• ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นมา การนั่งรถประจำทางของ ขสมก. เพื่อเดินทางไปทำงาน กลับบ้าน ทำธุระ เป็นเรื่องยากลำบากและเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเก่าเข้าไปอีก คนที่ยังต้องขึ้นรถประจำทางทุกวันน่าจะเข้าใจ รู้ซึ้ง และเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมอันบัดซบของเพื่อนร่วมทุกข์เป็นอย่างดี

    ผลจากความคิดอุตริพิเรนทร์ของกรมการขนส่ง ที่หาเรื่องให้ประชาชนด่า เดิมคนที่เขามีรายได้น้อยก็มีความทุกข์กับการใช้บริการที่ รถน้อยคอยนานคนแน่นอยู่แล้ว กลับมาทับถมให้หนักหนาสาหัส กลายเป็นว่าเส้นทางที่เขานั่งประจำหายไป หรือย้ายไปวิ่งทางอื่น ทางเลือกที่แทบไม่มีทีนี้ก็ไม่เหลือเลย จากที่นั่งสายเดียวถึงจุดหมายปลายทาง เขาต้องลำบากเพื่อต่อรถหลายต่อ เพราะรถที่เคยนั่งไม่ผ่านบ้าง ไปไม่ถึงจุดหมายบ้าง ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้นในขณะที่เงินในมือแทบไม่พอ ไหนจะคอยนานมากเพราะรถน้อยลง แล้วที่มันน่าเจ็บใจ และชีช้ำสำหรับชาวบ้านคือเวลารอรถสายไหน สายนั้นจะอาถรรพ์แทบไม่โผล่มาเลย

    แต่เวลามาทีนะ วิ่งตามกันมาเลย 2-3 คัน

    ที่ปวดใจสุดคือ คันที่ว่างโล่งไม่ค่อยมีคน แทนที่จะจอดรับก็เปล่า คนขับดันทะลึ่งวิ่งเลนนอก ห้อตะบึงไม่สนว่าคนเขาจะโบกให้จอดหรือไม่ ส่วนคันหลังที่มาแล้วยอมจอดน่ะเหรอ ก็ดันเป็นคันที่คนแน่นเบียดกันจนแทบจะสิงร่าง ที่ยืนแทบไม่มีแต่อยากจอดรับ ให้มันได้อย่างนี้สิ สุดท้ายก็ไม่สามารถขึ้นได้ ต้องรอต่อไปซึ่งไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน อาจเป็นชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แทนที่เขาจะถึงจุดหมายในเวลาตามปกติ ก็ต้องล่าช้าออกไป ถึงที่ทำงานสาย กลับถึงบ้านดึกมาก ทั้งเหนื่อยทั้งเมื่อยกว่าเดิม

    นี่คือบริการของ ขสมก. ของแท้ ผ่านไปกี่สิบปียังยืนพื้นแน่วแน่ในการรักษามาตรฐานที่ไม่ได้มาตรฐานได้อย่างคงเส้นคงวา.. น่าเศร้าใจ

    นอกจากไม่ช่วยประชาชนคนยากจนแล้วยังทำเหมือนกลั่นแกล้งกันซะอย่างนั้น

    คิดได้ยังไง ทุเรศทุรังสิ้นดี

    #กรมการขนส่ง
    #ขสมก
    #thaitimes
    #บทความ
    #รถเมล์
    #เส้นทางเดินรถ
    #รถประจำทาง
    #ขนส่งสาธารณะ
    #คนจน


    ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นมา การนั่งรถประจำทางของ ขสมก. เพื่อเดินทางไปทำงาน กลับบ้าน ทำธุระ เป็นเรื่องยากลำบากและเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเก่าเข้าไปอีก คนที่ยังต้องขึ้นรถประจำทางทุกวันน่าจะเข้าใจ รู้ซึ้ง และเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมอันบัดซบของเพื่อนร่วมทุกข์เป็นอย่างดี ผลจากความคิดอุตริพิเรนทร์ของกรมการขนส่ง ที่หาเรื่องให้ประชาชนด่า เดิมคนที่เขามีรายได้น้อยก็มีความทุกข์กับการใช้บริการที่ รถน้อยคอยนานคนแน่นอยู่แล้ว กลับมาทับถมให้หนักหนาสาหัส กลายเป็นว่าเส้นทางที่เขานั่งประจำหายไป หรือย้ายไปวิ่งทางอื่น ทางเลือกที่แทบไม่มีทีนี้ก็ไม่เหลือเลย จากที่นั่งสายเดียวถึงจุดหมายปลายทาง เขาต้องลำบากเพื่อต่อรถหลายต่อ เพราะรถที่เคยนั่งไม่ผ่านบ้าง ไปไม่ถึงจุดหมายบ้าง ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้นในขณะที่เงินในมือแทบไม่พอ ไหนจะคอยนานมากเพราะรถน้อยลง แล้วที่มันน่าเจ็บใจ และชีช้ำสำหรับชาวบ้านคือเวลารอรถสายไหน สายนั้นจะอาถรรพ์แทบไม่โผล่มาเลย แต่เวลามาทีนะ วิ่งตามกันมาเลย 2-3 คัน ที่ปวดใจสุดคือ คันที่ว่างโล่งไม่ค่อยมีคน แทนที่จะจอดรับก็เปล่า คนขับดันทะลึ่งวิ่งเลนนอก ห้อตะบึงไม่สนว่าคนเขาจะโบกให้จอดหรือไม่ ส่วนคันหลังที่มาแล้วยอมจอดน่ะเหรอ ก็ดันเป็นคันที่คนแน่นเบียดกันจนแทบจะสิงร่าง ที่ยืนแทบไม่มีแต่อยากจอดรับ ให้มันได้อย่างนี้สิ สุดท้ายก็ไม่สามารถขึ้นได้ ต้องรอต่อไปซึ่งไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน อาจเป็นชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แทนที่เขาจะถึงจุดหมายในเวลาตามปกติ ก็ต้องล่าช้าออกไป ถึงที่ทำงานสาย กลับถึงบ้านดึกมาก ทั้งเหนื่อยทั้งเมื่อยกว่าเดิม นี่คือบริการของ ขสมก. ของแท้ ผ่านไปกี่สิบปียังยืนพื้นแน่วแน่ในการรักษามาตรฐานที่ไม่ได้มาตรฐานได้อย่างคงเส้นคงวา.. น่าเศร้าใจ นอกจากไม่ช่วยประชาชนคนยากจนแล้วยังทำเหมือนกลั่นแกล้งกันซะอย่างนั้น คิดได้ยังไง ทุเรศทุรังสิ้นดี #กรมการขนส่ง #ขสมก #thaitimes #บทความ #รถเมล์ #เส้นทางเดินรถ #รถประจำทาง #ขนส่งสาธารณะ #คนจน
    Like
    4
    1 Comments 0 Shares 424 Views 0 Reviews
  • 3 ปี ไทยสมายล์บัส น้อมรับความไม่สะดวก

    ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของไทย สมายล์ บัส ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นับตั้งแต่แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สาขาเอกชัย จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ปัจจุบันมีรถบัสพลังงานไฟฟ้า 2,350 คัน ให้บริการ 123 เส้นทาง พร้อมกัปตันเมล์ (พนักงานขับรถ) 2,500 คน บัสโฮสเตส (พนักงานเก็บค่าโดยสาร) 2,300 คน อู่สาขากว่า 24 สาขา เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้ากว่า 40 ลำ ให้บริการ 3 เส้นทาง กัปตันและลูกเรือกว่า 200 คน อาจเรียกได้ว่าเป็น 3 ปีแบบก้าวกระโดด พร้อมกับการปฎิรูปรถเมล์ที่กรมการขนส่งทางบกเป็นเจ้าภาพหลัก

    น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย สมายล์ บัส เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำให้ระบบขนส่งมวลชนที่ถูกละเลย มีรถเมล์พลังงานไฟฟ้าให้บริการกว่า 2,000 คัน และมีเทคโนโลยีทันสมัย มีโรงเรียนฝึกอบรมบุคลากร ปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนพัฒนาจุดชาร์จ อู่สาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา เติบโตไปพร้อมกับสังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG ในทุกมิติ เช่น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการจ้างงาน ดูแลผู้โดยสาร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ บริหารด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล

    "ตนได้ลงพื้นที่ไปรอรถเมล์อยู่ข้างๆ ผู้โดยสารทุกคนตั้งแต่ช่วงเช้าถึงค่ำ เพื่อให้เข้าใจปัญหา ไปอยู่กับหน้างานจริง ซึ่งยอมรับว่า ยังได้เห็นความไม่สะดวกในหลายจุด ในฐานะผู้บริหารขอน้อมรับฟังทุกคำติชม และจะนำไปปรับปรุง พัฒนาต่อไปเพื่อให้พี่น้องคนไทยได้มีรถเมล์คุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ"

    ที่ผ่านมาได้พัฒนาระบบ Fleet Management งานบริหารจัดการหลังบ้าน กล้อง CCTV เพื่อตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ พัฒนาการปล่อยรถ รวมถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับปรุงข้อติดขัดต่างๆ พร้อมกับพัฒนาบุคลากร อาทิ โครงการสมาร์ทกัปตัน คัดเลือกพนักงานที่อยู่ในสายรถ ให้เข้ามาเป็นผู้ดูแลสายรถนั้นๆ เพื่อต่อยอดอาชีพ สร้างคุณค่า เพิ่มรายได้ให้กับพนักงานอีก 100 คน รวมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชัน TSB Go Plus+ สามารถเติมเงินและอัปเดตยอดบัตร HOP CARD ผ่านระบบ NFC ได้ทันที

    ในอนาคต ไทยสมายล์บัสจะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบแทนลูกค้า มีสิทธิประโยชน์เฉพาะผู้ถือบัตร HOP CARD ให้ร่วมสนุก มีฟังก์ชันใหม่ๆ ให้ได้ทดลองใช้ และมีพันธมิตรอีกหลายรายที่จะเข้าร่วม ควบคู่กับการแก้ไขปัญหา ยกระดับการให้บริการ หวังคนรุ่นใหม่หันมาใช้รถสาธารณะกันมากขึ้น

