เกิงฟู คนบอกเวลา
สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับนาฬิกาหยดน้ำโบราณ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบ้านที่จะมีอุปกรณ์บอกเวลาเพราะนาฬิกาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายหรือนาฬิกาหยดน้ำนั้น ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้เฉพาะในวังหรือกลุ่มคนมีอันจะกิน ส่วนชาวบ้านธรรมดานั้น กลางวันมักอาศัยการสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และกลางคืนสามารถจุดธูปเพื่อวัดเวลา ซึ่งธูปแต่ละชนิดออกแบบมาให้เผาไหม้หมดในเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาทีหรือ 60 นาทีเป็นต้น แต่การจุดธูปนั้นสิ้นเปลืองและไม่สามารถทำได้ตลอดคืน ดังนั้น ชาวบ้านทั่วไปจึงต้องพึ่งพาคนบอกเวลา
คนบอกเวลาหรือ ‘เกิงฟู’ (更夫) หรือ ‘ต่าเกิงเหริน’ (打更人) เป็นหนึ่งในตัวละครไร้นามที่เราเห็นบ่อยในซีรีส์ยามค่ำคืนที่เดินตีฆ้องหรือตีกระบอกไม้และตะโกน “ระวังฟืนระวังไฟ” วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน
ก่อนอื่นคุยกันเล็กน้อยเกี่ยวกับการนับเวลาจีนโบราณ เพื่อนเพจหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าจีนโบราณแบ่งเวลาเป็นสิบสองชั่วยาม ชั่วยามหนึ่งเทียบเท่าสองชั่วโมง แต่เชื่อว่าหลายท่านคงงงกับคำว่า ‘เกิง’ ซึ่งเป็นคำที่ใช้สำหรับช่วงเวลากลางคืน
จีนโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้ายามหรือ ‘เกิง’ (更 ซึ่งในสมัยโบราณออกเสียงว่า ‘จิง’ ต่อมาปรับใช้เป็น ‘เกิง’ จวบจนปัจจุบัน) โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 1-3 ทุ่ม เรียกว่า ‘เกิงที่หนึ่ง’ หรือยามหนึ่ง ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่เตรียมตัวเข้านอนสำหรับคนทั่วไป และไปสิ้นสุดที่ตี 3-5 เรียกว่า ‘เกิงที่ห้า’ หรือยามห้า ซึ่งก็คือเวลาตื่นและเตรียมพร้อมไปทำงานนั่นเอง จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘ยามสามกลางดึก’ (三更半夜 / ซันเกิงป้านเยี่ย) ซึ่งยามสามก็คือช่วงเวลากึ่งกลางของกลางคืนพอดี (คือระหว่าง 5 ทุ่ม - ตี 1)
จริงๆ แล้วโดยปกติคนบอกยามหรือเกิงฟูมักออกเดินเป็นคู่ ไม่ค่อยฉายเดี่ยวเหมือนที่เห็นในซีรีส์ เพื่อว่าจะได้ช่วยเหลือกันได้หากเกิดเหตุอะไร พวกเขาไม่ใช่อาสาสมัคร ได้เงินค่าจ้างจากรัฐบาล แต่ไม่ใช่ข้าราชการและมีสถานะทางสังคมเหมือนพวกที่ใช้แรงงานหยาบทั่วไป
เกิงฟูมีมาแต่ยุคสมัยใด Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่ได้ชัดเจน บ้างว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่ไม่ว่ายุคสมัยใด เกิงฟูจริงๆ แล้วทำหลายหน้าที่มากกว่าการบอกเวลา หน้าที่สำคัญอีกหน้าที่หนึ่งคือการดูแลและเตือนภัยหรือก็คือหน้าที่ รปภ. นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการคอยสอดส่องหรือเตือนภัยเพลิงไหม้ สัตว์ป่าบุกรุก ขโมยขโจร หรือแม้แต่คนแปลกหน้าเพ่นพ่านยามวิกาล ดังนั้นในช่วงสงคราม เมืองสำคัญต่างๆ จะมีเกิงฟูมากกว่าปกติ นอกจากนี้ เกิงฟูยังเตือนเรื่องสภาพอากาศเช่น หนาวจัด จะมีฝน ลมแรง ฯลฯ ดังนั้นคำตะโกนของเกิงฟูจะผันแปรไปตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่แค่ “อากาศแห้ง ระวังฟืนระวังไฟ” แบบที่เรามักได้ยินในซีรีส์อย่างเดียว
เกิงฟูบอกเวลาอย่างไร?
เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกเหมือน Storyฯ ว่าเขาก็คงตีฆ้องหรือกระบอกไม้เป็นจำนวนครั้งตามเวลา เช่น ยามที่หนึ่ง ตีหนึ่งครั้ง ฯลฯ แต่จริงๆ แล้วเขามีจังหวะยาวสั้นหรือใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ เพื่อว่าเวลาคนฟังจะได้ไม่หลงว่าได้ยินซ้ำของเก่าหรือไม่ Storyฯ ลองเปรียบเทียบข้อมูลดู พบว่ามีสองเวอร์ชั่นสรุปได้ดังนี้
เวอร์ชั่นแรก ใช้จังหวะยาว(ช้า)และสั้น(เร็ว)สลับกัน คือ
- เกิงที่หนึ่ง ตียาวหนึ่งครั้งสั้นหนึ่งครั้ง รวมสามชุด
- เกิงที่สอง ตีสั้นติดกันสองครั้ง ตีได้ต่อเนื่องหลายๆ ชุด ประหนึ่งว่าไล่ให้ไปนอนได้แล้ว
- เกิงที่สาม ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสองครั้ง รวมสามชุด
- เกิงที่สี่ ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสามครั้ง รวมสามชุด
- เกิงที่ห้า ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสี่ครั้ง รวมสามชุด
เวอร์ชั่นที่สอง ใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ ดังนี้
- เกิงที่หนึ่ง ตีฆ้องหนึ่งครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
- เกิงที่สอง ตีฆ้องสองครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
- เกิงที่สาม ตีตีฆ้องสามครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
- เกิงที่สี่ ตีฆ้องสี่ครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
- เกิงที่ห้า ตีแต่กระบอกไม้เท่านั้น ตีได้เรื่อยๆ รัวๆ ประหนึ่งว่ากำลังปลุกให้ลุกขึ้นมาทำงานได้แล้ว
Storyฯ ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของจังหวะการตีทั้งสองเวอร์ชั่นนี้ แต่ที่เล่ามาคือเพื่อให้เพื่อนเพจเห็นภาพว่า การตีบอกเวลาจะมีจังหวะของมันอยู่ คนที่ได้ยินก็จะรู้เวลาได้โดยง่าย
ในเมืองใหญ่จะมีหอนาฬิกาและ/หรือหอสังเกตการณ์ ที่หอนี้มีทหารหรือเจ้าหน้าที่คอยสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมระวังภัยและจับตาดูนาฬิกาในหอแล้วส่งสัญญาณบอกเวลาเช่นเป่าแตรหรือตีกลอง โดยทำงานเป็นกะ เฝ้าตลอดทั้งวันทั้งคืน และด้วยการสื่อสารจากหอสังเกตการณ์เหล่านี้ บรรดาเกิงฟูก็จะออกเดินทางเพื่อบอกเวลาและรายงานสภาพแวดล้อมทันทีที่ถึงต้นโมงยาม ในเมืองเล็กก็จะมีจุดศูนย์กลางสักแห่งที่มีนาฬิกาหรือเครื่องบอกเวลาสักชนิดหนึ่ง (เช่น วัดที่มีการจุดธูปต่อเนื่อง) เพื่อให้เหล่าเกิงฟูเริ่มงานได้เช่นกัน
ทีนี้คำถามต่อมาคือ เกิงฟูเดินไปเรื่อยๆ เส้นทางใกล้ไกลไม่เหมือนกัน แล้วพวกเขาจะรู้เวลาได้อย่างไรว่ากาลเวลาล่วงเข้าอีกยามหนึ่งแล้ว?
สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น การบอกเวลาเหล่านี้ไม่ต้องการความ ‘เป๊ะ’ เหมือนปัจจุบัน แต่เป็นการบอกโดยประมาณเพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมีหลักเกณฑ์โดยคร่าว แต่อย่างไรก็ดี เกิงฟูมีตัวช่วยค่ะ บางคนพกธูปบอกเวลาซึ่งได้รับมาจากจุดเริ่มต้น บางคนพกป้ายที่เรียกว่า ‘เกิงผาย’ ซึ่งมีการกำหนดไว้เป็นจำนวนก้าวว่าเดินกี่ก้าวเปลี่ยนป้ายครั้งหนึ่ง เมื่อครบจำนวนครั้งก็ครบยาม
การเล่าข้างต้นเป็นการเล่าโดยคร่าวเพื่อให้เห็นภาพนะคะ จริงๆ แล้วมันมีรายละเอียดกว่านี้ เช่นมีการปรับจำนวนก้าวในช่วงฤดูต่างๆ เพราะในสมัยโบราณมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การนับเวลา เช่นหนึ่งเค่ออาจหมายถึง 13 นาทีกว่า หรือ 15 นาทีแล้วแต่ยุคสมัย
อาชีพเกิงฟูนี้นับได้ว่าสำคัญมากสำหรับสังคมจีนโบราณ แต่ชีวิตของเกิงฟูลำเค็ญไม่น้อยเพราะต้องฟันฝ่าอุปสรรคทางสภาพอากาศ เงินเดือนก็น้อยนิด และยังต้องมีสมาธิในการทำงานดีมากด้วย เพื่อนเพจว่าไหม?
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/602047304_120231588
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://baike.baidu.com/item/打更/2113152
https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_8909910
https://k.sina.cn/article_7722512403_1cc4c3013001011q40.html?from=news
https://www.163.com/dy/article/G08FUAJD05430TXY.html
https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe
https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe
#เกิงฟู #ต่าเกิงเหริน #คนบอกเวลาจีนโบราณ #ตีฆ้องบอกเวลา
สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับนาฬิกาหยดน้ำโบราณ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบ้านที่จะมีอุปกรณ์บอกเวลาเพราะนาฬิกาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายหรือนาฬิกาหยดน้ำนั้น ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้เฉพาะในวังหรือกลุ่มคนมีอันจะกิน ส่วนชาวบ้านธรรมดานั้น กลางวันมักอาศัยการสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และกลางคืนสามารถจุดธูปเพื่อวัดเวลา ซึ่งธูปแต่ละชนิดออกแบบมาให้เผาไหม้หมดในเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาทีหรือ 60 นาทีเป็นต้น แต่การจุดธูปนั้นสิ้นเปลืองและไม่สามารถทำได้ตลอดคืน ดังนั้น ชาวบ้านทั่วไปจึงต้องพึ่งพาคนบอกเวลา
คนบอกเวลาหรือ ‘เกิงฟู’ (更夫) หรือ ‘ต่าเกิงเหริน’ (打更人) เป็นหนึ่งในตัวละครไร้นามที่เราเห็นบ่อยในซีรีส์ยามค่ำคืนที่เดินตีฆ้องหรือตีกระบอกไม้และตะโกน “ระวังฟืนระวังไฟ” วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน
ก่อนอื่นคุยกันเล็กน้อยเกี่ยวกับการนับเวลาจีนโบราณ เพื่อนเพจหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าจีนโบราณแบ่งเวลาเป็นสิบสองชั่วยาม ชั่วยามหนึ่งเทียบเท่าสองชั่วโมง แต่เชื่อว่าหลายท่านคงงงกับคำว่า ‘เกิง’ ซึ่งเป็นคำที่ใช้สำหรับช่วงเวลากลางคืน
จีนโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้ายามหรือ ‘เกิง’ (更 ซึ่งในสมัยโบราณออกเสียงว่า ‘จิง’ ต่อมาปรับใช้เป็น ‘เกิง’ จวบจนปัจจุบัน) โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 1-3 ทุ่ม เรียกว่า ‘เกิงที่หนึ่ง’ หรือยามหนึ่ง ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่เตรียมตัวเข้านอนสำหรับคนทั่วไป และไปสิ้นสุดที่ตี 3-5 เรียกว่า ‘เกิงที่ห้า’ หรือยามห้า ซึ่งก็คือเวลาตื่นและเตรียมพร้อมไปทำงานนั่นเอง จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘ยามสามกลางดึก’ (三更半夜 / ซันเกิงป้านเยี่ย) ซึ่งยามสามก็คือช่วงเวลากึ่งกลางของกลางคืนพอดี (คือระหว่าง 5 ทุ่ม - ตี 1)
