• ทักษิณขออภัยกรณีตากใบ อ้างทำงานผิดพลาด

    นับเป็นการลงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบประมาณ 20 ปี สำหรับนายทักษิณ ชินวัตร ที่ปรึกษานายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียน เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2568 นายทักษิณพร้อมด้วย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และคณะ เดินทางมายังโรงเรียนสัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส

    ช่วงหนึ่งนายทักษิณได้กล่าวกับคณะครูและประชาชนที่มาต้อนรับว่า ขออภัยต่อความผิดพลาดในเหตุการณ์ตากใบ แล้วต่อมานายทักษิณให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า "เรื่องตากใบ ตอนผมเป็นนายกฯ ผมมีความตั้งใจห่วงใยพี่น้อง 100% แต่การทำงานมีความผิดพลาดได้บ้าง ถ้าผมมีอะไรผิดพลาด ที่ไม่เป็นที่พอใจ ก็ขออภัยด้วย เพื่อเราจะได้หันกลับมาช่วยกันแก้ปัญหาด้วยกัน พี่น้องมุสลิมมีสิ่งที่สำคัญมาก ถูกสอนมาว่า ความเข้าใจ เกรงใจ รักสันติสุข การให้อภัย เพราะฉะนั้นเมื่อเราขออภัยในสิ่งที่ผมอาจจะทำสิ่งที่ไม่ถูกใจหรือผิดพลาดบ้าง ผมต้องขออภัยด้วย"

    สำหรับเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรตากใบ จ.นราธิวาส เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 ชาวบ้านกว่า 2,000 คน รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวมุสลิม 6 คน ที่ถูกควบคุมตัวโดยกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปล้นปืนและก่อความไม่สงบ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมเสียชีวิตทันที 5 คน ที่เหลือนอนทับซ้อนกันในรถบรรทุกทหารไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี ห่างออกไป 150 กิโลเมตร มีผู้ชุมนุมขาดอากาศหายใจ เสียชีวิต 78 คน บาดเจ็บและพิการอีกมาก

    สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการตั้ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นคณะกรรมการเยียวยาฯ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. จ่ายเงินเยียวยากว่า 641 ล้านบาท ผู้เสียชีวิตจ่ายรายละ 7.5 ล้านบาท ผู้บาดเจ็บ ผู้พิการได้รับลดหลั่นกันไป แต่ต่อมาในปี 2567 มีครอบครัวผู้เสียชีวิต 48 รายพร้อมญาติยื่นฟ้องคดีด้วยเอง ศาลประทับรับฟ้องเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2567 และออกหมายจับผู้ต้องหา 7 คน พบว่าแต่ละคนหลบหนี โดยเฉพาะ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ยื่นใบลาออกจาก สส. กระทั่งคดีขาดอายุความ หลังเที่ยงคืนวันที่ 26 ต.ค. 2567 ที่ผ่านมา

    ก่อนหน้านี้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ไปสัมภาษณ์ครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บกรณีตากใบ ระบุว่า พวกเขาต้องการได้ยินคำขอโทษจากนายทักษิณ และทวงถามความยุติธรรม แม้คดีขาดอายุความไปแล้ว

    #Newskit
    ทักษิณขออภัยกรณีตากใบ อ้างทำงานผิดพลาด นับเป็นการลงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบประมาณ 20 ปี สำหรับนายทักษิณ ชินวัตร ที่ปรึกษานายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียน เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2568 นายทักษิณพร้อมด้วย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และคณะ เดินทางมายังโรงเรียนสัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ช่วงหนึ่งนายทักษิณได้กล่าวกับคณะครูและประชาชนที่มาต้อนรับว่า ขออภัยต่อความผิดพลาดในเหตุการณ์ตากใบ แล้วต่อมานายทักษิณให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า "เรื่องตากใบ ตอนผมเป็นนายกฯ ผมมีความตั้งใจห่วงใยพี่น้อง 100% แต่การทำงานมีความผิดพลาดได้บ้าง ถ้าผมมีอะไรผิดพลาด ที่ไม่เป็นที่พอใจ ก็ขออภัยด้วย เพื่อเราจะได้หันกลับมาช่วยกันแก้ปัญหาด้วยกัน พี่น้องมุสลิมมีสิ่งที่สำคัญมาก ถูกสอนมาว่า ความเข้าใจ เกรงใจ รักสันติสุข การให้อภัย เพราะฉะนั้นเมื่อเราขออภัยในสิ่งที่ผมอาจจะทำสิ่งที่ไม่ถูกใจหรือผิดพลาดบ้าง ผมต้องขออภัยด้วย" สำหรับเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรตากใบ จ.นราธิวาส เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 ชาวบ้านกว่า 2,000 คน รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวมุสลิม 6 คน ที่ถูกควบคุมตัวโดยกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปล้นปืนและก่อความไม่สงบ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมเสียชีวิตทันที 5 คน ที่เหลือนอนทับซ้อนกันในรถบรรทุกทหารไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี ห่างออกไป 150 กิโลเมตร มีผู้ชุมนุมขาดอากาศหายใจ เสียชีวิต 78 คน บาดเจ็บและพิการอีกมาก สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการตั้ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นคณะกรรมการเยียวยาฯ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. จ่ายเงินเยียวยากว่า 641 ล้านบาท ผู้เสียชีวิตจ่ายรายละ 7.5 ล้านบาท ผู้บาดเจ็บ ผู้พิการได้รับลดหลั่นกันไป แต่ต่อมาในปี 2567 มีครอบครัวผู้เสียชีวิต 48 รายพร้อมญาติยื่นฟ้องคดีด้วยเอง ศาลประทับรับฟ้องเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2567 และออกหมายจับผู้ต้องหา 7 คน พบว่าแต่ละคนหลบหนี โดยเฉพาะ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ยื่นใบลาออกจาก สส. กระทั่งคดีขาดอายุความ หลังเที่ยงคืนวันที่ 26 ต.ค. 2567 ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ไปสัมภาษณ์ครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บกรณีตากใบ ระบุว่า พวกเขาต้องการได้ยินคำขอโทษจากนายทักษิณ และทวงถามความยุติธรรม แม้คดีขาดอายุความไปแล้ว #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 49 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกีประกาศพร้อมลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีของยูเครนหากสิ่งนั้นจำเป็นเพื่อสันติภาพ และสามารถแลกกับเข้านาโต้ได้ เพื่อรับประกันความปลอดภัยให้กับยูเครน
    เซเลนสกีประกาศพร้อมลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีของยูเครนหากสิ่งนั้นจำเป็นเพื่อสันติภาพ และสามารถแลกกับเข้านาโต้ได้ เพื่อรับประกันความปลอดภัยให้กับยูเครน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 73 มุมมอง 8 0 รีวิว
  • ปัตตานี – “ทักษิณ” พร้อมคณะลงพื้นที่โรงเรียนสอนศาสนา จ.ปัตตานี หาแนวทางแก้ปัญหาและการพัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดอกขออภัยกับเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต เชื่อชายแดนใต้จะกลับไปสู่สันติสุข

    วันนี้ (23 ก.พ.) ที่ รร.สายบุรีอิสลามวิทยา อ.สายบุรี จ.ปัตตานี นายทักษิณ ชินวัตร ที่ปรึกษาประธานอาเซียน พร้อมกับ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กระทรวงกลาโหม และ พ.ต.อ ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม พร้อมคณะ ในโอกาสเป็นตัวแทนรัฐบาลเดินหน้าหาแนวทางแก้ปัญหาและการพัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมี นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี หัวหน้าส่วนราชการ นายนิเดร์ วาบา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ภาคประชาสังคมและประชาชน นักเรียนให้การต้อนรับกว่า 1,000 คน บรรยากาศเต็มไปด้วยความยิ้มแย้ม เด็กนักเรียนทั้งหญิงและชายต่างขอถ่ายรูปเซลฟี่กันอย่างหนาแน่น

    โดยการลงมาเยือนชายแดนใต้ครั้งนี้ มีวาระประเด็นสำคัญว่า มีแนวคิดอ้างอิงจาก “โมเดล 66/2523” ซึ่งเคยใช้แนวทาง “นิรโทษกรรม” ต่ออดีตผู้ก่อความไม่สงบในช่วงหลังเหตุการณ์ 6ตุลาคม 2519 จะกลับมาใช้อีกครั้งหรือไม่ ซึ่งกำลังดำเนินการทำรายละเอียด ทางสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ย้ำว่าแนวทางใหม่นี้จะไม่ใช่การนิรโทษกรรมโดยตรง แต่จะมีหลักเกณฑ์ชัดเจน และใช้แนวคิด “การเมืองนำการทหาร” ในการดำเนินการ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/south/detail/9680000017889

    #MGROnline #ปัตตานี #ทักษิณ
    ปัตตานี – “ทักษิณ” พร้อมคณะลงพื้นที่โรงเรียนสอนศาสนา จ.ปัตตานี หาแนวทางแก้ปัญหาและการพัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดอกขออภัยกับเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต เชื่อชายแดนใต้จะกลับไปสู่สันติสุข • วันนี้ (23 ก.พ.) ที่ รร.สายบุรีอิสลามวิทยา อ.สายบุรี จ.ปัตตานี นายทักษิณ ชินวัตร ที่ปรึกษาประธานอาเซียน พร้อมกับ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กระทรวงกลาโหม และ พ.ต.อ ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม พร้อมคณะ ในโอกาสเป็นตัวแทนรัฐบาลเดินหน้าหาแนวทางแก้ปัญหาและการพัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมี นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี หัวหน้าส่วนราชการ นายนิเดร์ วาบา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ภาคประชาสังคมและประชาชน นักเรียนให้การต้อนรับกว่า 1,000 คน บรรยากาศเต็มไปด้วยความยิ้มแย้ม เด็กนักเรียนทั้งหญิงและชายต่างขอถ่ายรูปเซลฟี่กันอย่างหนาแน่น • โดยการลงมาเยือนชายแดนใต้ครั้งนี้ มีวาระประเด็นสำคัญว่า มีแนวคิดอ้างอิงจาก “โมเดล 66/2523” ซึ่งเคยใช้แนวทาง “นิรโทษกรรม” ต่ออดีตผู้ก่อความไม่สงบในช่วงหลังเหตุการณ์ 6ตุลาคม 2519 จะกลับมาใช้อีกครั้งหรือไม่ ซึ่งกำลังดำเนินการทำรายละเอียด ทางสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ย้ำว่าแนวทางใหม่นี้จะไม่ใช่การนิรโทษกรรมโดยตรง แต่จะมีหลักเกณฑ์ชัดเจน และใช้แนวคิด “การเมืองนำการทหาร” ในการดำเนินการ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/south/detail/9680000017889 • #MGROnline #ปัตตานี #ทักษิณ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 72 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ทักษิณ” พร้อมคณะลงพื้นที่โรงเรียนสอนศาสนา จ.ปัตตานี หาแนวทางแก้ปัญหาและการพัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดอกขออภัยกับเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต เชื่อชายแดนใต้จะกลับไปสู่สันติสุข

