• ทุบสถิติ! ต่างชาติแห่ลงทุนตราสารหนี้หยวนทะลุ 6.4 แสนล้านดอลลาร์

    25 ตุลาคม 2567-imctnews รายงาน จีนเผยทุนสำรองพุ่ง 3.31 ล้านล้านดอลลาร์ ส่องโอกาสทองเศรษฐกิจจีนโต นักวิเคราะห์ชี้ยังมีช่องว่างอีกมาก

    ตลาดการเงินจีนคึกคักหลังนักลงทุนต่างชาติเทเงินลงทุนสุทธิในตราสารหนี้ทะลุ 80,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2024 ส่งผลให้ยอดถือครองตราสารหนี้ในรูปเงินหยวนพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 640,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 21.1 ล้านล้านบาท สะท้อนความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในระยะยาว ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแตะ 3.3164 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 78,400 ล้านดอลลาร์จากปีก่อน

    นักวิจัยจากสถาบันสังคมศาสตร์ปักกิ่งมองบวก ชี้เงินหยวนมีเสถียรภาพต่อเนื่อง 3 เดือน ด้านรองหัวหน้าสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราจีนเผยสัดส่วนการลงทุนต่างชาติยังมีเพียง 3-4% เท่านั้น เหลือช่องว่างอีกมากในการดึงดูดนักลงทุน พร้อมระบุการลงทุนต่างชาติไม่เพียงนำเม็ดเงิน แต่ยังนำเทคโนโลยี ประสบการณ์ และโอกาสการขยายตลาดมาสู่จีน

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/z1mDoVWihf5Uvcr6/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    ทุบสถิติ! ต่างชาติแห่ลงทุนตราสารหนี้หยวนทะลุ 6.4 แสนล้านดอลลาร์ 25 ตุลาคม 2567-imctnews รายงาน จีนเผยทุนสำรองพุ่ง 3.31 ล้านล้านดอลลาร์ ส่องโอกาสทองเศรษฐกิจจีนโต นักวิเคราะห์ชี้ยังมีช่องว่างอีกมาก ตลาดการเงินจีนคึกคักหลังนักลงทุนต่างชาติเทเงินลงทุนสุทธิในตราสารหนี้ทะลุ 80,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2024 ส่งผลให้ยอดถือครองตราสารหนี้ในรูปเงินหยวนพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 640,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 21.1 ล้านล้านบาท สะท้อนความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในระยะยาว ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแตะ 3.3164 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 78,400 ล้านดอลลาร์จากปีก่อน นักวิจัยจากสถาบันสังคมศาสตร์ปักกิ่งมองบวก ชี้เงินหยวนมีเสถียรภาพต่อเนื่อง 3 เดือน ด้านรองหัวหน้าสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราจีนเผยสัดส่วนการลงทุนต่างชาติยังมีเพียง 3-4% เท่านั้น เหลือช่องว่างอีกมากในการดึงดูดนักลงทุน พร้อมระบุการลงทุนต่างชาติไม่เพียงนำเม็ดเงิน แต่ยังนำเทคโนโลยี ประสบการณ์ และโอกาสการขยายตลาดมาสู่จีน ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/z1mDoVWihf5Uvcr6/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    5
    0 Comments 0 Shares 656 Views 0 Reviews
  • 💥💥ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล
    ภาพรวมการส่งออกของไทยในปัจจุบัน อยู่ในสภาวะ
    อ่อนแอลงไปเรื่อยๆ หากไม่ทำอะไรเลย

    นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 การส่งออก
    เป็นเครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมายาวนาน
    คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60-65% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม
    ภายในประเทศ (จีดีพี) การส่งออกมีบทบาทสำคัญ
    ในการสร้างรายได้จากต่างประเทศ การจ้างงาน และเพิ่ม
    ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

    อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยได้สูญเสียบทบาท
    และความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่นที่เคยเป็นมา

    SCB EIC มองว่า เครื่องยนต์ส่งออกของไทยกำลังอ่อนแรงลงมาก
    จากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งมีส่วนทำให้การส่งออกไทย
    ไม่สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
    ได้เหมือนในอดีต และไม่สามารถปรับตัวตามกระแสโลก
    ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน

    ปัจจัยภายในประเทศ :

    1) สินค้าส่งออกไทยไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการของโลก :
    ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดการผลิตสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ
    ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป
    เช่น สมาร์ตโฟน แผงวงจรไฟฟ้า หรือสินค้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด
    ขณะที่สินค้าหมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้เครื่องกลที่ไทยผลิต
    กลับเป็นสินค้าที่โลกต้องการซื้อน้อยลงเช่น Hard Disk Drives (HDD)
    ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย แต่เมื่อเทคโนโลยี
    เปลี่ยนไปสู่ Solid State Drives (SSD) ความต้องการ HDD
    ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับสินค้าหมวดยานพาหนะ ส่วนประกอบ
    และอุปกรณ์เสริม ที่ไทยเคยส่งออกดีมาก จากการส่งออกยานยนต์
    และเครื่องยนต์สันดาป แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทาย
    จากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของผู้ซื้อ ซึ่งรวมมูลค่า
    การส่งออก 2 หมวดใหญ่นี้คิดเป็น 27% ของมูลค่าการส่งออก
    ไทยทั้งหมดในปี 2566

    2) โครงสร้างการผลิตเพื่อส่งออกไทยเปลี่ยนแปลงช้า :
    ภาคการผลิตของไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก
    ส่งผลให้โครงสร้างการส่งออกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า
    ขณะที่โครงสร้างการผลิตของประเทศคู่แข่งหลายราย
    ที่เคยผลิตสินค้าล้าสมัยกว่าไทยในอดีต กลับสามารถ
    ปรับตามกระแสความต้องการในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้
    อย่างรวดเร็วจากการหาห่วงโซ่อุปทานใหม่ สะท้อนจาก
    ส่วนแบ่งยอดขายสินค้าไทยในตลาดโลก ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
    จาก 10 ปีก่อนมากนัก เช่น รถยนต์ EV แผงวงจรไฟฟ้า/เซมิคอนดักเตอร์
    สมาร์ตโฟน แผงโซลาร์เซลล์ (เป็นกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนสูงขึ้นในตลาดโลก)

