• 48 ปี ประหาร “เสธ.หลาด” พลเอกฉลาด หิรัญศิริ นักโทษกบฏคนสุดท้าย ที่ตายด้วยการยิงเป้า 🇹🇭⚖️ เสียงปืนสุดท้าย ของการปฏิวัติ ที่ไม่สำเร็จ

    ย้อนรอยคดีประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า ที่สะท้อนทั้งความหวัง ความกล้า และการถูกลืม

    🧭 บทเรียนจากอดีต ที่ไม่อาจมองข้าม บ่ายวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2520 เวลา 15.24 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง เสียงปืนชุดหนึ่ง ดังก้องสะท้อนในความเงียบสงบ เป็นการสิ้นสุดชีวิตของ “เสธ. หลาด” หรือ "พลเอกฉลาด หิรัญศิริ" นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิต ในข้อหากบฏ

    เสธ.หลาดเป็นคนสุดท้ายในประวัติศาสตร์ไทย ที่ถูกประหารด้วยการยิงเป้า โดยคำสั่งตามมาตรา 21 แห่งรัฐธรรมนูญไทย ซึ่งเปิดช่องให้รัฐบาลในเวลานั้น สามารถออกคำสั่งให้ประหารชีวิตได้ โดยไม่ต้องผ่านศาล 👁️‍🗨️

    จะพาเจาะลึกตั้งแต่ชีวประวัติของ "พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ" เหตุการณ์รัฐประหารที่ล้มเหลว การตัดสินโทษ และคำถามที่ยังไร้คำตอบว่า... “ทำไมเสธ.หลาดต้องถูกประหาร?” 🤔

    👤 จากทหารกล้า สู่ผู้นำกบฏ "พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ" ถือกำเนิดในยุคสงครามโลก ครั้งที่สอง เริ่มรับราชการในปี พ.ศ. 2483 ที่อุดรธานี มีชีวิตในวงการทหารมายาวนาน ผ่านสงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม เป็นหนึ่งในผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็น “ทหารนักรบของจริง” 🪖

    เคยดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองร้อย เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารบก ผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทย ในเวียดนามใต้ (ผลัด 2) และผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

    ชื่อเสียงของเสธ.หลาดในสนามรบ เป็นที่เลื่องลือ ถึงขนาดได้รับประกาศเกียรติคุณ จากประธานาธิบดีเวียดนามใต้ 🎖️

    อย่างไรก็ตาม เส้นทางในกองทัพ กลับไม่เป็นไปตามฝัน เมื่อการเมืองเข้ามาแทรกแซง ส่งผลให้ความทะเยอทะยานของเสธ.หลาด ในการก้าวสู่ตำแหน่ง "ผู้บัญชาการทหารบก" ต้องพังทลายลง

    ⚔️ ปฏิบัติการยึดอำนาจ 26 มีนาคม 2520 ความพยายามที่สิ้นสุดด้วยการล้อม เมื่อการเมืองไม่เอื้อ เสธ.หลาดเลือกเส้นทาง ของการก่อรัฐประหาร โดยในวันที่ 26 มีนาคม 2520 พล.อ. ฉลาด พร้อมพวก เข้ายึดศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก “สวนรื่นฤดี” โดยมีลูกชายของเขา "พ.ต. อัศวิน หิรัญศิริ" เป็นผู้บัญชาการกองกำลัง

    แผนการดูเหมือนจะประสบความสำเร็จในช่วงแรก แต่กลับถูกฝ่ายรัฐบาล ควบคุมสถานการณ์ได้ ในเวลาไม่นาน โดยมี "พ.ต. สุรยุทธ์ จุลานนท์" เป็นตัวกลางในการเจรจาให้ยอมแพ้ และเสนอให้ลี้ภัยไปไต้หวัน

    แต่ข้อตกลงนี้ กลับไม่สำเร็จ เมื่อการเดินทางไปไต้หวันล้มเหลว และผู้นำรัฐประหารทั้งหมด ถูกจับกุมทันที

    🔥 ทำไมต้องประหาร? คำถามที่ยังไร้คำตอบ การใช้ มาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 คือประเด็นที่ถกเถียงมากที่สุดในกรณีนี้ เนื่องจากไม่ผ่านกระบวนการศาลปกติ แต่เป็นอำนาจตรงจากรัฐบาลในเวลานั้น

    นายกรัฐมนตรี "ธานินทร์ กรัยวิเชียร" กล่าวภายหลังว่า “ไม่เห็นควรใช้มาตรา 21 อย่างพร่ำเพรื่อ”

    แต่เสียงของนายกฯ แพ้เสียงทหาร ในที่ประชุมร่วมรัฐบาล-คณะปฏิรูป เพราะคะแนนเสียงห่างกัน 16 ต่อ 26 ทำให้คดีนี้ถูกนำไปสู่การตัดสินโทษประหารทันที

    ✨ ข้อสังเกตจาก "สุธรรม แสงประทุม" นักโทษการเมือง ฝ่ายทหารหวาดกลัวว่า เสธ.หลาด จะหลบหนี ดพราะเชื่อว่ายังมีอิทธิพลภายใน รวมถึงกังวลว่า จะถูกเปิดโปงภายในกองทัพ

    นี่คือการ "กำจัด" มากกว่าการ "ยุติธรรม"?

    🕊️ ช่วงสุดท้ายของชีวิต “เสธ. หลาด”
    เวลา 14.00 น. เสธ.หลาดถูกเบิกตัวจากแดนพิเศษ ไปยังห้องควบคุม เขาถามเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงว่า “ญาติมาเยี่ยมหรือ เขาอนุญาตให้เยี่ยมแล้วใช่ไหม?”

    ไม่มีคำตอบ เขารู้ในใจว่าชะตากำลังจะมาถึง

    เวลา 14.20 น. เสธ.หลาดฟังคำสั่งประหารอย่างสงบ พร้อมเซ็นชื่อรับทราบ แล้วเขียนพินัยกรรม 4 แผ่น ✍️ ปฏิเสธอาหารมื้อสุดท้าย และขอดื่มเพียง น้ำส้ม 1 ขวด

    เวลา 14.50 น. พระมหาเจียมเทศนาเรื่องกรรม เสธ.หลาดกล่าว "สาธุ" และก้มกราบ 3 ครั้ง พร้อมประเคนเงินจำนวน 100 บาท และนาฬิกาโอเมกา🙏

    เวลา 15.24 น. เสียงปืนจบชีวิต "เสธ.หลาด" ตรงศาลาแปดเหลี่ยม ในเรือนจำบางขวาง

    คำพูดสุดท้าย "ถ้าพร้อมแล้ว จะบอกนะ"

    จากนั้น...มือของเสธ.หลาดสั่นเบา ๆ เพื่อ "เขย่าดอกไม้ในมือ" เป็นสัญญาณให้เพชฌฆาตเหนี่ยวไก

    🪦 เสธ. หลาดในความทรงจำ ของนักโทษการเมือง "สุธรรม แสงประทุม" เล่าว่า เสธ.หลาด หรือ “ลุงหลาด” อยู่ตึกเดียวกันในบางขวาง โดย “ลุงหลาด” มักชอบพูดเสมอว่า

    “ลุงถูกหักหลัง” ใครคือผู้หักหลัง? ยังไม่มีใครรู้แน่ชัด... หรืออาจรู้ แต่ไม่มีใครกล้าพูด

    เสธ.หลาดยังถามสุธรรมซ้ำ ๆ ว่า "การต่อสู้ของลุง สมควรแก่เหตุหรือเปล่า?"

    สุธรรมตอบว่า "ก็พอสมควรแก่เหตุครับ"

    🧩 เสธ. หลาดในหน้าประวัติศาสตร์: วีรบุรุษ? กบฏ? หรือเหยื่อการเมือง? สิ่งที่ควรถามในวันนี้ไม่ใช่แค่ว่า “เขาผิดหรือไม่?”

    แต่คือ “เขาได้รับความยุติธรรมหรือเปล่า?”

    การประหารชีวิต ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการศาล

    การเจรจาที่หลอกให้เขายอมแพ้

    การกล่าวหาว่า เขามีอิทธิพลเกินไป

    ทั้งหมดนี้คือคำถาม ที่ยังไม่มีคำตอบ และอาจไม่เคยมีวันหนึ่ง ที่คำตอบเหล่านั้นจะถูกเปิดเผย...