จริงๆ แล้วโดยปกติคนบอกยามหรือเกิงฟูมักออกเดินเป็นคู่ ไม่ค่อยฉายเดี่ยวเหมือนที่เห็นในซีรีส์ เพื่อว่าจะได้ช่วยเหลือกันได้หากเกิดเหตุอะไร พวกเขาไม่ใช่อาสาสมัคร ได้เงินค่าจ้างจากรัฐบาล แต่ไม่ใช่ข้าราชการและมีสถานะทางสังคมเหมือนพวกที่ใช้แรงงานหยาบทั่วไป
เกิงฟูมีมาแต่ยุคสมัยใด Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่ได้ชัดเจน บ้างว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่ไม่ว่ายุคสมัยใด เกิงฟูจริงๆ แล้วทำหลายหน้าที่มากกว่าการบอกเวลา หน้าที่สำคัญอีกหน้าที่หนึ่งคือการดูแลและเตือนภัยหรือก็คือหน้าที่ รปภ. นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการคอยสอดส่องหรือเตือนภัยเพลิงไหม้ สัตว์ป่าบุกรุก ขโมยขโจร หรือแม้แต่คนแปลกหน้าเพ่นพ่านยามวิกาล ดังนั้นในช่วงสงคราม เมืองสำคัญต่างๆ จะมีเกิงฟูมากกว่าปกติ นอกจากนี้ เกิงฟูยังเตือนเรื่องสภาพอากาศเช่น หนาวจัด จะมีฝน ลมแรง ฯลฯ ดังนั้นคำตะโกนของเกิงฟูจะผันแปรไปตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่แค่ “อากาศแห้ง ระวังฟืนระวังไฟ” แบบที่เรามักได้ยินในซีรีส์อย่างเดียว
เกิงฟูบอกเวลาอย่างไร?
เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกเหมือน Storyฯ ว่าเขาก็คงตีฆ้องหรือกระบอกไม้เป็นจำนวนครั้งตามเวลา เช่น ยามที่หนึ่ง ตีหนึ่งครั้ง ฯลฯ แต่จริงๆ แล้วเขามีจังหวะยาวสั้นหรือใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ เพื่อว่าเวลาคนฟังจะได้ไม่หลงว่าได้ยินซ้ำของเก่าหรือไม่ Storyฯ ลองเปรียบเทียบข้อมูลดู พบว่ามีสองเวอร์ชั่นสรุปได้ดังนี้
เวอร์ชั่นแรก ใช้จังหวะยาว(ช้า)และสั้น(เร็ว)สลับกัน คือ
- เกิงที่หนึ่ง ตียาวหนึ่งครั้งสั้นหนึ่งครั้ง รวมสามชุด
- เกิงที่สอง ตีสั้นติดกันสองครั้ง ตีได้ต่อเนื่องหลายๆ ชุด ประหนึ่งว่าไล่ให้ไปนอนได้แล้ว
- เกิงที่สาม ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสองครั้ง รวมสามชุด
- เกิงที่สี่ ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสามครั้ง รวมสามชุด
- เกิงที่ห้า ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสี่ครั้ง รวมสามชุด
เวอร์ชั่นที่สอง ใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ ดังนี้
- เกิงที่หนึ่ง ตีฆ้องหนึ่งครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
- เกิงที่สอง ตีฆ้องสองครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
- เกิงที่สาม ตีตีฆ้องสามครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
- เกิงที่สี่ ตีฆ้องสี่ครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
- เกิงที่ห้า ตีแต่กระบอกไม้เท่านั้น ตีได้เรื่อยๆ รัวๆ ประหนึ่งว่ากำลังปลุกให้ลุกขึ้นมาทำงานได้แล้ว
Storyฯ ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของจังหวะการตีทั้งสองเวอร์ชั่นนี้ แต่ที่เล่ามาคือเพื่อให้เพื่อนเพจเห็นภาพว่า การตีบอกเวลาจะมีจังหวะของมันอยู่ คนที่ได้ยินก็จะรู้เวลาได้โดยง่าย
ในเมืองใหญ่จะมีหอนาฬิกาและ/หรือหอสังเกตการณ์ ที่หอนี้มีทหารหรือเจ้าหน้าที่คอยสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมระวังภัยและจับตาดูนาฬิกาในหอแล้วส่งสัญญาณบอกเวลาเช่นเป่าแตรหรือตีกลอง โดยทำงานเป็นกะ เฝ้าตลอดทั้งวันทั้งคืน และด้วยการสื่อสารจากหอสังเกตการณ์เหล่านี้ บรรดาเกิงฟูก็จะออกเดินทางเพื่อบอกเวลาและรายงานสภาพแวดล้อมทันทีที่ถึงต้นโมงยาม ในเมืองเล็กก็จะมีจุดศูนย์กลางสักแห่งที่มีนาฬิกาหรือเครื่องบอกเวลาสักชนิดหนึ่ง (เช่น วัดที่มีการจุดธูปต่อเนื่อง) เพื่อให้เหล่าเกิงฟูเริ่มงานได้เช่นกัน
ทีนี้คำถามต่อมาคือ เกิงฟูเดินไปเรื่อยๆ เส้นทางใกล้ไกลไม่เหมือนกัน แล้วพวกเขาจะรู้เวลาได้อย่างไรว่ากาลเวลาล่วงเข้าอีกยามหนึ่งแล้ว?
สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น การบอกเวลาเหล่านี้ไม่ต้องการความ ‘เป๊ะ’ เหมือนปัจจุบัน แต่เป็นการบอกโดยประมาณเพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมีหลักเกณฑ์โดยคร่าว แต่อย่างไรก็ดี เกิงฟูมีตัวช่วยค่ะ บางคนพกธูปบอกเวลาซึ่งได้รับมาจากจุดเริ่มต้น บางคนพกป้ายที่เรียกว่า ‘เกิงผาย’ ซึ่งมีการกำหนดไว้เป็นจำนวนก้าวว่าเดินกี่ก้าวเปลี่ยนป้ายครั้งหนึ่ง เมื่อครบจำนวนครั้งก็ครบยาม
การเล่าข้างต้นเป็นการเล่าโดยคร่าวเพื่อให้เห็นภาพนะคะ จริงๆ แล้วมันมีรายละเอียดกว่านี้ เช่นมีการปรับจำนวนก้าวในช่วงฤดูต่างๆ เพราะในสมัยโบราณมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การนับเวลา เช่นหนึ่งเค่ออาจหมายถึง 13 นาทีกว่า หรือ 15 นาทีแล้วแต่ยุคสมัย
อาชีพเกิงฟูนี้นับได้ว่าสำคัญมากสำหรับสังคมจีนโบราณ แต่ชีวิตของเกิงฟูลำเค็ญไม่น้อยเพราะต้องฟันฝ่าอุปสรรคทางสภาพอากาศ เงินเดือนก็น้อยนิด และยังต้องมีสมาธิในการทำงานดีมากด้วย เพื่อนเพจว่าไหม?
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/602047304_120231588
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://baike.baidu.com/item/打更/2113152
https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_8909910
https://k.sina.cn/article_7722512403_1cc4c3013001011q40.html?from=news
https://www.163.com/dy/article/G08FUAJD05430TXY.html
https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe
https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe
#เกิงฟู #ต่าเกิงเหริน #คนบอกเวลาจีนโบราณ #ตีฆ้องบอกเวลา
เกิงฟู คนบอกเวลา
สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับนาฬิกาหยดน้ำโบราณ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบ้านที่จะมีอุปกรณ์บอกเวลาเพราะนาฬิกาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายหรือนาฬิกาหยดน้ำนั้น ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้เฉพาะในวังหรือกลุ่มคนมีอันจะกิน ส่วนชาวบ้านธรรมดานั้น กลางวันมักอาศัยการสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และกลางคืนสามารถจุดธูปเพื่อวัดเวลา ซึ่งธูปแต่ละชนิดออกแบบมาให้เผาไหม้หมดในเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาทีหรือ 60 นาทีเป็นต้น แต่การจุดธูปนั้นสิ้นเปลืองและไม่สามารถทำได้ตลอดคืน ดังนั้น ชาวบ้านทั่วไปจึงต้องพึ่งพาคนบอกเวลา
คนบอกเวลาหรือ ‘เกิงฟู’ (更夫) หรือ ‘ต่าเกิงเหริน’ (打更人) เป็นหนึ่งในตัวละครไร้นามที่เราเห็นบ่อยในซีรีส์ยามค่ำคืนที่เดินตีฆ้องหรือตีกระบอกไม้และตะโกน “ระวังฟืนระวังไฟ” วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน
ก่อนอื่นคุยกันเล็กน้อยเกี่ยวกับการนับเวลาจีนโบราณ เพื่อนเพจหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าจีนโบราณแบ่งเวลาเป็นสิบสองชั่วยาม ชั่วยามหนึ่งเทียบเท่าสองชั่วโมง แต่เชื่อว่าหลายท่านคงงงกับคำว่า ‘เกิง’ ซึ่งเป็นคำที่ใช้สำหรับช่วงเวลากลางคืน
จีนโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้ายามหรือ ‘เกิง’ (更 ซึ่งในสมัยโบราณออกเสียงว่า ‘จิง’ ต่อมาปรับใช้เป็น ‘เกิง’ จวบจนปัจจุบัน) โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 1-3 ทุ่ม เรียกว่า ‘เกิงที่หนึ่ง’ หรือยามหนึ่ง ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่เตรียมตัวเข้านอนสำหรับคนทั่วไป และไปสิ้นสุดที่ตี 3-5 เรียกว่า ‘เกิงที่ห้า’ หรือยามห้า ซึ่งก็คือเวลาตื่นและเตรียมพร้อมไปทำงานนั่นเอง จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘ยามสามกลางดึก’ (三更半夜 / ซันเกิงป้านเยี่ย) ซึ่งยามสามก็คือช่วงเวลากึ่งกลางของกลางคืนพอดี (คือระหว่าง 5 ทุ่ม - ตี 1)
จริงๆ แล้วโดยปกติคนบอกยามหรือเกิงฟูมักออกเดินเป็นคู่ ไม่ค่อยฉายเดี่ยวเหมือนที่เห็นในซีรีส์ เพื่อว่าจะได้ช่วยเหลือกันได้หากเกิดเหตุอะไร พวกเขาไม่ใช่อาสาสมัคร ได้เงินค่าจ้างจากรัฐบาล แต่ไม่ใช่ข้าราชการและมีสถานะทางสังคมเหมือนพวกที่ใช้แรงงานหยาบทั่วไป
เกิงฟูมีมาแต่ยุคสมัยใด Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่ได้ชัดเจน บ้างว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่ไม่ว่ายุคสมัยใด เกิงฟูจริงๆ แล้วทำหลายหน้าที่มากกว่าการบอกเวลา หน้าที่สำคัญอีกหน้าที่หนึ่งคือการดูแลและเตือนภัยหรือก็คือหน้าที่ รปภ. นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการคอยสอดส่องหรือเตือนภัยเพลิงไหม้ สัตว์ป่าบุกรุก ขโมยขโจร หรือแม้แต่คนแปลกหน้าเพ่นพ่านยามวิกาล ดังนั้นในช่วงสงคราม เมืองสำคัญต่างๆ จะมีเกิงฟูมากกว่าปกติ นอกจากนี้ เกิงฟูยังเตือนเรื่องสภาพอากาศเช่น หนาวจัด จะมีฝน ลมแรง ฯลฯ ดังนั้นคำตะโกนของเกิงฟูจะผันแปรไปตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่แค่ “อากาศแห้ง ระวังฟืนระวังไฟ” แบบที่เรามักได้ยินในซีรีส์อย่างเดียว
เกิงฟูบอกเวลาอย่างไร?
เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกเหมือน Storyฯ ว่าเขาก็คงตีฆ้องหรือกระบอกไม้เป็นจำนวนครั้งตามเวลา เช่น ยามที่หนึ่ง ตีหนึ่งครั้ง ฯลฯ แต่จริงๆ แล้วเขามีจังหวะยาวสั้นหรือใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ เพื่อว่าเวลาคนฟังจะได้ไม่หลงว่าได้ยินซ้ำของเก่าหรือไม่ Storyฯ ลองเปรียบเทียบข้อมูลดู พบว่ามีสองเวอร์ชั่นสรุปได้ดังนี้
เวอร์ชั่นแรก ใช้จังหวะยาว(ช้า)และสั้น(เร็ว)สลับกัน คือ
- เกิงที่หนึ่ง ตียาวหนึ่งครั้งสั้นหนึ่งครั้ง รวมสามชุด
- เกิงที่สอง ตีสั้นติดกันสองครั้ง ตีได้ต่อเนื่องหลายๆ ชุด ประหนึ่งว่าไล่ให้ไปนอนได้แล้ว
- เกิงที่สาม ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสองครั้ง รวมสามชุด
- เกิงที่สี่ ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสามครั้ง รวมสามชุด
- เกิงที่ห้า ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสี่ครั้ง รวมสามชุด
เวอร์ชั่นที่สอง ใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ ดังนี้
- เกิงที่หนึ่ง ตีฆ้องหนึ่งครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
- เกิงที่สอง ตีฆ้องสองครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
