• ‘วราวุธ’ นำทีมชาติไทยพัฒนา ขอบคุณ ‘ประภัตร’ เปิดทาง ‘อนุชา’ เป็น รมต.
    https://www.thai-tai.tv/news/20055/
    .
    #ชาติไทยพัฒนา #วราวุธศิลปอาชา #ประภัตรโพธสุธน #อนุชาสะสมทรัพย์ #รมชสาธารณสุข #การเมืองไทย #สุพรรณบุรี #บ้านทรงไทย #การเมืองรุ่นใหม่ #พรรคชาติไทยพัฒนา
    ‘วราวุธ’ นำทีมชาติไทยพัฒนา ขอบคุณ ‘ประภัตร’ เปิดทาง ‘อนุชา’ เป็น รมต. https://www.thai-tai.tv/news/20055/ . #ชาติไทยพัฒนา #วราวุธศิลปอาชา #ประภัตรโพธสุธน #อนุชาสะสมทรัพย์ #รมชสาธารณสุข #การเมืองไทย #สุพรรณบุรี #บ้านทรงไทย #การเมืองรุ่นใหม่ #พรรคชาติไทยพัฒนา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 37 มุมมอง 0 รีวิว
  • ส้มผสมน้ำเงิน ฝ่ายค้านสงวนจุดต่าง

    การเมืองไทยในช่วงที่รอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีคลิปเสียงของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ด้วยข้อกล่าวหาไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง หลังศาลมีคำสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี จึงมีการแต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรี 5 คน นำโดย นายภูมิธรรม เวชยะชัย รักษาราชการแทนนายกฯ มีอำนาจเต็มทั้งบริหารงาน และอนุมัติงบประมาณ ระหว่างรอศาลวินิจฉัยซึ่งคาดว่ากินเวลา 2-3 เดือน ขณะที่ น.ส.แพทองธาร ก็อาศัยช่องว่างปฎิบัติหน้าที่ รมว.วัฒนธรรมแทน

    ส่วนพรรคฝ่ายค้าน หลังจากพรรคภูมิใจไทยถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล ในที่สุดได้ร่วมกับพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาชน ผนึกกำลังรวมกัน 234 เสียง ประกอบด้วย พรรคประชาชน 142 เสียง พรรคภูมิใจไทย 69 เสียง (ไม่นับรวม สส.ที่มาจากพรรคอื่น 2 เสียง) พรรคพลังประชารัฐ 19 เสียง พรรคไทยสร้างไทย 1 เสียง และพรรคเป็นธรรม 1 เสียง

    นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวว่า การรวมตัวครั้งนี้เพื่อแสวงหาจุดร่วม ภายใต้สถานการณ์ของประเทศที่วิกฤตในปัจจุบัน และพรรคฝ่ายค้านมีบางอย่างที่ไม่เหมือนพรรคร่วมรัฐบาล จึงให้เกียรติซึ่งกันและกัน อะไรที่เป็นจุดยืนหรือข้อแตกต่างของพรรคฝ่ายค้านก็จะไม่ก้าวก่ายกัน ส่วนนายอนุทิน ยืนยันว่า พรรคภูมิใจไทยจะปฎิบัติหน้าที่ในฐานะและบทบาทของการเป็นฝ่ายค้าน เพื่อตรวจสอบในสภาผู้แทนราษฎรอย่างเต็มที่ร่วมกันกับพรรคร่วมฝ่ายค้านทุกพรรค

    เมื่อเช็กเสียงฝ่ายรัฐบาล พบว่ามี สส. 261 เสียง ประกอบด้วยพรรคเพื่อไทย 142 เสียง พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง พรรคประชาธิปัตย์ 25 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง พรรคประชาชาติ 9 เสียง พรรคชาติพัฒนา 3 เสียง พรรคไทรวมพลัง 2 เสียง พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง พรรคเสรีรวมไทย 1 เสียง (โหวตสวน) พรรคไทยก้าวหน้า 1 เสียง ที่น่าสนใจ คือ พรรคกล้าธรรม นอกจากมี สส.ในมือ 31 เสียงแล้ว ยังพบว่ามี สส. ที่ย้ายมาร่วมงาน จากพรรคประชาชน 1 เสียง พรรคพลังประชารัฐ 1 เสียง พรรคไทยสร้างไทย 3 เสียง

