• 27 มีนาคม 2568 - รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง “นายกสืบสันดาน นิติกรรมอำพราง หลบภาษี?” โดยมีเนื้อหาดังนี้

    ตามที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายกรัฐมนตรีนางสาวแพทองธาร ได้รับการโอนหุ้นจากแม่ พี่ชาย พี่สาว ลุง และป้า จำนวนรวมกันประมาณ 4,434 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2559 โดยได้ทำหนังสือสัญญาใช้เงิน (PN) ที่ไม่มีดอกเบี้ยและไม่กำหนดวันครบชำระเงิน เพื่อให้เป็นหลักฐานเสมือนการซื้อหุ้นโดยยังไม่จ่ายเงิน (เป็นหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย ไม่กำหนดวันชำระคืน)

    มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าทำไม นางสาวแพทองธาร ในปี 2559 ขณะที่อายุเพียงประมาณ 30 ปีจึงอยากซื้อหุ้นจำนวนมากจากบุคคลในครอบครัวและผู้เกี่ยวดอง
    โดยที่ตนไม่มีเงินที่จะจ่าย แต่ไปออกหนังสือสัญญาใช้เงินเป็นการกู้ยืมเงินที่จะจ่ายค่าหุ้นจำนวน 4,434 ล้านบาท

    เรื่องนี้ต้องเข้าใจ พฤติกรรมของคนในตระกูลชินวัตร รู้ที่มาที่ไปของหุ้น จึงพอจะวิเคราะห์และตั้งเป็นสมมุติฐานได้ว่า

    ในปี 2544 เมื่อนายทักษิณจะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ประสงค์จะไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินให้ครบถ้วนกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในบางรายการ จึงได้โอนหุ้นจำนวนหนึ่งซุกไว้ในชื่อของ คนสวน คนรับใช้ คนขับรถ และคนเฝ้ายาม จนเกิดคดีซุกหุ้น ดังที่ปรากฎคดีกับนายทักษิณมาแล้ว

    เวลาต่อมา ได้โอนหุ้นจากชื่อของ “ลูกจ้าง”ในบ้านทั้งสามคน ไปให้กับ “ลูกจริง” ทั้ง 3คน แต่เนื่องจากลูกสาวคนเล็กคือแพทองธาร ขณะนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะยังไม่สามารถบริหารจัดการหุ้นในบริษัทต่างๆได้ จึงอาจจะโอนฝากไว้ที่ แม่ พี่ชาย พี่สาว ลุงและป้า

    ต่อมาในปี 2559 เมื่อแพทองธาร บรรลุนิติภาวะแล้ว ประสงค์ให้ญาติที่ถือหุ้นไว้โอนหุ้นมากลับมาให้ แต่ขณะนั้นมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในต้นปี 2559 เพื่อให้สอดคล้องกับการเก็บภาษีมรดก ซึ่งระบุให้

    การให้สินทรัพย์ ในระหว่างพ่อ แม่ ลูก ถือเป็นรายได้ของผู้รับ หากมีมูลค่าเกิน 20ล้านบาทส่วนที่เกิน20ล้านจะต้องเสียภาษีเงินได้ 5%
    แต่ หากเป็นพี่ น้อง ลุง ป้า หากมีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 10ล้าน บาท จะต้องเสียภาษีเงินได้ 5%

    วิธีการหลีกเลี่ยงหลบภาษี หรือบริหารภาษี ให้จ่ายน้อยหรือไม่ต้องจ่าย คือทำนิติกรรมอำพรางโดยให้ดูเสมือนเป็นการซื้อขาย

    ผู้รับโอนจึงออกตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งก็คือทำสัญญากู้ยืม แต่ที่น่าสังเกตคือไม่มีดอกเบี้ยและไม่มีการกำหนดวันชำระเงิน
    จึงถูกตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใด นางสาวแพทองธาร จึงออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (ที่ไม่กำหนดเวลาชำระเงินและไม่มีดอกเบี้ย) เพื่อให้ดูเป็นเรื่องการซื้อขายไม่ใช่การให้ จะได้ไม่ต้องจ่ายภาษีเงินได้ให้กับรัฐจำนวนมากกว่า 200 ล้านบาท หรือไม่

    น.ส.แพทองธาร ชี้แจงว่า การโอนหุ้นดังกล่าวเป็นการซื้อขายจริงไม่ได้มีพฤติกรรมอำพรางใดๆ ยอดหนี้ (ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน) ก็แสดงว่าชัดเจนในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. อยู่แล้ว
    “ เรื่องตั๋วพีเอ็นไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นเรื่องที่ทำกันมาเป็นเรื่องปกติ.. การออกตั๋วสัญญาใช้เงินจะทำกับธุรกรรมที่ถูกกฎหมาย ดำเนินการเปิดเผย ฝ่ายผู้ซื้อผู้ขายรับภาระหนี้สินระหว่างกัน ไม่มีการกระทำนอกกฎหมายใดๆ เพราะการกระทำนอกกฎหมายที่ไหนออกหลักฐานเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ระบุที่มาของเงินไม่ได้ ก็ไม่สามารถทำได้..”

