• 💥💥สุดยอด ปรบมือ!! ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    ประสานความร่วมมือ ยกระดับการทำหน้าที่กำกับดูแล
    ตลาดทุนร่วมกัน ให้มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม มากยิ่งขึ้น

    บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงกรอบการ
    ทำงานร่วมกันของทั้ง 2 องค์กรในงานด้านกำกับดูแล
    ให้มีความชัดเจน ลดความซ้ำซ้อน รวมถึงสอดรับกับระบบนิเวศ
    และการเปลี่ยนแปลงของตลาดทุนในปัจจุบัน
    ตลอดจนสามารถรองรับกับแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
    ได้แก่

    (1) การกำกับดูแลบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน
    และการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน

    (2) การกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และสมาชิก
    ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

    (3) การติดตามดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน
    และการบังคับใช้กฎหมาย และ

    (4) การออกระเบียบข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ
    อีกทั้งจะเพิ่มการสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลการกำกับดูแล
    ระหว่างกัน เพื่อให้การทำหน้าที่ของแต่ละองค์กรมีประสิทธิภาพ
    มากยิ่งขึ้น เช่น การร่วมกันพิจารณาคำขอกรณีการจดทะเบียนโดยอ้อม
    (Backdoor Listing) การขอย้ายกลับมาซื้อขายของบริษัทจดทะเบียน
    หลังแก้ไขเหตุอาจถูกเพิกถอน (Resume Trading) เพื่อให้กระบวนการ
    พิจารณา มีมาตรฐานเทียบเท่าการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนใหม่
    และยังจะมีการร่วมกันกำหนดหรือปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
    หากเห็นว่ากฎเกณฑ์ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยสนับสนุน ป้องปราม
    หรือยับยั้งพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรม
    ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นต้น

    อีกทั้งบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ยังครอบคลุมถึงแนวทางการทำงาน
    และการประสานงานร่วมกัน ทั้งในระดับคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ
    ของทั้ง 2 องค์กร เพื่อให้การขับเคลื่อนทิศทางนโยบายการพัฒนา
    ตลาดทุน การส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันกับตลาดทุนอื่น
    และการกำกับดูแลตลาดทุนของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ
    มีความสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น

    นอกจากนี้ ทั้ง 2 องค์กรยังมีการหารือในประเด็นที่จะขับเคลื่อน
    ร่วมกันที่สำคัญ ดังนี้

    (1) การสร้างระบบนิเวศ (ecosystem) หลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์
    เพื่อรองรับการพัฒนาการลงทุนในรูปแบบใหม่ ที่อยู่ระหว่างปรับปรุง
    พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

    (2) การสนับสนุนการเพิ่มมูลค่า (value up) ของบริษัทจดทะเบียน
    เพื่อสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้บริษัทจดทะเบียนมุ่งมั่น
    ที่จะเสริมศักยภาพและมูลค่าของตัวเอง สื่อสารกับนักลงทุน
    อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือจากที่รัฐบาลได้สนับสนุน
    การขยายรายชื่อหลักทรัพย์ที่กองทุน Thai ESG สามารถลงทุนได้

    (3) การส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามมาตรฐาน
    International Sustainability Standards Board (ISSB)
    ซึ่ง ก.ล.ต. อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมและขอความร่วมมือ
    จากตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการสนับสนุนและต่อยอดการดำเนินการ
    และการทำความเข้าใจกับบริษัทจดทะเบียน

    (4) การส่งเสริมผู้ลงทุนให้มีความรู้ (investor empowerment)
    ผ่าน Open Data ของภาคตลาดทุนและภาคการเงิน เพื่อให้ผู้ลงทุน
    สามารถใช้ข้อมูลของตนที่อยู่กับผู้ประกอบธุรกิจได้อย่างมี
    ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    ที่มา ก.ล.ต.
    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    💥💥สุดยอด ปรบมือ!! ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประสานความร่วมมือ ยกระดับการทำหน้าที่กำกับดูแล ตลาดทุนร่วมกัน ให้มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม มากยิ่งขึ้น บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงกรอบการ ทำงานร่วมกันของทั้ง 2 องค์กรในงานด้านกำกับดูแล ให้มีความชัดเจน ลดความซ้ำซ้อน รวมถึงสอดรับกับระบบนิเวศ และการเปลี่ยนแปลงของตลาดทุนในปัจจุบัน ตลอดจนสามารถรองรับกับแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ (1) การกำกับดูแลบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน และการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน (2) การกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และสมาชิก ของตลาดหลักทรัพย์ฯ (3) การติดตามดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน และการบังคับใช้กฎหมาย และ (4) การออกระเบียบข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกทั้งจะเพิ่มการสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลการกำกับดูแล ระหว่างกัน เพื่อให้การทำหน้าที่ของแต่ละองค์กรมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น เช่น การร่วมกันพิจารณาคำขอกรณีการจดทะเบียนโดยอ้อม (Backdoor Listing) การขอย้ายกลับมาซื้อขายของบริษัทจดทะเบียน หลังแก้ไขเหตุอาจถูกเพิกถอน (Resume Trading) เพื่อให้กระบวนการ พิจารณา มีมาตรฐานเทียบเท่าการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนใหม่ และยังจะมีการร่วมกันกำหนดหรือปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง หากเห็นว่ากฎเกณฑ์ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยสนับสนุน ป้องปราม หรือยับยั้งพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรม ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นต้น อีกทั้งบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ยังครอบคลุมถึงแนวทางการทำงาน และการประสานงานร่วมกัน ทั้งในระดับคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ ของทั้ง 2 องค์กร เพื่อให้การขับเคลื่อนทิศทางนโยบายการพัฒนา ตลาดทุน การส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันกับตลาดทุนอื่น และการกำกับดูแลตลาดทุนของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทั้ง 2 องค์กรยังมีการหารือในประเด็นที่จะขับเคลื่อน ร่วมกันที่สำคัญ ดังนี้ (1) การสร้างระบบนิเวศ (ecosystem) หลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับการพัฒนาการลงทุนในรูปแบบใหม่ ที่อยู่ระหว่างปรับปรุง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) การสนับสนุนการเพิ่มมูลค่า (value up) ของบริษัทจดทะเบียน เพื่อสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้บริษัทจดทะเบียนมุ่งมั่น ที่จะเสริมศักยภาพและมูลค่าของตัวเอง สื่อสารกับนักลงทุน อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือจากที่รัฐบาลได้สนับสนุน การขยายรายชื่อหลักทรัพย์ที่กองทุน Thai ESG สามารถลงทุนได้ (3) การส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามมาตรฐาน International Sustainability Standards Board (ISSB) ซึ่ง ก.ล.ต. อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมและขอความร่วมมือ จากตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการสนับสนุนและต่อยอดการดำเนินการ และการทำความเข้าใจกับบริษัทจดทะเบียน (4) การส่งเสริมผู้ลงทุนให้มีความรู้ (investor empowerment) ผ่าน Open Data ของภาคตลาดทุนและภาคการเงิน เพื่อให้ผู้ลงทุน สามารถใช้ข้อมูลของตนที่อยู่กับผู้ประกอบธุรกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ที่มา ก.ล.ต. #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 208 มุมมอง 0 รีวิว
  • รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง

    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน

    ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย

    ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT

    ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด

    ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น

    #Newskit #EMVContactless #MRTA
    รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น #Newskit #EMVContactless #MRTA
    Like
    Wow
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 309 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🚩เทคนิค ชี้นำ บ่งการ คนอื่นอย่างแยบยล โน้มน้าวผู้คนอย่างเหนือชั้น !!!.

    ในโลกที่การสื่อสารและความสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญ เราต้องการเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจและเชื่อมต่อกับผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง

    เทคนิคจิตวิทยาในการชี้นำหรือโน้มน้าวใจไม่ใช่เพียงแค่การควบคุมหรือบังคับ แต่เป็นศิลปะในการอ่านความต้องการ แรงจูงใจ และมุมมองของคนรอบข้าง เพื่อสร้างการยอมรับและความร่วมมืออย่างยั่งยืน

    ในคลิปนี้ เราจะสำรวจเทคนิคต่าง ๆ ที่ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณชี้นำคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณค่าและเชื่อมโยงกันอย่างแท้จริง พร้อมเปิดโลกแห่งความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่รอให้คุณค้นพบ! #จิตวิทยาการชี้นำ
    #การจัดการคน
    #เทคนิคจิตวิทยา
    #การเป็นผู้นำที่ดี
    #สร้างแรงจูงใจ
    #ผู้นำทางจิตวิทยา
    #อิทธิพลและความเชื่อมั่น
    #การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
    #จิตวิทยาสังคม
    #สร้างความร่วมมือ

    https://youtu.be/zsyJGYnAV7M
    🚩เทคนิค ชี้นำ บ่งการ คนอื่นอย่างแยบยล โน้มน้าวผู้คนอย่างเหนือชั้น !!!. ในโลกที่การสื่อสารและความสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญ เราต้องการเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจและเชื่อมต่อกับผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง เทคนิคจิตวิทยาในการชี้นำหรือโน้มน้าวใจไม่ใช่เพียงแค่การควบคุมหรือบังคับ แต่เป็นศิลปะในการอ่านความต้องการ แรงจูงใจ และมุมมองของคนรอบข้าง เพื่อสร้างการยอมรับและความร่วมมืออย่างยั่งยืน ในคลิปนี้ เราจะสำรวจเทคนิคต่าง ๆ ที่ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณชี้นำคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณค่าและเชื่อมโยงกันอย่างแท้จริง พร้อมเปิดโลกแห่งความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่รอให้คุณค้นพบ! #จิตวิทยาการชี้นำ #การจัดการคน #เทคนิคจิตวิทยา #การเป็นผู้นำที่ดี #สร้างแรงจูงใจ #ผู้นำทางจิตวิทยา #อิทธิพลและความเชื่อมั่น #การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ #จิตวิทยาสังคม #สร้างความร่วมมือ https://youtu.be/zsyJGYnAV7M
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 11 มุมมอง 0 รีวิว
  • รีโพสต์จากเพจเฟซบุ๊ก ‘ปราย พันแสง

    เมื่อคืนดูคลิปบอสเล่านิทานเรื่อง“มดไต่แก้ว”แล้วนอนไม่หลับเอาเลย ยอมรับว่าเล่าเก่งโคตร

    ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม
    จึงมีเหยื่อมากมายนัก
    ก็มันชวนเคลิ้มซะขนาดนี้

    🌻

    นานมาแล้ว สตีฟ จอบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ลเคยบอกว่า "The most powerful person in the world is the storyteller.“ คนที่ทรงพลังที่สุดในโลกคือนักเล่าเรื่อง จอบส์ฟันธงไว้อย่างนั้น

    เขาบอกว่า“นักเล่าเรื่อง” หรือคนที่เล่าเรื่องเป็น(storyteller) จะเป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยม และระเบียบวาระต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นให้กับผู้คนทั้งเจเนอเรชั่น อาจจะกล่าวได้ว่า นักเล่าเรื่องเก่งๆ นั้นสามารถกำหนดเทรนด์หรือทิศทางของสังคมได้

    ส่วนที่จอบส์ไม่ได้บอกไว้ก็คือ นักเล่าเรื่องเก่งๆ หลายคน สามารถทำให้คนคิดฆ่าตัวตาย ทำให้เกิดความฉิบหายระดับหมื่นล้านแสนล้านได้ด้วย

    สิ่งที่ปรากฏต่อสังคมไทยในวันนี้
    มันอาจเป็นประจักษ์พยานด้านมืด
    ของ storyteller อย่างชัดๆ

    🌻

    “มดไต่แก้ว” เป็นเรื่องเล่าง่ายๆ เกี่ยวกับมดที่พยายามป่ายปีนออกไปให้พ้นแก้ว มดบางตัวปีนไปจนอยู่ในจุดสูงที่สุดของปากแก้ว แต่แล้วก็ตกลงมา

    บอสบอกไว้คมเฉียบว่า ”การตกลงมาจากจุดสูงสุดอย่างนั้น มันทำให้เจ็บที่สุด ทำให้มีมดบางตัวยอมแพั แต่ก็ยังมีมดบางตัวสู้ต่อ จนได้รับอิสรภาพในที่สุด“

    เคลิ้มมั้ยล่ะ ^__^

    🌻

    เอาจริง จากอาชีพอ่านๆ เขียนๆ เรื่องเล่าประเภทนี้ไม่ได้กินเราหรอก แต่สำหรับคนที่ไม่ได้คลุกคลี อีกทั้งยังต้องอยู่ในสถานะลูกข่ายที่ต้องไล่ล่าทำยอดขาย พลังของเรื่องเล่าแบบนี้มันพุ่งปรี๊ดทะลุปม กระแทกต่อมได้ตรงจุด จึงไม่น่าแปลกใจถ้ามันจะทำให้ใครๆ ที่ได้ฟังครั้งแรกถึงกับน้ำตาไหลพราก ซาบซึ้งตรึงใจ

    เราเองฟังเรื่องมดไต่แก้วนี้กลับไปคิดถึงอีกเรื่องหนึ่ง ไม่รู้มีใครเคยฟังมั้ย เป็นนิทานเรื่องกบกระโดด เรื่องมีอยู่ว่า มีกบตัวหนึ่งพยายามปีนออกจากบ่อลึก ทุกครั้งที่มันพยายามกระโดด เพื่อนๆ กบจะพากันตะโกนห้ามว่า "เลิกเถอะ มันเป็นไปไม่ได้หรอก!"

