• เพจเฟซบุ๊ก "พระลาน" เผยแพร่ตำแหน่งที่ตั้งจุดอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ในการเฝ้ารับเสด็จฯ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 งานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ทางขบวนพยุหยาตราทางชลมารค วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567

    1. แนวริมน้ำ ธนาคารแห่งประเทศไทย
    2. ใต้สะพานพระราม ๘ (ศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย)
    3. ใต้สะพานพระราม ๘ (ฝั่งธนบุรี)
    4. ทางเดินริมน้ำ สวนสันติชัยปราการ
    5. ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
    6. ลาน 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
    7. สวนสุขภาพฯ รพ.ศิริราช
    8. ลานปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
    9. อัฒจันทร์ อุทยานสถานพิมุข รพ.ศิริราช
    10. ท่าช้าง
    11. วัดระฆังโฆสิตาราม
    12. ท่าเตียน
    13. ท่าเรือวัดโพธิ์
    14. วัดอรุณราชวราราม

    - จุดติดตั้งจอแอลอีดี พร้อมเครื่องขยายเสียง เพื่อให้ประชาชนรับชมในการเฝ้ารับเสด็จฯ
    1. วัดอรุณ
    2. วัดระฆัง
    3. ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า
    4. ลาน 60 ปี ธรรมศาสตร์
    5. สวนสันติชัยปราการ จำนวน 2 จอ
    6. ราชนาวีสโมสร
    7. อุทยานพิมุขสถาน
    8. ลานพลับพลาสยามินทราศิริราชานุสรณีย์ จำนวน 2 จอ
    9. ลานทัศนาภิรมย์ หอประชมกองทัพเรือ จำนวน 2 จอ
    10. ลานปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์
    11. ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งบางพลัด จำนวน 2 จอ 12. ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย
    13. สวนนคราภิรมย์
    14. ลานคนเมือง

    - ข้อแนะนำของประชาชน ในการเดินทางมาเฝ้าฯ รับเสด็จ และชมขบวนพยุหยาตราชลมารค
    1. พกบัตรประชาชน บัตรแสดงตน หนังสือเดินทาง เพื่อความสะดวก
    2. เขียนชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครองติดไว้กับตัวเด็ก
    3. พกยาประจำตัวมาด้วย
    4. เตรียมน้ำดื่ม ร่ม/หมวก
    5.สอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ชุดจิตอาสา

    ที่มา เพจเฟซบุ๊ก“พระลาน”

    #Thaitimes
    เพจเฟซบุ๊ก "พระลาน" เผยแพร่ตำแหน่งที่ตั้งจุดอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ในการเฝ้ารับเสด็จฯ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 งานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ทางขบวนพยุหยาตราทางชลมารค วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 1. แนวริมน้ำ ธนาคารแห่งประเทศไทย 2. ใต้สะพานพระราม ๘ (ศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย) 3. ใต้สะพานพระราม ๘ (ฝั่งธนบุรี) 4. ทางเดินริมน้ำ สวนสันติชัยปราการ 5. ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า 6. ลาน 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 7. สวนสุขภาพฯ รพ.ศิริราช 8. ลานปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 9. อัฒจันทร์ อุทยานสถานพิมุข รพ.ศิริราช 10. ท่าช้าง 11. วัดระฆังโฆสิตาราม 12. ท่าเตียน 13. ท่าเรือวัดโพธิ์ 14. วัดอรุณราชวราราม - จุดติดตั้งจอแอลอีดี พร้อมเครื่องขยายเสียง เพื่อให้ประชาชนรับชมในการเฝ้ารับเสด็จฯ 1. วัดอรุณ 2. วัดระฆัง 3. ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า 4. ลาน 60 ปี ธรรมศาสตร์ 5. สวนสันติชัยปราการ จำนวน 2 จอ 6. ราชนาวีสโมสร 7. อุทยานพิมุขสถาน 8. ลานพลับพลาสยามินทราศิริราชานุสรณีย์ จำนวน 2 จอ 9. ลานทัศนาภิรมย์ หอประชมกองทัพเรือ จำนวน 2 จอ 10. ลานปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์ 11. ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งบางพลัด จำนวน 2 จอ 12. ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย 13. สวนนคราภิรมย์ 14. ลานคนเมือง - ข้อแนะนำของประชาชน ในการเดินทางมาเฝ้าฯ รับเสด็จ และชมขบวนพยุหยาตราชลมารค 1. พกบัตรประชาชน บัตรแสดงตน หนังสือเดินทาง เพื่อความสะดวก 2. เขียนชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครองติดไว้กับตัวเด็ก 3. พกยาประจำตัวมาด้วย 4. เตรียมน้ำดื่ม ร่ม/หมวก 5.สอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ชุดจิตอาสา ที่มา เพจเฟซบุ๊ก“พระลาน” #Thaitimes
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 811 มุมมอง 0 รีวิว
  • รายงานจากเพจLiving Pop เกี่ยวกับผลกระทบผู้ใช้เส้นทางสัญจรในโซนเกาะรัตนโกสินทร์หรือเขตเมืองเก่า พื้นที่ประวัติศาสตร์ในเขตพระนครต้องรู้ถึงอนาคตถนนสายหลักของย่านเมืองเก่าจะถูกปิดเบี่ยงการจราจรเพื่อก่อสร้างสถานี interchange ใหญ่ เนื้อหาระบุว่า