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000017889

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “ทักษิณ” พร้อมคณะลงพื้นที่โรงเรียนสอนศาสนา จ.ปัตตานี หาแนวทางแก้ปัญหาและการพัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดอกขออภัยกับเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต เชื่อชายแดนใต้จะกลับไปสู่สันติสุข อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000017889 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 199 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกีโพสต์ข้อความพร้อมคลิปวิดีโอโอดครวญว่า รัสเซียโจมตีครั้งใหญ่อีกครั้งก่อนถึงวันครบรอบ 3 ปี ของการบุกโจมตียูเครน

    "รัสเซียส่งโดรนโจมตียูเครนมากถึง 267 ลำ ซึ่งถือเป็นการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่โดรนเริ่มใช้โดรนของอิหร่านในยูเครน

    แค่เฉพาะในสัปดาห์นี้ โดรนเกือบ 1,150 ลำ ระเบิดทางอากาศนำวิถีกว่า 1,400 ลูก และขีปนาวุธ 35 ลูก ที่รัสเซีใช้โจมตีดินแดนของยูเครน

    เราต้องทำทุกวิถีทางเพื่อนำสันติภาพที่ยั่งยืนและยุติธรรมมาสู่ยูเครน เราสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ผ่านความสามัคคีของพันธมิตรทั้งหมด เราต้องการพลังจากทั้งยุโรป พลังจากอเมริกา และพลังจากทุกคนที่แสวงหาสันติภาพที่ยั่งยืน"

    เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 เป็นวันแรกที่รัสเซียเริ่มบุกยูเครน เพื่อปลดปล่อยดินแดนในสี่ภูมิภาคที่ต้องการแยกตัวออกจากยูเครน

    เซเลนสกีโพสต์ข้อความพร้อมคลิปวิดีโอโอดครวญว่า รัสเซียโจมตีครั้งใหญ่อีกครั้งก่อนถึงวันครบรอบ 3 ปี ของการบุกโจมตียูเครน "รัสเซียส่งโดรนโจมตียูเครนมากถึง 267 ลำ ซึ่งถือเป็นการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่โดรนเริ่มใช้โดรนของอิหร่านในยูเครน แค่เฉพาะในสัปดาห์นี้ โดรนเกือบ 1,150 ลำ ระเบิดทางอากาศนำวิถีกว่า 1,400 ลูก และขีปนาวุธ 35 ลูก ที่รัสเซีใช้โจมตีดินแดนของยูเครน เราต้องทำทุกวิถีทางเพื่อนำสันติภาพที่ยั่งยืนและยุติธรรมมาสู่ยูเครน เราสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ผ่านความสามัคคีของพันธมิตรทั้งหมด เราต้องการพลังจากทั้งยุโรป พลังจากอเมริกา และพลังจากทุกคนที่แสวงหาสันติภาพที่ยั่งยืน" เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 เป็นวันแรกที่รัสเซียเริ่มบุกยูเครน เพื่อปลดปล่อยดินแดนในสี่ภูมิภาคที่ต้องการแยกตัวออกจากยูเครน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 151 มุมมอง 25 0 รีวิว
  • "ทักษิณ" เผยลงพื้นที่ จชต.สวม 3 บทบาท ทั้งอดีตนายก-ที่ปรึกษา ปธ.อาเซียน-ผู้สนับสนุนรัฐบาล อยากเห็นสันติสุขเกิดขึ้น เตรียมนำปัญหาคนสองสัญชาติเข้าหารือเวทีอาเซียน พร้อมนำแนวทาง 66/23 มาปรับใช้ ยอมรับ 20 ปีผ่านไปความปรองดองฟื้นฟูขึ้นเยอะ ยิ่งได้ประสานงานกับต่างประเทศด้วยมั่นใจว่าหาข้อยุติได้ เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

    วันนี้ (23 ก.พ. 68) ที่ รร.สัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาประธานอาเซียน ให้สัมภาษณ์ถึงการลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้ว่า มีความตั้งใจที่อยากเห็นสันติสุขเกิดขึ้น ซึ่งจากบทบาทที่ปรึกษาประธานอาเซียน นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ตนเองอยากเห็นความร่วมมือในพื้นที่และความร่วมมือประเทศเพื่อนบ้านเป็นหัวใจสำคัญ ในการคืนสันติสุขให้กับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ซึ่งในพื้นที่เราต้องมีการพูดคุยกันให้เข้าใจ ตนเองได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้นำประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลาย ซึ่งก็ได้มีการพูดคุยกันอย่างต่อเนื่องทุกคนอยากเห็นประเทศไทยและอยากเห็นอาเซียนมีความสงบสุข และได้มีการลงทุน การท่องเที่ยวกันมากขึ้น ฉะนั้นทุกคนร่วมมือกันหมด ซึ่งการร่วมมือตนเองมีความรู้สึกว่าเป็นการร่วมมือที่ไม่เคยได้รับมาก่อนเหมือนครั้งนี้เชื่อมั่นว่าเราน่าจะแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ดีกว่าจากความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000017865

    #MGROnline #ทักษิณ
    "ทักษิณ" เผยลงพื้นที่ จชต.สวม 3 บทบาท ทั้งอดีตนายก-ที่ปรึกษา ปธ.อาเซียน-ผู้สนับสนุนรัฐบาล อยากเห็นสันติสุขเกิดขึ้น เตรียมนำปัญหาคนสองสัญชาติเข้าหารือเวทีอาเซียน พร้อมนำแนวทาง 66/23 มาปรับใช้ ยอมรับ 20 ปีผ่านไปความปรองดองฟื้นฟูขึ้นเยอะ ยิ่งได้ประสานงานกับต่างประเทศด้วยมั่นใจว่าหาข้อยุติได้ เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ • วันนี้ (23 ก.พ. 68) ที่ รร.สัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาประธานอาเซียน ให้สัมภาษณ์ถึงการลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้ว่า มีความตั้งใจที่อยากเห็นสันติสุขเกิดขึ้น ซึ่งจากบทบาทที่ปรึกษาประธานอาเซียน นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ตนเองอยากเห็นความร่วมมือในพื้นที่และความร่วมมือประเทศเพื่อนบ้านเป็นหัวใจสำคัญ ในการคืนสันติสุขให้กับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ซึ่งในพื้นที่เราต้องมีการพูดคุยกันให้เข้าใจ ตนเองได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้นำประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลาย ซึ่งก็ได้มีการพูดคุยกันอย่างต่อเนื่องทุกคนอยากเห็นประเทศไทยและอยากเห็นอาเซียนมีความสงบสุข และได้มีการลงทุน การท่องเที่ยวกันมากขึ้น ฉะนั้นทุกคนร่วมมือกันหมด ซึ่งการร่วมมือตนเองมีความรู้สึกว่าเป็นการร่วมมือที่ไม่เคยได้รับมาก่อนเหมือนครั้งนี้เชื่อมั่นว่าเราน่าจะแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ดีกว่าจากความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000017865 • #MGROnline #ทักษิณ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 74 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ทักษิณ" เผยลงพื้นที่ จชต.สวม 3 บทบาท ทั้งอดีตนายก-ที่ปรึกษา ปธ.อาเซียน-ผู้สนับสนุนรัฐบาล อยากเห็นสันติสุขเกิดขึ้น เตรียมนำปัญหาคนสองสัญชาติเข้าหารือเวทีอาเซียน พร้อมนำแนวทาง 66/23 มาปรับใช้ ยอมรับ 20 ปีผ่านไปความปรองดองฟื้นฟูขึ้นเยอะ ยิ่งได้ประสานงานกับต่างประเทศด้วยมั่นใจว่าหาข้อยุติได้ เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000017865

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    "ทักษิณ" เผยลงพื้นที่ จชต.สวม 3 บทบาท ทั้งอดีตนายก-ที่ปรึกษา ปธ.อาเซียน-ผู้สนับสนุนรัฐบาล อยากเห็นสันติสุขเกิดขึ้น เตรียมนำปัญหาคนสองสัญชาติเข้าหารือเวทีอาเซียน พร้อมนำแนวทาง 66/23 มาปรับใช้ ยอมรับ 20 ปีผ่านไปความปรองดองฟื้นฟูขึ้นเยอะ ยิ่งได้ประสานงานกับต่างประเทศด้วยมั่นใจว่าหาข้อยุติได้ เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000017865 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Haha
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 258 มุมมอง 0 รีวิว
  • "อี้ แทนคุณ" พา 5 ผู้เสียหายถูก "ฟิล์ม รัฐภูมิ" ตบทรัพย์เข้าพบ "บิ๊กเต่า"ให้ข้อมูลพิจารณาเอาผิดข้อหาฉ้อโกงเป็นปกติธุระ ส่วน "ดีเจแมน-ใบเตย" ยังไม่พร้อมเข้าพบตำรวจ

    วันนี้ (21 ก.พ.) เมื่อเวลา 12.30 น. นายแทนคุณ หรืออี้ จิตต์อิสระ ประธานชมรมสันติประชาธรรม นำผู้เสียหายใน 5 คดีที่เชื่อมโยงกับ นายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ หรือฟิล์ม รัฐภูมิ ดารานักแสดง เรียกรับผลประโยชน์และแอบอ้างช่วยวิ่งเต้นคดีให้เดินทางเข้าพบ พล.ต.ท.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รอง ผบช.ก. เพื่อให้ข้อมูลหลักฐานกับพนักงานสอบสวนนำไปพิจารณาประกอบสำนวนคดี

