• มาแล้วจ้าาาาาา 📣 ใครอยากสัมผัสมนต์เสน่ห์ลาวแบบครบรส ต้องทริปนี้เลย 🇱🇦✨

    🌄 ทัวร์ลาว - หลวงพระบาง 4 วัน 3 คืน
    🛫 เดินทางช่วงเที่ยง - กลับบ่าย สะดวกสุดๆ
    📅 เดินทางได้ตั้งแต่เมษายน - ตุลาคม 2025
    💸 ราคาเริ่มต้นเพียง 13,888.-

    📍 ไฮไลต์เด็ดๆ
    🕌 วัดสีเมือง – พระธาตุหลวง – ประตูชัย
    🚞 สัมผัสรถไฟความเร็วสูงวังเวียง
    🌊 เล่นน้ำบลูลากูน – สะพานสีฟ้า – ถ้ำปูคำ
    ⛰ ชมวิวแม่น้ำซองสุดชิล
    🌆 เที่ยวหลวงพระบาง วัดใหม่ – วัดเชียงทอง – พระธาตุพูสี
    🏯 พระราชวัง – วัดวิชุนราช – ตลาดมืด
    🛕 ตักบาตรข้าวเหนียว – น้ำตกตาดกวางสี

    📸 ครบทุกรส ทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม วิวหลักล้าน จองเลยก่อนเต็ม!

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    https://78s.me/ed75db

    ดูทัวร์ลาวทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/07d8b4

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    📷: etravelway 78s.me/05e8da
    ☎️: 0 2116 6395

    #eTravelway #ทัวร์ลาว #เที่ยวลาว #หลวงพระบาง #วังเวียง #น้ำตกตาดกวางสี #รถไฟลาวจีน #LaoTrip #เที่ยวฟินต้องไปลาว 🧳✈️🗺 #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #กัมพูชา #สนธิ
    มาแล้วจ้าาาาาา 📣 ใครอยากสัมผัสมนต์เสน่ห์ลาวแบบครบรส ต้องทริปนี้เลย 🇱🇦✨ 🌄 ทัวร์ลาว - หลวงพระบาง 4 วัน 3 คืน 🛫 เดินทางช่วงเที่ยง - กลับบ่าย สะดวกสุดๆ 📅 เดินทางได้ตั้งแต่เมษายน - ตุลาคม 2025 💸 ราคาเริ่มต้นเพียง 13,888.- 📍 ไฮไลต์เด็ดๆ 🕌 วัดสีเมือง – พระธาตุหลวง – ประตูชัย 🚞 สัมผัสรถไฟความเร็วสูงวังเวียง 🌊 เล่นน้ำบลูลากูน – สะพานสีฟ้า – ถ้ำปูคำ ⛰ ชมวิวแม่น้ำซองสุดชิล 🌆 เที่ยวหลวงพระบาง วัดใหม่ – วัดเชียงทอง – พระธาตุพูสี 🏯 พระราชวัง – วัดวิชุนราช – ตลาดมืด 🛕 ตักบาตรข้าวเหนียว – น้ำตกตาดกวางสี 📸 ครบทุกรส ทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม วิวหลักล้าน จองเลยก่อนเต็ม! ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://78s.me/ed75db ดูทัวร์ลาวทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/07d8b4 LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395 #eTravelway #ทัวร์ลาว #เที่ยวลาว #หลวงพระบาง #วังเวียง #น้ำตกตาดกวางสี #รถไฟลาวจีน #LaoTrip #เที่ยวฟินต้องไปลาว 🧳✈️🗺 #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #กัมพูชา #สนธิ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 29 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาแล้วจ้าาาาาา 📣 ใครอยากสัมผัสมนต์เสน่ห์ลาวแบบครบรส ต้องทริปนี้เลย 🇱🇦✨

    🌄 ทัวร์ลาว - หลวงพระบาง 4 วัน 3 คืน
    🛫 เดินทางช่วงเที่ยง - กลับบ่าย สะดวกสุดๆ
    📅 เดินทางได้ตั้งแต่เมษายน - ตุลาคม 2025
    💸 ราคาเริ่มต้นเพียง 13,888.-

    📍 ไฮไลต์เด็ดๆ
    🕌 วัดสีเมือง – พระธาตุหลวง – ประตูชัย
    🚞 สัมผัสรถไฟความเร็วสูงวังเวียง
    🌊 เล่นน้ำบลูลากูน – สะพานสีฟ้า – ถ้ำปูคำ
    ⛰ ชมวิวแม่น้ำซองสุดชิล
    🌆 เที่ยวหลวงพระบาง วัดใหม่ – วัดเชียงทอง – พระธาตุพูสี
    🏯 พระราชวัง – วัดวิชุนราช – ตลาดมืด
    🛕 ตักบาตรข้าวเหนียว – น้ำตกตาดกวางสี

    📸 ครบทุกรส ทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม วิวหลักล้าน จองเลยก่อนเต็ม!

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    https://78s.me/ed75db

    ดูทัวร์ลาวทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/07d8b4

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    📷: etravelway 78s.me/05e8da
    ☎️: 0 2116 6395

    #ทัวร์ลาว #แพ็คเกจทัวร์ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ลาว #เที่ยวลาว #หลวงพระบาง #วังเวียง #น้ำตกตาดกวางสี #รถไฟลาวจีน #LaoTrip #เที่ยวฟินต้องไปลาว 🧳✈️🗺 #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #กัมพูชา #สนธิ
    มาแล้วจ้าาาาาา 📣 ใครอยากสัมผัสมนต์เสน่ห์ลาวแบบครบรส ต้องทริปนี้เลย 🇱🇦✨ 🌄 ทัวร์ลาว - หลวงพระบาง 4 วัน 3 คืน 🛫 เดินทางช่วงเที่ยง - กลับบ่าย สะดวกสุดๆ 📅 เดินทางได้ตั้งแต่เมษายน - ตุลาคม 2025 💸 ราคาเริ่มต้นเพียง 13,888.- 📍 ไฮไลต์เด็ดๆ 🕌 วัดสีเมือง – พระธาตุหลวง – ประตูชัย 🚞 สัมผัสรถไฟความเร็วสูงวังเวียง 🌊 เล่นน้ำบลูลากูน – สะพานสีฟ้า – ถ้ำปูคำ ⛰ ชมวิวแม่น้ำซองสุดชิล 🌆 เที่ยวหลวงพระบาง วัดใหม่ – วัดเชียงทอง – พระธาตุพูสี 🏯 พระราชวัง – วัดวิชุนราช – ตลาดมืด 🛕 ตักบาตรข้าวเหนียว – น้ำตกตาดกวางสี 📸 ครบทุกรส ทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม วิวหลักล้าน จองเลยก่อนเต็ม! ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://78s.me/ed75db ดูทัวร์ลาวทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/07d8b4 LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395 #ทัวร์ลาว #แพ็คเกจทัวร์ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ลาว #เที่ยวลาว #หลวงพระบาง #วังเวียง #น้ำตกตาดกวางสี #รถไฟลาวจีน #LaoTrip #เที่ยวฟินต้องไปลาว 🧳✈️🗺 #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #กัมพูชา #สนธิ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 28 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถไฟลาว-จีน ดีเลย์เหมือนไทย

    เปิดให้บริการก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของรถไฟลาว-จีน จากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ลงใต้ไปถึงเวียงจันทน์ ประเทศลาว รวมระยะทาง 1,035 กิโลเมตร ปัจจุบันมีผู้โดยสารช่วงระหว่างหลวงพระบางถึงสิบสองปันนา มากกว่า 800 คนต่อวัน และสูงสุดถึง 1,200 คนต่อวัน นับตั้งแต่ประเทศจีนขยายนโยบายฟรีวีซ่ากับประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งประเทศไทย แม้ที่ผ่านมาจะพัฒนาการบริการ โดยเฉพาะการซื้อตั๋วล่วงหน้าที่สะดวกยิ่งขึ้นผ่านแอปฯ LCR Ticket ที่เบอร์มือถือลาว จีน และไทยสามารถใช้ได้ แก้ปัญหาการกักตุนและขายต่อเกินราคา แต่ปัญหาที่ดูเหมือนจะแก้ไขได้ยาก คือขบวนรถล่าช้าเหมือนรถไฟไทย แถมหนักกว่าตรงที่เช็กไม่ได้ ไม่เหมือนรถไฟไทยที่มีระบบ TTS

    ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568 ที่ผ่านมา Newskit มีโอกาสไปเยือนเมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา เริ่มจากขาไป ขบวน C82 นครหลวงเวียงจันทน์-บ่อเต็น ออกจากสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ 13.30 น. ตามกำหนดต้องถึงสถานีบ่อเต็น 17.25 น. แต่วันนั้นถึงจริง 18.26 น. เหตุเพราะรอรถหลีกช่วงสถานีวังเวียง ถึงสถานีหลวงพระบาง จากสถานีบ่อเต็นจะมีรถรับจ้างไปส่งที่ด่านบ่อเต็น และโรงแรมในเมืองบ่อเต็น คิดคนละ 50,000 กีบ (ประมาณ 78 บาท)

    ส่วนขากลับ ขบวน D87 คุนหมิงใต้-บ่อเต็น-นครหลวงเวียงจันทน์ ออกจากสถานีบ่อเต็น 13.27 น. ตามกำหนดต้องถึงสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ 16.44 น. แต่ถึงจริง 17.00 น. เหตุเพราะรอรถหลีก โชคดีที่รถเมล์ของรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ (VCSBE) ยังรอให้บริการ ไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาว และตลาดซันเจียง แต่ต้องรีบออกจากสถานี ไม่เช่นนั้นต้องจ่ายค่าแท็กซี่ในราคาที่สูง

    สาเหตุที่ทำให้รถไฟลาว-จีนล่าช้า เพราะเส้นทางรถไฟส่วนใหญ่เป็นรถไฟทางเดียว และต้องลอดใต้อุโมงค์ช่วงสถานีวังเวียง ถึงสถานีบ่อเต็นแบบถี่ยิบ แต่เพราะเป็นรถไฟฟ้า EMU สามารถทำความเร็วมากกว่า 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงสามารถทำความเร็วเพื่อชดเชยเวลาที่เสียไปได้ โดยเฉพาะขบวนที่ D87 ซึ่งเป็นขบวนรถจากประเทศจีนมายังเมืองหลวงของ สปป.ลาว ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว นักท่องเที่ยวที่จัดโปรแกรมหรือนักเดินทางที่มีนัดหมายแน่นอน ควรเผื่อเวลาไว้สัก 1-2 ชั่วโมง

    คำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ รถไฟลาว-จีนมีสัญญาณมือถือเฉพาะช่วงที่ผ่านสถานี เมื่อออกจากสถานีสัญญาณจะค่อยๆ ขาดหาย ควรเปิดโหมดเครื่องบินตลอดการเดินทางเพื่อประหยัดแบตเตอรี ส่วนขากลับเมื่อออกจากสถานีวังเวียงแล้ว ก่อนถึงสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ควรเข้าห้องน้ำบนรถไฟให้เรียบร้อย เพราะห้องน้ำตรงทางออกปิดบริการ ต้องไปเข้าห้องน้ำข้างนอกสถานีซึ่งเดินไกลมาก และจะได้ไม่พลาดรถเมล์อีกด้วย

    #Newskit
    รถไฟลาว-จีน ดีเลย์เหมือนไทย เปิดให้บริการก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของรถไฟลาว-จีน จากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ลงใต้ไปถึงเวียงจันทน์ ประเทศลาว รวมระยะทาง 1,035 กิโลเมตร ปัจจุบันมีผู้โดยสารช่วงระหว่างหลวงพระบางถึงสิบสองปันนา มากกว่า 800 คนต่อวัน และสูงสุดถึง 1,200 คนต่อวัน นับตั้งแต่ประเทศจีนขยายนโยบายฟรีวีซ่ากับประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งประเทศไทย แม้ที่ผ่านมาจะพัฒนาการบริการ โดยเฉพาะการซื้อตั๋วล่วงหน้าที่สะดวกยิ่งขึ้นผ่านแอปฯ LCR Ticket ที่เบอร์มือถือลาว จีน และไทยสามารถใช้ได้ แก้ปัญหาการกักตุนและขายต่อเกินราคา แต่ปัญหาที่ดูเหมือนจะแก้ไขได้ยาก คือขบวนรถล่าช้าเหมือนรถไฟไทย แถมหนักกว่าตรงที่เช็กไม่ได้ ไม่เหมือนรถไฟไทยที่มีระบบ TTS ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568 ที่ผ่านมา Newskit มีโอกาสไปเยือนเมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา เริ่มจากขาไป ขบวน C82 นครหลวงเวียงจันทน์-บ่อเต็น ออกจากสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ 13.30 น. ตามกำหนดต้องถึงสถานีบ่อเต็น 17.25 น. แต่วันนั้นถึงจริง 18.26 น. เหตุเพราะรอรถหลีกช่วงสถานีวังเวียง ถึงสถานีหลวงพระบาง จากสถานีบ่อเต็นจะมีรถรับจ้างไปส่งที่ด่านบ่อเต็น และโรงแรมในเมืองบ่อเต็น คิดคนละ 50,000 กีบ (ประมาณ 78 บาท) ส่วนขากลับ ขบวน D87 คุนหมิงใต้-บ่อเต็น-นครหลวงเวียงจันทน์ ออกจากสถานีบ่อเต็น 13.27 น. ตามกำหนดต้องถึงสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ 16.44 น. แต่ถึงจริง 17.00 น. เหตุเพราะรอรถหลีก โชคดีที่รถเมล์ของรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ (VCSBE) ยังรอให้บริการ ไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาว และตลาดซันเจียง แต่ต้องรีบออกจากสถานี ไม่เช่นนั้นต้องจ่ายค่าแท็กซี่ในราคาที่สูง สาเหตุที่ทำให้รถไฟลาว-จีนล่าช้า เพราะเส้นทางรถไฟส่วนใหญ่เป็นรถไฟทางเดียว และต้องลอดใต้อุโมงค์ช่วงสถานีวังเวียง ถึงสถานีบ่อเต็นแบบถี่ยิบ แต่เพราะเป็นรถไฟฟ้า EMU สามารถทำความเร็วมากกว่า 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงสามารถทำความเร็วเพื่อชดเชยเวลาที่เสียไปได้ โดยเฉพาะขบวนที่ D87 ซึ่งเป็นขบวนรถจากประเทศจีนมายังเมืองหลวงของ สปป.ลาว ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว นักท่องเที่ยวที่จัดโปรแกรมหรือนักเดินทางที่มีนัดหมายแน่นอน ควรเผื่อเวลาไว้สัก 1-2 ชั่วโมง คำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ รถไฟลาว-จีนมีสัญญาณมือถือเฉพาะช่วงที่ผ่านสถานี เมื่อออกจากสถานีสัญญาณจะค่อยๆ ขาดหาย ควรเปิดโหมดเครื่องบินตลอดการเดินทางเพื่อประหยัดแบตเตอรี ส่วนขากลับเมื่อออกจากสถานีวังเวียงแล้ว ก่อนถึงสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ควรเข้าห้องน้ำบนรถไฟให้เรียบร้อย เพราะห้องน้ำตรงทางออกปิดบริการ ต้องไปเข้าห้องน้ำข้างนอกสถานีซึ่งเดินไกลมาก และจะได้ไม่พลาดรถเมล์อีกด้วย #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 559 มุมมอง 0 รีวิว
  • บ่อเต็น เมืองจีนในแดนลาว

