• ความมีอยู่ว่า...

    ... เว่ยอู๋เซี่ยนเอ่ย “หลานจ้าน! อย่า! เจ้าอย่ายอมถอย!”
    หากแต่หลานว่างจีถอยไปห้าก้าวแล้วอย่างไม่ลังเล จินกวงเหยาจึงกล่าว “ดีมาก ขั้นต่อมาก็คือขอให้ท่านนำกระบี่ปี้เฉินเก็บเข้าฝักด้วย”
    ในความเงียบ หลานว่างจีทำตามอย่างไม่ชักช้า เว่ยอู๋เซี่ยนกล่าว “เจ้าอย่าได้คืบเอาศอก!”
    จินกวงเหยากล่าว “เพียงเท่านี้ก็เรียกได้คืบเอาศอก? ข้าพเจ้ากำลังจะขอให้ท่านหานกวงจวินจี้สกัดจุดพลังของตนเองอยู่เชียว เช่นนั้นจะเรียกว่าอย่างไร?” ...

    - จากเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร>

    เพียงคนเดียวแต่กลับเรียกขานด้วยถึงสามชื่อ คือ หลานจ้าน หลานว่างจี และหานกวงจวิน ลูกเพจเคยสงสัยไหมคะว่าทำไม?

    ชื่อจีนในสมัยโบราณ มีคำว่า หมิง (名) จึ้อ (字) และอาจมี ฮ่าว (号)

    หมิง (名) คือชื่อที่ครอบครัวตั้งให้ มีทั้งที่มีความหมายดี หรือบางครั้งก็เป็นชื่อเรียกเล่นๆ ในที่นี่หลานจ้านของเรามีชื่อ (หรือหมิง) ว่า “จ้าน” ซึ่งแปลว่าความกระจ่างหรือความลึกซึ้ง

    ส่วน จึ้อ (字) คือชื่อรอง หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นชื่อที่ครูบาอาจารย์หรือผู้ใหญ่ที่นับถือตั้งให้สำหรับผู้ที่ได้ผ่านการเล่าเรียนมา โดยทั่วไปจะได้รับการตั้งชื่อเมื่อสตรีอายุครบสิบห้าปี (หรือวัยปักปิ่น) หรือเมื่อบุรุษอายุครบยี่สิบปี (หรือวัยครอบมงกฎผม) ซึ่งชื่อนี้มักเป็นชื่อที่บ่งบอกคุณธรรมประจำตัวของลูกศิษย์ที่อาจารย์ได้สังเกตเห็น เมื่อมีชื่อเป็นทางการนี้แล้ว คนทั่วไปจะต้องเรียกขานเขาผู้นั้นด้วยชื่อทางการนี้เพื่อแสดงการให้เกียรติ ในขณะที่ชื่อที่ครอบครัวตั้งให้จะมีเฉพาะคนในครอบครัวหรือคนที่สนิทจริงๆ จึงจะเรียกได้ โดยสังเกตได้จากในเนื้อเรื่องที่มีเพียงพระเอก(เว่ยอู๋เซี่ยน)และพี่ชายของหลานจ้านที่เรียกเขาด้วยนามนี้ ซึ่ง “ว่างจี” เป็นชื่อทางการ มีความหมายว่าลืมหรือปล่อยวางเล่ห์กลหรือความคิดไม่สุจริต

    ส่วนฮ่าว (号) ก็คือฉายา ซึ่งลูกเพจที่คุ้นเคยกับนิยายกำลังภายในจะคุ้นกับการมีฉายาบ้าง ในจีนโบราณไม่ใช่ทุกคนที่จะมีฉายา คนที่ได้รับการตั้งฉายาจะเป็นผู้ที่มีสถานะหรือตำแหน่งสูงส่ง เพราะเป็นการเรียกอย่างยกย่องยิ่ง หลานจ้านมีฉายาว่า “หานกวงจวิน” แปลได้ว่าผู้ซึ่งมีแสงสว่างอยู่ภายใน

    Credit รูปภาพจาก: https://filmdaily.co/obsessions/the-untamed-supporting-characters/
    Credit เนื้อหารวบรวมจาก:
    http://m.tianya999.com/question/2019/0902/18259581.html
    https://www.sohu.com/a/205641364_786465
    https://www.xingming.com/xmzs/1584.html

