เปิดสะพานมหาสวัสดิ์ แก้คอขวดราชพฤกษ์
ถนนราชพฤกษ์ เส้นทางหลักจากย่านที่อยู่อาศัยบางใหญ่ บางบัวทอง จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานี ไปยังสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน สู่ใจกลางเมืองย่านธุรกิจสาทรและสีลม ปัจจุบันการใช้ที่ดินในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามีการพัฒนาและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีปริมาณการจราจรมากกว่า 120,000 คันต่อวัน แมัจะมีการขยายถนนเป็น 10 ช่องจราจร แต่ก็มีบางจุดมีลักษณะเป็นคอขวด ทำให้การจราจรติดขัดในช่วงเช้าและเย็น หนึ่งในนั้นคือบริเวณสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ รอยต่อระหว่างเขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ และ ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
กรมทางหลวงชนบท โดยสำนักก่อสร้างสะพาน จึงดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ ช่วง กม. 12+850 ถึง กม. 15+100 งบประมาณ 1,181.515 ล้านบาท ลักษณะเป็นสะพานยกระดับขนาด 2 ช่องจราจร ขนานไปกับสะพานเดิม กว้าง 8.50 เมตร ฝั่งขาเข้ายาว 2.10 กิโลเมตร และฝั่งขาออกยาว 1.90 กิโลเมตร พร้อมก่อสร้างระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และงานเบ็ดเตล็ด เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 2566 เป็นต้นมา โดยมีผู้รับจ้างก่อสร้าง คือ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 30 ก.ย.2565 สิ้นสุดสัญญา 18 ธ.ค.2568
ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พ.ค. เปิดใช้สะพานฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ แล้ว รับรถจากวงเวียนราชพฤกษ์ มุ่งหน้าไปยังทางพิเศษประจิมรัถยา ด่านตลิ่งชัน และทางแยกต่างระดับบรมราชชนนี ส่วนสะพานฝั่งขาออกกรุงเทพฯ จากสาทรมุ่งหน้าวงเวียนราชพฤกษ์ มีกำหนดจะเปิดในวันที่ 20 มิ.ย. ช่วยเพิ่มศักยภาพในการคมนาคมให้คล่องตัว ส่งเสริมและพัฒนาโครงข่ายถนนให้ครอบคลุมกับความต้องการในการเดินทาง อีกทั้งช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดอีกด้วย
สะพานดังกล่าวออกแบบมาพิเศษคล้ายทางยกระดับ เนื่องจากเขตทางเดิมไม่เพียงพอที่จะก่อสร้างทางขนานกับสะพานเดิมในรูปแบบทั่วไปได้ โดยใช้โครงสร้างเสาและส่วนบนเป็นโครงสร้างเหล็ก เพื่อให้งานก่อสร้างรวดเร็ว และกระทบกับการจราจรบนถนนราชพฤกษ์ให้น้อยที่สุด โดยทางขนานขนาด 2 ช่องจราจร วางตัวอยู่เหนือสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ (ทางหลัก) เดิม ซึ่งทำให้บริเวณนี้ไม่เกิดสภาพเป็นคอขวด
ถนนราชพฤกษ์ ระยะทาง 42 กิโลเมตร จากแยกตากสินเชื่อมกับถนนเพชรเกษม ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ถนนบรมราชชนนี ถนนนครอินทร์ (ไปตัวเมืองนนทบุรี) ถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนชัยพฤกษ์ (ไปสะพานพระราม 4 และถนนแจ้งวัฒนะ) ถนนสาย 345 และจังหวัดปทุมธานี เป็นย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง นอกจากโครงการหมู่บ้านจัดสรรหลายแห่งแล้ว ยังมีศูนย์การค้าและคอมมูนิตีมอลล์อีกด้วย
#Newskit
ถนนราชพฤกษ์ เส้นทางหลักจากย่านที่อยู่อาศัยบางใหญ่ บางบัวทอง จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานี ไปยังสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน สู่ใจกลางเมืองย่านธุรกิจสาทรและสีลม ปัจจุบันการใช้ที่ดินในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามีการพัฒนาและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีปริมาณการจราจรมากกว่า 120,000 คันต่อวัน แมัจะมีการขยายถนนเป็น 10 ช่องจราจร แต่ก็มีบางจุดมีลักษณะเป็นคอขวด ทำให้การจราจรติดขัดในช่วงเช้าและเย็น หนึ่งในนั้นคือบริเวณสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ รอยต่อระหว่างเขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ และ ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
กรมทางหลวงชนบท โดยสำนักก่อสร้างสะพาน จึงดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ ช่วง กม. 12+850 ถึง กม. 15+100 งบประมาณ 1,181.515 ล้านบาท ลักษณะเป็นสะพานยกระดับขนาด 2 ช่องจราจร ขนานไปกับสะพานเดิม กว้าง 8.50 เมตร ฝั่งขาเข้ายาว 2.10 กิโลเมตร และฝั่งขาออกยาว 1.90 กิโลเมตร พร้อมก่อสร้างระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และงานเบ็ดเตล็ด เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 2566 เป็นต้นมา โดยมีผู้รับจ้างก่อสร้าง คือ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 30 ก.ย.2565 สิ้นสุดสัญญา 18 ธ.ค.2568
ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พ.ค. เปิดใช้สะพานฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ แล้ว รับรถจากวงเวียนราชพฤกษ์ มุ่งหน้าไปยังทางพิเศษประจิมรัถยา ด่านตลิ่งชัน และทางแยกต่างระดับบรมราชชนนี ส่วนสะพานฝั่งขาออกกรุงเทพฯ จากสาทรมุ่งหน้าวงเวียนราชพฤกษ์ มีกำหนดจะเปิดในวันที่ 20 มิ.ย. ช่วยเพิ่มศักยภาพในการคมนาคมให้คล่องตัว ส่งเสริมและพัฒนาโครงข่ายถนนให้ครอบคลุมกับความต้องการในการเดินทาง อีกทั้งช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดอีกด้วย
สะพานดังกล่าวออกแบบมาพิเศษคล้ายทางยกระดับ เนื่องจากเขตทางเดิมไม่เพียงพอที่จะก่อสร้างทางขนานกับสะพานเดิมในรูปแบบทั่วไปได้ โดยใช้โครงสร้างเสาและส่วนบนเป็นโครงสร้างเหล็ก เพื่อให้งานก่อสร้างรวดเร็ว และกระทบกับการจราจรบนถนนราชพฤกษ์ให้น้อยที่สุด โดยทางขนานขนาด 2 ช่องจราจร วางตัวอยู่เหนือสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ (ทางหลัก) เดิม ซึ่งทำให้บริเวณนี้ไม่เกิดสภาพเป็นคอขวด
ถนนราชพฤกษ์ ระยะทาง 42 กิโลเมตร จากแยกตากสินเชื่อมกับถนนเพชรเกษม ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ถนนบรมราชชนนี ถนนนครอินทร์ (ไปตัวเมืองนนทบุรี) ถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนชัยพฤกษ์ (ไปสะพานพระราม 4 และถนนแจ้งวัฒนะ) ถนนสาย 345 และจังหวัดปทุมธานี เป็นย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง นอกจากโครงการหมู่บ้านจัดสรรหลายแห่งแล้ว ยังมีศูนย์การค้าและคอมมูนิตีมอลล์อีกด้วย
#Newskit
เปิดสะพานมหาสวัสดิ์ แก้คอขวดราชพฤกษ์
ถนนราชพฤกษ์ เส้นทางหลักจากย่านที่อยู่อาศัยบางใหญ่ บางบัวทอง จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานี ไปยังสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน สู่ใจกลางเมืองย่านธุรกิจสาทรและสีลม ปัจจุบันการใช้ที่ดินในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามีการพัฒนาและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีปริมาณการจราจรมากกว่า 120,000 คันต่อวัน แมัจะมีการขยายถนนเป็น 10 ช่องจราจร แต่ก็มีบางจุดมีลักษณะเป็นคอขวด ทำให้การจราจรติดขัดในช่วงเช้าและเย็น หนึ่งในนั้นคือบริเวณสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ รอยต่อระหว่างเขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ และ ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
กรมทางหลวงชนบท โดยสำนักก่อสร้างสะพาน จึงดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ ช่วง กม. 12+850 ถึง กม. 15+100 งบประมาณ 1,181.515 ล้านบาท ลักษณะเป็นสะพานยกระดับขนาด 2 ช่องจราจร ขนานไปกับสะพานเดิม กว้าง 8.50 เมตร ฝั่งขาเข้ายาว 2.10 กิโลเมตร และฝั่งขาออกยาว 1.90 กิโลเมตร พร้อมก่อสร้างระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และงานเบ็ดเตล็ด เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 2566 เป็นต้นมา โดยมีผู้รับจ้างก่อสร้าง คือ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 30 ก.ย.2565 สิ้นสุดสัญญา 18 ธ.ค.2568
ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พ.ค. เปิดใช้สะพานฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ แล้ว รับรถจากวงเวียนราชพฤกษ์ มุ่งหน้าไปยังทางพิเศษประจิมรัถยา ด่านตลิ่งชัน และทางแยกต่างระดับบรมราชชนนี ส่วนสะพานฝั่งขาออกกรุงเทพฯ จากสาทรมุ่งหน้าวงเวียนราชพฤกษ์ มีกำหนดจะเปิดในวันที่ 20 มิ.ย. ช่วยเพิ่มศักยภาพในการคมนาคมให้คล่องตัว ส่งเสริมและพัฒนาโครงข่ายถนนให้ครอบคลุมกับความต้องการในการเดินทาง อีกทั้งช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดอีกด้วย
สะพานดังกล่าวออกแบบมาพิเศษคล้ายทางยกระดับ เนื่องจากเขตทางเดิมไม่เพียงพอที่จะก่อสร้างทางขนานกับสะพานเดิมในรูปแบบทั่วไปได้ โดยใช้โครงสร้างเสาและส่วนบนเป็นโครงสร้างเหล็ก เพื่อให้งานก่อสร้างรวดเร็ว และกระทบกับการจราจรบนถนนราชพฤกษ์ให้น้อยที่สุด โดยทางขนานขนาด 2 ช่องจราจร วางตัวอยู่เหนือสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ (ทางหลัก) เดิม ซึ่งทำให้บริเวณนี้ไม่เกิดสภาพเป็นคอขวด
ถนนราชพฤกษ์ ระยะทาง 42 กิโลเมตร จากแยกตากสินเชื่อมกับถนนเพชรเกษม ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ถนนบรมราชชนนี ถนนนครอินทร์ (ไปตัวเมืองนนทบุรี) ถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนชัยพฤกษ์ (ไปสะพานพระราม 4 และถนนแจ้งวัฒนะ) ถนนสาย 345 และจังหวัดปทุมธานี เป็นย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง นอกจากโครงการหมู่บ้านจัดสรรหลายแห่งแล้ว ยังมีศูนย์การค้าและคอมมูนิตีมอลล์อีกด้วย
#Newskit
0 Comments
0 Shares
27 Views
0 Reviews