    แม้พรรคประชาชนจะดึงพรรคภูมิใจไทยเป็นฝ่ายค้าน แต่หากมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีอีก จะต้องเป็นคนที่ประกาศเส้นตายว่าจะยุบสภาภายในสิ้นปี 2568 โดยจัดทำประชามติเรื่องการมี สสร.จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และอีกหลายหัวข้อ ท่ามกลางชะตากรรมของ น.ส.แพทองธารที่ยังต้องลุ้น และสังคมยังเคลือบแคลงสงสัยถึงท่าทีของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่เคยดีลลับกับนายทักษิณ ชินวัตรที่ฮ่องกงว่า ยังมองพรรคเพื่อไทยเป็นมิตรหรือไม่?

    #Newskit
    ส้มผสมน้ำเงิน ฝ่ายค้านสงวนจุดต่าง การเมืองไทยในช่วงที่รอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีคลิปเสียงของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ด้วยข้อกล่าวหาไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง หลังศาลมีคำสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี จึงมีการแต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรี 5 คน นำโดย นายภูมิธรรม เวชยะชัย รักษาราชการแทนนายกฯ มีอำนาจเต็มทั้งบริหารงาน และอนุมัติงบประมาณ ระหว่างรอศาลวินิจฉัยซึ่งคาดว่ากินเวลา 2-3 เดือน ขณะที่ น.ส.แพทองธาร ก็อาศัยช่องว่างปฎิบัติหน้าที่ รมว.วัฒนธรรมแทน ส่วนพรรคฝ่ายค้าน หลังจากพรรคภูมิใจไทยถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล ในที่สุดได้ร่วมกับพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาชน ผนึกกำลังรวมกัน 234 เสียง ประกอบด้วย พรรคประชาชน 142 เสียง พรรคภูมิใจไทย 69 เสียง (ไม่นับรวม สส.ที่มาจากพรรคอื่น 2 เสียง) พรรคพลังประชารัฐ 19 เสียง พรรคไทยสร้างไทย 1 เสียง และพรรคเป็นธรรม 1 เสียง นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวว่า การรวมตัวครั้งนี้เพื่อแสวงหาจุดร่วม ภายใต้สถานการณ์ของประเทศที่วิกฤตในปัจจุบัน และพรรคฝ่ายค้านมีบางอย่างที่ไม่เหมือนพรรคร่วมรัฐบาล จึงให้เกียรติซึ่งกันและกัน อะไรที่เป็นจุดยืนหรือข้อแตกต่างของพรรคฝ่ายค้านก็จะไม่ก้าวก่ายกัน ส่วนนายอนุทิน ยืนยันว่า พรรคภูมิใจไทยจะปฎิบัติหน้าที่ในฐานะและบทบาทของการเป็นฝ่ายค้าน เพื่อตรวจสอบในสภาผู้แทนราษฎรอย่างเต็มที่ร่วมกันกับพรรคร่วมฝ่ายค้านทุกพรรค เมื่อเช็กเสียงฝ่ายรัฐบาล พบว่ามี สส. 261 เสียง ประกอบด้วยพรรคเพื่อไทย 142 เสียง พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง พรรคประชาธิปัตย์ 25 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง พรรคประชาชาติ 9 เสียง พรรคชาติพัฒนา 3 เสียง พรรคไทรวมพลัง 2 เสียง พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง พรรคเสรีรวมไทย 1 เสียง (โหวตสวน) พรรคไทยก้าวหน้า 1 เสียง ที่น่าสนใจ คือ พรรคกล้าธรรม นอกจากมี สส.ในมือ 31 เสียงแล้ว ยังพบว่ามี สส. ที่ย้ายมาร่วมงาน จากพรรคประชาชน 1 เสียง พรรคพลังประชารัฐ 1 เสียง พรรคไทยสร้างไทย 3 เสียง แม้พรรคประชาชนจะดึงพรรคภูมิใจไทยเป็นฝ่ายค้าน แต่หากมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีอีก จะต้องเป็นคนที่ประกาศเส้นตายว่าจะยุบสภาภายในสิ้นปี 2568 โดยจัดทำประชามติเรื่องการมี สสร.จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และอีกหลายหัวข้อ ท่ามกลางชะตากรรมของ น.ส.แพทองธารที่ยังต้องลุ้น และสังคมยังเคลือบแคลงสงสัยถึงท่าทีของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่เคยดีลลับกับนายทักษิณ ชินวัตรที่ฮ่องกงว่า ยังมองพรรคเพื่อไทยเป็นมิตรหรือไม่? #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 225 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประชาชนคนไทยเดินทางมาร่วมชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อขับไล่ “อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ให้ลาออกจากตำแหน่ง เซ่นคลิปเสียงสนทนากับ “นายฮุนเซน” อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศกัมพูชา รวมทั้งเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคชาติไทยพัฒนา ถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลทันที ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก แม้มีฝนตกลงมาแต่ประชาชนก็ไม่หวั่น

