• ไม่แปลกหรอกถ้าคุณทักษิณจะหลุดคดี ๑๑๒ ด้วย:

    ๑.ผมสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ทำรัฐประหาร เพราะช่วงนั้น คุณทักษิณ ชินวัตรโกงชาติโกงแผ่นดินมากมายแล้วกฎหมายบ้านเมืองเอาผิดไม่ได้

    คุณทักษิณคุมทหาร คุมตำรวจ คุมอัยการ คุมกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด เมื่อกฎหมายเอาผิดคุณทักษิณไม่ได้ ประชาชนก็ออกถนน กลายเป็นกลุ่มเสื้อเหลือง พอเห็นเสื้อเหลืองออกถนน คุณทักษิณก็สร้างมวลชนเสื้อแดงมาต่อต้าน ถึงขั้นเผาศาลากลางจังหวัดด้วย

    เมื่อประชาธิปไตยเดินหน้าไม่ได้ ทหารก็จำเป็นต้องทำรัฐประหาร ผมมองว่าการทำรัฐประหารเป็นการผ่าทางตันและนำหลักนิติธรรมนิติรัฐกลับมา

    ถ้าพรรคประชาชนหรือนักการเมืองพรรคนี้ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ก็เป็นเรื่องของท่าน อเมริกาทำรัฐประหารในประเทศอื่นๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดตนเองเป็นประจำ เช่น ที่ปากีสถาน บังกลาเทศ ตอนนี้ กำลังหาทางทำที่บราซิลและเวเนซุเอล่า ทำไมคนไทยจะทำไม่ได้บ้างละครับ เพื่อให้ประเทศชาติมีความมั่นคงกลับคืนมา?

    รัฐบาลท่านพลเอกประยุทธ์ก็ทำโครงการดีๆ หลายเรื่อง เอาคนเก่งมาทำงาน สร้างถนนหนทางในต่างจังหวัดดีขึ้นจนผิดหูผิดตา เศรษฐกิจไม่ดี ท่านก็มีเป๋าตังค์หรือโครงการคนละครึ่งช่วยเหลือประชาชน

    ข้อสำคัญ ไม่มีใครสงสัยในความภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของท่าน และอีกข้อคือท่านไม่มีประเด็นด่างพร้อยเรื่องทุจริต อย่างน้อยก็ไม่มีใครเอาผิดท่านได้

    จึงไม่แปลกหรอกที่ประชาชนไทยจำนวนมากจะคิดถึงท่านพลเอกประยุทธ์ แม้ท่านจะหมดอำนาจจากรัฐบาลไปแล้ว

    ๒.ปัญหาก็คือพอทำรัฐประหารได้อำนาจมา พลเอกประยุทธ์ไม่ได้ตั้งใจหาทางแก้กฎหมายด้านความมั่นคงหลายๆ ด้านให้รัดกุมยิ่งขึ้น เช่น

    ไม่ออกกฎหมายกวาดล้าง NGOs ที่แทรกแซงการเมืองภายในประเทศ ไม่ออกกฎหมายจัดการคนที่ไลฟ์สดคุยกับนักโทษที่หลบหนีไปต่างประเทศ ไม่ออกกฎหมายจัดการสื่อโซเชียลมิเดียที่หมิ่นประมาทต่อสถาบันกษัตริย์เหมือนรัฐบาลประเทศอื่นๆ หลายปรเทศ ไม่ออกกฎหมายควบคุมสื่อโซเชียลมิเดียที่โฆษณาบ่อนพนันเป็นอาจิณ ฯลฯ คุณทักษิณจึงไลฟ์สดเข้าประเทศไทย หาเสียงได้อย่างสบายๆ ต่างชาติก็ยังใช้ NGOs ปลุกระดมประชาชนช่วยพรรคฝ่ายตรงข้ามได้อย่างสบายๆ เหมือนเดิม

    ในขณะที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์หันไปเน้นสร้างถนนและรถไฟฟ้ามากมายหลายเส้นสายแทน

    ผมเคยวิจารณ์ว่าแค่สร้างรถไฟทางคู่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศก็พอแล้ว หันไปเน้นขุดคลองส่งน้ำในชนบทภาคอีสานและภาคอื่นๆ อย่างทั่วถึงจะดีกว่า ประชาชนจะได้อยู่ดีกินดีมากยิ่งขึ้นเพราะรายได้ประชาชนยังมีไม่มาก ถ้าสร้างรถไฟฟ้าหลายเส้นสายแล้วประชาชนไม่มีเงินนั่ง จะเจ๊งเอาได้

    ตอนนี้ก็มีข่าวว่าเริ่มเป็นปัญหาคือรถไฟฟ้าหลายเส้นทางก่อหนี้สิ้นมากขึ้นแล้ว เพราะค่ารถไฟฟ้าแพง คนส่วนใหญ่ไม่มีกำลังจะไปนั่ง

    แถมรัฐบาลท่านพลเอกประยุทธ์ยังเปิดทาง ปล่อยคุณยิ่งลักษณ์ให้หลบหนีไปต่างประเทศอย่างสะดวกสบายอีกด้วย

    ๓.ต่อมา พอมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคท่านพลเอกประยุทธ์พ่ายแพ้เสียงข้างมากในการเลือกตั้ง ก็มีดีลพาคุณทักษิณ ชินวัตรกลับบ้าน มีการเสนออภัยโทษคุณทักษิณ ชินวัตร โดยพลเอกประยุทธ์ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชการโองการ มีวุฒิสมาชิกสายพลเอกประยุทธ์โหวตให้คุณเศรษฐาเป็นนายก

    แล้วคุณทักษิณ ชินวัตรก็กลับประเทศไทย และทำผิดกติกา ไม่ยอมเข้าคุกแม้แต่วันเดียว เป็นการทำลายระบบนิติธรรมนิติรัฐ คุณทักษิณกลายเป็นผู้กว้างขวางนอกรัฐธรรมนูญหรืออภิสิทธิ์ชนในสังคมไทยขึ้นมา

    ตอนนี้ คุณทักษิณซึ่งเป็นนักโทษหนีคดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการจัดตั้งรัฐบาล เป็นผู้นัดพบนักการเมืองพรรคต่างๆ ไปพบ แล้วเอาลูกตัวเองเป็นนายิการัฐมนตรี

    จะแปลกอะไรถ้าคุณทักษิณจะหลุดคดี ๑๑๒ ด้วย?


