• วันนี้(10 พ.ค.) มีรายงานว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้ออกประกาศปรับอัตราค่าธรรมเนียมบริการโอนเงินและบริการแจ้งเตือนผู้รับเงินผ่านทางอีเมล โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2568 เป็นต้นไป

    ประกาศดังกล่าวระบุว่า การโอนเงินภายในบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงไม่มีค่าธรรมเนียม แต่สำหรับการโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลอื่น จะเริ่มมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 5 บาทต่อรายการ จากเดิมที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย

    นอกจากนี้ หากเป็นการโอนเงินข้ามเขต จะมีการคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมอีก 0.1% ของยอดเงินที่โอน โดยกำหนดขั้นต่ำที่ 10 บาท และไม่เกิน 1,000 บาท

    ขณะเดียวกัน ธนาคารได้ปรับลดค่าธรรมเนียมบริการแจ้งเตือนผู้รับเงินผ่านทางอีเมล โดย ยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งหมด จากเดิมที่คิด 3 บาทต่อรายการ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/stockmarket/detail/9680000043823

    #MGROnline #SCB #ธนาคารไทยพาณิชย์ #โอนเงิน #โอนเงินข้ามเขต
    วันนี้(10 พ.ค.) มีรายงานว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้ออกประกาศปรับอัตราค่าธรรมเนียมบริการโอนเงินและบริการแจ้งเตือนผู้รับเงินผ่านทางอีเมล โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2568 เป็นต้นไป • ประกาศดังกล่าวระบุว่า การโอนเงินภายในบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงไม่มีค่าธรรมเนียม แต่สำหรับการโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลอื่น จะเริ่มมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 5 บาทต่อรายการ จากเดิมที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย • นอกจากนี้ หากเป็นการโอนเงินข้ามเขต จะมีการคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมอีก 0.1% ของยอดเงินที่โอน โดยกำหนดขั้นต่ำที่ 10 บาท และไม่เกิน 1,000 บาท • ขณะเดียวกัน ธนาคารได้ปรับลดค่าธรรมเนียมบริการแจ้งเตือนผู้รับเงินผ่านทางอีเมล โดย ยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งหมด จากเดิมที่คิด 3 บาทต่อรายการ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/stockmarket/detail/9680000043823 • #MGROnline #SCB #ธนาคารไทยพาณิชย์ #โอนเงิน #โอนเงินข้ามเขต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 29 มุมมอง 0 รีวิว
  • ซื้อหนี้ประชาชน อันตรายบนศีลธรรม

    เป็นที่วิจารณ์ไม่หยุด สำหรับแนวคิดรับซื้อหนี้จากประชาชนทั้งหมดออกจากระบบธนาคาร แล้วให้ประชาชนค่อยๆ ผ่อน ไม่ต้องชำระเต็มจำนวน ให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ ทำมาหากินใหม่ โดยอ้างว่าจะให้หนี้สินคนไทยหมดไป ไม่ต้องใช้เงินรัฐสักบาท ให้เอกชนลงทุน แม้แนวคิดดูเลื่อนลอย แต่ก็เป็นความกังวลของสังคมไทย นักกลยุทธ์การลงทุนรายหนึ่งโพสต์ข้อความว่า "การซื้อหนี้ 16 ล้านล้านบาท ไม่มีเอกชนหน้าโง่ที่ไหนซื้อหนี้ราคาสูงแล้วมาแฮร์คัต (Hair Cut หรือปิดจบด้วยเงินก้อน) ให้ลูกหนี้ ถ้ารัฐไม่ล้างผลาญงบฯ จ่ายส่วนต่างให้" มีชาวเน็ตแชร์ออกไปนับร้อยครั้ง

    นายยรรยง ไทยเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานวิจัยเศรษฐกิจและความยั่งยืน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) กล่าวว่า แนวคิดการรับซื้อหนี้เสียของประชาชน จากธนาคารพาณิชย์มาบริหารจัดการ กรอบสำคัญคือต้องมองให้ครบ บูรณาการผลกระทบต่างๆ สำคัญคือที่มาของเงินมาจากไหน เพราะอาจจะเป็นภาระทางการคลังได้ และคำนึงผลกระทบเชิง Moral hazard ต้องหาจุดตรงกลางในการช่วยเหลือ

    ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาแบงก์ชาติยึดหลักแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน 3 ประการ คือ 1. ต้องสนับสนุนวินัยทางการเงินที่ดี ไม่สร้างแรงจูงใจที่ผิด ทำให้เกิดปัญหา Moral hazard 2. สนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้ในระยะข้างหน้า และ 3. ต้องแก้ปัญหาหนี้อย่างตรงจุด และเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ระบบการเงินในภาพรวม

    Moral hazard หรือภัยทางศีลธรรม อันตรายบนศีลธรรม จรรยาสามานย์ แล้วแต่จะเรียก เกิดขึ้นเมื่อผู้มีส่วนได้เสียคือลูกหนี้ มีแรงจูงใจหรือมีสิ่งล่อใจแล้วเอาเปรียบอีกฝ่ายโดยเพิ่มความเสี่ยงให้ตัวเอง เพราะรู้ดีว่าถ้าล้มเมื่อไหร่เดี๋ยวก็ได้รับการช่วยเหลือ เปรียบคนเบี้ยวหนี้กองทุน กยศ.คิดว่าเดี๋ยวรัฐบาลจะลดยอดหนี้ให้ ชาวนาไม่ฟังทางการทำนาในฤดูแล้ง เมื่อเสียหายก็ได้เงินชดเชยจากรัฐบาล เป็นเครื่องมือให้นักการเมืองฉวยโอกาสสร้างคะแนนนิยมเอาเปรียบประชาชนผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    การซื้อหนี้จากธนาคารแล้วให้ประชาชนค่อยๆ ผ่อน เหมือนเริ่มต้นจะสวยหรูแต่ขมขื่นระยะยาว เฉกเช่นบริษัทสินเชื่อแห่งหนึ่ง เปิดฉากกวาดลูกค้าจากค่ายอื่นแล้วได้ลูกค้ากลุ่มที่เป็นปัญหา มีประวัติผิดนัดชำระหนี้จากที่อื่นย้ายหนีจำนวนมาก สุดท้ายก็สร้างปัญหา ผลประกอบการขาดทุนย่อยยับ แล้วขายพอร์ตสินเชื่อให้กับผู้สนใจรายใหม่ จากนั้นรายใหม่ก็อาจนำไปเล่นแร่แปรธาตุ เช่น ปล่อยหุ้นกู้แล้วไม่จ่ายคืน กลายเป็นมันนี่เกมที่อาจทำให้นักลงทุนซึ่งเป็นคนธรรมดาอาจถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว

    #Newskit
    ซื้อหนี้ประชาชน อันตรายบนศีลธรรม เป็นที่วิจารณ์ไม่หยุด สำหรับแนวคิดรับซื้อหนี้จากประชาชนทั้งหมดออกจากระบบธนาคาร แล้วให้ประชาชนค่อยๆ ผ่อน ไม่ต้องชำระเต็มจำนวน ให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ ทำมาหากินใหม่ โดยอ้างว่าจะให้หนี้สินคนไทยหมดไป ไม่ต้องใช้เงินรัฐสักบาท ให้เอกชนลงทุน แม้แนวคิดดูเลื่อนลอย แต่ก็เป็นความกังวลของสังคมไทย นักกลยุทธ์การลงทุนรายหนึ่งโพสต์ข้อความว่า "การซื้อหนี้ 16 ล้านล้านบาท ไม่มีเอกชนหน้าโง่ที่ไหนซื้อหนี้ราคาสูงแล้วมาแฮร์คัต (Hair Cut หรือปิดจบด้วยเงินก้อน) ให้ลูกหนี้ ถ้ารัฐไม่ล้างผลาญงบฯ จ่ายส่วนต่างให้" มีชาวเน็ตแชร์ออกไปนับร้อยครั้ง นายยรรยง ไทยเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานวิจัยเศรษฐกิจและความยั่งยืน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) กล่าวว่า แนวคิดการรับซื้อหนี้เสียของประชาชน จากธนาคารพาณิชย์มาบริหารจัดการ กรอบสำคัญคือต้องมองให้ครบ บูรณาการผลกระทบต่างๆ สำคัญคือที่มาของเงินมาจากไหน เพราะอาจจะเป็นภาระทางการคลังได้ และคำนึงผลกระทบเชิง Moral hazard ต้องหาจุดตรงกลางในการช่วยเหลือ ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาแบงก์ชาติยึดหลักแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน 3 ประการ คือ 1. ต้องสนับสนุนวินัยทางการเงินที่ดี ไม่สร้างแรงจูงใจที่ผิด ทำให้เกิดปัญหา Moral hazard 2. สนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้ในระยะข้างหน้า และ 3. ต้องแก้ปัญหาหนี้อย่างตรงจุด และเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ระบบการเงินในภาพรวม Moral hazard หรือภัยทางศีลธรรม อันตรายบนศีลธรรม จรรยาสามานย์ แล้วแต่จะเรียก เกิดขึ้นเมื่อผู้มีส่วนได้เสียคือลูกหนี้ มีแรงจูงใจหรือมีสิ่งล่อใจแล้วเอาเปรียบอีกฝ่ายโดยเพิ่มความเสี่ยงให้ตัวเอง เพราะรู้ดีว่าถ้าล้มเมื่อไหร่เดี๋ยวก็ได้รับการช่วยเหลือ เปรียบคนเบี้ยวหนี้กองทุน กยศ.คิดว่าเดี๋ยวรัฐบาลจะลดยอดหนี้ให้ ชาวนาไม่ฟังทางการทำนาในฤดูแล้ง เมื่อเสียหายก็ได้เงินชดเชยจากรัฐบาล เป็นเครื่องมือให้นักการเมืองฉวยโอกาสสร้างคะแนนนิยมเอาเปรียบประชาชนผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การซื้อหนี้จากธนาคารแล้วให้ประชาชนค่อยๆ ผ่อน เหมือนเริ่มต้นจะสวยหรูแต่ขมขื่นระยะยาว เฉกเช่นบริษัทสินเชื่อแห่งหนึ่ง เปิดฉากกวาดลูกค้าจากค่ายอื่นแล้วได้ลูกค้ากลุ่มที่เป็นปัญหา มีประวัติผิดนัดชำระหนี้จากที่อื่นย้ายหนีจำนวนมาก สุดท้ายก็สร้างปัญหา ผลประกอบการขาดทุนย่อยยับ แล้วขายพอร์ตสินเชื่อให้กับผู้สนใจรายใหม่ จากนั้นรายใหม่ก็อาจนำไปเล่นแร่แปรธาตุ เช่น ปล่อยหุ้นกู้แล้วไม่จ่ายคืน กลายเป็นมันนี่เกมที่อาจทำให้นักลงทุนซึ่งเป็นคนธรรมดาอาจถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว #Newskit
    Like
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 720 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคาร กสิกรไทยรองรับ 2 รูปแบบ

