• (Ch024.065) : ไร้เกียรติ

    ต่อจากเมื่อวาน กรณีเครื่องเพจเจอร์ระเบิดที่เลบานอน
    ถัดมาวันนี้ก็มีกรณีเครื่องรับส่งวิทยุวอคกี้-ท้อคกี้ระเบิดตามมาอีกระลอก
    ทั้งสองกรณีนี้ทำให้มีคนตายนับสิบและคนเจ็บอีกหลายร้อยคน ตามข่าวว่าพุ่งเป้าไปที่กลุ่มฮิทบอเลาะห์ซึ่งใช้เครื่องมือสื่อสารเหล่านี้

    ในวงการทหารไม่ว่า CIA, MI5, Seal หรือหน่วยอะไรก็แล้วแต่ต่างทึ่งถึงในยุทธวิธีทำลายคู่ต่อสู้เหนือเมฆแบบนี้
    บ้างก็ลงข่าวว่า มอสสาด หรือ ซินแบ็ด ซึ่งเป็นหน่วยจารกรรมลับของอิสราเอลเก่งกาจสุดยอดที่สามารถแทรกสอดเข้าไปในโครงข่ายการสื่อสารของกลุ่มฮิทบอเลาะห์

    ผมจึงไปค้นหาภาพสงครามโบราณที่เข้าแถวยืนเรียงแล้วก็ยิงใส่กันตามที่เห็น
    มีหลายสมรภูมิในสงครามโบราณที่ทำแบบนี้ ใครอยากจะฆ่ากันก็เชิญมาที่ทุ่งสังหารนี้ส่วนคนที่ไม่เกี่ยวก็ไม่บาดเจ็บล้มตาย
    แต่กรณีที่เพจเจอร์ระเบิดและเครื่องวอคกี้-ท้อคกี้ระเบิดมันเป็นวิธีการโจมตีแบบไม่เลือกเป้าหมาย หมายความว่าใครก็ตามที่อยู่ตรงนั้นมีสิทธิ์ตายได้หมดไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ไม่มีทางสู้ คนแก่ นักรบ หรือคนขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ชาวนา
    วิธีการแบบนี้จึงจัดได้ว่าเป็นวิธีการทำสงครามที่ต่ำทรามที่สุด ไร้เกียรติไร้ศักดิ์ศรี ไม่ควรจะเกิดขึ้นไม่ว่าสมรภูมิรบที่ไหน ๆในโลก คุณส่งสัญญาณไปฆ่าโดยไม่รู้ว่าเป้าหมายที่ต้องการกำจัดคือใคร

    นึกเล่น ๆ ถ้าใครจะโจมตีประเทศไทยก็ส่งรหัสลับเข้ามาในมือถือและโทรศัพท์ทุกเครื่องที่อยู่ในประเทศไทยก็ระเบิดใส่คนที่อยู่ใกล้ ๆ แบบนี้มันไม่โหดไปหน่อยเหรอ จะไม่ให้เรียกว่าเป็นวิธีการที่ต่ำช้าหรือว่าอย่างไร

    ขนาดรัสเซียกับยูเครนยิงจรวดถล่มกันแทบตายไม่เว้นแต่ละวัน แต่ก็ยังมีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกในสงครามกันอยู่เป็นช่วง ๆ การโจมตีด้วยจรวดล็อคเป้าหมายที่แม่นยำชัดเจน บางครั้งมีการประกาศล่วงหน้าให้ทราบว่าจะโจมตีตรงนั้นตรงนี้ ไม่ใช่ว่าใช้วิธีการสกปรกไม่เลือกรูปแบบ เหมือนที่เอามาใช้ที่เลบานอนแบบนี้ การกระทำแบบนี้สมควรจะโดนประณาม มันไม่ใช่วิธีที่มนุษย์พึงกระทำกับมนุษย์ ไร้เกียรติไร้ศักดิ์ศรีสิ้นดี เป็นการกระทำที่เลวระยำไม่สมควรยกย่อง

    ความขัดแย้งมีอยู่ทั่วโลกไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ แต่ผู้ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ด้วยก็ไม่สมควรจะมารับผลกระทบเหล่านี้ ทั้งการทิ้งระเบิดใส่ตึกรามบ้านช่องโดยไม่เลือกเป้าไม่สนใจว่าใครจะอาศัยอยู่ตรงนั้นในค่ายอพยพ อย่างนี้ชีวิตคนมันก็คือผักปลา คือมดปลวกหรือเชื้อโรคที่พ่นยาแล้วก็ฆ่าทิ้งเท่านั้นเอง แล้วเราจะสรรเสริญถึงวิธีการทำลายล้างชีวิตมนุษย์ด้วยกันกระนั้นหรือ

    ที่เขียนมายืดยาวเพราะเหลืออดจริงๆ.

    ......
    (Ch024.065) : ไร้เกียรติ ต่อจากเมื่อวาน กรณีเครื่องเพจเจอร์ระเบิดที่เลบานอน ถัดมาวันนี้ก็มีกรณีเครื่องรับส่งวิทยุวอคกี้-ท้อคกี้ระเบิดตามมาอีกระลอก ทั้งสองกรณีนี้ทำให้มีคนตายนับสิบและคนเจ็บอีกหลายร้อยคน ตามข่าวว่าพุ่งเป้าไปที่กลุ่มฮิทบอเลาะห์ซึ่งใช้เครื่องมือสื่อสารเหล่านี้ ในวงการทหารไม่ว่า CIA, MI5, Seal หรือหน่วยอะไรก็แล้วแต่ต่างทึ่งถึงในยุทธวิธีทำลายคู่ต่อสู้เหนือเมฆแบบนี้ บ้างก็ลงข่าวว่า มอสสาด หรือ ซินแบ็ด ซึ่งเป็นหน่วยจารกรรมลับของอิสราเอลเก่งกาจสุดยอดที่สามารถแทรกสอดเข้าไปในโครงข่ายการสื่อสารของกลุ่มฮิทบอเลาะห์ ผมจึงไปค้นหาภาพสงครามโบราณที่เข้าแถวยืนเรียงแล้วก็ยิงใส่กันตามที่เห็น มีหลายสมรภูมิในสงครามโบราณที่ทำแบบนี้ ใครอยากจะฆ่ากันก็เชิญมาที่ทุ่งสังหารนี้ส่วนคนที่ไม่เกี่ยวก็ไม่บาดเจ็บล้มตาย แต่กรณีที่เพจเจอร์ระเบิดและเครื่องวอคกี้-ท้อคกี้ระเบิดมันเป็นวิธีการโจมตีแบบไม่เลือกเป้าหมาย หมายความว่าใครก็ตามที่อยู่ตรงนั้นมีสิทธิ์ตายได้หมดไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ไม่มีทางสู้ คนแก่ นักรบ หรือคนขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ชาวนา วิธีการแบบนี้จึงจัดได้ว่าเป็นวิธีการทำสงครามที่ต่ำทรามที่สุด ไร้เกียรติไร้ศักดิ์ศรี ไม่ควรจะเกิดขึ้นไม่ว่าสมรภูมิรบที่ไหน ๆในโลก คุณส่งสัญญาณไปฆ่าโดยไม่รู้ว่าเป้าหมายที่ต้องการกำจัดคือใคร นึกเล่น ๆ ถ้าใครจะโจมตีประเทศไทยก็ส่งรหัสลับเข้ามาในมือถือและโทรศัพท์ทุกเครื่องที่อยู่ในประเทศไทยก็ระเบิดใส่คนที่อยู่ใกล้ ๆ แบบนี้มันไม่โหดไปหน่อยเหรอ จะไม่ให้เรียกว่าเป็นวิธีการที่ต่ำช้าหรือว่าอย่างไร ขนาดรัสเซียกับยูเครนยิงจรวดถล่มกันแทบตายไม่เว้นแต่ละวัน แต่ก็ยังมีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกในสงครามกันอยู่เป็นช่วง ๆ การโจมตีด้วยจรวดล็อคเป้าหมายที่แม่นยำชัดเจน บางครั้งมีการประกาศล่วงหน้าให้ทราบว่าจะโจมตีตรงนั้นตรงนี้ ไม่ใช่ว่าใช้วิธีการสกปรกไม่เลือกรูปแบบ เหมือนที่เอามาใช้ที่เลบานอนแบบนี้ การกระทำแบบนี้สมควรจะโดนประณาม มันไม่ใช่วิธีที่มนุษย์พึงกระทำกับมนุษย์ ไร้เกียรติไร้ศักดิ์ศรีสิ้นดี เป็นการกระทำที่เลวระยำไม่สมควรยกย่อง ความขัดแย้งมีอยู่ทั่วโลกไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ แต่ผู้ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ด้วยก็ไม่สมควรจะมารับผลกระทบเหล่านี้ ทั้งการทิ้งระเบิดใส่ตึกรามบ้านช่องโดยไม่เลือกเป้าไม่สนใจว่าใครจะอาศัยอยู่ตรงนั้นในค่ายอพยพ อย่างนี้ชีวิตคนมันก็คือผักปลา คือมดปลวกหรือเชื้อโรคที่พ่นยาแล้วก็ฆ่าทิ้งเท่านั้นเอง แล้วเราจะสรรเสริญถึงวิธีการทำลายล้างชีวิตมนุษย์ด้วยกันกระนั้นหรือ ที่เขียนมายืดยาวเพราะเหลืออดจริงๆ. ......
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 61 Views 0 Reviews
  • ข้าวเหนียวห่อใบตอง จากใจฅนดอยคำ

    เมื่อวันก่อนมีภาพข้าวเหนียวไก่ย่างห่อใบตองติดป้ายดอยคำ ที่นำไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดเชียงราย ถูกนำไปโจมตี ผลก็คือมีชาวเน็ตจำนวนมากตอบโต้ ถึงข้อดีของการนำอาหารห่อใบตอง เมื่อเทียบกับกล่องพลาสติกหรือโฟม เพราะเมื่อทิ้งเป็นขยะ ใบตองสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ นอกจากนี้ เมนูข้าวเหนียวสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสียง่าย

    ต่อมาเฟซบุ๊กเพจ ดอยคำ - Doi Kham ของบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เผยแพร่ภาพที่บริษัทฯ มอบหมายให้โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 2 (แม่จัน) พร้อมด้วยฅนดอยคำ ร่วมแรงร่วมใจกัน จัดทำข้าวเหนียวไก่ทอดห่อใบตองเพิ่มจำนวน 500 ชุด สำหรับนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอแม่สาย และ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยได้รับสนับสนุนเงินบริจาคจากเจ้าหน้าที่ พนักงานฅนดอยคำ ประจำสำนักงานใหญ่และโรงงานหลวงฯ ทั้ง 3 แห่ง นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม น้ำผลไม้พร้อมดื่ม ข้าวสารและอาหารแห้งอีกด้วย

    หนึ่งในภาพที่นำมาเผยแพร่ เป็นกระบวนการผลิตข้าวเหนียวไก่ทอดห่อใบตอง ที่พบว่าพนักงานพิถีพัถัน โดยเฉพาะการสวมหมวกคุมศีรษะ การใช้ถุงมือในการปรุงอาหาร และหยิบจับอาหารมาบรรจุลงในใบตอง แสดงให้เห็นถึงการปฎิบัติตามหลักความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety) อย่างสม่ำเสมอ แม้จะเป็นกิจกรรมทำอาหารเพื่อแจกจ่ายก็ตาม

    สำหรับดอยคำก่อตั้งเมื่อปี 2537 ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป ในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ส่งเสริมการเพาะปลูกและรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรจากเกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม โดยมีกำไรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ ใช้ในการดูแลพนักงาน นำกลับมารับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด และวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ปัจจุบันมีโรงงานอาหารสำเร็จรูป 3 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และสกลนคร

    ข้อมูลจากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30 กล่าวถึงการใช้ประโยชน์จากใบตองว่า ใช้ในการห่อผักสดและอาหาร เนื่องจากใบตองสดมีความชื้น ช่วยรักษาผักหรืออาหารให้สดอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังทนทานต่อความเย็นและความร้อน เมื่อนำใบตองห่ออาหารแล้วเอาไปปิ้ง นึ่ง ต้ม จะไม่สลายหรือละลายเหมือนพลาสติก จึงมีอาหารหลายอย่างที่ห่อใบตองแล้วนำไปนึ่ง เช่น ห่อหมก ข้าวต้มผัด ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ หรือเอาไปปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง หรือนำไปต้ม เช่น ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มจิ้ม อาหารเหล่านี้ยังทำให้เกิดความหอมของใบตองอีกด้วย สำหรับใบตองแห้ง นำมาใช้ทำกระทงเพื่อใส่อาหาร ห่อกะละแม มวนบุหรี่ โดยใบตองแห้งก็จะมีกลิ่นหอมเช่นกัน

    #Newskit #น้ำท่วมเชียงราย #ดอยคำ
    ข้าวเหนียวห่อใบตอง จากใจฅนดอยคำ เมื่อวันก่อนมีภาพข้าวเหนียวไก่ย่างห่อใบตองติดป้ายดอยคำ ที่นำไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดเชียงราย ถูกนำไปโจมตี ผลก็คือมีชาวเน็ตจำนวนมากตอบโต้ ถึงข้อดีของการนำอาหารห่อใบตอง เมื่อเทียบกับกล่องพลาสติกหรือโฟม เพราะเมื่อทิ้งเป็นขยะ ใบตองสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ นอกจากนี้ เมนูข้าวเหนียวสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสียง่าย ต่อมาเฟซบุ๊กเพจ ดอยคำ - Doi Kham ของบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เผยแพร่ภาพที่บริษัทฯ มอบหมายให้โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 2 (แม่จัน) พร้อมด้วยฅนดอยคำ ร่วมแรงร่วมใจกัน จัดทำข้าวเหนียวไก่ทอดห่อใบตองเพิ่มจำนวน 500 ชุด สำหรับนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอแม่สาย และ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยได้รับสนับสนุนเงินบริจาคจากเจ้าหน้าที่ พนักงานฅนดอยคำ ประจำสำนักงานใหญ่และโรงงานหลวงฯ ทั้ง 3 แห่ง นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม น้ำผลไม้พร้อมดื่ม ข้าวสารและอาหารแห้งอีกด้วย หนึ่งในภาพที่นำมาเผยแพร่ เป็นกระบวนการผลิตข้าวเหนียวไก่ทอดห่อใบตอง ที่พบว่าพนักงานพิถีพัถัน โดยเฉพาะการสวมหมวกคุมศีรษะ การใช้ถุงมือในการปรุงอาหาร และหยิบจับอาหารมาบรรจุลงในใบตอง แสดงให้เห็นถึงการปฎิบัติตามหลักความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety) อย่างสม่ำเสมอ แม้จะเป็นกิจกรรมทำอาหารเพื่อแจกจ่ายก็ตาม สำหรับดอยคำก่อตั้งเมื่อปี 2537 ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป ในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ส่งเสริมการเพาะปลูกและรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรจากเกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม โดยมีกำไรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ ใช้ในการดูแลพนักงาน นำกลับมารับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด และวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ปัจจุบันมีโรงงานอาหารสำเร็จรูป 3 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และสกลนคร ข้อมูลจากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30 กล่าวถึงการใช้ประโยชน์จากใบตองว่า ใช้ในการห่อผักสดและอาหาร เนื่องจากใบตองสดมีความชื้น ช่วยรักษาผักหรืออาหารให้สดอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังทนทานต่อความเย็นและความร้อน เมื่อนำใบตองห่ออาหารแล้วเอาไปปิ้ง นึ่ง ต้ม จะไม่สลายหรือละลายเหมือนพลาสติก จึงมีอาหารหลายอย่างที่ห่อใบตองแล้วนำไปนึ่ง เช่น ห่อหมก ข้าวต้มผัด ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ หรือเอาไปปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง หรือนำไปต้ม เช่น ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มจิ้ม อาหารเหล่านี้ยังทำให้เกิดความหอมของใบตองอีกด้วย สำหรับใบตองแห้ง นำมาใช้ทำกระทงเพื่อใส่อาหาร ห่อกะละแม มวนบุหรี่ โดยใบตองแห้งก็จะมีกลิ่นหอมเช่นกัน #Newskit #น้ำท่วมเชียงราย #ดอยคำ
    Like
    Love
    7
    3 Comments 0 Shares 198 Views 0 Reviews
  • กระทรวงการคลังจีน จะระงับการยกเว้นภาษีสินค้าเกษตร 34 รายการที่นำเข้าจากไต้หวัน รวมถึงผลไม้สด ผัก และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กันยายนเป็นต้นไป