    🔚 เสียงสะท้อนจากกระสุนในวันนั้น เรื่องราวของ “เสธ.หลาด” พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ไม่ใช่แค่ประวัติศาสตร์ของคน คนหนึ่ง แต่มันสะท้อนถึง โครงสร้างอำนาจของไทยในอดีต สะท้อนถึงความเปราะบางของ “ความยุติธรรม” เมื่อ “อำนาจ” มาแทนที่ 📜⚖️

    48 ปี ผ่านไป คำถามยังคงอยู่...

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221706 เม.ย. 2568

    📱 #เสธหลาด #ฉลาดหิรัญศิริ #กบฏ2520 #ประหารชีวิต #ประวัติศาสตร์ไทย #คดีดังไทย #รัฐประหาร #การเมืองไทย #บางขวาง #มาตรา21
    48 ปี ประหาร “เสธ.หลาด” พลเอกฉลาด หิรัญศิริ นักโทษกบฏคนสุดท้าย ที่ตายด้วยการยิงเป้า 🇹🇭⚖️ เสียงปืนสุดท้าย ของการปฏิวัติ ที่ไม่สำเร็จ ย้อนรอยคดีประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า ที่สะท้อนทั้งความหวัง ความกล้า และการถูกลืม 🧭 บทเรียนจากอดีต ที่ไม่อาจมองข้าม บ่ายวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2520 เวลา 15.24 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง เสียงปืนชุดหนึ่ง ดังก้องสะท้อนในความเงียบสงบ เป็นการสิ้นสุดชีวิตของ “เสธ. หลาด” หรือ "พลเอกฉลาด หิรัญศิริ" นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิต ในข้อหากบฏ เสธ.หลาดเป็นคนสุดท้ายในประวัติศาสตร์ไทย ที่ถูกประหารด้วยการยิงเป้า โดยคำสั่งตามมาตรา 21 แห่งรัฐธรรมนูญไทย ซึ่งเปิดช่องให้รัฐบาลในเวลานั้น สามารถออกคำสั่งให้ประหารชีวิตได้ โดยไม่ต้องผ่านศาล 👁️‍🗨️ จะพาเจาะลึกตั้งแต่ชีวประวัติของ "พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ" เหตุการณ์รัฐประหารที่ล้มเหลว การตัดสินโทษ และคำถามที่ยังไร้คำตอบว่า... “ทำไมเสธ.หลาดต้องถูกประหาร?” 🤔 👤 จากทหารกล้า สู่ผู้นำกบฏ "พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ" ถือกำเนิดในยุคสงครามโลก ครั้งที่สอง เริ่มรับราชการในปี พ.ศ. 2483 ที่อุดรธานี มีชีวิตในวงการทหารมายาวนาน ผ่านสงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม เป็นหนึ่งในผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็น “ทหารนักรบของจริง” 🪖 เคยดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองร้อย เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารบก ผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทย ในเวียดนามใต้ (ผลัด 2) และผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ชื่อเสียงของเสธ.หลาดในสนามรบ เป็นที่เลื่องลือ ถึงขนาดได้รับประกาศเกียรติคุณ จากประธานาธิบดีเวียดนามใต้ 🎖️ อย่างไรก็ตาม เส้นทางในกองทัพ กลับไม่เป็นไปตามฝัน เมื่อการเมืองเข้ามาแทรกแซง ส่งผลให้ความทะเยอทะยานของเสธ.หลาด ในการก้าวสู่ตำแหน่ง "ผู้บัญชาการทหารบก" ต้องพังทลายลง ⚔️ ปฏิบัติการยึดอำนาจ 26 มีนาคม 2520 ความพยายามที่สิ้นสุดด้วยการล้อม เมื่อการเมืองไม่เอื้อ เสธ.หลาดเลือกเส้นทาง ของการก่อรัฐประหาร โดยในวันที่ 26 มีนาคม 2520 พล.อ. ฉลาด พร้อมพวก เข้ายึดศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก “สวนรื่นฤดี” โดยมีลูกชายของเขา "พ.ต. อัศวิน หิรัญศิริ" เป็นผู้บัญชาการกองกำลัง แผนการดูเหมือนจะประสบความสำเร็จในช่วงแรก แต่กลับถูกฝ่ายรัฐบาล ควบคุมสถานการณ์ได้ ในเวลาไม่นาน โดยมี "พ.ต. สุรยุทธ์ จุลานนท์" เป็นตัวกลางในการเจรจาให้ยอมแพ้ และเสนอให้ลี้ภัยไปไต้หวัน แต่ข้อตกลงนี้ กลับไม่สำเร็จ เมื่อการเดินทางไปไต้หวันล้มเหลว และผู้นำรัฐประหารทั้งหมด ถูกจับกุมทันที 🔥 ทำไมต้องประหาร? คำถามที่ยังไร้คำตอบ การใช้ มาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 คือประเด็นที่ถกเถียงมากที่สุดในกรณีนี้ เนื่องจากไม่ผ่านกระบวนการศาลปกติ แต่เป็นอำนาจตรงจากรัฐบาลในเวลานั้น นายกรัฐมนตรี "ธานินทร์ กรัยวิเชียร" กล่าวภายหลังว่า “ไม่เห็นควรใช้มาตรา 21 อย่างพร่ำเพรื่อ” แต่เสียงของนายกฯ แพ้เสียงทหาร ในที่ประชุมร่วมรัฐบาล-คณะปฏิรูป เพราะคะแนนเสียงห่างกัน 16 ต่อ 26 ทำให้คดีนี้ถูกนำไปสู่การตัดสินโทษประหารทันที ✨ ข้อสังเกตจาก "สุธรรม แสงประทุม" นักโทษการเมือง ฝ่ายทหารหวาดกลัวว่า เสธ.หลาด จะหลบหนี ดพราะเชื่อว่ายังมีอิทธิพลภายใน รวมถึงกังวลว่า จะถูกเปิดโปงภายในกองทัพ นี่คือการ "กำจัด" มากกว่าการ "ยุติธรรม"? 🕊️ ช่วงสุดท้ายของชีวิต “เสธ. หลาด” เวลา 14.00 น. เสธ.หลาดถูกเบิกตัวจากแดนพิเศษ ไปยังห้องควบคุม เขาถามเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงว่า “ญาติมาเยี่ยมหรือ เขาอนุญาตให้เยี่ยมแล้วใช่ไหม?” ไม่มีคำตอบ เขารู้ในใจว่าชะตากำลังจะมาถึง เวลา 14.20 น. เสธ.หลาดฟังคำสั่งประหารอย่างสงบ พร้อมเซ็นชื่อรับทราบ แล้วเขียนพินัยกรรม 4 แผ่น ✍️ ปฏิเสธอาหารมื้อสุดท้าย และขอดื่มเพียง น้ำส้ม 1 ขวด เวลา 14.50 น. พระมหาเจียมเทศนาเรื่องกรรม เสธ.หลาดกล่าว "สาธุ" และก้มกราบ 3 ครั้ง พร้อมประเคนเงินจำนวน 100 บาท และนาฬิกาโอเมกา🙏 เวลา 15.24 น. เสียงปืนจบชีวิต "เสธ.หลาด" ตรงศาลาแปดเหลี่ยม ในเรือนจำบางขวาง คำพูดสุดท้าย "ถ้าพร้อมแล้ว จะบอกนะ" จากนั้น...มือของเสธ.หลาดสั่นเบา ๆ เพื่อ "เขย่าดอกไม้ในมือ" เป็นสัญญาณให้เพชฌฆาตเหนี่ยวไก 🪦 เสธ. หลาดในความทรงจำ ของนักโทษการเมือง "สุธรรม แสงประทุม" เล่าว่า เสธ.หลาด หรือ “ลุงหลาด” อยู่ตึกเดียวกันในบางขวาง โดย “ลุงหลาด” มักชอบพูดเสมอว่า “ลุงถูกหักหลัง” ใครคือผู้หักหลัง? ยังไม่มีใครรู้แน่ชัด... หรืออาจรู้ แต่ไม่มีใครกล้าพูด เสธ.หลาดยังถามสุธรรมซ้ำ ๆ ว่า "การต่อสู้ของลุง สมควรแก่เหตุหรือเปล่า?" สุธรรมตอบว่า "ก็พอสมควรแก่เหตุครับ" 🧩 เสธ. หลาดในหน้าประวัติศาสตร์: วีรบุรุษ? กบฏ? หรือเหยื่อการเมือง? สิ่งที่ควรถามในวันนี้ไม่ใช่แค่ว่า “เขาผิดหรือไม่?” แต่คือ “เขาได้รับความยุติธรรมหรือเปล่า?” การประหารชีวิต ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการศาล การเจรจาที่หลอกให้เขายอมแพ้ การกล่าวหาว่า เขามีอิทธิพลเกินไป ทั้งหมดนี้คือคำถาม ที่ยังไม่มีคำตอบ และอาจไม่เคยมีวันหนึ่ง ที่คำตอบเหล่านั้นจะถูกเปิดเผย... 🔚 เสียงสะท้อนจากกระสุนในวันนั้น เรื่องราวของ “เสธ.หลาด” พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ไม่ใช่แค่ประวัติศาสตร์ของคน คนหนึ่ง แต่มันสะท้อนถึง โครงสร้างอำนาจของไทยในอดีต สะท้อนถึงความเปราะบางของ “ความยุติธรรม” เมื่อ “อำนาจ” มาแทนที่ 📜⚖️ 48 ปี ผ่านไป คำถามยังคงอยู่... ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221706 เม.ย. 2568 📱 #เสธหลาด #ฉลาดหิรัญศิริ #กบฏ2520 #ประหารชีวิต #ประวัติศาสตร์ไทย #คดีดังไทย #รัฐประหาร #การเมืองไทย #บางขวาง #มาตรา21
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 453 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผ่านมาหกสัปดาห์แล้ว วันนี้คุยกันถึงภาพที่ 7 จาก 12 ภาพกงซวิ่นถู (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่จะคุยกันในวันนี้คือ ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้านถู’ หรือ ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ <许后奉案图> เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ซึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นที่ประทับของฉุนเฟย ภาพนี้เป็นฝีมือของช่างวาดหลวงร่วมกันจัดทำถึงหกคนนำโดยจินคุน (หมายเหตุ จินคุนเข้ารับราชการเป็นช่างวาดหลวงมาตั้งแต่สมัยองค์คังซี คือคนที่วาดภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ถวายองค์คังซีที่ Storyฯ กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นช่างวาดหลวงถึงสามรัชสมัย)