    นายแทนคุณ กล่าวว่า วันนี้พาผู้เสียหายจากทั้ง 5 คดีที่เชื่อมโยงกับฟิล์ม รัฐภูมิ เข้าให้ข้อมูลหลักฐานกับ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ เพื่อให้พิจารณาหาความเชื่อมโยงกับคดีเดิม และบุคคลดังกล่าวมีพฤติการณ์ซ้ำ ๆ เพื่อพิจารณาหลักฐานตรงนี้ว่าจะสามารถดำเนินคดีกับ นายฟิล์ม ในข้อหาฉ้อโกงเป็นปกติธุระได้หรือไม่ โดยเฉพาะกรณีของดีเจแมนและใบเตย ตนเองได้มีการพูดคุยมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งพบว่าทั้งคู่มีหลักฐานเป็นเส้นทางการเงิน ที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเงินดังกล่าวออกจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง มูลค่าหลักสิบล้านขึ้นไป รวมทั้งคลิปเสียงสนทนาระหว่างดีเจแมน ใบเตยและบุคคลที่สาม ขณะที่เป็นผู้ต้องหาอยู่ระหว่างต่อสู้คดี ซึ่งได้มีบุคคลเข้ามาติดต่อโดยอ้างว่ารู้จักกับผู้ใหญ่ โดยได้มีการเปิดวิดีโอคอลโทรศัพท์ให้เห็นว่าอยู่กับผู้ใหญ่ในสถานที่นั้นจริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ก่อนจะมีการเรียกรับผลประโยชน์จากดีเจแมนและใบเตยคนละ 7 ล้านบาท รวม 14 ล้านบาท

    คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000017337

    #MGROnline #อี้แทนคุณ #ฟิล์มรัฐภูมิ #ตบทรัพย์ #บิ๊กเต่า #ข้อหาฉ้อโกงเป็นปกติธุระ
    "อี้ แทนคุณ" พา 5 ผู้เสียหายถูก "ฟิล์ม รัฐภูมิ" ตบทรัพย์เข้าพบ "บิ๊กเต่า"ให้ข้อมูลพิจารณาเอาผิดข้อหาฉ้อโกงเป็นปกติธุระ ส่วน "ดีเจแมน-ใบเตย" ยังไม่พร้อมเข้าพบตำรวจ • วันนี้ (21 ก.พ.) เมื่อเวลา 12.30 น. นายแทนคุณ หรืออี้ จิตต์อิสระ ประธานชมรมสันติประชาธรรม นำผู้เสียหายใน 5 คดีที่เชื่อมโยงกับ นายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ หรือฟิล์ม รัฐภูมิ ดารานักแสดง เรียกรับผลประโยชน์และแอบอ้างช่วยวิ่งเต้นคดีให้เดินทางเข้าพบ พล.ต.ท.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รอง ผบช.ก. เพื่อให้ข้อมูลหลักฐานกับพนักงานสอบสวนนำไปพิจารณาประกอบสำนวนคดี • นายแทนคุณ กล่าวว่า วันนี้พาผู้เสียหายจากทั้ง 5 คดีที่เชื่อมโยงกับฟิล์ม รัฐภูมิ เข้าให้ข้อมูลหลักฐานกับ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ เพื่อให้พิจารณาหาความเชื่อมโยงกับคดีเดิม และบุคคลดังกล่าวมีพฤติการณ์ซ้ำ ๆ เพื่อพิจารณาหลักฐานตรงนี้ว่าจะสามารถดำเนินคดีกับ นายฟิล์ม ในข้อหาฉ้อโกงเป็นปกติธุระได้หรือไม่ โดยเฉพาะกรณีของดีเจแมนและใบเตย ตนเองได้มีการพูดคุยมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งพบว่าทั้งคู่มีหลักฐานเป็นเส้นทางการเงิน ที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเงินดังกล่าวออกจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง มูลค่าหลักสิบล้านขึ้นไป รวมทั้งคลิปเสียงสนทนาระหว่างดีเจแมน ใบเตยและบุคคลที่สาม ขณะที่เป็นผู้ต้องหาอยู่ระหว่างต่อสู้คดี ซึ่งได้มีบุคคลเข้ามาติดต่อโดยอ้างว่ารู้จักกับผู้ใหญ่ โดยได้มีการเปิดวิดีโอคอลโทรศัพท์ให้เห็นว่าอยู่กับผู้ใหญ่ในสถานที่นั้นจริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ก่อนจะมีการเรียกรับผลประโยชน์จากดีเจแมนและใบเตยคนละ 7 ล้านบาท รวม 14 ล้านบาท • คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000017337 • #MGROnline #อี้แทนคุณ #ฟิล์มรัฐภูมิ #ตบทรัพย์ #บิ๊กเต่า #ข้อหาฉ้อโกงเป็นปกติธุระ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 329 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจดี แวนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐ โจมตีเซเลนสกีอีกครั้งที่พยายามทำลายข้อตกลงสันติภาพครั้งนี้:

    ประเทศของเขาคงอยู่ไม่ได้หากปราศจากความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา เขาควรจะกล่าวคำว่า "ขอบคุณ" และถ้าเค้ามีอะไรที่ไม่เห็นด้วยกับเรา ก็แค่ยกหูโทรศัพท์แล้วโทรมา

    การพูดจาใส่ร้ายทรัมป์ต่อหน้าสื่อทั่วยุโรป มันเป็นการดูหมิ่นไม่ให้เกียรติทรัมป์ ดูหมิ่นผม และยังดูหมิ่นชาวอเมริกันอีกด้วย ซึ่งเป็นวิธีการที่โง่มาก

    อย่างไรก็ตาม เรื่องเหล่านี้มันไม่สามารถไม่เปลี่ยนใจทรัมป์ได้ และเซเลนสกีต้องการที่ปรึกษาที่ดีกว่านี้
    เจดี แวนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐ โจมตีเซเลนสกีอีกครั้งที่พยายามทำลายข้อตกลงสันติภาพครั้งนี้: ประเทศของเขาคงอยู่ไม่ได้หากปราศจากความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา เขาควรจะกล่าวคำว่า "ขอบคุณ" และถ้าเค้ามีอะไรที่ไม่เห็นด้วยกับเรา ก็แค่ยกหูโทรศัพท์แล้วโทรมา การพูดจาใส่ร้ายทรัมป์ต่อหน้าสื่อทั่วยุโรป มันเป็นการดูหมิ่นไม่ให้เกียรติทรัมป์ ดูหมิ่นผม และยังดูหมิ่นชาวอเมริกันอีกด้วย ซึ่งเป็นวิธีการที่โง่มาก อย่างไรก็ตาม เรื่องเหล่านี้มันไม่สามารถไม่เปลี่ยนใจทรัมป์ได้ และเซเลนสกีต้องการที่ปรึกษาที่ดีกว่านี้
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 462 มุมมอง 17 0 รีวิว
  • คีร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษเตรียมเสนอแผนส่งทหารรักษาสันติภาพจากยุโรป 30,000 นายไปประจำการในยูเครน

    ภูมิภาคโปลตาวา (Poltava) ครีฟยีรีห์ (Kryvyi Rih) และดนิโปรเปตรอฟสค์ (Dnipropetrovsk) จะถูกใช้เป็นฐานทัพหลักของกองกำลังยุโรปเหล่านี้

    นอกจากนี้ จะถูกส่งไปประจำการตามเมืองท่าต่างๆในยูเครน รวมทั้งสถานที่ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอื่นๆ เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่จะไม่มีการส่งไปประจำการอยู่ที่แนวหน้า
    คีร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษเตรียมเสนอแผนส่งทหารรักษาสันติภาพจากยุโรป 30,000 นายไปประจำการในยูเครน ภูมิภาคโปลตาวา (Poltava) ครีฟยีรีห์ (Kryvyi Rih) และดนิโปรเปตรอฟสค์ (Dnipropetrovsk) จะถูกใช้เป็นฐานทัพหลักของกองกำลังยุโรปเหล่านี้ นอกจากนี้ จะถูกส่งไปประจำการตามเมืองท่าต่างๆในยูเครน รวมทั้งสถานที่ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอื่นๆ เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่จะไม่มีการส่งไปประจำการอยู่ที่แนวหน้า
    Haha
    1
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 223 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์"
    ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ
    .
    ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ?
    .
    ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!”
    .
    การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว
    .
    สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ
    .
    ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM)
    .
    ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?"
    .
    จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป
    "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ
    .
    นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน
    .
    "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง
    .
    ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ
    • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ
    • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม
    • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂
    • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว
    • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555
    • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา
    รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด
    • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด
    .
    สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ . ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ? . ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!” . การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว . สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ . ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM) . ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?" . จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ . นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน . "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง . ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂 • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555 • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด . สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    Haha
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 507 มุมมอง 0 รีวิว
  • รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Vance เตือนเซเรนสกี้จะต้องเสียใจ หาก"ปากเสีย"ใส่ทรัมป์

    เจดี แวนซ์เตือนเซเลนสกีว่าอย่าพูดโจมตีทรัมป์ ชี้การ "ปากเสีย" ต่อหน้าจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง
    เมื่อวันพุธที่ผ่านมา รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ได้เตือนประธานาธิบดียูเครนว่าอย่าโจมตีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยกล่าวว่าการ "พูดให้ร้าย" ต่อสาธารณะจะส่งผลเสียกลับมาหาตัวเอง

    แวนซ์ให้สัมภาษณ์กับ DailyMail.com ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน กล่าวหาว่าทรัมป์กำลังตกอยู่ใน "แวดวงข่าวปลอมที่รัสเซียสร้างขึ้น"

    คำพูดที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญของสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะที่ทรัมป์ผลักดันให้มีการยุติสงครามโดยเร็ว

    "ความคิดที่ว่าเซเลนสกีจะสามารถเปลี่ยนใจประธานาธิบดีทรัมป์ได้ด้วยการปากเสียใส่เขาผ่านสื่อสาธารณะ—ทุกคนที่รู้จักประธานาธิบดีจะบอกคุณว่านั่นเป็นวิธีที่เลวร้ายมากในการจัดการกับรัฐบาลชุดนี้" แวนซ์กล่าวระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษที่สำนักงานของเขาในทำเนียบขาว

    ขณะเดียวกัน ทรัมป์ก็ออกมาโจมตีเซเลนสกีผ่านแพลตฟอร์ม Truth Social
    "เผด็จการที่ไม่มีการเลือกตั้ง เซเลนสกีควรเร่งมือให้ไว ไม่อย่างนั้นเขาอาจไม่มีประเทศเหลืออีกต่อไป" ทรัมป์โพสต์
    เหตุการณ์นี้ถือเป็นการล่มสลายของความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันและเคียฟอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