    #ปรมาจารย์ลัทธิมาร #ชื่อแซ่จีน StoryfromStory
    ความมีอยู่ว่า... ... เว่ยอู๋เซี่ยนเอ่ย “หลานจ้าน! อย่า! เจ้าอย่ายอมถอย!” หากแต่หลานว่างจีถอยไปห้าก้าวแล้วอย่างไม่ลังเล จินกวงเหยาจึงกล่าว “ดีมาก ขั้นต่อมาก็คือขอให้ท่านนำกระบี่ปี้เฉินเก็บเข้าฝักด้วย” ในความเงียบ หลานว่างจีทำตามอย่างไม่ชักช้า เว่ยอู๋เซี่ยนกล่าว “เจ้าอย่าได้คืบเอาศอก!” จินกวงเหยากล่าว “เพียงเท่านี้ก็เรียกได้คืบเอาศอก? ข้าพเจ้ากำลังจะขอให้ท่านหานกวงจวินจี้สกัดจุดพลังของตนเองอยู่เชียว เช่นนั้นจะเรียกว่าอย่างไร?” ... - จากเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร> เพียงคนเดียวแต่กลับเรียกขานด้วยถึงสามชื่อ คือ หลานจ้าน หลานว่างจี และหานกวงจวิน ลูกเพจเคยสงสัยไหมคะว่าทำไม? ชื่อจีนในสมัยโบราณ มีคำว่า หมิง (名) จึ้อ (字) และอาจมี ฮ่าว (号) หมิง (名) คือชื่อที่ครอบครัวตั้งให้ มีทั้งที่มีความหมายดี หรือบางครั้งก็เป็นชื่อเรียกเล่นๆ ในที่นี่หลานจ้านของเรามีชื่อ (หรือหมิง) ว่า “จ้าน” ซึ่งแปลว่าความกระจ่างหรือความลึกซึ้ง ส่วน จึ้อ (字) คือชื่อรอง หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นชื่อที่ครูบาอาจารย์หรือผู้ใหญ่ที่นับถือตั้งให้สำหรับผู้ที่ได้ผ่านการเล่าเรียนมา โดยทั่วไปจะได้รับการตั้งชื่อเมื่อสตรีอายุครบสิบห้าปี (หรือวัยปักปิ่น) หรือเมื่อบุรุษอายุครบยี่สิบปี (หรือวัยครอบมงกฎผม) ซึ่งชื่อนี้มักเป็นชื่อที่บ่งบอกคุณธรรมประจำตัวของลูกศิษย์ที่อาจารย์ได้สังเกตเห็น เมื่อมีชื่อเป็นทางการนี้แล้ว คนทั่วไปจะต้องเรียกขานเขาผู้นั้นด้วยชื่อทางการนี้เพื่อแสดงการให้เกียรติ ในขณะที่ชื่อที่ครอบครัวตั้งให้จะมีเฉพาะคนในครอบครัวหรือคนที่สนิทจริงๆ จึงจะเรียกได้ โดยสังเกตได้จากในเนื้อเรื่องที่มีเพียงพระเอก(เว่ยอู๋เซี่ยน)และพี่ชายของหลานจ้านที่เรียกเขาด้วยนามนี้ ซึ่ง “ว่างจี” เป็นชื่อทางการ มีความหมายว่าลืมหรือปล่อยวางเล่ห์กลหรือความคิดไม่สุจริต ส่วนฮ่าว (号) ก็คือฉายา ซึ่งลูกเพจที่คุ้นเคยกับนิยายกำลังภายในจะคุ้นกับการมีฉายาบ้าง ในจีนโบราณไม่ใช่ทุกคนที่จะมีฉายา คนที่ได้รับการตั้งฉายาจะเป็นผู้ที่มีสถานะหรือตำแหน่งสูงส่ง เพราะเป็นการเรียกอย่างยกย่องยิ่ง หลานจ้านมีฉายาว่า “หานกวงจวิน” แปลได้ว่าผู้ซึ่งมีแสงสว่างอยู่ภายใน Credit รูปภาพจาก: https://filmdaily.co/obsessions/the-untamed-supporting-characters/ Credit เนื้อหารวบรวมจาก: http://m.tianya999.com/question/2019/0902/18259581.html https://www.sohu.com/a/205641364_786465 https://www.xingming.com/xmzs/1584.html #ปรมาจารย์ลัทธิมาร #ชื่อแซ่จีน StoryfromStory
    FILMDAILY.CO
    'The Untamed': Don't overlook these amazing supporting characters – Film Daily
    Here are some of the best supporting characters in 'The Untamed' that cannot go overlooked in this C-drama fantasy.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 115 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกือบ18 ปีแล้ว ผมเคยเขียนเรื่องนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง
    .
    บทความนั้นมีชื่อว่า ‘งักปุกคุ้ง’ แห่งเสียนหลอ (https://mgronline.com/daily/detail/9500000032355 เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550)
    .
    แต่วันนี้ไม่รู้ว่าตัวเองนึกครึ้มอกครึ้มใจอะไรเลยย้อนไปอ่าน แล้วอยากเอามารีไรท์ และนำมาแบ่งปันอีกครั้งนึง
    .
    ต้นปี 2568 นี้ มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายจีนกำลังภายในเรื่องอมตะ เรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร” (หรือ ยิ้มเย้ยยุทธจักร หรือ เดชคัมภีร์เทวดา หรือในภาษาจีนคือ 笑傲江湖 ส่วน ชื่ออังกฤษ Invincible Swordsman) ถูกนำมารีเมคใหม่อีกครั้ง โดยตอนนี้ลงจอฉายที่จีนไปแล้ว ในไทยก็กำลังจะเข้าฉายทาง WeTV กับ iQIYI
    .
    กระบี่เย้ยยุทธจักร เป็นนวนิยายกำลังภายในของสุดยอดปรมาจารย์ทางวรรณกรรมจีน “กิมย้ง” หรือจีนกลางอ่านว่า “จินยง (金庸)” ซึ่งท่านเสียชีวิตไปเมื่อ 7 ปีที่แล้วเมื่อวัน 30 ตุลาคม 2561
    .
    กระบี่เย้ยยุทธจักรถือเป็นนิยายกำลังภายในเรื่องเดียวของกิมย้งที่ไม่ได้อิงประวัติศาสตร์ของจีนในยุคใด แต่เป็นนวนิยายกำลังภายในแนวการเมืองที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง
    .
    เรื่องราวเขียนถึงคนที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายธรรมมะ ฝ่ายอธรรม และ วิญญูชนจอมปลอม ได้อย่างลึกซึ้ง และถ่องแท้ที่สุด!
    .
    ตัวละครหลักคือ เหล็งฮู้ชง ตัวเอกของเรื่อง ศิษย์คนโตและศิษย์ทรยศแห่งสำนักฮั้วซัว (หรือหัวซาน ที่เป็นยอดบรรพตในมณฑลส่านซี) สองคือ งักปุกคุ้ง ซือแป๋เจ้าสำนักฮั้วซัว
    .
    งักปุกคุ้ง (แซ่งัก นามปุกคุ้ง) เป็นเจ้าสำนักฮั้วซัว ผู้สืบทอดเพลงกระบี่และลมปราณเมฆม่วงแห่งสำนักฮั้วซัว หนึ่งในห้า ยอดสำนักกระบี่แห่งบู๊ลิ้ม ภาพภายนอกเป็นผู้กล้าที่ได้ชื่อว่าเป็นจอมยุทธ์ผู้ทรงคุณธรรม เป็นเจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสำนักมาตรฐานของยุทธจักร จนได้รับฉายาจากบรรดาจอมยุทธ์ว่า “กระบี่วิญญูชน”
    .
    งักปุกคุ้ง นอกจากจะเป็นเจ้าสำนักของยอดสำนักกระบี่แล้ว ในด้านของชาติพันธุ์ เจ้าตัวยังเชื่อมั่นด้วยว่า ต้นตระกูลงัก (หรือในภาษาจีนกลางคือแซ่เย่ว์ – 岳) ของตนมีวีรบุรุษกู้ชาติอยู่หลายคน โดยหนึ่งในผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของตระกูลงักก็คือ ‘งักฮุย (เย่ว์เฟย)’ ยอดขุนพลแห่งราชวงศ์ซ่งใต้ งักปุกคุ้งเชื่อมั่นใน ‘คุณธรรม’ ของตนจนถึงกับเดินทางรอนแรมพาเหล่าศิษย์ฮั้วซัวไปเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของงักฮุย
    .
    อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเจ้าสำนักกระบี่ฝ่ายธรรมะ ทั้งยังได้ฉายาว่าเป็น “กระบี่วิญญูชน” แต่ตลอดทั้งเรื่อง ชื่อเสียงและคำพูดของงักปุกคุ้ง กลับไม่ได้สอดคล้องกับการกระทำของเขาเลยแม้แต่น้อย ยกตัวอย่างเช่น
     งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะหลบเลี่ยงเมื่อภัยมาถึงตัว
     งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะวางเฉย เมื่อประสบเห็นความไม่เป็นธรรมของยุทธจักร
     งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่พร้อมจะให้ร้ายป้ายสีและถีบหัวส่ง เหล็งฮู้ชง ศิษย์เอกมากกว่าที่จะยื่นมือเข้าปกป้องเมื่อเหล็งฮู้ชงถูกกล่าวหาว่าสมคบกับฝ่ายอธรรม
     งักปุกคุ้ง เป็นวิญญูชนที่แม้ปากจะบอกว่าไม่สนใจต่อลาภยศ หรือยอดวิชาแห่งยุทธจักร แต่กลับส่ง “งักเล้งซัง” บุตรีของตนเองไปแต่งกับ “ลิ้มเพ้งจือ” รวมถึงยินยอมสละอวัยวะเพศของตัวเอง เพียงเพื่อจะได้ครอบครองเพลงคัมภีร์กระบี่ตระกูลลิ้ม
    .
    กล่าวโดยสรุปแล้วงักปุกคุ้ง เป็นบุคคลประเภทที่เรียกว่า “วิญญูชนจอมปลอม” ภายนอกดูเป็นคนดีที่มีชื่อเสียง เป็น “กระบี่วิญญูชน” เจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อ แต่แท้จริงแล้วกลับประพฤติตนยิ่งกว่าคนในสายอธรรมเสียอีก
    .
    เมื่อพลิกอ่าน “กระบี่เย้ยยุทธจักร” และพิจารณาความระหว่างบรรทัดที่กิมย้งสอดแทรกลงในนวนิยายกำลังภายในเล่มนี้ ผู้อ่านก็จะรับรู้ได้ถึงความเป็นอัจฉริยะของกิมย้ง ที่แม้จะเขียนถึงเรื่องราวในยุทธภพในยุคสมัยราชวงศ์หมิง (ตามการคาดเดาของผู้เขียนเอง) แต่เนื้อหาของนวนิยายกลับสามารถนำมาเปรียบเทียบกับความเป็นไปทางการเมือง เสียดสีถึงพฤติกรรมของผู้คนในสังคมจีนในยุคสมัยที่ประเทศจีนวุ่นวายที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ คือ ในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม (พ.ศ.2509-2519)
    .
    ส่วนเมื่อมองถึงเหตุการณ์บ้านเมืองไทยในยุคปัจจุบันแล้ว ใครจะเป็นงักปุกคุ้ง, ใครจะเป็นเหล็งฮู้ชง, ใครจะเป็นฝ่ายธรรมมะ, ใครจะเป็นฝ่ายอธรรม, ใครจะเป็นกระบี่วิญญูชน หรือ ใครจะเป็นวิญญูชนจอมปลอม ผมนั้นมิอาจจะตัดสินใจแทนใครได้จริง ๆ
    .
    ต่างคนต่างมุมมอง ต่างภูมิหลัง ต่างภูมิรู้ ต่างประสบการณ์ ต่างความคิด และเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคน
    เกือบ18 ปีแล้ว ผมเคยเขียนเรื่องนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง . บทความนั้นมีชื่อว่า ‘งักปุกคุ้ง’ แห่งเสียนหลอ (https://mgronline.com/daily/detail/9500000032355 เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550) . แต่วันนี้ไม่รู้ว่าตัวเองนึกครึ้มอกครึ้มใจอะไรเลยย้อนไปอ่าน แล้วอยากเอามารีไรท์ และนำมาแบ่งปันอีกครั้งนึง . ต้นปี 2568 นี้ มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายจีนกำลังภายในเรื่องอมตะ เรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร” (หรือ ยิ้มเย้ยยุทธจักร หรือ เดชคัมภีร์เทวดา หรือในภาษาจีนคือ 笑傲江湖 ส่วน ชื่ออังกฤษ Invincible Swordsman) ถูกนำมารีเมคใหม่อีกครั้ง โดยตอนนี้ลงจอฉายที่จีนไปแล้ว ในไทยก็กำลังจะเข้าฉายทาง WeTV กับ iQIYI . กระบี่เย้ยยุทธจักร เป็นนวนิยายกำลังภายในของสุดยอดปรมาจารย์ทางวรรณกรรมจีน “กิมย้ง” หรือจีนกลางอ่านว่า “จินยง (金庸)” ซึ่งท่านเสียชีวิตไปเมื่อ 7 ปีที่แล้วเมื่อวัน 30 ตุลาคม 2561 . กระบี่เย้ยยุทธจักรถือเป็นนิยายกำลังภายในเรื่องเดียวของกิมย้งที่ไม่ได้อิงประวัติศาสตร์ของจีนในยุคใด แต่เป็นนวนิยายกำลังภายในแนวการเมืองที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง . เรื่องราวเขียนถึงคนที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายธรรมมะ ฝ่ายอธรรม และ วิญญูชนจอมปลอม ได้อย่างลึกซึ้ง และถ่องแท้ที่สุด! . ตัวละครหลักคือ เหล็งฮู้ชง ตัวเอกของเรื่อง ศิษย์คนโตและศิษย์ทรยศแห่งสำนักฮั้วซัว (หรือหัวซาน ที่เป็นยอดบรรพตในมณฑลส่านซี) สองคือ งักปุกคุ้ง ซือแป๋เจ้าสำนักฮั้วซัว . งักปุกคุ้ง (แซ่งัก นามปุกคุ้ง) เป็นเจ้าสำนักฮั้วซัว ผู้สืบทอดเพลงกระบี่และลมปราณเมฆม่วงแห่งสำนักฮั้วซัว หนึ่งในห้า ยอดสำนักกระบี่แห่งบู๊ลิ้ม ภาพภายนอกเป็นผู้กล้าที่ได้ชื่อว่าเป็นจอมยุทธ์ผู้ทรงคุณธรรม เป็นเจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสำนักมาตรฐานของยุทธจักร จนได้รับฉายาจากบรรดาจอมยุทธ์ว่า “กระบี่วิญญูชน” . งักปุกคุ้ง นอกจากจะเป็นเจ้าสำนักของยอดสำนักกระบี่แล้ว ในด้านของชาติพันธุ์ เจ้าตัวยังเชื่อมั่นด้วยว่า ต้นตระกูลงัก (หรือในภาษาจีนกลางคือแซ่เย่ว์ – 岳) ของตนมีวีรบุรุษกู้ชาติอยู่หลายคน โดยหนึ่งในผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของตระกูลงักก็คือ ‘งักฮุย (เย่ว์เฟย)’ ยอดขุนพลแห่งราชวงศ์ซ่งใต้ งักปุกคุ้งเชื่อมั่นใน ‘คุณธรรม’ ของตนจนถึงกับเดินทางรอนแรมพาเหล่าศิษย์ฮั้วซัวไปเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของงักฮุย . อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเจ้าสำนักกระบี่ฝ่ายธรรมะ ทั้งยังได้ฉายาว่าเป็น “กระบี่วิญญูชน” แต่ตลอดทั้งเรื่อง ชื่อเสียงและคำพูดของงักปุกคุ้ง กลับไม่ได้สอดคล้องกับการกระทำของเขาเลยแม้แต่น้อย ยกตัวอย่างเช่น  งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะหลบเลี่ยงเมื่อภัยมาถึงตัว  งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะวางเฉย เมื่อประสบเห็นความไม่เป็นธรรมของยุทธจักร  งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่พร้อมจะให้ร้ายป้ายสีและถีบหัวส่ง เหล็งฮู้ชง ศิษย์เอกมากกว่าที่จะยื่นมือเข้าปกป้องเมื่อเหล็งฮู้ชงถูกกล่าวหาว่าสมคบกับฝ่ายอธรรม  งักปุกคุ้ง เป็นวิญญูชนที่แม้ปากจะบอกว่าไม่สนใจต่อลาภยศ หรือยอดวิชาแห่งยุทธจักร แต่กลับส่ง “งักเล้งซัง” บุตรีของตนเองไปแต่งกับ “ลิ้มเพ้งจือ” รวมถึงยินยอมสละอวัยวะเพศของตัวเอง เพียงเพื่อจะได้ครอบครองเพลงคัมภีร์กระบี่ตระกูลลิ้ม . กล่าวโดยสรุปแล้วงักปุกคุ้ง เป็นบุคคลประเภทที่เรียกว่า “วิญญูชนจอมปลอม” ภายนอกดูเป็นคนดีที่มีชื่อเสียง เป็น “กระบี่วิญญูชน” เจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อ แต่แท้จริงแล้วกลับประพฤติตนยิ่งกว่าคนในสายอธรรมเสียอีก . เมื่อพลิกอ่าน “กระบี่เย้ยยุทธจักร” และพิจารณาความระหว่างบรรทัดที่กิมย้งสอดแทรกลงในนวนิยายกำลังภายในเล่มนี้ ผู้อ่านก็จะรับรู้ได้ถึงความเป็นอัจฉริยะของกิมย้ง ที่แม้จะเขียนถึงเรื่องราวในยุทธภพในยุคสมัยราชวงศ์หมิง (ตามการคาดเดาของผู้เขียนเอง) แต่เนื้อหาของนวนิยายกลับสามารถนำมาเปรียบเทียบกับความเป็นไปทางการเมือง เสียดสีถึงพฤติกรรมของผู้คนในสังคมจีนในยุคสมัยที่ประเทศจีนวุ่นวายที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ คือ ในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม (พ.ศ.2509-2519) . ส่วนเมื่อมองถึงเหตุการณ์บ้านเมืองไทยในยุคปัจจุบันแล้ว ใครจะเป็นงักปุกคุ้ง, ใครจะเป็นเหล็งฮู้ชง, ใครจะเป็นฝ่ายธรรมมะ, ใครจะเป็นฝ่ายอธรรม, ใครจะเป็นกระบี่วิญญูชน หรือ ใครจะเป็นวิญญูชนจอมปลอม ผมนั้นมิอาจจะตัดสินใจแทนใครได้จริง ๆ . ต่างคนต่างมุมมอง ต่างภูมิหลัง ต่างภูมิรู้ ต่างประสบการณ์ ต่างความคิด และเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคน
    Like
    Love
    7
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1008 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยิ้มเปลี่ยนชีวิตได้ ในบางครั้งยังอาจสามารถเปลี่ยนโลก นี่ไม่ต้องลำบากเสาะหาจากที่ไหนให้วุ่นวาย เพราะมีอยู่ในกายทุกผู้คน

    #กระบี่อมตะ
    โก้วเล้ง เขียน / ว.ณ เมืองลุง แปล
    สนพ.สร้างสรรค์บุ๊กส์
    นวนิยายสั้นเล่มเดียวจบ หมวดกำลังภายใน
    เป็นเล่มแรกที่ถูกจัดเข้าในชุดอาวุธของโก้วเล้ง