    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    ไม่แปลกหรอกถ้าคุณทักษิณจะหลุดคดี ๑๑๒ ด้วย: ๑.ผมสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ทำรัฐประหาร เพราะช่วงนั้น คุณทักษิณ ชินวัตรโกงชาติโกงแผ่นดินมากมายแล้วกฎหมายบ้านเมืองเอาผิดไม่ได้ คุณทักษิณคุมทหาร คุมตำรวจ คุมอัยการ คุมกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด เมื่อกฎหมายเอาผิดคุณทักษิณไม่ได้ ประชาชนก็ออกถนน กลายเป็นกลุ่มเสื้อเหลือง พอเห็นเสื้อเหลืองออกถนน คุณทักษิณก็สร้างมวลชนเสื้อแดงมาต่อต้าน ถึงขั้นเผาศาลากลางจังหวัดด้วย เมื่อประชาธิปไตยเดินหน้าไม่ได้ ทหารก็จำเป็นต้องทำรัฐประหาร ผมมองว่าการทำรัฐประหารเป็นการผ่าทางตันและนำหลักนิติธรรมนิติรัฐกลับมา ถ้าพรรคประชาชนหรือนักการเมืองพรรคนี้ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ก็เป็นเรื่องของท่าน อเมริกาทำรัฐประหารในประเทศอื่นๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดตนเองเป็นประจำ เช่น ที่ปากีสถาน บังกลาเทศ ตอนนี้ กำลังหาทางทำที่บราซิลและเวเนซุเอล่า ทำไมคนไทยจะทำไม่ได้บ้างละครับ เพื่อให้ประเทศชาติมีความมั่นคงกลับคืนมา? รัฐบาลท่านพลเอกประยุทธ์ก็ทำโครงการดีๆ หลายเรื่อง เอาคนเก่งมาทำงาน สร้างถนนหนทางในต่างจังหวัดดีขึ้นจนผิดหูผิดตา เศรษฐกิจไม่ดี ท่านก็มีเป๋าตังค์หรือโครงการคนละครึ่งช่วยเหลือประชาชน ข้อสำคัญ ไม่มีใครสงสัยในความภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของท่าน และอีกข้อคือท่านไม่มีประเด็นด่างพร้อยเรื่องทุจริต อย่างน้อยก็ไม่มีใครเอาผิดท่านได้ จึงไม่แปลกหรอกที่ประชาชนไทยจำนวนมากจะคิดถึงท่านพลเอกประยุทธ์ แม้ท่านจะหมดอำนาจจากรัฐบาลไปแล้ว ๒.ปัญหาก็คือพอทำรัฐประหารได้อำนาจมา พลเอกประยุทธ์ไม่ได้ตั้งใจหาทางแก้กฎหมายด้านความมั่นคงหลายๆ ด้านให้รัดกุมยิ่งขึ้น เช่น ไม่ออกกฎหมายกวาดล้าง NGOs ที่แทรกแซงการเมืองภายในประเทศ ไม่ออกกฎหมายจัดการคนที่ไลฟ์สดคุยกับนักโทษที่หลบหนีไปต่างประเทศ ไม่ออกกฎหมายจัดการสื่อโซเชียลมิเดียที่หมิ่นประมาทต่อสถาบันกษัตริย์เหมือนรัฐบาลประเทศอื่นๆ หลายปรเทศ ไม่ออกกฎหมายควบคุมสื่อโซเชียลมิเดียที่โฆษณาบ่อนพนันเป็นอาจิณ ฯลฯ คุณทักษิณจึงไลฟ์สดเข้าประเทศไทย หาเสียงได้อย่างสบายๆ ต่างชาติก็ยังใช้ NGOs ปลุกระดมประชาชนช่วยพรรคฝ่ายตรงข้ามได้อย่างสบายๆ เหมือนเดิม ในขณะที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์หันไปเน้นสร้างถนนและรถไฟฟ้ามากมายหลายเส้นสายแทน ผมเคยวิจารณ์ว่าแค่สร้างรถไฟทางคู่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศก็พอแล้ว หันไปเน้นขุดคลองส่งน้ำในชนบทภาคอีสานและภาคอื่นๆ อย่างทั่วถึงจะดีกว่า ประชาชนจะได้อยู่ดีกินดีมากยิ่งขึ้นเพราะรายได้ประชาชนยังมีไม่มาก ถ้าสร้างรถไฟฟ้าหลายเส้นสายแล้วประชาชนไม่มีเงินนั่ง จะเจ๊งเอาได้ ตอนนี้ก็มีข่าวว่าเริ่มเป็นปัญหาคือรถไฟฟ้าหลายเส้นทางก่อหนี้สิ้นมากขึ้นแล้ว เพราะค่ารถไฟฟ้าแพง คนส่วนใหญ่ไม่มีกำลังจะไปนั่ง แถมรัฐบาลท่านพลเอกประยุทธ์ยังเปิดทาง ปล่อยคุณยิ่งลักษณ์ให้หลบหนีไปต่างประเทศอย่างสะดวกสบายอีกด้วย ๓.ต่อมา พอมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคท่านพลเอกประยุทธ์พ่ายแพ้เสียงข้างมากในการเลือกตั้ง ก็มีดีลพาคุณทักษิณ ชินวัตรกลับบ้าน มีการเสนออภัยโทษคุณทักษิณ ชินวัตร โดยพลเอกประยุทธ์ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชการโองการ มีวุฒิสมาชิกสายพลเอกประยุทธ์โหวตให้คุณเศรษฐาเป็นนายก แล้วคุณทักษิณ ชินวัตรก็กลับประเทศไทย และทำผิดกติกา ไม่ยอมเข้าคุกแม้แต่วันเดียว เป็นการทำลายระบบนิติธรรมนิติรัฐ คุณทักษิณกลายเป็นผู้กว้างขวางนอกรัฐธรรมนูญหรืออภิสิทธิ์ชนในสังคมไทยขึ้นมา ตอนนี้ คุณทักษิณซึ่งเป็นนักโทษหนีคดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการจัดตั้งรัฐบาล เป็นผู้นัดพบนักการเมืองพรรคต่างๆ ไปพบ แล้วเอาลูกตัวเองเป็นนายิการัฐมนตรี จะแปลกอะไรถ้าคุณทักษิณจะหลุดคดี ๑๑๒ ด้วย? ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    0 Comments 0 Shares 254 Views 0 Reviews
  • ♣ ยิ่งลักษณ์กลับบ้าน หากไม่อย่างไร้อิสรภาพ ต้องป่วยหนักหรืออาจต้องตั้งครรภ์
    #7ดอกจิก
    ♣ ยิ่งลักษณ์กลับบ้าน หากไม่อย่างไร้อิสรภาพ ต้องป่วยหนักหรืออาจต้องตั้งครรภ์ #7ดอกจิก
    0 Comments 0 Shares 422 Views 72 0 Reviews
  • จําได้มั้ย? : 27-08-67 #การ์ตูนการเมือง

    #ทักษิณ #ยิ่งลักษณ์ #ปู #เอกนัฎ #กปปส.
    จําได้มั้ย? : 27-08-67 #การ์ตูนการเมือง #ทักษิณ #ยิ่งลักษณ์ #ปู #เอกนัฎ #กปปส.
    Like
    Haha
    Yay
    Love
    Angry
    41
    0 Comments 0 Shares 1832 Views 0 Reviews
  • รีโพสต์ทัศนะของ วีระ ธีรภัทร จากเพจเฟซบุ๊ก สำนักพิมพ์โรนิน 25 สิงหาคม 2567

    “ คอลัมน์ ปากท้องชาวบ้าน

    ไม่มีอะไรจะเละไปกว่านี้(แล้ว)

    แม้ว่าผมจะไม่ห่วงเรื่องอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้ก็ตาม

    แต่ก็อดคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๔ ไม่ได้

    หลังการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมในปีนั้น พรรคเพื่อไทยเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์แบบถล่มทลายสามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยมีคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ

    อุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ตามมาพร้อมกับการเป็นรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่นเลยกลายเป็นบททดสอบความสามารถในการบริหารจัดการของรัฐบาลใหม่แบบชนิดไม่ทันได้ตั้งตัว

    ผลเป็นไงคงพอจำกันได้

    บัดนี้เราได้รัฐบาลใหม่ มีคุณแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าในขณะนี้ยังยุ่งขิงอยู่กับการสรรหาบุคคลมาเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลไม่เสร็จ (อันนี้เละเทะมาก) ยังไม่สามารถเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ

    แต่น้ำเหนือก็หลากมาแล้ว แม้จะไม่น่ากลัวสำหรับคนกรุงเทพและปริมณฑลเหมือนกับเมื่อสิบสามปีก่อนหน้านี้ก็ตามที

    อะไรมันจะซ้ำซากกันได้ถึงขนาดนี้

    แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นข้อใหญ่ในความของเรื่องที่ผมจะคุยอะไรให้ฟังวันนี้ ครับ

    ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมามีอะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นมากมาย หลายเรื่องไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้น แม้ผมจะพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุพอสมควร

    ผมเลยอยากจะเล่าอะไรต่อมิอะไรให้คุณฟังแบบเพลินๆ เท่าที่จะคิดได้เป็นสำคัญ

    แน่นอนล่ะครับว่ารายการ Vision For Thailand ในช่วงหัวค่ำของคืนวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคมที่คุณทักษิณ ชินวัตร ไปแสดงวิสัยทัศน์ท่ามกลางคนมีอำนาจในแวดวงการเมืองและธุรกิจภาคเอกชนจำนวนมากนั้น ย่อมอยู่ในความสนใจของผู้คน จนลืมกันไปหมดว่าวันดังกล่าวตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีของการเดินทางกลับประเทศไทยของคุณทักษิณ

    ความเป็นคุณทักษิณ ความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของพรรคเพื่อไทย และด้วยอำนาจวาสนาบารมีที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แม้จะพร่องไปบ้างในช่วงสิบห้าปีที่ลี้ภัยทางการเมืองในต่างแดน

    สิ่งที่คุณทักษิณคิดจึงมองข้ามไม่ได้

    ทักษิณคิดเพื่อไทยทำอย่างที่รู้ๆ กัน

    ผมและคนอื่นๆ อีกไม่น้อยจึงเสียยอมเวลาฟังสิ่งที่คุณทักษิณคิดและอยากให้เกิดกับสังคมไทยในอนาคตตลอดหนึ่งชั่วโมงเศษที่แกคุยอยู่คนเดียวด้วยความตั้งอกตั้งใจ

    สำหรับผมสิ่งที่คุณทักษิณคิดออกมาดังๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นประเด็นปัญหาที่เราพอรู้พอทราบกันอยู่ แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่าสิ่งที่คุณทักษิณ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเอาไปทำหรืออย่างน้อยก็เอาไปคิดต่อว่าจะทำต่อไปเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ

    ตรงนี้จึงมีความหมายมากกว่าการแสดงความคิดเห็นของคนทั่วไป

    แม้ว่าข้อเสนอจำนวนมากเป็นเรื่องที่ผมพอทราบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โครงการดิจิทัลวอลเลต การชี้นำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยและเพิ่มการให้สินเชื่อเพื่อเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจ โครงการแลนด์บริดจ์ โครงการค่าโดยสารรถไฟฟ้า ๒๐ บาทตลอดสาย โครงการเอ็นเทอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ กองทุนวายุภักษ์ ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตัดสินใจและขับเคลื่อนกันต่อไปในรัฐบาลของคุณแพทองธาร ชินวัตร ต่อไป

    นี่จึงเป็นข้อเสนอคำแนะนำที่ไม่ธรรมดาเพราะสามารถจะกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลได้อย่างแยบคาย

    ผมจะไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไรในเรื่องที่ว่าในตอนนี้ อยากจะรอดูก่อนว่าข้อเสนอดังกล่าวจะกลายเป็นนโยบายและมาตรการของรัฐบาลคุณแพทองธารในเนื้อหารายละเอียดอย่างไรให้ชัดเจนเสียก่อน

    แถมอันที่จริงแล้วในช่วงนี้ต้องบอกว่า ผมอยู่ในช่วงที่ผ่อนคลายมากมีเวลาเหลือมากขึ้น แถมได้ทำสิ่งที่ไม่ได้ทำมานานมากแล้วอีกต่างหาก

    ลำดับแรกเลย งานในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งผมต้องไปประชุมรวมกันถึง ๔๐ ครั้งตลอดระยะเวลาสองเดือนเต็มๆ ที่ผ่านมา (นับหนึ่งวันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน) ถือว่าจบสิ้นแล้วในแง่ของกระบวนการพิจารณา แม้ยังไม่จบเสียทีเดียวเพราะต้องมีพิธีกรรมอีกเล็กน้อยในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า

    วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคมจะเป็นการประชุมครั้งที่ ๔๑ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของกรรมาธิการเพื่อตรวจทานและลงมติรับร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ว่าจะเอาแบบไหน? อย่างไร? โดยมีกรรมาธิการและสส.จำนวนไม่น้อย ได้สงวนความเห็นและขอแปรญัตติเพื่อจะไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะมีการลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๒ และ ๓ ในช่วงวันที่ ๓-๕ กันยายนที่จะถึงนี้

    อันนี้น่าสนใจติดตามฟังกันครับ

    งานที่ว่านี้ดำเนินไปโดยยังไม่มีรัฐบาลใหม่ มีแต่เพียงนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินได้

    นี่ต้องบอกว่าเป็นเรื่องแปลก แม้ผมจะเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นก็ตามที

    ลำดับถัดมา ผมไปร่วมรายการ BOT Press Trip 2024 ที่โรงแรม Andaz แถวหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี แม้จะห่างเหินจากการไปร่วมงานในฐานะสื่อมวลชนกับธนาคารแห่งประเทศไทยแบบนี้มานานมากแล้ว แต่ที่ผมอยากไปก็เพราะว่างานนี้มีประเด็นที่ผมอยากสอบถามให้แน่ใจว่าอะไรเป็นอะไรจากปากของผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นโอกาสดีมากเพราะว่าไปกันครบถ้วนเกือบทั้งหมด เหมือนเราไปเดินห้างสรรพสินค้าเพื่อซื้อของที่ต้องการได้ทั้งหมดในสถานที่เพียงแห่งเดียว

    ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย นำโดยคุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ปีหน้าครบวาระห้าปีเป็นต่อไม่ได้) พร้อมกับรองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ ๑๑ คนโดยไม่รวมระดับผู้บริหารระดับปฏิบัติการในฝ่ายต่างๆ ที่มากันเป็นกองทัพ

    อะไรที่ผมสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารจัดการอยู่ในเวลานี้ จึงถือโอกาสไปร่วมงานนี้ สอบถามพูดคุยกับคนที่ดูแลนโยบายและคนที่ลงมือปฏิบัติการจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนและได้ข้อมูลที่ต้องการครบถ้วน

    เอาเป็นว่าเรื่องระหว่างรัฐบาล กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เคยปีนเกลียวกันในช่วงรัฐบาลคุณเศรษฐา ทวีสิน ที่ผ่านมาและที่อาจจะมีการปะทะปะทั่งกันในช่วงรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร ในอนาคตอันใกล้นี้

    ผมพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุแล้ว

    เรื่องหลายเรื่องที่รัฐบาลอยากทำแล้วทำไม่ได้ เรื่องหลายเรื่องที่ถกเถียงกันระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าควรทำแบบไหนไม่ควรทำแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นโครงการดิจิตอลวอลเลต การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโบบาย ฯลฯ

    การได้พูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทำให้ผมพอปะติดปะต่อภาพได้เกือบครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว

    จะเอาไปทำอะไรต่อที่ไหน? อย่างไร? และเมื่อไหร่? เดี๋ยวค่อยมาว่ากันครับ

    ผมยังมีเรื่องอยากจะเล่าให้ฟังเพิ่มเติมแบบลงรายละเอียดสักหน่อย เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลเอาไว้ตรงนี้เพื่อให้คุณๆ ได้ติดตามความเป็นไปของสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังได้อย่างครบถ้วนอยู่เรื่องหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นควรรู้ควรทราบอย่างยิ่ง

    เรื่องของเรื่องก็คือในช่วงสุดท้ายของการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลโดยสำนักงบประมาณได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงรายการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งเป็นเงินรวมกัน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท

    รายการที่ว่านั้นเป็นการตั้งงบประมาณชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ให้หน่วยงานของรัฐออกเงินไปให้ก่อนตามมาตรา ๒๘ ของพรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยโอนย้ายไปเป็นรายการในงบกลางแทน โดยระบุว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจ (อันนี้เป็นชื่อของโครงการดิจิตอลวอลเลตที่รัฐบาลจะทำในเอกสารงบประมาณ) เพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว ๑๕๒,๗๐๐ ล้านบาท

    นั่นเลยทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการดิจิตอลวอลเลตในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๘ เพิ่มเป็น ๑๘๗,๗๐๐ ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว แต่จะหาจากไหนสำหรับส่วนที่เหลืออีก ๙๗,๓๐๐ ล้านบาทเพื่อให้ครบ ๒๘๕,๐๐๐ ล้านบาท

    อันนี้น่าสนใจ

    ผมอยากให้ข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงโอนย้ายรายจ่ายที่จะจัดสรรให้รัฐวิหาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งที่ว่าไปไว้ที่อื่นนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดูเหมือนจะเจอหนักกว่าใครเพื่อน เพราะเงินที่คาดว่าจะได้รับการชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ธ.ก.ส.แบกรับภาระอยู่ประมาณ ๓๑,๒๐๐ ล้านบาท (จากยอดทั้งหมดประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท) จะถูกเลื่อนออกไป

    แบบนี้อธิบายแบบชาวบ้านก็คือรัฐบาลขอต๊ะหนี้ที่มีกับธ.ก.ส.ไว้ก่อน ส่วนจะชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยให้เมื่อไหร่? ค่อยไปว่ากันในอนาคต

    เรื่องนี้ผมคัดค้านอย่างเต็มที่ตอนที่ถกเถียงกันในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการฯ

    แต่เมื่อเสียงข้างมากของกรรมาธิการวิสามัญฯ โดยเฉพาะกรรมาธิการที่มาในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรีและพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลได้ลงมติให้เป็นไปตามนั้น ผมจึงกลายเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยในกรณีนี้

    แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่จบจะต้องไปว่ากันต่อในที่ประชุมวาระที่ ๒ และ ๓ เพื่อให้สส.ลงมติให้ความเห็นชอบสุดท้ายก็ตามที

    แต่เรื่องนี้บอกเราได้อย่างหนึ่งว่าโครงการดิจิตอลวอลเลตยังเดินหน้าเต็มตัว แม้จะปรับเปลี่ยนไปเป็นการจ่ายเงินสดให้กลุ่มเปราะบางไปก่อนในเฟสแรกหรือระลอกแรก (หลักๆ คือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้มีรายได้น้อย) ทั้งเพื่อให้ทันใช้เงินให้หมดภายในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๗ ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

    ส่วนจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ระหว่างวงเงิน ๑๔๕,๐๐๐ หรือ ๑๖๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้นคงต้องรอรัฐบาลแถลงนโยบายรัฐสภาต่อไปถึงจะชัดเจน

    พายุหมุนทางเศรษฐกิจที่พูดๆ กันก่อนหน้านี้คงไม่ใช่แล้วสำหรับตอนนี้

    แต่ก็อย่างที่บอกมาโดยตลอดแหละครับว่า ผมจะไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานเกินความจำเป็น

    แม้จะมีเรื่องอะไรต่อมิอะไรมากมายอย่างที่ว่าก็จริง แต่ผมก็แบ่งเวลาเพื่อทำงานที่ผมชอบอยู่เสมอ โชคดีว่าเมื่อวันศุกร์ก่อนที่จะเดินทางมาหาดจอมเทียน เพื่อร่วมงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทางสำนักพิมพ์โรนินได้ส่งต้นฉบับหนังสือสองเล่มมาให้ผมตรวจทานรอบสุดท้าย

    เที่ยวเขมรฉบับพกพา และ ส่องภาพเขียนที่รัสเซีย

    ผมก็เลยเพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือเล่มตัวอย่างก่อนที่จะส่งไปให้สำนักพิมพ์ไปจัดการให้ทางโรงพิมพ์ดำเนินการพิมพ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกต่ออีกทอดในอนาคต

