• เพื่อนเพจคงเคยคุ้นกับคำมงคลจีนที่เอามาติดผนังหรือทำการ์ดหรือของชำร่วย บางอักษรที่เคยผ่านตาอาจจะดูซับซ้อนมากจนถึงกับคิดว่าทำไมอักษรจีนมันช่างเขียนยากอย่างนี้ แต่คุณอาจไม่เคยสังเกตหรือทราบมาก่อนว่า บางอักษรเหล่านั้นเป็นอักษรประสมหรือ ‘เหอเฉิงจื้อ’ (合成字 หรือ Compound Chinese Character) หรือ ‘เหอถี่จื้อ’ (合体字)

    อักษรประสมจีนคือการเอาอักษรสองตัวหรือมากกว่ามาเขียนรวมกันจนดูราวกับว่ามันเป็นเพียงอักษรเดียว อย่างเช่นภาพอักษรมงคลคู่ที่เราเห็นบ่อยในงานมงคล (ภาพประกอบ1-ซ้าย) จริงแล้วก็คืออักษร ‘สี่’ ที่แปลว่ามงคลหรือความสุข (喜)มาเขียนติดกันสองตัว

    การใช้อักษรประสมที่นิยมทำกันคือการนำประโยคสุภาษิตจีนมาเขียนเป็นอักษรประสมเพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล เราจะเห็นบ่อยมากในช่วงเทศกาลตรุษจีน อย่างเช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่แปลว่า กวักทรัพย์เรียกสมบัติ (ดูภาพประกอบ1-ขวา)

    ว่ากันว่าต้นกำเนิดของการเขียนอักษรประสมมาจากงานพิธีกรรมทางศาสนาโดยมีการนำคำที่มีความหมายมงคลหรือการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีมาเขียนประสมขึ้นบนยันต์ บ้างก็มีการนำชื่อเทพเจ้ามาเขียนเป็นอักษรประสม ต่อมาชาวบ้านจึงนิยมมีไว้ประดับบ้านเรือนเพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและโชคร้าย จนกลายมาเป็นการเขียนคำมงคลทั่วไปที่ใช้ในเทศกาลและงานมงคลต่างๆ แบบที่เรายังเห็นมีใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ปัจจุบันยังกลายมาเป็นเทรนด์ในการดีไซน์โลโก้ของแบรนด์หรือร้านค้าในจีนด้วยเช่นกัน

    แล้วอักษรประสมอ่านออกเสียงอย่างไร?

    อักษรประสมโดยส่วนใหญ่แทบจะทั้งหมดจะไม่มีเสียงอ่านเฉพาะของมัน แต่จะอ่านครบตามประโยคที่นำมาเขียนรวม เช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่เห็นในรูปภาพประกอบ1-ขวา ก็จะอ่านออกมาเต็มๆ สี่อักษร แต่ก็มีบางอักษรประสมที่มีเสียงอ่านเฉพาะ อย่างตัวอย่างอักษรมงคลคู่ (喜喜)จะไม่อ่านว่า ‘สี่สี่’ แต่มีเสียงอ่านเฉพาะตัวว่า ‘สี่’ หรือจะอ่านว่า ‘ซวงสี่’ ก็ได้ (‘ซวง’ แปลว่าคู่)

    อักษรประสมต้องดูซับซ้อนเสมอไปหรือไม่? แน่นอนว่าจำนวนอักษรที่นำมาประสมยิ่งมากก็ยิ่งดูซับซ้อน แต่มีอักษรที่ใช้ประจำวันบางตัวที่จัดเป็นอักษรประสมด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสองอักษร ไม่ซับซ้อนเหมือนอักษรมงคลที่กล่าวมาข้างต้น เช่น คำว่า ‘ไว้’ ซึ่งแปลว่าเบี้ยวหรือเอียง (歪) ประกอบด้วยอักษร ‘ปู้’ ด้านบนและ ‘เจิ้ง’ด้านล่าง ซึ่ง ‘ปู้เจิ้ง’ แปลรวมว่าไม่ตรง เป็นต้น

    จากที่ไปอ่านเพจของจีนมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ Storyฯ เห็นมีเพจหนึ่งเขาเอารูปถ่ายประตูบ้านของบ้านหลังหนึ่งในเมืองซีอันมาลงให้ดู เลยเอามาให้เพื่อนเพจดูด้วย (ภาพประกอบ 2) ... เห็นแล้วก็อึ้งทึ่งกับความ ‘จัดเต็ม’ ของคำมงคลจีนที่เจ้าของบ้านเอามาแปะไว้ เพราะรวมได้ทั้งหมดสุภาษิต 18 ประโยค เป็นการประสมทั้งหมด 72 อักษรให้เหลือเพียง 18 อักษร เก่งไหมล่ะ?

    อยากชวนเพื่อนเพจลองมองซองอั่งเปาและรูปภาพต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีนนี้ คุณอาจได้เห็นอักษรประสมเท่ๆ ที่ Storyฯ ไม่ได้กล่าวถึง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาอักษรประสมไหนอีก แปะรูปหรือเม้นท์มาคุยให้ฟังกันบ้างนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.marieclaire.com.tw/entertainment/tvshow/60505
    https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569
    https://www.163.com/dy/article/DBTJP8OA0524L8US.html#:~:text=合体字:就是由两,表示人倚着树木。
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569
    https://new.qq.com/rain/a/20210627A08TKO00

    #เหอถี่จื้อ #เหอเฉิงจื้อ #คำมงคลจีน #อักษรประสม #อักษรจีน
    เพื่อนเพจคงเคยคุ้นกับคำมงคลจีนที่เอามาติดผนังหรือทำการ์ดหรือของชำร่วย บางอักษรที่เคยผ่านตาอาจจะดูซับซ้อนมากจนถึงกับคิดว่าทำไมอักษรจีนมันช่างเขียนยากอย่างนี้ แต่คุณอาจไม่เคยสังเกตหรือทราบมาก่อนว่า บางอักษรเหล่านั้นเป็นอักษรประสมหรือ ‘เหอเฉิงจื้อ’ (合成字 หรือ Compound Chinese Character) หรือ ‘เหอถี่จื้อ’ (合体字) อักษรประสมจีนคือการเอาอักษรสองตัวหรือมากกว่ามาเขียนรวมกันจนดูราวกับว่ามันเป็นเพียงอักษรเดียว อย่างเช่นภาพอักษรมงคลคู่ที่เราเห็นบ่อยในงานมงคล (ภาพประกอบ1-ซ้าย) จริงแล้วก็คืออักษร ‘สี่’ ที่แปลว่ามงคลหรือความสุข (喜)มาเขียนติดกันสองตัว การใช้อักษรประสมที่นิยมทำกันคือการนำประโยคสุภาษิตจีนมาเขียนเป็นอักษรประสมเพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล เราจะเห็นบ่อยมากในช่วงเทศกาลตรุษจีน อย่างเช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่แปลว่า กวักทรัพย์เรียกสมบัติ (ดูภาพประกอบ1-ขวา) ว่ากันว่าต้นกำเนิดของการเขียนอักษรประสมมาจากงานพิธีกรรมทางศาสนาโดยมีการนำคำที่มีความหมายมงคลหรือการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีมาเขียนประสมขึ้นบนยันต์ บ้างก็มีการนำชื่อเทพเจ้ามาเขียนเป็นอักษรประสม ต่อมาชาวบ้านจึงนิยมมีไว้ประดับบ้านเรือนเพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและโชคร้าย จนกลายมาเป็นการเขียนคำมงคลทั่วไปที่ใช้ในเทศกาลและงานมงคลต่างๆ แบบที่เรายังเห็นมีใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ปัจจุบันยังกลายมาเป็นเทรนด์ในการดีไซน์โลโก้ของแบรนด์หรือร้านค้าในจีนด้วยเช่นกัน แล้วอักษรประสมอ่านออกเสียงอย่างไร? อักษรประสมโดยส่วนใหญ่แทบจะทั้งหมดจะไม่มีเสียงอ่านเฉพาะของมัน แต่จะอ่านครบตามประโยคที่นำมาเขียนรวม เช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่เห็นในรูปภาพประกอบ1-ขวา ก็จะอ่านออกมาเต็มๆ สี่อักษร แต่ก็มีบางอักษรประสมที่มีเสียงอ่านเฉพาะ อย่างตัวอย่างอักษรมงคลคู่ (喜喜)จะไม่อ่านว่า ‘สี่สี่’ แต่มีเสียงอ่านเฉพาะตัวว่า ‘สี่’ หรือจะอ่านว่า ‘ซวงสี่’ ก็ได้ (‘ซวง’ แปลว่าคู่) อักษรประสมต้องดูซับซ้อนเสมอไปหรือไม่? แน่นอนว่าจำนวนอักษรที่นำมาประสมยิ่งมากก็ยิ่งดูซับซ้อน แต่มีอักษรที่ใช้ประจำวันบางตัวที่จัดเป็นอักษรประสมด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสองอักษร ไม่ซับซ้อนเหมือนอักษรมงคลที่กล่าวมาข้างต้น เช่น คำว่า ‘ไว้’ ซึ่งแปลว่าเบี้ยวหรือเอียง (歪) ประกอบด้วยอักษร ‘ปู้’ ด้านบนและ ‘เจิ้ง’ด้านล่าง ซึ่ง ‘ปู้เจิ้ง’ แปลรวมว่าไม่ตรง เป็นต้น จากที่ไปอ่านเพจของจีนมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ Storyฯ เห็นมีเพจหนึ่งเขาเอารูปถ่ายประตูบ้านของบ้านหลังหนึ่งในเมืองซีอันมาลงให้ดู เลยเอามาให้เพื่อนเพจดูด้วย (ภาพประกอบ 2) ... เห็นแล้วก็อึ้งทึ่งกับความ ‘จัดเต็ม’ ของคำมงคลจีนที่เจ้าของบ้านเอามาแปะไว้ เพราะรวมได้ทั้งหมดสุภาษิต 18 ประโยค เป็นการประสมทั้งหมด 72 อักษรให้เหลือเพียง 18 อักษร เก่งไหมล่ะ? อยากชวนเพื่อนเพจลองมองซองอั่งเปาและรูปภาพต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีนนี้ คุณอาจได้เห็นอักษรประสมเท่ๆ ที่ Storyฯ ไม่ได้กล่าวถึง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาอักษรประสมไหนอีก แปะรูปหรือเม้นท์มาคุยให้ฟังกันบ้างนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.marieclaire.com.tw/entertainment/tvshow/60505 https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569 https://www.163.com/dy/article/DBTJP8OA0524L8US.html#:~:text=合体字:就是由两,表示人倚着树木。 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569 https://new.qq.com/rain/a/20210627A08TKO00 #เหอถี่จื้อ #เหอเฉิงจื้อ #คำมงคลจีน #อักษรประสม #อักษรจีน
    WWW.MARIECLAIRE.COM.TW
    《一生一世》超前大結局!任嘉倫爆打惡人周文川,白鹿從前世跳樓到今生
    絕世大甜劇《一生一世》迎來大結局前,也狠狠虐了觀眾一波,事故和意外不斷,惡人周文川受觀眾的討厭程度,大概和《周生如故》劉子行不相上下。
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 99 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์

    วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก

    เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี

    แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย

    แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้

    - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/)
    - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ)
    - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ
    - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน

    หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://wang-tobeboss.com/archives/1449
    https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837
    https://www.lzs100.com/post/565.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354

    #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์ วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้ - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/) - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ) - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://wang-tobeboss.com/archives/1449 https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837 https://www.lzs100.com/post/565.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354 #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    PASAJEEN.COM
    คัมภีร์ภาษาจีน สามอักษร 三字经 | ภาษาจีน.คอม "เปิดโลกอักษรจีน เปิดโลกภาษาจีน"
    เสน่ห์ของ 三字经 อยู่ที่การท่องทีละ 3 คำ และแม้มีการแบ่งคำ แบ่ง 3 คำๆก็จริง ยังแยกเป็นคู่ๆ สังเกตุจากเครื่องหมายวรรคตอน โดย 3 ตัวแรก อาจบอกสาเหตุ 3 ตัวหลังบอกผล หรือ 3 ตัวแรก อาจบอกอะไรสักอย่าง 3 ตัวหลังขยายความ คู่ ที่ 1 人之初,性本善。คู่ที่ 1 3 ตัวแรกบอกว่า กำเนิดของมนุษย์ หรือธรรมชาติดั้งเดิมของคน 3 ตัวหลังบอกว่า พื้นฐานจิตใจมีเมตตากรุณา คู่ ที่ 2 性相近,习相远。 3 ตัวแรกบอกว่า จิตใจอารมณ์มนุษย์ทุกคนธรรมชาติให้มาใกล้เคียง 3 ตัวหลังบอกว่า การฝึกหัด (อาจดีหรือเลว อยู่ที่สิ่งแวดล้อม) ทำให้คนห่างไกลกัน คนเราพื้นฐานล้วนคล้ายคลึงกันคือเป็นคนดี แต่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนแตกต่างกัน อันนี้เป็นความเชื่อ ที่นำไปสู่ทัศนคติ การอบรม ลัทธิต่างๆอีกมากมาย บางระบบอย่างฝรั่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 541 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์

    วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก

    เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี

    แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย

    แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้

    - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/)
    - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ)
    - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ
    - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน

    หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://wang-tobeboss.com/archives/1449
    https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837
    https://www.lzs100.com/post/565.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354

