• กาแฟ 1ถุง เงิน 88บาท ต้องเข้าแล้ว!!! ชาวเขมรป่วนอีก! คล้องผ้าขาวม้ารูปธงชาติกัมพูชาเข้าเที่ยว“ปราสาทตาควาย” ถูกทหารไทยห้าม โวยไม่พอใจ
    https://www.thai-tai.tv/news/20058/
    .
    #ปราสาทตาควาย #สุรินทร์ #ชายแดนไทยกัมพูชา #ข้อพิพาทดินแดน #ธงชาติกัมพูชา #นักท่องเที่ยว #ทหารไทย #โซเชียลมีเดีย #ปะทะคารม #การเมืองชายแดน
    กาแฟ 1ถุง เงิน 88บาท ต้องเข้าแล้ว!!! ชาวเขมรป่วนอีก! คล้องผ้าขาวม้ารูปธงชาติกัมพูชาเข้าเที่ยว“ปราสาทตาควาย” ถูกทหารไทยห้าม โวยไม่พอใจ https://www.thai-tai.tv/news/20058/ . #ปราสาทตาควาย #สุรินทร์ #ชายแดนไทยกัมพูชา #ข้อพิพาทดินแดน #ธงชาติกัมพูชา #นักท่องเที่ยว #ทหารไทย #โซเชียลมีเดีย #ปะทะคารม #การเมืองชายแดน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 33 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตบรางวัล! จ่าสมครกวัย72 ฮีโร่เขมรขู่ยิงทหารไทย ได้กาแฟ 1ถุง เงิน 88บาท
    https://www.thai-tai.tv/news/20047/
    .
    #ชายแดนไทยกัมพูชา #ทหารกัมพูชา #ปะทะคารม #ภูผี #กันทรลักษ์ #ศรีสะเกษ #RPG #จ่าสิบโทสมครก #รางวัลกล้าหาญ #ชาตินิยม #โซเชียลมีเดีย #ข่าวชายแดน
    ตบรางวัล! จ่าสมครกวัย72 ฮีโร่เขมรขู่ยิงทหารไทย ได้กาแฟ 1ถุง เงิน 88บาท https://www.thai-tai.tv/news/20047/ . #ชายแดนไทยกัมพูชา #ทหารกัมพูชา #ปะทะคารม #ภูผี #กันทรลักษ์ #ศรีสะเกษ #RPG #จ่าสิบโทสมครก #รางวัลกล้าหาญ #ชาตินิยม #โซเชียลมีเดีย #ข่าวชายแดน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 35 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทัพภาค 2 เปิดกลยุทธ์ทหารกัมพูชา ตั้งใจลาดตระเวนล้ำเขตเจอทหารไทย จัดฉากยั่วยุ ถ่ายคลิปทำไอโอ โชว์ประชาชน ข่มทหารไทยได้

    เมื่อวันที่ 5 ก.ค.68 จากเหตุการณ์ปะทะคารมระหว่างทหารไทยและทหารกัมพูชาบริเวณชายแดน โดยทางฝ่ายกัมพูชานำคลิปไปเผยแพร่ในโซเชียลต่อเนื่อง นับตั้งแต่เหตุการณ์การโต้เถียงระหว่างเจ้าหน้าที่ไทย-กัมพูชา ที่บริเวณปราสาทตาเมือนธม วันที่ 27 ม.ย. เรื่องการแจ้งเตือนนักท่องเที่ยว โดยทหารกัมพูชาชี้หน้าทหารไทย

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/crime/detail/9680000063321

    #Thaitimes #MGROnline #กัมพูชา
    กองทัพภาค 2 เปิดกลยุทธ์ทหารกัมพูชา ตั้งใจลาดตระเวนล้ำเขตเจอทหารไทย จัดฉากยั่วยุ ถ่ายคลิปทำไอโอ โชว์ประชาชน ข่มทหารไทยได้ • เมื่อวันที่ 5 ก.ค.68 จากเหตุการณ์ปะทะคารมระหว่างทหารไทยและทหารกัมพูชาบริเวณชายแดน โดยทางฝ่ายกัมพูชานำคลิปไปเผยแพร่ในโซเชียลต่อเนื่อง นับตั้งแต่เหตุการณ์การโต้เถียงระหว่างเจ้าหน้าที่ไทย-กัมพูชา ที่บริเวณปราสาทตาเมือนธม วันที่ 27 ม.ย. เรื่องการแจ้งเตือนนักท่องเที่ยว โดยทหารกัมพูชาชี้หน้าทหารไทย • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/crime/detail/9680000063321 • #Thaitimes #MGROnline #กัมพูชา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 42 มุมมอง 0 รีวิว
  • โฆษกกองทัพบก แจงเหตุทหารไทย-กัมพูชา ปะทะคารมกัน ไม่รุนแรง พบทหารกัมพูชาลาดตระเวนชายแดนบ่อยขึ้น มีบิ๊กทหารร่วมด้วย
    https://www.thai-tai.tv/news/20026/
    .
    #ชายแดนไทยกัมพูชา #ปราสาทโดนตวล #เขาพระวิหาร #ศรีสะเกษ #กองกำลังสุรนารี #ทหารพราน #สันติวิธี #พลตวินธัย #กองทัพบก #ข่าวชายแดน
    โฆษกกองทัพบก แจงเหตุทหารไทย-กัมพูชา ปะทะคารมกัน ไม่รุนแรง พบทหารกัมพูชาลาดตระเวนชายแดนบ่อยขึ้น มีบิ๊กทหารร่วมด้วย https://www.thai-tai.tv/news/20026/ . #ชายแดนไทยกัมพูชา #ปราสาทโดนตวล #เขาพระวิหาร #ศรีสะเกษ #กองกำลังสุรนารี #ทหารพราน #สันติวิธี #พลตวินธัย #กองทัพบก #ข่าวชายแดน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 44 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทภ.2 แจงคลิปทหารไทย-เขมร ปะทะคารมเดือดกลางปราสาทตาเมือนธม
    https://www.thai-tai.tv/news/19955/
    .
    #ปราสาทตาเมือนธม #เขตชายแดนไทยกัมพูชา #กองทัพภาคที่2 #สุรินทร์ #นักท่องเที่ยวไทย #ความเข้าใจผิด #สถานการณ์ชายแดน #ข่าวจริง #ระเบียบการเข้าชม
    ทภ.2 แจงคลิปทหารไทย-เขมร ปะทะคารมเดือดกลางปราสาทตาเมือนธม https://www.thai-tai.tv/news/19955/ . #ปราสาทตาเมือนธม #เขตชายแดนไทยกัมพูชา #กองทัพภาคที่2 #สุรินทร์ #นักท่องเที่ยวไทย #ความเข้าใจผิด #สถานการณ์ชายแดน #ข่าวจริง #ระเบียบการเข้าชม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 85 มุมมอง 0 รีวิว
  • สงบศึกชายแดนแต่เดือดใน ครม.! "ภูมิธรรม-อนุทิน" ปะทะคารมร้อนแรง ปมปรับ ครม. "ภูมิธรรม" ยันคุยนโยบายไม่ใช่เก้าอี้ "อนุทิน" สวนกลับ "ไม่คุยกระทรวงแล้วจะอยู่ได้ไง"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000054219

    #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    สงบศึกชายแดนแต่เดือดใน ครม.! "ภูมิธรรม-อนุทิน" ปะทะคารมร้อนแรง ปมปรับ ครม. "ภูมิธรรม" ยันคุยนโยบายไม่ใช่เก้าอี้ "อนุทิน" สวนกลับ "ไม่คุยกระทรวงแล้วจะอยู่ได้ไง" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000054219 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Like
    Haha
    Love
    Sad
    9
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1032 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ส.อ.ชัยบุญ นวนจันทร์" สังกัด ร.23 พัน.4 คือ "ทหารไทย" ใจกล้า ที่ปะทะคารมกับ "ทหารเขมร" ขณะยกพวกป่วนปราสาทตาเมือนธมจนทหารเขมรต้องถอยกรูด

    ขณะที่ทหารเขมรต้องถอยเพราะทหารไทย แต่นายภูมิธรรม "นักการเมืองไทย" ที่ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กลับมีคำสั่งให้ทหารไทยถอนกำลังออกจากพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ซึ่งเป็นเขตอธิปไตยของไทยเพื่อลดการปะทะลง

    แต่เหตุการณ์ปัจจุบันขณะนี้มีรายงานจาก คนไทยที่ขึ้นไปเที่ยวกลับพบว่า จนท. ทหารไทยยังอยู่ตรึงกำลังครบ ไม่มีทหารคนไหนถอยลงมาแม้แต่คนเดียว

    เครดิตคลิปจากเพจ Siam Drama Addict V3
    https://web.facebook.com/share/p/1KnsC2mkBD/
    "ส.อ.ชัยบุญ นวนจันทร์" สังกัด ร.23 พัน.4 คือ "ทหารไทย" ใจกล้า ที่ปะทะคารมกับ "ทหารเขมร" ขณะยกพวกป่วนปราสาทตาเมือนธมจนทหารเขมรต้องถอยกรูด ขณะที่ทหารเขมรต้องถอยเพราะทหารไทย แต่นายภูมิธรรม "นักการเมืองไทย" ที่ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กลับมีคำสั่งให้ทหารไทยถอนกำลังออกจากพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ซึ่งเป็นเขตอธิปไตยของไทยเพื่อลดการปะทะลง แต่เหตุการณ์ปัจจุบันขณะนี้มีรายงานจาก คนไทยที่ขึ้นไปเที่ยวกลับพบว่า จนท. ทหารไทยยังอยู่ตรึงกำลังครบ ไม่มีทหารคนไหนถอยลงมาแม้แต่คนเดียว เครดิตคลิปจากเพจ Siam Drama Addict V3 https://web.facebook.com/share/p/1KnsC2mkBD/
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 495 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำเนียบขาวเปิดเผยหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ พูดคุยกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี เป็นครั้งแรก หลังจากการปะทะคารมอย่างดุเดือดที่ทำเนียบขาวเมื่อเดือนที่แล้ว โดยสหรัฐจะยืนยันจะยังคงแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองกับยูเครนต่อไป "เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการป้องกันประเทศ"

    นอกจากนี้ ทรัมป์ยังบอกกับเซเลนสกีอีกว่าสหรัฐพร้อมที่จะเข้ามาช่วยจัดการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซาโปริซเซีย (Zaporizhzhia Nuclear Power - ZNPP) ในภูมิภาคซาโปริซเซีย ซึ่งขณะนี้อยู่ในการควบคุมของรัสเซีย

    โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้นับเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นหนึ่งในสิบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ของโลก