    18 กันยายน 2567-รายงานข่าวรอยเตอร์ระบุว่า กระทรวงการคลังของจีนแถลงเมื่อวันพุธนี้ว่า จีนจะระงับการยกเว้นภาษีสินค้าเกษตร 34 รายการที่นำเข้าจากไต้หวัน รวมถึงผลไม้สด ผัก และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กันยายนเป็นต้นไป

    กระทรวงการคลังจีนกล่าวว่าภาษีสินค้าเหล่านี้จะถูกนำไปปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่มีอยู่

    “การที่ไต้หวันใช้มาตรการเลือกปฏิบัติ เช่น การห้ามและจำกัดการส่งออกผลิตภัณฑ์จากแผ่นดินใหญ่โดยฝ่ายเดียว ได้ขัดขวางความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างช่องแคบไต้หวันอย่างร้ายแรง” แถลงการณ์ระบุ

    ก่อนหน้านี้ไต้หวันก็ได้ใช้มาตรการจำกัดทางการค้าฝ่ายเดียวกับสินค้าส่งออกของจีนมากกว่า 2,500 รายการ ซึ่งถือว่าผิดเจตนารมณ์ของ ECFA ที่มุ่งลดหรือยกเลิกการเก็บภาษีระหว่างกัน

    ขณะที่จีนพยายามกดดันรัฐบาล ไล่ ชิงเต๋อ ด้วยการยกเลิกสิทธิพิเศษบางส่วนภายใต้เงื่อนไข ECFA โดยใช้มาตรการระงับยกเว้นภาษีสินค้าไต้หวันแต่วันที่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมาโดยครอบคลุมสินค้า 134 ชนิดที่นำเข้าจากเกาะไต้หวัน รวมถึงน้ำมันพื้นฐาน (base oils) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น น้ำมันหล่อลื่น (lubricants) เป็นต้น

    ทั้งนี้ ECFA เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีน-ไต้หวัน (Economic Cooperation Framework Agreement) เป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) สนธิสัญญาดังกล่าวได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ณ เมืองฉงชิ่ง เพื่อเปิดการค้าระหว่างประเทศ

    ตามข้อมูลจากศูนย์บริการ ECFA ของไต้หวัน ณ สิ้นปี 2023 ไต้หวันได้รับการลดภาษีจากแผ่นดินใหญ่ภายใต้ ECFA มูลค่า 10,100 ล้านดอลลาร์ในช่วง 13 ปี ในขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่ได้รับการลดภาษีจากเกาะไต้หวันเพียง 1,080 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกัน

    #Thaitimes
    กระทรวงการคลังจีน จะระงับการยกเว้นภาษีสินค้าเกษตร 34 รายการที่นำเข้าจากไต้หวัน รวมถึงผลไม้สด ผัก และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กันยายนเป็นต้นไป 18 กันยายน 2567-รายงานข่าวรอยเตอร์ระบุว่า กระทรวงการคลังของจีนแถลงเมื่อวันพุธนี้ว่า จีนจะระงับการยกเว้นภาษีสินค้าเกษตร 34 รายการที่นำเข้าจากไต้หวัน รวมถึงผลไม้สด ผัก และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กันยายนเป็นต้นไป กระทรวงการคลังจีนกล่าวว่าภาษีสินค้าเหล่านี้จะถูกนำไปปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่มีอยู่ “การที่ไต้หวันใช้มาตรการเลือกปฏิบัติ เช่น การห้ามและจำกัดการส่งออกผลิตภัณฑ์จากแผ่นดินใหญ่โดยฝ่ายเดียว ได้ขัดขวางความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างช่องแคบไต้หวันอย่างร้ายแรง” แถลงการณ์ระบุ ก่อนหน้านี้ไต้หวันก็ได้ใช้มาตรการจำกัดทางการค้าฝ่ายเดียวกับสินค้าส่งออกของจีนมากกว่า 2,500 รายการ ซึ่งถือว่าผิดเจตนารมณ์ของ ECFA ที่มุ่งลดหรือยกเลิกการเก็บภาษีระหว่างกัน ขณะที่จีนพยายามกดดันรัฐบาล ไล่ ชิงเต๋อ ด้วยการยกเลิกสิทธิพิเศษบางส่วนภายใต้เงื่อนไข ECFA โดยใช้มาตรการระงับยกเว้นภาษีสินค้าไต้หวันแต่วันที่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมาโดยครอบคลุมสินค้า 134 ชนิดที่นำเข้าจากเกาะไต้หวัน รวมถึงน้ำมันพื้นฐาน (base oils) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น น้ำมันหล่อลื่น (lubricants) เป็นต้น ทั้งนี้ ECFA เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีน-ไต้หวัน (Economic Cooperation Framework Agreement) เป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) สนธิสัญญาดังกล่าวได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ณ เมืองฉงชิ่ง เพื่อเปิดการค้าระหว่างประเทศ ตามข้อมูลจากศูนย์บริการ ECFA ของไต้หวัน ณ สิ้นปี 2023 ไต้หวันได้รับการลดภาษีจากแผ่นดินใหญ่ภายใต้ ECFA มูลค่า 10,100 ล้านดอลลาร์ในช่วง 13 ปี ในขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่ได้รับการลดภาษีจากเกาะไต้หวันเพียง 1,080 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกัน #Thaitimes
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 823 Views 0 Reviews
  • ทานผักมากๆก็ได้น้ำตาลสูงเหมือนกันนะครับ #เมนูดูแลสุขภาพ #ต้มจับฉ่าย #บ้านแกงไทย #Thaitimes #Thaifood
    ทานผักมากๆก็ได้น้ำตาลสูงเหมือนกันนะครับ #เมนูดูแลสุขภาพ #ต้มจับฉ่าย #บ้านแกงไทย #Thaitimes #Thaifood
    Like
    Love
    4
    0 Comments 0 Shares 838 Views 268 0 Reviews
  • #ช่วยน้ำท่วม
    #อาหารแจกน้ำท่วม
    #แตงกวา
    #อาหารบูด
    #thaitimes

    ช่วงนี้มีหลายคน หลายหน่วยงาน ทำอาหารไปแจกให้ชาวบ้านที่ประสบกับภัยน้ำท่วมตามที่ต่างๆ อยากฝากถึงเรื่องนี้ไว้พิจารณาด้วยเถิด แม้นข้าพเจ้าจะเขียนไว้ตั้งแต่ช่วงหน้าร้อน แต่ก็ใช้ได้กับเหตุการณ์ในขณะนี้เช่นกันนั่นคือ

    แตงกวา คือผักที่มักถูกใส่ในเมนูอาหารจานเดียวจำนวนมาก โดยเฉพาะในข้าวผัด หรือตระกูลข้าวหน้าต่างๆ แต่เนื่องจากเมืองไทยอากาศร้อน โดยเฉพาะช่วงนี้ จึงมักทำให้อาหารที่บรรจุกล่อง หรือถุง เปลี่ยนสภาพง่าย ด้วยความที่แตงกวามีน้ำอยู่เยอะนั่นเอง

    ถ้าต้องการให้อาหารที่ทำไม่เสียเร็ว จึงไม่ควรเอาแตงกวาวางโปะบนข้าว ยิ่งอบในกล่องในถุงที่รัดยาง รอลูกค้ามาซื้อตามร้านอาหาร ต้องพิจารณาดีๆ ไม่ควรซื้อหากทราบว่าทางร้านใส่ถุงไว้แต่เช้า แต่เลยเที่ยงไปแล้วยังขายไม่หมด เพราะโอกาสที่ข้าวจะบูดเป็นไปได้สูง ถ้าร้านขายอาหารร้านไหนวางแตงกวาโปะมาบนข้าวที่บรรจุกล่องหรือในถุง ที่ไม่ถึงมือคนกินภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง สามารถสันนิษฐานไว้ว่าคนทำไม่ใช่มืออาชีพผู้มีความใส่ใจเพียงพอ
    #ช่วยน้ำท่วม #อาหารแจกน้ำท่วม #แตงกวา #อาหารบูด #thaitimes ช่วงนี้มีหลายคน หลายหน่วยงาน ทำอาหารไปแจกให้ชาวบ้านที่ประสบกับภัยน้ำท่วมตามที่ต่างๆ อยากฝากถึงเรื่องนี้ไว้พิจารณาด้วยเถิด แม้นข้าพเจ้าจะเขียนไว้ตั้งแต่ช่วงหน้าร้อน แต่ก็ใช้ได้กับเหตุการณ์ในขณะนี้เช่นกันนั่นคือ แตงกวา คือผักที่มักถูกใส่ในเมนูอาหารจานเดียวจำนวนมาก โดยเฉพาะในข้าวผัด หรือตระกูลข้าวหน้าต่างๆ แต่เนื่องจากเมืองไทยอากาศร้อน โดยเฉพาะช่วงนี้ จึงมักทำให้อาหารที่บรรจุกล่อง หรือถุง เปลี่ยนสภาพง่าย ด้วยความที่แตงกวามีน้ำอยู่เยอะนั่นเอง ถ้าต้องการให้อาหารที่ทำไม่เสียเร็ว จึงไม่ควรเอาแตงกวาวางโปะบนข้าว ยิ่งอบในกล่องในถุงที่รัดยาง รอลูกค้ามาซื้อตามร้านอาหาร ต้องพิจารณาดีๆ ไม่ควรซื้อหากทราบว่าทางร้านใส่ถุงไว้แต่เช้า แต่เลยเที่ยงไปแล้วยังขายไม่หมด เพราะโอกาสที่ข้าวจะบูดเป็นไปได้สูง ถ้าร้านขายอาหารร้านไหนวางแตงกวาโปะมาบนข้าวที่บรรจุกล่องหรือในถุง ที่ไม่ถึงมือคนกินภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง สามารถสันนิษฐานไว้ว่าคนทำไม่ใช่มืออาชีพผู้มีความใส่ใจเพียงพอ
    0 Comments 0 Shares 245 Views 0 Reviews
  • #นิยายไทย
    #คู่กรรม2
    #ทมยันตี
    #หนังสือน่าอ่าน
    #thaitimes
    #14ตุลา



    อ่านจบเดือนครึ่งเกือบสองเดือนแล้วสำหรับคู่กรรม2 ของทมยันตี สองเล่ม 702 หน้า สนพ. ณ บ้านวรรณกรรม พิมพ์ที่อ่านนี้เป็นครั้งที่ 9 ปี 2552 (ยืมจากห้องสมุด) ในอดีตเคยอ่านแค่ตอนเดียวสมัยเรื่องนี้พิมพ์ลงในนิตยสาร โลกวลี ช่วงสมัยอยู่มัธยม

    เมื่อดูจากปกในที่ระบุว่ามีการรวมเล่มครั้งแรกปี 2534 เท่ากับว่าเรื่องนี้ปรากฏโฉมสู่สายตานักอ่านมาถึงปัจจุบันรวมเวลา 33 ปีล่วงแล้ว

    เคยชมภาพยนตร์ที่นำแสดงโดย คุณพล ตัณฑเสถียร และคุณศิริลักษณ์ ผ่องโชค เมื่อปี 2539 รู้สึกตอนจบรันทดหดหู่เนื่องจากลูกชายของอังศุมาลินตายเพราะช่วยลูกศิษย์ เลยไม่อยากอ่านหนังสือ แต่เพิ่งจะรู้ข้อมูลเมื่อไม่นานมานี้เองว่าบทสรุปในหนังสือนั้นต่างไปจากที่ถูกสร้างเป็นหนัง ดังนั้นจึงเกิดแรงใจในการหามาอ่านให้จบสมบูรณ์ หลังจากที่เคยอ่านภาคแรกจบตั้งแต่สามสิบกว่าปีก่อน

    พบคำผิดประปรายในการพิมพ์ครั้งที่ 9 บางคำก็ได้ความรู้เพิ่มเติมว่าสามารถเขียนได้สองแบบ เช่นคำว่า กระแหนะกระแหน ซึ่งเขียนว่า กระแนะกระแหน ก็ได้ ที่ผ่านมาตัวเองคุ้นชินกับการเขียนแบบมี ห นำหน้ามาตลอด พอเห็นว่าในหนังสือใช้เป็นแบบไม่มี ห นำ ยังคิดว่าน่าจะพิมพ์ผิด เมื่อลองค้นจึงค่อยทราบว่าไม่ผิด ซึ่งในเล่มช่วงแรก ก็ไม่มี ห แต่พอช่วงหลังมี ห โผล่มาซะงั้น อดคิดไม่ได้ว่าตกลงจะเลือกใช้แบบไหนก็น่าจะเอาสักทาง ให้เหมือนกันตลอดทั้งเรื่อง

    จากนี้ไปจะยาวมากครับ คงมีคนอ่านไม่มาก ถ้าใครอ่านต่อจนจบได้ขอโปรดรับคำขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย

    ในส่วนเนื้อเรื่องของภาคนี้ ดำเนินต่อจากความตายของโกโบริ คืออังศุมาลินท้องแก่และคลอดลูกชาย ให้ชื่อว่ากลินท์ที่หมายถึงพระอาทิตย์ ชื่อญี่ปุ่น โยอิจิ โยหมายถึงดวงอาทิตย์ อิจิคือลูกคนแรก พ่อของอังศุมาลินยังคงห่วงใยคนรักเก่าและลูกสาวที่บ้านสวน จึงมาบอกข่าวว่าอีกไม่นานญี่ปุ่นคงจะแพ้สงคราม ซึ่งจะส่งผลกระทบมาสู่แม่อร อังศุมาลินและลูกโดยตรง จึงอยากจะช่วยเหลือ แต่แม่อรปฏิเสธ ไม่ใช่แค่คนเป็นพ่อที่ห่วงใย แม้ตาผลตาบัวสองคู่หูคู่หอย ก็หมั่นนำข่าวมาบอกว่าอีกไม่นานพลพรรคจะนัดกันลุกฮือต่อสู้ญี่ปุ่น รวมถึงวนัสที่ได้รับอิสระจากความช่วยเหลือของโกโบริก่อนตาย จึงกลับมาหาอังศุมาลินเพื่อบอกข่าวและถามเธอว่าจะยอมแต่งงานกับเขาไหม เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาที่กำลังจะเกิด แต่อังศุมาลินปฏิเสธ เธอยินดีที่จะอยู่ดูแลลูกต่อไปในบ้านสวน ไม่ย้ายหนีไปไหนทั้งนั้น แล้วคุณยายแม่ของแม่อร และยายของอังศุมาลิน ก็จากไปเป็นคนแรกของภาคนี้ แต่เป็นการจากอย่างสงบ เตรียมตัวตายอย่างดี ไปถือศีลอยู่วัดไม่ต้องลำบากลูกหลาน