    ด้านอินสตาแกรม “ม้า อรนภา กฤษฎี” โพสต์ภาพบรรยากาศคนมาร่วมชุมนุม เขียนแคปชั่นให้กำลังใจ ระบุว่า “พี่น้องสู้ๆ นะ อย่าถอย ถึงฝนจะตกเดี๋ยวมันก็หยุดแล้ว รักทุกคน” พร้อมใส่เพลงปลุกใจ รักเธอประเทศไทย

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000060965

    #Thaitimes #MGROnline #ม้าอรนภา #ม็อบ28มิถุนา #รวมพลังแผ่นดิน #อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ #คณะรวมพลังแผ่นดินปกป้องอธิปไตยไทย #แพทองธารชินวัตร
    ประชาชนคนไทยเดินทางมาร่วมชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อขับไล่ “อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ให้ลาออกจากตำแหน่ง เซ่นคลิปเสียงสนทนากับ “นายฮุนเซน” อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศกัมพูชา รวมทั้งเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคชาติไทยพัฒนา ถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลทันที ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก แม้มีฝนตกลงมาแต่ประชาชนก็ไม่หวั่น • ด้านอินสตาแกรม “ม้า อรนภา กฤษฎี” โพสต์ภาพบรรยากาศคนมาร่วมชุมนุม เขียนแคปชั่นให้กำลังใจ ระบุว่า “พี่น้องสู้ๆ นะ อย่าถอย ถึงฝนจะตกเดี๋ยวมันก็หยุดแล้ว รักทุกคน” พร้อมใส่เพลงปลุกใจ รักเธอประเทศไทย • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000060965 • #Thaitimes #MGROnline #ม้าอรนภา #ม็อบ28มิถุนา #รวมพลังแผ่นดิน #อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ #คณะรวมพลังแผ่นดินปกป้องอธิปไตยไทย #แพทองธารชินวัตร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 284 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'ชาติไทยพัฒนา' ยังหนุน "อิ๊งค์" ทำงานต่อ อ้างเหตุเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ 24 ชม. ยังไม่ได้คุยกับนายกฯ ว่าเกิดอะไรขึ้น
    https://www.thai-tai.tv/news/19566/
    'ชาติไทยพัฒนา' ยังหนุน "อิ๊งค์" ทำงานต่อ อ้างเหตุเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ 24 ชม. ยังไม่ได้คุยกับนายกฯ ว่าเกิดอะไรขึ้น https://www.thai-tai.tv/news/19566/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 61 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'ลูกท็อป' ไม่ปลื้ม โดนบีบแลกกระทรวง ยันขอทำงานร่วมทุกฝ่าย
    .
    กระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีแรงขึ้นมาทุกขณะ คราวนี้มีหวยมาออกที่พรรคชาติไทยพัฒนา ภายหลังมีรายงานว่านายวราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค อาจโดนโยกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงของมนุษย์มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งบ้านใหญ่สุพรรณบุรีดูจะไม่ปลื้มเท่าใดนัก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000036914