    สวี่ฮองเฮาที่กล่าวถึงในภาพนี้ก็คือ สวี่ผิงจวิน ฮองเฮาในองค์ฮั่นเซวียนตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ครองราชย์ปี 74-48 ก่อนคริสตกาล เป็นพระราชบิดาของฮั่นหยวนตี้ที่กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) เรื่องราวของพระนางและองค์ฮั่นเซวียนตี้และเกมการเมืองในสมัยนั้นถูกจารึกไว้ค่อนข้างละเอียดใน ‘ฮั่นซู’ (汉书) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่เรียบเรียงและเขียนโดยปันกู้และปันเจาสองพี่น้องในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

    ความรักของสวี่ผิงจวินและองค์ฮั่นเซวียนตี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เรียกได้ว่ามีจุดกำเนิดที่ ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในวังหลัง มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล

    ฮั่นเซวียนตี้นั้นตอนเด็กมีนามเดิมว่าหลิวปิ้งอี่เพราะเป็นคนขี้โรค (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นหลิวสวิน) เขาเป็นหลานปู่ทวดของฮั่นอู่ตี้ก็จริง แต่เนื่องจากปู่ของเขาซึ่งเป็นองค์ชายรัชทายาทถูกกล่าวหาว่าใช้ไสยศาสตร์กับตุ๊กตาไม้สาปให้องค์ฮั่นอู่ตี้ล้มป่วยลง สุดท้ายทั้งตระกูลไม่ฆ่าตัวตายก็โดนประหารจนแทบไม่เหลือใคร หลิวปิ้งอี่เวลานั้นมีอายุไม่ถึงขวบถูกจับเข้าคุกพร้อมกับพ่อ โตขึ้นในคุก แต่ยังโชคดีมีคนคอยดูแล จวบจนอายุเจ็ดขวบจึงถูกได้รับการบันทึกชื่อเข้าในพระราชพงศาวลีเป็นลูกหลานในราชสกุลและถูกย้ายไปเลี้ยงในเยี่ยถิงภายใต้การดูแลของผู้กำกับเยี่ยถิงนามว่าจางเฮ่อ

    ส่วนพ่อของสวี่ผิงจวินนั้นเป็นขุนนาง แต่ด้วยมีความบกพร่องในหน้าที่ตอนสืบเรื่องกบฏโดยซ่างกวนเจี๋ยในสมัยฮั่นจาวตี้ (ประมาณปี 80 ก่อนคริสตกาล) จึงถูกลงโทษลดตำแหน่งและโยกไปรับหน้าที่ในเยี่ยถิง ครั้นสวี่ผิงจวินมีอายุได้สิบสี่ปีคู่หมั้นของนางเสียชีวิต จางเฮ่อได้โอกาสจึงไปสู่ขอนางให้กับหลิวปิ้งอี่ สวี่ผิงจวินและหลิวปิ้งอี่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือหลิวซึ (ซึ่งต่อมาก็คือฮั่นหยวนตี้) ชีวิตความเป็นอยู่มัธยัสถ์ แต่ก็มีความสุขไม่น้อย

    ต่อมาฮั่นจาวตี้สิ้นชีพอย่างกะทันหันโดยไร้การแต่งตั้งองค์ชายรัชทายาท ตอนนั้นตระกูลชุยเรืองอำนาจ มีชุยกวงเป็นต้าซือหม่า (ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสมัยนั้น) ชุยกวงผลักดันให้หลิวปิ้งอี่ซึ่งมีอายุสิบแปดปีได้เข้าเฝ้าซ่างกวนไทเฮาและได้รับการอวยยศเป็นหยางอู่โหว จุดมุ่งหมายคือให้เพื่อให้ซ่างกวนไทเฮาได้เห็นถึงนิสัยใจคอและการศึกษา จนซ่างกวนไทเฮายอมรับแล้วชุยกวงจึงนำคณะขุนนางเสนอชื่อหลิวปิ่งอี้ขึ้นครองราชย์เป็นองค์ฮั่นเซวียนตี้ แต่ก็เป็นฮ่องเต้ที่ไร้อำนาจ เป็นเพียงหุ่นเชิดให้กับชุยกวง

    ในตอนนั้น สวี่ผิงจวินได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมลำดับเจี๋ยอวี๋ และภรรยาของชุยกวงอยากให้ลูกสาวซึ่งก็คือชุยเฉิงจวินได้เป็นฮองเฮา ฮั่นเซวียนตี้ในตอนนั้นไม่รู้ว่าจะปฏิเสธอย่างไร จึงออกพระราชโองการมาฉบับหนึ่ง ใจความว่า เขาคิดถึงกระบี่ที่เคยพกติดกายยามยากจนตกอับ แม้ว่าไม่ใช่กระบี่ที่เลอเลิศมากมาย แต่เป็นกระบี่คู่ใจที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ฝากให้เหล่าขุนนางช่วยเสาะหากระบี่เล่มนั้นกลับมาให้ด้วย เหล่าขุนนางพอจะตีความนัยออกว่าฮั่นเซวียนตี้ไม่ต้องการทอดทิ้งคนที่เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก จึงเข้าชื่อกันเสนอให้แต่งตั้งสวี่ผิงจวินเป็นฮองเฮา เรื่องนี้ถูกเล่าขานกันต่อมากลายเป็นสุภาษิตที่เรียกว่า ‘กู้เจี้ยนฉิงเซิน’ (故剑情深) แปลตรงตัวว่า ‘กระบี่เก่ารักล้ำลึก’ หมายถึงภรรยาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา

    สามปีให้หลัง สวี่ฮองเฮาป่วยลงหลังเพิ่งคลอดบุตรสาว ฮูหยินชุยใช้หมอหลวงหญิงฉุนอวี๋เหยี่ยนลอบวางยาพิษสวี่ฮองเฮาจนสิ้นชีพด้วยอายุเพียงสิบเก้าปี ฮั่นเซวียนตี้แม้จะพอเดาเรื่องราวได้แต่ก็จนใจไร้อำนาจ หนึ่งปีให้หลังก็ยอมแต่งชุยเฉิงจวินเป็นฮองเฮา หลิวซึซึ่งเป็นลูกของเขาและสวี่ฮองเฮาได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทและเกือบถูกวางยาพิษโดยแม่ลูกสกุลชุยคู่นี้อีกเช่นกัน ฮั่นเซวียนตี้อดทนมาอีกสามปีจนชุยกวงตายลง ฮั่นเซวียนตี้จึงได้โอกาสปลดฮองเฮาและยึดอำนาจคืน จากนั้นรวบรวมหลักฐานตั้งข้อหากบฏและสั่งประหารตระกูลชุย เหลือเพียงชุยเฉิงจวินที่ถูกจองจำในตำหนักเย็น