    “ 🧡 สายสีม่วงก็ยังมี สายสีส้มก็กำลังมา ใครใช้ถนนในเขตเมืองเก่าเดินทางทุกวันต้องปรับตัวรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ เพราะทางเลือกน้อยลงกว่าเดิมอีกครับ

    ทุกวันนี้ใครที่เดินทางผ่านตัวเมืองเก่าคงเห็นสภาพการปิดถนนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ไล่มาตามถนนพระสุเมรุตั้งแต่วัดบวรนิเวศ แยกผ่านฟ้า ลงมาจนถึงสวนรมณีนาถ แยกสามยอด ไปสุดที่เชิงสะพานพระปกเกล้า

    แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ถนนสายหลักของย่านเมืองเก่าจะถูกปิดเบี่ยงการจราจรเพื่อก่อสร้างสถานี interchange ใหญ่ นั่นก็คือ...

    "ถนนราชดำเนินกลาง"

    โดยแนว "🧡 สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" จะอยู่ใต้ถนนราชดำเนินกลาง ค่อนไปทางฝั่งทิศเหนือ (ขาออก) โดยตัวสถานีจะทอดยาวตั้งแต่นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ไปจนถึงวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเลยครับ

    สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จะเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกันกับสถานีชื่อเดียวกันของสายสีม่วง ที่กำลังก่อสร้างอยู่ใต้ถนนพระสุเมรุ โดยมีทางเดินเชื่อมถึงกันทั้งแบบสาธารณะ (unpaid area) และพื้นที่ผู้โดยสาร (paid area) แยกกันคนละชั้นเลย โดยทางเชื่อมจะอ้อมไปด้านหลังตึกเทเวศประกันภัย ที่อยู่ตรงหัวมุมแยกป้อมมหากาฬ

    ---------------

    นอกจากสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ใกล้เคียงกันยังมีอีกสถานีนึงครับ นั่นก็คือ "🧡 สถานีสนามหลวง" ซึ่งจะตั้งอยู่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า บนถนนราชินี ด้านหน้าโรงละครแห่งชาติและวัดบวรสถานสุทธาวาส

    โดยจะมีอุโมงค์ทางเข้าออกลอดใต้เชิงทางขึ้นสะพานปิ่นเกล้า ไปโผล่ฝั่งหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์เหรียญด้วย รวมถึงมีทางเข้าออกที่ริมขอบสนามหลวงด้วยอีก ซึ่งการขุดทางเชื่อมทางเข้าออกก็อาจจะต้องมีการเปิดหน้าดินบ้างนิดหน่อย

    ---------------

    อย่างไรก็ตาม ตามข้อมูลในเอกสาร EIA ระบุเอาไว้ว่าทั้ง 2 สถานีนี้จะใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบพิเศษที่เรียกว่า Pipe Roof คือการหล่อผนังด้านข้างสถานีลงไปก่อน แล้วดันท่อขนาดใหญ่จากด้านข้าง เสียบเข้าไปเชื่อมผนังสถานีทั้งสองฝั่ง โดยจะดันท่อแบบนี้เรียงติดกันเป็นพืดๆ ให้ทำหน้าที่เหมือนเป็นหลังคาสถานีชั่วคราว จากนั้นจะขุดลงไปเพื่อก่อสร้างสถานี "โดยไม่เปิดหน้าดินบนถนน" เทคนิคนี้ถูกใช้ครั้งแรกที่สถานีสนามไชย ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไปครับ แต่ผมว่าสุดท้ายก็ต้องมีปิดมีเบี่ยงเลนอยู่ดี

    ---------------

    ภาพแผนผังทางเข้าออกสถานีทั้ง 2 สถานี ผมใส่ไว้ให้ใน comment เหมือนเดิมนะครับ แล้วพรุ่งนี้มาดูกันต่อในตอนสุดท้าย กับโซนฝั่งธน ช่วงศิริราช-บางขุนนนท์ครับ ☺️”

