในระบบยุติธรรม แต่กล่าวเสริมว่า “ผมเชื่อว่าการเมืองที่โหดร้ายได้ส่งผลต่อกระบวนการนี้ และนำไปสู่กระบวนการยุติธรรมที่ผิดพลาด และเมื่อผมตัดสินใจเรื่องนี้ในสุดสัปดาห์นี้ ก็ไม่มีเหตุผลที่จะเลื่อนการตัดสินใจนี้ต่อไปอีก”อันที่จริง การประกาศของประธานาธิบดีมีขึ้นในเวลาเดียวกับที่นายทรัมป์ทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าเดิมว่าการดำรงตำแหน่งสมัยที่สองของเขาจะมุ่งเน้นไปที่การแก้แค้นนายไบเดน โดยมีฮันเตอร์ ไบเดนเป็นเป้าหมายหลัก ประธานาธิบดีคนใหม่กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่าเขาจะแต่งตั้งคาช ปาเทล ผู้ภักดีที่ประกาศจะไล่ล่าศัตรูของนายทรัมป์เป็นผู้อำนวยการเอฟบีไอในแถลงการณ์ของเขา นายไบเดนกล่าวว่า “ผมหวังว่าคนอเมริกันจะเข้าใจว่าทำไมพ่อและประธานาธิบดีจึงตัดสินใจเช่นนี้”หลังจากที่นายไบเดนประกาศการอภัยโทษ ฮันเตอร์ ไบเดน ก็ได้ออกแถลงการณ์ของตัวเอง“ผมยอมรับและรับผิดชอบต่อความผิดพลาดของตัวเองในช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดของการติดยา ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่นำมาใช้เพื่อทำให้ผมและครอบครัวต้องอับอายต่อหน้าธารกำนัลเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง” เขากล่าว “ผมจะไม่มองข้ามความเมตตาที่ได้มาในวันนี้ และจะอุทิศชีวิตที่ผมสร้างขึ้นใหม่เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ยังคงเจ็บป่วยและทุกข์ทรมาน”
    ประธานาธิบดีไบเดนอภัยโทษลูกชาย ฮันเตอร์ ไบเดน“การอภัยโทษอย่างสมบูรณ์และไม่มีเงื่อนไข” เกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่ประธานาธิบดีไบเดนจะออกจากตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ ทั้งๆที่ โฆษกของประธานาธิบดีปฏิเสธมานานหลายเดือนว่าไบเดนไม่มีเจตนาที่จะอภัยโทษให้ลูกชายของเขาประธานาธิบดีไบเดนออกคำสั่งอภัยโทษอย่างสมบูรณ์และไม่มีเงื่อนไขแก่ฮันเตอร์ บุตรชายของเขาเมื่อคืนวันอาทิตย์ หลังจากที่เขายืนกรานซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าเขาจะไม่ทำเช่นนั้น โดยใช้พลังอำนาจของตำแหน่งของตนปัดเป่าปัญหาทางกฎหมายที่สะสมมาหลายปี รวมทั้งการถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญาในข้อหาซื้อปืนผิดกฎหมายและการหลีกเลี่ยงภาษีในแถลงการณ์ที่ออกโดยทำเนียบขาว นายไบเดนกล่าวว่าเขาได้ตัดสินใจที่จะออกพระราชกฤษฎีกาผ่อนผันโทษแก่บุตรชายของเขา "สำหรับความผิดต่อสหรัฐอเมริกาที่เขาได้ก่อขึ้นหรืออาจก่อขึ้นหรือมีส่วนร่วมในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2014 ถึง 1 ธันวาคม 2024"เขากล่าวว่าเขาตัดสินใจเช่นนี้เพราะข้อกล่าวหาต่อฮันเตอร์มีแรงจูงใจทางการเมืองและออกแบบมาเพื่อทำร้ายเขาทางการเมือง“ข้อกล่าวหาในคดีของเขาเกิดขึ้นหลังจากที่คู่แข่งทางการเมืองหลายคนในสภาคองเกรสยุยงให้พวกเขาโจมตีฉันและต่อต้านการเลือกตั้งของฉัน” นายไบเดนกล่าวในแถลงการณ์ “ไม่มีบุคคลที่มีเหตุผลคนใดที่มองข้อเท็จจริงในคดีของฮันเตอร์แล้วสามารถสรุปอะไรได้อีกนอกจากว่าฮันเตอร์ถูกเลือกเพียงเพราะเขาเป็นลูกชายของฉันเท่านั้น ซึ่งนั่นไม่ถูกต้อง”เขากล่าวเสริมว่า “มีการพยายามทำลายฮันเตอร์ ซึ่งเลิกเหล้ามาได้ห้าปีครึ่งแล้ว แม้จะต้องเผชิญกับการโจมตีอย่างต่อเนื่องและการดำเนินคดีที่เลือกปฏิบัติ ในความพยายามที่จะทำลายฮันเตอร์ พวกเขาพยายามทำลายฉัน และไม่มีเหตุผลใดที่จะเชื่อว่ามันจะหยุดอยู่แค่ตรงนี้ พอแล้ว”นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและทำงานมาเป็นเวลากว่า 5 ทศวรรษ โดยยึดมั่นในแนวคิดที่ว่าเขาจะไม่ก้าวก่ายการบริหารงานยุติธรรม ในปี 2020 เขาเสนอให้ปลดอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ เจ. ทรัมป์ออกจากตำแหน่งเพื่อฟื้นฟูความเป็นอิสระดังกล่าวในระบอบประชาธิปไตยของอเมริกา และเขาได้โต้แย้งในประเด็นเดียวกันนี้ในปี 2024อย่างไรก็ตาม ในแถลงการณ์ นายไบเดนพยายามหาเหตุผลสนับสนุนการแทรกแซง โดยกล่าวหาว่าศัตรูทางการเมืองของเขาพยายามดำเนินคดีกับลูกชายของเขาด้วยวิธีที่คนอื่นจะไม่ทำ นายไบเดนกล่าวว่าเขายังคงเชื่อมั่นในระบบยุติธรรม แต่กล่าวเสริมว่า “ผมเชื่อว่าการเมืองที่โหดร้ายได้ส่งผลต่อกระบวนการนี้ และนำไปสู่กระบวนการยุติธรรมที่ผิดพลาด และเมื่อผมตัดสินใจเรื่องนี้ในสุดสัปดาห์นี้ ก็ไม่มีเหตุผลที่จะเลื่อนการตัดสินใจนี้ต่อไปอีก”อันที่จริง การประกาศของประธานาธิบดีมีขึ้นในเวลาเดียวกับที่นายทรัมป์ทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าเดิมว่าการดำรงตำแหน่งสมัยที่สองของเขาจะมุ่งเน้นไปที่การแก้แค้นนายไบเดน โดยมีฮันเตอร์ ไบเดนเป็นเป้าหมายหลัก ประธานาธิบดีคนใหม่กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่าเขาจะแต่งตั้งคาช ปาเทล ผู้ภักดีที่ประกาศจะไล่ล่าศัตรูของนายทรัมป์เป็นผู้อำนวยการเอฟบีไอในแถลงการณ์ของเขา นายไบเดนกล่าวว่า “ผมหวังว่าคนอเมริกันจะเข้าใจว่าทำไมพ่อและประธานาธิบดีจึงตัดสินใจเช่นนี้”หลังจากที่นายไบเดนประกาศการอภัยโทษ ฮันเตอร์ ไบเดน ก็ได้ออกแถลงการณ์ของตัวเอง“ผมยอมรับและรับผิดชอบต่อความผิดพลาดของตัวเองในช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดของการติดยา ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่นำมาใช้เพื่อทำให้ผมและครอบครัวต้องอับอายต่อหน้าธารกำนัลเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง” เขากล่าว “ผมจะไม่มองข้ามความเมตตาที่ได้มาในวันนี้ และจะอุทิศชีวิตที่ผมสร้างขึ้นใหม่เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ยังคงเจ็บป่วยและทุกข์ทรมาน”
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 319 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## เพิกถอน MOU 2544 ยึดมั่นพระบรมราชโองการ ##
    ..
    ..
    โดยหลักการ พื้นที่อ้างสิทธิ์ สามารถทับซ้อนกันได้...
    .
    แต่ถ้ามีพื้นที่อ้างสิทธิ์ ทับซ้อนเกินความเป็นจริงไปมาก ทำให้อีกฝั่ง เสียสิทธิ์ โดยไม่ยึดตามหลักกฎหมายทะเลสากล สิ่งนี้รับไม่ได้...
    .
    MOU44 มีแผนที่แนบท้าย ซึ่งวาดเอาเองตามอำเภอใจ ของ กัมพูชา ตีเส้นผ่านเกาะกูด ทำให้พื้นที่ "น่านน้ำภายในอ่าวไทย" และ “ทะเลอาณาเขต” หายไป รวมทั้ง “เขตต่อเนื่อง” อีกด้วย
    .
    อีกทั้งยังเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพื้นที่อ้างสิทธิ์ที่ถูกต้องไป ทำให้เกิดพื้นที่อ้างสิทธิ์ ซึ่งเกิดการทับซ้อนเกินจริงไปมาก...!!!
    .
    ดังนั้น MOU44 มีโอกาสทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบบนเวทีโลก โดยมี กรณีเข้าพระวิหารเป็นตัวอย่างซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว เพียงเพราะแค่ ประเทศไทย ไม่เคยแสดงออก ไม่เคยปฎิเสธ ประเทศไทยก็สูญเสียเขาพระวิหารไปแล้ว สิ่งนี้เขาเรียกว่า “หลักกฎหมายปิดปาก”
    .
    อีกทั้ง MOU44 ซึ่งมีลักษณะ อันอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐได้ ดังนั้น MOU44 จึงถือเป็นหนังสือสัญญา ที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
    .
    ซึ่ง MOU44 ฉบับนี้ ชัดเจนที่สุดมาก ว่าไม่ได้เคยผ่านความเห็นชอบของสภาเลยแม้แต่นิดเดียว จึงเป็นการ ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
    .
    อีกทั้ง MOU44 ฉบับนี้ มีเนื้อหาขัดต่อ พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ที่กำหนดวิธีการ ในการเจรจาไว้แล้ว ว่าจะต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายสากลระหว่างประเทศ ว่าด้วยทะเล เท่านั้น
    .
    ดังนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่ามาทั้งหมดนี้ MOU44 จึงเป็น “โมฆะ” มาตั้งแต่ต้น มีผลเสมือนไม่เคยเกิดมีขึ้นบนโลกใบนี้มาก่อน ตั้งแต่โบราณกาลจวบกระทั่งอนาคต ตราบชั่วฟ้าดินสลาย...!!!
    ...
    ...
    12 กรกฎาคม 2515 กัมพูชา ประกาศเขตไหล่ทวีป ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 รุกล้ำอธิปไตยไทย รุกล้ำทะเลอาณาเขต รุกล้ำทะเลต่อเนื่องไทย และ รุกล้ำเศรษฐกิจจำเพาะไทย...
    .
    โดยไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายสากลว่าด้วยทะเล บทบัญญัติแห่งกรุงเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ.1958...!!!
    .
    มีการนับโขดหิน ขึ้นมาอ้างเพื่อวาดเส้นไหล่ทวีปนี้ ซึ่งขัดกับ กฎหมาย UNCLOS ล่าสุดข้อหนึ่งที่ว่า ไม่ให้นับรวมโขดหินที่มนุษย์ไม่สามารถใช้ชีวิตอาศัยอยู่ได้ ในการขีดเส้นไหล่ทวีป...
    .
    ย้อนกลับไปในวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 พระราชกฤษฎีกากัมพูชา ประกาศไหล่ทวีปฝ่ายเดียวจากหลักเขตที่ 73 อ้อมเกาะกูดของไทยเป็นรูปตัว U ลงนามโดย นายพล ลอนนอน
    .
    ขีดเส้นไหล่ทวีปประชิดเกาะกูด แต่...!!!
    .
    ยอมรับว่า เกาะกูด เป็นของประเทศไทย...!!!
    .
    โดยหลักกหมายสากลทางทะเล ถ้าเกาะกูดเป็นของประเทศไทยจริง...!!!
    .
    เกาะกูดก็ต้องมี...
    .
    1.ทะเลอาณาเขต รอบเกาะกูด (12 ไมล์ทะเล)
    2.ทะเลต่อเนื่องไทย (24 ไมล์ทะเล)
    .
    ดังนั้น ประเทศไทย เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนครั้งที่เสีย ปราสาทพระวิหาร ให้กัมพูชา...
    .
    จึงแก้เกมด้วยการประกาศ พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ของประเทศไทยด้านอ่าวไทย โดย ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นพระมหากัตริย์ เป็นพระประมุขแห่งรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดแห่งรัฐ
    .
    โดยแผนที่นี้ ขีดเส้นไหล่ทวีปด้วยการ ลากจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเส้นฐานที่ใกล้ที่สุดระหว่าง เกาะกูด และ เกาะกง ลงไป เรียกว่า เส้นมัธยฐาน...
    .
    ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตาม หลักกฎหมายทะเลสากล...!!!
    .
    พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ฉบับบนี้ จึงความหมาย เป็นการ "ปฏิเสธเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย"
    .
    โดยใน พระบรมราชโองการ กำหนดชัดเจนว่า "การใช้สิทธิ์อธิปไตย ในการสำรวจแสวงผลประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย" จึงกำหนดเขตไล่ทวีปขึ้น
    .
    ให้เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958 และ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2511
    .
    และ กำหนดวิธีการเจรจาไว้แล้วด้วยว่า ส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียง อันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีป
    .
    จะเป็นไปตามที่ตกลงกัน โดย...!!!
    .
    ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของ อนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958
    .
    เมื่อประเทศไทย ยึดหลักตามหลักกฎหมายทะเลสากล เส้นไหล่ทวีปที่ยึดจึงต้องเป็น เส้นไหล่ทวีป ที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดไว้เท่านั้น...!!!
    .
    ดังนั้น เมื่อยึดเขตไหล่ทวีปตามหลักกฎหมายสากลทางทะเล...!!!
