• เพื่อนเพจคงเคยคุ้นกับคำมงคลจีนที่เอามาติดผนังหรือทำการ์ดหรือของชำร่วย บางอักษรที่เคยผ่านตาอาจจะดูซับซ้อนมากจนถึงกับคิดว่าทำไมอักษรจีนมันช่างเขียนยากอย่างนี้ แต่คุณอาจไม่เคยสังเกตหรือทราบมาก่อนว่า บางอักษรเหล่านั้นเป็นอักษรประสมหรือ ‘เหอเฉิงจื้อ’ (合成字 หรือ Compound Chinese Character) หรือ ‘เหอถี่จื้อ’ (合体字)

    อักษรประสมจีนคือการเอาอักษรสองตัวหรือมากกว่ามาเขียนรวมกันจนดูราวกับว่ามันเป็นเพียงอักษรเดียว อย่างเช่นภาพอักษรมงคลคู่ที่เราเห็นบ่อยในงานมงคล (ภาพประกอบ1-ซ้าย) จริงแล้วก็คืออักษร ‘สี่’ ที่แปลว่ามงคลหรือความสุข (喜)มาเขียนติดกันสองตัว

    การใช้อักษรประสมที่นิยมทำกันคือการนำประโยคสุภาษิตจีนมาเขียนเป็นอักษรประสมเพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล เราจะเห็นบ่อยมากในช่วงเทศกาลตรุษจีน อย่างเช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่แปลว่า กวักทรัพย์เรียกสมบัติ (ดูภาพประกอบ1-ขวา)

    ว่ากันว่าต้นกำเนิดของการเขียนอักษรประสมมาจากงานพิธีกรรมทางศาสนาโดยมีการนำคำที่มีความหมายมงคลหรือการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีมาเขียนประสมขึ้นบนยันต์ บ้างก็มีการนำชื่อเทพเจ้ามาเขียนเป็นอักษรประสม ต่อมาชาวบ้านจึงนิยมมีไว้ประดับบ้านเรือนเพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและโชคร้าย จนกลายมาเป็นการเขียนคำมงคลทั่วไปที่ใช้ในเทศกาลและงานมงคลต่างๆ แบบที่เรายังเห็นมีใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ปัจจุบันยังกลายมาเป็นเทรนด์ในการดีไซน์โลโก้ของแบรนด์หรือร้านค้าในจีนด้วยเช่นกัน

    แล้วอักษรประสมอ่านออกเสียงอย่างไร?

    อักษรประสมโดยส่วนใหญ่แทบจะทั้งหมดจะไม่มีเสียงอ่านเฉพาะของมัน แต่จะอ่านครบตามประโยคที่นำมาเขียนรวม เช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่เห็นในรูปภาพประกอบ1-ขวา ก็จะอ่านออกมาเต็มๆ สี่อักษร แต่ก็มีบางอักษรประสมที่มีเสียงอ่านเฉพาะ อย่างตัวอย่างอักษรมงคลคู่ (喜喜)จะไม่อ่านว่า ‘สี่สี่’ แต่มีเสียงอ่านเฉพาะตัวว่า ‘สี่’ หรือจะอ่านว่า ‘ซวงสี่’ ก็ได้ (‘ซวง’ แปลว่าคู่)

    อักษรประสมต้องดูซับซ้อนเสมอไปหรือไม่? แน่นอนว่าจำนวนอักษรที่นำมาประสมยิ่งมากก็ยิ่งดูซับซ้อน แต่มีอักษรที่ใช้ประจำวันบางตัวที่จัดเป็นอักษรประสมด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสองอักษร ไม่ซับซ้อนเหมือนอักษรมงคลที่กล่าวมาข้างต้น เช่น คำว่า ‘ไว้’ ซึ่งแปลว่าเบี้ยวหรือเอียง (歪) ประกอบด้วยอักษร ‘ปู้’ ด้านบนและ ‘เจิ้ง’ด้านล่าง ซึ่ง ‘ปู้เจิ้ง’ แปลรวมว่าไม่ตรง เป็นต้น

    จากที่ไปอ่านเพจของจีนมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ Storyฯ เห็นมีเพจหนึ่งเขาเอารูปถ่ายประตูบ้านของบ้านหลังหนึ่งในเมืองซีอันมาลงให้ดู เลยเอามาให้เพื่อนเพจดูด้วย (ภาพประกอบ 2) ... เห็นแล้วก็อึ้งทึ่งกับความ ‘จัดเต็ม’ ของคำมงคลจีนที่เจ้าของบ้านเอามาแปะไว้ เพราะรวมได้ทั้งหมดสุภาษิต 18 ประโยค เป็นการประสมทั้งหมด 72 อักษรให้เหลือเพียง 18 อักษร เก่งไหมล่ะ?