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/kfP8GVeDZx3ftnLy/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    รายงานจากเพจLiving Pop เกี่ยวกับผลกระทบผู้ใช้เส้นทางสัญจรในโซนเกาะรัตนโกสินทร์หรือเขตเมืองเก่า พื้นที่ประวัติศาสตร์ในเขตพระนครต้องรู้ถึงอนาคตถนนสายหลักของย่านเมืองเก่าจะถูกปิดเบี่ยงการจราจรเพื่อก่อสร้างสถานี interchange ใหญ่ เนื้อหาระบุว่า “ 🧡 สายสีม่วงก็ยังมี สายสีส้มก็กำลังมา ใครใช้ถนนในเขตเมืองเก่าเดินทางทุกวันต้องปรับตัวรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ เพราะทางเลือกน้อยลงกว่าเดิมอีกครับ ทุกวันนี้ใครที่เดินทางผ่านตัวเมืองเก่าคงเห็นสภาพการปิดถนนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ไล่มาตามถนนพระสุเมรุตั้งแต่วัดบวรนิเวศ แยกผ่านฟ้า ลงมาจนถึงสวนรมณีนาถ แยกสามยอด ไปสุดที่เชิงสะพานพระปกเกล้า แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ถนนสายหลักของย่านเมืองเก่าจะถูกปิดเบี่ยงการจราจรเพื่อก่อสร้างสถานี interchange ใหญ่ นั่นก็คือ... "ถนนราชดำเนินกลาง" โดยแนว "🧡 สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" จะอยู่ใต้ถนนราชดำเนินกลาง ค่อนไปทางฝั่งทิศเหนือ (ขาออก) โดยตัวสถานีจะทอดยาวตั้งแต่นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ไปจนถึงวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเลยครับ สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จะเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกันกับสถานีชื่อเดียวกันของสายสีม่วง ที่กำลังก่อสร้างอยู่ใต้ถนนพระสุเมรุ โดยมีทางเดินเชื่อมถึงกันทั้งแบบสาธารณะ (unpaid area) และพื้นที่ผู้โดยสาร (paid area) แยกกันคนละชั้นเลย โดยทางเชื่อมจะอ้อมไปด้านหลังตึกเทเวศประกันภัย ที่อยู่ตรงหัวมุมแยกป้อมมหากาฬ --------------- นอกจากสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ใกล้เคียงกันยังมีอีกสถานีนึงครับ นั่นก็คือ "🧡 สถานีสนามหลวง" ซึ่งจะตั้งอยู่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า บนถนนราชินี ด้านหน้าโรงละครแห่งชาติและวัดบวรสถานสุทธาวาส โดยจะมีอุโมงค์ทางเข้าออกลอดใต้เชิงทางขึ้นสะพานปิ่นเกล้า ไปโผล่ฝั่งหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์เหรียญด้วย รวมถึงมีทางเข้าออกที่ริมขอบสนามหลวงด้วยอีก ซึ่งการขุดทางเชื่อมทางเข้าออกก็อาจจะต้องมีการเปิดหน้าดินบ้างนิดหน่อย --------------- อย่างไรก็ตาม ตามข้อมูลในเอกสาร EIA ระบุเอาไว้ว่าทั้ง 2 สถานีนี้จะใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบพิเศษที่เรียกว่า Pipe Roof คือการหล่อผนังด้านข้างสถานีลงไปก่อน แล้วดันท่อขนาดใหญ่จากด้านข้าง เสียบเข้าไปเชื่อมผนังสถานีทั้งสองฝั่ง โดยจะดันท่อแบบนี้เรียงติดกันเป็นพืดๆ ให้ทำหน้าที่เหมือนเป็นหลังคาสถานีชั่วคราว จากนั้นจะขุดลงไปเพื่อก่อสร้างสถานี "โดยไม่เปิดหน้าดินบนถนน" เทคนิคนี้ถูกใช้ครั้งแรกที่สถานีสนามไชย ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไปครับ แต่ผมว่าสุดท้ายก็ต้องมีปิดมีเบี่ยงเลนอยู่ดี --------------- ภาพแผนผังทางเข้าออกสถานีทั้ง 2 สถานี ผมใส่ไว้ให้ใน comment เหมือนเดิมนะครับ แล้วพรุ่งนี้มาดูกันต่อในตอนสุดท้าย กับโซนฝั่งธน ช่วงศิริราช-บางขุนนนท์ครับ ☺️” ที่มา : https://www.facebook.com/share/kfP8GVeDZx3ftnLy/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 575 มุมมอง 0 รีวิว
  • ร้านอร่อยชื่อดัง ที่ทั้งปังและแซ่บ นิตยาไก่ย่าง ที่มีหลายสาขาทั่วกรุงเทพฯ การันตีความอร่อยเด็ดยาวนานมาเป็น 10 ปี มีทั้งอาหารไทย และอาหารอีสานหลายเมนู ส้มตำ ไก่ย่างสูตรเฉพาะที่หลายคนไปแล้วต้องติดใจ ปลาช่อนริมสวน น้ำพริกหนุ่ม ไส้อั่ว และภายในร้านยังสะอาด นั่งสบายอีกด้วย เหมาะกับมื้อร่อยของครอบครัวมากๆ ทีเดียว