    เวลาผ่านไป ในที่สุดญี่ปุ่นแพ้สงครามพ่อของอังศุมาลินมาบอกทุกคนที่บ้านสวนว่าจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ช่วงบั้นปลายชีวิต ทุกคนร่วมอนุโมทนา หลังบวชท่านต่างจากพระอื่นในวัด ไปอยู่กุฏิเล็กโทรมเพียงรูปเดียว ฉันวันละมื้อ และปฏิบัติเคร่งครัดจนชาวบ้านพากันโจษจันไปทั่วคุ้งน้ำ ด้านเด็กชายกลินท์เจริญวัยขึ้น ได้รับความเอาใจใส่จากแม่ และปู่คือตาผลตาบัวที่อุปโลกน์ตนเอง โดยเล่าเรื่องราวต่างๆของแม่และโกโบริให้กับเด็กชายฟัง ก่อนที่ทั้งคู่จะทยอยตายจากไปเช่นกัน จึงเหลือเพียงแม่อร ที่มักไปอยู่วัดบ่อยเหมือนเช่นทวดของกลินท์ นาน ๆ ครั้งกลินท์จึงได้ติดตามยายกับแม่ไปกราบท่าน กาลล่วงเลยจนเด็กชายเติบใหญ่เป็นหนุ่มวัย 27 ปี ดีกรีอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์ที่ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นที่ชื่นชอบในบรรดาเหล่าลูกศิษย์โดยเฉพาะนักศึกษาหญิง

    ขณะที่เมืองไทยเข้าสู่ช่วงปีที่ในกรุงเทพกำลังเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้านสินค้าและอื่นใดที่มาจากญี่ปุ่น ซึ่งสร้างชาติอย่างรวดเร็วภายหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง โดยเน้นทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้โยอิจิที่มีปมเป็นลูกที่มีเลือดญี่ปุ่นครึ่งหนึ่ง นึกรังเกียจไม่พอใจชาติกำเนิดตนเอง ต่อต้านพ่อที่ตายไปแล้ว และไม่เข้าใจแม่ จึงกลายเป็นคนที่ให้คำแนะนำแก่บรรดาศิษย์หัวรุนแรง ก้าวหน้า ฝักใฝ่ปลดแอกประชาชนจากการเป็นทาสทุนนิยมบริโภคและทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น โดยไม่มีใครรู้ความจริงของพ่ออาจารย์

    ทางบ้านสวน แม้โยอิจิจะรักแม่มาก แต่ขณะเดียวกันใจก็ยังไม่ยอมรับพ่อ กลายเป็นเหมือนเด็กน้อยที่เอาแต่ใจ รั้น และดื้อเงียบ แต่เขาเข้ากันได้อย่างดีกับลุงวนัสที่สนิทสนมมาแต่เด็ก เข้าออกบ้านลุงบ่อย ตั้งแต่กำนันพ่อของวนัสยังมีชีวิตอยู่จนตายไปในเวลาต่อมา วนัสทำธุรกิจหลายอย่าง รวมถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเรือนไทยของตนให้เป็นที่ทำงานด้วย วนัสไม่ยอมแต่งงานสักทีตั้งแต่อกหักจากอังศุมาลิน แม้โยอิจิจะรู้ว่าวนัสมีการคบหาทำธุรกิจกับพวกคนญี่ปุ่น เขาไม่เห็นด้วยแต่ก็ยังรักชอบในฐานะลุงเช่นเดิม

    ส่วนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเขาเป็นอาจารย์สอนอยู่นั้น เขาคอยเป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มนิสิตนักศึกษาระดับผู้นำหลายคนที่เรียกร้องรัฐบาลให้บอยคอตคนญี่ปุ่นรวมถึงธุรกิจ สินค้าทุกชนิด โดยที่ไม่มีใครรู้ความจริงว่าเขามีพ่อเป็นใคร ขณะที่มีอาจารย์สาวคนหนึ่งชื่อ ชิตาภา หน้าตาดี ครอบครัวเป็นชาวจีนมีอันจะกินที่มาตั้งรกรากสร้างตัวจนกลายเป็นมีกิจการค้ารุ่งเรือง มักชอบเข้าหามาชวนเขาสนทนาอยู่บ่อยครั้ง ดูเหมือนเธอจะพึงใจในตัวโยอิจิอยู่บ้าง และน่าจะมีอะไรที่มากกว่านั้น แต่เขาไม่สนใจ มักคุยด้วยไม่นาน และสร้างขอบเขตส่วนตัวที่กันคนอื่นออกไปอยู่วงนอกเสมอ ไม่ยอมให้ใครเข้าถึงความในใจตนได้

    แล้ววันหนึ่งนักศึกษาสาวปีสามรัฐศาสตร์นามว่า ศราวณี ผู้เป็นแกนนำหัวรุนแรงที่ต่อต้านคนญี่ปุ่นและสินค้าญี่ปุ่น รวมถึงต่อต้านรัฐบาลทหารในช่วงนั้น ซึ่งรู้ความจริงเรื่องของพ่อโยอิจิ และมีความคับแค้นจากปมในครอบครัวตนซึ่งแม่ตายตั้งแต่เด็ก ถูกเลี้ยงดูมาจากยายและป้าที่เป็นพี่สาวของแม่ และเข้าใจผิดฝังหัวมาตลอดเกี่ยวกับครอบครัวบ้านสวนของอังศุมาลิน ที่มาแย่งชิงความรักไปจากคุณตาของเธอ เพราะทั้งยายและป้ามักเล่าความหลังโดยบิดความจริงแล้วใส่สีตีไข่ บริภาษแม่อรว่าคือผู้เป็นเมียน้อยที่แย่งความรักไป ทำให้ครอบครัวฝั่งยายลำบาก และโดนแย่งสมบัติไปหมด แม่และป้าจึงโตมาอย่างยากแค้นจนแม่ตายไปและป้าต้องรับเลี้ยงศราวณีต่อมาอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทำให้ป้ามักอารมณ์เสียใส่เธอเสมอตั้งแต่เด็กจนโต เพาะเป็นความเกลียดชังต่อครอบครัวฝั่งบ้านสวน ทั้งที่ตัวเองไม่เคยพบหน้าอีกฝ่าย จนเมื่อเข้ามาเป็นนักศึกษาและพบว่าโยอิจิสอนหนังสืออยู่ที่ธรรมศาสตร์ จึงพุ่งความโกรธเกลียดที่ตนเคยได้รับจากป้ามารวมอยู่ที่อาจารย์ทั้งหมด จนกระทั่งบอกความลับเรื่องพ่อของโยอิจิออกไปให้พวกเพื่อนกลุ่มหัวรุนแรงด้วยกันรับรู้

    วันที่พวกเธอและเพื่อนตามตัวให้โยอิจิมาที่ห้องซึ่งเป็นที่รวมพลเพื่อพูดคุยเรื่องจะทำอะไรต่อไป แล้วใครคนหนึ่งได้กล่าวเปิดโปงเรื่องโกโบริ และพูดจาดูถูกเหยียดหยามเชื้อชาติของพ่อ วินาทีนั้นเองโยอิจิกลับเพิ่งเข้าใจหัวใจตนเองเป็นครั้งแรกในชีวิต 27 ปีที่ผ่านมา ว่าแท้จริงเขารักพ่อและเทิดทูนในเกียรติยศของทหารหาญมากแค่ไหน เขายอมรับอย่างตรงไปตรงมาด้วยท่าทีแสดงออกถึงความภูมิใจในสายเลือดแห่งตนด้วยน้ำเสียงที่เปี่ยมพลัง ที่สามารถสยบเสียงโห่ฮาขับไล่ของเหล่านักศึกษาให้สงบลงได้ นั่นคือครั้งแรกเช่นกันที่สร้างความประหลาดใจแกมรู้สึกผิดอยู่เบื้องลึกให้เกิดขึ้นในหัวใจของศราวณี ที่ไม่นึกฝันว่าโยอิจิจะกล้ายอมรับอย่างไม่สะทกสะท้าน

    นับตั้งแต่วันนั้น โยอิจิเหมือนได้รับการปลดล็อกออกจากห้องขังที่ตนเองสร้างขึ้นเพื่อหนีความจริงสุดลึกที่เก็บกดไว้ เขาเข้าใจถึงความรักของแม่อันเป็นที่รักที่มีต่อพ่อชาวญี่ปุ่นอย่างท่วมท้นหัวใจแล้ว พ่อไม่เคยทำสิ่งไม่ดี มีแต่ทำตามหน้าที่ของชายชาติทหารที่ได้รับมอบหมาย ไม่ได้ทำไปด้วยความจงเกลียดจงชัง โยอิจิกลับไปที่บ้านสวนในเย็นวันนั้นอย่างคนที่บาดเจ็บสาหัส ไม่ใช่ทางกาย แต่ได้รับความกระทบกระเทือนทางใจอย่างรุนแรง อังศุมาลินรับรู้ได้ด้วยสายตาและหัวใจของคนเป็นแม่ แม้ไม่รู้ว่าลูกชายพบเจอเรื่องใดมาทำได้แค่ยกสองมือขึ้นโอบกอดถ่ายเทความรักความอบอุ่นที่มีให้กับลูกชายด้วยความเข้าใจอย่างสงบ

    โยอิจิไม่รู้ความจริงว่าศราวณีคือน้องสาวที่เป็นลูกพี่ลูกน้อง เกิดจากน้องสาวต่างมารดาของอังศุมาลิน มีเพียงอาจารย์ชิตาภาที่ทราบ เพราะเธอเป็นญาติที่มีศักดิ์เป็นคุณน้าของศราวณี แต่ยังไม่อาจเล่าให้เขาฟัง โยอิจิยังคงสงสัยและเคลือบแคลงว่าชิตาภาประสงค์สิ่งใดแน่จึงมักหาเหตุมาใกล้ชิดชวนสนทนากับตน

    ด้วยความรู้สึกผิดเกาะกินจากภายใน รวมถึงปัญหาต่าง ๆ รุมเร้า แม้ใจจะต่อต้านพี่ชายอย่างอาจารย์กลินท์ แต่เบื้องลึกเธอกลับมีความรู้สึกที่ดี รักเคารพในชายคนนี้อย่างไม่รู้ตัว วันหนึ่งโยอิจิพบเธอนั่งซึมอยู่ที่ท่าเรือ เหมือนรอคอยจะพบเขาและตามลงเรือมาที่บ้านสวนด้วย ศราวณีจึงได้พบกับสรวงสวรรค์บ้านเรือนไทยหลังเดียวในย่านนั้นที่ยังคงสภาพเหมือนเดิมกับช่วงเกิดสงคราม ในขณะที่บ้านหลังอื่นเปลี่ยนแปลงไปสร้างตามอย่างต่างชาติหมด เธอพบบรรยากาศที่ร่มรื่นชื่นเย็น สงบสุขอย่างไม่เคยได้รับยามเมื่อกลับถึงบ้านที่อยู่กับป้า ยิ่งเมื่อได้พบเจออังศุมาลิน ภาพที่เคยคิดไว้กลับตรงข้ามกับสิ่งที่เห็นและได้ยินทุกอย่างต่างจากที่ยายและป้าได้พูดใส่หูเธอมาตลอด เธอรู้สึกได้รับความสุข สงบ สบายใจและผ่อนคลายอย่างที่ไม่เคยเกิด และเริ่มเปลี่ยนความคิดที่มีต่อครอบครัวของโยอิจิ

    ทางด้านหลวงพ่อ หลังจากบวชเพื่อปฏิบัติอย่างเอาจริงอยู่จนล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย ที่สุดก็มรณภาพอย่างสงบในท่านั่งสมาธิอยู่ในกุฏิ ทำให้ชาวบ้านโจษจันต่างศรัทธานับถือ จนเจ้าอาวาสและทางกรรมการวัดเห็นเป็นโอกาสในการสร้างเรื่องเรียกคนเข้ามาทำบุญเพิ่ม ด้วยการยกให้หลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาทันที ทั้งที่ตอนมีชีวิต ไม่ใคร่สนใจ

    ที่บ้านสวนส่วนใหญ่อังศุมาลินอยู่บ้านคนเดียว ทำงานบ้านดูแลอาหารการกินเตรียมไว้ให้ลูกชาย ทว่าเริ่มมีอาการป่วยที่ค่อย ๆ รุนแรงมากขึ้นจนต้องแอบไปที่ศิริราช โดยมีเจ้าโก๊ะเด็กชายตัวน้อย ลูกของคนจรจัดหญิงชายที่มาขออาศัยอยู่ในสวนด้านหลังบ้านตามไปเป็นเพื่อน พ่อแม่ของโก๊ะนั้นเป็นประเภทไม่ชอบทำมาหากิน ขี้เหล้าเมายา เล่นพนันไปตามเรื่อง อังศุมาลินเคยหวังดีเอ่ยปากแนะนำให้ตั้งตัวขยันทำกินหลายครั้ง แต่ทั้งสองไม่สนใจ เอาแต่เก็บผักผลไม้จากในสวนของแม่อรและอังศุมาลิน มากินและขายด้วยถือวิสาสะว่าเหมือนของตน และมักใช้ให้โก๊ะมาขอเงินจากอังศุมาลินบ่อย ๆ

    ส่วนเหตุการณ์ทางด้านการบ้านการเมืองกลับทวีความรุนแรง คุกรุ่นขึ้นเรื่อย ๆ บรรดานักศึกษาต่างรวมตัวกันในสถาบันหลายแห่ง รวมถึงขึ้นเวทีพูดปลุกระดมให้ชาวบ้านฟังและเข้าร่วมสนับสนุนฝ่ายตนมากขึ้น ขณะที่ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องที่ร่างขึ้น เหตุการณ์ช่วงปี พ.ศ. 2516 เริ่มขมวดปมความขัดแย้งระหว่างฝ่ายผู้บริหารกับฝ่ายนักศึกษา ผ่านสายตาของโยอิจิและชิตาภาที่คอยเฝ้ามองอย่างห่าง ๆ ด้วยความเป็นห่วงในตัวศิษย์ แม้เคยกล่าวเตือนในหลายครั้งให้ศราวณีระมัดระวัง อย่าทำอะไรที่ผลีผลาม หุนหันพลันแล่น แต่อย่างไรเด็กก็คือเด็ก เมื่อเขามีความเชื่อฝังหัวไปทางด้านหนึ่ง ก็ขาดความใคร่ครวญพิจารณาอย่างรอบถ้วน และมองไม่เห็นถึงภัยร้ายที่จะบังเกิดขึ้นในเมื่อทุกสิ่งถูกปลุกเร้าเข้าสู่ห้วงวิกฤต

    สุดท้ายถึงวันแตกหักอันเป็นเหตุการณ์วิปโยคของคนไทยทุกคน จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับโยอิจิ ชิตาภา และศราวณี ในขณะที่อังศุมาลินนั้นก็มีอาการเจ็บป่วยที่มักเหนื่อยง่าย หน้าซีดจะเป็นลมบ่อย แต่ปิดไว้ไม่ให้ลูกชายรู้ ดูเหมือนเวลาชีวิตของเธอจะเหลืออีกไม่มากก่อนจะได้ตามไปอยู่กับโกโบริ สรุปสุดท้ายของนิยายจะลงเอยอย่างไรไปอ่านต่อได้ในคู่กรรม 2 ครับ

    🖋วิเคราะห์หลังอ่านจบ

    มีทั้งส่วนที่ชอบและไม่ชอบ ภาคนี้ต่างไปจากภาคแรกอย่างชนิดเหมือนเป็นนิยายคนละเรื่อง คนละแนวทาง คือภาคแรกมีความเป็นนิยายรักระหว่างรบ ที่มีทั้งปมความรัก ความขัดแย้งในตัวตนกับคนที่คิดว่าคือศัตรูเป็นแกนหลัก เน้นไปทางอารมณ์ความรู้สึกของอังศุมาลินและโกโบริ โดยมีเหตุการณ์น้อยใหญ่ที่เข้ามาสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกันของทั้งสองเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนถึงขั้นรัก แต่ไม่อาจเปิดใจเพราะติดที่กรอบซึ่งถูกสร้างขึ้นจากทั้งอังศุมาลินเอง และสังคมสร้างให้กลายเป็นขื่อคาที่ตรึงรั้งใจไว้ให้มิอาจแสดงออกถึงความรักได้ดังเช่นคู่สามีภรรยาปกติ จนนำไปสู่บทสรุปอันเจ็บปวดและขมขื่นในตอนท้ายเรื่องที่สร้างความจดจำและสะเทือนใจให้กับคนอ่านอย่างยิ่ง กลายเป็นอมตะนิยายรักแห่งโศกนาฏกรรมที่คนไทยรู้จักมากที่สุดเรื่องหนึ่ง