    #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    'ลูกท็อป' ไม่ปลื้ม โดนบีบแลกกระทรวง ยันขอทำงานร่วมทุกฝ่าย . กระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีแรงขึ้นมาทุกขณะ คราวนี้มีหวยมาออกที่พรรคชาติไทยพัฒนา ภายหลังมีรายงานว่านายวราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค อาจโดนโยกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงของมนุษย์มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งบ้านใหญ่สุพรรณบุรีดูจะไม่ปลื้มเท่าใดนัก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000036914 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    Haha
    15
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1205 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดสมัยประชุม ดิ้นเฮือกสุดท้าย เดินหน้าแก้ รธน.
    .
    12 ธันวาคม เป็นวันแรกของการเปิดสมัยประชุมสภา แน่นอนว่าประเด็นหลักที่หลายฝ่ายพูดถึง คือ ความเป็นไปได้ในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นประตูสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
    .
    นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ที่ถูกบรรจุลงระเบียบวาระแล้ว 17 ฉบับ ซึ่งยังไม่มีฉบับใด ที่เป็นการแก้ไขทั้งฉบับ และหากไม่มีการเสนอแก้ไขทั้งฉบับเข้ามา ก็ต้องพิจารณาแก้ไขรายมาตราตามที่บรรจุไว้ โดยในการเปิดประชุมสภา วันที่ 12 ธ.ค.จะต้องมีการถามวิปทั้งสามฝ่ายว่า หากไม่มีการแก้ทั้งฉบับแล้ว จะมาพิจารณาว่าฉบับไหนมีความจำเป็น และเมื่อเปิดสภา และมีการประชุมร่วมเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญจะกระทำช่วงใด
    .
    "เชื่อว่าจะต้องอยู่ภายในเดือนธันวาคม เพราะมีวาระที่จะต้องพิจารณา คือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ต้องให้สภาพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน และใกล้ครบกำหนด 60 วันแล้ว ดังนั้นสภาจะต้องมีการพิจารณากฎหมายนี้ และหลังจากนั้น ก็จะตามด้วยกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 17 ฉบับ ซึ่งจะพิจารณาในคราวเดียวไม่ได้ แต่จะต้องมาพิจารณาว่าจะพิจารณาฉบับไหนก่อนหลัง" ประธานรัฐสภา กล่าว
    .
    ด้าน นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในนามพรรคชาติไทยพัฒนาเห็นว่าวันนี้เป็นวันรัฐธรรมนูญ แต่โอกาสที่จะได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนั้นยังมีอยู่ แต่ไม่สามารถจะเสนอได้ทันภายในสภาสมัยนี้แน่นอน ส่วนตัวคาดว่าจะได้เพียงแค่การตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) แม้แต่ ส.ส.ร.เองก็ยังติดปัญหาอยู่เช่นกัน เพราะโอกาสที่จะทำประชามติสองครั้ง ส่วนตัวก็ไม่เชื่อว่าจะทำได้ ซึ่งต้องทำตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญคือ 3 ครั้ง เนื่องจากหากทำประชามติแค่ 2 ครั้ง สมาชิกรัฐสภาอาจจะอึดอัดกับการโหวต เพราะอาจจะไม่เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
    ..............
    Sondhi X
    เปิดสมัยประชุม ดิ้นเฮือกสุดท้าย เดินหน้าแก้ รธน. . 12 ธันวาคม เป็นวันแรกของการเปิดสมัยประชุมสภา แน่นอนว่าประเด็นหลักที่หลายฝ่ายพูดถึง คือ ความเป็นไปได้ในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นประตูสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ . นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ที่ถูกบรรจุลงระเบียบวาระแล้ว 17 ฉบับ ซึ่งยังไม่มีฉบับใด ที่เป็นการแก้ไขทั้งฉบับ และหากไม่มีการเสนอแก้ไขทั้งฉบับเข้ามา ก็ต้องพิจารณาแก้ไขรายมาตราตามที่บรรจุไว้ โดยในการเปิดประชุมสภา วันที่ 12 ธ.ค.จะต้องมีการถามวิปทั้งสามฝ่ายว่า หากไม่มีการแก้ทั้งฉบับแล้ว จะมาพิจารณาว่าฉบับไหนมีความจำเป็น และเมื่อเปิดสภา และมีการประชุมร่วมเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญจะกระทำช่วงใด . "เชื่อว่าจะต้องอยู่ภายในเดือนธันวาคม เพราะมีวาระที่จะต้องพิจารณา คือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ต้องให้สภาพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน และใกล้ครบกำหนด 60 วันแล้ว ดังนั้นสภาจะต้องมีการพิจารณากฎหมายนี้ และหลังจากนั้น ก็จะตามด้วยกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 17 ฉบับ ซึ่งจะพิจารณาในคราวเดียวไม่ได้ แต่จะต้องมาพิจารณาว่าจะพิจารณาฉบับไหนก่อนหลัง" ประธานรัฐสภา กล่าว . ด้าน นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในนามพรรคชาติไทยพัฒนาเห็นว่าวันนี้เป็นวันรัฐธรรมนูญ แต่โอกาสที่จะได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนั้นยังมีอยู่ แต่ไม่สามารถจะเสนอได้ทันภายในสภาสมัยนี้แน่นอน ส่วนตัวคาดว่าจะได้เพียงแค่การตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) แม้แต่ ส.ส.ร.เองก็ยังติดปัญหาอยู่เช่นกัน เพราะโอกาสที่จะทำประชามติสองครั้ง ส่วนตัวก็ไม่เชื่อว่าจะทำได้ ซึ่งต้องทำตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญคือ 3 ครั้ง เนื่องจากหากทำประชามติแค่ 2 ครั้ง สมาชิกรัฐสภาอาจจะอึดอัดกับการโหวต เพราะอาจจะไม่เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Sad
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1213 มุมมอง 0 รีวิว
  • ณ บ้านพระอาทิตย์
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516



    นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line)

    อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา

    โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์”

    พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้

    “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้

    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

    มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

    ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้

    ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า



    “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“

    อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์

    ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย

    ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน

    ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย

    ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า

    “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511”

    แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน

    ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น

    ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“



    หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น

    ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด

    แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย

    แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี

    แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล

    ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล

    การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย

    MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“

    เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่?

    ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน

    จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า

    “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

    จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป”

    โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ

    จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น

    ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่?

    ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

    https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530

    #Thaitimes
    ณ บ้านพระอาทิตย์ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line) อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์” พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้ “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้ ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์ ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511” แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“ เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่? ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป” โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่? ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่ ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530 #Thaitimes
    Like
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2015 มุมมอง 0 รีวิว
  • ..ฟังๆไปเถอะ ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง ผิดบ้าง ถูกบ้าง เข้าใจในแบบเราชัด ไม่เข้าใจในแบบเราชัด แบบบางที่เจอกับตัวใครมันที่พระเครื่องมีพุทธคุณใส่คอคนถูกผีสิงผีเข้าคน คนนั้นตื่นคืนสติจริงก็ชัดเจนในตัวเราท่านเธอที่ประสบเจอจริง อ.เบียร์อาจหมายไปทางดีอื่น ไม่เคยเจอกับตัวด้านนี้จึงว่าพระเครื่องนั้นนี้ไม่มีพุทธคุณ แต่หมายทางคำสอนถึงคุณพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ก็ว่าไป,ข้ามๆส่วนผิดน้อยๆไปเถอะ,คนเราเก่งรู้ต่างกัน ใช่เข้าใจจริงถึงธรรมหมด,อย่างน้อยก็มาร่วมปกป้องพระพุทธศาสนาให้ทรงทางสายปกติก็ดีแล้วร่วมกัน,หายากที่จะอยู่กลางแสง ถูกอีแร้งรอบทิศสะกัดดาวรุ้ง ,ทางนี้ยังงๆในการท้าทายอ.เบียร์เลย กระทบวาทะวลีคำกันหลายความเลย,สรุปอ.