    ทั้งนี้ถึงแม้การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยจะมีสัดส่วนต่อมูลค่าการส่งออก
    ทั้งหมดสูงขึ้น แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 17% ในปี 2556-2560 เป็น 23%
    ในปี 2561-2565 ซึ่งแตกต่างจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
    ที่มีสัดส่วนการส่งออกกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมาก จาก 16% เป็น 32%, 38%
    เป็น 44% และ 40% เป็น 48% ตามลำดับ โดยสาเหตุเป็นเพราะว่า
    ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
    มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนกว่า และสร้างมูลค่าเพิ่มสูงกว่าได้
    ในขณะที่ไทยส่วนใหญ่แล้วยังคงผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง
    และมีความซับซ้อนน้อยกว่า สะท้อนขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำกว่า
    แสดงให้เห็นว่าไทยอาจไม่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น
    ในปัจจุบันได้มากเท่าประเทศเพื่อนบ้าน

    3) ความสามารถในการกระจายตลาดใหม่ไม่ค่อยสูง :
    การส่งออกของไทยกว่า 75% ยังคงกระจุกตัวในบางตลาดหลัก เช่น จีน สหรัฐฯ
    ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน เช่นในอดีต ซึ่งหากเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้น
    ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ก็อาจสร้างความเสี่ยงสูงต่อไทยตามมา เช่น เศรษฐกิจจีน
    ชะลอตัว ในช่วงที่ผ่านมา จะกระทบการส่งออกไทยไปตลาดจีนตามไปด้วย
    สะท้อนความจำเป็นในการขยายตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง
    และเพิ่มยอดส่งออกของไทยได้

    จากการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัญหาหลักของการส่งออกไทยมาจาก
    ปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตในประเทศที่ไม่ค่อยตอบโจทย์
    สินค้าใหม่ ๆ คำถามสำคัญคือ อะไรเป็นสาเหตุทำให้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
    ภาคการผลิตของไทยมาถึงจุดนี้?

    SCB EIC มองว่าสาเหตุหลักมาจากทักษะแรงงานไทยและการลงทุน
    จากต่างชาติที่ลดลง :

    1) แรงงานสูงวัยและทักษะต่ำ : ประเทศไทยกำลังเผชิญสังคมผู้สูงอายุ
    22.7% จากประชากรทั้งหมดในปี 2566 (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และมีแนวโน้ม
    เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงปัญหาแรงงานขาดทักษะ
    ที่จำเป็น โดยเฉพาะทักษะเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตสินค้า
    และการแข่งขันในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

    ปัญหานี้ทำให้การผลิตสินค้าเทคโนโลยีของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับ
    เทคโนโลยีขั้นกลาง และการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเกิดขึ้นค่อนข้างช้า
    เนื่องจากเพิ่มศักยภาพแรงงานไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

    2) สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลง :
    FDI เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทันสมัย
    เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการส่งออก
    รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
    การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยลดลงมาก จากที่เคยเป็นหนึ่ง
    ในจุดหมายปลายทางหลักในอาเซียน ไทยกลับตกอันดับมาเรื่อย ๆ
    อยู่อันดับ 7 ในปี 2566 แย่กว่าในปี 2543 2553 และ 2562 ที่อันดับ 3, 3,
    และ 6 ตามลำดับ เสียอีก (ข้อมูลจาก World Bank)

    สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก

    (1) ทักษะแรงงานไทยไม่สูงและสัดส่วนแรงงานสูงวัย
    ยังมีมากที่สุดในอาเซียน

    (2) ไทยขาดการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)
    กับประเทศสำคัญ ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศคู่แข่ง
    เช่น เวียดนาม ได้เปรียบจากการมีข้อตกลง FTA กับสหภาพยุโรป
    และการเข้าร่วม CPTPP ทำให้เข้าถึงตลาดสำคัญในโลกได้ง่ายขึ้น

    (3) การเมืองไทยมีความไม่แน่นอนสูง

    (4) นโยบายเศรษฐกิจระยะยาวขาดความชัดเจนและความต่อเนื่อง
    นักลงทุนไทยและต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะลงทุน
    วิจัยและพัฒนา (R&D) ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เนื่องจากเป็นการลงทุนสูง
    และใช้เวลากว่าจะเห็นผล และ

    (5) กฎระเบียบภาครัฐซับซ้อน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้นักลงทุน
    ต่างชาติเลือกลงทุนในประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง
    และนโยบายและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลงทุนดีกว่า

    ปัจจัยภายนอก :

    การส่งออกของไทยยังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกหลายประการ

    ได้แก่ 1) China over-capacity ที่อาจซ้ำเติมปัญหาความสามารถ
    ในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขันด้านราคา
    กับสินค้าจีน

    2) ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจสร้างความไม่แน่นอนของนโยบายภาษี
    สินค้านำเข้าทุกประเภทจากทุกประเทศเพิ่มเติม

    3) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามยืดเยื้อ การแบ่งขั้ว
    ทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น หรือมาตรการกีดกันการค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบ
    ต่อการค้าโลก

    4) การผันผวนของค่าเงินบาท จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง
    สำคัญทั่วโลก

    (5) ค่าระวางเรือและค่าขนส่งที่อาจจะกลับมาสูงขึ้น จากสงครามที่เกิดขึ้นบ่อย
    และรุนแรงขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งและตู้คอนเทนเนอร์


    ปัจจัยภายในและนอกประเทศเหล่านี้กดดันให้เครื่องยนต์ส่งออกของไทย
    อ่อนแอลง และเป็นสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากการบริโภคและการลงทุน
    ในประเทศก็กำลังอ่อนแรงเช่นกัน โดยการบริโภคถูกจำกัดจากภาระหนี้
    ครัวเรือนสูง และการลงทุนได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศ
    ที่เปราะบาง

    อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยยังไม่ไร้ความหวังเสียทีเดียว
    หากรัฐบาลสามารถจัดการ 3 ปัจจัยหลักได้ ได้แก่ แรงงาน การลงทุน
    โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และยุทธศาสตร์นโยบายอุปทานที่ชัดเจน
    ประเทศไทยจะสามารถปรับโครงสร้างการผลิตให้แข็งแกร่งขึ้น
    และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้บนข้อได้เปรียบที่ไทยมีอยู่แล้ว
    เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ทังนี้ปัจจัยกดดันจากภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ
    ควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่าหากโครงสร้างการผลิตของไทย
    แข็งแกร่ง จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้ได้ และอาจทำให้ไทย
    ได้รับประโยชน์จากบางปัจจัย เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจนำมาซึ่ง
    การย้ายฐานการผลิตและการลงทุนใหม่ ๆ

    การส่งออกไทยในปัจจุบันเปรียบเหมือนรถที่กำลังวิ่งอย่างเชื่องช้า
    ที่ต้องเลือกว่าจะเริ่มซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างเครื่องยนต์
    ให้ทันสมัยจุดไหนบ้าง เพื่อให้รถคันนี้กลับมาวิ่งเร็วได้อีกครั้ง
    แต่หากไม่เริ่มทำอะไรวันนี้ เครื่องยนต์เก่านี้อาจพังในไม่ช้า
    ทำให้รถเราค่อยๆ หยุดวิ่ง และปล่อยให้รถคันอื่นแซงหน้า
    ไปคันแล้วคันเล่า