    ทำเนียบขาวเผยว่า หากสหรัฐเป็นเจ้าของโครงสร้างด้านพลังงานของยูเครน นั่นจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของยูเครนเช่นกัน!
    ทำเนียบขาวเปิดเผยหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ พูดคุยกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี เป็นครั้งแรก หลังจากการปะทะคารมอย่างดุเดือดที่ทำเนียบขาวเมื่อเดือนที่แล้ว โดยสหรัฐจะยืนยันจะยังคงแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองกับยูเครนต่อไป "เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการป้องกันประเทศ" นอกจากนี้ ทรัมป์ยังบอกกับเซเลนสกีอีกว่าสหรัฐพร้อมที่จะเข้ามาช่วยจัดการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซาโปริซเซีย (Zaporizhzhia Nuclear Power - ZNPP) ในภูมิภาคซาโปริซเซีย ซึ่งขณะนี้อยู่ในการควบคุมของรัสเซีย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้นับเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นหนึ่งในสิบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ของโลก ทำเนียบขาวเผยว่า หากสหรัฐเป็นเจ้าของโครงสร้างด้านพลังงานของยูเครน นั่นจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของยูเครนเช่นกัน!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 363 มุมมอง 0 รีวิว
  • อเมริกาเล็งใช้การประชุมกับคณะเจรจายูเครนในซาอุดีอาระเบียที่กำหนดจัดขึ้นวันอังคาร (11 มี.ค.) เพื่อวัดใจว่า เคียฟยินยอมพร้อมใจสละดินแดนให้รัสเซียเพื่อยุติสงคราม และจริงจังกับการปรับปรุงความสัมพันธ์กับคณะบริหารของทรัมป์หรือไม่ ขณะที่ทั้งทรัมป์และเซเลนสกี้ต่างแสดงความเห็นแง่ดีว่า การหารือจะมีความคืบหน้าและมีผลลัพธ์ที่ดี
    .
    มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกเดินทางไปยังเมืองเจดดาห์ของซาอุดีอาระเบียเมื่อวันอาทิตย์ (9 มี.ค.) เพื่อหารือกับคณะเจ้าหน้าที่ยูเครนที่นำโดยอันเดร เยมาร์ค หัวหน้าคณะทำงานของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ รวมถึงอันดรี ซีบิกา รัฐมนตรีต่างประเทศ, รัสเทม ยูเมรอฟ รัฐมนตรีกลาโหม และพาฟโล ปาลิซา ผู้บัญชาการทหาร
    .
    คณะเจ้าหน้าที่ของอเมริกายังประกอบด้วยไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษดูแลเรื่องตะวันออกกลางของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    .
    เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของสหรัฐฯ เผยว่า วอชิงตันต้องการใช้โอกาสนี้พิจารณาว่า ยูเครนต้องการเพียงสันติภาพที่เป็นธรรมหรือสันติภาพที่เป็นจริง สนใจแค่พรมแดนเดิมในปี 2014 หรือพรมแดนในปี 2022 หรืออีกนัยหนึ่งคือยูเครนพร้อมประนีประนอมด้วยการยกดินแดนบางส่วนให้รัสเซียเพื่อแลกกับการยุติสงครามหรือไม่
    .
    ขณะเดียวกัน ไบรอัน ฮิวจ์ โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของอเมริกา แถลงว่า เซเลนสกี้มีความคืบหน้าในการฟื้นคืนความสัมพันธ์วอชิงตัน-เคียฟ หลังจากปะทะคารมกับทรัมป์ระหว่างเยือนทำเนียบขาวเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ และสำทับว่า อเมริกาเฝ้ารอว่า จะเห็นการดำเนินการที่ดีเพิ่มเติมซึ่งจะนำไปสู่การยุติสงครามโหดร้ายในยูเครน
    .
    ด้านทรัมป์แสดงความเห็นแง่ดีว่า การหารือที่เจดดาห์จะมีความคืบหน้าอย่างมาก
    .
    วิตคอฟฟ์ซึ่งเป็นผู้จัดการการเจรจา เผยว่า เป้าหมายคือ การบรรลุกรอบโครงข้อตกลงสันติภาพและข้อตกลงหยุดยิงเบื้องต้น
    .
    ทั้งนี้ เซเลนสกี้ต้องการให้มการหยุดยิงทางอากาศและทะเล ตลอดจนถึงการแลกเปลี่ยนนักโทษ เพื่อทดสอบความมุ่งมั่นในการยุติสงครามของรัสเซีย ขณะที่มอสโกคัดค้านแนวคิดข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราวที่อังกฤษและฝรั่งเศสเสนอ เนื่องจากเห็นว่า เป็นการซื้อเวลาของเคียฟเพื่อป้องกันไม่ให้กองทัพยูเครนล่มสลาย
    .
    ทางฝ่ายเซเลนสกี้กล่าวเมื่อคืนวันอาทิตย์ก่อนออกเดินทางไปซาอุดีอาระเบีย ว่า เขาหวังว่า การเจรจาระหว่างทีมเจ้าหน้าที่ยูเครนกับอเมริกาจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ทั้งในด้านความคืบหน้าเกี่ยวกับสันติภาพและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของอเมริกา ทั้งนี้ ประธานาธิบดียูเครนมีกำหนดการเข้าพบมกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ของซาอุดีอาระเบีย ในวันจันทร์ (10 ) แต่การเจรจากับทีมของสหรัฐฯในวันอังคารนั้น ตามรายงานข่าวบอกว่าเป็นภารกิจของทีมเจรจาฝ่ายยูเครน
    .
    เซเลนสกี้เสริมว่า ยูเครนพร้อมลงนามข้อตกลงแร่ธาตุกับอเมริกา ซึ่งจะมีการจัดตั้งกองทุนร่วมจากการขายแร่ธาตุของยูเครน ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ข้อตกลงนี้มีความสำคัญต่อการที่อเมริกาจะให้การสนับสนุนเคียฟต่อไป
    .
    อย่างไรก็ดี ขณะที่การสนับสนุนของอเมริกายังไร้ความแน่นอน เซเลนสกี้ได้เรียกร้องให้พวกพันธมิตรยุโรปเพิ่มการสนับสนุนตนเอง ขณะที่เคียฟเพลี่ยงพล้ำในสนามรบมากขึ้นและกำลังถูกบดขยี้หนักให้ล่าถอยออกจากแคว้นคูร์สก์ของรัสเซีย
    .
    สำหรับมุมมองของพันธมิตรยุโรปเกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพนั้น มีการเตือนว่า ยูเครนควรทำข้อตกลงกับรัสเซียภายใต้จุดยืนที่แข็งแกร่งเท่านั้น อีกทั้งไม่ควรรีบร้อนเจรจากับผู้รุกราน
    .
    ทั้งนี้ เซเลนสกี้ระบุว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ไม่ต้องการสันติภาพ อีกทั้งบอกว่ารัสเซียยังจะโจมตีประเทศยุโรปอื่นๆ ต่อไปอีก ถ้าที่สุดแล้วไม่มีผลลัพธ์ชัดเจนว่า รัสเซียพ่ายแพ้ในการรุกรานยูเครน
    .
    ในทางกลับกัน วอชิงตันพยายามบีบทุกทางให้เคียฟยอมเจรจายุติสงครามกับรัสเซีย โดยล่าสุดถึงขั้นที่สหรัฐฯระงับการให้ความช่วยเหลือทางทหารและการแบ่งปันข้อมูลข่าวกรอง รวมทั้งการเข้าถึงภาพถ่ายดาวเทียมแก่ยูเครน โดยไม่ฟังเสียงพวกโปรยูเครนที่อ้างว่า ความเคลื่อนไหวนี้เสี่ยงทำให้สงครามยืดเยื้อออกไป เนื่องจากรัสเซียจะยิ่งแข็งแกร่งขึ้นและมีแนวโน้มลดลงในการยอมยุติศึก และยอมทำข้อตกลงสันติภาพแบบเท่าเทียมกับยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000023235
    ..............
    Sondhi X
    อเมริกาเล็งใช้การประชุมกับคณะเจรจายูเครนในซาอุดีอาระเบียที่กำหนดจัดขึ้นวันอังคาร (11 มี.ค.) เพื่อวัดใจว่า เคียฟยินยอมพร้อมใจสละดินแดนให้รัสเซียเพื่อยุติสงคราม และจริงจังกับการปรับปรุงความสัมพันธ์กับคณะบริหารของทรัมป์หรือไม่ ขณะที่ทั้งทรัมป์และเซเลนสกี้ต่างแสดงความเห็นแง่ดีว่า การหารือจะมีความคืบหน้าและมีผลลัพธ์ที่ดี . มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกเดินทางไปยังเมืองเจดดาห์ของซาอุดีอาระเบียเมื่อวันอาทิตย์ (9 มี.ค.) เพื่อหารือกับคณะเจ้าหน้าที่ยูเครนที่นำโดยอันเดร เยมาร์ค หัวหน้าคณะทำงานของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ รวมถึงอันดรี ซีบิกา รัฐมนตรีต่างประเทศ, รัสเทม ยูเมรอฟ รัฐมนตรีกลาโหม และพาฟโล ปาลิซา ผู้บัญชาการทหาร . คณะเจ้าหน้าที่ของอเมริกายังประกอบด้วยไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษดูแลเรื่องตะวันออกกลางของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ . เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของสหรัฐฯ เผยว่า วอชิงตันต้องการใช้โอกาสนี้พิจารณาว่า ยูเครนต้องการเพียงสันติภาพที่เป็นธรรมหรือสันติภาพที่เป็นจริง สนใจแค่พรมแดนเดิมในปี 2014 หรือพรมแดนในปี 2022 หรืออีกนัยหนึ่งคือยูเครนพร้อมประนีประนอมด้วยการยกดินแดนบางส่วนให้รัสเซียเพื่อแลกกับการยุติสงครามหรือไม่ . ขณะเดียวกัน ไบรอัน ฮิวจ์ โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของอเมริกา แถลงว่า เซเลนสกี้มีความคืบหน้าในการฟื้นคืนความสัมพันธ์วอชิงตัน-เคียฟ หลังจากปะทะคารมกับทรัมป์ระหว่างเยือนทำเนียบขาวเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ และสำทับว่า อเมริกาเฝ้ารอว่า จะเห็นการดำเนินการที่ดีเพิ่มเติมซึ่งจะนำไปสู่การยุติสงครามโหดร้ายในยูเครน . ด้านทรัมป์แสดงความเห็นแง่ดีว่า การหารือที่เจดดาห์จะมีความคืบหน้าอย่างมาก . วิตคอฟฟ์ซึ่งเป็นผู้จัดการการเจรจา เผยว่า เป้าหมายคือ การบรรลุกรอบโครงข้อตกลงสันติภาพและข้อตกลงหยุดยิงเบื้องต้น . ทั้งนี้ เซเลนสกี้ต้องการให้มการหยุดยิงทางอากาศและทะเล ตลอดจนถึงการแลกเปลี่ยนนักโทษ เพื่อทดสอบความมุ่งมั่นในการยุติสงครามของรัสเซีย ขณะที่มอสโกคัดค้านแนวคิดข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราวที่อังกฤษและฝรั่งเศสเสนอ เนื่องจากเห็นว่า เป็นการซื้อเวลาของเคียฟเพื่อป้องกันไม่ให้กองทัพยูเครนล่มสลาย . ทางฝ่ายเซเลนสกี้กล่าวเมื่อคืนวันอาทิตย์ก่อนออกเดินทางไปซาอุดีอาระเบีย ว่า เขาหวังว่า การเจรจาระหว่างทีมเจ้าหน้าที่ยูเครนกับอเมริกาจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ทั้งในด้านความคืบหน้าเกี่ยวกับสันติภาพและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของอเมริกา ทั้งนี้ ประธานาธิบดียูเครนมีกำหนดการเข้าพบมกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ของซาอุดีอาระเบีย ในวันจันทร์ (10 ) แต่การเจรจากับทีมของสหรัฐฯในวันอังคารนั้น ตามรายงานข่าวบอกว่าเป็นภารกิจของทีมเจรจาฝ่ายยูเครน . เซเลนสกี้เสริมว่า ยูเครนพร้อมลงนามข้อตกลงแร่ธาตุกับอเมริกา ซึ่งจะมีการจัดตั้งกองทุนร่วมจากการขายแร่ธาตุของยูเครน ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ข้อตกลงนี้มีความสำคัญต่อการที่อเมริกาจะให้การสนับสนุนเคียฟต่อไป . อย่างไรก็ดี ขณะที่การสนับสนุนของอเมริกายังไร้ความแน่นอน เซเลนสกี้ได้เรียกร้องให้พวกพันธมิตรยุโรปเพิ่มการสนับสนุนตนเอง ขณะที่เคียฟเพลี่ยงพล้ำในสนามรบมากขึ้นและกำลังถูกบดขยี้หนักให้ล่าถอยออกจากแคว้นคูร์สก์ของรัสเซีย . สำหรับมุมมองของพันธมิตรยุโรปเกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพนั้น มีการเตือนว่า ยูเครนควรทำข้อตกลงกับรัสเซียภายใต้จุดยืนที่แข็งแกร่งเท่านั้น อีกทั้งไม่ควรรีบร้อนเจรจากับผู้รุกราน . ทั้งนี้ เซเลนสกี้ระบุว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ไม่ต้องการสันติภาพ อีกทั้งบอกว่ารัสเซียยังจะโจมตีประเทศยุโรปอื่นๆ ต่อไปอีก ถ้าที่สุดแล้วไม่มีผลลัพธ์ชัดเจนว่า รัสเซียพ่ายแพ้ในการรุกรานยูเครน . ในทางกลับกัน วอชิงตันพยายามบีบทุกทางให้เคียฟยอมเจรจายุติสงครามกับรัสเซีย โดยล่าสุดถึงขั้นที่สหรัฐฯระงับการให้ความช่วยเหลือทางทหารและการแบ่งปันข้อมูลข่าวกรอง รวมทั้งการเข้าถึงภาพถ่ายดาวเทียมแก่ยูเครน โดยไม่ฟังเสียงพวกโปรยูเครนที่อ้างว่า ความเคลื่อนไหวนี้เสี่ยงทำให้สงครามยืดเยื้อออกไป เนื่องจากรัสเซียจะยิ่งแข็งแกร่งขึ้นและมีแนวโน้มลดลงในการยอมยุติศึก และยอมทำข้อตกลงสันติภาพแบบเท่าเทียมกับยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000023235 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1692 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์สั่ง “ระงับ” ความช่วยเหลือยูเครนเพื่อบีบเซเลนสกีร่วมเจรจายุติสงครามกับรัสเซีย ลั่นไม่อดทนกับผู้นำเคียฟอีกต่อไป ด้านรองประธานาธิบดีแวนซ์ก็สำทับวิพากษ์วิจารณ์ยุโรปกำลังทำให้ยูเครนตกอยู่ในอันตรายด้วยการไม่กดดันให้เซเลนสกีหาทางยุติสงคราม แต่กลับสนับสนุนให้เคียฟสู้ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ขณะที่ทางยูเครนแถลงวันอังคาร (4 มี.ค.) ว่า กองทหารของตนซึ่งกำลังสู้รบกับฝ่ายรัสเซียอยู่ ยังสามารถรักษาสถานการณ์ในสมรภูมิเอาไว้ได้ด้วยตัวเอง
    .
    ความเคลื่อนไหวเหล่านี้มีขึ้นหลังการประชุมที่กลายเป็นการปะทะคารมอย่างดุเดือด ในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ (28 ก.พ.) ที่ผ่านมา โดยที่ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดี เจดี แวนซ์ รุมทึ้งโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน ที่ไม่ยินยอมเข้าเจรจาสร้างสันติภาพกับรัสเซียโดยรวดเร็ว รวมทั้งกล่าวหาประธานาธิบดียูเครน ไม่เคารพและไม่สำนึกบุญคุณอเมริกาอย่างเพียงพอ ทั้งที่สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือทางทหารเป็นจำนวนมหาศาลนับจากเคียฟถูกรัสเซียรุกรานเมื่อ 3 ปีที่แล้ว
    .
    ในวันจันทร์ (3) สื่อต่างๆ พากันรายงานข่าวโดยอ้างเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเปิดเผย ว่า ทรัมป์เวลานี้โฟกัสอยู่ที่การทำให้บรรลุข้อตกลงสันติภาพระหว่างยูเครนกับรัสเซีย และต้องการให้เซเลนสกีมุ่งมั่นกับเป้าหมายเดียวกันนี้ เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวยังระบุด้วยว่า ขณะนี้อเมริกาได้ระงับเพื่อดำเนินการทบทวนความช่วยเหลือที่ให้แก่ยูเครนแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุประสงค์ของทรัมป์ดังกล่าวข้างต้นจะบรรลุผล โดยคำสั่งนี้จะมีผลบังคับใช้จนกว่าทรัมป์จะตัดสินใจว่า ยูเครนแสดงความมุ่งมั่นในการเจรจาสันติภาพกับรัสเซีย
    .
    ความเคลื่อนไหวคราวนี้มีความร้ายแรงยิ่งกว่าที่ทรัมป์ประกาศตอนกลับเข้าสู่ทำเนียบขาวเสียอีก โดยในตอนนั้นเป็นการระบุว่าสหรัฐฯ จะไม่ให้ความช่วยเหลือใหม่ๆ แก่ยูเครน แต่สำหรับคำสั่งล่าสุดนี้เป็นการระงับการจัดส่งอาวุธที่รวมถึงกระสุนและขีปนาวุธ ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน แล้ว แต่ยังอยู่ในกระบวนการจัดหาและจัดส่ง
    .
    ทางด้านสมาชิกพรรคเดโมแครตในรัฐสภาสหรัฐฯ ออกมาแสดงปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วด้วยการประณามการตัดสินใจครั้งนี้ของทรัมป์ เป็นต้นว่า ส.ว. จีน ชาฮีน ซึ่งเป็นสมาชิกในคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ของวุฒิสภา ตำหนิว่า การระงับความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนเท่ากับว่า ทรัมป์เปิดกว้างให้ปูตินรุกรานและกระทำรุนแรงต่อประชาชนยูเครนหนักข้อขึ้นซึ่งจะส่งผลร้ายแรงอย่างไม่ต้องสงสัย
    .
    ทรัมป์ที่ประกาศระหว่างหาเสียงว่า จะทำให้สงครามในยูเครนยุติลงตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งนั้น แสดงความไม่พอใจเซเลนสกีมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องที่ยังคงต้องทำสงครามต่อไป ขณะเดียวกันเขาก็แสดงความเชื่อมั่นว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียจะรักษาสันติภาพ หากบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับฝ่ายยูเครน
    .
    หลังจากที่สื่อรายงานว่า เซเลนสกีที่ให้สัมภาษณ์พวกผู้สื่อข่าวเมื่อคืนวันอาทิตย์ (2) ว่า น่าจะอีกนานมากกว่าที่สงครามจะยุติ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการเจรจาข้อตกลง ทรัมป์ก็อยู่ในอาการฟิวส์ขาด ระบุว่า เป็นคำพูดที่แย่ที่สุดของประธานาธิบดียูเครน และอเมริกาจะไม่อดทนอีกต่อไป
    .
    ด้านเซเลนสกีพยายามอธิบายผ่านโซเชียลมีเดียว่า ยูเครนกำลังพยายามดำเนินมาตรการทางการทูตเพื่อให้สงครามยุติลงโดยเร็วที่สุด และย้ำว่า ยูเครนต้องการสันติภาพที่แท้จริงและการรับประกันความมั่นคง ทว่า ทรัมป์ปฏิเสธที่จะให้การรับประกันดังกล่าวมาโดยตลอด
    .
    ในส่วนของ แวนซ์ เขากล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อทีวีฟ็อกซ์ นิวส์ที่ ออกอากาศช่วงค่ำวันจันทร์ว่า พันธมิตรยุโรปกำลังทำให้ยูเครนตกอยู่ในอันตรายด้วยการไม่กดดันให้เซเลนสกีหาทางยุติสงคราม แต่กลับสนับสนุนให้ยูเครนสู้ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คำถามคือยูเครนจะเอาเงินและอาวุธจากไหนมาสู้ และจะต้องแลกด้วยชีวิตใครบ้าง
    .
    อย่างไรก็ดี เมื่อวันจันทร์ทรัมป์ส่งสัญญาณว่า ข้อตกลงลงทุนในแร่ธาตุของยูเครนยังมีทางสามารถบรรลุผลได้ และเขาจะอัปเดตสถานการณ์ล่าสุดคืนวันอังคาร (4 มี.ค.) ระหว่างแถลงต่อการประชุมร่วมของรัฐสภาสหรัฐฯ