    ในช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน 2568 ที่ผ่านมา แต่ละธนาคารได้สำรองเงินสดเพื่อรองรับการใช้จ่าย ซึ่งพบว่าแต่ละธนาคารเปิดเผยตัวเลขจำนวนเครื่องเอทีเอ็มในปัจจุบัน โดยธนาคารไทยพาณิชย์ ยังคงมีเครื่องเอทีเอ็มมากที่สุดในประเทศ รวม 9,937 เครื่องแม้จะลดลงไม่ถึงหลักหมื่น จากเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 รวม 10,398 เครื่อง ลดลง 461 เครื่องก็ตาม

    ส่วนธนาคารอื่นๆ อาทิ ธนาคารกสิกรไทย 8,200 เครื่อง ธนาคารกรุงเทพ 8,000 เครื่อง ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 5,425 เครื่อง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) 2,406 เครื่อง ธ.ก.ส. 2,300 เครื่อง ขณะที่ธนาคารกรุงไทยไม่ได้เปิดเผย ข้อมูลล่าสุดไตรมาส 3/2567 มี 8,151 เครื่อง นอกนั้นเป็นธนาคารขนาดเล็ก เช่น ธนาคารยูโอบี 344 เครื่อง และบางธนาคารอย่างซีไอเอ็มบี ไทย ยกเลิกบริการเครื่องเอทีเอ็มไปเมื่อปี 2563 ทดแทนด้วยบริการบัตรเดบิตถอนเงินฟรีทุกตู้ทั่วไทย

    แม้ว่าบริการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารเกิดขึ้นเมื่อปี 2564 แต่ก็เป็นไปในลักษณะให้บริการกับธนาคารขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้บริการกับธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ก่อนจะมี ธ.ก.ส. ธนาคารไทยเครดิต และทีทีบี ตามมา แต่เมื่อสองธนาคารยักษ์อย่างธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย ให้บริการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารร่วมกัน ยิ่งทำให้บริการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น รวมทั้งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ลูกค้ายอมเสียค่าธรรมเนียมเพื่อประหยัดเวลา ไม่ต้องการค้นหาตู้เอทีเอ็มธนาคารตัวเอง

    ตัวกลางในการให้บริการมาจากบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ (ITMX) ที่ต่อยอดบริการถอนเงินไม่ใช้บัตร ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมข้ามธนาคารได้ผ่านระบบ ITMX’s Single Payment และ ATM Switching ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานเดิมสำหรับบริการถอนเงินสดข้ามธนาคาร ปัจจุบันรองรับทั้งการทำรายการแบบ One-Time-Password (OTP) และแบบ QR Code

    ล่าสุดตู้ K ATM ธนาคารกสิกรไทย รองรับการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารได้ทั้งสองรูปแบบ เช่น แอปฯ Bangkok Bank ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แอปฯ SCB Easy ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) แอปฯ KKP Mobile ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) แอปฯ LHB You ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) และล่าสุดแอปฯ MyMo ธนาคารออมสิน ค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับธนาคารเจ้าของโมบายแอปพลิเคชัน อยู่ที่ประมาณ 10-15 บาทต่อรายการ จึงน่าสนใจว่าอาจมีธนาคารอื่นให้บริการรองรับทั้งสองรูปแบบตามมา สร้างรายได้จากค่าธรรมเนียม ทดแทนค่าธรรมเนียมบัตรเดบิตที่มีแนวโน้มลดลง

    #Newskit
    ถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคาร กสิกรไทยรองรับ 2 รูปแบบ ในช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน 2568 ที่ผ่านมา แต่ละธนาคารได้สำรองเงินสดเพื่อรองรับการใช้จ่าย ซึ่งพบว่าแต่ละธนาคารเปิดเผยตัวเลขจำนวนเครื่องเอทีเอ็มในปัจจุบัน โดยธนาคารไทยพาณิชย์ ยังคงมีเครื่องเอทีเอ็มมากที่สุดในประเทศ รวม 9,937 เครื่องแม้จะลดลงไม่ถึงหลักหมื่น จากเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 รวม 10,398 เครื่อง ลดลง 461 เครื่องก็ตาม ส่วนธนาคารอื่นๆ อาทิ ธนาคารกสิกรไทย 8,200 เครื่อง ธนาคารกรุงเทพ 8,000 เครื่อง ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 5,425 เครื่อง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) 2,406 เครื่อง ธ.ก.ส. 2,300 เครื่อง ขณะที่ธนาคารกรุงไทยไม่ได้เปิดเผย ข้อมูลล่าสุดไตรมาส 3/2567 มี 8,151 เครื่อง นอกนั้นเป็นธนาคารขนาดเล็ก เช่น ธนาคารยูโอบี 344 เครื่อง และบางธนาคารอย่างซีไอเอ็มบี ไทย ยกเลิกบริการเครื่องเอทีเอ็มไปเมื่อปี 2563 ทดแทนด้วยบริการบัตรเดบิตถอนเงินฟรีทุกตู้ทั่วไทย แม้ว่าบริการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารเกิดขึ้นเมื่อปี 2564 แต่ก็เป็นไปในลักษณะให้บริการกับธนาคารขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้บริการกับธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ก่อนจะมี ธ.ก.ส. ธนาคารไทยเครดิต และทีทีบี ตามมา แต่เมื่อสองธนาคารยักษ์อย่างธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย ให้บริการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารร่วมกัน ยิ่งทำให้บริการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น รวมทั้งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ลูกค้ายอมเสียค่าธรรมเนียมเพื่อประหยัดเวลา ไม่ต้องการค้นหาตู้เอทีเอ็มธนาคารตัวเอง ตัวกลางในการให้บริการมาจากบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ (ITMX) ที่ต่อยอดบริการถอนเงินไม่ใช้บัตร ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมข้ามธนาคารได้ผ่านระบบ ITMX’s Single Payment และ ATM Switching ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานเดิมสำหรับบริการถอนเงินสดข้ามธนาคาร ปัจจุบันรองรับทั้งการทำรายการแบบ One-Time-Password (OTP) และแบบ QR Code ล่าสุดตู้ K ATM ธนาคารกสิกรไทย รองรับการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารได้ทั้งสองรูปแบบ เช่น แอปฯ Bangkok Bank ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แอปฯ SCB Easy ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) แอปฯ KKP Mobile ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) แอปฯ LHB You ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) และล่าสุดแอปฯ MyMo ธนาคารออมสิน ค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับธนาคารเจ้าของโมบายแอปพลิเคชัน อยู่ที่ประมาณ 10-15 บาทต่อรายการ จึงน่าสนใจว่าอาจมีธนาคารอื่นให้บริการรองรับทั้งสองรูปแบบตามมา สร้างรายได้จากค่าธรรมเนียม ทดแทนค่าธรรมเนียมบัตรเดบิตที่มีแนวโน้มลดลง #Newskit
    Like
    Love
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 842 มุมมอง 0 รีวิว
  • ญี่ปุ่นปะทะตะวันตก ชิงเครื่องถอนเงินอิสระมาเลเซีย

