• 💸 ภาวะหนี้คนไทย
    .
    บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด รายงาน "ภาวะหนี้ของคนไทย" ที่ #เครดิตบูโร มีการเก็บสถิติประมาณ 33 ล้านราย แบ่งเป็น หนี้ครัวเรือนไทยภาพรวมอยู่ที่ 16.3 ล้านล้านบาท หากแยกหนี้ กยศ. และหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ จะเหลือข้อมูลที่อยู่ในระบบเครดิตบูโรประมาณ 13.4 ล้านล้านบาท
    .
    ซึ่งมูลหนี้จำนวนนี้ครอบคลุมการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน 160 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ และคิดเป็นหนี้เสีย (NPL) 1.1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น หนี้เสียรายบุคคลประมาณ 5 ล้านคน และจำนวน 3.3 ล้านคน เป็นหนี้เสียที่มีมูลหนี้ไม่เกิน 100,000 บาท
    .
    ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ระบุว่า ปัจจุบัน แนวโน้ม #หนี้เสีย ของไทยทรงตัว และอัตราการเติบโตติดลบ 0.5% สาเหตุมาจากสถาบันการเงินไม่มีการปล่อยสินเชื่อเพิ่ม
    .
    ทั้งนี้ หากมาตรการรัฐเข้ามาช่วยสนับสนุน เช่น ขยายระยะเวลามาตรการ #คุณสู้เราช่วย และออกมาตรการแก้หนี้เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นจากสหกรณ์ออมทรัพย์และสถาบันการเงินต่าง ๆ เชื่อว่าจะทำให้แนวโน้มหนี้เสียจะค่อย ๆ ลดลง
    .
    🎬 ชมคลิป www.thaipbs.or.th/program/clip/watch/695QdJ
    💸 ภาวะหนี้คนไทย . บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด รายงาน "ภาวะหนี้ของคนไทย" ที่ #เครดิตบูโร มีการเก็บสถิติประมาณ 33 ล้านราย แบ่งเป็น หนี้ครัวเรือนไทยภาพรวมอยู่ที่ 16.3 ล้านล้านบาท หากแยกหนี้ กยศ. และหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ จะเหลือข้อมูลที่อยู่ในระบบเครดิตบูโรประมาณ 13.4 ล้านล้านบาท . ซึ่งมูลหนี้จำนวนนี้ครอบคลุมการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน 160 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ และคิดเป็นหนี้เสีย (NPL) 1.1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น หนี้เสียรายบุคคลประมาณ 5 ล้านคน และจำนวน 3.3 ล้านคน เป็นหนี้เสียที่มีมูลหนี้ไม่เกิน 100,000 บาท . ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ระบุว่า ปัจจุบัน แนวโน้ม #หนี้เสีย ของไทยทรงตัว และอัตราการเติบโตติดลบ 0.5% สาเหตุมาจากสถาบันการเงินไม่มีการปล่อยสินเชื่อเพิ่ม . ทั้งนี้ หากมาตรการรัฐเข้ามาช่วยสนับสนุน เช่น ขยายระยะเวลามาตรการ #คุณสู้เราช่วย และออกมาตรการแก้หนี้เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นจากสหกรณ์ออมทรัพย์และสถาบันการเงินต่าง ๆ เชื่อว่าจะทำให้แนวโน้มหนี้เสียจะค่อย ๆ ลดลง . 🎬 ชมคลิป www.thaipbs.or.th/program/clip/watch/695QdJ
    0 Comments 0 Shares 63 Views 0 Reviews
  • (มีคลิป) "เชฟกระทะฮ้าง" โวยฉ่ำ! ติดเครดิตบูโรผ่อนมือถือไม่ผ่าน ก่อนฝากปัญหาถึงผู้บริหารแบรนด์โทรศัพท์ ชาวเน็ตงง แบบนี้ก็มีด้วย
    https://www.thai-tai.tv/news/18034/
    (มีคลิป) "เชฟกระทะฮ้าง" โวยฉ่ำ! ติดเครดิตบูโรผ่อนมือถือไม่ผ่าน ก่อนฝากปัญหาถึงผู้บริหารแบรนด์โทรศัพท์ ชาวเน็ตงง แบบนี้ก็มีด้วย https://www.thai-tai.tv/news/18034/
    0 Comments 0 Shares 168 Views 0 Reviews
  • “ทักษิณ” กราบหลวงพ่อพุทธชินราช ขึ้นเวทีพบปะมวลชนเสื้อแดง กลางศึกเลือกตั้งนายกฯนครพิษณุโลก จ้อจะซื้อหนี้ประชาชน ล้างข้อมูลเครดิตบูโรทั้งหมด ใครเป็นหนี้ไม่ต้องชำระ ให้คนเริ่มต้นใหม่ แบบรัฐไม่ต้องใช้เงินแม้แต่บาทเดียว บอกพรรคเพื่อไทย คิดจะทำเหรียญดิจิทัล แต่แบงก์ชาติขวางจนต้องหยุด จวกทหารทำเลอะ เหมือนบ้านพังถึงคานคอดิน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000025566
    “ทักษิณ” กราบหลวงพ่อพุทธชินราช ขึ้นเวทีพบปะมวลชนเสื้อแดง กลางศึกเลือกตั้งนายกฯนครพิษณุโลก จ้อจะซื้อหนี้ประชาชน ล้างข้อมูลเครดิตบูโรทั้งหมด ใครเป็นหนี้ไม่ต้องชำระ ให้คนเริ่มต้นใหม่ แบบรัฐไม่ต้องใช้เงินแม้แต่บาทเดียว บอกพรรคเพื่อไทย คิดจะทำเหรียญดิจิทัล แต่แบงก์ชาติขวางจนต้องหยุด จวกทหารทำเลอะ เหมือนบ้านพังถึงคานคอดิน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000025566
    Like
    Angry
    Sad
    Haha
    Wow
    10
    1 Comments 0 Shares 912 Views 0 Reviews
  • 💥💥ข้อมูลล่าสุดจากเครดิตบูโรเผย
    สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทย ยังวิกฤต
    พบปัจจุบันหนี้ครัวเรือนไทย ทะลุ 13.6 ล้านล้านบาท
    โดยมีหนี้เสียที่มียอดคงค้างเกิน 3 เดือน หรือ NPL
    พุ่งกว่า 1.19 ล้านล้านบาท คิดเป็น 8.7% ของหนี้ทั้งหมด
    ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างไม่เกิน 90 วัน หรือ SM
    ยอดกระโดดเพิ่มขึ้นกว่า 33% ใน 1 เดือน