    พิกัด : สาขาห้างธัญญาพาร์ค ถ.ศรีนครินทร์, สาขาถนนประชาชื่น, สาขาสี่แยกประชานุกูล, สาขาแยกสะพานพระนั่งเกล้า, สาขาเมืองทองธานี, สาขาพหลโยธิน 8 (ซอยสายลม), สาขาปิ่นเกล้า, สาขารังสิต คลอง 2 ธัญบุรี, สาขาถนนนวมินทร์ 53, สาขาปตท. ไลฟ์พลาซ่า ถนนกาญจนาภิเษก, สาขาเดอะคริสตัล ปตท. (ชั้น 1) ถนนชัยพฤกษ์, สาขาสวนเพลิน มาร์เก็ต (ชั้น 1) ถนนพระราม 4
    ร้านเปิดบริการ : 10.00-21.30 น.
    โทร : 08-9135-1230

    #ส้มตำในกรุงเทพ #กินสารระนัวร์ #ของอร่อย #Thaitimes
    ร้านอร่อยชื่อดัง ที่ทั้งปังและแซ่บ นิตยาไก่ย่าง ที่มีหลายสาขาทั่วกรุงเทพฯ การันตีความอร่อยเด็ดยาวนานมาเป็น 10 ปี มีทั้งอาหารไทย และอาหารอีสานหลายเมนู ส้มตำ ไก่ย่างสูตรเฉพาะที่หลายคนไปแล้วต้องติดใจ ปลาช่อนริมสวน น้ำพริกหนุ่ม ไส้อั่ว และภายในร้านยังสะอาด นั่งสบายอีกด้วย เหมาะกับมื้อร่อยของครอบครัวมากๆ ทีเดียว พิกัด : สาขาห้างธัญญาพาร์ค ถ.ศรีนครินทร์, สาขาถนนประชาชื่น, สาขาสี่แยกประชานุกูล, สาขาแยกสะพานพระนั่งเกล้า, สาขาเมืองทองธานี, สาขาพหลโยธิน 8 (ซอยสายลม), สาขาปิ่นเกล้า, สาขารังสิต คลอง 2 ธัญบุรี, สาขาถนนนวมินทร์ 53, สาขาปตท. ไลฟ์พลาซ่า ถนนกาญจนาภิเษก, สาขาเดอะคริสตัล ปตท. (ชั้น 1) ถนนชัยพฤกษ์, สาขาสวนเพลิน มาร์เก็ต (ชั้น 1) ถนนพระราม 4 ร้านเปิดบริการ : 10.00-21.30 น. โทร : 08-9135-1230 #ส้มตำในกรุงเทพ #กินสารระนัวร์ #ของอร่อย #Thaitimes
    Like
    Yay
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 712 มุมมอง 0 รีวิว
  • (ว่าที่) เซ็นทรัล บางรัก โรบินสันในตำนาน

    เมื่อวันก่อนร้านแมคโดนัลด์ ภายในอาคารโรบินสัน บางรัก เปิดสาขาโฉมใหม่ใช้ชื่อว่า สาขาเซ็นทรัล บางรัก ออกแบบดีไซน์ ‘Geometry’ พร้อมเครื่องสั่งอาหารอัตโนมัติ (SOK- Self Ordering Kiosk), บริการชำระเงินแบบไร้เงินสด, พนักงานต้อนรับ (GEL – Guest Experience Leader), บริการเสิร์ฟอาหารที่โต๊ะ (Table Service) และ บริการฟรี Wifi เปิดบริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง เมนูอาหารเช้าเริ่มจำหน่ายเวลา 05.00-11.00 น. และเมนูไก่ทอดแมคเริ่มจำหน่ายเวลา 11.00-05.00 น.

    เหตุผลที่แมคโดนัลด์ใช้คำว่าสาขาเซ็นทรัล บางรัก เพราะอีกไม่นาน ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก ที่มีอายุประมาณ 32 ปี จะเปลี่ยนเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล บางรัก ตามกลยุทธ์ของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ทยอยเปลี่ยนห้างโรบินสันบางสาขาเป็นห้างเซ็นทรัล มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่อให้เข้ากับสภาพตลาดและทำเล เน้นไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงานมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เริ่มจากสาขาแรกเมกาบางนา ตามมาด้วยสาขาอุดรธานี ขอนแก่น และแฟชั่นไอส์แลนด์

    ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก เปิดสาขาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2535 เป็นอาคารห้างสรรพสินค้าขนาด 5 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน) ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ที่ผ่านมาได้ทยอยปรับปรุงพื้นที่มาตั้งแต่กลางปี 2567 โดยใช้อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) ของห้างเซ็นทรัลแทน เป็นสาขาในกลุ่ม Black Tier ระดับเดียวกับสาขาลาดพร้าว ปิ่นเกล้า บางนา จับกลุ่มลูกค้าระดับไฮเอนด์ เป็นรองก็แค่สาขาชิดลมที่้เป็นระดับ Rose Gold Tier ที่เจาะกลุ่มลูกค้าระดับ A+ ขึ้นไปและลูกค้าชาวต่างชาติ