    .
    เกี่ยวกับข้อตกลงฉบับนี้ คณะบริหารทรัมป์ มองว่า มันคือค่าชดเชยที่อเมริกาควรได้รับจากการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและการทหารแก่เคียฟหลายแสนล้านดอลลาร์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
    .
    ขณะที่แวนซ์กล่าวผ่านฟ็อกซ์ นิวส์ว่า ถ้าเซเลนสกีต้องการการรับประกันความมั่นคง และอยากมั่นใจว่า ปูตินจะไม่รุกรานยูเครนอีก การเปิดทางให้เศรษฐกิจอเมริกาเข้าไปมีส่วนร่วมในอนาคตของยูเครนคือการรับประกันที่ดีที่สุด
    .
    ยูเครนโวยังมีหนทางประคองสถานการณ์ที่แนวหน้า
    .
    ในวันอังคาร (4) ภายหลังรายงานข่าวเรื่องสหรัฐฯ ระงับการส่งความช่วยเหลือให้ยูเครนแพร่ออกไป นายกรัฐมนตรี เดนิส ชมีฮัล ของยูเครน ออกมาแถลงว่า เคียฟยังคงมีหนทางที่จะส่งกำลังบำรุงให้แก่กองทหารของตนเอง “กองทัพของเราและรัฐบาลมีสมรรถนะ มีเครื่องมือ พูดได้ว่าอย่างนั้น ที่จะประคองสถานการณ์ในแนวหน้าเอาไว้” เขากล่าว
    .
    ชมีฮัล ยังกล่าวขอบคุณสหรัฐฯ และย้ำว่ายูเครนต้องการความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
    .
    “เราจะยังคงทำงานกับสหรัฐฯ ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงด้วยความสงบสุขุม” เขากล่าวในการแถลงข่าว “เรามีแผนการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นั่นคือเพื่อชัยชนะและเพื่อความอยู่รอด เราจะชนะหรือไม่ยังงัยก็จะต้องเจอกับแผนบี ซึ่งถูกเขียนขึ้นมาโดยคนอื่นๆ”
    .
    สำหรับตัวเซเลนสกีเองนั้น เก็บตัวค่อนข้างเงียบเชียบ จนกระทั่งถึงบ่ายวันอังคารในกรุงเคียฟ สิ่งที่เขาแถลงต่อสาธารณชนก็มีเพียงว่าเขาได้พูดจากับ ฟรีดริช เมร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีเยอรมนี พร้อมกับเน้นย้ำถึงความช่วยเหลือทั้งทางทหารและทางการเงินที่ได้รับจากเยอรมนี
    .
    “เราจักจดจำไว้ว่าเยอรมนีคือผู้นำในเรื่องการจัดหาจัดส่งระบบการป้องกันภัยทางอากาศให้แก่ยูเครน และแสดงบทบาทที่สำคัญยิ่งยวดในการรับประกันเสถียรภาพทางการเงินของเรา” เขาโพสต์ข้อความเช่นนี้บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ภายหลังคุยโทรศัพท์กับเมร์ซ
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง พวกผู้เชี่ยวชาญทางทหารของฝ่ายตะวันตกบอกว่า อาจจะกินเวลาไปอีกระยะหนึ่งกว่าที่ผลกระทบจากการถูกตัดขาดความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ จะเป็นที่รู้สึกกัน ทั้งนี้เมื่อตอนที่งบประมาณความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ถูกแขวนเอาไว้เป็นเวลาหลายเดือนทีเดียวในปีที่แล้ว โดยฝีมือของพวกสมาชิกพรรครีพับลิกันในสภาล่าง ผลกระทบเบื้องต้นที่รู้สึกกันมากที่สุดคือการขาดแคลนอาวุธป้องกันภัยทางอากาศที่จะสามารถสอยขีปนาวุธและโดรนของฝ่ายรัสเซีย ถึงแม้ในเวลาต่อมาทางกองทหารยูเครนร้องเรียนว่าพวกเครื่องกระสุนต่างๆ ในแนวน้าร่อยหรอลงไปมาก
    .
    “มันมีความสำคัญมากทีเดียว ทว่าไม่ได้ใกล้เคียงกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นถ้าหากมันเป็นช่วงก่อนหน้านี้ของสงคราม เพราะยูเครนเวลานี้ต้องพึ่งพาอาศัยความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯ โดยตรง ลดน้อยลงไปมากแล้ว” เป็นความเห็นของไมเคิล คอฟแมน นักวิจัยอาวุโสของคาร์เนกี เอนดาวเมนต์
    .
    ผลกระทบต่อพันธมิตรในยุโรปของสหรัฐฯ
    .
    การที่สหรัฐฯ ระงับจัดส่งความช่วยเหลือให้ยูเครนคราวนี้ เป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อพวกชาติพันธมิตรในยุโรปของสหรัฐฯ โดยที่ชาติเหล่านี้เองได้แสดงท่าทีออกมาปลอบขวัญโอบอุ้มเซเลนสกีอย่างเปิดเผยภายหลังจากเหตุการณ์ปะทะคารมเดือดที่ทำเนียบขาว
    .
    มีรายงานว่าเวลานี้ยุโรปกำลังเร่งรีบเพิ่มงบประมาณการใช้จ่ายทางทหารของพวกเขาเอง และในวันอังคาร (4) อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป ได้เปิดเผยข้อเสนอต่างๆ ที่มุ่งเพิ่มพูนการใช้จ่ายทางทหารในอียู ซึ่งเธอกล่าวว่าอาจจะระดมเงินในเรื่องนี้ออกมาได้สูงถึง 800,000 ล้านยูโร (840,000 ล้านดอลลาร์) กันทีเดียว ทั้งนี้อียูมีกำหนดจัดการประชุมฉุกเฉินในเรื่องเกี่ยวกับยูเครนในวันพฤหัสบดี (6) นี้
    .
    ในฝรั่งเศส เบนจามิน ฮัดดัด รัฐมนตรีช่วยดูแลด้านยุโรป ได้ออกมากล่าวประณามการระงับความช่วยเหลือของสหรัฐฯ คราวนี้ โดยกล่าวว่ามันทำให้สันติภาพ “ห่างไกลออกไปมากขึ้น เพราะมันมีแต่ทำให้เงื้อมมือของผู้รุกราน ... ซึ่งก็คือรัสเซีย เข้มแข็งยิ่งขึ้น”
    .
    ขณะที่สหราชอาณาจักร ซึ่งแสดงทีท่าต้องการดึงให้คณะบริหารทรัมป์ยังคงอยู่ข้างๆ ตัว ไม่แตกแถวออกไปไกลกว่านี้ แสดงท่าทีสุขุมรอบคอบยิ่งกว่า โดยที่นายกรัฐมนตรี เคียร์ สตาร์เมอร์ ได้พูดจาทางโทรศัพท์กับทรัมป์ในคืนวันจันทร์ (3) ตามการแถลงของโฆษกผู้หนึ่งของสตาร์เมอร์ แต่ไม่ได้ระบุว่าทรมป์ได้เอ่ยถึงเรื่องการระงับความช่วยเหลือนี้หรือไม่
    .
    “ท่านนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีทรัมป์ กำลังโฟกัสอยู่ที่ผลลัพธ์อย่างเดียวกัน นั่นคือการทำให้เกิดสันติภาพที่มั่นคงและยั่งยืนขึ้นมาในยูเครน” โฆษกผู้นี้บอก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021233
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์สั่ง “ระงับ” ความช่วยเหลือยูเครนเพื่อบีบเซเลนสกีร่วมเจรจายุติสงครามกับรัสเซีย ลั่นไม่อดทนกับผู้นำเคียฟอีกต่อไป ด้านรองประธานาธิบดีแวนซ์ก็สำทับวิพากษ์วิจารณ์ยุโรปกำลังทำให้ยูเครนตกอยู่ในอันตรายด้วยการไม่กดดันให้เซเลนสกีหาทางยุติสงคราม แต่กลับสนับสนุนให้เคียฟสู้ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ขณะที่ทางยูเครนแถลงวันอังคาร (4 มี.ค.) ว่า กองทหารของตนซึ่งกำลังสู้รบกับฝ่ายรัสเซียอยู่ ยังสามารถรักษาสถานการณ์ในสมรภูมิเอาไว้ได้ด้วยตัวเอง . ความเคลื่อนไหวเหล่านี้มีขึ้นหลังการประชุมที่กลายเป็นการปะทะคารมอย่างดุเดือด ในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ (28 ก.พ.) ที่ผ่านมา โดยที่ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดี เจดี แวนซ์ รุมทึ้งโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน ที่ไม่ยินยอมเข้าเจรจาสร้างสันติภาพกับรัสเซียโดยรวดเร็ว รวมทั้งกล่าวหาประธานาธิบดียูเครน ไม่เคารพและไม่สำนึกบุญคุณอเมริกาอย่างเพียงพอ ทั้งที่สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือทางทหารเป็นจำนวนมหาศาลนับจากเคียฟถูกรัสเซียรุกรานเมื่อ 3 ปีที่แล้ว . ในวันจันทร์ (3) สื่อต่างๆ พากันรายงานข่าวโดยอ้างเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเปิดเผย ว่า ทรัมป์เวลานี้โฟกัสอยู่ที่การทำให้บรรลุข้อตกลงสันติภาพระหว่างยูเครนกับรัสเซีย และต้องการให้เซเลนสกีมุ่งมั่นกับเป้าหมายเดียวกันนี้ เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวยังระบุด้วยว่า ขณะนี้อเมริกาได้ระงับเพื่อดำเนินการทบทวนความช่วยเหลือที่ให้แก่ยูเครนแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุประสงค์ของทรัมป์ดังกล่าวข้างต้นจะบรรลุผล โดยคำสั่งนี้จะมีผลบังคับใช้จนกว่าทรัมป์จะตัดสินใจว่า ยูเครนแสดงความมุ่งมั่นในการเจรจาสันติภาพกับรัสเซีย . ความเคลื่อนไหวคราวนี้มีความร้ายแรงยิ่งกว่าที่ทรัมป์ประกาศตอนกลับเข้าสู่ทำเนียบขาวเสียอีก โดยในตอนนั้นเป็นการระบุว่าสหรัฐฯ จะไม่ให้ความช่วยเหลือใหม่ๆ แก่ยูเครน แต่สำหรับคำสั่งล่าสุดนี้เป็นการระงับการจัดส่งอาวุธที่รวมถึงกระสุนและขีปนาวุธ ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน แล้ว แต่ยังอยู่ในกระบวนการจัดหาและจัดส่ง . ทางด้านสมาชิกพรรคเดโมแครตในรัฐสภาสหรัฐฯ ออกมาแสดงปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วด้วยการประณามการตัดสินใจครั้งนี้ของทรัมป์ เป็นต้นว่า ส.ว. จีน ชาฮีน ซึ่งเป็นสมาชิกในคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ของวุฒิสภา ตำหนิว่า การระงับความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนเท่ากับว่า ทรัมป์เปิดกว้างให้ปูตินรุกรานและกระทำรุนแรงต่อประชาชนยูเครนหนักข้อขึ้นซึ่งจะส่งผลร้ายแรงอย่างไม่ต้องสงสัย . ทรัมป์ที่ประกาศระหว่างหาเสียงว่า จะทำให้สงครามในยูเครนยุติลงตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งนั้น แสดงความไม่พอใจเซเลนสกีมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องที่ยังคงต้องทำสงครามต่อไป ขณะเดียวกันเขาก็แสดงความเชื่อมั่นว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียจะรักษาสันติภาพ หากบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับฝ่ายยูเครน . หลังจากที่สื่อรายงานว่า เซเลนสกีที่ให้สัมภาษณ์พวกผู้สื่อข่าวเมื่อคืนวันอาทิตย์ (2) ว่า น่าจะอีกนานมากกว่าที่สงครามจะยุติ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการเจรจาข้อตกลง ทรัมป์ก็อยู่ในอาการฟิวส์ขาด ระบุว่า เป็นคำพูดที่แย่ที่สุดของประธานาธิบดียูเครน และอเมริกาจะไม่อดทนอีกต่อไป . ด้านเซเลนสกีพยายามอธิบายผ่านโซเชียลมีเดียว่า ยูเครนกำลังพยายามดำเนินมาตรการทางการทูตเพื่อให้สงครามยุติลงโดยเร็วที่สุด และย้ำว่า ยูเครนต้องการสันติภาพที่แท้จริงและการรับประกันความมั่นคง ทว่า ทรัมป์ปฏิเสธที่จะให้การรับประกันดังกล่าวมาโดยตลอด . ในส่วนของ แวนซ์ เขากล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อทีวีฟ็อกซ์ นิวส์ที่ ออกอากาศช่วงค่ำวันจันทร์ว่า พันธมิตรยุโรปกำลังทำให้ยูเครนตกอยู่ในอันตรายด้วยการไม่กดดันให้เซเลนสกีหาทางยุติสงคราม แต่กลับสนับสนุนให้ยูเครนสู้ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คำถามคือยูเครนจะเอาเงินและอาวุธจากไหนมาสู้ และจะต้องแลกด้วยชีวิตใครบ้าง . อย่างไรก็ดี เมื่อวันจันทร์ทรัมป์ส่งสัญญาณว่า ข้อตกลงลงทุนในแร่ธาตุของยูเครนยังมีทางสามารถบรรลุผลได้ และเขาจะอัปเดตสถานการณ์ล่าสุดคืนวันอังคาร (4 มี.ค.) ระหว่างแถลงต่อการประชุมร่วมของรัฐสภาสหรัฐฯ . เกี่ยวกับข้อตกลงฉบับนี้ คณะบริหารทรัมป์ มองว่า มันคือค่าชดเชยที่อเมริกาควรได้รับจากการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและการทหารแก่เคียฟหลายแสนล้านดอลลาร์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา . ขณะที่แวนซ์กล่าวผ่านฟ็อกซ์ นิวส์ว่า ถ้าเซเลนสกีต้องการการรับประกันความมั่นคง และอยากมั่นใจว่า ปูตินจะไม่รุกรานยูเครนอีก การเปิดทางให้เศรษฐกิจอเมริกาเข้าไปมีส่วนร่วมในอนาคตของยูเครนคือการรับประกันที่ดีที่สุด . ยูเครนโวยังมีหนทางประคองสถานการณ์ที่แนวหน้า . ในวันอังคาร (4) ภายหลังรายงานข่าวเรื่องสหรัฐฯ ระงับการส่งความช่วยเหลือให้ยูเครนแพร่ออกไป นายกรัฐมนตรี เดนิส ชมีฮัล ของยูเครน ออกมาแถลงว่า เคียฟยังคงมีหนทางที่จะส่งกำลังบำรุงให้แก่กองทหารของตนเอง “กองทัพของเราและรัฐบาลมีสมรรถนะ มีเครื่องมือ พูดได้ว่าอย่างนั้น ที่จะประคองสถานการณ์ในแนวหน้าเอาไว้” เขากล่าว . ชมีฮัล ยังกล่าวขอบคุณสหรัฐฯ และย้ำว่ายูเครนต้องการความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย . “เราจะยังคงทำงานกับสหรัฐฯ ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงด้วยความสงบสุขุม” เขากล่าวในการแถลงข่าว “เรามีแผนการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นั่นคือเพื่อชัยชนะและเพื่อความอยู่รอด เราจะชนะหรือไม่ยังงัยก็จะต้องเจอกับแผนบี ซึ่งถูกเขียนขึ้นมาโดยคนอื่นๆ” . สำหรับตัวเซเลนสกีเองนั้น เก็บตัวค่อนข้างเงียบเชียบ จนกระทั่งถึงบ่ายวันอังคารในกรุงเคียฟ สิ่งที่เขาแถลงต่อสาธารณชนก็มีเพียงว่าเขาได้พูดจากับ ฟรีดริช เมร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีเยอรมนี พร้อมกับเน้นย้ำถึงความช่วยเหลือทั้งทางทหารและทางการเงินที่ได้รับจากเยอรมนี . “เราจักจดจำไว้ว่าเยอรมนีคือผู้นำในเรื่องการจัดหาจัดส่งระบบการป้องกันภัยทางอากาศให้แก่ยูเครน และแสดงบทบาทที่สำคัญยิ่งยวดในการรับประกันเสถียรภาพทางการเงินของเรา” เขาโพสต์ข้อความเช่นนี้บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ภายหลังคุยโทรศัพท์กับเมร์ซ . ในอีกด้านหนึ่ง พวกผู้เชี่ยวชาญทางทหารของฝ่ายตะวันตกบอกว่า อาจจะกินเวลาไปอีกระยะหนึ่งกว่าที่ผลกระทบจากการถูกตัดขาดความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ จะเป็นที่รู้สึกกัน ทั้งนี้เมื่อตอนที่งบประมาณความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ถูกแขวนเอาไว้เป็นเวลาหลายเดือนทีเดียวในปีที่แล้ว โดยฝีมือของพวกสมาชิกพรรครีพับลิกันในสภาล่าง ผลกระทบเบื้องต้นที่รู้สึกกันมากที่สุดคือการขาดแคลนอาวุธป้องกันภัยทางอากาศที่จะสามารถสอยขีปนาวุธและโดรนของฝ่ายรัสเซีย ถึงแม้ในเวลาต่อมาทางกองทหารยูเครนร้องเรียนว่าพวกเครื่องกระสุนต่างๆ ในแนวน้าร่อยหรอลงไปมาก . “มันมีความสำคัญมากทีเดียว ทว่าไม่ได้ใกล้เคียงกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นถ้าหากมันเป็นช่วงก่อนหน้านี้ของสงคราม เพราะยูเครนเวลานี้ต้องพึ่งพาอาศัยความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯ โดยตรง ลดน้อยลงไปมากแล้ว” เป็นความเห็นของไมเคิล คอฟแมน นักวิจัยอาวุโสของคาร์เนกี เอนดาวเมนต์ . ผลกระทบต่อพันธมิตรในยุโรปของสหรัฐฯ . การที่สหรัฐฯ ระงับจัดส่งความช่วยเหลือให้ยูเครนคราวนี้ เป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อพวกชาติพันธมิตรในยุโรปของสหรัฐฯ โดยที่ชาติเหล่านี้เองได้แสดงท่าทีออกมาปลอบขวัญโอบอุ้มเซเลนสกีอย่างเปิดเผยภายหลังจากเหตุการณ์ปะทะคารมเดือดที่ทำเนียบขาว . มีรายงานว่าเวลานี้ยุโรปกำลังเร่งรีบเพิ่มงบประมาณการใช้จ่ายทางทหารของพวกเขาเอง และในวันอังคาร (4) อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป ได้เปิดเผยข้อเสนอต่างๆ ที่มุ่งเพิ่มพูนการใช้จ่ายทางทหารในอียู ซึ่งเธอกล่าวว่าอาจจะระดมเงินในเรื่องนี้ออกมาได้สูงถึง 800,000 ล้านยูโร (840,000 ล้านดอลลาร์) กันทีเดียว ทั้งนี้อียูมีกำหนดจัดการประชุมฉุกเฉินในเรื่องเกี่ยวกับยูเครนในวันพฤหัสบดี (6) นี้ . ในฝรั่งเศส เบนจามิน ฮัดดัด รัฐมนตรีช่วยดูแลด้านยุโรป ได้ออกมากล่าวประณามการระงับความช่วยเหลือของสหรัฐฯ คราวนี้ โดยกล่าวว่ามันทำให้สันติภาพ “ห่างไกลออกไปมากขึ้น เพราะมันมีแต่ทำให้เงื้อมมือของผู้รุกราน ... ซึ่งก็คือรัสเซีย เข้มแข็งยิ่งขึ้น” . ขณะที่สหราชอาณาจักร ซึ่งแสดงทีท่าต้องการดึงให้คณะบริหารทรัมป์ยังคงอยู่ข้างๆ ตัว ไม่แตกแถวออกไปไกลกว่านี้ แสดงท่าทีสุขุมรอบคอบยิ่งกว่า โดยที่นายกรัฐมนตรี เคียร์ สตาร์เมอร์ ได้พูดจาทางโทรศัพท์กับทรัมป์ในคืนวันจันทร์ (3) ตามการแถลงของโฆษกผู้หนึ่งของสตาร์เมอร์ แต่ไม่ได้ระบุว่าทรมป์ได้เอ่ยถึงเรื่องการระงับความช่วยเหลือนี้หรือไม่ . “ท่านนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีทรัมป์ กำลังโฟกัสอยู่ที่ผลลัพธ์อย่างเดียวกัน นั่นคือการทำให้เกิดสันติภาพที่มั่นคงและยั่งยืนขึ้นมาในยูเครน” โฆษกผู้นี้บอก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021233 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Sad
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2848 มุมมอง 0 รีวิว
  • "สหรัฐฯ" สั่งระงับการสนับสนุนทางทหารแก่ "ยูเครน" หลัง "ทรัมป์-เซเลนสกี" ปะทะคารมเดือด
    https://www.thai-tai.tv/news/17476/
    "สหรัฐฯ" สั่งระงับการสนับสนุนทางทหารแก่ "ยูเครน" หลัง "ทรัมป์-เซเลนสกี" ปะทะคารมเดือด https://www.thai-tai.tv/news/17476/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 56 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์ระงับความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครน

    ประธานาธิบดีทรัมป์มีคำสั่งระงับความช่วยเหลือทางทหารทั้งหมดแก่ยูเครน ส่งผลให้ความตึงเครียดกับยูเครนทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก หลังจากไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ทรัมป์และเซเลนสกีปะทะคารมที่ห้องทำงานรูปไข่อย่างดุเดือด

    เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกลาโหมกล่าวว่าการระงับความช่วยเหลือจะดำเนินต่อไปจนกว่ายูเครนจะแสดง "ความมุ่งมั่นอย่างจริงใจต่อสันติภาพ"

    การเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้ความช่วยเหลือทั้งหมดที่อยู่ระหว่างการส่งในปัจจุบันหยุดชะงัก และอาจส่งผลถึงการทำสงครามของยูเครนอยู่ในสภาวะไม่แน่นอน

    ที่มา: Bloomberg
    ทรัมป์ระงับความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครน ประธานาธิบดีทรัมป์มีคำสั่งระงับความช่วยเหลือทางทหารทั้งหมดแก่ยูเครน ส่งผลให้ความตึงเครียดกับยูเครนทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก หลังจากไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ทรัมป์และเซเลนสกีปะทะคารมที่ห้องทำงานรูปไข่อย่างดุเดือด เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกลาโหมกล่าวว่าการระงับความช่วยเหลือจะดำเนินต่อไปจนกว่ายูเครนจะแสดง "ความมุ่งมั่นอย่างจริงใจต่อสันติภาพ" การเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้ความช่วยเหลือทั้งหมดที่อยู่ระหว่างการส่งในปัจจุบันหยุดชะงัก และอาจส่งผลถึงการทำสงครามของยูเครนอยู่ในสภาวะไม่แน่นอน ที่มา: Bloomberg
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 179 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชาติยุโรปแสดงท่าทีขึงขัง ประชุมซัมมิตกันโดยมีเซเลนสกีเข้าร่วมด้วยที่ลอนดอน ประกาศเพิ่มงบประมาณด้านความมั่นคงและจัดตั้งแนวร่วมป้องกันสันติภาพในยูเครน พร้อมร่างเงื่อนไขข้อตกลงสันติภาพที่อาจจะเกิดขึ้นมาได้ เตรียมยื่นเสนอต่ออเมริกา โดยที่มาครงแย้มว่า อาจมีการพักการสู้รบทางอากาศและทางทะเลนาน 1 เดือน ทว่าสหราชอาณาจักรกลับบอกว่าเป็นเพียง 1 ในข้อเสนอซึ่งยังไม่มีการลงมติ ส่วนในอีกด้านหนึ่งรัสเซียเยาะยุโรปไม่ได้มีแผนการอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน และสิ่งหนึ่งที่เคียฟแน่ใจได้ว่าเป็นความคืบหน้าหนึ่งเดียวอยู่ในขณะนี้ คือความสัมพันธ์รัสเซีย-อเมริกา
    .
    การหารือว่าด้วยวิกฤตยูเครนในกรุงลอนดอนช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ของพวกผู้นำ 18 ชาติ ซึ่งแทบทั้งหมดเป็นชาติยุโรป เกิดขึ้นในช่วงเวลาอ่อนไหวอย่างยิ่งสำหรับยูเครนที่กำลังเผชิญความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการสนับสนุนของอเมริกาในการต่อต้านการรุกรานของรัสเซียที่ย่างเข้าสู่ปีที่ 4
    .
    วันศุกร์ที่ผ่านมา (28 ก.พ.) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของอเมริกา ตำหนิโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนว่า ไม่ตระหนักบุญคุณอเมริกาและไม่พร้อมทำข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซียต่อหน้าผู้สื่อข่าวในทำเนียบขาว กระตุ้นความกังวลว่า เขากำลังบีบให้เคียฟทำข้อตกลงสันติภาพอโดยมอบสิ่งที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียต้องการ
    .
    ทว่า ท่าทีของพวกผู้นำยุโรปเหล่านี้ ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “กลุ่มพันธมิตรของผู้ที่เต็มใจร่วมมือกัน” (Coalition of the willing) ยังคงประกาศให้การสนับสนุนเคียฟเหนียวแน่น โดยเซเลนสกีโพสต์บนแพลตฟอร์มเทเลแกรมภายหลังการประชุมสุดยอดเมื่อวันอาทิตย์ว่า ที่ประชุมเห็นพ้องผลักดันสันติภาพ และในอนาคตอันใกล้จะมีการร่างจุดยืนร่วมกันเกี่ยวกับเป้าหมายที่ต้องบรรลุและเงื่อนไขที่จะไม่มีการประนีประนอมเพื่อเสนอต่ออเมริกา
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของสหราชอาณาจักร เจ้าภาพการประชุมซิมมิตครั้งนี้ ขานรับว่า สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ จะร่วมมือกับยูเครนเพื่อทำให้สงครามยุติลง
    .
    สตาร์เมอร์สำทับว่า ยุโรปต้องพยายามมากขึ้น ขณะที่ไม่มีหลักประกันว่า อเมริกาจะเข้ามามีส่วนร่วมด้วยหรือไม่
    .
    กระนั้น สตาร์เมอร์ที่ได้พบกับทรัมป์ในบรรยากาศที่ชื่นมื่น วันสองวันก่อนหน้าเหตุการณ์ปะทะคารมเดือดที่ทำเนียบขาว ยังคงยืนยันแก้ต่างให้สหรัฐฯ ว่า อเมริกาไม่ใช่พันธมิตรที่พึ่งพาไม่ได้ และข้อตกลงใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับยูเครน จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจากอเมริกา
    .
    ด้านประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครงของฝรั่งเศส ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เลอ ฟิกาโร หลังกลับถึงปารีสว่า ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรต้องการเสนอข้อตกลงหยุดยิงทางอากาศและทางทะเล รวมทั้งระงับการโจมตีพวกโครงสร้างพื้นฐาน เป็นเวลานาน 1 เดือน และยังเตรียมพร้อมส่งทหารไปช่วยกำกับดูแลการหยุดยิงในยูเครน
    .
    มาครงอธิบายว่า สาเหตุที่ข้อตกลงหยุดยิงไม่ครอบคลุมการสู้รบภาคพื้นดินอย่างน้อยในระยะแรกนั้นเนื่องจากแนวรบที่ค่อนข้างกว้างจนยากที่จะบังคับใช้ข้อตกลงหยุดยิงได้ ส่วนการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครนคงยังไม่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้
    .
    ผู้นำฝรั่งเศสยังเสนอแนะให้ชาติยุโรปเพิ่มงบประมาณกลาโหมขึ้นสู่ระดับเท่ากับ 3-3.5% ของจีดีพีของประเทศตนเอง เพื่อรับมือการเปลี่ยนท่าทีของอเมริกาและปฏิบัติการทางทหารของรัสเซีย
    .
    อย่างไรก็ดี ในวันจันทร์ (3) รัฐมนตรีทบวงกองทัพของสหราชอาณาจักร ลุก พอลลาร์ด กลับแสดงท่าทีไม่ยืนยันรับรองแนวความคิดเรื่องหยุดยิงที่มาครงพูด โดยเขากล่าวกับสื่อบีบีซีว่า เรื่องนี้ยังไม่ได้เป็นแผนการที่สหราชอาณาจักรรับรองแล้วในเวลานี้ แต่เป็นหนึ่งในทางเลือกต่างๆ จำนวนหนึ่งที่กำลังมีการหารือกันเป็นการภายในระหว่างสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเหล่าพันธมิตรอีกจำนวนหนึ่ง
    .
    ขณะที่ภายหลังการประชุมผู้นำยุโรปเมื่อวันอาทิตย์ อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ออกมาเตือนว่า ยุโรปต้องเร่งติดอาวุธเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์เลวร้ายที่สุด ทั้งนี้ แดร์ ไลเอิน ได้ชื่อว่าเป็นพวกเหยี่ยวแข็งกร้าวกับรัสเซีย และไม่เป็นที่พอใจของทำเนียบขาวในปัจจุบัน
    .
    ทางฝ่ายนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสก์ ของโปแลนด์ เรียกร้องอเมริกาและยุโรปแสดงให้ปูตินเห็นว่า ตะวันตกไม่เคยคิดอ่อนข้อก่อนที่ผู้นำรัสเซียจะแบล็กเมล์และรุกรานยูเครน
    .
    อย่างไรก็ดี ทางด้านทรัมป์กลับกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่า อเมริกาควรกังวลกับปูตินน้อยลง และกังวลกับอาชญากรรมในประเทศให้มากขึ้น
    .
    วันเดียวกันนั้น คอนสแตนติน โคซาเชฟ สมาชิกผู้ทรงอิทธิพลในรัฐสภารัสเซีย โพสต์บนเทเลแกรมว่า การประชุมที่ลอนดอน เป็นความพยายามที่จะเปลี่ยนความล้มเหลวของนโยบายแห่งการเสี้ยมให้ยูเครนตีกับรัสเซีย ที่สหราชอาณาจักร และอเมริกาใช้มาเป็นเวลานาน 10 ปี ให้กลายเป็นความสำเร็จ
    .
    โคซาเชฟที่รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศของสภาสูงรัสเซีย สำทับว่า ยุโรปไม่มีแผนการอะไรเลย และสิ่งหนึ่งที่ยูเครนวางใจได้ก็คือ ความคืบหน้าหนึ่งเดียวขณะนี้คือความสัมพันธ์รัสเซีย-อเมริกา
    .
    นอกจากนั้น ดมิทรี เพสคอฟ โฆษกเครมลิน ยังโพสต์บนเอ็กซ์ก่อนที่การประชุมที่ลอนดอนจะปิดฉากลงว่า การประชุมดังกล่าวเป็นการตกลงสวามิภักดิ์ต่อพวกนาซีที่ไม่ได้มีความสลักสำคัญใดๆ ในเคียฟ และเป็นความคิดที่น่าอัปยศ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020856
    ..............
    Sondhi X
    ชาติยุโรปแสดงท่าทีขึงขัง ประชุมซัมมิตกันโดยมีเซเลนสกีเข้าร่วมด้วยที่ลอนดอน ประกาศเพิ่มงบประมาณด้านความมั่นคงและจัดตั้งแนวร่วมป้องกันสันติภาพในยูเครน พร้อมร่างเงื่อนไขข้อตกลงสันติภาพที่อาจจะเกิดขึ้นมาได้ เตรียมยื่นเสนอต่ออเมริกา โดยที่มาครงแย้มว่า อาจมีการพักการสู้รบทางอากาศและทางทะเลนาน 1 เดือน ทว่าสหราชอาณาจักรกลับบอกว่าเป็นเพียง 1 ในข้อเสนอซึ่งยังไม่มีการลงมติ ส่วนในอีกด้านหนึ่งรัสเซียเยาะยุโรปไม่ได้มีแผนการอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน และสิ่งหนึ่งที่เคียฟแน่ใจได้ว่าเป็นความคืบหน้าหนึ่งเดียวอยู่ในขณะนี้ คือความสัมพันธ์รัสเซีย-อเมริกา . การหารือว่าด้วยวิกฤตยูเครนในกรุงลอนดอนช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ของพวกผู้นำ 18 ชาติ ซึ่งแทบทั้งหมดเป็นชาติยุโรป เกิดขึ้นในช่วงเวลาอ่อนไหวอย่างยิ่งสำหรับยูเครนที่กำลังเผชิญความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการสนับสนุนของอเมริกาในการต่อต้านการรุกรานของรัสเซียที่ย่างเข้าสู่ปีที่ 4 . วันศุกร์ที่ผ่านมา (28 ก.พ.) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของอเมริกา ตำหนิโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนว่า ไม่ตระหนักบุญคุณอเมริกาและไม่พร้อมทำข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซียต่อหน้าผู้สื่อข่าวในทำเนียบขาว กระตุ้นความกังวลว่า เขากำลังบีบให้เคียฟทำข้อตกลงสันติภาพอโดยมอบสิ่งที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียต้องการ . ทว่า ท่าทีของพวกผู้นำยุโรปเหล่านี้ ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “กลุ่มพันธมิตรของผู้ที่เต็มใจร่วมมือกัน” (Coalition of the willing) ยังคงประกาศให้การสนับสนุนเคียฟเหนียวแน่น โดยเซเลนสกีโพสต์บนแพลตฟอร์มเทเลแกรมภายหลังการประชุมสุดยอดเมื่อวันอาทิตย์ว่า ที่ประชุมเห็นพ้องผลักดันสันติภาพ และในอนาคตอันใกล้จะมีการร่างจุดยืนร่วมกันเกี่ยวกับเป้าหมายที่ต้องบรรลุและเงื่อนไขที่จะไม่มีการประนีประนอมเพื่อเสนอต่ออเมริกา . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของสหราชอาณาจักร เจ้าภาพการประชุมซิมมิตครั้งนี้ ขานรับว่า สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ จะร่วมมือกับยูเครนเพื่อทำให้สงครามยุติลง . สตาร์เมอร์สำทับว่า ยุโรปต้องพยายามมากขึ้น ขณะที่ไม่มีหลักประกันว่า อเมริกาจะเข้ามามีส่วนร่วมด้วยหรือไม่ . กระนั้น สตาร์เมอร์ที่ได้พบกับทรัมป์ในบรรยากาศที่ชื่นมื่น วันสองวันก่อนหน้าเหตุการณ์ปะทะคารมเดือดที่ทำเนียบขาว ยังคงยืนยันแก้ต่างให้สหรัฐฯ ว่า อเมริกาไม่ใช่พันธมิตรที่พึ่งพาไม่ได้ และข้อตกลงใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับยูเครน จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจากอเมริกา . ด้านประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครงของฝรั่งเศส ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เลอ ฟิกาโร หลังกลับถึงปารีสว่า ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรต้องการเสนอข้อตกลงหยุดยิงทางอากาศและทางทะเล รวมทั้งระงับการโจมตีพวกโครงสร้างพื้นฐาน เป็นเวลานาน 1 เดือน และยังเตรียมพร้อมส่งทหารไปช่วยกำกับดูแลการหยุดยิงในยูเครน . มาครงอธิบายว่า สาเหตุที่ข้อตกลงหยุดยิงไม่ครอบคลุมการสู้รบภาคพื้นดินอย่างน้อยในระยะแรกนั้นเนื่องจากแนวรบที่ค่อนข้างกว้างจนยากที่จะบังคับใช้ข้อตกลงหยุดยิงได้ ส่วนการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครนคงยังไม่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้ . ผู้นำฝรั่งเศสยังเสนอแนะให้ชาติยุโรปเพิ่มงบประมาณกลาโหมขึ้นสู่ระดับเท่ากับ 3-3.5% ของจีดีพีของประเทศตนเอง เพื่อรับมือการเปลี่ยนท่าทีของอเมริกาและปฏิบัติการทางทหารของรัสเซีย . อย่างไรก็ดี ในวันจันทร์ (3) รัฐมนตรีทบวงกองทัพของสหราชอาณาจักร ลุก พอลลาร์ด กลับแสดงท่าทีไม่ยืนยันรับรองแนวความคิดเรื่องหยุดยิงที่มาครงพูด โดยเขากล่าวกับสื่อบีบีซีว่า เรื่องนี้ยังไม่ได้เป็นแผนการที่สหราชอาณาจักรรับรองแล้วในเวลานี้ แต่เป็นหนึ่งในทางเลือกต่างๆ จำนวนหนึ่งที่กำลังมีการหารือกันเป็นการภายในระหว่างสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเหล่าพันธมิตรอีกจำนวนหนึ่ง . ขณะที่ภายหลังการประชุมผู้นำยุโรปเมื่อวันอาทิตย์ อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ออกมาเตือนว่า ยุโรปต้องเร่งติดอาวุธเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์เลวร้ายที่สุด ทั้งนี้ แดร์ ไลเอิน ได้ชื่อว่าเป็นพวกเหยี่ยวแข็งกร้าวกับรัสเซีย และไม่เป็นที่พอใจของทำเนียบขาวในปัจจุบัน . ทางฝ่ายนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสก์ ของโปแลนด์ เรียกร้องอเมริกาและยุโรปแสดงให้ปูตินเห็นว่า ตะวันตกไม่เคยคิดอ่อนข้อก่อนที่ผู้นำรัสเซียจะแบล็กเมล์และรุกรานยูเครน . อย่างไรก็ดี ทางด้านทรัมป์กลับกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่า อเมริกาควรกังวลกับปูตินน้อยลง และกังวลกับอาชญากรรมในประเทศให้มากขึ้น . วันเดียวกันนั้น คอนสแตนติน โคซาเชฟ สมาชิกผู้ทรงอิทธิพลในรัฐสภารัสเซีย โพสต์บนเทเลแกรมว่า การประชุมที่ลอนดอน เป็นความพยายามที่จะเปลี่ยนความล้มเหลวของนโยบายแห่งการเสี้ยมให้ยูเครนตีกับรัสเซีย ที่สหราชอาณาจักร และอเมริกาใช้มาเป็นเวลานาน 10 ปี ให้กลายเป็นความสำเร็จ . โคซาเชฟที่รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศของสภาสูงรัสเซีย สำทับว่า ยุโรปไม่มีแผนการอะไรเลย และสิ่งหนึ่งที่ยูเครนวางใจได้ก็คือ ความคืบหน้าหนึ่งเดียวขณะนี้คือความสัมพันธ์รัสเซีย-อเมริกา . นอกจากนั้น ดมิทรี เพสคอฟ โฆษกเครมลิน ยังโพสต์บนเอ็กซ์ก่อนที่การประชุมที่ลอนดอนจะปิดฉากลงว่า การประชุมดังกล่าวเป็นการตกลงสวามิภักดิ์ต่อพวกนาซีที่ไม่ได้มีความสลักสำคัญใดๆ ในเคียฟ และเป็นความคิดที่น่าอัปยศ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020856 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1473 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศึกวิวาทะดุเดือดในทำเนียบขาว ระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ก่อความเห็นต่างในบรรดาสมาชิกรีพับลิกันของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และบั่นทอนแนวโน้มที่สภาคองเกรสจะอนุมัติเงินช่วยเหลือรอบใหม่ใดๆ สำหรับเคียฟ ในการทำสงครามกับรัสเซีย บางส่วนถึงขั้นตะเพิด เซเลนสกี พ้นจากตำแหน่งและเร่งเร้าให้ยุติความช่วยเหลือทางทหารที่มอบแก่ประเทศแห่งนี้