    #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์ วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้ - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/) - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ) - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://wang-tobeboss.com/archives/1449 https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837 https://www.lzs100.com/post/565.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354 #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    PASAJEEN.COM
    คัมภีร์ภาษาจีน สามอักษร 三字经 | ภาษาจีน.คอม "เปิดโลกอักษรจีน เปิดโลกภาษาจีน"
    เสน่ห์ของ 三字经 อยู่ที่การท่องทีละ 3 คำ และแม้มีการแบ่งคำ แบ่ง 3 คำๆก็จริง ยังแยกเป็นคู่ๆ สังเกตุจากเครื่องหมายวรรคตอน โดย 3 ตัวแรก อาจบอกสาเหตุ 3 ตัวหลังบอกผล หรือ 3 ตัวแรก อาจบอกอะไรสักอย่าง 3 ตัวหลังขยายความ คู่ ที่ 1 人之初,性本善。คู่ที่ 1 3 ตัวแรกบอกว่า กำเนิดของมนุษย์ หรือธรรมชาติดั้งเดิมของคน 3 ตัวหลังบอกว่า พื้นฐานจิตใจมีเมตตากรุณา คู่ ที่ 2 性相近,习相远。 3 ตัวแรกบอกว่า จิตใจอารมณ์มนุษย์ทุกคนธรรมชาติให้มาใกล้เคียง 3 ตัวหลังบอกว่า การฝึกหัด (อาจดีหรือเลว อยู่ที่สิ่งแวดล้อม) ทำให้คนห่างไกลกัน คนเราพื้นฐานล้วนคล้ายคลึงกันคือเป็นคนดี แต่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนแตกต่างกัน อันนี้เป็นความเชื่อ ที่นำไปสู่ทัศนคติ การอบรม ลัทธิต่างๆอีกมากมาย บางระบบอย่างฝรั่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 913 มุมมอง 0 รีวิว
  • มังกรจีน เขียนได้..หลายสิบแบบ

    เขียนแบบ(ตัวเต็ม) 龍 ใช้ในไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย
    แบบ(ตัวย่อ)龙 ใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่

    สำหรับการการเขียนอักษรจีน มาจากการเขียนภาพ
    ซึ่งมีวิวัฒนาการ 6 รูปแบบ คือ
    1. แบบ Oracle bone script.
    2. แบบ Bronze script
    3. แบบ Seal script
    4. แบบตัวเต็ม Traditional script
    5. แบบญี่ปุ่น Japanese
    6. แบบตัวย่อ Simplified
    มังกรจีน เขียนได้..หลายสิบแบบ เขียนแบบ(ตัวเต็ม) 龍 ใช้ในไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย แบบ(ตัวย่อ)龙 ใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ สำหรับการการเขียนอักษรจีน มาจากการเขียนภาพ ซึ่งมีวิวัฒนาการ 6 รูปแบบ คือ 1. แบบ Oracle bone script. 2. แบบ Bronze script 3. แบบ Seal script 4. แบบตัวเต็ม Traditional script 5. แบบญี่ปุ่น Japanese 6. แบบตัวย่อ Simplified
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 229 มุมมอง 0 รีวิว
  • Doubao แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์จากจีน เพิ่มฟีเจอร์การจดจำภาพและการสร้าง 3 มิติ

    Doubao คือแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่พัฒนาโดย ByteDance บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในเดือนสิงหาคมปี 2023 จุดเด่นของ Doubao คือการรวมความสามารถด้าน AI หลากหลายรูปแบบไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ทั้งการสร้างข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เพลง และสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ

    Doubao มีความสามารถที่พัฒนาไปไกลขึ้นในด้านการจดจำเนื้อหา ความเข้าใจภาพ การให้เหตุผล และการสร้างข้อความ ซึ่งได้รับการเปิดเผยโดย Tan Dai ประธานหน่วยบริการบริการคลาวด์ของ ByteDance ภายใต้ชื่อ Volcano Engine

    ความสามารถที่เพิ่มเข้ามาคือ รองรับการสร้างโมเดล 3 มิติสำหรับงานดิจิทัลต่าง ๆ โดยเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม veOmniverse เพื่อการสังเคราะห์ข้อมูลและฝึกฝน AI

    Volcano Engine ยังได้อัปเดตความก้าวหน้าเกี่ยวกับ Doubao ดังนี้:
    1. Doubao General Model Pro มีความสามารถเทียบเท่า GPT-4o ในราคาที่ถูกกว่าถึง 8 เท่า
    2. โมเดลสร้างเพลง พัฒนาไปไกลจากการสร้างโครงสร้างเรียบง่าย 60 วินาที เป็นการสร้างเพลงที่สมบูรณ์ยาวถึง 3 นาที
    3. โมเดลแปลงข้อความเป็นภาพ กลายเป็นโมเดลแรกที่สร้างตัวอักษรจีนได้อย่างแม่นยำ และสร้างภาพจากคำสั่งเพียงประโยคเดียว

    สามารถลองใช้งานได้ที่
    https://www.doubao.com/

    อ้างอิง
    https://www.yicaiglobal.com/news/bytedance-unveils-doubao-visual-understanding-3d-generation-models
    Doubao แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์จากจีน เพิ่มฟีเจอร์การจดจำภาพและการสร้าง 3 มิติ Doubao คือแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่พัฒนาโดย ByteDance บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในเดือนสิงหาคมปี 2023 จุดเด่นของ Doubao คือการรวมความสามารถด้าน AI หลากหลายรูปแบบไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ทั้งการสร้างข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เพลง และสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ Doubao มีความสามารถที่พัฒนาไปไกลขึ้นในด้านการจดจำเนื้อหา ความเข้าใจภาพ การให้เหตุผล และการสร้างข้อความ ซึ่งได้รับการเปิดเผยโดย Tan Dai ประธานหน่วยบริการบริการคลาวด์ของ ByteDance ภายใต้ชื่อ Volcano Engine ความสามารถที่เพิ่มเข้ามาคือ รองรับการสร้างโมเดล 3 มิติสำหรับงานดิจิทัลต่าง ๆ โดยเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม veOmniverse เพื่อการสังเคราะห์ข้อมูลและฝึกฝน AI Volcano Engine ยังได้อัปเดตความก้าวหน้าเกี่ยวกับ Doubao ดังนี้: 1. Doubao General Model Pro มีความสามารถเทียบเท่า GPT-4o ในราคาที่ถูกกว่าถึง 8 เท่า 2. โมเดลสร้างเพลง พัฒนาไปไกลจากการสร้างโครงสร้างเรียบง่าย 60 วินาที เป็นการสร้างเพลงที่สมบูรณ์ยาวถึง 3 นาที 3. โมเดลแปลงข้อความเป็นภาพ กลายเป็นโมเดลแรกที่สร้างตัวอักษรจีนได้อย่างแม่นยำ และสร้างภาพจากคำสั่งเพียงประโยคเดียว สามารถลองใช้งานได้ที่ https://www.doubao.com/ อ้างอิง https://www.yicaiglobal.com/news/bytedance-unveils-doubao-visual-understanding-3d-generation-models
    WWW.DOUBAO.COM
    豆包
    豆包是你的 AI 聊天智能对话问答助手,写作文案翻译情感陪伴编程全能工具。豆包为你答疑解惑,提供灵感,辅助创作,也可以和你畅聊任何你感兴趣的话题。
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 326 มุมมอง 0 รีวิว
  • Dragon Gate at Night

    ประตูไชน่าทาวน์ยามค่ำคืน จะเห็นรายละเอียดใต้หลังคาชัดเจนมากกว่าตอนกลางวัน ประตูนี้..ได้หวันสร้างเป็นของขวัญ ให้ ชาวจีนที่พำนักในสหรัฐฯ ประมาณปี 1970

    เหนือประตูแต่ละบานมีอักษรจีนสี่ตัวอ่านจากขวาไปซ้าย

    -ประตูบานกลาง มีอักษรจีน 天下為公 อ่านเป็นภาษากวางตุ้ง ว่า ที้น-ห่า-ไหว่-ก๊ง แปลว่า 'โลกนี้มีไว้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม' (คติประจำใจของดร.ซุน ยัตเซ็น)

    อักษรอีก 8 ตัว เหนือประตูตะวันออก และ ประตูตะวันตก
    หมายถึงคุณธรรม ดังนี้ คือ

    - ป้ายประตูบานตะวันออก เขียนว่า 忠孝仁愛 อ่านเป็นภาษากวางตุ้ง ว่า จุ๊ง-ฮาว-หยั่น-งอย แปลว่า ความภักดี ความกตัญญู และ ความรัก

    -ป้ายประตูบานตะวันตก เขียนว่า 信義和平 อ่านเป็นภาษากวางตุ้ง เซิ้น-หยี่-หว่อ-เผ่ง แปลว่า ความซื่อสัตย์ ความมั่นใจ สันติภาพ
    Dragon Gate at Night ประตูไชน่าทาวน์ยามค่ำคืน จะเห็นรายละเอียดใต้หลังคาชัดเจนมากกว่าตอนกลางวัน ประตูนี้..ได้หวันสร้างเป็นของขวัญ ให้ ชาวจีนที่พำนักในสหรัฐฯ ประมาณปี 1970 เหนือประตูแต่ละบานมีอักษรจีนสี่ตัวอ่านจากขวาไปซ้าย -ประตูบานกลาง มีอักษรจีน 天下為公 อ่านเป็นภาษากวางตุ้ง ว่า ที้น-ห่า-ไหว่-ก๊ง แปลว่า 'โลกนี้มีไว้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม' (คติประจำใจของดร.ซุน ยัตเซ็น) อักษรอีก 8 ตัว เหนือประตูตะวันออก และ ประตูตะวันตก หมายถึงคุณธรรม ดังนี้ คือ - ป้ายประตูบานตะวันออก เขียนว่า 忠孝仁愛 อ่านเป็นภาษากวางตุ้ง ว่า จุ๊ง-ฮาว-หยั่น-งอย แปลว่า ความภักดี ความกตัญญู และ ความรัก -ป้ายประตูบานตะวันตก เขียนว่า 信義和平 อ่านเป็นภาษากวางตุ้ง เซิ้น-หยี่-หว่อ-เผ่ง แปลว่า ความซื่อสัตย์ ความมั่นใจ สันติภาพ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 251 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์

    อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง

    ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน

    คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป

    แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา

    ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย

    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ

    ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย

    แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร

    ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน

    แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย

    ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์"

    ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา

    Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น

    โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย

    พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง

    ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ

    ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม)

    ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน)

    กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น

    แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร

    ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา

    แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก

    ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย

    ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

    สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย

    หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า

    "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน

    จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ"

    แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น

    หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better
    ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok

    ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA

    #Thaitimes
    เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์ อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์" ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม) ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน) กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ" แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA #Thaitimes
    WWW.THEBETTER.CO.TH
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1452 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 4 ‘ซู’ และ ‘ซู่’

    ผ่านมาหลายสัปดาห์กับหกทักษะของสุภาพบุรุษจากตระกูลสูงศักดิ์ หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือ(หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数)

    สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงสองทักษะสุดท้าย ซึ่งไม่ตื่นตาตื่นใจเท่าสัปดาห์ที่แล้ว และในบันทึกโจวหลี่ไม่ได้มีการขยายความเพิ่มเติม เพียงระบุไว้ว่าต้องมีทักษะที่ห้า คือ ‘ลิ่วซู’ หรือหกอักษร และทักษะที่หกคือ ‘จิ่วซู่’ หรือเก้าคำนวณ และชนรุ่นหลังจึงต้องอาศัยหนังสืออื่นในสมัยฮั่นที่บรรยายเพิ่มเติมถึงสองทักษะนี้

    สำหรับทักษะที่ห้า ‘ซู’ หรืออักษรนี้ เพื่อนเพจอย่าได้เข้าใจผิดว่ามันหมายถึงงานโคลงกลอนวรรณกรรมชั้นสูง หรือการเขียนพู่กันรูปแบบอักษรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นทักษะพื้นฐานในการเขียนอ่านสำหรับเด็กเมื่อเริ่มเรียนหนังสือเมื่อกว่าสามพันปีที่แล้ว สรุปได้ดังนี้
    (1) เซี่ยงสิง (象形/Pictogram) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่เรามองเห็น ซึ่งเพื่อนเพจอย่าลืมว่าแรกเริ่มการเขียนของมนุษย์เรามาจากการวาดภาพ อักขระที่ใช้ในสมัยจีนบรรพกาลตามที่เราเห็นบนกระดูกโบราณก็เป็นลักษณะคล้ายภาพวาด อย่างเช่นอักษร ‘เหริน’ (人) ที่แปลว่าคน ก็คือมาจากการวาดรูปคนเดิน เป็นต้น
    (2) จื่อซื่อ (指事/Indicatives) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงความคิดความรู้สึกที่เราจับต้องไม่ได้ เช่น ตัวเลขจีนหรือคำว่าบนล่าง (‘ซ่างเซี่ย’ / 上下) เป็นต้น
    (3) ฮุ่ยอี้ (会意/Associative Compound) คืออักษรประสมที่เกิดจากการประกอบอักษรเดี่ยว (เซี่ยงสิงหรือจื่อซื่อ) มากกว่าหนึ่งอักษรเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นอีกความหมายหนึ่ง เช่น ‘จ้ง’ (众) ประกอบด้วยอักษร ‘เหริน’ สามตัว หมายถึงกลุ่มคน เป็นต้น
    (4) สิงเซิง (形声/Pictophonetic Compound) คืออักษรประสมที่ใช้อักษรหลักเดียวกัน แต่อาศัยอักษรข้างหรืออักษรบนล่างผันเสียงและ/หรือสร้างความหมายให้แตกต่างกันไป เช่น 绸 调 鲷 雕 และ 竿 笼 笔 筷 签 เป็นต้น ประเด็นนี้เพื่อนเพจที่ได้เรียนภาษาจีนจะเข้าใจได้ดีกว่าที่ Storyฯ อธิบาย