    มาในภาคนี้ เนื้อหาโครงสร้างหลักกลับเน้นไปที่ความมองโลกของคนเป็นแม่อย่างคนที่ผ่านประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตมาแล้ว และจะเลือกเดินหน้าต่อไปอย่างไรในสถานการณ์ที่คนไทยส่วนใหญ่เกลียดชังญี่ปุ่น ในขณะที่เธอคือภรรยาหม้ายและมีลูกชายสายเลือดที่เกิดจากทหารญี่ปุ่น ตลอดทั้งเล่มนี้ในความรู้สึกส่วนตัว ผมมองว่านี่คือนิยายธรรมะเล่มหนึ่งทีเดียว เพียงแต่ไม่ใช่ธรรมะที่เป็นคำบรรยายเทศน์ของพระผู้เป็นองค์ธรรมกถึก หากแต่เป็นหนังสือธรรมะที่นำพล็อตของนิยายมาสวม จึงพบได้ในหลายย่อหน้า แทบทุกตอนที่ผู้เขียนสอดแทรกแนวคิดหลักธรรมทางพุทธตามแนวที่ท่านเชื่อเป็นทางที่ถูกตรงลอยอบอวลอยู่ในการบรรยาย เหมือนตัวละครและฉากเหล่านั้นคือตัวแทนหรือเครื่องมือที่ต้องการสื่อสอนธรรมะไปสู่ผู้อ่านอยู่ตลอด โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องราวของความตาย ดังจะเห็นได้จากมีการจากไปของตัวละครเดิมที่มีบทบาทจากภาคแรก คนแล้วคนเล่า เริ่มตั้งแต่คุณยาย ตาผลตาบัว หลวงพ่อ และกำลังใกล้ตายอย่างอังศุมาลิน ทำนองแสดงสัจธรรมชีวิต

    หลายช่วงตอนที่มีการหยิบยกบทกลอนร้อยกรองจากในวรรณคดีไทย หรือที่ผู้เขียนแต่งขึ้น รวมถึงวลี ประโยคภาษาอังกฤษจากบทเพลง บทกวีต่าง ๆ ของทางตะวันตกมาใช้เพื่อสื่อแสดงถึงความรู้สึกของผู้เขียนที่ต้องการสะท้อนผ่านเรื่องราวของเหตุการณ์แวดล้อมรอบตัวโยอิจิ และตัวละครสำคัญ จนบางทีก็ดูมากไป อ่านไปเรื่อย ๆ อดที่จะคิดไม่ได้ว่าเล่มนี้ มีความคล้ายกันกับอีกเล่มของทมยันตีที่มีชื่อว่า จดหมายถึงลูก(ผู้)ชาย ที่เน้นสอนลูกของผู้เขียนเองและคนเป็นลูกชายทุกคน ด้วยการแทรกแนวคิดคำสุภาษิตไว้ในเนื้อหาตลอดเล่ม

    แล้วการเขียนลักษณะนี้ดีหรือไม่อย่างไร?

    คงขึ้นกับความชื่นชอบส่วนบุคคลของผู้อ่านที่มีรสนิยมแตกต่าง ส่วนผมเองนั้นไม่ถึงกับเรียกได้ว่าชอบทว่าก็ไม่ขัดใจมากมาย แต่ยอมรับว่าทมยันตีเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีความไม่ธรรมดาในด้านศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งหาตัวจับยาก แล้วนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการเขียนได้เก่งมากคนหนึ่งในเหล่านักเขียนรุ่นเก่า หากจะติบ้างก็คงเป็นความเข้าใจในทางหลักธรรมที่นำมาสอดแทรกไว้ในคู่กรรม2 นั้น ยังเป็นความเข้าใจที่เหมือนเช่นคนปฏิบัติธรรมทั่วไปในไทยเข้าใจกันว่าถูกต้อง คือเน้นการนั่งสมาธิเดินจงกรมว่าคือวิธีที่จะนำไปสู่การลดละกิเลสจนนำไปสู่ความหลุดพ้นได้ ดังที่ตัวละครหลวงพ่อในเรื่องได้ปฏิบัติและพูดคุยสอนธรรมกับโยอิจิ หรือแม่อร อังศุมาลิน ซึ่งโดยแท้จริงการปฏิบัติควรเน้นไปที่การมีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกที่จะจับอาการกิเลสแล้วกำจัดทิ้ง ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน หรืออิริยาบถย่อยอื่น ไม่ใช่เพียงแค่ตอนนั่งสมาธิเดินจงกรมเพียงเท่านั้น เพราะในชีวิตจริงมนุษย์ไม่อาจจะบังคับตนให้อยู่เพียงแค่ท่านั่งสมาธิต่อเนื่องยาวนานไปจนชั่วชีวิต

    นอกจากประเด็นที่กล่าวถึงนี้แล้วที่มีความเห็นไม่ตรงกับผู้เขียน ทางด้านอื่นถือว่าผมชอบนิยายเรื่องนี้ไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะการมองโลกที่มองทะลุถึงความเป็นจริงของสังคมไทย ลักษณะนิสัย ที่เจาะลึกให้เห็นว่าแม้นในอดีตสมัยสงครามคนไทยเป็นอย่างไร ปัจจุบันในยุคนี้ก็ยังคงพบเห็นได้ว่าไม่แตกต่างกันนัก จึงถือว่านิยายเล่มนี้ไม่ล้าสมัย โดยเฉพาะด้านการบ้านการเมืองที่ผู้มีอำนาจในฝ่ายรัฐ มักเลือกใช้วิถีทางแห่งความรุนแรงในการสยบปัญหาอยู่เสมอ โดยมีมือที่สามที่คอยฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ ยั่วยุ ปลุกปั่น และล่อลวงให้คู่กรณีระหว่างรัฐกับนักศึกษาและประชาชนปะทะแตกหัก จนเกิดความสูญเสีย อันมีแต่หายนะต่อประเทศชาติ

    ศราวณี คือตัวแทนที่เปรียบให้เห็นเด่นชัด ไม่ว่ายุคใด เหล่าเด็กหนุ่มสาวอนาคตชาติ มักถูกกระตุ้น ให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และปลุกเร้าจุดไฟติดได้โดยง่าย ด้วยพวกเขามีพลังงานล้นเหลือ เมื่อเลือกเชื่อไปทางใดทางหนึ่งแล้ว บางทีก็พุ่งไปข้างหน้าอย่างสุดกำลังโดยไม่ทันได้ใคร่ครวญ ยั้งคิด หรือพิจารณาทัศนียภาพรอบข้างระหว่างทางที่มุ่งไปให้ถี่ถ้วนรอบคอบ จึงมักตกเป็นฝ่ายที่ถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือให้ไปตายแทนคนบงการแท้จริงเบื้องหลังเสมอ

    และเมื่อเกิดความสูญเสียแล้วก็เป็นเช่นดังอะไหล่เลวที่โดนใช้แล้วทิ้งโดยไร้ความเสียดาย หรือจำเป็นต้องดูแลอย่างใดต่อไป กว่าพวกเขาจะรู้ตัว ความผิดพลาดพลั้งเผลอก็เกิดขึ้นและไปไกลเกินกว่าตนเองจะหยุดยั้ง ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ได้เสียแล้ว ดังจุดจบของตัวละครในเรื่องนี้หลังเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ความเก่งกล้า ไม่ยอมใคร ไม่ฟังอาจารย์ ความร้อนเร่าเอาแต่ใจ รั้นจะทำในสิ่งที่ตนคิดให้จงได้ ทว่าสุดท้ายกลับกลายพาเพื่อน คนที่ไม่รู้อะไรแต่ก็ตามกันไป ไปพบกับการบาดเจ็บล้มตายต่อหน้าต่อตา ถึงกับกรีดร้องอย่างบ้าคลั่ง หลบหนีตายจ้าละหวั่น กระทบกระเทือนถึงสภาพจิตใจอย่างรุนแรงจนแทบจะกลายเป็นบ้าไป เธอจึงได้รับบาดแผลลึกที่เสียใจก็ไม่ทันแล้ว กับไฟที่ตอนแรกเพียงแค่เหมือนไฟจากปลายก้านไม้ขีดในมือที่ขยับนิดเดียวก็ดับ สุดท้ายมันกลับกลายเป็นไฟกองใหญ่ที่โหมไหม้รวดเร็ว ลามเลียทำลายทุกสิ่งอย่างไม่อาจดับได้ด้วยแค่กำลังตนเอง

    นอกจากนี้ที่ชอบก็มีในส่วนของการใช้ภาพตัวละครในเรื่องอย่างครอบครัวของเจ้าโก๊ะ ที่สะท้อนภาพตัวแทนของชนชั้นล่างได้ชัดเจน ความเหลื่อมล้ำที่เหล่านักศึกษามักนำมาเป็นคำขวัญ ชูประเด็นเพื่อเรียกร้อง และรังเกียจเคียดแค้นเหล่าชนชั้นศักดินา ดังเช่นอาจารย์ชิตาภาที่ครอบครัวเป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่มาไทยอย่างเสื่อผืนหมอนใบ แต่ขยันขันแข็งและสร้างตัวจนมีทรัพย์ ร่ำรวยมีอันจะกินและสร้างธุรกิจด้วยการค้าขายขยับขยายฐานะ จนเลื่อนจากชนชั้นแรงงานต่างด้าวมาเป็นพ่อค้าวาณิชย์ที่มีกิจการมากมายและถูกแปะป้ายให้กลายเป็นศักดินาไป จนถูกมองว่าเป็นความผิดความเลวที่เข้ามากอบโกยนั้น หรือแม้แต่วนัสที่เป็นคนไทยแต่มีหัวในทางธุรกิจการค้า จึงติดต่อซื้อขายกับคนต่างชาติอย่างญี่ปุ่นหรือชาวตะวันตกจนมีฐานะเข้าขั้นเศรษฐี ทั้งที่ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นพวกเสรีไทย แต่ในภาคนี้เรียกได้ว่าแปะป้ายศักดินาตามความหมายของเหล่านักศึกษาได้เช่นกัน

    หากมองความจริงในอีกแง่มุม ย่อมเห็นได้ว่าคนไทยเองที่เป็นชนชั้นกรรมาชีพจำนวนมากนั้นมีสันดานเป็นอย่างพ่อและแม่ของเจ้าโก๊ะ ที่เอาแต่ชื่นชอบอยู่อย่างสบายไม่ต้องทำการทำงาน วันทั้งวันเอาแต่เมาหัวราน้ำ แม้นมีคนหยิบยื่นความช่วยเหลือหวังให้สร้างตัวเพื่อตั้งตนได้ แต่ก็ไม่กระตือรือร้นสนใจ หนักไม่เอาเบาไม่สู้ อยากแต่จะขอเขากินไปเรื่อย ๆ อาศัยความเมตตาและมีน้ำใจของครอบครัวแม่อรและอังศุมาลินเป็นเครื่องมือ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างคนขี้เกียจ รักสบายได้ต่อไป มีเงินก็หมดไปกับเหล้ายาและการพนัน เงินหมดก็ใช้ให้โก๊ะไปไถขอเอาใหม่ ด้วยรู้จุดว่าถ้าให้เด็กมาขออย่างไรก็ได้ นี่ไม่อาจยอมรับว่าไม่ว่าจะในนิยายซึ่งอยู่ในยุคหลังสงคราม หรือปัจจุบันที่ล่วงเลยมาอีกหลายสิบปี ก็ยังมีคนไทยที่เป็นเช่นนี้อีกเป็นจำนวนมาก แล้วจะไปโทษว่าแต่ความเหลื่อมล้ำเพราะชนชั้นได้เช่นไร ในเมื่อตนเองยินดีทำตนให้เป็นไปเช่นนั้น

    อังศุมาลินและโยอิชิคือตัวแทนของชนชั้นกลางที่น่าสนใจ ทั้งสองมีความรู้ตามทันยุคสมัยของความเปลี่ยนแปลง แต่ไม่หลงใหลปล่อยให้กระแสเชี่ยวแห่งคลื่นทุนนิยมเข้าครอบงำ ยังคงดำเนินชีวิตทั้งรูปแบบ และวิถีตามอย่างวัฒนธรรมอันดีงามในอดีตที่บรรพบุรุษสร้างไว้ ไม่ว่าจะเรือนพักอาศัยที่ไม่รื้อทิ้งหลังเก่าแล้วสร้างใหม่ และพยายามสงวนที่ดินสวนหลังบ้านไว้ปลูกผักปลูกไม้ผลให้พอเก็บกินไม่เดือดร้อน ในขณะครอบครัวอื่นขายที่ให้นายทุน และสร้างบ้านปูนกันไปเกือบหมด