    ไม่แน่ใจว่าที่แท้แล้ว ผลงานในชุดนี้มีทั้งหมดกี่เล่ม บางแหล่งระบุว่ามี 7 เล่ม บางแหล่งระบุว่ามี 8 เล่ม ซึ่งตามความจริง ล้วนเป็นเหล่า สนพ.ต่าง ๆ จากต้นทาง ที่รวบรวมจัดเข้าชุดกันเองเพื่อหวังในยอดขายเพิ่มขึ้น หาใช่สิ่งที่โก้วเล้งเป็นคนตั้งใจหรือวางแผนไว้แต่แรก มีบางข้อมูลถึงกับระบุว่า เล่มที่โก้วเล้งเป็นคนเขียนเองมีเพียง 2 เรื่องแรกเท่านั้น คือกระบี่อมตะ และเดชขนนกยูง หากข้อมูลดังกล่าวถูกต้อง แล้วเล่มอื่นในชุดใครที่เป็นมือปืนรับจ้างเขียนแทนโดยใช้ชื่อโก้วเล้งเล่า

    นี่คืออีกหนึ่งปริศนาในงานเขียนของปีศาจสุรา ที่ช่วงหลังก่อนเสียชีวิต แต่งเรื่องไว้หลายเรื่องแต่แต่งไม่จบ นับเป็นรอยด่างหรือความมัวหมองในชีวิตงานเขียนประการหนึ่งซึ่งน่าเสียดาย

    วกมาสู่เล่มนี้

    เพิ่งจบเมื่อเช้า ก่อนหน้าไม่เคยอ่านในชุดอาวุธมาเลยสักเล่มเดียว ผ่านตาพบเห็นมาหลายปกตั้งแต่เด็ก แต่ก็นิยมไปอ่านเรื่องยาว หรือเรื่องชุดอื่น ๆ ซะ บัดนี้ตั้งใจว่าจะลองมาลิ้มรสเล่มที่พลาดไป เริ่มต้นด้วยเล่มนี้เป็นเล่มแรกครับ

    เนื้อหากล่าวถึง กลุ่มชายฉกรรจ์ขบวนใหญ่ ต่างที่มาแต่มารวมตัวกันเฉพาะกิจ ด้วยเหตุผลคือตามล่าคนคนหนึ่งซึ่งมีสิ่งของที่ทั้งหมดต้องการแอบซ่อนไว้ เปิดเรื่องที่โรงเตี๊ยมในเมืองซึ่งมีตัวเอกของเรื่อง นามแปะเง็กเกียเดินทางผ่านมาแวะพักค้างอ้างแรม ในมือของมันผู้นี้มีศาสตราวุธสุดยอดเป็นกระบี่ดำเล่มหนึ่ง กระบี่โบราณดูไปไม่มีใดน่าสนใจ ทว่าผู้กล้าและชาวยุทธ์ทั่วหล้าต่างพากันทราบดี ถึงชื่อเสียงเกียรติภูมิที่ได้รับการกล่าวขานถึง นั่นเรียกว่ากระบี่อมตะ ผู้มาที่ไม่ทราบสำนักสังกัดชัด ต่างล้วนทราบดีแก่ใจว่าบุรุษเจ้าของกระบี่เล่มนี้ยากตอแย และมีฝีมือมิใช่ชั่ว ต่างคุมเชิงกันและกันไม่ว่าใครไม่กล้าลงไม้ลงมือก่อน

    มิคาดนอกจากโรงเตี๊ยมแห่งนี้จะมีบุรุษหน้าตาเข้าทีฝีมือรวบรัดมาเยี่ยมเยือนและอุดหนุนแล้ว ยังมีวาสนาได้รับการต้อนรับโกวเนี้ยเยาว์วัยนางหนึ่ง ซึ่งมีบุคลิกที่เรียบร้อยราวคุณหนู และรูปโฉมโนมพรรณที่สามารถสร้างความลุ่มหลงแก่เหล่าบุรุษได้ นางมีชื่อว่าอ้วงจีเยี้ย ไม่แน่ใจเป็นนางที่ไล่ตามแปะเง็กเกียหรือไม่ เพราะเขาจำได้ว่าเคยพบหน้านางมาก่อนแล้วถึงสองครั้งที่โรงเตี๊ยมแห่งอื่น นี่ไม่อาจโทษว่าเขาเป็นชายเจ้าชู้ อย่างไรชายงามย่อมพึงตาต้องใจในสตรีสาวและยังสวยเป็นธรรมดา ที่สำคัญกลับเป็นนางที่เป็นฝ่ายเริ่มต้นเข้าหา เจรจาพาทีกับเขาก่อนด้วย เป็นเรื่องที่เขาเองก็คาดไม่ถึง อย่างน้อยทุกครั้งที่พบหน้า นางส่งรอยยิ้มที่พิมพ์ใจกระไรปานนั้นให้กับเขา

    ทว่าเรื่องราวกับซับซ้อนยอกย้อนยิ่ง ในขณะที่แปะเง็กเกียเข้าใจว่ากลุ่มชายแปลกหน้าท่าทางประหลาดทั้งหลาย ล้วนมีเป้าประสงค์ที่จะมาหาเรื่องกับตน พลันเกิดเหตุลอบฆ่าฟันกันขึ้น มีคนตายและอาวุธที่เข่นฆ่าก็แปลกประหลาด ขณะที่บรรยากาศโดยรอบภายในโรงเตี๊ยมเต็มไปด้วยความตึงเครียด อ้วงจีเยี้ยพลันเอ่ยขอร้องแปะเง็กเกียให้ค้างอยู่ร่วมห้องเดียวกับนาง ให้เหตุผลว่าบัดนี้นางกลัวยิ่ง เช่นนี้ไยมิใช่การบอกใบ้ว่านางยินดีให้แปะเง็กเกีย ไม่ต้องทำตัวเรียบ ๆ ร้อย ๆ กับนางระหว่างคืนใช่หรือไม่ แต่แปะเง็กเกียกลับเรียบร้อยขึ้นมาจริง ๆ มันพานขึ้นไปนอนบนเตียงเรียงคู่กับนาง ทว่าเพียงแค่อ้าปากกล่าววาจาด้วยท่าทีสงวนคำพูดยิ่งนัก

    คืนนั้นเอง อ้วงจี่เยี้ยพลันกล้าเผยความในใจ ปรารถนาให้เมื่ออรุณขึ้น เขาพานางติดตามไปด้วยในทุกที่ หลีกลี้หนีจากวังวนความวุ่นวายทั้งหลาย แปะเง็กเกียกลับรับปากง่ายดาย ก่อนรุ่งสางได้สกัดจุดหลับนางแล้วออกจากห้อง ตั้งใจจะไปตกลงเจรจากับพวกคนเหล่านั้นให้เรียบร้อย ก่อนที่จะพานางที่ตนชมชอบปลีกกายจากไป ไหนเลยมีเรื่องง่ายดายปานนั้น หลังเอ่ยวาจาอ้อมค้อมลดเลี้ยวอยู่เนิ่นนาน แปะเง็กเกียที่เตรียมจะยกถุงผ้าที่บรรจุวัตถุหายากที่มีมูลค่ามหาศาลทั้งหมดให้กับคนประหลาดที่เหลือ หาคาดไม่ที่พวกมันกังวลสนใจกลับเป็นตัวของอ้วงจีเยี้ยเอง แต่ไม่ยอมบอกว่าเป็นสิ่งของใดในตัวนางที่พวกมันกล่าวหาว่าถูกขโมยมา เมื่อการค้าตกลงไม่สำเร็จแปะเง็กเกียจึงลุกเดินกลับห้อง แต่กลับพบเห็นมีเงาชายคนหนึ่งอยู่ในห้องคล้ายเจรจาบางอย่างกับหญิงที่ตนชอบ ด้วยความเสียใจ ขณะจะผละจากไปปรากฏเสียงร้องของนางดังขึ้นด้วยความตกใจ

    แปะเง็กเกียรีบพุ่งปราดเข้าไปจึงพบว่า เป็นคนร้ายที่เป็นตัวประหลาดคนหนึ่ง ทั้งสองต่อสู้กันชั่วครู่ก่อนที่มันจะชิงจังหวะโดดหลบหนีไป พอดีกับที่สหายคนหนึ่งของแปะเง็กเกียเข้าประตูมาเพราะได้ยินเสียง แปะเง็กเกียจึงขอร้องให้มันช่วยดูแลอ้วงจีเยี้ยแทน ก่อนจะโผออกจากห้อง พุ่งทะยานขึ้นหลังคาตามไป

    เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป ให้เพื่อน ๆ ไปหาอ่านกันต่อ ขอบอกเพียงว่า เป็นนิยายกำลังภายในขนาดสั้นที่เขียนได้ดีมากเล่มหนึ่ง โดยเฉพาะในแง่ที่มีความเป็นงานแนวสืบสวนสอบสวน มีการพลิกไปพลิกมาของความสัมพันธ์ของตัวละครแต่ละตัว ที่มีเบื้องหลังคือของมีค่าอันเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง ซึ่งวัตถุชิ้นนี้กล่าวโยงไปถึงของสำคัญอันจะมีส่วนสำคัญต่อไปในเล่มที่สองของชุดอาวุธของโก้วเล้ง

    ตลอดทั้งเรื่อง โดยเฉพาะครึ่งเรื่องไปแล้วนั้น ล้วนเต็มไปด้วยการชิงไหวชิงพริบ หักเหลี่ยมของเหล่าบรรดาโจรทั้งหลายที่ต่างหมายของสิ่งเดียวกัน ใครเป็นมิตรกับใคร ใครแฝงตัวหลอกล่อ เป้าจริงคือใคร เป้าลวงไฉนเยอะปานนั้น จะเชื่อใจใครได้บ้าง ศัตรูกลับกลายเป็นมิตร หรือสหายกลับทรยศ หญิงงามความจริงคือผู้ถูกกระทำ หรือคือต้นตอของเหตุเภทภัยทั้งหมดกันแน่ แต่ละบทที่ผ่านไปมีแต่ศพ ที่เพิ่มมากขึ้น คนมีชีวิตกลับยิ่งมายิ่งลดน้อยลง แปะเง็กเกียที่ถูกม้วนเข้าไปในวังวนของแหใหญ่ปากนี้ จะสามารถพาตัวรอดพ้นจากหายนะได้หรือไม่

    ฤาต้องจบชีวิตไปอย่างเลอะเลือนงมงาย ไม่ทราบกระทั่งความจริงว่าตนต้องตายด้วยสาเหตุใด

    สุดท้ายที่นึกว่าจะจบลงแล้ว กลับมีพลิกในพลิกอีกที... นี่มันอะไร

    ไปลองอ่านดูนะครับ

    #โก้วเล้ง
    #วณเมืองลุง
    #นิบายจีน
    #นิยายแปล
    #รีวิวหนังสือ
    #หนังสือน่าอ่าน
    #thaitimes]