    สี่อักษรข้างต้นนั้น เป็นการวางรากฐานการเขียนและอักษรจีน แต่อีกสองอักษรที่เหลือเป็นหลักการการใช้ศัพท์ กล่าวคือ
    (5) จ่วนจู้ (转注/ Shared Component Characters) คืออักษรประสมที่อาจเขียนและออกเสียงแตกต่างแต่มีความหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีเงื่อนไขว่าอักษรนี้ต้องมีอักษรประกอบ (คืออักษรข้างหรืออักษรบนล่าง) ที่เหมือนกัน มีเสียงอ่านใกล้เคียงกัน และใช้อธิบายความหมายของกันและกันได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละพื้นที่ของจีนมีภาษาท้องถิ่นที่ออกเสียงแตกต่างกันไปจึงอาจมีการใช้อักษรบางตัวแตกต่างกันไป แต่หากเข้าใจหลักการของ ‘จ่วนจู้’ ก็จะสามารถเข้าใจความหมายของอักษรที่แตกต่างกันไปเหล่านั้นได้ เช่น ‘คง’ (空) แปลว่าว่างเปล่า และ ‘เชี่ยว’ (窍) แปลว่ารู เป็นต้น
    (6) เจี่ยเจี้ย (假借/Phonetic Loans) คือการยืมอักษรที่ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาใช้แทนกัน ซึ่งในสมัยโบราณมีการใช้ทักษะนี้ในการแต่งบทกลอนไม่น้อย และยังเห็นได้ในพวกคำมงคลต่างๆ เช่นคำว่า ‘เต้า’ (倒) ที่แปลว่ากลับหัว ถูกนำมาใช้ในบริบทของการติดป้ายมงคลกลับหัวเพื่อเรียกแทนคำว่า ‘เต้า’ (到) ที่แปลว่ามาถึง หรืออีกกรณีหนึ่งคือเจี่ยเจี้ยอาจหมายถึงการเอาอักษรหนึ่งมาใช้ในอีกบริบทหนึ่งจนเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่า ‘ลิ่ง’ (令) ซึ่งแปลว่าคำสั่ง ต่อมาถูกนำมาใช้รวมกับคำอื่นจนแปลว่าผู้นำหรือผู้มีอำนาจสั่งการอย่าง ‘เซี่ยนลิ่ง’ (县令) คือผู้ว่าการอำเภอ เป็นต้น และอักษรเจี่ยเจี้ยเหล่านี้ นานวันเข้าก็เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย

    ส่วนทักษะการคำนวณหรือ ‘จิ่วซู่’ นั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดมากเพราะว่ามาตรฐานและหน่วยวัดต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วตามกาลเวลา ขอสรุปสั้นๆ พอให้เห็นภาพว่า เก้าคำนวณนี้ประกอบด้วย

    (1) ฟางเถียน (方田) ซึ่งก็คือการคำนวณขนาดของพื้นที่ โจทย์โดยหลักคือที่นา
    (2) ซู่หมี่ (粟米) คือการคำนวณปริมาณตามน้ำหนักของข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวฟ่างน้ำหนักเท่านี้เทียบเท่ากับข้าวเจ้าน้ำหนักเท่าไหร่ เป็นต้น
    (3) ซวยเฟิน (衰分) แปลตรงตัวคือการซอยย่อยหรือการหาร
    (4) สาวก่วง (少广) แปลตรงตัวคือเพิ่มจากน้อยไปมาก ซึ่งก็คือการคูณ
    (5) ซังกง (商功) คือการคำนวณปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ใช้สำหรับงานก่อสร้าง
    (6) จวินซู (均输) คือการคำนวณเปรียบเทียบอัตราส่วน เช่น เมื่อวานมีเกลือจำนวนเท่านี้ ขนส่งมาด้วยระยะทางหนึ่งร้อยหลี่ คิดเป็นเงินเท่านี้ ถ้าวันนี้มีเกลือน้อยลงหนึ่งส่วนสี่ ขนส่งด้วยระยะทางแปดสิบหลี่ ควรคิดเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น
    (7) อิ๋งปู้จู๋ (盈不足) แปลตรงตัวคือกำไรขาดทุน ซึ่งก็คือการแก้สมการโดยมีโจทย์เป็นการคำนวณเงินๆ ทองๆ เช่น หากจะซื้อรถม้าสักคัน ถ้าออกเงินคนละห้าตำลึง จะขาดเงินเก้าสิบตำลึง ถ้าออกเงินคนละห้าสิบห้าตำลึง จะมีเงินเหลือสิบตำลึง ถามว่ามีคนออกเงินกี่คนและรถม้าราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
    (8) ฟางเฉิง (方程) คือการแก้สมการ เช่น มีวัวห้าตัวแพะสองตัว รวมเป็นมูลค่าสิบตำลึง แต่ถ้าวัวสองตัวแพะห้าตัวจะรวมมูลค่าได้แปดตำลึง ถามว่าวัวและแพะต่างมีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
    (9) โกวกู่ (勾股) คือการคำนวณความสัมพันธ์ในเรขาคณิต (Pythagoras' theorem) เช่นการคำนวณองศาและความยาว เป็นอีกหนึ่งทักษะสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง

    จะเห็นได้ว่า ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าการยิงธนู ห้าการขับขี่ หกอักษร และ เก้าคำนวณ) จริงๆ แล้วก็คือพื้นฐานการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น พื้นฐานเหล่านี้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมาตลอด แต่เรียกได้ว่าหกทักษะที่กำหนดไว้เมื่อกว่าสี่พันปีที่แล้วนี้ก็คือพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาจวบจนปัจจุบัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    https://www.sohu.com/a/584032470_121288924
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://www.sohu.com/a/584032470_121288924
    https://baike.baidu.com/item/汉字造字法/4018743
    https://studycli.org/zh-CN/chinese-characters/types-of-chinese-characters/
    https://ctext.org/nine-chapters/zhs

    #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 4 ‘ซู’ และ ‘ซู่’ ผ่านมาหลายสัปดาห์กับหกทักษะของสุภาพบุรุษจากตระกูลสูงศักดิ์ หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือ(หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数) สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงสองทักษะสุดท้าย ซึ่งไม่ตื่นตาตื่นใจเท่าสัปดาห์ที่แล้ว และในบันทึกโจวหลี่ไม่ได้มีการขยายความเพิ่มเติม เพียงระบุไว้ว่าต้องมีทักษะที่ห้า คือ ‘ลิ่วซู’ หรือหกอักษร และทักษะที่หกคือ ‘จิ่วซู่’ หรือเก้าคำนวณ และชนรุ่นหลังจึงต้องอาศัยหนังสืออื่นในสมัยฮั่นที่บรรยายเพิ่มเติมถึงสองทักษะนี้ สำหรับทักษะที่ห้า ‘ซู’ หรืออักษรนี้ เพื่อนเพจอย่าได้เข้าใจผิดว่ามันหมายถึงงานโคลงกลอนวรรณกรรมชั้นสูง หรือการเขียนพู่กันรูปแบบอักษรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นทักษะพื้นฐานในการเขียนอ่านสำหรับเด็กเมื่อเริ่มเรียนหนังสือเมื่อกว่าสามพันปีที่แล้ว สรุปได้ดังนี้ (1) เซี่ยงสิง (象形/Pictogram) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่เรามองเห็น ซึ่งเพื่อนเพจอย่าลืมว่าแรกเริ่มการเขียนของมนุษย์เรามาจากการวาดภาพ อักขระที่ใช้ในสมัยจีนบรรพกาลตามที่เราเห็นบนกระดูกโบราณก็เป็นลักษณะคล้ายภาพวาด อย่างเช่นอักษร ‘เหริน’ (人) ที่แปลว่าคน ก็คือมาจากการวาดรูปคนเดิน เป็นต้น (2) จื่อซื่อ (指事/Indicatives) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงความคิดความรู้สึกที่เราจับต้องไม่ได้ เช่น ตัวเลขจีนหรือคำว่าบนล่าง (‘ซ่างเซี่ย’ / 上下) เป็นต้น (3) ฮุ่ยอี้ (会意/Associative Compound) คืออักษรประสมที่เกิดจากการประกอบอักษรเดี่ยว (เซี่ยงสิงหรือจื่อซื่อ) มากกว่าหนึ่งอักษรเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นอีกความหมายหนึ่ง เช่น ‘จ้ง’ (众) ประกอบด้วยอักษร ‘เหริน’ สามตัว หมายถึงกลุ่มคน เป็นต้น (4) สิงเซิง (形声/Pictophonetic Compound) คืออักษรประสมที่ใช้อักษรหลักเดียวกัน แต่อาศัยอักษรข้างหรืออักษรบนล่างผันเสียงและ/หรือสร้างความหมายให้แตกต่างกันไป เช่น 绸 调 鲷 雕 และ 竿 笼 笔 筷 签 เป็นต้น ประเด็นนี้เพื่อนเพจที่ได้เรียนภาษาจีนจะเข้าใจได้ดีกว่าที่ Storyฯ อธิบาย สี่อักษรข้างต้นนั้น เป็นการวางรากฐานการเขียนและอักษรจีน แต่อีกสองอักษรที่เหลือเป็นหลักการการใช้ศัพท์ กล่าวคือ (5) จ่วนจู้ (转注/ Shared Component Characters) คืออักษรประสมที่อาจเขียนและออกเสียงแตกต่างแต่มีความหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีเงื่อนไขว่าอักษรนี้ต้องมีอักษรประกอบ (คืออักษรข้างหรืออักษรบนล่าง) ที่เหมือนกัน มีเสียงอ่านใกล้เคียงกัน และใช้อธิบายความหมายของกันและกันได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละพื้นที่ของจีนมีภาษาท้องถิ่นที่ออกเสียงแตกต่างกันไปจึงอาจมีการใช้อักษรบางตัวแตกต่างกันไป แต่หากเข้าใจหลักการของ ‘จ่วนจู้’ ก็จะสามารถเข้าใจความหมายของอักษรที่แตกต่างกันไปเหล่านั้นได้ เช่น ‘คง’ (空) แปลว่าว่างเปล่า และ ‘เชี่ยว’ (窍) แปลว่ารู เป็นต้น (6) เจี่ยเจี้ย (假借/Phonetic Loans) คือการยืมอักษรที่ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาใช้แทนกัน ซึ่งในสมัยโบราณมีการใช้ทักษะนี้ในการแต่งบทกลอนไม่น้อย และยังเห็นได้ในพวกคำมงคลต่างๆ เช่นคำว่า ‘เต้า’ (倒) ที่แปลว่ากลับหัว ถูกนำมาใช้ในบริบทของการติดป้ายมงคลกลับหัวเพื่อเรียกแทนคำว่า ‘เต้า’ (到) ที่แปลว่ามาถึง หรืออีกกรณีหนึ่งคือเจี่ยเจี้ยอาจหมายถึงการเอาอักษรหนึ่งมาใช้ในอีกบริบทหนึ่งจนเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่า ‘ลิ่ง’ (令) ซึ่งแปลว่าคำสั่ง ต่อมาถูกนำมาใช้รวมกับคำอื่นจนแปลว่าผู้นำหรือผู้มีอำนาจสั่งการอย่าง ‘เซี่ยนลิ่ง’ (县令) คือผู้ว่าการอำเภอ เป็นต้น และอักษรเจี่ยเจี้ยเหล่านี้ นานวันเข้าก็เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนทักษะการคำนวณหรือ ‘จิ่วซู่’ นั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดมากเพราะว่ามาตรฐานและหน่วยวัดต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วตามกาลเวลา ขอสรุปสั้นๆ พอให้เห็นภาพว่า เก้าคำนวณนี้ประกอบด้วย (1) ฟางเถียน (方田) ซึ่งก็คือการคำนวณขนาดของพื้นที่ โจทย์โดยหลักคือที่นา (2) ซู่หมี่ (粟米) คือการคำนวณปริมาณตามน้ำหนักของข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวฟ่างน้ำหนักเท่านี้เทียบเท่ากับข้าวเจ้าน้ำหนักเท่าไหร่ เป็นต้น (3) ซวยเฟิน (衰分) แปลตรงตัวคือการซอยย่อยหรือการหาร (4) สาวก่วง (少广) แปลตรงตัวคือเพิ่มจากน้อยไปมาก ซึ่งก็คือการคูณ (5) ซังกง (商功) คือการคำนวณปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ใช้สำหรับงานก่อสร้าง (6) จวินซู (均输) คือการคำนวณเปรียบเทียบอัตราส่วน เช่น เมื่อวานมีเกลือจำนวนเท่านี้ ขนส่งมาด้วยระยะทางหนึ่งร้อยหลี่ คิดเป็นเงินเท่านี้ ถ้าวันนี้มีเกลือน้อยลงหนึ่งส่วนสี่ ขนส่งด้วยระยะทางแปดสิบหลี่ ควรคิดเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น (7) อิ๋งปู้จู๋ (盈不足) แปลตรงตัวคือกำไรขาดทุน ซึ่งก็คือการแก้สมการโดยมีโจทย์เป็นการคำนวณเงินๆ ทองๆ เช่น หากจะซื้อรถม้าสักคัน ถ้าออกเงินคนละห้าตำลึง จะขาดเงินเก้าสิบตำลึง ถ้าออกเงินคนละห้าสิบห้าตำลึง จะมีเงินเหลือสิบตำลึง ถามว่ามีคนออกเงินกี่คนและรถม้าราคาเท่าไหร่ เป็นต้น (8) ฟางเฉิง (方程) คือการแก้สมการ เช่น มีวัวห้าตัวแพะสองตัว รวมเป็นมูลค่าสิบตำลึง แต่ถ้าวัวสองตัวแพะห้าตัวจะรวมมูลค่าได้แปดตำลึง ถามว่าวัวและแพะต่างมีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น (9) โกวกู่ (勾股) คือการคำนวณความสัมพันธ์ในเรขาคณิต (Pythagoras' theorem) เช่นการคำนวณองศาและความยาว เป็นอีกหนึ่งทักษะสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง จะเห็นได้ว่า ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าการยิงธนู ห้าการขับขี่ หกอักษร และ เก้าคำนวณ) จริงๆ แล้วก็คือพื้นฐานการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น พื้นฐานเหล่านี้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมาตลอด แต่เรียกได้ว่าหกทักษะที่กำหนดไว้เมื่อกว่าสี่พันปีที่แล้วนี้ก็คือพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาจวบจนปัจจุบัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU https://www.sohu.com/a/584032470_121288924 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://www.sohu.com/a/584032470_121288924 https://baike.baidu.com/item/汉字造字法/4018743 https://studycli.org/zh-CN/chinese-characters/types-of-chinese-characters/ https://ctext.org/nine-chapters/zhs #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    《度华年》定档0626 赵今麦张凌赫入宿命循环局_商业频道_中华网
    今日,由赵今麦、张凌赫领衔主演的古装轻喜剧《度华年》官宣定档6月26日于优酷全网独播。该剧由青梅影业、浙江影视集团、优酷出品,袁玉梅担任总制片人兼艺术总监,高翊浚执导,饶俊编剧。
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1018 มุมมอง 0 รีวิว
  • 勇氣 เพลงจีนกลาง-ไต้หวัน