    คำอธิบายของนายกรัฐมนตรีที่ว่า ได้แสดงชัดเจนในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อป.ป.ช. แล้วก็ไม่ได้ช่วยอะไร

    อีกทั้งคำอธิบายว่า ตั๋วสัญญาใช้เงิน (PN) เป็นเรื่องที่ทำกันเป็นปกติ (ใครใครเขาก็ทำกัน ) ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะขึ้นอยู่กับว่าเขาใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินโดยสุจริตหรือไม่

    หลายสิ่งที่คนทั่วไปทำได้ แต่การเป็นนายกรัฐมนตรีทำไม่ได้เพราะจะต้องมีมาตรฐานของความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีมาตรฐานจริยธรรมสูงกว่าบุคคลทั่วไป ทั้งนี้เพราะจะต้องรับผิดชอบต่อสังคมและคนจำนวนมาก ใช่หรือไม่?

    ประชาชนส่วนหนึ่งตั้งคำถามว่าครอบครัวรักกันมาก ทำไมจึงใช้วิธีซื้อขายหุ้นระหว่างกันไปมา โดยเฉพาะในช่วงที่นางสาวแพทองธาร จะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้โอนหุ้นสนามกอล์ฟอัลไพน์ จำนวน 22,410,000 หุ้น ไปให้ผู้เป็นแม่ ด้วยวิธีการซื้อขายโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (PN) เพื่อให้เข้าหลักเกณฑ์การซื้อขายแทนการให้ เช่นเดียวกันใช่หรือไม่

    ถ้าจะพิจารณาจากอดีต คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคดี หมายเลขแดงที่ อม.1/2553 เรื่อง ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือคดียึดทรัพย์นายทักษิณ ชินวัตร 46,737 ล้านบาท เห็นว่า การออกตั๋วสัญญาใช้เงินชำระค่าหุ้นมีพิรุธ เป็นการอำพรางการโอนหุ้นชินคอร์ป เพราะสุดท้ายแล้ว หุ้นชินคอร์ป ที่นายทักษิณโอนให้กับบุคคลต่างๆ ดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของนายทักษิณ

    ยิ่งไปกว่านั้นข้าราชการระดับสูงของกรมสรรพากรเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกสองปีโดยไม่รอลงอาญาในการปฎิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตามมาตรา157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา กรณี ช่วยบุตรชายและบุตรสาว ของนายทักษิณ ชินวัตร หลบเลี่ยงภาษีกรณีหุ้นชินคอร์ปมาแล้ว

    หากกรมสรรพากรและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มองว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ ถูกต้องตามกฏหมายและเหมาะสมตามจริยธรรม ต่อไปการที่จะมีผู้โอนทรัพย์สินให้บุคคลในครอบครัว ก็ทำทีเป็นซื้อขายแล้วทำหนังสือสัญญาใช้เงิน ที่ไม่มีดอกเบี้ยและไม่ต้องระบุวันจ่ายเงิน (หนังสือสัญญาไม่ต้องจ่ายเงิน) ทำให้เกิดช่องโหว่ทางกฎหมายส่งผลให้ ภาษีมรดกที่กำหนดให้ผู้รับมรดกจะต้องจ่ายเป็นอันยกเลิกไปโดยปริยาย
    เท่ากับว่าฝ่ายบริหารโดยกรมสรรพากรได้ตีความให้กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติบังคับใช้ไม่ได้อีกต่อไป.
    27 มีนาคม 2568 - รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง “นายกสืบสันดาน นิติกรรมอำพราง หลบภาษี?” โดยมีเนื้อหาดังนี้ ตามที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายกรัฐมนตรีนางสาวแพทองธาร ได้รับการโอนหุ้นจากแม่ พี่ชาย พี่สาว ลุง และป้า จำนวนรวมกันประมาณ 4,434 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2559 โดยได้ทำหนังสือสัญญาใช้เงิน (PN) ที่ไม่มีดอกเบี้ยและไม่กำหนดวันครบชำระเงิน เพื่อให้เป็นหลักฐานเสมือนการซื้อหุ้นโดยยังไม่จ่ายเงิน (เป็นหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย ไม่กำหนดวันชำระคืน) มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าทำไม นางสาวแพทองธาร ในปี 2559 ขณะที่อายุเพียงประมาณ 30 ปีจึงอยากซื้อหุ้นจำนวนมากจากบุคคลในครอบครัวและผู้เกี่ยวดอง โดยที่ตนไม่มีเงินที่จะจ่าย แต่ไปออกหนังสือสัญญาใช้เงินเป็นการกู้ยืมเงินที่จะจ่ายค่าหุ้นจำนวน 4,434 ล้านบาท เรื่องนี้ต้องเข้าใจ พฤติกรรมของคนในตระกูลชินวัตร รู้ที่มาที่ไปของหุ้น จึงพอจะวิเคราะห์และตั้งเป็นสมมุติฐานได้ว่า ในปี 2544 เมื่อนายทักษิณจะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ประสงค์จะไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินให้ครบถ้วนกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในบางรายการ จึงได้โอนหุ้นจำนวนหนึ่งซุกไว้ในชื่อของ คนสวน คนรับใช้ คนขับรถ และคนเฝ้ายาม จนเกิดคดีซุกหุ้น ดังที่ปรากฎคดีกับนายทักษิณมาแล้ว เวลาต่อมา ได้โอนหุ้นจากชื่อของ “ลูกจ้าง”ในบ้านทั้งสามคน ไปให้กับ “ลูกจริง” ทั้ง 3คน แต่เนื่องจากลูกสาวคนเล็กคือแพทองธาร ขณะนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะยังไม่สามารถบริหารจัดการหุ้นในบริษัทต่างๆได้ จึงอาจจะโอนฝากไว้ที่ แม่ พี่ชาย พี่สาว ลุงและป้า ต่อมาในปี 2559 เมื่อแพทองธาร บรรลุนิติภาวะแล้ว ประสงค์ให้ญาติที่ถือหุ้นไว้โอนหุ้นมากลับมาให้ แต่ขณะนั้นมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในต้นปี 2559 เพื่อให้สอดคล้องกับการเก็บภาษีมรดก ซึ่งระบุให้ การให้สินทรัพย์ ในระหว่างพ่อ แม่ ลูก ถือเป็นรายได้ของผู้รับ หากมีมูลค่าเกิน 20ล้านบาทส่วนที่เกิน20ล้านจะต้องเสียภาษีเงินได้ 5% แต่ หากเป็นพี่ น้อง ลุง ป้า หากมีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 10ล้าน บาท จะต้องเสียภาษีเงินได้ 5% วิธีการหลีกเลี่ยงหลบภาษี หรือบริหารภาษี ให้จ่ายน้อยหรือไม่ต้องจ่าย คือทำนิติกรรมอำพรางโดยให้ดูเสมือนเป็นการซื้อขาย ผู้รับโอนจึงออกตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งก็คือทำสัญญากู้ยืม แต่ที่น่าสังเกตคือไม่มีดอกเบี้ยและไม่มีการกำหนดวันชำระเงิน จึงถูกตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใด นางสาวแพทองธาร จึงออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (ที่ไม่กำหนดเวลาชำระเงินและไม่มีดอกเบี้ย) เพื่อให้ดูเป็นเรื่องการซื้อขายไม่ใช่การให้ จะได้ไม่ต้องจ่ายภาษีเงินได้ให้กับรัฐจำนวนมากกว่า 200 ล้านบาท หรือไม่ น.