    ทว่ากบตัวนั้นไม่ยอมแพ้ สุดท้ายในการกระโดดครั้งที่ 99 มันก็กระโดดออกจากบ่อได้สำเร็จ แต่ความจริงของเรื่องนี้คือ กบตัวนี้หูหนวก มันเลยไม่ได้ยินเสียงร้องห้ามจากเพื่อนๆ เลยสักนิดเดียว

    ช่างไม่ต่างอะไรเลยกับผู้เสียหายมากมาย
    ที่ไม่ยอมฟังคำทัดทานจากใครเลย
    เหมือนกบหูหนวก

    🌻

    คดีบอสๆ นี้ เราว่านิทานเรื่องมดไต่แก้วนี้ไม่เท่าไหร่ แต่ที่เรารู้สึกเองว่ามันทรงพลังแห่ง storytelling จริงๆ น่าจะเป็นนิทานเรื่องจริงที่แชร์กันเยอะๆ วันนี้ ที่เป็นคลิปเล่าเรื่องบอสพอลพาผู้ชมกลับไปทัวร์สลัมคลองเตยบ้านเกิด พาไปชมแฟลตเก่าชั้นสองห้อง 16 ที่เคยเติบโตมา

    แคปชั่นตรึงใจ “ผมไม่เคยลืม...ว่าผมเติบโตมาจากที่ไหน ชุมชนแออัด หรือที่ใครหลายคนเรียกว่า "สลัม"ผมเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ ในตอนที่ยังเริ่มต้นสร้างชีวิต”

    “20 ปีที่แล้ว กับภาพในวันนี้ ทุกอย่างมันยังคงอยู่เหมือนเดิม ราวกับว่ามันหยุดเวลาไว้ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจอะไรบางอย่าง มันคือจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ผมไม่เคยคิดดูถูกความฝันหรือความพยายามของใคร เพราะผมก็เคยเป็นหนึ่งคน ที่ชีวิตไม่พร้อม แต่มีความฝัน ขอเป็นกำลังใจให้กับนักสู้ชีวิตทุก ๆ ท่านครับ“

    คลิปถ่ายสวย ไม่เวอร์
    ภาพดี เสียงดี เล่าเรื่องดี
    นักแสดง(บอสพอล)แอ๊คติ้งเป็นธรรมชาติ
    ไม่มีตรงไหนชวนแหวะ
    หรือชวนเอ๊ะเลย

    ยิ่งตอนโทรคุยกับแม่หน้าแฟลตเก่า พูดถึงร้านก๋วยเตี๋ยวไก่เจ้าอร่อยที่ยังขายอยู่นั่นก็ดูจะเป็นซีนที่น่าจดจำมากทีเดียว คือถ้าไม่ติดเรื่องข้อสงสัยว่าเป็นธุรกิจผิดกฎหมายเนี่ย อยากเชิญคนทำคลิปนี้ไปสร้างหนังไทยเลย อยากดู

    ในคลิปนี้ บอสยืนพูดหน้าแฟลตที่สกปรกรุงรังว่า ตอนที่เขายังใช้ชีวิตอยู่ในสลัมแห่งนี้ ชีวิตวัยนั้นก็ไม่ได้คิดอะไรมากมายไปกว่าอยากดูแลแม่ให้มีความสุขเท่านั้น ตรงนี้เชื่อว่าเอฟซีอาจน้ำตาร่วง

    อีกทั้งน้ำเสียงของแม่ปลายสาย ก็ร่าเริงมีความสุข กับการพูดถึงร้านก๋วยเตี๋ยวเจ้าประจำที่เคยกินสมัยอยู่สลัม สื่อให้เห็นว่าเมื่อก้าวพ้นความยากจนไปแล้ว ร้านก๋วยเตี๋ยวไก่ในสลัมธรรมดาก็ยังงดงามขึ้นมาได้

    ทุกอย่างสอดคล้องกลมกลืนลื่นไหล เป็นคลิปฟิลลิ่ง Nostalgia การรำลึกความหลังยากแค้นของเศรษฐีหมื่นล้านที่สุดละเมียดจริงแท้

    ใครไม่เคลิ้มให้มันรูัไป

    ยอดขายระเบิดเถิดเทิงหมื่นล้านแสนล้าน ไม่ใช่ได้มาแบบฟลุคๆ แน่นอน มันผ่านการเล่าเรื่องที่คัดเค้นมาแล้วอย่างประณีต เพื่อพิชิตใจมหาชนคนสามัญที่คุ้นเคยชมชอบกับเรื่องดรามาชนิดซึมเข้ากระดูกดำแบบไทยๆ เราอย่างเหมาะเหม็ง

    ดูคลิปนี้แล้วยิ่งไม่แปลกใจเลยสักนิด
    ว่าทำไมลูกข่ายหอบเงินมาประเคนให้
    เป็นหลักหมื่นแสนล้าน

    🌻

    เอาจริง เรื่องเล่าตรึงใจระคายต่อมพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่หรอก มันเป็นเครื่องมือสำเร็จรูปที่มีใช้กันนานแล้วในวงการต่างๆ โดยเฉพาะในแวดวงหลอกลวงต้มตุ๋น ดูเหมือนจะสร้างเม็ดเงินมหาศาลทำลายสถิติได้ทุกยุคสมัย

    เรื่องเล่ากระตุ้นต่อมที่ชาวโลกรู้จักกันแพร่หลาย ก็คงจะเป็นนิทานเรื่อง“ปลาทอง" ในคดีฉ้อฉลของเบอร์นี แมดอฟฟ์ในอเมริกา ที่น่าจะอื้อฉาวพอๆ กับคดีดิ ไอคอน ในเมืองไทยตอนนี้ก็ว่าได้

    สมัยนั้น เบอร์นี แมดอฟฟ์ ก็มักจะชอบเล่าเรื่องเปรียบเทียบการลงทุนกับการให้อาหารปลาทอง โดยบอกว่าต้องให้อาหารสม่ำเสมอ ไม่มากไม่น้อยเกินไป เพื่อให้ปลาเติบโตอย่างแข็งแรง

    เขาใช้เรื่องนี้อธิบายกลยุทธ์การลงทุนที่ "สม่ำเสมอ" ของเขา ซึ่งในความเป็นจริงคือแผนการณ์หลอกลวงแบบพอนซี (Ponzi scheme- คล้ายแชร์ลูกโซ่ แต่ไม่มีสินค้า ใช้วิธีเอาเงินคนใหม่ไปจ่ายให้คนเก่าวนไปเรื่อยๆ )

    พอนซีของแมดอล์ฟฟ์มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 64.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

    แมดอล์ฟฟ์ใช้เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาทองเพื่อสื่อว่ากลยุทธ์การลงทุนของเขานั้น "สม่ำเสมอ" และ "ปลอดภัย" เขาอ้างว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่คงที่และน่าเชื่อถือได้ ไม่ว่าสภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร เรื่องเล่านี้ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและทำให้พวกเขารู้สึกว่ากำลังลงทุนกับผู้เชี่ยวชาญที่มีกลยุทธ์ที่มั่นคง

    ในความเป็นจริง แมดอล์ฟฟ์ไม่ได้นำเงินของลูกค้าไปลงทุนเลยสักนิด เขาใช้เงินจากนักลงทุนรายใหม่เพื่อจ่ายผลตอบแทนให้กับนักลงทุนรายเก่า ซึ่งเป็นลักษณะของแผนพอนซี ผลตอบแทน "สม่ำเสมอ" ที่เขาอ้างถึงนั้นเป็นเพียงตัวเลขที่เขาสร้างขึ้นมาเอง

    แผนฉ้อโกงนี้ดำเนินมานานหลายทศวรรษก่อนจะถูกเปิดโปงในปี 2008 มีผู้เสียหายจำนวนมาก รวมถึงบุคคลทั่วไป องค์กรการกุศล และสถาบันการเงิน

    ปัจจุบันแมดอล์ฟฟ์ถูกจับกุม
    และถูกตัดสินจำคุก 150 ปี

    🌻

    นอกจากนิทานปลาทองของแมดอล์ฟฟ์ ยังมีนิทานอีกเรื่องที่โด่งดังไม่แพ้กัน นิทานเรื่องนี้มีชื่อว่า “ช้างล่ามโซ่” ที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงของบริษัท One Coin

    One Coin เป็นโครงการที่อ้างว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) แต่ในความเป็นจริงเป็นแผนหลอกลวงแบบพีระมิด (pyramid scheme) ที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ต้มตุ๋น

    รูจา อิกนาโตวา (Ruja Ignatova) ผู้ก่อตั้ง One Coin
    เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1980 ที่เมืองรูส ประเทศบัลแกเรีย ย้ายไปเยอรมนีตั้งแต่อายุ 10 ขวบ จบปริญญาเอกด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยคอนสแตนซ์ ประเทศเยอรมนี เคยทำงานให้กับบริษัทที่ปรึกษา McKinsey & Company ในปี 2014 เธอก่อตั้งบริษัท One Coin ซึ่งอ้างว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัลใหม่

    บริษัท One Coin เติบโตอย่างรวดเร็ว มีสมาชิกกว่า 3 ล้านคนทั่วโลก จนกระทั่งในปี 2016 เริ่มมีการสงสัยและตรวจสอบ One Coin ว่าอาจเป็นแชร์ลูกโซ่

    วันที่ 25 ตุลาคม 2017 รูจาหายตัวไปอย่างลึกลับหลังจากบินจากโซเฟียไปยังเอเธนส์ ในปี 2019 เธอถูกฟ้องในสหรัฐอเมริกาในข้อหาฉ้อโกงและฟอกเงิน

    🌻

    ในการหลอกล่อเหยื่อมาลงทุน รูจา อิกนาโตวา มักใช้นิทานเรื่องช้างล่ามโซ่ในการปราศรัยบ่อยครั้ง

    เธอเปรียบเทียบว่าคนทั่วไปเหมือนช้างที่ถูกล่ามด้วยโซ่ทางการเงิน ไม่กล้าที่จะหลุดพ้น เธอชี้ให้เห็นว่า One Coin คือโอกาสที่ทุกคนจะได้ "ตัดโซ่" และเป็นอิสระทางการเงิน

    นิทานเรื่องนี้นำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้คนรู้สึกว่าตนกำลัง "ติดกับดัก" ทางการเงิน สร้างความรู้สึกว่า One Coin เป็นทางออกเดียวที่จะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากข้อจำกัดทางการเงิน สร้างแรงจูงใจให้คนกล้าที่จะ "ทำลายกรอบความคิดเดิมๆ" และเข้าร่วมโครงการ

    ในความเป็นจริง One Coin ไม่ได้เป็นสกุลเงินดิจิทัลจริง ไม่มีบล็อกเชนที่ใช้งานได้จริง เป็นระบบพีระมิดที่สร้างรายได้จากการรับสมาชิกใหม่เท่านั้น ผู้ลงทุนไม่สามารถถอนเงินหรือแลกเปลี่ยน One Coin เป็นเงินจริงได้

    One Coin มีผู้เสียหายทั่วโลกมากกว่า 3 ล้านคน ความเสียหายทางการเงินประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รูจา อิกนาโตวา ได้รับฉายาว่า “ราชินีคริปโต” หรือ Cryptoqueen เธอหายตัวไปในปี 2017 ทุกวันนี้ยังคงเป็นที่ต้องการตัวของ FBI

    ปัจจุบัน เธอกลายเป็นหนึ่งในอาชญากรทางการเงินที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย​​​​​​​​​​​​​​​​จนทุกวันนี้