    เลือดในกายของฉันเป็นชาวจีน 100% ไม่ว่าจะเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ชาวจีนไต้หวัน หรือ ชาวจีนโพ้นทะเล ก็เป็นพี่น้องกัน สื่อสารกันได้โดยใช้อักษรจีนที่เหมือนกัน

    ไต้หวัน เปรียบเสมือน "ลูกสาว" ของ "พ่อ+แม่" จีนแผ่นดินใหญ่
    การรวมชาติ (ต้อง)เกิดขึ้นไม่ช้า ก็เร็ว รวมแบบไม่มีเลือดหยดลงแผ่นดินจีน
    "พ่อ+แม่" ไม่ทำร้าย และ ไม่ฆ่า "ลูกสาว" อย่างแน่นอน

    我体内的血液是100%中国人,不管是来自中国大陆。台湾华人或华侨他们是兄弟。他们可以使用相同的汉字进行交流。

    台湾就像中国大陆“父亲+母亲”的“女儿”。
    国家统一(必须)迟早会发生,中国不能流一滴血。
    “爸爸+妈妈”绝对不会伤害、不会杀死“女儿”。




    https://www.youtube.com/watch?v=wUh9-E6KncA&list=RDMM&index=5
    勇氣 เพลงจีนกลาง-ไต้หวัน เลือดในกายของฉันเป็นชาวจีน 100% ไม่ว่าจะเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ชาวจีนไต้หวัน หรือ ชาวจีนโพ้นทะเล ก็เป็นพี่น้องกัน สื่อสารกันได้โดยใช้อักษรจีนที่เหมือนกัน ไต้หวัน เปรียบเสมือน "ลูกสาว" ของ "พ่อ+แม่" จีนแผ่นดินใหญ่ การรวมชาติ (ต้อง)เกิดขึ้นไม่ช้า ก็เร็ว รวมแบบไม่มีเลือดหยดลงแผ่นดินจีน "พ่อ+แม่" ไม่ทำร้าย และ ไม่ฆ่า "ลูกสาว" อย่างแน่นอน 我体内的血液是100%中国人,不管是来自中国大陆。台湾华人或华侨他们是兄弟。他们可以使用相同的汉字进行交流。 台湾就像中国大陆“父亲+母亲”的“女儿”。 国家统一(必须)迟早会发生,中国不能流一滴血。 “爸爸+妈妈”绝对不会伤害、不会杀死“女儿”。 https://www.youtube.com/watch?v=wUh9-E6KncA&list=RDMM&index=5
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 168 มุมมอง 0 รีวิว
  • เติ้ง จื่อ ฉี Tang Tsz-kei (鄧紫棋)

    นักร้อง-นักแต่งเพลง ในชื่อ G.E.M. ( Get Everybody Moving)
    เกิด: 16 สิงหาคม 2534 (อายุ 31 ปี), เซี่ยงไฮ, จีน
    ความสูง: 1.57 ม.
    ค่ายเพลง: Sony Music Entertainment (SME)
    พี่น้อง: อีเลน แทง

    เธอ เป็น นักร้องนักแต่งเพลงชาวฮ่องกง
    ที่ อพยพมาจากเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
    เธอ..เดบิวต์ในวงการเพลงฮ่องกง ในปี 2008
    หลังจากออกอัลบั้ม 3 อัลบั้มในฮ่องกง
    และการปรากฏตัวของเธอ(ชัดเจน)ในรายการแข่งขันร้องเพลงจีน I Am a Singer รุ่นปี 2014

    ดิฉัน..สะดุด เทหัวใจ(หมดทั้งหัวใจ) ให้เธอ ไปแล้ว...
    เพราะเธอมี DNA ของนักร้องในดวงใจทั้งสาม คือ Christina Aguilera, Beyoncé, และ Mariah Carey

    ตัวอย่าง ในเพลง hei fun nei 《喜欢你》
    https://www.youtube.com/watch?v=IQ1g8ShGaVU



    ----------------------------------------------
    รวมเพลงจีน-กวางตุ้ง
    1. เพลงจีนกวางตุ้ง 光辉岁月 อ่านว่า Gwong Fai Seui Yut
    แปลว่า "วันแห่งความรุ่งโรจน์" เป็นเพลงของวง Beyond ในยุค '90
    ที่มีความหมายดีๆ.. นำมาขับร้องใหม่ ไฉไล..,มันส์ มากกว่า-เดิม ค่ะ
    https://www.youtube.com/watch?v=Y98BJoztFwM
    เพลงแนว Canto-Pop 光辉岁月 Gwong Fai Seui Yuet
    ของ วง Beyond ต้นฉบับ(เดิม) พร้อมอักษรจีน-กวางตุ้ง
    ค่อยๆอ่าน+ร้องตาม สักวันหนึ่งที่มี "วันแห่งความรุ่งโรจน์"
    https://www.youtube.com/watch?v=PrGsAMbgUh4
    เพลง Glorious Years (光辉岁月)
    https://www.youtube.com/watch?v=4Sjqt37ipcU

    2. เพลงจีนกวางตุ้ง(ยอดนิยม) ของ ศิลปิน BEYOND
    ขับร้องโดย สุดยอดนักร้องยอดนิยมของฮ่องกง
    ในเพลง 不再猶豫 อ่านว่า Bat joi yau yu แปลว่า ไม่ลังเล
    https://www.youtube.com/watch?v=RvDjCTqoLuw
    3. เพลงภาษาจีนกวางตุ้ง 一生中最爱 อ่านว่า (Yi Sheng Zhong Zui Ai)
    เปิดตัวครั้งแรกในปี 1991 และใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง
    "A Tale of Two Cities" ภาพยนตร์เรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวของ
    เพื่อนรักสองคนที่ตกหลุมรักผู้หญิงคนหนึ่งในเวลาเดียวกัน
    แต่ให้กันและกันด้วยความเป็นพี่น้อง และทั้งสามคนต้องพบกับ
    บททดสอบมิตรภาพและความรัก เพลงนี้เลยดูเหมือนร้อง
    เกี่ยวกับระยะห่างระหว่างเพื่อนกับคนรัก
    https://www.youtube.com/watch?v=KbZLN2X_lFU
    สุดยอด..เพลงจีนกวางตุ้ง(ชาย) ต้องยกให้ ALAN TAM
    ในบทเพลง一生中最愛. Yat Saang Jung Jeui Ngoi
    คือ เพลงที่ดีที่สุด ครองตำแหน่งมาตั้งแต่ 1991- ปัจจุบัน
    https://www.youtube.com/watch?v=62ejBUq1J5o

    4. เพลงจีนกวางตุ้ง 明日話今天 หมายถึง คุยกันวันนี้..ไม่ต้องรอในวันพรุ่งนี้
    และเพลงที่ 2 奮鬥 หมายความถึง การต่อสู้
    ขับร้องโดย Jenny Tseng และ CoCo Lee จำกันได้ไหม..ล่ะ?
    https://www.youtube.com/watch?v=ZXAguTHqYnc

    5. 7 เพลงจีนกวางตุ้ง(ยอดนิยม) ของ 容祖兒 - Joey Yung
    นำเสนอในแบบ Medley รวดเดียวในเพลง
    อ่านออกเสียงสำเนียงกวางตุ้ง 粤拼 ➔ jyut6ping3 ได้ว่า.....
    mat6jau5 / syun2jau5 / sam1gam1ming6dai2 / zou2jau5jyu6mau4 / zeoi6fui1 / ze3gwo3 / ngo5jaa5bat1
    密友 / 損友 / 心甘命抵 / 早有預謀 / 罪魁 / 借過 / 我也不想這樣
    https://www.youtube.com/watch?v=NpC07u2NMj0
    6. เพลงรัก..ภาษากวางตุ้ง ทั้ง 20 เพลง
    สรุปเป็นการขับร้องแนวเศร้าๆของหนุ่มมองเครื่องบิน
    ที่ไม่สามารถเด็ดดอกฟ้าลงมาเชยชมได้
    ถ้าได้..จะร้องแนวมันส์ๆ สนุกสนาน กระดี๊ กระด๊า รื่นเริง หลุดโลก..
    ช่าย หมาย..ล่ะ
    https://www.youtube.com/watch?v=x1z6as3uwMY
    7. ชาวกวางตุ้ง..เป็นชาวจีนที่อาศัยอยู่ติดทะเลทางตอนใต้ของจีน
    ตื่นเช้าขึ้นมา..จะพบกับ "ท้องฟ้า และ ทะเล"
    มักจะแหกปากขับร้องเพลง Hoi fut tin hung ของ Beyond
    海闊天空 ให้ดัง..ไกล ถึง ดาวพระอังคาร..ไปเลย
    ช่วยกัน "แหกปาก" ร้องดังๆ..นะ คะ
    https://www.youtube.com/watch?v=wk9TMnbx7fQ
    8. เพลงอมตะ..นิรันดร์กาล และ อยู่ในใจของชาวจีนกวางตุ้ง
    คือ เพลง Naan Dak Yau Ching Yan ( 难得有情人 )
    แปลเป็นภาษาอังกฤษ Happy Are Those in Love
    ขับร้องโดย Shirley Kwan (關淑怡)
    ฉันมีความสุขมากที่ได้ฟัง และร้องคลอเคลียตามไปด้วย
    ชาวกวางตุ้ง..ทุกคนสัมผัสความสุขนี้ได้ นะคะ
    https://www.youtube.com/watch?v=lhB9uMNveXI
    9. หนึ่งใน..เพลงที่ดีที่สุดของ Joey Yung 容祖兒
    มีหลายประเทศนำไปเลียนแบบใส่เนื้อร้องใหม่
    ในเพลง 習慣失戀 แปลไทย ว่า " อกหักจนเคยชิน"
    ไพเราะ..มาก ค่ะ " Always Heartbroken "
    https://www.youtube.com/watch?v=aQmieaqmLmU
    10. เพลง..ล้านคิวเพลง《千千阙歌》ในภาษาจีนกวางตุ้ง
    ที่ทำให้ 陈慧娴 Priscilla Chan ที่กำลังจะเกษียณอำลาวงการ
    กลับทำให้เธอ..ดังระเบิดแรงกว่า..ระเบิดปรมาณู ในปี 1983
    11. 朋友 ผั่งเหย่า..ภาษาจีน(กวางตุ้ง) แปลว่า เพื่อน
    เป็นเพลงที่ใช้ภาษาพูด ฟังได้ใจความอย่างง่ายๆ
    คิดถึงความสุข..สมัยที่ได้เรียนที่นี่ในวัยเด็ก

    12. เติ้ง จื่อ ฉี Tang Tsz-kei (鄧紫棋)
    นักร้อง-นักแต่งเพลง ในชื่อ G.E.M. ( Get Everybody Moving)
    เกิด: 16 สิงหาคม 2534 (อายุ 31 ปี), เซี่ยงไฮ, จีน
    ความสูง: 1.57 ม.
    ค่ายเพลง: Sony Music Entertainment (SME)
    พี่น้อง: อีเลน แทง
    เธอ เป็น นักร้องนักแต่งเพลงชาวฮ่องกง
    ที่ อพยพมาจากเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
    เธอ..เดบิวต์ในวงการเพลงฮ่องกง ในปี 2008
    หลังจากออกอัลบั้ม 3 อัลบั้มในฮ่องกง
    และการปรากฏตัวของเธอ(ชัดเจน)ในรายการแข่งขันร้องเพลงจีน I Am a Singer รุ่นปี 2014
    ดิฉัน..สะดุด เทหัวใจ(หมดทั้งหัวใจ) ให้เธอ ไปแล้ว...
    เพราะเธอมี DNA ของนักร้องในดวงใจทั้งสาม คือ Christina Aguilera, Beyoncé, และ Mariah Carey
    ตัวอย่าง ในเพลง hei fun nei 《喜欢你》
    https://www.youtube.com/watch?v=IQ1g8ShGaVU
    13. สุดยอดมหากาพย์ของเพลงจีนกวางตุ้ง..ต้องเพลงนี้
    《千千阙歌》หรือ แปลว่า "เพลงล้านคิว"
    "Song of a Thousand Thousand Que"
    ต้นฉบับของเพลงนี้คือ "Yuyakiけの歌" แต่งโดย Makaiye Yasuji
    โดยนักร้องชาวญี่ปุ่นMasahiko Kondo ในปี 1988
    หลังจากที่ Priscilla Chan ประกาศว่าจะเกษียณจากวงการเพลง
    PolyGram ได้ผลิตเพลง "อำลา" เพลงนี้แหละที่ประพันธ์เพลง
    ในภาษาจีนกวางตุ้ง โดย Lin Zhenqiang
    กลับทำให้ Priscilla Chan ยิ่งโด่งดังมากยิ่งขึ้น ด้วยฝีมือของ
    Anita Mui, Blue Jeans, Polygram, Huaxing Records,
    CBS/SonyและWingo Creative
    ด้วยเพลงนี้ พริสซิลลา ชาน ได้รับรางวัล
    " My Favorite Song Award in the Music World "
    ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 2,715 เสียง
    ใน พิธีมอบรางวัล Top Music Pop Awards ในปี 1989
    https://www.youtube.com/watch?v=P9kcwRnGk5w