    ที่มา : SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การส่งออกไทย #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล ภาพรวมการส่งออกของไทยในปัจจุบัน อยู่ในสภาวะ อ่อนแอลงไปเรื่อยๆ หากไม่ทำอะไรเลย นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 การส่งออก เป็นเครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมายาวนาน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60-65% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (จีดีพี) การส่งออกมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างรายได้จากต่างประเทศ การจ้างงาน และเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยได้สูญเสียบทบาท และความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่นที่เคยเป็นมา SCB EIC มองว่า เครื่องยนต์ส่งออกของไทยกำลังอ่อนแรงลงมาก จากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งมีส่วนทำให้การส่งออกไทย ไม่สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก ได้เหมือนในอดีต และไม่สามารถปรับตัวตามกระแสโลก ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน ปัจจัยภายในประเทศ : 1) สินค้าส่งออกไทยไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการของโลก : ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดการผลิตสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป เช่น สมาร์ตโฟน แผงวงจรไฟฟ้า หรือสินค้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด ขณะที่สินค้าหมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้เครื่องกลที่ไทยผลิต กลับเป็นสินค้าที่โลกต้องการซื้อน้อยลงเช่น Hard Disk Drives (HDD) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย แต่เมื่อเทคโนโลยี เปลี่ยนไปสู่ Solid State Drives (SSD) ความต้องการ HDD ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับสินค้าหมวดยานพาหนะ ส่วนประกอบ และอุปกรณ์เสริม ที่ไทยเคยส่งออกดีมาก จากการส่งออกยานยนต์ และเครื่องยนต์สันดาป แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทาย จากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของผู้ซื้อ ซึ่งรวมมูลค่า การส่งออก 2 หมวดใหญ่นี้คิดเป็น 27% ของมูลค่าการส่งออก ไทยทั้งหมดในปี 2566 2) โครงสร้างการผลิตเพื่อส่งออกไทยเปลี่ยนแปลงช้า : ภาคการผลิตของไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก ส่งผลให้โครงสร้างการส่งออกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า ขณะที่โครงสร้างการผลิตของประเทศคู่แข่งหลายราย ที่เคยผลิตสินค้าล้าสมัยกว่าไทยในอดีต กลับสามารถ ปรับตามกระแสความต้องการในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้ อย่างรวดเร็วจากการหาห่วงโซ่อุปทานใหม่ สะท้อนจาก ส่วนแบ่งยอดขายสินค้าไทยในตลาดโลก ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง จาก 10 ปีก่อนมากนัก เช่น รถยนต์ EV แผงวงจรไฟฟ้า/เซมิคอนดักเตอร์ สมาร์ตโฟน แผงโซลาร์เซลล์ (เป็นกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนสูงขึ้นในตลาดโลก) ทั้งนี้ถึงแม้การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยจะมีสัดส่วนต่อมูลค่าการส่งออก ทั้งหมดสูงขึ้น แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 17% ในปี 2556-2560 เป็น 23% ในปี 2561-2565 ซึ่งแตกต่างจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่มีสัดส่วนการส่งออกกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมาก จาก 16% เป็น 32%, 38% เป็น 44% และ 40% เป็น 48% ตามลำดับ โดยสาเหตุเป็นเพราะว่า ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนกว่า และสร้างมูลค่าเพิ่มสูงกว่าได้ ในขณะที่ไทยส่วนใหญ่แล้วยังคงผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง และมีความซับซ้อนน้อยกว่า สะท้อนขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำกว่า แสดงให้เห็นว่าไทยอาจไม่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น ในปัจจุบันได้มากเท่าประเทศเพื่อนบ้าน 3) ความสามารถในการกระจายตลาดใหม่ไม่ค่อยสูง : การส่งออกของไทยกว่า 75% ยังคงกระจุกตัวในบางตลาดหลัก เช่น จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน เช่นในอดีต ซึ่งหากเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้น ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ก็อาจสร้างความเสี่ยงสูงต่อไทยตามมา เช่น เศรษฐกิจจีน ชะลอตัว ในช่วงที่ผ่านมา จะกระทบการส่งออกไทยไปตลาดจีนตามไปด้วย สะท้อนความจำเป็นในการขยายตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มยอดส่งออกของไทยได้ จากการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัญหาหลักของการส่งออกไทยมาจาก ปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตในประเทศที่ไม่ค่อยตอบโจทย์ สินค้าใหม่ ๆ คำถามสำคัญคือ อะไรเป็นสาเหตุทำให้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ภาคการผลิตของไทยมาถึงจุดนี้? SCB EIC มองว่าสาเหตุหลักมาจากทักษะแรงงานไทยและการลงทุน จากต่างชาติที่ลดลง : 1) แรงงานสูงวัยและทักษะต่ำ : ประเทศไทยกำลังเผชิญสังคมผู้สูงอายุ 22.7% จากประชากรทั้งหมดในปี 2566 (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงปัญหาแรงงานขาดทักษะ ที่จำเป็น โดยเฉพาะทักษะเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตสินค้า และการแข่งขันในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหานี้ทำให้การผลิตสินค้าเทคโนโลยีของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับ เทคโนโลยีขั้นกลาง และการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเกิดขึ้นค่อนข้างช้า เนื่องจากเพิ่มศักยภาพแรงงานไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 2) สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลง : FDI เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทันสมัย เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการส่งออก รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยลดลงมาก จากที่เคยเป็นหนึ่ง ในจุดหมายปลายทางหลักในอาเซียน ไทยกลับตกอันดับมาเรื่อย ๆ อยู่อันดับ 7 ในปี 2566 แย่กว่าในปี 2543 2553 และ 2562 ที่อันดับ 3, 3, และ 6 ตามลำดับ เสียอีก (ข้อมูลจาก World Bank) สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก (1) ทักษะแรงงานไทยไม่สูงและสัดส่วนแรงงานสูงวัย ยังมีมากที่สุดในอาเซียน (2) ไทยขาดการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศสำคัญ ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม ได้เปรียบจากการมีข้อตกลง FTA กับสหภาพยุโรป และการเข้าร่วม CPTPP ทำให้เข้าถึงตลาดสำคัญในโลกได้ง่ายขึ้น (3) การเมืองไทยมีความไม่แน่นอนสูง (4) นโยบายเศรษฐกิจระยะยาวขาดความชัดเจนและความต่อเนื่อง นักลงทุนไทยและต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะลงทุน วิจัยและพัฒนา (R&D) ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เนื่องจากเป็นการลงทุนสูง และใช้เวลากว่าจะเห็นผล และ (5) กฎระเบียบภาครัฐซับซ้อน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้นักลงทุน ต่างชาติเลือกลงทุนในประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง และนโยบายและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลงทุนดีกว่า ปัจจัยภายนอก : การส่งออกของไทยยังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกหลายประการ ได้แก่ 1) China over-capacity ที่อาจซ้ำเติมปัญหาความสามารถ ในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขันด้านราคา กับสินค้าจีน 2) ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจสร้างความไม่แน่นอนของนโยบายภาษี สินค้านำเข้าทุกประเภทจากทุกประเทศเพิ่มเติม 3) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามยืดเยื้อ การแบ่งขั้ว ทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น หรือมาตรการกีดกันการค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบ ต่อการค้าโลก 4) การผันผวนของค่าเงินบาท จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง สำคัญทั่วโลก (5) ค่าระวางเรือและค่าขนส่งที่อาจจะกลับมาสูงขึ้น จากสงครามที่เกิดขึ้นบ่อย และรุนแรงขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งและตู้คอนเทนเนอร์ ปัจจัยภายในและนอกประเทศเหล่านี้กดดันให้เครื่องยนต์ส่งออกของไทย อ่อนแอลง และเป็นสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากการบริโภคและการลงทุน ในประเทศก็กำลังอ่อนแรงเช่นกัน โดยการบริโภคถูกจำกัดจากภาระหนี้ ครัวเรือนสูง และการลงทุนได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศ ที่เปราะบาง อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยยังไม่ไร้ความหวังเสียทีเดียว หากรัฐบาลสามารถจัดการ 3 ปัจจัยหลักได้ ได้แก่ แรงงาน การลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และยุทธศาสตร์นโยบายอุปทานที่ชัดเจน ประเทศไทยจะสามารถปรับโครงสร้างการผลิตให้แข็งแกร่งขึ้น และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้บนข้อได้เปรียบที่ไทยมีอยู่แล้ว เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ทังนี้ปัจจัยกดดันจากภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ ควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่าหากโครงสร้างการผลิตของไทย แข็งแกร่ง จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้ได้ และอาจทำให้ไทย ได้รับประโยชน์จากบางปัจจัย เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจนำมาซึ่ง การย้ายฐานการผลิตและการลงทุนใหม่ ๆ การส่งออกไทยในปัจจุบันเปรียบเหมือนรถที่กำลังวิ่งอย่างเชื่องช้า ที่ต้องเลือกว่าจะเริ่มซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างเครื่องยนต์ ให้ทันสมัยจุดไหนบ้าง เพื่อให้รถคันนี้กลับมาวิ่งเร็วได้อีกครั้ง แต่หากไม่เริ่มทำอะไรวันนี้ เครื่องยนต์เก่านี้อาจพังในไม่ช้า ทำให้รถเราค่อยๆ หยุดวิ่ง และปล่อยให้รถคันอื่นแซงหน้า ไปคันแล้วคันเล่า ที่มา : SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การส่งออกไทย #thaitimes
    0 Comments 0 Shares 184 Views 0 Reviews
  • จีนเผย 'จีดีพี' ขยายตัว 4.8% ในช่วง 9 เดือนแรก 2567
    .
    ซินหัว - วันนี้ (18 ต.ค.) สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีน ช่วงเดือนมกราคม-กันยายนของปี 2567 เติบโตร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบปีต่อปี
    .
    รายงานระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ราว 94.97 ล้านล้านหยวน (ราว 442 ล้านล้านบาท)
    ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบปีต่อปี ในไตรมาสสาม (กรกฎาคม-กันยายน) ของปี 2567
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่า GDP ของจีนในปีที่แล้ว คือ ปี 2566 อยู่ที่ 126.06 ล้านล้านหยวน (ราว 637 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยสูงกว่าเป้าหมายประจำปีที่กำหนดไว้ราวร้อยละ 5
    .
    (แฟ้มภาพซินหัว : สถานีรถไฟใต้ดินในนครเซินเจิ้น มณฑลกว่างตงทางตอนใต้ของจีน วันที่ 22 ก.ย. 2024)
    จีนเผย 'จีดีพี' ขยายตัว 4.8% ในช่วง 9 เดือนแรก 2567 . ซินหัว - วันนี้ (18 ต.ค.) สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีน ช่วงเดือนมกราคม-กันยายนของปี 2567 เติบโตร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบปีต่อปี . รายงานระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ราว 94.97 ล้านล้านหยวน (ราว 442 ล้านล้านบาท) ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบปีต่อปี ในไตรมาสสาม (กรกฎาคม-กันยายน) ของปี 2567 . ก่อนหน้านี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่า GDP ของจีนในปีที่แล้ว คือ ปี 2566 อยู่ที่ 126.06 ล้านล้านหยวน (ราว 637 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยสูงกว่าเป้าหมายประจำปีที่กำหนดไว้ราวร้อยละ 5 . (แฟ้มภาพซินหัว : สถานีรถไฟใต้ดินในนครเซินเจิ้น มณฑลกว่างตงทางตอนใต้ของจีน วันที่ 22 ก.ย. 2024)
    Like
    8
    1 Comments 2 Shares 432 Views 0 Reviews
  • 💥💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงาน
    ภาวะเศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจไทย
    ประจำเดือน กันยายน 2567 พบว่า