    #Newskit #ThaiSmileBus #รถเมล์ไฟฟ้า
    3 ปี ไทยสมายล์บัส น้อมรับความไม่สะดวก ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของไทย สมายล์ บัส ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นับตั้งแต่แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สาขาเอกชัย จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ปัจจุบันมีรถบัสพลังงานไฟฟ้า 2,350 คัน ให้บริการ 123 เส้นทาง พร้อมกัปตันเมล์ (พนักงานขับรถ) 2,500 คน บัสโฮสเตส (พนักงานเก็บค่าโดยสาร) 2,300 คน อู่สาขากว่า 24 สาขา เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้ากว่า 40 ลำ ให้บริการ 3 เส้นทาง กัปตันและลูกเรือกว่า 200 คน อาจเรียกได้ว่าเป็น 3 ปีแบบก้าวกระโดด พร้อมกับการปฎิรูปรถเมล์ที่กรมการขนส่งทางบกเป็นเจ้าภาพหลัก น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย สมายล์ บัส เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำให้ระบบขนส่งมวลชนที่ถูกละเลย มีรถเมล์พลังงานไฟฟ้าให้บริการกว่า 2,000 คัน และมีเทคโนโลยีทันสมัย มีโรงเรียนฝึกอบรมบุคลากร ปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนพัฒนาจุดชาร์จ อู่สาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา เติบโตไปพร้อมกับสังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG ในทุกมิติ เช่น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการจ้างงาน ดูแลผู้โดยสาร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ บริหารด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล "ตนได้ลงพื้นที่ไปรอรถเมล์อยู่ข้างๆ ผู้โดยสารทุกคนตั้งแต่ช่วงเช้าถึงค่ำ เพื่อให้เข้าใจปัญหา ไปอยู่กับหน้างานจริง ซึ่งยอมรับว่า ยังได้เห็นความไม่สะดวกในหลายจุด ในฐานะผู้บริหารขอน้อมรับฟังทุกคำติชม และจะนำไปปรับปรุง พัฒนาต่อไปเพื่อให้พี่น้องคนไทยได้มีรถเมล์คุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ" ที่ผ่านมาได้พัฒนาระบบ Fleet Management งานบริหารจัดการหลังบ้าน กล้อง CCTV เพื่อตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ พัฒนาการปล่อยรถ รวมถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับปรุงข้อติดขัดต่างๆ พร้อมกับพัฒนาบุคลากร อาทิ โครงการสมาร์ทกัปตัน คัดเลือกพนักงานที่อยู่ในสายรถ ให้เข้ามาเป็นผู้ดูแลสายรถนั้นๆ เพื่อต่อยอดอาชีพ สร้างคุณค่า เพิ่มรายได้ให้กับพนักงานอีก 100 คน รวมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชัน TSB Go Plus+ สามารถเติมเงินและอัปเดตยอดบัตร HOP CARD ผ่านระบบ NFC ได้ทันที ในอนาคต ไทยสมายล์บัสจะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบแทนลูกค้า มีสิทธิประโยชน์เฉพาะผู้ถือบัตร HOP CARD ให้ร่วมสนุก มีฟังก์ชันใหม่ๆ ให้ได้ทดลองใช้ และมีพันธมิตรอีกหลายรายที่จะเข้าร่วม ควบคู่กับการแก้ไขปัญหา ยกระดับการให้บริการ หวังคนรุ่นใหม่หันมาใช้รถสาธารณะกันมากขึ้น #Newskit #ThaiSmileBus #รถเมล์ไฟฟ้า
    Like
    Haha
    5
    0 Comments 0 Shares 282 Views 0 Reviews
  • กินเจปีนี้ 2-11 ตค. ร้านออริจิ บริการอาหารปลอดเนื้อสัตว์ตลอดทั้งปี แต่ถ้า ทานเจ สั่งเราได้!!
    ช่วงเจ จะมีเมนู J fast track อยู่ เป็น เมนูหลัก เช่น พะโล้เจ แกงกะทิเจ แกงไม่ทิเจ ผัดหมี่เจ ขนมจีนน้ำยาเจ ของทอดเจ แต่จะไม่มี แกงถาดนะคะ เพื่อความสดใหม่ของอาหาร
    ชมเมนู A La carte ของเราได้ในลิ้งค์นี้ https://origiemenu.triggersplus.com/
    เพราะเกือบทุกเมนูสั่งเจได้ แต่ต้องใช้เวลาปรุงเพราะปรุงสด สั่งล่วงหน้า 1 วันเพื่อความรวดเร็ว
    เปิดบริการ 8.00-17.00 ช่วงเทศกาลจะเปิดทุกวัน
    ร้านตั้งอยู่บน รามอินทรา109 แยกลำกะโหลก อาคารพาณิชย์ ตรง ป้ายรถเมล์ มีที่จอดรถหน้าตึก
    ดิลิเวอรี่ มี ผ่าน 2 แอพนะคะ #lineman #robinhood สามารถเลือกเป็นแบบ เจ หรือ วีแกนได้ค่ะ ตอนสั่ง
    เครื่องดื่มต่างๆ ก็สามารถสั่งแบบ เจ ได้ด้วยค่ะ กาแฟ ชาไทย ชาเขียว โกโก้ เรามีผงมะพร้าวสกัดเย็นแทนนมสด และ ไซรัปหญ้าหวานแทนน้ำตาล และนมข้น
    เพราะสุขภาพที่ยั่งยืนควรอยู่คู่คนไทยและแขกบ้านแขกเมืองของไทย #origibkk #ออริจิมังสวิรัติ
    https://origiemenu.triggersplus.com/
    กินเจปีนี้ 2-11 ตค. ร้านออริจิ บริการอาหารปลอดเนื้อสัตว์ตลอดทั้งปี แต่ถ้า ทานเจ สั่งเราได้!! 🥗 ช่วงเจ จะมีเมนู J fast track อยู่ เป็น เมนูหลัก เช่น พะโล้เจ แกงกะทิเจ แกงไม่ทิเจ ผัดหมี่เจ ขนมจีนน้ำยาเจ ของทอดเจ แต่จะไม่มี แกงถาดนะคะ เพื่อความสดใหม่ของอาหาร 💛💚 ชมเมนู A La carte ของเราได้ในลิ้งค์นี้ https://origiemenu.triggersplus.com/ เพราะเกือบทุกเมนูสั่งเจได้ แต่ต้องใช้เวลาปรุงเพราะปรุงสด สั่งล่วงหน้า 1 วันเพื่อความรวดเร็ว ✅ เปิดบริการ 8.00-17.00 ช่วงเทศกาลจะเปิดทุกวัน ร้านตั้งอยู่บน รามอินทรา109 แยกลำกะโหลก อาคารพาณิชย์ ตรง ป้ายรถเมล์ มีที่จอดรถหน้าตึก ดิลิเวอรี่ มี ผ่าน 2 แอพนะคะ #lineman #robinhood สามารถเลือกเป็นแบบ เจ หรือ วีแกนได้ค่ะ ตอนสั่ง เครื่องดื่มต่างๆ ก็สามารถสั่งแบบ เจ ได้ด้วยค่ะ กาแฟ ชาไทย ชาเขียว โกโก้ เรามีผงมะพร้าวสกัดเย็นแทนนมสด และ ไซรัปหญ้าหวานแทนน้ำตาล และนมข้น 🍵☕ เพราะสุขภาพที่ยั่งยืนควรอยู่คู่คนไทยและแขกบ้านแขกเมืองของไทย 🇹🇭 #origibkk #ออริจิมังสวิรัติ https://origiemenu.triggersplus.com/
    Wow
    1
    1 Comments 0 Shares 206 Views 0 Reviews
  • มาแล้วลูกจ๋า รถเมล์บอนลัคที่หนูอยากได้

    เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ยี่ห้อบอนลัค (BLK) มาให้บริการล็อตแรก 100 คัน หลังจากกลุ่มร่วมทำงาน วินสตาร์ และ ดี.ที.ซี.ชนะการประกวดราคาจ้างเหมาซ่อมรถรุ่นดังกล่าว ซึ่งมีอายุการใช้งาน 7 ปี เสนอราคาเป็นเงิน 963.35 ล้านบาท ระยะเวลาสัญญา 3 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2570 และได้ดำเนินการซ่อมแซมรถให้พร้อมใช้งาน หลังจากหยุดใช้รถ (ตัดจอด) ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2567 ที่ผ่านมา

    ตามแผนงานลำดับถัดไป จะต้องซ่อมแซมรถพร้อมให้บริการรวม 380 คันภายใน 90 วัน และกลับมาให้บริการได้ครบจำนวน 486 คันภายใน 120 วัน พร้อมดูแลซ่อมบำรุงเป็นเวลา 3 ปี

    สำหรับการให้บริการรถโดยสารปรับอากาศ NGV ล็อตแรก 100 คัน แบ่งเป็นเขตการเดินรถละ 25 คัน ได้แก่ เขตการเดินรถที่ 1 สาย 510 (1-19) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต)-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 13 คัน สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) 5 คัน สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-หมอชิต 2 (ทางด่วน) สาย 522 (1-22E) รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) 2 คัน และสาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี 1 คัน

    เขตการเดินรถที่ 2 สาย 168 (1-50) เคหะร่มเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 15 คัน สาย 60 (1-38) สวนสยาม-สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย 8 คัน และสาย 26 (1-36) มีนบุรี-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 2 คัน เขตการเดินรถที่ 3 สาย 142 (3-17E) ปากน้ำ-แสมดำ (ทางด่วน) 9 คัน สาย 511 (3-22E) ปากน้ำ-สายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน (ทางด่วน) 8 คัน สาย 23E (3-4E) ปากน้ำ-เทเวศร์ (ทางด่วน) 3 คัน สาย 102 (3-12E) แพรกษา-เซ็นทรัลพระราม 3 (ทางด่วน) 3 คัน และสาย 145 (3-18) แพรกษา-หมอชิต 2 2 คัน

    เขตการเดินรถที่ 5 สาย 105 (4-18) สมุทรสาคร-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี 5 คัน สาย 138 (4-22E) พระประแดง (อู่ราชประชา)-หมอชิต 2 5 คัน สาย 21E (4-7E) วัดคู่สร้าง-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 คัน สาย 76 (4-14) แสมดำ-ประตูน้ำ 3 คัน สาย 141 (4-24E) แสมดำ-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 คัน สาย 20 (4-4) ป้อมพระจุลจอมเกล้า-ท่าเรือท่าดินแดง 2 คัน สาย 37 (4-9) ท่าน้ำพระประแดง-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 คัน และสาย 21 (4-6) วัดคู่สร้าง-มหานาค 1 คัน