    .
    พลังงานภายใต้ แอ่งปัตตานี ตรงนั้น จึงต้องเป็นของประเทศไทย ทั้งหมด ตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล...!!!
    .
    ไม่จำเป็นต้องแบ่งให้ใครเลย...
    .
    https://www.youtube.com/watch?v=FyksvXqjj1s&t=124s
    ## เพิกถอน MOU 2544 ยึดมั่นพระบรมราชโองการ ## .. .. โดยหลักการ พื้นที่อ้างสิทธิ์ สามารถทับซ้อนกันได้... . แต่ถ้ามีพื้นที่อ้างสิทธิ์ ทับซ้อนเกินความเป็นจริงไปมาก ทำให้อีกฝั่ง เสียสิทธิ์ โดยไม่ยึดตามหลักกฎหมายทะเลสากล สิ่งนี้รับไม่ได้... . MOU44 มีแผนที่แนบท้าย ซึ่งวาดเอาเองตามอำเภอใจ ของ กัมพูชา ตีเส้นผ่านเกาะกูด ทำให้พื้นที่ "น่านน้ำภายในอ่าวไทย" และ “ทะเลอาณาเขต” หายไป รวมทั้ง “เขตต่อเนื่อง” อีกด้วย . อีกทั้งยังเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพื้นที่อ้างสิทธิ์ที่ถูกต้องไป ทำให้เกิดพื้นที่อ้างสิทธิ์ ซึ่งเกิดการทับซ้อนเกินจริงไปมาก...!!! . ดังนั้น MOU44 มีโอกาสทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบบนเวทีโลก โดยมี กรณีเข้าพระวิหารเป็นตัวอย่างซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว เพียงเพราะแค่ ประเทศไทย ไม่เคยแสดงออก ไม่เคยปฎิเสธ ประเทศไทยก็สูญเสียเขาพระวิหารไปแล้ว สิ่งนี้เขาเรียกว่า “หลักกฎหมายปิดปาก” . อีกทั้ง MOU44 ซึ่งมีลักษณะ อันอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐได้ ดังนั้น MOU44 จึงถือเป็นหนังสือสัญญา ที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา . ซึ่ง MOU44 ฉบับนี้ ชัดเจนที่สุดมาก ว่าไม่ได้เคยผ่านความเห็นชอบของสภาเลยแม้แต่นิดเดียว จึงเป็นการ ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ . อีกทั้ง MOU44 ฉบับนี้ มีเนื้อหาขัดต่อ พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ที่กำหนดวิธีการ ในการเจรจาไว้แล้ว ว่าจะต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายสากลระหว่างประเทศ ว่าด้วยทะเล เท่านั้น . ดังนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่ามาทั้งหมดนี้ MOU44 จึงเป็น “โมฆะ” มาตั้งแต่ต้น มีผลเสมือนไม่เคยเกิดมีขึ้นบนโลกใบนี้มาก่อน ตั้งแต่โบราณกาลจวบกระทั่งอนาคต ตราบชั่วฟ้าดินสลาย...!!! ... ... 12 กรกฎาคม 2515 กัมพูชา ประกาศเขตไหล่ทวีป ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 รุกล้ำอธิปไตยไทย รุกล้ำทะเลอาณาเขต รุกล้ำทะเลต่อเนื่องไทย และ รุกล้ำเศรษฐกิจจำเพาะไทย... . โดยไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายสากลว่าด้วยทะเล บทบัญญัติแห่งกรุงเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ.1958...!!! . มีการนับโขดหิน ขึ้นมาอ้างเพื่อวาดเส้นไหล่ทวีปนี้ ซึ่งขัดกับ กฎหมาย UNCLOS ล่าสุดข้อหนึ่งที่ว่า ไม่ให้นับรวมโขดหินที่มนุษย์ไม่สามารถใช้ชีวิตอาศัยอยู่ได้ ในการขีดเส้นไหล่ทวีป... . ย้อนกลับไปในวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 พระราชกฤษฎีกากัมพูชา ประกาศไหล่ทวีปฝ่ายเดียวจากหลักเขตที่ 73 อ้อมเกาะกูดของไทยเป็นรูปตัว U ลงนามโดย นายพล ลอนนอน . ขีดเส้นไหล่ทวีปประชิดเกาะกูด แต่...!!! . ยอมรับว่า เกาะกูด เป็นของประเทศไทย...!!! . โดยหลักกหมายสากลทางทะเล ถ้าเกาะกูดเป็นของประเทศไทยจริง...!!! . เกาะกูดก็ต้องมี... . 1.ทะเลอาณาเขต รอบเกาะกูด (12 ไมล์ทะเล) 2.ทะเลต่อเนื่องไทย (24 ไมล์ทะเล) . ดังนั้น ประเทศไทย เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนครั้งที่เสีย ปราสาทพระวิหาร ให้กัมพูชา... . จึงแก้เกมด้วยการประกาศ พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ของประเทศไทยด้านอ่าวไทย โดย ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นพระมหากัตริย์ เป็นพระประมุขแห่งรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดแห่งรัฐ . โดยแผนที่นี้ ขีดเส้นไหล่ทวีปด้วยการ ลากจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเส้นฐานที่ใกล้ที่สุดระหว่าง เกาะกูด และ เกาะกง ลงไป เรียกว่า เส้นมัธยฐาน... . ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตาม หลักกฎหมายทะเลสากล...!!! . พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ฉบับบนี้ จึงความหมาย เป็นการ "ปฏิเสธเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย" . โดยใน พระบรมราชโองการ กำหนดชัดเจนว่า "การใช้สิทธิ์อธิปไตย ในการสำรวจแสวงผลประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย" จึงกำหนดเขตไล่ทวีปขึ้น . ให้เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958 และ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2511 . และ กำหนดวิธีการเจรจาไว้แล้วด้วยว่า ส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียง อันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีป . จะเป็นไปตามที่ตกลงกัน โดย...!!! . ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของ อนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958 . เมื่อประเทศไทย ยึดหลักตามหลักกฎหมายทะเลสากล เส้นไหล่ทวีปที่ยึดจึงต้องเป็น เส้นไหล่ทวีป ที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดไว้เท่านั้น...!!! . ดังนั้น เมื่อยึดเขตไหล่ทวีปตามหลักกฎหมายสากลทางทะเล...!!! . พลังงานภายใต้ แอ่งปัตตานี ตรงนั้น จึงต้องเป็นของประเทศไทย ทั้งหมด ตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล...!!! . ไม่จำเป็นต้องแบ่งให้ใครเลย... . https://www.youtube.com/watch?v=FyksvXqjj1s&t=124s
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 552 มุมมอง 0 รีวิว
  • 25 พ.ย.2567 - นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง ปัญหา “ความเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”ของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง มีเนื้อหาดังนี้

๑.ข้อเท็จจริง นายกิตติรัตน์ ถือได้ว่าเป็นมือไม้ทำงานทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยโดยแท้ พ้นจาก กลต.แล้ว ก็รับงานเป็นรัฐมนตรีทั้งคลังและพาณิชย์ ให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แม้ช่วงพรรคเพื่อไทยต้องหยุดงานการเมืองสมัย คสช. นายกิตติรัตน์ก็ไปรับเป็นที่ปรึกษา ให้ นายกฯอบจ.เชียงใหม่ เมื่อเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล นายกฯเศรษฐา ก็ตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และพ้นตำแหน่งตามนายกฯเศรษฐาไปในที่สุด๒. พรรคเพื่อไทยกับธนาคารกลาง แนวทางเศรษฐกิจ “ทักษิโณมิคส์” ของทักษิณเน้นการอัดฉีดเงินเข้าระบบมาโดยตลอด ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดกับผู้บริหารธนาคารกลางเป็นระยะเรื่อยมา ทั้งนโยบายดอกเบี้ย และการจัดการเงินเฟ้อ จนมาถึงปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทยพบปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรงนี้ นโยบายแจกเงินดิจิตอลก็บานปลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างฐานคิดทางการเมือง กับฐานคิดในเรื่องความมั่นคงทางการเงินของชาติอย่างชัดเจนยิ่ง มีรัฐมนตรีของพรรคออกมาตำหนิติเตียนธนาคารกลางอย่างเปิดเผยกร้าวร้าวเป็นระยะ ดังตัวนายกิตติรัตน์เองก็เคยประกาศเมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีคลังว่า เฝ้าคิดจะปลดผู้ว่าธนาคารกลางอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเลยทีเดียว๓. พฤติการณ์ “ยึดครองส่วนราชการ” ของ “ระบอบทักษิณ” ระบอบนี้ไม่เคยยอมรับและเคารพในอิสระของราชการประจำที่ต้องยึดมั่นในระเบียบแบบแผนและเหตุผลเป็นหลัก เหตุเพราะพรรคชินวัตรนี้เป็น “เผด็จการพรรคการเมืองนายทุน” มุ่งเอาเงินมาสร้างอำนาจและเอาอำนาจมาสร้างเงินตลอดเวลา ครองอำนาจเมื่อใดก็จะหาทางยึดครองส่วนราชการมาเป็นเบ๊ทุกครั้งไป ทั้งกระทรวงทบวงกรม รัฐวิสาหกิจ ธนาคารของรัฐ ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร จนปัจจุบันก็ได้สร้างคดีความให้เจ้าหน้าที่กับลูกมือของพรรคต้องโทษติดคุกมากมายหลายคน ซึ่งตัวทักษิณเอง ก็ได้ยอมรับความผิดนานาของตนในคำขอพระราชทานอภัยโทษมาแล้วเช่นกัน ด้วยพฤติการณ์ยึดครองอันเป็นนิสัยฝังลึกเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้การส่งนายกิตติรัตน์ผ่านกระบวนการสรรหาจนสำเร็จ ผ่านเป็นรายชื่อเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบให้เป็นประธานคณะกรรมการธนาคารกลางในครั้งนี้ ต้องถูกมองว่า เป็นก้าวแรกของการแทรกซึมเข้ายึดครองการบริหารโดยเด็ดขาดต่อไป ทั้งในการแต่งตั้งผู้ว่าการธนาคาร และคณะกรรมการสำคัญสามคณะ ที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ แล้วกลายเป็นเหตุให้เกิดกระแสคัดค้านต่อต้านขึ้นทั่วไป จนทุกวันนี้ในที่สุด๔. ความผิดพลาดในการแต่งตั้งนายกิตติรัตน์ เป็นประธานธนาคารกลาง ระยะห่างจากการเมืองของธนาคารกลางเป็นหลักการสากลที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายธนาคารชาติก็พยายามวางหลักประกันไว้หลายมาตรการด้วยกัน โดยเฉพาะในการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญทุกตำแหน่งนั้น ก็กำหนดไว้ว่า จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากเคยเป็น ก็ต้องพ้นตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี ซึ่งก็ทำให้กรณีของนายกิตติรัตน์ เกิดปัญหาเป็นข้อพิจารณาสองประการดังนี้๔.๑) ความขัดแย้งต่อกฎหมาย มีข้อพิจารณาว่า การที่นายกิตติรัตน์ พ้นตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ในสมัยนายกฯเศรษฐามาไม่ถึง ๑ ปี นั้น ตำแหน่งนี้เป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ที่ต้องห้ามตาม มาตรา ๑๘ ของ พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไม่ ต่อปัญหานี้มีแนววินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ ๔๘๑/๒๕๓๕ เคยวางไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า คำนี้ครอบคลุมถึง “ผู้ช่วยรัฐมนตรี”ด้วย ทั้งๆที่ตำแหน่งนี้มิใช่ตำแหน่งตามกฎหมายฉบับใด สำหรับเหตุผลนั้นกฤษฎีกาก็อธิบายว่า เป็นคำที่กว้างกว่า “ข้าราชการการเมือง” หมายมุ่งให้ครอบคลุมบุคลากรทั้งหมดที่มีหน้าที่หรือมีส่วนร่วมในการอำนวยการปกครองประเทศ ดังนั้นหากยึดถือตามความหมายอย่างกว้างนี้ ตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ที่นายกฯใช้อำนาจตามกฎหมายแต่งตั้งขึ้น แล้วกำหนดให้ทุกส่วนราชการให้ความร่วมมือตามที่ท่านสั่งการนั้น จึงอยู่ในวิสัยที่จะตีความให้ถือเป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ได้ ซึ่งหาก ครม.นี้ ด่วนมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งและนำความขึ้นกราบบังคมทูลแล้ว กรณีก็อาจเป็นปัญหาโต้แย้งขึ้นมาได้ในภายหลัง หนทางที่รัดกุมที่สุดจึงควรที่จะมีมติให้นำปัญหานี้ปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน เพื่อที่หากภายหลังมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองแล้ว รัฐบาลก็จะมีความเห็นทางกฎหมายที่รัดกุมอธิบายได้เสมอ๔.๒) การใช้ดุลพินิจโดยผิดพลาด ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่นายกฯรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานั้น อาจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีอิสระทางความคิดเคารพตนเอง หรืออาจเป็นเพียงมือไม้ที่คอยรับใช้คิดอ่านให้ตามที่พรรคการเมืองต้องการเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นแม้กรรมการสรรหาจะเห็นว่าตำแหน่งนี้ไม่ใช่ “ตำแหน่งทางการเมือง”ก็ตาม กรรมการก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงระยะห่างจากพรรคการเมือง ของนายกิตติรัตน์อยู่ดี ซึ่งหากไม่ผ่านเกณฑ์ในข้อนี้แล้ว ก็ไม่ควรที่จะสนับสนุนเลยแม้แต่น้อยด้วยเหตุนี้หากคณะกรรมการสรรหาละทิ้งไม่พิจารณาประเด็นนี้ เพราะเห็นว่านายกิตติรัตน์ ผ่านด่านทางกฎหมายแล้ว ตนจะสรรหาอย่างไรก็ได้ไม่ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติความใกล้ชิดพรรคการเมืองอีกต่อไป จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ผิดพลาดยิ่ง และจำเป็นที่ ครม.พึงจะต้องเล็งเห็นถึงปัญหาความไม่เหมาะสมในข้อนี้ให้ถี่ถ้วนด้วยเช่นกัน
    25 พ.ย.2567 - นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง ปัญหา “ความเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”ของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง มีเนื้อหาดังนี้