    🚩เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นความเปราะบางของครัวเรือนไทย
    ในเรื่องภาระหนี้สินในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลไปถึงภาพใหญ่
    คือกำลังซื้อ รวมทั้ง การบริโภคภายในประเทศที่ลดลง

    ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #หนี้ครัวเรือนไทย #thaitimes
    💥💥ข้อมูลล่าสุดจากเครดิตบูโรเผย สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทย ยังวิกฤต พบปัจจุบันหนี้ครัวเรือนไทย ทะลุ 13.6 ล้านล้านบาท โดยมีหนี้เสียที่มียอดคงค้างเกิน 3 เดือน หรือ NPL พุ่งกว่า 1.19 ล้านล้านบาท คิดเป็น 8.7% ของหนี้ทั้งหมด ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างไม่เกิน 90 วัน หรือ SM ยอดกระโดดเพิ่มขึ้นกว่า 33% ใน 1 เดือน 🚩เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นความเปราะบางของครัวเรือนไทย ในเรื่องภาระหนี้สินในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลไปถึงภาพใหญ่ คือกำลังซื้อ รวมทั้ง การบริโภคภายในประเทศที่ลดลง ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #หนี้ครัวเรือนไทย #thaitimes
    0 Comments 0 Shares 1827 Views 0 Reviews
  • ผ่อนปรนจ่ายขั้นต่ำ 8% ลูกหนี้ "ดีที่ไม่ตาย"

    การตัดสินใจผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต (Minimum Pay) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยังคงที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2568 ต้องเข้าสู่เกณฑ์ปกติ 10% ในมุมมองลูกหนี้ถือว่า "ดีที่ไม่ตาย" หลังสถาบันการเงินปรับอัตราจากเดิม 5% ขึ้นเป็น 8% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ทำเอาลูกหนี้แทบปรับตัวไม่ทัน