    การปรับโฉมครั้งนี้ทำให้ห้างโรบินสัน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหลือสาขาพระราม 9 สุขุมวิท ลาดกระบัง รังสิต ศรีสมาน ราชพฤกษ์ และสมุทรปราการ ซึ่งก่อนหน้านี้ปิดสาขาศรีนครินทร์ เพราะไม่ต่อสัญญาเช่ากับศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ถึงกระนั้นห้างเซ็นทรัลและโรบินสัน ยังคงจัดโปรโมชันร่วมกัน มีบริการผู้ช่วยช้อปปิ้งส่วนตัว (Personal Shopper) โทร. 1425 การจำหน่ายสินค้าผ่านเซ็นทรัลออนไลน์ และ Central App

    ทำเลห้างโรบินสัน บางรักในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สะพานตากสิน และท่าเรือสาทร ใกล้แหล่งอาคารสำนักงานย่านสีลมและสาทร ใกล้โรงแรมหรูอย่างโรงแรมแชงกรีล่า โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล โรงแรมเลอบัว แอท สเตททาวเวอร์ ใกล้สถานศึกษาอย่างโรงเรียนอัสสัมชัญ รวมทั้งฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยายังมีศูนย์การค้าไอคอนสยาม ที่มีเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือสาทร ถือเป็นอีกหนึ่งทำเลที่กลุ่มเซ็นทรัลไม่ปล่อยให้หลุดมือง่ายๆ

    #Newskit #CentralBangrak #RobinsonBangrak
    (ว่าที่) เซ็นทรัล บางรัก โรบินสันในตำนาน เมื่อวันก่อนร้านแมคโดนัลด์ ภายในอาคารโรบินสัน บางรัก เปิดสาขาโฉมใหม่ใช้ชื่อว่า สาขาเซ็นทรัล บางรัก ออกแบบดีไซน์ ‘Geometry’ พร้อมเครื่องสั่งอาหารอัตโนมัติ (SOK- Self Ordering Kiosk), บริการชำระเงินแบบไร้เงินสด, พนักงานต้อนรับ (GEL – Guest Experience Leader), บริการเสิร์ฟอาหารที่โต๊ะ (Table Service) และ บริการฟรี Wifi เปิดบริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง เมนูอาหารเช้าเริ่มจำหน่ายเวลา 05.00-11.00 น. และเมนูไก่ทอดแมคเริ่มจำหน่ายเวลา 11.00-05.00 น. เหตุผลที่แมคโดนัลด์ใช้คำว่าสาขาเซ็นทรัล บางรัก เพราะอีกไม่นาน ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก ที่มีอายุประมาณ 32 ปี จะเปลี่ยนเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล บางรัก ตามกลยุทธ์ของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ทยอยเปลี่ยนห้างโรบินสันบางสาขาเป็นห้างเซ็นทรัล มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่อให้เข้ากับสภาพตลาดและทำเล เน้นไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงานมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เริ่มจากสาขาแรกเมกาบางนา ตามมาด้วยสาขาอุดรธานี ขอนแก่น และแฟชั่นไอส์แลนด์ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก เปิดสาขาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2535 เป็นอาคารห้างสรรพสินค้าขนาด 5 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน) ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ที่ผ่านมาได้ทยอยปรับปรุงพื้นที่มาตั้งแต่กลางปี 2567 โดยใช้อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) ของห้างเซ็นทรัลแทน เป็นสาขาในกลุ่ม Black Tier ระดับเดียวกับสาขาลาดพร้าว ปิ่นเกล้า บางนา จับกลุ่มลูกค้าระดับไฮเอนด์ เป็นรองก็แค่สาขาชิดลมที่้เป็นระดับ Rose Gold Tier ที่เจาะกลุ่มลูกค้าระดับ A+ ขึ้นไปและลูกค้าชาวต่างชาติ การปรับโฉมครั้งนี้ทำให้ห้างโรบินสัน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหลือสาขาพระราม 9 สุขุมวิท ลาดกระบัง รังสิต ศรีสมาน ราชพฤกษ์ และสมุทรปราการ ซึ่งก่อนหน้านี้ปิดสาขาศรีนครินทร์ เพราะไม่ต่อสัญญาเช่ากับศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ถึงกระนั้นห้างเซ็นทรัลและโรบินสัน ยังคงจัดโปรโมชันร่วมกัน มีบริการผู้ช่วยช้อปปิ้งส่วนตัว (Personal Shopper) โทร. 1425 การจำหน่ายสินค้าผ่านเซ็นทรัลออนไลน์ และ Central App ทำเลห้างโรบินสัน บางรักในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สะพานตากสิน และท่าเรือสาทร ใกล้แหล่งอาคารสำนักงานย่านสีลมและสาทร ใกล้โรงแรมหรูอย่างโรงแรมแชงกรีล่า โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล โรงแรมเลอบัว แอท สเตททาวเวอร์ ใกล้สถานศึกษาอย่างโรงเรียนอัสสัมชัญ รวมทั้งฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยายังมีศูนย์การค้าไอคอนสยาม ที่มีเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือสาทร ถือเป็นอีกหนึ่งทำเลที่กลุ่มเซ็นทรัลไม่ปล่อยให้หลุดมือง่ายๆ #Newskit #CentralBangrak #RobinsonBangrak
    Like
    Wow
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 887 มุมมอง 0 รีวิว