    ถือเป็นครั้งแรกในชีวิตที่นำพาตัวเองมายังหมู่บ้านเล็กๆ ทางตอนเหนือของประเทศลาว เฉกเช่นเมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ผ่านทางรถไฟกว่า 400 กิโลเมตร ตรงข้ามกับด่านโม่ฮาน มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เราเดินทางด้วยรถไฟขบวน C82 เวียงจันทน์-บ่อเต็น ออกจากสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ 13.30 น. ตามกำหนดต้องถึงสถานีบ่อเต็น 17.25 น. แต่ถึงจริง 18.26 น. รวมระยะเวลา 5 ชั่วโมง เหตุต้องรอรถหลีกช่วงวังเวียงถึงหลวงพระบาง เมื่อออกจากสถานีจะมีรถรับจ้างหน้าสถานี เสียเงินคนละ 50,000 กีบ คนขับรถจะส่งชาวจีนไปยังด่านบ่อเต็นก่อน แล้วค่อยไปส่งที่โรงแรม

    ตลอดเส้นทางจะพบรถบรรทุกขนส่งสินค้าจำนวนมาก ระหว่างทางจะพบเห็นการตั้งสวนอุตสาหรรม รองรับโรงงานที่จะเข้ามาในอนาคต ถึงที่พักของเราเป็นคอนโดมิเนียม มีชาวจีนเป็นเจ้าของ นำห้องชุดมาทำเป็นโรงแรม ต้องขึ้นไปที่ชั้น 9 เพื่อลงทะเบียนและรับคีย์การ์ด ก่อนลงมาที่ห้องพักชั้น 8 ราคาที่ได้ผ่าน OTA เจ้าดังประมาณ 500 บาทเศษต่อคืน มีบริการรถส่งถึงสถานีรถไฟ ด้านข้างจะเป็นไซต์งานก่อสร้างคอนโดมิเนียมที่ทิ้งร้าง รู้สึกวังเวงไปบ้าง แต่ด้านหลังยังมีคอนโดมิเนียมที่มีผู้อาศัยอยู่

    เมื่อปี 2546 รัฐบาลลาวให้สัมปทานแก่บริษัท ฟุกฮิง ทราเวล จากฮ่องกงเพื่อก่อตั้งเขตเศรษฐกิจเฉพาะบ่อเต็นแดนคำ ประกอบด้วยพื้นที่โรงงาน สำนักงาน ร้านค้าปลอดภาษี และอื่นๆ หนึ่งในนั้นมีกาสิโนแต่นักเสี่ยงโชคชาวจีนถูกยิงเสียชีวิต สุดท้ายต้องปิดตัวลง ต่อมาปี 2555 เปลี่ยนผู้ถือสัมปทานเป็นกลุ่มบริษัท ไห่เฉิงยูนนาน และเปลี่ยนชื่อเป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นแดนงาม

    ที่นี่ช่วงเย็นถึงกลางคืนจะเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ร้านค้า ร้านอาหาร และร้านนวดที่มีสาวสวยนั่งรอให้บริการ แต่ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูป ร้านอาหารส่วนใหญ่เป็นอาหารจีน ร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากจีน บางส่วนมาจากไทย ราคาสินค้าติดป้ายสกุลเงินหยวน แนะนำให้แลกเงินหยวนจะใช้จ่ายง่ายขึ้น แต่เงินกีบก็ใช้ได้ในบางร้าน ส่วนอี-เพย์เมนต์นิยมใช้ WeChat Pay หรือ Weixin Pay โดยมีคิวอาร์โค้ดแสดงอยู่ นอกนั้นจะมีคิวอาร์โค้ดธนาคารลาว อากาศที่นี่เย็นสบาย ยามค่ำคืนอุณหภูมิเหลือ 19 องศาฯ

    สอบถามชาวลาวที่ทำงานในบ่อเต็น ระบุว่า คนที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนที่มาจากมณฑลต่างๆ ส่วนหนึ่งมีธุรกิจอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ ก็มาพักค้างที่บ่อเต็น นอกจากนี้ ยังมีคนที่อยู่เมืองไทยมาทำธุรกิจที่บ่อเต็นก็มาพักค้างที่นี่เช่นกัน สำหรับค่าครองชีพถ้าเป็นอาหารจีนราคาจะสูง แต่อาหารลาวและอาหารพื้นถิ่นจะอยู่อีกฝั่งหนึ่ง ราคาถูกกว่า

    #Newskit
    บ่อเต็น เมืองจีนในแดนลาว ถือเป็นครั้งแรกในชีวิตที่นำพาตัวเองมายังหมู่บ้านเล็กๆ ทางตอนเหนือของประเทศลาว เฉกเช่นเมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ผ่านทางรถไฟกว่า 400 กิโลเมตร ตรงข้ามกับด่านโม่ฮาน มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เราเดินทางด้วยรถไฟขบวน C82 เวียงจันทน์-บ่อเต็น ออกจากสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ 13.30 น. ตามกำหนดต้องถึงสถานีบ่อเต็น 17.25 น. แต่ถึงจริง 18.26 น. รวมระยะเวลา 5 ชั่วโมง เหตุต้องรอรถหลีกช่วงวังเวียงถึงหลวงพระบาง เมื่อออกจากสถานีจะมีรถรับจ้างหน้าสถานี เสียเงินคนละ 50,000 กีบ คนขับรถจะส่งชาวจีนไปยังด่านบ่อเต็นก่อน แล้วค่อยไปส่งที่โรงแรม ตลอดเส้นทางจะพบรถบรรทุกขนส่งสินค้าจำนวนมาก ระหว่างทางจะพบเห็นการตั้งสวนอุตสาหรรม รองรับโรงงานที่จะเข้ามาในอนาคต ถึงที่พักของเราเป็นคอนโดมิเนียม มีชาวจีนเป็นเจ้าของ นำห้องชุดมาทำเป็นโรงแรม ต้องขึ้นไปที่ชั้น 9 เพื่อลงทะเบียนและรับคีย์การ์ด ก่อนลงมาที่ห้องพักชั้น 8 ราคาที่ได้ผ่าน OTA เจ้าดังประมาณ 500 บาทเศษต่อคืน มีบริการรถส่งถึงสถานีรถไฟ ด้านข้างจะเป็นไซต์งานก่อสร้างคอนโดมิเนียมที่ทิ้งร้าง รู้สึกวังเวงไปบ้าง แต่ด้านหลังยังมีคอนโดมิเนียมที่มีผู้อาศัยอยู่ เมื่อปี 2546 รัฐบาลลาวให้สัมปทานแก่บริษัท ฟุกฮิง ทราเวล จากฮ่องกงเพื่อก่อตั้งเขตเศรษฐกิจเฉพาะบ่อเต็นแดนคำ ประกอบด้วยพื้นที่โรงงาน สำนักงาน ร้านค้าปลอดภาษี และอื่นๆ หนึ่งในนั้นมีกาสิโนแต่นักเสี่ยงโชคชาวจีนถูกยิงเสียชีวิต สุดท้ายต้องปิดตัวลง ต่อมาปี 2555 เปลี่ยนผู้ถือสัมปทานเป็นกลุ่มบริษัท ไห่เฉิงยูนนาน และเปลี่ยนชื่อเป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นแดนงาม ที่นี่ช่วงเย็นถึงกลางคืนจะเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ร้านค้า ร้านอาหาร และร้านนวดที่มีสาวสวยนั่งรอให้บริการ แต่ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูป ร้านอาหารส่วนใหญ่เป็นอาหารจีน ร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากจีน บางส่วนมาจากไทย ราคาสินค้าติดป้ายสกุลเงินหยวน แนะนำให้แลกเงินหยวนจะใช้จ่ายง่ายขึ้น แต่เงินกีบก็ใช้ได้ในบางร้าน ส่วนอี-เพย์เมนต์นิยมใช้ WeChat Pay หรือ Weixin Pay โดยมีคิวอาร์โค้ดแสดงอยู่ นอกนั้นจะมีคิวอาร์โค้ดธนาคารลาว อากาศที่นี่เย็นสบาย ยามค่ำคืนอุณหภูมิเหลือ 19 องศาฯ สอบถามชาวลาวที่ทำงานในบ่อเต็น ระบุว่า คนที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนที่มาจากมณฑลต่างๆ ส่วนหนึ่งมีธุรกิจอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ ก็มาพักค้างที่บ่อเต็น นอกจากนี้ ยังมีคนที่อยู่เมืองไทยมาทำธุรกิจที่บ่อเต็นก็มาพักค้างที่นี่เช่นกัน สำหรับค่าครองชีพถ้าเป็นอาหารจีนราคาจะสูง แต่อาหารลาวและอาหารพื้นถิ่นจะอยู่อีกฝั่งหนึ่ง ราคาถูกกว่า #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 600 มุมมอง 0 รีวิว
  • นักท่องเที่ยวนับล้าน เยือนหลวงพระบาง

    สถานีวิทยุแห่งชาติลาว (Lao National Radio) รายงานเมื่อวันที่ 23 เม.ย. ว่า แขวงหลวงพระบาง ทางตอนเหนือของประเทศลาว ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยว 1,167,581 คน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2568 เพิ่มขึ้น 722,679 คน หรือเพิ่มขึ้นถึง 162% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2567 แบ่งออกเป็นนักท่องเที่ยวในประเทศ 459,091 คน เพิ่มขึ้น 297,081 คน หรือ 183% จากปีก่อน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 708,490 คน เพิ่มขึ้น 425,661 คน คิดเป็น 232% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สร้างรายได้กว่า 584,665,369 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (19,589.79 ล้านบาท)

    นางสุดาพอน คันทะวง หัวหน้าแผนกแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว แขวงหลวงพระบาง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาในปี 2567 แขวงหลวงพระบาง ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยว 2,326,758 ล้านคน เกินเป้าหมายประจำปี 30.8% สร้างรายได้ 1,209,189,549 เหรียญสหรัฐฯ (40,532.02 ล้านบาท) ด้านสำนักข่าวซินหัว รายงานว่า แขวงหลวงพระบางคาดการณ์ว่าในปีนี้จะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างน้อย 2.3 ล้านคน โดยตั้งเป้าสร้างรายได้มากกว่า 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (40,213 ล้านบาท)

    แขวงหลวงพระบาง ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ประมาณ 220 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในแขวงที่มีชื่อเสียงที่สุดของลาว และเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากมีวัดเก่าแก่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม และทิวทัศน์ชนบท โดยรัฐบาลลาวถือว่าการท่องเที่ยวเป็นภาคเศรษฐกิจหลัก ซึ่งเน้นย้ำถึงบทบาทในการสร้างงาน สร้างรายได้ และการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

    สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงได้แก่ วัดเชียงทอง หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติหลวงพระบาง พระธาตุพูสี วัดใหม่สุวรรณภูมาราม น้ำตกตาดกวางสี ตลาดเช้าและตลาดมืด รวมทั้งกิจกรรมล่องเรือแม่น้ำโขง

    สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศไทย การเดินทางสะดวกกว่าเมื่อก่อน เพราะมีรถไฟลาว-จีนให้บริการระหว่างสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ ถึงสถานีหลวงพระบางวันละ 6 ขบวน เที่ยวแรก 07.20 น. เที่ยวสุดท้าย 16.05 น. รถไฟธรรมดาราคาเริ่มต้นที่ 234,000 กีบ (363 บาท) รถไฟ EMU ราคาเริ่มต้นที่ 330,000 กีบ (512 บาท) ซื้อตั๋วล่วงหน้า 3 วันก่อนเดินทางได้ที่แอปพลิเคชัน LCR Ticket สามารถใช้เบอร์มือถือไทยลงทะเบียน และชำระค่าตั๋วรถไฟผ่านบัตร VISA ได้

    นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินไปยังหลวงพระบาง จากสนามบินสุวรรณภูมิ บางกอกแอร์เวย์บินทุกวัน ลาวแอร์ไลน์สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน จากสนามบินดอนเมือง ไทยแอร์เอเชียบินทุกวัน และสนามบินเชียงใหม่ ลาวแอร์ไลน์สัปดาห์ละ 4 เที่ยวบิน

    #Newskit
    นักท่องเที่ยวนับล้าน เยือนหลวงพระบาง สถานีวิทยุแห่งชาติลาว (Lao National Radio) รายงานเมื่อวันที่ 23 เม.ย. ว่า แขวงหลวงพระบาง ทางตอนเหนือของประเทศลาว ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยว 1,167,581 คน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2568 เพิ่มขึ้น 722,679 คน หรือเพิ่มขึ้นถึง 162% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2567 แบ่งออกเป็นนักท่องเที่ยวในประเทศ 459,091 คน เพิ่มขึ้น 297,081 คน หรือ 183% จากปีก่อน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 708,490 คน เพิ่มขึ้น 425,661 คน คิดเป็น 232% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สร้างรายได้กว่า 584,665,369 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (19,589.79 ล้านบาท) นางสุดาพอน คันทะวง หัวหน้าแผนกแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว แขวงหลวงพระบาง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาในปี 2567 แขวงหลวงพระบาง ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยว 2,326,758 ล้านคน เกินเป้าหมายประจำปี 30.8% สร้างรายได้ 1,209,189,549 เหรียญสหรัฐฯ (40,532.02 ล้านบาท) ด้านสำนักข่าวซินหัว รายงานว่า แขวงหลวงพระบางคาดการณ์ว่าในปีนี้จะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างน้อย 2.3 ล้านคน โดยตั้งเป้าสร้างรายได้มากกว่า 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (40,213 ล้านบาท) แขวงหลวงพระบาง ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ประมาณ 220 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในแขวงที่มีชื่อเสียงที่สุดของลาว และเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากมีวัดเก่าแก่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม และทิวทัศน์ชนบท โดยรัฐบาลลาวถือว่าการท่องเที่ยวเป็นภาคเศรษฐกิจหลัก ซึ่งเน้นย้ำถึงบทบาทในการสร้างงาน สร้างรายได้ และการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงได้แก่ วัดเชียงทอง หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติหลวงพระบาง พระธาตุพูสี วัดใหม่สุวรรณภูมาราม น้ำตกตาดกวางสี ตลาดเช้าและตลาดมืด รวมทั้งกิจกรรมล่องเรือแม่น้ำโขง สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศไทย การเดินทางสะดวกกว่าเมื่อก่อน เพราะมีรถไฟลาว-จีนให้บริการระหว่างสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ ถึงสถานีหลวงพระบางวันละ 6 ขบวน เที่ยวแรก 07.20 น. เที่ยวสุดท้าย 16.05 น. รถไฟธรรมดาราคาเริ่มต้นที่ 234,000 กีบ (363 บาท) รถไฟ EMU ราคาเริ่มต้นที่ 330,000 กีบ (512 บาท) ซื้อตั๋วล่วงหน้า 3 วันก่อนเดินทางได้ที่แอปพลิเคชัน LCR Ticket สามารถใช้เบอร์มือถือไทยลงทะเบียน และชำระค่าตั๋วรถไฟผ่านบัตร VISA ได้ นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินไปยังหลวงพระบาง จากสนามบินสุวรรณภูมิ บางกอกแอร์เวย์บินทุกวัน ลาวแอร์ไลน์สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน จากสนามบินดอนเมือง ไทยแอร์เอเชียบินทุกวัน และสนามบินเชียงใหม่ ลาวแอร์ไลน์สัปดาห์ละ 4 เที่ยวบิน #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 596 มุมมอง 0 รีวิว
  • **นิยายเรื่อง *The Seven Heirs: Bonds of the Compass*

    ### **Prologue: เงามรณะบนพิธีกรรม
    **สถานที่ : วิหารลับใต้ภูเขาหลวงพระบาง, ลาว**
    **เวลา : 1632 ปีก่อน**

    หมอกควันพิษสีม่วงคลุ้งรอบแท่นบูชาหิน บรรพบุรุษแห่ง 7 ตระกูลยืนเป็นวงกลมรอบ **"ดวงแก้วจตุรภุช"** แสงแก้วสะท้อนภาพหญิงสาวในชุดขาวถูกมัดไว้กลางแท่น—เธอคือ **หยวนเยี่ยน** หญิงร่างวิญญาณอมตะ

    **"เลือดบริสุทธิ์ของเธอจะผนึกคำสาปให้เราชั่วนิรันดร์!"** หัวหน้าตระกูลหลงร้องประกาศ แต่แล้วดวงแก้วก็ระเบิดเป็นแสงวาบวับ ภาพสุดท้ายที่ทุกคนเห็นคือหยวนเยี่ยนยิ้มอย่างเศร้าสร้อย ก่อนวิญญาณทั้งหมดถูกดูดเข้าไปในประตูมิติ...

    ---

    ### **ตอนที่ 1 : เสี้ยวผลึกแก้วแห่งโชคชะตา**
    **สถานที่ : ปักกิ่ง, จีน**
    **เวลา : ปัจจุบัน - 3 วันหลังพิธีล่มสลาย**

    **หลงเหมย** ฝันเห็นแม่ตาบอดส่งเสียงร้องในความมืด เธอตื่นขึ้นมาในห้องแล็บใต้ดินของตระกูลหลง ที่แขนขวาถูกติดตั้งท่อส่งเลือดสีม่วงเชื่อมกับ **หลงเจี้ยน**

    **"เลือดของฉันมีพิษ...พี่จะตายเพราะช่วยฉัน!"** เหมยพยายามดึงสายยางออก
    เจี้ยนจับมือเธอไว้แน่น : **"นี่คือคำขอโทษ...สำหรับเรื่องที่พี่ทำกับหยวนเยี่ยน"**

    บนจอคอมพิวเตอร์ ภาพแผนที่ 7 ทิศเริ่มเชื่อมโยงกัน แสดงตำแหน่ง **"ผอบศิลาทิศเหนือ"** ซ่อนอยู่ใน **ห้องอ่านหนังสือต้องห้าม** ของพระราชวังโบราณ แต่แล้วสัญญาณก็ถูกขัดจังหวะด้วยข้อความจาก **อสรพิษดำ*(blakeMemba)
    *"ม้ามืดคือผู้อยู่เบื้องหลังทุกอย่าง...และเธอไว้ใจเขา!"*

    ---

    ### **ตอนที่ 2 : ดาบสลักรักที่เกียวโต**
    **สถานที่ : ปราสาทนินจาลับ, เกียวโต**
    **เวลา : ฤดูร้อนคืนจันทร์เสี้ยว**

    **ทาเคดะ ฮารุโตะ** ฝึกดาบกับเงาสีแดงที่ปรากฏในกระจก ทุกครั้งที่ฟันถูกต้อง เงาจะกลายเป็นภาพ **ซากุระ** น้องสาวตัวเองที่ถูกแทงกลางใจ

    **"หยุดเล่นละครเสียที!"** ซากุระกระโจนเข้ามาหยุดพี่ชาย พร้อมชูสมุดภาพวาดโบราณที่เพิ่งขโมยมาได้ : **"ดูสิ...ราชปุตกับทาเคดะเคยเป็นพันธมิตร!"**

    ภาพในสมุดแสดงพิธี **"สละสายเลือด"** เมื่อ 500 ปีก่อน หญิงชาวอินเดียในชุดกิโมโนกำลังตัดเส้นเลือดบนแขนสองเด็กชาย—ฮารุโตะจำได้ทันทีว่านั้นคือแม่ของเขา!

    ทันใดนั้น กระจกทุกบานในห้องแตกเป็นเสี่ยงๆ **วีร ราชปุต** ปรากฏตัวพร้อมปืนจ่อมาที่หัวฮารุโตะ :
    *"ยอมแพ้...หรืออยากรู้ความจริงว่าทำไมเลือดเราจึงดึงดูดกัน?"*

    ---

    ### **ตอนที่ 3 : ไฟใต้ธุลีวงเวียน**
    **สถานที่ : ตลาดเครื่องเทศมุมไบ, อินเดีย**
    **เวลา : ตอนเที่ยงวันที่แดดร้อนแรงที่สุด**

    **เดีย วิชายา** ซ่อนตัวอยู่หลังรถบรรทุกเครื่องเทศ ตามหาพยานหลักฐานที่เชื่อมโยง **อานยา** น้องสาวกับองค์กรอสรพิษดำ(blakeMemba) เธอใช้กล้องส่องเห็น **อานยา** กำลังเจาะห้องนิรภัยในตึกระฟ้า

    **"นั่นไม่ใช่น้องฉัน..."** เดียกระซิบด้วยความหวาดหวั่นเมื่อเห็นอานยาฉีดสารสีดำเข้าหลอดเลือดตัวเอง ก่อนที่ร่างเธอจะบิดเบี้ยวเหมือนงูยักษ์

    เดียรีบส่งข้อมูลให้ **อาริ** พี่ชายในบาหลี แต่กลับถูกจับกุมโดย **เหงียนล็อง** สถาปนิกหนุ่มผู้ถือพิมพ์เขียวประหลาด :
    *"คุณคือตัวเชื่อม...แผนที่ทุกอันชี้มาที่คุณ!"*

    ---

    ### **ตอนที่ 4 : ศึกสายฟ้าในสายฝน**
    **สถานที่ : เกาะภูเขาไฟบาหลี, อินโดนีเซีย**
    **เวลา : ขณะภูเขาไฟเริ่มคำรามปะทุ**

    **อาริ วิชายา** ต่อสู้กับปีศาจุตนุคลายเต่าตัวขนาดใหญ่มีเกล็ดแขงปกคลุมทั่วตัวที่หลุดมาจากพิธีกรรมโบราณ เขาใช้มีดกรีดแขนตัวเองให้เลือดไหลลงลาวา :
    *"กินฉันไป...แต่ปล่อยน้องสาวฉันด้วย!"*

    ปีศาจตนุหัวเราะคราง : *"มนุษย์จอมปลอม...เจ้าคือลูกหลานของข้าเอง!"*
    ภาพหลอนแสดงให้อาริเห็นว่า เขาคือทายาทรุ่นที่ 100 ของการผสมพันธุ์ระหว่างมนุษย์กับปีศาจ

    ท่ามกลางความสับสน **เหงียนลาน** ปรากฏตัวพร้อมกระทะไฟ :
    *"ช่วยกันทำอาหารปราบปีศาจศักดิ์สิทธิ์ไหม? สูตรนี้ต้องใช้เลือดคนรักแท้...ซึ่งเราทั้งคู่ไม่มี!"*

    ---

    ### **ตอนที่ 5 : เพลงคำสาปในวงวัตธจักรโคจร**
    **สถานที่ : ห้องสตูดิโอใต้ดินโซล, เกาหลีใต้**
    **เวลา : ตอนเที่ยงคืนตรง**

    **คิมจีอู** กำลังอัดเพลงลับ *"Starlight Requiem"** ในห้องซาวด์พรูฟที่เต็มไปด้วยเครื่องมือแพทย์ **แทฮยอน** นั่งเฝ้าอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่แฮ็กข้อมูลจากดาวเทียม

    **"Oppa...ฉันได้ยินเสียงแม่ในไมโครโฟน"** จีอูสะอื้นขณะเสียงประสานหลอนเริ่มดังขึ้น
    แทฮยอนสแกนคลื่นเสียงแล้วตกใจ : **"นี่ไม่ใช่เสียงแม่...มันเป็นคำสาปจากผลึกดวงแก้ว!"**

    จอคอมพิวเตอร์ระเบิดเป็นไฟสีคราม **อสรพิษดำ**(bmb) บุกเข้ามาพร้อมประกาศ :
    *"เราจะใช้เพลงนี้เปิดประตูมิติ...และนางจะตายในวันที่เสียงเพลงจบลง!"*

    ---

    ### **ตอนที่ 6 : ระบำไฟแห่งอาถรรพณ์**
    **สถานที่ : เรือนแพกลางแม่น้ำเจ้าพระยา, ไทย**
    **เวลา : งานสงกรานต์**

    **ณัฐ ศรีสุวรรณ** ต่อสู้กับนักมวยปริศนาบนสะพานเรือ ทุกหมัดที่ต่อยโดนทำให้เขามองเห็นภาพ **พิมพ์ลดา** น้องสาวกำลังเต้นระบำหน้ากากกลางไฟ

    **"นี่ไม่ใช่การต่อสู้...แต่เป็นการเซ่นสังเวย!"** ณัฐตะโกนขณะรอยสักนาคราชลุกเป็นไฟ
    เขาใช้หมัดสุดท้ายทุบแท่นบูชา จนชิ้นแก้วทิศใต้หลุดออกมา—แต่กลับพบศพ **เดีย วิชายา** ถูกมัดไว้ใต้แท่น!