- เกิงที่สาม ตีตีฆ้องสามครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
- เกิงที่สี่ ตีฆ้องสี่ครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
- เกิงที่ห้า ตีแต่กระบอกไม้เท่านั้น ตีได้เรื่อยๆ รัวๆ ประหนึ่งว่ากำลังปลุกให้ลุกขึ้นมาทำงานได้แล้ว
Storyฯ ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของจังหวะการตีทั้งสองเวอร์ชั่นนี้ แต่ที่เล่ามาคือเพื่อให้เพื่อนเพจเห็นภาพว่า การตีบอกเวลาจะมีจังหวะของมันอยู่ คนที่ได้ยินก็จะรู้เวลาได้โดยง่าย
ในเมืองใหญ่จะมีหอนาฬิกาและ/หรือหอสังเกตการณ์ ที่หอนี้มีทหารหรือเจ้าหน้าที่คอยสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมระวังภัยและจับตาดูนาฬิกาในหอแล้วส่งสัญญาณบอกเวลาเช่นเป่าแตรหรือตีกลอง โดยทำงานเป็นกะ เฝ้าตลอดทั้งวันทั้งคืน และด้วยการสื่อสารจากหอสังเกตการณ์เหล่านี้ บรรดาเกิงฟูก็จะออกเดินทางเพื่อบอกเวลาและรายงานสภาพแวดล้อมทันทีที่ถึงต้นโมงยาม ในเมืองเล็กก็จะมีจุดศูนย์กลางสักแห่งที่มีนาฬิกาหรือเครื่องบอกเวลาสักชนิดหนึ่ง (เช่น วัดที่มีการจุดธูปต่อเนื่อง) เพื่อให้เหล่าเกิงฟูเริ่มงานได้เช่นกัน
ทีนี้คำถามต่อมาคือ เกิงฟูเดินไปเรื่อยๆ เส้นทางใกล้ไกลไม่เหมือนกัน แล้วพวกเขาจะรู้เวลาได้อย่างไรว่ากาลเวลาล่วงเข้าอีกยามหนึ่งแล้ว?
สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น การบอกเวลาเหล่านี้ไม่ต้องการความ ‘เป๊ะ’ เหมือนปัจจุบัน แต่เป็นการบอกโดยประมาณเพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมีหลักเกณฑ์โดยคร่าว แต่อย่างไรก็ดี เกิงฟูมีตัวช่วยค่ะ บางคนพกธูปบอกเวลาซึ่งได้รับมาจากจุดเริ่มต้น บางคนพกป้ายที่เรียกว่า ‘เกิงผาย’ ซึ่งมีการกำหนดไว้เป็นจำนวนก้าวว่าเดินกี่ก้าวเปลี่ยนป้ายครั้งหนึ่ง เมื่อครบจำนวนครั้งก็ครบยาม
การเล่าข้างต้นเป็นการเล่าโดยคร่าวเพื่อให้เห็นภาพนะคะ จริงๆ แล้วมันมีรายละเอียดกว่านี้ เช่นมีการปรับจำนวนก้าวในช่วงฤดูต่างๆ เพราะในสมัยโบราณมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การนับเวลา เช่นหนึ่งเค่ออาจหมายถึง 13 นาทีกว่า หรือ 15 นาทีแล้วแต่ยุคสมัย
อาชีพเกิงฟูนี้นับได้ว่าสำคัญมากสำหรับสังคมจีนโบราณ แต่ชีวิตของเกิงฟูลำเค็ญไม่น้อยเพราะต้องฟันฝ่าอุปสรรคทางสภาพอากาศ เงินเดือนก็น้อยนิด และยังต้องมีสมาธิในการทำงานดีมากด้วย เพื่อนเพจว่าไหม?
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/602047304_120231588
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://baike.baidu.com/item/打更/2113152
https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_8909910
https://k.sina.cn/article_7722512403_1cc4c3013001011q40.html?from=news
https://www.163.com/dy/article/G08FUAJD05430TXY.html
https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe
https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe
#เกิงฟู #ต่าเกิงเหริน #คนบอกเวลาจีนโบราณ #ตีฆ้องบอกเวลา
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
332 มุมมอง
0 รีวิว