    เรื่องราวข้างต้นถูกบันทึกไว้ในบันทึกฮั่นซู และถูกนำมาสร้างเป็นละครหลายครั้ง โดยถูกตีความว่าฮั่นเซวียนตี้รักสวี่ผิงจวินไม่รู้ลืมและแก้แค้นให้นางในภายหลัง ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์ภาพวาด ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่สวี่ผิงจวินนำอาหารมาถวายและปรนนิบัติซ่างกวนไทเฮาในวันตรุษจีนด้วยตนเอง เป็นตัวอย่างของความอ่อนน้อมและการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘ซูซุ่นเวินเหอ’ (淑顺温和) แปลได้ประมาณว่า อ่อนน้อมและอ่อนโยน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sgss8.net/tpdq/6126379/
    https://www.sohu.com/a/137977813_674592
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/故剑情深/3526996
    https://baike.baidu.com/item/许平君/10603114
    https://baike.baidu.com/item/刘询/1129265
    http://www.renwujieshao.com/lishi/hanchao/xupingjun.html

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #สวี่ผิงจวิน #ฮั่นเซวียนตี้ #สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    ผ่านมาหกสัปดาห์แล้ว วันนี้คุยกันถึงภาพที่ 7 จาก 12 ภาพกงซวิ่นถู (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่จะคุยกันในวันนี้คือ ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้านถู’ หรือ ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ <许后奉案图> เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ซึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นที่ประทับของฉุนเฟย ภาพนี้เป็นฝีมือของช่างวาดหลวงร่วมกันจัดทำถึงหกคนนำโดยจินคุน (หมายเหตุ จินคุนเข้ารับราชการเป็นช่างวาดหลวงมาตั้งแต่สมัยองค์คังซี คือคนที่วาดภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ถวายองค์คังซีที่ Storyฯ กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นช่างวาดหลวงถึงสามรัชสมัย) สวี่ฮองเฮาที่กล่าวถึงในภาพนี้ก็คือ สวี่ผิงจวิน ฮองเฮาในองค์ฮั่นเซวียนตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ครองราชย์ปี 74-48 ก่อนคริสตกาล เป็นพระราชบิดาของฮั่นหยวนตี้ที่กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) เรื่องราวของพระนางและองค์ฮั่นเซวียนตี้และเกมการเมืองในสมัยนั้นถูกจารึกไว้ค่อนข้างละเอียดใน ‘ฮั่นซู’ (汉书) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่เรียบเรียงและเขียนโดยปันกู้และปันเจาสองพี่น้องในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ความรักของสวี่ผิงจวินและองค์ฮั่นเซวียนตี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เรียกได้ว่ามีจุดกำเนิดที่ ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในวังหลัง มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล ฮั่นเซวียนตี้นั้นตอนเด็กมีนามเดิมว่าหลิวปิ้งอี่เพราะเป็นคนขี้โรค (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นหลิวสวิน) เขาเป็นหลานปู่ทวดของฮั่นอู่ตี้ก็จริง แต่เนื่องจากปู่ของเขาซึ่งเป็นองค์ชายรัชทายาทถูกกล่าวหาว่าใช้ไสยศาสตร์กับตุ๊กตาไม้สาปให้องค์ฮั่นอู่ตี้ล้มป่วยลง สุดท้ายทั้งตระกูลไม่ฆ่าตัวตายก็โดนประหารจนแทบไม่เหลือใคร หลิวปิ้งอี่เวลานั้นมีอายุไม่ถึงขวบถูกจับเข้าคุกพร้อมกับพ่อ โตขึ้นในคุก แต่ยังโชคดีมีคนคอยดูแล จวบจนอายุเจ็ดขวบจึงถูกได้รับการบันทึกชื่อเข้าในพระราชพงศาวลีเป็นลูกหลานในราชสกุลและถูกย้ายไปเลี้ยงในเยี่ยถิงภายใต้การดูแลของผู้กำกับเยี่ยถิงนามว่าจางเฮ่อ ส่วนพ่อของสวี่ผิงจวินนั้นเป็นขุนนาง แต่ด้วยมีความบกพร่องในหน้าที่ตอนสืบเรื่องกบฏโดยซ่างกวนเจี๋ยในสมัยฮั่นจาวตี้ (ประมาณปี 80 ก่อนคริสตกาล) จึงถูกลงโทษลดตำแหน่งและโยกไปรับหน้าที่ในเยี่ยถิง ครั้นสวี่ผิงจวินมีอายุได้สิบสี่ปีคู่หมั้นของนางเสียชีวิต จางเฮ่อได้โอกาสจึงไปสู่ขอนางให้กับหลิวปิ้งอี่ สวี่ผิงจวินและหลิวปิ้งอี่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือหลิวซึ (ซึ่งต่อมาก็คือฮั่นหยวนตี้) ชีวิตความเป็นอยู่มัธยัสถ์ แต่ก็มีความสุขไม่น้อย ต่อมาฮั่นจาวตี้สิ้นชีพอย่างกะทันหันโดยไร้การแต่งตั้งองค์ชายรัชทายาท ตอนนั้นตระกูลชุยเรืองอำนาจ มีชุยกวงเป็นต้าซือหม่า (ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสมัยนั้น) ชุยกวงผลักดันให้หลิวปิ้งอี่ซึ่งมีอายุสิบแปดปีได้เข้าเฝ้าซ่างกวนไทเฮาและได้รับการอวยยศเป็นหยางอู่โหว จุดมุ่งหมายคือให้เพื่อให้ซ่างกวนไทเฮาได้เห็นถึงนิสัยใจคอและการศึกษา จนซ่างกวนไทเฮายอมรับแล้วชุยกวงจึงนำคณะขุนนางเสนอชื่อหลิวปิ่งอี้ขึ้นครองราชย์เป็นองค์ฮั่นเซวียนตี้ แต่ก็เป็นฮ่องเต้ที่ไร้อำนาจ เป็นเพียงหุ่นเชิดให้กับชุยกวง ในตอนนั้น สวี่ผิงจวินได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมลำดับเจี๋ยอวี๋ และภรรยาของชุยกวงอยากให้ลูกสาวซึ่งก็คือชุยเฉิงจวินได้เป็นฮองเฮา ฮั่นเซวียนตี้ในตอนนั้นไม่รู้ว่าจะปฏิเสธอย่างไร จึงออกพระราชโองการมาฉบับหนึ่ง ใจความว่า เขาคิดถึงกระบี่ที่เคยพกติดกายยามยากจนตกอับ แม้ว่าไม่ใช่กระบี่ที่เลอเลิศมากมาย แต่เป็นกระบี่คู่ใจที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ฝากให้เหล่าขุนนางช่วยเสาะหากระบี่เล่มนั้นกลับมาให้ด้วย เหล่าขุนนางพอจะตีความนัยออกว่าฮั่นเซวียนตี้ไม่ต้องการทอดทิ้งคนที่เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก จึงเข้าชื่อกันเสนอให้แต่งตั้งสวี่ผิงจวินเป็นฮองเฮา เรื่องนี้ถูกเล่าขานกันต่อมากลายเป็นสุภาษิตที่เรียกว่า ‘กู้เจี้ยนฉิงเซิน’ (故剑情深) แปลตรงตัวว่า ‘กระบี่เก่ารักล้ำลึก’ หมายถึงภรรยาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา สามปีให้หลัง สวี่ฮองเฮาป่วยลงหลังเพิ่งคลอดบุตรสาว ฮูหยินชุยใช้หมอหลวงหญิงฉุนอวี๋เหยี่ยนลอบวางยาพิษสวี่ฮองเฮาจนสิ้นชีพด้วยอายุเพียงสิบเก้าปี ฮั่นเซวียนตี้แม้จะพอเดาเรื่องราวได้แต่ก็จนใจไร้อำนาจ หนึ่งปีให้หลังก็ยอมแต่งชุยเฉิงจวินเป็นฮองเฮา หลิวซึซึ่งเป็นลูกของเขาและสวี่ฮองเฮาได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทและเกือบถูกวางยาพิษโดยแม่ลูกสกุลชุยคู่นี้อีกเช่นกัน ฮั่นเซวียนตี้อดทนมาอีกสามปีจนชุยกวงตายลง ฮั่นเซวียนตี้จึงได้โอกาสปลดฮองเฮาและยึดอำนาจคืน จากนั้นรวบรวมหลักฐานตั้งข้อหากบฏและสั่งประหารตระกูลชุย เหลือเพียงชุยเฉิงจวินที่ถูกจองจำในตำหนักเย็น เรื่องราวข้างต้นถูกบันทึกไว้ในบันทึกฮั่นซู และถูกนำมาสร้างเป็นละครหลายครั้ง โดยถูกตีความว่าฮั่นเซวียนตี้รักสวี่ผิงจวินไม่รู้ลืมและแก้แค้นให้นางในภายหลัง ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์ภาพวาด ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่สวี่ผิงจวินนำอาหารมาถวายและปรนนิบัติซ่างกวนไทเฮาในวันตรุษจีนด้วยตนเอง เป็นตัวอย่างของความอ่อนน้อมและการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘ซูซุ่นเวินเหอ’ (淑顺温和) แปลได้ประมาณว่า อ่อนน้อมและอ่อนโยน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sgss8.net/tpdq/6126379/ https://www.sohu.com/a/137977813_674592 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/故剑情深/3526996 https://baike.baidu.com/item/许平君/10603114 https://baike.baidu.com/item/刘询/1129265 http://www.renwujieshao.com/lishi/hanchao/xupingjun.html #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #สวี่ผิงจวิน #ฮั่นเซวียนตี้ #สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 963 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดี ยุน ซ็อกยอล ของเกาหลีใต้ ที่ถูกรัฐสภาลงมติถอดถอน ทำให้ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ยังคงปฏิเสธหมายเรียกไปให้ปากคำของเจ้าหน้าที่สอบสวนทีมต่างๆ ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญเผยว่าเริ่มดำเนินการตามกระบวนการพิจารณาจะรับรองหรือปฏิเสธการถอดถอนประธานาธิบดีผู้นี้แล้วตั้งแต่วันจันทร์ (16 ธ.ค.)
    .
    ลี จิน โฆษกศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ แถลงในวันจันทร์ (16) ว่า ตุลาการรัฐธรรมนูญที่เวลานี้มีด้วยกัน 6 คน เริ่มการพิจารณาหารือแล้วเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกระบวนการ หลังจากรัฐสภาลงมติถอดถอนยุนเมื่อวันเสาร์ (14) ที่ผ่านมา โดยจะจัดทำประชาพิจารณ์ครั้งแรกในวันที่ 27 ที่จะถึงนี้ เพื่อเตรียมการรับรองประเด็นสำคัญทางกฎหมายและกำหนดกรอบการการดำเนินการต่างๆ
    .
    ศาลรัฐธรรมนูญมีเวลาพิจารณาประมาณ 6 เดือนเพื่อตัดสินว่า จะยืนตามมติของรัฐสภาหรือไม่ และหากวินิจฉัยเห็นชอบให้ถอดถอนยุน เกาหลีใต้ก็จะต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ภายในเวลา 2 เดือน
    .
    ครั้งล่าสุดที่มีการพิจารณาเรื่องเช่นนี้ คือในปี 2017 ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาราว 3 เดือน ก็สามารถประกาศคำตัดสินยืนยันให้ถอดถอน พัค กึน-ฮเย ประธานาธิบดีในขณะนั้น ซึ่งถูกสภาลงมติถอดถอนจากกรณีการใช้อำนาจโดยมิชอบ