    พิมพ์ลดาปรากฏตัวในร่างเทพธิดา :
    *"เลือกเถิด...ระหว่างชีวิตนาง กับพลังปราบอสรพิษ?"*

    ---

    ### **ตอนที่ 7 : จุดชนวนอรุณกรรม**
    **สถานที่ : ยอดเขาหลวงพระบาง**
    **เวลา : รุ่งสางวันที่ดวงอาทิตย์อ่อนแสง

    ทุกตระกูลมาบรรจบกันที่ปล่องไฟโบราณ **เหงียนล็อง** ต่อจิ๊กซอว์ชิ้นผลึกแก้วจนสมบูรณ์ แต่กลับพบว่าต้องการ **"เลือดบริสุทธิ์ 7 หยดจากผู้มีรักแท้"**

    - **เจี้ยนกับหยวนเยี่ยน** : แม้เป็นศัตรูแต่เลือดกลับเข้ากัน
    - **ฮารุโตะกับวีร** : พี่น้องต่างมารดาที่เกลียดชังกัน
    - **จีอูกับแทฮยอน** : ความรักพี่น้องที่เกินขอบเขต
    - **ณัฐกับพิมพ์ลดา** : รักที่ถูกสาปให้เป็นสายเลือด
    - **ล็องกับลาน** : ผู้เห็นความฝันร้ายของกันและกัน

    เมื่อเลือดหยดสุดท้ายถูกเติมเต็ม **ประตูมิติวิญญาณ** เปิดออก เผยให้เห็น **หยวนเยี่ยนตัวจริง** ที่ถูกกักขังมานับพันปี :
    *"ขอบคุณ...ที่ทำให้ฉันได้ตายอย่างมนุษย์คนหนึ่งเสียที*

    ---

    ### **Epilogue: สายลมใหม่แห่งเอเชีย**
    **1 ปีต่อมา**
    - **เจี้ยน** เปิดโรงเรียนสอนแพทย์แผนโบราณที่ปักกิ่ง โดยมี **เหมย** เป็นผู้ช่วย
    - **ฮารุโตะกับวีร** ร่วมกันสร้างพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ตระกูลที่เกียวโต
    - **จีอู** กลายเป็นครูสอนดนตรีให้เด็กด้อยโอกาส โดยมี **แทฮยอน** คอยปกป้อง
    - **ณัฐ** สร้างคณะระบำหน้ากากที่ใช้การเต้นรักษาคำสาป
    - **ล็องกับลาน** ค้นพบสูตรอาหารที่ช่วยลบความฝันร้าย

    บนยอดเขาหลวงพระบาง **ดวงแก้วจตุรภุช** ถูกแปรสภาพเป็นอนุสาวรีย์แก้วสีรุ้ง ที่ฐานเขียนไว้ว่า :
    *"ชะตากรรมไม่ใช่สิ่งที่กำหนดไว้...แต่คือสิ่งที่เราเลือกจะเชื่อ"*

    ---

    **Preview ตอนต่อไป :**
    - ความลับสุดท้ายของ "ม้ามืด" ที่แฝงตัวใน 7 ตระกูล
    - การกลับมาของพลังปีศาจตนุในร่างใหม่
    - ความสัมพันธ์ลึกลับระหว่างพิมพ์ลดากับจีอูข้ามชาติภพ...
    **นิยายเรื่อง *The Seven Heirs: Bonds of the Compass* ### **Prologue: เงามรณะบนพิธีกรรม **สถานที่ : วิหารลับใต้ภูเขาหลวงพระบาง, ลาว** **เวลา : 1632 ปีก่อน** หมอกควันพิษสีม่วงคลุ้งรอบแท่นบูชาหิน บรรพบุรุษแห่ง 7 ตระกูลยืนเป็นวงกลมรอบ **"ดวงแก้วจตุรภุช"** แสงแก้วสะท้อนภาพหญิงสาวในชุดขาวถูกมัดไว้กลางแท่น—เธอคือ **หยวนเยี่ยน** หญิงร่างวิญญาณอมตะ **"เลือดบริสุทธิ์ของเธอจะผนึกคำสาปให้เราชั่วนิรันดร์!"** หัวหน้าตระกูลหลงร้องประกาศ แต่แล้วดวงแก้วก็ระเบิดเป็นแสงวาบวับ ภาพสุดท้ายที่ทุกคนเห็นคือหยวนเยี่ยนยิ้มอย่างเศร้าสร้อย ก่อนวิญญาณทั้งหมดถูกดูดเข้าไปในประตูมิติ... --- ### **ตอนที่ 1 : เสี้ยวผลึกแก้วแห่งโชคชะตา** **สถานที่ : ปักกิ่ง, จีน** **เวลา : ปัจจุบัน - 3 วันหลังพิธีล่มสลาย** **หลงเหมย** ฝันเห็นแม่ตาบอดส่งเสียงร้องในความมืด เธอตื่นขึ้นมาในห้องแล็บใต้ดินของตระกูลหลง ที่แขนขวาถูกติดตั้งท่อส่งเลือดสีม่วงเชื่อมกับ **หลงเจี้ยน** **"เลือดของฉันมีพิษ...พี่จะตายเพราะช่วยฉัน!"** เหมยพยายามดึงสายยางออก เจี้ยนจับมือเธอไว้แน่น : **"นี่คือคำขอโทษ...สำหรับเรื่องที่พี่ทำกับหยวนเยี่ยน"** บนจอคอมพิวเตอร์ ภาพแผนที่ 7 ทิศเริ่มเชื่อมโยงกัน แสดงตำแหน่ง **"ผอบศิลาทิศเหนือ"** ซ่อนอยู่ใน **ห้องอ่านหนังสือต้องห้าม** ของพระราชวังโบราณ แต่แล้วสัญญาณก็ถูกขัดจังหวะด้วยข้อความจาก **อสรพิษดำ*(blakeMemba) *"ม้ามืดคือผู้อยู่เบื้องหลังทุกอย่าง...และเธอไว้ใจเขา!"* --- ### **ตอนที่ 2 : ดาบสลักรักที่เกียวโต** **สถานที่ : ปราสาทนินจาลับ, เกียวโต** **เวลา : ฤดูร้อนคืนจันทร์เสี้ยว** **ทาเคดะ ฮารุโตะ** ฝึกดาบกับเงาสีแดงที่ปรากฏในกระจก ทุกครั้งที่ฟันถูกต้อง เงาจะกลายเป็นภาพ **ซากุระ** น้องสาวตัวเองที่ถูกแทงกลางใจ **"หยุดเล่นละครเสียที!"** ซากุระกระโจนเข้ามาหยุดพี่ชาย พร้อมชูสมุดภาพวาดโบราณที่เพิ่งขโมยมาได้ : **"ดูสิ...ราชปุตกับทาเคดะเคยเป็นพันธมิตร!"** ภาพในสมุดแสดงพิธี **"สละสายเลือด"** เมื่อ 500 ปีก่อน หญิงชาวอินเดียในชุดกิโมโนกำลังตัดเส้นเลือดบนแขนสองเด็กชาย—ฮารุโตะจำได้ทันทีว่านั้นคือแม่ของเขา! ทันใดนั้น กระจกทุกบานในห้องแตกเป็นเสี่ยงๆ **วีร ราชปุต** ปรากฏตัวพร้อมปืนจ่อมาที่หัวฮารุโตะ : *"ยอมแพ้...หรืออยากรู้ความจริงว่าทำไมเลือดเราจึงดึงดูดกัน?"* --- ### **ตอนที่ 3 : ไฟใต้ธุลีวงเวียน** **สถานที่ : ตลาดเครื่องเทศมุมไบ, อินเดีย** **เวลา : ตอนเที่ยงวันที่แดดร้อนแรงที่สุด** **เดีย วิชายา** ซ่อนตัวอยู่หลังรถบรรทุกเครื่องเทศ ตามหาพยานหลักฐานที่เชื่อมโยง **อานยา** น้องสาวกับองค์กรอสรพิษดำ(blakeMemba) เธอใช้กล้องส่องเห็น **อานยา** กำลังเจาะห้องนิรภัยในตึกระฟ้า **"นั่นไม่ใช่น้องฉัน..."** เดียกระซิบด้วยความหวาดหวั่นเมื่อเห็นอานยาฉีดสารสีดำเข้าหลอดเลือดตัวเอง ก่อนที่ร่างเธอจะบิดเบี้ยวเหมือนงูยักษ์ เดียรีบส่งข้อมูลให้ **อาริ** พี่ชายในบาหลี แต่กลับถูกจับกุมโดย **เหงียนล็อง** สถาปนิกหนุ่มผู้ถือพิมพ์เขียวประหลาด : *"คุณคือตัวเชื่อม...แผนที่ทุกอันชี้มาที่คุณ!"* --- ### **ตอนที่ 4 : ศึกสายฟ้าในสายฝน** **สถานที่ : เกาะภูเขาไฟบาหลี, อินโดนีเซีย** **เวลา : ขณะภูเขาไฟเริ่มคำรามปะทุ** **อาริ วิชายา** ต่อสู้กับปีศาจุตนุคลายเต่าตัวขนาดใหญ่มีเกล็ดแขงปกคลุมทั่วตัวที่หลุดมาจากพิธีกรรมโบราณ เขาใช้มีดกรีดแขนตัวเองให้เลือดไหลลงลาวา : *"กินฉันไป...แต่ปล่อยน้องสาวฉันด้วย!"* ปีศาจตนุหัวเราะคราง : *"มนุษย์จอมปลอม...เจ้าคือลูกหลานของข้าเอง!"* ภาพหลอนแสดงให้อาริเห็นว่า เขาคือทายาทรุ่นที่ 100 ของการผสมพันธุ์ระหว่างมนุษย์กับปีศาจ ท่ามกลางความสับสน **เหงียนลาน** ปรากฏตัวพร้อมกระทะไฟ : *"ช่วยกันทำอาหารปราบปีศาจศักดิ์สิทธิ์ไหม? สูตรนี้ต้องใช้เลือดคนรักแท้...ซึ่งเราทั้งคู่ไม่มี!"* --- ### **ตอนที่ 5 : เพลงคำสาปในวงวัตธจักรโคจร** **สถานที่ : ห้องสตูดิโอใต้ดินโซล, เกาหลีใต้** **เวลา : ตอนเที่ยงคืนตรง** **คิมจีอู** กำลังอัดเพลงลับ *"Starlight Requiem"** ในห้องซาวด์พรูฟที่เต็มไปด้วยเครื่องมือแพทย์ **แทฮยอน** นั่งเฝ้าอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่แฮ็กข้อมูลจากดาวเทียม **"Oppa...ฉันได้ยินเสียงแม่ในไมโครโฟน"** จีอูสะอื้นขณะเสียงประสานหลอนเริ่มดังขึ้น แทฮยอนสแกนคลื่นเสียงแล้วตกใจ : **"นี่ไม่ใช่เสียงแม่...มันเป็นคำสาปจากผลึกดวงแก้ว!"** จอคอมพิวเตอร์ระเบิดเป็นไฟสีคราม **อสรพิษดำ**(bmb) บุกเข้ามาพร้อมประกาศ : *"เราจะใช้เพลงนี้เปิดประตูมิติ...และนางจะตายในวันที่เสียงเพลงจบลง!"* --- ### **ตอนที่ 6 : ระบำไฟแห่งอาถรรพณ์** **สถานที่ : เรือนแพกลางแม่น้ำเจ้าพระยา, ไทย** **เวลา : งานสงกรานต์** **ณัฐ ศรีสุวรรณ** ต่อสู้กับนักมวยปริศนาบนสะพานเรือ ทุกหมัดที่ต่อยโดนทำให้เขามองเห็นภาพ **พิมพ์ลดา** น้องสาวกำลังเต้นระบำหน้ากากกลางไฟ **"นี่ไม่ใช่การต่อสู้...แต่เป็นการเซ่นสังเวย!"** ณัฐตะโกนขณะรอยสักนาคราชลุกเป็นไฟ เขาใช้หมัดสุดท้ายทุบแท่นบูชา จนชิ้นแก้วทิศใต้หลุดออกมา—แต่กลับพบศพ **เดีย วิชายา** ถูกมัดไว้ใต้แท่น! พิมพ์ลดาปรากฏตัวในร่างเทพธิดา : *"เลือกเถิด...ระหว่างชีวิตนาง กับพลังปราบอสรพิษ?"* --- ### **ตอนที่ 7 : จุดชนวนอรุณกรรม** **สถานที่ : ยอดเขาหลวงพระบาง** **เวลา : รุ่งสางวันที่ดวงอาทิตย์อ่อนแสง ทุกตระกูลมาบรรจบกันที่ปล่องไฟโบราณ **เหงียนล็อง** ต่อจิ๊กซอว์ชิ้นผลึกแก้วจนสมบูรณ์ แต่กลับพบว่าต้องการ **"เลือดบริสุทธิ์ 7 หยดจากผู้มีรักแท้"** - **เจี้ยนกับหยวนเยี่ยน** : แม้เป็นศัตรูแต่เลือดกลับเข้ากัน - **ฮารุโตะกับวีร** : พี่น้องต่างมารดาที่เกลียดชังกัน - **จีอูกับแทฮยอน** : ความรักพี่น้องที่เกินขอบเขต - **ณัฐกับพิมพ์ลดา** : รักที่ถูกสาปให้เป็นสายเลือด - **ล็องกับลาน** : ผู้เห็นความฝันร้ายของกันและกัน เมื่อเลือดหยดสุดท้ายถูกเติมเต็ม **ประตูมิติวิญญาณ** เปิดออก เผยให้เห็น **หยวนเยี่ยนตัวจริง** ที่ถูกกักขังมานับพันปี : *"ขอบคุณ...ที่ทำให้ฉันได้ตายอย่างมนุษย์คนหนึ่งเสียที* --- ### **Epilogue: สายลมใหม่แห่งเอเชีย** **1 ปีต่อมา** - **เจี้ยน** เปิดโรงเรียนสอนแพทย์แผนโบราณที่ปักกิ่ง โดยมี **เหมย** เป็นผู้ช่วย - **ฮารุโตะกับวีร** ร่วมกันสร้างพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ตระกูลที่เกียวโต - **จีอู** กลายเป็นครูสอนดนตรีให้เด็กด้อยโอกาส โดยมี **แทฮยอน** คอยปกป้อง - **ณัฐ** สร้างคณะระบำหน้ากากที่ใช้การเต้นรักษาคำสาป - **ล็องกับลาน** ค้นพบสูตรอาหารที่ช่วยลบความฝันร้าย บนยอดเขาหลวงพระบาง **ดวงแก้วจตุรภุช** ถูกแปรสภาพเป็นอนุสาวรีย์แก้วสีรุ้ง ที่ฐานเขียนไว้ว่า : *"ชะตากรรมไม่ใช่สิ่งที่กำหนดไว้...แต่คือสิ่งที่เราเลือกจะเชื่อ"* --- **Preview ตอนต่อไป :** - ความลับสุดท้ายของ "ม้ามืด" ที่แฝงตัวใน 7 ตระกูล - การกลับมาของพลังปีศาจตนุในร่างใหม่ - ความสัมพันธ์ลึกลับระหว่างพิมพ์ลดากับจีอูข้ามชาติภพ...
    Yay
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1004 มุมมอง 0 รีวิว
  • การเดินทางของ "พระแก้วมรกต"