    แต่ที่น่ายินดีเป็นที่สุดก็คือเมื่อจบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีพ.ศ.๒๕๖๘ ในช่วงต้นเดือนกันยายน (วันที่ ๓-๕ กันยายน) ก็ได้เวลาที่ผมจะไปพักผ่อนปลีกวิเวกเป็นการชั่วคราวที่ญี่ปุ่น (ดูภาพเขียน-ออนเซน) พร้อมกับวางแผนเดินทางไปรัสเซีย (ดูภาพเขียนกับเที่ยวชมเมือง) ในช่วงต้นเดือนตุลาคม และเตรียมการจะไปเที่ยวเขมรนครวัด-นครธมในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ไปพร้อมกันด้วย

    พ้นจากนั้นจะไปทำอะไรที่ไหนค่อยว่ากันใหม่

    เมื่อมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๗ มาจนถึงตอนนี้ ต้องบอกเลยว่าปีนี้เป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งของผม ได้ทำอะไรเยอะแยะไปหมด สะสางงานเก่าเริ่มงานใหม่และก้าวเข้าไปในพรมแดนใหม่ที่ไม่เคยคิดว่าจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอีกต่างหาก

    แม้ว่าบ้านเมืองของเรายามนี้ จะไม่มีอะไรให้เละมากไปกว่านี้ได้แล้วก็ตามที

    การเจริญอุเบกขาธรรมจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ


    ป.ล. เรื่องการฟอร์มคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร นี่ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลยครับ งานนี้เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเมืองไทย อย่าเพิ่งรำคาญอย่าไปหงุดหงิด แม้จะดูแล้วเละตุ้มเป๊ะได้ถึงขนาดนี้ พรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์จะพาตัวเองให้รอดจากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งรุนแรงในภายพรรคในเวลานี้ เพราะประเด็นการร่วมรัฐบาลของพรรคและการเป็นรัฐมนตรีของผู้บริหารของพรรคได้อย่างไร คงจะมีคำตอบภายในเร็ววันนี้

    การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายนที่จะถึงนี้ ถ้าหากฟังจากที่นายเจอโรม พาวเวล (Jerome Powell) ประธานธนาคารกลางไปพูดที่เมืองตากอากาศแจคสันโฮล ในรัฐไวโอมิงว่าถึงเวลาต้องปรับนโยบายการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายได้แล้ว เพราะหมดห่วงเรื่องเงินเฟ้อแล้ว แต่มาห่วงเรื่องการว่างงานแทนจึงทำให้ต้องลดดอกเบี้ย นั่นก็หมายความว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่กำหนดไว้ร้อยละ ๕.๒๕-๕.๕๐ ในปัจจุบันจะเริ่มแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป จะลดมากน้อยลดเร็วช้าแค่ไหนไม่สำคัญเท่ากับทิศทางของดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นขาลงอย่างชัดเจน

    ค่าเงิน หุ้น และอะไรที่ผูกโยงกับนโยบายการเงินของสหรัฐคงต้องปรับตัวตามไปด้วย

    สำหรับบ้านเราอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ ๒.๕๐ นั้น เท่าที่ฟังจากเกณฑ์ในการตัดสินเรื่องนี้จากผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกรรมการเสียงข้างน้อยในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่เจอกันสุดสัปดาห์นี้ คิดว่าคงยังไม่ถึงเวลาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ

    งานนี้คงต้องมีเรื่องมีราวเรื่องลดไม่ลดดอกเบี้ยระหว่างรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร กับธนาคารแห่งประเทศไทยไปอีกสักระยะหนึ่งครับ

    บันทึกเอาไว้กันลืมว่าเดือนสิงหาคม มีผู้นำสามประเทศในเอเชียต้องเผชิญชะตากรรมที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นบังกลาเทศ (เหมือน ๑๔ ตุลาคมปี ๒๕๑๖ ในบ้านเรา) ไทย (คงไม่ต้องบอกอะไรเพิ่มเติม) และญี่ปุ่น ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีฟูมิโอ คิชิดะ (Fumio Kishida) ได้ประกาศวางมือลงจากตำแหน่ง ส่วนกระบวนการคัดเลือกคนมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของเขาน่าสนใจครับ ถ้ามีเวลาจะหาโอกาสมาคุยให้ฟัง

    ขอจบลงตรงนี้ด้วยการแจ้งให้ทราบว่าพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ๒๕๖๗ วงเงิน ๑๒๒,๐๐๐ ล้านบาทมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม หลังจากได้นำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ ๒๒ สิงหาคมที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    ใครที่รอแจกเงินสดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

    แต่ไม่ใช่โครงการดิจิตอลเลตเตรียมรับได้เลย


    วีระ ธีรภัทร
    วันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม 2567”

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/ZPvoLGVkV5QkhJNR/?mibextid=CTbP7E