    .
    นอกจากถูกรัฐสภาลงมติให้เข้าสู่กระบวนการถูกถอดถอนแล้ว ยังมีหน่วยงานอื่นๆ จัดการสอบสวนเขาคู่ขนานไปด้วย ทำให้ ยุน ที่ถูกห้ามเดินทางออกนอกประเทศก่อนหน้านี้แล้ว ยังอาจถูกตั้งข้อหากบฏจากการประกาศกฎอัยการศึกที่มีผลบังคับใช้เพียงไม่กี่ชั่วโมงเมื่อวันที่ 3 ที่ผ่านมา เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่อาวุโสอีกหลายคน
    .
    ทางด้านตำรวจเผยว่า ทีมสอบสวนร่วมระหว่างตำรวจ กระทรวงกลาโหม และสำนักงานปราบปรามการทุจริต ได้เรียกยุนมาสอบปากคำวันพุธ (18) นี้ ในข้อกล่าวหาเป็นผู้นำในการประกาศกฎอัยการศึกอย่างผิดกฎหมาย ทว่า หน่วยรักษาความปลอดภัยประธานาธิบดีปฏิเสธไม่ยอมรับหมายเรียก โดยอ้างว่า ไม่อยู่ในสถานะที่จะทำได้ และสำนักงานปราบปรามการทุจริตแจ้งว่า จะส่งหมายเรียกผ่านจดหมายลงทะเบียนด่วนอีกครั้ง
    .
    สำนักข่าวยอนฮัป ซึ่งเป็นสำนักข่าวกึ่งทางการของเกาหลีใต้รายงานว่า ตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทางเจ้าหน้าที่สอบสวนพยายามส่งหมายเรียกยุนไปให้ปากคำ ด้วยการส่งเจ้านห้าที่เดินทางไปที่สำนักงานประธานาธิบดีและที่บ้านพักประจำตำแหน่ง ทว่า หน่วยรักษาความปลอดภัยประธานาธิบดีไม่ยอมรับหมายดังกล่าว โดยอ้างเหตุผลเดียวกัน
    .
    เช่นเดียวกับสำนักงานอัยการที่ต้องออกหมายเรียกยุนครั้งที่ 2 ในวันจันทร์เพื่อให้เขาไปให้ปากคำเกี่ยวกับข้อกล่าวหากบฏและการใช้อำนาจโดยมิชอบ หลังจากถูกปฏิเสธไปเมื่อวันอาทิตย์ (15) โดยอ้างว่า กำลังจัดทีมกฎหมายเพื่อสู้คดี ทางเจ้าหน้าที่ระบุว่า หากยุนยังปฏิเสธอีก จะมีการออกหมายจับต่อไป
    .
    สื่อท้องถิ่นยังรายงานว่า ยุน ซึ่งมีตำแหน่งเป็นอัยการสูงสุดของประเทศ ก่อนที่จะชนะเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดี ได้แต่งตั้งคิม ฮองอิล อดีตอัยการ เป็นผู้นำของทีมทนายความรับมือทั้งในกรณีการถูกถอดถอนและการถูกสอบสวนคดีอาญา
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง ตำรวจระบุว่า เมื่อวันอาทิตย์ (15) ได้จับกุมอดีตผู้บัญชาการและผู้บัญชาการคนปัจจุบัน ของกองบัญชาการข่าวกรองกลาโหม ฐานเกี่ยวข้องพัวพันกับข้อกล่าวหาเป็นกบฏของยุน
    .
    สำนักงานอัยการยังเปิดเผยว่า กำลังขอหมายจับ กว็อก จองกึน ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ที่ถูกกล่าวหาว่า ส่งกองกำลังพิเศษไปยังรัฐสภาระหว่างการประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างทหารกับเจ้าหน้าที่สภา
    .
    ทางด้านพรรคพลังประชาชน (พีพีพี) ต้นสังกัดของยุนนั้น เมื่อวันจันทร์ ฮัน ด็องฮุน หัวหน้าพรรค ซึ่งแม้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการประกาศกฎอัยการศึก รวมทั้งให้การสนับสนุนการถอดถอนยุน ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง พร้อมขอโทษประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศกฎอัยการศึก
    .
    ฮันยังประณามกลุ่มสุดโต่ง โดยเฉพาะพวกนักทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดที่คอยกระพือข่าวเท็จทางโซเชียลมีเดียว่า มีการโกงเลือกตั้งอย่างมโหฬาร จึงทำให้พีพีพีพ่ายแพ้ยับเยินในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พร้อมกับเตือนว่า ลัทธิอนุรักษนิยมอาจหมดอนาคตในเกาหลีใต้ หากพีพีพียังคงหนุนหลังคนเหล่านี้
    .
    ทั้งนี้ ในการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อต้นเดือน เหตุผลหนึ่งที่ยุนยกมาเป็นข้ออ้าง คือเรื่องระบบการเลือกตั้งของเกาหลีใต้ไม่โปร่งใส
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000120822
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดี ยุน ซ็อกยอล ของเกาหลีใต้ ที่ถูกรัฐสภาลงมติถอดถอน ทำให้ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ยังคงปฏิเสธหมายเรียกไปให้ปากคำของเจ้าหน้าที่สอบสวนทีมต่างๆ ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญเผยว่าเริ่มดำเนินการตามกระบวนการพิจารณาจะรับรองหรือปฏิเสธการถอดถอนประธานาธิบดีผู้นี้แล้วตั้งแต่วันจันทร์ (16 ธ.ค.) . ลี จิน โฆษกศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ แถลงในวันจันทร์ (16) ว่า ตุลาการรัฐธรรมนูญที่เวลานี้มีด้วยกัน 6 คน เริ่มการพิจารณาหารือแล้วเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกระบวนการ หลังจากรัฐสภาลงมติถอดถอนยุนเมื่อวันเสาร์ (14) ที่ผ่านมา โดยจะจัดทำประชาพิจารณ์ครั้งแรกในวันที่ 27 ที่จะถึงนี้ เพื่อเตรียมการรับรองประเด็นสำคัญทางกฎหมายและกำหนดกรอบการการดำเนินการต่างๆ . ศาลรัฐธรรมนูญมีเวลาพิจารณาประมาณ 6 เดือนเพื่อตัดสินว่า จะยืนตามมติของรัฐสภาหรือไม่ และหากวินิจฉัยเห็นชอบให้ถอดถอนยุน เกาหลีใต้ก็จะต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ภายในเวลา 2 เดือน . ครั้งล่าสุดที่มีการพิจารณาเรื่องเช่นนี้ คือในปี 2017 ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาราว 3 เดือน ก็สามารถประกาศคำตัดสินยืนยันให้ถอดถอน พัค กึน-ฮเย ประธานาธิบดีในขณะนั้น ซึ่งถูกสภาลงมติถอดถอนจากกรณีการใช้อำนาจโดยมิชอบ . นอกจากถูกรัฐสภาลงมติให้เข้าสู่กระบวนการถูกถอดถอนแล้ว ยังมีหน่วยงานอื่นๆ จัดการสอบสวนเขาคู่ขนานไปด้วย ทำให้ ยุน ที่ถูกห้ามเดินทางออกนอกประเทศก่อนหน้านี้แล้ว ยังอาจถูกตั้งข้อหากบฏจากการประกาศกฎอัยการศึกที่มีผลบังคับใช้เพียงไม่กี่ชั่วโมงเมื่อวันที่ 3 ที่ผ่านมา เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่อาวุโสอีกหลายคน . ทางด้านตำรวจเผยว่า ทีมสอบสวนร่วมระหว่างตำรวจ กระทรวงกลาโหม และสำนักงานปราบปรามการทุจริต ได้เรียกยุนมาสอบปากคำวันพุธ (18) นี้ ในข้อกล่าวหาเป็นผู้นำในการประกาศกฎอัยการศึกอย่างผิดกฎหมาย ทว่า หน่วยรักษาความปลอดภัยประธานาธิบดีปฏิเสธไม่ยอมรับหมายเรียก โดยอ้างว่า ไม่อยู่ในสถานะที่จะทำได้ และสำนักงานปราบปรามการทุจริตแจ้งว่า จะส่งหมายเรียกผ่านจดหมายลงทะเบียนด่วนอีกครั้ง . สำนักข่าวยอนฮัป ซึ่งเป็นสำนักข่าวกึ่งทางการของเกาหลีใต้รายงานว่า ตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทางเจ้าหน้าที่สอบสวนพยายามส่งหมายเรียกยุนไปให้ปากคำ ด้วยการส่งเจ้านห้าที่เดินทางไปที่สำนักงานประธานาธิบดีและที่บ้านพักประจำตำแหน่ง ทว่า หน่วยรักษาความปลอดภัยประธานาธิบดีไม่ยอมรับหมายดังกล่าว โดยอ้างเหตุผลเดียวกัน . เช่นเดียวกับสำนักงานอัยการที่ต้องออกหมายเรียกยุนครั้งที่ 2 ในวันจันทร์เพื่อให้เขาไปให้ปากคำเกี่ยวกับข้อกล่าวหากบฏและการใช้อำนาจโดยมิชอบ หลังจากถูกปฏิเสธไปเมื่อวันอาทิตย์ (15) โดยอ้างว่า กำลังจัดทีมกฎหมายเพื่อสู้คดี ทางเจ้าหน้าที่ระบุว่า หากยุนยังปฏิเสธอีก จะมีการออกหมายจับต่อไป . สื่อท้องถิ่นยังรายงานว่า ยุน ซึ่งมีตำแหน่งเป็นอัยการสูงสุดของประเทศ ก่อนที่จะชนะเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดี ได้แต่งตั้งคิม ฮองอิล อดีตอัยการ เป็นผู้นำของทีมทนายความรับมือทั้งในกรณีการถูกถอดถอนและการถูกสอบสวนคดีอาญา . ในอีกด้านหนึ่ง ตำรวจระบุว่า เมื่อวันอาทิตย์ (15) ได้จับกุมอดีตผู้บัญชาการและผู้บัญชาการคนปัจจุบัน ของกองบัญชาการข่าวกรองกลาโหม ฐานเกี่ยวข้องพัวพันกับข้อกล่าวหาเป็นกบฏของยุน . สำนักงานอัยการยังเปิดเผยว่า กำลังขอหมายจับ กว็อก จองกึน ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ที่ถูกกล่าวหาว่า ส่งกองกำลังพิเศษไปยังรัฐสภาระหว่างการประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างทหารกับเจ้าหน้าที่สภา . ทางด้านพรรคพลังประชาชน (พีพีพี) ต้นสังกัดของยุนนั้น เมื่อวันจันทร์ ฮัน ด็องฮุน หัวหน้าพรรค ซึ่งแม้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการประกาศกฎอัยการศึก รวมทั้งให้การสนับสนุนการถอดถอนยุน ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง พร้อมขอโทษประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศกฎอัยการศึก . ฮันยังประณามกลุ่มสุดโต่ง โดยเฉพาะพวกนักทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดที่คอยกระพือข่าวเท็จทางโซเชียลมีเดียว่า มีการโกงเลือกตั้งอย่างมโหฬาร จึงทำให้พีพีพีพ่ายแพ้ยับเยินในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พร้อมกับเตือนว่า ลัทธิอนุรักษนิยมอาจหมดอนาคตในเกาหลีใต้ หากพีพีพียังคงหนุนหลังคนเหล่านี้ . ทั้งนี้ ในการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อต้นเดือน เหตุผลหนึ่งที่ยุนยกมาเป็นข้ออ้าง คือเรื่องระบบการเลือกตั้งของเกาหลีใต้ไม่โปร่งใส . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000120822 .............. Sondhi X
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1081 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำนักข่าวยอนฮัปของเกาหลีใต้รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเกาหลีใต้ได้เริ่มกระบวนการสอบสวนประธานาธิบดีในข้อหากบฏแล้ว

