• เกิงฟู คนบอกเวลา

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับนาฬิกาหยดน้ำโบราณ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบ้านที่จะมีอุปกรณ์บอกเวลาเพราะนาฬิกาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายหรือนาฬิกาหยดน้ำนั้น ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้เฉพาะในวังหรือกลุ่มคนมีอันจะกิน ส่วนชาวบ้านธรรมดานั้น กลางวันมักอาศัยการสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และกลางคืนสามารถจุดธูปเพื่อวัดเวลา ซึ่งธูปแต่ละชนิดออกแบบมาให้เผาไหม้หมดในเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาทีหรือ 60 นาทีเป็นต้น แต่การจุดธูปนั้นสิ้นเปลืองและไม่สามารถทำได้ตลอดคืน ดังนั้น ชาวบ้านทั่วไปจึงต้องพึ่งพาคนบอกเวลา

    คนบอกเวลาหรือ ‘เกิงฟู’ (更夫) หรือ ‘ต่าเกิงเหริน’ (打更人) เป็นหนึ่งในตัวละครไร้นามที่เราเห็นบ่อยในซีรีส์ยามค่ำคืนที่เดินตีฆ้องหรือตีกระบอกไม้และตะโกน “ระวังฟืนระวังไฟ” วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    ก่อนอื่นคุยกันเล็กน้อยเกี่ยวกับการนับเวลาจีนโบราณ เพื่อนเพจหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าจีนโบราณแบ่งเวลาเป็นสิบสองชั่วยาม ชั่วยามหนึ่งเทียบเท่าสองชั่วโมง แต่เชื่อว่าหลายท่านคงงงกับคำว่า ‘เกิง’ ซึ่งเป็นคำที่ใช้สำหรับช่วงเวลากลางคืน

    จีนโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้ายามหรือ ‘เกิง’ (更 ซึ่งในสมัยโบราณออกเสียงว่า ‘จิง’ ต่อมาปรับใช้เป็น ‘เกิง’ จวบจนปัจจุบัน) โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 1-3 ทุ่ม เรียกว่า ‘เกิงที่หนึ่ง’ หรือยามหนึ่ง ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่เตรียมตัวเข้านอนสำหรับคนทั่วไป และไปสิ้นสุดที่ตี 3-5 เรียกว่า ‘เกิงที่ห้า’ หรือยามห้า ซึ่งก็คือเวลาตื่นและเตรียมพร้อมไปทำงานนั่นเอง จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘ยามสามกลางดึก’ (三更半夜 / ซันเกิงป้านเยี่ย) ซึ่งยามสามก็คือช่วงเวลากึ่งกลางของกลางคืนพอดี (คือระหว่าง 5 ทุ่ม - ตี 1)

    จริงๆ แล้วโดยปกติคนบอกยามหรือเกิงฟูมักออกเดินเป็นคู่ ไม่ค่อยฉายเดี่ยวเหมือนที่เห็นในซีรีส์ เพื่อว่าจะได้ช่วยเหลือกันได้หากเกิดเหตุอะไร พวกเขาไม่ใช่อาสาสมัคร ได้เงินค่าจ้างจากรัฐบาล แต่ไม่ใช่ข้าราชการและมีสถานะทางสังคมเหมือนพวกที่ใช้แรงงานหยาบทั่วไป

    เกิงฟูมีมาแต่ยุคสมัยใด Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่ได้ชัดเจน บ้างว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่ไม่ว่ายุคสมัยใด เกิงฟูจริงๆ แล้วทำหลายหน้าที่มากกว่าการบอกเวลา หน้าที่สำคัญอีกหน้าที่หนึ่งคือการดูแลและเตือนภัยหรือก็คือหน้าที่ รปภ. นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการคอยสอดส่องหรือเตือนภัยเพลิงไหม้ สัตว์ป่าบุกรุก ขโมยขโจร หรือแม้แต่คนแปลกหน้าเพ่นพ่านยามวิกาล ดังนั้นในช่วงสงคราม เมืองสำคัญต่างๆ จะมีเกิงฟูมากกว่าปกติ นอกจากนี้ เกิงฟูยังเตือนเรื่องสภาพอากาศเช่น หนาวจัด จะมีฝน ลมแรง ฯลฯ ดังนั้นคำตะโกนของเกิงฟูจะผันแปรไปตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่แค่ “อากาศแห้ง ระวังฟืนระวังไฟ” แบบที่เรามักได้ยินในซีรีส์อย่างเดียว

    เกิงฟูบอกเวลาอย่างไร?

    เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกเหมือน Storyฯ ว่าเขาก็คงตีฆ้องหรือกระบอกไม้เป็นจำนวนครั้งตามเวลา เช่น ยามที่หนึ่ง ตีหนึ่งครั้ง ฯลฯ แต่จริงๆ แล้วเขามีจังหวะยาวสั้นหรือใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ เพื่อว่าเวลาคนฟังจะได้ไม่หลงว่าได้ยินซ้ำของเก่าหรือไม่ Storyฯ ลองเปรียบเทียบข้อมูลดู พบว่ามีสองเวอร์ชั่นสรุปได้ดังนี้

    เวอร์ชั่นแรก ใช้จังหวะยาว(ช้า)และสั้น(เร็ว)สลับกัน คือ
    - เกิงที่หนึ่ง ตียาวหนึ่งครั้งสั้นหนึ่งครั้ง รวมสามชุด
    - เกิงที่สอง ตีสั้นติดกันสองครั้ง ตีได้ต่อเนื่องหลายๆ ชุด ประหนึ่งว่าไล่ให้ไปนอนได้แล้ว
    - เกิงที่สาม ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสองครั้ง รวมสามชุด
    - เกิงที่สี่ ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสามครั้ง รวมสามชุด
    - เกิงที่ห้า ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสี่ครั้ง รวมสามชุด

    เวอร์ชั่นที่สอง ใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ ดังนี้
    - เกิงที่หนึ่ง ตีฆ้องหนึ่งครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
    - เกิงที่สอง ตีฆ้องสองครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
    - เกิงที่สาม ตีตีฆ้องสามครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
    - เกิงที่สี่ ตีฆ้องสี่ครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
    - เกิงที่ห้า ตีแต่กระบอกไม้เท่านั้น ตีได้เรื่อยๆ รัวๆ ประหนึ่งว่ากำลังปลุกให้ลุกขึ้นมาทำงานได้แล้ว

    Storyฯ ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของจังหวะการตีทั้งสองเวอร์ชั่นนี้ แต่ที่เล่ามาคือเพื่อให้เพื่อนเพจเห็นภาพว่า การตีบอกเวลาจะมีจังหวะของมันอยู่ คนที่ได้ยินก็จะรู้เวลาได้โดยง่าย

    ในเมืองใหญ่จะมีหอนาฬิกาและ/หรือหอสังเกตการณ์ ที่หอนี้มีทหารหรือเจ้าหน้าที่คอยสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมระวังภัยและจับตาดูนาฬิกาในหอแล้วส่งสัญญาณบอกเวลาเช่นเป่าแตรหรือตีกลอง โดยทำงานเป็นกะ เฝ้าตลอดทั้งวันทั้งคืน และด้วยการสื่อสารจากหอสังเกตการณ์เหล่านี้ บรรดาเกิงฟูก็จะออกเดินทางเพื่อบอกเวลาและรายงานสภาพแวดล้อมทันทีที่ถึงต้นโมงยาม ในเมืองเล็กก็จะมีจุดศูนย์กลางสักแห่งที่มีนาฬิกาหรือเครื่องบอกเวลาสักชนิดหนึ่ง (เช่น วัดที่มีการจุดธูปต่อเนื่อง) เพื่อให้เหล่าเกิงฟูเริ่มงานได้เช่นกัน

    ทีนี้คำถามต่อมาคือ เกิงฟูเดินไปเรื่อยๆ เส้นทางใกล้ไกลไม่เหมือนกัน แล้วพวกเขาจะรู้เวลาได้อย่างไรว่ากาลเวลาล่วงเข้าอีกยามหนึ่งแล้ว?

    สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น การบอกเวลาเหล่านี้ไม่ต้องการความ ‘เป๊ะ’ เหมือนปัจจุบัน แต่เป็นการบอกโดยประมาณเพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมีหลักเกณฑ์โดยคร่าว แต่อย่างไรก็ดี เกิงฟูมีตัวช่วยค่ะ บางคนพกธูปบอกเวลาซึ่งได้รับมาจากจุดเริ่มต้น บางคนพกป้ายที่เรียกว่า ‘เกิงผาย’ ซึ่งมีการกำหนดไว้เป็นจำนวนก้าวว่าเดินกี่ก้าวเปลี่ยนป้ายครั้งหนึ่ง เมื่อครบจำนวนครั้งก็ครบยาม

    การเล่าข้างต้นเป็นการเล่าโดยคร่าวเพื่อให้เห็นภาพนะคะ จริงๆ แล้วมันมีรายละเอียดกว่านี้ เช่นมีการปรับจำนวนก้าวในช่วงฤดูต่างๆ เพราะในสมัยโบราณมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การนับเวลา เช่นหนึ่งเค่ออาจหมายถึง 13 นาทีกว่า หรือ 15 นาทีแล้วแต่ยุคสมัย

    อาชีพเกิงฟูนี้นับได้ว่าสำคัญมากสำหรับสังคมจีนโบราณ แต่ชีวิตของเกิงฟูลำเค็ญไม่น้อยเพราะต้องฟันฝ่าอุปสรรคทางสภาพอากาศ เงินเดือนก็น้อยนิด และยังต้องมีสมาธิในการทำงานดีมากด้วย เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/602047304_120231588
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/打更/2113152
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_8909910
    https://k.sina.cn/article_7722512403_1cc4c3013001011q40.html?from=news
    https://www.163.com/dy/article/G08FUAJD05430TXY.html
    https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe
    https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe

    #เกิงฟู #ต่าเกิงเหริน #คนบอกเวลาจีนโบราณ #ตีฆ้องบอกเวลา
    เกิงฟู คนบอกเวลา สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับนาฬิกาหยดน้ำโบราณ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบ้านที่จะมีอุปกรณ์บอกเวลาเพราะนาฬิกาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายหรือนาฬิกาหยดน้ำนั้น ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้เฉพาะในวังหรือกลุ่มคนมีอันจะกิน ส่วนชาวบ้านธรรมดานั้น กลางวันมักอาศัยการสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และกลางคืนสามารถจุดธูปเพื่อวัดเวลา ซึ่งธูปแต่ละชนิดออกแบบมาให้เผาไหม้หมดในเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาทีหรือ 60 นาทีเป็นต้น แต่การจุดธูปนั้นสิ้นเปลืองและไม่สามารถทำได้ตลอดคืน ดังนั้น ชาวบ้านทั่วไปจึงต้องพึ่งพาคนบอกเวลา คนบอกเวลาหรือ ‘เกิงฟู’ (更夫) หรือ ‘ต่าเกิงเหริน’ (打更人) เป็นหนึ่งในตัวละครไร้นามที่เราเห็นบ่อยในซีรีส์ยามค่ำคืนที่เดินตีฆ้องหรือตีกระบอกไม้และตะโกน “ระวังฟืนระวังไฟ” วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน ก่อนอื่นคุยกันเล็กน้อยเกี่ยวกับการนับเวลาจีนโบราณ เพื่อนเพจหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าจีนโบราณแบ่งเวลาเป็นสิบสองชั่วยาม ชั่วยามหนึ่งเทียบเท่าสองชั่วโมง แต่เชื่อว่าหลายท่านคงงงกับคำว่า ‘เกิง’ ซึ่งเป็นคำที่ใช้สำหรับช่วงเวลากลางคืน จีนโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้ายามหรือ ‘เกิง’ (更 ซึ่งในสมัยโบราณออกเสียงว่า ‘จิง’ ต่อมาปรับใช้เป็น ‘เกิง’ จวบจนปัจจุบัน) โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 1-3 ทุ่ม เรียกว่า ‘เกิงที่หนึ่ง’ หรือยามหนึ่ง ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่เตรียมตัวเข้านอนสำหรับคนทั่วไป และไปสิ้นสุดที่ตี 3-5 เรียกว่า ‘เกิงที่ห้า’ หรือยามห้า ซึ่งก็คือเวลาตื่นและเตรียมพร้อมไปทำงานนั่นเอง จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘ยามสามกลางดึก’ (三更半夜 / ซันเกิงป้านเยี่ย) ซึ่งยามสามก็คือช่วงเวลากึ่งกลางของกลางคืนพอดี (คือระหว่าง 5 ทุ่ม - ตี 1) จริงๆ แล้วโดยปกติคนบอกยามหรือเกิงฟูมักออกเดินเป็นคู่ ไม่ค่อยฉายเดี่ยวเหมือนที่เห็นในซีรีส์ เพื่อว่าจะได้ช่วยเหลือกันได้หากเกิดเหตุอะไร พวกเขาไม่ใช่อาสาสมัคร ได้เงินค่าจ้างจากรัฐบาล แต่ไม่ใช่ข้าราชการและมีสถานะทางสังคมเหมือนพวกที่ใช้แรงงานหยาบทั่วไป เกิงฟูมีมาแต่ยุคสมัยใด Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่ได้ชัดเจน บ้างว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่ไม่ว่ายุคสมัยใด เกิงฟูจริงๆ แล้วทำหลายหน้าที่มากกว่าการบอกเวลา หน้าที่สำคัญอีกหน้าที่หนึ่งคือการดูแลและเตือนภัยหรือก็คือหน้าที่ รปภ. นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการคอยสอดส่องหรือเตือนภัยเพลิงไหม้ สัตว์ป่าบุกรุก ขโมยขโจร หรือแม้แต่คนแปลกหน้าเพ่นพ่านยามวิกาล ดังนั้นในช่วงสงคราม เมืองสำคัญต่างๆ จะมีเกิงฟูมากกว่าปกติ นอกจากนี้ เกิงฟูยังเตือนเรื่องสภาพอากาศเช่น หนาวจัด จะมีฝน ลมแรง ฯลฯ ดังนั้นคำตะโกนของเกิงฟูจะผันแปรไปตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่แค่ “อากาศแห้ง ระวังฟืนระวังไฟ” แบบที่เรามักได้ยินในซีรีส์อย่างเดียว เกิงฟูบอกเวลาอย่างไร? เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกเหมือน Storyฯ ว่าเขาก็คงตีฆ้องหรือกระบอกไม้เป็นจำนวนครั้งตามเวลา เช่น ยามที่หนึ่ง ตีหนึ่งครั้ง ฯลฯ แต่จริงๆ แล้วเขามีจังหวะยาวสั้นหรือใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ เพื่อว่าเวลาคนฟังจะได้ไม่หลงว่าได้ยินซ้ำของเก่าหรือไม่ Storyฯ ลองเปรียบเทียบข้อมูลดู พบว่ามีสองเวอร์ชั่นสรุปได้ดังนี้ เวอร์ชั่นแรก ใช้จังหวะยาว(ช้า)และสั้น(เร็ว)สลับกัน คือ - เกิงที่หนึ่ง ตียาวหนึ่งครั้งสั้นหนึ่งครั้ง รวมสามชุด - เกิงที่สอง ตีสั้นติดกันสองครั้ง ตีได้ต่อเนื่องหลายๆ ชุด ประหนึ่งว่าไล่ให้ไปนอนได้แล้ว - เกิงที่สาม ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสองครั้ง รวมสามชุด - เกิงที่สี่ ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสามครั้ง รวมสามชุด - เกิงที่ห้า ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสี่ครั้ง รวมสามชุด เวอร์ชั่นที่สอง ใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ ดังนี้ - เกิงที่หนึ่ง ตีฆ้องหนึ่งครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง - เกิงที่สอง ตีฆ้องสองครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง - เกิงที่สาม ตีตีฆ้องสามครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง - เกิงที่สี่ ตีฆ้องสี่ครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง - เกิงที่ห้า ตีแต่กระบอกไม้เท่านั้น ตีได้เรื่อยๆ รัวๆ ประหนึ่งว่ากำลังปลุกให้ลุกขึ้นมาทำงานได้แล้ว Storyฯ ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของจังหวะการตีทั้งสองเวอร์ชั่นนี้ แต่ที่เล่ามาคือเพื่อให้เพื่อนเพจเห็นภาพว่า การตีบอกเวลาจะมีจังหวะของมันอยู่ คนที่ได้ยินก็จะรู้เวลาได้โดยง่าย ในเมืองใหญ่จะมีหอนาฬิกาและ/หรือหอสังเกตการณ์ ที่หอนี้มีทหารหรือเจ้าหน้าที่คอยสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมระวังภัยและจับตาดูนาฬิกาในหอแล้วส่งสัญญาณบอกเวลาเช่นเป่าแตรหรือตีกลอง โดยทำงานเป็นกะ เฝ้าตลอดทั้งวันทั้งคืน และด้วยการสื่อสารจากหอสังเกตการณ์เหล่านี้ บรรดาเกิงฟูก็จะออกเดินทางเพื่อบอกเวลาและรายงานสภาพแวดล้อมทันทีที่ถึงต้นโมงยาม ในเมืองเล็กก็จะมีจุดศูนย์กลางสักแห่งที่มีนาฬิกาหรือเครื่องบอกเวลาสักชนิดหนึ่ง (เช่น วัดที่มีการจุดธูปต่อเนื่อง) เพื่อให้เหล่าเกิงฟูเริ่มงานได้เช่นกัน ทีนี้คำถามต่อมาคือ เกิงฟูเดินไปเรื่อยๆ เส้นทางใกล้ไกลไม่เหมือนกัน แล้วพวกเขาจะรู้เวลาได้อย่างไรว่ากาลเวลาล่วงเข้าอีกยามหนึ่งแล้ว? สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น การบอกเวลาเหล่านี้ไม่ต้องการความ ‘เป๊ะ’ เหมือนปัจจุบัน แต่เป็นการบอกโดยประมาณเพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมีหลักเกณฑ์โดยคร่าว แต่อย่างไรก็ดี เกิงฟูมีตัวช่วยค่ะ บางคนพกธูปบอกเวลาซึ่งได้รับมาจากจุดเริ่มต้น บางคนพกป้ายที่เรียกว่า ‘เกิงผาย’ ซึ่งมีการกำหนดไว้เป็นจำนวนก้าวว่าเดินกี่ก้าวเปลี่ยนป้ายครั้งหนึ่ง เมื่อครบจำนวนครั้งก็ครบยาม การเล่าข้างต้นเป็นการเล่าโดยคร่าวเพื่อให้เห็นภาพนะคะ จริงๆ แล้วมันมีรายละเอียดกว่านี้ เช่นมีการปรับจำนวนก้าวในช่วงฤดูต่างๆ เพราะในสมัยโบราณมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การนับเวลา เช่นหนึ่งเค่ออาจหมายถึง 13 นาทีกว่า หรือ 15 นาทีแล้วแต่ยุคสมัย อาชีพเกิงฟูนี้นับได้ว่าสำคัญมากสำหรับสังคมจีนโบราณ แต่ชีวิตของเกิงฟูลำเค็ญไม่น้อยเพราะต้องฟันฝ่าอุปสรรคทางสภาพอากาศ เงินเดือนก็น้อยนิด และยังต้องมีสมาธิในการทำงานดีมากด้วย เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/602047304_120231588 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/打更/2113152 https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_8909910 https://k.sina.cn/article_7722512403_1cc4c3013001011q40.html?from=news https://www.163.com/dy/article/G08FUAJD05430TXY.html https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe #เกิงฟู #ต่าเกิงเหริน #คนบอกเวลาจีนโบราณ #ตีฆ้องบอกเวลา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 319 มุมมอง 0 รีวิว
  • สินเดิมเจ้าสาวจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงเรื่องการหย่าร้างในจีนโบราณ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านต้องเคยผ่านตาพล็อตเรื่องในนิยายที่บอกว่า หากสตรีโดนสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) จะทำให้สูญเสียสินเดิมส่วนตัวไปด้วย แต่ถ้าเป็นการเลิกโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย (和离/เหอหลี) สตรีจะไม่สูญเสียสินเดิมนี้ วันนี้เรามาคุยกันในประเด็นนี้ว่าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่

    ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียมเรื่องเงินๆ ทองๆ ของการแต่งงาน ไทยเราจะคุ้นเคยกับสินสอดทองหมั้น ซึ่งก็คือเงินและสินทรัพย์ที่ฝ่ายเจ้าบ่าวมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวเพื่อเป็นการตอบแทนค่าเลี้ยงดูเจ้าสาวมาจนเติบใหญ่ ซึ่งในธรรมเนียมจีนมีการให้สินสอดนี้เช่นกัน เรียกว่า ‘พิ่นหลี่’ (聘礼) หรือ ‘ไฉหลี่’ (彩礼) โดยนำมามอบครอบครัวฝ่ายหญิงให้ในวันที่มาสู่ขอ

    และในธรรมเนียมจีนยังมีเงินและสินทรัพย์ที่พ่อแม่ของเจ้าสาวมอบให้ลูกสาวในวันออกเรือน เรียกว่า ‘เจี้ยจวง’ (嫁妆) หรือที่บางเพจแปลไว้ว่า ‘สินเดิม’ ซึ่งธรรมเนียมไทยเราไม่มี โดยปกติเจี้ยจวงเหล่านี้จะถูกขนไปบ้านเจ้าบ่าวพร้อมกับขบวนรับตัวเจ้าสาวแบบที่เราเห็นกันในหนัง และรายการทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และหมายรวมถึงบ่าวไพร่ส่วนตัวที่ติดสอยห้อยตามมาจากบ้านเจ้าสาวด้วย

    แล้วใครมีสิทธิในสินเดิมของเจ้าสาว?

    เดิมในสมัยฉินและฮั่นไม่มีบทกฎหมายแบ่งแยกสิทธิของสามีภรรยาในเรื่องนี้ และด้วยบริบทของสังคมจีนโบราณที่มองว่าสามีภรรยาเป็นคนเดียวกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สามีสามารถใช้จ่ายสินเดิมของเจ้าสาวได้ แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยฉินปรากฎกรณีศึกษาที่ตระกูลของฝ่ายชายถูกยึดทรัพย์ทั้งตระกูล แต่ทางการไม่อาจยึดเอาสินเดิมของสะใภ้ไปได้ จึงเห็นได้ว่า แม้ไม่มีการกำหนดแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าสินเดิมเจ้าสาวเป็นสิทธิส่วนตัวของภรรยาหรือหรือของสามี แต่ที่แน่ๆ มันไม่ใช่ทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย

    ตราบใดที่พันธะสมรสยังอยู่ สามีภรรยาใช้ทรัพย์สินส่วนนี้ร่วมกันได้ แต่ทันทีที่พันธะสมรสสิ้นสุดลง ความชัดเจนปรากฏทันที กล่าวคือสินเดิมนี้นับเป็นสินส่วนตัวของภรรยา เป็นต้นว่าในกรณีที่บุรุษตายไป สินเดิมจะอยู่ในความครอบครองของภรรยา ไม่ถูกนับรวมเป็นมรดกเข้าทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ในกรณีที่ทั้งบุรุษและสตรีตายไป สินเดิมจะของนางจะตกเป็นของบุตร คนอื่นในตระกูลฝ่ายชายไม่มีเอี่ยว แต่ถ้านางไม่มีบุตร สินเดิมนี้ต้องถูกนำส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของสตรี (แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายชายก็สามารถเรียกร้องสินสอดคืนได้เช่นกัน) และในกรณีเลิกรากันไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งหมายรวมถึงการที่ภรรยาถูกสามีทิ้ง นางจะสามารถนำสินเดิมของนางติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง มีบัญญัติกฎหมายขึ้นเกี่ยวกับการแต่งงานหย่าร้างและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ในยุคสมัยนี้สินเดิมเป็นสิทธิของสตรี และไม่นับเป็นสมบัติกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย คนในตระกูลฝ่ายชายจับต้องไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามีมักใช้เงินส่วนนี้ได้ด้วยความเชื่อของฝ่ายหญิงว่าสามีภรรยาคือคนเดียวกัน แต่ด้วยสภาพสังคมที่เน้นความเป็นสุภาพบุรุษแล้ว สามีจะเอาไปใช้ก็ต่อเมื่อภรรยาอนุญาต และโดยหลักการคือใช้ประโยชน์ได้แต่เอาไปขายไม่ได้ (เช่น โฉนดที่ดิน ร้านค้า) และชายใดเอาสินเดิมของภรรยาไปใช้มักถูกสังคมดูแคลน

    อย่างไรก็ดี มีสารพัดวิธีที่สินเดิมของเจ้าสาวจะหมดไปกับครอบครัวฝ่ายชาย ในกรณีที่ฐานะครอบครัวเจ้าบ่าวยากจน เจ้าสาวมักเอาสินเดิมมาแปลงเป็นเงินนำออกมาช่วยจุนเจือดำรงชีพซึ่งรวมถึงการดูแลพ่อแม่สามี หรือส่งสามีเรียนหนังสือเพื่อไปสอบราชบัณฑิต หรือช่วยจัดงานแต่งน้องสามี เป็นต้น ถือว่าเป็นวิธีแสดงจรรยาและความกตัญญูต่อครอบครัวฝ่ายสามี แต่ในทางกลับกัน หากฝ่ายชายมีฐานะมีอันจะกิน สินเดิมนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อให้ลูกสำหรับแต่งงานในอนาคต

    เรียกได้ว่าในยุคสมัยถังซ่งนี้ โดยหลักการแล้วสตรีมีสิทธิทางกฎหมายชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับสินเดิมของตน แต่ก็มีข้อจำกัดเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในกรณีที่สตรีตายไปโดยไม่มีบุตรหรือแต่งตั้งทายาทไว้ สินเดิมนี้จะไม่ต้องถูกส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของนาง และในกรณีที่สตรีถูกสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) หรือกรณีถูกศาลบังคับหย่าด้วยความผิดของฝ่ายหญิง สตรีไม่สามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    และนับจากสมัยหยวนเป็นต้นมา มีกฎหมายกำหนดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในกรณีที่สตรีไปแต่งงานใหม่หลังจากหย่าร้าง (แม้ว่าจะเป็นการหย่าร้างด้วยความสมัครใจ) หรือแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียไป สตรีไม่อาจนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    ดังนั้น สตรีเมื่อหย่าร้างแล้วสามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับยุคสมัยค่ะ

    (หมายเหตุ บทความข้างต้น เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริบทการหย่าร้างเท่านั้น Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์ต่างๆ ของสตรีในแต่ละยุคสมัย เช่นการครอบครองที่ดินซึ่งมีลักษณะเฉพาะ หรือการสืบทอดสินทรัพย์ฝั่งสามี ฯลฯ)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.spp.gov.cn/spp/llyj/202104/t20210414_515602.shtml
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml
    http://www.xnwbw.com/page/1/2024-11/21/A18/20241121A18_pdf.pdf
    http://m.dyzxw.org/?act=a&aid=193698&cid=1
    http://www.guoxue.com/?p=792