    🌻

    จะเห็นได้ว่า เรื่องเล่าอย่าง "ช้างล่ามโซ่" ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมและกระตุ้นการตัดสินใจที่ไม่สมเหตุสมผล จึงควรระวังโครงการที่สัญญาว่าจะทำให้รวยอย่างรวดเร็วหรือหลุดพ้นจากปัญหาทางการเงินอย่างง่ายดาย

    คดีนี้แสดงให้เห็นว่าเรื่องเล่าที่สร้างแรงบันดาลใจสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนักเช่น cryptocurrency

    🌻

    ยังมีนิทานประเภทสร้างแรงบันดาลใจอีกมากมายหลายเรื่อง ที่มักนำมาใช้ในบริบทการฉ้อโกงลักษณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นนิทานเรื่อง“มีดเหลาดินสอ”ที่หลายคนอาจจะคุ้น พวกคอร์สอบรมต่างๆ จะเอามาเล่าบ่อย

    เรื่องราวมีอยู่ว่า ดินสอบ่นว่าเจ็บเมื่อถูกเหลา แต่มีดเหลาบอกว่า "การเจ็บนี้จะทำให้เธอแหลมคมและเขียนได้ดีขึ้น“ นิทานเรื่องนี้ถูกนำมาใช้เพื่อให้แง่คิดเรื่องความอดทนต่อความยากลำบากที่อาจทำให้เราได้เติบโตและพัฒนา

    🌻

    "นิทานเรื่องช้างและเชือกเส้นเล็ก"

    เรื่องมีอยู่ว่าในคณะละครสัตว์ มีช้างตัวใหญ่ถูกล่ามด้วยเชือกเส้นเล็กๆ เด็กน้อยสงสัยว่าทำไมช้างไม่ดึงเชือกให้ขาด คนเลี้ยงช้างอธิบายว่า ตั้งแต่ช้างยังเล็ก มันถูกล่ามด้วยโซ่ใหญ่ที่ไม่สามารถหลุดได้ ช้างจึงเชื่อว่าตัวเองไม่มีทางหลุดจากการล่าม แม้โตแล้วก็ยังคิดเช่นนั้น

    🌻

    "นิทานเรื่องหินสลักและค้อน"

    เรื่องราวของช่างแกะสลักกำลังทำงานบนหินก้อนใหญ่ เขาตีค้อนลงบนหินครั้งแล้วครั้งเล่าโดยไม่เห็นผล คนผ่านไปมาสงสัยว่าทำไมเขาไม่ยอมแพ้ ในที่สุด หลังจากตีค้อนครั้งที่ 101 หินก็แตกออกตามที่เขาต้องการ ช่างแกะสลักอธิบายว่า "ไม่ใช่การตีครั้งสุดท้ายที่ทำให้หินแตก แต่มันเป็นผลรวมของการตีทุกครั้งที่ผ่านมา"

    🌻

    นิทานเหล่านี้มักถูกใช้เพื่อสื่อถึงความอดทน การไม่ยอมแพ้ และการเอาชนะข้อจำกัดทางความคิด

    นิทานไม่ได้มีพิษภัยในตัวมันเอง มันเป็นเรื่องเล่าแสนวิเศษ สร้างแรงบันดาลใจได้จริง แต่เมื่อมีการนำมาใช้ในบริบทของการลงทุนหรือธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง การตีความและการนำไปใช้ กลับเป็นสิ่งที่ต้องระวัง

    บางครั้งนิทานเหล่านี้
    มักถูกใช้เพื่อกระตุ้นอารมณ์มากกว่าเหตุผล
    อาจไม่สะท้อนความเป็นจริงของสถานการณ์
    ในบริบทของธุรกิจที่น่าสงสัย
    อาจใช้เพื่อกดดัน
    ให้คนทำในสิ่งที่ไม่ควร

    การยอมรับความจริง
    เลิกทนและถอยออกมา
    ก็อาจเป็นการตัดสินใจ
    ที่ชาญฉลาดได้เช่นกัน

    🌻

    “ในยุคข้อมูลข่าวสาร ความจริงกำลังถูกบดบังด้วยเรื่องเล่าหรือเรื่องราวที่สร้างขึ้น (narratives)”

    ยูวัล โนอาห์ ฮาราริ เขียนไว้ในหนังสือ"21 Lessons for the 21st Century"เมื่อหลายปีมาแล้ว (21 บทเรียน สำหรับศตวรรษที่ 21 : ผู้แปล ธิดา จงนิรามัยสถิต, ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์ , สำนักพิมพ์ยิปซี)

    ฮาราริอธิบายว่าผู้คนมักเชื่อในเรื่องราวที่สอดคล้องกับความเชื่อและอัตลักษณ์ของตน มากกว่าข้อเท็จจริงที่อาจขัดแย้งกับความเชื่อนั้น และชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีแนวโน้มที่จะเชื่อในเรื่องเล่าที่ให้ความหมายและอธิบายโลกรอบตัว เขาบอกว่า“เรื่องเล่าเหล่านี้มีพลังมากกว่าข้อเท็จจริงเพราะมันตอบสนองต่อความต้องการทางอารมณ์และจิตวิญญาณของมนุษย์”

    ฮาราริเตือนว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะ AI และ Big Data สามารถใช้ในการสร้างและเผยแพร่เรื่องราวที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (อย่างคลิปเรื่องเล่าสารพัดที่ผลิตออกมาชักจูงใจคน) เขาชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเข้าใจและจัดการกับอารมณ์มนุษย์ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

    การให้ความสำคัญกับ“อารมณ์”มากกว่า“ความจริง”อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการประชาธิปไตยและการตัดสินใจที่สำคัญ เขาเตือนว่าสังคมอาจถูกชี้นำด้วยการปลุกเร้าอารมณ์มากกว่าการใช้เหตุผลและข้อมูล

    ในอนาคต ทักษะทางอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์อาจมีความสำคัญมากกว่าความรู้ทางเทคนิค เขาแนะนำว่าระบบการศึกษาควรปรับตัวเพื่อเตรียมคนให้พร้อมสำหรับโลกที่อารมณ์และความคิดสร้างสรรค์มีบทบาทสำคัญ

    ฮาราริเน้นย้ำความสำคัญของการรู้จักและเข้าใจตนเอง รวมถึงอารมณ์และความรู้สึกของเราให้ได้อย่างถ่องแท้ เขาบอกว่า“การเข้าใจตนเองจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับโลกที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยการกระตุ้นทางอารมณ์ได้ดีขึ้น”

    ผู้เขียน "21 Lessons for the 21st Century" ไม่ได้บอกว่า แนวโน้มนี้เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี แต่ชี้ให้เห็นว่ามันเป็นความท้าทายที่สำคัญที่เราต้องเตรียมพร้อมรับมือ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา การเมือง และการพัฒนาตนเอง

    เพื่อรักษาสมดุล
    ระหว่างอารมณ์และเหตุผล
    ในยุคสมัยปัจจุบัน
    ที่“อารมณ์”อาจมีอิทธิพล
    มากขึ้นเรื่อยๆ​​​​​​​​​​​​​​​​

    🌻

    จากข่าวสารประเด็นร้อนแรงในประเทศไทยวันนี้ เราก็ได้เห็นการใช้ Storytelling ในทางที่ผิดหลายเรื่อง

    เรื่องเล่าถูกใช้เพื่อบิดเบือนความจริงและสร้างภาพลวงตา มุ่งเน้นการกระตุ้นอารมณ์มากกว่าการให้ข้อมูลที่เป็นจริง

    นิทานเหล่านี้สร้างความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความสำเร็จและความมั่งคั่ง ทำให้คนมองข้ามความเสี่ยงและความเป็นจริงของสถานการณ์

    เรื่องเล่าที่น่าประทับใจอาจทำให้ผู้ฟังลดการใช้เหตุผลและการคิดวิเคราะห์ ผู้คนอาจตัดสินใจบนพื้นฐานของ“อารมณ์” มากกว่า“ความจริง” อย่างที่ยูวัล โนอาห์ ฮาราริ กล่าวไว้ไม่มีผิด

    Storytelling : นิทานหรือเรื่องเล่าที่มีประสิทธิภาพสามารถสร้างความไว้วางใจได้อย่างรวดเร็ว แม้กับคนแปลกหน้า ในกรณีของการหลอกลวง Storytelling ถูกใช้เพื่อลดความระแวดระวังของเหยื่อ เรื่องเล่าที่สวยงามอาจถูกใช้เพื่อปิดบังความจริงที่น่าเป็นห่วงหรือรายละเอียดที่สำคัญ

    ในกรณีของแชร์ลูกโซ่หรือ MLM นิทาน เรื่องเล่า หรือ Storytelling ทั้งหลาย อาจถูกใช้เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่กดดันให้สมาชิกไม่ยอมแพ้ แม้จะเผชิญกับความล้มเหลว

    เรื่องเล่าเหล่านี้
    มักเล็งเป้าไปที่ความฝัน
    และความหวังของผู้คน
    ทำให้เหยื่ออ่อนไหวและเปราะบาง
    ทำให้ง่ายที่จะหลอกลวง

    🌻

    นิทาน เรื่องเล่า Storytelling ทั้งหลาย มันไม่ได้เลวร้ายในตัวมันเอง แต่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง สามารถใช้ในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ได้

    ในด้านบวก Storytelling สามารถใช้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สอน และสื่อสารความคิดที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    สิ่งสำคัญที่คนเรายุคนี้ต้องรับมือ
    คือต้องพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
    และการรู้เท่าทันสื่อของตัวเอง
    เพื่อแยกแยะให้ออก
    ระหว่างการใช้ Storytelling
    ในทางที่สร้างสรรค์
    หรือการใช้เพื่อหลอกลวง

    🌻

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/sg5pYj1hseTp1QGK/?mibextid=CTbP7