    ยังมีรายงานอีกว่า ผู้บัญชาการกองทัพเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจโดยตรงตามกฎอัยการศึกที่ประกาศโดยประธานาธิบดี ได้ลาออกแล้วเช่นกัน

    นอกจากนี้ ส.ส. 191 คนจากทั้งหมด 300 คน ได้ลงนามเกี่ยวกับการถอดถอนประธานาธิบดีแล้ว การลงมติอาจเกิดขึ้นในวันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม นี้
    สำนักข่าวยอนฮัปของเกาหลีใต้รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเกาหลีใต้ได้เริ่มกระบวนการสอบสวนประธานาธิบดีในข้อหากบฏแล้ว ยังมีรายงานอีกว่า ผู้บัญชาการกองทัพเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจโดยตรงตามกฎอัยการศึกที่ประกาศโดยประธานาธิบดี ได้ลาออกแล้วเช่นกัน นอกจากนี้ ส.ส. 191 คนจากทั้งหมด 300 คน ได้ลงนามเกี่ยวกับการถอดถอนประธานาธิบดีแล้ว การลงมติอาจเกิดขึ้นในวันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม นี้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 259 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้อาจต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตในข้อหากบฏ

    รัฐมนตรีกลาโหม คิม ยอง-ฮยอน ซึ่งถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการประกาศกฎอัยการศึกของประธานาธิบดียุน ซอก ยอล จนก่อให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง เมื่อกองกำลังติดอาวุธยึดรัฐสภา และห้ามกิจกรรมทางการเมืองและเสรีภาพสื่อ