    ยิ้มเปลี่ยนชีวิตได้ ในบางครั้งยังอาจสามารถเปลี่ยนโลก นี่ไม่ต้องลำบากเสาะหาจากที่ไหนให้วุ่นวาย เพราะมีอยู่ในกายทุกผู้คน #กระบี่อมตะ โก้วเล้ง เขียน / ว.ณ เมืองลุง แปล สนพ.สร้างสรรค์บุ๊กส์ นวนิยายสั้นเล่มเดียวจบ หมวดกำลังภายใน เป็นเล่มแรกที่ถูกจัดเข้าในชุดอาวุธของโก้วเล้ง ไม่แน่ใจว่าที่แท้แล้ว ผลงานในชุดนี้มีทั้งหมดกี่เล่ม บางแหล่งระบุว่ามี 7 เล่ม บางแหล่งระบุว่ามี 8 เล่ม ซึ่งตามความจริง ล้วนเป็นเหล่า สนพ.ต่าง ๆ จากต้นทาง ที่รวบรวมจัดเข้าชุดกันเองเพื่อหวังในยอดขายเพิ่มขึ้น หาใช่สิ่งที่โก้วเล้งเป็นคนตั้งใจหรือวางแผนไว้แต่แรก มีบางข้อมูลถึงกับระบุว่า เล่มที่โก้วเล้งเป็นคนเขียนเองมีเพียง 2 เรื่องแรกเท่านั้น คือกระบี่อมตะ และเดชขนนกยูง หากข้อมูลดังกล่าวถูกต้อง แล้วเล่มอื่นในชุดใครที่เป็นมือปืนรับจ้างเขียนแทนโดยใช้ชื่อโก้วเล้งเล่า นี่คืออีกหนึ่งปริศนาในงานเขียนของปีศาจสุรา ที่ช่วงหลังก่อนเสียชีวิต แต่งเรื่องไว้หลายเรื่องแต่แต่งไม่จบ นับเป็นรอยด่างหรือความมัวหมองในชีวิตงานเขียนประการหนึ่งซึ่งน่าเสียดาย วกมาสู่เล่มนี้ เพิ่งจบเมื่อเช้า ก่อนหน้าไม่เคยอ่านในชุดอาวุธมาเลยสักเล่มเดียว ผ่านตาพบเห็นมาหลายปกตั้งแต่เด็ก แต่ก็นิยมไปอ่านเรื่องยาว หรือเรื่องชุดอื่น ๆ ซะ บัดนี้ตั้งใจว่าจะลองมาลิ้มรสเล่มที่พลาดไป เริ่มต้นด้วยเล่มนี้เป็นเล่มแรกครับ เนื้อหากล่าวถึง กลุ่มชายฉกรรจ์ขบวนใหญ่ ต่างที่มาแต่มารวมตัวกันเฉพาะกิจ ด้วยเหตุผลคือตามล่าคนคนหนึ่งซึ่งมีสิ่งของที่ทั้งหมดต้องการแอบซ่อนไว้ เปิดเรื่องที่โรงเตี๊ยมในเมืองซึ่งมีตัวเอกของเรื่อง นามแปะเง็กเกียเดินทางผ่านมาแวะพักค้างอ้างแรม ในมือของมันผู้นี้มีศาสตราวุธสุดยอดเป็นกระบี่ดำเล่มหนึ่ง กระบี่โบราณดูไปไม่มีใดน่าสนใจ ทว่าผู้กล้าและชาวยุทธ์ทั่วหล้าต่างพากันทราบดี ถึงชื่อเสียงเกียรติภูมิที่ได้รับการกล่าวขานถึง นั่นเรียกว่ากระบี่อมตะ ผู้มาที่ไม่ทราบสำนักสังกัดชัด ต่างล้วนทราบดีแก่ใจว่าบุรุษเจ้าของกระบี่เล่มนี้ยากตอแย และมีฝีมือมิใช่ชั่ว ต่างคุมเชิงกันและกันไม่ว่าใครไม่กล้าลงไม้ลงมือก่อน มิคาดนอกจากโรงเตี๊ยมแห่งนี้จะมีบุรุษหน้าตาเข้าทีฝีมือรวบรัดมาเยี่ยมเยือนและอุดหนุนแล้ว ยังมีวาสนาได้รับการต้อนรับโกวเนี้ยเยาว์วัยนางหนึ่ง ซึ่งมีบุคลิกที่เรียบร้อยราวคุณหนู และรูปโฉมโนมพรรณที่สามารถสร้างความลุ่มหลงแก่เหล่าบุรุษได้ นางมีชื่อว่าอ้วงจีเยี้ย ไม่แน่ใจเป็นนางที่ไล่ตามแปะเง็กเกียหรือไม่ เพราะเขาจำได้ว่าเคยพบหน้านางมาก่อนแล้วถึงสองครั้งที่โรงเตี๊ยมแห่งอื่น นี่ไม่อาจโทษว่าเขาเป็นชายเจ้าชู้ อย่างไรชายงามย่อมพึงตาต้องใจในสตรีสาวและยังสวยเป็นธรรมดา ที่สำคัญกลับเป็นนางที่เป็นฝ่ายเริ่มต้นเข้าหา เจรจาพาทีกับเขาก่อนด้วย เป็นเรื่องที่เขาเองก็คาดไม่ถึง อย่างน้อยทุกครั้งที่พบหน้า นางส่งรอยยิ้มที่พิมพ์ใจกระไรปานนั้นให้กับเขา ทว่าเรื่องราวกับซับซ้อนยอกย้อนยิ่ง ในขณะที่แปะเง็กเกียเข้าใจว่ากลุ่มชายแปลกหน้าท่าทางประหลาดทั้งหลาย ล้วนมีเป้าประสงค์ที่จะมาหาเรื่องกับตน พลันเกิดเหตุลอบฆ่าฟันกันขึ้น มีคนตายและอาวุธที่เข่นฆ่าก็แปลกประหลาด ขณะที่บรรยากาศโดยรอบภายในโรงเตี๊ยมเต็มไปด้วยความตึงเครียด อ้วงจีเยี้ยพลันเอ่ยขอร้องแปะเง็กเกียให้ค้างอยู่ร่วมห้องเดียวกับนาง ให้เหตุผลว่าบัดนี้นางกลัวยิ่ง เช่นนี้ไยมิใช่การบอกใบ้ว่านางยินดีให้แปะเง็กเกีย ไม่ต้องทำตัวเรียบ ๆ ร้อย ๆ กับนางระหว่างคืนใช่หรือไม่ แต่แปะเง็กเกียกลับเรียบร้อยขึ้นมาจริง ๆ มันพานขึ้นไปนอนบนเตียงเรียงคู่กับนาง ทว่าเพียงแค่อ้าปากกล่าววาจาด้วยท่าทีสงวนคำพูดยิ่งนัก คืนนั้นเอง อ้วงจี่เยี้ยพลันกล้าเผยความในใจ ปรารถนาให้เมื่ออรุณขึ้น เขาพานางติดตามไปด้วยในทุกที่ หลีกลี้หนีจากวังวนความวุ่นวายทั้งหลาย แปะเง็กเกียกลับรับปากง่ายดาย ก่อนรุ่งสางได้สกัดจุดหลับนางแล้วออกจากห้อง ตั้งใจจะไปตกลงเจรจากับพวกคนเหล่านั้นให้เรียบร้อย ก่อนที่จะพานางที่ตนชมชอบปลีกกายจากไป ไหนเลยมีเรื่องง่ายดายปานนั้น หลังเอ่ยวาจาอ้อมค้อมลดเลี้ยวอยู่เนิ่นนาน แปะเง็กเกียที่เตรียมจะยกถุงผ้าที่บรรจุวัตถุหายากที่มีมูลค่ามหาศาลทั้งหมดให้กับคนประหลาดที่เหลือ หาคาดไม่ที่พวกมันกังวลสนใจกลับเป็นตัวของอ้วงจีเยี้ยเอง แต่ไม่ยอมบอกว่าเป็นสิ่งของใดในตัวนางที่พวกมันกล่าวหาว่าถูกขโมยมา เมื่อการค้าตกลงไม่สำเร็จแปะเง็กเกียจึงลุกเดินกลับห้อง แต่กลับพบเห็นมีเงาชายคนหนึ่งอยู่ในห้องคล้ายเจรจาบางอย่างกับหญิงที่ตนชอบ ด้วยความเสียใจ ขณะจะผละจากไปปรากฏเสียงร้องของนางดังขึ้นด้วยความตกใจ แปะเง็กเกียรีบพุ่งปราดเข้าไปจึงพบว่า เป็นคนร้ายที่เป็นตัวประหลาดคนหนึ่ง ทั้งสองต่อสู้กันชั่วครู่ก่อนที่มันจะชิงจังหวะโดดหลบหนีไป พอดีกับที่สหายคนหนึ่งของแปะเง็กเกียเข้าประตูมาเพราะได้ยินเสียง แปะเง็กเกียจึงขอร้องให้มันช่วยดูแลอ้วงจีเยี้ยแทน ก่อนจะโผออกจากห้อง พุ่งทะยานขึ้นหลังคาตามไป เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป ให้เพื่อน ๆ ไปหาอ่านกันต่อ ขอบอกเพียงว่า เป็นนิยายกำลังภายในขนาดสั้นที่เขียนได้ดีมากเล่มหนึ่ง โดยเฉพาะในแง่ที่มีความเป็นงานแนวสืบสวนสอบสวน มีการพลิกไปพลิกมาของความสัมพันธ์ของตัวละครแต่ละตัว ที่มีเบื้องหลังคือของมีค่าอันเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง ซึ่งวัตถุชิ้นนี้กล่าวโยงไปถึงของสำคัญอันจะมีส่วนสำคัญต่อไปในเล่มที่สองของชุดอาวุธของโก้วเล้ง ตลอดทั้งเรื่อง โดยเฉพาะครึ่งเรื่องไปแล้วนั้น ล้วนเต็มไปด้วยการชิงไหวชิงพริบ หักเหลี่ยมของเหล่าบรรดาโจรทั้งหลายที่ต่างหมายของสิ่งเดียวกัน ใครเป็นมิตรกับใคร ใครแฝงตัวหลอกล่อ เป้าจริงคือใคร เป้าลวงไฉนเยอะปานนั้น จะเชื่อใจใครได้บ้าง ศัตรูกลับกลายเป็นมิตร หรือสหายกลับทรยศ หญิงงามความจริงคือผู้ถูกกระทำ หรือคือต้นตอของเหตุเภทภัยทั้งหมดกันแน่ แต่ละบทที่ผ่านไปมีแต่ศพ ที่เพิ่มมากขึ้น คนมีชีวิตกลับยิ่งมายิ่งลดน้อยลง แปะเง็กเกียที่ถูกม้วนเข้าไปในวังวนของแหใหญ่ปากนี้ จะสามารถพาตัวรอดพ้นจากหายนะได้หรือไม่ ฤาต้องจบชีวิตไปอย่างเลอะเลือนงมงาย ไม่ทราบกระทั่งความจริงว่าตนต้องตายด้วยสาเหตุใด สุดท้ายที่นึกว่าจะจบลงแล้ว กลับมีพลิกในพลิกอีกที... นี่มันอะไร ไปลองอ่านดูนะครับ #โก้วเล้ง #วณเมืองลุง #นิบายจีน #นิยายแปล #รีวิวหนังสือ #หนังสือน่าอ่าน #thaitimes]
    Like
    Yay
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1007 มุมมอง 0 รีวิว
  • เทศกาลตรุษจีนใกล้เข้ามาทุกที ยังไม่ทันเปลี่ยนจากปีมังกรเป็นปีงู ผู้ผลิตไพ่ชาวจีนก็เข็นไพ่ธีมงูออกมาแลกแต๊ะเอียกันล่วงหน้าแล้วครับ

    'The Spiritual Snake Tarot' เป็นไพ่ทาโรต์ชุดใหม่ล่าสุดในเครือ บ. Chengdu Innerlit Culture Communication หรือชื่อเดิมคือ Chengdu Arcana เจ้าเดียวกับที่ทำไพ่ Stars Lighting Up the Night Tarot ทั้งยังปล่อยไพ่ทาโรต์ธีมปีนักษัตรออกมาแล้ว 2 ปีติดกัน ได้แก่ The Sage Rabbit Tarot เมื่อปี 2023 และ Lóng Tarot ในปีที่แล้ว

    'The Spiritual Snake Tarot' ไม่ใช่แค่ไพ่ทาโรต์ที่ทำในธีมงู แต่เป็นงูในบริบทของตำนานความเชื่อและวัฒนธรรมจีน หน้าไพ่แต่ละใบมีฉากเป็นประเทศจีนในยุคโบราณแบบตามนิยายกำลังภายใน และทุกใบจะมีงูอยู่ในภาพเสมอ บางใบก็เป็นตัวละครในตำนานหรือคติชนของจีนที่เป็นคนครึ่งงูหรืองูจำแลงกายเป็นคน เช่น ในไพ่ Magician เป็นผู้หญิงที่มีร่างกายท่อนล่างเป็นงู ซึ่งผู้สร้างไพ่ก็น่าจะสื่อว่าเป็นพระแม่หนี่วา

