รายงานจากเพจLiving Pop เกี่ยวกับผลกระทบผู้ใช้เส้นทางสัญจรในโซนเกาะรัตนโกสินทร์หรือเขตเมืองเก่า พื้นที่ประวัติศาสตร์ในเขตพระนครต้องรู้ถึงอนาคตถนนสายหลักของย่านเมืองเก่าจะถูกปิดเบี่ยงการจราจรเพื่อก่อสร้างสถานี interchange ใหญ่ เนื้อหาระบุว่า
“ 🧡 สายสีม่วงก็ยังมี สายสีส้มก็กำลังมา ใครใช้ถนนในเขตเมืองเก่าเดินทางทุกวันต้องปรับตัวรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ เพราะทางเลือกน้อยลงกว่าเดิมอีกครับ
ทุกวันนี้ใครที่เดินทางผ่านตัวเมืองเก่าคงเห็นสภาพการปิดถนนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ไล่มาตามถนนพระสุเมรุตั้งแต่วัดบวรนิเวศ แยกผ่านฟ้า ลงมาจนถึงสวนรมณีนาถ แยกสามยอด ไปสุดที่เชิงสะพานพระปกเกล้า
แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ถนนสายหลักของย่านเมืองเก่าจะถูกปิดเบี่ยงการจราจรเพื่อก่อสร้างสถานี interchange ใหญ่ นั่นก็คือ...
"ถนนราชดำเนินกลาง"
โดยแนว "🧡 สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" จะอยู่ใต้ถนนราชดำเนินกลาง ค่อนไปทางฝั่งทิศเหนือ (ขาออก) โดยตัวสถานีจะทอดยาวตั้งแต่นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ไปจนถึงวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเลยครับ
สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จะเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกันกับสถานีชื่อเดียวกันของสายสีม่วง ที่กำลังก่อสร้างอยู่ใต้ถนนพระสุเมรุ โดยมีทางเดินเชื่อมถึงกันทั้งแบบสาธารณะ (unpaid area) และพื้นที่ผู้โดยสาร (paid area) แยกกันคนละชั้นเลย โดยทางเชื่อมจะอ้อมไปด้านหลังตึกเทเวศประกันภัย ที่อยู่ตรงหัวมุมแยกป้อมมหากาฬ
---------------
นอกจากสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ใกล้เคียงกันยังมีอีกสถานีนึงครับ นั่นก็คือ "🧡 สถานีสนามหลวง" ซึ่งจะตั้งอยู่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า บนถนนราชินี ด้านหน้าโรงละครแห่งชาติและวัดบวรสถานสุทธาวาส
โดยจะมีอุโมงค์ทางเข้าออกลอดใต้เชิงทางขึ้นสะพานปิ่นเกล้า ไปโผล่ฝั่งหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์เหรียญด้วย รวมถึงมีทางเข้าออกที่ริมขอบสนามหลวงด้วยอีก ซึ่งการขุดทางเชื่อมทางเข้าออกก็อาจจะต้องมีการเปิดหน้าดินบ้างนิดหน่อย
---------------
อย่างไรก็ตาม ตามข้อมูลในเอกสาร EIA ระบุเอาไว้ว่าทั้ง 2 สถานีนี้จะใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบพิเศษที่เรียกว่า Pipe Roof คือการหล่อผนังด้านข้างสถานีลงไปก่อน แล้วดันท่อขนาดใหญ่จากด้านข้าง เสียบเข้าไปเชื่อมผนังสถานีทั้งสองฝั่ง โดยจะดันท่อแบบนี้เรียงติดกันเป็นพืดๆ ให้ทำหน้าที่เหมือนเป็นหลังคาสถานีชั่วคราว จากนั้นจะขุดลงไปเพื่อก่อสร้างสถานี "โดยไม่เปิดหน้าดินบนถนน" เทคนิคนี้ถูกใช้ครั้งแรกที่สถานีสนามไชย ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไปครับ แต่ผมว่าสุดท้ายก็ต้องมีปิดมีเบี่ยงเลนอยู่ดี
---------------
ภาพแผนผังทางเข้าออกสถานีทั้ง 2 สถานี ผมใส่ไว้ให้ใน comment เหมือนเดิมนะครับ แล้วพรุ่งนี้มาดูกันต่อในตอนสุดท้าย กับโซนฝั่งธน ช่วงศิริราช-บางขุนนนท์ครับ ☺️”
ที่มา : https://www.facebook.com/share/kfP8GVeDZx3ftnLy/?mibextid=CTbP7E
#Thaitimes
“ 🧡 สายสีม่วงก็ยังมี สายสีส้มก็กำลังมา ใครใช้ถนนในเขตเมืองเก่าเดินทางทุกวันต้องปรับตัวรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ เพราะทางเลือกน้อยลงกว่าเดิมอีกครับ
ทุกวันนี้ใครที่เดินทางผ่านตัวเมืองเก่าคงเห็นสภาพการปิดถนนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ไล่มาตามถนนพระสุเมรุตั้งแต่วัดบวรนิเวศ แยกผ่านฟ้า ลงมาจนถึงสวนรมณีนาถ แยกสามยอด ไปสุดที่เชิงสะพานพระปกเกล้า
แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ถนนสายหลักของย่านเมืองเก่าจะถูกปิดเบี่ยงการจราจรเพื่อก่อสร้างสถานี interchange ใหญ่ นั่นก็คือ...