    คิม ยอง-ฮยอน อาจต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาก่อกบฏ ซึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
    รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้อาจต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตในข้อหากบฏ รัฐมนตรีกลาโหม คิม ยอง-ฮยอน ซึ่งถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการประกาศกฎอัยการศึกของประธานาธิบดียุน ซอก ยอล จนก่อให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง เมื่อกองกำลังติดอาวุธยึดรัฐสภา และห้ามกิจกรรมทางการเมืองและเสรีภาพสื่อ คิม ยอง-ฮยอน อาจต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาก่อกบฏ ซึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 279 มุมมอง 0 รีวิว
  • ข้อหากบฏ หากยกเกาะกูดให้เขมร 26/10/67 #ไพศาล #เกาะกูด #ข้อหากบฏ #นักการเมือง #คนขายชาติ #ยุบพรรค
    ข้อหากบฏ หากยกเกาะกูดให้เขมร 26/10/67 #ไพศาล #เกาะกูด #ข้อหากบฏ #นักการเมือง #คนขายชาติ #ยุบพรรค
    Like
    Love
    22
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2339 มุมมอง 834 0 รีวิว
  • สหรัฐ-รัสเซียแลกตัวนักโทษครั้งใหญ่ .. อีวาน เกิร์ชโควิช นักข่าวของวอลล์สตรีทเจอร์นัล และพอล วีแลน อดีตนาวิกโยธินสหรัฐฯ คาดว่าจะได้รับการปล่อยตัวผ่านการแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งใหญ่16รายกับรัสเซีย และรัสเซียได้คืน 8 ราย

    1 กรกฎาคม 2567 -รายงานข่าวจากสื่อBloomberg ระบุว่า อีวาน เกิร์ชโควิช นักข่าว( Evan Gershkovich)ของวอลล์สตรีทเจอร์นัล และพอล วีแลน(Paul Whelan)อดีตนาวิกโยธินสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคนหนึ่งใน 16 รายที่คาดว่าจะได้รับการปล่อยตัวผ่านการแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งประวัติศาสตร์กับรัสเซีย ขณะที่ทำเนียบขาวไม่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนักโทษนี้

    สื่อ RIA ของรัฐบาลรัสเซีย รายงานด้วยว่าทนายความของ Alexander Vinnik ชาวรัสเซียที่ถูกจำคุกอยู่ในสหรัฐฯ กล่าวว่าเขาจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนตัวนักโทษในเร็วๆ นี้โดยปฏิเสธที่จะระบุตำแหน่งที่แน่นอนของเขา

    RIA รายงานว่าข้อมูลของชาวรัสเซีย 4 คนที่ถูกคุมขังอยู่ในสหรัฐฯ ได้แก่ วินนิก แม็กซิม มาร์เชนโก วาดิม โคโนชเชนโก และวลาดิสลาฟ คลูชิน ซึ่งรายชื่อทั้งสี่หายไปจากฐานข้อมูลของกรมราชทัณฑ์ของรัฐบาลกลาง

    ส่วนอดีตนาวิกโยธินสหรัฐ พอล วีแลนถูกจับกุมในปี 2018 และต่อมาถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานเป็นสายลับ โดยเขา ครอบครัวของเขา และรัฐบาลสหรัฐฯ ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว เขาถูกตัดสินจำคุก 16 ปี และรัฐบาลสหรัฐฯชี้ว่าเขา "ถูกคุมขังโดยมิชอบ" แต่ครั้งที่แล้วเขาไม่ได้รับปล่อยตัวเขาได้ในการแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งก่อนๆ ซึ่งได้แก่ เทรเวอร์ รีด ชาวอเมริกัน และบริทท์นีย์ กริเนอร์ สตาร์ แห่ง WNBA ซึ่งทั้งคู่ได้รับการปล่อยตัวในการแลกเปลี่ยนนักโทษในปี 2022

    สำหรับ เกิร์ชโควิช นักข่าวของวอลล์สตรีทเจอร์นัลถูกจับกุม ในเยคาเตรินเบิร์กเมื่อเดือนมีนาคม 2023 และถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับของสหรัฐหาข่าวเกี่ยวกับกองทัพรัสเซีย เขากลายเป็นนักข่าวชาวอเมริกันคนแรกที่ถูกคุมขังในรัสเซียนับตั้งแต่สงครามและถูกตัดสินจำคุก 16 ปีในกรกฎาคม

    สื่อBloomberg เป็นคนแรกที่รายงานข่าวการแลกตัวนักโทษดังกล่าว โดยอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อว่า รัฐบาลของไบเดน กลุ่มเสรีภาพสื่อ และ นายจ้างของเกอร์ชโควิช ต่างเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขาและยกฟ้องโทษโดยระบุว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นเรื่องแต่งขึ้นมา

    ก่อนหน้านี้ ไบเดนกล่าวว่าเขายินดีที่จะตกลงแลกเปลี่ยนนักโทษเพื่อปล่อยตัวเกอร์ชโควิช ซึ่งเป็นวิธีที่เขาเคยใช้มาก่อน กรณีปล่อยตัว กรีนเนอร์เพื่อแลกกับวิกเตอร์ บูท พ่อค้าอาวุธชาวรัสเซีย ซึ่งได้รับฉายาว่า “พ่อค้าแห่งความตาย”

    ในบทสัมภาษณ์กับทักเกอร์ คาร์ลสัน อดีตพิธีกรรายการ Fox News เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ประธานาธิบดีรัสเซียวลาดิมีร์ ปูตินระบุว่าเขายินดีที่จะแลกเปลี่ยนนักโทษ และมีการคาดเดาว่ามอสโกว์ต้องการให้วาดิม คราซิคอฟ กลับประเทศ ซึ่งกำลังรับโทษจำคุกตลอดชีวิตในเยอรมนีในข้อหาสังหารพลเมืองจอร์เจียที่ต่อสู้กับรัสเซียในเชชเนียเมื่อปี 2019

    นอกจากนี้ Bloomberg ยังรายงานด้วยว่าVladimir Kara-Murza ซึ่งเป็นคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ เขาถูกตัดสินจำคุก 25 ปีในข้อหากบฏหลังจากวิจารณ์การรุกรานยูเครนของประเทศรัสเซีย ก็เป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนนี้ด้วย

    การแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งสุดท้ายระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซียเกิดขึ้นในปี 2022 เพื่อปล่อยตัว บริทท์นีย์ กริเนอร์ สตาร์แห่ง WNBA

    สำหรับครั้งนี้ นักโทษทั้ง 24 คน ซึ่งบางคนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง บางคนไม่ใช่ ประกอบไปด้วยนักข่าวและนักการเมืองผู้เห็นต่าง ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสายลับ แฮกเกอร์คอมพิวเตอร์ และนักต้มตุ๋น รวมถึงชายคนหนึ่งที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฆาตกรรม

    โดยรัสเซียปล่อยตัวนักโทษสหรัฐ 16 คน รวมถึงอีวาน เกิร์ชโควิช นักข่าวของวอลล์สตรีทเจอร์นัล และพอล วีแลน อดีตนาวิกโยธินและผู้บริหารฝ่ายรักษาความปลอดภัยขององค์กรจากมิชิแกน ทั้งคู่ต้องเผชิญกับโทษจำคุกเป็นเวลานานหลังจากถูกตัดสินว่ามีความผิดในระบบกฎหมายของรัสเซียที่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหนักในข้อหาจารกรรม ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่าไม่มีมูลความจริง นอกจากนี้ มอสโกยังได้ปล่อยตัวนักข่าวจาก Radio Free Europe/Radio Liberty อย่าง Alsu Kurmasheva ซึ่งเป็นพลเมืองสหรัฐฯ-รัสเซียที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับกองทัพรัสเซียเมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่งครอบครัวและนายจ้างของเธอได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และ Vladimir Kara-Murza คอลัมนิสต์วอชิงตันโพสต์นักวิจารณ์เครมลินและนักเขียนที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ซึ่งต้องโทษจำคุก 25 ปีในข้อหากบฏซึ่งหลายคนมองว่ามีแรงจูงใจทางการเมือง