ส.แพทองธาร ชี้แจงว่า การโอนหุ้นดังกล่าวเป็นการซื้อขายจริงไม่ได้มีพฤติกรรมอำพรางใดๆ ยอดหนี้ (ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน) ก็แสดงว่าชัดเจนในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. อยู่แล้ว “ เรื่องตั๋วพีเอ็นไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นเรื่องที่ทำกันมาเป็นเรื่องปกติ.. การออกตั๋วสัญญาใช้เงินจะทำกับธุรกรรมที่ถูกกฎหมาย ดำเนินการเปิดเผย ฝ่ายผู้ซื้อผู้ขายรับภาระหนี้สินระหว่างกัน ไม่มีการกระทำนอกกฎหมายใดๆ เพราะการกระทำนอกกฎหมายที่ไหนออกหลักฐานเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ระบุที่มาของเงินไม่ได้ ก็ไม่สามารถทำได้..” คำอธิบายของนายกรัฐมนตรีที่ว่า ได้แสดงชัดเจนในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อป.ป.ช. แล้วก็ไม่ได้ช่วยอะไร อีกทั้งคำอธิบายว่า ตั๋วสัญญาใช้เงิน (PN) เป็นเรื่องที่ทำกันเป็นปกติ (ใครใครเขาก็ทำกัน ) ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะขึ้นอยู่กับว่าเขาใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินโดยสุจริตหรือไม่ หลายสิ่งที่คนทั่วไปทำได้ แต่การเป็นนายกรัฐมนตรีทำไม่ได้เพราะจะต้องมีมาตรฐานของความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีมาตรฐานจริยธรรมสูงกว่าบุคคลทั่วไป ทั้งนี้เพราะจะต้องรับผิดชอบต่อสังคมและคนจำนวนมาก ใช่หรือไม่? ประชาชนส่วนหนึ่งตั้งคำถามว่าครอบครัวรักกันมาก ทำไมจึงใช้วิธีซื้อขายหุ้นระหว่างกันไปมา โดยเฉพาะในช่วงที่นางสาวแพทองธาร จะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้โอนหุ้นสนามกอล์ฟอัลไพน์ จำนวน 22,410,000 หุ้น ไปให้ผู้เป็นแม่ ด้วยวิธีการซื้อขายโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (PN) เพื่อให้เข้าหลักเกณฑ์การซื้อขายแทนการให้ เช่นเดียวกันใช่หรือไม่ ถ้าจะพิจารณาจากอดีต คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคดี หมายเลขแดงที่ อม.1/2553 เรื่อง ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือคดียึดทรัพย์นายทักษิณ ชินวัตร 46,737 ล้านบาท เห็นว่า การออกตั๋วสัญญาใช้เงินชำระค่าหุ้นมีพิรุธ เป็นการอำพรางการโอนหุ้นชินคอร์ป เพราะสุดท้ายแล้ว หุ้นชินคอร์ป ที่นายทักษิณโอนให้กับบุคคลต่างๆ ดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของนายทักษิณ ยิ่งไปกว่านั้นข้าราชการระดับสูงของกรมสรรพากรเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกสองปีโดยไม่รอลงอาญาในการปฎิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตามมาตรา157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา กรณี ช่วยบุตรชายและบุตรสาว ของนายทักษิณ ชินวัตร หลบเลี่ยงภาษีกรณีหุ้นชินคอร์ปมาแล้ว หากกรมสรรพากรและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มองว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ ถูกต้องตามกฏหมายและเหมาะสมตามจริยธรรม ต่อไปการที่จะมีผู้โอนทรัพย์สินให้บุคคลในครอบครัว ก็ทำทีเป็นซื้อขายแล้วทำหนังสือสัญญาใช้เงิน ที่ไม่มีดอกเบี้ยและไม่ต้องระบุวันจ่ายเงิน (หนังสือสัญญาไม่ต้องจ่ายเงิน) ทำให้เกิดช่องโหว่ทางกฎหมายส่งผลให้ ภาษีมรดกที่กำหนดให้ผู้รับมรดกจะต้องจ่ายเป็นอันยกเลิกไปโดยปริยาย เท่ากับว่าฝ่ายบริหารโดยกรมสรรพากรได้ตีความให้กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติบังคับใช้ไม่ได้อีกต่อไป.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 155 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตั๋วสัญญาใช้เงิน ชนักติดหลังอุ๊งอิ๊ง