    ธนาคารเซเว่นแบงก์ ประเทศญี่ปุ่น ธุรกิจทางการเงินในเครือเซเว่น อีเลฟเว่น เริ่มเข้ามาลงทุนในมาเลเซียเป็นประเทศที่สามในภูมิภาคอาเซียน ต่อจากอินโดนีเซีย ที่ติดตั้งเครื่องเบิกถอนเงินสด ATMi ในร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ อัลฟามาร์ท (Alfamart) และอินโดมาเร็ต (Indomaret) ทั่วประเทศกว่า 9,000 แห่ง และฟิลิปปินส์ ที่ติดตั้งเครื่องฝากและถอนเงินสด (Cash Recycling Machines) หรือ CRM ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นฟิลิปปินส์ ทั่วประเทศกว่า 3,000 แห่ง

    โดยได้นำเครื่อง CRM ที่สามารถฝากและถอนเงินสดได้ในเครื่องเดียวกัน มาให้บริการในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ภายใต้แบรนด์ รีชฟูล (Reachful) คิดค่าบริการถอนเงินสดในประเทศ 1 ริงกิตต่อรายการ เช่นเดียวกับเอทีเอ็ม MEPS ของมาเลเซีย เริ่มต้นติดตั้งเครื่องแรกที่เมืองราวัง รัฐสลังงอร์ และจะติดตั้งจำนวน 100 เครื่องที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ รัฐสลังงอร์ รัฐยะโฮร์ และรัฐปีนัง ภายในสิ้นปี 2568 ก่อนขยายไปยังซาบาห์ และซาราวักบนเกาะบอร์เนียว รวมทั้งเขตชานเมืองในปี 2569

    นอกจากร้านเซเว่นอีเลฟเว่น มาเลเซีย ที่มีจำนวนสาขาทั่วประเทศกว่า 2,600 แห่งแล้ว รีชฟูลยังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับซูเปอร์มาร์เก็ต ปั๊มน้ำมัน และสถานที่อื่นๆ เพื่อขยายจุดบริการต่อไป

    แม้ว่ามาเลเซียจะเปลี่ยนธุรกรรมทางการเงินไปสู่ระบบดิจิทัลแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จากการศึกษาภูมิทัศน์การชำระเงินโดยบริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ในปี 2565 พบว่าชาวมาเลเซีย 78% ชอบชำระเงินด้วยเงินสด โดย 48% ใช้เงินสดทุกวัน และเพิ่มขึ้นเกือบ 2 ใน 3 ในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตเมือง และรายงานของบริษัทอิปซอสส์ (Ipsos) ล่าสุดในปี 2567 พบว่าชาวมาเลเซีย 45% ยังคงพึ่งพาเงินสดเพียงอย่างเดียวในการทำธุรกรรมทางการเงิน

    ก่อนหน้านี้ ยูโรเน็ต เวิล์ดไวด์ (Euronet Worldwide) ผู้ให้บริการโซลูชันทางการเงินและการชำระเงินมีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มยูโรเน็ต (Euronet) ตั้งแต่ปี 2555 ในฐานะเครือข่ายผู้ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มอิสระ (IAD) และได้ซื้อกิจการเครื่อง ATM ของ MEPS จำนวน 800 เครื่องจากเพย์เน็ต ทำให้ยูโรเน็ตกลายเป็นผู้ให้บริการเครื่องเอทีเอ็มที่ไม่ใช่ธนาคารรายใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย โดยคิดค่าธรรมเนียมถอนเงินสดในประเทศ 1 ริงกิตต่อรายการ

    สำหรับประเทศไทย แม้ในปี 2566 เคาน์เตอร์เซอร์วิส บริษัทในเครือซีพีออลล์ ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในไทย เคยร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ ติดตั้งเครื่อง CDM ให้บริการถอนเงิน โอนเงิน และตัวแทนรับฝากเงิน 100 แห่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    ญี่ปุ่นปะทะตะวันตก ชิงเครื่องถอนเงินอิสระมาเลเซีย ธนาคารเซเว่นแบงก์ ประเทศญี่ปุ่น ธุรกิจทางการเงินในเครือเซเว่น อีเลฟเว่น เริ่มเข้ามาลงทุนในมาเลเซียเป็นประเทศที่สามในภูมิภาคอาเซียน ต่อจากอินโดนีเซีย ที่ติดตั้งเครื่องเบิกถอนเงินสด ATMi ในร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ อัลฟามาร์ท (Alfamart) และอินโดมาเร็ต (Indomaret) ทั่วประเทศกว่า 9,000 แห่ง และฟิลิปปินส์ ที่ติดตั้งเครื่องฝากและถอนเงินสด (Cash Recycling Machines) หรือ CRM ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นฟิลิปปินส์ ทั่วประเทศกว่า 3,000 แห่ง โดยได้นำเครื่อง CRM ที่สามารถฝากและถอนเงินสดได้ในเครื่องเดียวกัน มาให้บริการในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ภายใต้แบรนด์ รีชฟูล (Reachful) คิดค่าบริการถอนเงินสดในประเทศ 1 ริงกิตต่อรายการ เช่นเดียวกับเอทีเอ็ม MEPS ของมาเลเซีย เริ่มต้นติดตั้งเครื่องแรกที่เมืองราวัง รัฐสลังงอร์ และจะติดตั้งจำนวน 100 เครื่องที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ รัฐสลังงอร์ รัฐยะโฮร์ และรัฐปีนัง ภายในสิ้นปี 2568 ก่อนขยายไปยังซาบาห์ และซาราวักบนเกาะบอร์เนียว รวมทั้งเขตชานเมืองในปี 2569 นอกจากร้านเซเว่นอีเลฟเว่น มาเลเซีย ที่มีจำนวนสาขาทั่วประเทศกว่า 2,600 แห่งแล้ว รีชฟูลยังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับซูเปอร์มาร์เก็ต ปั๊มน้ำมัน และสถานที่อื่นๆ เพื่อขยายจุดบริการต่อไป แม้ว่ามาเลเซียจะเปลี่ยนธุรกรรมทางการเงินไปสู่ระบบดิจิทัลแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จากการศึกษาภูมิทัศน์การชำระเงินโดยบริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ในปี 2565 พบว่าชาวมาเลเซีย 78% ชอบชำระเงินด้วยเงินสด โดย 48% ใช้เงินสดทุกวัน และเพิ่มขึ้นเกือบ 2 ใน 3 ในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตเมือง และรายงานของบริษัทอิปซอสส์ (Ipsos) ล่าสุดในปี 2567 พบว่าชาวมาเลเซีย 45% ยังคงพึ่งพาเงินสดเพียงอย่างเดียวในการทำธุรกรรมทางการเงิน ก่อนหน้านี้ ยูโรเน็ต เวิล์ดไวด์ (Euronet Worldwide) ผู้ให้บริการโซลูชันทางการเงินและการชำระเงินมีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มยูโรเน็ต (Euronet) ตั้งแต่ปี 2555 ในฐานะเครือข่ายผู้ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มอิสระ (IAD) และได้ซื้อกิจการเครื่อง ATM ของ MEPS จำนวน 800 เครื่องจากเพย์เน็ต ทำให้ยูโรเน็ตกลายเป็นผู้ให้บริการเครื่องเอทีเอ็มที่ไม่ใช่ธนาคารรายใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย โดยคิดค่าธรรมเนียมถอนเงินสดในประเทศ 1 ริงกิตต่อรายการ สำหรับประเทศไทย แม้ในปี 2566 เคาน์เตอร์เซอร์วิส บริษัทในเครือซีพีออลล์ ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในไทย เคยร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ ติดตั้งเครื่อง CDM ให้บริการถอนเงิน โอนเงิน และตัวแทนรับฝากเงิน 100 แห่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 639 มุมมอง 0 รีวิว
  • CIB RUN 2024 งานวิ่งรวมตำรวจขาแรง

    เป็นงานวิ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมาก สำหรับกิจกรรมวิ่งเฉลิมพระเกียรติฯ CIB RUN 2024 เคียงข้างประชาชน ซีซัน 2 โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ที่สนามลู่ปั่นจักรยานเจริญสุขมงคลจิต ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2567 โดยได้รับการอนุญาตเป็นกรณีพิเศษจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ให้ใช้สถานที่จัดการแข่งขัน