    ส่วนในบรรดานักโทษ 8 รายที่รัสเซียได้ตัวกลับคืนมานั้น วาดิม คราซิคอฟ เป็นคนฉาวโฉ่ที่สุด ซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดในเยอรมนีเมื่อปี 2021 ในข้อหาสังหารอดีตกบฏเชชเนียในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเบอร์ลินเมื่อ 2 ปีก่อน โดยเห็นได้ชัดว่าเป็นคำสั่งของหน่วยงานความมั่นคงของมอสโก นอกจากนี้ เขายังได้รับตัวเจ้าหน้าที่ "ที่แฝงตัว" 2 คนที่ถูกจำคุกในสโลวีเนีย ชาย 3 คนที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาโดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางในสหรัฐฯ และชาย 2 คนที่เพิ่งเดินทางกลับจากนอร์เวย์และโปแลนด์

    https://www.bloomberg.com/news/articles/2024-08-01/us-reporter-released-by-russia-in-multi-country-prisoner-swap

    #Thaitimes

    สหรัฐ-รัสเซียแลกตัวนักโทษครั้งใหญ่ .. อีวาน เกิร์ชโควิช นักข่าวของวอลล์สตรีทเจอร์นัล และพอล วีแลน อดีตนาวิกโยธินสหรัฐฯ คาดว่าจะได้รับการปล่อยตัวผ่านการแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งใหญ่16รายกับรัสเซีย และรัสเซียได้คืน 8 ราย 1 กรกฎาคม 2567 -รายงานข่าวจากสื่อBloomberg ระบุว่า อีวาน เกิร์ชโควิช นักข่าว( Evan Gershkovich)ของวอลล์สตรีทเจอร์นัล และพอล วีแลน(Paul Whelan)อดีตนาวิกโยธินสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคนหนึ่งใน 16 รายที่คาดว่าจะได้รับการปล่อยตัวผ่านการแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งประวัติศาสตร์กับรัสเซีย ขณะที่ทำเนียบขาวไม่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนักโทษนี้ สื่อ RIA ของรัฐบาลรัสเซีย รายงานด้วยว่าทนายความของ Alexander Vinnik ชาวรัสเซียที่ถูกจำคุกอยู่ในสหรัฐฯ กล่าวว่าเขาจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนตัวนักโทษในเร็วๆ นี้โดยปฏิเสธที่จะระบุตำแหน่งที่แน่นอนของเขา RIA รายงานว่าข้อมูลของชาวรัสเซีย 4 คนที่ถูกคุมขังอยู่ในสหรัฐฯ ได้แก่ วินนิก แม็กซิม มาร์เชนโก วาดิม โคโนชเชนโก และวลาดิสลาฟ คลูชิน ซึ่งรายชื่อทั้งสี่หายไปจากฐานข้อมูลของกรมราชทัณฑ์ของรัฐบาลกลาง ส่วนอดีตนาวิกโยธินสหรัฐ พอล วีแลนถูกจับกุมในปี 2018 และต่อมาถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานเป็นสายลับ โดยเขา ครอบครัวของเขา และรัฐบาลสหรัฐฯ ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว เขาถูกตัดสินจำคุก 16 ปี และรัฐบาลสหรัฐฯชี้ว่าเขา "ถูกคุมขังโดยมิชอบ" แต่ครั้งที่แล้วเขาไม่ได้รับปล่อยตัวเขาได้ในการแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งก่อนๆ ซึ่งได้แก่ เทรเวอร์ รีด ชาวอเมริกัน และบริทท์นีย์ กริเนอร์ สตาร์ แห่ง WNBA ซึ่งทั้งคู่ได้รับการปล่อยตัวในการแลกเปลี่ยนนักโทษในปี 2022 สำหรับ เกิร์ชโควิช นักข่าวของวอลล์สตรีทเจอร์นัลถูกจับกุม ในเยคาเตรินเบิร์กเมื่อเดือนมีนาคม 2023 และถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับของสหรัฐหาข่าวเกี่ยวกับกองทัพรัสเซีย เขากลายเป็นนักข่าวชาวอเมริกันคนแรกที่ถูกคุมขังในรัสเซียนับตั้งแต่สงครามและถูกตัดสินจำคุก 16 ปีในกรกฎาคม สื่อBloomberg เป็นคนแรกที่รายงานข่าวการแลกตัวนักโทษดังกล่าว โดยอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อว่า รัฐบาลของไบเดน กลุ่มเสรีภาพสื่อ และ นายจ้างของเกอร์ชโควิช ต่างเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขาและยกฟ้องโทษโดยระบุว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นเรื่องแต่งขึ้นมา ก่อนหน้านี้ ไบเดนกล่าวว่าเขายินดีที่จะตกลงแลกเปลี่ยนนักโทษเพื่อปล่อยตัวเกอร์ชโควิช ซึ่งเป็นวิธีที่เขาเคยใช้มาก่อน กรณีปล่อยตัว กรีนเนอร์เพื่อแลกกับวิกเตอร์ บูท พ่อค้าอาวุธชาวรัสเซีย ซึ่งได้รับฉายาว่า “พ่อค้าแห่งความตาย” ในบทสัมภาษณ์กับทักเกอร์ คาร์ลสัน อดีตพิธีกรรายการ Fox News เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ประธานาธิบดีรัสเซียวลาดิมีร์ ปูตินระบุว่าเขายินดีที่จะแลกเปลี่ยนนักโทษ และมีการคาดเดาว่ามอสโกว์ต้องการให้วาดิม คราซิคอฟ กลับประเทศ ซึ่งกำลังรับโทษจำคุกตลอดชีวิตในเยอรมนีในข้อหาสังหารพลเมืองจอร์เจียที่ต่อสู้กับรัสเซียในเชชเนียเมื่อปี 2019 นอกจากนี้ Bloomberg ยังรายงานด้วยว่าVladimir Kara-Murza ซึ่งเป็นคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ เขาถูกตัดสินจำคุก 25 ปีในข้อหากบฏหลังจากวิจารณ์การรุกรานยูเครนของประเทศรัสเซีย ก็เป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนนี้ด้วย การแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งสุดท้ายระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซียเกิดขึ้นในปี 2022 เพื่อปล่อยตัว บริทท์นีย์ กริเนอร์ สตาร์แห่ง WNBA สำหรับครั้งนี้ นักโทษทั้ง 24 คน ซึ่งบางคนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง บางคนไม่ใช่ ประกอบไปด้วยนักข่าวและนักการเมืองผู้เห็นต่าง ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสายลับ แฮกเกอร์คอมพิวเตอร์ และนักต้มตุ๋น รวมถึงชายคนหนึ่งที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฆาตกรรม โดยรัสเซียปล่อยตัวนักโทษสหรัฐ 16 คน รวมถึงอีวาน เกิร์ชโควิช นักข่าวของวอลล์สตรีทเจอร์นัล และพอล วีแลน อดีตนาวิกโยธินและผู้บริหารฝ่ายรักษาความปลอดภัยขององค์กรจากมิชิแกน ทั้งคู่ต้องเผชิญกับโทษจำคุกเป็นเวลานานหลังจากถูกตัดสินว่ามีความผิดในระบบกฎหมายของรัสเซียที่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหนักในข้อหาจารกรรม ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่าไม่มีมูลความจริง นอกจากนี้ มอสโกยังได้ปล่อยตัวนักข่าวจาก Radio Free Europe/Radio Liberty อย่าง Alsu Kurmasheva ซึ่งเป็นพลเมืองสหรัฐฯ-รัสเซียที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับกองทัพรัสเซียเมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่งครอบครัวและนายจ้างของเธอได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และ Vladimir Kara-Murza คอลัมนิสต์วอชิงตันโพสต์นักวิจารณ์เครมลินและนักเขียนที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ซึ่งต้องโทษจำคุก 25 ปีในข้อหากบฏซึ่งหลายคนมองว่ามีแรงจูงใจทางการเมือง ส่วนในบรรดานักโทษ 8 รายที่รัสเซียได้ตัวกลับคืนมานั้น วาดิม คราซิคอฟ เป็นคนฉาวโฉ่ที่สุด ซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดในเยอรมนีเมื่อปี 2021 ในข้อหาสังหารอดีตกบฏเชชเนียในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเบอร์ลินเมื่อ 2 ปีก่อน โดยเห็นได้ชัดว่าเป็นคำสั่งของหน่วยงานความมั่นคงของมอสโก นอกจากนี้ เขายังได้รับตัวเจ้าหน้าที่ "ที่แฝงตัว" 2 คนที่ถูกจำคุกในสโลวีเนีย ชาย 3 คนที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาโดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางในสหรัฐฯ และชาย 2 คนที่เพิ่งเดินทางกลับจากนอร์เวย์และโปแลนด์ https://www.bloomberg.com/news/articles/2024-08-01/us-reporter-released-by-russia-in-multi-country-prisoner-swap #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 897 มุมมอง 0 รีวิว