    🚩เศรษฐกิจโลก กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น
    โดยเฉพาะจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
    และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน

    🚩ส่วนเศรษฐกิจไทย ยังคงคาดการณ์การเติบโต
    ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปี 2567 ไว้ที่ 2.6%
    โดยคาดการณ์ว่า ครึ่งหลังของปี 2567
    เศรษฐกิจไทย จะเติบโตได้ดีขึ้นจากการส่งออก
    การลงทุน การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายภาครัฐ

    ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงาน ภาวะเศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจไทย ประจำเดือน กันยายน 2567 พบว่า 🚩เศรษฐกิจโลก กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน 🚩ส่วนเศรษฐกิจไทย ยังคงคาดการณ์การเติบโต ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปี 2567 ไว้ที่ 2.6% โดยคาดการณ์ว่า ครึ่งหลังของปี 2567 เศรษฐกิจไทย จะเติบโตได้ดีขึ้นจากการส่งออก การลงทุน การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายภาครัฐ ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    Like
    Yay
    4
    0 Comments 0 Shares 581 Views 0 Reviews
  • 1 ตุลาคม - วันชาติจีน
    จีน กำลังเข้าสู่..เส้นชัย The Chinese Dream 中国梦
    ...........................................
    ในพัฒนาประเทศ ตามหลักของ Marxism-Communism
    จีน มีนโยบาย 2 PHASE ต่อเนื่องกัน คือ
    1) ต้องทำประเทศให้ร่ำรวย
    2) แบ่งเท่ากัน
    ...........................................
    PHASE-I #นโยบายจีนสร้างประเทศให้ร่ำรวย
    ตามแนวคิดของ Deng Xiao Ping ที่วางยุทธศาสตร์ ไว้ว่า
    " LET SOME PEOPLE GET RICH"
    แปลอังกฤษเป็นไทย ได้ว่า ต้องทำประเทศให้ร่ำรวย ด้วยการเปิดเสรี ให้คนจีนที่มีความสามารถ นำการพัฒนาความมั่งคั่งให้ประเทศจีน (ด้วยนโยบาย 1 ประเทศ 2 ระบบ หรือ แมวสีอะไรก็ได้..ขอให้จับหนูได้)
    จีน..จึงกลายเป็นโรงงานของโลก ผลิตสินค้า ขายดี สร้างให้ประเทศร่ำรวย ดังที่ทุกคนในโลก..ได้รับรู้

    ขณะนี้..สถานการณ์Covid-19 ท่านจักรพรรดิ์ Xi JinPing ได้ทดลอง "ปิดประเทศ" แล้วใช้ระบบเศรษฐกิจแบบ Dual-Circulation กล่าวคือ จีน แบ่งเศรษฐกิจออกเป็นการหมุนเวียนภายในประเทศ และ การหมุนเวียนเศรษฐกิจจีนนอกประเทศ.
    ผลปรากฎว่า.. 1) ผลของเศรษฐกิจการหมุนเวียนภายในประเทศ จีนผลิต จีนใช้ จีนเจริญ (อยู่ได้..อย่างสบายมาก)อุดมสมบูรณ์ โดยไม่ต้องพึ่งพา การหมุนเวียนเศรษฐกิจจีนนอกประเทศ.
    2) การหมุนเวียนเศรษฐกิจจีนนอกประเทศ ยิ่งสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่. !!!
    ......................................................................

    ข้อมูลเหล่านี้ ทำให้ท่านจักรพรรดิ์ Xi JinPing ตัดสินใจ
    นำประเทศจีน เข้าสู่ PHASE-II คือ นโยบาย COMMON PROSPERITY แปลเป็นไทยได้ว่า #ได้เวลาที่จะแบ่งความร่ำรวยให้ทุกคนเท่าเทียมกัน
    นี่แหละ..คือ ที่มาของ..นโยบายรัฐบาลจีน ที่สำคัญ 3 ประการ
    1) ควบคุมกิจการเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เช่น ANT GROUP, TenCent, ALiBaBa...etc.
    2) ควบคุมการศึกษา เช่น ปราบ TUTOR ในเมืองใหญ่ เร่งยกระดับคุณภาพการศึกษาที่เน้นความเสมอภาค #ทำให้เด็กจีนได้รับโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกัน และ #รักชาติยิ่งชีพ
    3) ควบคุมอบายมุข เหล้า บุหรี่ และ เกมส์(ยาเสพติดยุคดิจิตอล เทียบเท่า ฝิ่น ในราชวงศ์ชิง)