    เชียงราย ประดิษฐานถึงปี พ.ศ. 1990 (ไม่ปรากฏปีสร้าง)
    ลำปาง พ.ศ.1990-2022 ระยะเวลา 32 ปี
    เชียงใหม่ พ.ศ.2022-2091 ระยะเวลา 69 ปี
    หลวงพระบาง พ.ศ.2091-2103 ระยะเวลา 12 ปี
    เวียงจันทร์ พ.ศ.2103-2322 ระยะวลา 219 ปี
    ธนบุรี พ.ศ.2322-2325 ระยะเวลา 3 ปี
    รัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-ปัจจุบัน ระยะเวลา 243 ปี

    เมื่อวานนี้ 14 มีนาคม 2568 พระแก้วมรกตเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน ได้มีโอกาสอ่านการเดินทางของพระแก้ว ที่ทางเพจโบราณนานมา เรียบเรียงไว้ เห็นว่าน่าสนใจ จึงขอเอามาโพสต์ให้อ่านกัน

    ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก เพจโบราณนานมา
    การเดินทางของ "พระแก้วมรกต" เชียงราย ประดิษฐานถึงปี พ.ศ. 1990 (ไม่ปรากฏปีสร้าง) ลำปาง พ.ศ.1990-2022 ระยะเวลา 32 ปี เชียงใหม่ พ.ศ.2022-2091 ระยะเวลา 69 ปี หลวงพระบาง พ.ศ.2091-2103 ระยะเวลา 12 ปี เวียงจันทร์ พ.ศ.2103-2322 ระยะวลา 219 ปี ธนบุรี พ.ศ.2322-2325 ระยะเวลา 3 ปี รัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-ปัจจุบัน ระยะเวลา 243 ปี เมื่อวานนี้ 14 มีนาคม 2568 พระแก้วมรกตเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน ได้มีโอกาสอ่านการเดินทางของพระแก้ว ที่ทางเพจโบราณนานมา เรียบเรียงไว้ เห็นว่าน่าสนใจ จึงขอเอามาโพสต์ให้อ่านกัน ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก เพจโบราณนานมา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 384 มุมมอง 0 รีวิว
  • [ “พระแก้วมรกต” เป็นของใคร ? ]
    .
    เท้าความก่อนตามหลักฐาน “พระแก้วมรกต” ได้รับการสร้างขึ้นในล้านนา ยุคที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างพะเยาที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย เมืองซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของ “พระแก้วมรกต”
    .
    ขอเริ่มที่สมัย “พญากือนา” กษัตริย์ล้านนา พระองค์ที่ ๖ ครองนครเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๘๙๙–๑๙๒๙ พระอนุชาของพระเจ้ากือนา ชื่อ “เจ้ามหาพรหม” ครองนครเชียงราย เป็นเมืองลูกหลวง ได้ยกกองทัพมาเมืองกำแพงเพชรในสมัยพระเจ้าติปัญญา (พระยาญาณดิศ) ทูลขอ “พระพุทธสิหิงค์” และ “พระแก้วมรกต” ไปเมืองเชียงราย ต่อมาพญากือนาสวรรคต แล้ว “พญาแสนเมืองมา” กษัตริย์ล้านนาองค์ต่อมา พระองค์ที่ ๗ ได้ครองเมืองเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๙๒๘-๑๙๔๔ จึงยกทัพไปรบกับ “เจ้ามหาพรหม” ผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ปรากฏว่า “พญาแสนเมืองมา” ชนะ จึงเชิญ “พระพุทธสิหิงค์” กลับไปเชียงใหม่ได้องค์เดียว ส่วน “พระแก้วมรกต” มีผู้นำไปซ่อนไว้
    .
    ครั้นถึงรัชสมัยของ “พญาสามฝั่งแกน” พระองค์ที่ ๘ ครองนครเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๙๕๙-๑๙๙๐ ที่เชียงรายที่ประดิษฐานของ “พระแก้วมรกต” เกิดอสุนีบาต ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิก (จมูก) เกิดกะเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต พระภิกษุเจ้าอาวาสได้กะเทาะรักและทองออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์ นั่นคือ “พระแก้วมรกต”
    .
    เรื่องนี้ไปถึงพระกรรณ “พญาสามฝั่งแกน” ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ตามพระประสงค์ของพญาแสนเมือง (พระราชบิดา) แต่ช้างทรงของ “พระแก้วมรกต” ไม่ยอมเดินทางมาเชียงใหม่ แต่เดินทางไปลำปางแทน “พญาสามฝั่งแกน” เห็นว่าเมืองลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปประดิษฐานไว้ที่ “วัดพระแก้วดอนเต้า” แทน ประดิษฐานไว้นาน ๓๒ ปี
    .
    ครั้นถึงรัชสมัยของ “พระเจ้าติโลกราช” พระองค์ที่ ๙ ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. ๑๙๘๕–๒๐๓๑) พระองค์ทำการรัฐประหารยึดพระราชอำนาจพญาสามฝั่งแกน (พระราชบิดา) ได้สำเร็จ โดยความช่วยเหลือของหมื่นโลกนครแห่งลำปาง จากนั้นพระองค์ได้เชิญ “พระแก้วมรกต” มายังเชียงใหม่ ในปี ๒๐๒๒ พระองค์โปรดให้บูรณะ “พระเจดีย์หลวง” เพื่อประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” ไว้ ณ ซุ้มบนองค์เจดีย์ด้านตะวันออก แต่ก็ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง
    .
    หลังจากที่ “พระนางจิรประภาเทวี” พระองค์ที่ ๑๔ ครองนครเชียงใหม่ สละราชสมบัติ ตำแหน่งที่ล้านนาว่างลง “สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช” แห่งล้านช้าง ซึ่งเป็นพระญาติกับราชวงศ์ล้านนามา ก็ได้ครองนครเชียงใหม่ เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๑๕ ต่อมาล้านช้างได้เกิดความวุ่นวาย เจ้านายทั้งหลายต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน ขุนนางล้านช้างและเจ้าศรีวรวงษาราชกุมารจึงเชิญ “พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช” แห่งล้านนา เสด็จกลับมานครหลวงพระบาง แห่งล้านช้าง เพื่อรับราชสมบัติระงับเหตุวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น พระองค์ได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” รวมทั้ง “พระพุทธสิหิงค์” “พระแก้วขาว” และ “พระแซกคำ” ไปหลวงพระบางด้วย โดยอ้างว่าหนีศึกพระเจ้าบุเรงนอง แห่งหงสาวดี
    .
    ครั้งถึงรัชสมัย “พระเมกุฏิสุทธิวงศ์” พระองค์ที่ ๑๖ ครองนครเชียงใหม่ ก็ขอคือพระพุทธรูปที่เอาไปจากเชียงใหม่ แต่ได้คืนมาเพียง ๒ องค์ คือ “พระพุทธสิหิงค์” กับ “พระแก้วขาว” เมื่อปี ๒๑๐๓ ทรงย้ายราชธานีจาก “หลวงพระบาง” มา “เวียงจันทน์” ก็เชิญ “พระแก้วมรกต” มาประดิษฐาน ณ ราชธานีใหม่ของอาณาจักรล้านช้าง “พระแก้วมรกต” จึงประดิษฐานอยู่ที่ “อาณาจักรล้านช้าง” ตั้งแต่นั้นมา
    .
    ต่อมาในปี ๒๓๒๒ “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ ๑ ในกาลต่อมา) ยกทัพไปปราบกบฏเมืองเวียงจันทน์ เมื่อปราบกบฏเรียบร้อยแล้วได้ขนย้ายกวาดต้อนบรรดาเชื้อพระวงศ์ ทรัพย์สินมีค่าต่าง ๆ แล้วให้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” และ “พระบาง ” ซึ่งสถิตอยู่ ณ พระวิหารในวังพระเจ้าล้านช้างนั้น อาราธนาลงเรือข้ามฟากมาประดิษฐานไว้ ณ เมืองพานพร้าวด้วย แล้วในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม
    .
    ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสนาดาขึ้น ในพระบรมมหาราชวัง และได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” ลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาประดิษฐานในพระอุโบสถ เมื่อปี ๒๓๒๗ ซึ่ง “พระแก้วมรกต” ก็มาเป็นพระพุทธรูปที่เป็นมิ่งขวัญของบ้านเมืองของประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน ส่วน “พระบาง” ได้คืนให้แก่ หลวงพระบาง ปัจจุบัน คือ “ลาว”
    .
    ดังนั้น โดยสรุปแล้วสถานที่ประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” พอจะเรียงตามช่วงเวลาได้ดังต่อไปนี้จาก เชียงราย (ล้านนา) > ลำปาง (ล้านนา) > เชียงใหม่ (ล้านนา) > หลวงพระบาง (ล้านช้าง) > เวียงจันทน์ (ล้านช้าง) > ธนบุรี > รัตนโกสินทร์ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า “พระแก้วมรกต” เป็นของลาวตั้งแต่ต้น
    .
    การพูดว่า “พระแก้วมรกต” เป็นของลาว จึงเรื่องที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง ถ้าจะพูดให้ถูกตามข้อเท็จจริงต้องพูดว่า “พระแก้วมรกต” เคยประดิษฐานอยู่ที่ลาวในระยะหนึ่งเท่านั้น
    .
    ส่วนเรื่องการสาปแช่งของฝ่ายลาว ต่อเหตุการณ์ที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงให้เจ้าพระยาจักรี (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๑) ทรงอัญเชิญ “พระแก้วมรกต” มากรุงเทพฯ อันนี้ไม่มีหลักฐานว่ารองรับหรือบันทึกไว้ เรื่องคำสาปแช่ง น่าจะเป็นเรื่องที่พูดไปพูดมากันภายหลังมากกว่า เพราะไม่มีเอกสารอะไรที่ยืนยันได้เลย
    .
    อ้างอิง
    (๑) สมบัติ พลายน้อย. (๒๕๖๓). ตำนานพระแก้วมรกต. วารสารวัฒนธรรม ค่าล้ำ...วัฒนธรรม ชาวภูเขา, (๑). ๓๔-๔๑.
    (๒) ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “ตำนานพระแก้วมรกต (ฉบับหลวงพระบาง)” ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระแก้วมรกต. หน้า ๑๑๘. “ตำนานพระแก้วมรกต” ฉบับนี้น่าจะมาจากเวียงจัน มิใช่หลวงพระบาง แต่เจ้าผู้ครองนครหลวงพระบาง
    (๓) โยซิยูกิ มาซูฮารา, ประวัติศาสตร์ลาว. หน้า ๙๘.
    (๔) ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “พระแก้วมรกตคือพระพุทธรูปล้านนาที่มีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา” ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ) พระแก้วมรกต. หน้า ๓๑๓-๓๒๓.
    (๕) พิเศษ เจียจันทร์พงษ์, “คำนำเสนอ พระแก้วมรกตกับประวัติศาสตร์ตำนาน”, ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระแก้วมรกต. หน้า (๑๙).
    [ “พระแก้วมรกต” เป็นของใคร ? ] . เท้าความก่อนตามหลักฐาน “พระแก้วมรกต” ได้รับการสร้างขึ้นในล้านนา ยุคที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างพะเยาที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย เมืองซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของ “พระแก้วมรกต” . ขอเริ่มที่สมัย “พญากือนา” กษัตริย์ล้านนา พระองค์ที่ ๖ ครองนครเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๘๙๙–๑๙๒๙ พระอนุชาของพระเจ้ากือนา ชื่อ “เจ้ามหาพรหม” ครองนครเชียงราย เป็นเมืองลูกหลวง ได้ยกกองทัพมาเมืองกำแพงเพชรในสมัยพระเจ้าติปัญญา (พระยาญาณดิศ) ทูลขอ “พระพุทธสิหิงค์” และ “พระแก้วมรกต” ไปเมืองเชียงราย ต่อมาพญากือนาสวรรคต แล้ว “พญาแสนเมืองมา” กษัตริย์ล้านนาองค์ต่อมา พระองค์ที่ ๗ ได้ครองเมืองเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๙๒๘-๑๙๔๔ จึงยกทัพไปรบกับ “เจ้ามหาพรหม” ผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ปรากฏว่า “พญาแสนเมืองมา” ชนะ จึงเชิญ “พระพุทธสิหิงค์” กลับไปเชียงใหม่ได้องค์เดียว ส่วน “พระแก้วมรกต” มีผู้นำไปซ่อนไว้ . ครั้นถึงรัชสมัยของ “พญาสามฝั่งแกน” พระองค์ที่ ๘ ครองนครเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๙๕๙-๑๙๙๐ ที่เชียงรายที่ประดิษฐานของ “พระแก้วมรกต” เกิดอสุนีบาต ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิก (จมูก) เกิดกะเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต พระภิกษุเจ้าอาวาสได้กะเทาะรักและทองออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์ นั่นคือ “พระแก้วมรกต” . เรื่องนี้ไปถึงพระกรรณ “พญาสามฝั่งแกน” ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ตามพระประสงค์ของพญาแสนเมือง (พระราชบิดา) แต่ช้างทรงของ “พระแก้วมรกต” ไม่ยอมเดินทางมาเชียงใหม่ แต่เดินทางไปลำปางแทน “พญาสามฝั่งแกน” เห็นว่าเมืองลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปประดิษฐานไว้ที่ “วัดพระแก้วดอนเต้า” แทน ประดิษฐานไว้นาน ๓๒ ปี . ครั้นถึงรัชสมัยของ “พระเจ้าติโลกราช” พระองค์ที่ ๙ ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. ๑๙๘๕–๒๐๓๑) พระองค์ทำการรัฐประหารยึดพระราชอำนาจพญาสามฝั่งแกน (พระราชบิดา) ได้สำเร็จ โดยความช่วยเหลือของหมื่นโลกนครแห่งลำปาง จากนั้นพระองค์ได้เชิญ “พระแก้วมรกต” มายังเชียงใหม่ ในปี ๒๐๒๒ พระองค์โปรดให้บูรณะ “พระเจดีย์หลวง” เพื่อประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” ไว้ ณ ซุ้มบนองค์เจดีย์ด้านตะวันออก แต่ก็ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง . หลังจากที่ “พระนางจิรประภาเทวี” พระองค์ที่ ๑๔ ครองนครเชียงใหม่ สละราชสมบัติ ตำแหน่งที่ล้านนาว่างลง “สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช” แห่งล้านช้าง ซึ่งเป็นพระญาติกับราชวงศ์ล้านนามา ก็ได้ครองนครเชียงใหม่ เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๑๕ ต่อมาล้านช้างได้เกิดความวุ่นวาย เจ้านายทั้งหลายต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน ขุนนางล้านช้างและเจ้าศรีวรวงษาราชกุมารจึงเชิญ “พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช” แห่งล้านนา เสด็จกลับมานครหลวงพระบาง แห่งล้านช้าง เพื่อรับราชสมบัติระงับเหตุวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น พระองค์ได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” รวมทั้ง “พระพุทธสิหิงค์” “พระแก้วขาว” และ “พระแซกคำ” ไปหลวงพระบางด้วย โดยอ้างว่าหนีศึกพระเจ้าบุเรงนอง แห่งหงสาวดี . ครั้งถึงรัชสมัย “พระเมกุฏิสุทธิวงศ์” พระองค์ที่ ๑๖ ครองนครเชียงใหม่ ก็ขอคือพระพุทธรูปที่เอาไปจากเชียงใหม่ แต่ได้คืนมาเพียง ๒ องค์ คือ “พระพุทธสิหิงค์” กับ “พระแก้วขาว” เมื่อปี ๒๑๐๓ ทรงย้ายราชธานีจาก “หลวงพระบาง” มา “เวียงจันทน์” ก็เชิญ “พระแก้วมรกต” มาประดิษฐาน ณ ราชธานีใหม่ของอาณาจักรล้านช้าง “พระแก้วมรกต” จึงประดิษฐานอยู่ที่ “อาณาจักรล้านช้าง” ตั้งแต่นั้นมา . ต่อมาในปี ๒๓๒๒ “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ ๑ ในกาลต่อมา) ยกทัพไปปราบกบฏเมืองเวียงจันทน์ เมื่อปราบกบฏเรียบร้อยแล้วได้ขนย้ายกวาดต้อนบรรดาเชื้อพระวงศ์ ทรัพย์สินมีค่าต่าง ๆ แล้วให้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” และ “พระบาง ” ซึ่งสถิตอยู่ ณ พระวิหารในวังพระเจ้าล้านช้างนั้น อาราธนาลงเรือข้ามฟากมาประดิษฐานไว้ ณ เมืองพานพร้าวด้วย แล้วในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม . ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสนาดาขึ้น ในพระบรมมหาราชวัง และได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” ลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาประดิษฐานในพระอุโบสถ เมื่อปี ๒๓๒๗ ซึ่ง “พระแก้วมรกต” ก็มาเป็นพระพุทธรูปที่เป็นมิ่งขวัญของบ้านเมืองของประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน ส่วน “พระบาง” ได้คืนให้แก่ หลวงพระบาง ปัจจุบัน คือ “ลาว” . ดังนั้น โดยสรุปแล้วสถานที่ประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” พอจะเรียงตามช่วงเวลาได้ดังต่อไปนี้จาก เชียงราย (ล้านนา) > ลำปาง (ล้านนา) > เชียงใหม่ (ล้านนา) > หลวงพระบาง (ล้านช้าง) > เวียงจันทน์ (ล้านช้าง) > ธนบุรี > รัตนโกสินทร์ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า “พระแก้วมรกต” เป็นของลาวตั้งแต่ต้น . การพูดว่า “พระแก้วมรกต” เป็นของลาว จึงเรื่องที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง ถ้าจะพูดให้ถูกตามข้อเท็จจริงต้องพูดว่า “พระแก้วมรกต” เคยประดิษฐานอยู่ที่ลาวในระยะหนึ่งเท่านั้น . ส่วนเรื่องการสาปแช่งของฝ่ายลาว ต่อเหตุการณ์ที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงให้เจ้าพระยาจักรี (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๑) ทรงอัญเชิญ “พระแก้วมรกต” มากรุงเทพฯ อันนี้ไม่มีหลักฐานว่ารองรับหรือบันทึกไว้ เรื่องคำสาปแช่ง น่าจะเป็นเรื่องที่พูดไปพูดมากันภายหลังมากกว่า เพราะไม่มีเอกสารอะไรที่ยืนยันได้เลย . อ้างอิง (๑) สมบัติ พลายน้อย. (๒๕๖๓). ตำนานพระแก้วมรกต. วารสารวัฒนธรรม ค่าล้ำ...วัฒนธรรม ชาวภูเขา, (๑). ๓๔-๔๑. (๒) ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “ตำนานพระแก้วมรกต (ฉบับหลวงพระบาง)” ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระแก้วมรกต. หน้า ๑๑๘. “ตำนานพระแก้วมรกต” ฉบับนี้น่าจะมาจากเวียงจัน มิใช่หลวงพระบาง แต่เจ้าผู้ครองนครหลวงพระบาง (๓) โยซิยูกิ มาซูฮารา, ประวัติศาสตร์ลาว. หน้า ๙๘. (๔) ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “พระแก้วมรกตคือพระพุทธรูปล้านนาที่มีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา” ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ) พระแก้วมรกต. หน้า ๓๑๓-๓๒๓. (๕) พิเศษ เจียจันทร์พงษ์, “คำนำเสนอ พระแก้วมรกตกับประวัติศาสตร์ตำนาน”, ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระแก้วมรกต. หน้า (๑๙).
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 937 มุมมอง 0 รีวิว
  • 122 ปี ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง: ฝ่าอิทธิพลจักรวรรดินิยม รักษาเอกราช ทวงคืนอธิปไตยจันทบุรี