    #Thaitimes
    รีโพสต์จากเพจเฟซบุ๊ก ‘ปราย พันแสง เมื่อคืนดูคลิปบอสเล่านิทานเรื่อง“มดไต่แก้ว”แล้วนอนไม่หลับเอาเลย ยอมรับว่าเล่าเก่งโคตร ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม จึงมีเหยื่อมากมายนัก ก็มันชวนเคลิ้มซะขนาดนี้ 🌻 นานมาแล้ว สตีฟ จอบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ลเคยบอกว่า "The most powerful person in the world is the storyteller.“ คนที่ทรงพลังที่สุดในโลกคือนักเล่าเรื่อง จอบส์ฟันธงไว้อย่างนั้น เขาบอกว่า“นักเล่าเรื่อง” หรือคนที่เล่าเรื่องเป็น(storyteller) จะเป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยม และระเบียบวาระต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นให้กับผู้คนทั้งเจเนอเรชั่น อาจจะกล่าวได้ว่า นักเล่าเรื่องเก่งๆ นั้นสามารถกำหนดเทรนด์หรือทิศทางของสังคมได้ ส่วนที่จอบส์ไม่ได้บอกไว้ก็คือ นักเล่าเรื่องเก่งๆ หลายคน สามารถทำให้คนคิดฆ่าตัวตาย ทำให้เกิดความฉิบหายระดับหมื่นล้านแสนล้านได้ด้วย สิ่งที่ปรากฏต่อสังคมไทยในวันนี้ มันอาจเป็นประจักษ์พยานด้านมืด ของ storyteller อย่างชัดๆ 🌻 “มดไต่แก้ว” เป็นเรื่องเล่าง่ายๆ เกี่ยวกับมดที่พยายามป่ายปีนออกไปให้พ้นแก้ว มดบางตัวปีนไปจนอยู่ในจุดสูงที่สุดของปากแก้ว แต่แล้วก็ตกลงมา บอสบอกไว้คมเฉียบว่า ”การตกลงมาจากจุดสูงสุดอย่างนั้น มันทำให้เจ็บที่สุด ทำให้มีมดบางตัวยอมแพั แต่ก็ยังมีมดบางตัวสู้ต่อ จนได้รับอิสรภาพในที่สุด“ เคลิ้มมั้ยล่ะ ^__^ 🌻 เอาจริง จากอาชีพอ่านๆ เขียนๆ เรื่องเล่าประเภทนี้ไม่ได้กินเราหรอก แต่สำหรับคนที่ไม่ได้คลุกคลี อีกทั้งยังต้องอยู่ในสถานะลูกข่ายที่ต้องไล่ล่าทำยอดขาย พลังของเรื่องเล่าแบบนี้มันพุ่งปรี๊ดทะลุปม กระแทกต่อมได้ตรงจุด จึงไม่น่าแปลกใจถ้ามันจะทำให้ใครๆ ที่ได้ฟังครั้งแรกถึงกับน้ำตาไหลพราก ซาบซึ้งตรึงใจ เราเองฟังเรื่องมดไต่แก้วนี้กลับไปคิดถึงอีกเรื่องหนึ่ง ไม่รู้มีใครเคยฟังมั้ย เป็นนิทานเรื่องกบกระโดด เรื่องมีอยู่ว่า มีกบตัวหนึ่งพยายามปีนออกจากบ่อลึก ทุกครั้งที่มันพยายามกระโดด เพื่อนๆ กบจะพากันตะโกนห้ามว่า "เลิกเถอะ มันเป็นไปไม่ได้หรอก!" ทว่ากบตัวนั้นไม่ยอมแพ้ สุดท้ายในการกระโดดครั้งที่ 99 มันก็กระโดดออกจากบ่อได้สำเร็จ แต่ความจริงของเรื่องนี้คือ กบตัวนี้หูหนวก มันเลยไม่ได้ยินเสียงร้องห้ามจากเพื่อนๆ เลยสักนิดเดียว ช่างไม่ต่างอะไรเลยกับผู้เสียหายมากมาย ที่ไม่ยอมฟังคำทัดทานจากใครเลย เหมือนกบหูหนวก 🌻 คดีบอสๆ นี้ เราว่านิทานเรื่องมดไต่แก้วนี้ไม่เท่าไหร่ แต่ที่เรารู้สึกเองว่ามันทรงพลังแห่ง storytelling จริงๆ น่าจะเป็นนิทานเรื่องจริงที่แชร์กันเยอะๆ วันนี้ ที่เป็นคลิปเล่าเรื่องบอสพอลพาผู้ชมกลับไปทัวร์สลัมคลองเตยบ้านเกิด พาไปชมแฟลตเก่าชั้นสองห้อง 16 ที่เคยเติบโตมา แคปชั่นตรึงใจ “ผมไม่เคยลืม...ว่าผมเติบโตมาจากที่ไหน ชุมชนแออัด หรือที่ใครหลายคนเรียกว่า "สลัม"ผมเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ ในตอนที่ยังเริ่มต้นสร้างชีวิต” “20 ปีที่แล้ว กับภาพในวันนี้ ทุกอย่างมันยังคงอยู่เหมือนเดิม ราวกับว่ามันหยุดเวลาไว้ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจอะไรบางอย่าง มันคือจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ผมไม่เคยคิดดูถูกความฝันหรือความพยายามของใคร เพราะผมก็เคยเป็นหนึ่งคน ที่ชีวิตไม่พร้อม แต่มีความฝัน ขอเป็นกำลังใจให้กับนักสู้ชีวิตทุก ๆ ท่านครับ“ คลิปถ่ายสวย ไม่เวอร์ ภาพดี เสียงดี เล่าเรื่องดี นักแสดง(บอสพอล)แอ๊คติ้งเป็นธรรมชาติ ไม่มีตรงไหนชวนแหวะ หรือชวนเอ๊ะเลย ยิ่งตอนโทรคุยกับแม่หน้าแฟลตเก่า พูดถึงร้านก๋วยเตี๋ยวไก่เจ้าอร่อยที่ยังขายอยู่นั่นก็ดูจะเป็นซีนที่น่าจดจำมากทีเดียว คือถ้าไม่ติดเรื่องข้อสงสัยว่าเป็นธุรกิจผิดกฎหมายเนี่ย อยากเชิญคนทำคลิปนี้ไปสร้างหนังไทยเลย อยากดู ในคลิปนี้ บอสยืนพูดหน้าแฟลตที่สกปรกรุงรังว่า ตอนที่เขายังใช้ชีวิตอยู่ในสลัมแห่งนี้ ชีวิตวัยนั้นก็ไม่ได้คิดอะไรมากมายไปกว่าอยากดูแลแม่ให้มีความสุขเท่านั้น ตรงนี้เชื่อว่าเอฟซีอาจน้ำตาร่วง อีกทั้งน้ำเสียงของแม่ปลายสาย ก็ร่าเริงมีความสุข กับการพูดถึงร้านก๋วยเตี๋ยวเจ้าประจำที่เคยกินสมัยอยู่สลัม สื่อให้เห็นว่าเมื่อก้าวพ้นความยากจนไปแล้ว ร้านก๋วยเตี๋ยวไก่ในสลัมธรรมดาก็ยังงดงามขึ้นมาได้ ทุกอย่างสอดคล้องกลมกลืนลื่นไหล เป็นคลิปฟิลลิ่ง Nostalgia การรำลึกความหลังยากแค้นของเศรษฐีหมื่นล้านที่สุดละเมียดจริงแท้ ใครไม่เคลิ้มให้มันรูัไป ยอดขายระเบิดเถิดเทิงหมื่นล้านแสนล้าน ไม่ใช่ได้มาแบบฟลุคๆ แน่นอน มันผ่านการเล่าเรื่องที่คัดเค้นมาแล้วอย่างประณีต เพื่อพิชิตใจมหาชนคนสามัญที่คุ้นเคยชมชอบกับเรื่องดรามาชนิดซึมเข้ากระดูกดำแบบไทยๆ เราอย่างเหมาะเหม็ง ดูคลิปนี้แล้วยิ่งไม่แปลกใจเลยสักนิด ว่าทำไมลูกข่ายหอบเงินมาประเคนให้ เป็นหลักหมื่นแสนล้าน 🌻 เอาจริง เรื่องเล่าตรึงใจระคายต่อมพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่หรอก มันเป็นเครื่องมือสำเร็จรูปที่มีใช้กันนานแล้วในวงการต่างๆ โดยเฉพาะในแวดวงหลอกลวงต้มตุ๋น ดูเหมือนจะสร้างเม็ดเงินมหาศาลทำลายสถิติได้ทุกยุคสมัย เรื่องเล่ากระตุ้นต่อมที่ชาวโลกรู้จักกันแพร่หลาย ก็คงจะเป็นนิทานเรื่อง“ปลาทอง" ในคดีฉ้อฉลของเบอร์นี แมดอฟฟ์ในอเมริกา ที่น่าจะอื้อฉาวพอๆ กับคดีดิ ไอคอน ในเมืองไทยตอนนี้ก็ว่าได้ สมัยนั้น เบอร์นี แมดอฟฟ์ ก็มักจะชอบเล่าเรื่องเปรียบเทียบการลงทุนกับการให้อาหารปลาทอง โดยบอกว่าต้องให้อาหารสม่ำเสมอ ไม่มากไม่น้อยเกินไป เพื่อให้ปลาเติบโตอย่างแข็งแรง เขาใช้เรื่องนี้อธิบายกลยุทธ์การลงทุนที่ "สม่ำเสมอ" ของเขา ซึ่งในความเป็นจริงคือแผนการณ์หลอกลวงแบบพอนซี (Ponzi scheme- คล้ายแชร์ลูกโซ่ แต่ไม่มีสินค้า ใช้วิธีเอาเงินคนใหม่ไปจ่ายให้คนเก่าวนไปเรื่อยๆ ) พอนซีของแมดอล์ฟฟ์มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 64.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แมดอล์ฟฟ์ใช้เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาทองเพื่อสื่อว่ากลยุทธ์การลงทุนของเขานั้น "สม่ำเสมอ" และ "ปลอดภัย" เขาอ้างว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่คงที่และน่าเชื่อถือได้ ไม่ว่าสภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร เรื่องเล่านี้ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและทำให้พวกเขารู้สึกว่ากำลังลงทุนกับผู้เชี่ยวชาญที่มีกลยุทธ์ที่มั่นคง ในความเป็นจริง แมดอล์ฟฟ์ไม่ได้นำเงินของลูกค้าไปลงทุนเลยสักนิด เขาใช้เงินจากนักลงทุนรายใหม่เพื่อจ่ายผลตอบแทนให้กับนักลงทุนรายเก่า ซึ่งเป็นลักษณะของแผนพอนซี ผลตอบแทน "สม่ำเสมอ" ที่เขาอ้างถึงนั้นเป็นเพียงตัวเลขที่เขาสร้างขึ้นมาเอง แผนฉ้อโกงนี้ดำเนินมานานหลายทศวรรษก่อนจะถูกเปิดโปงในปี 2008 มีผู้เสียหายจำนวนมาก รวมถึงบุคคลทั่วไป องค์กรการกุศล และสถาบันการเงิน ปัจจุบันแมดอล์ฟฟ์ถูกจับกุม และถูกตัดสินจำคุก 150 ปี 🌻 นอกจากนิทานปลาทองของแมดอล์ฟฟ์ ยังมีนิทานอีกเรื่องที่โด่งดังไม่แพ้กัน นิทานเรื่องนี้มีชื่อว่า “ช้างล่ามโซ่” ที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงของบริษัท One Coin One Coin เป็นโครงการที่อ้างว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) แต่ในความเป็นจริงเป็นแผนหลอกลวงแบบพีระมิด (pyramid scheme) ที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ต้มตุ๋น รูจา อิกนาโตวา (Ruja Ignatova) ผู้ก่อตั้ง One Coin เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1980 ที่เมืองรูส ประเทศบัลแกเรีย ย้ายไปเยอรมนีตั้งแต่อายุ 10 ขวบ จบปริญญาเอกด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยคอนสแตนซ์ ประเทศเยอรมนี เคยทำงานให้กับบริษัทที่ปรึกษา McKinsey & Company ในปี 2014 เธอก่อตั้งบริษัท One Coin ซึ่งอ้างว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัลใหม่ บริษัท One Coin เติบโตอย่างรวดเร็ว มีสมาชิกกว่า 3 ล้านคนทั่วโลก จนกระทั่งในปี 2016 เริ่มมีการสงสัยและตรวจสอบ One Coin ว่าอาจเป็นแชร์ลูกโซ่ วันที่ 25 ตุลาคม 2017 รูจาหายตัวไปอย่างลึกลับหลังจากบินจากโซเฟียไปยังเอเธนส์ ในปี 2019 เธอถูกฟ้องในสหรัฐอเมริกาในข้อหาฉ้อโกงและฟอกเงิน 🌻 ในการหลอกล่อเหยื่อมาลงทุน รูจา อิกนาโตวา มักใช้นิทานเรื่องช้างล่ามโซ่ในการปราศรัยบ่อยครั้ง เธอเปรียบเทียบว่าคนทั่วไปเหมือนช้างที่ถูกล่ามด้วยโซ่ทางการเงิน ไม่กล้าที่จะหลุดพ้น เธอชี้ให้เห็นว่า One Coin คือโอกาสที่ทุกคนจะได้ "ตัดโซ่" และเป็นอิสระทางการเงิน นิทานเรื่องนี้นำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้คนรู้สึกว่าตนกำลัง "ติดกับดัก" ทางการเงิน สร้างความรู้สึกว่า One Coin เป็นทางออกเดียวที่จะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากข้อจำกัดทางการเงิน สร้างแรงจูงใจให้คนกล้าที่จะ "ทำลายกรอบความคิดเดิมๆ" และเข้าร่วมโครงการ ในความเป็นจริง One Coin ไม่ได้เป็นสกุลเงินดิจิทัลจริง ไม่มีบล็อกเชนที่ใช้งานได้จริง เป็นระบบพีระมิดที่สร้างรายได้จากการรับสมาชิกใหม่เท่านั้น ผู้ลงทุนไม่สามารถถอนเงินหรือแลกเปลี่ยน One Coin เป็นเงินจริงได้ One Coin มีผู้เสียหายทั่วโลกมากกว่า 3 ล้านคน ความเสียหายทางการเงินประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รูจา อิกนาโตวา ได้รับฉายาว่า “ราชินีคริปโต” หรือ Cryptoqueen เธอหายตัวไปในปี 2017 ทุกวันนี้ยังคงเป็นที่ต้องการตัวของ FBI ปัจจุบัน เธอกลายเป็นหนึ่งในอาชญากรทางการเงินที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย​​​​​​​​​​​​​​​​จนทุกวันนี้ 🌻 จะเห็นได้ว่า เรื่องเล่าอย่าง "ช้างล่ามโซ่" ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมและกระตุ้นการตัดสินใจที่ไม่สมเหตุสมผล จึงควรระวังโครงการที่สัญญาว่าจะทำให้รวยอย่างรวดเร็วหรือหลุดพ้นจากปัญหาทางการเงินอย่างง่ายดาย คดีนี้แสดงให้เห็นว่าเรื่องเล่าที่สร้างแรงบันดาลใจสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนักเช่น cryptocurrency 🌻 ยังมีนิทานประเภทสร้างแรงบันดาลใจอีกมากมายหลายเรื่อง ที่มักนำมาใช้ในบริบทการฉ้อโกงลักษณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นนิทานเรื่อง“มีดเหลาดินสอ”ที่หลายคนอาจจะคุ้น พวกคอร์สอบรมต่างๆ จะเอามาเล่าบ่อย เรื่องราวมีอยู่ว่า ดินสอบ่นว่าเจ็บเมื่อถูกเหลา แต่มีดเหลาบอกว่า "การเจ็บนี้จะทำให้เธอแหลมคมและเขียนได้ดีขึ้น“ นิทานเรื่องนี้ถูกนำมาใช้เพื่อให้แง่คิดเรื่องความอดทนต่อความยากลำบากที่อาจทำให้เราได้เติบโตและพัฒนา 🌻 "นิทานเรื่องช้างและเชือกเส้นเล็ก" เรื่องมีอยู่ว่าในคณะละครสัตว์ มีช้างตัวใหญ่ถูกล่ามด้วยเชือกเส้นเล็กๆ เด็กน้อยสงสัยว่าทำไมช้างไม่ดึงเชือกให้ขาด คนเลี้ยงช้างอธิบายว่า ตั้งแต่ช้างยังเล็ก มันถูกล่ามด้วยโซ่ใหญ่ที่ไม่สามารถหลุดได้ ช้างจึงเชื่อว่าตัวเองไม่มีทางหลุดจากการล่าม แม้โตแล้วก็ยังคิดเช่นนั้น 🌻 "นิทานเรื่องหินสลักและค้อน" เรื่องราวของช่างแกะสลักกำลังทำงานบนหินก้อนใหญ่ เขาตีค้อนลงบนหินครั้งแล้วครั้งเล่าโดยไม่เห็นผล คนผ่านไปมาสงสัยว่าทำไมเขาไม่ยอมแพ้ ในที่สุด หลังจากตีค้อนครั้งที่ 101 หินก็แตกออกตามที่เขาต้องการ ช่างแกะสลักอธิบายว่า "ไม่ใช่การตีครั้งสุดท้ายที่ทำให้หินแตก แต่มันเป็นผลรวมของการตีทุกครั้งที่ผ่านมา" 🌻 นิทานเหล่านี้มักถูกใช้เพื่อสื่อถึงความอดทน การไม่ยอมแพ้ และการเอาชนะข้อจำกัดทางความคิด นิทานไม่ได้มีพิษภัยในตัวมันเอง มันเป็นเรื่องเล่าแสนวิเศษ สร้างแรงบันดาลใจได้จริง แต่เมื่อมีการนำมาใช้ในบริบทของการลงทุนหรือธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง การตีความและการนำไปใช้ กลับเป็นสิ่งที่ต้องระวัง บางครั้งนิทานเหล่านี้ มักถูกใช้เพื่อกระตุ้นอารมณ์มากกว่าเหตุผล อาจไม่สะท้อนความเป็นจริงของสถานการณ์ ในบริบทของธุรกิจที่น่าสงสัย อาจใช้เพื่อกดดัน ให้คนทำในสิ่งที่ไม่ควร การยอมรับความจริง เลิกทนและถอยออกมา ก็อาจเป็นการตัดสินใจ ที่ชาญฉลาดได้เช่นกัน 🌻 “ในยุคข้อมูลข่าวสาร ความจริงกำลังถูกบดบังด้วยเรื่องเล่าหรือเรื่องราวที่สร้างขึ้น (narratives)” ยูวัล โนอาห์ ฮาราริ เขียนไว้ในหนังสือ"21 Lessons for the 21st Century"เมื่อหลายปีมาแล้ว (21 บทเรียน สำหรับศตวรรษที่ 21 : ผู้แปล ธิดา จงนิรามัยสถิต, ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์ , สำนักพิมพ์ยิปซี) ฮาราริอธิบายว่าผู้คนมักเชื่อในเรื่องราวที่สอดคล้องกับความเชื่อและอัตลักษณ์ของตน มากกว่าข้อเท็จจริงที่อาจขัดแย้งกับความเชื่อนั้น และชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีแนวโน้มที่จะเชื่อในเรื่องเล่าที่ให้ความหมายและอธิบายโลกรอบตัว เขาบอกว่า“เรื่องเล่าเหล่านี้มีพลังมากกว่าข้อเท็จจริงเพราะมันตอบสนองต่อความต้องการทางอารมณ์และจิตวิญญาณของมนุษย์” ฮาราริเตือนว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะ AI และ Big Data สามารถใช้ในการสร้างและเผยแพร่เรื่องราวที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (อย่างคลิปเรื่องเล่าสารพัดที่ผลิตออกมาชักจูงใจคน) เขาชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเข้าใจและจัดการกับอารมณ์มนุษย์ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ การให้ความสำคัญกับ“อารมณ์”มากกว่า“ความจริง”อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการประชาธิปไตยและการตัดสินใจที่สำคัญ เขาเตือนว่าสังคมอาจถูกชี้นำด้วยการปลุกเร้าอารมณ์มากกว่าการใช้เหตุผลและข้อมูล ในอนาคต ทักษะทางอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์อาจมีความสำคัญมากกว่าความรู้ทางเทคนิค เขาแนะนำว่าระบบการศึกษาควรปรับตัวเพื่อเตรียมคนให้พร้อมสำหรับโลกที่อารมณ์และความคิดสร้างสรรค์มีบทบาทสำคัญ ฮาราริเน้นย้ำความสำคัญของการรู้จักและเข้าใจตนเอง รวมถึงอารมณ์และความรู้สึกของเราให้ได้อย่างถ่องแท้ เขาบอกว่า“การเข้าใจตนเองจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับโลกที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยการกระตุ้นทางอารมณ์ได้ดีขึ้น” ผู้เขียน "21 Lessons for the 21st Century" ไม่ได้บอกว่า แนวโน้มนี้เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี แต่ชี้ให้เห็นว่ามันเป็นความท้าทายที่สำคัญที่เราต้องเตรียมพร้อมรับมือ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา การเมือง และการพัฒนาตนเอง เพื่อรักษาสมดุล ระหว่างอารมณ์และเหตุผล ในยุคสมัยปัจจุบัน ที่“อารมณ์”อาจมีอิทธิพล มากขึ้นเรื่อยๆ​​​​​​​​​​​​​​​​ 🌻 จากข่าวสารประเด็นร้อนแรงในประเทศไทยวันนี้ เราก็ได้เห็นการใช้ Storytelling ในทางที่ผิดหลายเรื่อง เรื่องเล่าถูกใช้เพื่อบิดเบือนความจริงและสร้างภาพลวงตา มุ่งเน้นการกระตุ้นอารมณ์มากกว่าการให้ข้อมูลที่เป็นจริง นิทานเหล่านี้สร้างความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความสำเร็จและความมั่งคั่ง ทำให้คนมองข้ามความเสี่ยงและความเป็นจริงของสถานการณ์ เรื่องเล่าที่น่าประทับใจอาจทำให้ผู้ฟังลดการใช้เหตุผลและการคิดวิเคราะห์ ผู้คนอาจตัดสินใจบนพื้นฐานของ“อารมณ์” มากกว่า“ความจริง” อย่างที่ยูวัล โนอาห์ ฮาราริ กล่าวไว้ไม่มีผิด Storytelling : นิทานหรือเรื่องเล่าที่มีประสิทธิภาพสามารถสร้างความไว้วางใจได้อย่างรวดเร็ว แม้กับคนแปลกหน้า ในกรณีของการหลอกลวง Storytelling ถูกใช้เพื่อลดความระแวดระวังของเหยื่อ เรื่องเล่าที่สวยงามอาจถูกใช้เพื่อปิดบังความจริงที่น่าเป็นห่วงหรือรายละเอียดที่สำคัญ ในกรณีของแชร์ลูกโซ่หรือ MLM นิทาน เรื่องเล่า หรือ Storytelling ทั้งหลาย อาจถูกใช้เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่กดดันให้สมาชิกไม่ยอมแพ้ แม้จะเผชิญกับความล้มเหลว เรื่องเล่าเหล่านี้ มักเล็งเป้าไปที่ความฝัน และความหวังของผู้คน ทำให้เหยื่ออ่อนไหวและเปราะบาง ทำให้ง่ายที่จะหลอกลวง 🌻 นิทาน เรื่องเล่า Storytelling ทั้งหลาย มันไม่ได้เลวร้ายในตัวมันเอง แต่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง สามารถใช้ในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ ในด้านบวก Storytelling สามารถใช้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สอน และสื่อสารความคิดที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญที่คนเรายุคนี้ต้องรับมือ คือต้องพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และการรู้เท่าทันสื่อของตัวเอง เพื่อแยกแยะให้ออก ระหว่างการใช้ Storytelling ในทางที่สร้างสรรค์ หรือการใช้เพื่อหลอกลวง 🌻 ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/sg5pYj1hseTp1QGK/?mibextid=CTbP7 #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 494 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥วันนี้แอดมินเพจหุ้นติดดอย จะพาเพื่อนๆ
    มาดูลักษณะของธุรกิจที่มีแนวโน้ม
    จะเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่ (Ponze scheme)

    ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุน ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
    และมักจะมีลักษณะเฉพาะ ที่ทำให้นักลงทุนหลงเชื่อ
    และเข้าร่วมลงทุน โดยมีจุดสังเกต
    อยู่ 5 ลักษณะดังต่อไปนี้ คือ

    🚩1. การรับประกันผลตอบแทนสูง
    ให้สังเกตว่า ธุรกิจใดๆ ที่มักชักจูง ชักชวนผู้คน
    ด้วยการกล่าวอ้าง การให้ผลตอบแทนสูงๆเกินจริง
    ในระยะเวลาอันสั้น โดยไม่มีความชัดเจนในการ
    ดำเนินธุรกิจ การขายสินค้า และวิธีการสร้างรายได้
    มีแนวโน้มจะเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่

    🚩2. การจ่ายผลตอบแทนจากเงินของนักลงทุนใหม่
    ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักจะมีโมเดลธุรกิจคล้ายๆกัน
    นั่นคือ ให้สมาชิกเดิม ไปชักชวน ชักจูง สมาชิกใหม่
    ให้มาสมัครมากๆ โดยให้สมาชิกใหม่ซื้อสินค้า
    ตามจำนวนที่ตกลง และให้สมาชิกใหม่ ไปหา
    สมาชิกของตนมาสมัครเป็นทอดๆ ไปเรื่อยๆ

    🚩3. การขาดความโปร่งใส
    ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักขากความชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการ
    ในการดำเนินะธุรกิจ หรือ แหล่งที่มาของรายได้
    ส่วนใหญ่มักเกิดจากการโฆษณาชวนเชื่อ
    และกล่าวอ้างเกินจริง อวดอ้างความร่ำรวย
    จากธุรกิจ แต่จริงๆแล้ว ไม่มีที่มาของรายได้
    รวมทั้งสมาชิก ไม่สามารถตรวจสอบงบการเงิน
    และผลการดำเนินงานได้

    🚩4. การสร้างแรงจูงใจในการชักชวนคนอื่น
    ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักให้ค่าตอบแทน หรือค่า
    คอมมิชชั่น หรือ โบนัสให้กับผู้ที่สามารถชักชวน
    ชักจูง โน้มน้าวคนอื่นๆ ให้มาสมัครเป็นสมาชิกใหม่ได้

    🚩5. การใช้กลยุทธ์การตลาดที่ดึงดูด
    ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักใช้โฆษณา หรือ การตลาด
    ที่ดึงดูดใจ เช่น การกล่าวอวดอ้างต่างๆ
    เพื่อสร้างความมั่นใจ โชว์บ้าน โชว์รถ โชว์เงิน
    โชว์ทอง โชว์การไปเที่ยวต่างๆ เพื่อดึงดูดสมาชิกใหม่
    หรือ การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ดารา เซเล็ปต่างๆ
    เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และชักจูง โน้มน้าว
    สมาชิกใหม่ได้ง่าย

    💥ทั้ง 5 ลักษณะนี้เป็นเพียง จุดสังเกตของธุรกิจแชร์ลูกโซ่
    เท่านั้น ดังนั้นผู้จะเข้าลงทุน หรือร่วมลงทุนในธุรกิจใดๆ
    ควรศึกษาข้อมูลของธุรกิจนั้นๆ อย่างละเอียดรอบครอบ
    และถี่ถ้วน โดยไม่ใช้ความโลภ ในการเข้าไปลงทุน
    เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียเงินลงทุน และปัญหา
    ทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน
    #5ลักษณะธุรกิจที่เข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่
    #thaitimes
    🔥🔥วันนี้แอดมินเพจหุ้นติดดอย จะพาเพื่อนๆ มาดูลักษณะของธุรกิจที่มีแนวโน้ม จะเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่ (Ponze scheme) ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุน ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และมักจะมีลักษณะเฉพาะ ที่ทำให้นักลงทุนหลงเชื่อ และเข้าร่วมลงทุน โดยมีจุดสังเกต อยู่ 5 ลักษณะดังต่อไปนี้ คือ 🚩1. การรับประกันผลตอบแทนสูง ให้สังเกตว่า ธุรกิจใดๆ ที่มักชักจูง ชักชวนผู้คน ด้วยการกล่าวอ้าง การให้ผลตอบแทนสูงๆเกินจริง ในระยะเวลาอันสั้น โดยไม่มีความชัดเจนในการ ดำเนินธุรกิจ การขายสินค้า และวิธีการสร้างรายได้ มีแนวโน้มจะเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่ 🚩2. การจ่ายผลตอบแทนจากเงินของนักลงทุนใหม่ ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักจะมีโมเดลธุรกิจคล้ายๆกัน นั่นคือ ให้สมาชิกเดิม ไปชักชวน ชักจูง สมาชิกใหม่ ให้มาสมัครมากๆ โดยให้สมาชิกใหม่ซื้อสินค้า ตามจำนวนที่ตกลง และให้สมาชิกใหม่ ไปหา สมาชิกของตนมาสมัครเป็นทอดๆ ไปเรื่อยๆ 🚩3. การขาดความโปร่งใส ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักขากความชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการ ในการดำเนินะธุรกิจ หรือ แหล่งที่มาของรายได้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการโฆษณาชวนเชื่อ และกล่าวอ้างเกินจริง อวดอ้างความร่ำรวย จากธุรกิจ แต่จริงๆแล้ว ไม่มีที่มาของรายได้ รวมทั้งสมาชิก ไม่สามารถตรวจสอบงบการเงิน และผลการดำเนินงานได้ 🚩4. การสร้างแรงจูงใจในการชักชวนคนอื่น ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักให้ค่าตอบแทน หรือค่า คอมมิชชั่น หรือ โบนัสให้กับผู้ที่สามารถชักชวน ชักจูง โน้มน้าวคนอื่นๆ ให้มาสมัครเป็นสมาชิกใหม่ได้ 🚩5. การใช้กลยุทธ์การตลาดที่ดึงดูด ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักใช้โฆษณา หรือ การตลาด ที่ดึงดูดใจ เช่น การกล่าวอวดอ้างต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจ โชว์บ้าน โชว์รถ โชว์เงิน โชว์ทอง โชว์การไปเที่ยวต่างๆ เพื่อดึงดูดสมาชิกใหม่ หรือ การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ดารา เซเล็ปต่างๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และชักจูง โน้มน้าว สมาชิกใหม่ได้ง่าย 💥ทั้ง 5 ลักษณะนี้เป็นเพียง จุดสังเกตของธุรกิจแชร์ลูกโซ่ เท่านั้น ดังนั้นผู้จะเข้าลงทุน หรือร่วมลงทุนในธุรกิจใดๆ ควรศึกษาข้อมูลของธุรกิจนั้นๆ อย่างละเอียดรอบครอบ และถี่ถ้วน โดยไม่ใช้ความโลภ ในการเข้าไปลงทุน เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียเงินลงทุน และปัญหา ทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต #หุ้นติดดอย #การลงทุน #5ลักษณะธุรกิจที่เข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่ #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 472 มุมมอง 159 0 รีวิว
  • 🔥🔥วันนี้แอดมินเพจหุ้นติดดอย จะพาเพื่อนๆ
    มาดูลักษณะของธุรกิจที่มีแนวโน้ม
    จะเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่ (Ponze scheme)

    ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุน ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
    และมักจะมีลักษณะเฉพาะ ที่ทำให้นักลงทุนหลงเชื่อ
    และเข้าร่วมลงทุน โดยมีจุดสังเกต
    อยู่ 5 ลักษณะดังต่อไปนี้ คือ

    🚩1. การรับประกันผลตอบแทนสูง
    ให้สังเกตว่า ธุรกิจใดๆ ที่มักชักจูง ชักชวนผู้คน
    ด้วยการกล่าวอ้าง การให้ผลตอบแทนสูงๆเกินจริง
    ในระยะเวลาอันสั้น โดยไม่มีความชัดเจนในการ
    ดำเนินธุรกิจ การขายสินค้า และวิธีการสร้างรายได้
    มีแนวโน้มจะเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่

    🚩2. การจ่ายผลตอบแทนจากเงินของนักลงทุนใหม่
    ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักจะมีโมเดลธุรกิจคล้ายๆกัน
    นั่นคือ ให้สมาชิกเดิม ไปชักชวน ชักจูง สมาชิกใหม่
    ให้มาสมัครมากๆ โดยให้สมาชิกใหม่ซื้อสินค้า
    ตามจำนวนที่ตกลง และให้สมาชิกใหม่ ไปหา
    สมาชิกของตนมาสมัครเป็นทอดๆ ไปเรื่อยๆ

    🚩3. การขาดความโปร่งใส
    ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักขากความชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการ
    ในการดำเนินธุรกิจ หรือ แหล่งที่มาของรายได้
    ส่วนใหญ่มักเกิดจากการโฆษณาชวนเชื่อ
    และกล่าวอ้างเกินจริง อวดอ้างความร่ำรวย
    จากธุรกิจ แต่จริงๆแล้ว ไม่มีที่มาของรายได้
    รวมทั้งสมาชิก ไม่สามารถตรวจสอบงบการเงิน
    และผลการดำเนินงานได้

    🚩4. การสร้างแรงจูงใจในการชักชวนคนอื่น
    ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักให้ค่าตอบแทน หรือค่า
    คอมมิชชั่น หรือ โบนัสให้กับผู้ที่สามารถชักชวน
    ชักจูง โน้มน้าวคนอื่นๆ ให้มาสมัครเป็นสมาชิกใหม่ได้

    🚩5. การใช้กลยุทธ์การตลาดที่ดึงดูด
    ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักใช้โฆษณา หรือ การตลาด
    ที่ดึงดูดใจ เช่น การกล่าวอวดอ้างต่างๆ
    เพื่อสร้างความมั่นใจ โชว์บ้าน โชว์รถ โชว์เงิน
    โชว์ทอง โชว์การไปเที่ยวต่างๆ เพื่อดึงดูดสมาชิกใหม่
    หรือ การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ดารา เซเล็ปต่างๆ
    เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และชักจูง โน้มน้าว
    สมาชิกใหม่ได้ง่าย

    💥ทั้ง 5 ลักษณะนี้เป็นเพียง จุดสังเกตของธุรกิจแชร์ลูกโซ่
    เท่านั้น ดังนั้นผู้จะเข้าลงทุน หรือร่วมลงทุนในธุรกิจใดๆ
    ควรศึกษาข้อมูลของธุรกิจนั้นๆ อย่างละเอียดรอบครอบ
    และถี่ถ้วน โดยไม่ใช้ความโลภ ในการเข้าไปลงทุน
    เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียเงินลงทุน และปัญหา
    ทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน
    #5ลักษณะธุรกิจที่เข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่
    #thaitimes
    🔥🔥วันนี้แอดมินเพจหุ้นติดดอย จะพาเพื่อนๆ มาดูลักษณะของธุรกิจที่มีแนวโน้ม จะเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่ (Ponze scheme) ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุน ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และมักจะมีลักษณะเฉพาะ ที่ทำให้นักลงทุนหลงเชื่อ และเข้าร่วมลงทุน โดยมีจุดสังเกต อยู่ 5 ลักษณะดังต่อไปนี้ คือ 🚩1. การรับประกันผลตอบแทนสูง ให้สังเกตว่า ธุรกิจใดๆ ที่มักชักจูง ชักชวนผู้คน ด้วยการกล่าวอ้าง การให้ผลตอบแทนสูงๆเกินจริง ในระยะเวลาอันสั้น โดยไม่มีความชัดเจนในการ ดำเนินธุรกิจ การขายสินค้า และวิธีการสร้างรายได้ มีแนวโน้มจะเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่ 🚩2. การจ่ายผลตอบแทนจากเงินของนักลงทุนใหม่ ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักจะมีโมเดลธุรกิจคล้ายๆกัน นั่นคือ ให้สมาชิกเดิม ไปชักชวน ชักจูง สมาชิกใหม่ ให้มาสมัครมากๆ โดยให้สมาชิกใหม่ซื้อสินค้า ตามจำนวนที่ตกลง และให้สมาชิกใหม่ ไปหา สมาชิกของตนมาสมัครเป็นทอดๆ ไปเรื่อยๆ 🚩3. การขาดความโปร่งใส ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักขากความชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการ ในการดำเนินธุรกิจ หรือ แหล่งที่มาของรายได้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการโฆษณาชวนเชื่อ และกล่าวอ้างเกินจริง อวดอ้างความร่ำรวย จากธุรกิจ แต่จริงๆแล้ว ไม่มีที่มาของรายได้ รวมทั้งสมาชิก ไม่สามารถตรวจสอบงบการเงิน และผลการดำเนินงานได้ 🚩4. การสร้างแรงจูงใจในการชักชวนคนอื่น ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักให้ค่าตอบแทน หรือค่า คอมมิชชั่น หรือ โบนัสให้กับผู้ที่สามารถชักชวน ชักจูง โน้มน้าวคนอื่นๆ ให้มาสมัครเป็นสมาชิกใหม่ได้ 🚩5. การใช้กลยุทธ์การตลาดที่ดึงดูด ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มักใช้โฆษณา หรือ การตลาด ที่ดึงดูดใจ เช่น การกล่าวอวดอ้างต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจ โชว์บ้าน โชว์รถ โชว์เงิน โชว์ทอง โชว์การไปเที่ยวต่างๆ เพื่อดึงดูดสมาชิกใหม่ หรือ การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ดารา เซเล็ปต่างๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และชักจูง โน้มน้าว สมาชิกใหม่ได้ง่าย 💥ทั้ง 5 ลักษณะนี้เป็นเพียง จุดสังเกตของธุรกิจแชร์ลูกโซ่ เท่านั้น ดังนั้นผู้จะเข้าลงทุน หรือร่วมลงทุนในธุรกิจใดๆ ควรศึกษาข้อมูลของธุรกิจนั้นๆ อย่างละเอียดรอบครอบ และถี่ถ้วน โดยไม่ใช้ความโลภ ในการเข้าไปลงทุน เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียเงินลงทุน และปัญหา ทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต #หุ้นติดดอย #การลงทุน #5ลักษณะธุรกิจที่เข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่ #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 419 มุมมอง 0 รีวิว
  • คำคมสร้างแรงจูงใจ Failure: ความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
    คำคมสร้างแรงจูงใจ Failure: ความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 140 มุมมอง 56 0 รีวิว
  • ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง! ‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้ 95% รถรับจ้างไม่ประจำทาง คือ ระเบิดเวลาบนท้องถนนไทย แนะรัฐตรวจเข้มกลุ่มรถที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมจัดงบฯ – สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ

    เหตุการณ์รถบัสนักเรียนไฟไหม้ ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สะท้อนความล้มเหลวในการป้องกัน และควบคุมการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไทย ตอกย้ำสมญานามประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากการจราจรมากที่สุด สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และครองแชมป์อันดับ 1 ในอาเซียน
    อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่เพียงชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยง ทั้งในด้านพฤติกรรมการขับขี่ ความรู้ในการเผชิญเหตุฉุกเฉิน ยังได้นำไปสู่การเปิดโปงข้อบกพร่องของ “ระบบตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย” โดยเฉพาะรถทัศนาจร หรือ “รถรับจ้างไม่ประจำทาง” ที่วิ่งให้บริการขวักไขว่ อันเป็นภาพคุ้นชินตาของคนไทย

    ‘ทีดีอาร์ไอ’ เผยมีรถรับจ้างไม่ประจำทางเพียง 5% ผ่าน “มาตรฐานลุกไหม้”
    ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า แม้ว่ากรมการขนส่งทางบก จะมีความพยายามในการปรับปรุงมาตรฐานรถโดยสารขนาดใหญ่ในหลายประเด็น รวมถึงมาตรฐานด้านการลุกไหม้มาตั้งแต่ปี 2559 โดยออกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่องกำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร แต่ปรากฎว่าประกาศดังกล่าวถูกเลื่อนการบังคับใช้อยู่เรื่อย ๆ
    ด้วยเหตุผลเพราะผู้ประกอบการ ไม่มีความพร้อมในการแบกรับต้นทุน จากการเปลี่ยนไปใช้วัสดุกันไฟที่มีราคาแพง จนกระทั่งสุดท้ายเพิ่งบังคับใช้ได้จริงในปี 2565 แต่กลับไม่มีผลย้อนหลัง ซึ่งหมายความว่าใช้บังคับได้เฉพาะกับรถที่จดทะเบียนใหม่ หรือ มีการปรับปรุงตัวถังใหม่ในปี 2565 เท่านั้น “รถคันที่เกิดเหตุก็เป็นหนึ่งในกรณี ที่ไม่เข้าเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ เนื่องจากมีการจดเบียนใหม่ในปี 2561”