    แม้การอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จบลงไปแล้ว แต่ประเด็นที่เป็นชนักติดหลัง คือ การยื่นบัญชีทรัพย์สิน พบว่ามีรายการหนี้สินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน (ตั๋ว P/N) ชำระค่าหุ้นแก่คนในครอบครัว 5 คน 9 ฉบับ ตั้งแต่ปี 2559 รวมกว่า 4,434 ล้านบาท โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ไม่คิดดอกเบี้ย ถือว่ามีเจตนาผ่องถ่ายทรัพย์สินโอนหุ้นระหว่างเครือญาติหรือไม่ ส่อเข้าข่ายหลีกเลี่ยงภาษีสูงถึง 218.7 ล้านบาท

    แม้ น.ส.แพทองธารจะอ้างว่า เวลานั้นไม่พร้อมชำระค่าหุ้นด้วยเงินสด จึงทำตั๋ว P/N และมีแผนจะชำระรอบแรกในปี 2569 ก็ตาม แต่เวลาผ่านไป 9 ปีเพิ่งบอกว่าจะชำระรอบแรกก็เป็นที่เคลือบแคลงสงสัย ถึงกระนั้นนายปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากร อ้างว่าเป็นการซื้อขายหุ้นนอกตลาด โดยออกตั๋ว P/N แทนสัญญาเงินกู้ สามารถออกได้ 2 แบบ คือ มีกำหนดชำระ กับไม่ได้กำหนดชำระแต่ต้องจ่ายทันทีเมื่อถูกเรียกหรือทวงถาม จะกำหนดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อมีการจ่ายเงินจะต้องเสียภาษีตามจริง