    อยากชวนเพื่อนเพจลองมองซองอั่งเปาและรูปภาพต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีนนี้ คุณอาจได้เห็นอักษรประสมเท่ๆ ที่ Storyฯ ไม่ได้กล่าวถึง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาอักษรประสมไหนอีก แปะรูปหรือเม้นท์มาคุยให้ฟังกันบ้างนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.marieclaire.com.tw/entertainment/tvshow/60505
    https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569
    https://www.163.com/dy/article/DBTJP8OA0524L8US.html#:~:text=合体字:就是由两,表示人倚着树木。
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569
    https://new.qq.com/rain/a/20210627A08TKO00

    #เหอถี่จื้อ #เหอเฉิงจื้อ #คำมงคลจีน #อักษรประสม #อักษรจีน
    เพื่อนเพจคงเคยคุ้นกับคำมงคลจีนที่เอามาติดผนังหรือทำการ์ดหรือของชำร่วย บางอักษรที่เคยผ่านตาอาจจะดูซับซ้อนมากจนถึงกับคิดว่าทำไมอักษรจีนมันช่างเขียนยากอย่างนี้ แต่คุณอาจไม่เคยสังเกตหรือทราบมาก่อนว่า บางอักษรเหล่านั้นเป็นอักษรประสมหรือ ‘เหอเฉิงจื้อ’ (合成字 หรือ Compound Chinese Character) หรือ ‘เหอถี่จื้อ’ (合体字) อักษรประสมจีนคือการเอาอักษรสองตัวหรือมากกว่ามาเขียนรวมกันจนดูราวกับว่ามันเป็นเพียงอักษรเดียว อย่างเช่นภาพอักษรมงคลคู่ที่เราเห็นบ่อยในงานมงคล (ภาพประกอบ1-ซ้าย) จริงแล้วก็คืออักษร ‘สี่’ ที่แปลว่ามงคลหรือความสุข (喜)มาเขียนติดกันสองตัว การใช้อักษรประสมที่นิยมทำกันคือการนำประโยคสุภาษิตจีนมาเขียนเป็นอักษรประสมเพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล เราจะเห็นบ่อยมากในช่วงเทศกาลตรุษจีน อย่างเช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่แปลว่า กวักทรัพย์เรียกสมบัติ (ดูภาพประกอบ1-ขวา) ว่ากันว่าต้นกำเนิดของการเขียนอักษรประสมมาจากงานพิธีกรรมทางศาสนาโดยมีการนำคำที่มีความหมายมงคลหรือการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีมาเขียนประสมขึ้นบนยันต์ บ้างก็มีการนำชื่อเทพเจ้ามาเขียนเป็นอักษรประสม ต่อมาชาวบ้านจึงนิยมมีไว้ประดับบ้านเรือนเพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและโชคร้าย จนกลายมาเป็นการเขียนคำมงคลทั่วไปที่ใช้ในเทศกาลและงานมงคลต่างๆ แบบที่เรายังเห็นมีใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ปัจจุบันยังกลายมาเป็นเทรนด์ในการดีไซน์โลโก้ของแบรนด์หรือร้านค้าในจีนด้วยเช่นกัน แล้วอักษรประสมอ่านออกเสียงอย่างไร? อักษรประสมโดยส่วนใหญ่แทบจะทั้งหมดจะไม่มีเสียงอ่านเฉพาะของมัน แต่จะอ่านครบตามประโยคที่นำมาเขียนรวม เช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่เห็นในรูปภาพประกอบ1-ขวา ก็จะอ่านออกมาเต็มๆ สี่อักษร แต่ก็มีบางอักษรประสมที่มีเสียงอ่านเฉพาะ อย่างตัวอย่างอักษรมงคลคู่ (喜喜)จะไม่อ่านว่า ‘สี่สี่’ แต่มีเสียงอ่านเฉพาะตัวว่า ‘สี่’ หรือจะอ่านว่า ‘ซวงสี่’ ก็ได้ (‘ซวง’ แปลว่าคู่) อักษรประสมต้องดูซับซ้อนเสมอไปหรือไม่? แน่นอนว่าจำนวนอักษรที่นำมาประสมยิ่งมากก็ยิ่งดูซับซ้อน แต่มีอักษรที่ใช้ประจำวันบางตัวที่จัดเป็นอักษรประสมด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสองอักษร ไม่ซับซ้อนเหมือนอักษรมงคลที่กล่าวมาข้างต้น เช่น คำว่า ‘ไว้’ ซึ่งแปลว่าเบี้ยวหรือเอียง (歪) ประกอบด้วยอักษร ‘ปู้’ ด้านบนและ ‘เจิ้ง’ด้านล่าง ซึ่ง ‘ปู้เจิ้ง’ แปลรวมว่าไม่ตรง เป็นต้น จากที่ไปอ่านเพจของจีนมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ Storyฯ เห็นมีเพจหนึ่งเขาเอารูปถ่ายประตูบ้านของบ้านหลังหนึ่งในเมืองซีอันมาลงให้ดู เลยเอามาให้เพื่อนเพจดูด้วย (ภาพประกอบ 2) ... เห็นแล้วก็อึ้งทึ่งกับความ ‘จัดเต็ม’ ของคำมงคลจีนที่เจ้าของบ้านเอามาแปะไว้ เพราะรวมได้ทั้งหมดสุภาษิต 18 ประโยค เป็นการประสมทั้งหมด 72 อักษรให้เหลือเพียง 18 อักษร เก่งไหมล่ะ? อยากชวนเพื่อนเพจลองมองซองอั่งเปาและรูปภาพต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีนนี้ คุณอาจได้เห็นอักษรประสมเท่ๆ ที่ Storyฯ ไม่ได้กล่าวถึง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาอักษรประสมไหนอีก แปะรูปหรือเม้นท์มาคุยให้ฟังกันบ้างนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.marieclaire.com.tw/entertainment/tvshow/60505 https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569 https://www.163.com/dy/article/DBTJP8OA0524L8US.html#:~:text=合体字:就是由两,表示人倚着树木。 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569 https://new.qq.com/rain/a/20210627A08TKO00 #เหอถี่จื้อ #เหอเฉิงจื้อ #คำมงคลจีน #อักษรประสม #อักษรจีน
    WWW.MARIECLAIRE.COM.TW
    《一生一世》超前大結局!任嘉倫爆打惡人周文川,白鹿從前世跳樓到今生
    絕世大甜劇《一生一世》迎來大結局前,也狠狠虐了觀眾一波,事故和意外不斷,惡人周文川受觀眾的討厭程度,大概和《周生如故》劉子行不相上下。
    2 Comments 0 Shares 97 Views 0 Reviews
  • เถาฝู ป้ายมงคลฉลองตรุษจีนโบราณ