    ภาพความขัดแย้งที่เห็นได้ชัดเจนนี้เองที่เป็นความงดงาม แม้นลำคลองจะไม่เหมือนเดิม คนไทยทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลงน้ำ ทำลายต้นกำเนิดรากเหง้าสายธารแห่งชีวิตของตนเอง ทำให้ปลา กุ้ง หอย สัตว์น้ำที่เคยมีลดน้อยจนกระทั่งหายไปไม่เหมือนก่อน เมื่อมาถึงยุคสมัยที่เรามีชีวิตอยู่นี้ เราจึงต้องแบกรับผลพวงที่ตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เราไม่ชอบ เราบ่นหรืออาจถึงขั้นก่นด่าคนรุ่นก่อน แต่เราเองก็ละเลยไม่ได้มองกลับเข้ามาในตน ว่าในแต่ละวันได้ทำอะไรที่เป็นไปในทางที่ทำร้าย ทำลายวิถีไทย สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมและประเพณีอันดีมากน้อยขนาดไหนอย่างไรบ้าง
    #นิยายไทย #คู่กรรม2 #ทมยันตี #หนังสือน่าอ่าน #thaitimes #14ตุลา อ่านจบเดือนครึ่งเกือบสองเดือนแล้วสำหรับคู่กรรม2 ของทมยันตี สองเล่ม 702 หน้า สนพ. ณ บ้านวรรณกรรม พิมพ์ที่อ่านนี้เป็นครั้งที่ 9 ปี 2552 (ยืมจากห้องสมุด) ในอดีตเคยอ่านแค่ตอนเดียวสมัยเรื่องนี้พิมพ์ลงในนิตยสาร โลกวลี ช่วงสมัยอยู่มัธยม เมื่อดูจากปกในที่ระบุว่ามีการรวมเล่มครั้งแรกปี 2534 เท่ากับว่าเรื่องนี้ปรากฏโฉมสู่สายตานักอ่านมาถึงปัจจุบันรวมเวลา 33 ปีล่วงแล้ว เคยชมภาพยนตร์ที่นำแสดงโดย คุณพล ตัณฑเสถียร และคุณศิริลักษณ์ ผ่องโชค เมื่อปี 2539 รู้สึกตอนจบรันทดหดหู่เนื่องจากลูกชายของอังศุมาลินตายเพราะช่วยลูกศิษย์ เลยไม่อยากอ่านหนังสือ แต่เพิ่งจะรู้ข้อมูลเมื่อไม่นานมานี้เองว่าบทสรุปในหนังสือนั้นต่างไปจากที่ถูกสร้างเป็นหนัง ดังนั้นจึงเกิดแรงใจในการหามาอ่านให้จบสมบูรณ์ หลังจากที่เคยอ่านภาคแรกจบตั้งแต่สามสิบกว่าปีก่อน พบคำผิดประปรายในการพิมพ์ครั้งที่ 9 บางคำก็ได้ความรู้เพิ่มเติมว่าสามารถเขียนได้สองแบบ เช่นคำว่า กระแหนะกระแหน ซึ่งเขียนว่า กระแนะกระแหน ก็ได้ ที่ผ่านมาตัวเองคุ้นชินกับการเขียนแบบมี ห นำหน้ามาตลอด พอเห็นว่าในหนังสือใช้เป็นแบบไม่มี ห นำ ยังคิดว่าน่าจะพิมพ์ผิด เมื่อลองค้นจึงค่อยทราบว่าไม่ผิด ซึ่งในเล่มช่วงแรก ก็ไม่มี ห แต่พอช่วงหลังมี ห โผล่มาซะงั้น อดคิดไม่ได้ว่าตกลงจะเลือกใช้แบบไหนก็น่าจะเอาสักทาง ให้เหมือนกันตลอดทั้งเรื่อง จากนี้ไปจะยาวมากครับ คงมีคนอ่านไม่มาก ถ้าใครอ่านต่อจนจบได้ขอโปรดรับคำขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย ในส่วนเนื้อเรื่องของภาคนี้ ดำเนินต่อจากความตายของโกโบริ คืออังศุมาลินท้องแก่และคลอดลูกชาย ให้ชื่อว่ากลินท์ที่หมายถึงพระอาทิตย์ ชื่อญี่ปุ่น โยอิจิ โยหมายถึงดวงอาทิตย์ อิจิคือลูกคนแรก พ่อของอังศุมาลินยังคงห่วงใยคนรักเก่าและลูกสาวที่บ้านสวน จึงมาบอกข่าวว่าอีกไม่นานญี่ปุ่นคงจะแพ้สงคราม ซึ่งจะส่งผลกระทบมาสู่แม่อร อังศุมาลินและลูกโดยตรง จึงอยากจะช่วยเหลือ แต่แม่อรปฏิเสธ ไม่ใช่แค่คนเป็นพ่อที่ห่วงใย แม้ตาผลตาบัวสองคู่หูคู่หอย ก็หมั่นนำข่าวมาบอกว่าอีกไม่นานพลพรรคจะนัดกันลุกฮือต่อสู้ญี่ปุ่น รวมถึงวนัสที่ได้รับอิสระจากความช่วยเหลือของโกโบริก่อนตาย จึงกลับมาหาอังศุมาลินเพื่อบอกข่าวและถามเธอว่าจะยอมแต่งงานกับเขาไหม เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาที่กำลังจะเกิด แต่อังศุมาลินปฏิเสธ เธอยินดีที่จะอยู่ดูแลลูกต่อไปในบ้านสวน ไม่ย้ายหนีไปไหนทั้งนั้น แล้วคุณยายแม่ของแม่อร และยายของอังศุมาลิน ก็จากไปเป็นคนแรกของภาคนี้ แต่เป็นการจากอย่างสงบ เตรียมตัวตายอย่างดี ไปถือศีลอยู่วัดไม่ต้องลำบากลูกหลาน เวลาผ่านไป ในที่สุดญี่ปุ่นแพ้สงครามพ่อของอังศุมาลินมาบอกทุกคนที่บ้านสวนว่าจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ช่วงบั้นปลายชีวิต ทุกคนร่วมอนุโมทนา หลังบวชท่านต่างจากพระอื่นในวัด ไปอยู่กุฏิเล็กโทรมเพียงรูปเดียว ฉันวันละมื้อ และปฏิบัติเคร่งครัดจนชาวบ้านพากันโจษจันไปทั่วคุ้งน้ำ ด้านเด็กชายกลินท์เจริญวัยขึ้น ได้รับความเอาใจใส่จากแม่ และปู่คือตาผลตาบัวที่อุปโลกน์ตนเอง โดยเล่าเรื่องราวต่างๆของแม่และโกโบริให้กับเด็กชายฟัง ก่อนที่ทั้งคู่จะทยอยตายจากไปเช่นกัน จึงเหลือเพียงแม่อร ที่มักไปอยู่วัดบ่อยเหมือนเช่นทวดของกลินท์ นาน ๆ ครั้งกลินท์จึงได้ติดตามยายกับแม่ไปกราบท่าน กาลล่วงเลยจนเด็กชายเติบใหญ่เป็นหนุ่มวัย 27 ปี ดีกรีอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์ที่ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นที่ชื่นชอบในบรรดาเหล่าลูกศิษย์โดยเฉพาะนักศึกษาหญิง ขณะที่เมืองไทยเข้าสู่ช่วงปีที่ในกรุงเทพกำลังเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้านสินค้าและอื่นใดที่มาจากญี่ปุ่น ซึ่งสร้างชาติอย่างรวดเร็วภายหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง โดยเน้นทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้โยอิจิที่มีปมเป็นลูกที่มีเลือดญี่ปุ่นครึ่งหนึ่ง นึกรังเกียจไม่พอใจชาติกำเนิดตนเอง ต่อต้านพ่อที่ตายไปแล้ว และไม่เข้าใจแม่ จึงกลายเป็นคนที่ให้คำแนะนำแก่บรรดาศิษย์หัวรุนแรง ก้าวหน้า ฝักใฝ่ปลดแอกประชาชนจากการเป็นทาสทุนนิยมบริโภคและทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น โดยไม่มีใครรู้ความจริงของพ่ออาจารย์ ทางบ้านสวน แม้โยอิจิจะรักแม่มาก แต่ขณะเดียวกันใจก็ยังไม่ยอมรับพ่อ กลายเป็นเหมือนเด็กน้อยที่เอาแต่ใจ รั้น และดื้อเงียบ แต่เขาเข้ากันได้อย่างดีกับลุงวนัสที่สนิทสนมมาแต่เด็ก เข้าออกบ้านลุงบ่อย ตั้งแต่กำนันพ่อของวนัสยังมีชีวิตอยู่จนตายไปในเวลาต่อมา วนัสทำธุรกิจหลายอย่าง รวมถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเรือนไทยของตนให้เป็นที่ทำงานด้วย วนัสไม่ยอมแต่งงานสักทีตั้งแต่อกหักจากอังศุมาลิน แม้โยอิจิจะรู้ว่าวนัสมีการคบหาทำธุรกิจกับพวกคนญี่ปุ่น เขาไม่เห็นด้วยแต่ก็ยังรักชอบในฐานะลุงเช่นเดิม ส่วนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเขาเป็นอาจารย์สอนอยู่นั้น เขาคอยเป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มนิสิตนักศึกษาระดับผู้นำหลายคนที่เรียกร้องรัฐบาลให้บอยคอตคนญี่ปุ่นรวมถึงธุรกิจ สินค้าทุกชนิด โดยที่ไม่มีใครรู้ความจริงว่าเขามีพ่อเป็นใคร ขณะที่มีอาจารย์สาวคนหนึ่งชื่อ ชิตาภา หน้าตาดี ครอบครัวเป็นชาวจีนมีอันจะกินที่มาตั้งรกรากสร้างตัวจนกลายเป็นมีกิจการค้ารุ่งเรือง มักชอบเข้าหามาชวนเขาสนทนาอยู่บ่อยครั้ง ดูเหมือนเธอจะพึงใจในตัวโยอิจิอยู่บ้าง และน่าจะมีอะไรที่มากกว่านั้น แต่เขาไม่สนใจ มักคุยด้วยไม่นาน และสร้างขอบเขตส่วนตัวที่กันคนอื่นออกไปอยู่วงนอกเสมอ ไม่ยอมให้ใครเข้าถึงความในใจตนได้ แล้ววันหนึ่งนักศึกษาสาวปีสามรัฐศาสตร์นามว่า ศราวณี ผู้เป็นแกนนำหัวรุนแรงที่ต่อต้านคนญี่ปุ่นและสินค้าญี่ปุ่น รวมถึงต่อต้านรัฐบาลทหารในช่วงนั้น ซึ่งรู้ความจริงเรื่องของพ่อโยอิจิ และมีความคับแค้นจากปมในครอบครัวตนซึ่งแม่ตายตั้งแต่เด็ก ถูกเลี้ยงดูมาจากยายและป้าที่เป็นพี่สาวของแม่ และเข้าใจผิดฝังหัวมาตลอดเกี่ยวกับครอบครัวบ้านสวนของอังศุมาลิน ที่มาแย่งชิงความรักไปจากคุณตาของเธอ เพราะทั้งยายและป้ามักเล่าความหลังโดยบิดความจริงแล้วใส่สีตีไข่ บริภาษแม่อรว่าคือผู้เป็นเมียน้อยที่แย่งความรักไป ทำให้ครอบครัวฝั่งยายลำบาก และโดนแย่งสมบัติไปหมด แม่และป้าจึงโตมาอย่างยากแค้นจนแม่ตายไปและป้าต้องรับเลี้ยงศราวณีต่อมาอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทำให้ป้ามักอารมณ์เสียใส่เธอเสมอตั้งแต่เด็กจนโต เพาะเป็นความเกลียดชังต่อครอบครัวฝั่งบ้านสวน ทั้งที่ตัวเองไม่เคยพบหน้าอีกฝ่าย จนเมื่อเข้ามาเป็นนักศึกษาและพบว่าโยอิจิสอนหนังสืออยู่ที่ธรรมศาสตร์ จึงพุ่งความโกรธเกลียดที่ตนเคยได้รับจากป้ามารวมอยู่ที่อาจารย์ทั้งหมด จนกระทั่งบอกความลับเรื่องพ่อของโยอิจิออกไปให้พวกเพื่อนกลุ่มหัวรุนแรงด้วยกันรับรู้ วันที่พวกเธอและเพื่อนตามตัวให้โยอิจิมาที่ห้องซึ่งเป็นที่รวมพลเพื่อพูดคุยเรื่องจะทำอะไรต่อไป แล้วใครคนหนึ่งได้กล่าวเปิดโปงเรื่องโกโบริ และพูดจาดูถูกเหยียดหยามเชื้อชาติของพ่อ วินาทีนั้นเองโยอิจิกลับเพิ่งเข้าใจหัวใจตนเองเป็นครั้งแรกในชีวิต 27 ปีที่ผ่านมา ว่าแท้จริงเขารักพ่อและเทิดทูนในเกียรติยศของทหารหาญมากแค่ไหน เขายอมรับอย่างตรงไปตรงมาด้วยท่าทีแสดงออกถึงความภูมิใจในสายเลือดแห่งตนด้วยน้ำเสียงที่เปี่ยมพลัง ที่สามารถสยบเสียงโห่ฮาขับไล่ของเหล่านักศึกษาให้สงบลงได้ นั่นคือครั้งแรกเช่นกันที่สร้างความประหลาดใจแกมรู้สึกผิดอยู่เบื้องลึกให้เกิดขึ้นในหัวใจของศราวณี ที่ไม่นึกฝันว่าโยอิจิจะกล้ายอมรับอย่างไม่สะทกสะท้าน นับตั้งแต่วันนั้น โยอิจิเหมือนได้รับการปลดล็อกออกจากห้องขังที่ตนเองสร้างขึ้นเพื่อหนีความจริงสุดลึกที่เก็บกดไว้ เขาเข้าใจถึงความรักของแม่อันเป็นที่รักที่มีต่อพ่อชาวญี่ปุ่นอย่างท่วมท้นหัวใจแล้ว พ่อไม่เคยทำสิ่งไม่ดี มีแต่ทำตามหน้าที่ของชายชาติทหารที่ได้รับมอบหมาย ไม่ได้ทำไปด้วยความจงเกลียดจงชัง โยอิจิกลับไปที่บ้านสวนในเย็นวันนั้นอย่างคนที่บาดเจ็บสาหัส ไม่ใช่ทางกาย แต่ได้รับความกระทบกระเทือนทางใจอย่างรุนแรง อังศุมาลินรับรู้ได้ด้วยสายตาและหัวใจของคนเป็นแม่ แม้ไม่รู้ว่าลูกชายพบเจอเรื่องใดมาทำได้แค่ยกสองมือขึ้นโอบกอดถ่ายเทความรักความอบอุ่นที่มีให้กับลูกชายด้วยความเข้าใจอย่างสงบ โยอิจิไม่รู้ความจริงว่าศราวณีคือน้องสาวที่เป็นลูกพี่ลูกน้อง เกิดจากน้องสาวต่างมารดาของอังศุมาลิน มีเพียงอาจารย์ชิตาภาที่ทราบ เพราะเธอเป็นญาติที่มีศักดิ์เป็นคุณน้าของศราวณี แต่ยังไม่อาจเล่าให้เขาฟัง โยอิจิยังคงสงสัยและเคลือบแคลงว่าชิตาภาประสงค์สิ่งใดแน่จึงมักหาเหตุมาใกล้ชิดชวนสนทนากับตน ด้วยความรู้สึกผิดเกาะกินจากภายใน รวมถึงปัญหาต่าง ๆ รุมเร้า แม้ใจจะต่อต้านพี่ชายอย่างอาจารย์กลินท์ แต่เบื้องลึกเธอกลับมีความรู้สึกที่ดี รักเคารพในชายคนนี้อย่างไม่รู้ตัว วันหนึ่งโยอิจิพบเธอนั่งซึมอยู่ที่ท่าเรือ เหมือนรอคอยจะพบเขาและตามลงเรือมาที่บ้านสวนด้วย ศราวณีจึงได้พบกับสรวงสวรรค์บ้านเรือนไทยหลังเดียวในย่านนั้นที่ยังคงสภาพเหมือนเดิมกับช่วงเกิดสงคราม ในขณะที่บ้านหลังอื่นเปลี่ยนแปลงไปสร้างตามอย่างต่างชาติหมด เธอพบบรรยากาศที่ร่มรื่นชื่นเย็น สงบสุขอย่างไม่เคยได้รับยามเมื่อกลับถึงบ้านที่อยู่กับป้า ยิ่งเมื่อได้พบเจออังศุมาลิน ภาพที่เคยคิดไว้กลับตรงข้ามกับสิ่งที่เห็นและได้ยินทุกอย่างต่างจากที่ยายและป้าได้พูดใส่หูเธอมาตลอด เธอรู้สึกได้รับความสุข สงบ สบายใจและผ่อนคลายอย่างที่ไม่เคยเกิด และเริ่มเปลี่ยนความคิดที่มีต่อครอบครัวของโยอิจิ ทางด้านหลวงพ่อ หลังจากบวชเพื่อปฏิบัติอย่างเอาจริงอยู่จนล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย ที่สุดก็มรณภาพอย่างสงบในท่านั่งสมาธิอยู่ในกุฏิ ทำให้ชาวบ้านโจษจันต่างศรัทธานับถือ จนเจ้าอาวาสและทางกรรมการวัดเห็นเป็นโอกาสในการสร้างเรื่องเรียกคนเข้ามาทำบุญเพิ่ม ด้วยการยกให้หลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาทันที ทั้งที่ตอนมีชีวิต ไม่ใคร่สนใจ ที่บ้านสวนส่วนใหญ่อังศุมาลินอยู่บ้านคนเดียว ทำงานบ้านดูแลอาหารการกินเตรียมไว้ให้ลูกชาย ทว่าเริ่มมีอาการป่วยที่ค่อย ๆ รุนแรงมากขึ้นจนต้องแอบไปที่ศิริราช โดยมีเจ้าโก๊ะเด็กชายตัวน้อย ลูกของคนจรจัดหญิงชายที่มาขออาศัยอยู่ในสวนด้านหลังบ้านตามไปเป็นเพื่อน พ่อแม่ของโก๊ะนั้นเป็นประเภทไม่ชอบทำมาหากิน ขี้เหล้าเมายา เล่นพนันไปตามเรื่อง อังศุมาลินเคยหวังดีเอ่ยปากแนะนำให้ตั้งตัวขยันทำกินหลายครั้ง แต่ทั้งสองไม่สนใจ เอาแต่เก็บผักผลไม้จากในสวนของแม่อรและอังศุมาลิน มากินและขายด้วยถือวิสาสะว่าเหมือนของตน และมักใช้ให้โก๊ะมาขอเงินจากอังศุมาลินบ่อย ๆ ส่วนเหตุการณ์ทางด้านการบ้านการเมืองกลับทวีความรุนแรง คุกรุ่นขึ้นเรื่อย ๆ บรรดานักศึกษาต่างรวมตัวกันในสถาบันหลายแห่ง รวมถึงขึ้นเวทีพูดปลุกระดมให้ชาวบ้านฟังและเข้าร่วมสนับสนุนฝ่ายตนมากขึ้น ขณะที่ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องที่ร่างขึ้น เหตุการณ์ช่วงปี พ.