    จากบทความข้างต้น ท่านคงเข้าใจแล้วนะ ว่า
    ต่อจากวินาที นี้.. " จีน กำลังเข้าสู่..เส้นชัย "

    แว๊ว---ช่าย หมาย ?
    .
    Pachäree Wõng
    October1st, 2024
    San Francisco, CA94108
    1 ตุลาคม - วันชาติจีน จีน กำลังเข้าสู่..เส้นชัย The Chinese Dream 中国梦 ........................................... ในพัฒนาประเทศ ตามหลักของ Marxism-Communism จีน มีนโยบาย 2 PHASE ต่อเนื่องกัน คือ 1) ต้องทำประเทศให้ร่ำรวย 2) แบ่งเท่ากัน ........................................... PHASE-I #นโยบายจีนสร้างประเทศให้ร่ำรวย ตามแนวคิดของ Deng Xiao Ping ที่วางยุทธศาสตร์ ไว้ว่า " LET SOME PEOPLE GET RICH" แปลอังกฤษเป็นไทย ได้ว่า ต้องทำประเทศให้ร่ำรวย ด้วยการเปิดเสรี ให้คนจีนที่มีความสามารถ นำการพัฒนาความมั่งคั่งให้ประเทศจีน (ด้วยนโยบาย 1 ประเทศ 2 ระบบ หรือ แมวสีอะไรก็ได้..ขอให้จับหนูได้) จีน..จึงกลายเป็นโรงงานของโลก ผลิตสินค้า ขายดี สร้างให้ประเทศร่ำรวย ดังที่ทุกคนในโลก..ได้รับรู้ ขณะนี้..สถานการณ์Covid-19 ท่านจักรพรรดิ์ Xi JinPing ได้ทดลอง "ปิดประเทศ" แล้วใช้ระบบเศรษฐกิจแบบ Dual-Circulation กล่าวคือ จีน แบ่งเศรษฐกิจออกเป็นการหมุนเวียนภายในประเทศ และ การหมุนเวียนเศรษฐกิจจีนนอกประเทศ. ผลปรากฎว่า.. 1) ผลของเศรษฐกิจการหมุนเวียนภายในประเทศ จีนผลิต จีนใช้ จีนเจริญ (อยู่ได้..อย่างสบายมาก)อุดมสมบูรณ์ โดยไม่ต้องพึ่งพา การหมุนเวียนเศรษฐกิจจีนนอกประเทศ. 2) การหมุนเวียนเศรษฐกิจจีนนอกประเทศ ยิ่งสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่. !!! ...................................................................... ข้อมูลเหล่านี้ ทำให้ท่านจักรพรรดิ์ Xi JinPing ตัดสินใจ นำประเทศจีน เข้าสู่ PHASE-II คือ นโยบาย COMMON PROSPERITY แปลเป็นไทยได้ว่า #ได้เวลาที่จะแบ่งความร่ำรวยให้ทุกคนเท่าเทียมกัน นี่แหละ..คือ ที่มาของ..นโยบายรัฐบาลจีน ที่สำคัญ 3 ประการ 1) ควบคุมกิจการเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เช่น ANT GROUP, TenCent, ALiBaBa...etc. 2) ควบคุมการศึกษา เช่น ปราบ TUTOR ในเมืองใหญ่ เร่งยกระดับคุณภาพการศึกษาที่เน้นความเสมอภาค #ทำให้เด็กจีนได้รับโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกัน และ #รักชาติยิ่งชีพ 3) ควบคุมอบายมุข เหล้า บุหรี่ และ เกมส์(ยาเสพติดยุคดิจิตอล เทียบเท่า ฝิ่น ในราชวงศ์ชิง) จากบทความข้างต้น ท่านคงเข้าใจแล้วนะ ว่า ต่อจากวินาที นี้.. " จีน กำลังเข้าสู่..เส้นชัย " แว๊ว---ช่าย หมาย ? . Pachäree Wõng October1st, 2024 San Francisco, CA94108
    0 Comments 0 Shares 37 Views 0 Reviews
  • 💥💥24/09/2567
    ตลาดหุ้นทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุด
    เป็นประวัติการณ์ในวันนี้
    หลังจากจีนเปิดเผยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
    เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและตลาดหุ้น
    ส่งผลให้หุ้นในเอเชีย รวมทั้งตลาดหุ้นไทย
    และยุโรปพุ่งสูงขึ้น รวมทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์
    เช่น น้ำมัน, ทองแดง, เหล็ก, และ ทองคำ ราคาดีดตัวขึ้น

    🚩โดยผู้ว่าการธนาคารประชาชนจีน พาน กงเซิง
    ประกาศแผนลดต้นทุนการกู้ยืม และอัดฉีดเงิน
    เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจีนมากขึ้น
    รวมถึงลดภาระการผ่อนชำระเงินกู้ของครัวเรือน

    🚩นอกจากนี้ พานยังกล่าวอีกว่า จีนจะออกเครื่องมือ
    นโยบายการเงินเชิงโครงสร้างเป็นครั้งแรก
    เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพของตลาดทุน

    ที่มา : Reuters

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เศรษฐกิจจีน #thaitimes
    💥💥24/09/2567 ตลาดหุ้นทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุด เป็นประวัติการณ์ในวันนี้ หลังจากจีนเปิดเผยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ส่งผลให้หุ้นในเอเชีย รวมทั้งตลาดหุ้นไทย และยุโรปพุ่งสูงขึ้น รวมทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน, ทองแดง, เหล็ก, และ ทองคำ ราคาดีดตัวขึ้น 🚩โดยผู้ว่าการธนาคารประชาชนจีน พาน กงเซิง ประกาศแผนลดต้นทุนการกู้ยืม และอัดฉีดเงิน เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจีนมากขึ้น รวมถึงลดภาระการผ่อนชำระเงินกู้ของครัวเรือน 🚩นอกจากนี้ พานยังกล่าวอีกว่า จีนจะออกเครื่องมือ นโยบายการเงินเชิงโครงสร้างเป็นครั้งแรก เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพของตลาดทุน ที่มา : Reuters #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เศรษฐกิจจีน #thaitimes
    0 Comments 0 Shares 763 Views 0 Reviews
  • 🔥🔥ปัญหาหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นของจีน
    เป็นอุปสรรคแอบแฝงสำคัญ ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