๑.ข้อเท็จจริง นายกิตติรัตน์ ถือได้ว่าเป็นมือไม้ทำงานทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยโดยแท้ พ้นจาก กลต.แล้ว ก็รับงานเป็นรัฐมนตรีทั้งคลังและพาณิชย์ ให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แม้ช่วงพรรคเพื่อไทยต้องหยุดงานการเมืองสมัย คสช. นายกิตติรัตน์ก็ไปรับเป็นที่ปรึกษา ให้ นายกฯอบจ.เชียงใหม่ เมื่อเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล นายกฯเศรษฐา ก็ตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และพ้นตำแหน่งตามนายกฯเศรษฐาไปในที่สุด๒. พรรคเพื่อไทยกับธนาคารกลาง แนวทางเศรษฐกิจ “ทักษิโณมิคส์” ของทักษิณเน้นการอัดฉีดเงินเข้าระบบมาโดยตลอด ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดกับผู้บริหารธนาคารกลางเป็นระยะเรื่อยมา ทั้งนโยบายดอกเบี้ย และการจัดการเงินเฟ้อ จนมาถึงปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทยพบปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรงนี้ นโยบายแจกเงินดิจิตอลก็บานปลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างฐานคิดทางการเมือง กับฐานคิดในเรื่องความมั่นคงทางการเงินของชาติอย่างชัดเจนยิ่ง มีรัฐมนตรีของพรรคออกมาตำหนิติเตียนธนาคารกลางอย่างเปิดเผยกร้าวร้าวเป็นระยะ ดังตัวนายกิตติรัตน์เองก็เคยประกาศเมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีคลังว่า เฝ้าคิดจะปลดผู้ว่าธนาคารกลางอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเลยทีเดียว๓. พฤติการณ์ “ยึดครองส่วนราชการ” ของ “ระบอบทักษิณ” ระบอบนี้ไม่เคยยอมรับและเคารพในอิสระของราชการประจำที่ต้องยึดมั่นในระเบียบแบบแผนและเหตุผลเป็นหลัก เหตุเพราะพรรคชินวัตรนี้เป็น “เผด็จการพรรคการเมืองนายทุน” มุ่งเอาเงินมาสร้างอำนาจและเอาอำนาจมาสร้างเงินตลอดเวลา ครองอำนาจเมื่อใดก็จะหาทางยึดครองส่วนราชการมาเป็นเบ๊ทุกครั้งไป ทั้งกระทรวงทบวงกรม รัฐวิสาหกิจ ธนาคารของรัฐ ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร จนปัจจุบันก็ได้สร้างคดีความให้เจ้าหน้าที่กับลูกมือของพรรคต้องโทษติดคุกมากมายหลายคน ซึ่งตัวทักษิณเอง ก็ได้ยอมรับความผิดนานาของตนในคำขอพระราชทานอภัยโทษมาแล้วเช่นกัน ด้วยพฤติการณ์ยึดครองอันเป็นนิสัยฝังลึกเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้การส่งนายกิตติรัตน์ผ่านกระบวนการสรรหาจนสำเร็จ ผ่านเป็นรายชื่อเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบให้เป็นประธานคณะกรรมการธนาคารกลางในครั้งนี้ ต้องถูกมองว่า เป็นก้าวแรกของการแทรกซึมเข้ายึดครองการบริหารโดยเด็ดขาดต่อไป ทั้งในการแต่งตั้งผู้ว่าการธนาคาร และคณะกรรมการสำคัญสามคณะ ที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ แล้วกลายเป็นเหตุให้เกิดกระแสคัดค้านต่อต้านขึ้นทั่วไป จนทุกวันนี้ในที่สุด๔. ความผิดพลาดในการแต่งตั้งนายกิตติรัตน์ เป็นประธานธนาคารกลาง ระยะห่างจากการเมืองของธนาคารกลางเป็นหลักการสากลที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายธนาคารชาติก็พยายามวางหลักประกันไว้หลายมาตรการด้วยกัน โดยเฉพาะในการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญทุกตำแหน่งนั้น ก็กำหนดไว้ว่า จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากเคยเป็น ก็ต้องพ้นตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี ซึ่งก็ทำให้กรณีของนายกิตติรัตน์ เกิดปัญหาเป็นข้อพิจารณาสองประการดังนี้๔.๑) ความขัดแย้งต่อกฎหมาย มีข้อพิจารณาว่า การที่นายกิตติรัตน์ พ้นตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ในสมัยนายกฯเศรษฐามาไม่ถึง ๑ ปี นั้น ตำแหน่งนี้เป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ที่ต้องห้ามตาม มาตรา ๑๘ ของ พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไม่ ต่อปัญหานี้มีแนววินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ ๔๘๑/๒๕๓๕ เคยวางไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า คำนี้ครอบคลุมถึง “ผู้ช่วยรัฐมนตรี”ด้วย ทั้งๆที่ตำแหน่งนี้มิใช่ตำแหน่งตามกฎหมายฉบับใด สำหรับเหตุผลนั้นกฤษฎีกาก็อธิบายว่า เป็นคำที่กว้างกว่า “ข้าราชการการเมือง” หมายมุ่งให้ครอบคลุมบุคลากรทั้งหมดที่มีหน้าที่หรือมีส่วนร่วมในการอำนวยการปกครองประเทศ ดังนั้นหากยึดถือตามความหมายอย่างกว้างนี้ ตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ที่นายกฯใช้อำนาจตามกฎหมายแต่งตั้งขึ้น แล้วกำหนดให้ทุกส่วนราชการให้ความร่วมมือตามที่ท่านสั่งการนั้น จึงอยู่ในวิสัยที่จะตีความให้ถือเป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ได้ ซึ่งหาก ครม.นี้ ด่วนมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งและนำความขึ้นกราบบังคมทูลแล้ว กรณีก็อาจเป็นปัญหาโต้แย้งขึ้นมาได้ในภายหลัง หนทางที่รัดกุมที่สุดจึงควรที่จะมีมติให้นำปัญหานี้ปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน เพื่อที่หากภายหลังมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองแล้ว รัฐบาลก็จะมีความเห็นทางกฎหมายที่รัดกุมอธิบายได้เสมอ๔.๒) การใช้ดุลพินิจโดยผิดพลาด ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่นายกฯรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานั้น อาจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีอิสระทางความคิดเคารพตนเอง หรืออาจเป็นเพียงมือไม้ที่คอยรับใช้คิดอ่านให้ตามที่พรรคการเมืองต้องการเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นแม้กรรมการสรรหาจะเห็นว่าตำแหน่งนี้ไม่ใช่ “ตำแหน่งทางการเมือง”ก็ตาม กรรมการก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงระยะห่างจากพรรคการเมือง ของนายกิตติรัตน์อยู่ดี ซึ่งหากไม่ผ่านเกณฑ์ในข้อนี้แล้ว ก็ไม่ควรที่จะสนับสนุนเลยแม้แต่น้อยด้วยเหตุนี้หากคณะกรรมการสรรหาละทิ้งไม่พิจารณาประเด็นนี้ เพราะเห็นว่านายกิตติรัตน์ ผ่านด่านทางกฎหมายแล้ว ตนจะสรรหาอย่างไรก็ได้ไม่ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติความใกล้ชิดพรรคการเมืองอีกต่อไป จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ผิดพลาดยิ่ง และจำเป็นที่ ครม.พึงจะต้องเล็งเห็นถึงปัญหาความไม่เหมาะสมในข้อนี้ให้ถี่ถ้วนด้วยเช่นกัน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 577 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดร.สุรเกียรติ์ยิ่งก่อข้อสงสัยรูป 1-2 มีเอกสารวิชาการเขียนโดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เกี่ยวกับ MOU44 เผยแพร่ในปี 2554 จุลสารความมั่นคงศึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ มีข้อมูลสำคัญที่ผมไม่รู้มาก่อนแต่ข้อมูลใหม่เหล่านี้ ยิ่งก่อข้อสงสัยในเจตนารมณ์ที่รัฐบาลของอดีตนายกฯทักษิณไปจัดทำ MOU44 🫡 ข้อสงสัยที่หนึ่ง กัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดจริงหรือ?รูป 3-6 คือพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา ผมเข้าใจมาตลอดว่า กัมพูชาขีดเส้นพาดผ่านเกาะกูด แต่ในเอกสารหน้า 6-9 ดร.สุรเกียรติ์วิเคราะห์ว่ากัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดแผนที่รูป 6 ขยายไปเป็นรูป 7 ท่านเขียนว่าเส้นของกัมพูชาลากจากจุด A บนชายฝั่งมาจนถึงชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วไปเริ่มเส้นต่อไปจากชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันตก ประกอบกับท่านเห็นว่า ในแผนที่มีการระบุชื่อเกาะกูดว่า Koh Kut (Siam) ซึ่งท่านอนุมาน'เป็นการบ่งบอกว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย' ท่านจึงตีความว่า "ดังนั้น กัมพูชาไม่เคยอ้างอธิปไตยเหนือเกาะกูด"🧐 ผมโต้แย้ง:- ในรูป 3 พระราชกฤษฎีกา กัมพูชาระบุตั้งใจลากเส้นโดยอ้างอิงสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส คศ 1907 เพราะต้องการใช้ประโยชน์จากในสนธิสัญญาฯ มีข้อความ "ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด" ดังนั้น ถึงแม้ในรูป 7 ท่านตีความว่ากัมพูชาแสดงเจตนาไม่ต้องการให้เส้นผ่านเกาะกูด แต่อาจเป็นการตีความเข้าข้างตัวเอง🥶 ข้อสงสัย:- ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้แน่นอนว่า วันหน้ากัมพูชาจะไม่อ้างว่าไทยรับรู้ใน MOU44 แล้วว่า โดยสภาพความเป็นจริง เส้นนี้ย่อมมีเจตนาผ่านเกาะกูด เพราะ (ก) พระราชกฤษฎีกามีการอ้างอิงตำแหน่งแห่งหนที่ตั้งอยู่เฉพาะบนเกาะกูด และ(ข) ตรรกแห่งการตีเส้นเขตไหล่ทวีปที่ขาดแหว่งเป็นเส้นประ ไม่อยู่ในข้อใดในอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีป มีแต่เส้นต่อเนื่องทั้งนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สอง กัมพูชายอมรับว่าเกาะกูดเป็นอธิปไตยของไทยจริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35-36 ท่านเขียนว่า "ถึงแม้ว่าบันทึกความเข้าใจนี้จะไม่ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดของการเจรจามีผลผูกพันทั้งสองประเทศเกี่ยวกับเส้นเขตทางทะเล แต่อย่างน้อยที่สุด ก็ถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการที่รัฐบาลกัมพูชาในปัจจุบันได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด" และ"ภายหลังจากการลงนามในบันทึกความเข้าใจแล้วนั้น ฝ่ายไทยก็ได้มอบหมายให้ผู้เขียนพยายามที่จะเจรจาในระดับรัฐมตรีเพื่อไม่ไม่ให้เส้นเขตแดนล้อมรอบเกาะกูดถูกกำหนดเป็นรูปตัว "U" ซึ่งผู้เขียนจำได้ว่าเคยหารือกับนาย ซก อาน รัฐมนตรีอาวุโสของกัมพูชา (ตำแหน่งในขณะนั้น) ว่าเหตุใดเส้นเขตแดนจึงมีโค้งเป็นเบ้าขนมครก เหตุใดจึงไม่เป็นเส้นตรง ซึ่งหมายความว่าจากหลักเขตแดนที่ 73 นั้น เส้นเขตทางทะเลควรจะลากจากลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นเส้นตรง และต้องไม่ลากผ่านเกาะกูด มิใช่ลากเส้นมาถึงเกาะกูดแล้ว จึงเกิดส่วนเว้าหลบอ้อมเกาะกูดไป ซึ่งในแง่ของไทยแล้วการลากเส้นเขตแดนเป็นเส้นตรงโดยไม่ผ่านกึ่งกลางของเกาะกูดจะมีผลทำให้อธิปไตยของเกาะกูดมีความชัดเจนมากขึ้น และทำให้อาณาเขตรวมของพื้นที่ทับช้อนทางทะเลมีขนาดเล็กลง ดังรูป 10 (เป็นเส้นประที่ลูกศรขี้ซึ่งแสดงอยู่ในรูป 8 )ซึ่งในเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการที่ฝ่ายกัมพูชาจะขอความเห็นชอบจากผู้นำสูงสุดของกัมพูชา แต่ผู้เขียนได้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคไปเสียก่อน"🧐 ผมโต้แย้ง:- กัมพูชาไม่ได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่าประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด เพราะ(ก) ไม่มีข้อความเช่นนั้นแม้แต่คำเดียวปรากฏใน MOU44 กลับเป็นการตีความของท่านฝ่ายเดียว(ข) ถ้ากัมพูชายอมรับเช่นนั้นจริง เส้นจะต้องไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด แต่จะต้องเอียงลงตะวันตกเฉียงใต้ ดังที่ท่านเองก็ยอมรับในบทความ🥶 ข้อสงสัย:- ในขณะที่ลงนามใน MOU44 ท่านทราบหรือไม่ว่า เส้นที่ถูกต้องคือไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด? ถ้าทราบ ท่านไปลงนามทำไม?🫡 ข้อสงสัยที่สาม:- ฝ่ายไทยควรพอใจแผนผังแนบท้าย MOU44 จริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35 ท่านเขียนว่า"ดังนั้น แผนผังแนบท้ายบันทึกความเข้าใจนี้จึงเป็นสิ่งที่ฝ่ายไทยพอใจเพราะแสดงถึงความคืบหน้าในการเจรจาจุดเริ่มต้นของการลงเส้นเขตทางทะเลจากหลักเขตแดนทางบกที่ตรงกับจุดยืนของไทย และเส้นที่ลากนั้นได้ยอมรับอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูด และยังยอมรับอธิบไตยของไทยเหนือทะเลอาณาเขตรอบๆ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ไม่มีเหตุผลใดที่ไทยควรจะพอใจกับการแสดงแผนที่ซึ่งเป็นแผนผังแนบท้าย MOU44 เพราะแสดงเส้นของสองประเทศที่ไม่เท่าเทียมกัน คือเส้นของไทยประกาศตามอนุสัญญาเจนีวา ในขณะที่เส้นของกัมพูชาไม่เป็นเช่นนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สี่:- ท่านรู้ว่า MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้น หรือไม่?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"(5) บันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ลงนามโดยผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศ จึงมีสถานะเป็นสนธิสัญญาตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969"🧐 ผมโต้แย้ง:- ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะท่านในฐานะผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลไทย ไปลงนามในสนธิสัญญา ..ทั้งที่มิได้มีการทูลเกล้าฯ และมีได้มีการนำเสนอรัฐสภาเสียก่อน เป็นการกระทำเกินอำนาจ ultra vires จึงไม่ผูกพันรัฐบาลไทย และทำให้ MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้นผมเห็นว่าไม่มีเอกสารหลักฐานชิ้นไหน ที่มีความสำคัญเท่าชิ้นนี้อีกแล้ว🫡 ข้อสงสัยที่ห้า:- ทำไมท่านไม่แจ้งรัฐบาลว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ ผิด?ในเอกสารหน้า 11-12 ท่านวิเคราะห์ว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ เข้าข้างตัวเองว่าเป็นการแบ่งเขตทางทะเล แต่เจตนารมณ์เป็นเพียงเพื่อกำหนดเส้นแบ่งเขตทางบก ซึ่งตรงกับของผม 🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นของกัมพูชาไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ท่านควรจะแจ้งให้รัฐบาลของท่านนายกทักษิณทราบ และกต.น่าจะแจ้งให้รัฐบาลต่างๆ ทราบ 🫡 ข้อสงสัยที่หก:- ท่านรู้หรือไม่ว่าเส้นของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป?ข้อ 6 ในอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ไม่ได้อนุญาตการลากเส้นที่อ้างอิงสิทธิทางประวัติศาสตร์ดังเช่นกรณีขอทะเลอาณาเขต แต่กัมพูชากลับไปอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เป็นสิทธิทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ และขัดกับอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปอย่างสิ้นเชิง🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป ทำไมท่านไม่โต้แย้งกัมพูชาเป็นลายลักษณ์อักษร?