    ค่าโดยสารคิดตามระยะทาง เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 25 บาท (รถขึ้นทางด่วนเพิ่ม 2 บาท) รับชำระทั้งเงินสด บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรเครดิต บัตรเดบิต สแกนคิวอาร์โค้ด ตรวจสอบพิกัดรถเมล์ได้ที่แอปพลิเคชัน VIABUS สังเกตที่สัญลักษณ์วีลแชร์ หมายถึงรถโดยสารแบบชานต่ำรองรับผู้พิการ

    #Newskit #ขสมก #บอนลัค
    มาแล้วลูกจ๋า รถเมล์บอนลัคที่หนูอยากได้ เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ยี่ห้อบอนลัค (BLK) มาให้บริการล็อตแรก 100 คัน หลังจากกลุ่มร่วมทำงาน วินสตาร์ และ ดี.ที.ซี.ชนะการประกวดราคาจ้างเหมาซ่อมรถรุ่นดังกล่าว ซึ่งมีอายุการใช้งาน 7 ปี เสนอราคาเป็นเงิน 963.35 ล้านบาท ระยะเวลาสัญญา 3 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2570 และได้ดำเนินการซ่อมแซมรถให้พร้อมใช้งาน หลังจากหยุดใช้รถ (ตัดจอด) ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2567 ที่ผ่านมา ตามแผนงานลำดับถัดไป จะต้องซ่อมแซมรถพร้อมให้บริการรวม 380 คันภายใน 90 วัน และกลับมาให้บริการได้ครบจำนวน 486 คันภายใน 120 วัน พร้อมดูแลซ่อมบำรุงเป็นเวลา 3 ปี สำหรับการให้บริการรถโดยสารปรับอากาศ NGV ล็อตแรก 100 คัน แบ่งเป็นเขตการเดินรถละ 25 คัน ได้แก่ เขตการเดินรถที่ 1 สาย 510 (1-19) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต)-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 13 คัน สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) 5 คัน สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-หมอชิต 2 (ทางด่วน) สาย 522 (1-22E) รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) 2 คัน และสาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี 1 คัน เขตการเดินรถที่ 2 สาย 168 (1-50) เคหะร่มเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 15 คัน สาย 60 (1-38) สวนสยาม-สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย 8 คัน และสาย 26 (1-36) มีนบุรี-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 2 คัน เขตการเดินรถที่ 3 สาย 142 (3-17E) ปากน้ำ-แสมดำ (ทางด่วน) 9 คัน สาย 511 (3-22E) ปากน้ำ-สายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน (ทางด่วน) 8 คัน สาย 23E (3-4E) ปากน้ำ-เทเวศร์ (ทางด่วน) 3 คัน สาย 102 (3-12E) แพรกษา-เซ็นทรัลพระราม 3 (ทางด่วน) 3 คัน และสาย 145 (3-18) แพรกษา-หมอชิต 2 2 คัน เขตการเดินรถที่ 5 สาย 105 (4-18) สมุทรสาคร-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี 5 คัน สาย 138 (4-22E) พระประแดง (อู่ราชประชา)-หมอชิต 2 5 คัน สาย 21E (4-7E) วัดคู่สร้าง-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 คัน สาย 76 (4-14) แสมดำ-ประตูน้ำ 3 คัน สาย 141 (4-24E) แสมดำ-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 คัน สาย 20 (4-4) ป้อมพระจุลจอมเกล้า-ท่าเรือท่าดินแดง 2 คัน สาย 37 (4-9) ท่าน้ำพระประแดง-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 คัน และสาย 21 (4-6) วัดคู่สร้าง-มหานาค 1 คัน ค่าโดยสารคิดตามระยะทาง เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 25 บาท (รถขึ้นทางด่วนเพิ่ม 2 บาท) รับชำระทั้งเงินสด บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรเครดิต บัตรเดบิต สแกนคิวอาร์โค้ด ตรวจสอบพิกัดรถเมล์ได้ที่แอปพลิเคชัน VIABUS สังเกตที่สัญลักษณ์วีลแชร์ หมายถึงรถโดยสารแบบชานต่ำรองรับผู้พิการ #Newskit #ขสมก #บอนลัค
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 342 Views 0 Reviews
  • ไม่สามารถดีกับทุกคนได้ ขนาดบนรถเมล์ยังทั้งด่า ทั้งไล่ โพสคลิปประจาน ขัดขืน ถ้าไม่มีคนเดือดร้อนตำรวจจะเสี่ยงชีวิตทำไม เขาอยู่ที่หน่วยงานนั่งตากแอร์ดีกว่า เป็นแบบนี้มานานหลายสิบปี จนตอนนี้มีเครือข่ายครอบคลุมทุกชนชั้นในไทย
    ไม่สามารถดีกับทุกคนได้ ขนาดบนรถเมล์ยังทั้งด่า ทั้งไล่ โพสคลิปประจาน ขัดขืน ถ้าไม่มีคนเดือดร้อนตำรวจจะเสี่ยงชีวิตทำไม เขาอยู่ที่หน่วยงานนั่งตากแอร์ดีกว่า เป็นแบบนี้มานานหลายสิบปี จนตอนนี้มีเครือข่ายครอบคลุมทุกชนชั้นในไทย
    0 Comments 0 Shares 80 Views 0 Reviews
  • BRT สายแรกในลาว คาดแล้วเสร็จ ธ.ค.นี้

    เมื่อวันก่อนสื่อออนไลน์ในประเทศลาว เผยแพร่ภาพความคืบหน้าการก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter) เขตโพนสะอาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ ตามโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที (Bus Rapid Transit หรือ BRT) ภายใต้ชื่อโครงการขนส่งแบบยั่งยืนในตัวเมือง (Vientiane Sustainable Urban Transport Project หรือ VSUTP) ซึ่งมึความคืบหน้าไปมาก

    กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ดำเนินโครงการทั้งหมด 5 สัญญา ได้แก่ ก่อสร้างช่องจราจรรถเมล์ด่วน และสถานี BRT ช่วงสวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงประตูชัย และช่วงประตูชัย ถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว พร้อมก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter)

    นอกจากนี้ ยังก่อสร้างอู่รถเมล์ ศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถเมล์ BRT วางสายใยแก้ว (Fiber Optic) ก่อสร้างทางร่วม ปรับปรุงทัศนียภาพ และก่อสร้างและติดตั้งไฟสัญญาณจราจร จำนวน 41 จุด ครอบคลุม 5 ตัวเมือง เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อเดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยมีแผนจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2567

    สำหรับรูปแบบการให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT นครหลวงเวียงจันทน์ มีทั้งหมด 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง A สถานีขนส่งสายเหนือ-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ศูนย์การค้าไอเต็ก มอลล์, เส้นทาง B ธาตุทอง-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ท่าง่อน และเส้นทาง D สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ดงโดก (มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว)

    ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าความยาว 12 เมตร ขนาด 40 ที่นั่ง มีที่นั่งพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้พิการ รองรับรถเข็นวีลแชร์ เปิดให้บริการตั้งแต่ 06.00-22.00 น. คิดค่าโดยสารเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นใจกลางเมือง 3,500 กีบ ระยะยาวไปยังชานเมือง 8,000 กีบ ชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ที่สถานีหลัก BRT และร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการ

    โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และองค์กรอื่นๆ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ADB คาดการณ์ว่าประชาชนจะหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรองรับนักท่องเที่ยว สามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนครหลวงเวียงจันทน์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

    #Newskit #VientianeBRT #VSUTP
    BRT สายแรกในลาว คาดแล้วเสร็จ ธ.ค.นี้ เมื่อวันก่อนสื่อออนไลน์ในประเทศลาว เผยแพร่ภาพความคืบหน้าการก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter) เขตโพนสะอาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ ตามโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที (Bus Rapid Transit หรือ BRT) ภายใต้ชื่อโครงการขนส่งแบบยั่งยืนในตัวเมือง (Vientiane Sustainable Urban Transport Project หรือ VSUTP) ซึ่งมึความคืบหน้าไปมาก กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ดำเนินโครงการทั้งหมด 5 สัญญา ได้แก่ ก่อสร้างช่องจราจรรถเมล์ด่วน และสถานี BRT ช่วงสวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงประตูชัย และช่วงประตูชัย ถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว พร้อมก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter) นอกจากนี้ ยังก่อสร้างอู่รถเมล์ ศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถเมล์ BRT วางสายใยแก้ว (Fiber Optic) ก่อสร้างทางร่วม ปรับปรุงทัศนียภาพ และก่อสร้างและติดตั้งไฟสัญญาณจราจร จำนวน 41 จุด ครอบคลุม 5 ตัวเมือง เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อเดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยมีแผนจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2567 สำหรับรูปแบบการให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT นครหลวงเวียงจันทน์ มีทั้งหมด 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง A สถานีขนส่งสายเหนือ-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ศูนย์การค้าไอเต็ก มอลล์, เส้นทาง B ธาตุทอง-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ท่าง่อน และเส้นทาง D สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ดงโดก (มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว) ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าความยาว 12 เมตร ขนาด 40 ที่นั่ง มีที่นั่งพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้พิการ รองรับรถเข็นวีลแชร์ เปิดให้บริการตั้งแต่ 06.00-22.00 น. คิดค่าโดยสารเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นใจกลางเมือง 3,500 กีบ ระยะยาวไปยังชานเมือง 8,000 กีบ ชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ที่สถานีหลัก BRT และร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และองค์กรอื่นๆ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ADB คาดการณ์ว่าประชาชนจะหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรองรับนักท่องเที่ยว สามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนครหลวงเวียงจันทน์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น #Newskit #VientianeBRT #VSUTP
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 469 Views 0 Reviews
  • BRT เก่าไปใหม่มา จาก NGV สู่รถบัส EV

    เช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ย. 2567 รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นวันแรก ทดแทนรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2553 ยาวนานถึง 14 ปี โดยเดินรถวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา ก่อนนำรถโดยสารคันเก่าจำนวน 15 คัน ไปไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมส่วนกลาง สายสะพานใหม่-คูคต เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการปลดระวางต่อไป

    รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที BRT-EV โฉมใหม่ เป็นพื้นชานต่ำ มีที่นั่งรวม 30 ที่นั่ง ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง มีประตูขึ้น-ลงบริเวณตอนกลางของรถทั้งสองฝั่ง พร้อมทางลาดสำหรับรถเข็นผู้พิการ หรือวีลแชร์ พร้อมติดตั้งกล้องซีซีทีวี 5 ตัว ติดตั้งระบบ GPS พร้อมหน้าจอแสดงตำแหน่งแบบเรียลไทม์ภายในรถ และประตูทางออกฉุกเฉิน ส่วนระบบเก็บค่าโดยสาร ปรับมาใช้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติบนรถ แทนการซื้อตั๋วที่สถานี รับชำระผ่านบัตรแรบบิทหรือสแกน QR Code

    สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส.กทม.) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) ให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ถึง 31 ต.ค. 2567 เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มจุดรับ-ส่งผู้โดยสารเพิ่มเติมอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีถนนจันทน์เหนือ และสถานีถนนจันทน์ใต้ รวมจุดจอดทั้งหมด 14 สถานี สำหรับค่าโดยสาร กทม.จะเป็นผู้กำหนด เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นไปในลักษณะจ้างเอกชนเดินรถ

    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. บีทีเอสซี ชนะการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ด้วยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ของ กทม. เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท โดยสัญญามีอายุ 5 ปี ระหว่างปี 2567-2572 จากนั้นได้สั่งซื้อรถโดยสารจากบริษัท อรุณพลัส จำกัด บริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท. จำนวน 23 คัน โดยให้บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผลิตตัวถังรถโดยสารที่โรงงานในจังหวัดนครราชสีมา

    สำหรับโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT หรือ Bus Rapid Transit) กทม.เริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2550 มีระยะทาง 15.9 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีสาทร บริเวณแยกสาทร-นราธิวาสฯ ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถึงแยกพระรามที่ 3-นราธิวาสฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนพระรามที่ 3 ขึ้นสะพานพระราม 3 ไปตามถนนรัชดาภิเษก สิ้นสุดที่สถานีราชพฤกษ์ บริเวณแยกรัชดาฯ-ตลาดพลู โดยมีช่องทางการเดินรถแยกจากช่องทางปกติควบคู่กับระบบขนส่งอัจฉริยะ

    โครงการนี้เกิดขึ้นในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ได้เดินรถในสมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 2,078.47 ล้านบาท

    ที่ผ่านมา กทม. ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) วิสาหกิจของ กทม. ให้เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถเป็นระยะเวลา 7 ปี โดยได้ให้สิทธิเอกชน คือ บีทีเอสซี เป็นผู้เดินรถ รายได้จากค่าโดยสารนำส่ง กทม. ทั้งหมด และ กทม. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่โครงการฯ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจึงมอบหมายให้เคทีเป็นผู้ดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2560 ถึง 31 ส.ค. 2566 โดยข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2566 มีปริมาณผู้โดยสารรวม 258,415 เที่ยว-คน

    อย่างไรก็ตาม การให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ที่ผ่านมาขาดทุนสะสมต่อเนื่องปีละ 200 ล้านบาท เพราะผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 25,000 คน ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับสิทธิใช้บริการฟรี และผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสาร ทำให้การให้บริการไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังมีรถบางคันเข้ามาวิ่งในเลนรถด่วนพิเศษ จึงใช้เวลาเดินทางไม่ต่างกับรถโดยสารธรรมดา ทำให้ครั้งหนึ่ง กทม. เคยประกาศยกเลิกโครงการเมื่อปี 2560 แต่มีเสียงคัดค้าน ต้องเลื่อนแผนการยกเลิกโครงการฯ ออกไป

    ถึงยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. พบว่าจำนวนผู้โดยสารลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ 900-1,000 คน และสัญญาได้หมดลงในวันที่ 31 ส.ค. 2566 จึงให้เดินรถต่อไปก่อนโดยไม่คิดค่าโดยสาร และให้ สจส.กทม. เป็นผู้ดำเนินการเองแทนเคที กระทั่งจัดการประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินงบประมาณ 478,932,000 บาท สัญญาจ้าง 5 ปี มีเอกชนซื้อซองข้อเสนอจำนวน 2 ราย ได้แก่ บีทีเอสซี และบริษัท ไทยสมาล์บัส จำกัด หรือทีเอสบี กระทั่งบีทีเอสซีชนะประมูลในที่สุด

    #Newskit #BRTEV #รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที
    BRT เก่าไปใหม่มา จาก NGV สู่รถบัส EV เช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ย. 2567 รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นวันแรก ทดแทนรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2553 ยาวนานถึง 14 ปี โดยเดินรถวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา ก่อนนำรถโดยสารคันเก่าจำนวน 15 คัน ไปไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมส่วนกลาง สายสะพานใหม่-คูคต เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการปลดระวางต่อไป รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที BRT-EV โฉมใหม่ เป็นพื้นชานต่ำ มีที่นั่งรวม 30 ที่นั่ง ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง มีประตูขึ้น-ลงบริเวณตอนกลางของรถทั้งสองฝั่ง พร้อมทางลาดสำหรับรถเข็นผู้พิการ หรือวีลแชร์ พร้อมติดตั้งกล้องซีซีทีวี 5 ตัว ติดตั้งระบบ GPS พร้อมหน้าจอแสดงตำแหน่งแบบเรียลไทม์ภายในรถ และประตูทางออกฉุกเฉิน ส่วนระบบเก็บค่าโดยสาร ปรับมาใช้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติบนรถ แทนการซื้อตั๋วที่สถานี รับชำระผ่านบัตรแรบบิทหรือสแกน QR Code สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส.กทม.) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) ให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ถึง 31 ต.ค. 2567 เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มจุดรับ-ส่งผู้โดยสารเพิ่มเติมอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีถนนจันทน์เหนือ และสถานีถนนจันทน์ใต้ รวมจุดจอดทั้งหมด 14 สถานี สำหรับค่าโดยสาร กทม.จะเป็นผู้กำหนด เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นไปในลักษณะจ้างเอกชนเดินรถ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. บีทีเอสซี ชนะการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ด้วยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ของ กทม. เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท โดยสัญญามีอายุ 5 ปี ระหว่างปี 2567-2572 จากนั้นได้สั่งซื้อรถโดยสารจากบริษัท อรุณพลัส จำกัด บริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท. จำนวน 23 คัน โดยให้บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผลิตตัวถังรถโดยสารที่โรงงานในจังหวัดนครราชสีมา สำหรับโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT หรือ Bus Rapid Transit) กทม.เริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2550 มีระยะทาง 15.9 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีสาทร บริเวณแยกสาทร-นราธิวาสฯ ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถึงแยกพระรามที่ 3-นราธิวาสฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนพระรามที่ 3 ขึ้นสะพานพระราม 3 ไปตามถนนรัชดาภิเษก สิ้นสุดที่สถานีราชพฤกษ์ บริเวณแยกรัชดาฯ-ตลาดพลู โดยมีช่องทางการเดินรถแยกจากช่องทางปกติควบคู่กับระบบขนส่งอัจฉริยะ โครงการนี้เกิดขึ้นในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ได้เดินรถในสมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 2,078.47 ล้านบาท ที่ผ่านมา กทม. ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) วิสาหกิจของ กทม. ให้เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถเป็นระยะเวลา 7 ปี โดยได้ให้สิทธิเอกชน คือ บีทีเอสซี เป็นผู้เดินรถ รายได้จากค่าโดยสารนำส่ง กทม. ทั้งหมด และ กทม. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่โครงการฯ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจึงมอบหมายให้เคทีเป็นผู้ดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2560 ถึง 31 ส.ค. 2566 โดยข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2566 มีปริมาณผู้โดยสารรวม 258,415 เที่ยว-คน อย่างไรก็ตาม การให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ที่ผ่านมาขาดทุนสะสมต่อเนื่องปีละ 200 ล้านบาท เพราะผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 25,000 คน ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับสิทธิใช้บริการฟรี และผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสาร ทำให้การให้บริการไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังมีรถบางคันเข้ามาวิ่งในเลนรถด่วนพิเศษ จึงใช้เวลาเดินทางไม่ต่างกับรถโดยสารธรรมดา ทำให้ครั้งหนึ่ง กทม. เคยประกาศยกเลิกโครงการเมื่อปี 2560 แต่มีเสียงคัดค้าน ต้องเลื่อนแผนการยกเลิกโครงการฯ ออกไป ถึงยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. พบว่าจำนวนผู้โดยสารลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ 900-1,000 คน และสัญญาได้หมดลงในวันที่ 31 ส.ค. 2566 จึงให้เดินรถต่อไปก่อนโดยไม่คิดค่าโดยสาร และให้ สจส.กทม. เป็นผู้ดำเนินการเองแทนเคที กระทั่งจัดการประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินงบประมาณ 478,932,000 บาท สัญญาจ้าง 5 ปี มีเอกชนซื้อซองข้อเสนอจำนวน 2 ราย ได้แก่ บีทีเอสซี และบริษัท ไทยสมาล์บัส จำกัด หรือทีเอสบี กระทั่งบีทีเอสซีชนะประมูลในที่สุด #Newskit #BRTEV #รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที
    Like
    4
    0 Comments 2 Shares 523 Views 0 Reviews
  • รมช.คมนาคม สุรพงศ์ ทารุณปชช.แบบไม่พัก เพิ่งปฏิรูปรถเมล์จนเละ ทำรถไฟสายฝุ่นมะเร็งปอดอีก
    #7ดอกจิก
    #อุโมงค์ผาเสด็จ
    ♣️ รมช.คมนาคม สุรพงศ์ ทารุณปชช.แบบไม่พัก เพิ่งปฏิรูปรถเมล์จนเละ ทำรถไฟสายฝุ่นมะเร็งปอดอีก #7ดอกจิก #อุโมงค์ผาเสด็จ
    Like
    Haha
    3
    0 Comments 0 Shares 237 Views 0 Reviews
  • “คมนาคม”เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางประชาชน ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ บริเวณท้องสนามหลวง 28 ก.ค. 67 ขสมก.จัดรถเมล์ฟรี 10 กลุ่มเส้นทาง เรือโดยสารฟรี 6 เส้นทาง ใช้รถไฟฟ้า ต่อเรือข้ามฟากฟรี รฟท.บริการฟรีขบวนพิเศษ 3 เส้นทางเข้า กทม. ทางด่วนฟรี 3 สาย
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063787