    .
    สมาชิกรีพับลิกันบางส่วนที่เคยสนับสนุนยูเครนมาช้านาน ได้หันมาด่าทอ เซเลนสกี ตามหลังเหตุโต้เถียงกันในวันศุกร์ (28 ก.พ.) ที่ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ปะทะคารมกับผู้นำยูเครน ต่อหน้าสื่อมวลชนทั่วโลก กล่าวหาเขาขาดความเคารพ
    .
    วุฒิสมาชิกลินด์ซีย์ เกรแฮม เรียกร้อง เซเลนสกี ปรับเปลี่ยนท่าทีหรือไม่ก็ลาออกไป ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเข้าร่วมประชุมที่เป็นไปอย่างฉันมิตรระหว่างเซเลนสกีกับบรรดาสมาชิกวุฒิสภาสิบกว่าคน
    .
    "สิ่งที่ผมเห็นในห้องทำงานรูปไข่ คือการขาดความเคารพ และผมไม่รู้ว่าเราจะสามารถคบหาเซเลนสกีได้อีกหรือไม่" เกรแฮม พันธมิตรผู้ใกล้ชิดทรัมป์ บอกกับพวกผู้สื่อข่าว ระหว่างเดินทางออกจากทำเนียบขาว ตามหลังเหตุกระทบกระทั่ง ที่ฉุดความสัมพันธ์ระหว่างเคียฟกับพันธมิตรที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลาแห่งสงคราม ดำดิ่งสู่ระดับต่ำสุดรอบใหม่
    .
    "เขาจำเป็นต้องลาออกและส่งใครบางคนมา ใครที่เราสามารถทำธุระปะปังกันได้ หรือไม่อย่างนั้นเขาก็จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง" วุฒิสภาจากเซาท์แคโรโลนากล่าว ส่วน บิล ฮาเกอร์ตี วุฒิสมาชิกจากเทนเนสซี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำญี่ปุ่น ครั้งที่ทรัมป์ นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสมัยแรก โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ "สหรัฐอเมริกาจะไม่มอบเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าอีกต่อไป"
    .
    แม้สมาชิกรีพับลิกันเกือบทั้งหมดที่แสดงจุดยืนสนับสนุนทรัมป์ แต่ก็มีบางส่วนที่เข้าร่วมกับเดโมแครตในการปกป้องยูเครน ในนั้นรวมถึง ไมค์ ลอเวอร์ ส.ส.จากนิวยอร์ก ที่โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ระบุว่าการประชุมในห้องทำงานรูปไข่ "พลาดโอกาสสำคัญสำหรับทั้งสหรัฐฯ และเคียฟ นั่นคือข้อตกลงหนึ่งๆ ที่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะก่อผลลัพธ์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความมั่นคงที่เข้มแข็ง"
    .
    ดอน เบคอน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหัวสายกลางของรีพับลิกัน จากเนบราสกา ก็สนับสนุนเคียฟเช่นกัน โดยบอกว่า "มันเป็นวันที่แย่สำหรับนโยบายต่างประเทศของอเมริกา ยูเครนต้องการเอกราช ตลาดเสรีและหลักนิติรัฐ พวกเขาต้องการเป็นส่วนหนึ่งของตะวันตก รัสเซียเกลียดเราและค่านิยมตะวันตกของเรา พวกเราควรแสดงจุดยืนอย่างชัดเจน ว่าเรายืนหยัดเพื่อเสรีภาพ" อย่างไรก็ตามไม่มีสมาชิกสภาคองเกรสรีพับลิกันรายใดที่วิพากษ์วิจารณ์ทรัมป์ หรือแวนซ์
    .
    เซเลนสกี เดินทางมายังกรุงวอชิงตัน เพื่อลงนามในข้อตกลงหนึ่งสำหรับร่วมกับสหรัฐฯ ในการพัฒนาทรัพยากรทางธรรมชาติอันมั่งคั่งของยูเครน
    .
    ผู้นำยูเครนมองว่าการพบปะกับทรัมป์และแวนซ์ เป็นโอกาสโน้มน้าวไม่ให้ สหรัฐฯ หันไปยืนเคียงข้างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ในการทำสงครามกับยูเครน อย่างไรก็ตาม กลับกลายเป็นว่า เซเลนสกี ถูกไล่ออกจากทำเนียบขาวและไม่มีการลงนามในข้อตกลงใดๆ
    .
    บรรดาผู้สนับสนุนทั้งหลายของเคียฟ หวังว่าข้อตกลงนี้จะช่วยเอาชนะใจได้รับการสนับสนุนมากขึ้นจากสมาชิกรีพับลิกันของทรัมป์ ซึ่งครองเสียงข้างมากทั้งในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร สำหรับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมในอนาคต
    .
    ที่ผ่านมา สภาคองเกรสอนุมัติเงินช่วยเหลือแก่ยูเครนไปแล้วกว่า 175,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ ปูติน เปิดฉากรุกรานเต็มรูปแบบเมื่อ 3 ปีก่อน แต่เงินช่วยเหลือก้อนสุดท้ายที่ผ่านความเห็นชอบต้องย้อนกลับไปในเดือนเมษายนเลยทีเดียว ครั้งที่พรรคเดโมแครต ครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา และ โจ ไบเดน ยังคงเป็นประธานาธิบดี
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020218
    ..................
    Sondhi X
    ศึกวิวาทะดุเดือดในทำเนียบขาว ระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ก่อความเห็นต่างในบรรดาสมาชิกรีพับลิกันของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และบั่นทอนแนวโน้มที่สภาคองเกรสจะอนุมัติเงินช่วยเหลือรอบใหม่ใดๆ สำหรับเคียฟ ในการทำสงครามกับรัสเซีย บางส่วนถึงขั้นตะเพิด เซเลนสกี พ้นจากตำแหน่งและเร่งเร้าให้ยุติความช่วยเหลือทางทหารที่มอบแก่ประเทศแห่งนี้ . สมาชิกรีพับลิกันบางส่วนที่เคยสนับสนุนยูเครนมาช้านาน ได้หันมาด่าทอ เซเลนสกี ตามหลังเหตุโต้เถียงกันในวันศุกร์ (28 ก.พ.) ที่ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ปะทะคารมกับผู้นำยูเครน ต่อหน้าสื่อมวลชนทั่วโลก กล่าวหาเขาขาดความเคารพ . วุฒิสมาชิกลินด์ซีย์ เกรแฮม เรียกร้อง เซเลนสกี ปรับเปลี่ยนท่าทีหรือไม่ก็ลาออกไป ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเข้าร่วมประชุมที่เป็นไปอย่างฉันมิตรระหว่างเซเลนสกีกับบรรดาสมาชิกวุฒิสภาสิบกว่าคน . "สิ่งที่ผมเห็นในห้องทำงานรูปไข่ คือการขาดความเคารพ และผมไม่รู้ว่าเราจะสามารถคบหาเซเลนสกีได้อีกหรือไม่" เกรแฮม พันธมิตรผู้ใกล้ชิดทรัมป์ บอกกับพวกผู้สื่อข่าว ระหว่างเดินทางออกจากทำเนียบขาว ตามหลังเหตุกระทบกระทั่ง ที่ฉุดความสัมพันธ์ระหว่างเคียฟกับพันธมิตรที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลาแห่งสงคราม ดำดิ่งสู่ระดับต่ำสุดรอบใหม่ . "เขาจำเป็นต้องลาออกและส่งใครบางคนมา ใครที่เราสามารถทำธุระปะปังกันได้ หรือไม่อย่างนั้นเขาก็จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง" วุฒิสภาจากเซาท์แคโรโลนากล่าว ส่วน บิล ฮาเกอร์ตี วุฒิสมาชิกจากเทนเนสซี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำญี่ปุ่น ครั้งที่ทรัมป์ นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสมัยแรก โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ "สหรัฐอเมริกาจะไม่มอบเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าอีกต่อไป" . แม้สมาชิกรีพับลิกันเกือบทั้งหมดที่แสดงจุดยืนสนับสนุนทรัมป์ แต่ก็มีบางส่วนที่เข้าร่วมกับเดโมแครตในการปกป้องยูเครน ในนั้นรวมถึง ไมค์ ลอเวอร์ ส.ส.จากนิวยอร์ก ที่โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ระบุว่าการประชุมในห้องทำงานรูปไข่ "พลาดโอกาสสำคัญสำหรับทั้งสหรัฐฯ และเคียฟ นั่นคือข้อตกลงหนึ่งๆ ที่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะก่อผลลัพธ์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความมั่นคงที่เข้มแข็ง" . ดอน เบคอน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหัวสายกลางของรีพับลิกัน จากเนบราสกา ก็สนับสนุนเคียฟเช่นกัน โดยบอกว่า "มันเป็นวันที่แย่สำหรับนโยบายต่างประเทศของอเมริกา ยูเครนต้องการเอกราช ตลาดเสรีและหลักนิติรัฐ พวกเขาต้องการเป็นส่วนหนึ่งของตะวันตก รัสเซียเกลียดเราและค่านิยมตะวันตกของเรา พวกเราควรแสดงจุดยืนอย่างชัดเจน ว่าเรายืนหยัดเพื่อเสรีภาพ" อย่างไรก็ตามไม่มีสมาชิกสภาคองเกรสรีพับลิกันรายใดที่วิพากษ์วิจารณ์ทรัมป์ หรือแวนซ์ . เซเลนสกี เดินทางมายังกรุงวอชิงตัน เพื่อลงนามในข้อตกลงหนึ่งสำหรับร่วมกับสหรัฐฯ ในการพัฒนาทรัพยากรทางธรรมชาติอันมั่งคั่งของยูเครน . ผู้นำยูเครนมองว่าการพบปะกับทรัมป์และแวนซ์ เป็นโอกาสโน้มน้าวไม่ให้ สหรัฐฯ หันไปยืนเคียงข้างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ในการทำสงครามกับยูเครน อย่างไรก็ตาม กลับกลายเป็นว่า เซเลนสกี ถูกไล่ออกจากทำเนียบขาวและไม่มีการลงนามในข้อตกลงใดๆ . บรรดาผู้สนับสนุนทั้งหลายของเคียฟ หวังว่าข้อตกลงนี้จะช่วยเอาชนะใจได้รับการสนับสนุนมากขึ้นจากสมาชิกรีพับลิกันของทรัมป์ ซึ่งครองเสียงข้างมากทั้งในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร สำหรับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมในอนาคต . ที่ผ่านมา สภาคองเกรสอนุมัติเงินช่วยเหลือแก่ยูเครนไปแล้วกว่า 175,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ ปูติน เปิดฉากรุกรานเต็มรูปแบบเมื่อ 3 ปีก่อน แต่เงินช่วยเหลือก้อนสุดท้ายที่ผ่านความเห็นชอบต้องย้อนกลับไปในเดือนเมษายนเลยทีเดียว ครั้งที่พรรคเดโมแครต ครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา และ โจ ไบเดน ยังคงเป็นประธานาธิบดี . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020218 .................. Sondhi X
    Like
    Haha
    17
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1673 มุมมอง 0 รีวิว
  • การหารือระหว่างประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ และประธานาธิบดี โวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนจบลงแบบ "หายนะ" โดยปราศจากการลงนามข้อตกลงแร่ธาตุในวันศุกร์ (28 ก.พ.) หลังผู้นำทั้งสองเกิดปะทะคารมกันอย่างรุนแรงต่อหน้าสื่อมวลชน โดย เซเลนสกี ตั้งคำถามเรื่องที่ ทรัมป์ เอนเอียงเข้าข้างรัสเซีย ขณะที่ ทรัมป์ ก็ชี้ว่าผู้นำยูเครน "ไม่เคารพ" อเมริกาและกำลังเดิมพันด้วยสงครามโลกครั้งที่ 3 พร้อมยื่นคำขาดหากยูเครนไม่รับข้อตกลง สหรัฐฯ ก็จะ "ไม่เอาด้วย" อีกต่อไป
    .
    การไปเยือนสหรัฐฯ ของ เซเลนสกี ในครั้งนี้เดิมมีเป้าหมายเพื่อเกลี้ยกล่อมสหรัฐฯ ไม่ให้หันไปเข้าข้างประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ซึ่งเป็นคนออกคำสั่งส่งทหารรุกรานยูเครนเมื่อ 3 ปีก่อน
    .
    อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า เซเลนสกี มีมุมมองเห็นต่างอย่างรุนแรงกับ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดี เจดี แวนซ์ เกี่ยวกับสงครามครั้งนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าท่าทีที่เปลี่ยนไปของสหรัฐฯ กำลังบั่นทอนการสนับสนุนที่ตะวันตกมีต่อเคียฟมากขนาดไหน
    .
    แวนซ์ ย้ำถึงความจำเป็นในการใช้การทูตคลี่คลายความขัดแย้งครั้งใหญ่ที่สุดของยุโรปในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะที่ เซเลนสกี แย้งว่า ปูติน "เชื่อถือไม่ได้" ไม่ว่าจะในการเจรจาใดๆ ก็ตาม
    .
    ทรัมป์ รีบโพสต์ข้อความผ่าน Truth Social ทันทีว่า เซเลนสกี ไม่ให้ความเคารพสหรัฐอเมริกา
    .
    "ผมคิดว่าประธานาธิบดี เซเลนสกียังไม่พร้อมสำหรับสันติภาพที่อเมริกาเข้าไปมีส่วนร่วม" ผู้นำสหรัฐฯ กล่าว "เขาสามารถกลับมาใหม่ได้ เมื่อเขาพร้อมที่จะยอมรับสันติภาพ"
    .
    เซเลนสกี เดินทางออกจากทำเนียบขาวก่อนกำหนดหลังจากที่ปะทะคารมกับ ทรัมป์ และ แวนซ์ โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้มีการลงนามข้อตกลงร่วมพัฒนาแหล่งแร่ธาตุในยูเครนอย่างที่ตั้งใจไว้
    .
    การทะเลาะกันออกสื่อครั้งนี้ยังส่งผลเสียต่อความพยายามของพวกผู้ยุโรปที่หวังกล่อม ทรัมป์ ให้ยอมมอบการค้ำประกันความมั่นคงแก่ยูเครน แม้ว่า ทรัมป์ จะยืนกรานไม่ส่งทหารอเมริกันเข้าไปในยูเครนอย่างแน่นอนก็ตาม
    .