    14. อัลบั๊มรวมเพลงจากสวรรค์ ของ 4 ราชาเพลงดังแห่งฮ่องกง
    ♛ Andy Lau ♛Jacky Cheung ♛Li Mingi ♛Aaron Kwok
    https://www.youtube.com/watch?v=a55w198tsLo

    15. Album รวม-เพลงกวางตุ้งที่ดีที่สุด ของ Alan Tam
    https://www.youtube.com/watch?v=w5QIjqHiSp4

    16. เธอ คือ 伍珂玥 หรือ Karrie Ng เป็นชาวเมืองไท่ซาน มณฑลกวางตุ้ง. เป็นนักร้องเพลงป๊อปชาวจีน
    เป็นนักศึกษาปี 2021 ของ Jinzhong Conservatory of Music of Shenzhen University
    และเป็นแชมป์รวมของ " The Voice of China 2021 "
    เธอ คือ สุดยอด..ความภาคภูมิใจ ของ ชาวกวางตุ้งทั่วโลก
    นี่คือ อัลบั๊ม เพลงอันแสนไพเราะ จากน้ำเสียงระดับโลกของเธอ
    https://www.youtube.com/watch?v=usKqLgvf6pI

    17. เพลงจีนกวางตุ้ง ชื่อเพลง《最爱》แปลว่า.. " รักที่ซู๊ดด ด.. "
    เรียบเรียงจากบทกวี เปรียบ ท้องฟ้า สายลม ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
    น้ำขึ้น-น้ำลง เงา สายน้ำ จินตนาการกับความรักในฝัน.
    https://www.youtube.com/watch?v=IEwzbPWB3zg

    18. ชื่อภาษาจีน(ต้วย่อ) 刘德华 คนไทย รู้จักในชื่อ “หลิว เต๋อ หัว”
    สาวๆชาวจีนกวางตุ้ง...กรี๊ด สนั่น ในนาม “เหล่า ตั๊ก หวา” (Andy Lau)
    นี่แหละจักรพรรดิแห่ง..ดาราฮ่องกง เจ้าของผลงานภาพยนตร์ฮ่องกงแนวบู๊ ตีรันฟันแทง มากกว่าครึ่ง
    สูง ยาว หล่อ ล่ำ+เสียงดี ร้องเพลงยอดนิยมเพลงเดียว นานถึง 30 ปี คือ เพลง Yat Hei Jau Gwoh Dik Yat Ji
    《一起走过的日子》แปลเป็นอังกฤษ ว่าThe Days We Spent Together
    สาวกวางตุ้ง ต้องแหกปาก ร้องคลอ..ตามไปได้(ทุกคน)
    โดยเฉพาะท่อนแรก (ร้องดังๆ..นะ)
    如何面对 曾一起走过的日子
    jyu4 ho4 min6 deoi3 cang4 jat1 hei2 zau2 gwo3 dik1 jat6 zi2
    现在剩下我独行
    jin6 zoi6 sing6 haa6 ngo5 duk6 hang4
    如何用心声一一讲你知
    jyu4 ho4 jung6 sam1 sing1/seng1 jat1 jat1 gong2 nei5 zi1
    从来没人明白我
    cung4 loi4 mut6 jan4 ming4 baak6 ngo5
    唯一你给我好日子
    wai4 jat1 nei5 kap1 ngo5 hou2 jat6 zi2
    有你有我有情有生有死有义
    jau5 nei5 jau5 ngo5 jau5 cing4 jau5 sang1/saang1 jau5 sei2 jau5 ji6
    https://www.youtube.com/watch?v=VUZ4w2NN5fQ
    19. เพลงจีนกวางตุ้งคลาสสิก ขับร้องโดย : 張學友 / Jacky Cheung
    ชื่อเพลง : 『我留著你在身邊心仍然很遠』
    แปลไทย ได้ว่า "ฉันคอยเธอเคียงข้างใจยังห่างไกล"
    หรือ แปลเป็นอังกฤษ = Let me stay by your side
    https://www.youtube.com/watch?v=WHTfF5kIz80

    20. เพลงจีนกวางตุ้ง(ยอดนิยม) Yue Ban Xiao Ye Qu
    คืนพระจันทร์เสี้ยว《月半小夜曲》
    ฝาหรั่งเรียกว่า "Half Moon Serenade"
    นักร้อง : Li Keqin, Wu Keyue และ He San
    นำมาขับร้อง แบบ Trio ในปลายปี 2021 ได้ไพเราะจับใจ(มาก)
    ความหมายของเพลง บรรยายถึง ความในใจทุกจุดของ..ชายหนุ่มที่นอนไม่หลับมองท้องฟ้าในค่ำคืนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว รำพันถึงสาวในฝัน ที่น่าจะเป็นดวงดาวที่อยู่ไกลๆ เค้าเผชิญกับความจริงที่ยอมรับไม่ได้ ความรักของเค้าจะไม่เปลี่ยนไปตามลำดับ แต่ยิ่งกระตือรือร้น ยิ่งห่วงใยกันตลอดไป…”
    https://www.youtube.com/watch?v=MfDa59mTHes

    21. เพลงจีนกวางตุ้ง เศร้าๆ.. ขับร้องโดย 容祖兒 - Joey Yung
    ชื่อเพลง : 天窗 แปลว่า แสงจากท้องฟ้า
    ความหมายของเพลง : หญิง-ชาย ดื่มน้ำชา หลังจากอาหารมื่อหนึ่ง
    ซึ่ง ทั้งคู่นัดกันมาพบกันเพื่อบอกเลิกกัน
    ทั้งคู่ไม่ยอมเปิดเผยความจริง
    หรือ ไม่ยอม..เปิดแสงจากฟ้าให้เข้าใจกัน นั่นเอง.
    https://www.youtube.com/watch?v=YnW545U1KgU

    22. เพลงเก่า..ยอดนิยม ประมาณ 30 ปี
    ภาษาจีนกวางตุ้ง ของ Jacky Cheung (張學友 / Cheung Hok-yau)
    ชื่อเพลง : 只想一生跟你走 (Ji seung yat sang gan nie jau)
    แปลว่า : ชีวิตนี้ฉันต้องการไปกับเธอ
    ความหมายของเพลง....พระเอกของเราได้พบกับคนที่หลงรัก
    และค้นพบว่าไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากเธอคนนั้น
    สองคนนี้เลิกกัน โดยฝ่ายหญิงสะบัดกันหนีไป
    ปล่อยให้พระเอกของเรา นั่งร้องไห้เศร้าเสียใจ
    มโนว่า เธอคนนั้น..ไม่ได้จากไป
    และทุกอย่างเหมือนอยู่ในความฝัน
    (ยังเสือกถามว่า ฝ่ายหญิงทำไมไม่ฝันถึงเค้าบ้าง)
    ร้องไหัและขอให้เธออย่าลืมรักเก่าๆเงียบๆ
    เพียงลำพัง คิดว่าในชีวิตนี้ ไม่สามารถอยู่ได้
    โดยปราศจากเธอ
    ตรงกับชื่อเพลง
    "ชีวิตนี้ฉันต้องการไปกับเธอ 只想一生跟你走
    Only Want to Go with You in this Life
    https://www.youtube.com/watch?v=Ou3NHHS6f4c
    23. เพลงแนว Soft-Rock
    อมตะนิรันด์กาล ของ Beyond
    บทเพลงภาษาจีนกวางตุ้ง Hoi Fut Tin Hung - 海闊天空
    https://www.youtube.com/watch?v=wk9TMnbx7fQ
    24. เพลงในแนวศิลปินคู่ Duo ชาย-หญิง
    บนเวที่ Voice of China เพลงในภาษากวางตุ้ง
    ได้รับการยอมรับ จากชาวจีนทั่วทั้งประเทศ
    เพลง : คืนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว
    Yue Ban Xiao Ye Qu (月半小夜曲)
    ศิลปิน : 李克勤 และ 周深
    ความหมายของเพลง บรรยายถึง ความในใจทุกจุดของ..ชายหนุ่มที่นอนไม่หลับมองท้องฟ้าในค่ำคืนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว รำพันถึงสาวในฝัน ที่น่าจะเป็นดวงดาวที่อยู่ไกลๆ เค้าเผชิญกับความจริงที่ยอมรับไม่ได้ ความรักของเค้าจะไม่เปลี่ยนไปตามลำดับ แต่ยิ่งกระตือรือร้น ยิ่งห่วงใยกันตลอดไป…”

    25. เพลงเศร้าๆ..ภาษากวางตุ้ง ชื่อเพลง 天窗 แปลว่า แสงปลายอุโมงค์
    เป็นการเล่าเรื่องราวของหนุ่มน้อยอกหัก นั่งในห้องมืดๆเพียงลำพัง
    โดยมีลำแสงเล็กๆลอดช่องหน้าต่างลงมาที่เขานั่ง คิดปลงตัวเอง
    รำพึง รำพัน อย่างน่าฉงฉาน..จุงเบย
    https://www.youtube.com/watch?v=YnW545U1KgU

    26. เติ้ง จื่อ ฉี Tang Tsz-kei (鄧紫棋)
    นักร้อง-นักแต่งเพลง ในชื่อ G.E.M. ( Get Everybody Moving)
    https://www.facebook.com/photo/?fbid=1121627308556329&set=a.108283646557372