    🚩โดยการบริโภคของจีนที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องนั้น
    สืบเนื่องมาจากภาวะตกต่ำของอสังหาริมทรัพย์
    ของประเทศ และความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับ
    การเงินของรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงหนี้สิน

    🚩ความมั่งคั่งของครัวเรือนชาวจีนส่วนใหญ่เนื่องจาก
    เข้าสู่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงสองทศวรรษ
    ที่ผ่านมา ก่อนที่รัฐบาลจีนจะเริ่มปราบปรามผู้พัฒนา
    อสังหาริมทรัพย์ ที่มีการพึ่งพาหนี้สินสูงในปี 2563

    🚩ขณะนี้ มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เหล่านั้นกำลังลดลง
    และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้ลดการซื้อที่ดินลง
    ทำให้รายได้ของรัฐบาลท้องถิ่นลดลงอย่างมาก
    โดยเฉพาะในระดับอำเภอและเทศมณฑล
    ตามที่นักวิเคราะห์ของ S&P Global Ratings กล่าว

    🚩คาดการณ์ว่าตั้งแต่เดือนมิถุนายนของปีนี้เป็นต้นไป
    การเงินของรัฐบาลท้องถิ่นจะใช้เวลาสามถึงห้าปี
    จึงจะฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ

    ที่มา : cnbc

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เศรษฐกิจจีน #thaitimes
    🔥🔥ปัญหาหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นของจีน เป็นอุปสรรคแอบแฝงสำคัญ ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ 🚩โดยการบริโภคของจีนที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องนั้น สืบเนื่องมาจากภาวะตกต่ำของอสังหาริมทรัพย์ ของประเทศ และความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับ การเงินของรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงหนี้สิน 🚩ความมั่งคั่งของครัวเรือนชาวจีนส่วนใหญ่เนื่องจาก เข้าสู่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงสองทศวรรษ ที่ผ่านมา ก่อนที่รัฐบาลจีนจะเริ่มปราบปรามผู้พัฒนา อสังหาริมทรัพย์ ที่มีการพึ่งพาหนี้สินสูงในปี 2563 🚩ขณะนี้ มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เหล่านั้นกำลังลดลง และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้ลดการซื้อที่ดินลง ทำให้รายได้ของรัฐบาลท้องถิ่นลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในระดับอำเภอและเทศมณฑล ตามที่นักวิเคราะห์ของ S&P Global Ratings กล่าว 🚩คาดการณ์ว่าตั้งแต่เดือนมิถุนายนของปีนี้เป็นต้นไป การเงินของรัฐบาลท้องถิ่นจะใช้เวลาสามถึงห้าปี จึงจะฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ ที่มา : cnbc #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เศรษฐกิจจีน #thaitimes
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 1015 Views 0 Reviews
  • จีนจ่อแบนบริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (PwC) ในประเทศจีน 6 เดือน ปมตรวจสอบบัญชีบริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป (China Evergrande Group) ยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ประสบภาวะล้มละลายและคดีฉ้อโกง

    22 สิงหาคม 2567-รายงานข่าว Financial Times ระบุว่า PwC ประเทศจีน ได้แจ้งลูกค้าว่า มีความเป็นไปได้ที่ทางการจีนจะสั่งปรับเงิน และระงับการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นเวลา 6 เดือน โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้เร็วที่สุดในเดือนกันยายนนี้ หลังมีความผิดในคดีฉ้อโกงครั้งใหญ่ของ Evergrande อดีตผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของจีน

    การตัดสินบทลงโทษที่รุนแรงครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และดูแลตลาดหลักทรัพย์ของจีน (CSRC) หรือ ก.ล.ต. ตรวจพบความผิดปกติในงบการเงินของ Hengda Real Estate บริษัทลูกของ Evergrande ในเดือนมีนาคม โดยพบว่าบริษัทรายงานรายได้เกินจริง

    โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นมากผิดปกติที่ 2.13 แสนล้านหยวน หรือครึ่งหนึ่งของรายได้รวมในปี 2562 ในขณะที่ปี 2563 มีรายได้เพิ่มขึ้น 3.5 แสนล้านหยวน หรือ 78.5% ของรายได้รวม นอกจากนี้ยังออกหุ้นกู้โดยอ้างอิงงบการเงินเท็จ โดย PwC ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีขณะนั้น กลับรับรองว่างบการเงินถูกต้อง ซึ่งแสดงว่าบริษัทบกพร่องในการตรวจสอบบัญชี

    อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น 2 ปีก่อนที่ Evergrande จะผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ต่างประเทศครั้งแรก จนนำมาสู่วิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ฉุดรั้งการเติบโตเศรษฐกิจจีนในปัจจุบัน ทั้งนี้ หากบทลงโทษมีผลบังคับใช้ PwC จะไม่สามารถลงนามรับรองงบการเงิน และการเสนอขายหุ้น IPO รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในบทลงโทษ

    การถูกแทรกแซงจากหน่วยงานกำกับของจีน ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของบริษัทไม่น้อย โดยข้อมูลล่าสุด ณ เดือนมีนาคม พบว่า PwC เป็นบริษัทตรวจสอบบัญชีที่ได้รับความนิยมในจีนมากที่สุด โดยมีลูกค้าบริษัทจดทะเบียนวางใจใช้บริการมากถึง 110 แห่ง ทั้งนี้ นับตั้งแต่บริษัทถูก ก.ล.ต. จีน สอบสวนในเดือนมีนาคม มีบริษัทอย่างน้อย 50 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงิน ได้ขอให้ PwC ยกเลิกการตรวจสอบบัญชีในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาทำให้ในปีนี้ PwC ประเทศจีน สูญเสียรายได้ทางบัญชีไปแล้วอย่างน้อยสองในสามจากบริษัทจดทะเบียนในจีน เช่น ลูกค้ารายใหญ่อย่าง Bank of China ที่หันไปใช้บริการบริษัทคู่แข่ง EY สำหรับการตรวจสอบบัญชีประจำปี เนื่องจากได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังจีนว่า PwC จะถูกหน่วยงานกำกับของจีนสั่งปรับเงินฐานมีความผิดในคดีฉ้อโกงครั้งใหญ่ของ Evergrande ภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้