    #สินเดิมเจ้าสาว #การแต่งงานจีนโบราณ #เจี้ยจวง #ซ่อนรักชายาลับ #สาระจีน
    สินเดิมเจ้าสาวจีนโบราณ สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงเรื่องการหย่าร้างในจีนโบราณ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านต้องเคยผ่านตาพล็อตเรื่องในนิยายที่บอกว่า หากสตรีโดนสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) จะทำให้สูญเสียสินเดิมส่วนตัวไปด้วย แต่ถ้าเป็นการเลิกโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย (和离/เหอหลี) สตรีจะไม่สูญเสียสินเดิมนี้ วันนี้เรามาคุยกันในประเด็นนี้ว่าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่ ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียมเรื่องเงินๆ ทองๆ ของการแต่งงาน ไทยเราจะคุ้นเคยกับสินสอดทองหมั้น ซึ่งก็คือเงินและสินทรัพย์ที่ฝ่ายเจ้าบ่าวมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวเพื่อเป็นการตอบแทนค่าเลี้ยงดูเจ้าสาวมาจนเติบใหญ่ ซึ่งในธรรมเนียมจีนมีการให้สินสอดนี้เช่นกัน เรียกว่า ‘พิ่นหลี่’ (聘礼) หรือ ‘ไฉหลี่’ (彩礼) โดยนำมามอบครอบครัวฝ่ายหญิงให้ในวันที่มาสู่ขอ และในธรรมเนียมจีนยังมีเงินและสินทรัพย์ที่พ่อแม่ของเจ้าสาวมอบให้ลูกสาวในวันออกเรือน เรียกว่า ‘เจี้ยจวง’ (嫁妆) หรือที่บางเพจแปลไว้ว่า ‘สินเดิม’ ซึ่งธรรมเนียมไทยเราไม่มี โดยปกติเจี้ยจวงเหล่านี้จะถูกขนไปบ้านเจ้าบ่าวพร้อมกับขบวนรับตัวเจ้าสาวแบบที่เราเห็นกันในหนัง และรายการทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และหมายรวมถึงบ่าวไพร่ส่วนตัวที่ติดสอยห้อยตามมาจากบ้านเจ้าสาวด้วย แล้วใครมีสิทธิในสินเดิมของเจ้าสาว? เดิมในสมัยฉินและฮั่นไม่มีบทกฎหมายแบ่งแยกสิทธิของสามีภรรยาในเรื่องนี้ และด้วยบริบทของสังคมจีนโบราณที่มองว่าสามีภรรยาเป็นคนเดียวกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สามีสามารถใช้จ่ายสินเดิมของเจ้าสาวได้ แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยฉินปรากฎกรณีศึกษาที่ตระกูลของฝ่ายชายถูกยึดทรัพย์ทั้งตระกูล แต่ทางการไม่อาจยึดเอาสินเดิมของสะใภ้ไปได้ จึงเห็นได้ว่า แม้ไม่มีการกำหนดแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าสินเดิมเจ้าสาวเป็นสิทธิส่วนตัวของภรรยาหรือหรือของสามี แต่ที่แน่ๆ มันไม่ใช่ทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ตราบใดที่พันธะสมรสยังอยู่ สามีภรรยาใช้ทรัพย์สินส่วนนี้ร่วมกันได้ แต่ทันทีที่พันธะสมรสสิ้นสุดลง ความชัดเจนปรากฏทันที กล่าวคือสินเดิมนี้นับเป็นสินส่วนตัวของภรรยา เป็นต้นว่าในกรณีที่บุรุษตายไป สินเดิมจะอยู่ในความครอบครองของภรรยา ไม่ถูกนับรวมเป็นมรดกเข้าทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ในกรณีที่ทั้งบุรุษและสตรีตายไป สินเดิมจะของนางจะตกเป็นของบุตร คนอื่นในตระกูลฝ่ายชายไม่มีเอี่ยว แต่ถ้านางไม่มีบุตร สินเดิมนี้ต้องถูกนำส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของสตรี (แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายชายก็สามารถเรียกร้องสินสอดคืนได้เช่นกัน) และในกรณีเลิกรากันไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งหมายรวมถึงการที่ภรรยาถูกสามีทิ้ง นางจะสามารถนำสินเดิมของนางติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ ต่อมาในสมัยถังและซ่ง มีบัญญัติกฎหมายขึ้นเกี่ยวกับการแต่งงานหย่าร้างและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ในยุคสมัยนี้สินเดิมเป็นสิทธิของสตรี และไม่นับเป็นสมบัติกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย คนในตระกูลฝ่ายชายจับต้องไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามีมักใช้เงินส่วนนี้ได้ด้วยความเชื่อของฝ่ายหญิงว่าสามีภรรยาคือคนเดียวกัน แต่ด้วยสภาพสังคมที่เน้นความเป็นสุภาพบุรุษแล้ว สามีจะเอาไปใช้ก็ต่อเมื่อภรรยาอนุญาต และโดยหลักการคือใช้ประโยชน์ได้แต่เอาไปขายไม่ได้ (เช่น โฉนดที่ดิน ร้านค้า) และชายใดเอาสินเดิมของภรรยาไปใช้มักถูกสังคมดูแคลน อย่างไรก็ดี มีสารพัดวิธีที่สินเดิมของเจ้าสาวจะหมดไปกับครอบครัวฝ่ายชาย ในกรณีที่ฐานะครอบครัวเจ้าบ่าวยากจน เจ้าสาวมักเอาสินเดิมมาแปลงเป็นเงินนำออกมาช่วยจุนเจือดำรงชีพซึ่งรวมถึงการดูแลพ่อแม่สามี หรือส่งสามีเรียนหนังสือเพื่อไปสอบราชบัณฑิต หรือช่วยจัดงานแต่งน้องสามี เป็นต้น ถือว่าเป็นวิธีแสดงจรรยาและความกตัญญูต่อครอบครัวฝ่ายสามี แต่ในทางกลับกัน หากฝ่ายชายมีฐานะมีอันจะกิน สินเดิมนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อให้ลูกสำหรับแต่งงานในอนาคต เรียกได้ว่าในยุคสมัยถังซ่งนี้ โดยหลักการแล้วสตรีมีสิทธิทางกฎหมายชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับสินเดิมของตน แต่ก็มีข้อจำกัดเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในกรณีที่สตรีตายไปโดยไม่มีบุตรหรือแต่งตั้งทายาทไว้ สินเดิมนี้จะไม่ต้องถูกส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของนาง และในกรณีที่สตรีถูกสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) หรือกรณีถูกศาลบังคับหย่าด้วยความผิดของฝ่ายหญิง สตรีไม่สามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ และนับจากสมัยหยวนเป็นต้นมา มีกฎหมายกำหนดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในกรณีที่สตรีไปแต่งงานใหม่หลังจากหย่าร้าง (แม้ว่าจะเป็นการหย่าร้างด้วยความสมัครใจ) หรือแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียไป สตรีไม่อาจนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ ดังนั้น สตรีเมื่อหย่าร้างแล้วสามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับยุคสมัยค่ะ (หมายเหตุ บทความข้างต้น เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริบทการหย่าร้างเท่านั้น Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์ต่างๆ ของสตรีในแต่ละยุคสมัย เช่นการครอบครองที่ดินซึ่งมีลักษณะเฉพาะ หรือการสืบทอดสินทรัพย์ฝั่งสามี ฯลฯ) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.spp.gov.cn/spp/llyj/202104/t20210414_515602.shtml https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml http://www.xnwbw.com/page/1/2024-11/21/A18/20241121A18_pdf.pdf http://m.dyzxw.org/?act=a&aid=193698&cid=1 http://www.guoxue.com/?p=792 #สินเดิมเจ้าสาว #การแต่งงานจีนโบราณ #เจี้ยจวง #ซ่อนรักชายาลับ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 340 มุมมอง 0 รีวิว
  • การหย่าร้างในสมัยจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ ในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> พูดถึงการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) บ่อยครั้ง ชวนให้ Storyฯ คิดถึงนิยายและซีรีส์ไม่น้อยที่กล่าวถึงการเลิกรากันด้วยวิธีต่างๆ

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการหย่าร้างหรือเลิกราของสามีภรรยาในจีนโบราณว่ามีกี่วิธี

    วิธีแรกคือบุรุษเป็นฝ่ายทิ้งสตรี หรือที่เรียกว่า ‘ซิว’ (休) หรือ ‘ชู’ (出) หรือ ‘ชวี่’ (去) โดยมีหลักการว่า ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ (七出,三不去) ซึ่งเป็นหลักการที่เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนาขึ้นมาเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ผ่านหลายยุคหลายสมัย

    มีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึงหลักการ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ นี้โดยละเอียด เพื่อนเพจสามารถหาอ่านดูได้ Storyฯ ขอพูดแบบสรุปว่า หากภรรยาเข้าข่ายประการใดประการหนึ่งในเจ็ดประการนี้สามีและ/หรือพ่อแม่สามีสามารถขับภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายหญิง ขอเพียงสองฝ่ายรับทราบและมีพยานลงนามรับรู้ถือว่าจบ แต่หากฝ่ายชายทิ้งเมียโดยไม่เข้าข่ายเจ็ดข้อนี้ ก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย อย่างในสมัยถังคือให้ไปเป็นแรงงานหนักหนึ่งปีครึ่ง และเจ็ดประการนี้คือ (1) ไม่เชื่อฟังพ่อแม่สามี (2) ไม่มีบุตรชาย (3) คบชู้สู่ชาย (4) หึงหวงสามี (5) มีโรคร้ายหรือพิการ (6) ปากไม่ดี และ (7) ลักขโมย

    และแม้ว่าภรรยาจะเข้าข่ายเจ็ดประการนี้ แต่หากมีความจำเป็นหนึ่งในสามลักษณะนี้ กฎหมายก็ห้ามไม่ให้บุรุษทิ้งเมีย กล่าวคือ (ก) ภรรยาเมื่อถูกทิ้งและขับออกจากเรือนของสามีแล้วจะไม่มีที่ไป เช่น ตอนแต่งงานพ่อแม่ของสตรียังมีชีวิตอยู่แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว (ข) ได้เคยร่วมไว้ทุกข์ให้พ่อแม่สามีนานสามปีแล้ว ถือว่ามีความกตัญญูอย่างยิ่งยวดจนไม่อาจขับไล่ และ (ค) สามีแต่งภรรยามาตอนยากจน พอรวยแล้วจะทิ้งเมีย ทำไม่ได้ หากใครฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษทางกฎหมายเช่นกัน อย่างในสมัยถังคือโบยหนึ่งร้อยครั้ง