    -《暗裡著迷》
    - Cantonese LOVE Song "Yat Saang Jung Jeui Ngoi" 一生中最愛 [Love Of A Lifetime] - Alan Tam 譚詠麟
    - เมโลดี้..หวานๆ ในเพลง 光輝歲月 -Gwong Fai Seui Yuet
    ของวง Beyond แน่นอน
    https://www.youtube.com/watch?v=SVBC35ByZUY
    - เมโลดี้..อันแสนไพเราะ ในเพลงจีนกวางตุ้ง(อมตะ)
    天若有情. tin yeuk yau ching ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ
    - เพลงจีนกวางตุ้งยอดนิยม(ตลอดกาล)ของ Beyond ทั้ง 2 เพลง
    1) "วันแห่งความรุ่งโรจน์" [ Gwong Fai Seui Yuet ] 光輝歲月
    2) "ทะเลและท้องฟ้า" [ Hoi Fut Tin Hung ] 海闊天空
    - เพลงสำหรับเทศกาลปีใหม่ Auld Lang Syne
    ใส่เนื้อร้องเป็นภาษาจีนกวางตุ้ง
    กลายเป็นเพลง (เหย่ายี่หมานโส๋ย) 友誼萬歲 = มิตรภาพที่ยืนยาว
    ขับร้องโดย "หลีหลี่รุ่ย" 李麗蕊 Sara Lee
    ฟังง่าย -ชัดถ้อย-ชัดคำ(มาก) ค่ะ
    - ศิลป และ เทคนิคในการเขียนอักษรจีน โดยใช้ "แกนร่วม"
    เขียนว่า 身体健康 แปลว่า -ร่างกาย-สุขภาพดี
    ต้องหัดเขียน เพื่อนำไปอวยพรญาติผู้ใหญ่
    (ซึ่ง..เหลือน้อย แล้ว)
    https://www.youtube.com/shorts/th4bgNYZrsI
    - เพลงภาษาจีนกวางตุ้ง ประมาณว่า อกหัก..รักคุด
    ของ Joey Yuong 容祖兒
    แสนรันทดใจ ฟัง..ไป ร้องไห้..ไป
    สังเกตไหม คะ ว่า..คล้ายกับเพลงในละคอนไทย "สามีตีลังกา"
    ไม่ทราบว่า จีนลอกไทย หรือ ไทยลอกจีน
    - เพลงจีนกวางตุ้ง สำเนียง..ซ๊าม-ยับ-หวา
    แสนไพเราะ..เย็นๆ จาก #ฮัคเคน_ลี (李克勤) Hacken Lee
    เค้า..เป็นนักร้อง พิธีกรรายการโทรทัศน์ และนักแสดงชาวฮ่องกง มีผลงานตั้งแต่ปี 1980 จนถึงปี 2013 เพลง "House of Cards" ของ Lee กวาดหลายรางวัลในงานประกาศรางวัลของฮ่องกง รวมถึง "เพลงที่ดีที่สุดในโลก" และ "Broadcasting Index"
    ใน Metro's Awards ในปี 2013 เขาได้รับรางวัล "Outstanding Pop Singer Award" ในงาน "Top Ten Chinese Gold Songs Awards" ของ RTHK ถึง 14 ครั้ง และสร้างสถานะที่ไม่สามารถถูกแทนที่ได้ในอุตสาหกรรมเพลงของฮ่องกงและเอเชีย.
    https://www.youtube.com/watch?v=RMH8Xv2siYM
    - สุดยอด..การประกวด 中国好声音 (Voice of China)
    เพลง(จีนกวางตุ้ง)Manjusaka= 蔓珠莎華 ของ Wu Keyue
    ไม่เพียงรักษาจิตวิญญาณแห่งการครอบงำของ Anita Mui
    แต่...ยังมีเสียงตอนจบที่คล้ายกับ Priscilla Chan มาก
    เติ้ง จื่อ ฉี Tang Tsz-kei (鄧紫棋) นักร้อง-นักแต่งเพลง ในชื่อ G.E.M. ( Get Everybody Moving) เกิด: 16 สิงหาคม 2534 (อายุ 31 ปี), เซี่ยงไฮ, จีน ความสูง: 1.57 ม. ค่ายเพลง: Sony Music Entertainment (SME) พี่น้อง: อีเลน แทง เธอ เป็น นักร้องนักแต่งเพลงชาวฮ่องกง ที่ อพยพมาจากเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เธอ..เดบิวต์ในวงการเพลงฮ่องกง ในปี 2008 หลังจากออกอัลบั้ม 3 อัลบั้มในฮ่องกง และการปรากฏตัวของเธอ(ชัดเจน)ในรายการแข่งขันร้องเพลงจีน I Am a Singer รุ่นปี 2014 ดิฉัน..สะดุด เทหัวใจ(หมดทั้งหัวใจ) ให้เธอ ไปแล้ว... เพราะเธอมี DNA ของนักร้องในดวงใจทั้งสาม คือ Christina Aguilera, Beyoncé, และ Mariah Carey ตัวอย่าง ในเพลง hei fun nei 《喜欢你》 https://www.youtube.com/watch?v=IQ1g8ShGaVU ---------------------------------------------- รวมเพลงจีน-กวางตุ้ง 1. เพลงจีนกวางตุ้ง 光辉岁月 อ่านว่า Gwong Fai Seui Yut แปลว่า "วันแห่งความรุ่งโรจน์" เป็นเพลงของวง Beyond ในยุค '90 ที่มีความหมายดีๆ.. นำมาขับร้องใหม่ ไฉไล..,มันส์ มากกว่า-เดิม ค่ะ https://www.youtube.com/watch?v=Y98BJoztFwM เพลงแนว Canto-Pop 光辉岁月 Gwong Fai Seui Yuet ของ วง Beyond ต้นฉบับ(เดิม) พร้อมอักษรจีน-กวางตุ้ง ค่อยๆอ่าน+ร้องตาม สักวันหนึ่งที่มี "วันแห่งความรุ่งโรจน์" https://www.youtube.com/watch?v=PrGsAMbgUh4 เพลง Glorious Years (光辉岁月) https://www.youtube.com/watch?v=4Sjqt37ipcU 2. เพลงจีนกวางตุ้ง(ยอดนิยม) ของ ศิลปิน BEYOND ขับร้องโดย สุดยอดนักร้องยอดนิยมของฮ่องกง ในเพลง 不再猶豫 อ่านว่า Bat joi yau yu แปลว่า ไม่ลังเล https://www.youtube.com/watch?v=RvDjCTqoLuw 3. เพลงภาษาจีนกวางตุ้ง 一生中最爱 อ่านว่า (Yi Sheng Zhong Zui Ai) เปิดตัวครั้งแรกในปี 1991 และใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "A Tale of Two Cities" ภาพยนตร์เรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวของ เพื่อนรักสองคนที่ตกหลุมรักผู้หญิงคนหนึ่งในเวลาเดียวกัน แต่ให้กันและกันด้วยความเป็นพี่น้อง และทั้งสามคนต้องพบกับ บททดสอบมิตรภาพและความรัก เพลงนี้เลยดูเหมือนร้อง เกี่ยวกับระยะห่างระหว่างเพื่อนกับคนรัก https://www.youtube.com/watch?v=KbZLN2X_lFU สุดยอด..เพลงจีนกวางตุ้ง(ชาย) ต้องยกให้ ALAN TAM ในบทเพลง一生中最愛. Yat Saang Jung Jeui Ngoi คือ เพลงที่ดีที่สุด ครองตำแหน่งมาตั้งแต่ 1991- ปัจจุบัน https://www.youtube.com/watch?v=62ejBUq1J5o 4. เพลงจีนกวางตุ้ง 明日話今天 หมายถึง คุยกันวันนี้..ไม่ต้องรอในวันพรุ่งนี้ และเพลงที่ 2 奮鬥 หมายความถึง การต่อสู้ ขับร้องโดย Jenny Tseng และ CoCo Lee จำกันได้ไหม..ล่ะ? https://www.youtube.com/watch?v=ZXAguTHqYnc 5. 7 เพลงจีนกวางตุ้ง(ยอดนิยม) ของ 容祖兒 - Joey Yung นำเสนอในแบบ Medley รวดเดียวในเพลง อ่านออกเสียงสำเนียงกวางตุ้ง 粤拼 ➔ jyut6ping3 ได้ว่า..... mat6jau5 / syun2jau5 / sam1gam1ming6dai2 / zou2jau5jyu6mau4 / zeoi6fui1 / ze3gwo3 / ngo5jaa5bat1 密友 / 損友 / 心甘命抵 / 早有預謀 / 罪魁 / 借過 / 我也不想這樣 https://www.youtube.com/watch?v=NpC07u2NMj0 6. เพลงรัก..ภาษากวางตุ้ง ทั้ง 20 เพลง สรุปเป็นการขับร้องแนวเศร้าๆของหนุ่มมองเครื่องบิน ที่ไม่สามารถเด็ดดอกฟ้าลงมาเชยชมได้ ถ้าได้..จะร้องแนวมันส์ๆ สนุกสนาน กระดี๊ กระด๊า รื่นเริง หลุดโลก.. ช่าย หมาย..ล่ะ https://www.youtube.com/watch?v=x1z6as3uwMY 7. ชาวกวางตุ้ง..เป็นชาวจีนที่อาศัยอยู่ติดทะเลทางตอนใต้ของจีน ตื่นเช้าขึ้นมา..จะพบกับ "ท้องฟ้า และ ทะเล" มักจะแหกปากขับร้องเพลง Hoi fut tin hung ของ Beyond 海闊天空 ให้ดัง..ไกล ถึง ดาวพระอังคาร..ไปเลย ช่วยกัน "แหกปาก" ร้องดังๆ..นะ คะ https://www.youtube.com/watch?v=wk9TMnbx7fQ 8. เพลงอมตะ..นิรันดร์กาล และ อยู่ในใจของชาวจีนกวางตุ้ง คือ เพลง Naan Dak Yau Ching Yan ( 难得有情人 ) แปลเป็นภาษาอังกฤษ Happy Are Those in Love ขับร้องโดย Shirley Kwan (關淑怡) ฉันมีความสุขมากที่ได้ฟัง และร้องคลอเคลียตามไปด้วย ชาวกวางตุ้ง..ทุกคนสัมผัสความสุขนี้ได้ นะคะ https://www.youtube.com/watch?v=lhB9uMNveXI 9. หนึ่งใน..เพลงที่ดีที่สุดของ Joey Yung 容祖兒 มีหลายประเทศนำไปเลียนแบบใส่เนื้อร้องใหม่ ในเพลง 習慣失戀 แปลไทย ว่า " อกหักจนเคยชิน" ไพเราะ..มาก ค่ะ " Always Heartbroken " https://www.youtube.com/watch?v=aQmieaqmLmU 10. เพลง..ล้านคิวเพลง《千千阙歌》ในภาษาจีนกวางตุ้ง ที่ทำให้ 陈慧娴 Priscilla Chan ที่กำลังจะเกษียณอำลาวงการ กลับทำให้เธอ..ดังระเบิดแรงกว่า..ระเบิดปรมาณู ในปี 1983 11. 朋友 ผั่งเหย่า..ภาษาจีน(กวางตุ้ง) แปลว่า เพื่อน เป็นเพลงที่ใช้ภาษาพูด ฟังได้ใจความอย่างง่ายๆ คิดถึงความสุข..สมัยที่ได้เรียนที่นี่ในวัยเด็ก 12. เติ้ง จื่อ ฉี Tang Tsz-kei (鄧紫棋) นักร้อง-นักแต่งเพลง ในชื่อ G.E.M. ( Get Everybody Moving) เกิด: 16 สิงหาคม 2534 (อายุ 31 ปี), เซี่ยงไฮ, จีน ความสูง: 1.57 ม. ค่ายเพลง: Sony Music Entertainment (SME) พี่น้อง: อีเลน แทง เธอ เป็น นักร้องนักแต่งเพลงชาวฮ่องกง ที่ อพยพมาจากเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เธอ..เดบิวต์ในวงการเพลงฮ่องกง ในปี 2008 หลังจากออกอัลบั้ม 3 อัลบั้มในฮ่องกง และการปรากฏตัวของเธอ(ชัดเจน)ในรายการแข่งขันร้องเพลงจีน I Am a Singer รุ่นปี 2014 ดิฉัน..สะดุด เทหัวใจ(หมดทั้งหัวใจ) ให้เธอ ไปแล้ว... เพราะเธอมี DNA ของนักร้องในดวงใจทั้งสาม คือ Christina Aguilera, Beyoncé, และ Mariah Carey ตัวอย่าง ในเพลง hei fun nei 《喜欢你》 https://www.youtube.com/watch?v=IQ1g8ShGaVU 13. สุดยอดมหากาพย์ของเพลงจีนกวางตุ้ง..ต้องเพลงนี้ 《千千阙歌》หรือ แปลว่า "เพลงล้านคิว" "Song of a Thousand Thousand Que" ต้นฉบับของเพลงนี้คือ "Yuyakiけの歌" แต่งโดย Makaiye Yasuji โดยนักร้องชาวญี่ปุ่นMasahiko Kondo ในปี 1988 หลังจากที่ Priscilla Chan ประกาศว่าจะเกษียณจากวงการเพลง PolyGram ได้ผลิตเพลง "อำลา" เพลงนี้แหละที่ประพันธ์เพลง ในภาษาจีนกวางตุ้ง โดย Lin Zhenqiang กลับทำให้ Priscilla Chan ยิ่งโด่งดังมากยิ่งขึ้น ด้วยฝีมือของ Anita Mui, Blue Jeans, Polygram, Huaxing Records, CBS/SonyและWingo Creative ด้วยเพลงนี้ พริสซิลลา ชาน ได้รับรางวัล " My Favorite Song Award in the Music World " ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 2,715 เสียง ใน พิธีมอบรางวัล Top Music Pop Awards ในปี 1989 https://www.youtube.com/watch?v=P9kcwRnGk5w 14. อัลบั๊มรวมเพลงจากสวรรค์ ของ 4 ราชาเพลงดังแห่งฮ่องกง ♛ Andy Lau ♛Jacky Cheung ♛Li Mingi ♛Aaron Kwok https://www.youtube.com/watch?v=a55w198tsLo 15. Album รวม-เพลงกวางตุ้งที่ดีที่สุด ของ Alan Tam https://www.youtube.com/watch?v=w5QIjqHiSp4 16. เธอ คือ 伍珂玥 หรือ Karrie Ng เป็นชาวเมืองไท่ซาน มณฑลกวางตุ้ง. เป็นนักร้องเพลงป๊อปชาวจีน เป็นนักศึกษาปี 2021 ของ Jinzhong Conservatory of Music of Shenzhen University และเป็นแชมป์รวมของ " The Voice of China 2021 " เธอ คือ สุดยอด..ความภาคภูมิใจ ของ ชาวกวางตุ้งทั่วโลก นี่คือ อัลบั๊ม เพลงอันแสนไพเราะ จากน้ำเสียงระดับโลกของเธอ https://www.youtube.com/watch?v=usKqLgvf6pI 17. เพลงจีนกวางตุ้ง ชื่อเพลง《最爱》แปลว่า.. " รักที่ซู๊ดด ด.. " เรียบเรียงจากบทกวี เปรียบ ท้องฟ้า สายลม ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ น้ำขึ้น-น้ำลง เงา สายน้ำ จินตนาการกับความรักในฝัน. https://www.youtube.com/watch?v=IEwzbPWB3zg 18. ชื่อภาษาจีน(ต้วย่อ) 刘德华 คนไทย รู้จักในชื่อ “หลิว เต๋อ หัว” สาวๆชาวจีนกวางตุ้ง...กรี๊ด สนั่น ในนาม “เหล่า ตั๊ก หวา” (Andy Lau) นี่แหละจักรพรรดิแห่ง..ดาราฮ่องกง เจ้าของผลงานภาพยนตร์ฮ่องกงแนวบู๊ ตีรันฟันแทง มากกว่าครึ่ง สูง ยาว หล่อ ล่ำ+เสียงดี ร้องเพลงยอดนิยมเพลงเดียว นานถึง 30 ปี คือ เพลง Yat Hei Jau Gwoh Dik Yat Ji 《一起走过的日子》แปลเป็นอังกฤษ ว่าThe Days We Spent Together สาวกวางตุ้ง ต้องแหกปาก ร้องคลอ..ตามไปได้(ทุกคน) โดยเฉพาะท่อนแรก (ร้องดังๆ..นะ) 如何面对 曾一起走过的日子 jyu4 ho4 min6 deoi3 cang4 jat1 hei2 zau2 gwo3 dik1 jat6 zi2 现在剩下我独行 jin6 zoi6 sing6 haa6 ngo5 duk6 hang4 如何用心声一一讲你知 jyu4 ho4 jung6 sam1 sing1/seng1 jat1 jat1 gong2 nei5 zi1 从来没人明白我 cung4 loi4 mut6 jan4 ming4 baak6 ngo5 唯一你给我好日子 wai4 jat1 nei5 kap1 ngo5 hou2 jat6 zi2 有你有我有情有生有死有义 jau5 nei5 jau5 ngo5 jau5 cing4 jau5 sang1/saang1 jau5 sei2 jau5 ji6 https://www.youtube.com/watch?v=VUZ4w2NN5fQ 19. เพลงจีนกวางตุ้งคลาสสิก ขับร้องโดย : 張學友 / Jacky Cheung ชื่อเพลง : 『我留著你在身邊心仍然很遠』 แปลไทย ได้ว่า "ฉันคอยเธอเคียงข้างใจยังห่างไกล" หรือ แปลเป็นอังกฤษ = Let me stay by your side https://www.youtube.com/watch?v=WHTfF5kIz80 20. เพลงจีนกวางตุ้ง(ยอดนิยม) Yue Ban Xiao Ye Qu คืนพระจันทร์เสี้ยว《月半小夜曲》 ฝาหรั่งเรียกว่า "Half Moon Serenade" นักร้อง : Li Keqin, Wu Keyue และ He San นำมาขับร้อง แบบ Trio ในปลายปี 2021 ได้ไพเราะจับใจ(มาก) ความหมายของเพลง บรรยายถึง ความในใจทุกจุดของ..ชายหนุ่มที่นอนไม่หลับมองท้องฟ้าในค่ำคืนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว รำพันถึงสาวในฝัน ที่น่าจะเป็นดวงดาวที่อยู่ไกลๆ เค้าเผชิญกับความจริงที่ยอมรับไม่ได้ ความรักของเค้าจะไม่เปลี่ยนไปตามลำดับ แต่ยิ่งกระตือรือร้น ยิ่งห่วงใยกันตลอดไป…” https://www.youtube.com/watch?v=MfDa59mTHes 21. เพลงจีนกวางตุ้ง เศร้าๆ.. ขับร้องโดย 容祖兒 - Joey Yung ชื่อเพลง : 天窗 แปลว่า แสงจากท้องฟ้า ความหมายของเพลง : หญิง-ชาย ดื่มน้ำชา หลังจากอาหารมื่อหนึ่ง ซึ่ง ทั้งคู่นัดกันมาพบกันเพื่อบอกเลิกกัน ทั้งคู่ไม่ยอมเปิดเผยความจริง หรือ ไม่ยอม..เปิดแสงจากฟ้าให้เข้าใจกัน นั่นเอง. https://www.youtube.com/watch?v=YnW545U1KgU 22. เพลงเก่า..ยอดนิยม ประมาณ 30 ปี ภาษาจีนกวางตุ้ง ของ Jacky Cheung (張學友 / Cheung Hok-yau) ชื่อเพลง : 只想一生跟你走 (Ji seung yat sang gan nie jau) แปลว่า : ชีวิตนี้ฉันต้องการไปกับเธอ ความหมายของเพลง....พระเอกของเราได้พบกับคนที่หลงรัก และค้นพบว่าไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากเธอคนนั้น สองคนนี้เลิกกัน โดยฝ่ายหญิงสะบัดกันหนีไป ปล่อยให้พระเอกของเรา นั่งร้องไห้เศร้าเสียใจ มโนว่า เธอคนนั้น..ไม่ได้จากไป และทุกอย่างเหมือนอยู่ในความฝัน (ยังเสือกถามว่า ฝ่ายหญิงทำไมไม่ฝันถึงเค้าบ้าง) ร้องไหัและขอให้เธออย่าลืมรักเก่าๆเงียบๆ เพียงลำพัง คิดว่าในชีวิตนี้ ไม่สามารถอยู่ได้ โดยปราศจากเธอ ตรงกับชื่อเพลง "ชีวิตนี้ฉันต้องการไปกับเธอ 只想一生跟你走 Only Want to Go with You in this Life https://www.youtube.com/watch?v=Ou3NHHS6f4c 23. เพลงแนว Soft-Rock อมตะนิรันด์กาล ของ Beyond บทเพลงภาษาจีนกวางตุ้ง Hoi Fut Tin Hung - 海闊天空 https://www.youtube.com/watch?v=wk9TMnbx7fQ 24. เพลงในแนวศิลปินคู่ Duo ชาย-หญิง บนเวที่ Voice of China เพลงในภาษากวางตุ้ง ได้รับการยอมรับ จากชาวจีนทั่วทั้งประเทศ เพลง : คืนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว Yue Ban Xiao Ye Qu (月半小夜曲) ศิลปิน : 李克勤 และ 周深 ความหมายของเพลง บรรยายถึง ความในใจทุกจุดของ..ชายหนุ่มที่นอนไม่หลับมองท้องฟ้าในค่ำคืนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว รำพันถึงสาวในฝัน ที่น่าจะเป็นดวงดาวที่อยู่ไกลๆ เค้าเผชิญกับความจริงที่ยอมรับไม่ได้ ความรักของเค้าจะไม่เปลี่ยนไปตามลำดับ แต่ยิ่งกระตือรือร้น ยิ่งห่วงใยกันตลอดไป…” 25. เพลงเศร้าๆ..ภาษากวางตุ้ง ชื่อเพลง 天窗 แปลว่า แสงปลายอุโมงค์ เป็นการเล่าเรื่องราวของหนุ่มน้อยอกหัก นั่งในห้องมืดๆเพียงลำพัง โดยมีลำแสงเล็กๆลอดช่องหน้าต่างลงมาที่เขานั่ง คิดปลงตัวเอง รำพึง รำพัน อย่างน่าฉงฉาน..จุงเบย https://www.youtube.com/watch?v=YnW545U1KgU 26. เติ้ง จื่อ ฉี Tang Tsz-kei (鄧紫棋) นักร้อง-นักแต่งเพลง ในชื่อ G.E.M. ( Get Everybody Moving) https://www.facebook.com/photo/?fbid=1121627308556329&set=a.108283646557372 -《暗裡著迷》 - Cantonese LOVE Song "Yat Saang Jung Jeui Ngoi" 一生中最愛 [Love Of A Lifetime] - Alan Tam 譚詠麟 - เมโลดี้..หวานๆ ในเพลง 光輝歲月 -Gwong Fai Seui Yuet ของวง Beyond แน่นอน https://www.youtube.com/watch?v=SVBC35ByZUY - เมโลดี้..อันแสนไพเราะ ในเพลงจีนกวางตุ้ง(อมตะ) 天若有情. tin yeuk yau ching ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ - เพลงจีนกวางตุ้งยอดนิยม(ตลอดกาล)ของ Beyond ทั้ง 2 เพลง 1) "วันแห่งความรุ่งโรจน์" [ Gwong Fai Seui Yuet ] 光輝歲月 2) "ทะเลและท้องฟ้า" [ Hoi Fut Tin Hung ] 海闊天空 - เพลงสำหรับเทศกาลปีใหม่ Auld Lang Syne ใส่เนื้อร้องเป็นภาษาจีนกวางตุ้ง กลายเป็นเพลง (เหย่ายี่หมานโส๋ย) 友誼萬歲 = มิตรภาพที่ยืนยาว ขับร้องโดย "หลีหลี่รุ่ย" 李麗蕊 Sara Lee ฟังง่าย -ชัดถ้อย-ชัดคำ(มาก) ค่ะ - ศิลป และ เทคนิคในการเขียนอักษรจีน โดยใช้ "แกนร่วม" เขียนว่า 身体健康 แปลว่า -ร่างกาย-สุขภาพดี ต้องหัดเขียน เพื่อนำไปอวยพรญาติผู้ใหญ่ (ซึ่ง..เหลือน้อย แล้ว) https://www.youtube.com/shorts/th4bgNYZrsI - เพลงภาษาจีนกวางตุ้ง ประมาณว่า อกหัก..รักคุด ของ Joey Yuong 容祖兒 แสนรันทดใจ ฟัง..ไป ร้องไห้..ไป สังเกตไหม คะ ว่า..คล้ายกับเพลงในละคอนไทย "สามีตีลังกา" ไม่ทราบว่า จีนลอกไทย หรือ ไทยลอกจีน - เพลงจีนกวางตุ้ง สำเนียง..ซ๊าม-ยับ-หวา แสนไพเราะ..เย็นๆ จาก #ฮัคเคน_ลี (李克勤) Hacken Lee เค้า..เป็นนักร้อง พิธีกรรายการโทรทัศน์ และนักแสดงชาวฮ่องกง มีผลงานตั้งแต่ปี 1980 จนถึงปี 2013 เพลง "House of Cards" ของ Lee กวาดหลายรางวัลในงานประกาศรางวัลของฮ่องกง รวมถึง "เพลงที่ดีที่สุดในโลก" และ "Broadcasting Index" ใน Metro's Awards ในปี 2013 เขาได้รับรางวัล "Outstanding Pop Singer Award" ในงาน "Top Ten Chinese Gold Songs Awards" ของ RTHK ถึง 14 ครั้ง และสร้างสถานะที่ไม่สามารถถูกแทนที่ได้ในอุตสาหกรรมเพลงของฮ่องกงและเอเชีย. https://www.youtube.com/watch?v=RMH8Xv2siYM - สุดยอด..การประกวด 中国好声音 (Voice of China) เพลง(จีนกวางตุ้ง)Manjusaka= 蔓珠莎華 ของ Wu Keyue ไม่เพียงรักษาจิตวิญญาณแห่งการครอบงำของ Anita Mui แต่...ยังมีเสียงตอนจบที่คล้ายกับ Priscilla Chan มาก
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1335 มุมมอง 0 รีวิว
  • ธรรมะในนิยายจีนจากเรื่อง แปดเทพอสูรมังกรฟ้า