    ยกตัวอย่างแบบกลมๆ วงเงินบัตรเครดิต 100,000 บาท ใช้เต็มวงเงิน ช่วงโควิด-19 จ่ายขั้นต่ำลดลงมาเหลือประมาณ 5,000 บาท ก่อนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8,000 บาทในปัจจุบัน หากยังคงมาตรการเดิมต่อไป ต้องจ่ายขั้นต่ำสูงถึงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบทำให้ชำระหนี้ได้ลำบากขึ้น

    ย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แบงก์ชาติขอความร่วมมือสถาบันการเงินต่างๆ พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ หนึ่งในนั้นคือปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 10% เหลือ 5% ตั้งแต่ปี 2563 ถึงสิ้นปี 2566 ก่อนขยับมาเป็น 8% ในปีนี้ และมีแผนกลับสู่เกณฑ์ปกติในปีหน้า

    แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศยกเลิกโควิด-19 เป็นโรคอันตรายตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งประเทศได้รับวัคซีนมากกว่า 70% แต่เศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาแม้จะเปลี่ยนรัฐบาล ค่าครองชีพสูงขึ้น ซ้ำด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรัง สินเชื่อบางประเภทที่หยุดเฉพาะเงินต้น แต่ไม่หยุดดอกเบี้ย คนที่เคยเจ็บตัวจากโควิด-19 แทบไม่ฟื้นเป็นปกติ

    เมื่อสถาบันการเงินเลิกใจดีกับผู้ถือบัตรเครดิต ที่มีมากถึง 26 ล้านใบ ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็น 8% ในขณะที่ประชาชนซึ่งบาดเจ็บทางการเงินจากโควิด-19 ยังไม่หายดี หนำซ้ำแบงก์ชาติยังมองโลกสวย คิดว่าส่งผลดีต่อลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ผลก็คือผู้ที่เคยจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ที่ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน จ่ายกันกระอักเลือด

    สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ถึงกับบอกว่า แค่ไตรมาสแรกของปี 2567 หนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 14.6% เป็น 6.4 หมื่นล้านบาท แถมหนี้ที่ต้องจับตาส่อจะเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีก 32.4% เป็น 1.2 หมื่นล้านบาท เมื่อส่องที่มาพบว่ามีแต่คนเจนวาย (เกิดปี 2524-2539) แบกหนี้กันหลังแอ่น

    ขณะที่แบงก์ชาติกลับออกแคมเปญโลกสวยอย่าง "มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง" ให้สถาบันการเงินเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเปราะบางที่มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชำระเงินต้นแล้วเป็นเวลานานกว่า 5 ปี โดยต้องแลกกับการต้องปิดวงเงินของสินเชื่อที่เข้าร่วม เหลือเพียงแค่วงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ทั้งที่ประชาชนยังเจ็บตัวไม่หาย และเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว

    ที่ผ่านมามีความพยายามจากรัฐบาล เฉกเช่นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน มีข้อห่วงใยขอให้แบงก์ชาติพิจารณาปรับลดอัตราการชำระคืนขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับมาที่ 5% เนื่องจากขณะนี้เป็นภาวะที่ประชาชนกำลังยากลำบาก เรื่องวินัยทางการเงินค่อยกลับมาแก้ไขอีกครั้ง นำไปสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน

    แต่สุดท้ายแบงก์ชาติเลือกที่จะใช้มาตรการผ่อนปรน 8% ยาวไปถึงปีหน้า ไม่ได้ปรับลดเหลือ 5% ตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ

    เป็นอีกหนึ่งความเห็นต่างและรอยร้าว ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลเศรษฐา ไม่ต่างจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่แบงก์ชาติคัดค้านตั้งแต่ต้น และยังนับเป็นก้าวที่พลาดของแบงก์ชาติ ที่ดำเนินมาตรการโลกสวย แต่ไม่ดูความเป็นจริงว่า ประชาชนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ท่ามกลางธนาคารพาณิชย์ชั้นนำโชว์ผลประกอบการ ด้วยกำไรหลักหมื่นล้านบาท

