ถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคาร กสิกรไทยรองรับ 2 รูปแบบ

ในช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน 2568 ที่ผ่านมา แต่ละธนาคารได้สำรองเงินสดเพื่อรองรับการใช้จ่าย ซึ่งพบว่าแต่ละธนาคารเปิดเผยตัวเลขจำนวนเครื่องเอทีเอ็มในปัจจุบัน โดยธนาคารไทยพาณิชย์ ยังคงมีเครื่องเอทีเอ็มมากที่สุดในประเทศ รวม 9,937 เครื่องแม้จะลดลงไม่ถึงหลักหมื่น จากเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 รวม 10,398 เครื่อง ลดลง 461 เครื่องก็ตาม

ส่วนธนาคารอื่นๆ อาทิ ธนาคารกสิกรไทย 8,200 เครื่อง ธนาคารกรุงเทพ 8,000 เครื่อง ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 5,425 เครื่อง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) 2,406 เครื่อง ธ.ก.ส. 2,300 เครื่อง ขณะที่ธนาคารกรุงไทยไม่ได้เปิดเผย ข้อมูลล่าสุดไตรมาส 3/2567 มี 8,151 เครื่อง นอกนั้นเป็นธนาคารขนาดเล็ก เช่น ธนาคารยูโอบี 344 เครื่อง และบางธนาคารอย่างซีไอเอ็มบี ไทย ยกเลิกบริการเครื่องเอทีเอ็มไปเมื่อปี 2563 ทดแทนด้วยบริการบัตรเดบิตถอนเงินฟรีทุกตู้ทั่วไทย

แม้ว่าบริการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารเกิดขึ้นเมื่อปี 2564 แต่ก็เป็นไปในลักษณะให้บริการกับธนาคารขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้บริการกับธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ก่อนจะมี ธ.ก.ส. ธนาคารไทยเครดิต และทีทีบี ตามมา แต่เมื่อสองธนาคารยักษ์อย่างธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย ให้บริการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารร่วมกัน ยิ่งทำให้บริการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น รวมทั้งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ลูกค้ายอมเสียค่าธรรมเนียมเพื่อประหยัดเวลา ไม่ต้องการค้นหาตู้เอทีเอ็มธนาคารตัวเอง

ตัวกลางในการให้บริการมาจากบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ (ITMX) ที่ต่อยอดบริการถอนเงินไม่ใช้บัตร ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมข้ามธนาคารได้ผ่านระบบ ITMX’s Single Payment และ ATM Switching ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานเดิมสำหรับบริการถอนเงินสดข้ามธนาคาร ปัจจุบันรองรับทั้งการทำรายการแบบ One-Time-Password (OTP) และแบบ QR Code

ล่าสุดตู้ K ATM ธนาคารกสิกรไทย รองรับการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารได้ทั้งสองรูปแบบ เช่น แอปฯ Bangkok Bank ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แอปฯ SCB Easy ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) แอปฯ KKP Mobile ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) แอปฯ LHB You ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) และล่าสุดแอปฯ MyMo ธนาคารออมสิน ค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับธนาคารเจ้าของโมบายแอปพลิเคชัน อยู่ที่ประมาณ 10-15 บาทต่อรายการ จึงน่าสนใจว่าอาจมีธนาคารอื่นให้บริการรองรับทั้งสองรูปแบบตามมา สร้างรายได้จากค่าธรรมเนียม ทดแทนค่าธรรมเนียมบัตรเดบิตที่มีแนวโน้มลดลง

#Newskit
ถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคาร กสิกรไทยรองรับ 2 รูปแบบ ในช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน 2568 ที่ผ่านมา แต่ละธนาคารได้สำรองเงินสดเพื่อรองรับการใช้จ่าย ซึ่งพบว่าแต่ละธนาคารเปิดเผยตัวเลขจำนวนเครื่องเอทีเอ็มในปัจจุบัน โดยธนาคารไทยพาณิชย์ ยังคงมีเครื่องเอทีเอ็มมากที่สุดในประเทศ รวม 9,937 เครื่องแม้จะลดลงไม่ถึงหลักหมื่น จากเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 รวม 10,398 เครื่อง ลดลง 461 เครื่องก็ตาม ส่วนธนาคารอื่นๆ อาทิ ธนาคารกสิกรไทย 8,200 เครื่อง ธนาคารกรุงเทพ 8,000 เครื่อง ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 5,425 เครื่อง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) 2,406 เครื่อง ธ.ก.ส. 2,300 เครื่อง ขณะที่ธนาคารกรุงไทยไม่ได้เปิดเผย ข้อมูลล่าสุดไตรมาส 3/2567 มี 8,151 เครื่อง นอกนั้นเป็นธนาคารขนาดเล็ก เช่น ธนาคารยูโอบี 344 เครื่อง และบางธนาคารอย่างซีไอเอ็มบี ไทย ยกเลิกบริการเครื่องเอทีเอ็มไปเมื่อปี 2563 ทดแทนด้วยบริการบัตรเดบิตถอนเงินฟรีทุกตู้ทั่วไทย แม้ว่าบริการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารเกิดขึ้นเมื่อปี 2564 แต่ก็เป็นไปในลักษณะให้บริการกับธนาคารขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้บริการกับธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ก่อนจะมี ธ.ก.ส. ธนาคารไทยเครดิต และทีทีบี ตามมา แต่เมื่อสองธนาคารยักษ์อย่างธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย ให้บริการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารร่วมกัน ยิ่งทำให้บริการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น รวมทั้งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ลูกค้ายอมเสียค่าธรรมเนียมเพื่อประหยัดเวลา ไม่ต้องการค้นหาตู้เอทีเอ็มธนาคารตัวเอง ตัวกลางในการให้บริการมาจากบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ (ITMX) ที่ต่อยอดบริการถอนเงินไม่ใช้บัตร ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมข้ามธนาคารได้ผ่านระบบ ITMX’s Single Payment และ ATM Switching ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานเดิมสำหรับบริการถอนเงินสดข้ามธนาคาร ปัจจุบันรองรับทั้งการทำรายการแบบ One-Time-Password (OTP) และแบบ QR Code ล่าสุดตู้ K ATM ธนาคารกสิกรไทย รองรับการถอนเงินไม่ใช้บัตรข้ามธนาคารได้ทั้งสองรูปแบบ เช่น แอปฯ Bangkok Bank ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แอปฯ SCB Easy ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) แอปฯ KKP Mobile ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) แอปฯ LHB You ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) และล่าสุดแอปฯ MyMo ธนาคารออมสิน ค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับธนาคารเจ้าของโมบายแอปพลิเคชัน อยู่ที่ประมาณ 10-15 บาทต่อรายการ จึงน่าสนใจว่าอาจมีธนาคารอื่นให้บริการรองรับทั้งสองรูปแบบตามมา สร้างรายได้จากค่าธรรมเนียม ทดแทนค่าธรรมเนียมบัตรเดบิตที่มีแนวโน้มลดลง #Newskit
Like
Love
5
1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 281 มุมมอง 0 รีวิว