    การการันตีความมั่นคงจากสหรัฐฯ ถูกมองว่าเป็นสิ่งเดียวที่จะป้องปรามรัสเซียไม่ให้กล้ารุกรานยูเครนซ้ำอีก
    .
    "ผู้คนกำลังล้มตายมากขึ้นเรื่อยๆ คุณเองก็เหลือทหารน้อยลงทุกที" ทรัมป์ บอกกับ เซเลนสกี ระหว่างการสนทนาที่ห้องทำงานรูปไข่ พร้อมข่มขู่ว่าสหรัฐฯ อาจตัดสินใจถอนการสนับสนุนยูเครน
    .
    "คุณต้องเลือกว่าจะยอมทำข้อตกลง ไม่อย่างนั้นเราก็ไม่เอาด้วย และหากเราถอนตัว คุณก็ต้องสู้ด้วยตัวเอง ซึ่งผมไม่คิดว่าผลลัพธ์จะออกมาดี" ทรัมป์ กล่าว
    .
    "คุณไม่ได้อยู่ในสถานะที่ดีนัก ตอนนี้คุณไม่มีไพ่ต่อรองแล้ว แต่เพราะมีเรา คุณถึงมีไพ่ต่อรองขึ้นมาได้" ทรัมป์ กล่าว
    .
    "ผมไม่ได้เล่นไพ่ ผมจริงจังมากท่านประธานาธิบดี" เซเลนสกี ตอบ ก่อนจะถูก ทรัมป์ กระทุ้งต่อว่า "คุณกำลังเล่นไพ่ คุณเอาชีวิตผู้คนนับล้านๆ มาเป็นเดิมพัน คุณกำลังเดิมพันกับสงครามโลกครั้งที่ 3"
    .
    "ถ้าหากเราลงนามข้อตกลงกัน คุณก็จะมีสถานะเข้มแข็งขึ้น แต่นี่คุณทำเหมือนไม่สำนึกบุญคุณเราเลยสักนิด และนั่นไม่ใช่เรื่องที่ดี ผมบอกตรงๆ นะ มันไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย"
    .
    ด้าน เซเลนสกี ก็กล่าววาจาท้าทาย ทรัมป์ เรื่องที่เขาอ่อนข้อให้กับ ปูติน และเรียกร้องผู้นำสหรัฐฯ ว่า "อย่ายอมประนีประนอมกับฆาตกร" ขณะที่ ทรัมป์ ย้ำว่า ปูติน ต้องการบรรลุข้อตกลง
    .
    แวนซ์ กล่าวสำทับว่า การที่ เซเลนสกี เดินทางมาที่ห้องทำงานรูปไข่เพื่อยืนกระต่ายขาเดียวกับจุดยืนของตนเองนั้นเป็นการไม่เคารพสหรัฐฯ ซึ่ง ทรัมป์ เองก็เห็นด้วยในประเด็นนี้
    .
    "คุณไม่พูดขอบคุณเลยสักคำ" แวนซ์ กล่าว ซึ่งทำให้ เซเลนสกี ขึ้นเสียงตอบโต้ทันทีว่า "ผมพูดไปแล้วไม่รู้กี่ครั้งว่าขอบคุณชาวอเมริกัน"
    .
    เซเลนสกี เคยได้รับขวัญกำลังใจและความช่วยเหลือด้านอาวุธนับหมื่นๆ ล้านดอลลาร์จากอดีตประธานาธิบดี โจ ไบเดน ในการต่อสู้กับรัสเซีย ทว่าตอนนี้เขากลับต้องเผชิญจุดยืนที่แตกต่างแบบพลิกขั้วของ ทรัมป์ ซึ่งต้องการปิดฉากสงครามที่ยืดเยื้อมานาน 3 ปี นำสหรัฐฯ กลับไปฟื้นฟูความสัมพันธ์กับรัสเซีย รวมถึง "ทวงคืน" เงินบางส่วนที่เคยช่วยเหลือยูเครนไปด้วย
    .
    "ผมหวังว่าผมคงจะได้รับการจดจำในฐานะผู้สร้างสันติภาพ" ทรัมป์ กล่าว
    .
    ก่อนหน้านั้น ทรัมป์ บอกกับ เซเลนสกี ว่าทหารยูเครนสู้รบด้วยความกล้าหาญอย่างไม่น่าเชื่อ และสหรัฐฯ ต้องการเห็นสงครามจบลง เพื่อนำเงินงบประมาณไปใช้ในด้านอื่นๆ เช่น การฟื้นฟู เป็นต้น
    .
    บรรดาผู้นำชาติยุโรปต่างลุกขึ้นปกป้อง เซเลนสกี เป็นแถว โดย ฟรีดริช แมร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ออกมาระบุว่า "เราต้องไม่สับสนว่าใครคือผู้รุกรานและใครคือเหยื่อในสงครามเลวร้ายครั้งนี้" ขณะที่นายกรัฐมนตรี เปโดร ซานเชซ แห่งสเปน ระบุว่า "ยูเครน สเปนยืนเคียงข้างคุณ" นอกจากนี้ เซเลนสกี ยังได้โทรศัพท์ไปพูดคุยกับประธานาธิบดี เอมมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส, มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการนาโต และ อันโตนิโอ กอสตา ประธานสภายุโรป
    .
    ร่างข้อตกลงที่ทั้งฝ่ายเห็นพ้องกันเมื่อช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาจะเปิดทางให้สหรัฐอเมริกาเข้าถึงทรัพยากรแร่ธาตุที่ยูเครนมีอยู่มากมาย แต่ไม่ได้กำหนดให้สหรัฐฯ ต้องมอบการค้ำประกันความมั่นคงใดๆ ต่อเคียฟ โดย ทรัมป์ นั้นอ้างว่าการมีภาคธุรกิจอเมริกันอยู่ก็ถือเป็นการการันตีความปลอดภัยรูปแบบหนึ่งอยู่แล้ว
    .
    ข้อตกลงนี้จะมีมูลค่าเท่าไหร่สำหรับสหรัฐฯ ไม่มีการเผยตัวเลขที่ชัดเจน แต่ ทรัมป์ เคยคุยว่าสหรัฐฯ จะสามารถสร้างรายได้หลายแสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ เซเลนสกี ยืนยันว่า เขาจะไม่ลงนามข้อตกลงใดๆ ที่ทำใก้ชาวยูเครนต้องเป็นหนี้ไปอีกหลายชั่วอายุคน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020038
    ..............
    Sondhi X
    การหารือระหว่างประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ และประธานาธิบดี โวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนจบลงแบบ "หายนะ" โดยปราศจากการลงนามข้อตกลงแร่ธาตุในวันศุกร์ (28 ก.พ.) หลังผู้นำทั้งสองเกิดปะทะคารมกันอย่างรุนแรงต่อหน้าสื่อมวลชน โดย เซเลนสกี ตั้งคำถามเรื่องที่ ทรัมป์ เอนเอียงเข้าข้างรัสเซีย ขณะที่ ทรัมป์ ก็ชี้ว่าผู้นำยูเครน "ไม่เคารพ" อเมริกาและกำลังเดิมพันด้วยสงครามโลกครั้งที่ 3 พร้อมยื่นคำขาดหากยูเครนไม่รับข้อตกลง สหรัฐฯ ก็จะ "ไม่เอาด้วย" อีกต่อไป . การไปเยือนสหรัฐฯ ของ เซเลนสกี ในครั้งนี้เดิมมีเป้าหมายเพื่อเกลี้ยกล่อมสหรัฐฯ ไม่ให้หันไปเข้าข้างประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ซึ่งเป็นคนออกคำสั่งส่งทหารรุกรานยูเครนเมื่อ 3 ปีก่อน . อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า เซเลนสกี มีมุมมองเห็นต่างอย่างรุนแรงกับ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดี เจดี แวนซ์ เกี่ยวกับสงครามครั้งนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าท่าทีที่เปลี่ยนไปของสหรัฐฯ กำลังบั่นทอนการสนับสนุนที่ตะวันตกมีต่อเคียฟมากขนาดไหน . แวนซ์ ย้ำถึงความจำเป็นในการใช้การทูตคลี่คลายความขัดแย้งครั้งใหญ่ที่สุดของยุโรปในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะที่ เซเลนสกี แย้งว่า ปูติน "เชื่อถือไม่ได้" ไม่ว่าจะในการเจรจาใดๆ ก็ตาม . ทรัมป์ รีบโพสต์ข้อความผ่าน Truth Social ทันทีว่า เซเลนสกี ไม่ให้ความเคารพสหรัฐอเมริกา . "ผมคิดว่าประธานาธิบดี เซเลนสกียังไม่พร้อมสำหรับสันติภาพที่อเมริกาเข้าไปมีส่วนร่วม" ผู้นำสหรัฐฯ กล่าว "เขาสามารถกลับมาใหม่ได้ เมื่อเขาพร้อมที่จะยอมรับสันติภาพ" . เซเลนสกี เดินทางออกจากทำเนียบขาวก่อนกำหนดหลังจากที่ปะทะคารมกับ ทรัมป์ และ แวนซ์ โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้มีการลงนามข้อตกลงร่วมพัฒนาแหล่งแร่ธาตุในยูเครนอย่างที่ตั้งใจไว้ . การทะเลาะกันออกสื่อครั้งนี้ยังส่งผลเสียต่อความพยายามของพวกผู้ยุโรปที่หวังกล่อม ทรัมป์ ให้ยอมมอบการค้ำประกันความมั่นคงแก่ยูเครน แม้ว่า ทรัมป์ จะยืนกรานไม่ส่งทหารอเมริกันเข้าไปในยูเครนอย่างแน่นอนก็ตาม . การการันตีความมั่นคงจากสหรัฐฯ ถูกมองว่าเป็นสิ่งเดียวที่จะป้องปรามรัสเซียไม่ให้กล้ารุกรานยูเครนซ้ำอีก . "ผู้คนกำลังล้มตายมากขึ้นเรื่อยๆ คุณเองก็เหลือทหารน้อยลงทุกที" ทรัมป์ บอกกับ เซเลนสกี ระหว่างการสนทนาที่ห้องทำงานรูปไข่ พร้อมข่มขู่ว่าสหรัฐฯ อาจตัดสินใจถอนการสนับสนุนยูเครน . "คุณต้องเลือกว่าจะยอมทำข้อตกลง ไม่อย่างนั้นเราก็ไม่เอาด้วย และหากเราถอนตัว คุณก็ต้องสู้ด้วยตัวเอง ซึ่งผมไม่คิดว่าผลลัพธ์จะออกมาดี" ทรัมป์ กล่าว . "คุณไม่ได้อยู่ในสถานะที่ดีนัก ตอนนี้คุณไม่มีไพ่ต่อรองแล้ว แต่เพราะมีเรา คุณถึงมีไพ่ต่อรองขึ้นมาได้" ทรัมป์ กล่าว . "ผมไม่ได้เล่นไพ่ ผมจริงจังมากท่านประธานาธิบดี" เซเลนสกี ตอบ ก่อนจะถูก ทรัมป์ กระทุ้งต่อว่า "คุณกำลังเล่นไพ่ คุณเอาชีวิตผู้คนนับล้านๆ มาเป็นเดิมพัน คุณกำลังเดิมพันกับสงครามโลกครั้งที่ 3" . "ถ้าหากเราลงนามข้อตกลงกัน คุณก็จะมีสถานะเข้มแข็งขึ้น แต่นี่คุณทำเหมือนไม่สำนึกบุญคุณเราเลยสักนิด และนั่นไม่ใช่เรื่องที่ดี ผมบอกตรงๆ นะ มันไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย" . ด้าน เซเลนสกี ก็กล่าววาจาท้าทาย ทรัมป์ เรื่องที่เขาอ่อนข้อให้กับ ปูติน และเรียกร้องผู้นำสหรัฐฯ ว่า "อย่ายอมประนีประนอมกับฆาตกร" ขณะที่ ทรัมป์ ย้ำว่า ปูติน ต้องการบรรลุข้อตกลง . แวนซ์ กล่าวสำทับว่า การที่ เซเลนสกี เดินทางมาที่ห้องทำงานรูปไข่เพื่อยืนกระต่ายขาเดียวกับจุดยืนของตนเองนั้นเป็นการไม่เคารพสหรัฐฯ ซึ่ง ทรัมป์ เองก็เห็นด้วยในประเด็นนี้ . "คุณไม่พูดขอบคุณเลยสักคำ" แวนซ์ กล่าว ซึ่งทำให้ เซเลนสกี ขึ้นเสียงตอบโต้ทันทีว่า "ผมพูดไปแล้วไม่รู้กี่ครั้งว่าขอบคุณชาวอเมริกัน" . เซเลนสกี เคยได้รับขวัญกำลังใจและความช่วยเหลือด้านอาวุธนับหมื่นๆ ล้านดอลลาร์จากอดีตประธานาธิบดี โจ ไบเดน ในการต่อสู้กับรัสเซีย ทว่าตอนนี้เขากลับต้องเผชิญจุดยืนที่แตกต่างแบบพลิกขั้วของ ทรัมป์ ซึ่งต้องการปิดฉากสงครามที่ยืดเยื้อมานาน 3 ปี นำสหรัฐฯ กลับไปฟื้นฟูความสัมพันธ์กับรัสเซีย รวมถึง "ทวงคืน" เงินบางส่วนที่เคยช่วยเหลือยูเครนไปด้วย . "ผมหวังว่าผมคงจะได้รับการจดจำในฐานะผู้สร้างสันติภาพ" ทรัมป์ กล่าว . ก่อนหน้านั้น ทรัมป์ บอกกับ เซเลนสกี ว่าทหารยูเครนสู้รบด้วยความกล้าหาญอย่างไม่น่าเชื่อ และสหรัฐฯ ต้องการเห็นสงครามจบลง เพื่อนำเงินงบประมาณไปใช้ในด้านอื่นๆ เช่น การฟื้นฟู เป็นต้น . บรรดาผู้นำชาติยุโรปต่างลุกขึ้นปกป้อง เซเลนสกี เป็นแถว โดย ฟรีดริช แมร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ออกมาระบุว่า "เราต้องไม่สับสนว่าใครคือผู้รุกรานและใครคือเหยื่อในสงครามเลวร้ายครั้งนี้" ขณะที่นายกรัฐมนตรี เปโดร ซานเชซ แห่งสเปน ระบุว่า "ยูเครน สเปนยืนเคียงข้างคุณ" นอกจากนี้ เซเลนสกี ยังได้โทรศัพท์ไปพูดคุยกับประธานาธิบดี เอมมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส, มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการนาโต และ อันโตนิโอ กอสตา ประธานสภายุโรป . ร่างข้อตกลงที่ทั้งฝ่ายเห็นพ้องกันเมื่อช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาจะเปิดทางให้สหรัฐอเมริกาเข้าถึงทรัพยากรแร่ธาตุที่ยูเครนมีอยู่มากมาย แต่ไม่ได้กำหนดให้สหรัฐฯ ต้องมอบการค้ำประกันความมั่นคงใดๆ ต่อเคียฟ โดย ทรัมป์ นั้นอ้างว่าการมีภาคธุรกิจอเมริกันอยู่ก็ถือเป็นการการันตีความปลอดภัยรูปแบบหนึ่งอยู่แล้ว . ข้อตกลงนี้จะมีมูลค่าเท่าไหร่สำหรับสหรัฐฯ ไม่มีการเผยตัวเลขที่ชัดเจน แต่ ทรัมป์ เคยคุยว่าสหรัฐฯ จะสามารถสร้างรายได้หลายแสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ เซเลนสกี ยืนยันว่า เขาจะไม่ลงนามข้อตกลงใดๆ ที่ทำใก้ชาวยูเครนต้องเป็นหนี้ไปอีกหลายชั่วอายุคน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020038 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Sad
    21
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2051 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผู้นำยุโรปพร้อมใจกันสนับสนุนเซเลนสกี หลังจากเหตุการปะทะคารมกับสหรัฐ
    ผู้นำยุโรปพร้อมใจกันสนับสนุนเซเลนสกี หลังจากเหตุการปะทะคารมกับสหรัฐ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 149 มุมมอง 0 รีวิว
  • "เหลี่ยม(จน)ชิน-เนวิ(น)เกเตอร์" ฉายาสภาฯ ปี 67 ผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง” ส่วน “บิ๊กป้อม-ธิษะณา” ดาวดับทั้งคู่
    .
    สื่อสภาฯ ตั้งฉายาปี 67 สส. "เหลี่ยม(จน)ชิน" ส่วน สว. “เนวิ(น)เกเตอร์” ด้านวันนอร์ "รูทีนตีนตุ๊กแก" ประธานวุฒิฯ “ล็อกมง” หน.ปชน.ผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง” ส่วน “บิ๊กป้อม-ธิษะณา” คว้าคู่ "ดาวดับ" ไร้ดาวเด่นดาวสภาฯ 3 ปีซ้อน ยกขันหมาก “เพื่อไทย-ปชป.” เหตุการณ์แห่งปี
    .
    วันนี้ (26 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภา ร่วมกันตั้ง “ฉายาสภา” เป็นธรรมเนียมประจำทุกปี เพื่อสะท้อนความคิดเห็นการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติทั้ง สส. และ สว. ตลอดปี 2567 ในฐานะที่ติดตามการทำหน้าที่ของ สส. และ สว. มาโดยตลอด ดังนี้
    .
    “สภาผู้แทนราษฎร" ได้รับฉายา "เหลี่ยม(จน)ชิน"
    .
    ปี 2567 เกิดการพลิกขั้วรัฐบาลเพื่อไทยอีกครั้ง ที่เขี่ยพรรคพลังประชารัฐ ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล และดึงพรรคประชาธิปัตย์เสียบแทน ซึ่งถือเป็นการพลิกขั้วทางการเมืองครั้งสำคัญ แต่ไม่ปรากฏสาเหตุแน่ชัดในการปรับพรรคพลังประชารัฐพ้นรัฐบาล มีเพียงสัญญาณจากนายใหญ่ตระกูลชินเท่านั้น และยังมีการหักเหลี่ยมกัน ระหว่างพรรคเพื่อไทย กับพรรคภูมิใจไทย ในการพิจารณาหลักเกณฑ์การประชามติแก้รัฐธรรมนูญ จนกลายเป็นศึก “อีแอบ” บนเรือรัฐนาวา และยังมีอีกหลายเหลี่ยมที่เกิดขึ้นในสภาฯ ทั้ง พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม หรือแม้แต่รายงานนิรโทษกรรม ที่เปลี่ยนใจตอนท้าย หรือประกาศสนับสนุนแล้ว แต่ สส.กลับสวนมติพรรค ทำให้สมัยประชุมนี้ ต้องคุ้นชินกับเหลี่ยมของผู้ทรงเกียรติ
    .
    "วุฒิสภา" ได้รับฉายา "เนวิ(น)เกเตอร์"
    .
    กติกาการเลือกวุฒิสภาที่ซับซ้อนไม่หมู แต่กลายเป็น “กติกาหนู ๆ” เห็นได้จากผลการลงมติอย่างสม่ำเสมอของ สว.ในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเกาะกลุ่ม 150-160 เสียง ซึ่งถูกมองเป็นเครือข่ายสายตรงพรรคการเมืองสีน้ำเงิน สะท้อนให้เห็นว่า เบื้องหลังการลงมติ มีบ้านใหญ่บุรีรัมย์ เป็น “เนวิเกเตอร์” ชี้นำอยู่เบื้องหลัง
    .
    นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับฉายา "รูทีนตีนตุ๊กแก"