    การเลิกราแบบที่สองคือ ‘อี้เจวี๋ย’ (义绝 /ตัดสัมพันธ์) หรือการบังคับหย่าโดยอำนาจศาลหรือที่ว่าการท้องถิ่น ปรากฏครั้งแรกในประมวลกฎหมายถัง ซึ่งถูกประกาศใช้ในยุคถังเกาจง (ฮ่องเต้องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ถัง) เมื่อปีค.ศ. 653 เป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงถูกสามีหรือคนในบ้านสามีกระทำรุนแรง เช่น ตบตีทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด บังคับให้ภรรยาไปหลับนอนกับชายอื่น เอาเมียไปขาย หรือมีการประทุษร้ายรุนแรงต่อครอบครัวจนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้แล้ว เช่น ฆ่าพ่อแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงลักษณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงอาจฟ้องหย่าได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายนี้ แม้ว่าสตรีจะร้องทุกข์เพื่อขอหย่ายังมักถูกตัดสินให้รับโทษด้วยเพราะถูกมองว่าการร้องเรียนสามีหรือครอบครัวสามีเป็นการกระทำที่ไม่ถูกจรรยาของสตรี แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว การบังคับหย่าจึงเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพของสตรีวิธีหนึ่ง และเป็นการตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูลอีกด้วย

    และการเลิกราแบบสุดท้ายคือการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) ซึ่งว่ากันว่ามีปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยราชวงศ์ฉิน แต่... มันไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับใช้จวบจนสมัยถัง โดยประมวลกฎหมายแห่งถังบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสามีภรรยาไม่พอใจซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมครองเรือนกันต่อไปได้แล้วนั้น ให้เลิกรากันได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย

    แม้ว่าบทกฎหมายดังกล่าวจะถูกใช้ต่อมาอีกหลายยุคสมัย แต่ไม่มีการอธิบายหลักการนี้เพิ่มเติม และในปัจจุบันยังมีบทความวิเคราะห์ที่ให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับเลิกโดยสมัครใจนี้ในบริบทของสังคมจีนโบราณ ทั้งนี้ ในบริบทของสังคมจีนโบราณ การแต่งงานถูกมองว่าเป็นการเกี่ยวดองของสองตระกูลที่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายและไม่ใช่เรื่องของคนสองคนเท่านั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้น การเลิกหรือขับเมียยังสามารถทำได้โดยพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการถูกบังคับหย่าโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำที่ตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล จึงเป็นที่กังขาว่า การเลิกราโดยสมัครใจเป็นการตัดสินใจร่วมของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ

    จะเห็นได้ว่า นับแต่สมัยถังมามีบทกฎหมายที่คุ้มครองสตรีในการสมรสมากขึ้น แต่กระนั้น บุรุษก็ยังมีทางเลือกมากกว่าสตรี โดยอาจใช้ข้ออ้างของ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ มาใช้เป็นเหตุผลในการทิ้งเมีย และหากบุรุษไม่ยินยอมเลิกรา สตรีก็หย่าขาดจากสามีไม่ได้ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงพอที่จะฟ้องหย่าได้

    อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยต่อๆ มามีการเพิ่มเติมข้ออนุโลมให้สตรีใช้เป็นเหตุผลการหย่าร้างได้อีกแต่ไม่มาก ตัวอย่างเช่น ในสมัยหมิงมีการกำหนดไว้ว่า หากสามีหายตัวไปไม่กลับบ้านนานเกินสามปี ภรรยาสามารถยกเลิกพันธะสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเอกสารราชการยืนยัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.manmankan.com/dy2013/202401/20764.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2022/11/id/7011234.shtml
    https://www.legal-theory.org/?mod=info&act=view&id=21560
    http://www.legaldaily.com.cn/fxjy/content/2021-05/12/content_8503165.html
    http://law.newdu.com/uploads/202401/31/201005130115.pdf
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml

    #ทำนองรักกังวานแดนดิน #การหย่าร้าง #เหอหลี #สาระจีน
    การหย่าร้างในสมัยจีนโบราณ สวัสดีค่ะ ในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> พูดถึงการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) บ่อยครั้ง ชวนให้ Storyฯ คิดถึงนิยายและซีรีส์ไม่น้อยที่กล่าวถึงการเลิกรากันด้วยวิธีต่างๆ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการหย่าร้างหรือเลิกราของสามีภรรยาในจีนโบราณว่ามีกี่วิธี วิธีแรกคือบุรุษเป็นฝ่ายทิ้งสตรี หรือที่เรียกว่า ‘ซิว’ (休) หรือ ‘ชู’ (出) หรือ ‘ชวี่’ (去) โดยมีหลักการว่า ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ (七出,三不去) ซึ่งเป็นหลักการที่เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนาขึ้นมาเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ผ่านหลายยุคหลายสมัย มีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึงหลักการ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ นี้โดยละเอียด เพื่อนเพจสามารถหาอ่านดูได้ Storyฯ ขอพูดแบบสรุปว่า หากภรรยาเข้าข่ายประการใดประการหนึ่งในเจ็ดประการนี้สามีและ/หรือพ่อแม่สามีสามารถขับภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายหญิง ขอเพียงสองฝ่ายรับทราบและมีพยานลงนามรับรู้ถือว่าจบ แต่หากฝ่ายชายทิ้งเมียโดยไม่เข้าข่ายเจ็ดข้อนี้ ก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย อย่างในสมัยถังคือให้ไปเป็นแรงงานหนักหนึ่งปีครึ่ง และเจ็ดประการนี้คือ (1) ไม่เชื่อฟังพ่อแม่สามี (2) ไม่มีบุตรชาย (3) คบชู้สู่ชาย (4) หึงหวงสามี (5) มีโรคร้ายหรือพิการ (6) ปากไม่ดี และ (7) ลักขโมย และแม้ว่าภรรยาจะเข้าข่ายเจ็ดประการนี้ แต่หากมีความจำเป็นหนึ่งในสามลักษณะนี้ กฎหมายก็ห้ามไม่ให้บุรุษทิ้งเมีย กล่าวคือ (ก) ภรรยาเมื่อถูกทิ้งและขับออกจากเรือนของสามีแล้วจะไม่มีที่ไป เช่น ตอนแต่งงานพ่อแม่ของสตรียังมีชีวิตอยู่แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว (ข) ได้เคยร่วมไว้ทุกข์ให้พ่อแม่สามีนานสามปีแล้ว ถือว่ามีความกตัญญูอย่างยิ่งยวดจนไม่อาจขับไล่ และ (ค) สามีแต่งภรรยามาตอนยากจน พอรวยแล้วจะทิ้งเมีย ทำไม่ได้ หากใครฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษทางกฎหมายเช่นกัน อย่างในสมัยถังคือโบยหนึ่งร้อยครั้ง การเลิกราแบบที่สองคือ ‘อี้เจวี๋ย’ (义绝 /ตัดสัมพันธ์) หรือการบังคับหย่าโดยอำนาจศาลหรือที่ว่าการท้องถิ่น ปรากฏครั้งแรกในประมวลกฎหมายถัง ซึ่งถูกประกาศใช้ในยุคถังเกาจง (ฮ่องเต้องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ถัง) เมื่อปีค.ศ. 653 เป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงถูกสามีหรือคนในบ้านสามีกระทำรุนแรง เช่น ตบตีทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด บังคับให้ภรรยาไปหลับนอนกับชายอื่น เอาเมียไปขาย หรือมีการประทุษร้ายรุนแรงต่อครอบครัวจนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้แล้ว เช่น ฆ่าพ่อแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงลักษณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงอาจฟ้องหย่าได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายนี้ แม้ว่าสตรีจะร้องทุกข์เพื่อขอหย่ายังมักถูกตัดสินให้รับโทษด้วยเพราะถูกมองว่าการร้องเรียนสามีหรือครอบครัวสามีเป็นการกระทำที่ไม่ถูกจรรยาของสตรี แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว การบังคับหย่าจึงเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพของสตรีวิธีหนึ่ง และเป็นการตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูลอีกด้วย และการเลิกราแบบสุดท้ายคือการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) ซึ่งว่ากันว่ามีปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยราชวงศ์ฉิน แต่... มันไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับใช้จวบจนสมัยถัง โดยประมวลกฎหมายแห่งถังบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสามีภรรยาไม่พอใจซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมครองเรือนกันต่อไปได้แล้วนั้น ให้เลิกรากันได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย แม้ว่าบทกฎหมายดังกล่าวจะถูกใช้ต่อมาอีกหลายยุคสมัย แต่ไม่มีการอธิบายหลักการนี้เพิ่มเติม และในปัจจุบันยังมีบทความวิเคราะห์ที่ให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับเลิกโดยสมัครใจนี้ในบริบทของสังคมจีนโบราณ ทั้งนี้ ในบริบทของสังคมจีนโบราณ การแต่งงานถูกมองว่าเป็นการเกี่ยวดองของสองตระกูลที่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายและไม่ใช่เรื่องของคนสองคนเท่านั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้น การเลิกหรือขับเมียยังสามารถทำได้โดยพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการถูกบังคับหย่าโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำที่ตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล จึงเป็นที่กังขาว่า การเลิกราโดยสมัครใจเป็นการตัดสินใจร่วมของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ จะเห็นได้ว่า นับแต่สมัยถังมามีบทกฎหมายที่คุ้มครองสตรีในการสมรสมากขึ้น แต่กระนั้น บุรุษก็ยังมีทางเลือกมากกว่าสตรี โดยอาจใช้ข้ออ้างของ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ มาใช้เป็นเหตุผลในการทิ้งเมีย และหากบุรุษไม่ยินยอมเลิกรา สตรีก็หย่าขาดจากสามีไม่ได้ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงพอที่จะฟ้องหย่าได้ อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยต่อๆ มามีการเพิ่มเติมข้ออนุโลมให้สตรีใช้เป็นเหตุผลการหย่าร้างได้อีกแต่ไม่มาก ตัวอย่างเช่น ในสมัยหมิงมีการกำหนดไว้ว่า หากสามีหายตัวไปไม่กลับบ้านนานเกินสามปี ภรรยาสามารถยกเลิกพันธะสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเอกสารราชการยืนยัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.manmankan.com/dy2013/202401/20764.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.chinacourt.org/article/detail/2022/11/id/7011234.shtml https://www.legal-theory.org/?mod=info&act=view&id=21560 http://www.legaldaily.com.cn/fxjy/content/2021-05/12/content_8503165.html http://law.newdu.com/uploads/202401/31/201005130115.pdf https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml #ทำนองรักกังวานแดนดิน #การหย่าร้าง #เหอหลี #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 409 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อวันพุธ (4 ธ.ค.) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนเทศกาลฤดูใบไม้ผลิหรือเทศกาลตรุษจีนของประชาชนชาวจีนเข้าสู่รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ.มติข้างต้นมีขึ้นที่การประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ สมัยที่ 19 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-7 ธ.ค. ในปารากวัย โดยคณะกรรมการฯ ให้การรับรองเทศกาลตรุษจีน เนื่องด้วยมีพิธีกรรมและองค์ประกอบทางวัฒนธรรมเฉพาะตัวอันเกี่ยวพันกับทั้งสังคมจีน.ยูเนสโกเน้นย้ำว่าเทศกาลตรุษจีนที่เป็นหมุดหมายการเริ่มต้นปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติจีนมีความเกี่ยวข้องกับพิธีปฏิบัติทางสังคมที่หลากหลาย ทั้งการกราบไหว้ขอพรและการกลับมารวมตัวกันของสมาชิกครอบครัว รวมถึงมีกิจกรรมต่างๆ ที่จัดแจงโดยผู้สูงอายุและงานสาธารณะตามเทศกาลที่จัดโดยชุมชน.เอกสารของยูเนสโกระบุว่าองค์ความรู้และขนบธรรมเนียมตามประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวพันกับเทศกาลตรุษจีนถูกส่งต่อภายในครอบครัวและชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ รวมถึงส่งต่ออย่างเป็นทางการผ่านระบบการศึกษา ขณะทักษะงานฝีมือและศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้ถูกส่งต่อผ่านการฝึกฝน ส่งเสริมคุณค่าของครอบครัว ความสมานฉันท์ในสังคม และสันติภาพ.คณะกรรมการฯ สำทับว่าเทศกาลตรุษจีนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมนั้นประกอบด้วยความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และมีส่วนส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านต่างๆ เช่น ความมั่นคงทางอาหารและการศึกษา ตลอดจนมีบทบาทหลักในการเพิ่มความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม.เหราเฉวียน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีน ซึ่งนำคณะผู้แทนของจีนเข้าร่วมการประชุมของยูเนสโก กล่าวว่าเทศกาลตรุษจีนเป็นวันหยุดตามประเพณีที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังมีชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนชาวจีน สัมพันธ์กับครอบครัวและประเทศ และคุณค่าของความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ.เหราเสริมว่าเทศกาลตรุษจีนถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นและมอบความแข็งแกร่งทางจิตวิญญาณแก่ประชาชนชาวจีนเสมอมา มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความปรองดองของครอบครัวและสังคม ขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปกป้องสิ่งแวดล้อม และบ่มเพาะการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมทั่วโลก.เหรากล่าวว่าการขึ้นทะเบียนเทศกาลตรุษจีนเข้าสู่รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจะช่วยส่งเสริมคุณค่าสากลของสันติภาพและความสามัคคีปรองดอง และเน้นย้ำบทบาทสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในการพัฒนาที่ยั่งยืน.ปัจจุบันจีนมีองค์ประกอบหรือพิธีปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่ยูเนสโกให้การรับรองเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ จำนวน 44 รายการแล้ว