ศ. 2516 เริ่มขมวดปมความขัดแย้งระหว่างฝ่ายผู้บริหารกับฝ่ายนักศึกษา ผ่านสายตาของโยอิจิและชิตาภาที่คอยเฝ้ามองอย่างห่าง ๆ ด้วยความเป็นห่วงในตัวศิษย์ แม้เคยกล่าวเตือนในหลายครั้งให้ศราวณีระมัดระวัง อย่าทำอะไรที่ผลีผลาม หุนหันพลันแล่น แต่อย่างไรเด็กก็คือเด็ก เมื่อเขามีความเชื่อฝังหัวไปทางด้านหนึ่ง ก็ขาดความใคร่ครวญพิจารณาอย่างรอบถ้วน และมองไม่เห็นถึงภัยร้ายที่จะบังเกิดขึ้นในเมื่อทุกสิ่งถูกปลุกเร้าเข้าสู่ห้วงวิกฤต สุดท้ายถึงวันแตกหักอันเป็นเหตุการณ์วิปโยคของคนไทยทุกคน จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับโยอิจิ ชิตาภา และศราวณี ในขณะที่อังศุมาลินนั้นก็มีอาการเจ็บป่วยที่มักเหนื่อยง่าย หน้าซีดจะเป็นลมบ่อย แต่ปิดไว้ไม่ให้ลูกชายรู้ ดูเหมือนเวลาชีวิตของเธอจะเหลืออีกไม่มากก่อนจะได้ตามไปอยู่กับโกโบริ สรุปสุดท้ายของนิยายจะลงเอยอย่างไรไปอ่านต่อได้ในคู่กรรม 2 ครับ 🖋วิเคราะห์หลังอ่านจบ มีทั้งส่วนที่ชอบและไม่ชอบ ภาคนี้ต่างไปจากภาคแรกอย่างชนิดเหมือนเป็นนิยายคนละเรื่อง คนละแนวทาง คือภาคแรกมีความเป็นนิยายรักระหว่างรบ ที่มีทั้งปมความรัก ความขัดแย้งในตัวตนกับคนที่คิดว่าคือศัตรูเป็นแกนหลัก เน้นไปทางอารมณ์ความรู้สึกของอังศุมาลินและโกโบริ โดยมีเหตุการณ์น้อยใหญ่ที่เข้ามาสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกันของทั้งสองเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนถึงขั้นรัก แต่ไม่อาจเปิดใจเพราะติดที่กรอบซึ่งถูกสร้างขึ้นจากทั้งอังศุมาลินเอง และสังคมสร้างให้กลายเป็นขื่อคาที่ตรึงรั้งใจไว้ให้มิอาจแสดงออกถึงความรักได้ดังเช่นคู่สามีภรรยาปกติ จนนำไปสู่บทสรุปอันเจ็บปวดและขมขื่นในตอนท้ายเรื่องที่สร้างความจดจำและสะเทือนใจให้กับคนอ่านอย่างยิ่ง กลายเป็นอมตะนิยายรักแห่งโศกนาฏกรรมที่คนไทยรู้จักมากที่สุดเรื่องหนึ่ง มาในภาคนี้ เนื้อหาโครงสร้างหลักกลับเน้นไปที่ความมองโลกของคนเป็นแม่อย่างคนที่ผ่านประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตมาแล้ว และจะเลือกเดินหน้าต่อไปอย่างไรในสถานการณ์ที่คนไทยส่วนใหญ่เกลียดชังญี่ปุ่น ในขณะที่เธอคือภรรยาหม้ายและมีลูกชายสายเลือดที่เกิดจากทหารญี่ปุ่น ตลอดทั้งเล่มนี้ในความรู้สึกส่วนตัว ผมมองว่านี่คือนิยายธรรมะเล่มหนึ่งทีเดียว เพียงแต่ไม่ใช่ธรรมะที่เป็นคำบรรยายเทศน์ของพระผู้เป็นองค์ธรรมกถึก หากแต่เป็นหนังสือธรรมะที่นำพล็อตของนิยายมาสวม จึงพบได้ในหลายย่อหน้า แทบทุกตอนที่ผู้เขียนสอดแทรกแนวคิดหลักธรรมทางพุทธตามแนวที่ท่านเชื่อเป็นทางที่ถูกตรงลอยอบอวลอยู่ในการบรรยาย เหมือนตัวละครและฉากเหล่านั้นคือตัวแทนหรือเครื่องมือที่ต้องการสื่อสอนธรรมะไปสู่ผู้อ่านอยู่ตลอด โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องราวของความตาย ดังจะเห็นได้จากมีการจากไปของตัวละครเดิมที่มีบทบาทจากภาคแรก คนแล้วคนเล่า เริ่มตั้งแต่คุณยาย ตาผลตาบัว หลวงพ่อ และกำลังใกล้ตายอย่างอังศุมาลิน ทำนองแสดงสัจธรรมชีวิต หลายช่วงตอนที่มีการหยิบยกบทกลอนร้อยกรองจากในวรรณคดีไทย หรือที่ผู้เขียนแต่งขึ้น รวมถึงวลี ประโยคภาษาอังกฤษจากบทเพลง บทกวีต่าง ๆ ของทางตะวันตกมาใช้เพื่อสื่อแสดงถึงความรู้สึกของผู้เขียนที่ต้องการสะท้อนผ่านเรื่องราวของเหตุการณ์แวดล้อมรอบตัวโยอิจิ และตัวละครสำคัญ จนบางทีก็ดูมากไป อ่านไปเรื่อย ๆ อดที่จะคิดไม่ได้ว่าเล่มนี้ มีความคล้ายกันกับอีกเล่มของทมยันตีที่มีชื่อว่า จดหมายถึงลูก(ผู้)ชาย ที่เน้นสอนลูกของผู้เขียนเองและคนเป็นลูกชายทุกคน ด้วยการแทรกแนวคิดคำสุภาษิตไว้ในเนื้อหาตลอดเล่ม แล้วการเขียนลักษณะนี้ดีหรือไม่อย่างไร? คงขึ้นกับความชื่นชอบส่วนบุคคลของผู้อ่านที่มีรสนิยมแตกต่าง ส่วนผมเองนั้นไม่ถึงกับเรียกได้ว่าชอบทว่าก็ไม่ขัดใจมากมาย แต่ยอมรับว่าทมยันตีเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีความไม่ธรรมดาในด้านศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งหาตัวจับยาก แล้วนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการเขียนได้เก่งมากคนหนึ่งในเหล่านักเขียนรุ่นเก่า หากจะติบ้างก็คงเป็นความเข้าใจในทางหลักธรรมที่นำมาสอดแทรกไว้ในคู่กรรม2 นั้น ยังเป็นความเข้าใจที่เหมือนเช่นคนปฏิบัติธรรมทั่วไปในไทยเข้าใจกันว่าถูกต้อง คือเน้นการนั่งสมาธิเดินจงกรมว่าคือวิธีที่จะนำไปสู่การลดละกิเลสจนนำไปสู่ความหลุดพ้นได้ ดังที่ตัวละครหลวงพ่อในเรื่องได้ปฏิบัติและพูดคุยสอนธรรมกับโยอิจิ หรือแม่อร อังศุมาลิน ซึ่งโดยแท้จริงการปฏิบัติควรเน้นไปที่การมีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกที่จะจับอาการกิเลสแล้วกำจัดทิ้ง ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน หรืออิริยาบถย่อยอื่น ไม่ใช่เพียงแค่ตอนนั่งสมาธิเดินจงกรมเพียงเท่านั้น เพราะในชีวิตจริงมนุษย์ไม่อาจจะบังคับตนให้อยู่เพียงแค่ท่านั่งสมาธิต่อเนื่องยาวนานไปจนชั่วชีวิต นอกจากประเด็นที่กล่าวถึงนี้แล้วที่มีความเห็นไม่ตรงกับผู้เขียน ทางด้านอื่นถือว่าผมชอบนิยายเรื่องนี้ไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะการมองโลกที่มองทะลุถึงความเป็นจริงของสังคมไทย ลักษณะนิสัย ที่เจาะลึกให้เห็นว่าแม้นในอดีตสมัยสงครามคนไทยเป็นอย่างไร ปัจจุบันในยุคนี้ก็ยังคงพบเห็นได้ว่าไม่แตกต่างกันนัก จึงถือว่านิยายเล่มนี้ไม่ล้าสมัย โดยเฉพาะด้านการบ้านการเมืองที่ผู้มีอำนาจในฝ่ายรัฐ มักเลือกใช้วิถีทางแห่งความรุนแรงในการสยบปัญหาอยู่เสมอ โดยมีมือที่สามที่คอยฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ ยั่วยุ ปลุกปั่น และล่อลวงให้คู่กรณีระหว่างรัฐกับนักศึกษาและประชาชนปะทะแตกหัก จนเกิดความสูญเสีย อันมีแต่หายนะต่อประเทศชาติ ศราวณี คือตัวแทนที่เปรียบให้เห็นเด่นชัด ไม่ว่ายุคใด เหล่าเด็กหนุ่มสาวอนาคตชาติ มักถูกกระตุ้น ให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และปลุกเร้าจุดไฟติดได้โดยง่าย ด้วยพวกเขามีพลังงานล้นเหลือ เมื่อเลือกเชื่อไปทางใดทางหนึ่งแล้ว บางทีก็พุ่งไปข้างหน้าอย่างสุดกำลังโดยไม่ทันได้ใคร่ครวญ ยั้งคิด หรือพิจารณาทัศนียภาพรอบข้างระหว่างทางที่มุ่งไปให้ถี่ถ้วนรอบคอบ จึงมักตกเป็นฝ่ายที่ถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือให้ไปตายแทนคนบงการแท้จริงเบื้องหลังเสมอ และเมื่อเกิดความสูญเสียแล้วก็เป็นเช่นดังอะไหล่เลวที่โดนใช้แล้วทิ้งโดยไร้ความเสียดาย หรือจำเป็นต้องดูแลอย่างใดต่อไป กว่าพวกเขาจะรู้ตัว ความผิดพลาดพลั้งเผลอก็เกิดขึ้นและไปไกลเกินกว่าตนเองจะหยุดยั้ง ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ได้เสียแล้ว ดังจุดจบของตัวละครในเรื่องนี้หลังเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ความเก่งกล้า ไม่ยอมใคร ไม่ฟังอาจารย์ ความร้อนเร่าเอาแต่ใจ รั้นจะทำในสิ่งที่ตนคิดให้จงได้ ทว่าสุดท้ายกลับกลายพาเพื่อน คนที่ไม่รู้อะไรแต่ก็ตามกันไป ไปพบกับการบาดเจ็บล้มตายต่อหน้าต่อตา ถึงกับกรีดร้องอย่างบ้าคลั่ง หลบหนีตายจ้าละหวั่น กระทบกระเทือนถึงสภาพจิตใจอย่างรุนแรงจนแทบจะกลายเป็นบ้าไป เธอจึงได้รับบาดแผลลึกที่เสียใจก็ไม่ทันแล้ว กับไฟที่ตอนแรกเพียงแค่เหมือนไฟจากปลายก้านไม้ขีดในมือที่ขยับนิดเดียวก็ดับ สุดท้ายมันกลับกลายเป็นไฟกองใหญ่ที่โหมไหม้รวดเร็ว ลามเลียทำลายทุกสิ่งอย่างไม่อาจดับได้ด้วยแค่กำลังตนเอง นอกจากนี้ที่ชอบก็มีในส่วนของการใช้ภาพตัวละครในเรื่องอย่างครอบครัวของเจ้าโก๊ะ ที่สะท้อนภาพตัวแทนของชนชั้นล่างได้ชัดเจน ความเหลื่อมล้ำที่เหล่านักศึกษามักนำมาเป็นคำขวัญ ชูประเด็นเพื่อเรียกร้อง และรังเกียจเคียดแค้นเหล่าชนชั้นศักดินา ดังเช่นอาจารย์ชิตาภาที่ครอบครัวเป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่มาไทยอย่างเสื่อผืนหมอนใบ แต่ขยันขันแข็งและสร้างตัวจนมีทรัพย์ ร่ำรวยมีอันจะกินและสร้างธุรกิจด้วยการค้าขายขยับขยายฐานะ จนเลื่อนจากชนชั้นแรงงานต่างด้าวมาเป็นพ่อค้าวาณิชย์ที่มีกิจการมากมายและถูกแปะป้ายให้กลายเป็นศักดินาไป จนถูกมองว่าเป็นความผิดความเลวที่เข้ามากอบโกยนั้น หรือแม้แต่วนัสที่เป็นคนไทยแต่มีหัวในทางธุรกิจการค้า จึงติดต่อซื้อขายกับคนต่างชาติอย่างญี่ปุ่นหรือชาวตะวันตกจนมีฐานะเข้าขั้นเศรษฐี ทั้งที่ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นพวกเสรีไทย แต่ในภาคนี้เรียกได้ว่าแปะป้ายศักดินาตามความหมายของเหล่านักศึกษาได้เช่นกัน หากมองความจริงในอีกแง่มุม ย่อมเห็นได้ว่าคนไทยเองที่เป็นชนชั้นกรรมาชีพจำนวนมากนั้นมีสันดานเป็นอย่างพ่อและแม่ของเจ้าโก๊ะ ที่เอาแต่ชื่นชอบอยู่อย่างสบายไม่ต้องทำการทำงาน วันทั้งวันเอาแต่เมาหัวราน้ำ แม้นมีคนหยิบยื่นความช่วยเหลือหวังให้สร้างตัวเพื่อตั้งตนได้ แต่ก็ไม่กระตือรือร้นสนใจ หนักไม่เอาเบาไม่สู้ อยากแต่จะขอเขากินไปเรื่อย ๆ อาศัยความเมตตาและมีน้ำใจของครอบครัวแม่อรและอังศุมาลินเป็นเครื่องมือ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างคนขี้เกียจ รักสบายได้ต่อไป มีเงินก็หมดไปกับเหล้ายาและการพนัน เงินหมดก็ใช้ให้โก๊ะไปไถขอเอาใหม่ ด้วยรู้จุดว่าถ้าให้เด็กมาขออย่างไรก็ได้ นี่ไม่อาจยอมรับว่าไม่ว่าจะในนิยายซึ่งอยู่ในยุคหลังสงคราม หรือปัจจุบันที่ล่วงเลยมาอีกหลายสิบปี ก็ยังมีคนไทยที่เป็นเช่นนี้อีกเป็นจำนวนมาก แล้วจะไปโทษว่าแต่ความเหลื่อมล้ำเพราะชนชั้นได้เช่นไร ในเมื่อตนเองยินดีทำตนให้เป็นไปเช่นนั้น อังศุมาลินและโยอิชิคือตัวแทนของชนชั้นกลางที่น่าสนใจ ทั้งสองมีความรู้ตามทันยุคสมัยของความเปลี่ยนแปลง แต่ไม่หลงใหลปล่อยให้กระแสเชี่ยวแห่งคลื่นทุนนิยมเข้าครอบงำ ยังคงดำเนินชีวิตทั้งรูปแบบ และวิถีตามอย่างวัฒนธรรมอันดีงามในอดีตที่บรรพบุรุษสร้างไว้ ไม่ว่าจะเรือนพักอาศัยที่ไม่รื้อทิ้งหลังเก่าแล้วสร้างใหม่ และพยายามสงวนที่ดินสวนหลังบ้านไว้ปลูกผักปลูกไม้ผลให้พอเก็บกินไม่เดือดร้อน ในขณะครอบครัวอื่นขายที่ให้นายทุน และสร้างบ้านปูนกันไปเกือบหมด ภาพความขัดแย้งที่เห็นได้ชัดเจนนี้เองที่เป็นความงดงาม แม้นลำคลองจะไม่เหมือนเดิม คนไทยทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลงน้ำ ทำลายต้นกำเนิดรากเหง้าสายธารแห่งชีวิตของตนเอง ทำให้ปลา กุ้ง หอย สัตว์น้ำที่เคยมีลดน้อยจนกระทั่งหายไปไม่เหมือนก่อน เมื่อมาถึงยุคสมัยที่เรามีชีวิตอยู่นี้ เราจึงต้องแบกรับผลพวงที่ตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เราไม่ชอบ เราบ่นหรืออาจถึงขั้นก่นด่าคนรุ่นก่อน แต่เราเองก็ละเลยไม่ได้มองกลับเข้ามาในตน ว่าในแต่ละวันได้ทำอะไรที่เป็นไปในทางที่ทำร้าย ทำลายวิถีไทย สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมและประเพณีอันดีมากน้อยขนาดไหนอย่างไรบ้าง
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 465 Views 0 Reviews
  • พาน้องเฌอปลูกผัก
    #ไทยปนลาว
    #ไทยปนลาวสาวแว่น
    พาน้องเฌอปลูกผัก #ไทยปนลาว #ไทยปนลาวสาวแว่น
    0 Comments 0 Shares 123 Views 20 0 Reviews
  • ฉีดวัคซีนฝีดาษลิงดีหรือไม่ ในยุคไวรัสฝีมือมนุษย์? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    “ไข้ทรพิษ” หรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