    Thaitimes
    รีโพสต์ทัศนะของ วีระ ธีรภัทร จากเพจเฟซบุ๊ก สำนักพิมพ์โรนิน 25 สิงหาคม 2567 “ คอลัมน์ ปากท้องชาวบ้าน ไม่มีอะไรจะเละไปกว่านี้(แล้ว) แม้ว่าผมจะไม่ห่วงเรื่องอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้ก็ตาม แต่ก็อดคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๔ ไม่ได้ หลังการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมในปีนั้น พรรคเพื่อไทยเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์แบบถล่มทลายสามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยมีคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ อุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ตามมาพร้อมกับการเป็นรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่นเลยกลายเป็นบททดสอบความสามารถในการบริหารจัดการของรัฐบาลใหม่แบบชนิดไม่ทันได้ตั้งตัว ผลเป็นไงคงพอจำกันได้ บัดนี้เราได้รัฐบาลใหม่ มีคุณแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าในขณะนี้ยังยุ่งขิงอยู่กับการสรรหาบุคคลมาเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลไม่เสร็จ (อันนี้เละเทะมาก) ยังไม่สามารถเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่น้ำเหนือก็หลากมาแล้ว แม้จะไม่น่ากลัวสำหรับคนกรุงเทพและปริมณฑลเหมือนกับเมื่อสิบสามปีก่อนหน้านี้ก็ตามที อะไรมันจะซ้ำซากกันได้ถึงขนาดนี้ แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นข้อใหญ่ในความของเรื่องที่ผมจะคุยอะไรให้ฟังวันนี้ ครับ ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมามีอะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นมากมาย หลายเรื่องไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้น แม้ผมจะพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุพอสมควร ผมเลยอยากจะเล่าอะไรต่อมิอะไรให้คุณฟังแบบเพลินๆ เท่าที่จะคิดได้เป็นสำคัญ แน่นอนล่ะครับว่ารายการ Vision For Thailand ในช่วงหัวค่ำของคืนวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคมที่คุณทักษิณ ชินวัตร ไปแสดงวิสัยทัศน์ท่ามกลางคนมีอำนาจในแวดวงการเมืองและธุรกิจภาคเอกชนจำนวนมากนั้น ย่อมอยู่ในความสนใจของผู้คน จนลืมกันไปหมดว่าวันดังกล่าวตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีของการเดินทางกลับประเทศไทยของคุณทักษิณ ความเป็นคุณทักษิณ ความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของพรรคเพื่อไทย และด้วยอำนาจวาสนาบารมีที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แม้จะพร่องไปบ้างในช่วงสิบห้าปีที่ลี้ภัยทางการเมืองในต่างแดน สิ่งที่คุณทักษิณคิดจึงมองข้ามไม่ได้ ทักษิณคิดเพื่อไทยทำอย่างที่รู้ๆ กัน ผมและคนอื่นๆ อีกไม่น้อยจึงเสียยอมเวลาฟังสิ่งที่คุณทักษิณคิดและอยากให้เกิดกับสังคมไทยในอนาคตตลอดหนึ่งชั่วโมงเศษที่แกคุยอยู่คนเดียวด้วยความตั้งอกตั้งใจ สำหรับผมสิ่งที่คุณทักษิณคิดออกมาดังๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นประเด็นปัญหาที่เราพอรู้พอทราบกันอยู่ แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่าสิ่งที่คุณทักษิณ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเอาไปทำหรืออย่างน้อยก็เอาไปคิดต่อว่าจะทำต่อไปเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ ตรงนี้จึงมีความหมายมากกว่าการแสดงความคิดเห็นของคนทั่วไป แม้ว่าข้อเสนอจำนวนมากเป็นเรื่องที่ผมพอทราบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โครงการดิจิทัลวอลเลต การชี้นำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยและเพิ่มการให้สินเชื่อเพื่อเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจ โครงการแลนด์บริดจ์ โครงการค่าโดยสารรถไฟฟ้า ๒๐ บาทตลอดสาย โครงการเอ็นเทอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ กองทุนวายุภักษ์ ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตัดสินใจและขับเคลื่อนกันต่อไปในรัฐบาลของคุณแพทองธาร ชินวัตร ต่อไป นี่จึงเป็นข้อเสนอคำแนะนำที่ไม่ธรรมดาเพราะสามารถจะกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลได้อย่างแยบคาย ผมจะไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไรในเรื่องที่ว่าในตอนนี้ อยากจะรอดูก่อนว่าข้อเสนอดังกล่าวจะกลายเป็นนโยบายและมาตรการของรัฐบาลคุณแพทองธารในเนื้อหารายละเอียดอย่างไรให้ชัดเจนเสียก่อน แถมอันที่จริงแล้วในช่วงนี้ต้องบอกว่า ผมอยู่ในช่วงที่ผ่อนคลายมากมีเวลาเหลือมากขึ้น แถมได้ทำสิ่งที่ไม่ได้ทำมานานมากแล้วอีกต่างหาก ลำดับแรกเลย งานในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งผมต้องไปประชุมรวมกันถึง ๔๐ ครั้งตลอดระยะเวลาสองเดือนเต็มๆ ที่ผ่านมา (นับหนึ่งวันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน) ถือว่าจบสิ้นแล้วในแง่ของกระบวนการพิจารณา แม้ยังไม่จบเสียทีเดียวเพราะต้องมีพิธีกรรมอีกเล็กน้อยในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคมจะเป็นการประชุมครั้งที่ ๔๑ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของกรรมาธิการเพื่อตรวจทานและลงมติรับร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ว่าจะเอาแบบไหน? อย่างไร? โดยมีกรรมาธิการและสส.จำนวนไม่น้อย ได้สงวนความเห็นและขอแปรญัตติเพื่อจะไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะมีการลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๒ และ ๓ ในช่วงวันที่ ๓-๕ กันยายนที่จะถึงนี้ อันนี้น่าสนใจติดตามฟังกันครับ งานที่ว่านี้ดำเนินไปโดยยังไม่มีรัฐบาลใหม่ มีแต่เพียงนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินได้ นี่ต้องบอกว่าเป็นเรื่องแปลก แม้ผมจะเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นก็ตามที ลำดับถัดมา ผมไปร่วมรายการ BOT Press Trip 2024 ที่โรงแรม Andaz แถวหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี แม้จะห่างเหินจากการไปร่วมงานในฐานะสื่อมวลชนกับธนาคารแห่งประเทศไทยแบบนี้มานานมากแล้ว แต่ที่ผมอยากไปก็เพราะว่างานนี้มีประเด็นที่ผมอยากสอบถามให้แน่ใจว่าอะไรเป็นอะไรจากปากของผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นโอกาสดีมากเพราะว่าไปกันครบถ้วนเกือบทั้งหมด เหมือนเราไปเดินห้างสรรพสินค้าเพื่อซื้อของที่ต้องการได้ทั้งหมดในสถานที่เพียงแห่งเดียว ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย นำโดยคุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ปีหน้าครบวาระห้าปีเป็นต่อไม่ได้) พร้อมกับรองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ ๑๑ คนโดยไม่รวมระดับผู้บริหารระดับปฏิบัติการในฝ่ายต่างๆ ที่มากันเป็นกองทัพ อะไรที่ผมสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารจัดการอยู่ในเวลานี้ จึงถือโอกาสไปร่วมงานนี้ สอบถามพูดคุยกับคนที่ดูแลนโยบายและคนที่ลงมือปฏิบัติการจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนและได้ข้อมูลที่ต้องการครบถ้วน เอาเป็นว่าเรื่องระหว่างรัฐบาล กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เคยปีนเกลียวกันในช่วงรัฐบาลคุณเศรษฐา ทวีสิน ที่ผ่านมาและที่อาจจะมีการปะทะปะทั่งกันในช่วงรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร ในอนาคตอันใกล้นี้ ผมพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุแล้ว เรื่องหลายเรื่องที่รัฐบาลอยากทำแล้วทำไม่ได้ เรื่องหลายเรื่องที่ถกเถียงกันระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าควรทำแบบไหนไม่ควรทำแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นโครงการดิจิตอลวอลเลต การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโบบาย ฯลฯ การได้พูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทำให้ผมพอปะติดปะต่อภาพได้เกือบครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว จะเอาไปทำอะไรต่อที่ไหน? อย่างไร? และเมื่อไหร่? เดี๋ยวค่อยมาว่ากันครับ ผมยังมีเรื่องอยากจะเล่าให้ฟังเพิ่มเติมแบบลงรายละเอียดสักหน่อย เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลเอาไว้ตรงนี้เพื่อให้คุณๆ ได้ติดตามความเป็นไปของสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังได้อย่างครบถ้วนอยู่เรื่องหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นควรรู้ควรทราบอย่างยิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือในช่วงสุดท้ายของการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลโดยสำนักงบประมาณได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงรายการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งเป็นเงินรวมกัน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท รายการที่ว่านั้นเป็นการตั้งงบประมาณชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ให้หน่วยงานของรัฐออกเงินไปให้ก่อนตามมาตรา ๒๘ ของพรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยโอนย้ายไปเป็นรายการในงบกลางแทน โดยระบุว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจ (อันนี้เป็นชื่อของโครงการดิจิตอลวอลเลตที่รัฐบาลจะทำในเอกสารงบประมาณ) เพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว ๑๕๒,๗๐๐ ล้านบาท นั่นเลยทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการดิจิตอลวอลเลตในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๘ เพิ่มเป็น ๑๘๗,๗๐๐ ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว แต่จะหาจากไหนสำหรับส่วนที่เหลืออีก ๙๗,๓๐๐ ล้านบาทเพื่อให้ครบ ๒๘๕,๐๐๐ ล้านบาท อันนี้น่าสนใจ ผมอยากให้ข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงโอนย้ายรายจ่ายที่จะจัดสรรให้รัฐวิหาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งที่ว่าไปไว้ที่อื่นนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดูเหมือนจะเจอหนักกว่าใครเพื่อน เพราะเงินที่คาดว่าจะได้รับการชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ธ.