🫡 ข้อสงสัยที่เจ็ด:- ทำไมท่านไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"ภายหลังจากที่ผู้เขียนได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ก็ได้รับทราบถึงผลการเจรจาร่วมกันในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และได้มีความเห็นตรงกันว่าควรมีการเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลกัมพูชาเนื่องจากเป็นประเทศเดียวที่ไทยยังไม่เคยเจรจาอย่างจริงจังเพื่อแสวงพาผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งๆ ที่ได้มีการเจรจากับรัฐบาลมาเลเซียและเวียดนามจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยไปแล้ว ดังนั้น จึงได้มีการเริ่มเปิดการเจรจากับกัมพูชาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเขตพื้นที่ที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับช้อนกัน และการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย จนสามารถกำหนดแนวทางการเจรจาและการดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้งสองประเทศที่เมืองเสียมราฐ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2544 และนำไปสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ประชาชนมีข้อสงสัยดังนี้(ก) ในลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เริ่มต้นจากการเจรจาเส้นเขตแดนของทั้งสองประเทศให้เสร็จเรียบร้อยก่อน จึงจะได้อาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย เป็นขั้นตอน ใช้ม้าลากรถแต่ลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-กัมพูชา เริ่มต้นจากการกำหนดอาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมขึ้นมาเอง เป็นการรีบร้อนลัดขั้นตอน ใช้รถลากม้า(ข) การเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย ใช้เวลาหลายปี ท่านใช้เวลาเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาเพียงสองสามเดือนส่อเจตนาชัดเจนว่าให้ความสำคัญลำดับหนึ่งแก่การแสวงหาประโยชน์ปิโตรเลียม จนมีความเสี่ยงเรื่องเขตแดนเกิดขึ้นการเร่งรีบเช่นนี้ ทำให้ประชาชนกังวลว่า มีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่ในการเจรจาหรือไม่🧐 ผมขอย้ำว่า เขียนบทความนี้ด้วยความเคารพ และหวังจะให้ประโยชน์แก่รัฐมนตรีพรรคร่วมอย่างเต็มที่เป็นสำคัญวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    ดร.สุรเกียรติ์ยิ่งก่อข้อสงสัยรูป 1-2 มีเอกสารวิชาการเขียนโดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เกี่ยวกับ MOU44 เผยแพร่ในปี 2554 จุลสารความมั่นคงศึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ มีข้อมูลสำคัญที่ผมไม่รู้มาก่อนแต่ข้อมูลใหม่เหล่านี้ ยิ่งก่อข้อสงสัยในเจตนารมณ์ที่รัฐบาลของอดีตนายกฯทักษิณไปจัดทำ MOU44 🫡 ข้อสงสัยที่หนึ่ง กัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดจริงหรือ?รูป 3-6 คือพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา ผมเข้าใจมาตลอดว่า กัมพูชาขีดเส้นพาดผ่านเกาะกูด แต่ในเอกสารหน้า 6-9 ดร.สุรเกียรติ์วิเคราะห์ว่ากัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดแผนที่รูป 6 ขยายไปเป็นรูป 7 ท่านเขียนว่าเส้นของกัมพูชาลากจากจุด A บนชายฝั่งมาจนถึงชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วไปเริ่มเส้นต่อไปจากชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันตก ประกอบกับท่านเห็นว่า ในแผนที่มีการระบุชื่อเกาะกูดว่า Koh Kut (Siam) ซึ่งท่านอนุมาน'เป็นการบ่งบอกว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย' ท่านจึงตีความว่า "ดังนั้น กัมพูชาไม่เคยอ้างอธิปไตยเหนือเกาะกูด"🧐 ผมโต้แย้ง:- ในรูป 3 พระราชกฤษฎีกา กัมพูชาระบุตั้งใจลากเส้นโดยอ้างอิงสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส คศ 1907 เพราะต้องการใช้ประโยชน์จากในสนธิสัญญาฯ มีข้อความ "ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด" ดังนั้น ถึงแม้ในรูป 7 ท่านตีความว่ากัมพูชาแสดงเจตนาไม่ต้องการให้เส้นผ่านเกาะกูด แต่อาจเป็นการตีความเข้าข้างตัวเอง🥶 ข้อสงสัย:- ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้แน่นอนว่า วันหน้ากัมพูชาจะไม่อ้างว่าไทยรับรู้ใน MOU44 แล้วว่า โดยสภาพความเป็นจริง เส้นนี้ย่อมมีเจตนาผ่านเกาะกูด เพราะ (ก) พระราชกฤษฎีกามีการอ้างอิงตำแหน่งแห่งหนที่ตั้งอยู่เฉพาะบนเกาะกูด และ(ข) ตรรกแห่งการตีเส้นเขตไหล่ทวีปที่ขาดแหว่งเป็นเส้นประ ไม่อยู่ในข้อใดในอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีป มีแต่เส้นต่อเนื่องทั้งนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สอง กัมพูชายอมรับว่าเกาะกูดเป็นอธิปไตยของไทยจริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35-36 ท่านเขียนว่า "ถึงแม้ว่าบันทึกความเข้าใจนี้จะไม่ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดของการเจรจามีผลผูกพันทั้งสองประเทศเกี่ยวกับเส้นเขตทางทะเล แต่อย่างน้อยที่สุด ก็ถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการที่รัฐบาลกัมพูชาในปัจจุบันได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด" และ"ภายหลังจากการลงนามในบันทึกความเข้าใจแล้วนั้น ฝ่ายไทยก็ได้มอบหมายให้ผู้เขียนพยายามที่จะเจรจาในระดับรัฐมตรีเพื่อไม่ไม่ให้เส้นเขตแดนล้อมรอบเกาะกูดถูกกำหนดเป็นรูปตัว "U" ซึ่งผู้เขียนจำได้ว่าเคยหารือกับนาย ซก อาน รัฐมนตรีอาวุโสของกัมพูชา (ตำแหน่งในขณะนั้น) ว่าเหตุใดเส้นเขตแดนจึงมีโค้งเป็นเบ้าขนมครก เหตุใดจึงไม่เป็นเส้นตรง ซึ่งหมายความว่าจากหลักเขตแดนที่ 73 นั้น เส้นเขตทางทะเลควรจะลากจากลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นเส้นตรง และต้องไม่ลากผ่านเกาะกูด มิใช่ลากเส้นมาถึงเกาะกูดแล้ว จึงเกิดส่วนเว้าหลบอ้อมเกาะกูดไป ซึ่งในแง่ของไทยแล้วการลากเส้นเขตแดนเป็นเส้นตรงโดยไม่ผ่านกึ่งกลางของเกาะกูดจะมีผลทำให้อธิปไตยของเกาะกูดมีความชัดเจนมากขึ้น และทำให้อาณาเขตรวมของพื้นที่ทับช้อนทางทะเลมีขนาดเล็กลง ดังรูป 10 (เป็นเส้นประที่ลูกศรขี้ซึ่งแสดงอยู่ในรูป 8 )ซึ่งในเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการที่ฝ่ายกัมพูชาจะขอความเห็นชอบจากผู้นำสูงสุดของกัมพูชา แต่ผู้เขียนได้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคไปเสียก่อน"🧐 ผมโต้แย้ง:- กัมพูชาไม่ได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่าประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด เพราะ(ก) ไม่มีข้อความเช่นนั้นแม้แต่คำเดียวปรากฏใน MOU44 กลับเป็นการตีความของท่านฝ่ายเดียว(ข) ถ้ากัมพูชายอมรับเช่นนั้นจริง เส้นจะต้องไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด แต่จะต้องเอียงลงตะวันตกเฉียงใต้ ดังที่ท่านเองก็ยอมรับในบทความ🥶 ข้อสงสัย:- ในขณะที่ลงนามใน MOU44 ท่านทราบหรือไม่ว่า เส้นที่ถูกต้องคือไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด? ถ้าทราบ ท่านไปลงนามทำไม?🫡 ข้อสงสัยที่สาม:- ฝ่ายไทยควรพอใจแผนผังแนบท้าย MOU44 จริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35 ท่านเขียนว่า"ดังนั้น แผนผังแนบท้ายบันทึกความเข้าใจนี้จึงเป็นสิ่งที่ฝ่ายไทยพอใจเพราะแสดงถึงความคืบหน้าในการเจรจาจุดเริ่มต้นของการลงเส้นเขตทางทะเลจากหลักเขตแดนทางบกที่ตรงกับจุดยืนของไทย และเส้นที่ลากนั้นได้ยอมรับอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูด และยังยอมรับอธิบไตยของไทยเหนือทะเลอาณาเขตรอบๆ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ไม่มีเหตุผลใดที่ไทยควรจะพอใจกับการแสดงแผนที่ซึ่งเป็นแผนผังแนบท้าย MOU44 เพราะแสดงเส้นของสองประเทศที่ไม่เท่าเทียมกัน คือเส้นของไทยประกาศตามอนุสัญญาเจนีวา ในขณะที่เส้นของกัมพูชาไม่เป็นเช่นนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สี่:- ท่านรู้ว่า MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้น หรือไม่?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"(5) บันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ลงนามโดยผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศ จึงมีสถานะเป็นสนธิสัญญาตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969"🧐 ผมโต้แย้ง:- ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะท่านในฐานะผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลไทย ไปลงนามในสนธิสัญญา ..ทั้งที่มิได้มีการทูลเกล้าฯ และมีได้มีการนำเสนอรัฐสภาเสียก่อน เป็นการกระทำเกินอำนาจ ultra vires จึงไม่ผูกพันรัฐบาลไทย และทำให้ MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้นผมเห็นว่าไม่มีเอกสารหลักฐานชิ้นไหน ที่มีความสำคัญเท่าชิ้นนี้อีกแล้ว🫡 ข้อสงสัยที่ห้า:- ทำไมท่านไม่แจ้งรัฐบาลว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ ผิด?ในเอกสารหน้า 11-12 ท่านวิเคราะห์ว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ เข้าข้างตัวเองว่าเป็นการแบ่งเขตทางทะเล แต่เจตนารมณ์เป็นเพียงเพื่อกำหนดเส้นแบ่งเขตทางบก ซึ่งตรงกับของผม 🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นของกัมพูชาไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ท่านควรจะแจ้งให้รัฐบาลของท่านนายกทักษิณทราบ และกต.น่าจะแจ้งให้รัฐบาลต่างๆ ทราบ 🫡 ข้อสงสัยที่หก:- ท่านรู้หรือไม่ว่าเส้นของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป?ข้อ 6 ในอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ไม่ได้อนุญาตการลากเส้นที่อ้างอิงสิทธิทางประวัติศาสตร์ดังเช่นกรณีขอทะเลอาณาเขต แต่กัมพูชากลับไปอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เป็นสิทธิทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ และขัดกับอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปอย่างสิ้นเชิง🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป ทำไมท่านไม่โต้แย้งกัมพูชาเป็นลายลักษณ์อักษร?🫡 ข้อสงสัยที่เจ็ด:- ทำไมท่านไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"ภายหลังจากที่ผู้เขียนได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ก็ได้รับทราบถึงผลการเจรจาร่วมกันในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และได้มีความเห็นตรงกันว่าควรมีการเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลกัมพูชาเนื่องจากเป็นประเทศเดียวที่ไทยยังไม่เคยเจรจาอย่างจริงจังเพื่อแสวงพาผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งๆ ที่ได้มีการเจรจากับรัฐบาลมาเลเซียและเวียดนามจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยไปแล้ว ดังนั้น จึงได้มีการเริ่มเปิดการเจรจากับกัมพูชาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเขตพื้นที่ที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับช้อนกัน และการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย จนสามารถกำหนดแนวทางการเจรจาและการดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้งสองประเทศที่เมืองเสียมราฐ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2544 และนำไปสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ประชาชนมีข้อสงสัยดังนี้(ก) ในลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เริ่มต้นจากการเจรจาเส้นเขตแดนของทั้งสองประเทศให้เสร็จเรียบร้อยก่อน จึงจะได้อาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย เป็นขั้นตอน ใช้ม้าลากรถแต่ลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-กัมพูชา เริ่มต้นจากการกำหนดอาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมขึ้นมาเอง เป็นการรีบร้อนลัดขั้นตอน ใช้รถลากม้า(ข) การเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย ใช้เวลาหลายปี ท่านใช้เวลาเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาเพียงสองสามเดือนส่อเจตนาชัดเจนว่าให้ความสำคัญลำดับหนึ่งแก่การแสวงหาประโยชน์ปิโตรเลียม จนมีความเสี่ยงเรื่องเขตแดนเกิดขึ้นการเร่งรีบเช่นนี้ ทำให้ประชาชนกังวลว่า มีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่ในการเจรจาหรือไม่🧐 ผมขอย้ำว่า เขียนบทความนี้ด้วยความเคารพ และหวังจะให้ประโยชน์แก่รัฐมนตรีพรรคร่วมอย่างเต็มที่เป็นสำคัญวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 634 มุมมอง 0 รีวิว