    กิจกรรมนี้ได้ บริษัท ไตรลีก (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเคยจัดงานระดับนานาชาติทั้ง Amazing Thailand Marathon, พัทยามาราธอน, ไตรกีฬาโตโยต้าไอรอนแมน ฯลฯ ปีที่แล้วเปิดให้สมัครฟรีปรากฎว่าเจอซื้อ-ขายเบอร์แข่งขัน ซึ่งคณะกรรมการฯ ไม่ต้องการแบบนั้น จึงกำหนดให้มีค่าสมัครทุกระยะ แต่คิดแบบไม่หวังผลกำไร 23 กิโลเมตร (กม.) ค่าสมัคร 350 บาท 10 กม. 300 บาท และ 3 กม. 250 บาท เปิดระบบรับสมัครเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 7 พ.ย. 2567

    ผลก็คือมีนักวิ่งสนใจลงสมัครล้นหลามจนเว็บล่ม ก่อนเต็มจำนวนเพียงไม่กี่ชั่วโมง รวม 8,223 คน แบ่งเป็น 23 กม. 3,205 คน, 10 กม. 4,312 คน และ 3 กม. 706 คน

    มาถึงการจัดงาน เปิดสนามตั้งแต่เวลา 03.00 น. ก่อนปล่อยตัวนักวิ่ง 23 กม. เวลา 05.00 น. โดยมี พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นประธาน พร้อมด้วย นายอาทิวราห์ คงมาลัย หรือตูน บอดี้แสลม นักร้องชื่อดังมาให้กำลังใจนักวิ่งอีกด้วย ส่วนนักวิ่ง 10 กม. ปล่อยตัวที่ กม.14 ของสนามลู่ปั่น (ทางเข้าสนามบินฯ ด้านถนนบางนา-ตราด) เวลา 05.03 น. โดยพบว่านอกจากประชาชนทั่วไปแล้ว ยังมีข้าราชการตำรวจ ที่ถือโอกาสเจอเพื่อนร่วมรุ่นที่ไม่ได้พบกันมานานไปในตัว นอกจากนี้ ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษหนุมาน กองปราบปราม แต่งกายเต็มยศให้กำลังใจก่อนเข้าเส้นชัยอีกด้วย

    สำหรับผู้ชนะเลิศประเภทบุคคลทั่วไปชาย 23 กม. ได้แก่ ร.ต.อ.ปฏิการ เพชรศรีชา ด้วยเวลา 1 ชั่วโมง 24 นาที ส่วนประเภทบุคคลทั่วไปหญิง 23 กม. ได้แก่ น.ส.อรอนงค์ วงศร ด้วยเวลา 1 ชั่วโมง 35 นาที

    พล.ต.ท.จิรภพ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระราชทานรางวัลชนะเลิศแก่นักวิ่ง ขอขอบคุณประชาชนที่เข้าร่วมสมัครในปีนี้อย่างล้นหลาม หลายคนรอคอยมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เชื่อว่าการออกกำลังทุกประเภทส่งผลดีต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายจากความเครียด ความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือสิ่งที่พบเจอในแต่ละวันได้ และขอขอบคุณที่ให้ตำรวจสอบสวนกลางเป็นส่วนหนึ่งที่ได้สนับสนุนการออกกำลังกายให้กับพี่น้องคนไทยทุกคน

    #Newskit
    CIB RUN 2024 งานวิ่งรวมตำรวจขาแรง เป็นงานวิ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมาก สำหรับกิจกรรมวิ่งเฉลิมพระเกียรติฯ CIB RUN 2024 เคียงข้างประชาชน ซีซัน 2 โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ที่สนามลู่ปั่นจักรยานเจริญสุขมงคลจิต ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2567 โดยได้รับการอนุญาตเป็นกรณีพิเศษจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ให้ใช้สถานที่จัดการแข่งขัน กิจกรรมนี้ได้ บริษัท ไตรลีก (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเคยจัดงานระดับนานาชาติทั้ง Amazing Thailand Marathon, พัทยามาราธอน, ไตรกีฬาโตโยต้าไอรอนแมน ฯลฯ ปีที่แล้วเปิดให้สมัครฟรีปรากฎว่าเจอซื้อ-ขายเบอร์แข่งขัน ซึ่งคณะกรรมการฯ ไม่ต้องการแบบนั้น จึงกำหนดให้มีค่าสมัครทุกระยะ แต่คิดแบบไม่หวังผลกำไร 23 กิโลเมตร (กม.) ค่าสมัคร 350 บาท 10 กม. 300 บาท และ 3 กม. 250 บาท เปิดระบบรับสมัครเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 7 พ.ย. 2567 ผลก็คือมีนักวิ่งสนใจลงสมัครล้นหลามจนเว็บล่ม ก่อนเต็มจำนวนเพียงไม่กี่ชั่วโมง รวม 8,223 คน แบ่งเป็น 23 กม. 3,205 คน, 10 กม. 4,312 คน และ 3 กม. 706 คน มาถึงการจัดงาน เปิดสนามตั้งแต่เวลา 03.00 น. ก่อนปล่อยตัวนักวิ่ง 23 กม. เวลา 05.00 น. โดยมี พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นประธาน พร้อมด้วย นายอาทิวราห์ คงมาลัย หรือตูน บอดี้แสลม นักร้องชื่อดังมาให้กำลังใจนักวิ่งอีกด้วย ส่วนนักวิ่ง 10 กม. ปล่อยตัวที่ กม.14 ของสนามลู่ปั่น (ทางเข้าสนามบินฯ ด้านถนนบางนา-ตราด) เวลา 05.03 น. โดยพบว่านอกจากประชาชนทั่วไปแล้ว ยังมีข้าราชการตำรวจ ที่ถือโอกาสเจอเพื่อนร่วมรุ่นที่ไม่ได้พบกันมานานไปในตัว นอกจากนี้ ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษหนุมาน กองปราบปราม แต่งกายเต็มยศให้กำลังใจก่อนเข้าเส้นชัยอีกด้วย สำหรับผู้ชนะเลิศประเภทบุคคลทั่วไปชาย 23 กม. ได้แก่ ร.ต.อ.ปฏิการ เพชรศรีชา ด้วยเวลา 1 ชั่วโมง 24 นาที ส่วนประเภทบุคคลทั่วไปหญิง 23 กม. ได้แก่ น.ส.อรอนงค์ วงศร ด้วยเวลา 1 ชั่วโมง 35 นาที พล.ต.ท.จิรภพ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระราชทานรางวัลชนะเลิศแก่นักวิ่ง ขอขอบคุณประชาชนที่เข้าร่วมสมัครในปีนี้อย่างล้นหลาม หลายคนรอคอยมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เชื่อว่าการออกกำลังทุกประเภทส่งผลดีต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายจากความเครียด ความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือสิ่งที่พบเจอในแต่ละวันได้ และขอขอบคุณที่ให้ตำรวจสอบสวนกลางเป็นส่วนหนึ่งที่ได้สนับสนุนการออกกำลังกายให้กับพี่น้องคนไทยทุกคน #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 979 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล
    ภาพรวมการส่งออกของไทยในปัจจุบัน อยู่ในสภาวะ
    อ่อนแอลงไปเรื่อยๆ หากไม่ทำอะไรเลย

    นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 การส่งออก
    เป็นเครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมายาวนาน
    คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60-65% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม
    ภายในประเทศ (จีดีพี) การส่งออกมีบทบาทสำคัญ
    ในการสร้างรายได้จากต่างประเทศ การจ้างงาน และเพิ่ม
    ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

    อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยได้สูญเสียบทบาท
    และความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่นที่เคยเป็นมา

    SCB EIC มองว่า เครื่องยนต์ส่งออกของไทยกำลังอ่อนแรงลงมาก
    จากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งมีส่วนทำให้การส่งออกไทย
    ไม่สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
    ได้เหมือนในอดีต และไม่สามารถปรับตัวตามกระแสโลก
    ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน

    ปัจจัยภายในประเทศ :

    1) สินค้าส่งออกไทยไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการของโลก :
    ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดการผลิตสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ
    ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป
    เช่น สมาร์ตโฟน แผงวงจรไฟฟ้า หรือสินค้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด
    ขณะที่สินค้าหมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้เครื่องกลที่ไทยผลิต
    กลับเป็นสินค้าที่โลกต้องการซื้อน้อยลงเช่น Hard Disk Drives (HDD)
    ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย แต่เมื่อเทคโนโลยี
    เปลี่ยนไปสู่ Solid State Drives (SSD) ความต้องการ HDD
    ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับสินค้าหมวดยานพาหนะ ส่วนประกอบ
    และอุปกรณ์เสริม ที่ไทยเคยส่งออกดีมาก จากการส่งออกยานยนต์
    และเครื่องยนต์สันดาป แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทาย
    จากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของผู้ซื้อ ซึ่งรวมมูลค่า
    การส่งออก 2 หมวดใหญ่นี้คิดเป็น 27% ของมูลค่าการส่งออก
    ไทยทั้งหมดในปี 2566