    นอกจาก นายวันมูหะมัดนอร์ จะสามารถปฏิบัติหน้าที่งานรูทีนของตนเองได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังสามารถหนีบเก้าอี้ของตัวเองได้ดียิ่งกว่า หลังกระแสข่าวการแลกเก้าอี้ประธานสภาฯ กับเก้าอี้รัฐมนตรี หรือกระแสข่าวพรรคเพื่อไทยทวงคืนบัลลังก์สะพัด แต่นายวันมูหะมัดนอร์ ก็ยังสามารถรับมือ หนีบเก้าอี้ตัวนี้ไว้ได้อย่างเหนียวแน่นหนึบ และใครก็ไม่สามารถเปลี่ยนตัวประธานสภาฯ ได้ เว้นแต่ตนปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้แล้ว
    .
    นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ได้รับฉายา "ล็อกมง"
    “ล็อกมงคล” มาตั้งแต่ไก่โห่ หลังมีกระแสข่าวค่ายน้ำเงินล็อก “มงคล” เป็นประธานวุฒิสภา และวุฒิสภายังเทคะแนนให้ “มงคล” ด้วยมติท่วมท้น 159 เสียง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม หรือเป็นเด็กนายที่ล็อกมงมาแต่แรก เพราะประมุขสภาสูงที่ผ่านมามักมีโปรโฟล์ด้านกฎหมายแกร่งกล้า เนื่องจากต้องเป็นหัวเรือใหญ่ในการกรองกฎหมาย ทว่า “นายมงคล” กลับมาจากสายปกครอง ไม่ใช่สายนิติศาสตร์ ทั้งยังแนะนำตัวเองว่ามาจากก้อนดิน ก้อนทราย เด็กวัด เรียนอาชีวะ สู่เก้าอี้อธิบดีกรมการปกครอง จนมานั่งบัลลังก์ประมุขสภาสูง ซึ่งหากขึ้นเวทีประกวดจริง คงค้านสายตาแฟนนางงาม เพราะแบบนี้ “ล็อกมง” แน่นอน
    .
    นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับฉายา “เท้งเต้ง”
    การทำงาน-พฤติกรรมของผู้นำฝ่ายค้านฯ ป้ายแดง ที่ถูกมองว่า ไม่โดดเด่นเท่าลูกพรรคหลายคน “ดูเคว้งเท้งเต้ง” ซ้ำยังเหมือนฝ่ายค้านพรรคเดียว แม้จะ “มีลุง” มาเสริมทัพ กลับไร้แนวร่วม เป็นฝ่ายค้านโดดเดี่ยวที่ไม่โดดเด่น เน้นรุกเสนอกฎหมายมากกว่าตรวจสอบ จนถูกปรามาสสภาฯ ไร้ฝ่ายค้าน ประกอบกับบทบาทหัวหน้าพรรคฯ มือใหม่ ที่ขาดเสน่ห์ ไร้บารมีผู้นำ ถูกเทียบชั้นกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล หนำซ้ำป้ายหาเสียง อบจ.ยังมีแต่ภาพนายพิธา ซึ่งเป็นผู้ช่วยหาเสียงมากกว่ารูป “หัวหน้าเท้ง” ซะอีก จึงเป็น “เท้งเต้ง” ลอยไปลอยมา
    .
    "ดาวเด่น" ในปี 2567 นี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภา เห็นว่า "ไม่มีผู้ใดเหมาะสม" และโดดเด่นเพียงพอที่จะได้รับตำแหน่งนี้ ซึ่งเป็นปีที่ 3 แล้วที่ฝ่ายนิติบัญญัติขาดดาวเด่น
    .
    "ดาวดับ" ในปี 2567 นี้สื่อมวลชนประจำรัฐสภา มีความเห็นร่วมกันที่จะมีผู้ได้รับตำแหน่งนี้ 2 คน ได้แก่ "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ” และ “นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ สส.กรุงเทพฯ พรรคประชาชน”
    .
    - “พล.อ.ประวิตร” จากพี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ มากบารมี หัวกะไดบ้านป่าไม่เคยแห้ง กลายเป็นหมดราศี เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ทั้งถูกร้องจริยธรรมโดดประชุม 84 ครั้ง จากนัดประชุม 95 ครั้ง มาเซ็นชื่อแล้วก็ชิ่ง สะท้อนการขาดความรับผิดชอบในหน้าที่พื้นฐานที่ต้องเข้าร่วมประชุม ทั้งที่ สส.ที่มีหน้าที่สำคัญในการประชุมสภาฯ จึงเรียกได้ว่า ไม่ทำงานจนดับ หนำซ้ำยังถูกขับออกจากพรรคร่วมรัฐบาล แม้พรรคฯ จะพยายามเสนอชื่อรัฐมนตรี และทวงเก้าอี้รัฐมนตรีไปแล้ว แต่รั้งอะไรไว้ไม่ได้ แถมยังต้องจำใจขับก๊วน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา ออกจากพรรคฯ ให้เป็นไท จากกระแสข่าวความเชื่อมโยงบ่วง “ภูนับดาว” อีก
    .
    - “นางสาวธิษะณา” หลานปู่อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของไทย แม้พรรคประชาชน จะผลักดันการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่กลับสวนทางกับผลงาน เพราะฟังการอภิปรายแล้วต้องอ้าปากค้าง ทั้งอ่านตัวเลขผิด และยังอินกับสิทธิเสรีภาพเกินเบอร์ ถึงขนาดให้รัฐบาลรับรองสิทธิชาวเมียนมาหนีสงคราม จนถูกโซเชียลหัวคะแนนออแกนิคของพรรค ทับถมเป็น #พรรคประชาชนพม่า และถูกแซวว่า เป็น สส.ราชเทวี หรือหงสาวดีกันแน่? จึงสะท้อนว่า แม้พรรคฯ จะสนับสนุนมาก แต่เจ้าตัวกลับดับโอกาสนั้นเอง
    .
    “วาทะแห่งปี 2567" ได้แก่ "..ทำให้คนไทย มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี.." โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ถือเป็นคำมั่นสัญญาสำคัญ ที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ต่อประชาชนผ่านสมาชิกรัฐสภา ซึ่งวาทะดังกล่าว ก็ยังคงเป็นที่ติดหู ติดปากประชาชน ตั้งแต่เวทีการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย และถูกนำไปล้อเลียนในโซเชียลมีเดีย แต่นายกรัฐมนตรี ก็ยังคงนำวาทะนี้มายืนยันต่อสภา สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนในปัจจุบัน ซึ่งคำสัญญาที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ต่อประชาชนผ่านเวทีหาเสียงเลือกตั้ง และรัฐสภานี้ หากไม่สามารถทำได้จริง ประชาชนก็จะลงโทษในคูหาผ่านการเลือกตั้งครั้งถัดไป
    .
    “เหตุการณ์แห่งปี 2567” ได้แก่ "พรรคเพื่อไทย" เทียบเชิญ "พรรคประชาธิปัตย์" เข้าร่วมรัฐบาล 28 สิงหาคม 2567 ที่รัฐสภา ถือเป็นการปิดตำนานความขัดแย้งยาวนานกว่า 2 ทศวรรษ ระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่ที่ขับเคี่ยวทางการเมืองกันมาโดยตลอด ซ้ำยังกลืนอุดมการณ์พรรคฯ ที่ยึดถือมาเกือบ 80 ปี เพียงเพราะขันหมาก พร้อมสินสอด 2 เก้าอี้รัฐมนตรี ทำเอาบรรดาเสื้อแดง พ่อยก-แม่ยกประชาธิปัตย์ ที่บาดเจ็บล้มตายจากการไปร่วมชุมนุม กิน-นอนข้างถนนต้องอกหัก ไม่คิดว่า 2 พรรคนี้ จะมาบรรจบกันได้ หลังแกนนำรุ่นนี้ ประกาศ “ทิ้งความขัดแย้งไว้ข้างหลังแล้ว” แต่ผลพวงความเสียหาย ซากปรักหักพังของประเทศที่เคยเกิดจากความขัดแย้งจาก 2 พรรคนี้ คงถูกทิ้งไว้ข้างหลังแล้วด้วยเช่นกัน
    .
    คู่กัดแห่งปี ได้แก่ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย หลังมีข่าวกินแหนงแคลงใจกัน แม้จะอยู่พรรคเดียวกัน เพราะเมื่อ นพ.ชลน่าน พ้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และมีกระแสข่าวพรรคเพื่อไทย เตรียมดันขึ้นตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่นายวันมูหะมัดนอร์ กลับกอดเก้าอี้ไว้แน่น จึงต้องเล็งมาที่เก้าอี้นายพิเชษฐ์ และเป็นที่สังเกตว่า ทุกครั้งที่นายพิเชษฐ์ ทำหน้าที่ควบคุมการประชุม นายแพทย์ชลน่าน ก็มักจะขึ้นมาอภิปราย และปะทะคารมกันบ่อยครั้ง จนถึงขั้นที่ นพ.ชลน่าน อภิปรายชี้หน้านายพิเชษฐ์ และบอกว่า หากทำหน้าที่ไม่ได้ ก็ให้รองประธานฯ อีกคนมาทำหน้าที่แทน ทำให้นายพิเชษฐ์ ของขึ้นโต้กลับอย่างควันออกหูว่า “ไม่ต้องชี้หน้า อยากเป็นก็ขึ้นมา”
    .
    ทั้งนี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภา ยังขอเป็นกำลังใจให้ สส.และ สว.ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดีอยู่แล้ว ให้มุ่งมั่น ตั้งใจ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วน สส. และ สว.ที่ยังบกพร่องในการทำหน้าที่ สื่อมวลชนหวังว่า จะมีการทบทวนปรับปรุงการทำหน้าที่ของตนเองให้ดีมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนต่อไป
    ...............
    Sondhi X
    "เหลี่ยม(จน)ชิน-เนวิ(น)เกเตอร์" ฉายาสภาฯ ปี 67 ผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง” ส่วน “บิ๊กป้อม-ธิษะณา” ดาวดับทั้งคู่ . สื่อสภาฯ ตั้งฉายาปี 67 สส. "เหลี่ยม(จน)ชิน" ส่วน สว. “เนวิ(น)เกเตอร์” ด้านวันนอร์ "รูทีนตีนตุ๊กแก" ประธานวุฒิฯ “ล็อกมง” หน.ปชน.ผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง” ส่วน “บิ๊กป้อม-ธิษะณา” คว้าคู่ "ดาวดับ" ไร้ดาวเด่นดาวสภาฯ 3 ปีซ้อน ยกขันหมาก “เพื่อไทย-ปชป.” เหตุการณ์แห่งปี . วันนี้ (26 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภา ร่วมกันตั้ง “ฉายาสภา” เป็นธรรมเนียมประจำทุกปี เพื่อสะท้อนความคิดเห็นการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติทั้ง สส. และ สว. ตลอดปี 2567 ในฐานะที่ติดตามการทำหน้าที่ของ สส. และ สว. มาโดยตลอด ดังนี้ . “สภาผู้แทนราษฎร" ได้รับฉายา "เหลี่ยม(จน)ชิน" . ปี 2567 เกิดการพลิกขั้วรัฐบาลเพื่อไทยอีกครั้ง ที่เขี่ยพรรคพลังประชารัฐ ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล และดึงพรรคประชาธิปัตย์เสียบแทน ซึ่งถือเป็นการพลิกขั้วทางการเมืองครั้งสำคัญ แต่ไม่ปรากฏสาเหตุแน่ชัดในการปรับพรรคพลังประชารัฐพ้นรัฐบาล มีเพียงสัญญาณจากนายใหญ่ตระกูลชินเท่านั้น และยังมีการหักเหลี่ยมกัน ระหว่างพรรคเพื่อไทย กับพรรคภูมิใจไทย ในการพิจารณาหลักเกณฑ์การประชามติแก้รัฐธรรมนูญ จนกลายเป็นศึก “อีแอบ” บนเรือรัฐนาวา และยังมีอีกหลายเหลี่ยมที่เกิดขึ้นในสภาฯ ทั้ง พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม หรือแม้แต่รายงานนิรโทษกรรม ที่เปลี่ยนใจตอนท้าย หรือประกาศสนับสนุนแล้ว แต่ สส.กลับสวนมติพรรค ทำให้สมัยประชุมนี้ ต้องคุ้นชินกับเหลี่ยมของผู้ทรงเกียรติ . "วุฒิสภา" ได้รับฉายา "เนวิ(น)เกเตอร์" . กติกาการเลือกวุฒิสภาที่ซับซ้อนไม่หมู แต่กลายเป็น “กติกาหนู ๆ” เห็นได้จากผลการลงมติอย่างสม่ำเสมอของ สว.ในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเกาะกลุ่ม 150-160 เสียง ซึ่งถูกมองเป็นเครือข่ายสายตรงพรรคการเมืองสีน้ำเงิน สะท้อนให้เห็นว่า เบื้องหลังการลงมติ มีบ้านใหญ่บุรีรัมย์ เป็น “เนวิเกเตอร์” ชี้นำอยู่เบื้องหลัง . นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับฉายา "รูทีนตีนตุ๊กแก" นอกจาก นายวันมูหะมัดนอร์ จะสามารถปฏิบัติหน้าที่งานรูทีนของตนเองได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังสามารถหนีบเก้าอี้ของตัวเองได้ดียิ่งกว่า หลังกระแสข่าวการแลกเก้าอี้ประธานสภาฯ กับเก้าอี้รัฐมนตรี หรือกระแสข่าวพรรคเพื่อไทยทวงคืนบัลลังก์สะพัด แต่นายวันมูหะมัดนอร์ ก็ยังสามารถรับมือ หนีบเก้าอี้ตัวนี้ไว้ได้อย่างเหนียวแน่นหนึบ และใครก็ไม่สามารถเปลี่ยนตัวประธานสภาฯ ได้ เว้นแต่ตนปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้แล้ว . นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ได้รับฉายา "ล็อกมง" “ล็อกมงคล” มาตั้งแต่ไก่โห่ หลังมีกระแสข่าวค่ายน้ำเงินล็อก “มงคล” เป็นประธานวุฒิสภา และวุฒิสภายังเทคะแนนให้ “มงคล” ด้วยมติท่วมท้น 159 เสียง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม หรือเป็นเด็กนายที่ล็อกมงมาแต่แรก เพราะประมุขสภาสูงที่ผ่านมามักมีโปรโฟล์ด้านกฎหมายแกร่งกล้า เนื่องจากต้องเป็นหัวเรือใหญ่ในการกรองกฎหมาย ทว่า “นายมงคล” กลับมาจากสายปกครอง ไม่ใช่สายนิติศาสตร์ ทั้งยังแนะนำตัวเองว่ามาจากก้อนดิน ก้อนทราย เด็กวัด เรียนอาชีวะ สู่เก้าอี้อธิบดีกรมการปกครอง จนมานั่งบัลลังก์ประมุขสภาสูง ซึ่งหากขึ้นเวทีประกวดจริง คงค้านสายตาแฟนนางงาม เพราะแบบนี้ “ล็อกมง” แน่นอน . นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับฉายา “เท้งเต้ง” การทำงาน-พฤติกรรมของผู้นำฝ่ายค้านฯ ป้ายแดง ที่ถูกมองว่า ไม่โดดเด่นเท่าลูกพรรคหลายคน “ดูเคว้งเท้งเต้ง” ซ้ำยังเหมือนฝ่ายค้านพรรคเดียว แม้จะ “มีลุง” มาเสริมทัพ กลับไร้แนวร่วม เป็นฝ่ายค้านโดดเดี่ยวที่ไม่โดดเด่น เน้นรุกเสนอกฎหมายมากกว่าตรวจสอบ จนถูกปรามาสสภาฯ ไร้ฝ่ายค้าน ประกอบกับบทบาทหัวหน้าพรรคฯ มือใหม่ ที่ขาดเสน่ห์ ไร้บารมีผู้นำ ถูกเทียบชั้นกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล หนำซ้ำป้ายหาเสียง อบจ.ยังมีแต่ภาพนายพิธา ซึ่งเป็นผู้ช่วยหาเสียงมากกว่ารูป “หัวหน้าเท้ง” ซะอีก จึงเป็น “เท้งเต้ง” ลอยไปลอยมา . "ดาวเด่น" ในปี 2567 นี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภา เห็นว่า "ไม่มีผู้ใดเหมาะสม" และโดดเด่นเพียงพอที่จะได้รับตำแหน่งนี้ ซึ่งเป็นปีที่ 3 แล้วที่ฝ่ายนิติบัญญัติขาดดาวเด่น . "ดาวดับ" ในปี 2567 นี้สื่อมวลชนประจำรัฐสภา มีความเห็นร่วมกันที่จะมีผู้ได้รับตำแหน่งนี้ 2 คน ได้แก่ "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ” และ “นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ สส.กรุงเทพฯ พรรคประชาชน” . - “พล.อ.ประวิตร” จากพี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ มากบารมี หัวกะไดบ้านป่าไม่เคยแห้ง กลายเป็นหมดราศี เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ทั้งถูกร้องจริยธรรมโดดประชุม 84 ครั้ง จากนัดประชุม 95 ครั้ง มาเซ็นชื่อแล้วก็ชิ่ง สะท้อนการขาดความรับผิดชอบในหน้าที่พื้นฐานที่ต้องเข้าร่วมประชุม ทั้งที่ สส.ที่มีหน้าที่สำคัญในการประชุมสภาฯ จึงเรียกได้ว่า ไม่ทำงานจนดับ หนำซ้ำยังถูกขับออกจากพรรคร่วมรัฐบาล แม้พรรคฯ จะพยายามเสนอชื่อรัฐมนตรี และทวงเก้าอี้รัฐมนตรีไปแล้ว แต่รั้งอะไรไว้ไม่ได้ แถมยังต้องจำใจขับก๊วน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา ออกจากพรรคฯ ให้เป็นไท จากกระแสข่าวความเชื่อมโยงบ่วง “ภูนับดาว” อีก . - “นางสาวธิษะณา” หลานปู่อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของไทย แม้พรรคประชาชน จะผลักดันการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่กลับสวนทางกับผลงาน เพราะฟังการอภิปรายแล้วต้องอ้าปากค้าง ทั้งอ่านตัวเลขผิด และยังอินกับสิทธิเสรีภาพเกินเบอร์ ถึงขนาดให้รัฐบาลรับรองสิทธิชาวเมียนมาหนีสงคราม จนถูกโซเชียลหัวคะแนนออแกนิคของพรรค ทับถมเป็น #พรรคประชาชนพม่า และถูกแซวว่า เป็น สส.