  • ธรณีสงฆ์อัลไพน์ถึงเขากระโดงในเกมการเมือง.การออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของรัฐมนตรีหลายคนที่เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดงในช่วงนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ .จู่ๆ หลังจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล ไปลงนามข้อตกลงกับกัมพูชาหลายเรื่อง ในการนำผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไปประชุมกัมพูชานั้น ในข้อที่ 8 ของข้อตกลง มีข้อความชัดเจนว่ารัฐบาลของสองประเทศจะเร่งรัดคณะกรรมการปักปันเขตแดนเจรจาทำการปักปันเขตแดนกันต่อไปโดยเร็ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงกระเทือนแกนนำพรรคเพื่อไทยอย่างร้ายแรง .แผลลึกแผลนี้ยังไม่ทันสมาน ก็เกิดแผลสองขึ้น จู่ๆ กระทรวงมหาดไทยในอำนาจของหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย คือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล และ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ แกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย มีคำสั่งให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินมรดก "ยายเนื่อม" เสียทั้งสิ้น ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองทางกฎหมาย เป็นผลทำให้บรรดาผู้ที่ซื้อที่ดินและบ้านหลายร้อยราย รวมทั้งบริษัท อัลไพน์ กอล์ฟ ซึ่งเป็นเจ้าของสนามกอล์ฟอัลไพน์ และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ เป็นกรรมการมาก่อน ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายที่ต้องฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนคำสั่งนี้เสียภายใน 90 วัน มิฉะนั้นแล้วจะถือว่าเป็นอันยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ธรณีสงฆ์ จะเป็นผลทำให้นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ต้องตกเก้าอี้และยังถูกเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต.แผลใจแผลนี้นับว่าเจ็บมาก ดังนั้น ไม่ถึง 3 วันต่อมา พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ก็ออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่าคำพิพากษาคดีเขากระโดงของศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุดแล้ว ผูกพันทุกส่วนราชการที่จะต้องเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ให้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามคำพิพากษานั้น เป็นการแถลงกระทบถึงใครที่กำลังสั่งการอธิบดีกรมที่ดินอย่างแน่นอน.พอ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงไม่ขาดคำ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนทันที ว่าได้มีคำสั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการตามคำพิพากษา เข้าครอบครองที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษา.เมื่อสองรัฐมนตรีแถลงไปในแนวทางเดียวกัน ย่อมกระเทือนกระทรวงมหาดไทย กรมที่ดิน ท่ามกลางเสียงเฮ และความทุเรศทุรังที่ประชาชนมีต่อกระทรวงมหาดไทย.วันถัดมา นายอนุทิน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รีบออกมาแถลง แถว่าจะไม่มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์เขากระโดง หมายความว่าที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการรถไฟ และรัชกาลที่ 6 ได้ตราพระราชกฤษฎีกามอบที่ดินนี้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม .มีประเด็นหนึ่งที่น่าสงสัย คือ ท่าทีขึงขังและแข็งกร้าวของสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นการเล่นสงครามประสาททางการเมืองหรือเปล่า พุ่งเป้าไปที่พรรคภูมิใจไทยโดยตรง เนื่องจากเวลานี้พรรคภูมิใจไทยเอง อยู่ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลที่ขี่คอพรรคเพื่อไทยอยู่ ยิ่งพรรคภูมิใจไทยใหญ่คับรัฐบาลมากเท่าไร พรรคเพื่อไทยก็ต้องตกที่นั่งลำบากเท่านั้น.ไม่ทราบว่าท่านรองนายกฯ อนุทิน ชาญวีรกูล ได้รับทราบปัญหานี้หรือเปล่า เพราะคุณเองเป็นคนที่อยู่นอกวงการ แต่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ จุลจอมเกล้า นี่คุณกำลังตบหน้าพระราชกฤษฎีกาที่รัชกาลที่ 6 ออกมาประกาศว่าที่ดินนี้เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    ธรณีสงฆ์อัลไพน์ถึงเขากระโดงในเกมการเมือง.การออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของรัฐมนตรีหลายคนที่เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดงในช่วงนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ .จู่ๆ หลังจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล ไปลงนามข้อตกลงกับกัมพูชาหลายเรื่อง ในการนำผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไปประชุมกัมพูชานั้น ในข้อที่ 8 ของข้อตกลง มีข้อความชัดเจนว่ารัฐบาลของสองประเทศจะเร่งรัดคณะกรรมการปักปันเขตแดนเจรจาทำการปักปันเขตแดนกันต่อไปโดยเร็ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงกระเทือนแกนนำพรรคเพื่อไทยอย่างร้ายแรง .แผลลึกแผลนี้ยังไม่ทันสมาน ก็เกิดแผลสองขึ้น จู่ๆ กระทรวงมหาดไทยในอำนาจของหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย คือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล และ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ แกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย มีคำสั่งให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินมรดก "ยายเนื่อม" เสียทั้งสิ้น ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองทางกฎหมาย เป็นผลทำให้บรรดาผู้ที่ซื้อที่ดินและบ้านหลายร้อยราย รวมทั้งบริษัท อัลไพน์ กอล์ฟ ซึ่งเป็นเจ้าของสนามกอล์ฟอัลไพน์ และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ เป็นกรรมการมาก่อน ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายที่ต้องฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนคำสั่งนี้เสียภายใน 90 วัน มิฉะนั้นแล้วจะถือว่าเป็นอันยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ธรณีสงฆ์ จะเป็นผลทำให้นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ต้องตกเก้าอี้และยังถูกเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต.แผลใจแผลนี้นับว่าเจ็บมาก ดังนั้น ไม่ถึง 3 วันต่อมา พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ก็ออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่าคำพิพากษาคดีเขากระโดงของศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุดแล้ว ผูกพันทุกส่วนราชการที่จะต้องเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ให้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามคำพิพากษานั้น เป็นการแถลงกระทบถึงใครที่กำลังสั่งการอธิบดีกรมที่ดินอย่างแน่นอน.พอ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงไม่ขาดคำ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนทันที ว่าได้มีคำสั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการตามคำพิพากษา เข้าครอบครองที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษา.เมื่อสองรัฐมนตรีแถลงไปในแนวทางเดียวกัน ย่อมกระเทือนกระทรวงมหาดไทย กรมที่ดิน ท่ามกลางเสียงเฮ และความทุเรศทุรังที่ประชาชนมีต่อกระทรวงมหาดไทย.วันถัดมา นายอนุทิน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รีบออกมาแถลง แถว่าจะไม่มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์เขากระโดง หมายความว่าที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการรถไฟ และรัชกาลที่ 6 ได้ตราพระราชกฤษฎีกามอบที่ดินนี้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม .มีประเด็นหนึ่งที่น่าสงสัย คือ ท่าทีขึงขังและแข็งกร้าวของสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นการเล่นสงครามประสาททางการเมืองหรือเปล่า พุ่งเป้าไปที่พรรคภูมิใจไทยโดยตรง เนื่องจากเวลานี้พรรคภูมิใจไทยเอง อยู่ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลที่ขี่คอพรรคเพื่อไทยอยู่ ยิ่งพรรคภูมิใจไทยใหญ่คับรัฐบาลมากเท่าไร พรรคเพื่อไทยก็ต้องตกที่นั่งลำบากเท่านั้น.ไม่ทราบว่าท่านรองนายกฯ อนุทิน ชาญวีรกูล ได้รับทราบปัญหานี้หรือเปล่า เพราะคุณเองเป็นคนที่อยู่นอกวงการ แต่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ จุลจอมเกล้า นี่คุณกำลังตบหน้าพระราชกฤษฎีกาที่รัชกาลที่ 6 ออกมาประกาศว่าที่ดินนี้เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    Like
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 732 มุมมอง 0 รีวิว
  • “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด
    .
    ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้
    .
    คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ"
    .
    ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ
    .
    แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    .
    แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้
    .
    ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้
    .
    สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด . ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้ . คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ" . ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ . แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย . แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้ . ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้ . สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    Like
    Angry
    Love
    Sad
    23
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1225 มุมมอง 0 รีวิว
  • “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด
    .
    ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้
    .
    คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ"
    .
    ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ
    .
    แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    .
    แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้
    .
    ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้
    .
    สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด . ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้ . คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ" . ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ . แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย . แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้ . ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้ . สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    Like
    Angry
    19
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1210 มุมมอง 1 รีวิว
  • ความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯที่อนุมัติให้ยูเครนใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลของอเมริกา โจมตีเป้าหมายทางทหารต่างๆภายในรัสเซีย คือ "ความผิดพลาดครั้งใหญ่" ที่อาจลากโลกเข้าสู่ขอบเหวแห่ง "สงครามใหญ่" จากความเห็นของประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี
    .
    การที่สหรัฐฯไฟเขียวให้ยูเครนใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลทรงอานุภาพ ATACMS โจมตีรัสเซีย ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายครั้งใหญ่ของอเมริกา มันโหมกระพือปฏิกิริยาเดือดดาลมาจากมอสโก ซึ่งเมื่อวันอังคาร(19พ.ย.) ได้ขยายขอบเขตกรอบการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ในความเคลื่อนไหวที่เป็นส่งสัญญาณเตือนอย่างชัดเจนไปยังเคียฟและตะวันตก
    .
    "ก้าวย่างนี้ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ไม่ใช่แค่ทำให้ความขัดแย้งลุกลาม แต่มันจะนำมาซึ่งปฏิกิริยาตอบโต้หนักหน่วงขึ้นจากรัสเซีย และบางทีมันอาจนำพาภูมิภาคและโลกใบนี้ เข้าสู่สงครามใหญ่ครั้งใหม่" ประธานาธิบดีตุรกีกล่าวกับพวกผู้สื่อข่าว บนเที่ยวบินที่กำลังบินกลับจากไปร่วมประชุมซัมมิตจี20 ในรีโอเดอจาเนโร
    .
    "การตัดสินใจของสหรัฐฯ อาจตีความได้ว่าเป็นความเคลื่อนไหวเติมเชื้อไฟสงคราม เพื่อรับประกันว่ามันจะไม่มีวันยุติและแม้กระทั่งลุกลามหนักหน่วงขึ้น" เขากล่าว ชี้ถึงกฤษฎีกาฉบับหนึ่งที่ลงนามโดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เมื่อวันอังคาร(19พ.ย.) ที่อนุญาตให้มอสโกปลดปล่อยการตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ในกรณีที่ถูกโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ แม้กระทั่งหากมันเป็นเพียงแค่การโจมตีด้วยอาวุธทั่วไป
    .
    "ความผิดพลาดเล็กน้อยเป็นพื้นฐานของความผิดพลาดครั้งใหญ่ มันจะเหมือนกับการโยนดินปืนเข้าใส่เปลวไฟ ดังนั้นผมจึงขอแนะนำให้ทุกคนจงระมัดระวัง" เขากล่าว
    .
    ตุรกี ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับทั้งยูเครนและรัสเซีย ได้จัดหาโดรนมอบแก่เคียฟ แต่ขณะเดียวกันก็ปลีกตัวเองออกจากมาตรการคว่ำบาตรของตะวันตกที่กำหนดเล่นงานมอสโก
    .
    ความเคลื่อนไหวของปูติน ในการปรับเปลี่ยนนโยบายทางนิวเคลียร์ของรัสเซีย เรียกเสียงประณามอย่างทันควันจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร ว่าไร้ความรับผิดชอบ ขณะที่ แอร์โดอัน แนะนำว่านาโต ควรพินิจพิเคราะห์ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของรัสเซีย
    .
    "พวกเจ้าหน้าที่นาโตควรจับตามองและทบทวนพิจารณาก้าวย่างนี้ของรัสเซีย" เขาบอกระหว่างแถลงข่าวในเมืองริโอเมื่อวันอังคาร(19พ.ย.) "ในแนวทางเดียวกัน ในฐานะประเทศหนึ่งๆของนาโต เราควรใช้ก้าวย่างต่างๆเช่นกันในการปกป้องตัวเราเอง ยูเครนคือประเทศเพื่อนบ้านของเรา รัสเซียคือประเทศเพื่อนบ้านของเรา เราจำเป็นต้องสงวนไว้ซึ่งความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างเรากับพวกเขาเช่นกัน" เขากล่าว พร้อมแสดงความหวังว่าจะบรรลุข้อตกลงสันติภาพอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
    .