ก.ส.แบกรับภาระอยู่ประมาณ ๓๑,๒๐๐ ล้านบาท (จากยอดทั้งหมดประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท) จะถูกเลื่อนออกไป แบบนี้อธิบายแบบชาวบ้านก็คือรัฐบาลขอต๊ะหนี้ที่มีกับธ.ก.ส.ไว้ก่อน ส่วนจะชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยให้เมื่อไหร่? ค่อยไปว่ากันในอนาคต เรื่องนี้ผมคัดค้านอย่างเต็มที่ตอนที่ถกเถียงกันในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการฯ แต่เมื่อเสียงข้างมากของกรรมาธิการวิสามัญฯ โดยเฉพาะกรรมาธิการที่มาในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรีและพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลได้ลงมติให้เป็นไปตามนั้น ผมจึงกลายเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยในกรณีนี้ แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่จบจะต้องไปว่ากันต่อในที่ประชุมวาระที่ ๒ และ ๓ เพื่อให้สส.ลงมติให้ความเห็นชอบสุดท้ายก็ตามที แต่เรื่องนี้บอกเราได้อย่างหนึ่งว่าโครงการดิจิตอลวอลเลตยังเดินหน้าเต็มตัว แม้จะปรับเปลี่ยนไปเป็นการจ่ายเงินสดให้กลุ่มเปราะบางไปก่อนในเฟสแรกหรือระลอกแรก (หลักๆ คือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้มีรายได้น้อย) ทั้งเพื่อให้ทันใช้เงินให้หมดภายในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๗ ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ส่วนจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ระหว่างวงเงิน ๑๔๕,๐๐๐ หรือ ๑๖๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้นคงต้องรอรัฐบาลแถลงนโยบายรัฐสภาต่อไปถึงจะชัดเจน พายุหมุนทางเศรษฐกิจที่พูดๆ กันก่อนหน้านี้คงไม่ใช่แล้วสำหรับตอนนี้ แต่ก็อย่างที่บอกมาโดยตลอดแหละครับว่า ผมจะไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานเกินความจำเป็น แม้จะมีเรื่องอะไรต่อมิอะไรมากมายอย่างที่ว่าก็จริง แต่ผมก็แบ่งเวลาเพื่อทำงานที่ผมชอบอยู่เสมอ โชคดีว่าเมื่อวันศุกร์ก่อนที่จะเดินทางมาหาดจอมเทียน เพื่อร่วมงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทางสำนักพิมพ์โรนินได้ส่งต้นฉบับหนังสือสองเล่มมาให้ผมตรวจทานรอบสุดท้าย เที่ยวเขมรฉบับพกพา และ ส่องภาพเขียนที่รัสเซีย ผมก็เลยเพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือเล่มตัวอย่างก่อนที่จะส่งไปให้สำนักพิมพ์ไปจัดการให้ทางโรงพิมพ์ดำเนินการพิมพ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกต่ออีกทอดในอนาคต แต่ที่น่ายินดีเป็นที่สุดก็คือเมื่อจบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีพ.ศ.๒๕๖๘ ในช่วงต้นเดือนกันยายน (วันที่ ๓-๕ กันยายน) ก็ได้เวลาที่ผมจะไปพักผ่อนปลีกวิเวกเป็นการชั่วคราวที่ญี่ปุ่น (ดูภาพเขียน-ออนเซน) พร้อมกับวางแผนเดินทางไปรัสเซีย (ดูภาพเขียนกับเที่ยวชมเมือง) ในช่วงต้นเดือนตุลาคม และเตรียมการจะไปเที่ยวเขมรนครวัด-นครธมในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ไปพร้อมกันด้วย พ้นจากนั้นจะไปทำอะไรที่ไหนค่อยว่ากันใหม่ เมื่อมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๗ มาจนถึงตอนนี้ ต้องบอกเลยว่าปีนี้เป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งของผม ได้ทำอะไรเยอะแยะไปหมด สะสางงานเก่าเริ่มงานใหม่และก้าวเข้าไปในพรมแดนใหม่ที่ไม่เคยคิดว่าจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอีกต่างหาก แม้ว่าบ้านเมืองของเรายามนี้ จะไม่มีอะไรให้เละมากไปกว่านี้ได้แล้วก็ตามที การเจริญอุเบกขาธรรมจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ ป.ล. เรื่องการฟอร์มคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร นี่ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลยครับ งานนี้เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเมืองไทย อย่าเพิ่งรำคาญอย่าไปหงุดหงิด แม้จะดูแล้วเละตุ้มเป๊ะได้ถึงขนาดนี้ พรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์จะพาตัวเองให้รอดจากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งรุนแรงในภายพรรคในเวลานี้ เพราะประเด็นการร่วมรัฐบาลของพรรคและการเป็นรัฐมนตรีของผู้บริหารของพรรคได้อย่างไร คงจะมีคำตอบภายในเร็ววันนี้ การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายนที่จะถึงนี้ ถ้าหากฟังจากที่นายเจอโรม พาวเวล (Jerome Powell) ประธานธนาคารกลางไปพูดที่เมืองตากอากาศแจคสันโฮล ในรัฐไวโอมิงว่าถึงเวลาต้องปรับนโยบายการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายได้แล้ว เพราะหมดห่วงเรื่องเงินเฟ้อแล้ว แต่มาห่วงเรื่องการว่างงานแทนจึงทำให้ต้องลดดอกเบี้ย นั่นก็หมายความว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่กำหนดไว้ร้อยละ ๕.๒๕-๕.๕๐ ในปัจจุบันจะเริ่มแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป จะลดมากน้อยลดเร็วช้าแค่ไหนไม่สำคัญเท่ากับทิศทางของดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นขาลงอย่างชัดเจน ค่าเงิน หุ้น และอะไรที่ผูกโยงกับนโยบายการเงินของสหรัฐคงต้องปรับตัวตามไปด้วย สำหรับบ้านเราอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ ๒.๕๐ นั้น เท่าที่ฟังจากเกณฑ์ในการตัดสินเรื่องนี้จากผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกรรมการเสียงข้างน้อยในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่เจอกันสุดสัปดาห์นี้ คิดว่าคงยังไม่ถึงเวลาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ งานนี้คงต้องมีเรื่องมีราวเรื่องลดไม่ลดดอกเบี้ยระหว่างรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร กับธนาคารแห่งประเทศไทยไปอีกสักระยะหนึ่งครับ บันทึกเอาไว้กันลืมว่าเดือนสิงหาคม มีผู้นำสามประเทศในเอเชียต้องเผชิญชะตากรรมที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นบังกลาเทศ (เหมือน ๑๔ ตุลาคมปี ๒๕๑๖ ในบ้านเรา) ไทย (คงไม่ต้องบอกอะไรเพิ่มเติม) และญี่ปุ่น ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีฟูมิโอ คิชิดะ (Fumio Kishida) ได้ประกาศวางมือลงจากตำแหน่ง ส่วนกระบวนการคัดเลือกคนมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของเขาน่าสนใจครับ ถ้ามีเวลาจะหาโอกาสมาคุยให้ฟัง ขอจบลงตรงนี้ด้วยการแจ้งให้ทราบว่าพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ๒๕๖๗ วงเงิน ๑๒๒,๐๐๐ ล้านบาทมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม หลังจากได้นำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ ๒๒ สิงหาคมที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใครที่รอแจกเงินสดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ไม่ใช่โครงการดิจิตอลเลตเตรียมรับได้เลย วีระ ธีรภัทร วันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม 2567” ที่มา https://www.facebook.com/share/p/ZPvoLGVkV5QkhJNR/?mibextid=CTbP7E Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 668 Views 0 Reviews
  • เป็นเรื่อง
    พีระพันธ์แห่งรวมไทยสร้างชาติ
    ที่พยายามเริ่มติดกระดุมเรียงใหม่ ปรับโครงสร้างด้านพลังงาน
    เพื่อให้คนไทยได้จ่ายค่าไฟค่าน้ำมันในความเป็นจริง
    เรื่องนี้ฝันอาจต้องสลาย และพีระพันธ์ก็จะไปไม่ถึงฝันจริงๆ
    เพราะข่าวหนาหู ว่าโทนี่จะเอากระทรวงพลังงานมาดูเอง
    ซึ่งต้องไม่ลืมว่า สำหรับการแปรรูปปตทเป็นเอกชน
    จนไม่สามารถคุมราคาได้ ก็โทนี่นี่แหละ
    ส่วนเรื่องที่ไปเซ็นจ่ายค่าไฟในการผลิตที่ไม่เป็นจริง
    ทำให้เราเป็นหนี้เอกชนและคนไทยต้องมาช่วยชดใช้ทุกวันนี้
    จ่ายค่าไฟบวกหนี้ก็ยิ่งลักษณ์ไปเซ็นต์สัญญากับโรงไฟฟ้าเอกชน
    ก่อนจะหลุดนายกเพียงวันเดียว
    ดังนั้นไม่แปลกใจ ถ้าปัญหาประเทศที่ก่อไว้
    อยู่ในการบริหารจัดการของคนอื่น อาจมีเข้าตัว
    ก็ต้องกลับมาคุมเองเป็นธรรมดา
    ถ้าเรื่องนี้เป็นจริงหลังปรับครม. บอกคำเดียวว่า
    พี่น้องชายไทย พลังงานในมือแม๊ว
    ตัวใคร ตัวมันครับ คนที่เดือนร้อนที่สุดคือพี่น้องประชาชน
    จัดว่าเป็นข่าวสะเทือนใจของวันนี้
    #คิงส์โพธิ์แดง
    เป็นเรื่อง พีระพันธ์แห่งรวมไทยสร้างชาติ ที่พยายามเริ่มติดกระดุมเรียงใหม่ ปรับโครงสร้างด้านพลังงาน เพื่อให้คนไทยได้จ่ายค่าไฟค่าน้ำมันในความเป็นจริง เรื่องนี้ฝันอาจต้องสลาย และพีระพันธ์ก็จะไปไม่ถึงฝันจริงๆ เพราะข่าวหนาหู ว่าโทนี่จะเอากระทรวงพลังงานมาดูเอง ซึ่งต้องไม่ลืมว่า สำหรับการแปรรูปปตทเป็นเอกชน จนไม่สามารถคุมราคาได้ ก็โทนี่นี่แหละ ส่วนเรื่องที่ไปเซ็นจ่ายค่าไฟในการผลิตที่ไม่เป็นจริง ทำให้เราเป็นหนี้เอกชนและคนไทยต้องมาช่วยชดใช้ทุกวันนี้ จ่ายค่าไฟบวกหนี้ก็ยิ่งลักษณ์ไปเซ็นต์สัญญากับโรงไฟฟ้าเอกชน ก่อนจะหลุดนายกเพียงวันเดียว ดังนั้นไม่แปลกใจ ถ้าปัญหาประเทศที่ก่อไว้ อยู่ในการบริหารจัดการของคนอื่น อาจมีเข้าตัว ก็ต้องกลับมาคุมเองเป็นธรรมดา ถ้าเรื่องนี้เป็นจริงหลังปรับครม. บอกคำเดียวว่า พี่น้องชายไทย พลังงานในมือแม๊ว ตัวใคร ตัวมันครับ คนที่เดือนร้อนที่สุดคือพี่น้องประชาชน จัดว่าเป็นข่าวสะเทือนใจของวันนี้ #คิงส์โพธิ์แดง
    Angry
    1
    0 Comments 0 Shares 168 Views 0 Reviews
  • ♣ จากอัยการที่ไม่สั่งฟ้องคดีตระกูลชินวัตร สู่รัฐมนตรียุติธรรมรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และจะจบที่นายกฯ บาป เพราะเวรกรรมจะถาโถมตามมา
    #7ดอกจิก
    #ตัวเต็ง
    #ก้าวกระโดดวัยชรา
    ♣ จากอัยการที่ไม่สั่งฟ้องคดีตระกูลชินวัตร สู่รัฐมนตรียุติธรรมรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และจะจบที่นายกฯ บาป เพราะเวรกรรมจะถาโถมตามมา #7ดอกจิก #ตัวเต็ง #ก้าวกระโดดวัยชรา
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 174 Views 0 Reviews
  • #เลื่อนร้านค้าลงทะเบียนไม่เลื่อนได้ไงไม่มีอะไรเสร็จจริงซักอย่าง
    หลังจากที่รัฐบาลได้ยื่นให้คณะรัฐมนตรี ลงมติว่าจะทำดิจิตอลวอลเลท