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “คมนาคม”เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางประชาชน ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ บริเวณท้องสนามหลวง 28 ก.ค. 67 ขสมก.จัดรถเมล์ฟรี 10 กลุ่มเส้นทาง เรือโดยสารฟรี 6 เส้นทาง ใช้รถไฟฟ้า ต่อเรือข้ามฟากฟรี รฟท.บริการฟรีขบวนพิเศษ 3 เส้นทางเข้า กทม. ทางด่วนฟรี 3 สาย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063787 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    17
    0 Comments 0 Shares 913 Views 0 Reviews
  • นครชัยแอร์บ้านใหม่ ภายใต้กลุ่มทุนใหม่

    การประกาศย้ายสำนักงานใหญ่ ออฟฟิศและอู่จอดรถ ของบริษัท นครชัยแอร์ จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารรายใหญ่ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จากบริเวณก่อนถึงแยกรัชวิภา ไปยังปั๊มน้ำมันบางจาก ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 บนพื้นที่ประมาณ 28 ไร่ นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของรถทัวร์รายใหญ่ ที่อยู่บนเส้นทางธุรกิจมานานถึง 38 ปี

    นครชัยแอร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 โดยมีนายจักรินทร์ วงศ์เบญจรัตน์ เป็นประธานผู้ก่อตั้ง เริ่มต้นได้เปิดให้บริการ 2 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ขอนแก่น และ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี โดยมีรถโดยสารปรับอากาศ 42 ที่นั่ง 20 คัน ก่อนผลักดันรถนอนพิเศษเป็นบริษัทแรก ลดจำนวนที่นั่งจาก 42 ที่นั่งเหลือ 32 ที่นั่ง และขยายเส้นทางอย่างต่อเนื่อง

    ที่ผ่านมานครชัยแอร์ย้ายสำนักงานใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ เมื่อปี 2556 ย้ายมาจากเลขที่ 27 ซอยวิภาวดีรังสิต 19 ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย 5 ชั้น ไปยังเลขที่ 109 ถนนวิภาวดีรังสิต ก่อนถึงแยกรัชวิภา บนพื้นที่กว่า 16 ไร่ เพื่อรองรับการขยายกิจการ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัวนครชัยแอร์ ผ่านมา 11 ปี จึงย้ายมาที่ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 ในปัจจุบัน

    ถึงกระนั้น สถานีเดินรถนครชัยแอร์ กรุงเทพฯ ยังคงตั้งอยู่ริมถนนกำแพงเพชร 2 เช่นเดิม ผู้โดยสารสามารถใช้บริการได้ตามปกติ รวมทั้งสามารถเลือกขึ้นรถได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 และนครชัยแอร์ สาขารังสิต ภายในปั๊มน้ำมันบางจาก รังสิต ถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงงานบริดจสโตน เช่นเดิม

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ ตระกูลวงศ์เบญจรัตน์ได้ขายกิจการเดินรถ ไม่รวมทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน แก่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และระบบขนส่งมวลชน กระทั่งส่งตัวแทนซึ่งล้วนเป็นคนของกลุ่มนายคีรีเข้ามาบริหารแทน ส่วนทายาทรุ่นที่ 3 อย่างนางเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร ได้หายไปจากพื้นที่ข่าว หลังปรากฎครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม 2565

    อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทบีทีเอส ยังไม่ประกาศว่านครชัยแอร์เป็นหนึ่งธุรกิจในเครือ จากปัจจุบันกลุ่มธุรกิจ MOVE ประกอบด้วยรถไฟฟ้า 4 สี รถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ด่านเก็บเงินมอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง โครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและเมืองการบิน

    ข้อความที่ระบุว่า "ต้นแบบการเดินทางไกล ที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ด้วยองค์กรที่มั่นคง และร่วมแรงร่วมใจ ให้บริการ" ซึ่งนายจักรินทร์ ประธานผู้ก่อตั้งได้เขียนไว้ในสำนักงาน คงเป็นตำนานอีกหน้าหนึ่งของธุรกิจรถทัวร์ในไทย เพราะอีกไม่นานที่ดินผืนงามกว่า 16 ไร่ย่านแยกรัชวิภา อาจเปลี่ยนมือไปเป็นอย่างอื่น ตามแผนการย้ายสำนักงานใหญ่และขายที่ดินที่เกิดขึ้นนานแล้ว