    แม้รายได้จากบริษัทจดทะเบียนและรัฐวิสาหกิจในจีนจะมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมดของ PwC ประเทศจีน แต่การถูกหน่วยงานกำกับของจีนตรวจสอบ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นบริษัทในฐานะหนึ่งใน Big Four ผู้ตรวจสอบบัญชีชั้นนำระดับโลก

    ขณะนี้บริษัทจึงพยายามอย่างเต็มที่เพื่อรักษาความเชื่อมั่นกับลูกค้ารายใหญ่ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดต่างประเทศ รวมถึงยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตของจีนอย่าง Alibaba และ Tencent โดยการสร้างความมั่นใจว่าบริษัทสามารถดำเนินการตรวจสอบบัญชีประจำปี 2567 ให้เสร็จสิ้นได้ นอกจากนี้ ยังเสนอให้ลูกค้าบางรายทำสัญญาล่วงหน้าเพื่อผูกมัดให้ใช้บริการต่อเนื่องไปจนถึงปี 2568

    ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์

    #Thaitimes
    จีนจ่อแบนบริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (PwC) ในประเทศจีน 6 เดือน ปมตรวจสอบบัญชีบริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป (China Evergrande Group) ยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ประสบภาวะล้มละลายและคดีฉ้อโกง 22 สิงหาคม 2567-รายงานข่าว Financial Times ระบุว่า PwC ประเทศจีน ได้แจ้งลูกค้าว่า มีความเป็นไปได้ที่ทางการจีนจะสั่งปรับเงิน และระงับการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นเวลา 6 เดือน โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้เร็วที่สุดในเดือนกันยายนนี้ หลังมีความผิดในคดีฉ้อโกงครั้งใหญ่ของ Evergrande อดีตผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของจีน การตัดสินบทลงโทษที่รุนแรงครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และดูแลตลาดหลักทรัพย์ของจีน (CSRC) หรือ ก.ล.ต. ตรวจพบความผิดปกติในงบการเงินของ Hengda Real Estate บริษัทลูกของ Evergrande ในเดือนมีนาคม โดยพบว่าบริษัทรายงานรายได้เกินจริง โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นมากผิดปกติที่ 2.13 แสนล้านหยวน หรือครึ่งหนึ่งของรายได้รวมในปี 2562 ในขณะที่ปี 2563 มีรายได้เพิ่มขึ้น 3.5 แสนล้านหยวน หรือ 78.5% ของรายได้รวม นอกจากนี้ยังออกหุ้นกู้โดยอ้างอิงงบการเงินเท็จ โดย PwC ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีขณะนั้น กลับรับรองว่างบการเงินถูกต้อง ซึ่งแสดงว่าบริษัทบกพร่องในการตรวจสอบบัญชี อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น 2 ปีก่อนที่ Evergrande จะผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ต่างประเทศครั้งแรก จนนำมาสู่วิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ฉุดรั้งการเติบโตเศรษฐกิจจีนในปัจจุบัน ทั้งนี้ หากบทลงโทษมีผลบังคับใช้ PwC จะไม่สามารถลงนามรับรองงบการเงิน และการเสนอขายหุ้น IPO รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในบทลงโทษ การถูกแทรกแซงจากหน่วยงานกำกับของจีน ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของบริษัทไม่น้อย โดยข้อมูลล่าสุด ณ เดือนมีนาคม พบว่า PwC เป็นบริษัทตรวจสอบบัญชีที่ได้รับความนิยมในจีนมากที่สุด โดยมีลูกค้าบริษัทจดทะเบียนวางใจใช้บริการมากถึง 110 แห่ง ทั้งนี้ นับตั้งแต่บริษัทถูก ก.ล.ต. จีน สอบสวนในเดือนมีนาคม มีบริษัทอย่างน้อย 50 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงิน ได้ขอให้ PwC ยกเลิกการตรวจสอบบัญชีในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาทำให้ในปีนี้ PwC ประเทศจีน สูญเสียรายได้ทางบัญชีไปแล้วอย่างน้อยสองในสามจากบริษัทจดทะเบียนในจีน เช่น ลูกค้ารายใหญ่อย่าง Bank of China ที่หันไปใช้บริการบริษัทคู่แข่ง EY สำหรับการตรวจสอบบัญชีประจำปี เนื่องจากได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังจีนว่า PwC จะถูกหน่วยงานกำกับของจีนสั่งปรับเงินฐานมีความผิดในคดีฉ้อโกงครั้งใหญ่ของ Evergrande ภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ แม้รายได้จากบริษัทจดทะเบียนและรัฐวิสาหกิจในจีนจะมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมดของ PwC ประเทศจีน แต่การถูกหน่วยงานกำกับของจีนตรวจสอบ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นบริษัทในฐานะหนึ่งใน Big Four ผู้ตรวจสอบบัญชีชั้นนำระดับโลก ขณะนี้บริษัทจึงพยายามอย่างเต็มที่เพื่อรักษาความเชื่อมั่นกับลูกค้ารายใหญ่ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดต่างประเทศ รวมถึงยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตของจีนอย่าง Alibaba และ Tencent โดยการสร้างความมั่นใจว่าบริษัทสามารถดำเนินการตรวจสอบบัญชีประจำปี 2567 ให้เสร็จสิ้นได้ นอกจากนี้ ยังเสนอให้ลูกค้าบางรายทำสัญญาล่วงหน้าเพื่อผูกมัดให้ใช้บริการต่อเนื่องไปจนถึงปี 2568 ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ #Thaitimes
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 504 Views 0 Reviews