    ประธานาธิบดีรัสเซียใช้วาทกรรมนิวเคลียร์มาตลอดความขัดแย้ง แต่เริ่มก้าวร้าวยิ่งขึ้นนับตั้งแต่ปีที่แล้ว ในนั้นรวมถึงการถอนตัวจากสนธิสัญญาห้ามทดสอบนิวเคลียร์ฉบับหนึ่ง และข้อตกลงลดอาวุธฉบับสำคัญฉบับหนึ่งที่ทำร่วมกับสหรัฐฯ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000111857
    ..............
    Sondhi X
    ความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯที่อนุมัติให้ยูเครนใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลของอเมริกา โจมตีเป้าหมายทางทหารต่างๆภายในรัสเซีย คือ "ความผิดพลาดครั้งใหญ่" ที่อาจลากโลกเข้าสู่ขอบเหวแห่ง "สงครามใหญ่" จากความเห็นของประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี . การที่สหรัฐฯไฟเขียวให้ยูเครนใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลทรงอานุภาพ ATACMS โจมตีรัสเซีย ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายครั้งใหญ่ของอเมริกา มันโหมกระพือปฏิกิริยาเดือดดาลมาจากมอสโก ซึ่งเมื่อวันอังคาร(19พ.ย.) ได้ขยายขอบเขตกรอบการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ในความเคลื่อนไหวที่เป็นส่งสัญญาณเตือนอย่างชัดเจนไปยังเคียฟและตะวันตก . "ก้าวย่างนี้ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ไม่ใช่แค่ทำให้ความขัดแย้งลุกลาม แต่มันจะนำมาซึ่งปฏิกิริยาตอบโต้หนักหน่วงขึ้นจากรัสเซีย และบางทีมันอาจนำพาภูมิภาคและโลกใบนี้ เข้าสู่สงครามใหญ่ครั้งใหม่" ประธานาธิบดีตุรกีกล่าวกับพวกผู้สื่อข่าว บนเที่ยวบินที่กำลังบินกลับจากไปร่วมประชุมซัมมิตจี20 ในรีโอเดอจาเนโร . "การตัดสินใจของสหรัฐฯ อาจตีความได้ว่าเป็นความเคลื่อนไหวเติมเชื้อไฟสงคราม เพื่อรับประกันว่ามันจะไม่มีวันยุติและแม้กระทั่งลุกลามหนักหน่วงขึ้น" เขากล่าว ชี้ถึงกฤษฎีกาฉบับหนึ่งที่ลงนามโดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เมื่อวันอังคาร(19พ.ย.) ที่อนุญาตให้มอสโกปลดปล่อยการตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ในกรณีที่ถูกโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ แม้กระทั่งหากมันเป็นเพียงแค่การโจมตีด้วยอาวุธทั่วไป . "ความผิดพลาดเล็กน้อยเป็นพื้นฐานของความผิดพลาดครั้งใหญ่ มันจะเหมือนกับการโยนดินปืนเข้าใส่เปลวไฟ ดังนั้นผมจึงขอแนะนำให้ทุกคนจงระมัดระวัง" เขากล่าว . ตุรกี ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับทั้งยูเครนและรัสเซีย ได้จัดหาโดรนมอบแก่เคียฟ แต่ขณะเดียวกันก็ปลีกตัวเองออกจากมาตรการคว่ำบาตรของตะวันตกที่กำหนดเล่นงานมอสโก . ความเคลื่อนไหวของปูติน ในการปรับเปลี่ยนนโยบายทางนิวเคลียร์ของรัสเซีย เรียกเสียงประณามอย่างทันควันจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร ว่าไร้ความรับผิดชอบ ขณะที่ แอร์โดอัน แนะนำว่านาโต ควรพินิจพิเคราะห์ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของรัสเซีย . "พวกเจ้าหน้าที่นาโตควรจับตามองและทบทวนพิจารณาก้าวย่างนี้ของรัสเซีย" เขาบอกระหว่างแถลงข่าวในเมืองริโอเมื่อวันอังคาร(19พ.ย.) "ในแนวทางเดียวกัน ในฐานะประเทศหนึ่งๆของนาโต เราควรใช้ก้าวย่างต่างๆเช่นกันในการปกป้องตัวเราเอง ยูเครนคือประเทศเพื่อนบ้านของเรา รัสเซียคือประเทศเพื่อนบ้านของเรา เราจำเป็นต้องสงวนไว้ซึ่งความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างเรากับพวกเขาเช่นกัน" เขากล่าว พร้อมแสดงความหวังว่าจะบรรลุข้อตกลงสันติภาพอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ . ประธานาธิบดีรัสเซียใช้วาทกรรมนิวเคลียร์มาตลอดความขัดแย้ง แต่เริ่มก้าวร้าวยิ่งขึ้นนับตั้งแต่ปีที่แล้ว ในนั้นรวมถึงการถอนตัวจากสนธิสัญญาห้ามทดสอบนิวเคลียร์ฉบับหนึ่ง และข้อตกลงลดอาวุธฉบับสำคัญฉบับหนึ่งที่ทำร่วมกับสหรัฐฯ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000111857 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1309 มุมมอง 0 รีวิว
  • มอสโกกร้าวเอาคืนยูเครน รวมถึงนาโตที่จัดส่งขีปนาวุธพิสัยไกลให้เคียฟโจมตีดินแดนรัสเซีย พร้อมกันนี้ยังกล่าวหาอเมริกาต้องการยื้อสงครามด้วยการเร่งส่งอาวุธให้ยูเครนก่อนทรัมป์เข้ารับตำแหน่ง ขณะที่ในวันพุธ (20 พ.ย.) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สั่งปิดสถานทูตในเคียฟและเตือนพลเมืองอเมริกันในยูเครนเตรียมพร้อมหาที่หลบภัยรวมถึงเสบียงและของใช้จำเป็นโดยด่วน หลังได้รับข้อมูลว่า อาจมีการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่
    .
    กองทัพยูเครนแถลงว่า ได้โจมตีคลังอาวุธของรัสเซียห่างจากชายแดนราว 110 กม. เมื่อเช้าวันอังคาร (19) ซึ่งทำให้เกิดระเบิดตามมา แต่ไม่ได้ระบุว่า ใช้อาวุธชนิดใด กระนั้น แหล่งข่าวในรัฐบาลยูเครนและเจ้าหน้าที่อเมริกันคนหนึ่งยืนยันว่า อาวุธที่ใช้โจมตีคือ อะแทคซิมส์ (ATACMS ย่อมาจาก MGM-140 Army Tactical Missile System ระบบขีปนาวุธทางยุทธวิธีกองทัพบกแบบ เอ็มจีเอ็ม-140) ซึ่งเป็นขีปนาวุธยุทธวิธีที่ยิงได้ไกลประมาณ 300 กิโลเมตร ที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพิ่งอนุมัติให้ยูเครนใช้ในการโจมตีดินแดนรัสเซียได้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
    .
    ด้านรัสเซียระบุว่า ยิงขีปนาวุธอะแทคซิมส์จำนวน 5 จาก 6 ลูกตก ในพื้นที่ทางทหารในแคว้นบรีแยนสก์ของตน และซากจรวดทำให้เกิดไฟไหม้แต่ดับได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่มีผู้เสียชีวิตและไม่มีความเสียหายใดๆ
    .
    การโจมตีคราวนี้เกิดขึ้นขณะสงครามยูเครนดำเนินมาครบ 1,000 วัน โดยที่ยูเครนเสียดินแดนประมาณ 1 ใน 5 ให้รัสเซีย และท่ามกลางความสงสัยเกี่ยวกับความช่วยเหลือของตะวันตกที่จะให้แก่ยูเครนในอนาคต หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้นปีหน้า
    .
    เหตุการณ์นี้ยังเกิดขึ้นหลังจากเมื่อวันจันทร์ (18) ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ลงนามกฤษฎีกาแก้ไขหลักนิยมนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตเงื่อนไขที่มอสโกจะพิจารณาใช้อาวุธนิวเคลียร์ โดยนอกจากในกรณีถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ตามที่กล่าวไว้ในหลักนิยมนิวเคลียร์ฉบับเดิมแล้ว ต่อจากนี้ไปรัสเซียจะสามารถใช้อาวุธนิวเคลียร์ได้ด้วย ในกรณีถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธตามแบบแผน โดรน หรือเครื่องบินอื่นๆ ของประเทศที่ไม่ได้ครอบครองนิวเคลียร์แต่ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจนิวเคลียร์
    .
    นอกจากนั้น การรุกรานรัสเซียโดยประเทศที่เป็นสมาชิกแนวร่วมหรือกลุ่มพันธมิตรแห่งใดแห่งหนึ่ง จะถือว่าแนวร่วมหรือกลุ่มพันธมิตรแห่งนั้นมีส่วนร่วมในการรุกรานด้วย
    .
    เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย กล่าวระหว่างร่วมประชุมสุดยอดกลุ่มจี20 ที่บราซิลเมื่อวันอังคาร (19) ว่า การโจมตีของยูเครนด้วยจรวดอะแทคซิมส์ของอเมริกา เป็นเครื่องฟ้องว่า ตะวันตกต้องการให้ความขัดแย้งลุกลาม และถือเป็นเฟสใหม่ของสงครามที่ฝ่ายตะวันตกกระทำต่อรัสเซีย
    .
    ขณะที่ เซียร์เก นาริชกิน ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองต่างประเทศของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์ที่มีการเผยแพร่เมื่อวันพุธ (20) ว่า รัสเซียจะแก้แค้นชาติสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ที่จัดหาขีปนาวุธให้ยูเครนใช้โจมตีลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย และสำทับว่า การแก้ไขหลักนิยมนิวเคลียร์ของปูตินหมายความว่า ศัตรูไม่มีทางเอาชนะรัสเซียในสนามรบได้
    .
    วันเดียวกันนั้น ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน ออกมาแถลงกล่าวหาอเมริกาพยายามทำทุกทางเพื่อยื้อสงครามในยูเครน ซึ่งรวมถึงการรีบเร่งจัดส่งอาวุธให้เคียฟก่อนที่ทรัมป์จะกลับเข้าสู่ทำเนียบขาว โดยที่ผ่านมา ว่าที่ผู้นำคนใหม่ของอเมริกาผู้นี้วิจารณ์การสนับสนุนยูเครนของคณะบริหารไบเดน และประกาศว่า จะผลักดันให้มีข้อตกลงหยุดยิงภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังเข้ารับตำแหน่ง
    .
    นอกจากนั้น เมื่อคืนวันอังคาร เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ คนหนึ่งเปิดเผยว่า เร็วๆ นี้อเมริกาจะจัดส่งกับระเบิดสังหารบุคคลไปให้ยูเครน โดยขอให้เคียฟใช้อาวุธนี้เฉพาะในบริเวณที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยและในดินแดนของตนเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อพลเรือน
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อวันพุธกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ออกคำสั่งปิดสถานเอกอัครราชทูตอเมริกันในกรุงเคียฟ โดยกล่าวว่าเนื่องจากได้รับข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ พร้อมเตือนพลเมืองอเมริกันในยูเครนให้เตรียมพร้อมหาที่หลบภัยโดยด่วน รวมทั้งสำรองน้ำ อาหาร และสิ่งจำเป็นอื่นๆ เช่น ยา เผื่อไว้สำหรับกรณีที่ระบบไฟฟ้าและน้ำประปายูเครนเสียหายจากการโจมตีของรัสเซีย
    .
    ทางด้าน อันดริว โควาเลนโก ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านการเผยแพร่ข้อมูลเท็จของสภาความมั่นคงแห่งยูเครน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกาศของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ว่า รัสเซียพร้อมโจมตีทางอากาศเพิ่มขึ้น และสำทับว่า รัสเซียตุนขีปนาวุธสำหรับโจมตียูเครนมานานหลายเดือน ซึ่งรวมถึงขีปนาวุธเคเอช-101 และคาลิบร์
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000111834
    ..............