    2) โครงสร้างการผลิตเพื่อส่งออกไทยเปลี่ยนแปลงช้า :
    ภาคการผลิตของไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก
    ส่งผลให้โครงสร้างการส่งออกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า
    ขณะที่โครงสร้างการผลิตของประเทศคู่แข่งหลายราย
    ที่เคยผลิตสินค้าล้าสมัยกว่าไทยในอดีต กลับสามารถ
    ปรับตามกระแสความต้องการในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้
    อย่างรวดเร็วจากการหาห่วงโซ่อุปทานใหม่ สะท้อนจาก
    ส่วนแบ่งยอดขายสินค้าไทยในตลาดโลก ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
    จาก 10 ปีก่อนมากนัก เช่น รถยนต์ EV แผงวงจรไฟฟ้า/เซมิคอนดักเตอร์
    สมาร์ตโฟน แผงโซลาร์เซลล์ (เป็นกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนสูงขึ้นในตลาดโลก)

    ทั้งนี้ถึงแม้การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยจะมีสัดส่วนต่อมูลค่าการส่งออก
    ทั้งหมดสูงขึ้น แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 17% ในปี 2556-2560 เป็น 23%
    ในปี 2561-2565 ซึ่งแตกต่างจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
    ที่มีสัดส่วนการส่งออกกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมาก จาก 16% เป็น 32%, 38%
    เป็น 44% และ 40% เป็น 48% ตามลำดับ โดยสาเหตุเป็นเพราะว่า
    ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
    มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนกว่า และสร้างมูลค่าเพิ่มสูงกว่าได้
    ในขณะที่ไทยส่วนใหญ่แล้วยังคงผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง
    และมีความซับซ้อนน้อยกว่า สะท้อนขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำกว่า
    แสดงให้เห็นว่าไทยอาจไม่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น
    ในปัจจุบันได้มากเท่าประเทศเพื่อนบ้าน

    3) ความสามารถในการกระจายตลาดใหม่ไม่ค่อยสูง :
    การส่งออกของไทยกว่า 75% ยังคงกระจุกตัวในบางตลาดหลัก เช่น จีน สหรัฐฯ
    ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน เช่นในอดีต ซึ่งหากเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้น
    ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ก็อาจสร้างความเสี่ยงสูงต่อไทยตามมา เช่น เศรษฐกิจจีน
    ชะลอตัว ในช่วงที่ผ่านมา จะกระทบการส่งออกไทยไปตลาดจีนตามไปด้วย
    สะท้อนความจำเป็นในการขยายตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง
    และเพิ่มยอดส่งออกของไทยได้

    จากการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัญหาหลักของการส่งออกไทยมาจาก
    ปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตในประเทศที่ไม่ค่อยตอบโจทย์
    สินค้าใหม่ ๆ คำถามสำคัญคือ อะไรเป็นสาเหตุทำให้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
    ภาคการผลิตของไทยมาถึงจุดนี้?

    SCB EIC มองว่าสาเหตุหลักมาจากทักษะแรงงานไทยและการลงทุน
    จากต่างชาติที่ลดลง :

    1) แรงงานสูงวัยและทักษะต่ำ : ประเทศไทยกำลังเผชิญสังคมผู้สูงอายุ
    22.7% จากประชากรทั้งหมดในปี 2566 (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และมีแนวโน้ม
    เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงปัญหาแรงงานขาดทักษะ
    ที่จำเป็น โดยเฉพาะทักษะเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตสินค้า
    และการแข่งขันในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

    ปัญหานี้ทำให้การผลิตสินค้าเทคโนโลยีของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับ
    เทคโนโลยีขั้นกลาง และการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเกิดขึ้นค่อนข้างช้า
    เนื่องจากเพิ่มศักยภาพแรงงานไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

    2) สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลง :
    FDI เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทันสมัย
    เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการส่งออก
    รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
    การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยลดลงมาก จากที่เคยเป็นหนึ่ง
    ในจุดหมายปลายทางหลักในอาเซียน ไทยกลับตกอันดับมาเรื่อย ๆ
    อยู่อันดับ 7 ในปี 2566 แย่กว่าในปี 2543 2553 และ 2562 ที่อันดับ 3, 3,
    และ 6 ตามลำดับ เสียอีก (ข้อมูลจาก World Bank)

    สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก

    (1) ทักษะแรงงานไทยไม่สูงและสัดส่วนแรงงานสูงวัย
    ยังมีมากที่สุดในอาเซียน

    (2) ไทยขาดการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)
    กับประเทศสำคัญ ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศคู่แข่ง
    เช่น เวียดนาม ได้เปรียบจากการมีข้อตกลง FTA กับสหภาพยุโรป
    และการเข้าร่วม CPTPP ทำให้เข้าถึงตลาดสำคัญในโลกได้ง่ายขึ้น

    (3) การเมืองไทยมีความไม่แน่นอนสูง

    (4) นโยบายเศรษฐกิจระยะยาวขาดความชัดเจนและความต่อเนื่อง
    นักลงทุนไทยและต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะลงทุน
    วิจัยและพัฒนา (R&D) ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เนื่องจากเป็นการลงทุนสูง
    และใช้เวลากว่าจะเห็นผล และ

    (5) กฎระเบียบภาครัฐซับซ้อน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้นักลงทุน
    ต่างชาติเลือกลงทุนในประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง
    และนโยบายและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลงทุนดีกว่า

    ปัจจัยภายนอก :

    การส่งออกของไทยยังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกหลายประการ

    ได้แก่ 1) China over-capacity ที่อาจซ้ำเติมปัญหาความสามารถ
    ในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขันด้านราคา
    กับสินค้าจีน

    2) ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจสร้างความไม่แน่นอนของนโยบายภาษี
    สินค้านำเข้าทุกประเภทจากทุกประเทศเพิ่มเติม

    3) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามยืดเยื้อ การแบ่งขั้ว
    ทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น หรือมาตรการกีดกันการค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบ
    ต่อการค้าโลก

    4) การผันผวนของค่าเงินบาท จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง
    สำคัญทั่วโลก

    (5) ค่าระวางเรือและค่าขนส่งที่อาจจะกลับมาสูงขึ้น จากสงครามที่เกิดขึ้นบ่อย
    และรุนแรงขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งและตู้คอนเทนเนอร์


    ปัจจัยภายในและนอกประเทศเหล่านี้กดดันให้เครื่องยนต์ส่งออกของไทย
    อ่อนแอลง และเป็นสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากการบริโภคและการลงทุน
    ในประเทศก็กำลังอ่อนแรงเช่นกัน โดยการบริโภคถูกจำกัดจากภาระหนี้
    ครัวเรือนสูง และการลงทุนได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศ
    ที่เปราะบาง

    อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยยังไม่ไร้ความหวังเสียทีเดียว
    หากรัฐบาลสามารถจัดการ 3 ปัจจัยหลักได้ ได้แก่ แรงงาน การลงทุน
    โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และยุทธศาสตร์นโยบายอุปทานที่ชัดเจน
    ประเทศไทยจะสามารถปรับโครงสร้างการผลิตให้แข็งแกร่งขึ้น
    และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้บนข้อได้เปรียบที่ไทยมีอยู่แล้ว
    เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ทังนี้ปัจจัยกดดันจากภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ
    ควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่าหากโครงสร้างการผลิตของไทย
    แข็งแกร่ง จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้ได้ และอาจทำให้ไทย
    ได้รับประโยชน์จากบางปัจจัย เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจนำมาซึ่ง
    การย้ายฐานการผลิตและการลงทุนใหม่ ๆ

    การส่งออกไทยในปัจจุบันเปรียบเหมือนรถที่กำลังวิ่งอย่างเชื่องช้า
    ที่ต้องเลือกว่าจะเริ่มซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างเครื่องยนต์
    ให้ทันสมัยจุดไหนบ้าง เพื่อให้รถคันนี้กลับมาวิ่งเร็วได้อีกครั้ง
    แต่หากไม่เริ่มทำอะไรวันนี้ เครื่องยนต์เก่านี้อาจพังในไม่ช้า
    ทำให้รถเราค่อยๆ หยุดวิ่ง และปล่อยให้รถคันอื่นแซงหน้า
    ไปคันแล้วคันเล่า