    ไพ่ในสำรับมี 78 ใบตามขนบทาโรต์มาตรฐาน ไพ่ชุดหลักไม่ได้ระบุชัดว่าอ้างอิงถึงตำนานเทพหรือเรื่องเล่าอะไรบ้าง (แต่ใครที่พอจะคุ้นเคยกับตำนานจีนอยู่บ้างก็อาจจะคุ้น ๆ กับตัวละครบางตัว) ส่วนไพ่ชุดรองแต่ละตระกูลจะถ่ายทอดเนื้อเรื่องจากนิทานคติชนของจีนที่เกี่ยวข้องกับงู 4 เรื่อง เรื่องที่ดังสุดและเชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยเห็นมาไม่เวอร์ชันใดก็เวอร์ชันหนึ่งคือตำนานของนางพญางูขาวไป๋ซู่เจินในไพ่ตระกูลถ้วย สำหรับไพ่ตระกูลดาบจะเป็นเรื่องราวของหญิงสาวผู้กล้านามหลี่จี้ที่อาสาตัวไปปราบงูยักษ์ (โครงเรื่องคล้าย ๆ เทพซูซาโนะโอะปราบงูยามาตะโนะโอโรจิของญี่ปุ่น เพียงแต่เปลี่ยนให้หญิงที่ควรจะเป็นหนึ่งในเครื่องสังเวยกลายเป็นคนฆ่างูแทน) ไพ่ตระกูลไม้เท้าเล่าตำนานของพญางูดำที่เป็นเทพแห่งขุนเขา ส่วนไพ่ตระกูลเหรียญเป็นเรื่องของกษัตริย์แห่งรัฐสุยช่วยชีวิตงูศักดิ์สิทธิ์และได้รับรางวัลตอบแทนเป็นไข่มุกแสงจันทร์

    สเปกไพ่จัดว่าอยู่ในระดับปานกลาง ไพ่พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตมันเคลือบลินิน หนา 350 gsm ไม่ไถขอบ ลายหลังไพ่มีความสมมาตร ดังนั้นใช้อ่านไพ่แบบกลับหัวได้ บรรจุในกล่องแข็งจั่วปังแบบฝาครอบ มีคู่มือเล่มเล็กเนื้อหาภาษาจีนและอังกฤษ อธิบายความหมายไพ่แต่ละใบทั้งแบบตั้งตรงและกลับหัวสั้น ๆ ในส่วนของไพ่ชุดรองแต่ละตระกูลจะมีการเล่าเรื่องย่อของนิทานคติชนที่เป็น Reference (ตามที่ว่าไว้ในย่อหน้าข้างบน)

    หน้าไพ่โดยรวมสามารถอ่านแบบทาโรต์กึ่งออราเคิลได้ แต่สำหรับคนที่อาจจะไม่ได้รู้จักมักคุ้นกับหนังหรือซีรีส์จีนโบราณกำลังภายใน ก็อาจจะสตั๊นไปเมื่อเห็นหน้าไพ่บางใบเช่นกัน (โดยเฉพาะไพ่ชุดรองที่อ้างอิงเนื้อเรื่องตำนานนิทานต่าง ๆ) ดังนั้นยึดเอาความหมายไพ่ตามระบบไว้ก็ไม่เสียหายครับ
    เทศกาลตรุษจีนใกล้เข้ามาทุกที ยังไม่ทันเปลี่ยนจากปีมังกรเป็นปีงู ผู้ผลิตไพ่ชาวจีนก็เข็นไพ่ธีมงูออกมาแลกแต๊ะเอียกันล่วงหน้าแล้วครับ 'The Spiritual Snake Tarot' เป็นไพ่ทาโรต์ชุดใหม่ล่าสุดในเครือ บ. Chengdu Innerlit Culture Communication หรือชื่อเดิมคือ Chengdu Arcana เจ้าเดียวกับที่ทำไพ่ Stars Lighting Up the Night Tarot ทั้งยังปล่อยไพ่ทาโรต์ธีมปีนักษัตรออกมาแล้ว 2 ปีติดกัน ได้แก่ The Sage Rabbit Tarot เมื่อปี 2023 และ Lóng Tarot ในปีที่แล้ว 'The Spiritual Snake Tarot' ไม่ใช่แค่ไพ่ทาโรต์ที่ทำในธีมงู แต่เป็นงูในบริบทของตำนานความเชื่อและวัฒนธรรมจีน หน้าไพ่แต่ละใบมีฉากเป็นประเทศจีนในยุคโบราณแบบตามนิยายกำลังภายใน และทุกใบจะมีงูอยู่ในภาพเสมอ บางใบก็เป็นตัวละครในตำนานหรือคติชนของจีนที่เป็นคนครึ่งงูหรืองูจำแลงกายเป็นคน เช่น ในไพ่ Magician เป็นผู้หญิงที่มีร่างกายท่อนล่างเป็นงู ซึ่งผู้สร้างไพ่ก็น่าจะสื่อว่าเป็นพระแม่หนี่วา ไพ่ในสำรับมี 78 ใบตามขนบทาโรต์มาตรฐาน ไพ่ชุดหลักไม่ได้ระบุชัดว่าอ้างอิงถึงตำนานเทพหรือเรื่องเล่าอะไรบ้าง (แต่ใครที่พอจะคุ้นเคยกับตำนานจีนอยู่บ้างก็อาจจะคุ้น ๆ กับตัวละครบางตัว) ส่วนไพ่ชุดรองแต่ละตระกูลจะถ่ายทอดเนื้อเรื่องจากนิทานคติชนของจีนที่เกี่ยวข้องกับงู 4 เรื่อง เรื่องที่ดังสุดและเชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยเห็นมาไม่เวอร์ชันใดก็เวอร์ชันหนึ่งคือตำนานของนางพญางูขาวไป๋ซู่เจินในไพ่ตระกูลถ้วย สำหรับไพ่ตระกูลดาบจะเป็นเรื่องราวของหญิงสาวผู้กล้านามหลี่จี้ที่อาสาตัวไปปราบงูยักษ์ (โครงเรื่องคล้าย ๆ เทพซูซาโนะโอะปราบงูยามาตะโนะโอโรจิของญี่ปุ่น เพียงแต่เปลี่ยนให้หญิงที่ควรจะเป็นหนึ่งในเครื่องสังเวยกลายเป็นคนฆ่างูแทน) ไพ่ตระกูลไม้เท้าเล่าตำนานของพญางูดำที่เป็นเทพแห่งขุนเขา ส่วนไพ่ตระกูลเหรียญเป็นเรื่องของกษัตริย์แห่งรัฐสุยช่วยชีวิตงูศักดิ์สิทธิ์และได้รับรางวัลตอบแทนเป็นไข่มุกแสงจันทร์ สเปกไพ่จัดว่าอยู่ในระดับปานกลาง ไพ่พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตมันเคลือบลินิน หนา 350 gsm ไม่ไถขอบ ลายหลังไพ่มีความสมมาตร ดังนั้นใช้อ่านไพ่แบบกลับหัวได้ บรรจุในกล่องแข็งจั่วปังแบบฝาครอบ มีคู่มือเล่มเล็กเนื้อหาภาษาจีนและอังกฤษ อธิบายความหมายไพ่แต่ละใบทั้งแบบตั้งตรงและกลับหัวสั้น ๆ ในส่วนของไพ่ชุดรองแต่ละตระกูลจะมีการเล่าเรื่องย่อของนิทานคติชนที่เป็น Reference (ตามที่ว่าไว้ในย่อหน้าข้างบน) หน้าไพ่โดยรวมสามารถอ่านแบบทาโรต์กึ่งออราเคิลได้ แต่สำหรับคนที่อาจจะไม่ได้รู้จักมักคุ้นกับหนังหรือซีรีส์จีนโบราณกำลังภายใน ก็อาจจะสตั๊นไปเมื่อเห็นหน้าไพ่บางใบเช่นกัน (โดยเฉพาะไพ่ชุดรองที่อ้างอิงเนื้อเรื่องตำนานนิทานต่าง ๆ) ดังนั้นยึดเอาความหมายไพ่ตามระบบไว้ก็ไม่เสียหายครับ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 998 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🤠#มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 01🤠

    ในเช้าวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 เติ้งกง(邓公)ได้รับแขกพิเศษในห้องโถงใหญ่ของประชาชน

    แขกรับเชิญคนนี้ คือ จินยง(金庸)นักเขียนนวนิยายจีนกำลังภายในชื่อดัง

    ทั้งสองคนนี้ คนหนึ่งเป็นนักการเมือง อีกคนเป็นนักเขียน ดูเหมือนไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน ในความเป็นจริงพวกเขาชื่นชมซึ่งกันและกันเสมอ ในมุมมองของ จินยง(金庸) เติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่น่านับถือที่สุดเหมือนเช่นเดียวกับวีรบุรุษที่เขาได้เขียนบรรยายไว้ในนวนิยาย

    🥸บ้านและเมืองในใต้หล้า🥸

    ในเวลานั้น จินยง(金庸)เป็นหัวหน้าบรรณาธิการของ "หมิงเป้า(明报)" เขาเคยตีพิมพ์บทความว่า เติ้งกง(邓公)ควรได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศโดยเร็วที่สุด

    😎ในเวลานี้ เติ้งกง(邓公)ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำของจีนใหม่ และยังดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของประเทศอีกด้วย😎

    😎จากมุมมองของผู้คนทั่วไป เติ้งกง(邓公)ได้รับเลือกเป็นประธานประเทศเพิ่มขึ้นอีกสักตำแหน่งหนึ่ง เหตุผลมันก็ควรเป็นอย่างที่ควรจะเป็น😎

    😎แต่ครั้งนี้ เติ้งกง(邓公)ได้ชี้แจงกับจินยง(金庸)อย่างชัดเจนว่า เขาไม่ต้องการเป็นประธานาธิบดีของประเทศ😎

    ในตอนแรก จินยง(金庸)รู้สึกแปลกใจมาก เห็นได้ชัดว่า เติ้งกง(邓公)ได้เป็นประธานของประเทศ ซึ่งทุกคนต่างก็คาดหวังดังนั้น ทำไมเขาถึงไม่เต็มใจ?