    📅 ย้อนกลับไปเมื่อ 122 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ถือเป็นหมุดหมายสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 เมื่อไทยและฝรั่งเศส 🇫🇷 ลงนามในสัญญาปักปันเขตแดน ระหว่างไทย-กัมพูชา และเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นดินแดน ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของฝรั่งเศสในขณะนั้น

    ภายใต้ข้อตกลงนี้ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ที่อยู่ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับการถอนทหารฝรั่งเศส ออกจากจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถูกยึดครองมา ตั้งแต่เหตุการณ์ วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 หรือสงครามฝรั่งเศส-สยาม (พ.ศ. 2436)

    อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของแรงกดดัน จากจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไทยต้องเผชิญกับ การบีบบังคับทางการเมืองเพิ่มเติม จนต้องยอมเสียเมืองตราด และหมู่เกาะใกล้เคียง เพื่อแลกกับการได้จันทบุรีคืน 📌

    🌍 กระแสล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส ในอินโดจีน 🔹
    ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลอย่างรวดเร็ว ในภูมิภาคอินโดจีน โดยสามารถยึดครองเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ได้สำเร็จ ทำให้ไทยกลายเป็นรัฐกันชน ที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากฝรั่งเศส ทางด้านตะวันออก

    💡 ฝรั่งเศสต้องการควบคุมดินแดน แถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมด เพื่อสร้างเส้นทางการค้าจากจีน ลงมาสู่อินโดจีนของตน ในขณะที่ไทย ต้องพยายามรักษาเอกราช และดินแดนของตนไว้

    🇹🇭 ไทยภายใต้รัชกาลที่ 5 พยายามรักษาเอกราช
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงภัยคุกคาม จากจักรวรรดินิยม และพยายามใช้นโยบายการทูตเชิงรุก เพื่อรักษาความเป็นอิสระของไทย ทรงดำเนินแผนการ ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย เพื่อลดข้ออ้างของมหาอำนาจตะวันตก ในการเข้ามาแทรกแซง

    อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสใช้ข้ออ้างเรื่องอธิปไตย เหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นเหตุผลในการเรียกร้องดินแดนเพิ่มเติมจากไทย

    🔹 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 จุดเริ่มต้นของการเสียเปรียบทางดินแดน
    📍 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศส ใช้กำลังทหารเรือ บุกรุกปากแม่น้ำเจ้าพระยา และปะทะกับทหารไทย จนเป็นเหตุให้รัฐบาลไทย ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญา ที่เสียเปรียบ

    📜 ข้อกำหนดสำคัญของสนธิสัญญา ร.ศ. 112
    ✔ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด รวมถึงลาว ให้แก่ฝรั่งเศส
    ✔ ฝรั่งเศสเข้ายึดจังหวัดจันทบุรี เป็นหลักประกันบังคับให้ไทย ปฏิบัติตามสัญญา
    ✔ ไทยต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมหาศาล ให้ฝรั่งเศส

    🛑 นี่เป็นครั้งแรกที่ไทย ต้องเสียดินแดนจำนวนมาก ให้แก่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส และทำให้สถานการณ์ของไทยในภูมิภาคนี้ ล่อแหลมยิ่งขึ้น

    🔹 สนธิสัญญา พ.ศ. 2446 การทวงคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วยดินแดนเพิ่ม
    หลังจากไทย ถูกฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรี ไว้นานถึง 10 ปี รัฐบาลไทยพยายามเจรจา ขอคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วย การยอมมอบดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ที่ตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส

    📌 สนธิสัญญานี้ ลงนามเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ทำให้ไทยได้รับจันทบุรีคืน แต่ฝรั่งเศสกลับยื่นเงื่อนไข ให้ไทยต้องยกเมืองตราด และหมู่เกาะอื่นๆ แทน

    🌏 ผลลัพธ์ของสนธิสัญญานี้
    ✅ ไทยได้จันทบุรีคืนจากฝรั่งเศส
    ❌ ไทยเสียเมืองตราด และหมู่เกาะให้ฝรั่งเศส
    ✅ ไทยยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ต้องจำยอมต่ออำนาจ ของมหาอำนาจตะวันตก

    🔹 ไทยทวงคืนเมืองตราดสำเร็จในปี พ.ศ. 2450
    4 ปี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ไทยสามารถทวงคืนเมืองตราด กลับมาได้สำเร็จ โดยแลกกับดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ที่อยู่ทางฝั่งกัมพูชา ให้ฝรั่งเศสแทน

    นี่เป็นอีกหนึ่งครั้ง ที่ไทยต้องเสียสละดินแดน เพื่อให้สามารถปกป้อง เอกราชของตนเองเอาไว้

    🧐 จากเหตุการณ์ ปักปันเขตแดนในปี พ.ศ. 2446 ไทยได้เรียนรู้ว่า
    ✔ อำนาจทางการทูต มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไทยสามารถใช้การเจรจา เพื่อลดความเสียหายได้ แม้ว่าจะต้องยอมเสียดินแดนบางส่วน
    ✔ จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไม่เคยหยุดกดดันไทย ต้องอาศัยนโยบายเชิงรุก เพื่อรักษาเอกราช
    ✔ ไทยต้องพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เพื่อป้องกันการถูกรุกรานในอนาคต

    🎯 แม้ว่าไทยจะต้องยอม สูญเสียดินแดนบางส่วน แต่ก็สามารถรักษา ความเป็นเอกราชเอาไว้ได้ ซึ่งแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ตกเป็นอาณานิคม ของจักรวรรดินิยมในช่วงเวลานั้น

    🔹 122 ปี แห่งความเปลี่ยนแปลงทางดินแดน และอธิปไตยของไทย
    🌏 ผ่านไป 122 ปี นับตั้งแต่สนธิสัญญา ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง เหตุการณ์นี้ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของไทย 🇹🇭

    📌 ถึงแม้ไทยจะเสียดินแดนไปบางส่วน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไทยยังคงรักษาเอกราชไว้ได้ ไม่ต้องตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน 💬