    .

    ตัวละครเอกตัวหนึ่งของเรื่องที่เป็นตัวละครหลักหนึ่งในสาม คือ องค์ชายต้วนอี้ รัชทายาทแห่งอาณาจักร ต้าหลี่ หรือแถบยูนนานของจีนปัจจุบัน นับเป็นตัวละครที่มีความเป็นบุคคลที่หาได้ยากมากในเหล่าชาวยุทธ หรือตัวเอกในอาณาจักรนิยายจีนมากมายเท่าที่เคยผ่านสมองและสองตามา

    .
    .

    แรกทีเดียวที่ข้าพเจ้าได้อ่านเรื่องนี้ในสมัยเรียนชั้นมัธยมต้น กว่าสามสิบปีมาแล้วนั้น รู้สึกไม่ชอบพระเอกที่ชื่อต้วนอี้นี้เลย ออกจะรำคาญ และเบื่อในความเหลาะแหละ โลเล ใจไม่อยู่กับร่องกับรอย เป็นพวกชอบเพ้อฝัน บัณฑิตที่โง่งมยึดอยู่กับตำราเหมือนนักศึกษาที่จะสอบเป็นจอหงวน ตัดสินใจไม่เด็ดขาด อ่อนแอ รักหยกถนอมบุบผา คือมีความนุ่มนิ่มตุ้งติ้ง สุภาพเรียบร้อย โดยเฉพาะกับสตรีเพศยิ่งเข้ากลุ่มไปสนทนาร่วมด้วยอย่างค่อนข้างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียว ไม่สมชายชาตรี

    .
    .

    ฝึกวิชาก็ไม่เอาไหน ทั้งที่มีประสบการณ์ปาฏิหาริย์ โชคนำพาวาสนาส่งให้ได้มีโอกาสไขว่คว้าตำรายุทธ์ หรือร่ำเรียนวิชาสุดยอดฝีมือที่เรียกได้ว่าเป็นยอดวิทยายุทธ์ในใต้หล้า ที่น้อยคนจะได้พานพบ ทว่ากลับเหมือนลิงได้แหวน ไก่ได้พลอย มีของดีกับตัวแต่ไม่ใช้ ไม่ฝึกฝน ปล่อยเสียของไปอย่างเปล่าดาย หรือถ้าฝึกก็อย่างขอไปที หรือเหตุการณ์บังคับ ไม่กระตือรือร้นที่จะพาตนให้กลายเป็นคนเก่ง หรือจอมยุทธ์อันดับหนึ่ง เช่นที่พระเอกควรจะเก่งและควรจะเป็น

    .
    .

    ไม่เหมือนเฉียวฟง ประมุขพรรคกระยาจก ที่แม้นไม่หล่อเหลา แต่มีบุคลิกองอาจกล้าหาญ ฮึกเหิม และมีวิทยายุทธ์สูงส่งเป็นไต้เฮียบ หรือผู้กล้าอันดับหนึ่งในแผ่นดิน ได้รับการยกย่องขนานนามเป็น เฉียวฟงเหนือ มู่หยงใต้ เรียกได้ว่าต้วนอี้เป็นหนึ่งในตัวละครเอกของจักรวาลนิยายกำลังภายในของกิมย้ง ที่ไม่น่าประทับใจเลย

    ทว่า แท้จริงข้าพเจ้ามองต้วนอี้ตื้นเขินเกินไปในเวลานั้น ด้วยวัยที่ยังไม่สามารถวิเคราะห์เรื่องราวได้เหมือนดังปัจจุบัน

    .
    .