"ถนนราชดำเนินกลาง"
โดยแนว "🧡 สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" จะอยู่ใต้ถนนราชดำเนินกลาง ค่อนไปทางฝั่งทิศเหนือ (ขาออก) โดยตัวสถานีจะทอดยาวตั้งแต่นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ไปจนถึงวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเลยครับ
สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จะเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกันกับสถานีชื่อเดียวกันของสายสีม่วง ที่กำลังก่อสร้างอยู่ใต้ถนนพระสุเมรุ โดยมีทางเดินเชื่อมถึงกันทั้งแบบสาธารณะ (unpaid area) และพื้นที่ผู้โดยสาร (paid area) แยกกันคนละชั้นเลย โดยทางเชื่อมจะอ้อมไปด้านหลังตึกเทเวศประกันภัย ที่อยู่ตรงหัวมุมแยกป้อมมหากาฬ
---------------
นอกจากสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ใกล้เคียงกันยังมีอีกสถานีนึงครับ นั่นก็คือ "🧡 สถานีสนามหลวง" ซึ่งจะตั้งอยู่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า บนถนนราชินี ด้านหน้าโรงละครแห่งชาติและวัดบวรสถานสุทธาวาส
โดยจะมีอุโมงค์ทางเข้าออกลอดใต้เชิงทางขึ้นสะพานปิ่นเกล้า ไปโผล่ฝั่งหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์เหรียญด้วย รวมถึงมีทางเข้าออกที่ริมขอบสนามหลวงด้วยอีก ซึ่งการขุดทางเชื่อมทางเข้าออกก็อาจจะต้องมีการเปิดหน้าดินบ้างนิดหน่อย
---------------
อย่างไรก็ตาม ตามข้อมูลในเอกสาร EIA ระบุเอาไว้ว่าทั้ง 2 สถานีนี้จะใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบพิเศษที่เรียกว่า Pipe Roof คือการหล่อผนังด้านข้างสถานีลงไปก่อน แล้วดันท่อขนาดใหญ่จากด้านข้าง เสียบเข้าไปเชื่อมผนังสถานีทั้งสองฝั่ง โดยจะดันท่อแบบนี้เรียงติดกันเป็นพืดๆ ให้ทำหน้าที่เหมือนเป็นหลังคาสถานีชั่วคราว จากนั้นจะขุดลงไปเพื่อก่อสร้างสถานี "โดยไม่เปิดหน้าดินบนถนน" เทคนิคนี้ถูกใช้ครั้งแรกที่สถานีสนามไชย ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไปครับ แต่ผมว่าสุดท้ายก็ต้องมีปิดมีเบี่ยงเลนอยู่ดี
---------------
ภาพแผนผังทางเข้าออกสถานีทั้ง 2 สถานี ผมใส่ไว้ให้ใน comment เหมือนเดิมนะครับ แล้วพรุ่งนี้มาดูกันต่อในตอนสุดท้าย กับโซนฝั่งธน ช่วงศิริราช-บางขุนนนท์ครับ ☺️”
ที่มา : https://www.facebook.com/share/kfP8GVeDZx3ftnLy/?mibextid=CTbP7E
#Thaitimes
รายงานจากเพจLiving Pop เกี่ยวกับผลกระทบผู้ใช้เส้นทางสัญจรในโซนเกาะรัตนโกสินทร์หรือเขตเมืองเก่า พื้นที่ประวัติศาสตร์ในเขตพระนครต้องรู้ถึงอนาคตถนนสายหลักของย่านเมืองเก่าจะถูกปิดเบี่ยงการจราจรเพื่อก่อสร้างสถานี interchange ใหญ่ เนื้อหาระบุว่า
“ 🧡 สายสีม่วงก็ยังมี สายสีส้มก็กำลังมา ใครใช้ถนนในเขตเมืองเก่าเดินทางทุกวันต้องปรับตัวรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ เพราะทางเลือกน้อยลงกว่าเดิมอีกครับ
ทุกวันนี้ใครที่เดินทางผ่านตัวเมืองเก่าคงเห็นสภาพการปิดถนนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ไล่มาตามถนนพระสุเมรุตั้งแต่วัดบวรนิเวศ แยกผ่านฟ้า ลงมาจนถึงสวนรมณีนาถ แยกสามยอด ไปสุดที่เชิงสะพานพระปกเกล้า
แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ถนนสายหลักของย่านเมืองเก่าจะถูกปิดเบี่ยงการจราจรเพื่อก่อสร้างสถานี interchange ใหญ่ นั่นก็คือ...