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 131208 ก.พ. 2568

    #ประวัติศาสตร์ไทย #ไทยฝรั่งเศส #อธิปไตย #วิกฤติการณ์รศ112 #เอกราชไทย
    122 ปี ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง: ฝ่าอิทธิพลจักรวรรดินิยม รักษาเอกราช ทวงคืนอธิปไตยจันทบุรี 📅 ย้อนกลับไปเมื่อ 122 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ถือเป็นหมุดหมายสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 เมื่อไทยและฝรั่งเศส 🇫🇷 ลงนามในสัญญาปักปันเขตแดน ระหว่างไทย-กัมพูชา และเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นดินแดน ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของฝรั่งเศสในขณะนั้น ภายใต้ข้อตกลงนี้ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ที่อยู่ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับการถอนทหารฝรั่งเศส ออกจากจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถูกยึดครองมา ตั้งแต่เหตุการณ์ วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 หรือสงครามฝรั่งเศส-สยาม (พ.ศ. 2436) อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของแรงกดดัน จากจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไทยต้องเผชิญกับ การบีบบังคับทางการเมืองเพิ่มเติม จนต้องยอมเสียเมืองตราด และหมู่เกาะใกล้เคียง เพื่อแลกกับการได้จันทบุรีคืน 📌 🌍 กระแสล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส ในอินโดจีน 🔹 ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลอย่างรวดเร็ว ในภูมิภาคอินโดจีน โดยสามารถยึดครองเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ได้สำเร็จ ทำให้ไทยกลายเป็นรัฐกันชน ที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากฝรั่งเศส ทางด้านตะวันออก 💡 ฝรั่งเศสต้องการควบคุมดินแดน แถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมด เพื่อสร้างเส้นทางการค้าจากจีน ลงมาสู่อินโดจีนของตน ในขณะที่ไทย ต้องพยายามรักษาเอกราช และดินแดนของตนไว้ 🇹🇭 ไทยภายใต้รัชกาลที่ 5 พยายามรักษาเอกราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงภัยคุกคาม จากจักรวรรดินิยม และพยายามใช้นโยบายการทูตเชิงรุก เพื่อรักษาความเป็นอิสระของไทย ทรงดำเนินแผนการ ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย เพื่อลดข้ออ้างของมหาอำนาจตะวันตก ในการเข้ามาแทรกแซง อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสใช้ข้ออ้างเรื่องอธิปไตย เหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นเหตุผลในการเรียกร้องดินแดนเพิ่มเติมจากไทย 🔹 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 จุดเริ่มต้นของการเสียเปรียบทางดินแดน 📍 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศส ใช้กำลังทหารเรือ บุกรุกปากแม่น้ำเจ้าพระยา และปะทะกับทหารไทย จนเป็นเหตุให้รัฐบาลไทย ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญา ที่เสียเปรียบ 📜 ข้อกำหนดสำคัญของสนธิสัญญา ร.ศ. 112 ✔ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด รวมถึงลาว ให้แก่ฝรั่งเศส ✔ ฝรั่งเศสเข้ายึดจังหวัดจันทบุรี เป็นหลักประกันบังคับให้ไทย ปฏิบัติตามสัญญา ✔ ไทยต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมหาศาล ให้ฝรั่งเศส 🛑 นี่เป็นครั้งแรกที่ไทย ต้องเสียดินแดนจำนวนมาก ให้แก่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส และทำให้สถานการณ์ของไทยในภูมิภาคนี้ ล่อแหลมยิ่งขึ้น 🔹 สนธิสัญญา พ.ศ. 2446 การทวงคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วยดินแดนเพิ่ม หลังจากไทย ถูกฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรี ไว้นานถึง 10 ปี รัฐบาลไทยพยายามเจรจา ขอคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วย การยอมมอบดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ที่ตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส 📌 สนธิสัญญานี้ ลงนามเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ทำให้ไทยได้รับจันทบุรีคืน แต่ฝรั่งเศสกลับยื่นเงื่อนไข ให้ไทยต้องยกเมืองตราด และหมู่เกาะอื่นๆ แทน 🌏 ผลลัพธ์ของสนธิสัญญานี้ ✅ ไทยได้จันทบุรีคืนจากฝรั่งเศส ❌ ไทยเสียเมืองตราด และหมู่เกาะให้ฝรั่งเศส ✅ ไทยยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ต้องจำยอมต่ออำนาจ ของมหาอำนาจตะวันตก 🔹 ไทยทวงคืนเมืองตราดสำเร็จในปี พ.ศ. 2450 4 ปี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ไทยสามารถทวงคืนเมืองตราด กลับมาได้สำเร็จ โดยแลกกับดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ที่อยู่ทางฝั่งกัมพูชา ให้ฝรั่งเศสแทน นี่เป็นอีกหนึ่งครั้ง ที่ไทยต้องเสียสละดินแดน เพื่อให้สามารถปกป้อง เอกราชของตนเองเอาไว้ 🧐 จากเหตุการณ์ ปักปันเขตแดนในปี พ.ศ. 2446 ไทยได้เรียนรู้ว่า ✔ อำนาจทางการทูต มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไทยสามารถใช้การเจรจา เพื่อลดความเสียหายได้ แม้ว่าจะต้องยอมเสียดินแดนบางส่วน ✔ จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไม่เคยหยุดกดดันไทย ต้องอาศัยนโยบายเชิงรุก เพื่อรักษาเอกราช ✔ ไทยต้องพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เพื่อป้องกันการถูกรุกรานในอนาคต 🎯 แม้ว่าไทยจะต้องยอม สูญเสียดินแดนบางส่วน แต่ก็สามารถรักษา ความเป็นเอกราชเอาไว้ได้ ซึ่งแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ตกเป็นอาณานิคม ของจักรวรรดินิยมในช่วงเวลานั้น 🔹 122 ปี แห่งความเปลี่ยนแปลงทางดินแดน และอธิปไตยของไทย 🌏 ผ่านไป 122 ปี นับตั้งแต่สนธิสัญญา ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง เหตุการณ์นี้ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของไทย 🇹🇭 📌 ถึงแม้ไทยจะเสียดินแดนไปบางส่วน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไทยยังคงรักษาเอกราชไว้ได้ ไม่ต้องตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน 💬 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 131208 ก.พ. 2568 #ประวัติศาสตร์ไทย #ไทยฝรั่งเศส #อธิปไตย #วิกฤติการณ์รศ112 #เอกราชไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1006 มุมมอง 0 รีวิว
  • อรุณสวัสดิ์ครับ พี่น้องชาวไทย

    "สีดาลุยไฟ" ณ.วัดเชียงทอง ผมถ่ายภาพนี้เมื่อครั้งไปถ่ายทำรายการสารคดีที่ หลวงพระบาง
    อรุณสวัสดิ์ครับ พี่น้องชาวไทย "สีดาลุยไฟ" ณ.วัดเชียงทอง ผมถ่ายภาพนี้เมื่อครั้งไปถ่ายทำรายการสารคดีที่ หลวงพระบาง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 336 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกฯ สิงคโปร์ บินโลว์คอสต์กลับบ้าน

    กลายเป็นเรื่องฮือฮาของชาวสิงคโปร์ เมื่อ ลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ เดินทางกลับจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อวันเสาร์ที่ 12 ต.ค. ด้วยสายการบินสกู๊ต (Scoot) โลว์คอสต์แอร์ไลน์ของกลุ่มสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ TR351 ออกจากท่าอากาศยานวัตไต เวลา 12.55 น. ถึงท่าอากาศยานชางงี เวลา 17.05 น.

    เที่ยวบินดังกล่าว มีคณะทัวร์ผู้สูงอายุชาวสิงคโปร์กว่า 40 คน เพิ่งกลับจากการท่องเที่ยวในประเทศลาว เมื่อพบเห็นนายหว่องก็ความแปลกใจและตื่นเต้น วีดีโอคลิปของผู้สื่อข่าวสำนักข่าวซีเอ็นเอ (CNA) ของสิงคโปร์ เผยให้เห็นนายหว่องขึ้นไปบนเครื่องบิน ได้รับเสียงปรบมือและเสียงเชียร์ นายหว่องจึงโบกมือทักทายด้วยรอยยิ้มแล้วนั่งลงบนที่นั่ง 1C ซึ่งอยู่หน้าสุด

    เมื่อกลับถึงประเทศสิงคโปร์ นายหว่องได้โพสต์วีดีโอคลิป พร้อมข้อความระบุว่า "เมื่อกลับจากลาว รู้สึกเหมือนอยู่บ้านเมื่อขึ้นเครื่องบิน ขอบคุณทุกคนสำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่น" โดยเป็นภาพที่ผู้โดยสารต่างส่งเสียงเชียร์และปรบมือบนเครื่องบิน ซึ่งผู้สนับสนุนนายหว่องต่างชื่นชมในความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนติดดิน แทนที่จะนั่งเครื่องบินส่วนตัวหรือเที่ยวบินชั้นธุรกิจ

    อย่างไรก็ตาม เที่ยวบินจากสิงคโปร์ไปเวียงจันทน์ มีเพียงสายการบินสกู๊ต ให้บริการสัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ถ้าจะนั่งแบบฟลูเซอร์วิสต้องไปต่อเครื่องที่กรุงเทพฯ ซึ่งนายหว่องเปิดเผยว่า จะเพิ่มเป็น 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2567 โดยชาวสิงคโปร์จำนวนมากนิยมเดินทางไปยังหลวงพระบาง รวมทั้งมายังประเทศลาวเพื่อทำงานพัฒนาชุมชนและงานอาสาสมัคร

    ด้านสื่อฝ่ายต่อต้านรัฐบาลสิงคโปร์อย่าง ดิออนไลน์ซิตีเซน (TOC) ที่ย้ายไปตั้งสำนักงานที่ไต้หวัน วิจารณ์ว่าการกลับบ้านของนายหว่องมีอะไรน่าตื่นเต้น แทนที่การหารือระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการทูต การค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สมควรได้รับความสนใจมากกว่า และกังวลว่ากรณีนี้จะถูกใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ว่าเข้าถึงได้และเป็นกันเอง การดึงดูดความสนใจเที่ยวบินราคาประหยัด ย้ำให้เห็นถึงพลังในการกำหนดวาระทางการเมือง แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาค่าครองชีพและเศรษฐกิจของประเทศ

    สำหรับลอว์เรนซ์ หว่อง วัย 51 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของสิงคโปร์ รับตำแหน่งต่อจากนายลี เซียนลุง ที่ดำรงตำแหน่งมานานถึง 20 ปี เคยเป็นนักเศรษฐศาสตร์ อดีตข้าราชการ และประธานกรรมการบริหารของธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (MAS) มีผลงานโดดเด่นในด้านการเป็นประธานร่วมของคณะทำงานของรัฐบาลเพื่อต่อสู้โรคระบาดโควิด-19

    #Newskit #LawrenceWong #Scoot
    นายกฯ สิงคโปร์ บินโลว์คอสต์กลับบ้าน กลายเป็นเรื่องฮือฮาของชาวสิงคโปร์ เมื่อ ลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ เดินทางกลับจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อวันเสาร์ที่ 12 ต.ค. ด้วยสายการบินสกู๊ต (Scoot) โลว์คอสต์แอร์ไลน์ของกลุ่มสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ TR351 ออกจากท่าอากาศยานวัตไต เวลา 12.55 น. ถึงท่าอากาศยานชางงี เวลา 17.05 น. เที่ยวบินดังกล่าว มีคณะทัวร์ผู้สูงอายุชาวสิงคโปร์กว่า 40 คน เพิ่งกลับจากการท่องเที่ยวในประเทศลาว เมื่อพบเห็นนายหว่องก็ความแปลกใจและตื่นเต้น วีดีโอคลิปของผู้สื่อข่าวสำนักข่าวซีเอ็นเอ (CNA) ของสิงคโปร์ เผยให้เห็นนายหว่องขึ้นไปบนเครื่องบิน ได้รับเสียงปรบมือและเสียงเชียร์ นายหว่องจึงโบกมือทักทายด้วยรอยยิ้มแล้วนั่งลงบนที่นั่ง 1C ซึ่งอยู่หน้าสุด เมื่อกลับถึงประเทศสิงคโปร์ นายหว่องได้โพสต์วีดีโอคลิป พร้อมข้อความระบุว่า "เมื่อกลับจากลาว รู้สึกเหมือนอยู่บ้านเมื่อขึ้นเครื่องบิน ขอบคุณทุกคนสำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่น" โดยเป็นภาพที่ผู้โดยสารต่างส่งเสียงเชียร์และปรบมือบนเครื่องบิน ซึ่งผู้สนับสนุนนายหว่องต่างชื่นชมในความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนติดดิน แทนที่จะนั่งเครื่องบินส่วนตัวหรือเที่ยวบินชั้นธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เที่ยวบินจากสิงคโปร์ไปเวียงจันทน์ มีเพียงสายการบินสกู๊ต ให้บริการสัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ถ้าจะนั่งแบบฟลูเซอร์วิสต้องไปต่อเครื่องที่กรุงเทพฯ ซึ่งนายหว่องเปิดเผยว่า จะเพิ่มเป็น 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2567 โดยชาวสิงคโปร์จำนวนมากนิยมเดินทางไปยังหลวงพระบาง รวมทั้งมายังประเทศลาวเพื่อทำงานพัฒนาชุมชนและงานอาสาสมัคร ด้านสื่อฝ่ายต่อต้านรัฐบาลสิงคโปร์อย่าง ดิออนไลน์ซิตีเซน (TOC) ที่ย้ายไปตั้งสำนักงานที่ไต้หวัน วิจารณ์ว่าการกลับบ้านของนายหว่องมีอะไรน่าตื่นเต้น แทนที่การหารือระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการทูต การค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สมควรได้รับความสนใจมากกว่า และกังวลว่ากรณีนี้จะถูกใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ว่าเข้าถึงได้และเป็นกันเอง การดึงดูดความสนใจเที่ยวบินราคาประหยัด ย้ำให้เห็นถึงพลังในการกำหนดวาระทางการเมือง แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาค่าครองชีพและเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับลอว์เรนซ์ หว่อง วัย 51 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของสิงคโปร์ รับตำแหน่งต่อจากนายลี เซียนลุง ที่ดำรงตำแหน่งมานานถึง 20 ปี เคยเป็นนักเศรษฐศาสตร์ อดีตข้าราชการ และประธานกรรมการบริหารของธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (MAS) มีผลงานโดดเด่นในด้านการเป็นประธานร่วมของคณะทำงานของรัฐบาลเพื่อต่อสู้โรคระบาดโควิด-19 #Newskit #LawrenceWong #Scoot
    Like
    Love
    Yay
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1077 มุมมอง 0 รีวิว
  • อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


    อาณาจักรสุโขทัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์โดยมีหลักฐานชัดเจนในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์(พ่อขุนบางกลางหาว พ.ศ.1781 - 1822) ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยในช่วงรัชสมัยของพระองค์มีความมั่นคงจาก ทรงแผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยได้เจริญขึ้นทุกสาขา ดังปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเจริญ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ การสงคราม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ประเพณี การปกครอง การเศรษฐกิจ การสังคม ปรัชญา พระพุทธศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พระร่วง หรือ สุโขทัย) ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยสืบต่อมาเป็นเวลา 200 ปี ก็ถูกรวมเข้ากับ อาณาจักรอยุธยา

    ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวัง และวัดมากถึง 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ ได้รับการบูรรปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากร ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี นักท่องเที่ยวสามารถเดินเท้า นั่งรถราง หรือ ขี่จักรยาน เที่ยวชมได้อย่างสะดวกปลอดภัย

    ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2534 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และ อุทยานประวัติศาตร์ศรีสัชนาลัย ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นนับเป็น ตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศไทย


    นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมได้ ๓ วิธี คือ เดินเท้า ปั่นจักรยาน และ การนั่งรถรางไฟฟ้า โดยทางอุทยานฯ มีรถจักรยานให้เช่าด้วย นอกจากนี้ หน้าโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแต่ละแห่งยังมีป้าย OR Code สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟน สามารถสแกนเข้าไปอ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ มีให้เลือก ๔ ภาษา ได้แก่ ไทย จีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส

    เมืองสุโขทัย ก่อตั้งขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สันนิษฐานว่าสุโขทัยในยุคแรกได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบขอมจากละโว้หรือลพบุรี ต่อมายกฐานะเป็นราชธานี โดยมีพ่อขุนบางกลางหาว หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์ เป็นจุดเริ่มต้นอาณาจักรแห่งแรกของไทย ราวปี ๑๗๙๒ อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ ๓ บันทึกในศิลาจารึกบอกถึงเขตอาณาจักรอันกว้างขวาง ทิศเหนือจดเมืองแพร่ น่าน หลวงพระบาง ทิศใต้จดเมืองนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกจดเมืองเวียงจันทน์ และทิศตะวันตกจดเมืองหงสาวดี การปกครองเป็นระบบ พ่อปกครองลูก เอื้อสิทธิเสรีภาพให้ประชาชน

    จุดเด่นของผังเมืองสุโขทัยคือระบบชลประทาน เป็นระบบที่กระจายน้ำเพื่อการทำเกษตรกรรม อุปโภค บริโภคให้ชาวเมืองได้อย่างทั่วถึง และยังสามารถช่วยระบายน้ำเอ่อล้นช่วงหน้าน้ำหลากได้ดีเช่นกัน ในช่วงการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงชาวเมืองสุโขทัยมีความเป็นอยู่อย่างสงบร่มเย็น ด้วยพระองค์ทรงมีความเอาใจใส่ทำนุบำรุงศาสนาอย่างเต็มที่ สังเกตจากลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้น ส่วนใหญ่จะมีพระโอษฐ์ยิ้ม สะท้อนเอกลักษณ์ของยุคสมัย และจำนวนวัดวาที่ถูกสร้างขึ้นอย่างมากมาย เมื่อปี ๒๕๓๔ องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอีก ๒ แห่ง ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร”
    อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์โดยมีหลักฐานชัดเจนในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์(พ่อขุนบางกลางหาว พ.ศ.1781 - 1822) ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยในช่วงรัชสมัยของพระองค์มีความมั่นคงจาก ทรงแผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยได้เจริญขึ้นทุกสาขา ดังปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเจริญ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ การสงคราม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ประเพณี การปกครอง การเศรษฐกิจ การสังคม ปรัชญา พระพุทธศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พระร่วง หรือ สุโขทัย) ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยสืบต่อมาเป็นเวลา 200 ปี ก็ถูกรวมเข้ากับ อาณาจักรอยุธยา ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวัง และวัดมากถึง 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ ได้รับการบูรรปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากร ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี นักท่องเที่ยวสามารถเดินเท้า นั่งรถราง หรือ ขี่จักรยาน เที่ยวชมได้อย่างสะดวกปลอดภัย ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2534 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และ อุทยานประวัติศาตร์ศรีสัชนาลัย ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นนับเป็น ตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศไทย นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมได้ ๓ วิธี คือ เดินเท้า ปั่นจักรยาน และ การนั่งรถรางไฟฟ้า โดยทางอุทยานฯ มีรถจักรยานให้เช่าด้วย นอกจากนี้ หน้าโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแต่ละแห่งยังมีป้าย OR Code สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟน สามารถสแกนเข้าไปอ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ มีให้เลือก ๔ ภาษา ได้แก่ ไทย จีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส เมืองสุโขทัย ก่อตั้งขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สันนิษฐานว่าสุโขทัยในยุคแรกได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบขอมจากละโว้หรือลพบุรี ต่อมายกฐานะเป็นราชธานี โดยมีพ่อขุนบางกลางหาว หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์ เป็นจุดเริ่มต้นอาณาจักรแห่งแรกของไทย ราวปี ๑๗๙๒ อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ ๓ บันทึกในศิลาจารึกบอกถึงเขตอาณาจักรอันกว้างขวาง ทิศเหนือจดเมืองแพร่ น่าน หลวงพระบาง ทิศใต้จดเมืองนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกจดเมืองเวียงจันทน์ และทิศตะวันตกจดเมืองหงสาวดี การปกครองเป็นระบบ พ่อปกครองลูก เอื้อสิทธิเสรีภาพให้ประชาชน จุดเด่นของผังเมืองสุโขทัยคือระบบชลประทาน เป็นระบบที่กระจายน้ำเพื่อการทำเกษตรกรรม อุปโภค บริโภคให้ชาวเมืองได้อย่างทั่วถึง และยังสามารถช่วยระบายน้ำเอ่อล้นช่วงหน้าน้ำหลากได้ดีเช่นกัน ในช่วงการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงชาวเมืองสุโขทัยมีความเป็นอยู่อย่างสงบร่มเย็น ด้วยพระองค์ทรงมีความเอาใจใส่ทำนุบำรุงศาสนาอย่างเต็มที่ สังเกตจากลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้น ส่วนใหญ่จะมีพระโอษฐ์ยิ้ม สะท้อนเอกลักษณ์ของยุคสมัย และจำนวนวัดวาที่ถูกสร้างขึ้นอย่างมากมาย เมื่อปี ๒๕๓๔ องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอีก ๒ แห่ง ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร”
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1074 มุมมอง 0 รีวิว
  • ท่วมแล้วไปไหน? จับตาอีสาน 7 จังหวัดริมโขง

    อิทธิพลของพายุยางิ ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ฝนตกทั้งวันอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้มวลน้ำจากประเทศเมียนมา ไหลเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยแม่น้ำสายและแม่น้ำรวก เข้าท่วมเขตเทศบาลตำบลแม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา ตามมาด้วยแม่น้ำกก เข้าท่วมเขตเทศบาลนครเชียงราย ข้อมูลสะสม ณ วันที่ 12 ก.ย. จังหวัดเชียงรายได้รับความเสียหายรวม 6 อำเภอ 25 ตำบล 125 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (22 ชุมชน) ตลาดชุมชนเศรษฐกิจ 2 แห่ง ร้านค้าและสถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบ 51,353 ครัวเรือน เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 2 ราย

    ปลายทางของมวลน้ำทั้งสองสายอยู่ที่อำเภอเชียงแสน โดยแม่น้ำรวกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สามเหลี่ยมทองคำ ส่วนแม่น้ำกกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สบกก (ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน) แต่การระบายน้ำเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากแม่น้ำโขงมีระดับน้ำที่สูงขึ้น และเข้าท่วมเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว นอกจากนี้ ยังมีมวลน้ำสาขาจาก สปป.ลาว ไหลลงสู่แม่น้ำโขง โดยเฉพาะแม่น้ำทาจากแขวงหลวงน้ำทา ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว รวมทั้งแขวงหลวงพระบาง แขวงอุดมไซ และแขวงไชยบุรี ยังประสบภัยน้ำท่วมอีกด้วย

    สิ่งที่น่าเป็นห่วงนับจากนี้ คือ 7 จังหวัดภาคอีสานที่อยู่ริมแม่น้ำโขง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) แจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ อ.เชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.00-3.60 เมตร คาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 0.50-1.50 เมตร ในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. อ.เมือง จ.หนองคาย และ อ.เมือง จ.บึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.50-3.90 เมตร และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 1.50-2.50 เมตรในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. จ.นครพนม จ.มุกดาหาร จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.00-2.60 เมตร ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 0.50-1.30 เมตร

    ด้านเทศบาลเมืองหนองคาย ยกระดับการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมเป็นธงสีแดง (มากกว่า 12 เมตร) สภาวะน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงอันตรายต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ให้อาศัยอยู่ในสถานที่ปลอดภัยและปฏิบัติตามข้อสั่งการ โดยระดับน้ำยังคงมีระดับสูงขึ้นอย่างช้าๆ ล่าสุดเมื่อเวลา 00.00 น. วันนี้ (13 ก.ย.) ระดับน้ำที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ มีระดับอยู่ที่ 12.82 เมตร สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยของตลิ่งถึง 62 เซนติเมตร

    (ระบบติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง https://monitoring.tnmc-is.org)

    #Newskit #น้ำท่วม #แม่น้ำโขง
    ท่วมแล้วไปไหน? จับตาอีสาน 7 จังหวัดริมโขง อิทธิพลของพายุยางิ ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ฝนตกทั้งวันอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้มวลน้ำจากประเทศเมียนมา ไหลเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยแม่น้ำสายและแม่น้ำรวก เข้าท่วมเขตเทศบาลตำบลแม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา ตามมาด้วยแม่น้ำกก เข้าท่วมเขตเทศบาลนครเชียงราย ข้อมูลสะสม ณ วันที่ 12 ก.ย. จังหวัดเชียงรายได้รับความเสียหายรวม 6 อำเภอ 25 ตำบล 125 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (22 ชุมชน) ตลาดชุมชนเศรษฐกิจ 2 แห่ง ร้านค้าและสถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบ 51,353 ครัวเรือน เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 2 ราย ปลายทางของมวลน้ำทั้งสองสายอยู่ที่อำเภอเชียงแสน โดยแม่น้ำรวกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สามเหลี่ยมทองคำ ส่วนแม่น้ำกกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สบกก (ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน) แต่การระบายน้ำเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากแม่น้ำโขงมีระดับน้ำที่สูงขึ้น และเข้าท่วมเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว นอกจากนี้ ยังมีมวลน้ำสาขาจาก สปป.ลาว ไหลลงสู่แม่น้ำโขง โดยเฉพาะแม่น้ำทาจากแขวงหลวงน้ำทา ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว รวมทั้งแขวงหลวงพระบาง แขวงอุดมไซ และแขวงไชยบุรี ยังประสบภัยน้ำท่วมอีกด้วย สิ่งที่น่าเป็นห่วงนับจากนี้ คือ 7 จังหวัดภาคอีสานที่อยู่ริมแม่น้ำโขง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) แจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ อ.เชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.00-3.60 เมตร คาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 0.50-1.50 เมตร ในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. อ.เมือง จ.หนองคาย และ อ.เมือง จ.บึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.50-3.90 เมตร และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 1.50-2.50 เมตรในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. จ.นครพนม จ.มุกดาหาร จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.00-2.60 เมตร ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 0.50-1.30 เมตร ด้านเทศบาลเมืองหนองคาย ยกระดับการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมเป็นธงสีแดง (มากกว่า 12 เมตร) สภาวะน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงอันตรายต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ให้อาศัยอยู่ในสถานที่ปลอดภัยและปฏิบัติตามข้อสั่งการ โดยระดับน้ำยังคงมีระดับสูงขึ้นอย่างช้าๆ ล่าสุดเมื่อเวลา 00.00 น. วันนี้ (13 ก.ย.) ระดับน้ำที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ มีระดับอยู่ที่ 12.82 เมตร สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยของตลิ่งถึง 62 เซนติเมตร (ระบบติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง https://monitoring.tnmc-is.org) #Newskit #น้ำท่วม #แม่น้ำโขง
    Like
    Sad
    7
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1539 มุมมอง 0 รีวิว