    ทำให้นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง จากพรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า อธิบดีกรมสรรพากรอย่ารีบสรุป ต้องสั่งตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีนิติกรรมอำพรางเพื่อเลี่ยงภาษีการรับให้ ตลอด 9 ปีที่ผ่านมาได้สอดส่องตรวจตราอย่างไร ถ้าไม่มีอภิปรายเรื่องนี้ในสภาฯ รัฐจะเก็บภาษีได้จริงหรือไม่ อีกทั้งต้องตรวจสอบที่มาของผู้ขายหุ้น เพื่อให้แน่ชัดว่าผู้ขายได้หุ้นมาฟรีหรือไม่ จ่ายค่าหุ้นจริงหรือใช้เทคนิคตั๋ว P/N เป็นการซุกหุ้นของนักการเมืองผู้ใดหรือไม่ โดยไม่ไปตีความเฉพาะแกะบรรทัดอ่านตามตัวอักษรแค่นั้น

    ด้าน ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล เห็นว่า ถ้าเป็นเช่นนี้กรมสรรพากรต้องยกเลิกเก็บภาษีรายรับทุกคน เพราะหากใครก็ได้สามารถออกตั๋ว P/N ว่าจะจ่ายเงินคืน หรือให้โอนทรัพย์สินมาไว้ที่อีกคนล่วงหน้า แล้วผู้รับแค่ติดหนี้ไปเรื่อยๆ ได้โดยผู้ให้กู้ไม่ทวง และหน่วยงานจัดเก็บภาษีก็ปล่อยเพราะไม่ทราบว่าจะรับทรัพย์คืนเมื่อใด ก็หมายความว่าผู้มอบทรัพย์สินให้ไปแล้วโดยเสน่หา ผู้รับไม่ต้องชำระภาษี พอถึงเวลาผู้ให้เสียชีวิตก็ย่อมหมดวาระทวงหนี้ด้วย ผู้ให้ยืมสามารถลืมเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีรายรับ 5% ส่วนภาษีมรดกก็ไม่ต้องจ่ายเช่นกัน

    เรื่องนี้ถูกเปิดเผยครั้งแรกโดยสำนักข่าวอิศรา ก่อนที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เคยยื่นถึง ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 2 ก.พ.เพื่อให้ตรวจสอบ น.ส.แพทองธาร กรณีรายการหนี้สินอื่น 9 รายการ เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่มีดอกเบี้ยจ่าย เข้าข่ายเป็นการรับประโยชน์ ที่ไม่ใช่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ แต่ยังไม่คืบหน้า

    #Newskit
    ตั๋วสัญญาใช้เงิน ชนักติดหลังอุ๊งอิ๊ง แม้การอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จบลงไปแล้ว แต่ประเด็นที่เป็นชนักติดหลัง คือ การยื่นบัญชีทรัพย์สิน พบว่ามีรายการหนี้สินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน (ตั๋ว P/N) ชำระค่าหุ้นแก่คนในครอบครัว 5 คน 9 ฉบับ ตั้งแต่ปี 2559 รวมกว่า 4,434 ล้านบาท โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ไม่คิดดอกเบี้ย ถือว่ามีเจตนาผ่องถ่ายทรัพย์สินโอนหุ้นระหว่างเครือญาติหรือไม่ ส่อเข้าข่ายหลีกเลี่ยงภาษีสูงถึง 218.7 ล้านบาท แม้ น.ส.แพทองธารจะอ้างว่า เวลานั้นไม่พร้อมชำระค่าหุ้นด้วยเงินสด จึงทำตั๋ว P/N และมีแผนจะชำระรอบแรกในปี 2569 ก็ตาม แต่เวลาผ่านไป 9 ปีเพิ่งบอกว่าจะชำระรอบแรกก็เป็นที่เคลือบแคลงสงสัย ถึงกระนั้นนายปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากร อ้างว่าเป็นการซื้อขายหุ้นนอกตลาด โดยออกตั๋ว P/N แทนสัญญาเงินกู้ สามารถออกได้ 2 แบบ คือ มีกำหนดชำระ กับไม่ได้กำหนดชำระแต่ต้องจ่ายทันทีเมื่อถูกเรียกหรือทวงถาม จะกำหนดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อมีการจ่ายเงินจะต้องเสียภาษีตามจริง ทำให้นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง จากพรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า อธิบดีกรมสรรพากรอย่ารีบสรุป ต้องสั่งตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีนิติกรรมอำพรางเพื่อเลี่ยงภาษีการรับให้ ตลอด 9 ปีที่ผ่านมาได้สอดส่องตรวจตราอย่างไร ถ้าไม่มีอภิปรายเรื่องนี้ในสภาฯ รัฐจะเก็บภาษีได้จริงหรือไม่ อีกทั้งต้องตรวจสอบที่มาของผู้ขายหุ้น เพื่อให้แน่ชัดว่าผู้ขายได้หุ้นมาฟรีหรือไม่ จ่ายค่าหุ้นจริงหรือใช้เทคนิคตั๋ว P/N เป็นการซุกหุ้นของนักการเมืองผู้ใดหรือไม่ โดยไม่ไปตีความเฉพาะแกะบรรทัดอ่านตามตัวอักษรแค่นั้น ด้าน ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล เห็นว่า ถ้าเป็นเช่นนี้กรมสรรพากรต้องยกเลิกเก็บภาษีรายรับทุกคน เพราะหากใครก็ได้สามารถออกตั๋ว P/N ว่าจะจ่ายเงินคืน หรือให้โอนทรัพย์สินมาไว้ที่อีกคนล่วงหน้า แล้วผู้รับแค่ติดหนี้ไปเรื่อยๆ ได้โดยผู้ให้กู้ไม่ทวง และหน่วยงานจัดเก็บภาษีก็ปล่อยเพราะไม่ทราบว่าจะรับทรัพย์คืนเมื่อใด ก็หมายความว่าผู้มอบทรัพย์สินให้ไปแล้วโดยเสน่หา ผู้รับไม่ต้องชำระภาษี พอถึงเวลาผู้ให้เสียชีวิตก็ย่อมหมดวาระทวงหนี้ด้วย ผู้ให้ยืมสามารถลืมเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีรายรับ 5% ส่วนภาษีมรดกก็ไม่ต้องจ่ายเช่นกัน เรื่องนี้ถูกเปิดเผยครั้งแรกโดยสำนักข่าวอิศรา ก่อนที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เคยยื่นถึง ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 2 ก.พ.เพื่อให้ตรวจสอบ น.ส.แพทองธาร กรณีรายการหนี้สินอื่น 9 รายการ เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่มีดอกเบี้ยจ่าย เข้าข่ายเป็นการรับประโยชน์ ที่ไม่ใช่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ แต่ยังไม่คืบหน้า #Newskit
    Like
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 210 มุมมอง 0 รีวิว
  • ย้อนเจ็บฝ่ายค้าน ใช้โวหารบิดเบือน : [NEWS UPDATE]