    ที่มา : SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การส่งออกไทย #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล ภาพรวมการส่งออกของไทยในปัจจุบัน อยู่ในสภาวะ อ่อนแอลงไปเรื่อยๆ หากไม่ทำอะไรเลย นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 การส่งออก เป็นเครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมายาวนาน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60-65% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (จีดีพี) การส่งออกมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างรายได้จากต่างประเทศ การจ้างงาน และเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยได้สูญเสียบทบาท และความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่นที่เคยเป็นมา SCB EIC มองว่า เครื่องยนต์ส่งออกของไทยกำลังอ่อนแรงลงมาก จากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งมีส่วนทำให้การส่งออกไทย ไม่สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก ได้เหมือนในอดีต และไม่สามารถปรับตัวตามกระแสโลก ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน ปัจจัยภายในประเทศ : 1) สินค้าส่งออกไทยไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการของโลก : ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดการผลิตสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป เช่น สมาร์ตโฟน แผงวงจรไฟฟ้า หรือสินค้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด ขณะที่สินค้าหมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้เครื่องกลที่ไทยผลิต กลับเป็นสินค้าที่โลกต้องการซื้อน้อยลงเช่น Hard Disk Drives (HDD) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย แต่เมื่อเทคโนโลยี เปลี่ยนไปสู่ Solid State Drives (SSD) ความต้องการ HDD ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับสินค้าหมวดยานพาหนะ ส่วนประกอบ และอุปกรณ์เสริม ที่ไทยเคยส่งออกดีมาก จากการส่งออกยานยนต์ และเครื่องยนต์สันดาป แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทาย จากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของผู้ซื้อ ซึ่งรวมมูลค่า การส่งออก 2 หมวดใหญ่นี้คิดเป็น 27% ของมูลค่าการส่งออก ไทยทั้งหมดในปี 2566 2) โครงสร้างการผลิตเพื่อส่งออกไทยเปลี่ยนแปลงช้า : ภาคการผลิตของไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก ส่งผลให้โครงสร้างการส่งออกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า ขณะที่โครงสร้างการผลิตของประเทศคู่แข่งหลายราย ที่เคยผลิตสินค้าล้าสมัยกว่าไทยในอดีต กลับสามารถ ปรับตามกระแสความต้องการในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้ อย่างรวดเร็วจากการหาห่วงโซ่อุปทานใหม่ สะท้อนจาก ส่วนแบ่งยอดขายสินค้าไทยในตลาดโลก ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง จาก 10 ปีก่อนมากนัก เช่น รถยนต์ EV แผงวงจรไฟฟ้า/เซมิคอนดักเตอร์ สมาร์ตโฟน แผงโซลาร์เซลล์ (เป็นกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนสูงขึ้นในตลาดโลก) ทั้งนี้ถึงแม้การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยจะมีสัดส่วนต่อมูลค่าการส่งออก ทั้งหมดสูงขึ้น แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 17% ในปี 2556-2560 เป็น 23% ในปี 2561-2565 ซึ่งแตกต่างจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่มีสัดส่วนการส่งออกกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมาก จาก 16% เป็น 32%, 38% เป็น 44% และ 40% เป็น 48% ตามลำดับ โดยสาเหตุเป็นเพราะว่า ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนกว่า และสร้างมูลค่าเพิ่มสูงกว่าได้ ในขณะที่ไทยส่วนใหญ่แล้วยังคงผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง และมีความซับซ้อนน้อยกว่า สะท้อนขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำกว่า แสดงให้เห็นว่าไทยอาจไม่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น ในปัจจุบันได้มากเท่าประเทศเพื่อนบ้าน 3) ความสามารถในการกระจายตลาดใหม่ไม่ค่อยสูง : การส่งออกของไทยกว่า 75% ยังคงกระจุกตัวในบางตลาดหลัก เช่น จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน เช่นในอดีต ซึ่งหากเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้น ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ก็อาจสร้างความเสี่ยงสูงต่อไทยตามมา เช่น เศรษฐกิจจีน ชะลอตัว ในช่วงที่ผ่านมา จะกระทบการส่งออกไทยไปตลาดจีนตามไปด้วย สะท้อนความจำเป็นในการขยายตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มยอดส่งออกของไทยได้ จากการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัญหาหลักของการส่งออกไทยมาจาก ปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตในประเทศที่ไม่ค่อยตอบโจทย์ สินค้าใหม่ ๆ คำถามสำคัญคือ อะไรเป็นสาเหตุทำให้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ภาคการผลิตของไทยมาถึงจุดนี้? SCB EIC มองว่าสาเหตุหลักมาจากทักษะแรงงานไทยและการลงทุน จากต่างชาติที่ลดลง : 1) แรงงานสูงวัยและทักษะต่ำ : ประเทศไทยกำลังเผชิญสังคมผู้สูงอายุ 22.7% จากประชากรทั้งหมดในปี 2566 (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงปัญหาแรงงานขาดทักษะ ที่จำเป็น โดยเฉพาะทักษะเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตสินค้า และการแข่งขันในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหานี้ทำให้การผลิตสินค้าเทคโนโลยีของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับ เทคโนโลยีขั้นกลาง และการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเกิดขึ้นค่อนข้างช้า เนื่องจากเพิ่มศักยภาพแรงงานไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 2) สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลง : FDI เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทันสมัย เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการส่งออก รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยลดลงมาก จากที่เคยเป็นหนึ่ง ในจุดหมายปลายทางหลักในอาเซียน ไทยกลับตกอันดับมาเรื่อย ๆ อยู่อันดับ 7 ในปี 2566 แย่กว่าในปี 2543 2553 และ 2562 ที่อันดับ 3, 3, และ 6 ตามลำดับ เสียอีก (ข้อมูลจาก World Bank) สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก (1) ทักษะแรงงานไทยไม่สูงและสัดส่วนแรงงานสูงวัย ยังมีมากที่สุดในอาเซียน (2) ไทยขาดการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศสำคัญ ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม ได้เปรียบจากการมีข้อตกลง FTA กับสหภาพยุโรป และการเข้าร่วม CPTPP ทำให้เข้าถึงตลาดสำคัญในโลกได้ง่ายขึ้น (3) การเมืองไทยมีความไม่แน่นอนสูง (4) นโยบายเศรษฐกิจระยะยาวขาดความชัดเจนและความต่อเนื่อง นักลงทุนไทยและต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะลงทุน วิจัยและพัฒนา (R&D) ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เนื่องจากเป็นการลงทุนสูง และใช้เวลากว่าจะเห็นผล และ (5) กฎระเบียบภาครัฐซับซ้อน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้นักลงทุน ต่างชาติเลือกลงทุนในประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง และนโยบายและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลงทุนดีกว่า ปัจจัยภายนอก : การส่งออกของไทยยังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกหลายประการ ได้แก่ 1) China over-capacity ที่อาจซ้ำเติมปัญหาความสามารถ ในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขันด้านราคา กับสินค้าจีน 2) ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจสร้างความไม่แน่นอนของนโยบายภาษี สินค้านำเข้าทุกประเภทจากทุกประเทศเพิ่มเติม 3) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามยืดเยื้อ การแบ่งขั้ว ทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น หรือมาตรการกีดกันการค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบ ต่อการค้าโลก 4) การผันผวนของค่าเงินบาท จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง สำคัญทั่วโลก (5) ค่าระวางเรือและค่าขนส่งที่อาจจะกลับมาสูงขึ้น จากสงครามที่เกิดขึ้นบ่อย และรุนแรงขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งและตู้คอนเทนเนอร์ ปัจจัยภายในและนอกประเทศเหล่านี้กดดันให้เครื่องยนต์ส่งออกของไทย อ่อนแอลง และเป็นสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากการบริโภคและการลงทุน ในประเทศก็กำลังอ่อนแรงเช่นกัน โดยการบริโภคถูกจำกัดจากภาระหนี้ ครัวเรือนสูง และการลงทุนได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศ ที่เปราะบาง อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยยังไม่ไร้ความหวังเสียทีเดียว หากรัฐบาลสามารถจัดการ 3 ปัจจัยหลักได้ ได้แก่ แรงงาน การลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และยุทธศาสตร์นโยบายอุปทานที่ชัดเจน ประเทศไทยจะสามารถปรับโครงสร้างการผลิตให้แข็งแกร่งขึ้น และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้บนข้อได้เปรียบที่ไทยมีอยู่แล้ว เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ทังนี้ปัจจัยกดดันจากภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ ควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่าหากโครงสร้างการผลิตของไทย แข็งแกร่ง จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้ได้ และอาจทำให้ไทย ได้รับประโยชน์จากบางปัจจัย เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจนำมาซึ่ง การย้ายฐานการผลิตและการลงทุนใหม่ ๆ การส่งออกไทยในปัจจุบันเปรียบเหมือนรถที่กำลังวิ่งอย่างเชื่องช้า ที่ต้องเลือกว่าจะเริ่มซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างเครื่องยนต์ ให้ทันสมัยจุดไหนบ้าง เพื่อให้รถคันนี้กลับมาวิ่งเร็วได้อีกครั้ง แต่หากไม่เริ่มทำอะไรวันนี้ เครื่องยนต์เก่านี้อาจพังในไม่ช้า ทำให้รถเราค่อยๆ หยุดวิ่ง และปล่อยให้รถคันอื่นแซงหน้า ไปคันแล้วคันเล่า ที่มา : SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การส่งออกไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1615 มุมมอง 0 รีวิว
  • 12 ตุลาคม 2567-ด้วยความรู้สึกห่วงใยพี่โสภณ องค์การณ์ดุจญาติผู้ใหญ่ในวงการสื่อมวลชนมืออาชีพ ขอให้พี่โสภณ องค์การณ์ สื่อมวลชนที่กล้าหาญสู้อธรรมแบบโหด มัน ฮา และเฉียบคมเชี่ยวชาญข่าวทั้งไทยและเทศ เมืองไทยต้องการนักข่าวอย่างพี่โสภณ ขอสวดมนต์คุณพระรัตนตรัยให้อาการพี่โสดีขึ้น