    ดร.สุเมธ ระบุว่าปัจจุบันรถทัศนาจรในกลุ่มมาตรฐาน 1 ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับรถคันที่เกิดเหตุ มีจำนวน 5,896 คัน และรถมาตรฐาน 4 หรือรถ 2 ชั้น มีจำนวน 4,972 คน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าในจำนวนทั้งหมดกว่า 1 หมื่นคัน มีจำนวนเพียง 5% เท่านั้น ที่ผ่านมาตรฐานด้านการลุกไหม้ และอนุมานได้ว่าส่วนที่เหลืออีก 95% ที่เป็นรถจดทะเบียนก่อนประกาศดังกล่าวบังคับใช้ ยังไม่ถูกกำหนดให้มีมาตรฐานนี้ ขณะที่ในต่างประเทศเวลากำหนดมาตรฐานในเรื่องเหล่านี้ จะให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังด้วย และต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี

    “คาดว่ามีรถที่ไม่ผ่านหรือไม่ได้มาตรฐานใหม่ ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดเป็นหมื่นคัน แสดงให้เห็นถึงขนาดของปัญหาที่วิ่งอยู่บนท้องถนนตอนนี้ เสมือนกับเป็นระเบิดเวลาที่เราไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุขึ้นอีกเมื่อไหร่ ดังนั้น กรมการขนส่งทางบก ควรติดตามตรวจสอบรถในกลุ่มนี้ ที่ยังวิ่งอยู่ในระบบ เช่น ด้านมาตรฐานทนไฟ การชนด้านหน้า สภาพรถเป็นอย่างไร ติดก๊าซหรือไม่ ฯลฯ โดยเร่งกำหนดมาตรการอย่างเข้มข้นในรถกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงก่อน”

    จี้ ขบ.ตรวจเข้มรถเสี่ยงสูง – เสนอรัฐจัดงบฯหนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ
    ดร.สุเมธ เน้นย้ำว่าเหตุที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัยของรถทัศนาจร ซึ่งความเสี่ยงนี้กระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชน โจทย์ใหญ่ของรัฐคือจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้รถเหล่านี้มีมาตรฐานดีขึ้นได้อย่างไร ทั้งการเปลี่ยนวัสดุไวไฟ เช่น เบาะที่นั่ง ม่าน พรม ให้เป็นไปตามมาตรฐาน UNECE ซึ่งคือการใช้วัสดุที่ทนไฟได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟลุกไหม้จะไม่เร็วและแรง สามารถช่วยซื้อเวลาให้ผู้โดยสารหนีออกภายนอกตัวรถได้
    “ภาครัฐอาจจะต้องเข้ามาร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อปรับปรุงมาตรฐานให้ดีขึ้น โดยสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เช่น การให้เงินช่วยเหลือโดยตรงไปยังผู้ประกอบการ หรือ อาจมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีทุนในการปรับปรุงมาตรฐานรถ”

    สำหรับกรณีระยะเวลาการใช้งานของรถคันเกิดเหตุ ที่พบว่ามีการจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 2513 นั้น ดร.สุเมธ กล่าวว่า องค์ประกอบหลักของรถจะมี 2 ส่วน คือ
    ส่วนที่ 1 : โครงหลัก หรือที่เรียกว่า “แชสซี” ที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของรถ ซึ่งอยู่ด้านใต้ตัวรถติดกับโครงล้อ ซึ่งปกติรถขนาดใหญ่จะจดทะเบียนครั้งแรกด้วยแชสซี ซึ่งส่วนนี้มีอายุการใช้งาน 70-80 ปี
    ส่วนที่ 2 : ตัวถังรถ ประกอบไปด้วย หลังคา ประตู เบาะที่นั่ง โดยตัวถังรถมีอายุการใช้งาน 8-10 ปีเท่านั้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นระยะ
    อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจว่าจะปรับปรุงตัวถังรถหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการเป็นหลักว่าต้องการเปลี่ยนหรือไม่ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการกำหนดอายุรถ หรือระยะเวลาการปรับปรุงสภาพรถ มีแต่การตรวจสอบตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยกรมการขนส่งทางบก 2 ครั้งต่อปี

    “ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง จะมีการปรับปรุงความเสี่ยงเหล่านี้อย่างไร การตรวจสอบมีความเข้มงวดมากน้อยขนาดไหน ตรงนี้ล้วนเป็นประเด็น เพราะมาตรฐานการติดตั้ง ยังเป็นสิ่งที่มีความท้าทายในการตรวจสอบอยู่ หากการติดตั้งทำโดยช่างผู้ชำนาญการก็จะได้มาตรฐานสูง แต่ถ้าติดตั้งโดยไม่รัดกุมมากนัก ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ประกายไฟ ได้” ดร.สุเมธ ระบุ

    ยกระดับทัศนศึกษาปลอดภัย ซักซ้อม – วางแผน – ลงรายละเอียด รับมือเหตุไม่คาดคิด

    ด้าน นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) และอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาผู้บริโภค กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวถึงเวลาที่กระทรวงศึกษาธิการ ต้องทบทวนเชิงระบบ เพื่อสร้างแนวทางการไปทัศนศึกษาที่ปลอดภัย โดยปัจจุบันการไปทัศนศึกษาของเด็กมีอยู่ 2 รูปแบบ 1. ไปเช้า – เย็นกลับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทัศนศึกษาในช่วงปิดเทอมหนึ่ง ประมาณเดือนตุลาคม กับ 2. ทัศนศึกษาแบบพักค้างคืนจะอยู่ในช่วงเทอมสอง ซึ่งจะมีการเดินทางช่วงกลางคืน มีการใช้รถบัสสองชั้น การเกิดอุบัติเหตุจึงมักจะเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม

    นพ.ธนะพงศ์ กล่าวว่า คณะผู้จัดกิจกรรมไปทัศนศึกษา ต้องวางแผนโดยการลงรายละเอียด ทั้งการเตรียมครูประจำรถกี่คนต่อจำนวนเด็ก ยิ่งเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ เช่น อาจจะต้องเป็นครูหนึ่งคนต่อ 10 คน เป็นต้น หรือหากเกิดอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ หรือเกิดเพลิงไหม้ คุณครูก็ต้องรู้จักการใช้ถังดับเพลิง และถ้าจำเป็นต้องอพยพ คุณครูจะต้องวางแผนอพยพออกทางไหน ประตูอยู่ตรงจุดไหน เป็นต้น

    เสนอยกเลิกรถสองชั้นเด็ดขาด – เพิ่มวงเงินประกันภัยภาคบังคับ

    นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวถึงข้อเสนอในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ โดยเน้นย้ำการยกเลิกการใช้รถสองชั้นในการรับจ้างแบบไม่ประจำทาง อันเป็นสิ่งที่องค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ ได้มีข้อเสนอเป็นระยะเวลาหลายปี แต่ยังไม่ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง รวมถึงรื้อระบบตรวจสภาพรถบริการขนส่งสาธารณะ ปัจจุบันตรวจสภาพปีละสองครั้ง แต่ในบางประเทศตรวจทุกไตรมาส ซึ่งจริง ๆ ควรจะดูตามจํานวนการใช้งาน หรือกำหนดเป็นระยะเวลาตายตัวเพียงอย่างเดียว

    นอกจากนี้ เสนอให้ขยายวงเงินประกันภัยภาคบังคับ ของรถโดยสารแบบไม่ประจำทาง โดยเพิ่มวงเงินประกันเป็น 30 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันการทำประกันภัยรถภาคบังคับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาทต่อคน แต่มีข้อกำหนดวงเงินเฉลี่ยจ่ายจากวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อครั้ง ซึ่งไม่ครอบคลุมความเสียหายเมื่อเกิดเหตุร้ายแรงและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

    “ความสูญเสียที่เกิดขึ้นต้องนำไปสู่การพัฒนากฎ ระเบียบ มาตรการต่าง ๆ และวิธีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของรถโดยสาร” เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าว

    จากอุบัติเหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้ สู่ปัญหา “รถโรงเรียนไทยไม่ปลอดภัย”

    ความไม่ปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียนไทย ไม่ใช่ปัญหาที่เพิ่งถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง และเปรียบเทียบมาตรฐานความปลอดภัยของไทยกับต่างประเทศ โดยล่าสุดในโซเชียลมีเดียมีการแชร์ข้อมูล รถรับส่งนักเรียนในสหรัฐ มีการควบคุมความปลอดภัยมากกว่ารถปกติถึง 70 เท่า ขณะที่ของญี่ปุ่นกรณีรถบัสทัศนศึกษา นอกจากการตรวจสอบมาตรฐานตัวรถที่เข้มงวด ยังมีการติดตั้ง GPS ควบคุมความเร็วในการขับขี่อีกด้วย

    สำหรับประเทศไทย หากย้อนกลับไปที่ข้อมูลของ ศวปถ. และสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งระบุในคู่มือการจัดระบบรถโรงเรียนให้ปลอดภัยและเป็นธรรม พบว่าระหว่างปี 2562 – 2564 เกิดอุบัติเหตุกับรถโรงเรียนมากถึง 38 ครั้ง มีนักเรียนได้รับบาดเจ็บรุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 431 ราย

    จากการสํารวจข้อมูลรถโรงเรียนทุกภูมิภาค ได้สะท้อนภาพปัญหาที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง 3 ปมปัญหาใหญ่ที่รอเวลาเกิดเหตุ ได้แก่

    สภาพรถที่ไม่ได้มาตรฐาน : ดัดแปลงรถ ไม่มั่นคงแข็งแรง รวมถึงขาดอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ควรมี เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง เป็นต้น

    ผู้ขับประมาทไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร : ใช้ประสบการณ์ความเคยชินขับเร็วเสี่ยงอันตราย ขาดความรู้ความเข้าใจบทบาทการขับรถส่งนักเรียน

    ขาดระบบจัดการรถที่ดี : ขาดระบบกำกับควบคุมผู้ขับขี่ รวมถึงกลไกสนับสนุนเพื่อให้เกิดระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพ

    แม้การเพิ่มมาตรการและความเข้มงวดภายหลังเกิดเหตุ จะหนีไม่พ้นคำพูดที่ว่า “วัวหายล้อมคอก” แต่ในบริบทของประเทศไทย เมื่อเกิดบทเรียนขึ้นแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบทุกภาคส่วน ต้องร่วมมือกันล้อมคอกไม่ให้เกิดเหตุสลด เช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต

    ที่มา https://thaipublica.org/2024/10/tdri-reveals-95-of-non-regular-taxis-are-ticking-time-bombs-on-thai-roads/