  • บ้านเดี่ยว2ขั้น หลังมุม Brand Q House
    🔥ตกแต่งใหม่ราคาไม่ถึง10ล้านนนนนน‼️

    ทำเลดีโครงการติดถนน กาญจนาภิเษก
    เดินทางสะดวกขึ้นทางด่วนก็ง่ายเชื่อมต่อราชพฤกษ์พระราม 5 ก็ง่ายนิดเดียว
    🏠หมู่บ้านลัดดารมย์
    ปิ่นเกล้ากาญจนา
    เนื้อที่ 84.3 ตารางวา
    3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ
    1 ลิฟวิ่ง หลังมุม

    ‼️พิเศษเพียง 7.79 ล้านบาทเท่านั้น ‼️

    สอบถาม/นัดชมบ้าน
    โทร:098-265-9874
    ไลน์: ppongzoom1


    #บ้านเดี่ยวตกแต่งใหม่
    #บ้านมือสองตกแต่งใหม่
    #บ้านมือสองพระราม5
    #บ้านเดี่ยวกาญจนาภิเษก
    #บ้านเดี่ยวลัดดารมย์ #สุดปัง #ตกแต่งใหม่พร้อมอยู่ #บ้านเดี่ยวสวยๆ #ขายบ้านมือสอง #บ้านพร้อมอยู่ #บ้านรีโนเวทใหม่ #บ้านเดี่ยวรีโนเวทใหม่ #บ้านมือสองราคาถูก #บ้านเดี่ยวหลังใหญ่ #บ้านเดี่ยวตกแต่งใหม่ #บ้านสวยราคาถูก #บ้านเดี่ยว #บ้านมือสองรีโนเวท #บ้านมือสองตกแต่งใหม่พร้อมอยู่ #บ้านตกแต่งใหม่ #บ้านมือสอง #ปิ่นเกล้า

    #SRN
    บ้านเดี่ยว2ขั้น หลังมุม Brand Q House 🔥ตกแต่งใหม่ราคาไม่ถึง10ล้านนนนนน‼️ ทำเลดีโครงการติดถนน กาญจนาภิเษก เดินทางสะดวกขึ้นทางด่วนก็ง่ายเชื่อมต่อราชพฤกษ์พระราม 5 ก็ง่ายนิดเดียว 🏠หมู่บ้านลัดดารมย์ ปิ่นเกล้ากาญจนา เนื้อที่ 84.3 ตารางวา 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ 1 ลิฟวิ่ง หลังมุม ‼️พิเศษเพียง 7.79 ล้านบาทเท่านั้น ‼️ สอบถาม/นัดชมบ้าน โทร:098-265-9874 ไลน์: ppongzoom1 #บ้านเดี่ยวตกแต่งใหม่ #บ้านมือสองตกแต่งใหม่ #บ้านมือสองพระราม5 #บ้านเดี่ยวกาญจนาภิเษก #บ้านเดี่ยวลัดดารมย์ #สุดปัง #ตกแต่งใหม่พร้อมอยู่ #บ้านเดี่ยวสวยๆ #ขายบ้านมือสอง #บ้านพร้อมอยู่ #บ้านรีโนเวทใหม่ #บ้านเดี่ยวรีโนเวทใหม่ #บ้านมือสองราคาถูก #บ้านเดี่ยวหลังใหญ่ #บ้านเดี่ยวตกแต่งใหม่ #บ้านสวยราคาถูก #บ้านเดี่ยว #บ้านมือสองรีโนเวท #บ้านมือสองตกแต่งใหม่พร้อมอยู่ #บ้านตกแต่งใหม่ #บ้านมือสอง #ปิ่นเกล้า #SRN
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 629 มุมมอง 0 รีวิว
  • ป้อมปราการ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    กำแพงเมืองพระนครกรุงรัตนโกสินทร์นั้นสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีป้อมสังเกตุการณ์จำนวนถึง 14 ป้อม ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งมี 14 ป้อม คือ