    Sondhi X
    มอสโกกร้าวเอาคืนยูเครน รวมถึงนาโตที่จัดส่งขีปนาวุธพิสัยไกลให้เคียฟโจมตีดินแดนรัสเซีย พร้อมกันนี้ยังกล่าวหาอเมริกาต้องการยื้อสงครามด้วยการเร่งส่งอาวุธให้ยูเครนก่อนทรัมป์เข้ารับตำแหน่ง ขณะที่ในวันพุธ (20 พ.ย.) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สั่งปิดสถานทูตในเคียฟและเตือนพลเมืองอเมริกันในยูเครนเตรียมพร้อมหาที่หลบภัยรวมถึงเสบียงและของใช้จำเป็นโดยด่วน หลังได้รับข้อมูลว่า อาจมีการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ . กองทัพยูเครนแถลงว่า ได้โจมตีคลังอาวุธของรัสเซียห่างจากชายแดนราว 110 กม. เมื่อเช้าวันอังคาร (19) ซึ่งทำให้เกิดระเบิดตามมา แต่ไม่ได้ระบุว่า ใช้อาวุธชนิดใด กระนั้น แหล่งข่าวในรัฐบาลยูเครนและเจ้าหน้าที่อเมริกันคนหนึ่งยืนยันว่า อาวุธที่ใช้โจมตีคือ อะแทคซิมส์ (ATACMS ย่อมาจาก MGM-140 Army Tactical Missile System ระบบขีปนาวุธทางยุทธวิธีกองทัพบกแบบ เอ็มจีเอ็ม-140) ซึ่งเป็นขีปนาวุธยุทธวิธีที่ยิงได้ไกลประมาณ 300 กิโลเมตร ที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพิ่งอนุมัติให้ยูเครนใช้ในการโจมตีดินแดนรัสเซียได้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา . ด้านรัสเซียระบุว่า ยิงขีปนาวุธอะแทคซิมส์จำนวน 5 จาก 6 ลูกตก ในพื้นที่ทางทหารในแคว้นบรีแยนสก์ของตน และซากจรวดทำให้เกิดไฟไหม้แต่ดับได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่มีผู้เสียชีวิตและไม่มีความเสียหายใดๆ . การโจมตีคราวนี้เกิดขึ้นขณะสงครามยูเครนดำเนินมาครบ 1,000 วัน โดยที่ยูเครนเสียดินแดนประมาณ 1 ใน 5 ให้รัสเซีย และท่ามกลางความสงสัยเกี่ยวกับความช่วยเหลือของตะวันตกที่จะให้แก่ยูเครนในอนาคต หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้นปีหน้า . เหตุการณ์นี้ยังเกิดขึ้นหลังจากเมื่อวันจันทร์ (18) ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ลงนามกฤษฎีกาแก้ไขหลักนิยมนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตเงื่อนไขที่มอสโกจะพิจารณาใช้อาวุธนิวเคลียร์ โดยนอกจากในกรณีถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ตามที่กล่าวไว้ในหลักนิยมนิวเคลียร์ฉบับเดิมแล้ว ต่อจากนี้ไปรัสเซียจะสามารถใช้อาวุธนิวเคลียร์ได้ด้วย ในกรณีถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธตามแบบแผน โดรน หรือเครื่องบินอื่นๆ ของประเทศที่ไม่ได้ครอบครองนิวเคลียร์แต่ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจนิวเคลียร์ . นอกจากนั้น การรุกรานรัสเซียโดยประเทศที่เป็นสมาชิกแนวร่วมหรือกลุ่มพันธมิตรแห่งใดแห่งหนึ่ง จะถือว่าแนวร่วมหรือกลุ่มพันธมิตรแห่งนั้นมีส่วนร่วมในการรุกรานด้วย . เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย กล่าวระหว่างร่วมประชุมสุดยอดกลุ่มจี20 ที่บราซิลเมื่อวันอังคาร (19) ว่า การโจมตีของยูเครนด้วยจรวดอะแทคซิมส์ของอเมริกา เป็นเครื่องฟ้องว่า ตะวันตกต้องการให้ความขัดแย้งลุกลาม และถือเป็นเฟสใหม่ของสงครามที่ฝ่ายตะวันตกกระทำต่อรัสเซีย . ขณะที่ เซียร์เก นาริชกิน ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองต่างประเทศของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์ที่มีการเผยแพร่เมื่อวันพุธ (20) ว่า รัสเซียจะแก้แค้นชาติสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ที่จัดหาขีปนาวุธให้ยูเครนใช้โจมตีลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย และสำทับว่า การแก้ไขหลักนิยมนิวเคลียร์ของปูตินหมายความว่า ศัตรูไม่มีทางเอาชนะรัสเซียในสนามรบได้ . วันเดียวกันนั้น ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน ออกมาแถลงกล่าวหาอเมริกาพยายามทำทุกทางเพื่อยื้อสงครามในยูเครน ซึ่งรวมถึงการรีบเร่งจัดส่งอาวุธให้เคียฟก่อนที่ทรัมป์จะกลับเข้าสู่ทำเนียบขาว โดยที่ผ่านมา ว่าที่ผู้นำคนใหม่ของอเมริกาผู้นี้วิจารณ์การสนับสนุนยูเครนของคณะบริหารไบเดน และประกาศว่า จะผลักดันให้มีข้อตกลงหยุดยิงภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังเข้ารับตำแหน่ง . นอกจากนั้น เมื่อคืนวันอังคาร เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ คนหนึ่งเปิดเผยว่า เร็วๆ นี้อเมริกาจะจัดส่งกับระเบิดสังหารบุคคลไปให้ยูเครน โดยขอให้เคียฟใช้อาวุธนี้เฉพาะในบริเวณที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยและในดินแดนของตนเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อพลเรือน . ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อวันพุธกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ออกคำสั่งปิดสถานเอกอัครราชทูตอเมริกันในกรุงเคียฟ โดยกล่าวว่าเนื่องจากได้รับข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ พร้อมเตือนพลเมืองอเมริกันในยูเครนให้เตรียมพร้อมหาที่หลบภัยโดยด่วน รวมทั้งสำรองน้ำ อาหาร และสิ่งจำเป็นอื่นๆ เช่น ยา เผื่อไว้สำหรับกรณีที่ระบบไฟฟ้าและน้ำประปายูเครนเสียหายจากการโจมตีของรัสเซีย . ทางด้าน อันดริว โควาเลนโก ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านการเผยแพร่ข้อมูลเท็จของสภาความมั่นคงแห่งยูเครน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกาศของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ว่า รัสเซียพร้อมโจมตีทางอากาศเพิ่มขึ้น และสำทับว่า รัสเซียตุนขีปนาวุธสำหรับโจมตียูเครนมานานหลายเดือน ซึ่งรวมถึงขีปนาวุธเคเอช-101 และคาลิบร์ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000111834 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1381 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขีดเส้น สคบ.30 วัน เร่งเพิกถอนใบอนุญาต ธุรกิจขายตรง 'ดิ ไอคอน'
    .
    ความคืบหน้าในการตรวจสอบการกระทำผิดของบริษัท ดิ ไอคอน มีความคืบหน้าเป็นระยะ โดยเวลานี้มีเสียงวิจารณ์ว่าเหตุใดหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจึงยังไม่ดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของบริษัทดังกล่าว ทำให้ในเรื่องนี้นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า เวลานี้ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค หรือ (สคบ.) แสวงหาข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาว่าสมควรถอนใบอนุญาตหรือไม่ ซึ่ง บริษัทดิไอคอนจดทะเบียบแบบขายตรง การถอนใบอนุญาตต้องทำด้วยความรัดกุม และให้ความเป็นธรรม
    .
    "ที่ผ่านมาได้เข้าพิจารณาอนุฯกรรมการข้อกฎหมายของ สคบ. และมีมติเมื่อวันที่ 25 ต.ค. ให้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งช่วงระหว่างนั้น สคบ. ทำงานร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังและพอมีการแจ้งข้อหาแชร์ลูกโซ่เพิ่มเติม สคบ.จึงนำข้อมูลไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะประชุมเรื่องดังกล่าวในวันที่ 20 พ.ย. ซึ่งเราจะรอฟังข้อสรุป รวมถึงนำมาประกอบการดำเนินคดีต่อไป ส่วนคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ทำงานครบกำหนด 30 วันแล้วแต่เเพื่อให้เกิดความรัดกุมมากที่่สุด จึงขยายเวลาเพิ่มเติม 30 วัน"
    .
    ขณะเดียวกัน ในส่วนของกรณีที่มีคลิปเสียงสนทนาระหว่างชายหญิง ที่มีการอ้างว่าเคยจ่ายเงิน 10 ล้านบาท แก่เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ผ่านทนายความคนกลาง เพื่อเป็นค่าดำเนินการทางคดีนั้น พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการกองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ ในฐานะโฆษกดีเอสไอ เปิดเผยว่า ผู้แทนดีเอสไอ รับมอบหลักฐานคลิปเสียงสนทนาดังกล่าวแล้ว จากนั้นจะได้นำส่งคลิปเสียงเข้ากระบวนการตรวจพิสูจน์โดยผู้เชี่ยวชาญของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม และภายหลังจากได้ข้อมูลแล้วจะประสานทัณฑสถานหญิงกลาง เข้าไปสอบสวนปากคำผู้ต้องหา ทั้งนี้ต้องก่อนบอสพอล ก็เพราะว่าเจ้าตัวเป็นคนพูดประโยคดังกล่าว รวมทั้งพนักงานสอบสวนจะได้สอบประเด็นอื่น ๆ คู่ขนานไปด้วยให้เร็วที่สุด
    .
    พ.ต.ต.วรณัน กล่าวว่า ส่วนการเตรียมเข้าไปสอบสวนปากคำเพิ่มเติมแก่บรรดา 11 บอสชายภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในวันที่ 20-21 พ.ย. เนื่องมาจากครั้งที่ผ่านมา พนักงานสอบสวนได้เข้าไปแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนปากคำ แต่ทางผู้ต้องหาผู้ชายไม่ได้มีการให้การใด ๆ โดยประสงค์ขอยื่นเป็นเอกสารชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน และขอยื่นบัญชีรายชื่อพยานเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองแทนเท่านั้น
    ..............
    Sondhi X
    ขีดเส้น สคบ.30 วัน เร่งเพิกถอนใบอนุญาต ธุรกิจขายตรง 'ดิ ไอคอน' . ความคืบหน้าในการตรวจสอบการกระทำผิดของบริษัท ดิ ไอคอน มีความคืบหน้าเป็นระยะ โดยเวลานี้มีเสียงวิจารณ์ว่าเหตุใดหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจึงยังไม่ดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของบริษัทดังกล่าว ทำให้ในเรื่องนี้นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า เวลานี้ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค หรือ (สคบ.) แสวงหาข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาว่าสมควรถอนใบอนุญาตหรือไม่ ซึ่ง บริษัทดิไอคอนจดทะเบียบแบบขายตรง การถอนใบอนุญาตต้องทำด้วยความรัดกุม และให้ความเป็นธรรม . "ที่ผ่านมาได้เข้าพิจารณาอนุฯกรรมการข้อกฎหมายของ สคบ. และมีมติเมื่อวันที่ 25 ต.ค. ให้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งช่วงระหว่างนั้น สคบ. ทำงานร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังและพอมีการแจ้งข้อหาแชร์ลูกโซ่เพิ่มเติม สคบ.จึงนำข้อมูลไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะประชุมเรื่องดังกล่าวในวันที่ 20 พ.ย. ซึ่งเราจะรอฟังข้อสรุป รวมถึงนำมาประกอบการดำเนินคดีต่อไป ส่วนคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ทำงานครบกำหนด 30 วันแล้วแต่เเพื่อให้เกิดความรัดกุมมากที่่สุด จึงขยายเวลาเพิ่มเติม 30 วัน" . ขณะเดียวกัน ในส่วนของกรณีที่มีคลิปเสียงสนทนาระหว่างชายหญิง ที่มีการอ้างว่าเคยจ่ายเงิน 10 ล้านบาท แก่เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ผ่านทนายความคนกลาง เพื่อเป็นค่าดำเนินการทางคดีนั้น พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการกองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ ในฐานะโฆษกดีเอสไอ เปิดเผยว่า ผู้แทนดีเอสไอ รับมอบหลักฐานคลิปเสียงสนทนาดังกล่าวแล้ว จากนั้นจะได้นำส่งคลิปเสียงเข้ากระบวนการตรวจพิสูจน์โดยผู้เชี่ยวชาญของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม และภายหลังจากได้ข้อมูลแล้วจะประสานทัณฑสถานหญิงกลาง เข้าไปสอบสวนปากคำผู้ต้องหา ทั้งนี้ต้องก่อนบอสพอล ก็เพราะว่าเจ้าตัวเป็นคนพูดประโยคดังกล่าว รวมทั้งพนักงานสอบสวนจะได้สอบประเด็นอื่น ๆ คู่ขนานไปด้วยให้เร็วที่สุด . พ.ต.ต.วรณัน กล่าวว่า ส่วนการเตรียมเข้าไปสอบสวนปากคำเพิ่มเติมแก่บรรดา 11 บอสชายภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในวันที่ 20-21 พ.ย. เนื่องมาจากครั้งที่ผ่านมา พนักงานสอบสวนได้เข้าไปแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนปากคำ แต่ทางผู้ต้องหาผู้ชายไม่ได้มีการให้การใด ๆ โดยประสงค์ขอยื่นเป็นเอกสารชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน และขอยื่นบัญชีรายชื่อพยานเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองแทนเท่านั้น .............. Sondhi X
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1286 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปูตินลงนาม ประกาศหลักการใช้อาวุธนิวเคลียร์ฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่ ซึ่งขยายเงื่อนไขที่รัสเซียจะพิจารณาใช้อาวุธนิวเคลียร์ให้กว้างขวางกว่าเดิม โดยครอบคลุมกรณีแดนหมีขาวถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธซึ่งมีมหาอำนาจนิวเคลียร์ให้การสนับสนุนด้วย ถือว่าเป็นการตอบโต้โดยตรงต่อการที่อเมริกาอนุญาตเคียฟใช้ขีปนาวุธพิสัยทำการไกลๆ โจมตีลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย ขณะเดียวกัน เซเลนสกี้ประกาศในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นวันครบรอบมอสโกเปิดฉากรุกรานครบ 1,000 วัน โวลั่นยูเครนจะไม่ยอมจำนน
    .
    ยูเครนเริ่มต้นวันอังคาร (19 ) วันครบรอบ 1,000 วันที่ถูกรัสเซียรุกรานด้วยข่าวการโจมตีของมอสโกในเมืองซูมี ทางตะวันออกของประเทศ เมื่อคืนวันจันทร์ (18 พ.ย.) ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 9 คน รวมถึงเด็ก
    .
    เคียฟระบุว่า ตลอดคืนวันจันทร์ รัสเซียได้ส่งโดรน 87 ลำโจมตีทั่วยูเครน แต่ถูกยิงตก 51 ลำ นอกจากนั้นในวันจันทร์รัสเซียยังยิงขีปนาวุธโจมตีโอเดสซา เมืองท่าสำคัญทางภาคใต้ของประเทศ ซึ่งได้รับการประกาศรับรองจากยูเนสโกให้เป็นเมืองมรดกโลก ทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 คน และบาดเจ็บ 55 คน
    .
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ เผยแพร่ภาพเจ้าหน้าที่กู้ภัยนำร่างผู้เสียชีวิตออกจากซากอาคารที่พักอาศัยในเมืองซูมี ที่ถูกโจมตี และเรียกร้องพันธมิตรบีบให้เครมลินทำข้อตกลงสันติภาพ
    .
    กระทรวงการต่างประเทศยูเครนแถลงในทิศทางเดียวกันด้วยการเรียกร้องบรรดาพันธมิตรเร่งให้การสนับสนุนทางทหารเพื่อยุติสงครามนี้ลงไปอย่าง “ยั่งยืน” และย้ำว่า เคียฟจะไม่ยอมจำนนต่อผู้รุกราน แต่กองทัพรัสเซียต้องถูกลงโทษที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
    .
    ทว่า ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียงเครมลิน ประกาศกร้าวเหมือนกันว่า ปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียต่อเคียฟจะต้องดำเนินต่อไปจนเสร็จสมบูรณ์
    .