    เมื่อวันพุธ (4 ธ.ค.) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนเทศกาลฤดูใบไม้ผลิหรือเทศกาลตรุษจีนของประชาชนชาวจีนเข้าสู่รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ.มติข้างต้นมีขึ้นที่การประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ สมัยที่ 19 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-7 ธ.ค. ในปารากวัย โดยคณะกรรมการฯ ให้การรับรองเทศกาลตรุษจีน เนื่องด้วยมีพิธีกรรมและองค์ประกอบทางวัฒนธรรมเฉพาะตัวอันเกี่ยวพันกับทั้งสังคมจีน.ยูเนสโกเน้นย้ำว่าเทศกาลตรุษจีนที่เป็นหมุดหมายการเริ่มต้นปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติจีนมีความเกี่ยวข้องกับพิธีปฏิบัติทางสังคมที่หลากหลาย ทั้งการกราบไหว้ขอพรและการกลับมารวมตัวกันของสมาชิกครอบครัว รวมถึงมีกิจกรรมต่างๆ ที่จัดแจงโดยผู้สูงอายุและงานสาธารณะตามเทศกาลที่จัดโดยชุมชน.เอกสารของยูเนสโกระบุว่าองค์ความรู้และขนบธรรมเนียมตามประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวพันกับเทศกาลตรุษจีนถูกส่งต่อภายในครอบครัวและชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ รวมถึงส่งต่ออย่างเป็นทางการผ่านระบบการศึกษา ขณะทักษะงานฝีมือและศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้ถูกส่งต่อผ่านการฝึกฝน ส่งเสริมคุณค่าของครอบครัว ความสมานฉันท์ในสังคม และสันติภาพ.คณะกรรมการฯ สำทับว่าเทศกาลตรุษจีนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมนั้นประกอบด้วยความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และมีส่วนส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านต่างๆ เช่น ความมั่นคงทางอาหารและการศึกษา ตลอดจนมีบทบาทหลักในการเพิ่มความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม.เหราเฉวียน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีน ซึ่งนำคณะผู้แทนของจีนเข้าร่วมการประชุมของยูเนสโก กล่าวว่าเทศกาลตรุษจีนเป็นวันหยุดตามประเพณีที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังมีชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนชาวจีน สัมพันธ์กับครอบครัวและประเทศ และคุณค่าของความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ.เหราเสริมว่าเทศกาลตรุษจีนถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นและมอบความแข็งแกร่งทางจิตวิญญาณแก่ประชาชนชาวจีนเสมอมา มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความปรองดองของครอบครัวและสังคม ขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปกป้องสิ่งแวดล้อม และบ่มเพาะการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมทั่วโลก.เหรากล่าวว่าการขึ้นทะเบียนเทศกาลตรุษจีนเข้าสู่รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจะช่วยส่งเสริมคุณค่าสากลของสันติภาพและความสามัคคีปรองดอง และเน้นย้ำบทบาทสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในการพัฒนาที่ยั่งยืน.ปัจจุบันจีนมีองค์ประกอบหรือพิธีปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่ยูเนสโกให้การรับรองเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ จำนวน 44 รายการแล้ว
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 401 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไม่เว้นแม้แต่คนสนิทของนายสีนิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัยหนึ่งในหน่วยงานที่คนจีนกลัวมากที่สุดคือ ‘จงกั๋ว ก้งฉานตั่ง จงยาง จี้ลวี่ เจี่ยนฉา เหว่ยหยวนฮุ่ย’ คณะกรรมการตรวจสอบวินัยแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ หรือ CCDI จนถึง ค.ศ.2023 มีเจ้าหน้าที่รัฐจีนถูกดำเนินคดีและลงโทษในข้อหาทุจริตคอร์รัปชันไปแล้วมากถึง 2.3 ล้านคนสี จิ้นผิง เป็นผู้นำสูงสุดเมื่อ ค.ศ.2013 นับตั้งแต่วันที่มีอำนาจเต็มมือ นายสีก็ปราบปรามข้าราชการทุจริตอย่างรวดเร็ว เด็ดขาด เข้มงวด ไม่มีการผ่อนปรน และไม่มีการลูบหน้าปะจมูกนายสียังใช้ ‘จงฮวา เหรินหมิน ก้งเหอกั๋ว เสิ่นจี้สู่’ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติจีน หรือ CNAO ป้องกันและปราบปรามเพื่อไม่ให้การทุจริตคอรัปชันทำลายประเทศและทำลายสังคมจีนสมัยก่อนตอนโน้น การตรวจสอบการทุจริตต้องทำหลังจากมีการทุจริตเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น จีนเป็นประเทศใหญ่โตมโหฬารมีประชากรมากกว่าพันล้านคน เอกสารย้อนหลังมีบานเบอะเยอะแยะและยากที่จะตรวจสอบทว่าปัจจุบัน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติใช้ ‘ทูจี๋ ต้า เสิ่นจี้’ การตรวจสอบครั้งใหญ่อย่างสายฟ้าแลบ ตรวจพบความผิดปกติในธุรกรรมได้ทันทีสมัยที่ยังไม่มีปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ การตรวจสอบลักษณะนี้ทำไม่ได้เลย แต่ปัจจุบัน ใครทุจริตคอร์รัปชันจะปรากฏให้เห็นในข้อมูลขององค์กรตรวจเงินแผ่นดินจีน หลายกรณีมีการยับยั้งได้ก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้นกับเงินแผ่นดินเป็นที่ยอมรับกันว่า ‘จงฮวา เหรินหมิน ก้งเหอกั๋ว เสิ่นจี้สู่’ เป็นสถาบันการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอันดับ 1 ของโลกด้วยการใช้ ‘ต้า ซู่จวี้ กงจั้ว จู่’ คณะทำงานหรือทีมปฏิบัติงานด้านข้อมูลขนาดใหญ่ (Working Group on Big Data) ทันทีที่มีการโอนเงิน การถือครองทรัพย์สิน หรือการลงทุนในต่างประเทศ ข้อมูลเหล่านี้จะไปปรากฏในฐานวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน ทำให้สามารถตรวจสอบความโปร่งใสของธุรกรรม และถ้าการกระทำนั้นไปเกี่ยวดองหนองยุ่งกับเจ้าหน้าที่ของรัฐจะมีการติดตามพฤติกรรมว่ามีการใช้จ่ายเกินฐานะหรือไม่ค.ศ.2024 อดีตรัฐมนตรีของประเทศบูร์กินาฟากัวนัวเนีย 2 คน บินไปเล่นกาสิโนที่สหรัฐฯ แสร้งว่าเล่นได้เงินจำนวนมาก เพื่อนำเงินเทาที่รับมาฟอกให้ขาวสะอาด รัฐและประชาชนของประเทศนั้นไม่รู้ แต่ ‘จงกั๋ว โชวจี ฉวนฉิว เจิ้งจื้อ เหรินอู้ สิงเหวย เตอะ ต้า ซู่จวี้’ ข้อมูลขนาดใหญ่หรือบิ๊กดาต้าที่จีนรวบรวมพฤติกรรมนักการเมืองทั่วโลก มีรายงานปรากฏอย่างละเอียดถึงจำนวนเงิน สถานที่ วันเดินทางและเที่ยวบินที่เดินทางไปกลับข้อมูลขนาดใหญ่ของคนและหน่วยงานทั้งโลกที่ลอยล่องฟ่องอยู่ในอากาศเชื่อมระโนงโยงเยงได้ลึกซึ้งถึงขนาดบอกได้อย่างชัดเจนว่าเงินที่ได้มานั้นมาจากไหน อย่างไร และนี่เป็นคำตอบที่ว่า ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐจีนเป็นล้านจึงโดนจับและถูกลงโทษได้อย่างง่ายจำนนต่อหลักฐานสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมของจีนออกมาเปิดเผยเรื่องการสอบสวนนายพลเหมียว หัว ผู้บัญชาการหมายเลข 5 ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน นายพลเหมียวเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการการทหารกลาง เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการเมืองภายใต้คณะกรรมาธิการฯ เป็นคนที่ได้รับการกล่าวขวัญในเรื่องการเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็วในกองทัพปลดแอกประชาชนจีนการคัดคนเข้ามาอยู่ในคณะกรรมาธิการการทหารกลางเป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบกันอย่างละเอียดรอบคอบ กรองแล้วกรองอีกในด้านความสะอาดโปร่งใส เพราะคณะกรรมาธิการฯนี้เป็นหน่วยงานระดับสูงที่กำกับดูแลกองทัพปลดแอกประชาชนที่มีสมาชิกเพียง 6 คน มีอำนาจการตัดสินใจในกิจการทหารนายสีไว้ใจนายพลเหมียวให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการการทหารกลางเพื่อเป็นตัวแทนของตนในการควบคุมกองทัพ การขึ้นมาของใครคนใดคนหนึ่งในแผ่นดินจีนจะต้องมีกลุ่มการเมืองที่แข็งแรงสนับสนุน นายพลเหมียวเป็นบุคคลหลักในกลุ่มฝูเจี้ยนและกลุ่มเจ้อเจียง สองกลุ่มการเมืองที่แข็งแรงหลังจากที่ความสามารถทางขีปนาวุธของจีนลดลง ก็มีการสงสัยว่าน่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชัน จึงมีการตรวจสอบอย่างละเอียด และนี่เป็นที่มาของการตรวจสอบนายพลเหมียวซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในคนสนิทของประธานาธิบดีสีแม้แต่คนสนิทกระทำความผิด นายสีก็ไม่เว้น.
    ไม่เว้นแม้แต่คนสนิทของนายสีนิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัยหนึ่งในหน่วยงานที่คนจีนกลัวมากที่สุดคือ ‘จงกั๋ว ก้งฉานตั่ง จงยาง จี้ลวี่ เจี่ยนฉา เหว่ยหยวนฮุ่ย’ คณะกรรมการตรวจสอบวินัยแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ หรือ CCDI จนถึง ค.ศ.2023 มีเจ้าหน้าที่รัฐจีนถูกดำเนินคดีและลงโทษในข้อหาทุจริตคอร์รัปชันไปแล้วมากถึง 2.3 ล้านคนสี จิ้นผิง เป็นผู้นำสูงสุดเมื่อ ค.ศ.2013 นับตั้งแต่วันที่มีอำนาจเต็มมือ นายสีก็ปราบปรามข้าราชการทุจริตอย่างรวดเร็ว เด็ดขาด เข้มงวด ไม่มีการผ่อนปรน และไม่มีการลูบหน้าปะจมูกนายสียังใช้ ‘จงฮวา เหรินหมิน ก้งเหอกั๋ว เสิ่นจี้สู่’ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติจีน หรือ CNAO ป้องกันและปราบปรามเพื่อไม่ให้การทุจริตคอรัปชันทำลายประเทศและทำลายสังคมจีนสมัยก่อนตอนโน้น การตรวจสอบการทุจริตต้องทำหลังจากมีการทุจริตเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น จีนเป็นประเทศใหญ่โตมโหฬารมีประชากรมากกว่าพันล้านคน เอกสารย้อนหลังมีบานเบอะเยอะแยะและยากที่จะตรวจสอบทว่าปัจจุบัน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติใช้ ‘ทูจี๋ ต้า เสิ่นจี้’ การตรวจสอบครั้งใหญ่อย่างสายฟ้าแลบ ตรวจพบความผิดปกติในธุรกรรมได้ทันทีสมัยที่ยังไม่มีปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ การตรวจสอบลักษณะนี้ทำไม่ได้เลย แต่ปัจจุบัน ใครทุจริตคอร์รัปชันจะปรากฏให้เห็นในข้อมูลขององค์กรตรวจเงินแผ่นดินจีน หลายกรณีมีการยับยั้งได้ก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้นกับเงินแผ่นดินเป็นที่ยอมรับกันว่า ‘จงฮวา เหรินหมิน ก้งเหอกั๋ว เสิ่นจี้สู่’ เป็นสถาบันการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอันดับ 1 ของโลกด้วยการใช้ ‘ต้า ซู่จวี้ กงจั้ว จู่’ คณะทำงานหรือทีมปฏิบัติงานด้านข้อมูลขนาดใหญ่ (Working Group on Big Data) ทันทีที่มีการโอนเงิน การถือครองทรัพย์สิน หรือการลงทุนในต่างประเทศ ข้อมูลเหล่านี้จะไปปรากฏในฐานวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน ทำให้สามารถตรวจสอบความโปร่งใสของธุรกรรม และถ้าการกระทำนั้นไปเกี่ยวดองหนองยุ่งกับเจ้าหน้าที่ของรัฐจะมีการติดตามพฤติกรรมว่ามีการใช้จ่ายเกินฐานะหรือไม่ค.ศ.2024 อดีตรัฐมนตรีของประเทศบูร์กินาฟากัวนัวเนีย 2 คน บินไปเล่นกาสิโนที่สหรัฐฯ แสร้งว่าเล่นได้เงินจำนวนมาก เพื่อนำเงินเทาที่รับมาฟอกให้ขาวสะอาด รัฐและประชาชนของประเทศนั้นไม่รู้ แต่ ‘จงกั๋ว โชวจี ฉวนฉิว เจิ้งจื้อ เหรินอู้ สิงเหวย เตอะ ต้า ซู่จวี้’ ข้อมูลขนาดใหญ่หรือบิ๊กดาต้าที่จีนรวบรวมพฤติกรรมนักการเมืองทั่วโลก มีรายงานปรากฏอย่างละเอียดถึงจำนวนเงิน สถานที่ วันเดินทางและเที่ยวบินที่เดินทางไปกลับข้อมูลขนาดใหญ่ของคนและหน่วยงานทั้งโลกที่ลอยล่องฟ่องอยู่ในอากาศเชื่อมระโนงโยงเยงได้ลึกซึ้งถึงขนาดบอกได้อย่างชัดเจนว่าเงินที่ได้มานั้นมาจากไหน อย่างไร และนี่เป็นคำตอบที่ว่า ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐจีนเป็นล้านจึงโดนจับและถูกลงโทษได้อย่างง่ายจำนนต่อหลักฐานสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมของจีนออกมาเปิดเผยเรื่องการสอบสวนนายพลเหมียว หัว ผู้บัญชาการหมายเลข 5 ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน นายพลเหมียวเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการการทหารกลาง เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการเมืองภายใต้คณะกรรมาธิการฯ เป็นคนที่ได้รับการกล่าวขวัญในเรื่องการเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็วในกองทัพปลดแอกประชาชนจีนการคัดคนเข้ามาอยู่ในคณะกรรมาธิการการทหารกลางเป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบกันอย่างละเอียดรอบคอบ กรองแล้วกรองอีกในด้านความสะอาดโปร่งใส เพราะคณะกรรมาธิการฯนี้เป็นหน่วยงานระดับสูงที่กำกับดูแลกองทัพปลดแอกประชาชนที่มีสมาชิกเพียง 6 คน มีอำนาจการตัดสินใจในกิจการทหารนายสีไว้ใจนายพลเหมียวให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการการทหารกลางเพื่อเป็นตัวแทนของตนในการควบคุมกองทัพ การขึ้นมาของใครคนใดคนหนึ่งในแผ่นดินจีนจะต้องมีกลุ่มการเมืองที่แข็งแรงสนับสนุน นายพลเหมียวเป็นบุคคลหลักในกลุ่มฝูเจี้ยนและกลุ่มเจ้อเจียง สองกลุ่มการเมืองที่แข็งแรงหลังจากที่ความสามารถทางขีปนาวุธของจีนลดลง ก็มีการสงสัยว่าน่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชัน จึงมีการตรวจสอบอย่างละเอียด และนี่เป็นที่มาของการตรวจสอบนายพลเหมียวซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในคนสนิทของประธานาธิบดีสีแม้แต่คนสนิทกระทำความผิด นายสีก็ไม่เว้น.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 306 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์

    อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง

    ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน

    คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป

    แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา

    ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย

    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ

    ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย

    แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร

    ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน

    แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย

    ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์"

    ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา

    Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น

    โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย

    พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง

    ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ

    ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม)

    ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน)

    กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น

    แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร

    ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา

    แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก

    ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย

    ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

    สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย

    หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า

    "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน

    จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ"

    แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น

    หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better
    ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok

    ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA

    #Thaitimes
    เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์ อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์" ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม) ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน) กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ" แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA #Thaitimes
    WWW.THEBETTER.CO.TH
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1125 มุมมอง 0 รีวิว
  • จีนเคยอดยาก ขาดอาหาร..กินรากไม้!! ตาย40-50ล้านชีวิต!! (24/10/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ความมั่นคงทางอาหารของจีน #ประวัติศาสตร์จีน #สังคมจีน
    จีนเคยอดยาก ขาดอาหาร..กินรากไม้!! ตาย40-50ล้านชีวิต!! (24/10/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ความมั่นคงทางอาหารของจีน #ประวัติศาสตร์จีน #สังคมจีน
    Like
    Sad
    Love
    Haha
    16
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2468 มุมมอง 513 1 รีวิว
  • จีนใหญ่ - จีนไต้หวัน (เบื้องหลัง) ก็คือ พี่น้องกัน..นั่นเอง

    สรุป..ความสำเร็จของการรวมชาติของจีน และ กำเนิดประเทศไต้หวัน (เบื้องหลัง)เกิดจากอิทธิพลของ..
    #สามสาวพี่น้องตระกูลซ่ง宋 ( เก่ง สวย และ รวยมาก )

    สาว สาว สาว จบการศึกษาจากสหรัฐฯ ในช่วงที่สังคมจีนสิ้นสุดราชวงศ์ชิง清朝 ได้นำพาประเทศจีน เปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ สู่สังคม จีนยุคใหม่
    ----------------------------------------

    (พี่ใหญ่ ) #ซ่งอ่ายหลิง 宋蔼龄 ได้แต่งงานกับ อภิมหาเศรษฐี "ขงเสียงซี" 孔祥熙 (ทายาทเจ้าลัทธิรุ่น75 ของ ขงจื๊อ)

    พี่ใหญ่..เปรียบเสมือนตู้ATM(เคลื่อนที่) ชนิดไม่ฝากก็ถอนได้ ออกทุนให้น้องเขย คือ ดร.ซุนยัดเซ็น孫文 / 孫逸仙 หัวหน้าพรรค"ก๊กมินตั๋ง"国民党 ไปก่อตั้งโรงเรียนทหารฮ๋วงผู่黄蒲 ฝึกทหาร ติดอาวุธส่งเข้าไปในการต่อสู้ปฎิวัติประเทศจีน โดยมี(เขยเล็ก) เจียงไคเช็ค(蒋介石) เรียนจบการทหารจากญี่ปุ่นเป็นผู้ดูแล

    รบกันไป-รบกันมา หลายฝ่าย วุ่นวาย เหมือน..สามก๊ก (ไปหาอ่านกันเอง นะคะ)

    (น้องกลาง) #ซ่งชิ่งหลิง 宋庆 龄 หลังจากการอสัญกรรมของ ดร.ซุนยัดเซ็น ไปท่องยุโรปและรัสเซีย เปลี่ยนอุดมการณ์จากทุนนิยมเสรี เป็น คอมมิวนิสต์ ได้รับการสนับสนุนจากพี่สาว ให้เจรจากับ โจเซฟ สตาลิน ช่วยสนับสนุนกำลังอาวุธที่ยึดจากญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่2ให้กองทัพคอมมิวนิสต์จีน และเข้าร่วมปฎิวัติวัฒนธรรมจีน กับภริยาท่านประธานเหมา ก่อตั้ง "สาธารณรัฐประชาชนจีน" ( PRC=People Republic of China)

    (น้องเล็ก) #ซ่งเหม่ยหลิง 宋美龄 ยึดมั่นในประชาธิปไตยแบบตะวันตก หลังปราบญี่ปุ่นและสงครามโลกครั้งที่2 จบลง นางได้จิกให้สามี คือ จอมพลเจียงไคเชค แยกประชาชนจีนร่วมอุดมการณ์ ออกมาตั้งเป็น "ประเทศไต้หวัน"Republic of China(TAIWAN)

    ส่วนมาก..พวกผู้ชาย เค้าก็เล่า ตัวเอกเป็น ดร.ซุนยัดเซ็น เหมาเจ๋อตุง毛泽东 โจวเอินไล周恩來 เจียงไคเช็ค 蒋介石

    แต่ #กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ผู้หญิงมีส่วนสำคัญในการเจรจาต่อรอง และให้ทุนสนับสนุน(อยู่เบื้องหลัง) จ๊ะ
    .
    .

    Pachäree Wõng
    October5, 2024
    Sausalito, CA94965
    จีนใหญ่ - จีนไต้หวัน (เบื้องหลัง) ก็คือ พี่น้องกัน..นั่นเอง สรุป..ความสำเร็จของการรวมชาติของจีน และ กำเนิดประเทศไต้หวัน (เบื้องหลัง)เกิดจากอิทธิพลของ.. #สามสาวพี่น้องตระกูลซ่ง宋 ( เก่ง สวย และ รวยมาก ) สาว สาว สาว จบการศึกษาจากสหรัฐฯ ในช่วงที่สังคมจีนสิ้นสุดราชวงศ์ชิง清朝 ได้นำพาประเทศจีน เปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ สู่สังคม จีนยุคใหม่ ---------------------------------------- (พี่ใหญ่ ) #ซ่งอ่ายหลิง 宋蔼龄 ได้แต่งงานกับ อภิมหาเศรษฐี "ขงเสียงซี" 孔祥熙 (ทายาทเจ้าลัทธิรุ่น75 ของ ขงจื๊อ) พี่ใหญ่..เปรียบเสมือนตู้ATM(เคลื่อนที่) ชนิดไม่ฝากก็ถอนได้ ออกทุนให้น้องเขย คือ ดร.ซุนยัดเซ็น孫文 / 孫逸仙 หัวหน้าพรรค"ก๊กมินตั๋ง"国民党 ไปก่อตั้งโรงเรียนทหารฮ๋วงผู่黄蒲 ฝึกทหาร ติดอาวุธส่งเข้าไปในการต่อสู้ปฎิวัติประเทศจีน โดยมี(เขยเล็ก) เจียงไคเช็ค(蒋介石) เรียนจบการทหารจากญี่ปุ่นเป็นผู้ดูแล รบกันไป-รบกันมา หลายฝ่าย วุ่นวาย เหมือน..สามก๊ก (ไปหาอ่านกันเอง นะคะ) (น้องกลาง) #ซ่งชิ่งหลิง 宋庆 龄 หลังจากการอสัญกรรมของ ดร.ซุนยัดเซ็น ไปท่องยุโรปและรัสเซีย เปลี่ยนอุดมการณ์จากทุนนิยมเสรี เป็น คอมมิวนิสต์ ได้รับการสนับสนุนจากพี่สาว ให้เจรจากับ โจเซฟ สตาลิน ช่วยสนับสนุนกำลังอาวุธที่ยึดจากญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่2ให้กองทัพคอมมิวนิสต์จีน และเข้าร่วมปฎิวัติวัฒนธรรมจีน กับภริยาท่านประธานเหมา ก่อตั้ง "สาธารณรัฐประชาชนจีน" ( PRC=People Republic of China) (น้องเล็ก) #ซ่งเหม่ยหลิง 宋美龄 ยึดมั่นในประชาธิปไตยแบบตะวันตก หลังปราบญี่ปุ่นและสงครามโลกครั้งที่2 จบลง นางได้จิกให้สามี คือ จอมพลเจียงไคเชค แยกประชาชนจีนร่วมอุดมการณ์ ออกมาตั้งเป็น "ประเทศไต้หวัน"Republic of China(TAIWAN) ส่วนมาก..พวกผู้ชาย เค้าก็เล่า ตัวเอกเป็น ดร.ซุนยัดเซ็น เหมาเจ๋อตุง毛泽东 โจวเอินไล周恩來 เจียงไคเช็ค 蒋介石 แต่ #กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ผู้หญิงมีส่วนสำคัญในการเจรจาต่อรอง และให้ทุนสนับสนุน(อยู่เบื้องหลัง) จ๊ะ . . Pachäree Wõng October5, 2024 Sausalito, CA94965
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 276 มุมมอง 0 รีวิว