มาดีหรือมาร้ายในช่วงเปิดตัวใหม่ๆเลย จนอาจารย์สายดีงามรับรองว่า อย่างถือสาท่าน ถูกผิดกรรมใดๆตกแก่ผู้กระทำเองล่ะ,เราผู้ไปฟังก็ไตร่ตรองอย่างมีสติปัญญาเอง แยกแยะวิเคราะห์ธรรมฝ่ายดีฝ่ายชั่วเองก่อนกินดื่มเข้าไปได้,อย่าพึ่งเชื่อแม้ท่านคืออาจารย์ของเราก็ว่า,ยุคนี้สมัยนี้คนเราหยาบหนานักด้วยฝ่ายปกครองดึงตำราเรียนของทางพระพุทธศาสนาออกไปจากกระทรวงศึกษาในการสอนเด็กๆก็ย้อนกลับมาอีลิทสายซาตานท่านลอร์ดยิวอีกล่ะจะล้างสมองเยาวชนไทยมิให้รู้ดีรู้ชั่วทั้งตำราศีลธรรมจริยธรรมออกจากหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนไทยเรา,หน้าที่พลเรือนพลเมืองไทยก็ด้วย,ต้องไปคุยสายต่อต้านลัทธิทะเลทรายยิวแรปทีเลี่ยนเขา คนไทยจึงขาดการศึกษาศีลธรรมจริยธรรม&หน้าที่พลเมืองของชาติการรักชาติบ้านเมืองตนออกไป,สส.สว.นักการเมืองจึงสะดวกในการคตโกงเพราะคนไทยไม่ว่าเรื่องจริยธรรมแล้วด้วยไม่ได้เรียนได้รู้ว่าถ้านักการเมืองทำแบบนี้ผิดจริยธรรมตามตำราที่เล่าเรียนมาร่วมกันนะ ต้องสำเนียงพึ่งระวังละอายใจตนเองในฐานะสส.สว.ด้วย ต้องละอาย&เกรงกลัวในบาปในชั่วด้วยเป็นแบบอย่างเยี่ยงอย่างเยาวชนที่ดีด้วย,มันเห็นตรงนี้จึงถอดออกจากการเรียนการสอนในอดีตเลย เพื่อจะได้พูดให้นักการเมืองนักปกครองแบบพวกมันไม่ได้ จนกระอักเลือดตายแบบหนังจีนได้เพราะรับคำด่าตำหนิไม่ได้ด้วยคนไทยเหล่าเรียนจนมีวิชาแกร่งกล้าเต็มภูมิกันทุกๆคน ซวยต่อการโกง&ลำบากต่อการทำชั่ว,
    ..อ.เบียร์ในช่วงนี้จึงเหมาะแก่ยุคสมัยคนหยาบๆหนาๆออกหูซ้ายทะลุหัวขวาจึงโดนกระโถนแก่ตีเข้าก็ว่า,
    ..เยาวชนไทยเราหลายคนมาหันฟังสิ่งดีๆสู่ประตูทางธรรม เดินขึ้นสู่ทางที่ถูกที่ควรร่วมกันดำรงชาติไทยพัฒนาชาติเรามิให้หลงทางตามฝรั่งซาตานมารปีศาจได้นะดีแล้ว.
    ..ฟังๆไปเถอะ ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง ผิดบ้าง ถูกบ้าง เข้าใจในแบบเราชัด ไม่เข้าใจในแบบเราชัด แบบบางที่เจอกับตัวใครมันที่พระเครื่องมีพุทธคุณใส่คอคนถูกผีสิงผีเข้าคน คนนั้นตื่นคืนสติจริงก็ชัดเจนในตัวเราท่านเธอที่ประสบเจอจริง อ.เบียร์อาจหมายไปทางดีอื่น ไม่เคยเจอกับตัวด้านนี้จึงว่าพระเครื่องนั้นนี้ไม่มีพุทธคุณ แต่หมายทางคำสอนถึงคุณพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ก็ว่าไป,ข้ามๆส่วนผิดน้อยๆไปเถอะ,คนเราเก่งรู้ต่างกัน ใช่เข้าใจจริงถึงธรรมหมด,อย่างน้อยก็มาร่วมปกป้องพระพุทธศาสนาให้ทรงทางสายปกติก็ดีแล้วร่วมกัน,หายากที่จะอยู่กลางแสง ถูกอีแร้งรอบทิศสะกัดดาวรุ้ง ,ทางนี้ยังงๆในการท้าทายอ.เบียร์เลย กระทบวาทะวลีคำกันหลายความเลย,สรุปอ.มาดีหรือมาร้ายในช่วงเปิดตัวใหม่ๆเลย จนอาจารย์สายดีงามรับรองว่า อย่างถือสาท่าน ถูกผิดกรรมใดๆตกแก่ผู้กระทำเองล่ะ,เราผู้ไปฟังก็ไตร่ตรองอย่างมีสติปัญญาเอง แยกแยะวิเคราะห์ธรรมฝ่ายดีฝ่ายชั่วเองก่อนกินดื่มเข้าไปได้,อย่าพึ่งเชื่อแม้ท่านคืออาจารย์ของเราก็ว่า,ยุคนี้สมัยนี้คนเราหยาบหนานักด้วยฝ่ายปกครองดึงตำราเรียนของทางพระพุทธศาสนาออกไปจากกระทรวงศึกษาในการสอนเด็กๆก็ย้อนกลับมาอีลิทสายซาตานท่านลอร์ดยิวอีกล่ะจะล้างสมองเยาวชนไทยมิให้รู้ดีรู้ชั่วทั้งตำราศีลธรรมจริยธรรมออกจากหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนไทยเรา,หน้าที่พลเรือนพลเมืองไทยก็ด้วย,ต้องไปคุยสายต่อต้านลัทธิทะเลทรายยิวแรปทีเลี่ยนเขา คนไทยจึงขาดการศึกษาศีลธรรมจริยธรรม&หน้าที่พลเมืองของชาติการรักชาติบ้านเมืองตนออกไป,สส.สว.นักการเมืองจึงสะดวกในการคตโกงเพราะคนไทยไม่ว่าเรื่องจริยธรรมแล้วด้วยไม่ได้เรียนได้รู้ว่าถ้านักการเมืองทำแบบนี้ผิดจริยธรรมตามตำราที่เล่าเรียนมาร่วมกันนะ ต้องสำเนียงพึ่งระวังละอายใจตนเองในฐานะสส.สว.ด้วย ต้องละอาย&เกรงกลัวในบาปในชั่วด้วยเป็นแบบอย่างเยี่ยงอย่างเยาวชนที่ดีด้วย,มันเห็นตรงนี้จึงถอดออกจากการเรียนการสอนในอดีตเลย เพื่อจะได้พูดให้นักการเมืองนักปกครองแบบพวกมันไม่ได้ จนกระอักเลือดตายแบบหนังจีนได้เพราะรับคำด่าตำหนิไม่ได้ด้วยคนไทยเหล่าเรียนจนมีวิชาแกร่งกล้าเต็มภูมิกันทุกๆคน ซวยต่อการโกง&ลำบากต่อการทำชั่ว, ..อ.เบียร์ในช่วงนี้จึงเหมาะแก่ยุคสมัยคนหยาบๆหนาๆออกหูซ้ายทะลุหัวขวาจึงโดนกระโถนแก่ตีเข้าก็ว่า, ..เยาวชนไทยเราหลายคนมาหันฟังสิ่งดีๆสู่ประตูทางธรรม เดินขึ้นสู่ทางที่ถูกที่ควรร่วมกันดำรงชาติไทยพัฒนาชาติเรามิให้หลงทางตามฝรั่งซาตานมารปีศาจได้นะดีแล้ว.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 618 มุมมอง 28 0 รีวิว
  • "นิกร" ยังไม่หมดหวังแก้ รธน. 04/10/67 #นิกร #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #พรรคชาติไทยพัฒนา #การเมือง
    "นิกร" ยังไม่หมดหวังแก้ รธน. 04/10/67 #นิกร #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #พรรคชาติไทยพัฒนา #การเมือง
    Like
    Angry
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2081 มุมมอง 540 0 รีวิว
  • สะพัด 'ชัยเกษม' นายกรัฐมนตรีคนที่ 31

    หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ จากกรณีนําความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่นายพิชิตเคยถูกศาลฎีกาสั่งจําคุกเป็นเวลา 6 เดือน ในความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล เป็นบุคคลที่กระทําการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ

    นับเป็นการปิดฉากนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย จากนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สู่นักการเมือง หลังดำรงตำแหน่งได้เพียง 358 วัน นับตั้งแต่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา

    เมื่อพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ปล่อยให้บรรยากาศทางการเมืองตกอยู่ในภาวะสูญญากาศ การหารือระหว่างแกนนำพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เกิดขึ้นเมื่อเย็นวันที่ 14 ส.ค. โดยมีรายงานว่า พรรคเพื่อไทย จะเสนอชื่อนายชัยเกษม นิติสิริ ซึ่งเป็นหนึ่งในแคนดิเดต เป็นนายกรัฐมนตรี

    ด้านนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร มีคำสั่งให้นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นพิเศษ ในวันศุกร์ที่ 16 ส.ค. 2567 เวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญ โดยก่อนหน้านี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งต่อที่ประชุมเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ว่า จำนวน สส.ในสภาปัจจุบันเท่าที่มีและปฏิบัติหน้าที่ได้ มีจำนวน 493 คน องค์ประชุมกึ่งหนึ่งคือ 247 คน หลังจากพรรคก้าวไกลถูกยุบและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค

    ปัจจุบันเสียง สส.ฝ่ายรัฐบาล รวม 315 เสียง ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 141 เสียง พรรคภูมิใจไทย 71 เสียง พรรคพลังประชารัฐ 40 เสียง พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง พรรคประชาชาติ 9 เสียง พรรคชาติพัฒนา 3 เสียง พรรคไทรวมพลัง 2 เสียง พรรคเสรีรวมไทย พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคท้องที่ไทย พรรคละ 1 เสียง หากเป็นไปในทิศทางเดียวกันย่อมได้เสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งไม่ยาก เว้นเสียแต่การเมืองไทยอะไรก็เกิดขึ้นได้