    ถ้อยแถลงนี้มีขึ้นขณะที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ลงนามประกาศใช้กฤษฎีกาซึ่งเป็นการขยายขอบเขตเงื่อนไขที่มอสโกจะพิจารณาใช้อาวุธนิวเคลียร์ โดยนอกจากในกรณีถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ตามที่กล่าวไว้ในหลักนิยมนิวเคลียร์ฉบับเดิมแล้ว ต่อจากนี้ไปรัสเซียจะสามารถใช้อาวุธนิวเคลียร์ได้ด้วย ในกรณีถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธตามแบบแผน โดรน หรือเครื่องบินอื่นๆ ของประเทศที่ไม่ได้ครอบครองนิวเคลียร์แต่ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจนิวเคลียร์
    .
    นอกจากนั้นการรุกรานรัสเซียโดยประเทศที่เป็นสมาชิกแนวร่วมหรือกลุ่มพันธมิตรแห่งใดแห่งหนึ่ง จะถือว่า แนวร่วมหรือกลุ่มพันะมิตรแห่งนั้นมีส่วนร่วมในการรุกรานด้วย
    .
    เครมลินระบุว่า การเปลี่ยนแปลงนี้มีความจำเป็นเพื่อทำให้หลักนิยมนิวเคลียร์ของรัสเซียสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
    .
    ความเคลื่อนไหวนี้ มอสโกมุ่งที่จะเตือนตะวันตกและยูเครนอย่างชัดเจน หลังจากมีรายงานว่าคณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้อนุญาตให้เคียฟใช้ขีปนาวุธพิสัยทำการไกลๆ ที่อเมริกาจัดหาให้เข้าโจมตีเป้าหมายทางทหารภายในรัสเซีย
    .
    ขณะเดียวกัน เมื่อวันอังคาร โจเซฟ บอร์เรลล์ ประธานด้านนโยบายการต่างประเทศของสหภาพยุโรป ที่กำลังจะหมดวาระดำรงตำแหน่ง ได้ออกมาเรียกร้องให้ชาติสมาชิกอียูปรับแนวทางให้สอดคล้องกับวอชิงตันในการอนุญาตให้เคียฟใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลๆที่ยุโรปจัดส่งให้ ในการโจมตีลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย
    .
    เปสคอฟวิจารณ์ว่า คณะบริหารของไบเดนที่กำลังจะหมดวาระต้องการยั่วยุให้ความขัดแย้งในยูเครนบานปลายขยายตัวออกไป และกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียยังออกแถลงการณ์ย้ำว่า การที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธพิสัยทำการไกลๆ โจมตีดินแดนรัสเซีย จะถือว่าอเมริกาและรัฐบริวารเป็นปฏิปักษ์ต่อรัสเซีย
    .
    เกี่ยวกับสถานการณ์การสู้รบ มีรายงานว่ากองทหารยูเครนในทุกแนวรบขณะนี้อยู่ในสภาพที่ไม่สู้ดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองที่ถูกโจมตีอย่างหนักอย่าง คูเปียนสก์ และโปครอฟสก์ ซึ่งต่างอยู่ในแคว้นโดเนตสก์ ทางภาคตะวันออกของยูเครนทั้งคู่ นอกจากนั้น กองกำลังยูเครนยังประสบความเพลี่ยงพล้ำในแคว้นคูร์สก์ของรัสเซีย ที่พวกเขายกำลังบุกเข้าไปเมื่อหลายเดือนก่อน โดยที่มีรายงานระบุด้วยว่า มอสโกกำลังระดมทหารราว 50,000 นายเพื่อขับไล่ทหารยูเครนออกจากแคว้นดังกล่าว
    .
    ในวันอังคาร ยูเครนกล่าวหากองกำลังรัสเซียใช้สารเคมีต้องห้าม และเรียกร้องพันธมิตรตอบสนองต่อรายงานขององค์การห้ามอาวุธเคมี (โอพีซีดับเบิลยู) ที่ระบุว่า พบแก๊สควบคุมจลาจลที่ถูกแบนในตัวอย่างดินบริเวณแนวรบในยูเครน
    .
    กระทรวงการต่างประเทศยูเครนแถลงว่า การที่รัสเซียใช้สารเคมีต้องห้ามในสนามรบตอกย้ำว่า รัสเซียเพิกเฉยต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000111416
    ..............
    Sondhi X
    ปูตินลงนาม ประกาศหลักการใช้อาวุธนิวเคลียร์ฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่ ซึ่งขยายเงื่อนไขที่รัสเซียจะพิจารณาใช้อาวุธนิวเคลียร์ให้กว้างขวางกว่าเดิม โดยครอบคลุมกรณีแดนหมีขาวถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธซึ่งมีมหาอำนาจนิวเคลียร์ให้การสนับสนุนด้วย ถือว่าเป็นการตอบโต้โดยตรงต่อการที่อเมริกาอนุญาตเคียฟใช้ขีปนาวุธพิสัยทำการไกลๆ โจมตีลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย ขณะเดียวกัน เซเลนสกี้ประกาศในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นวันครบรอบมอสโกเปิดฉากรุกรานครบ 1,000 วัน โวลั่นยูเครนจะไม่ยอมจำนน . ยูเครนเริ่มต้นวันอังคาร (19 ) วันครบรอบ 1,000 วันที่ถูกรัสเซียรุกรานด้วยข่าวการโจมตีของมอสโกในเมืองซูมี ทางตะวันออกของประเทศ เมื่อคืนวันจันทร์ (18 พ.ย.) ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 9 คน รวมถึงเด็ก . เคียฟระบุว่า ตลอดคืนวันจันทร์ รัสเซียได้ส่งโดรน 87 ลำโจมตีทั่วยูเครน แต่ถูกยิงตก 51 ลำ นอกจากนั้นในวันจันทร์รัสเซียยังยิงขีปนาวุธโจมตีโอเดสซา เมืองท่าสำคัญทางภาคใต้ของประเทศ ซึ่งได้รับการประกาศรับรองจากยูเนสโกให้เป็นเมืองมรดกโลก ทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 คน และบาดเจ็บ 55 คน . ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ เผยแพร่ภาพเจ้าหน้าที่กู้ภัยนำร่างผู้เสียชีวิตออกจากซากอาคารที่พักอาศัยในเมืองซูมี ที่ถูกโจมตี และเรียกร้องพันธมิตรบีบให้เครมลินทำข้อตกลงสันติภาพ . กระทรวงการต่างประเทศยูเครนแถลงในทิศทางเดียวกันด้วยการเรียกร้องบรรดาพันธมิตรเร่งให้การสนับสนุนทางทหารเพื่อยุติสงครามนี้ลงไปอย่าง “ยั่งยืน” และย้ำว่า เคียฟจะไม่ยอมจำนนต่อผู้รุกราน แต่กองทัพรัสเซียต้องถูกลงโทษที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ . ทว่า ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียงเครมลิน ประกาศกร้าวเหมือนกันว่า ปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียต่อเคียฟจะต้องดำเนินต่อไปจนเสร็จสมบูรณ์ . ถ้อยแถลงนี้มีขึ้นขณะที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ลงนามประกาศใช้กฤษฎีกาซึ่งเป็นการขยายขอบเขตเงื่อนไขที่มอสโกจะพิจารณาใช้อาวุธนิวเคลียร์ โดยนอกจากในกรณีถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ตามที่กล่าวไว้ในหลักนิยมนิวเคลียร์ฉบับเดิมแล้ว ต่อจากนี้ไปรัสเซียจะสามารถใช้อาวุธนิวเคลียร์ได้ด้วย ในกรณีถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธตามแบบแผน โดรน หรือเครื่องบินอื่นๆ ของประเทศที่ไม่ได้ครอบครองนิวเคลียร์แต่ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจนิวเคลียร์ . นอกจากนั้นการรุกรานรัสเซียโดยประเทศที่เป็นสมาชิกแนวร่วมหรือกลุ่มพันธมิตรแห่งใดแห่งหนึ่ง จะถือว่า แนวร่วมหรือกลุ่มพันะมิตรแห่งนั้นมีส่วนร่วมในการรุกรานด้วย . เครมลินระบุว่า การเปลี่ยนแปลงนี้มีความจำเป็นเพื่อทำให้หลักนิยมนิวเคลียร์ของรัสเซียสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน . ความเคลื่อนไหวนี้ มอสโกมุ่งที่จะเตือนตะวันตกและยูเครนอย่างชัดเจน หลังจากมีรายงานว่าคณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้อนุญาตให้เคียฟใช้ขีปนาวุธพิสัยทำการไกลๆ ที่อเมริกาจัดหาให้เข้าโจมตีเป้าหมายทางทหารภายในรัสเซีย . ขณะเดียวกัน เมื่อวันอังคาร โจเซฟ บอร์เรลล์ ประธานด้านนโยบายการต่างประเทศของสหภาพยุโรป ที่กำลังจะหมดวาระดำรงตำแหน่ง ได้ออกมาเรียกร้องให้ชาติสมาชิกอียูปรับแนวทางให้สอดคล้องกับวอชิงตันในการอนุญาตให้เคียฟใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลๆที่ยุโรปจัดส่งให้ ในการโจมตีลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย . เปสคอฟวิจารณ์ว่า คณะบริหารของไบเดนที่กำลังจะหมดวาระต้องการยั่วยุให้ความขัดแย้งในยูเครนบานปลายขยายตัวออกไป และกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียยังออกแถลงการณ์ย้ำว่า การที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธพิสัยทำการไกลๆ โจมตีดินแดนรัสเซีย จะถือว่าอเมริกาและรัฐบริวารเป็นปฏิปักษ์ต่อรัสเซีย . เกี่ยวกับสถานการณ์การสู้รบ มีรายงานว่ากองทหารยูเครนในทุกแนวรบขณะนี้อยู่ในสภาพที่ไม่สู้ดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองที่ถูกโจมตีอย่างหนักอย่าง คูเปียนสก์ และโปครอฟสก์ ซึ่งต่างอยู่ในแคว้นโดเนตสก์ ทางภาคตะวันออกของยูเครนทั้งคู่ นอกจากนั้น กองกำลังยูเครนยังประสบความเพลี่ยงพล้ำในแคว้นคูร์สก์ของรัสเซีย ที่พวกเขายกำลังบุกเข้าไปเมื่อหลายเดือนก่อน โดยที่มีรายงานระบุด้วยว่า มอสโกกำลังระดมทหารราว 50,000 นายเพื่อขับไล่ทหารยูเครนออกจากแคว้นดังกล่าว . ในวันอังคาร ยูเครนกล่าวหากองกำลังรัสเซียใช้สารเคมีต้องห้าม และเรียกร้องพันธมิตรตอบสนองต่อรายงานขององค์การห้ามอาวุธเคมี (โอพีซีดับเบิลยู) ที่ระบุว่า พบแก๊สควบคุมจลาจลที่ถูกแบนในตัวอย่างดินบริเวณแนวรบในยูเครน . กระทรวงการต่างประเทศยูเครนแถลงว่า การที่รัสเซียใช้สารเคมีต้องห้ามในสนามรบตอกย้ำว่า รัสเซียเพิกเฉยต่อกฎหมายระหว่างประเทศ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000111416 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1289 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ได้ลงนามในกฤษฎีการับรองหลักคำสอนนิวเคลียร์ฉบับแก้ไข, ซึ่งมีชื่อว่า "รากฐานของนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการยับยั้งการใช้อาวุธนิวเคลียร์" TASS ได้รวบรวมรายละเอียดสำคัญของหลักคำสอนดังกล่าวไว้ดังนี้:
    .
    Russian President Vladimir Putin has signed a decree ratifying the revised nuclear doctrine, titled "Foundations of State Policy on Nuclear Deterrence." TASS has compiled the key details of the doctrine:
    https://tass.com/defense/1874521
    .
    6:22 PM · Nov 19, 2024 · 7,127 Views
    https://x.com/tassagency_en/status/1858833342306660568
    ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ได้ลงนามในกฤษฎีการับรองหลักคำสอนนิวเคลียร์ฉบับแก้ไข, ซึ่งมีชื่อว่า "รากฐานของนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการยับยั้งการใช้อาวุธนิวเคลียร์" TASS ได้รวบรวมรายละเอียดสำคัญของหลักคำสอนดังกล่าวไว้ดังนี้: . Russian President Vladimir Putin has signed a decree ratifying the revised nuclear doctrine, titled "Foundations of State Policy on Nuclear Deterrence." TASS has compiled the key details of the doctrine: https://tass.com/defense/1874521 . 6:22 PM · Nov 19, 2024 · 7,127 Views https://x.com/tassagency_en/status/1858833342306660568
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 162 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ภูมิธรรม" เผยตั้ง JTC ฝ่ายไทยใกล้เสร็จแล้ว อาจดึงกฤษฎีกาเข้าร่วม ย้ำต้องระมัดระวังหว่นกระทบดินแดนหากขึ้นศาลในอนาคต เพราะเคยมีบทเรียนเรื่องเขาพระวิหาร ยอมรับเจรจาผลประโยชน์ใต้ทะเลไม่ง่าย แต่ต้องใช้กรอบ MOU44 ให้เกิดการตกลงโดยสันติวิธี ไม่เช่นนั้นจะกิดสงครามเอาอาวุธมากระทำต่อกัน

    อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000110010

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    "ภูมิธรรม" เผยตั้ง JTC ฝ่ายไทยใกล้เสร็จแล้ว อาจดึงกฤษฎีกาเข้าร่วม ย้ำต้องระมัดระวังหว่นกระทบดินแดนหากขึ้นศาลในอนาคต เพราะเคยมีบทเรียนเรื่องเขาพระวิหาร ยอมรับเจรจาผลประโยชน์ใต้ทะเลไม่ง่าย แต่ต้องใช้กรอบ MOU44 ให้เกิดการตกลงโดยสันติวิธี ไม่เช่นนั้นจะกิดสงครามเอาอาวุธมากระทำต่อกัน อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000110010 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Angry
    Sad
    Love
    Haha
    Wow
    21
    10 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1739 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts