• "ฮุนเซน" แฉเดือด!!! อ้าง "ทักษิณ" คือผู้บงการปิดชายแดน พร้อมเปิดปมสั่งปลด "อนุทิน" และรายงานการเมืองไทยเกือบทุกวัน!
    https://www.thai-tai.tv/news/20250/
    .
    #ฮุนเซน #ทักษิณ #ปิดชายแดน #อนุทิน #การเมืองไทย #กัมพูชา #เปิดโปง #ข่าวการเมือง #สมเด็จฮุนเซน #ภูมิใจไทย #เพื่อไทย
    "ฮุนเซน" แฉเดือด!!! อ้าง "ทักษิณ" คือผู้บงการปิดชายแดน พร้อมเปิดปมสั่งปลด "อนุทิน" และรายงานการเมืองไทยเกือบทุกวัน! https://www.thai-tai.tv/news/20250/ . #ฮุนเซน #ทักษิณ #ปิดชายแดน #อนุทิน #การเมืองไทย #กัมพูชา #เปิดโปง #ข่าวการเมือง #สมเด็จฮุนเซน #ภูมิใจไทย #เพื่อไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 24 มุมมอง 0 รีวิว
  • สมเด็จพระพันปีหลวง พร้อมด้วยในหลวง ร.10 ขณะดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมศูนย์สภากาชาดเขาล้านอีกครั้ง และทั้งสองพระองค์ยังทรงเสด็จไปอีกหลายครั้งเพื่อติดตามงานของศูนย์สภากาดชาดไทยแห่งนี้ด้วยทรงห่วงใย

    ในช่วงสงครามชิงอำนาจในเขมรติดต่อกันหลายปี ได้มีชาวเขมรอพยพเข้ามาในเขตประเทศไทยไม่ขาดสาย ขณะเดียวกันที่ลาวก็ไม่สงบเช่นกัน เกิดสงครามในประเทศระหว่างขบวนการปเทดลาวกับรัฐบาลฝ่ายขวาในการสนับสนุนจาก ซีไอเอ.ของอเมริกา ชายแดนของประเทศไทยที่ติดต่อกับประเทศลาวและเขมรจึงมีคนหนีตายเข้ามาตลอดชายแดนตั้งแต่ภาคเหนือ อีสาน จนสุดภาคตะวันออก แม้จะมีการวางกับระเบิด ทุ่นระเบิดนับแสนลูกตามแนวชายแดนด้านเขมรเพื่อมิให้ชาวเขมรหนีออกนอกประเทศ แต่ก็ไม่อาจขัดขวางคนหนีตายได้ ทุกวันนี้ก็ยังต้องเก็บกู้กันอยู่

    รัฐบาลเขมรเฮง สัมรินยังเรียกร้องมายังรัฐบาลไทยให้ปิดชายแดนไม่ให้คนเขมรหนีเข้ามา แต่ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งไปเยี่ยมเขมรอพยพที่บ้านคลองหว้า ต.ทับพริก อ.อรัญประเทศได้ตอบนักข่าวว่า เราเป็นประเทศเอกราช ใครจะสั่งมาไม่ได้ เมื่อนักข่าวถามว่าเขาขู่จะตอบโต้ พล.อ.เกรียงศักดิ์ตอบว่า การเมืองนั้นจะพูดอะไรก็ได้ เราก็โต้ได้เหมือนกัน อย่างเวียดนามเรียกทูตเราไปต่อว่าและอ่านแถลงการณ์โจมตีเรา เราก็เรียกทูตเขามายื่นประท้วงไปเหมือนกัน ส่วนที่เฮง สัมรินกล่าวเตือนมาว่า ไทยอย่าคิดเล่นกับไฟ นายกฯเกรียงศักดิ์ก็บอกว่า “ผมก็บอกเขาว่า ไฟอย่าคิดเล่นกับน้ำก็แล้วกัน”
    สภาพค่ายอพยพที่อรัญประเทศก็ไม่ต่างกับที่เขาล้าน จังหวัดตราด คละคลุ้งไปด้วยกลิ่นอุจจาระและปัสสาวะทั่วไปหมด เนื่องจากผู้อพยพปล่อยทั้งทุกข์หนักทุกข์เบาไล่เลือกที่ เจ้าหน้าที่ของศูนย์ได้รายงานนายกรัฐมนตรีว่า ได้สร้างส้วมให้แล้ว แต่ชาวเขมรไม่ยอมเข้า ถนัดแต่ “ไปทุ่ง” เรี่ยราดตามใจตัวเอง เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด นายกรัฐมนตรีจึงสั่งให้ประกาศบังคับทุกคนให้ใช้ส้วมและทิ้งขยะให้เป็นที่ เพื่อสุขภาพของผู้อยู่เอง ถ้าจะใช้วิธีไปทุ่งก็ขอให้ขุดหลุมกลบ และสั่งให้แจกเสียมประจำไว้ทุกครอบครัว ทั้งยังให้รับเด็กที่ไม่มีพ่อแม่เข้ามาดูแลที่กรุงเทพฯด้วย

    ตลอดชายแดนไทยตอนนั้นจึงเกลื่อนไปด้วยค่ายอพยพ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถวบ้านโนนหมากมุ่น บ้านหนองจาน บ้านโนนสูง บ้านอ่างศิลา ฯลฯ จากข้อมูลของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์กรบรรเทาทุกข์อื่น การหนีภัยสงครามของชาวกัมพูชาตั้งแต่ปี ๒๕๑๘-๒๕๒๗ มีค่ายผู้อพยพหลักและค่ายย่อยไม่น้อยกว่า ๖๐ แห่งตลอดแนวชายแดนที่ติดกับกัมพูชา ค่ายที่ถูกกล่าวถึงมากสุดคือ เขาอีด่าง ต.ตาพระยา อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว ซึ่งแบกรับเขมรอพยพไว้กว่า ๒ แสนคน เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสนามที่องค์การระหว่างประเทศรวมทั้งกาชาดสากลให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย และต้องดูแลกันนานร่วม ๑๐ ปี ก่อนจะมีประเทศที่ ๓ ช่วยรับไปต่อหรือส่งกลับไปประเทศของตัวเมื่อเหตุการณ์สงบ

    สมเด็จพระพันปีหลวง พร้อมด้วยในหลวง ร.10 ขณะดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมศูนย์สภากาชาดเขาล้านอีกครั้ง และทั้งสองพระองค์ยังทรงเสด็จไปอีกหลายครั้งเพื่อติดตามงานของศูนย์สภากาดชาดไทยแห่งนี้ด้วยทรงห่วงใย ในช่วงสงครามชิงอำนาจในเขมรติดต่อกันหลายปี ได้มีชาวเขมรอพยพเข้ามาในเขตประเทศไทยไม่ขาดสาย ขณะเดียวกันที่ลาวก็ไม่สงบเช่นกัน เกิดสงครามในประเทศระหว่างขบวนการปเทดลาวกับรัฐบาลฝ่ายขวาในการสนับสนุนจาก ซีไอเอ.ของอเมริกา ชายแดนของประเทศไทยที่ติดต่อกับประเทศลาวและเขมรจึงมีคนหนีตายเข้ามาตลอดชายแดนตั้งแต่ภาคเหนือ อีสาน จนสุดภาคตะวันออก แม้จะมีการวางกับระเบิด ทุ่นระเบิดนับแสนลูกตามแนวชายแดนด้านเขมรเพื่อมิให้ชาวเขมรหนีออกนอกประเทศ แต่ก็ไม่อาจขัดขวางคนหนีตายได้ ทุกวันนี้ก็ยังต้องเก็บกู้กันอยู่ รัฐบาลเขมรเฮง สัมรินยังเรียกร้องมายังรัฐบาลไทยให้ปิดชายแดนไม่ให้คนเขมรหนีเข้ามา แต่ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งไปเยี่ยมเขมรอพยพที่บ้านคลองหว้า ต.ทับพริก อ.อรัญประเทศได้ตอบนักข่าวว่า เราเป็นประเทศเอกราช ใครจะสั่งมาไม่ได้ เมื่อนักข่าวถามว่าเขาขู่จะตอบโต้ พล.อ.เกรียงศักดิ์ตอบว่า การเมืองนั้นจะพูดอะไรก็ได้ เราก็โต้ได้เหมือนกัน อย่างเวียดนามเรียกทูตเราไปต่อว่าและอ่านแถลงการณ์โจมตีเรา เราก็เรียกทูตเขามายื่นประท้วงไปเหมือนกัน ส่วนที่เฮง สัมรินกล่าวเตือนมาว่า ไทยอย่าคิดเล่นกับไฟ นายกฯเกรียงศักดิ์ก็บอกว่า “ผมก็บอกเขาว่า ไฟอย่าคิดเล่นกับน้ำก็แล้วกัน” สภาพค่ายอพยพที่อรัญประเทศก็ไม่ต่างกับที่เขาล้าน จังหวัดตราด คละคลุ้งไปด้วยกลิ่นอุจจาระและปัสสาวะทั่วไปหมด เนื่องจากผู้อพยพปล่อยทั้งทุกข์หนักทุกข์เบาไล่เลือกที่ เจ้าหน้าที่ของศูนย์ได้รายงานนายกรัฐมนตรีว่า ได้สร้างส้วมให้แล้ว แต่ชาวเขมรไม่ยอมเข้า ถนัดแต่ “ไปทุ่ง” เรี่ยราดตามใจตัวเอง เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด นายกรัฐมนตรีจึงสั่งให้ประกาศบังคับทุกคนให้ใช้ส้วมและทิ้งขยะให้เป็นที่ เพื่อสุขภาพของผู้อยู่เอง ถ้าจะใช้วิธีไปทุ่งก็ขอให้ขุดหลุมกลบ และสั่งให้แจกเสียมประจำไว้ทุกครอบครัว ทั้งยังให้รับเด็กที่ไม่มีพ่อแม่เข้ามาดูแลที่กรุงเทพฯด้วย ตลอดชายแดนไทยตอนนั้นจึงเกลื่อนไปด้วยค่ายอพยพ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถวบ้านโนนหมากมุ่น บ้านหนองจาน บ้านโนนสูง บ้านอ่างศิลา ฯลฯ จากข้อมูลของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์กรบรรเทาทุกข์อื่น การหนีภัยสงครามของชาวกัมพูชาตั้งแต่ปี ๒๕๑๘-๒๕๒๗ มีค่ายผู้อพยพหลักและค่ายย่อยไม่น้อยกว่า ๖๐ แห่งตลอดแนวชายแดนที่ติดกับกัมพูชา ค่ายที่ถูกกล่าวถึงมากสุดคือ เขาอีด่าง ต.ตาพระยา อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว ซึ่งแบกรับเขมรอพยพไว้กว่า ๒ แสนคน เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสนามที่องค์การระหว่างประเทศรวมทั้งกาชาดสากลให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย และต้องดูแลกันนานร่วม ๑๐ ปี ก่อนจะมีประเทศที่ ๓ ช่วยรับไปต่อหรือส่งกลับไปประเทศของตัวเมื่อเหตุการณ์สงบ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 304 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ภูมิธรรม" แจงหารือทหารตลอด อ้างยังไม่ต้องปิดชายแดนไทย-เขมร รับปากยึดประชาชน และอธิปไตยเป็นสำคัญ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000051744

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    "ภูมิธรรม" แจงหารือทหารตลอด อ้างยังไม่ต้องปิดชายแดนไทย-เขมร รับปากยึดประชาชน และอธิปไตยเป็นสำคัญ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000051744 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Angry
    Like
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 460 มุมมอง 0 รีวิว
  • "Friedrich Merz ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของเยอรมนี"
    เปรียบเทียบช่วงก่อนการเลือกตั้ง และหลังจากชนะการเลือกตั้ง เกี่ยวกับนโยบายต่อต้านผู้อพยพ:
    - ก่อนการเลือกตั้ง: เราจะตรวจสอบชายแดนทั้งหมดอย่างถาวรและหยุดความพยายามทั้งหมดในการข้ามชายแดนอย่างผิดกฎหมาย

    - วันแรกหลังการเลือกตั้ง: ไม่มีใครพูดถึงการปิดชายแดน
    "Friedrich Merz ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของเยอรมนี" เปรียบเทียบช่วงก่อนการเลือกตั้ง และหลังจากชนะการเลือกตั้ง เกี่ยวกับนโยบายต่อต้านผู้อพยพ: - ก่อนการเลือกตั้ง: เราจะตรวจสอบชายแดนทั้งหมดอย่างถาวรและหยุดความพยายามทั้งหมดในการข้ามชายแดนอย่างผิดกฎหมาย - วันแรกหลังการเลือกตั้ง: ไม่มีใครพูดถึงการปิดชายแดน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 246 มุมมอง 12 0 รีวิว
  • 22 ปี จากจลาจลกัมพูชา สู่ปฏิบัติการโปเชนตง เบื้องหลังความขัดแย้ง ปฏิบัติการที่โลกต้องจดจำ

    ย้อนกลับไปเมื่อ 22 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2546 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงพนมเปญ
    ประเทศกัมพูชา ไม่เพียงแต่สร้างความสูญเสีย ทางกายภาพ แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ในความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและกัมพูชา เหตุจลาจลครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นจากบทความ ในหนังสือพิมพ์กัมพูชา"รัศมี อังกอร์" ที่พาดพิงถึงนักแสดงหญิงชาวไทย "กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง" ว่าได้กล่าวหากัมพูชาเรื่องนครวัด จนนำไปสู่ความโกรธแค้น และความรุนแรง ที่ลุกลามไปถึงการเผาสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ

    จากบทความหนังสือพิมพ์ สู่ความโกลาหล
    ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2546 หนังสือพิมพ์ "รัศมี อังกอร์" ของกัมพูชา ได้ตีพิทพ์เผยแพร่บทความ ที่กล่าวอ้างว่า นักแสดงหญิงชาวไทย "กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง" พูดว่านครวัดเป็นของไทย และกัมพูชาเป็นฝ่ายที่ "ขโมย" นครวัดไป ข้อความนี้แพร่กระจาย ออกไปอย่างรวดเร็ว สร้างกระแสความโกรธเคือง ในหมู่ชาวกัมพูชา แม้ว่ากบ-สุวนันท์ จะออกมาปฏิเสธว่า เธอไม่เคยพูดเช่นนั้น แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้ง กระแสความไม่พอใจได้

    การตอบสนองของฮุนเซ็น
    นายกรัฐมนตรีกัมพูชา "ฮุนเซ็น" ได้กล่าวสนับสนุนข้อความ ในบทความดังกล่าว โดยเปรียบเทียบว่า นักแสดงชาวไทยคนนี้ "ไม่มีค่าเทียบเท่าใบหญ้า ที่ขึ้นใกล้นครวัด" พร้อมทั้งสั่งให้สถานีโทรทัศน์กัมพูชา หยุดการเผยแพร่ละครไทยทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการปลุกระดม ให้ประชาชนกัมพูชา ระลึกถึงรากเหง้าของตนเอง ซึ่งยิ่งกระพือความไม่พอใจ ในวงกว้าง

    จากชุมนุมสู่เหตุการณ์จลาจล เริ่มต้นที่สถานทูตไทย
    เช้าวันที่ 29 มกราคม 2546 กลุ่มชาวกัมพูชาหลายร้อยคน เริ่มรวมตัวกัน ที่หน้าสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ การประท้วงเริ่มจาก การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น เผาธงชาติไทย และป้ายของสถานทูต ก่อนที่จะบานปลายไปสู่ความรุนแรง เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มบุกเข้าไป ในบริเวณสถานทูต

    อพยพเจ้าหน้าที่สถานทูต
    เอกอัครราชทูตไทย ประจำกัมพูชาในขณะนั้น "ชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ" ตัดสินใจสั่งการ ให้เจ้าหน้าที่สถานทูต อพยพออกจากอาคาร โดยปีนรั้วด้านหลังของสถานทูต ไปยังแม่น้ำบาสัก และบางส่วนหลบหนีไปยังสถานทูตญี่ปุ่น ที่อยู่ติดกัน การตัดสินใจที่เด็ดขาดนี้ ช่วยรักษาชีวิตของทุกคน ไว้ได้อย่างปลอดภัย

    ทำลายสถานทูตไทย
    ในช่วงเวลาต่อมา กลุ่มผู้ชุมนุมได้เผา และปล้นสดมสถานทูตไทย รวมถึงทำลายทรัพย์สิ นของธุรกิจไทยในกรุงพนมเปญ เช่น โรงแรม สำนักงาน และร้านค้าต่าง ๆ เหตุการณ์นี้ยิ่งเลวร้ายขึ้น เมื่อมีข่าวลือว่า คนกัมพูชาถูกทำร้ายในประเทศไทย ซึ่งทำให้การจลาจลในพนมเปญ รุนแรงขึ้นไปอีก

    ปฏิบัติการโปเชนตง ความช่วยเหลือจากฟากฟ้า
    หลังจากเกิดเหตุการณ์จลาจล รัฐบาลไทยภายใต้การนำ ของนายกรัฐมนตรี "ดร.ทักษิณ ชินวัตร" ได้ตัดสินใจเปิดปฏิบัติการ "โปเชนตง" เพื่ออพยพคนไทยออกจากกัมพูชา โดยใช้สนามบินเก่า "โปเชนตง" ในกรุงพนมเปญ เป็นจุดรับส่ง โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลกัมพูชา ที่เริ่มเปลี่ยนท่าที และยินยอมให้เครื่องบินทหารไทยเข้าประเทศ

    รายละเอียดของปฏิบัติการ
    วันที่ 30 มกราคม 2546 เวลา 05.15 น. เครื่องบินลำเลียงแบบ C-130H และ G-222 พร้อมหน่วยรบพิเศษ ได้บินจากฐานทัพดอนเมือง ไปยังสนามบินโปเชนตง เพื่ออพยพคนไทยกว่า 700 คน การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีการคุ้มกันอย่างเข้มงวด โดยสามารถนำคนไทย กลับมาได้อย่างปลอดภัยทั้งหมด ในวันเดียว

    ผลกระทบที่เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา
    เหตุการณ์ครั้งนี้ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและกัมพูชา เลวร้ายลงอย่างมาก ไทยตัดสินใจ ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต และปิดชายแดนระหว่างสองประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวในภูมิภาค

    เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญ ของการสื่อสารระหว่างประเทศ และการป้องกันการปลุกระดม ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง การตอบสนองที่รวดเร็ว และเด็ดขาดของรัฐบาลไทยในครั้งนั้น ยังเป็นตัวอย่างของการจัดการวิกฤต ที่มีประสิทธิภาพ

    22 ปี หลังเหตุการณ์จลาจลในพนมเปญ และปฏิบัติการโปเชนตง ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทยและกัมพูชา ทั้งในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการจัดการวิกฤตระดับชาติ เหตุการณ์นี้เน้นย้ำถึง ความสำคัญของความร่วมมือ ความเข้าใจ และการสื่อสารที่ถูกต้อง ระหว่างประชาชน และผู้นำของทั้งสองประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 290850 ม.ค. 2568

    #จลาจลกัมพูชา #ปฏิบัติการโปเชนตง #ไทยกัมพูชา #สถานทูตไทย #ประวัติศาสตร์ไทย #การเมืองระหว่างประเทศ #บทเรียนความขัดแย้ง #ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ #เหตุการณ์ในอดีต







    22 ปี จากจลาจลกัมพูชา สู่ปฏิบัติการโปเชนตง เบื้องหลังความขัดแย้ง ปฏิบัติการที่โลกต้องจดจำ ย้อนกลับไปเมื่อ 22 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2546 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ไม่เพียงแต่สร้างความสูญเสีย ทางกายภาพ แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ในความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและกัมพูชา เหตุจลาจลครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นจากบทความ ในหนังสือพิมพ์กัมพูชา"รัศมี อังกอร์" ที่พาดพิงถึงนักแสดงหญิงชาวไทย "กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง" ว่าได้กล่าวหากัมพูชาเรื่องนครวัด จนนำไปสู่ความโกรธแค้น และความรุนแรง ที่ลุกลามไปถึงการเผาสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ จากบทความหนังสือพิมพ์ สู่ความโกลาหล ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2546 หนังสือพิมพ์ "รัศมี อังกอร์" ของกัมพูชา ได้ตีพิทพ์เผยแพร่บทความ ที่กล่าวอ้างว่า นักแสดงหญิงชาวไทย "กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง" พูดว่านครวัดเป็นของไทย และกัมพูชาเป็นฝ่ายที่ "ขโมย" นครวัดไป ข้อความนี้แพร่กระจาย ออกไปอย่างรวดเร็ว สร้างกระแสความโกรธเคือง ในหมู่ชาวกัมพูชา แม้ว่ากบ-สุวนันท์ จะออกมาปฏิเสธว่า เธอไม่เคยพูดเช่นนั้น แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้ง กระแสความไม่พอใจได้ การตอบสนองของฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา "ฮุนเซ็น" ได้กล่าวสนับสนุนข้อความ ในบทความดังกล่าว โดยเปรียบเทียบว่า นักแสดงชาวไทยคนนี้ "ไม่มีค่าเทียบเท่าใบหญ้า ที่ขึ้นใกล้นครวัด" พร้อมทั้งสั่งให้สถานีโทรทัศน์กัมพูชา หยุดการเผยแพร่ละครไทยทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการปลุกระดม ให้ประชาชนกัมพูชา ระลึกถึงรากเหง้าของตนเอง ซึ่งยิ่งกระพือความไม่พอใจ ในวงกว้าง จากชุมนุมสู่เหตุการณ์จลาจล เริ่มต้นที่สถานทูตไทย เช้าวันที่ 29 มกราคม 2546 กลุ่มชาวกัมพูชาหลายร้อยคน เริ่มรวมตัวกัน ที่หน้าสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ การประท้วงเริ่มจาก การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น เผาธงชาติไทย และป้ายของสถานทูต ก่อนที่จะบานปลายไปสู่ความรุนแรง เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มบุกเข้าไป ในบริเวณสถานทูต อพยพเจ้าหน้าที่สถานทูต เอกอัครราชทูตไทย ประจำกัมพูชาในขณะนั้น "ชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ" ตัดสินใจสั่งการ ให้เจ้าหน้าที่สถานทูต อพยพออกจากอาคาร โดยปีนรั้วด้านหลังของสถานทูต ไปยังแม่น้ำบาสัก และบางส่วนหลบหนีไปยังสถานทูตญี่ปุ่น ที่อยู่ติดกัน การตัดสินใจที่เด็ดขาดนี้ ช่วยรักษาชีวิตของทุกคน ไว้ได้อย่างปลอดภัย ทำลายสถานทูตไทย ในช่วงเวลาต่อมา กลุ่มผู้ชุมนุมได้เผา และปล้นสดมสถานทูตไทย รวมถึงทำลายทรัพย์สิ นของธุรกิจไทยในกรุงพนมเปญ เช่น โรงแรม สำนักงาน และร้านค้าต่าง ๆ เหตุการณ์นี้ยิ่งเลวร้ายขึ้น เมื่อมีข่าวลือว่า คนกัมพูชาถูกทำร้ายในประเทศไทย ซึ่งทำให้การจลาจลในพนมเปญ รุนแรงขึ้นไปอีก ปฏิบัติการโปเชนตง ความช่วยเหลือจากฟากฟ้า หลังจากเกิดเหตุการณ์จลาจล รัฐบาลไทยภายใต้การนำ ของนายกรัฐมนตรี "ดร.ทักษิณ ชินวัตร" ได้ตัดสินใจเปิดปฏิบัติการ "โปเชนตง" เพื่ออพยพคนไทยออกจากกัมพูชา โดยใช้สนามบินเก่า "โปเชนตง" ในกรุงพนมเปญ เป็นจุดรับส่ง โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลกัมพูชา ที่เริ่มเปลี่ยนท่าที และยินยอมให้เครื่องบินทหารไทยเข้าประเทศ รายละเอียดของปฏิบัติการ วันที่ 30 มกราคม 2546 เวลา 05.15 น. เครื่องบินลำเลียงแบบ C-130H และ G-222 พร้อมหน่วยรบพิเศษ ได้บินจากฐานทัพดอนเมือง ไปยังสนามบินโปเชนตง เพื่ออพยพคนไทยกว่า 700 คน การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีการคุ้มกันอย่างเข้มงวด โดยสามารถนำคนไทย กลับมาได้อย่างปลอดภัยทั้งหมด ในวันเดียว ผลกระทบที่เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา เหตุการณ์ครั้งนี้ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและกัมพูชา เลวร้ายลงอย่างมาก ไทยตัดสินใจ ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต และปิดชายแดนระหว่างสองประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวในภูมิภาค เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญ ของการสื่อสารระหว่างประเทศ และการป้องกันการปลุกระดม ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง การตอบสนองที่รวดเร็ว และเด็ดขาดของรัฐบาลไทยในครั้งนั้น ยังเป็นตัวอย่างของการจัดการวิกฤต ที่มีประสิทธิภาพ 22 ปี หลังเหตุการณ์จลาจลในพนมเปญ และปฏิบัติการโปเชนตง ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทยและกัมพูชา ทั้งในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการจัดการวิกฤตระดับชาติ เหตุการณ์นี้เน้นย้ำถึง ความสำคัญของความร่วมมือ ความเข้าใจ และการสื่อสารที่ถูกต้อง ระหว่างประชาชน และผู้นำของทั้งสองประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 290850 ม.ค. 2568 #จลาจลกัมพูชา #ปฏิบัติการโปเชนตง #ไทยกัมพูชา #สถานทูตไทย #ประวัติศาสตร์ไทย #การเมืองระหว่างประเทศ #บทเรียนความขัดแย้ง #ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ #เหตุการณ์ในอดีต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1266 มุมมอง 0 รีวิว
  • 25 ปี “ก๊อด'ส อาร์มี่” บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี บทเรียนแห่งความสูญเสีย และความเด็ดขาด

    เช้าตรู่แห่งความเปลี่ยนแปลง
    ย้อนไปเมื่อ 25 ปี ที่ผ่านมา ในเช้าวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543 ถือเป็นวันที่ชาวราชบุรี และประเทศไทยทั้งประเทศ ไม่มีวันลืมได้ นายพินิจ ปองมณี คนขับรถบัสสาย 18 ในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ได้พบกับเหตุการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา ไปตลอดกาล เมื่อชายสองคนโบกรถ และกลายเป็นจุดเริ่มต้น ของปฏิบัติการก่อการร้าย ที่สร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

    "ก๊อด'ส อาร์มี่" กองกำลังที่อยู่เบื้องหลัง
    กองกำลัง "ก๊อด'ส อาร์มี่" เป็นกลุ่มติดอาวุธ ที่มีจุดกำเนิดจากชายแดนไทย-พม่า กลุ่มนี้นำโดยคู่แฝด “ลูเธอร์ ทู” และ “จอห์นนี่ ทู” ซึ่งได้รับการยกย่อง จากผู้ติดตามว่าเป็น “นักบุญ” และมีพลังเหนือธรรมชาติ แนวทางของกลุ่มคือ การต่อต้านรัฐบาลพม่า เพื่อเรียกร้องสิทธิปกครองตนเอง ของชาวกะเหรี่ยง

    ด้วยแรงกดดัน จากการโจมตีของกองทัพพม่า กลุ่มนี้หันมาใช้วิธีการรุนแรง เช่น การจับตัวประกัน และบุกยึดสถานที่สำคัญ โดยหวังให้ทั่วโลกสนใจ ประเด็นผู้อพยพชายแดน ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนนั้น

    เหตุการณ์การยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี
    เมื่อชายฉกรรจ์ทั้ง 10 คน พร้อมอาวุธครบมือขึ้นรถบัส พวกเขาเริ่มดำเนินแผนการณ์ ด้วยการบุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี สถานที่ที่มีหมอ พยาบาล และผู้ป่วยที่ต้องการการดูแล ในขณะนั้น

    การดำเนินการของกลุ่มก่อการร้าย เป็นไปอย่างรวดเร็ว พวกเขาสามารถควบคุมตัวบุคลากร และผู้ป่วยรวมกว่า 780 คน และตั้งฐานในบริเวณชั้น 2 ของโรงพยาบาล โดยมีเป้าหมายหลักคือ การบีบบังคับให้รัฐบาลไทย ตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง ที่เกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือผู้อพยพ

    ข้อเรียกร้องที่แฝงด้วยความสิ้นหวัง
    ข้อเรียกร้องของ "ก๊อด'ส อาร์มี่" ในครั้งนี้ สะท้อนถึงความสิ้นหวังของพวกเขา
    - ให้หยุดยิงปืนใหญ่ที่ชายแดน ซึ่งกระทบต่อชีวิตผู้อพยพ
    - เรียกร้องให้รัฐบาลไทย ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แก่ผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง
    - เปิดชายแดนไทย-พม่า เพื่อให้ผู้อพยพมีที่พักพิง
    - กดดันรัฐบาลพม่า ให้หยุดการสู้รบ
    - นำแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ ไปรักษากองกำลังกะเหรี่ยง ในชายแดน

    แม้ข้อเรียกร้องเหล่านี้ จะดูมีความหมายในแง่มนุษยธรรม แต่การกระทำของพวกเขา ได้ละเมิดอธิปไตยของไทย และสร้างความเสียหาย ต่อภาพลักษณ์ของกลุ่ม อย่างร้ายแรง

    แผนปฏิบัติการช่วยเหลือ
    รัฐบาลไทยเผชิญกับ ทางเลือกที่ยากลำบาก ระหว่างการตอบสนอง ต่อข้อเรียกร้องของผู้ก่อเหตุ หรือการใช้กำลัง เพื่อยุติสถานการณ์ ในที่สุด พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ผู้บัญชาการกองทัพบก ในขณะนั้น ได้วางแผนปฏิบัติการ ร่วมกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ อรินทราช 26 และนเรศวร 261 เพื่อเข้าเคลียร์พื้นที่และช่วยเหลือตัวประกัน

    ปฏิบัติการช่วงชิงเวลา
    ในคืนวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543 หลังการเจรจาที่ไม่เป็นผลสำเร็จ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ได้ตัดสินใจบุกยึดพื้นที่ในช่วงเวลาที่ผู้ก่อเหตุเริ่มอ่อนล้า ด้วยการจู่โจมอย่างรวดเร็ว และรัดกุม โดยสามารถสังหารผู้ก่อเหตุทั้งหมด 10 คน และช่วยเหลือตัวประกันได้สำเร็จ โดยไม่มีการสูญเสียชีวิต ของพลเรือน

    บทเรียนที่ได้รับ ความสำคัญของการประสานงานหลายฝ่าย
    เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นถึง การประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างกองทัพ ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถลดความสูญเสีย ได้อย่างมาก

    จุดยืนของประเทศไทย
    การปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่า ประเทศไทยจะไม่ยอมจำนน ต่อการก่อการร้าย และพร้อมที่จะปกป้องอธิปไตยของตน

    ผลกระทบต่อกลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่
    การสูญเสียผู้นำสำคัญ ในการปฏิบัติการครั้งนี้ ส่งผลให้กลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ อ่อนแอลงอย่างมาก และในที่สุด ก็สลายตัวลงในปีถัดมา

    25 ปีผ่านไป บทเรียนสู่อนาคต
    เหตุการณ์ในวันนั้น ยังคงเป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ ให้แก่หน่วยงานด้านความมั่นคง และคนไทยทุกคน การเผชิญหน้ากับความท้าทายเช่นนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือ ความเด็ดขาด และความเสียสละ จากทุกฝ่าย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 241345 ม.ค. 2568

    #GodsArmy #ราชบุรี #เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ #บุกโรงพยาบาล #ข่าวด่วนราชบุรี #กองกำลังติดอาวุธ #ประเทศไทย
    25 ปี “ก๊อด'ส อาร์มี่” บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี บทเรียนแห่งความสูญเสีย และความเด็ดขาด เช้าตรู่แห่งความเปลี่ยนแปลง ย้อนไปเมื่อ 25 ปี ที่ผ่านมา ในเช้าวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543 ถือเป็นวันที่ชาวราชบุรี และประเทศไทยทั้งประเทศ ไม่มีวันลืมได้ นายพินิจ ปองมณี คนขับรถบัสสาย 18 ในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ได้พบกับเหตุการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา ไปตลอดกาล เมื่อชายสองคนโบกรถ และกลายเป็นจุดเริ่มต้น ของปฏิบัติการก่อการร้าย ที่สร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย "ก๊อด'ส อาร์มี่" กองกำลังที่อยู่เบื้องหลัง กองกำลัง "ก๊อด'ส อาร์มี่" เป็นกลุ่มติดอาวุธ ที่มีจุดกำเนิดจากชายแดนไทย-พม่า กลุ่มนี้นำโดยคู่แฝด “ลูเธอร์ ทู” และ “จอห์นนี่ ทู” ซึ่งได้รับการยกย่อง จากผู้ติดตามว่าเป็น “นักบุญ” และมีพลังเหนือธรรมชาติ แนวทางของกลุ่มคือ การต่อต้านรัฐบาลพม่า เพื่อเรียกร้องสิทธิปกครองตนเอง ของชาวกะเหรี่ยง ด้วยแรงกดดัน จากการโจมตีของกองทัพพม่า กลุ่มนี้หันมาใช้วิธีการรุนแรง เช่น การจับตัวประกัน และบุกยึดสถานที่สำคัญ โดยหวังให้ทั่วโลกสนใจ ประเด็นผู้อพยพชายแดน ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนนั้น เหตุการณ์การยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อชายฉกรรจ์ทั้ง 10 คน พร้อมอาวุธครบมือขึ้นรถบัส พวกเขาเริ่มดำเนินแผนการณ์ ด้วยการบุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี สถานที่ที่มีหมอ พยาบาล และผู้ป่วยที่ต้องการการดูแล ในขณะนั้น การดำเนินการของกลุ่มก่อการร้าย เป็นไปอย่างรวดเร็ว พวกเขาสามารถควบคุมตัวบุคลากร และผู้ป่วยรวมกว่า 780 คน และตั้งฐานในบริเวณชั้น 2 ของโรงพยาบาล โดยมีเป้าหมายหลักคือ การบีบบังคับให้รัฐบาลไทย ตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง ที่เกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือผู้อพยพ ข้อเรียกร้องที่แฝงด้วยความสิ้นหวัง ข้อเรียกร้องของ "ก๊อด'ส อาร์มี่" ในครั้งนี้ สะท้อนถึงความสิ้นหวังของพวกเขา - ให้หยุดยิงปืนใหญ่ที่ชายแดน ซึ่งกระทบต่อชีวิตผู้อพยพ - เรียกร้องให้รัฐบาลไทย ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แก่ผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง - เปิดชายแดนไทย-พม่า เพื่อให้ผู้อพยพมีที่พักพิง - กดดันรัฐบาลพม่า ให้หยุดการสู้รบ - นำแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ ไปรักษากองกำลังกะเหรี่ยง ในชายแดน แม้ข้อเรียกร้องเหล่านี้ จะดูมีความหมายในแง่มนุษยธรรม แต่การกระทำของพวกเขา ได้ละเมิดอธิปไตยของไทย และสร้างความเสียหาย ต่อภาพลักษณ์ของกลุ่ม อย่างร้ายแรง แผนปฏิบัติการช่วยเหลือ รัฐบาลไทยเผชิญกับ ทางเลือกที่ยากลำบาก ระหว่างการตอบสนอง ต่อข้อเรียกร้องของผู้ก่อเหตุ หรือการใช้กำลัง เพื่อยุติสถานการณ์ ในที่สุด พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ผู้บัญชาการกองทัพบก ในขณะนั้น ได้วางแผนปฏิบัติการ ร่วมกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ อรินทราช 26 และนเรศวร 261 เพื่อเข้าเคลียร์พื้นที่และช่วยเหลือตัวประกัน ปฏิบัติการช่วงชิงเวลา ในคืนวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543 