    เข้าสู่เทศกาลตรุษจีนแล้ว ก็คงไม่แคล้วต้องคุยถึงประเพณีและวัฒนธรรมจีนโบราณที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลตรุษจีน ปีก่อนๆ ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงไปคือ: การโส่วซุ่ยหรืออดนอนข้ามคืนเป็นนัยว่าให้ผู้ใหญ่ในบ้านอายุยืนยาว; การกินสุราสมุนไพรเช่นสุราพริกหอม; คำมงคลและอักษรประสม ใครยังไม่ได้อ่านลองย้อนกลับไปอ่านนะคะ (หาลิ้งค์ได้ในสารบัญของเพจ)

    วันนี้มาคุยกันถึงป้ายมงคลคู่แบบหนึ่ง เรียกว่า ‘เถาฝู’ (桃符) แปลตรงตัวว่าป้ายที่ทำจากไม้ท้อ เป็นป้ายมงคลคู่ที่ในสมัยจีนโบราณนิยมติดกันหน้าบ้านเพื่อต้อนรับตรุษจีน อดีตกวีเอกและนักการเมืองสมัยซ่งเคยประพันธ์บทกวีชื่อ <หยวนรึ> (元日/วันขึ้นปีใหม่) บรรยายถึงธรรมเนียมตรุษจีนไว้ Storyฯ เรียบเรียงดังนี้

    เสียงประทัดลั่นคือหนึ่งปีที่ผันผ่าน
    ลมวสันต์อุ่นสุราแห่งศกใหม่
    พันบ้านหมื่นเรือนก่อนอรุณรุ่ง
    ล้วนนำท้อใหม่เปลี่ยนป้ายเก่า

    ‘ท้อใหม่ป้ายเก่า’ ที่กล่าวถึงก็คือ ‘เถาฝู’

    แรกเริ่มเลย ‘เถาฝู’ คือป้ายไม้ที่ทำจากต้นท้อ ในเอกสารที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์เหนือใต้เกี่ยวกับราชวงศ์ก่อนๆ นั้น มีบรรยายไว้ว่า: เถาฝูมีขนาดยาวหกนิ้ว กว้างสามนิ้ว; วันที่หนึ่งเดือนหนึ่ง ทำป้ายติดเรือนด้วยไม้ท้อ คือไม้ศักดิ์สิทธิ์; บนป้ายเขียนชื่อสองเทพเจ้าแปะไว้ซ้ายขวา ซ้ายคือเทพเซินซู ขวาคือเทพอวี้ลวี่ ฯลฯ

    ประวัติของเทพเจ้าสององค์นี้แตกต่างกันไปตามตำนานปรัมปราหลากหลายที่เล่าขานกันมา แต่เรื่องราวที่เหมือนกันก็คือทั้งสองเทพเจ้านี้เฝ้าอยู่ใต้ร่มไม้ต้นท้อยักษ์ ใช้กิ่งเถาของต้นท้อจับภูตผีที่ทำตัวไม่ดีไปโยนให้เสือกิน จึงเป็นที่มาว่าไม้ท้อเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สามารถขับไล่ภูตผีและสิ่งชั่วร้ายได้ ในวันปีใหม่จึงมีธรรมเนียมแปะเถาฝูเพื่อให้ปกปักษ์คุ้มครองบ้าน ป้องกันภูตผีและสิ่งชั่วร้าย พอขึ้นปีใหม่ก็เปลี่ยนเถาฝูชุดใหม่

    ธรรมเนียมหลายพันปีย่อมมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง จากการเขียนชื่อสองเทพเจ้ากลายเป็นการแกะสลักรูปภาพเทพเจ้าบนไม้ท้อ กลายเป็นภาพวาดบนกระดาษ นอกจากนี้ในสมัยถังก็เปลี่ยนจากรูปของเทพเซินซูอวี้ลวี่เป็นรูปขุนพลในสมัยถังที่ถูกยกย่องประหนึ่งเป็นเทพสงคราม ซึ่งที่กล่าวมานี้ก็คือธรรมเนียมการแปะรูปเทพเจ้าเหมินเสิน (เทพพิทักษ์ประตู/เทพทวารบาล) ในปัจจุบันนั่นเอง

    แต่คำว่า ‘เถาฝู’ ในสมัยซ่งไม่เพียงหมายถึงป้ายชื่อหรือรูปภาพเทพทวารบาล หากแต่ยังหมายรวมถึงป้ายที่มีกลอนคู่มงคลหรือวลีรับตรุษจีน (หมายเหตุ กลอนคู่เรียกรวมว่า ‘ตุ้ยเหลียน’ ส่วนวลีมงคลที่มีใจความรับปีใหม่เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงได้ว่า ‘ชุนเหลียน’)

    ไอเดียการเขียนกลอนคู่ลงบนป้ายไม้ท้อนี้ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าริเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่ในเอกสารโบราณเกี่ยวกับแคว้นซีสู่ (สมัยสิบหกแคว้นช่วงปีค.ศ. 304-439) มีกล่าวถึงการเขียนกลอนคู่บนป้ายไม้ท้อเพื่อประดับในพระราชวังแล้ว