    ร่วมส่งกำลังใจให้พี่โสภณผ่านบัญชี
    นายปรินทร์ องค์การณ์ (บุตรชาย)
    บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์
    175-2-41837-7

    https://www.youtube.com/live/IxUk5yRE6DU?si=zvYSEYMrS11eSPn0

    #Thaitimes
    12 ตุลาคม 2567-ด้วยความรู้สึกห่วงใยพี่โสภณ องค์การณ์ดุจญาติผู้ใหญ่ในวงการสื่อมวลชนมืออาชีพ ขอให้พี่โสภณ องค์การณ์ สื่อมวลชนที่กล้าหาญสู้อธรรมแบบโหด มัน ฮา และเฉียบคมเชี่ยวชาญข่าวทั้งไทยและเทศ เมืองไทยต้องการนักข่าวอย่างพี่โสภณ ขอสวดมนต์คุณพระรัตนตรัยให้อาการพี่โสดีขึ้น ร่วมส่งกำลังใจให้พี่โสภณผ่านบัญชี นายปรินทร์ องค์การณ์ (บุตรชาย) บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ 175-2-41837-7 https://www.youtube.com/live/IxUk5yRE6DU?si=zvYSEYMrS11eSPn0 #Thaitimes
    Love
    Like
    8
    6 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 745 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไม่ใหม่แต่แปลก เซเว่นฯ สแกนจ่ายได้

    การเปิดทดลองชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด My Prompt QR ผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา หลังเฟซบุ๊ก "ผู้บริโภค" ทดสอบเมื่อเช้าวันที่ 27 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับผู้บริโภค เพราะทราบกันดีว่า ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอันดับ 1 ในไทย ไม่รับสแกนจ่าย แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อรายอื่น อาทิ โลตัสโกเฟรช บิ๊กซีมินิ ซีเจเอ็กซ์เพรส ท็อปส์เดลี่ ลอว์สัน 108 เทอร์เทิล และร้านถุงเงินที่ขายของชำ สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารได้ตั้งนานแล้ว

    ถึงกระนั้น สาขาที่ใช้บริการได้ ห่างไกลจากจำนวนสาขารวม 14,854 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้ง QR Code ที่สแกนจ่าย เป็นบริการ My Prompt QR ที่ให้ร้านค้าสแกนคิวอาร์โค้ดของลูกค้า รองรับเฉพาะแอปพลิเคชัน 5 ธนาคาร ได้แก่ K PLUS (ธนาคารกสิกรไทย) SCB Easy (ธนาคารไทยพาณิชย์) Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) Bangkok Bank (ธนาคารกรุงเทพ) และ KMA (ธนาคารกรุงศรี) ซึ่งที่ผ่านมาได้นำมาใช้กับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ 7-Eleven มาแล้ว

    น่าเสียดาย เมื่อสอบถามไปยังสำนักบริหารการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กลับได้รับคำตอบว่า รับทราบข้อมูล "เท่าที่เห็น" ในสื่อสังคมออนไลน์ขณะนี้ เพิ่งเปิดทดลองให้บริการเท่านั้น

    ปัจจุบัน ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และ 7-App ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต บัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชันในเครือข่าย Alipay+ แต่สำหรับบัตร 7-Card หรือบัตรสมาร์ทเพิร์ส ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2548 กำลังจะยกเลิกให้บริการ โดยสมาชิกบัตรสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568

    ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่นเน้นทำการตลาดกับผู้ใช้งาน TrueMoney Wallet เป็นหลัก แต่ไม่มีสแกนจ่าย เมื่อเทียบกับร้านสะดวกซื้อรายอื่น โดยเฉพาะซีเจเอ็กซ์เพรส ของกลุ่มคาราบาวกรุ๊ป กว่า 1,000 สาขา พบว่ามีหลายสาขาเปิดแข่งกัน นอกจากสินค้าราคาถูกกว่าแล้ว ยังสแกนจ่ายได้ไม่มีขั้นต่ำ กลายเป็นข้อเปรียบเทียบกับเซเว่นอีเลฟเว่น ที่กลับไม่มีตรงนี้

    ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2566 มีการโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ 19,900 ล้านครั้ง และธุรกรรมการชำระเงินผ่าน QR payment 5,700 ล้านครั้ง ซึ่งโมบายแบงกิ้งมีเจ้าตลาดหลักอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย พบว่าในปี 2566 มีลูกค้าใช้งานมากถึง 21.7 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 9,600 ล้านธุรกรรม

    #Newskit #เซเว่นอีเลฟเว่น #สแกนจ่าย
    ไม่ใหม่แต่แปลก เซเว่นฯ สแกนจ่ายได้ การเปิดทดลองชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด My Prompt QR ผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา หลังเฟซบุ๊ก "ผู้บริโภค" ทดสอบเมื่อเช้าวันที่ 27 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับผู้บริโภค เพราะทราบกันดีว่า ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอันดับ 1 ในไทย ไม่รับสแกนจ่าย แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อรายอื่น อาทิ โลตัสโกเฟรช บิ๊กซีมินิ ซีเจเอ็กซ์เพรส ท็อปส์เดลี่ ลอว์สัน 108 เทอร์เทิล และร้านถุงเงินที่ขายของชำ สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารได้ตั้งนานแล้ว ถึงกระนั้น สาขาที่ใช้บริการได้ ห่างไกลจากจำนวนสาขารวม 14,854 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้ง QR Code ที่สแกนจ่าย เป็นบริการ My Prompt QR ที่ให้ร้านค้าสแกนคิวอาร์โค้ดของลูกค้า รองรับเฉพาะแอปพลิเคชัน 5 ธนาคาร ได้แก่ K PLUS (ธนาคารกสิกรไทย) SCB Easy (ธนาคารไทยพาณิชย์) Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) Bangkok Bank (ธนาคารกรุงเทพ) และ KMA (ธนาคารกรุงศรี) ซึ่งที่ผ่านมาได้นำมาใช้กับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ 7-Eleven มาแล้ว น่าเสียดาย เมื่อสอบถามไปยังสำนักบริหารการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กลับได้รับคำตอบว่า รับทราบข้อมูล "เท่าที่เห็น" ในสื่อสังคมออนไลน์ขณะนี้ เพิ่งเปิดทดลองให้บริการเท่านั้น ปัจจุบัน ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และ 7-App ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต บัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชันในเครือข่าย Alipay+ แต่สำหรับบัตร 7-Card หรือบัตรสมาร์ทเพิร์ส ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2548 กำลังจะยกเลิกให้บริการ โดยสมาชิกบัตรสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่นเน้นทำการตลาดกับผู้ใช้งาน TrueMoney Wallet เป็นหลัก แต่ไม่มีสแกนจ่าย เมื่อเทียบกับร้านสะดวกซื้อรายอื่น โดยเฉพาะซีเจเอ็กซ์เพรส ของกลุ่มคาราบาวกรุ๊ป กว่า 1,000 สาขา พบว่ามีหลายสาขาเปิดแข่งกัน นอกจากสินค้าราคาถูกกว่าแล้ว ยังสแกนจ่ายได้ไม่มีขั้นต่ำ กลายเป็นข้อเปรียบเทียบกับเซเว่นอีเลฟเว่น ที่กลับไม่มีตรงนี้ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2566 มีการโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ 19,900 ล้านครั้ง และธุรกรรมการชำระเงินผ่าน QR payment 5,700 ล้านครั้ง ซึ่งโมบายแบงกิ้งมีเจ้าตลาดหลักอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย พบว่าในปี 2566 มีลูกค้าใช้งานมากถึง 21.7 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 9,600 ล้านธุรกรรม #Newskit #เซเว่นอีเลฟเว่น #สแกนจ่าย
    Like
    Haha
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1347 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥 ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCBEIC
    ได้วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจไทย
    ใน 3 มิติ ดังนี้

    🚩1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (จีดีพี ประเทศไทย)

    SCB EIC ประเมินว่าจีดีพี ไทยจะขยายตัวต่ำอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567
    เช่นเดียวกับปี 2568 ที่จะขยายตัวอยู่ที่ 2.6%
    ซึ่งยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
    โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
    ในช่วงข้างหน้า ยังคงมาจากภาคการท่องเที่ยว

    สำหรับปีหน้า 2568 SCB EIC มองว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ
    จะปรับลดลงเล็กน้อย จากมุมมองเดิมมาอยู่ที่ 39.4 ล้านคน
    บนความท้าทายของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน แบบกรุ๊ปทัวร์
    ที่ยังไม่กลับมาได้เต็มที่