    น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ชี้แจงประเด็น ตั๋ว PN ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตอบโต้ข้อกล่าวหาของนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ที่ระบุว่าเป็นการทำนิติกรรมอำพราง เพื่อหนีภาษีโอนหุ้น ยืนยัน ทุกอย่างโปร่งใสเป็นไปตามกฎหมาย มั่นใจแม้อายุน้อยกว่า แต่เสียภาษีมากกว่าท่าน โดย ตั๋ว PN เป็นเครื่องมือทางการเงินปกติในภาคธุรกิจ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือฟอกเงิน ย้อนถามฝ่ายค้าน คนในพรรคเคยใช้วิธีนี้หรือไม่ การพูดเพื่อให้คนแตกแยก ไม่ใช่สิ่งที่ผู้มีวุฒิภาวะควรทำ ฝ่ายค้านใช้สำนวนโวหารบิดเบือนข้อเท็จจริง นำภาษีคนละหมวดมาอธิบายให้ประชาชนเข้าใจผิด

    -แค่ยาพารารักษามะเร็ง

    -งูเห่าฝ่ายค้านพร้อม

    -ลมเปลี่ยนทิศฝุ่นเข้ากรุง

    -ความเสี่ยงส่งออกไทย
    ย้อนเจ็บฝ่ายค้าน ใช้โวหารบิดเบือน : [NEWS UPDATE] น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ชี้แจงประเด็น ตั๋ว PN ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตอบโต้ข้อกล่าวหาของนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ที่ระบุว่าเป็นการทำนิติกรรมอำพราง เพื่อหนีภาษีโอนหุ้น ยืนยัน ทุกอย่างโปร่งใสเป็นไปตามกฎหมาย มั่นใจแม้อายุน้อยกว่า แต่เสียภาษีมากกว่าท่าน โดย ตั๋ว PN เป็นเครื่องมือทางการเงินปกติในภาคธุรกิจ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือฟอกเงิน ย้อนถามฝ่ายค้าน คนในพรรคเคยใช้วิธีนี้หรือไม่ การพูดเพื่อให้คนแตกแยก ไม่ใช่สิ่งที่ผู้มีวุฒิภาวะควรทำ ฝ่ายค้านใช้สำนวนโวหารบิดเบือนข้อเท็จจริง นำภาษีคนละหมวดมาอธิบายให้ประชาชนเข้าใจผิด -แค่ยาพารารักษามะเร็ง -งูเห่าฝ่ายค้านพร้อม -ลมเปลี่ยนทิศฝุ่นเข้ากรุง -ความเสี่ยงส่งออกไทย
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 684 มุมมอง 43 1 รีวิว
  • น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ชี้แจงประเด็น ตั๋ว PN ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตอบโต้ข้อกล่าวหาของนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ที่ระบุว่าเป็นการทำนิติกรรมอำพราง เพื่อหนีภาษีโอนหุ้น ยืนยัน ทุกอย่างโปร่งใสเป็นไปตามกฎหมาย มั่นใจแม้อายุน้อยกว่าท่าน แต่เสียภาษีมากกว่าท่านแน่นอน โดย ตั๋ว PN เป็นเครื่องมือทางการเงินปกติในภาคธุรกิจ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือฟอกเงิน ย้อนถามฝ่ายค้าน คนในพรรคตัวเองเคยใช้วิธีการนี้หรือไม่ การพูดเพื่อให้คนแตกแยก ไม่ใช่สิ่งที่ผู้มีวุฒิภาวะควรทำ
    น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ชี้แจงประเด็น ตั๋ว PN ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตอบโต้ข้อกล่าวหาของนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ที่ระบุว่าเป็นการทำนิติกรรมอำพราง เพื่อหนีภาษีโอนหุ้น ยืนยัน ทุกอย่างโปร่งใสเป็นไปตามกฎหมาย มั่นใจแม้อายุน้อยกว่าท่าน แต่เสียภาษีมากกว่าท่านแน่นอน โดย ตั๋ว PN เป็นเครื่องมือทางการเงินปกติในภาคธุรกิจ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือฟอกเงิน ย้อนถามฝ่ายค้าน คนในพรรคตัวเองเคยใช้วิธีการนี้หรือไม่ การพูดเพื่อให้คนแตกแยก ไม่ใช่สิ่งที่ผู้มีวุฒิภาวะควรทำ
    Like
    Haha
    Love
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 794 มุมมอง 36 0 รีวิว
  • กรมที่ดิน โต้ทันควันยืนยัน "แพทองธาร" ไม่ได้แทรกแซงเพิกถอนที่ดินธรณีสงฆ์ ปมถือหุ้นสนามกอล์ฟอัลไพน์ ป้องดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ

    วันนี้ (24 มี.ค. 68) หลังจาก พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) อภิปรายไม่วางไว้ใจ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยหนึ่งในประเด็นที่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ อภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นประเด็น นายกฯ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) และ (5) ไม่ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ทำนิติกรรมอำพราง ยื่นบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จเพื่อเลี่ยงภาษี อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ยังไม่นับการถือหุ้นอัลไพน์กอล์ฟ ทั้งที่รู้ว่าเป็นที่ดินธรณีสงฆ์ ไม่ควรแสวงประโยชน์ในทางที่ผิด นอกจากนั้น ปล่อยปละให้บุคคลในครอบครัวมากระทำให้เกิดผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่

    ล่าสุด กรมที่ดิน ได้โพสต์ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมที่ดิน ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชี้แจง! นายกฯ ไม่ได้แทรกแซงเกี่ยวกับการเพิกถอนที่ดินธรณีสงฆ์ตามที่มีการอภิปรายในประเด็นเกี่ยวกับการถือหุ้นของนายกรัฐมนตรีในบริษัท อัลไพน์ฯ ซึ่งถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการขาดความสุจริตเป็นที่ประจักษ์ เนื่องจากมีการถือครองที่ดินที่เป็นที่ธรณีสงฆ์นั้น กรมที่ดินขอชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้

    “การถือหุ้นในบริษัท อัลไพน์ฯ นายกรัฐมนตรีได้รับโอนหุ้นของบริษัท อัลไพน์ฯ มาจากผู้ถือหุ้นเดิมก่อนเข้ารับตำแหน่ง โดยการโอนดังกล่าวเป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมายและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินแต่อย่างใดซึ่งสถานะทางกฎหมายของที่ดิน ณ ขณะนั้นเมื่อมีการรับโอนหุ้นดังกล่าว สถานะของที่ดินที่เป็นประเด็นยังไม่ถูกเพิกถอน และยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาทางกฎหมาย การเพิกถอนที่ดินให้กลับเป็นที่ธรณีสงฆ์หลังจากนายกรัฐมนตรีเข้ารับตำแหน่ง มิได้มีการสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการแทรกแซงหรือชะลอการเพิกถอนที่ดินดังกล่าว ตรงกันข้าม กระบวนการเพิกถอนที่ดินให้กลับเป็นที่ธรณีสงฆ์ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วภายใต้การดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี แสดงให้เห็นว่าการดำเนินการเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ”