    เอกสารโบราณของสมัยหมิงกล่าวไว้ว่า: ประเพณีการติดกลอนคู่มงคลชุนเหลียนในวันตรุษจีนนั้น ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยองค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) โดยมีการประกาศในเมืองหลวงในคืนวันสิ้นปีให้ขุนนางข้าราชการต่างๆ ติดชุนเหลียนไว้หน้าจวน/เรือนของตน เพื่อว่าเวลาทรงเสด็จประพาสต้นจะได้ทอดพระเนตร และในสมัยนั้นได้มีการเรียกจำแนกไว้ว่า ‘เถาฝู’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนป้ายไม้ท้อ และ ‘ชุนเทีย’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนกระดาษเพื่อรับตรุษจีน

    และต่อมาในสมัยชิง กระดาษชุนเทียมีดีไซน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอักษรเดียว วลีเดี่ยวติดแนวขวางเหนือประตู แนวตรงติดข้างประตู ติดหน้าบานประตู ฯลฯ สืบทอดมาจนปัจจุบัน

    ประเพณีติดป้ายเถาฝูหายไปตามยุคสมัย แต่เราจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วมันคือต้นกำเนิดของการติดภาพวาดเหมินเสินที่ประตู และเป็นต้นกำเนิดของการแปะกลอนคู่มงคลตุ้ยเหลียนที่ยังทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอีกด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://www.gov.cn/govweb/ztzl/08cjtbch/content_861150.htm
    https://www.workercn.cn/32843/201902/06/190206095618327_3.shtml
    https://kknews.cc/culture/3am8x23.html
    http://weixin.chinafolklore.org/?p=15620
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e3da8d97be73.aspx
    https://www.soundofhope.org/post/468983
    https://baike.baidu.com/item/桃符

    #ประเพณีตรุษจีน #ตุ้นเหลียน #เหมินเสิน #เทพเจ้าประตู #กลอนคู่มงคล #เถาฟู #ป้ายไม้ท้อ
    เถาฝู ป้ายมงคลฉลองตรุษจีนโบราณ เข้าสู่เทศกาลตรุษจีนแล้ว ก็คงไม่แคล้วต้องคุยถึงประเพณีและวัฒนธรรมจีนโบราณที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลตรุษจีน ปีก่อนๆ ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงไปคือ: การโส่วซุ่ยหรืออดนอนข้ามคืนเป็นนัยว่าให้ผู้ใหญ่ในบ้านอายุยืนยาว; การกินสุราสมุนไพรเช่นสุราพริกหอม; คำมงคลและอักษรประสม ใครยังไม่ได้อ่านลองย้อนกลับไปอ่านนะคะ (หาลิ้งค์ได้ในสารบัญของเพจ) วันนี้มาคุยกันถึงป้ายมงคลคู่แบบหนึ่ง เรียกว่า ‘เถาฝู’ (桃符) แปลตรงตัวว่าป้ายที่ทำจากไม้ท้อ เป็นป้ายมงคลคู่ที่ในสมัยจีนโบราณนิยมติดกันหน้าบ้านเพื่อต้อนรับตรุษจีน อดีตกวีเอกและนักการเมืองสมัยซ่งเคยประพันธ์บทกวีชื่อ <หยวนรึ> (元日/วันขึ้นปีใหม่) บรรยายถึงธรรมเนียมตรุษจีนไว้ Storyฯ เรียบเรียงดังนี้ เสียงประทัดลั่นคือหนึ่งปีที่ผันผ่าน ลมวสันต์อุ่นสุราแห่งศกใหม่ พันบ้านหมื่นเรือนก่อนอรุณรุ่ง ล้วนนำท้อใหม่เปลี่ยนป้ายเก่า ‘ท้อใหม่ป้ายเก่า’ ที่กล่าวถึงก็คือ ‘เถาฝู’ แรกเริ่มเลย ‘เถาฝู’ คือป้ายไม้ที่ทำจากต้นท้อ ในเอกสารที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์เหนือใต้เกี่ยวกับราชวงศ์ก่อนๆ นั้น มีบรรยายไว้ว่า: เถาฝูมีขนาดยาวหกนิ้ว กว้างสามนิ้ว; วันที่หนึ่งเดือนหนึ่ง ทำป้ายติดเรือนด้วยไม้ท้อ คือไม้ศักดิ์สิทธิ์; บนป้ายเขียนชื่อสองเทพเจ้าแปะไว้ซ้ายขวา ซ้ายคือเทพเซินซู ขวาคือเทพอวี้ลวี่ ฯลฯ ประวัติของเทพเจ้าสององค์นี้แตกต่างกันไปตามตำนานปรัมปราหลากหลายที่เล่าขานกันมา แต่เรื่องราวที่เหมือนกันก็คือทั้งสองเทพเจ้านี้เฝ้าอยู่ใต้ร่มไม้ต้นท้อยักษ์ ใช้กิ่งเถาของต้นท้อจับภูตผีที่ทำตัวไม่ดีไปโยนให้เสือกิน จึงเป็นที่มาว่าไม้ท้อเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สามารถขับไล่ภูตผีและสิ่งชั่วร้ายได้ ในวันปีใหม่จึงมีธรรมเนียมแปะเถาฝูเพื่อให้ปกปักษ์คุ้มครองบ้าน ป้องกันภูตผีและสิ่งชั่วร้าย พอขึ้นปีใหม่ก็เปลี่ยนเถาฝูชุดใหม่ ธรรมเนียมหลายพันปีย่อมมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง จากการเขียนชื่อสองเทพเจ้ากลายเป็นการแกะสลักรูปภาพเทพเจ้าบนไม้ท้อ กลายเป็นภาพวาดบนกระดาษ นอกจากนี้ในสมัยถังก็เปลี่ยนจากรูปของเทพเซินซูอวี้ลวี่เป็นรูปขุนพลในสมัยถังที่ถูกยกย่องประหนึ่งเป็นเทพสงคราม ซึ่งที่กล่าวมานี้ก็คือธรรมเนียมการแปะรูปเทพเจ้าเหมินเสิน (เทพพิทักษ์ประตู/เทพทวารบาล) ในปัจจุบันนั่นเอง แต่คำว่า ‘เถาฝู’ ในสมัยซ่งไม่เพียงหมายถึงป้ายชื่อหรือรูปภาพเทพทวารบาล หากแต่ยังหมายรวมถึงป้ายที่มีกลอนคู่มงคลหรือวลีรับตรุษจีน (หมายเหตุ กลอนคู่เรียกรวมว่า ‘ตุ้ยเหลียน’ ส่วนวลีมงคลที่มีใจความรับปีใหม่เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงได้ว่า ‘ชุนเหลียน’) ไอเดียการเขียนกลอนคู่ลงบนป้ายไม้ท้อนี้ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าริเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่ในเอกสารโบราณเกี่ยวกับแคว้นซีสู่ (สมัยสิบหกแคว้นช่วงปีค.ศ. 304-439) มีกล่าวถึงการเขียนกลอนคู่บนป้ายไม้ท้อเพื่อประดับในพระราชวังแล้ว เอกสารโบราณของสมัยหมิงกล่าวไว้ว่า: ประเพณีการติดกลอนคู่มงคลชุนเหลียนในวันตรุษจีนนั้น ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยองค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) โดยมีการประกาศในเมืองหลวงในคืนวันสิ้นปีให้ขุนนางข้าราชการต่างๆ ติดชุนเหลียนไว้หน้าจวน/เรือนของตน เพื่อว่าเวลาทรงเสด็จประพาสต้นจะได้ทอดพระเนตร และในสมัยนั้นได้มีการเรียกจำแนกไว้ว่า ‘เถาฝู’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนป้ายไม้ท้อ และ ‘ชุนเทีย’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนกระดาษเพื่อรับตรุษจีน และต่อมาในสมัยชิง กระดาษชุนเทียมีดีไซน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอักษรเดียว วลีเดี่ยวติดแนวขวางเหนือประตู แนวตรงติดข้างประตู ติดหน้าบานประตู ฯลฯ สืบทอดมาจนปัจจุบัน ประเพณีติดป้ายเถาฝูหายไปตามยุคสมัย แต่เราจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วมันคือต้นกำเนิดของการติดภาพวาดเหมินเสินที่ประตู และเป็นต้นกำเนิดของการแปะกลอนคู่มงคลตุ้ยเหลียนที่ยังทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอีกด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://www.gov.cn/govweb/ztzl/08cjtbch/content_861150.htm https://www.workercn.cn/32843/201902/06/190206095618327_3.shtml https://kknews.cc/culture/3am8x23.html http://weixin.chinafolklore.org/?p=15620 https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e3da8d97be73.aspx https://www.soundofhope.org/post/468983 https://baike.baidu.com/item/桃符 #ประเพณีตรุษจีน #ตุ้นเหลียน #เหมินเสิน #เทพเจ้าประตู #กลอนคู่มงคล #เถาฟู #ป้ายไม้ท้อ
    0 Comments 0 Shares 937 Views 0 Reviews
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 4 ‘ซู’ และ ‘ซู่’