    1. ป้อมพระสุเมรุ ป้อมที่อยู่เหนือสุดของเกาะรัตนโกสินทร์
    2. ป้อมยุคุนธร ตรงหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร บัดนี้เหลือแต่กำแพงและประตูเมืองเท่านั้น
    3. ป้อมมหาปราบ ระหว่างสะพานเฉลิมวันชาติกับแยกผ่านฟ้าลีลาศ ตรงหัวโค้งถนนพระสุเมรุ
    4. ป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
    5. ป้อมหมู่ทะลวง (ทลวง) ใกล้หัวถนนหลวง ตรงข้ามสวนรมณีนาถและร้านเครื่องหวายข้างสวนรมณีนาถ แต่ก่อนสวนรมณีนาถคือเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อนถูกยุบเป็นสวนสาธารณะกับพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ส่วนป้อมหมู่ทลวงโดนทุบทิ้งไปบางส่วนเมื่อเมื่อปี พ.ศ. 2440 เพื่อนำอิฐไปสร้างทางรถไฟจากอยุธยาไปบ้านภาชีและแก่งคอย
    6. ป้อมเสือทะยาน (ทยาน) อยู่ใกล้สะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) ตรงโรงแรมมิรามา
    7. ป้อมมหาไชย ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทย สาขาวังบูรพา หัวถนนเยาวราช แถวสะพานหัน ทุบทิ้งเมื่อปลายธันวาคม พ.ศ. 2469
    8. ป้อมจักรเพชร ป้อมที่อยู่ใต้สุดของเกาะรัตนโกสินทร์ อยู่ตรงปากคลองรอบกรุง เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า
    9. ป้อมผีเสื้อ ปัจจุบันปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้ ฝั่งปากคลองตลาด
    10. ป้อมมหาฤกษ์ ปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงเรียนราชินี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับป้อมวิชัยประสิทธิ์ซึ่งอยู่ฝั่งธนบุรี
    11. ป้อมมหายักษ์ อยู่บริเวณท่าเตียน แถว ๆ ตึกกรมการค้าภายใน เก่า
    12. ป้อมพระจันทร์ ปัจจุบันคือท่าพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    13. ป้อมพระอาทิตย์ ปัจจุบันคือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ปากคลองคูเมืองเดิม
    14. ป้อมอิสินธร ปัจจุบันคือพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตรงข้ามซอยชนะสงคราม ทางลัดเข้าวัดชนะสงคราม

    โดยประตูเมืองและกำแพงเมือง ทางทิศเหนือนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นประตูเมืองตามแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอด โดยแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่ 3

    ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนน และที่อยู่อาศัย จะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ 100 เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะ เป็นอีกหนึ่งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวกรุงเทพมหานครและนักท่องเที่ยว

    ทั้งนี้เนื่องจากรัชกาลที่ 1 ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านความมั่นคงมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า และมีตำแหน่งเป็น “แม่ทัพ” เมื่อครั้งสมัยกรุงธนบุรี ทำให้ทรงเชี่ยวชาญการศึก และเข้าใจตำราพิไชยสงคราม การตั้งหลักเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีการอ้างอิงการตั้งทัพหรือแต่งทัพ ที่สอดคล้องกับภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม

    รัชกาลที่ 1 เข้าพระราชหฤทัยชัยภูมิของ “บางกอก” ที่มีลักษณะตรงกับการตั้งทัพตามคติ “นาคนาม” กล่าวคือ เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ดังนั้น ในการเลือกที่ตั้งศูนย์กลางของเมือง และการตั้ง “หลักเมือง” พระองค์จึงทรงเล็งเห็นประเด็นของ “ชัยภูมิ” เป็นลำดับแรก จากนั้นจึงดูฤกษ์ยาม วัน และเดือน ที่เหมาะสมตามคติ “โหราศาสตร์” ในการลงหลักเมืองตามมาเป็นลำดับ

    และเมื่อได้ดูลักษณะรูปร่างของการวางผังของ กำแพงเมืองพระนครจะเหมือนลักษณะคันธนู โดยยึดหลักฮวงจุ้ยของจีนมาประกอบการวางผังกำแพงเมือง หากสังเกตุดีๆ จะเห็นว่าสายธนูจะง้างออกไปทางทิศตะวันออก ส่วนลูกธนูจะพุ่งไปทางทิศตะวันตกอันเป็นทิศที่ตั้งของคู่ปรับสำคัญนั่นคือเมืองอังวะ พม่านั่นเอง
    .
    อ้างอิง
    พินิจพระนคร 2475-2545, กรมแผนที่ทหาร, กองบัญชาการทหารสูงสุด, พ.ศ. 2549
    แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 - 2550, โดย บัณฑิต จุลาสัยและคณะ, กรุงเทพฯ : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร, 2550
    เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 5
    เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 6
    เอกสารชุดกระทรวงมหาดไทย สมัยรัชกาลที่ 7
    เพจบางกอกไอเลิฟยู