    แวนซ์กล่าวว่า เซเลนสกีได้รับ "คำแนะนำที่ผิดพลาด" เกี่ยวกับวิธีจัดการกับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ และในช่วงสามปีที่ผ่านมา เขาถูกทำให้เชื่อว่าเขาจะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีผลกระทบ

    "แน่นอนว่าเรารักประชาชนชาวยูเครน เราชื่นชมความกล้าหาญของทหารยูเครน แต่เราก็เห็นว่าสงครามนี้จำเป็นต้องจบลงโดยเร็ว" แวนซ์กล่าวต่อ

    "นี่คือแนวทางของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มันไม่ได้อิงอยู่กับข่าวลวงของรัสเซีย แต่มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ มีความรู้เกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์มาก และมีมุมมองที่ชัดเจนมาเป็นเวลานาน"

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์ได้เริ่มต้นความพยายามผลักดันสันติภาพครั้งใหม่ผ่านการพูดคุยทางโทรศัพท์เป็นเวลา 90 นาที กับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย

    เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในเคียฟ เนื่องจากมีความกังวลว่ายูเครนอาจถูกกันออกจากข้อตกลง ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เริ่มวางแนวทางเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงการเสนอว่ายูเครนอาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม NATO

    https://web.facebook.com/share/p/161bqe2t3S/
    รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Vance เตือนเซเรนสกี้จะต้องเสียใจ หาก"ปากเสีย"ใส่ทรัมป์ เจดี แวนซ์เตือนเซเลนสกีว่าอย่าพูดโจมตีทรัมป์ ชี้การ "ปากเสีย" ต่อหน้าจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง เมื่อวันพุธที่ผ่านมา รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ได้เตือนประธานาธิบดียูเครนว่าอย่าโจมตีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยกล่าวว่าการ "พูดให้ร้าย" ต่อสาธารณะจะส่งผลเสียกลับมาหาตัวเอง แวนซ์ให้สัมภาษณ์กับ DailyMail.com ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน กล่าวหาว่าทรัมป์กำลังตกอยู่ใน "แวดวงข่าวปลอมที่รัสเซียสร้างขึ้น" คำพูดที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญของสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะที่ทรัมป์ผลักดันให้มีการยุติสงครามโดยเร็ว "ความคิดที่ว่าเซเลนสกีจะสามารถเปลี่ยนใจประธานาธิบดีทรัมป์ได้ด้วยการปากเสียใส่เขาผ่านสื่อสาธารณะ—ทุกคนที่รู้จักประธานาธิบดีจะบอกคุณว่านั่นเป็นวิธีที่เลวร้ายมากในการจัดการกับรัฐบาลชุดนี้" แวนซ์กล่าวระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษที่สำนักงานของเขาในทำเนียบขาว ขณะเดียวกัน ทรัมป์ก็ออกมาโจมตีเซเลนสกีผ่านแพลตฟอร์ม Truth Social "เผด็จการที่ไม่มีการเลือกตั้ง เซเลนสกีควรเร่งมือให้ไว ไม่อย่างนั้นเขาอาจไม่มีประเทศเหลืออีกต่อไป" ทรัมป์โพสต์ เหตุการณ์นี้ถือเป็นการล่มสลายของความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันและเคียฟอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แวนซ์กล่าวว่า เซเลนสกีได้รับ "คำแนะนำที่ผิดพลาด" เกี่ยวกับวิธีจัดการกับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ และในช่วงสามปีที่ผ่านมา เขาถูกทำให้เชื่อว่าเขาจะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีผลกระทบ "แน่นอนว่าเรารักประชาชนชาวยูเครน เราชื่นชมความกล้าหาญของทหารยูเครน แต่เราก็เห็นว่าสงครามนี้จำเป็นต้องจบลงโดยเร็ว" แวนซ์กล่าวต่อ "นี่คือแนวทางของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มันไม่ได้อิงอยู่กับข่าวลวงของรัสเซีย แต่มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ มีความรู้เกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์มาก และมีมุมมองที่ชัดเจนมาเป็นเวลานาน" เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์ได้เริ่มต้นความพยายามผลักดันสันติภาพครั้งใหม่ผ่านการพูดคุยทางโทรศัพท์เป็นเวลา 90 นาที กับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในเคียฟ เนื่องจากมีความกังวลว่ายูเครนอาจถูกกันออกจากข้อตกลง ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เริ่มวางแนวทางเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงการเสนอว่ายูเครนอาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม NATO https://web.facebook.com/share/p/161bqe2t3S/
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 286 มุมมอง 0 รีวิว
  • Elon Musk อัด Volodymyr Zelenskyy ผู้นำยูเครนแบบจุกๆ สามดอกเน้นๆ
    .
    ผู้ใช้รายหนึ่งบนแพลตฟอร์ม X เขียนว่า "Zelenskyy ไม่ต้องการสันติภาพ เขาต้องการเงินและอำนาจ"
    ซึ่ง Musk ตอบกลับด้วยอีโมจิ "100" เพื่อแสดงถึงความเห็นด้วย
    .
    ต่อมาเขาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแถลงการณ์ของประธานาธิบดี Zelenskyy ยูเครนว่าคะแนนความนิยมของเขาอยู่ที่ 57%
    Musk โพสต์ข้อความตอบกลับว่า "ถ้าอย่างนั้น เขาคงดีใจกับความคิดที่จะมีการเลือกตั้ง ถ้าเขาเป็นที่นิยมขนาดนั้น!"
    .
    ปิดท้ายด้วยการตอบกลับข้อความความของ Rapid Response 47 ที่ว่า
    "ในอเมริกา เราจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุก 4 ปี แม้แต่ในยามสงคราม
    เราจัดการเลือกตั้งระหว่างสงครามกลางเมือง
    เราจัดการเลือกตั้งระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
    ก่อนที่ประธานาธิบดี Zelenskyy จะมาสั่งสอนประธานาธิบดีอเมริกันอีก เขาควรจัดการเลือกตั้งด้วย"
    Musk สนับสนุนว่า "Zelenskyy ไม่สามารถอ้างว่าเป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของประชาชนยูเครนได้ ถ้าไม่ฟื้นฟูเสรีภาพสื่อและยังคงยกเลิกการเลือกตั้ง!"
    พรุ่งนี้ถ้า Elon Musk จะเดินไปปิด Starlink ของยูเครนก็คงไม่แปลกใจแล้วล่ะ
    Elon Musk อัด Volodymyr Zelenskyy ผู้นำยูเครนแบบจุกๆ สามดอกเน้นๆ . ผู้ใช้รายหนึ่งบนแพลตฟอร์ม X เขียนว่า "Zelenskyy ไม่ต้องการสันติภาพ เขาต้องการเงินและอำนาจ" ซึ่ง Musk ตอบกลับด้วยอีโมจิ "100" เพื่อแสดงถึงความเห็นด้วย . ต่อมาเขาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแถลงการณ์ของประธานาธิบดี Zelenskyy ยูเครนว่าคะแนนความนิยมของเขาอยู่ที่ 57% Musk โพสต์ข้อความตอบกลับว่า "ถ้าอย่างนั้น เขาคงดีใจกับความคิดที่จะมีการเลือกตั้ง ถ้าเขาเป็นที่นิยมขนาดนั้น!" . ปิดท้ายด้วยการตอบกลับข้อความความของ Rapid Response 47 ที่ว่า "ในอเมริกา เราจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุก 4 ปี แม้แต่ในยามสงคราม เราจัดการเลือกตั้งระหว่างสงครามกลางเมือง เราจัดการเลือกตั้งระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนที่ประธานาธิบดี Zelenskyy จะมาสั่งสอนประธานาธิบดีอเมริกันอีก เขาควรจัดการเลือกตั้งด้วย" Musk สนับสนุนว่า "Zelenskyy ไม่สามารถอ้างว่าเป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของประชาชนยูเครนได้ ถ้าไม่ฟื้นฟูเสรีภาพสื่อและยังคงยกเลิกการเลือกตั้ง!" พรุ่งนี้ถ้า Elon Musk จะเดินไปปิด Starlink ของยูเครนก็คงไม่แปลกใจแล้วล่ะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 189 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์โพสต์ถึงเซเลนสกีแรงมาก!!!

    ▪️ ทรัมป์เรียกเซเลนสกีว่า “ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยในฐานะนักแสดงตลก” ไม่มีความสามารถแก้ไขความขัดแย้งในยูเครนได้ แต่สหรัฐก็ยังให้เงินเขา

    ▪️ ทรัมป์ยังเรียกเซเลนสกีว่า “เผด็จการที่ไม่เอาการเลือกตั้ง” และกล่าวหาว่าเซเลนสกีปฏิเสธที่จะจัดการเลือกตั้ง

    ▪️ ทรัมป์ยังกล่าวอีกว่าหากไม่มีสหรัฐเข้าช่วย เซเลนสกี “จะไม่มีวัน” ได้เจรจาสันติภาพกับรัสเซียอย่างแน่นอน

    ▪️ ทรัมป์กล่าวหาเซเลนสกีว่า เป็นฝ่ายลากสหรัฐเข้าสู่สงครามที่ “ไม่มีทางชนะได้”

    ▪️ เซเลนสกีทำตามที่ไบเดนมอบบทบาทให้ทุกอย่าง และปัจจุบันปฏิเสธที่จะลงแข่งขันการเลือกตั้งเนื่องจากคะแนนนิยมต่ำ

    ▪️ และยังโจมตีเซเลนสกีว่าต้องการดำเนินความขัดแย้งกับรัสเซียต่อไปเพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทนด้านการเงิน

    ทรัมป์เน้นย้ำว่า ไม่สนใจว่าเซเลนสกีจะตัดสินใจเรื่องเจรจาอย่างไร แต่รัฐบาลของเขาจะดำเนินการต่อไปจนกว่าการ “เจรจาจะประสบความสำเร็จ” กับรัสเซียในการยุติความขัดแย้งในยูเครน