หลังการเจรจาที่ไม่เป็นผลสำเร็จ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ได้ตัดสินใจบุกยึดพื้นที่ในช่วงเวลาที่ผู้ก่อเหตุเริ่มอ่อนล้า ด้วยการจู่โจมอย่างรวดเร็ว และรัดกุม โดยสามารถสังหารผู้ก่อเหตุทั้งหมด 10 คน และช่วยเหลือตัวประกันได้สำเร็จ โดยไม่มีการสูญเสียชีวิต ของพลเรือน บทเรียนที่ได้รับ ความสำคัญของการประสานงานหลายฝ่าย เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นถึง การประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างกองทัพ ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถลดความสูญเสีย ได้อย่างมาก จุดยืนของประเทศไทย การปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่า ประเทศไทยจะไม่ยอมจำนน ต่อการก่อการร้าย และพร้อมที่จะปกป้องอธิปไตยของตน ผลกระทบต่อกลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ การสูญเสียผู้นำสำคัญ ในการปฏิบัติการครั้งนี้ ส่งผลให้กลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ อ่อนแอลงอย่างมาก และในที่สุด ก็สลายตัวลงในปีถัดมา 25 ปีผ่านไป บทเรียนสู่อนาคต เหตุการณ์ในวันนั้น ยังคงเป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ ให้แก่หน่วยงานด้านความมั่นคง และคนไทยทุกคน การเผชิญหน้ากับความท้าทายเช่นนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือ ความเด็ดขาด และความเสียสละ จากทุกฝ่าย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 241345 ม.ค. 2568 #GodsArmy #ราชบุรี #เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ #บุกโรงพยาบาล #ข่าวด่วนราชบุรี #กองกำลังติดอาวุธ #ประเทศไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1020 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐฯ กล่าวว่าเขา “สนับสนุนชาวปาเลสอย่างมาก” และ “ทำเพื่อชุมชนปาเลสมากกว่าใครๆ” โดยในบทสัมภาษณ์ เขายังเรียกตัวเองว่าเป็น “กลุ่มไซออนิสต์” อีกด้วย
    “ผมคือคนที่เปิดเผยทรัพย์สินทั้งหมด ผมคือคนที่ทำให้แน่ใจว่าผมสามารถพาชาวอียิปต์เปิดชายแดนเพื่อให้สินค้าต่างๆ เช่น ยาและอาหารผ่านเข้าประเทศได้” เขากล่าวกับนักข่าว ในรายการทอล์คโชว์ทาง YouTube 360 With Speedy
    เมื่อถูกถามถึงการสนับสนุนเอล รวมถึงการจัดหายุทโธปกรณ์และความช่วยเหลือทางทหาร ไบเดนกล่าวว่าเขา "ปฏิเสธที่จะส่งยุทโธปกรณ์ร้ายแรงให้แก่เอล"
    “ผมชี้แจงให้ชัดเจนว่า เอล ไม่สามารถใช้สิ่งที่เรามอบให้พวกเขาเพื่อใช้ในพื้นที่พลเรือนได้” เขากล่าว
    การอ้างว่าไบเดนสนับสนุนชาวปาเลสถูกตำหนิอย่างรวดเร็วทางออนไลน์
    “คุณคงคิดว่าคนที่มีส่วนในการดับชีพชาวปาเลสไป 38,000 คนในช่วงที่ดำรงตำแหน่งน่าจะมีความถ่อมตัวมากกว่านี้หน่อย” นักวิจารณ์คนหนึ่งเขียนบนโซเชียลมีเดียในการโพสต์ซ้ำบทสัมภาษณ์ของไบเดน
    .
    #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews
    #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง
    -------------------------------
    สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐฯ กล่าวว่าเขา “สนับสนุนชาวปาเลสอย่างมาก” และ “ทำเพื่อชุมชนปาเลสมากกว่าใครๆ” โดยในบทสัมภาษณ์ เขายังเรียกตัวเองว่าเป็น “กลุ่มไซออนิสต์” อีกด้วย “ผมคือคนที่เปิดเผยทรัพย์สินทั้งหมด ผมคือคนที่ทำให้แน่ใจว่าผมสามารถพาชาวอียิปต์เปิดชายแดนเพื่อให้สินค้าต่างๆ เช่น ยาและอาหารผ่านเข้าประเทศได้” เขากล่าวกับนักข่าว ในรายการทอล์คโชว์ทาง YouTube 360 With Speedy เมื่อถูกถามถึงการสนับสนุนเอล รวมถึงการจัดหายุทโธปกรณ์และความช่วยเหลือทางทหาร ไบเดนกล่าวว่าเขา "ปฏิเสธที่จะส่งยุทโธปกรณ์ร้ายแรงให้แก่เอล" “ผมชี้แจงให้ชัดเจนว่า เอล ไม่สามารถใช้สิ่งที่เรามอบให้พวกเขาเพื่อใช้ในพื้นที่พลเรือนได้” เขากล่าว การอ้างว่าไบเดนสนับสนุนชาวปาเลสถูกตำหนิอย่างรวดเร็วทางออนไลน์ “คุณคงคิดว่าคนที่มีส่วนในการดับชีพชาวปาเลสไป 38,000 คนในช่วงที่ดำรงตำแหน่งน่าจะมีความถ่อมตัวมากกว่านี้หน่อย” นักวิจารณ์คนหนึ่งเขียนบนโซเชียลมีเดียในการโพสต์ซ้ำบทสัมภาษณ์ของไบเดน . #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง ------------------------------- สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 387 มุมมอง 0 รีวิว