    สำหรับนายชัยเกษม นิติสิริ อายุ 75 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท กฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เคยเป็นอดีตประธาน ก.ล.ต. อดีตอัยการสูงสุด อดีต รมว.ยุติธรรม ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมการด้านประชาธิปไตย กระบวนการยุติธรรม และความเสมอภาคเท่าเทียม พรรคเพื่อไทย

    ก่อนหน้านี้นายชัยเกษมมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ป่วยกะทันหันหลังจากลงพื้นที่หาเสียงช่วยผู้สมัคร ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ที่ จ.น่าน เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2566 เมื่อตรวจซีทีสแกนพบว่ามีก้อนเลือดแห้งอยู่ในสมอง เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช แต่นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า สุขภาพกลับมาแข็งแรงแล้ว ที่ผ่านมาก็เข้ามาช่วยทำงานกับพรรคมาโดยตลอด

    #Newskit #ชัยเกษม #นายกรัฐมนตรี
    สะพัด 'ชัยเกษม' นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ จากกรณีนําความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่นายพิชิตเคยถูกศาลฎีกาสั่งจําคุกเป็นเวลา 6 เดือน ในความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล เป็นบุคคลที่กระทําการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ นับเป็นการปิดฉากนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย จากนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สู่นักการเมือง หลังดำรงตำแหน่งได้เพียง 358 วัน นับตั้งแต่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา เมื่อพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ปล่อยให้บรรยากาศทางการเมืองตกอยู่ในภาวะสูญญากาศ การหารือระหว่างแกนนำพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เกิดขึ้นเมื่อเย็นวันที่ 14 ส.ค. โดยมีรายงานว่า พรรคเพื่อไทย จะเสนอชื่อนายชัยเกษม นิติสิริ ซึ่งเป็นหนึ่งในแคนดิเดต เป็นนายกรัฐมนตรี ด้านนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร มีคำสั่งให้นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นพิเศษ ในวันศุกร์ที่ 16 ส.ค. 2567 เวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญ โดยก่อนหน้านี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งต่อที่ประชุมเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ว่า จำนวน สส.ในสภาปัจจุบันเท่าที่มีและปฏิบัติหน้าที่ได้ มีจำนวน 493 คน องค์ประชุมกึ่งหนึ่งคือ 247 คน หลังจากพรรคก้าวไกลถูกยุบและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ปัจจุบันเสียง สส.ฝ่ายรัฐบาล รวม 315 เสียง ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 141 เสียง พรรคภูมิใจไทย 71 เสียง พรรคพลังประชารัฐ 40 เสียง พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง พรรคประชาชาติ 9 เสียง พรรคชาติพัฒนา 3 เสียง พรรคไทรวมพลัง 2 เสียง พรรคเสรีรวมไทย พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคท้องที่ไทย พรรคละ 1 เสียง หากเป็นไปในทิศทางเดียวกันย่อมได้เสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งไม่ยาก เว้นเสียแต่การเมืองไทยอะไรก็เกิดขึ้นได้ สำหรับนายชัยเกษม นิติสิริ อายุ 75 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท กฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เคยเป็นอดีตประธาน ก.ล.ต. อดีตอัยการสูงสุด อดีต รมว.ยุติธรรม ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมการด้านประชาธิปไตย กระบวนการยุติธรรม และความเสมอภาคเท่าเทียม พรรคเพื่อไทย ก่อนหน้านี้นายชัยเกษมมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ป่วยกะทันหันหลังจากลงพื้นที่หาเสียงช่วยผู้สมัคร ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ที่ จ.น่าน เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2566 เมื่อตรวจซีทีสแกนพบว่ามีก้อนเลือดแห้งอยู่ในสมอง เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช แต่นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า สุขภาพกลับมาแข็งแรงแล้ว ที่ผ่านมาก็เข้ามาช่วยทำงานกับพรรคมาโดยตลอด #Newskit #ชัยเกษม #นายกรัฐมนตรี
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1788 มุมมอง 0 รีวิว