    อย่างไรก็ตาม หลังจากฟังเหตุผลที่เติ้งกง(邓公)พูดจบ จินยง(金庸)ก็มีแต่ความชื่นชมอยู่ในใจ

    😎จินยง(金庸)เคยกล่าวไว้ว่า เติ้งกง(邓公)เป็นหนึ่งในบุคคลที่เขาชื่นชมมากที่สุด จากภายในตัวของ เติ้งกง(邓公) เขาได้เห็นตัวตนของวีรบุรุษในฐานะของการรับใช้ประเทศและประชาชนซึ่งเขาใฝ่แสวงหา😎

    จินยง(金庸)มีชื่อเสียงจากงานในด้านงานเขียน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในเวลาที่ผ่านมาโดยตลอดเขาไม่ใช่เป็นนักเขียนวรรณกรรมธรรมดาๆ เลย นอกจากนี้เขายังมีอิทธิพลในสนามด้านการเมืองด้วย

    เมื่อเขายังเด็กเยาววัย อุดมคติของจินยง(金庸) คือ การเป็นนักการทูตที่ยอดเยี่ยม

    ด้วยเหตุนี้ หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี ค.ศ. 1942 เขาจึงเข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายของมหาวิทยาลัย ซูโจว(苏州大学)ในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเขาเรียนวิชาเอกกฎหมายระหว่างประเทศ

    อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้จบลงด้วยการเป็นนักการทูต หลังจบการศึกษา ต้ากงเป้า(大公报)ได้ชวนจินยง(金庸)เป็นบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ

    สำหรับจินยง(金庸)ที่เพิ่งเรียนจบ นี่เป็นงานที่ดีมาก ดังนั้นเขาจึงยอมรับอย่างง่ายดาย

    หลังจากนั้นไม่นาน "ต้ากงเป้า(大公报)" ก็วางแผนที่จะกลับมาตีพิมพ์ในฮ่องกงและกำลังต้องการกำลังคนอย่างเร่งด่วน

    ดังนั้น จินยง(金庸)จึงถูกย้ายไปฮ่องกงด้วยวิธีนี้

    ฟันเฟืองแห่งโชคชะตากำลังพลิกผันอย่างไม่ทันตั้งตัว และจินยง(金庸)ต้องห่างไกลจากความฝันในการเป็นนักการทูตมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เขากลายเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบไม่ด้อยไปกว่านักการทูต

    ในปีค.ศ. 1959 จินยง(金庸)ออกจาก "ต้ากงเป้า(大公报)" และก่อตั้ง "หมิงเป้า(明报)"ที่มีชื่อเสียงด้วยตัวเขาเอง

    "หมิงเป้า(明报)"มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาเนื่องจากออกพิมพ์นิยายกำลังภายในอย่างต่อเนื่องของจินยง(金庸)

    อย่างไรก็ตาม "หมิงเป้า(明报)" ไม่ได้มีแค่คอลัมน์นิยายกำลังภายใน อันที่จริง จินยง(金庸)มักจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันใน "หมิงเป้า(明报)"เสมอ

    ในเวลานั้น เติ้งกง(邓公)ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงทั้งในและต่างประเทศ และจินยง(金庸)ไม่เข้าใจปรากฏการณ์นี้

    เพราะแม้ว่าเขาจะไม่มีสายสัมพันธ์กับเติ้งกง(邓公)ในขณะนี้ แต่เขาได้เรียนรู้แนวคิดทางการเมืองบางอย่างของเติ้งกง(邓公) และเชื่อว่าเติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและเป็นคนที่สามารถเปลี่ยนชะตากรรมของจีนได้

    เขาไม่สามารถยอมรับการใส่ร้ายต่อเติ้งกง(邓公)ของคนอื่นได้ ดังนั้น ในฐานะบรรณาธิการ เขาจึงตีพิมพ์บทความหลายบทความใน "หมิงเป้า(明报)"เพื่อพูดแทนเติ้งกง(邓公)

    เนื่องจากในเวลานั้นเขามีชื่อเสียงมาก บทความเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสคลื่นลมไม่เบาในฮ่องกงและแม้แต่ในแผ่นดินใหญ่

    แต่แม้ว่าจะเกิดการโต้แย้งกันขึ้น จินยง(金庸)ยังคงยืนยันในมุมมองของเขาเหมือนเดิม เขาถึงกับยังได้เขียนคำทำนายว่า "เติ้ง เสี่ยวผิง(邓小平)จะกลับมาแน่นอน" ในบทความ

    เหตุผลที่ทำให้ จินยง(金庸)มีความมั่นใจในตนเองคือในปีค.ศ. 1975 เติ้งกง(邓公)ได้กลับมาในช่วงสั้นๆ จากนั้นได้ดำเนินการแก้ไขภายในประเทศหลายครั้งด้วยความกล้าหาญอย่างยิ่งและใช้นโยบายใหม่

    อย่างไรก็ตาม การกลับมาครั้งนี้กินเวลาเพียงหนึ่งปี และเติ้งกง(邓公)ก็ออกจากเวทีการเมืองอีกครั้ง

    ในเวลานั้นคนส่วนใหญ่เชื่อว่าคราวนี้เติ้งกง(邓公)จะเลือนหายไปจากเวทีการเมืองตลอดไป แต่จินยง(金庸)ไม่เชื่อ เขาเชื่อว่า สักวันหนึ่งเติ้งกง(邓公)จะกลายเป็นผู้นำที่แท้จริงของจีนใหม่และนำจีนไปสู่บรรยากาศใหม่

    หลายคนไม่เข้าใจการสนับสนุนที่ร้อนแรงแข็งแกร่งของจินยง(金庸)ที่มีต่อเติ้งกง(邓公) ในตอนนั้น

    แม้ว่าจินยง(金庸)จะกระตือรือร้นใฝ่ใจในการแสดงความคิดเห็นวิภาษวิจารณ์เกี่ยวกับการเมือง แต่เขาก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเขาไม่เคยมีมิตรภาพกับเติ้งกง(邓公)

    ยิ่งไปกว่านั้นฮ่องกงยังไม่ได้กลับสู่มาตุภูมิในเวลานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝั่งของช่องแคบไต้หวันก็อ่อนไหวมาก จินยง(金庸)เสี่ยงที่จะถูกปิดล้อมโดยผู้อ่านเนื่องมาจากการประสงค์ที่จะพูดแทน เติ้งกง(邓公) ทำไมเขาถึงมั่นใจในความสามารถของเติ้งกง(邓公)ถึงขนาดนั้น?

    ในการสัมภาษณ์ครั้งต่อมา จินยง(金庸)ชื่นชมต่อเติ้งกง(邓公)มาก เขากล่าวว่า: 😎"ผมชื่นชมบุคลิกที่แข็งแกร่งและไม่ยอมแพ้นี้ของเขามาโดยตลอด เหมือนกับวีระบุรุษผู้กล้าหาญที่เขียนบรรยายไว้ในนิยายต่อสู้กำลังภายในของผม.......เพียงแค่ความแข็งแกร่งนั้น แน่นอนว่ายังไม่เพียงพอ ต้องยืนหยัดในข้อเสนอที่ถูกต้องโดยไม่คำนึงถึงเกียรติยศ ความอับอาย และความปลอดภัยของตนเอง นี่ถึงจะทำให้ผู้อื่นยอมรับ”😎

    สำหรับการเคลื่อนไหวของ จินยง(金庸) ความจริงแล้ว เติ้งกง(邓公)ก็ได้สัมผัสรู้มา เมื่อเวลาที่เขาถูกส่งไปที่ เจึยงซี(江西) เขาได้ยินว่ามีนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากในฮ่องกงซึ่งมักจะตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

    หลังจากเติ้งกง(邓公)อ่านบทความเหล่านี้ เขาคิดว่า จินยง(金庸) อยู่ในฮ่องกง แม้ว่าเขาจะมีมุมมองที่จำกัดในฮ่องกงก็ตาม ยังมีความเฉียบแหลมทางการเมืองของเขาและความสามารถของเขาในการพูดเพื่อความยุติธรรม จึงเป็นคนที่ควรค่าแก่การเคารพ

    แน่นอน สิ่งที่คาดไม่ถึงที่สุดคือตัวเติ้งกง(邓公)เองเป็นคนรักอ่านนวนิยายศิลปะการต่อสู้กำลังภายในมาก ทันทีที่เขาเห็นนิยายของจินยง(金庸) เขาก็เต็มไปด้วยคำชมและหมกมุ่นในการอ่านนวนิยายนั้น จนกระทั่งหลายปีต่อมา การอ่านนวนิยายของ จินยง(金庸)เป็นหนึ่งในงานอดิเรกที่ชื่นชอบที่สุดของเติ้งกง(邓公)

    ด้วยประการฉะนี้แม้ว่าทั้งสองจะยังไม่ได้พบหน้ากันแต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะเป็นเพื่อนในฐานะเพื่อนรู้ใจ

    🥳โปรดติดตามบทความ #มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 02.ต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳

    🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    🤠#มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 01🤠 ในเช้าวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 เติ้งกง(邓公)ได้รับแขกพิเศษในห้องโถงใหญ่ของประชาชน แขกรับเชิญคนนี้ คือ จินยง(金庸)นักเขียนนวนิยายจีนกำลังภายในชื่อดัง ทั้งสองคนนี้ คนหนึ่งเป็นนักการเมือง อีกคนเป็นนักเขียน ดูเหมือนไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน ในความเป็นจริงพวกเขาชื่นชมซึ่งกันและกันเสมอ ในมุมมองของ จินยง(金庸) เติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่น่านับถือที่สุดเหมือนเช่นเดียวกับวีรบุรุษที่เขาได้เขียนบรรยายไว้ในนวนิยาย 🥸บ้านและเมืองในใต้หล้า🥸 ในเวลานั้น จินยง(金庸)เป็นหัวหน้าบรรณาธิการของ "หมิงเป้า(明报)" เขาเคยตีพิมพ์บทความว่า เติ้งกง(邓公)ควรได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศโดยเร็วที่สุด 😎ในเวลานี้ เติ้งกง(邓公)ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำของจีนใหม่ และยังดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของประเทศอีกด้วย😎 😎จากมุมมองของผู้คนทั่วไป เติ้งกง(邓公)ได้รับเลือกเป็นประธานประเทศเพิ่มขึ้นอีกสักตำแหน่งหนึ่ง เหตุผลมันก็ควรเป็นอย่างที่ควรจะเป็น😎 😎แต่ครั้งนี้ เติ้งกง(邓公)ได้ชี้แจงกับจินยง(金庸)อย่างชัดเจนว่า เขาไม่ต้องการเป็นประธานาธิบดีของประเทศ😎 ในตอนแรก จินยง(金庸)รู้สึกแปลกใจมาก เห็นได้ชัดว่า เติ้งกง(邓公)ได้เป็นประธานของประเทศ ซึ่งทุกคนต่างก็คาดหวังดังนั้น ทำไมเขาถึงไม่เต็มใจ? อย่างไรก็ตาม หลังจากฟังเหตุผลที่เติ้งกง(邓公)พูดจบ จินยง(金庸)ก็มีแต่ความชื่นชมอยู่ในใจ 😎จินยง(金庸)เคยกล่าวไว้ว่า เติ้งกง(邓公)เป็นหนึ่งในบุคคลที่เขาชื่นชมมากที่สุด จากภายในตัวของ เติ้งกง(邓公) เขาได้เห็นตัวตนของวีรบุรุษในฐานะของการรับใช้ประเทศและประชาชนซึ่งเขาใฝ่แสวงหา😎 จินยง(金庸)มีชื่อเสียงจากงานในด้านงานเขียน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในเวลาที่ผ่านมาโดยตลอดเขาไม่ใช่เป็นนักเขียนวรรณกรรมธรรมดาๆ เลย นอกจากนี้เขายังมีอิทธิพลในสนามด้านการเมืองด้วย เมื่อเขายังเด็กเยาววัย อุดมคติของจินยง(金庸) คือ การเป็นนักการทูตที่ยอดเยี่ยม ด้วยเหตุนี้ หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี ค.ศ. 1942 เขาจึงเข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายของมหาวิทยาลัย ซูโจว(苏州大学)ในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเขาเรียนวิชาเอกกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้จบลงด้วยการเป็นนักการทูต หลังจบการศึกษา ต้ากงเป้า(大公报)ได้ชวนจินยง(金庸)เป็นบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ สำหรับจินยง(金庸)ที่เพิ่งเรียนจบ นี่เป็นงานที่ดีมาก ดังนั้นเขาจึงยอมรับอย่างง่ายดาย หลังจากนั้นไม่นาน "ต้ากงเป้า(大公报)" ก็วางแผนที่จะกลับมาตีพิมพ์ในฮ่องกงและกำลังต้องการกำลังคนอย่างเร่งด่วน ดังนั้น จินยง(金庸)จึงถูกย้ายไปฮ่องกงด้วยวิธีนี้ ฟันเฟืองแห่งโชคชะตากำลังพลิกผันอย่างไม่ทันตั้งตัว และจินยง(金庸)ต้องห่างไกลจากความฝันในการเป็นนักการทูตมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เขากลายเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบไม่ด้อยไปกว่านักการทูต ในปีค.ศ. 1959 จินยง(金庸)ออกจาก "ต้ากงเป้า(大公报)" และก่อตั้ง "หมิงเป้า(明报)"ที่มีชื่อเสียงด้วยตัวเขาเอง "หมิงเป้า(明报)"มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาเนื่องจากออกพิมพ์นิยายกำลังภายในอย่างต่อเนื่องของจินยง(金庸) อย่างไรก็ตาม "หมิงเป้า(明报)" ไม่ได้มีแค่คอลัมน์นิยายกำลังภายใน อันที่จริง จินยง(金庸)มักจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันใน "หมิงเป้า(明报)"เสมอ ในเวลานั้น เติ้งกง(邓公)ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงทั้งในและต่างประเทศ และจินยง(金庸)ไม่เข้าใจปรากฏการณ์นี้ เพราะแม้ว่าเขาจะไม่มีสายสัมพันธ์กับเติ้งกง(邓公)ในขณะนี้ แต่เขาได้เรียนรู้แนวคิดทางการเมืองบางอย่างของเติ้งกง(邓公) และเชื่อว่าเติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและเป็นคนที่สามารถเปลี่ยนชะตากรรมของจีนได้ เขาไม่สามารถยอมรับการใส่ร้ายต่อเติ้งกง(邓公)ของคนอื่นได้ ดังนั้น ในฐานะบรรณาธิการ เขาจึงตีพิมพ์บทความหลายบทความใน "หมิงเป้า(明报)"เพื่อพูดแทนเติ้งกง(邓公) เนื่องจากในเวลานั้นเขามีชื่อเสียงมาก บทความเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสคลื่นลมไม่เบาในฮ่องกงและแม้แต่ในแผ่นดินใหญ่ แต่แม้ว่าจะเกิดการโต้แย้งกันขึ้น จินยง(金庸)ยังคงยืนยันในมุมมองของเขาเหมือนเดิม เขาถึงกับยังได้เขียนคำทำนายว่า "เติ้ง เสี่ยวผิง(邓小平)จะกลับมาแน่นอน" ในบทความ เหตุผลที่ทำให้ จินยง(金庸)มีความมั่นใจในตนเองคือในปีค.ศ. 1975 เติ้งกง(邓公)ได้กลับมาในช่วงสั้นๆ จากนั้นได้ดำเนินการแก้ไขภายในประเทศหลายครั้งด้วยความกล้าหาญอย่างยิ่งและใช้นโยบายใหม่ อย่างไรก็ตาม การกลับมาครั้งนี้กินเวลาเพียงหนึ่งปี และเติ้งกง(邓公)ก็ออกจากเวทีการเมืองอีกครั้ง ในเวลานั้นคนส่วนใหญ่เชื่อว่าคราวนี้เติ้งกง(邓公)จะเลือนหายไปจากเวทีการเมืองตลอดไป แต่จินยง(金庸)ไม่เชื่อ เขาเชื่อว่า สักวันหนึ่งเติ้งกง(邓公)จะกลายเป็นผู้นำที่แท้จริงของจีนใหม่และนำจีนไปสู่บรรยากาศใหม่ หลายคนไม่เข้าใจการสนับสนุนที่ร้อนแรงแข็งแกร่งของจินยง(金庸)ที่มีต่อเติ้งกง(邓公) ในตอนนั้น แม้ว่าจินยง(金庸)จะกระตือรือร้นใฝ่ใจในการแสดงความคิดเห็นวิภาษวิจารณ์เกี่ยวกับการเมือง แต่เขาก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเขาไม่เคยมีมิตรภาพกับเติ้งกง(邓公) ยิ่งไปกว่านั้นฮ่องกงยังไม่ได้กลับสู่มาตุภูมิในเวลานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝั่งของช่องแคบไต้หวันก็อ่อนไหวมาก จินยง(金庸)เสี่ยงที่จะถูกปิดล้อมโดยผู้อ่านเนื่องมาจากการประสงค์ที่จะพูดแทน เติ้งกง(邓公) ทำไมเขาถึงมั่นใจในความสามารถของเติ้งกง(邓公)ถึงขนาดนั้น? ในการสัมภาษณ์ครั้งต่อมา จินยง(金庸)ชื่นชมต่อเติ้งกง(邓公)มาก เขากล่าวว่า: 😎"ผมชื่นชมบุคลิกที่แข็งแกร่งและไม่ยอมแพ้นี้ของเขามาโดยตลอด เหมือนกับวีระบุรุษผู้กล้าหาญที่เขียนบรรยายไว้ในนิยายต่อสู้กำลังภายในของผม.......เพียงแค่ความแข็งแกร่งนั้น แน่นอนว่ายังไม่เพียงพอ ต้องยืนหยัดในข้อเสนอที่ถูกต้องโดยไม่คำนึงถึงเกียรติยศ ความอับอาย และความปลอดภัยของตนเอง นี่ถึงจะทำให้ผู้อื่นยอมรับ”😎 สำหรับการเคลื่อนไหวของ จินยง(金庸) ความจริงแล้ว เติ้งกง(邓公)ก็ได้สัมผัสรู้มา เมื่อเวลาที่เขาถูกส่งไปที่ เจึยงซี(江西) เขาได้ยินว่ามีนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากในฮ่องกงซึ่งมักจะตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับการเมือง หลังจากเติ้งกง(邓公)อ่านบทความเหล่านี้ เขาคิดว่า จินยง(金庸) อยู่ในฮ่องกง แม้ว่าเขาจะมีมุมมองที่จำกัดในฮ่องกงก็ตาม ยังมีความเฉียบแหลมทางการเมืองของเขาและความสามารถของเขาในการพูดเพื่อความยุติธรรม จึงเป็นคนที่ควรค่าแก่การเคารพ แน่นอน สิ่งที่คาดไม่ถึงที่สุดคือตัวเติ้งกง(邓公)เองเป็นคนรักอ่านนวนิยายศิลปะการต่อสู้กำลังภายในมาก ทันทีที่เขาเห็นนิยายของจินยง(金庸) เขาก็เต็มไปด้วยคำชมและหมกมุ่นในการอ่านนวนิยายนั้น จนกระทั่งหลายปีต่อมา การอ่านนวนิยายของ จินยง(金庸)เป็นหนึ่งในงานอดิเรกที่ชื่นชอบที่สุดของเติ้งกง(邓公) ด้วยประการฉะนี้แม้ว่าทั้งสองจะยังไม่ได้พบหน้ากันแต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะเป็นเพื่อนในฐานะเพื่อนรู้ใจ 🥳โปรดติดตามบทความ #มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 02.ต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳 🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1058 มุมมอง 0 รีวิว
  • ธรรมะในนิยายจีนจากเรื่อง แปดเทพอสูรมังกรฟ้า

    .

    ตัวละครเอกตัวหนึ่งของเรื่องที่เป็นตัวละครหลักหนึ่งในสาม คือ องค์ชายต้วนอี้ รัชทายาทแห่งอาณาจักร ต้าหลี่ หรือแถบยูนนานของจีนปัจจุบัน นับเป็นตัวละครที่มีความเป็นบุคคลที่หาได้ยากมากในเหล่าชาวยุทธ หรือตัวเอกในอาณาจักรนิยายจีนมากมายเท่าที่เคยผ่านสมองและสองตามา

    .
    .

    แรกทีเดียวที่ข้าพเจ้าได้อ่านเรื่องนี้ในสมัยเรียนชั้นมัธยมต้น กว่าสามสิบปีมาแล้วนั้น รู้สึกไม่ชอบพระเอกที่ชื่อต้วนอี้นี้เลย ออกจะรำคาญ และเบื่อในความเหลาะแหละ โลเล ใจไม่อยู่กับร่องกับรอย เป็นพวกชอบเพ้อฝัน บัณฑิตที่โง่งมยึดอยู่กับตำราเหมือนนักศึกษาที่จะสอบเป็นจอหงวน ตัดสินใจไม่เด็ดขาด อ่อนแอ รักหยกถนอมบุบผา คือมีความนุ่มนิ่มตุ้งติ้ง สุภาพเรียบร้อย โดยเฉพาะกับสตรีเพศยิ่งเข้ากลุ่มไปสนทนาร่วมด้วยอย่างค่อนข้างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียว ไม่สมชายชาตรี

    .
    .

    ฝึกวิชาก็ไม่เอาไหน ทั้งที่มีประสบการณ์ปาฏิหาริย์ โชคนำพาวาสนาส่งให้ได้มีโอกาสไขว่คว้าตำรายุทธ์ หรือร่ำเรียนวิชาสุดยอดฝีมือที่เรียกได้ว่าเป็นยอดวิทยายุทธ์ในใต้หล้า ที่น้อยคนจะได้พานพบ ทว่ากลับเหมือนลิงได้แหวน ไก่ได้พลอย มีของดีกับตัวแต่ไม่ใช้ ไม่ฝึกฝน ปล่อยเสียของไปอย่างเปล่าดาย หรือถ้าฝึกก็อย่างขอไปที หรือเหตุการณ์บังคับ ไม่กระตือรือร้นที่จะพาตนให้กลายเป็นคนเก่ง หรือจอมยุทธ์อันดับหนึ่ง เช่นที่พระเอกควรจะเก่งและควรจะเป็น

    .
    .

    ไม่เหมือนเฉียวฟง ประมุขพรรคกระยาจก ที่แม้นไม่หล่อเหลา แต่มีบุคลิกองอาจกล้าหาญ ฮึกเหิม และมีวิทยายุทธ์สูงส่งเป็นไต้เฮียบ หรือผู้กล้าอันดับหนึ่งในแผ่นดิน ได้รับการยกย่องขนานนามเป็น เฉียวฟงเหนือ มู่หยงใต้ เรียกได้ว่าต้วนอี้เป็นหนึ่งในตัวละครเอกของจักรวาลนิยายกำลังภายในของกิมย้ง ที่ไม่น่าประทับใจเลย

    ทว่า แท้จริงข้าพเจ้ามองต้วนอี้ตื้นเขินเกินไปในเวลานั้น ด้วยวัยที่ยังไม่สามารถวิเคราะห์เรื่องราวได้เหมือนดังปัจจุบัน

    .
    .

    แท้จริง องค์ชายต้วน หรือคุณชายต้วน เป็นตัวละครที่น่ายกย่องในหลายด้าน เขาเป็นผู้ที่มีจิตใจดีงามฝังอยู่ในกมลสันดาน ที่ไม่นิยมการฝึกวิชายุทธ์ ก็เพราะไม่อยากจะเกี่ยวข้องทำร้ายคน ไม่ชอบการเข่นฆ่า พยายามหลีกเลี่ยงอย่างถึงที่สุด โดยกลับไปชอบถึงขั้นหลงใหลในด้านศิลปะแทน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในทางดนตรี บทกวี การเขียนอักษรจีน การวาดภาพ และการเล่นหมากล้อม

    .
    .

    เขามีจิตใจอ่อนโยน แม้กระทั่งกับศัตรูที่คิดจะฆ่าตัวเองให้ตาย แต่เขาก็ไม่ยอมที่จะเป็นฝ่ายกระทำตอบ แม้นในเมื่อตนมีโอกาส ยามศัตรูพลั้งพลาด จนในที่สุดความดีของเขาสามารถเอาชนะใจจอมโฉดอันดับสาม จากสี่จอมโฉด คือ หนานไห่เอ้อเซิน จนยอมเรียกต้วนอี้ว่าอาจารย์ และยอมเป็นศิษย์แม้นด้วยความจำนน จากการแพ้เดิมพันก็ตาม (ถือว่าเป็นจอมโฉดที่มีจิตใจดีงามอยู่หลายส่วน มากกว่าพี่น้องร่วมสาบานคนอื่น โดยเฉพาะความสัตย์ซื่อ)

    .
    .

    นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ให้โอกาสคนอื่น ไม่เหยียบย่ำซ้ำเติม มีน้ำใจต่อคนแทบทุกชนชั้น เห็นใจแม้กระทั่งคนชั่วที่คนอื่นเกลียด ชอบช่วยเหลือ ชอบคบค้าสมาคมกับคนจำนวนมาก เป็นผู้มีบุคลิกภายนอกที่อาจไม่ต้องใจสาวงามที่ชมชอบบุรุษเข้มแข็ง อีกทั้งก็ไม่ได้หล่อเหลา แม้นจะไม่ขี้เหร่ แต่ด้วยความเป็นคนมาดคุณชายหนอนหนังสือ จึงไม่ได้รับการใส่ใจจากหญิงที่ตนรัก

    .
    .