    ผ่านมาหลายสัปดาห์กับหกทักษะของสุภาพบุรุษจากตระกูลสูงศักดิ์ หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือ(หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数)

    สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงสองทักษะสุดท้าย ซึ่งไม่ตื่นตาตื่นใจเท่าสัปดาห์ที่แล้ว และในบันทึกโจวหลี่ไม่ได้มีการขยายความเพิ่มเติม เพียงระบุไว้ว่าต้องมีทักษะที่ห้า คือ ‘ลิ่วซู’ หรือหกอักษร และทักษะที่หกคือ ‘จิ่วซู่’ หรือเก้าคำนวณ และชนรุ่นหลังจึงต้องอาศัยหนังสืออื่นในสมัยฮั่นที่บรรยายเพิ่มเติมถึงสองทักษะนี้

    สำหรับทักษะที่ห้า ‘ซู’ หรืออักษรนี้ เพื่อนเพจอย่าได้เข้าใจผิดว่ามันหมายถึงงานโคลงกลอนวรรณกรรมชั้นสูง หรือการเขียนพู่กันรูปแบบอักษรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นทักษะพื้นฐานในการเขียนอ่านสำหรับเด็กเมื่อเริ่มเรียนหนังสือเมื่อกว่าสามพันปีที่แล้ว สรุปได้ดังนี้
    (1) เซี่ยงสิง (象形/Pictogram) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่เรามองเห็น ซึ่งเพื่อนเพจอย่าลืมว่าแรกเริ่มการเขียนของมนุษย์เรามาจากการวาดภาพ อักขระที่ใช้ในสมัยจีนบรรพกาลตามที่เราเห็นบนกระดูกโบราณก็เป็นลักษณะคล้ายภาพวาด อย่างเช่นอักษร ‘เหริน’ (人) ที่แปลว่าคน ก็คือมาจากการวาดรูปคนเดิน เป็นต้น
    (2) จื่อซื่อ (指事/Indicatives) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงความคิดความรู้สึกที่เราจับต้องไม่ได้ เช่น ตัวเลขจีนหรือคำว่าบนล่าง (‘ซ่างเซี่ย’ / 上下) เป็นต้น
    (3) ฮุ่ยอี้ (会意/Associative Compound) คืออักษรประสมที่เกิดจากการประกอบอักษรเดี่ยว (เซี่ยงสิงหรือจื่อซื่อ) มากกว่าหนึ่งอักษรเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นอีกความหมายหนึ่ง เช่น ‘จ้ง’ (众) ประกอบด้วยอักษร ‘เหริน’ สามตัว หมายถึงกลุ่มคน เป็นต้น
    (4) สิงเซิง (形声/Pictophonetic Compound) คืออักษรประสมที่ใช้อักษรหลักเดียวกัน แต่อาศัยอักษรข้างหรืออักษรบนล่างผันเสียงและ/หรือสร้างความหมายให้แตกต่างกันไป เช่น 绸 调 鲷 雕 และ 竿 笼 笔 筷 签 เป็นต้น ประเด็นนี้เพื่อนเพจที่ได้เรียนภาษาจีนจะเข้าใจได้ดีกว่าที่ Storyฯ อธิบาย

    สี่อักษรข้างต้นนั้น เป็นการวางรากฐานการเขียนและอักษรจีน แต่อีกสองอักษรที่เหลือเป็นหลักการการใช้ศัพท์ กล่าวคือ
    (5) จ่วนจู้ (转注/ Shared Component Characters) คืออักษรประสมที่อาจเขียนและออกเสียงแตกต่างแต่มีความหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีเงื่อนไขว่าอักษรนี้ต้องมีอักษรประกอบ (คืออักษรข้างหรืออักษรบนล่าง) ที่เหมือนกัน มีเสียงอ่านใกล้เคียงกัน และใช้อธิบายความหมายของกันและกันได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละพื้นที่ของจีนมีภาษาท้องถิ่นที่ออกเสียงแตกต่างกันไปจึงอาจมีการใช้อักษรบางตัวแตกต่างกันไป แต่หากเข้าใจหลักการของ ‘จ่วนจู้’ ก็จะสามารถเข้าใจความหมายของอักษรที่แตกต่างกันไปเหล่านั้นได้ เช่น ‘คง’ (空) แปลว่าว่างเปล่า และ ‘เชี่ยว’ (窍) แปลว่ารู เป็นต้น
    (6) เจี่ยเจี้ย (假借/Phonetic Loans) คือการยืมอักษรที่ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาใช้แทนกัน ซึ่งในสมัยโบราณมีการใช้ทักษะนี้ในการแต่งบทกลอนไม่น้อย และยังเห็นได้ในพวกคำมงคลต่างๆ เช่นคำว่า ‘เต้า’ (倒) ที่แปลว่ากลับหัว ถูกนำมาใช้ในบริบทของการติดป้ายมงคลกลับหัวเพื่อเรียกแทนคำว่า ‘เต้า’ (到) ที่แปลว่ามาถึง หรืออีกกรณีหนึ่งคือเจี่ยเจี้ยอาจหมายถึงการเอาอักษรหนึ่งมาใช้ในอีกบริบทหนึ่งจนเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่า ‘ลิ่ง’ (令) ซึ่งแปลว่าคำสั่ง ต่อมาถูกนำมาใช้รวมกับคำอื่นจนแปลว่าผู้นำหรือผู้มีอำนาจสั่งการอย่าง ‘เซี่ยนลิ่ง’ (县令) คือผู้ว่าการอำเภอ เป็นต้น และอักษรเจี่ยเจี้ยเหล่านี้ นานวันเข้าก็เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย

    ส่วนทักษะการคำนวณหรือ ‘จิ่วซู่’ นั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดมากเพราะว่ามาตรฐานและหน่วยวัดต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วตามกาลเวลา ขอสรุปสั้นๆ พอให้เห็นภาพว่า เก้าคำนวณนี้ประกอบด้วย

    (1) ฟางเถียน (方田) ซึ่งก็คือการคำนวณขนาดของพื้นที่ โจทย์โดยหลักคือที่นา
    (2) ซู่หมี่ (粟米) คือการคำนวณปริมาณตามน้ำหนักของข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวฟ่างน้ำหนักเท่านี้เทียบเท่ากับข้าวเจ้าน้ำหนักเท่าไหร่ เป็นต้น
    (3) ซวยเฟิน (衰分) แปลตรงตัวคือการซอยย่อยหรือการหาร
    (4) สาวก่วง (少广) แปลตรงตัวคือเพิ่มจากน้อยไปมาก ซึ่งก็คือการคูณ
    (5) ซังกง (商功) คือการคำนวณปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ใช้สำหรับงานก่อสร้าง
    (6) จวินซู (均输) คือการคำนวณเปรียบเทียบอัตราส่วน เช่น เมื่อวานมีเกลือจำนวนเท่านี้ ขนส่งมาด้วยระยะทางหนึ่งร้อยหลี่ คิดเป็นเงินเท่านี้ ถ้าวันนี้มีเกลือน้อยลงหนึ่งส่วนสี่ ขนส่งด้วยระยะทางแปดสิบหลี่ ควรคิดเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น
    (7) อิ๋งปู้จู๋ (盈不足) แปลตรงตัวคือกำไรขาดทุน ซึ่งก็คือการแก้สมการโดยมีโจทย์เป็นการคำนวณเงินๆ ทองๆ เช่น หากจะซื้อรถม้าสักคัน ถ้าออกเงินคนละห้าตำลึง จะขาดเงินเก้าสิบตำลึง ถ้าออกเงินคนละห้าสิบห้าตำลึง จะมีเงินเหลือสิบตำลึง ถามว่ามีคนออกเงินกี่คนและรถม้าราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
    (8) ฟางเฉิง (方程) คือการแก้สมการ เช่น มีวัวห้าตัวแพะสองตัว รวมเป็นมูลค่าสิบตำลึง แต่ถ้าวัวสองตัวแพะห้าตัวจะรวมมูลค่าได้แปดตำลึง ถามว่าวัวและแพะต่างมีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
    (9) โกวกู่ (勾股) คือการคำนวณความสัมพันธ์ในเรขาคณิต (Pythagoras' theorem) เช่นการคำนวณองศาและความยาว เป็นอีกหนึ่งทักษะสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง

    จะเห็นได้ว่า ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าการยิงธนู ห้าการขับขี่ หกอักษร และ เก้าคำนวณ) จริงๆ แล้วก็คือพื้นฐานการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น พื้นฐานเหล่านี้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมาตลอด แต่เรียกได้ว่าหกทักษะที่กำหนดไว้เมื่อกว่าสี่พันปีที่แล้วนี้ก็คือพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาจวบจนปัจจุบัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    https://www.sohu.com/a/584032470_121288924
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://www.sohu.com/a/584032470_121288924
    https://baike.baidu.com/item/汉字造字法/4018743
    https://studycli.org/zh-CN/chinese-characters/types-of-chinese-characters/
    https://ctext.org/nine-chapters/zhs

    #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 4 ‘ซู’ และ ‘ซู่’ ผ่านมาหลายสัปดาห์กับหกทักษะของสุภาพบุรุษจากตระกูลสูงศักดิ์ หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือ(หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数) สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงสองทักษะสุดท้าย ซึ่งไม่ตื่นตาตื่นใจเท่าสัปดาห์ที่แล้ว และในบันทึกโจวหลี่ไม่ได้มีการขยายความเพิ่มเติม เพียงระบุไว้ว่าต้องมีทักษะที่ห้า คือ ‘ลิ่วซู’ หรือหกอักษร และทักษะที่หกคือ ‘จิ่วซู่’ หรือเก้าคำนวณ และชนรุ่นหลังจึงต้องอาศัยหนังสืออื่นในสมัยฮั่นที่บรรยายเพิ่มเติมถึงสองทักษะนี้ สำหรับทักษะที่ห้า ‘ซู’ หรืออักษรนี้ เพื่อนเพจอย่าได้เข้าใจผิดว่ามันหมายถึงงานโคลงกลอนวรรณกรรมชั้นสูง หรือการเขียนพู่กันรูปแบบอักษรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นทักษะพื้นฐานในการเขียนอ่านสำหรับเด็กเมื่อเริ่มเรียนหนังสือเมื่อกว่าสามพันปีที่แล้ว สรุปได้ดังนี้ (1) เซี่ยงสิง (象形/Pictogram) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่เรามองเห็น ซึ่งเพื่อนเพจอย่าลืมว่าแรกเริ่มการเขียนของมนุษย์เรามาจากการวาดภาพ อักขระที่ใช้ในสมัยจีนบรรพกาลตามที่เราเห็นบนกระดูกโบราณก็เป็นลักษณะคล้ายภาพวาด อย่างเช่นอักษร ‘เหริน’ (人) ที่แปลว่าคน ก็คือมาจากการวาดรูปคนเดิน เป็นต้น (2) จื่อซื่อ (指事/Indicatives) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงความคิดความรู้สึกที่เราจับต้องไม่ได้ เช่น ตัวเลขจีนหรือคำว่าบนล่าง (‘ซ่างเซี่ย’ / 上下) เป็นต้น (3) ฮุ่ยอี้ (会意/Associative Compound) คืออักษรประสมที่เกิดจากการประกอบอักษรเดี่ยว (เซี่ยงสิงหรือจื่อซื่อ) มากกว่าหนึ่งอักษรเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นอีกความหมายหนึ่ง เช่น ‘จ้ง’ (众) ประกอบด้วยอักษร ‘เหริน’ สามตัว หมายถึงกลุ่มคน เป็นต้น (4) สิงเซิง (形声/Pictophonetic Compound) คืออักษรประสมที่ใช้อักษรหลักเดียวกัน แต่อาศัยอักษรข้างหรืออักษรบนล่างผันเสียงและ/หรือสร้างความหมายให้แตกต่างกันไป เช่น 绸 调 鲷 雕 และ 竿 笼 笔 筷 签 เป็นต้น ประเด็นนี้เพื่อนเพจที่ได้เรียนภาษาจีนจะเข้าใจได้ดีกว่าที่ Storyฯ อธิบาย สี่อักษรข้างต้นนั้น เป็นการวางรากฐานการเขียนและอักษรจีน แต่อีกสองอักษรที่เหลือเป็นหลักการการใช้ศัพท์ กล่าวคือ (5) จ่วนจู้ (转注/ Shared Component Characters) คืออักษรประสมที่อาจเขียนและออกเสียงแตกต่างแต่มีความหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีเงื่อนไขว่าอักษรนี้ต้องมีอักษรประกอบ (คืออักษรข้างหรืออักษรบนล่าง) ที่เหมือนกัน มีเสียงอ่านใกล้เคียงกัน และใช้อธิบายความหมายของกันและกันได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละพื้นที่ของจีนมีภาษาท้องถิ่นที่ออกเสียงแตกต่างกันไปจึงอาจมีการใช้อักษรบางตัวแตกต่างกันไป แต่หากเข้าใจหลักการของ ‘จ่วนจู้’ ก็จะสามารถเข้าใจความหมายของอักษรที่แตกต่างกันไปเหล่านั้นได้ เช่น ‘คง’ (空) แปลว่าว่างเปล่า และ ‘เชี่ยว’ (窍) แปลว่ารู เป็นต้น (6) เจี่ยเจี้ย (假借/Phonetic Loans) คือการยืมอักษรที่ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาใช้แทนกัน ซึ่งในสมัยโบราณมีการใช้ทักษะนี้ในการแต่งบทกลอนไม่น้อย และยังเห็นได้ในพวกคำมงคลต่างๆ เช่นคำว่า ‘เต้า’ (倒) ที่แปลว่ากลับหัว ถูกนำมาใช้ในบริบทของการติดป้ายมงคลกลับหัวเพื่อเรียกแทนคำว่า ‘เต้า’ (到) ที่แปลว่ามาถึง หรืออีกกรณีหนึ่งคือเจี่ยเจี้ยอาจหมายถึงการเอาอักษรหนึ่งมาใช้ในอีกบริบทหนึ่งจนเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่า ‘ลิ่ง’ (令) ซึ่งแปลว่าคำสั่ง ต่อมาถูกนำมาใช้รวมกับคำอื่นจนแปลว่าผู้นำหรือผู้มีอำนาจสั่งการอย่าง ‘เซี่ยนลิ่ง’ (县令) คือผู้ว่าการอำเภอ เป็นต้น และอักษรเจี่ยเจี้ยเหล่านี้ นานวันเข้าก็เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนทักษะการคำนวณหรือ ‘จิ่วซู่’ นั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดมากเพราะว่ามาตรฐานและหน่วยวัดต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วตามกาลเวลา ขอสรุปสั้นๆ พอให้เห็นภาพว่า เก้าคำนวณนี้ประกอบด้วย (1) ฟางเถียน (方田) ซึ่งก็คือการคำนวณขนาดของพื้นที่ โจทย์โดยหลักคือที่นา (2) ซู่หมี่ (粟米) คือการคำนวณปริมาณตามน้ำหนักของข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวฟ่างน้ำหนักเท่านี้เทียบเท่ากับข้าวเจ้าน้ำหนักเท่าไหร่ เป็นต้น (3) ซวยเฟิน (衰分) แปลตรงตัวคือการซอยย่อยหรือการหาร (4) สาวก่วง (少广) แปลตรงตัวคือเพิ่มจากน้อยไปมาก ซึ่งก็คือการคูณ (5) ซังกง (商功) คือการคำนวณปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ใช้สำหรับงานก่อสร้าง (6) จวินซู (均输) คือการคำนวณเปรียบเทียบอัตราส่วน เช่น เมื่อวานมีเกลือจำนวนเท่านี้ ขนส่งมาด้วยระยะทางหนึ่งร้อยหลี่ คิดเป็นเงินเท่านี้ ถ้าวันนี้มีเกลือน้อยลงหนึ่งส่วนสี่ ขนส่งด้วยระยะทางแปดสิบหลี่ ควรคิดเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น (7) อิ๋งปู้จู๋ (盈不足) แปลตรงตัวคือกำไรขาดทุน ซึ่งก็คือการแก้สมการโดยมีโจทย์เป็นการคำนวณเงินๆ ทองๆ เช่น หากจะซื้อรถม้าสักคัน ถ้าออกเงินคนละห้าตำลึง จะขาดเงินเก้าสิบตำลึง ถ้าออกเงินคนละห้าสิบห้าตำลึง จะมีเงินเหลือสิบตำลึง ถามว่ามีคนออกเงินกี่คนและรถม้าราคาเท่าไหร่ เป็นต้น (8) ฟางเฉิง (方程) คือการแก้สมการ เช่น มีวัวห้าตัวแพะสองตัว รวมเป็นมูลค่าสิบตำลึง แต่ถ้าวัวสองตัวแพะห้าตัวจะรวมมูลค่าได้แปดตำลึง ถามว่าวัวและแพะต่างมีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น (9) โกวกู่ (勾股) คือการคำนวณความสัมพันธ์ในเรขาคณิต (Pythagoras' theorem) เช่นการคำนวณองศาและความยาว เป็นอีกหนึ่งทักษะสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง จะเห็นได้ว่า ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าการยิงธนู ห้าการขับขี่ หกอักษร และ เก้าคำนวณ) จริงๆ แล้วก็คือพื้นฐานการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น พื้นฐานเหล่านี้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมาตลอด แต่เรียกได้ว่าหกทักษะที่กำหนดไว้เมื่อกว่าสี่พันปีที่แล้วนี้ก็คือพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาจวบจนปัจจุบัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU https://www.sohu.com/a/584032470_121288924 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://www.sohu.com/a/584032470_121288924 https://baike.baidu.com/item/汉字造字法/4018743 https://studycli.org/zh-CN/chinese-characters/types-of-chinese-characters/ https://ctext.org/nine-chapters/zhs #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    《度华年》定档0626 赵今麦张凌赫入宿命循环局_商业频道_中华网
    今日,由赵今麦、张凌赫领衔主演的古装轻喜剧《度华年》官宣定档6月26日于优酷全网独播。该剧由青梅影业、浙江影视集团、优酷出品,袁玉梅担任总制片人兼艺术总监,高翊浚执导,饶俊编剧。
    0 Comments 0 Shares 1017 Views 0 Reviews