    ทรัมป์โพสต์ถึงเซเลนสกีแรงมาก!!! ▪️ ทรัมป์เรียกเซเลนสกีว่า “ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยในฐานะนักแสดงตลก” ไม่มีความสามารถแก้ไขความขัดแย้งในยูเครนได้ แต่สหรัฐก็ยังให้เงินเขา ▪️ ทรัมป์ยังเรียกเซเลนสกีว่า “เผด็จการที่ไม่เอาการเลือกตั้ง” และกล่าวหาว่าเซเลนสกีปฏิเสธที่จะจัดการเลือกตั้ง ▪️ ทรัมป์ยังกล่าวอีกว่าหากไม่มีสหรัฐเข้าช่วย เซเลนสกี “จะไม่มีวัน” ได้เจรจาสันติภาพกับรัสเซียอย่างแน่นอน ▪️ ทรัมป์กล่าวหาเซเลนสกีว่า เป็นฝ่ายลากสหรัฐเข้าสู่สงครามที่ “ไม่มีทางชนะได้” ▪️ เซเลนสกีทำตามที่ไบเดนมอบบทบาทให้ทุกอย่าง และปัจจุบันปฏิเสธที่จะลงแข่งขันการเลือกตั้งเนื่องจากคะแนนนิยมต่ำ ▪️ และยังโจมตีเซเลนสกีว่าต้องการดำเนินความขัดแย้งกับรัสเซียต่อไปเพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทนด้านการเงิน ทรัมป์เน้นย้ำว่า ไม่สนใจว่าเซเลนสกีจะตัดสินใจเรื่องเจรจาอย่างไร แต่รัฐบาลของเขาจะดำเนินการต่อไปจนกว่าการ “เจรจาจะประสบความสำเร็จ” กับรัสเซียในการยุติความขัดแย้งในยูเครน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 213 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ของกัมพูชา ได้เรียกร้องให้แก้ปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับปราสาทขอมที่เป็นข้อพิพาทในบริเวณพื้นที่ชายแดนที่อ่อนไหวกับไทยอย่างสันติ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000016660

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ของกัมพูชา ได้เรียกร้องให้แก้ปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับปราสาทขอมที่เป็นข้อพิพาทในบริเวณพื้นที่ชายแดนที่อ่อนไหวกับไทยอย่างสันติ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000016660 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Angry
    Like
    Love
    5
    4 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 784 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์รู้ดีว่า หากไม่เร่งให้มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครน การเจรจาสันติภาพ อาจเกิดการสะดุดจนไปต่อไม่ได้ เพราะเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ปูตินตั้งไว้

    นอกจากตำแหน่งประธานาธิบดีที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับของยูเครนที่เซเลนสกีลงนามไว้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเจรจา ซึ่งยูเครนต้องการ "ประธานาธิบดีตัวจริง" เพื่อยกเลิกกฎหมายเหล่านี้ เช่น:

    - เมื่อปี 2022 เซเลนสกี ลงนามคำสั่งห้ามการเจรจากับสหพันธรัฐรัสเซียตราบใดที่วลาดิมีร์ ปูตินยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย นั่นเท่ากับว่า ยูเครนจะไม่สามารถเจรจากับปูตินได้จนกว่าจะถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2030

    - นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการห้ามการเจรจากับรัสเซีย เช่น คำสั่งประกาศให้รัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย คำสั่งตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมทั้งหมดกับรัสเซีย การประกาศใช้กฎหมายของยูเครนกับประเทศที่ไม่เป็นมิตร
    ทรัมป์รู้ดีว่า หากไม่เร่งให้มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครน การเจรจาสันติภาพ อาจเกิดการสะดุดจนไปต่อไม่ได้ เพราะเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ปูตินตั้งไว้ นอกจากตำแหน่งประธานาธิบดีที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับของยูเครนที่เซเลนสกีลงนามไว้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเจรจา ซึ่งยูเครนต้องการ "ประธานาธิบดีตัวจริง" เพื่อยกเลิกกฎหมายเหล่านี้ เช่น: - เมื่อปี 2022 เซเลนสกี ลงนามคำสั่งห้ามการเจรจากับสหพันธรัฐรัสเซียตราบใดที่วลาดิมีร์ ปูตินยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย นั่นเท่ากับว่า ยูเครนจะไม่สามารถเจรจากับปูตินได้จนกว่าจะถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2030 - นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการห้ามการเจรจากับรัสเซีย เช่น คำสั่งประกาศให้รัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย คำสั่งตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมทั้งหมดกับรัสเซีย การประกาศใช้กฎหมายของยูเครนกับประเทศที่ไม่เป็นมิตร
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 212 มุมมอง 0 รีวิว
  • Trump แถลงผลการเจรจากับรัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย พร้อมกดดันให้ยูเครนจัดการเลือกตั้ง

    ประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุว่ายูเครนจำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ แม้ว่าเซเลนสกีจะมีคะแนนนิยมเหลือเพียง 4% พร้อมกับวิจารณ์ว่ายูเครนไม่ควรเริ่มสงครามตั้งแต่แรก และควรทำ “ข้อตกลง” กับรัสเซียให้เสร็จสิ้น ตั้งแต่ที่รัสเซียเริ่มการบุกเมื่อปี 2022 แล้ว

    นอกจากนี้ ทรัมป์ยังแสดงความ "ไม่พอใจอย่างมาก" ต่อการกระทำของไบเดน ที่สนบัสนุนยูเครน โดยยืนยันอีกครั้งว่าหากเขาเป็นประธานาธิบดีตอนนั้น สงครามจะ "ไม่เกิดขึ้น" และสามารถ "ช่วยชีวิตคนนับล้าน" และยังป้องกันสงครามโลกครั้งที่ 3 ไว้อีกด้วย

    ทรัมป์ยังวิจารณ์สหภาพยุโรปที่ไม่ทำอะไรเลยเพื่อยุติสงครามและทำข้อตกลงสันติภาพในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะช่วยรักษาดินแดนยูเครนและชีวิตผู้คนไว้ได้

    "ที่ผ่านมา 3 ปี พวกคุณอยู่ไหน? ไม่จำเป็นต้องเริ่มเรื่องนี้ เลยเวลาทำข้อตกลงมานานแล้ว" ทรัมป์ฝากคำถามไปถึงประเทศที่ไม่พอใจที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมเจรจาที่ซาอุฯ

    ทรัมป์ยังทวงเงินความช่วยเหลือของสหรัฐต่อเซเลนสกี ว่าความช่วยเหลือจากอเมริกากว่า 350,000 ล้านดอลลาร์ตอนนี้มันไปอยู่ที่ไหน "เงินทั้งหมดอยู่ไหน ไม่มีใครรู้ ยูเครนจะต้องจ่ายหรือต้องหาให้เจอว่าเงินไปไหน"
    Trump แถลงผลการเจรจากับรัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย พร้อมกดดันให้ยูเครนจัดการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุว่ายูเครนจำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ แม้ว่าเซเลนสกีจะมีคะแนนนิยมเหลือเพียง 4% พร้อมกับวิจารณ์ว่ายูเครนไม่ควรเริ่มสงครามตั้งแต่แรก และควรทำ “ข้อตกลง” กับรัสเซียให้เสร็จสิ้น ตั้งแต่ที่รัสเซียเริ่มการบุกเมื่อปี 2022 แล้ว นอกจากนี้ ทรัมป์ยังแสดงความ "ไม่พอใจอย่างมาก" ต่อการกระทำของไบเดน ที่สนบัสนุนยูเครน โดยยืนยันอีกครั้งว่าหากเขาเป็นประธานาธิบดีตอนนั้น สงครามจะ "ไม่เกิดขึ้น" และสามารถ "ช่วยชีวิตคนนับล้าน" และยังป้องกันสงครามโลกครั้งที่ 3 ไว้อีกด้วย ทรัมป์ยังวิจารณ์สหภาพยุโรปที่ไม่ทำอะไรเลยเพื่อยุติสงครามและทำข้อตกลงสันติภาพในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะช่วยรักษาดินแดนยูเครนและชีวิตผู้คนไว้ได้ "ที่ผ่านมา 3 ปี พวกคุณอยู่ไหน? ไม่จำเป็นต้องเริ่มเรื่องนี้ เลยเวลาทำข้อตกลงมานานแล้ว" ทรัมป์ฝากคำถามไปถึงประเทศที่ไม่พอใจที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมเจรจาที่ซาอุฯ ทรัมป์ยังทวงเงินความช่วยเหลือของสหรัฐต่อเซเลนสกี ว่าความช่วยเหลือจากอเมริกากว่า 350,000 ล้านดอลลาร์ตอนนี้มันไปอยู่ที่ไหน "เงินทั้งหมดอยู่ไหน ไม่มีใครรู้ ยูเครนจะต้องจ่ายหรือต้องหาให้เจอว่าเงินไปไหน"
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 300 มุมมอง 16 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย
    .
    ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
    .
    ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี
    .
    "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว
    .
    "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน"
    .
    เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม
    .
    การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก
    .
    นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย
    .
    ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน
    .
    "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว"
    .
    การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก
    .
    ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย
    .
    แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก
    .
    เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย . ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน . ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี . "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว . "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน" . เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม . การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก . นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย . ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน . "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว" . การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก . ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย . แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก . เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367 .............. Sondhi X
    Haha
    Like
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2004 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย
    .
    ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
    .
    อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก
    .
    ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย
    .
    รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว
    .
    การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า
    .
    ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา
    .
    “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน”
    .
    ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง
    .
    ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    .
    ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่
    .
    บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย
    .
    การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน
    .
    รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย
    .
    การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา
    .
    เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ
    .
    โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น
    .
    รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ
    .
    คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน
    .
    ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น
    .
    บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง
    .
    ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย . ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น . อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก . ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย . รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว . การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า . ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา . “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน” . ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง . ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ . ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่ . บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย . การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน . รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย . การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา . เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ . โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น . รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ . คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน . ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น . บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง . ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2046 มุมมอง 0 รีวิว
  • พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน
    .
    ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ
    .
    บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย
    .
    มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้
    .
    ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน
    .
    ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน
    .
    กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้
    .
    ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว
    .
    อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ
    .
    มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน
    .
    นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน . ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ . บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย . มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้ . ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน . ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง . สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน . กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้ . ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่ . สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว . อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ . มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน . นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2004 มุมมอง 0 รีวิว
  • แหล่งข่าวทางการทูตต่างประเทศหลายแห่งที่ใกล้ชิดกับการเจรจาระบุว่ามีการกำหนดแผนสันติภาพ 3 ขั้นตอนกว้างๆไว้ดังนี้:

    1: การหยุดยิง
    2: กำหนดให้มีการเลือกตั้งในยูเครน และทรัมป์ต้องพร้อมยอมรับผลการเลือกตั้ง
    3: หลังจากนั้นจะเข้าสู่ข้อตกลงในขั้นสุดท้าย
    แหล่งข่าวทางการทูตต่างประเทศหลายแห่งที่ใกล้ชิดกับการเจรจาระบุว่ามีการกำหนดแผนสันติภาพ 3 ขั้นตอนกว้างๆไว้ดังนี้: 1: การหยุดยิง 2: กำหนดให้มีการเลือกตั้งในยูเครน และทรัมป์ต้องพร้อมยอมรับผลการเลือกตั้ง 3: หลังจากนั้นจะเข้าสู่ข้อตกลงในขั้นสุดท้าย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 182 มุมมอง 0 รีวิว
  • 25 ปี "โคบอลต์-60" รั่วไหล สมุทรปราการผวา รังสีที่คร่าชีวิต 3 ศพ เจ็บ 7 ราย หายนะร้านรับซื้อของเก่า

    📅 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เป็นวันที่สร้างความตื่นตระหนก ให้กับประเทศไทย เมื่อเกิดอุบัติเหตุรังสีรั่วไหล จากสารโคบอลต์-60 ที่สมุทรปราการ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บอีก 7 ราย หลายคนได้รับผลกระทบ จากรังสีแกมมาที่ร้ายแรงที่สุด ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ

    แม้เหตุการณ์นี้จะผ่านมา 25 ปี แต่ยังเป็นบทเรียนสำคัญ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการจัดเก็บ และกำจัดสารกัมมันตรังสี 🛑

    🔥 จุดเริ่มต้นของหายนะ สารรังสีหลุดจากการควบคุม
    เหตุการณ์เริ่มต้นจากการที่ บริษัทกมลสุโกศล อิเล็คทริค จำกัด ได้รับซื้อเครื่องฉายรังสี "โคบอลต์-60" ที่หมดอายุ จากโรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อปี 2537 โดยเก็บไว้ที่โกดังของบริษัท

    ต่อมาในปี 2542 บริษัทได้เคลื่อนย้ายเครื่องฉายรังสี ไปยังลานจอดรถร้าง ย่านซอยอ่อนนุช กรุงเทพฯ โดยไม่มีมาตรการ รักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอ 😱

    นี่กลายเป็นช่องโหว่สำคัญ ที่ทำให้มีคนลักลอบ นำเครื่องฉายรังสีไปขายเป็นเศษเหล็ก โดยไม่รู้ว่าภายในนั้นมี "โคบอลต์-60" ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี ที่สามารถปล่อยรังสีแกมมา ในระดับอันตราย 🚨

    🚨 เส้นทางของสารกัมมันตรังสี จากซาเล้งสู่ร้านรับซื้อของเก่า
    🛒 24 มกราคม 2543 นายจิตรเสน จันทร์สาขา ซึ่งมีอาชีพเก็บของเก่า ได้รับซื้อเศษเหล็กปริศนา มาจากกลุ่มที่ลักลอบนำไปขาย

    📍 1 กุมภาพันธ์ 2543 นายจิตรเสนนำชิ้นส่วนโลหะ ไปขายให้ ร้านรับซื้อของเก่า "สมจิตร" ในซอยวัดมหาวงษ์ ตำบลสำโรง อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ

    🔧 ขณะที่พยายามตัดแยกชิ้นส่วน ลูกจ้าง 2 คนของร้านรับซื้อของเก่า ใช้เครื่องตัดเหล็กแบบแก๊ส ผ่าออก พบแท่งโลหะ 2 ชิ้น และมีควันสีเหลือง ที่มีกลิ่นเหม็นออกมา โดยไม่รู้เลยว่านั่นคือ สารกัมมันตรังสี ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต! ☢️

    ☢️ ผลกระทบจากรังสี โรครังสีเฉียบพลัน
    🔬 15-17 กุมภาพันธ์ 2543 ผู้ที่สัมผัสรังสีเริ่มมีอาการรุนแรง เช่น
    ✅ อ่อนเพลีย
    ✅ มือบวมพอง
    ✅ แผลไหม้พุพอง
    ✅ เม็ดเลือดขาวต่ำ
    ✅ ผมร่วง

    18 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อแพทย์พบว่า ผู้ป่วยทั้งหมดมีอาการคล้ายกัน จึงสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากการได้รับรังสีรุนแรง และแจ้งไปยัง สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.)

    🏥 การเสียชีวิตจากรังสีแกมมา
    📅 9 มีนาคม 2543 นายนิพนธ์ พันธุ์ขันธ์ ลูกจ้างร้านรับซื้อของเก่า เสียชีวิตเป็นรายแรก จากการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากเม็ดเลือดขาว ถูกทำลายจากรังสี

    📅 18 มีนาคม 2543 นายสุดใจ ใจเร็ว ลูกจ้างอีกคน เสียชีวิตจากภาวะเดียวกัน

    📅 24 มีนาคม 2543 สามีของนางสมจิตร เจ้าของร้านรับซื้อของเก่า เสียชีวิตเป็นรายที่ 3

    📌 แม้นายจิตรเสน จะรอดชีวิตมาได้ แต่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในไอซียู และถูกตัดนิ้วมือ ที่ได้รับรังสีสูง

    นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์รายหนึ่งที่ได้รับรังสี ต้องทำแท้ง เนื่องจากความเสี่ยงที่รังสี จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์

    ⚖️ คดีความ
    ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ได้รวมตัวกันฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จากรัฐและเอกชน

    📌 คดีศาลปกครอง ศาลสูงสุดพิพากษา ให้สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) จ่ายค่าสินไหมทดแทน 5.2 ล้านบาท

    📌 คดีศาลแพ่ง ศาลฎีกาพิพากษาให้ บริษัทกมลสุโกศล อิเล็คทริค จำกัด จ่ายค่าเสียหาย 529,276 บาท

    แต่ท้ายที่สุด บริษัทไม่ได้รับผิดชอบต่อประชาชน ตามที่กล่าวอ้าง

    ❗ บทเรียนจากโศกนาฏกรรม
    🔹 การขาดมาตรการจัดเก็บที่ปลอดภัย ทำให้สารกัมมันตรังสี รั่วไหลออกจากการควบคุม

    🔹 การขาดความรู้ของประชาชน ทำให้มีคนสัมผัสสารรังสีโดยไม่รู้ตัว

    🔹 ความล่าช้าในการจัดการของรัฐ ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรง

    แม้ว่าประเทศไทยจะมี สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นหน่วยงานกำกับดูแล แต่การขาดการบังคับใช้กฎหมาย อย่างเคร่งครัด ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น

    📌 เหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้นอีก
    25 ปีผ่านไป เหตุการณ์ โคบอลต์-60 รั่วไหล ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่า ความประมาท และการละเลยมาตรฐานความปลอดภัย ด้านกัมมันตรังสี อาจนำไปสู่หายนะร้ายแรง

    📢 มาตรการป้องกันที่ควรมี
    ✅ การจัดเก็บสารกัมมันตรังสี ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
    ✅ การตรวจสอบของหน่วยงานรัฐ ที่เคร่งครัด
    ✅ การให้ความรู้เกี่ยวกับ อันตรายของสารรังสีแก่ประชาชน
    ✅ การจัดการกากกัมมันตรังสีที่ถูกต้อง

    หากไม่มีการปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้ อุบัติเหตุจากรังสี อาจเกิดขึ้นซ้ำได้ทุกเมื่อ ☢️

    📢 คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
    1. โคบอลต์-60 คืออะไร?
    โคบอลต์-60 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่ใช้ในทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม แต่สามารถปล่อยรังสีแกมมา ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

    2. รังสีแกมมา ทำอันตรายต่อร่างกายอย่างไร?
    รังสีแกมมา สามารถทำลายเซลล์ในร่างกาย ส่งผลให้เกิดมะเร็ง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ผิวหนังไหม้ และอวัยวะล้มเหลว

    3. เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบ ต่อกฎหมายไทยอย่างไร?
    เหตุการณ์นี้ นำไปสู่การปรับปรุง มาตรการควบคุมสารกัมมันตรังสี ให้เข้มงวดมากขึ้น แต่ยังมีข้อบกพร่อง ในการบังคับใช้

    4. ประเทศไทยมีมาตรการป้องกัน อุบัติเหตุรังสีหรือไม่?
    มีสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) กำกับดูแล แต่การบังคับใช้กฎหมาย ยังขาดความเข้มงวด