    โดยรวมแล้ว แม้ต้วนอี้จะมีข้อด้อยหลายประการ แต่ข้อด้อยเหล่านั้น บางข้อก็ถือเป็นข้อดีหากเรามองในอีกแง่มุมหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่ให้แง่คิดกับเราได้ว่า การจะวิเคราะห์หรือมองคนคนหนึ่งให้ทะลุนั้น เราจะมองแต่แค่แง่ใดหรือบางแง่หาได้ไม่ เพราะเบื้องหลังความเป็นมาของแต่ละคนที่บ่มเพาะให้คนคนนั้น กลายเป็นคนที่มีบุคลิก หรืออุปนิสัยเช่นไร เป็นความซับซ้อนหลายชั้น

    ในความเป็นคนดี ก็ยังมีความชั่วแฝงซ่อนอยู่ หรือกระทั่งจอมโฉดชั่วสุดสามานย์ ก็ยังมีมุมที่น่าเห็นใจ น่าสงสาร ไปจนกระทั่งน่ารักอยู่ไม่น้อย สมดังชื่อเรื่องที่มีทั้งเทพและมารอยู่รวมกัน

    .

    แต่ที่เห็นได้ชัดคือ คนที่พยายามอยากได้ในสิ่งที่ตนต้องการ ด้วยการทำทุกวิธีแม้จะต้องผิดต่อมโนธรรม คุณธรรม และศีลธรรม มักจะต้องผิดหวัง

    .

    ทว่าคนที่ยิ่งไม่ต้องการ ยิ่งไม่อยากได้ในสิ่งที่คนอื่นอยาก มักจะเป็นผู้ที่ได้รับในสิ่งซึ่งตนไม่ต้องการอยู่เสมอ

    ดังเช่นชีวิตขององค์ชายต้วนอี้ เป็นต้น ซึ่งได้พบกับความสุขสมหวังในช่วงท้าย ต่างจากมู่หยงฟู่ที่ไขว่คว้าตลอด แต่ต้องสูญสิ้นทุกอย่างจนกลายเป็นบ้า

    ............

    บทความโดย ชลธิศ รมณียางกูร

    ป.ล. ฉบับนิยายที่อ่านเป็นฉบับที่ยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขใหม่โดยผู้แต่งในภายหลัง

    รูปภาพประกอบจากกูเกิ้ล เวอร์ชั่นปี 1982 คุณชายต้วน รับบทโดย ทัง เจิ้นเยี่ย (จีนตัวย่อ: 汤镇业; จีนตัวเต็ม: 湯鎮業; พินอิน: Tāng Zhènyè)ข้อมูลชื่อจีน และคำอ่านจากวิกิพีเดีย

    #แปดเทพอสูรมังกรฟ้า
    #ต้วนอี้
    #นิยายกำลังภายใน
    #นิยายจีน
    #กิมย้ง
    #thaitimes
    #บทวิเคราะห์
    #บทความ
    #ข้อคิด
    #นิยายแปล
    ธรรมะในนิยายจีนจากเรื่อง แปดเทพอสูรมังกรฟ้า . ตัวละครเอกตัวหนึ่งของเรื่องที่เป็นตัวละครหลักหนึ่งในสาม คือ องค์ชายต้วนอี้ รัชทายาทแห่งอาณาจักร ต้าหลี่ หรือแถบยูนนานของจีนปัจจุบัน นับเป็นตัวละครที่มีความเป็นบุคคลที่หาได้ยากมากในเหล่าชาวยุทธ หรือตัวเอกในอาณาจักรนิยายจีนมากมายเท่าที่เคยผ่านสมองและสองตามา . . แรกทีเดียวที่ข้าพเจ้าได้อ่านเรื่องนี้ในสมัยเรียนชั้นมัธยมต้น กว่าสามสิบปีมาแล้วนั้น รู้สึกไม่ชอบพระเอกที่ชื่อต้วนอี้นี้เลย ออกจะรำคาญ และเบื่อในความเหลาะแหละ โลเล ใจไม่อยู่กับร่องกับรอย เป็นพวกชอบเพ้อฝัน บัณฑิตที่โง่งมยึดอยู่กับตำราเหมือนนักศึกษาที่จะสอบเป็นจอหงวน ตัดสินใจไม่เด็ดขาด อ่อนแอ รักหยกถนอมบุบผา คือมีความนุ่มนิ่มตุ้งติ้ง สุภาพเรียบร้อย โดยเฉพาะกับสตรีเพศยิ่งเข้ากลุ่มไปสนทนาร่วมด้วยอย่างค่อนข้างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียว ไม่สมชายชาตรี . . ฝึกวิชาก็ไม่เอาไหน ทั้งที่มีประสบการณ์ปาฏิหาริย์ โชคนำพาวาสนาส่งให้ได้มีโอกาสไขว่คว้าตำรายุทธ์ หรือร่ำเรียนวิชาสุดยอดฝีมือที่เรียกได้ว่าเป็นยอดวิทยายุทธ์ในใต้หล้า ที่น้อยคนจะได้พานพบ ทว่ากลับเหมือนลิงได้แหวน ไก่ได้พลอย มีของดีกับตัวแต่ไม่ใช้ ไม่ฝึกฝน ปล่อยเสียของไปอย่างเปล่าดาย หรือถ้าฝึกก็อย่างขอไปที หรือเหตุการณ์บังคับ ไม่กระตือรือร้นที่จะพาตนให้กลายเป็นคนเก่ง หรือจอมยุทธ์อันดับหนึ่ง เช่นที่พระเอกควรจะเก่งและควรจะเป็น . . ไม่เหมือนเฉียวฟง ประมุขพรรคกระยาจก ที่แม้นไม่หล่อเหลา แต่มีบุคลิกองอาจกล้าหาญ ฮึกเหิม และมีวิทยายุทธ์สูงส่งเป็นไต้เฮียบ หรือผู้กล้าอันดับหนึ่งในแผ่นดิน ได้รับการยกย่องขนานนามเป็น เฉียวฟงเหนือ มู่หยงใต้ เรียกได้ว่าต้วนอี้เป็นหนึ่งในตัวละครเอกของจักรวาลนิยายกำลังภายในของกิมย้ง ที่ไม่น่าประทับใจเลย ทว่า แท้จริงข้าพเจ้ามองต้วนอี้ตื้นเขินเกินไปในเวลานั้น ด้วยวัยที่ยังไม่สามารถวิเคราะห์เรื่องราวได้เหมือนดังปัจจุบัน . . แท้จริง องค์ชายต้วน หรือคุณชายต้วน เป็นตัวละครที่น่ายกย่องในหลายด้าน เขาเป็นผู้ที่มีจิตใจดีงามฝังอยู่ในกมลสันดาน ที่ไม่นิยมการฝึกวิชายุทธ์ ก็เพราะไม่อยากจะเกี่ยวข้องทำร้ายคน ไม่ชอบการเข่นฆ่า พยายามหลีกเลี่ยงอย่างถึงที่สุด โดยกลับไปชอบถึงขั้นหลงใหลในด้านศิลปะแทน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในทางดนตรี บทกวี การเขียนอักษรจีน การวาดภาพ และการเล่นหมากล้อม . . เขามีจิตใจอ่อนโยน แม้กระทั่งกับศัตรูที่คิดจะฆ่าตัวเองให้ตาย แต่เขาก็ไม่ยอมที่จะเป็นฝ่ายกระทำตอบ แม้นในเมื่อตนมีโอกาส ยามศัตรูพลั้งพลาด จนในที่สุดความดีของเขาสามารถเอาชนะใจจอมโฉดอันดับสาม จากสี่จอมโฉด คือ หนานไห่เอ้อเซิน จนยอมเรียกต้วนอี้ว่าอาจารย์ และยอมเป็นศิษย์แม้นด้วยความจำนน จากการแพ้เดิมพันก็ตาม (ถือว่าเป็นจอมโฉดที่มีจิตใจดีงามอยู่หลายส่วน มากกว่าพี่น้องร่วมสาบานคนอื่น โดยเฉพาะความสัตย์ซื่อ) . . นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ให้โอกาสคนอื่น ไม่เหยียบย่ำซ้ำเติม มีน้ำใจต่อคนแทบทุกชนชั้น เห็นใจแม้กระทั่งคนชั่วที่คนอื่นเกลียด ชอบช่วยเหลือ ชอบคบค้าสมาคมกับคนจำนวนมาก เป็นผู้มีบุคลิกภายนอกที่อาจไม่ต้องใจสาวงามที่ชมชอบบุรุษเข้มแข็ง อีกทั้งก็ไม่ได้หล่อเหลา แม้นจะไม่ขี้เหร่ แต่ด้วยความเป็นคนมาดคุณชายหนอนหนังสือ จึงไม่ได้รับการใส่ใจจากหญิงที่ตนรัก . . โดยรวมแล้ว แม้ต้วนอี้จะมีข้อด้อยหลายประการ แต่ข้อด้อยเหล่านั้น บางข้อก็ถือเป็นข้อดีหากเรามองในอีกแง่มุมหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่ให้แง่คิดกับเราได้ว่า การจะวิเคราะห์หรือมองคนคนหนึ่งให้ทะลุนั้น เราจะมองแต่แค่แง่ใดหรือบางแง่หาได้ไม่ เพราะเบื้องหลังความเป็นมาของแต่ละคนที่บ่มเพาะให้คนคนนั้น กลายเป็นคนที่มีบุคลิก หรืออุปนิสัยเช่นไร เป็นความซับซ้อนหลายชั้น ในความเป็นคนดี ก็ยังมีความชั่วแฝงซ่อนอยู่ หรือกระทั่งจอมโฉดชั่วสุดสามานย์ ก็ยังมีมุมที่น่าเห็นใจ น่าสงสาร ไปจนกระทั่งน่ารักอยู่ไม่น้อย สมดังชื่อเรื่องที่มีทั้งเทพและมารอยู่รวมกัน . แต่ที่เห็นได้ชัดคือ คนที่พยายามอยากได้ในสิ่งที่ตนต้องการ ด้วยการทำทุกวิธีแม้จะต้องผิดต่อมโนธรรม คุณธรรม และศีลธรรม มักจะต้องผิดหวัง . ทว่าคนที่ยิ่งไม่ต้องการ ยิ่งไม่อยากได้ในสิ่งที่คนอื่นอยาก มักจะเป็นผู้ที่ได้รับในสิ่งซึ่งตนไม่ต้องการอยู่เสมอ ดังเช่นชีวิตขององค์ชายต้วนอี้ เป็นต้น ซึ่งได้พบกับความสุขสมหวังในช่วงท้าย ต่างจากมู่หยงฟู่ที่ไขว่คว้าตลอด แต่ต้องสูญสิ้นทุกอย่างจนกลายเป็นบ้า ............ บทความโดย ชลธิศ รมณียางกูร ป.ล. ฉบับนิยายที่อ่านเป็นฉบับที่ยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขใหม่โดยผู้แต่งในภายหลัง รูปภาพประกอบจากกูเกิ้ล เวอร์ชั่นปี 1982 คุณชายต้วน รับบทโดย ทัง เจิ้นเยี่ย (จีนตัวย่อ: 汤镇业; จีนตัวเต็ม: 湯鎮業; พินอิน: Tāng Zhènyè)ข้อมูลชื่อจีน และคำอ่านจากวิกิพีเดีย #แปดเทพอสูรมังกรฟ้า #ต้วนอี้ #นิยายกำลังภายใน #นิยายจีน #กิมย้ง #thaitimes #บทวิเคราะห์ #บทความ #ข้อคิด #นิยายแปล
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1624 มุมมอง 0 รีวิว