    #Thaitimes
    ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง! ‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้ 95% รถรับจ้างไม่ประจำทาง คือ ระเบิดเวลาบนท้องถนนไทย แนะรัฐตรวจเข้มกลุ่มรถที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมจัดงบฯ – สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ เหตุการณ์รถบัสนักเรียนไฟไหม้ ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สะท้อนความล้มเหลวในการป้องกัน และควบคุมการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไทย ตอกย้ำสมญานามประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากการจราจรมากที่สุด สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และครองแชมป์อันดับ 1 ในอาเซียน อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่เพียงชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยง ทั้งในด้านพฤติกรรมการขับขี่ ความรู้ในการเผชิญเหตุฉุกเฉิน ยังได้นำไปสู่การเปิดโปงข้อบกพร่องของ “ระบบตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย” โดยเฉพาะรถทัศนาจร หรือ “รถรับจ้างไม่ประจำทาง” ที่วิ่งให้บริการขวักไขว่ อันเป็นภาพคุ้นชินตาของคนไทย ‘ทีดีอาร์ไอ’ เผยมีรถรับจ้างไม่ประจำทางเพียง 5% ผ่าน “มาตรฐานลุกไหม้” ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า แม้ว่ากรมการขนส่งทางบก จะมีความพยายามในการปรับปรุงมาตรฐานรถโดยสารขนาดใหญ่ในหลายประเด็น รวมถึงมาตรฐานด้านการลุกไหม้มาตั้งแต่ปี 2559 โดยออกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่องกำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร แต่ปรากฎว่าประกาศดังกล่าวถูกเลื่อนการบังคับใช้อยู่เรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลเพราะผู้ประกอบการ ไม่มีความพร้อมในการแบกรับต้นทุน จากการเปลี่ยนไปใช้วัสดุกันไฟที่มีราคาแพง จนกระทั่งสุดท้ายเพิ่งบังคับใช้ได้จริงในปี 2565 แต่กลับไม่มีผลย้อนหลัง ซึ่งหมายความว่าใช้บังคับได้เฉพาะกับรถที่จดทะเบียนใหม่ หรือ มีการปรับปรุงตัวถังใหม่ในปี 2565 เท่านั้น “รถคันที่เกิดเหตุก็เป็นหนึ่งในกรณี ที่ไม่เข้าเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ เนื่องจากมีการจดเบียนใหม่ในปี 2561” ดร.สุเมธ ระบุว่าปัจจุบันรถทัศนาจรในกลุ่มมาตรฐาน 1 ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับรถคันที่เกิดเหตุ มีจำนวน 5,896 คัน และรถมาตรฐาน 4 หรือรถ 2 ชั้น มีจำนวน 4,972 คน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าในจำนวนทั้งหมดกว่า 1 หมื่นคัน มีจำนวนเพียง 5% เท่านั้น ที่ผ่านมาตรฐานด้านการลุกไหม้ และอนุมานได้ว่าส่วนที่เหลืออีก 95% ที่เป็นรถจดทะเบียนก่อนประกาศดังกล่าวบังคับใช้ ยังไม่ถูกกำหนดให้มีมาตรฐานนี้ ขณะที่ในต่างประเทศเวลากำหนดมาตรฐานในเรื่องเหล่านี้ จะให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังด้วย และต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี “คาดว่ามีรถที่ไม่ผ่านหรือไม่ได้มาตรฐานใหม่ ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดเป็นหมื่นคัน แสดงให้เห็นถึงขนาดของปัญหาที่วิ่งอยู่บนท้องถนนตอนนี้ เสมือนกับเป็นระเบิดเวลาที่เราไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุขึ้นอีกเมื่อไหร่ ดังนั้น กรมการขนส่งทางบก ควรติดตามตรวจสอบรถในกลุ่มนี้ ที่ยังวิ่งอยู่ในระบบ เช่น ด้านมาตรฐานทนไฟ การชนด้านหน้า สภาพรถเป็นอย่างไร ติดก๊าซหรือไม่ ฯลฯ โดยเร่งกำหนดมาตรการอย่างเข้มข้นในรถกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงก่อน” จี้ ขบ.ตรวจเข้มรถเสี่ยงสูง – เสนอรัฐจัดงบฯหนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ ดร.สุเมธ เน้นย้ำว่าเหตุที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัยของรถทัศนาจร ซึ่งความเสี่ยงนี้กระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชน โจทย์ใหญ่ของรัฐคือจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้รถเหล่านี้มีมาตรฐานดีขึ้นได้อย่างไร ทั้งการเปลี่ยนวัสดุไวไฟ เช่น เบาะที่นั่ง ม่าน พรม ให้เป็นไปตามมาตรฐาน UNECE ซึ่งคือการใช้วัสดุที่ทนไฟได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟลุกไหม้จะไม่เร็วและแรง สามารถช่วยซื้อเวลาให้ผู้โดยสารหนีออกภายนอกตัวรถได้ “ภาครัฐอาจจะต้องเข้ามาร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อปรับปรุงมาตรฐานให้ดีขึ้น โดยสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เช่น การให้เงินช่วยเหลือโดยตรงไปยังผู้ประกอบการ หรือ อาจมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีทุนในการปรับปรุงมาตรฐานรถ” สำหรับกรณีระยะเวลาการใช้งานของรถคันเกิดเหตุ ที่พบว่ามีการจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 2513 นั้น ดร.สุเมธ กล่าวว่า องค์ประกอบหลักของรถจะมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 : โครงหลัก หรือที่เรียกว่า “แชสซี” ที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของรถ ซึ่งอยู่ด้านใต้ตัวรถติดกับโครงล้อ ซึ่งปกติรถขนาดใหญ่จะจดทะเบียนครั้งแรกด้วยแชสซี ซึ่งส่วนนี้มีอายุการใช้งาน 70-80 ปี ส่วนที่ 2 : ตัวถังรถ ประกอบไปด้วย หลังคา ประตู เบาะที่นั่ง โดยตัวถังรถมีอายุการใช้งาน 8-10 ปีเท่านั้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจว่าจะปรับปรุงตัวถังรถหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการเป็นหลักว่าต้องการเปลี่ยนหรือไม่ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการกำหนดอายุรถ หรือระยะเวลาการปรับปรุงสภาพรถ มีแต่การตรวจสอบตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยกรมการขนส่งทางบก 2 ครั้งต่อปี “ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง จะมีการปรับปรุงความเสี่ยงเหล่านี้อย่างไร การตรวจสอบมีความเข้มงวดมากน้อยขนาดไหน ตรงนี้ล้วนเป็นประเด็น เพราะมาตรฐานการติดตั้ง ยังเป็นสิ่งที่มีความท้าทายในการตรวจสอบอยู่ หากการติดตั้งทำโดยช่างผู้ชำนาญการก็จะได้มาตรฐานสูง แต่ถ้าติดตั้งโดยไม่รัดกุมมากนัก ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ประกายไฟ ได้” ดร.สุเมธ ระบุ ยกระดับทัศนศึกษาปลอดภัย ซักซ้อม – วางแผน – ลงรายละเอียด รับมือเหตุไม่คาดคิด ด้าน นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) และอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาผู้บริโภค กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวถึงเวลาที่กระทรวงศึกษาธิการ ต้องทบทวนเชิงระบบ เพื่อสร้างแนวทางการไปทัศนศึกษาที่ปลอดภัย โดยปัจจุบันการไปทัศนศึกษาของเด็กมีอยู่ 2 รูปแบบ 1. ไปเช้า – เย็นกลับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทัศนศึกษาในช่วงปิดเทอมหนึ่ง ประมาณเดือนตุลาคม กับ 2. ทัศนศึกษาแบบพักค้างคืนจะอยู่ในช่วงเทอมสอง ซึ่งจะมีการเดินทางช่วงกลางคืน มีการใช้รถบัสสองชั้น การเกิดอุบัติเหตุจึงมักจะเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม นพ.ธนะพงศ์ กล่าวว่า คณะผู้จัดกิจกรรมไปทัศนศึกษา ต้องวางแผนโดยการลงรายละเอียด ทั้งการเตรียมครูประจำรถกี่คนต่อจำนวนเด็ก ยิ่งเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ เช่น อาจจะต้องเป็นครูหนึ่งคนต่อ 10 คน เป็นต้น หรือหากเกิดอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ หรือเกิดเพลิงไหม้ คุณครูก็ต้องรู้จักการใช้ถังดับเพลิง และถ้าจำเป็นต้องอพยพ คุณครูจะต้องวางแผนอพยพออกทางไหน ประตูอยู่ตรงจุดไหน เป็นต้น เสนอยกเลิกรถสองชั้นเด็ดขาด – เพิ่มวงเงินประกันภัยภาคบังคับ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวถึงข้อเสนอในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ โดยเน้นย้ำการยกเลิกการใช้รถสองชั้นในการรับจ้างแบบไม่ประจำทาง อันเป็นสิ่งที่องค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ ได้มีข้อเสนอเป็นระยะเวลาหลายปี แต่ยังไม่ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง รวมถึงรื้อระบบตรวจสภาพรถบริการขนส่งสาธารณะ ปัจจุบันตรวจสภาพปีละสองครั้ง แต่ในบางประเทศตรวจทุกไตรมาส ซึ่งจริง ๆ ควรจะดูตามจํานวนการใช้งาน หรือกำหนดเป็นระยะเวลาตายตัวเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ เสนอให้ขยายวงเงินประกันภัยภาคบังคับ ของรถโดยสารแบบไม่ประจำทาง โดยเพิ่มวงเงินประกันเป็น 30 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันการทำประกันภัยรถภาคบังคับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาทต่อคน แต่มีข้อกำหนดวงเงินเฉลี่ยจ่ายจากวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อครั้ง ซึ่งไม่ครอบคลุมความเสียหายเมื่อเกิดเหตุร้ายแรงและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก “ความสูญเสียที่เกิดขึ้นต้องนำไปสู่การพัฒนากฎ ระเบียบ มาตรการต่าง ๆ และวิธีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของรถโดยสาร” เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าว จากอุบัติเหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้ สู่ปัญหา “รถโรงเรียนไทยไม่ปลอดภัย” ความไม่ปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียนไทย ไม่ใช่ปัญหาที่เพิ่งถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง และเปรียบเทียบมาตรฐานความปลอดภัยของไทยกับต่างประเทศ โดยล่าสุดในโซเชียลมีเดียมีการแชร์ข้อมูล รถรับส่งนักเรียนในสหรัฐ มีการควบคุมความปลอดภัยมากกว่ารถปกติถึง 70 เท่า ขณะที่ของญี่ปุ่นกรณีรถบัสทัศนศึกษา นอกจากการตรวจสอบมาตรฐานตัวรถที่เข้มงวด ยังมีการติดตั้ง GPS ควบคุมความเร็วในการขับขี่อีกด้วย สำหรับประเทศไทย หากย้อนกลับไปที่ข้อมูลของ ศวปถ. และสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งระบุในคู่มือการจัดระบบรถโรงเรียนให้ปลอดภัยและเป็นธรรม พบว่าระหว่างปี 2562 – 2564 เกิดอุบัติเหตุกับรถโรงเรียนมากถึง 38 ครั้ง มีนักเรียนได้รับบาดเจ็บรุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 431 ราย จากการสํารวจข้อมูลรถโรงเรียนทุกภูมิภาค ได้สะท้อนภาพปัญหาที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง 3 ปมปัญหาใหญ่ที่รอเวลาเกิดเหตุ ได้แก่ สภาพรถที่ไม่ได้มาตรฐาน : ดัดแปลงรถ ไม่มั่นคงแข็งแรง รวมถึงขาดอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ควรมี เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง เป็นต้น ผู้ขับประมาทไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร : ใช้ประสบการณ์ความเคยชินขับเร็วเสี่ยงอันตราย ขาดความรู้ความเข้าใจบทบาทการขับรถส่งนักเรียน ขาดระบบจัดการรถที่ดี : ขาดระบบกำกับควบคุมผู้ขับขี่ รวมถึงกลไกสนับสนุนเพื่อให้เกิดระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพ แม้การเพิ่มมาตรการและความเข้มงวดภายหลังเกิดเหตุ จะหนีไม่พ้นคำพูดที่ว่า “วัวหายล้อมคอก” แต่ในบริบทของประเทศไทย เมื่อเกิดบทเรียนขึ้นแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบทุกภาคส่วน ต้องร่วมมือกันล้อมคอกไม่ให้เกิดเหตุสลด เช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต ที่มา https://thaipublica.org/2024/10/tdri-reveals-95-of-non-regular-taxis-are-ticking-time-bombs-on-thai-roads/ #Thaitimes
    THAIPUBLICA.ORG
    ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง! ‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้ 95% รถรับจ้างไม่ประจำทาง คือ ระเบิดเวลาบนท้องถนนไทย
    ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง! ‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้ 95% รถรับจ้างไม่ประจำทาง คือ ระเบิดเวลาบนท้องถนนไทย แนะรัฐตรวจเข้มกลุ่มรถที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมจัดงบฯ - สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 754 มุมมอง 0 รีวิว
  • แม้เราล้มเจ็ดครั้งแต่เราก็ลุกขึ้นมาได้แปดครั้ง..คำคมสร้างแรงจูงใจจาก เปาโล เควลโย
    แม้เราล้มเจ็ดครั้งแต่เราก็ลุกขึ้นมาได้แปดครั้ง..คำคมสร้างแรงจูงใจจาก เปาโล เควลโย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 104 มุมมอง 53 0 รีวิว
  • The Fear: ความกลัวทำให้เราไม่กล้าก้าวออกมาจาก comfort zones #คำคมสร้างแรงจูงใจ
    The Fear: ความกลัวทำให้เราไม่กล้าก้าวออกมาจาก comfort zones #คำคมสร้างแรงจูงใจ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 236 มุมมอง 119 0 รีวิว
  • The Failures อย่ายอมแพ้ความล้มเหลว #คำคมสร้างแรงจูงใจ
    The Failures อย่ายอมแพ้ความล้มเหลว #คำคมสร้างแรงจูงใจ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 219 มุมมอง 105 0 รีวิว