    #MGROnline #กรมที่ดิน
    กรมที่ดิน โต้ทันควันยืนยัน "แพทองธาร" ไม่ได้แทรกแซงเพิกถอนที่ดินธรณีสงฆ์ ปมถือหุ้นสนามกอล์ฟอัลไพน์ ป้องดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ • วันนี้ (24 มี.ค. 68) หลังจาก พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) อภิปรายไม่วางไว้ใจ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยหนึ่งในประเด็นที่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ อภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นประเด็น นายกฯ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) และ (5) ไม่ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ทำนิติกรรมอำพราง ยื่นบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จเพื่อเลี่ยงภาษี อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ยังไม่นับการถือหุ้นอัลไพน์กอล์ฟ ทั้งที่รู้ว่าเป็นที่ดินธรณีสงฆ์ ไม่ควรแสวงประโยชน์ในทางที่ผิด นอกจากนั้น ปล่อยปละให้บุคคลในครอบครัวมากระทำให้เกิดผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ • ล่าสุด กรมที่ดิน ได้โพสต์ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมที่ดิน ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชี้แจง! นายกฯ ไม่ได้แทรกแซงเกี่ยวกับการเพิกถอนที่ดินธรณีสงฆ์ตามที่มีการอภิปรายในประเด็นเกี่ยวกับการถือหุ้นของนายกรัฐมนตรีในบริษัท อัลไพน์ฯ ซึ่งถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการขาดความสุจริตเป็นที่ประจักษ์ เนื่องจากมีการถือครองที่ดินที่เป็นที่ธรณีสงฆ์นั้น กรมที่ดินขอชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้ • “การถือหุ้นในบริษัท อัลไพน์ฯ นายกรัฐมนตรีได้รับโอนหุ้นของบริษัท อัลไพน์ฯ มาจากผู้ถือหุ้นเดิมก่อนเข้ารับตำแหน่ง โดยการโอนดังกล่าวเป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมายและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินแต่อย่างใดซึ่งสถานะทางกฎหมายของที่ดิน ณ ขณะนั้นเมื่อมีการรับโอนหุ้นดังกล่าว สถานะของที่ดินที่เป็นประเด็นยังไม่ถูกเพิกถอน และยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาทางกฎหมาย การเพิกถอนที่ดินให้กลับเป็นที่ธรณีสงฆ์หลังจากนายกรัฐมนตรีเข้ารับตำแหน่ง มิได้มีการสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการแทรกแซงหรือชะลอการเพิกถอนที่ดินดังกล่าว ตรงกันข้าม กระบวนการเพิกถอนที่ดินให้กลับเป็นที่ธรณีสงฆ์ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วภายใต้การดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี แสดงให้เห็นว่าการดำเนินการเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ” • #MGROnline #กรมที่ดิน
    Angry
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 328 มุมมอง 0 รีวิว
  • #อุ๊งอิ๊ง #หุ้น #โอนหุ้น #อัลไพน์ #หลุดตำแหน่ง #นายก
    https://youtube.com/shorts/N-WRvs-v9qQ
    #อุ๊งอิ๊ง #หุ้น #โอนหุ้น #อัลไพน์ #หลุดตำแหน่ง #นายก https://youtube.com/shorts/N-WRvs-v9qQ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 315 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกฯ อุ๊งอิ๊ง ชี้แจงทรัพย์สินยังไงให้ตามรอยพ่อ ส่อสร้างหนี้เทียม เพื่อหลบเลี่ยงภาษีจากการโอนหุ้นให้เครือญาติ ทั้งชินวัตร และดามาพงศ์ กว่า 4,400 ล้านบาท
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    นายกฯ อุ๊งอิ๊ง ชี้แจงทรัพย์สินยังไงให้ตามรอยพ่อ ส่อสร้างหนี้เทียม เพื่อหลบเลี่ยงภาษีจากการโอนหุ้นให้เครือญาติ ทั้งชินวัตร และดามาพงศ์ กว่า 4,400 ล้านบาท #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Like
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 439 มุมมอง 0 รีวิว
  • เลขาฯ ป.ป.ช.เผยยังไม่ได้ภาพวงจรปิดชั้น 14 รพ.ตำรวจ และข้อมูลเอื้อ "นักโทษเทวดา" ยังได้ไม่ครบ แม้ทวงถามนานแล้ว ไม่รับปากเชิญ “เสรีพิศุทธ์” เป็นพยานเข้าเยี่ยม “ทักษิณ” ส่วนปมนายกฯ โอนหุ้นหลายบริษัทหลังโปรดเกล้าฯ ยันทำได้ตามกรอบเวลากฎหมาย
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000080407

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    เลขาฯ ป.ป.ช.เผยยังไม่ได้ภาพวงจรปิดชั้น 14 รพ.ตำรวจ และข้อมูลเอื้อ "นักโทษเทวดา" ยังได้ไม่ครบ แม้ทวงถามนานแล้ว ไม่รับปากเชิญ “เสรีพิศุทธ์” เป็นพยานเข้าเยี่ยม “ทักษิณ” ส่วนปมนายกฯ โอนหุ้นหลายบริษัทหลังโปรดเกล้าฯ ยันทำได้ตามกรอบเวลากฎหมาย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000080407 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    Love
    Sad
    Yay
    37
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 4059 มุมมอง 1 รีวิว