"ถนนราชดำเนินกลาง"
โดยแนว "🧡 สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" จะอยู่ใต้ถนนราชดำเนินกลาง ค่อนไปทางฝั่งทิศเหนือ (ขาออก) โดยตัวสถานีจะทอดยาวตั้งแต่นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ไปจนถึงวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเลยครับ
สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จะเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกันกับสถานีชื่อเดียวกันของสายสีม่วง ที่กำลังก่อสร้างอยู่ใต้ถนนพระสุเมรุ โดยมีทางเดินเชื่อมถึงกันทั้งแบบสาธารณะ (unpaid area) และพื้นที่ผู้โดยสาร (paid area) แยกกันคนละชั้นเลย โดยทางเชื่อมจะอ้อมไปด้านหลังตึกเทเวศประกันภัย ที่อยู่ตรงหัวมุมแยกป้อมมหากาฬ
---------------
นอกจากสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ใกล้เคียงกันยังมีอีกสถานีนึงครับ นั่นก็คือ "🧡 สถานีสนามหลวง" ซึ่งจะตั้งอยู่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า บนถนนราชินี ด้านหน้าโรงละครแห่งชาติและวัดบวรสถานสุทธาวาส
โดยจะมีอุโมงค์ทางเข้าออกลอดใต้เชิงทางขึ้นสะพานปิ่นเกล้า ไปโผล่ฝั่งหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์เหรียญด้วย รวมถึงมีทางเข้าออกที่ริมขอบสนามหลวงด้วยอีก ซึ่งการขุดทางเชื่อมทางเข้าออกก็อาจจะต้องมีการเปิดหน้าดินบ้างนิดหน่อย
---------------
อย่างไรก็ตาม ตามข้อมูลในเอกสาร EIA ระบุเอาไว้ว่าทั้ง 2 สถานีนี้จะใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบพิเศษที่เรียกว่า Pipe Roof คือการหล่อผนังด้านข้างสถานีลงไปก่อน แล้วดันท่อขนาดใหญ่จากด้านข้าง เสียบเข้าไปเชื่อมผนังสถานีทั้งสองฝั่ง โดยจะดันท่อแบบนี้เรียงติดกันเป็นพืดๆ ให้ทำหน้าที่เหมือนเป็นหลังคาสถานีชั่วคราว จากนั้นจะขุดลงไปเพื่อก่อสร้างสถานี "โดยไม่เปิดหน้าดินบนถนน" เทคนิคนี้ถูกใช้ครั้งแรกที่สถานีสนามไชย ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไปครับ แต่ผมว่าสุดท้ายก็ต้องมีปิดมีเบี่ยงเลนอยู่ดี
---------------
ภาพแผนผังทางเข้าออกสถานีทั้ง 2 สถานี ผมใส่ไว้ให้ใน comment เหมือนเดิมนะครับ แล้วพรุ่งนี้มาดูกันต่อในตอนสุดท้าย กับโซนฝั่งธน ช่วงศิริราช-บางขุนนนท์ครับ ☺️”
ที่มา : https://www.facebook.com/share/kfP8GVeDZx3ftnLy/?mibextid=CTbP7E
#Thaitimes