    🚩2. อัตราเงินเฟ้อของไทย

    SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567
    จะต่ำลงมาอยู่ที่ 0.6% (จากเดิม 0.8%) และจะกลับเข้าสู่ขอบล่าง
    ของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้
    และต่อเนื่องไปในปีหน้า

    🚩3. อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย

    SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง
    ในเดือน ธันวาคม 2567 นี้ เหลือ 2.25% จากเดิม 2.50%
    และปรับลดอีกครั้งเหลือ 2.00 % ในช่วงต้นปี 2268
    จากสัญญาณอุปสงค์ในประเทศ ชะลอตัวชัดเจนขึ้น
    ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะการเงินตึงตัวนาน

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #สภาวะเศรษฐกิจไทย
    #thaitimes
    💥💥 ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCBEIC ได้วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจไทย ใน 3 มิติ ดังนี้ 🚩1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (จีดีพี ประเทศไทย) SCB EIC ประเมินว่าจีดีพี ไทยจะขยายตัวต่ำอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567 เช่นเดียวกับปี 2568 ที่จะขยายตัวอยู่ที่ 2.6% ซึ่งยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ในช่วงข้างหน้า ยังคงมาจากภาคการท่องเที่ยว สำหรับปีหน้า 2568 SCB EIC มองว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะปรับลดลงเล็กน้อย จากมุมมองเดิมมาอยู่ที่ 39.4 ล้านคน บนความท้าทายของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน แบบกรุ๊ปทัวร์ ที่ยังไม่กลับมาได้เต็มที่ 🚩2. อัตราเงินเฟ้อของไทย SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567 จะต่ำลงมาอยู่ที่ 0.6% (จากเดิม 0.8%) และจะกลับเข้าสู่ขอบล่าง ของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้ และต่อเนื่องไปในปีหน้า 🚩3. อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ในเดือน ธันวาคม 2567 นี้ เหลือ 2.25% จากเดิม 2.50% และปรับลดอีกครั้งเหลือ 2.00 % ในช่วงต้นปี 2268 จากสัญญาณอุปสงค์ในประเทศ ชะลอตัวชัดเจนขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะการเงินตึงตัวนาน ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #สภาวะเศรษฐกิจไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1698 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดาวน์โหลด PDF นี้ ก่อน Robinhood อำลา

    เป็นที่น่าใจหายสำหรับโรบินฮู้ด (Robinhood) แพลตฟอร์มดีลิเวอรีสัญชาติไทย ที่กลุ่ม SCB X ธนาคารไทยพาณิชย์ตัดสินใจไม่ไปต่อ และจะปิดบริการทุกบริการในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ที่จะถึงนี้ ท่ามกลางภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ดำเนินงาน สะสมสูงถึง 5,500 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา

    แต่การอำลาของ Robinhood นั้นถือว่ายังมีความทรงจำดีๆ ก่อนที่วันนั้นจะมาถึง ทั้งการที่ ต้อง-กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร ซีอีโอของเพอร์เพิล เวนเจอร์ส ผู้พัฒนาโรบินฮู้ด เปิดแพลตฟอร์ม “TalentOfRobinhood” ช่วยพนักงานกว่า 300 คนได้หางานใหม่ โดยให้พนักงานแต่ละคนฝาก Resume หรือ Portfolio ของตัวเอง

    ล่าสุด จับมือกับ The Standard LIFE ทำคู่มือที่ชื่อว่า "Robinhood Guide 2024 100 ร้านเล็กที่ต้องลอง" รวบรวมร้านอาหารขนาดเล็ก 100 ร้านค้า ซึ่งผู้จัดทำระบุว่า ใช้เวลาหลายเดือนในการค้นหา ชิม และคัดสรรร้านคุณภาพ ทั้งร้านดังในตำนาน ร้านเล็กปากซอย และร้านที่คว้ารางวัล Robinhood Awards มาครอง แต่ละร้านล้วนมีเสน่ห์และรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร

    "เรารู้ว่าคุณเป็นสายลุยที่ชอบตามหาของอร่อย เลยคัดมาแต่ร้านคุณภาพเน้นๆ ที่รับรองว่าถูกปากแน่นอน คู่มือเล่มนี้จะเป็นแผนที่นำทางคุณไปพบความอร่อยที่ซ่อนอยู่ทั่วเมือง คุณอาจได้ค้นพบร้านโปรดแห่งใหม่ หรือได้รื้อฟื้นความทรงจำดีๆ กับร้านเก่าที่คุ้นเคยด้วยรสชาติที่ดีที่คิดถึง"

    โรบินฮู้ดตั้งใจว่าคู่มือฉบับนี้จะเป็นการส่งต่อความอร่อยถึงมือผู้อ่าน เพียงแค่แวะไปชิม แชร์ หรือบอกต่อเพื่อนๆ ก็ช่วยให้ร้านอาหารขนาดเล็กเหล่านี้เติบโตได้ ไม่ว่าจะสั่งผ่านแอปฯ ไหน หรือไปกินที่ร้านโดยตรง ทุกการสนับสนุนล้วนมีความหมาย ขณะนี้เปิดให้ดาวน์โหลดแล้วทาง Google Drive คลิก https://bit.ly/4c2DKgT

    ถือเป็นอีกไฟล์ PDF ที่คนกรุงเทพฯ ควรมีติดไว้บนมือถือ ถ้านึกไม่ออกว่าจะกินร้านไหน น่าจะพอเป็นไอเดียมื้อที่อยากกินได้

    #Newskit #Robinhood #RobinhoodDelivery
    ดาวน์โหลด PDF นี้ ก่อน Robinhood อำลา เป็นที่น่าใจหายสำหรับโรบินฮู้ด (Robinhood) แพลตฟอร์มดีลิเวอรีสัญชาติไทย ที่กลุ่ม SCB X ธนาคารไทยพาณิชย์ตัดสินใจไม่ไปต่อ และจะปิดบริการทุกบริการในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ที่จะถึงนี้ ท่ามกลางภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ดำเนินงาน สะสมสูงถึง 5,500 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา แต่การอำลาของ Robinhood นั้นถือว่ายังมีความทรงจำดีๆ ก่อนที่วันนั้นจะมาถึง ทั้งการที่ ต้อง-กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร ซีอีโอของเพอร์เพิล เวนเจอร์ส ผู้พัฒนาโรบินฮู้ด เปิดแพลตฟอร์ม “TalentOfRobinhood” ช่วยพนักงานกว่า 300 คนได้หางานใหม่ โดยให้พนักงานแต่ละคนฝาก Resume หรือ Portfolio ของตัวเอง ล่าสุด จับมือกับ The Standard LIFE ทำคู่มือที่ชื่อว่า "Robinhood Guide 2024 100 ร้านเล็กที่ต้องลอง" รวบรวมร้านอาหารขนาดเล็ก 100 ร้านค้า ซึ่งผู้จัดทำระบุว่า ใช้เวลาหลายเดือนในการค้นหา ชิม และคัดสรรร้านคุณภาพ ทั้งร้านดังในตำนาน ร้านเล็กปากซอย และร้านที่คว้ารางวัล Robinhood Awards มาครอง แต่ละร้านล้วนมีเสน่ห์และรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร "เรารู้ว่าคุณเป็นสายลุยที่ชอบตามหาของอร่อย เลยคัดมาแต่ร้านคุณภาพเน้นๆ ที่รับรองว่าถูกปากแน่นอน คู่มือเล่มนี้จะเป็นแผนที่นำทางคุณไปพบความอร่อยที่ซ่อนอยู่ทั่วเมือง คุณอาจได้ค้นพบร้านโปรดแห่งใหม่ หรือได้รื้อฟื้นความทรงจำดีๆ กับร้านเก่าที่คุ้นเคยด้วยรสชาติที่ดีที่คิดถึง" โรบินฮู้ดตั้งใจว่าคู่มือฉบับนี้จะเป็นการส่งต่อความอร่อยถึงมือผู้อ่าน เพียงแค่แวะไปชิม แชร์ หรือบอกต่อเพื่อนๆ ก็ช่วยให้ร้านอาหารขนาดเล็กเหล่านี้เติบโตได้ ไม่ว่าจะสั่งผ่านแอปฯ ไหน หรือไปกินที่ร้านโดยตรง ทุกการสนับสนุนล้วนมีความหมาย ขณะนี้เปิดให้ดาวน์โหลดแล้วทาง Google Drive คลิก https://bit.ly/4c2DKgT ถือเป็นอีกไฟล์ PDF ที่คนกรุงเทพฯ ควรมีติดไว้บนมือถือ ถ้านึกไม่ออกว่าจะกินร้านไหน น่าจะพอเป็นไอเดียมื้อที่อยากกินได้ #Newskit #Robinhood #RobinhoodDelivery
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 984 มุมมอง 0 รีวิว