    #Newskit #หนี้บัตรเครดิต #ธนาคารแห่งประเทศไทย
    ผ่อนปรนจ่ายขั้นต่ำ 8% ลูกหนี้ "ดีที่ไม่ตาย" การตัดสินใจผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต (Minimum Pay) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยังคงที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2568 ต้องเข้าสู่เกณฑ์ปกติ 10% ในมุมมองลูกหนี้ถือว่า "ดีที่ไม่ตาย" หลังสถาบันการเงินปรับอัตราจากเดิม 5% ขึ้นเป็น 8% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ทำเอาลูกหนี้แทบปรับตัวไม่ทัน ยกตัวอย่างแบบกลมๆ วงเงินบัตรเครดิต 100,000 บาท ใช้เต็มวงเงิน ช่วงโควิด-19 จ่ายขั้นต่ำลดลงมาเหลือประมาณ 5,000 บาท ก่อนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8,000 บาทในปัจจุบัน หากยังคงมาตรการเดิมต่อไป ต้องจ่ายขั้นต่ำสูงถึงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบทำให้ชำระหนี้ได้ลำบากขึ้น ย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แบงก์ชาติขอความร่วมมือสถาบันการเงินต่างๆ พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ หนึ่งในนั้นคือปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 10% เหลือ 5% ตั้งแต่ปี 2563 ถึงสิ้นปี 2566 ก่อนขยับมาเป็น 8% ในปีนี้ และมีแผนกลับสู่เกณฑ์ปกติในปีหน้า แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศยกเลิกโควิด-19 เป็นโรคอันตรายตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งประเทศได้รับวัคซีนมากกว่า 70% แต่เศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาแม้จะเปลี่ยนรัฐบาล ค่าครองชีพสูงขึ้น ซ้ำด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรัง สินเชื่อบางประเภทที่หยุดเฉพาะเงินต้น แต่ไม่หยุดดอกเบี้ย คนที่เคยเจ็บตัวจากโควิด-19 แทบไม่ฟื้นเป็นปกติ เมื่อสถาบันการเงินเลิกใจดีกับผู้ถือบัตรเครดิต ที่มีมากถึง 26 ล้านใบ ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็น 8% ในขณะที่ประชาชนซึ่งบาดเจ็บทางการเงินจากโควิด-19 ยังไม่หายดี หนำซ้ำแบงก์ชาติยังมองโลกสวย คิดว่าส่งผลดีต่อลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ผลก็คือผู้ที่เคยจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ที่ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน จ่ายกันกระอักเลือด สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ถึงกับบอกว่า แค่ไตรมาสแรกของปี 2567 หนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 14.6% เป็น 6.4 หมื่นล้านบาท แถมหนี้ที่ต้องจับตาส่อจะเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีก 32.4% เป็น 1.2 หมื่นล้านบาท เมื่อส่องที่มาพบว่ามีแต่คนเจนวาย (เกิดปี 2524-2539) แบกหนี้กันหลังแอ่น ขณะที่แบงก์ชาติกลับออกแคมเปญโลกสวยอย่าง "มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง" ให้สถาบันการเงินเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเปราะบางที่มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชำระเงินต้นแล้วเป็นเวลานานกว่า 5 ปี โดยต้องแลกกับการต้องปิดวงเงินของสินเชื่อที่เข้าร่วม เหลือเพียงแค่วงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ทั้งที่ประชาชนยังเจ็บตัวไม่หาย และเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว ที่ผ่านมามีความพยายามจากรัฐบาล เฉกเช่นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน มีข้อห่วงใยขอให้แบงก์ชาติพิจารณาปรับลดอัตราการชำระคืนขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับมาที่ 5% เนื่องจากขณะนี้เป็นภาวะที่ประชาชนกำลังยากลำบาก เรื่องวินัยทางการเงินค่อยกลับมาแก้ไขอีกครั้ง นำไปสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน แต่สุดท้ายแบงก์ชาติเลือกที่จะใช้มาตรการผ่อนปรน 8% ยาวไปถึงปีหน้า ไม่ได้ปรับลดเหลือ 5% ตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ เป็นอีกหนึ่งความเห็นต่างและรอยร้าว ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลเศรษฐา ไม่ต่างจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่แบงก์ชาติคัดค้านตั้งแต่ต้น และยังนับเป็นก้าวที่พลาดของแบงก์ชาติ ที่ดำเนินมาตรการโลกสวย แต่ไม่ดูความเป็นจริงว่า ประชาชนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ท่ามกลางธนาคารพาณิชย์ชั้นนำโชว์ผลประกอบการ ด้วยกำไรหลักหมื่นล้านบาท #Newskit #หนี้บัตรเครดิต #ธนาคารแห่งประเทศไทย
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 1126 Views 0 Reviews