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181220 ก.พ. 2568

    #️⃣ #โคบอลต์60 #สมุทรปราการ #รังสีรั่วไหล #ภัยรังสี #ความปลอดภัย #พลังงานปรมาณู #อันตรายจากรังสี #รังสีแกมมา #ข่าวดัง #บทเรียนจากอดีต 🚨
    25 ปี "โคบอลต์-60" รั่วไหล สมุทรปราการผวา รังสีที่คร่าชีวิต 3 ศพ เจ็บ 7 ราย หายนะร้านรับซื้อของเก่า 📅 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เป็นวันที่สร้างความตื่นตระหนก ให้กับประเทศไทย เมื่อเกิดอุบัติเหตุรังสีรั่วไหล จากสารโคบอลต์-60 ที่สมุทรปราการ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บอีก 7 ราย หลายคนได้รับผลกระทบ จากรังสีแกมมาที่ร้ายแรงที่สุด ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ แม้เหตุการณ์นี้จะผ่านมา 25 ปี แต่ยังเป็นบทเรียนสำคัญ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการจัดเก็บ และกำจัดสารกัมมันตรังสี 🛑 🔥 จุดเริ่มต้นของหายนะ สารรังสีหลุดจากการควบคุม เหตุการณ์เริ่มต้นจากการที่ บริษัทกมลสุโกศล อิเล็คทริค จำกัด ได้รับซื้อเครื่องฉายรังสี "โคบอลต์-60" ที่หมดอายุ จากโรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อปี 2537 โดยเก็บไว้ที่โกดังของบริษัท ต่อมาในปี 2542 บริษัทได้เคลื่อนย้ายเครื่องฉายรังสี ไปยังลานจอดรถร้าง ย่านซอยอ่อนนุช กรุงเทพฯ โดยไม่มีมาตรการ รักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอ 😱 นี่กลายเป็นช่องโหว่สำคัญ ที่ทำให้มีคนลักลอบ นำเครื่องฉายรังสีไปขายเป็นเศษเหล็ก โดยไม่รู้ว่าภายในนั้นมี "โคบอลต์-60" ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี ที่สามารถปล่อยรังสีแกมมา ในระดับอันตราย 🚨 🚨 เส้นทางของสารกัมมันตรังสี จากซาเล้งสู่ร้านรับซื้อของเก่า 🛒 24 มกราคม 2543 นายจิตรเสน จันทร์สาขา ซึ่งมีอาชีพเก็บของเก่า ได้รับซื้อเศษเหล็กปริศนา มาจากกลุ่มที่ลักลอบนำไปขาย 📍 1 กุมภาพันธ์ 2543 นายจิตรเสนนำชิ้นส่วนโลหะ ไปขายให้ ร้านรับซื้อของเก่า "สมจิตร" ในซอยวัดมหาวงษ์ ตำบลสำโรง อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ 🔧 ขณะที่พยายามตัดแยกชิ้นส่วน ลูกจ้าง 2 คนของร้านรับซื้อของเก่า ใช้เครื่องตัดเหล็กแบบแก๊ส ผ่าออก พบแท่งโลหะ 2 ชิ้น และมีควันสีเหลือง ที่มีกลิ่นเหม็นออกมา โดยไม่รู้เลยว่านั่นคือ สารกัมมันตรังสี ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต! ☢️ ☢️ ผลกระทบจากรังสี โรครังสีเฉียบพลัน 🔬 15-17 กุมภาพันธ์ 2543 ผู้ที่สัมผัสรังสีเริ่มมีอาการรุนแรง เช่น ✅ อ่อนเพลีย ✅ มือบวมพอง ✅ แผลไหม้พุพอง ✅ เม็ดเลือดขาวต่ำ ✅ ผมร่วง 18 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อแพทย์พบว่า ผู้ป่วยทั้งหมดมีอาการคล้ายกัน จึงสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากการได้รับรังสีรุนแรง และแจ้งไปยัง สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) 🏥 การเสียชีวิตจากรังสีแกมมา 📅 9 มีนาคม 2543 นายนิพนธ์ พันธุ์ขันธ์ ลูกจ้างร้านรับซื้อของเก่า เสียชีวิตเป็นรายแรก จากการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากเม็ดเลือดขาว ถูกทำลายจากรังสี 📅 18 มีนาคม 2543 นายสุดใจ ใจเร็ว ลูกจ้างอีกคน เสียชีวิตจากภาวะเดียวกัน 📅 24 มีนาคม 2543 สามีของนางสมจิตร เจ้าของร้านรับซื้อของเก่า เสียชีวิตเป็นรายที่ 3 📌 แม้นายจิตรเสน จะรอดชีวิตมาได้ แต่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในไอซียู และถูกตัดนิ้วมือ ที่ได้รับรังสีสูง นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์รายหนึ่งที่ได้รับรังสี ต้องทำแท้ง เนื่องจากความเสี่ยงที่รังสี จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ⚖️ คดีความ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ได้รวมตัวกันฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จากรัฐและเอกชน 📌 คดีศาลปกครอง ศาลสูงสุดพิพากษา ให้สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) จ่ายค่าสินไหมทดแทน 5.2 ล้านบาท 📌 คดีศาลแพ่ง ศาลฎีกาพิพากษาให้ บริษัทกมลสุโกศล อิเล็คทริค จำกัด จ่ายค่าเสียหาย 529,276 บาท แต่ท้ายที่สุด บริษัทไม่ได้รับผิดชอบต่อประชาชน ตามที่กล่าวอ้าง ❗ บทเรียนจากโศกนาฏกรรม 🔹 การขาดมาตรการจัดเก็บที่ปลอดภัย ทำให้สารกัมมันตรังสี รั่วไหลออกจากการควบคุม 🔹 การขาดความรู้ของประชาชน ทำให้มีคนสัมผัสสารรังสีโดยไม่รู้ตัว 🔹 ความล่าช้าในการจัดการของรัฐ ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรง แม้ว่าประเทศไทยจะมี สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นหน่วยงานกำกับดูแล แต่การขาดการบังคับใช้กฎหมาย อย่างเคร่งครัด ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น 📌 เหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้นอีก 25 ปีผ่านไป เหตุการณ์ โคบอลต์-60 รั่วไหล ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่า ความประมาท และการละเลยมาตรฐานความปลอดภัย ด้านกัมมันตรังสี อาจนำไปสู่หายนะร้ายแรง 📢 มาตรการป้องกันที่ควรมี ✅ การจัดเก็บสารกัมมันตรังสี ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ✅ การตรวจสอบของหน่วยงานรัฐ ที่เคร่งครัด ✅ การให้ความรู้เกี่ยวกับ อันตรายของสารรังสีแก่ประชาชน ✅ การจัดการกากกัมมันตรังสีที่ถูกต้อง หากไม่มีการปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้ อุบัติเหตุจากรังสี อาจเกิดขึ้นซ้ำได้ทุกเมื่อ ☢️ 📢 คำถามที่พบบ่อย (FAQs) 1. โคบอลต์-60 คืออะไร? โคบอลต์-60 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่ใช้ในทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม แต่สามารถปล่อยรังสีแกมมา ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ 2. รังสีแกมมา ทำอันตรายต่อร่างกายอย่างไร? รังสีแกมมา สามารถทำลายเซลล์ในร่างกาย ส่งผลให้เกิดมะเร็ง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ผิวหนังไหม้ และอวัยวะล้มเหลว 3. เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบ ต่อกฎหมายไทยอย่างไร? เหตุการณ์นี้ นำไปสู่การปรับปรุง มาตรการควบคุมสารกัมมันตรังสี ให้เข้มงวดมากขึ้น แต่ยังมีข้อบกพร่อง ในการบังคับใช้ 4. ประเทศไทยมีมาตรการป้องกัน อุบัติเหตุรังสีหรือไม่? มีสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) กำกับดูแล แต่การบังคับใช้กฎหมาย ยังขาดความเข้มงวด ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181220 ก.พ. 2568 #️⃣ #โคบอลต์60 #สมุทรปราการ #รังสีรั่วไหล #ภัยรังสี #ความปลอดภัย #พลังงานปรมาณู #อันตรายจากรังสี #รังสีแกมมา #ข่าวดัง #บทเรียนจากอดีต 🚨
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 304 มุมมอง 0 รีวิว
  • การประชุมฉุกเฉินของประธานาธิบดีมาครงแห่งฝรั่งเศส ดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่เด็กเล่นขายของ

    - การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีเลขาธิการนาโต้ นายกรัฐมนตรีจากอังกฤษ เดนมาร์ก สเปน โปแลนด์ และอิตาลี รวมถึงนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีเข้าร่วมด้วย

    - สำนักข่าวหลายแห่งรายงานพร้อมเพรียงกันก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้นว่า นี่เป็นความหวังเดียวของเซเลนสกี ที่จะทำให้เขายืนหยัดในการทำสงครามกับรัสเซียต่อไปได้

    - แต่หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ ออกมากล่าวว่า ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยูเครนในการประชุมสุดยอดฉุกเฉินครั้งนี้

    - "การประชุมดังกล่าวยังไม่มีผลในการตัดสินใจ เนื่องจากองค์กรนี้ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจผูกมัดหรือตัดสินใจขั้นสุดท้ายได้" ทัสก์กล่าวในการแถลงข่าว

    - สำหรับชอลซ์ กล่าวไว้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนการเริ่มประชุมแล้วว่า เบอร์ลินจะไม่ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปยังยูเครน จนกว่าสหรัฐฯ จะรับปากดำเนินการแบบเดียวกันกับกองกำลังของตนเอง