    #Newskit #นครชัยแอร์ #BTSGroup
    นครชัยแอร์บ้านใหม่ ภายใต้กลุ่มทุนใหม่ การประกาศย้ายสำนักงานใหญ่ ออฟฟิศและอู่จอดรถ ของบริษัท นครชัยแอร์ จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารรายใหญ่ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จากบริเวณก่อนถึงแยกรัชวิภา ไปยังปั๊มน้ำมันบางจาก ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 บนพื้นที่ประมาณ 28 ไร่ นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของรถทัวร์รายใหญ่ ที่อยู่บนเส้นทางธุรกิจมานานถึง 38 ปี นครชัยแอร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 โดยมีนายจักรินทร์ วงศ์เบญจรัตน์ เป็นประธานผู้ก่อตั้ง เริ่มต้นได้เปิดให้บริการ 2 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ขอนแก่น และ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี โดยมีรถโดยสารปรับอากาศ 42 ที่นั่ง 20 คัน ก่อนผลักดันรถนอนพิเศษเป็นบริษัทแรก ลดจำนวนที่นั่งจาก 42 ที่นั่งเหลือ 32 ที่นั่ง และขยายเส้นทางอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมานครชัยแอร์ย้ายสำนักงานใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ เมื่อปี 2556 ย้ายมาจากเลขที่ 27 ซอยวิภาวดีรังสิต 19 ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย 5 ชั้น ไปยังเลขที่ 109 ถนนวิภาวดีรังสิต ก่อนถึงแยกรัชวิภา บนพื้นที่กว่า 16 ไร่ เพื่อรองรับการขยายกิจการ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัวนครชัยแอร์ ผ่านมา 11 ปี จึงย้ายมาที่ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 ในปัจจุบัน ถึงกระนั้น สถานีเดินรถนครชัยแอร์ กรุงเทพฯ ยังคงตั้งอยู่ริมถนนกำแพงเพชร 2 เช่นเดิม ผู้โดยสารสามารถใช้บริการได้ตามปกติ รวมทั้งสามารถเลือกขึ้นรถได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 และนครชัยแอร์ สาขารังสิต ภายในปั๊มน้ำมันบางจาก รังสิต ถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงงานบริดจสโตน เช่นเดิม เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ ตระกูลวงศ์เบญจรัตน์ได้ขายกิจการเดินรถ ไม่รวมทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน แก่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และระบบขนส่งมวลชน กระทั่งส่งตัวแทนซึ่งล้วนเป็นคนของกลุ่มนายคีรีเข้ามาบริหารแทน ส่วนทายาทรุ่นที่ 3 อย่างนางเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร ได้หายไปจากพื้นที่ข่าว หลังปรากฎครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม 2565 อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทบีทีเอส ยังไม่ประกาศว่านครชัยแอร์เป็นหนึ่งธุรกิจในเครือ จากปัจจุบันกลุ่มธุรกิจ MOVE ประกอบด้วยรถไฟฟ้า 4 สี รถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ด่านเก็บเงินมอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง โครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและเมืองการบิน ข้อความที่ระบุว่า "ต้นแบบการเดินทางไกล ที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ด้วยองค์กรที่มั่นคง และร่วมแรงร่วมใจ ให้บริการ" ซึ่งนายจักรินทร์ ประธานผู้ก่อตั้งได้เขียนไว้ในสำนักงาน คงเป็นตำนานอีกหน้าหนึ่งของธุรกิจรถทัวร์ในไทย เพราะอีกไม่นานที่ดินผืนงามกว่า 16 ไร่ย่านแยกรัชวิภา อาจเปลี่ยนมือไปเป็นอย่างอื่น ตามแผนการย้ายสำนักงานใหญ่และขายที่ดินที่เกิดขึ้นนานแล้ว #Newskit #นครชัยแอร์ #BTSGroup
    Like
    7
    0 Comments 1 Shares 619 Views 0 Reviews
  • ♣ รมช.คมนาคม สุรพงศ์ ผู้ดูแลกรมการขนส่งทางบก ต้นเรื่องปฏิรูปรถโดยสารประจำทาง ทำประชาขนเดือดร้อนทั่วกรุง เพิ่มค่าโดยสาร เปลี่ยนเลขรถ ปรับเส้นทาง ทำคนต้องใช้หลายต่อ เพิ่มภาระค่าโดยสาร
    #7ดอกจิก
    #รถเมล์
    ♣ รมช.คมนาคม สุรพงศ์ ผู้ดูแลกรมการขนส่งทางบก ต้นเรื่องปฏิรูปรถโดยสารประจำทาง ทำประชาขนเดือดร้อนทั่วกรุง เพิ่มค่าโดยสาร เปลี่ยนเลขรถ ปรับเส้นทาง ทำคนต้องใช้หลายต่อ เพิ่มภาระค่าโดยสาร #7ดอกจิก #รถเมล์
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 236 Views 0 Reviews
  • ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน

    25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง

    ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก.

    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น

    หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน

    มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง

    ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้

    ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท

    ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง

    #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก. ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้ ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    Like
    6
    0 Comments 1 Shares 576 Views 0 Reviews
  • ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์

    หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541

    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

    ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567

    ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways)

    สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น

    #Newskit #SubangAirport #SZB
    ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์ หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567 ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways) สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น #Newskit #SubangAirport #SZB
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 544 Views 0 Reviews
  • สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน

    ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน

    โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว

    จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ)

    สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต

    ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป

    นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก

    #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ) สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    Like
    6
    2 Comments 1 Shares 671 Views 0 Reviews
  • 25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก.

    ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้

    เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ

    ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง

    ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน

    #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก. ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้ เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 465 Views 0 Reviews
  • ฟื้นรถเมล์ NGV งานเร่งด่วน ขสมก.

    เมื่อไม่นานมานี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพิ่งลงนามสัญญาจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 486 คัน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง กับกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน วินสตาร์ และ ดี.ที.ซี. ระยะเวลา 3 ปี วงเงิน 963 ล้านบาท โดยกำหนดให้ซ่อมบำรุงชุดแรก 100 คัน ให้กลับมาให้บริการได้ภายใน 45 วัน

    นับจากวันลงนามสัญญา 1 กรกฎาคม 2567 คาดว่ารถโดยสาร NGV ที่มีอายุการใช้งานประมาณ 7 ปี จะกลับมาให้บริการอีกครั้งภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จากนั้นภายใน 90 วัน รถโดยสารจะกลับมาให้บริการได้อีก 380 คัน และภายใน 120 วัน หรือประมาณวันที่ 29 ตุลาคม 2567 จะกลับมาให้บริการได้ครบ 486 คัน ระหว่างนั้นก็ดูแลซ่อมบำรุงตลอดระยะเวลาสัญญา 3 ปี

    ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยกเลิกสัญญาจ้างกลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO โดยบริษัท ช ทวี และ สแกน อินเตอร์ ซ่อมแซมบำรุงรักษารถโดยสาร NGV พร้อมริบหลักประกันสัญญา 426 ล้านบาท พร้อมเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมอีกต่างหาก หลังจากที่ผ่านมาประสบปัญหาตัดจอดเพราะรถเสียจำนวนมาก กระทั่ง ขสมก. ตัดสินใจตัดจอดรถทั้งหมดเมื่อเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา

    (อ่านต่อในคอมเมนต์)

    #Newskit #รถเมล์NGV #ขสมก
    ฟื้นรถเมล์ NGV งานเร่งด่วน ขสมก. เมื่อไม่นานมานี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพิ่งลงนามสัญญาจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 486 คัน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง กับกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน วินสตาร์ และ ดี.ที.ซี. ระยะเวลา 3 ปี วงเงิน 963 ล้านบาท โดยกำหนดให้ซ่อมบำรุงชุดแรก 100 คัน ให้กลับมาให้บริการได้ภายใน 45 วัน นับจากวันลงนามสัญญา 1 กรกฎาคม 2567 คาดว่ารถโดยสาร NGV ที่มีอายุการใช้งานประมาณ 7 ปี จะกลับมาให้บริการอีกครั้งภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จากนั้นภายใน 90 วัน รถโดยสารจะกลับมาให้บริการได้อีก 380 คัน และภายใน 120 วัน หรือประมาณวันที่ 29 ตุลาคม 2567 จะกลับมาให้บริการได้ครบ 486 คัน ระหว่างนั้นก็ดูแลซ่อมบำรุงตลอดระยะเวลาสัญญา 3 ปี ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยกเลิกสัญญาจ้างกลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO โดยบริษัท ช ทวี และ สแกน อินเตอร์ ซ่อมแซมบำรุงรักษารถโดยสาร NGV พร้อมริบหลักประกันสัญญา 426 ล้านบาท พร้อมเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมอีกต่างหาก หลังจากที่ผ่านมาประสบปัญหาตัดจอดเพราะรถเสียจำนวนมาก กระทั่ง ขสมก. ตัดสินใจตัดจอดรถทั้งหมดเมื่อเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา (อ่านต่อในคอมเมนต์) #Newskit #รถเมล์NGV #ขสมก
    Like
    2
    1 Comments 1 Shares 379 Views 0 Reviews