    ได้คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัต "หลักการ"
    หากตามขั้นตอน ต้องมีการยื่นเมื่อขอมติในเชิง วิธีการ ขั้นตอน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจนเสร็จสิ้นกระบวนการ
    ...แต่ปรากฏว่า รัฐบาลได้สั่งดำเนินการจัดสร้างแอพ รวมถึงให้ประชาชนทำการสมัครลงทะเบียนผ่านแอพที่เอกชนได้เป็นผู้รับจ้าง โดยย้ำว่า ทั้งหมดนี้ เป็นการทำโดยพละการ ไม่ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และอย่าว่าผ่านมติรัฐมนตรีเลย แค่คณะวางแผนยังไม่สเด็ดน้ำกันเลย เปลี่ยนกันได้วันต่อวัน
    ...เมื่อสืบต่อจะทราบ ว่ายังไม่มีการคอนเนคใดๆกับธนาคารพาณิชย์ ที่ท้ายที่สุดต้องมีการเชื่อมต่อกับธนาคารต่างๆ
    ...ยังไม่รวมไปถึง ที่มาขอการใช้งบ ที่มีสภาวะคลุมเคลือ แต่สุดท้าย มีคนจับได้ว่าจะนำเงินฉุกเฉินของชาติ ที่ปกติจะต้องมีสำรองสำหรับปัญหาฉุกเฉินจริงๆ หรือเรื่องของการนำงบก้อนนี้ไปอยู่ในงบที่ผิดประเภท เอาง่ายๆว่า จะเอาเงินมาจากตรงไหนนั้น ส่วนนี้ ก็ยังไม่มีมติจากคณะรัฐมนตรีเช่นกัน
    ...พอมาดูเรื่องของระบบการทำงานของแอพ ที่หลายคนไม่รู้ ว่ากระบวนการจ้างเอกชน เข้ามาดำเนินการ ยังมีอีกบางส่วน ที่ขณะนี้เองก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะให้ใครมารับผิดชอบ หรือรับงานส่วนนี้
    ...พี่คิงส์โพธิ์แดง ยิ่งรับรู้ก็ยิ่งงง ว่าโดยปกติ ทุกอย่างมันต้องทำเสร็จสำเร็จ พร้อมแล้ว จึงให้ประชาชนลงทะเบียน แต่ครั้งนี้ ยังไม่มีอะไรเสร็จซักอย่าง แต่กลับให้ประชาชนเร่งลงทะเบียน อย่างรวดเร็ว
    โดยมีคำถามว่า ขั้นตอนต่างๆที่ยังไม่เสร็จ ทั้งมติคณะรัฐมนตรี ทั้งด้านเทคนิค รวมถึงระบบการคอนเน็คกับธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเอกชน รวมถึงที่มาของงบประมาณ หากมีเรื่องผิดขั้นตอนที่ผิดกฏหมาย หรือมีหลายส่วนที่หากเกิดการสะดุด นั่นหมายถึงเปอร์เซ็นต์ที่ดิจิตอลวอลเลทจะไม่สำเร็จ ก็ยังมีสูงมาก
    คำถามคือ
    1. ถ้ามันไปต่อไม่ได้ แล้วข้อมูลที่ประชาชนแห่ลงทะเบียน อยู่บนมือบริษัทเอกชน ดาต้านี้ ใครจะรับผิดชอบ
    2. ถ้านายกนิดไม่ได้ไปต่อ นายกคนต่อไปไม่ต่อแน่สำหรับโปรเจคนี้ แล้วใครจะเป็นคนรับผิดชอบกับสิ่งที่เสียไปในภาคประชาชน
    3. ประชาชนที่มีความมั่นใจว่าจะได้ จำนวนไม่น้อย ยอมลงทุนกับการซื้อโทรศัพท์มือถือมาเพื่อการนี้ แต่กลับไม่ได้ในสิ่งที่รัฐบาลสัญญาไว้ เหมือนทำให้เชื่อโดยไม่มีใครรับผิดชอบ
    ดังนั้น จึงไม่แปลก ที่ภูมิธรรม ต้องมาประกาศเลื่อนสำหรับการลงทะเบียนร้านค้า เพราะมันไม่มีอะไรเสร็จจริงซักอย่าง และโดยเฉพาะโครงการนี้คนละเรื่องกับคนละครึ่ง เพราะร้านค้ารายย่อยที่ไม่มีสายป่านยาวพอจะไม่สามารถเข้าร่วมกับโครงการนี้ จะมีก็แต่ระดับร้านเจ้าสัวเท่านั้นที่มีระบบสายป่านรองรับ นี่ก็เป็นทางตันจุดสำคัญของโครงการนี้
    ฝ่ายที่ให้กำลังใจและเชียร์โครงการนี้ น่าเห็นใจที่สุด
    เพราะไม่รู้เลยว่า โครงการนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนสร้างคอนเซ็บเท่านั้น
    ไม่ได้พร้อมใช้งานสำหรับประชาชน
    ดิจิตอลวอลเลท สำเร็จก็พัง
    ไม่สำเร็จก็พัง นักการเมืองมาแล้วก็ไป
    แต่ความเสียหายยังคงอยู่กับคนไทย ที่ต้องนั่งรับภาระความเสียหายไปอีกนาน
    ไม่ว่าจะเป็น เอาปตท สมบัติชาติ ไปเป็นของนายทุน ค่าน้ำมันคอนโทรลไม่ได้ กำไรมหาศาลบนความเดือดร้อนของคนทั้งประเทศ
    ค่าไฟ ยิ่งลักษณ์ไปเซ็นสัญญากับบริษัทเอกชน เกินกว่าความเป็นจริง ทำให้เราจ่ายค่า ft รวมถึงเป็นหนี้เอกชน คนไทยจึงต้องมาโดนคิดไฟเพิ่มเพื่อใช้หนี้เอกชน จนแทบลืมหูลืมตาไม่ขึ้น ยิ่งลักษณ์ได้ค่าตอบแทนจากสัญญานี้ไปแล้ว แต่คนไทยยังคงต้องชดใช้ไปอีกเกือบยี่สิบปี ลุงตู่เคยพยายามฟ้องเอกชนที่ฮั๊วสัญญากับยิ่งลักษณ์ ให้สัญญาเป็นโมฆะ แต่เอกชนและยิ่งลักษณ์ทำสัญญาไว้รัดกุม กลายเป็นว่า คนไทยต้องโดนค่าไฟที่แพงกว่านี้อีกมาก แค่ตอนนี้ พีระพันธิ์พยายามแก้ที่โครงสร้าง ที่ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เพื่อต่อสู้กับทั้งนายทุน ปตท และบริษัทเอกชนผู้ถือสัญญากับการไฟฟ้า แต่พอน้ำมันขึ้นเพราะนายทุนผู้ถือหุ้นแสวงหาประโยชน์ พีระพันโดนด่า พอค่าไฟขึ้นเพราะสัญญาที่ยิ่งลักษณ์ฮั๊วกับเอกชน พีระพันธิ์โดนด่า เออ สนุกดี
    ของจริงมันเป็นแบบนี้ ก่อนจะเถียงไปหาข้อมูลก่อนสวน
    พี่คิงส์ของจริงอย่าทะลึ่ง บอกไว้ก่อนเลย
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #เลื่อนร้านค้าลงทะเบียนไม่เลื่อนได้ไงไม่มีอะไรเสร็จจริงซักอย่าง หลังจากที่รัฐบาลได้ยื่นให้คณะรัฐมนตรี ลงมติว่าจะทำดิจิตอลวอลเลท ได้คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัต "หลักการ" หากตามขั้นตอน ต้องมีการยื่นเมื่อขอมติในเชิง วิธีการ ขั้นตอน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ...แต่ปรากฏว่า รัฐบาลได้สั่งดำเนินการจัดสร้างแอพ รวมถึงให้ประชาชนทำการสมัครลงทะเบียนผ่านแอพที่เอกชนได้เป็นผู้รับจ้าง โดยย้ำว่า ทั้งหมดนี้ เป็นการทำโดยพละการ ไม่ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และอย่าว่าผ่านมติรัฐมนตรีเลย แค่คณะวางแผนยังไม่สเด็ดน้ำกันเลย เปลี่ยนกันได้วันต่อวัน ...เมื่อสืบต่อจะทราบ ว่ายังไม่มีการคอนเนคใดๆกับธนาคารพาณิชย์ ที่ท้ายที่สุดต้องมีการเชื่อมต่อกับธนาคารต่างๆ ...ยังไม่รวมไปถึง ที่มาขอการใช้งบ ที่มีสภาวะคลุมเคลือ แต่สุดท้าย มีคนจับได้ว่าจะนำเงินฉุกเฉินของชาติ ที่ปกติจะต้องมีสำรองสำหรับปัญหาฉุกเฉินจริงๆ หรือเรื่องของการนำงบก้อนนี้ไปอยู่ในงบที่ผิดประเภท เอาง่ายๆว่า จะเอาเงินมาจากตรงไหนนั้น ส่วนนี้ ก็ยังไม่มีมติจากคณะรัฐมนตรีเช่นกัน ...พอมาดูเรื่องของระบบการทำงานของแอพ ที่หลายคนไม่รู้ ว่ากระบวนการจ้างเอกชน เข้ามาดำเนินการ ยังมีอีกบางส่วน ที่ขณะนี้เองก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะให้ใครมารับผิดชอบ หรือรับงานส่วนนี้ ...พี่คิงส์โพธิ์แดง ยิ่งรับรู้ก็ยิ่งงง ว่าโดยปกติ ทุกอย่างมันต้องทำเสร็จสำเร็จ พร้อมแล้ว จึงให้ประชาชนลงทะเบียน แต่ครั้งนี้ ยังไม่มีอะไรเสร็จซักอย่าง แต่กลับให้ประชาชนเร่งลงทะเบียน อย่างรวดเร็ว โดยมีคำถามว่า ขั้นตอนต่างๆที่ยังไม่เสร็จ ทั้งมติคณะรัฐมนตรี ทั้งด้านเทคนิค รวมถึงระบบการคอนเน็คกับธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเอกชน รวมถึงที่มาของงบประมาณ หากมีเรื่องผิดขั้นตอนที่ผิดกฏหมาย หรือมีหลายส่วนที่หากเกิดการสะดุด นั่นหมายถึงเปอร์เซ็นต์ที่ดิจิตอลวอลเลทจะไม่สำเร็จ ก็ยังมีสูงมาก คำถามคือ 1. ถ้ามันไปต่อไม่ได้ แล้วข้อมูลที่ประชาชนแห่ลงทะเบียน อยู่บนมือบริษัทเอกชน ดาต้านี้ ใครจะรับผิดชอบ 2. ถ้านายกนิดไม่ได้ไปต่อ นายกคนต่อไปไม่ต่อแน่สำหรับโปรเจคนี้ แล้วใครจะเป็นคนรับผิดชอบกับสิ่งที่เสียไปในภาคประชาชน 3. ประชาชนที่มีความมั่นใจว่าจะได้ จำนวนไม่น้อย ยอมลงทุนกับการซื้อโทรศัพท์มือถือมาเพื่อการนี้ แต่กลับไม่ได้ในสิ่งที่รัฐบาลสัญญาไว้ เหมือนทำให้เชื่อโดยไม่มีใครรับผิดชอบ ดังนั้น จึงไม่แปลก ที่ภูมิธรรม ต้องมาประกาศเลื่อนสำหรับการลงทะเบียนร้านค้า เพราะมันไม่มีอะไรเสร็จจริงซักอย่าง และโดยเฉพาะโครงการนี้คนละเรื่องกับคนละครึ่ง เพราะร้านค้ารายย่อยที่ไม่มีสายป่านยาวพอจะไม่สามารถเข้าร่วมกับโครงการนี้ จะมีก็แต่ระดับร้านเจ้าสัวเท่านั้นที่มีระบบสายป่านรองรับ นี่ก็เป็นทางตันจุดสำคัญของโครงการนี้ ฝ่ายที่ให้กำลังใจและเชียร์โครงการนี้ น่าเห็นใจที่สุด เพราะไม่รู้เลยว่า โครงการนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนสร้างคอนเซ็บเท่านั้น ไม่ได้พร้อมใช้งานสำหรับประชาชน ดิจิตอลวอลเลท สำเร็จก็พัง ไม่สำเร็จก็พัง นักการเมืองมาแล้วก็ไป แต่ความเสียหายยังคงอยู่กับคนไทย ที่ต้องนั่งรับภาระความเสียหายไปอีกนาน ไม่ว่าจะเป็น เอาปตท สมบัติชาติ ไปเป็นของนายทุน ค่าน้ำมันคอนโทรลไม่ได้ กำไรมหาศาลบนความเดือดร้อนของคนทั้งประเทศ ค่าไฟ ยิ่งลักษณ์ไปเซ็นสัญญากับบริษัทเอกชน เกินกว่าความเป็นจริง ทำให้เราจ่ายค่า ft รวมถึงเป็นหนี้เอกชน คนไทยจึงต้องมาโดนคิดไฟเพิ่มเพื่อใช้หนี้เอกชน จนแทบลืมหูลืมตาไม่ขึ้น ยิ่งลักษณ์ได้ค่าตอบแทนจากสัญญานี้ไปแล้ว แต่คนไทยยังคงต้องชดใช้ไปอีกเกือบยี่สิบปี ลุงตู่เคยพยายามฟ้องเอกชนที่ฮั๊วสัญญากับยิ่งลักษณ์ ให้สัญญาเป็นโมฆะ แต่เอกชนและยิ่งลักษณ์ทำสัญญาไว้รัดกุม กลายเป็นว่า คนไทยต้องโดนค่าไฟที่แพงกว่านี้อีกมาก แค่ตอนนี้ พีระพันธิ์พยายามแก้ที่โครงสร้าง ที่ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เพื่อต่อสู้กับทั้งนายทุน ปตท และบริษัทเอกชนผู้ถือสัญญากับการไฟฟ้า แต่พอน้ำมันขึ้นเพราะนายทุนผู้ถือหุ้นแสวงหาประโยชน์ พีระพันโดนด่า พอค่าไฟขึ้นเพราะสัญญาที่ยิ่งลักษณ์ฮั๊วกับเอกชน พีระพันธิ์โดนด่า เออ สนุกดี ของจริงมันเป็นแบบนี้ ก่อนจะเถียงไปหาข้อมูลก่อนสวน พี่คิงส์ของจริงอย่าทะลึ่ง บอกไว้ก่อนเลย #คิงส์โพธิ์แดง
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 469 Views 0 Reviews
  • มูลค่าการทุจริตในการระบายข้าว 84,476 ล้านบาท.
    ตั้งแต่ปี 54 เป็นต้นมาโครงการจำนำข้าวขาดทุน 957,000 ล้านบาท
    รัฐบาลประยุทธ์ ตั้งงบประมาณ ชำระหนี้ไปแล้ว 781,000 ล้านบาท
    รัฐบาลเศรษฐา ใต้ตีนทักษิณ ขายข้าวล็อตสุดท้ายได้ 272 ล้านบาท
    --------------
    สรุปความ up-pre ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ใต้ตีนทักษิณ
    โครงการรับจำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ รับจำนำข้าวทั้งหมด 5 ฤดู
    รอบฤดูกาลผลิตปี 2554/2555 ถึงปี 2556/2557
    รับจำนำข้าวเปลือก 54.35 ล้านตัน
    ค่าใช้จ่ายรวม 9.85 แสนล้านบาท เป็นเงินซื้อข้าว 8.57 แสนล้านบาท
    ขาดทุนทางคลัง 5.39 แสนล้านบาท (เม.ย. 2557) *หากคำนวณผลตรวจสต็อกข้าวของ คสช. (ต.ค. 2557) จะขาดทุน 6.6 แสนล้านบาท
    ผลประโยชน์ส่วนเกินจากโครงการจำนำข้าวที่ตกแก่ชาวนา 5.6 แสนล้านบาท แต่ส่วนใหญ่เป็นชาวนารายกลางและรายใหญ่
    มูลค่าการทุจริตในการระบายข้าว 84,476 ล้านบาท