    - มีเพียงอังกฤษเท่านั้น ที่แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าพร้อมพิจารณาส่งกองกำลังเข้าสู่ยูเครน แต่ก็มีเงื่อนไขว่า เพื่อเป็นการปกป้องยูเครน และต้องหลังสงครามสิ้นสุดลงเท่านั้น!
    การประชุมฉุกเฉินของประธานาธิบดีมาครงแห่งฝรั่งเศส ดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่เด็กเล่นขายของ - การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีเลขาธิการนาโต้ นายกรัฐมนตรีจากอังกฤษ เดนมาร์ก สเปน โปแลนด์ และอิตาลี รวมถึงนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีเข้าร่วมด้วย - สำนักข่าวหลายแห่งรายงานพร้อมเพรียงกันก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้นว่า นี่เป็นความหวังเดียวของเซเลนสกี ที่จะทำให้เขายืนหยัดในการทำสงครามกับรัสเซียต่อไปได้ - แต่หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ ออกมากล่าวว่า ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยูเครนในการประชุมสุดยอดฉุกเฉินครั้งนี้ - "การประชุมดังกล่าวยังไม่มีผลในการตัดสินใจ เนื่องจากองค์กรนี้ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจผูกมัดหรือตัดสินใจขั้นสุดท้ายได้" ทัสก์กล่าวในการแถลงข่าว - สำหรับชอลซ์ กล่าวไว้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนการเริ่มประชุมแล้วว่า เบอร์ลินจะไม่ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปยังยูเครน จนกว่าสหรัฐฯ จะรับปากดำเนินการแบบเดียวกันกับกองกำลังของตนเอง - มีเพียงอังกฤษเท่านั้น ที่แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าพร้อมพิจารณาส่งกองกำลังเข้าสู่ยูเครน แต่ก็มีเงื่อนไขว่า เพื่อเป็นการปกป้องยูเครน และต้องหลังสงครามสิ้นสุดลงเท่านั้น!
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 176 มุมมอง 0 รีวิว
  • อิหร่านระบุคำขู่ของสหรัฐฯ และอิสราเอลที่มีกับเตหะราน ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างโจ่งแจ้ง พร้อมเตือนทั้ง 2 ชาติ อย่าได้ทำสิ่งที่น่ารังเกียจกับอิหร่าน
    .
    ถ้อยแถลงนี้มีขึ้นหลังจาก เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล พบปะกับ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในเยรูซาเลม เมื่อวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) และบอกว่าทั้ง 2 ประเทศ มีความมั่งมุ่นทำลายความทะเยอทะยานทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน และอิทธิพลของเตหะรานในตะวันออกกลาง
    .
    เนทันยาฮู อวดอ้างว่าอิสราเอลก่อความเสียหายอย่างหนักแก่อิหร่าน นับตั้งแต่สงครามในกาซาเริ่มต้นขึ้น และบอกว่าภายใต้แรงสนับสนุนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ "ผมไม่สงสัยเลยว่าเราสามารถและจะปิดฉากงานนี้"
    .
    ระหว่างแถลงข่าวกับสื่อมวลชนรายสัปดาห์เมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) เอสมาอิล เบกาอี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน ตอบโต้ว่า "เมื่อเป็นเรื่องของประเทศหนึ่งๆ อย่างอิหร่าน พวกเขาไม่อาจทำในสิ่งที่น่ารังเกียจ คุณไม่อาจข่มขู่อิหร่านด้วยมือข้างหนึ่ง แล้วอีกข้างหนึ่งอวดอ้างสนับสนุนการเจรจา"
    .
    ทรัมป์ แสดงออกเปิดกว้างสำหรับเจรจาตกลงกับเตหะราน แต่ขณะเดียวก็คืนสถานะยุทธการ "กดดันขั้นสูงสุด" ต่ออิหร่าน นโยบายที่เขาเคยใช้ครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก เพื่อหยุดเตหะรานจากการมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
    .
    เมื่อช่วงต้นที่ผ่านมา อยาตอลเลาะห์ อาลี คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน บอกว่าไม่ควรมีการเจรจากับสหรัฐฯ ไม่กี่วันหลังจาก ทรัมป์ เรียกร้องให้มีข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับใหม่ ขณะที่ผู้นำสูงสุดของอิหร่านรายนี้เคยวิพากษ์รัฐบาลทรัมป์ชุดก่อน ว่าไม่ยึดถือคำมั่นสัญญา
    .
    "คุณไม่ควรเจรจากับรัฐบาลแบบนั้น มันไม่ฉลาด ไม่ชาญฉลาด ไม่เป็นเกียรติที่จะเจรจา" คาเมเนอีกล่าวระหว่างการประชุมกับผู้บัญชาการกองทัพ "สหรัฐฯ เคยทำลาย ละเมิด และฉีกข้อตกลงนิวเคลียร์มาก่อน และบุคคลเดียวกันที่อยู่ในอำนาจในตอนนี้ คือคนที่ฉีกสัญญา”
    .
    ในปี 2018 ทรัมป์ถอนสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ที่ทางเตหะรานทำไว้กับบรรดามหาอำนาจโลกในปี 2015 และกลับมากำหนดมาตรการคว่ำบาตรอีกรอบ เพื่อฉีกเศรษฐกิจอิหร่านเป็นชิ้นๆ
    .
    หนึ่งปีหลังจากนั้น อิหร่านตอบโต้การละเมิดข้อตกลงควบคุมนิวเคลียร์ ด้วยการเร่งเสริมสมรรถนะยูเรเนียมให้มีความบริสุทธิ์ 60% เข้าใกล้ระดับราว 90% ที่จำเป็นสำหรับเกรดผลิตอาวุธนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตาม เตหะรานยืนกรานว่าโครงการนิวเคลียร์ของพวกเขามีจุดประสงค์ทางสันติแต่เพียงอย่างเดียว
    .
    แม้ถ้อยแถลงของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน ใช้ถ้อยคำที่แข็งกร้าว แต่ดูเหมือนอิทธิพลของเตหะรานทั่วภูมิภาคตะวันออกกลางจะอ่อนแอลงอย่างมาก ในขณะที่พันธมิตรต่างๆ ของพวกเขาในภูมิภาค ที่รู้จักกันในฐานะ "อักษะแห่งการต่อต้าน" ทั้งถูกถอนรากถอนโคนหรือไม่ก็ได้รับความเสียหายร้ายแรง นับตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างฮามาส-อิสราเอลเริ่มต้นขึ้นในกาซา และการล่มสลายของอดีตประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ในซีเรีย เมื่อเดือนธันวาคม
    .
    อักษะแห่งการต่อต้านนี้ ไม่ได้มีเฉพาะแค่ฮามาส แต่ยังรวมไปถึงพวกฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน กบฏฮูตีในเยเมน และกลุ่มติดอาวุธชีอะห์ต่างๆ ในอิรักและซีเรีย
    .
    ตลอด 16 เดือนนับตั้งแต่สงครามกาซาปะทุขึ้น อิสราเอลได้ลอบสังหารพวกผู้นำของฮามาสและฮิซบอลเลาะห์ไปแล้วหลายคน ในขณะที่อิหร่านและอิหร่านปฏิบัติการโจมตีอย่างจำกัด ตอบโต้กันไปมาแล้วหลายรอบ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015978
    ..............
    Sondhi X
    อิหร่านระบุคำขู่ของสหรัฐฯ และอิสราเอลที่มีกับเตหะราน ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างโจ่งแจ้ง พร้อมเตือนทั้ง 2 ชาติ อย่าได้ทำสิ่งที่น่ารังเกียจกับอิหร่าน . ถ้อยแถลงนี้มีขึ้นหลังจาก เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล พบปะกับ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในเยรูซาเลม เมื่อวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) และบอกว่าทั้ง 2 ประเทศ มีความมั่งมุ่นทำลายความทะเยอทะยานทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน และอิทธิพลของเตหะรานในตะวันออกกลาง . เนทันยาฮู อวดอ้างว่าอิสราเอลก่อความเสียหายอย่างหนักแก่อิหร่าน นับตั้งแต่สงครามในกาซาเริ่มต้นขึ้น และบอกว่าภายใต้แรงสนับสนุนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ "ผมไม่สงสัยเลยว่าเราสามารถและจะปิดฉากงานนี้" . ระหว่างแถลงข่าวกับสื่อมวลชนรายสัปดาห์เมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) เอสมาอิล เบกาอี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน ตอบโต้ว่า "เมื่อเป็นเรื่องของประเทศหนึ่งๆ อย่างอิหร่าน พวกเขาไม่อาจทำในสิ่งที่น่ารังเกียจ คุณไม่อาจข่มขู่อิหร่านด้วยมือข้างหนึ่ง แล้วอีกข้างหนึ่งอวดอ้างสนับสนุนการเจรจา" . ทรัมป์ แสดงออกเปิดกว้างสำหรับเจรจาตกลงกับเตหะราน แต่ขณะเดียวก็คืนสถานะยุทธการ "กดดันขั้นสูงสุด" ต่ออิหร่าน นโยบายที่เขาเคยใช้ครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก เพื่อหยุดเตหะรานจากการมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง . เมื่อช่วงต้นที่ผ่านมา อยาตอลเลาะห์ อาลี คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน บอกว่าไม่ควรมีการเจรจากับสหรัฐฯ ไม่กี่วันหลังจาก ทรัมป์ เรียกร้องให้มีข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับใหม่ ขณะที่ผู้นำสูงสุดของอิหร่านรายนี้เคยวิพากษ์รัฐบาลทรัมป์ชุดก่อน ว่าไม่ยึดถือคำมั่นสัญญา . "คุณไม่ควรเจรจากับรัฐบาลแบบนั้น มันไม่ฉลาด ไม่ชาญฉลาด ไม่เป็นเกียรติที่จะเจรจา" คาเมเนอีกล่าวระหว่างการประชุมกับผู้บัญชาการกองทัพ "สหรัฐฯ เคยทำลาย ละเมิด และฉีกข้อตกลงนิวเคลียร์มาก่อน และบุคคลเดียวกันที่อยู่ในอำนาจในตอนนี้ คือคนที่ฉีกสัญญา” . ในปี 2018 ทรัมป์ถอนสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ที่ทางเตหะรานทำไว้กับบรรดามหาอำนาจโลกในปี 2015 และกลับมากำหนดมาตรการคว่ำบาตรอีกรอบ เพื่อฉีกเศรษฐกิจอิหร่านเป็นชิ้นๆ . หนึ่งปีหลังจากนั้น อิหร่านตอบโต้การละเมิดข้อตกลงควบคุมนิวเคลียร์ ด้วยการเร่งเสริมสมรรถนะยูเรเนียมให้มีความบริสุทธิ์ 60% เข้าใกล้ระดับราว 90% ที่จำเป็นสำหรับเกรดผลิตอาวุธนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตาม เตหะรานยืนกรานว่าโครงการนิวเคลียร์ของพวกเขามีจุดประสงค์ทางสันติแต่เพียงอย่างเดียว . แม้ถ้อยแถลงของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน ใช้ถ้อยคำที่แข็งกร้าว แต่ดูเหมือนอิทธิพลของเตหะรานทั่วภูมิภาคตะวันออกกลางจะอ่อนแอลงอย่างมาก ในขณะที่พันธมิตรต่างๆ ของพวกเขาในภูมิภาค ที่รู้จักกันในฐานะ "อักษะแห่งการต่อต้าน" ทั้งถูกถอนรากถอนโคนหรือไม่ก็ได้รับความเสียหายร้ายแรง นับตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างฮามาส-อิสราเอลเริ่มต้นขึ้นในกาซา และการล่มสลายของอดีตประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ในซีเรีย เมื่อเดือนธันวาคม . อักษะแห่งการต่อต้านนี้ ไม่ได้มีเฉพาะแค่ฮามาส แต่ยังรวมไปถึงพวกฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน กบฏฮูตีในเยเมน และกลุ่มติดอาวุธชีอะห์ต่างๆ ในอิรักและซีเรีย . ตลอด 16 เดือนนับตั้งแต่สงครามกาซาปะทุขึ้น อิสราเอลได้ลอบสังหารพวกผู้นำของฮามาสและฮิซบอลเลาะห์ไปแล้วหลายคน ในขณะที่อิหร่านและอิหร่านปฏิบัติการโจมตีอย่างจำกัด ตอบโต้กันไปมาแล้วหลายรอบ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015978 .............. Sondhi X
    Like
    Angry
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1845 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซอร์ คีร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ย้ำจุดยืนของเขาว่ายินดีที่จะพิจารณาส่งกองกำลังอังกฤษไปประจำการในยูเครน หากสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพได้ เพื่อป้องกันยูเครนจากการบุกของรัสเซียที่อาจเกิดขึ้นอีก
    เซอร์ คีร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ย้ำจุดยืนของเขาว่ายินดีที่จะพิจารณาส่งกองกำลังอังกฤษไปประจำการในยูเครน หากสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพได้ เพื่อป้องกันยูเครนจากการบุกของรัสเซียที่อาจเกิดขึ้นอีก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 175 มุมมอง 10 0 รีวิว
Pages Boosts