    แท้จริง องค์ชายต้วน หรือคุณชายต้วน เป็นตัวละครที่น่ายกย่องในหลายด้าน เขาเป็นผู้ที่มีจิตใจดีงามฝังอยู่ในกมลสันดาน ที่ไม่นิยมการฝึกวิชายุทธ์ ก็เพราะไม่อยากจะเกี่ยวข้องทำร้ายคน ไม่ชอบการเข่นฆ่า พยายามหลีกเลี่ยงอย่างถึงที่สุด โดยกลับไปชอบถึงขั้นหลงใหลในด้านศิลปะแทน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในทางดนตรี บทกวี การเขียนอักษรจีน การวาดภาพ และการเล่นหมากล้อม

    .
    .

    เขามีจิตใจอ่อนโยน แม้กระทั่งกับศัตรูที่คิดจะฆ่าตัวเองให้ตาย แต่เขาก็ไม่ยอมที่จะเป็นฝ่ายกระทำตอบ แม้นในเมื่อตนมีโอกาส ยามศัตรูพลั้งพลาด จนในที่สุดความดีของเขาสามารถเอาชนะใจจอมโฉดอันดับสาม จากสี่จอมโฉด คือ หนานไห่เอ้อเซิน จนยอมเรียกต้วนอี้ว่าอาจารย์ และยอมเป็นศิษย์แม้นด้วยความจำนน จากการแพ้เดิมพันก็ตาม (ถือว่าเป็นจอมโฉดที่มีจิตใจดีงามอยู่หลายส่วน มากกว่าพี่น้องร่วมสาบานคนอื่น โดยเฉพาะความสัตย์ซื่อ)

    .
    .

    นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ให้โอกาสคนอื่น ไม่เหยียบย่ำซ้ำเติม มีน้ำใจต่อคนแทบทุกชนชั้น เห็นใจแม้กระทั่งคนชั่วที่คนอื่นเกลียด ชอบช่วยเหลือ ชอบคบค้าสมาคมกับคนจำนวนมาก เป็นผู้มีบุคลิกภายนอกที่อาจไม่ต้องใจสาวงามที่ชมชอบบุรุษเข้มแข็ง อีกทั้งก็ไม่ได้หล่อเหลา แม้นจะไม่ขี้เหร่ แต่ด้วยความเป็นคนมาดคุณชายหนอนหนังสือ จึงไม่ได้รับการใส่ใจจากหญิงที่ตนรัก

    .
    .

    โดยรวมแล้ว แม้ต้วนอี้จะมีข้อด้อยหลายประการ แต่ข้อด้อยเหล่านั้น บางข้อก็ถือเป็นข้อดีหากเรามองในอีกแง่มุมหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่ให้แง่คิดกับเราได้ว่า การจะวิเคราะห์หรือมองคนคนหนึ่งให้ทะลุนั้น เราจะมองแต่แค่แง่ใดหรือบางแง่หาได้ไม่ เพราะเบื้องหลังความเป็นมาของแต่ละคนที่บ่มเพาะให้คนคนนั้น กลายเป็นคนที่มีบุคลิก หรืออุปนิสัยเช่นไร เป็นความซับซ้อนหลายชั้น

    ในความเป็นคนดี ก็ยังมีความชั่วแฝงซ่อนอยู่ หรือกระทั่งจอมโฉดชั่วสุดสามานย์ ก็ยังมีมุมที่น่าเห็นใจ น่าสงสาร ไปจนกระทั่งน่ารักอยู่ไม่น้อย สมดังชื่อเรื่องที่มีทั้งเทพและมารอยู่รวมกัน

    .

    แต่ที่เห็นได้ชัดคือ คนที่พยายามอยากได้ในสิ่งที่ตนต้องการ ด้วยการทำทุกวิธีแม้จะต้องผิดต่อมโนธรรม คุณธรรม และศีลธรรม มักจะต้องผิดหวัง

    .

    ทว่าคนที่ยิ่งไม่ต้องการ ยิ่งไม่อยากได้ในสิ่งที่คนอื่นอยาก มักจะเป็นผู้ที่ได้รับในสิ่งซึ่งตนไม่ต้องการอยู่เสมอ

    ดังเช่นชีวิตขององค์ชายต้วนอี้ เป็นต้น ซึ่งได้พบกับความสุขสมหวังในช่วงท้าย ต่างจากมู่หยงฟู่ที่ไขว่คว้าตลอด แต่ต้องสูญสิ้นทุกอย่างจนกลายเป็นบ้า

    ............

    บทความโดย ชลธิศ รมณียางกูร

    ป.ล. ฉบับนิยายที่อ่านเป็นฉบับที่ยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขใหม่โดยผู้แต่งในภายหลัง

    รูปภาพประกอบจากกูเกิ้ล เวอร์ชั่นปี 1982 คุณชายต้วน รับบทโดย ทัง เจิ้นเยี่ย (จีนตัวย่อ: 汤镇业; จีนตัวเต็ม: 湯鎮業; พินอิน: Tāng Zhènyè)ข้อมูลชื่อจีน และคำอ่านจากวิกิพีเดีย

    #แปดเทพอสูรมังกรฟ้า
    #ต้วนอี้
    #นิยายกำลังภายใน
    #นิยายจีน
    #กิมย้ง
    #thaitimes
    #บทวิเคราะห์
    #บทความ
    #ข้อคิด
    #นิยายแปล
    ธรรมะในนิยายจีนจากเรื่อง แปดเทพอสูรมังกรฟ้า . ตัวละครเอกตัวหนึ่งของเรื่องที่เป็นตัวละครหลักหนึ่งในสาม คือ องค์ชายต้วนอี้ รัชทายาทแห่งอาณาจักร ต้าหลี่ หรือแถบยูนนานของจีนปัจจุบัน นับเป็นตัวละครที่มีความเป็นบุคคลที่หาได้ยากมากในเหล่าชาวยุทธ หรือตัวเอกในอาณาจักรนิยายจีนมากมายเท่าที่เคยผ่านสมองและสองตามา . . แรกทีเดียวที่ข้าพเจ้าได้อ่านเรื่องนี้ในสมัยเรียนชั้นมัธยมต้น กว่าสามสิบปีมาแล้วนั้น รู้สึกไม่ชอบพระเอกที่ชื่อต้วนอี้นี้เลย ออกจะรำคาญ และเบื่อในความเหลาะแหละ โลเล ใจไม่อยู่กับร่องกับรอย เป็นพวกชอบเพ้อฝัน บัณฑิตที่โง่งมยึดอยู่กับตำราเหมือนนักศึกษาที่จะสอบเป็นจอหงวน ตัดสินใจไม่เด็ดขาด อ่อนแอ รักหยกถนอมบุบผา คือมีความนุ่มนิ่มตุ้งติ้ง สุภาพเรียบร้อย โดยเฉพาะกับสตรีเพศยิ่งเข้ากลุ่มไปสนทนาร่วมด้วยอย่างค่อนข้างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียว ไม่สมชายชาตรี . . ฝึกวิชาก็ไม่เอาไหน ทั้งที่มีประสบการณ์ปาฏิหาริย์ โชคนำพาวาสนาส่งให้ได้มีโอกาสไขว่คว้าตำรายุทธ์ หรือร่ำเรียนวิชาสุดยอดฝีมือที่เรียกได้ว่าเป็นยอดวิทยายุทธ์ในใต้หล้า ที่น้อยคนจะได้พานพบ ทว่ากลับเหมือนลิงได้แหวน ไก่ได้พลอย มีของดีกับตัวแต่ไม่ใช้ ไม่ฝึกฝน ปล่อยเสียของไปอย่างเปล่าดาย หรือถ้าฝึกก็อย่างขอไปที หรือเหตุการณ์บังคับ ไม่กระตือรือร้นที่จะพาตนให้กลายเป็นคนเก่ง หรือจอมยุทธ์อันดับหนึ่ง เช่นที่พระเอกควรจะเก่งและควรจะเป็น . . ไม่เหมือนเฉียวฟง ประมุขพรรคกระยาจก ที่แม้นไม่หล่อเหลา แต่มีบุคลิกองอาจกล้าหาญ ฮึกเหิม และมีวิทยายุทธ์สูงส่งเป็นไต้เฮียบ หรือผู้กล้าอันดับหนึ่งในแผ่นดิน ได้รับการยกย่องขนานนามเป็น เฉียวฟงเหนือ มู่หยงใต้ เรียกได้ว่าต้วนอี้เป็นหนึ่งในตัวละครเอกของจักรวาลนิยายกำลังภายในของกิมย้ง ที่ไม่น่าประทับใจเลย ทว่า แท้จริงข้าพเจ้ามองต้วนอี้ตื้นเขินเกินไปในเวลานั้น ด้วยวัยที่ยังไม่สามารถวิเคราะห์เรื่องราวได้เหมือนดังปัจจุบัน . . แท้จริง องค์ชายต้วน หรือคุณชายต้วน เป็นตัวละครที่น่ายกย่องในหลายด้าน เขาเป็นผู้ที่มีจิตใจดีงามฝังอยู่ในกมลสันดาน ที่ไม่นิยมการฝึกวิชายุทธ์ ก็เพราะไม่อยากจะเกี่ยวข้องทำร้ายคน ไม่ชอบการเข่นฆ่า พยายามหลีกเลี่ยงอย่างถึงที่สุด โดยกลับไปชอบถึงขั้นหลงใหลในด้านศิลปะแทน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในทางดนตรี บทกวี การเขียนอักษรจีน การวาดภาพ และการเล่นหมากล้อม . . เขามีจิตใจอ่อนโยน แม้กระทั่งกับศัตรูที่คิดจะฆ่าตัวเองให้ตาย แต่เขาก็ไม่ยอมที่จะเป็นฝ่ายกระทำตอบ แม้นในเมื่อตนมีโอกาส ยามศัตรูพลั้งพลาด จนในที่สุดความดีของเขาสามารถเอาชนะใจจอมโฉดอันดับสาม จากสี่จอมโฉด คือ หนานไห่เอ้อเซิน จนยอมเรียกต้วนอี้ว่าอาจารย์ และยอมเป็นศิษย์แม้นด้วยความจำนน จากการแพ้เดิมพันก็ตาม (ถือว่าเป็นจอมโฉดที่มีจิตใจดีงามอยู่หลายส่วน มากกว่าพี่น้องร่วมสาบานคนอื่น โดยเฉพาะความสัตย์ซื่อ) . . นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ให้โอกาสคนอื่น ไม่เหยียบย่ำซ้ำเติม มีน้ำใจต่อคนแทบทุกชนชั้น เห็นใจแม้กระทั่งคนชั่วที่คนอื่นเกลียด ชอบช่วยเหลือ ชอบคบค้าสมาคมกับคนจำนวนมาก เป็นผู้มีบุคลิกภายนอกที่อาจไม่ต้องใจสาวงามที่ชมชอบบุรุษเข้มแข็ง อีกทั้งก็ไม่ได้หล่อเหลา แม้นจะไม่ขี้เหร่ แต่ด้วยความเป็นคนมาดคุณชายหนอนหนังสือ จึงไม่ได้รับการใส่ใจจากหญิงที่ตนรัก . . โดยรวมแล้ว แม้ต้วนอี้จะมีข้อด้อยหลายประการ แต่ข้อด้อยเหล่านั้น บางข้อก็ถือเป็นข้อดีหากเรามองในอีกแง่มุมหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่ให้แง่คิดกับเราได้ว่า การจะวิเคราะห์หรือมองคนคนหนึ่งให้ทะลุนั้น เราจะมองแต่แค่แง่ใดหรือบางแง่หาได้ไม่ เพราะเบื้องหลังความเป็นมาของแต่ละคนที่บ่มเพาะให้คนคนนั้น กลายเป็นคนที่มีบุคลิก หรืออุปนิสัยเช่นไร เป็นความซับซ้อนหลายชั้น ในความเป็นคนดี ก็ยังมีความชั่วแฝงซ่อนอยู่ หรือกระทั่งจอมโฉดชั่วสุดสามานย์ ก็ยังมีมุมที่น่าเห็นใจ น่าสงสาร ไปจนกระทั่งน่ารักอยู่ไม่น้อย สมดังชื่อเรื่องที่มีทั้งเทพและมารอยู่รวมกัน . แต่ที่เห็นได้ชัดคือ คนที่พยายามอยากได้ในสิ่งที่ตนต้องการ ด้วยการทำทุกวิธีแม้จะต้องผิดต่อมโนธรรม คุณธรรม และศีลธรรม มักจะต้องผิดหวัง . ทว่าคนที่ยิ่งไม่ต้องการ ยิ่งไม่อยากได้ในสิ่งที่คนอื่นอยาก มักจะเป็นผู้ที่ได้รับในสิ่งซึ่งตนไม่ต้องการอยู่เสมอ ดังเช่นชีวิตขององค์ชายต้วนอี้ เป็นต้น ซึ่งได้พบกับความสุขสมหวังในช่วงท้าย ต่างจากมู่หยงฟู่ที่ไขว่คว้าตลอด แต่ต้องสูญสิ้นทุกอย่างจนกลายเป็นบ้า ............ บทความโดย ชลธิศ รมณียางกูร ป.ล. ฉบับนิยายที่อ่านเป็นฉบับที่ยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขใหม่โดยผู้แต่งในภายหลัง รูปภาพประกอบจากกูเกิ้ล เวอร์ชั่นปี 1982 คุณชายต้วน รับบทโดย ทัง เจิ้นเยี่ย (จีนตัวย่อ: 汤镇业; จีนตัวเต็ม: 湯鎮業; พินอิน: Tāng Zhènyè)ข้อมูลชื่อจีน และคำอ่านจากวิกิพีเดีย #แปดเทพอสูรมังกรฟ้า #ต้วนอี้ #นิยายกำลังภายใน #นิยายจีน #กิมย้ง #thaitimes #บทวิเคราะห์ #บทความ #ข้อคิด #นิยายแปล
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1399 มุมมอง 0 รีวิว