ราชเทวี หรือหงสาวดีกันแน่? จึงสะท้อนว่า แม้พรรคฯ จะสนับสนุนมาก แต่เจ้าตัวกลับดับโอกาสนั้นเอง . “วาทะแห่งปี 2567" ได้แก่ "..ทำให้คนไทย มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี.." โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ถือเป็นคำมั่นสัญญาสำคัญ ที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ต่อประชาชนผ่านสมาชิกรัฐสภา ซึ่งวาทะดังกล่าว ก็ยังคงเป็นที่ติดหู ติดปากประชาชน ตั้งแต่เวทีการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย และถูกนำไปล้อเลียนในโซเชียลมีเดีย แต่นายกรัฐมนตรี ก็ยังคงนำวาทะนี้มายืนยันต่อสภา สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนในปัจจุบัน ซึ่งคำสัญญาที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ต่อประชาชนผ่านเวทีหาเสียงเลือกตั้ง และรัฐสภานี้ หากไม่สามารถทำได้จริง ประชาชนก็จะลงโทษในคูหาผ่านการเลือกตั้งครั้งถัดไป . “เหตุการณ์แห่งปี 2567” ได้แก่ "พรรคเพื่อไทย" เทียบเชิญ "พรรคประชาธิปัตย์" เข้าร่วมรัฐบาล 28 สิงหาคม 2567 ที่รัฐสภา ถือเป็นการปิดตำนานความขัดแย้งยาวนานกว่า 2 ทศวรรษ ระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่ที่ขับเคี่ยวทางการเมืองกันมาโดยตลอด ซ้ำยังกลืนอุดมการณ์พรรคฯ ที่ยึดถือมาเกือบ 80 ปี เพียงเพราะขันหมาก พร้อมสินสอด 2 เก้าอี้รัฐมนตรี ทำเอาบรรดาเสื้อแดง พ่อยก-แม่ยกประชาธิปัตย์ ที่บาดเจ็บล้มตายจากการไปร่วมชุมนุม กิน-นอนข้างถนนต้องอกหัก ไม่คิดว่า 2 พรรคนี้ จะมาบรรจบกันได้ หลังแกนนำรุ่นนี้ ประกาศ “ทิ้งความขัดแย้งไว้ข้างหลังแล้ว” แต่ผลพวงความเสียหาย ซากปรักหักพังของประเทศที่เคยเกิดจากความขัดแย้งจาก 2 พรรคนี้ คงถูกทิ้งไว้ข้างหลังแล้วด้วยเช่นกัน . คู่กัดแห่งปี ได้แก่ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย หลังมีข่าวกินแหนงแคลงใจกัน แม้จะอยู่พรรคเดียวกัน เพราะเมื่อ นพ.ชลน่าน พ้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และมีกระแสข่าวพรรคเพื่อไทย เตรียมดันขึ้นตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่นายวันมูหะมัดนอร์ กลับกอดเก้าอี้ไว้แน่น จึงต้องเล็งมาที่เก้าอี้นายพิเชษฐ์ และเป็นที่สังเกตว่า ทุกครั้งที่นายพิเชษฐ์ ทำหน้าที่ควบคุมการประชุม นายแพทย์ชลน่าน ก็มักจะขึ้นมาอภิปราย และปะทะคารมกันบ่อยครั้ง จนถึงขั้นที่ นพ.ชลน่าน อภิปรายชี้หน้านายพิเชษฐ์ และบอกว่า หากทำหน้าที่ไม่ได้ ก็ให้รองประธานฯ อีกคนมาทำหน้าที่แทน ทำให้นายพิเชษฐ์ ของขึ้นโต้กลับอย่างควันออกหูว่า “ไม่ต้องชี้หน้า อยากเป็นก็ขึ้นมา” . ทั้งนี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภา ยังขอเป็นกำลังใจให้ สส.และ สว.ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดีอยู่แล้ว ให้มุ่งมั่น ตั้งใจ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วน สส. และ สว.ที่ยังบกพร่องในการทำหน้าที่ สื่อมวลชนหวังว่า จะมีการทบทวนปรับปรุงการทำหน้าที่ของตนเองให้ดีมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนต่อไป ............... Sondhi X
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 3050 มุมมอง 0 รีวิว
  • 28 พฤศจิกายน 2567- TNNWorldNews รายงานข่าว ดรามาการเมืองฟิลิปปินส์กำลังร้อนแรงอย่างหนัก เมื่อประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีไม่ลงรอยกัน จนถึงขั้น “ขู่สังหาร” Summary - รองประธานาธิบดีซาร่า ดูแตร์เต ลูกสาวอดีตประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ที่จับมือประธานาธิบดีเฟอร์ดินาน มาร์กอส จูเนียร์​ ชนะการเลือกตั้งได้อย่างถล่มทลายเมื่อปี 2565- แต่ความสัมพันธ์ 2 ตระกูลเริ่มร้าวฉาน เพราะดูแตร์เตหนุนจีน - ส่วนมาร์กอส จูเนียร์​หนุนสหรัฐฯ อย่างเปิดเผย นำมาสู่การเผชิญหน้ากับจีนในทะเลจีนใต้บ่อยครั้ง- รองปธน.ซาร่า ดูแตร์เต เคยประกาศว่าได้สั่งคนไปเก็บปธน.มาร์กอส จูเนียร์​ หากเธอถูกลอบสังหาร แรกเริ่มความสัมพันธ์ย้อนความกลับไปเมื่อปี 2565 ซาร่า ดูแตร์เต ลูกสาวคนโตของอดีตประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ผู้นำผู้ขึ้นชื่อลือชาเรื่องความดุเด็ดเผ็ดมันในทุกเรื่อง ได้ผันตัวจากนักกฎหมายเข้าสู่สนามการเมือง  และควงแขนประธานาธิบดีเฟอร์ดินาน มาร์กอส จูเนียร์ คว้าใจประชาชน เอาชนะมาได้อย่างถล่มทลาย ด้วยนโยบายหาเสียง “เน้นความสามัคคีในชาติ”​เธอมีอารมณ์ร้อน และวาทุดุเดือดไม่แพ้ผู้เป็นพ่อ และมักจะมีการปะทะคารมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่บ่อยครั้ง แต่ความที่มีนามสกุล “ดูแตร์เต”​ ซึ่งยังมีคนนิยมชมชอบในความแข็งกร้าวอยู่ ก็ทำให้เธอยังคงได้ฐานเสียงสำคัญ และเป็นที่รักของประชาชน (กลุ่มหนึ่ง) อยู่ ความสัมพันธ์ส่อร้าวแม้จับจับมือกันหวานชื่นเมื่อสมัยเลือกตั้ง แต่หลังจากที่ปธน.มาร์กอส จูเนียร์​ นั่งเก้าอี้ผู้นำได้เพียง 2 ปี ก็ได้เปิดฉากการตรวจสอบเรื่อง “สงครามปราบปรามยาเสพติด” ขนานใหญ่ของอดีตปธน.ดูแตร์เต ด้วยการใช้กลไลสภาในการตรวจสอบการเสียชีวิตของผู้คนนับพัน จึงกลายเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ ของผู้นำและรองผู้นำแห่งฟิลิปปินส์​ เริ่มเกิดรอยร้าวขึ้นมาร์กอส จูเนียร์ ยังกล่าวหาว่ารองปธน.ใช้งบประมาณโดยมิชอบ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีศึกษาธิการอีกด้วยเมื่อความหอมหวาน กลายเป็นความขมขื่น ซาร่า ดูแตร์เต จึงได้ให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ว่า เธออยากจะบั่นศีรษะประธานาธิบดีมาร์กอส จูเนียร์​ และอยากแม้กระทั่งไปขุดเอาซากกระดูกของ “เฟอร์ดินาน มาร์กอส” อดีตผู้นำเผด็จการ ขึ้นมาและเอาไปโปรยในทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตกอีกด้วย คิดบัญชีกันและกันและจนกระทั่งล่าสุด เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (24 พฤศจิกายน)​ ซาร่า ดูแตร์เต ก็ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า เธอได้สั่งให้คนไปลอบสังหารมาร์กอส จูเนียร์​ - ภริยา และประธานสภาผู้แทนราษฎร “หากว่าตัวเธอถูกลอบสังหารไปก่อน” เรื่องนี้ก็ร้อนถึงประธานาธิบดีที่ต้องตอบโต้ทันที ว่าพร้อมที่จะสู้กลับ และ “หากการลอบสังหารประธานาธิบดีมันง่ายขนาดนั้น..​แล้วประชาชนคนธรรมดาจะเป็นอย่างไร ดังนั้น อย่าได้มองข้ามการวางแผนก่ออาชญากรรมเช่นนี้”และล่าสุดวันพุธ (27 พฤศจิกายน)​ ตำรวจฟิลิปปินส์ได้ยื่นฟ้องอาญาต่อ “ซาร่า ดูแตร์เต” รองประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของเธอ ฐานทำร้ายร่างกาย และละเมิดคำสั่งของทางการจากเหตุทะเลาะวิวาทในรัฐสภาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ขณะที่ก่อนหน้านี้ อดีตประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ก็เคยกล่าวในเชิงข่มขู่ว่าจะเกิดรัฐประหารด้วยว่า “ธรรมมาภิบาลที่แตกร้าว มีเพียง ‘ทหาร’ ที่จะสามารถเยียวยาได้” และทำให้กระทรวงยุติธรรมกำลังตรวจสอบว่าเป็นความพยายามก่อรัฐประหารของอดีตผู้นำผู้ทรงอิทธิพลหรือไม่?นับเป็นการดำเนินการทางกฎหมายของรัฐบาล “มาร์กอส จูเนียร์” ต่อ “ดูแตร์เต” ที่กลายเป็น “จุดเปลี่ยน” ที่สำคัญของ 2 ตระกูลดังทางการเมืองที่ทรงอำนาจที่สุดในฟิลิปปินส์ในเวลานี้ ภาพ: Reutersที่มา TNNWorldNews 
    28 พฤศจิกายน 2567- TNNWorldNews รายงานข่าว ดรามาการเมืองฟิลิปปินส์กำลังร้อนแรงอย่างหนัก เมื่อประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีไม่ลงรอยกัน จนถึงขั้น “ขู่สังหาร” Summary - รองประธานาธิบดีซาร่า ดูแตร์เต ลูกสาวอดีตประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ที่จับมือประธานาธิบดีเฟอร์ดินาน มาร์กอส จูเนียร์​ ชนะการเลือกตั้งได้อย่างถล่มทลายเมื่อปี 2565- แต่ความสัมพันธ์ 2 ตระกูลเริ่มร้าวฉาน เพราะดูแตร์เตหนุนจีน - ส่วนมาร์กอส จูเนียร์​หนุนสหรัฐฯ อย่างเปิดเผย นำมาสู่การเผชิญหน้ากับจีนในทะเลจีนใต้บ่อยครั้ง- รองปธน.ซาร่า ดูแตร์เต เคยประกาศว่าได้สั่งคนไปเก็บปธน.มาร์กอส จูเนียร์​ หากเธอถูกลอบสังหาร🔴 แรกเริ่มความสัมพันธ์ย้อนความกลับไปเมื่อปี 2565 ซาร่า ดูแตร์เต ลูกสาวคนโตของอดีตประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ผู้นำผู้ขึ้นชื่อลือชาเรื่องความดุเด็ดเผ็ดมันในทุกเรื่อง ได้ผันตัวจากนักกฎหมายเข้าสู่สนามการเมือง  และควงแขนประธานาธิบดีเฟอร์ดินาน มาร์กอส จูเนียร์ คว้าใจประชาชน เอาชนะมาได้อย่างถล่มทลาย ด้วยนโยบายหาเสียง “เน้นความสามัคคีในชาติ”​เธอมีอารมณ์ร้อน และวาทุดุเดือดไม่แพ้ผู้เป็นพ่อ และมักจะมีการปะทะคารมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่บ่อยครั้ง แต่ความที่มีนามสกุล “ดูแตร์เต”​ ซึ่งยังมีคนนิยมชมชอบในความแข็งกร้าวอยู่ ก็ทำให้เธอยังคงได้ฐานเสียงสำคัญ และเป็นที่รักของประชาชน (กลุ่มหนึ่ง) อยู่🔴 ความสัมพันธ์ส่อร้าวแม้จับจับมือกันหวานชื่นเมื่อสมัยเลือกตั้ง แต่หลังจากที่ปธน.มาร์กอส จูเนียร์​ นั่งเก้าอี้ผู้นำได้เพียง 2 ปี ก็ได้เปิดฉากการตรวจสอบเรื่อง “สงครามปราบปรามยาเสพติด” ขนานใหญ่ของอดีตปธน.ดูแตร์เต ด้วยการใช้กลไลสภาในการตรวจสอบการเสียชีวิตของผู้คนนับพัน จึงกลายเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ ของผู้นำและรองผู้นำแห่งฟิลิปปินส์​ เริ่มเกิดรอยร้าวขึ้นมาร์กอส จูเนียร์ ยังกล่าวหาว่ารองปธน.ใช้งบประมาณโดยมิชอบ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีศึกษาธิการอีกด้วยเมื่อความหอมหวาน กลายเป็นความขมขื่น ซาร่า ดูแตร์เต จึงได้ให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ว่า เธออยากจะบั่นศีรษะประธานาธิบดีมาร์กอส จูเนียร์​ และอยากแม้กระทั่งไปขุดเอาซากกระดูกของ “เฟอร์ดินาน มาร์กอส” อดีตผู้นำเผด็จการ ขึ้นมาและเอาไปโปรยในทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตกอีกด้วย🔴 คิดบัญชีกันและกันและจนกระทั่งล่าสุด เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (24 พฤศจิกายน)​ ซาร่า ดูแตร์เต ก็ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า เธอได้สั่งให้คนไปลอบสังหารมาร์กอส จูเนียร์​ - ภริยา และประธานสภาผู้แทนราษฎร “หากว่าตัวเธอถูกลอบสังหารไปก่อน” เรื่องนี้ก็ร้อนถึงประธานาธิบดีที่ต้องตอบโต้ทันที ว่าพร้อมที่จะสู้กลับ และ “หากการลอบสังหารประธานาธิบดีมันง่ายขนาดนั้น..​แล้วประชาชนคนธรรมดาจะเป็นอย่างไร ดังนั้น อย่าได้มองข้ามการวางแผนก่ออาชญากรรมเช่นนี้”และล่าสุดวันพุธ (27 พฤศจิกายน)​ ตำรวจฟิลิปปินส์ได้ยื่นฟ้องอาญาต่อ “ซาร่า ดูแตร์เต” รองประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของเธอ ฐานทำร้ายร่างกาย และละเมิดคำสั่งของทางการจากเหตุทะเลาะวิวาทในรัฐสภาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ขณะที่ก่อนหน้านี้ อดีตประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ก็เคยกล่าวในเชิงข่มขู่ว่าจะเกิดรัฐประหารด้วยว่า “ธรรมมาภิบาลที่แตกร้าว มีเพียง ‘ทหาร’ ที่จะสามารถเยียวยาได้” และทำให้กระทรวงยุติธรรมกำลังตรวจสอบว่าเป็นความพยายามก่อรัฐประหารของอดีตผู้นำผู้ทรงอิทธิพลหรือไม่?นับเป็นการดำเนินการทางกฎหมายของรัฐบาล “มาร์กอส จูเนียร์” ต่อ “ดูแตร์เต” ที่กลายเป็น “จุดเปลี่ยน” ที่สำคัญของ 2 ตระกูลดังทางการเมืองที่ทรงอำนาจที่สุดในฟิลิปปินส์ในเวลานี้ ภาพ: Reutersที่มา TNNWorldNews 
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 599 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ทนายบอสพอล” ลั่น! แม่ข่ายแสนกว่าคนต้องตกเป็นผู้ต้องหาด้วย ตอนนี้จัดการเชือด 8 คน “กบ ไมโคร - ลูกตาล” ปะทะคารม ขอความเป็นธรรม ทำไม “พลอย” เมีย “กันต์” ไม่โดน ในเมื่อเป็นถึงระดับแกรนด์ดีลเลอร์ ทนายอ้างไม่ใช่เป้าหมาย มีสมาชิกกี่คน ถึงทราบก็ตอบไม่ได้

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000104266

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “ทนายบอสพอล” ลั่น! แม่ข่ายแสนกว่าคนต้องตกเป็นผู้ต้องหาด้วย ตอนนี้จัดการเชือด 8 คน “กบ ไมโคร - ลูกตาล” ปะทะคารม ขอความเป็นธรรม ทำไม “พลอย” เมีย “กันต์” ไม่โดน ในเมื่อเป็นถึงระดับแกรนด์ดีลเลอร์ ทนายอ้างไม่ใช่เป้าหมาย มีสมาชิกกี่คน ถึงทราบก็ตอบไม่ได้ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000104266 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    30
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 3303 มุมมอง 0 รีวิว