    #รัฐบาลuppre
    มูลค่าการทุจริตในการระบายข้าว 84,476 ล้านบาท. ตั้งแต่ปี 54 เป็นต้นมาโครงการจำนำข้าวขาดทุน 957,000 ล้านบาท รัฐบาลประยุทธ์ ตั้งงบประมาณ ชำระหนี้ไปแล้ว 781,000 ล้านบาท รัฐบาลเศรษฐา ใต้ตีนทักษิณ ขายข้าวล็อตสุดท้ายได้ 272 ล้านบาท -------------- สรุปความ up-pre ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ใต้ตีนทักษิณ ⭕ โครงการรับจำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ รับจำนำข้าวทั้งหมด 5 ฤดู รอบฤดูกาลผลิตปี 2554/2555 ถึงปี 2556/2557 ⭕ รับจำนำข้าวเปลือก 54.35 ล้านตัน ⭕ ค่าใช้จ่ายรวม 9.85 แสนล้านบาท เป็นเงินซื้อข้าว 8.57 แสนล้านบาท ⭕ ขาดทุนทางคลัง 5.39 แสนล้านบาท (เม.ย. 2557) *หากคำนวณผลตรวจสต็อกข้าวของ คสช. (ต.ค. 2557) จะขาดทุน 6.6 แสนล้านบาท ⭕ ผลประโยชน์ส่วนเกินจากโครงการจำนำข้าวที่ตกแก่ชาวนา 5.6 แสนล้านบาท แต่ส่วนใหญ่เป็นชาวนารายกลางและรายใหญ่ ⭕ มูลค่าการทุจริตในการระบายข้าว 84,476 ล้านบาท #รัฐบาลuppre
    0 Comments 0 Shares 481 Views 0 Reviews