    เรียบเรียงโดย เพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2

    #Thaitimes
    ป้อมปราการ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กำแพงเมืองพระนครกรุงรัตนโกสินทร์นั้นสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีป้อมสังเกตุการณ์จำนวนถึง 14 ป้อม ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งมี 14 ป้อม คือ 1. ป้อมพระสุเมรุ ป้อมที่อยู่เหนือสุดของเกาะรัตนโกสินทร์ 2. ป้อมยุคุนธร ตรงหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร บัดนี้เหลือแต่กำแพงและประตูเมืองเท่านั้น 3. ป้อมมหาปราบ ระหว่างสะพานเฉลิมวันชาติกับแยกผ่านฟ้าลีลาศ ตรงหัวโค้งถนนพระสุเมรุ 4. ป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ 5. ป้อมหมู่ทะลวง (ทลวง) ใกล้หัวถนนหลวง ตรงข้ามสวนรมณีนาถและร้านเครื่องหวายข้างสวนรมณีนาถ แต่ก่อนสวนรมณีนาถคือเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อนถูกยุบเป็นสวนสาธารณะกับพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ส่วนป้อมหมู่ทลวงโดนทุบทิ้งไปบางส่วนเมื่อเมื่อปี พ.ศ. 2440 เพื่อนำอิฐไปสร้างทางรถไฟจากอยุธยาไปบ้านภาชีและแก่งคอย 6. ป้อมเสือทะยาน (ทยาน) อยู่ใกล้สะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) ตรงโรงแรมมิรามา 7. ป้อมมหาไชย ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทย สาขาวังบูรพา หัวถนนเยาวราช แถวสะพานหัน ทุบทิ้งเมื่อปลายธันวาคม พ.ศ. 2469 8. ป้อมจักรเพชร ป้อมที่อยู่ใต้สุดของเกาะรัตนโกสินทร์ อยู่ตรงปากคลองรอบกรุง เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า 9. ป้อมผีเสื้อ ปัจจุบันปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้ ฝั่งปากคลองตลาด 10. ป้อมมหาฤกษ์ ปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงเรียนราชินี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับป้อมวิชัยประสิทธิ์ซึ่งอยู่ฝั่งธนบุรี 11. ป้อมมหายักษ์ อยู่บริเวณท่าเตียน แถว ๆ ตึกกรมการค้าภายใน เก่า 12. ป้อมพระจันทร์ ปัจจุบันคือท่าพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 13. ป้อมพระอาทิตย์ ปัจจุบันคือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ปากคลองคูเมืองเดิม 14. ป้อมอิสินธร ปัจจุบันคือพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตรงข้ามซอยชนะสงคราม ทางลัดเข้าวัดชนะสงคราม โดยประตูเมืองและกำแพงเมือง ทางทิศเหนือนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นประตูเมืองตามแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอด โดยแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนน และที่อยู่อาศัย จะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ 100 เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะ เป็นอีกหนึ่งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวกรุงเทพมหานครและนักท่องเที่ยว ทั้งนี้เนื่องจากรัชกาลที่ 1 ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านความมั่นคงมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า และมีตำแหน่งเป็น “แม่ทัพ” เมื่อครั้งสมัยกรุงธนบุรี ทำให้ทรงเชี่ยวชาญการศึก และเข้าใจตำราพิไชยสงคราม การตั้งหลักเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีการอ้างอิงการตั้งทัพหรือแต่งทัพ ที่สอดคล้องกับภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม รัชกาลที่ 1 เข้าพระราชหฤทัยชัยภูมิของ “บางกอก” ที่มีลักษณะตรงกับการตั้งทัพตามคติ “นาคนาม” กล่าวคือ เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ดังนั้น ในการเลือกที่ตั้งศูนย์กลางของเมือง และการตั้ง “หลักเมือง” พระองค์จึงทรงเล็งเห็นประเด็นของ “ชัยภูมิ” เป็นลำดับแรก จากนั้นจึงดูฤกษ์ยาม วัน และเดือน ที่เหมาะสมตามคติ “โหราศาสตร์” ในการลงหลักเมืองตามมาเป็นลำดับ และเมื่อได้ดูลักษณะรูปร่างของการวางผังของ กำแพงเมืองพระนครจะเหมือนลักษณะคันธนู โดยยึดหลักฮวงจุ้ยของจีนมาประกอบการวางผังกำแพงเมือง หากสังเกตุดีๆ จะเห็นว่าสายธนูจะง้างออกไปทางทิศตะวันออก ส่วนลูกธนูจะพุ่งไปทางทิศตะวันตกอันเป็นทิศที่ตั้งของคู่ปรับสำคัญนั่นคือเมืองอังวะ พม่านั่นเอง . อ้างอิง พินิจพระนคร 2475-2545, กรมแผนที่ทหาร, กองบัญชาการทหารสูงสุด, พ.ศ. 2549 แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 - 2550, โดย บัณฑิต จุลาสัยและคณะ, กรุงเทพฯ : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร, 2550 เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 5 เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 6 เอกสารชุดกระทรวงมหาดไทย สมัยรัชกาลที่ 7 เพจบางกอกไอเลิฟยู เรียบเรียงโดย เพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2 #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 717 มุมมอง 0 รีวิว