    1.ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” (Variola major or classical smallpox)

    2.ไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์”  (Variola minor or alastrim)[1]

    เว็บไซต์กรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา ได้รายงานหลักฐานแรกสุดของโรคนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราชในอียิปต์[2] และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทยอยลุกลามไปทั่วโลก

    ทั้งนี้เชื้อไวรัสฝีดาษ (Variolar) นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศ จากละอองสิ่งคัดหลั่งจากคนที่เป็นโรค เช่น น้ำมูก, น้ำลาย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ สามารถแพร่ได้ไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว และสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยง่าย

    อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ฉีดวัคซีนกวาดล้างโรคฝีดาษ ตลอดศตวรรษที่ 19-20 โดยการประสานงานขององค์การอนามัยโลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2518 ทำให้ผู้ป่วยฝีดาษทั่วโลกลดลงอย่างมาก ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษรายสุดท้าย เกิดขึ้นที่ ประเทศโซมาเลีย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2520

    ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า ฝีดาษถูกกวาดล้าง (eradicate) หมดไปจากโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[2]

    จึงถือว่าเป็นโรคระบาดที่มนุษย์สามารถเอาชนะได้หลังจากใช้เวลานานกว่า 3,000 ปี

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคจะถูกกวาดล้างไปแล้ว แต่เชื้อไวรัสฝีดาษยังถูกเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการและอยู่ในความดูแลอย่างเข้มงวดที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (CDC) เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและที่ State Research Centre of Virology and Biotechnology สหพันธ์สาธารณรัฐ รัสเซีย ซึ่งหน่วยงานทั้ง 2 แห่งในประเทศนี้ได้รับอนุญาตจาก WHA ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ให้เป็นที่เก็บไวรัส Variola ที่มีชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในกรณีที่อาจมีโรคฝีดาษอุบัติใหม่ขึ้นมา[3],[4]

    ซึ่งแปลว่าคนในโลกนี้ควรจะปลอดจากเชื้อฝีดาษไปตลอดกาลแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.​2523 หากไม่มีการรั่วไหล หรือมีวาระซ่อนเร้นในการทำธุรกิจกับชีวิตของมนุษยชาติ จริงหรือไม่?

    อย่างไรก็ตาม ได้มีเหตุการณ์พบขวดทดลองที่มีลักษณะแห้งและแช่แข็งบรรจุเชื้อไข้ทรพิษจำนวน 6 ขวด เก็บอยู่ในกล่องในห้องเก็บของที่มีการควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส ของสถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติอเมริกา (National Institutes of Health: NIH) ในสังกัดองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในเบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา[3]

    เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตระหนกแก่ประชาชนที่ทราบข่าว เนื่องจากความกลัวว่าจะมีการนำเชื้อไข้ทรพิษเป็นอาวุธชีวภาพ ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาเชื้อไวรัสไข้ทรพิษหรือฝีดาษ ว่าจะต้องถูกเก็บรักษาไว้ใน BSL-4 หรือแล็บความปลอดภัยด้านชีวภาพระดับ 4[3]

    แต่ห้องเก็บของที่พบกล่องบรรจุขวดเชื้อไวรัสฝีดาษไม่เข้ามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ทำให้มีการสอบสวนที่มาที่ไปของขวดตัวอย่างที่พบและนำเข้าสู่ระบบการทำลายเชื้อ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคที่เคยปรากฏในอดีตที่ผ่านมา[3]

    คำถามที่ตามมามีอยู่ว่าในเมื่อเชื้อฝีดาษหายไปจากโลกกว่า 40 ปี และเชื้อตัวอย่างยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแค่ห้องปฏิบัติการ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา กับ รัสเซีย หากฝีดาษจะมีการกลับมาระบาดอีกครั้งในโลก ย่อมต้องถูกตั้งข้อสงสัยว่ามาจากสหรัฐอเมริกา หรือ รัสเซียกันแน่

    ปรากฏในรายงานผลการสอบสวนของกรรมาธิการของวุฒิสภาในสหรัฐอเมริกาฉบับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5] พบว่าฝีดาษลิงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์

    เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567[6] นำรายงานผลการสอบสวนดังกล่าว และโพสต์ข้อความว่า

    “ไวรัสฝีดาษตัวใหม่ที่่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนก จากการประกาศขององค์การอนามัยโลกประสานกับองค์กรของสหรัฐฯ และพยายามจะให้มีการสะสมวัคซีนตลอดจนให้มีการใช้ทั่วโลก เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมีการประดิษฐ์มีการตรวจสอบโดยกรรมาธิการเฉพาะของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยกรรมาธิการดังกล่าวออกรายงาน 73 หน้า ในวันที่ 11 มิถุนายน 2024 เป็นการสอบสวนการทำวิจัยไวรัสฝีดาษลิง ที่มีความเสี่ยงสูงโดยทำให้มีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อได้ง่ายขึ้นระหว่างคนสู่คน

    ขั้นตอนติดต่อส่วนของไวรัสในกลุ่มที่สอง ไปยังกลุ่มที่หนึ่งปรากฏว่าความรุนแรงลดลง

    ดังนั้นเลยมีกระบวนการที่ทำโดยเอาส่วนที่หนึ่งเสียบไปยังกลุ่มที่สองจนได้ผลสำเร็จ มีความรุนแรงมากขึ้นและแพร่ได้เร็ว เกิดการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    สืบจนพบว่าเป็นการอนุมัติทุนในองค์กร NIH NIAID ของสหรัฐฯ ในปี 2015 และรายงานความสำเร็จในปี 2022 ซึ่งในขณะนั้นเอง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น

    และนำไปสู่การสืบสวนจนกระทั่งถึงผู้อนุมัติสนับสนุนงานสร้างไวรัสใหม่ คือ ดร.เฟาซี (ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ และหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี โจ ไบเดน)

    และเหตุการณ์ที่คล้องจอง คือการฝึกซ้อมรับมือผู้ก่อการร้าย โดยสมมุติว่ามีการใช้อาวุธชีวภาพ คือไวรัสฝีดาษลิงที่ตัดต่อพันธุกรรม ชื่อ Akhmeta ทั้งในปี 2021 และในปี 2022 โดยสร้างฉากทัศน์ เริ่มจากการปล่อยไวรัสจนกระทั่งมีการระบาดทั่วโลกและล้มตายไปหลายร้อยล้านคนและในขณะเดียวกันมีการตระเตรียมยาและวัคซีน

    เหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันที่มีการติดเชื้อฝีดาษลิงในมนุษย์ที่ง่ายขึ้น เริ่มเกิดขึ้นในปี 2021 และ 2022 และทยอยแพร่ไปทั่วโลก

    จนองค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนทั่วโลก[6]

    ส่วนประเทศไทยได้ปรากฏข้อมูลที่รวมรวมโดยเว็บไซต์ Hfocus รายงานว่าการเกิดโรคฝีดาษในไทยพบหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า

    ถึงขนาดว่ามีพระมหากษัตริย์ไทยสวรรคตด้วยฝีดาษ 2 พระองค์  ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หน่อพุทธางกูร พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 11 ของกรุงศรีอยุธยา ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 หรือประมาณ 491 ปีที่แล้ว

    อีก 72 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประชวรที่เมืองหาง (เมืองห้างหลวง ในรัฐฉาน) เป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์ กลายเป็นพิษ และสวรรคต เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 ซึ่งตรงกับช่วงศตวรรษที่ 16 มีการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก และยังมีการระบาดในพ.ศ. 2292 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทำให้มีคนตายมาก[3]

    โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ในอดีตนั้นมีความร้ายแรง เพราะยังถึงขั้นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ได้ จึงมีความแตกต่างจากโรคระบาดชนิดอื่นๆ

    ดังนั้นในเวลาต่อๆมา โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ จึงเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทั้งการป้องกันการเกิดโรคระบาด จนถึงขั้นการรักษาโรค

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของฝีดาษเช่นกัน จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของฝีดาษอย่างหนัก ทำให้หมอบรัดเลย์ริเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีโคที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้[3]

    ในระยะ พ.ศ. 2460 – 2504 ยังมีการระบาดของฝีดาษเกิดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2488 – 2489 ช่วงการเกิดสงครามมีการระบาดของฝีดาษครั้งใหญ่สุดเริ่มต้นจากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสายมรณะข้ามแม่นํ้าแควป่วยเป็นไข้ทรพิษและแพร่ไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆที่มารับจ้างทํางานในแถบนั้น เมื่อแยกย้ายกันกลับบ้าน ได้นําโรคกลับไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน และเสียชีวิต 15,621 คน[3]

    การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 ทำให้มีผู้ป่วย 1,548 คน ตาย 272 คน และการระบาดครั้งสุดท้ายมีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย โดยรับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษหรือฝีดาษในประเทศไทย รณรงค์ปลูกฝีป้องกันโรค จนปีพ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าฝีดาษได้ถูกกวาดล้างแล้วจึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรค   และนับแต่นั้นมาไม่เคยปรากฏว่ามีฝีดาษเกิดขึ้นในประเทศไทย[3]

    นี่คือเหตุผลว่าประเทศไทยได้ทำการปลูกฝี เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีสุดท้าย หรือเมื่อประมาณ 44 ปีที่แล้ว ดังนั้นประชาชนไทยที่อายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไป ก็น่าจะได้รับการปลูกฝีไปเกือบทั้งหมดแล้ว

    แต่เมื่อฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้ง ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศไทยจะรับมืออย่างไร และเราควรจะฉีดวัคซีนหรือไม่? และคนที่มีอายุเกิน 44 ปี (ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปลูกฝีไข้ทรพิษมาแล้ว)จะมีคนติดเชื้อโรคฝีดาษลิงหรือไม่

    โดยวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 เว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)จนถึงปัจจุบันว่า มีผู้ป่วยฝีดาษลิงในประเทศไทย จำนวน 835 ราย เป็นเพศชายเกือบทั้งหมดมากถึง 814 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.49 ในขณะที่เป็นเพศหญิง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.51 เท่านั้น[7]

    ซึ่งถือว่าโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงในผู้หญิงน้อยมาก

    แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนวัยหนุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวี อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่เคยปลูกฝีไข้ทรพิษแล้วยังสามารถติดเชื้อฝีดาษลิงได้อยู่ดีแต่น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ปลูกฝี ดังนี้

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 0-14 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 2 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมด

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.24 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20-24 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 81 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 25-29 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 172 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.59 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30-39 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 347 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.56 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40-49 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 174 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.83 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ในกลุ่มนี้หากพิจารณาแยกแยะผู้ที่มีอายุ 40-44 ปี ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อนมีจำนวน 130 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.65 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45-49 ที่เชื่อว่าน่าจะได้รับการปลูกฝีแล้วติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 44 ราย คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.27 เท่านั้น

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 29 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.47 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ติดเชื้อฝีดาษลิง 8 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.95 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย[7]

    จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปซึ่งน่าจะมีการปลูกฝีไข้ทรพิษไปแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงได้ เพียงแต่มีสัดส่วนน้อยกว่าประชากรที่ยังไม่เคยได้รับการปลูกฝี คือ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปีลงมา มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 754 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.30 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้น (ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้รับการปลูกฝีไปแล้ว)มีผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งสิ้น 81 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ราย

    อย่างไรก็ตามในภาวะดังกล่าว มีคำแถลงจากนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นเอาไว้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ความว่า

    “โดยจริงๆ วัคซีนไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน ไม่มีการระบาดทั่วไป เพราะอัตราการระบาดต่ำ แต่จะพบในผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้ง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวี และไม่ทานยาทั้งหมด 13 รายที่ผ่านมา (เชื้อเคลด2)”[8]

    นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังได้

    “คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการควบคุมโรค แต่เนื่องจากวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทางกรมควบคุมโรคจึงใช้ มาตรา 13(5) เพื่อการควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510  จะมีการใช้งบประมาณ กรมควบคุมโรค วงเงิน 21 ล้านบาท เพื่อการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าว รวม 3,000 โดส  เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง  3 กลุ่ม ประกอบด้วย  

    1. บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่อการติดโรค อาทิ ไปสัมผัสเสี่ยงสูง คือ สัมผัสคนติดเชื้อ

    2. กลุ่มไปสัมผัสโรค เสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ก็จะฉีดภายใน 4 วัน

    และ3. มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ซึ่ง 3 กลุ่มเสี่ยงนี้ กรมควบคุมโรคจะดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย“[8]

    เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความเห็น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ในเรื่องความพยายามกระพือข่าวให้กลัวเพื่อให้เกิดการระดมฉีดวัคซีน ความว่า

    “กรมควบคุมโรคประกาศแล้ว ฝีดาษลิงอัตราการระบาดต่ำ ทั้งประเทศมีประมาณ 800 ราย และที่เสียชีวิตนั้น เพราะมีติดเชื้อไวรัสเอดส์ และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น การติดตามของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ติดเชื้อปลอดภัยดี

    วัคซีนขณะนี้ “ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน” และกระทรวงสาธารณสุข จะจัดการให้ฉีดฟรีใน “กลุ่มเสี่ยง” เท่านั้น ได้แก่

    1. บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
    2. คนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยต้องฉีดภายใน 4 วัน

    ทั้งสองกลุ่มนี้ฟรี
    ส่วนกลุ่มที่ต้องเดินทางในพื้นที่เสี่ยงนั้น การฉีดนั้นต้องจ่ายเงิน

    “กลุ่มที่กระพือข่าวให้น่ากลัว โดยไม่ยึดความจริง และอาจทำให้นำไปสู่การค้าวัคซีน ควรต้องจับตามองอย่างเข้มข้น””[9]

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าฝีดาษลิงจะเป็นเชื้อที่ยังติดได้ยาก ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเฉพาะคือ ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่ทานยาทั้งหมด ส่วนการติดนั้นต้องอาศัยการสัมผัสผิวใกล้ชิด อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่จึงยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนแต่ประการใด

    อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรคฝีดาษที่กลับมาระบาดอีกครั้งในรอบ 44 ปี ทำให้ความรู้ในการรักษาผู้ป่วยขาดตอนไป คงเหลือแต่การค้นคว้ากรรมวิธีการรักษาในประวัติศาสตร์ของคนไทยว่าใช้วิธีการรักษาอย่างไร

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “โรคฝีดาษ” เป็นโรคที่มีความจำเพาะ ถึงขนาดทำให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์

    จึงปรากฏเรื่องของตำรับยาและสมุนไพรที่เกี่ยวกับการรักษา “โรคฝีดาษ” แยกออกมาต่างหากจากโรคระบาดอื่นๆ บันทึกปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 2 ของจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[10]-[12] และอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[10],[13]-[15]

    นอกจากนั้น โรคฝีดาษไม่ใช่เป็นโรคระบาดอื่นๆที่ใช้ “ยาขาว”ที่ใช้กับโรคระบาดหลายชนิดในตำรับยาเดียว ที่ปรากฏในศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกด้วย[16]

    หลักฐานที่ว่า “โรคฝีดาษ” ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปนั้น จะเห็นได้จากพระคัมภีร์ตักกะศิลาที่บันทึกภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และบันทึกมาโดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่ตกทอดมาถึงตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่พบการกล่าวถึงคำว่า “ฝีดาษ” แต่ประการใด

    แต่ในที่สุดก็ได้พบตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ระบุคัมภีร์ชื่อ “พระตำหรับแผนฝีดาษ” บันทึกในสมุดไทย มีรายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะ และมีจำนวนมากถึง 3 เล่ม จนไม่สามารถที่จะถ่ายทอดมาให้อ่านในหมดในบทความนี้

    โดย “พระตำหรับแผนฝีดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการกล่าวถึงลักษณะของฝีแต่ละชนิด และจุดที่เกิดฝีว่าบริเวณใดเป็นแล้วไม่เสียชีวิต รวมถึงบริเวณใดจะทำให้เสียชีวิตภายในกี่วัน จึงได้มีการแบ่งแยกวิธีการรักษาอย่างละเอียดยิบ

    อย่างไรก็ตามก็มีวาง “หลักการ“ ถึงวิธีการรักษาโรคฝีดาษปรากฏอยู่ใน ”พระตำหรับแผนฝีดาษ เล่ม 2“ ที่ระบุความตอนหนึ่งว่า

    ”๏ สิทธิการิยะ พระตำราประสะฝีดาษทั้งปวง ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษาฝีดาษ ถ้าเห็นศีศะรู้ว่าเปนฝีดาษแน่แล้ว ให้กินยาล้อมตับดับพิศม์และให้กินยารุเสีย แลกินยาแปรภายใน พ่นยาแปรภายนอกแลกินยากะทุ้ง…“[17]

    หลังจากนั้นพอวันเวลาเปลี่ยนไปก็มีตำรับยาเฉพาะที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนรักษาฝีดาษจนหายในที่สุด

    ซึ่งในโอกาสอันสมควรก็น่าจะมีการรื้อฟื้น ศึกษา พระตำหรับแผนฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำการวิจัย พัฒนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรคฝีดาษในยุคปัจจุบันต่อไป

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    12 กันยายน 2567

    อ้างอิง
    [1] Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 525–28. ISBN 978-0-8385-8529-0.

    [2] CDC, History of Smallpox, 25 July 2017
    https://www.cdc.gov/smallpox/history/history.html

    [3] Hfocus, โรคระบาดร้ายแรงในอดีต ตอนที่ 3 โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ), วันที่ 26 สิงหาคม 2558
    https://www.hfocus.org/content/2014/08/7977

    [4] World Health Organization, Small Pox, Media Center
    https://web.archive.org/web/20070921235036/http://www.who.int/mediacentre/factsheets/smallpox/en/

    [5] U.S. House of Representatives, Interim Staff Report on Investigation into Risky MPXV Experiment at the National Institute of Allergy and Infectious Diseases, June 14 2024
    https://d1dth6e84htgma.cloudfront.net/Mpox_Memo_Rpt_correction_18e95e3204.pdf?utm_source=substack&utm_medium=email&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0YlqstCXKzOUttRicgqQ6lG00dtMnZ_9pFf4FqtlBbSAyw5uR-tGR6QIM_aem_ZXPXy1XgTiGCTixSJJ-aFg

    [6] ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, “หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์, ผู้จัดการออนไลน์, 6 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903

    [7] กรมควบคุมโรค, รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร (Mpox), 12 กันยายน 2567
    https://ddc.moph.go.th/monkeypox/dashboard.php

    [8] Hfocus, กรมควบคุมโรค ทุ่มงบ 21 ล้านบาท จัดหา “วัคซีนฝีดาษวานร” 3 พันโดสให้เฉพาะ 3 กลุ่มเสี่ยง, 6 กันยายน 2567
    https://www.hfocus.org/content/2024/09/31577

    [9] ผู้จัดการออนไลน์, “หมอธีระวัฒน์” แนะจับตาพวกกระพือข่าวให้ตื่นกลัวฝีดาษลิง หวังค้าวัคซีน หลังกรมควบคุมโรคยืนยันแล้วอัตราระบาดต่ำ, 7 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000083178

    [10] ผู้จัดการออนไลน์, “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”, เผยแพร่: 5 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615

    [11] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567)
    https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/14798

    [12] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
    https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/16335

    [13] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560
    https://db.sac.or.th/.../file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf

    [14] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
    https://db.sac.or.th/.../7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf

    [15] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723

    [16] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔

    [17] คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒

    ฉีดวัคซีนฝีดาษลิงดีหรือไม่ ในยุคไวรัสฝีมือมนุษย์? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ “ไข้ทรพิษ” หรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” (Variola major or classical smallpox) 2.ไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์”  (Variola minor or alastrim)[1] เว็บไซต์กรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา ได้รายงานหลักฐานแรกสุดของโรคนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราชในอียิปต์[2] และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทยอยลุกลามไปทั่วโลก ทั้งนี้เชื้อไวรัสฝีดาษ (Variolar) นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศ จากละอองสิ่งคัดหลั่งจากคนที่เป็นโรค เช่น น้ำมูก, น้ำลาย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ สามารถแพร่ได้ไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว และสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ฉีดวัคซีนกวาดล้างโรคฝีดาษ ตลอดศตวรรษที่ 19-20 โดยการประสานงานขององค์การอนามัยโลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2518 ทำให้ผู้ป่วยฝีดาษทั่วโลกลดลงอย่างมาก ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษรายสุดท้าย เกิดขึ้นที่ ประเทศโซมาเลีย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2520 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า ฝีดาษถูกกวาดล้าง (eradicate) หมดไปจากโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[2] จึงถือว่าเป็นโรคระบาดที่มนุษย์สามารถเอาชนะได้หลังจากใช้เวลานานกว่า 3,000 ปี อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคจะถูกกวาดล้างไปแล้ว แต่เชื้อไวรัสฝีดาษยังถูกเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการและอยู่ในความดูแลอย่างเข้มงวดที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (CDC) เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและที่ State Research Centre of Virology and Biotechnology สหพันธ์สาธารณรัฐ รัสเซีย ซึ่งหน่วยงานทั้ง 2 แห่งในประเทศนี้ได้รับอนุญาตจาก WHA ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ให้เป็นที่เก็บไวรัส Variola ที่มีชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในกรณีที่อาจมีโรคฝีดาษอุบัติใหม่ขึ้นมา[3],[4] ซึ่งแปลว่าคนในโลกนี้ควรจะปลอดจากเชื้อฝีดาษไปตลอดกาลแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.​2523 หากไม่มีการรั่วไหล หรือมีวาระซ่อนเร้นในการทำธุรกิจกับชีวิตของมนุษยชาติ จริงหรือไม่? อย่างไรก็ตาม ได้มีเหตุการณ์พบขวดทดลองที่มีลักษณะแห้งและแช่แข็งบรรจุเชื้อไข้ทรพิษจำนวน 6 ขวด เก็บอยู่ในกล่องในห้องเก็บของที่มีการควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส ของสถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติอเมริกา (National Institutes of Health: NIH) ในสังกัดองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในเบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา[3] เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตระหนกแก่ประชาชนที่ทราบข่าว เนื่องจากความกลัวว่าจะมีการนำเชื้อไข้ทรพิษเป็นอาวุธชีวภาพ ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาเชื้อไวรัสไข้ทรพิษหรือฝีดาษ ว่าจะต้องถูกเก็บรักษาไว้ใน BSL-4 หรือแล็บความปลอดภัยด้านชีวภาพระดับ 4[3] แต่ห้องเก็บของที่พบกล่องบรรจุขวดเชื้อไวรัสฝีดาษไม่เข้ามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ทำให้มีการสอบสวนที่มาที่ไปของขวดตัวอย่างที่พบและนำเข้าสู่ระบบการทำลายเชื้อ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคที่เคยปรากฏในอดีตที่ผ่านมา[3] คำถามที่ตามมามีอยู่ว่าในเมื่อเชื้อฝีดาษหายไปจากโลกกว่า 40 ปี และเชื้อตัวอย่างยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแค่ห้องปฏิบัติการ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา กับ รัสเซีย หากฝีดาษจะมีการกลับมาระบาดอีกครั้งในโลก ย่อมต้องถูกตั้งข้อสงสัยว่ามาจากสหรัฐอเมริกา หรือ รัสเซียกันแน่ ปรากฏในรายงานผลการสอบสวนของกรรมาธิการของวุฒิสภาในสหรัฐอเมริกาฉบับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5] พบว่าฝีดาษลิงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์ เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567[6] นำรายงานผลการสอบสวนดังกล่าว และโพสต์ข้อความว่า “ไวรัสฝีดาษตัวใหม่ที่่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนก จากการประกาศขององค์การอนามัยโลกประสานกับองค์กรของสหรัฐฯ และพยายามจะให้มีการสะสมวัคซีนตลอดจนให้มีการใช้ทั่วโลก เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมีการประดิษฐ์มีการตรวจสอบโดยกรรมาธิการเฉพาะของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยกรรมาธิการดังกล่าวออกรายงาน 73 หน้า ในวันที่ 11 มิถุนายน 2024 เป็นการสอบสวนการทำวิจัยไวรัสฝีดาษลิง ที่มีความเสี่ยงสูงโดยทำให้มีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อได้ง่ายขึ้นระหว่างคนสู่คน ขั้นตอนติดต่อส่วนของไวรัสในกลุ่มที่สอง ไปยังกลุ่มที่หนึ่งปรากฏว่าความรุนแรงลดลง ดังนั้นเลยมีกระบวนการที่ทำโดยเอาส่วนที่หนึ่งเสียบไปยังกลุ่มที่สองจนได้ผลสำเร็จ มีความรุนแรงมากขึ้นและแพร่ได้เร็ว เกิดการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สืบจนพบว่าเป็นการอนุมัติทุนในองค์กร NIH NIAID ของสหรัฐฯ ในปี 2015 และรายงานความสำเร็จในปี 2022 ซึ่งในขณะนั้นเอง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น และนำไปสู่การสืบสวนจนกระทั่งถึงผู้อนุมัติสนับสนุนงานสร้างไวรัสใหม่ คือ ดร.เฟาซี (ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ และหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี โจ ไบเดน) และเหตุการณ์ที่คล้องจอง คือการฝึกซ้อมรับมือผู้ก่อการร้าย โดยสมมุติว่ามีการใช้อาวุธชีวภาพ คือไวรัสฝีดาษลิงที่ตัดต่อพันธุกรรม ชื่อ Akhmeta ทั้งในปี 2021 และในปี 2022 โดยสร้างฉากทัศน์ เริ่มจากการปล่อยไวรัสจนกระทั่งมีการระบาดทั่วโลกและล้มตายไปหลายร้อยล้านคนและในขณะเดียวกันมีการตระเตรียมยาและวัคซีน เหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันที่มีการติดเชื้อฝีดาษลิงในมนุษย์ที่ง่ายขึ้น เริ่มเกิดขึ้นในปี 2021 และ 2022 และทยอยแพร่ไปทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนทั่วโลก[6] ส่วนประเทศไทยได้ปรากฏข้อมูลที่รวมรวมโดยเว็บไซต์ Hfocus รายงานว่าการเกิดโรคฝีดาษในไทยพบหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า ถึงขนาดว่ามีพระมหากษัตริย์ไทยสวรรคตด้วยฝีดาษ 2 พระองค์  ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หน่อพุทธางกูร พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 11 ของกรุงศรีอยุธยา ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 หรือประมาณ 491 ปีที่แล้ว อีก 72 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประชวรที่เมืองหาง (เมืองห้างหลวง ในรัฐฉาน) เป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์ กลายเป็นพิษ และสวรรคต เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 ซึ่งตรงกับช่วงศตวรรษที่ 16 มีการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก และยังมีการระบาดในพ.ศ. 2292 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทำให้มีคนตายมาก[3] โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ในอดีตนั้นมีความร้ายแรง เพราะยังถึงขั้นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ได้ จึงมีความแตกต่างจากโรคระบาดชนิดอื่นๆ ดังนั้นในเวลาต่อๆมา โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ จึงเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทั้งการป้องกันการเกิดโรคระบาด จนถึงขั้นการรักษาโรค ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของฝีดาษเช่นกัน จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของฝีดาษอย่างหนัก ทำให้หมอบรัดเลย์ริเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีโคที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้[3] ในระยะ พ.ศ. 2460 – 2504 ยังมีการระบาดของฝีดาษเกิดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2488 – 2489 ช่วงการเกิดสงครามมีการระบาดของฝีดาษครั้งใหญ่สุดเริ่มต้นจากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสายมรณะข้ามแม่นํ้าแควป่วยเป็นไข้ทรพิษและแพร่ไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆที่มารับจ้างทํางานในแถบนั้น เมื่อแยกย้ายกันกลับบ้าน ได้นําโรคกลับไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน และเสียชีวิต 15,621 คน[3] การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 ทำให้มีผู้ป่วย 1,548 คน ตาย 272 คน และการระบาดครั้งสุดท้ายมีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย โดยรับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษหรือฝีดาษในประเทศไทย รณรงค์ปลูกฝีป้องกันโรค จนปีพ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าฝีดาษได้ถูกกวาดล้างแล้วจึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรค   และนับแต่นั้นมาไม่เคยปรากฏว่ามีฝีดาษเกิดขึ้นในประเทศไทย[3] นี่คือเหตุผลว่าประเทศไทยได้ทำการปลูกฝี เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีสุดท้าย หรือเมื่อประมาณ 44 ปีที่แล้ว ดังนั้นประชาชนไทยที่อายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไป ก็น่าจะได้รับการปลูกฝีไปเกือบทั้งหมดแล้ว แต่เมื่อฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้ง ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศไทยจะรับมืออย่างไร และเราควรจะฉีดวัคซีนหรือไม่? และคนที่มีอายุเกิน 44 ปี (ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปลูกฝีไข้ทรพิษมาแล้ว)จะมีคนติดเชื้อโรคฝีดาษลิงหรือไม่ โดยวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 เว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)จนถึงปัจจุบันว่า มีผู้ป่วยฝีดาษลิงในประเทศไทย จำนวน 835 ราย เป็นเพศชายเกือบทั้งหมดมากถึง 814 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.49 ในขณะที่เป็นเพศหญิง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.51 เท่านั้น[7] ซึ่งถือว่าโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงในผู้หญิงน้อยมาก แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนวัยหนุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวี อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่เคยปลูกฝีไข้ทรพิษแล้วยังสามารถติดเชื้อฝีดาษลิงได้อยู่ดีแต่น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ปลูกฝี ดังนี้ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 0-14 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 2 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมด ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.24 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20-24 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 81 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 25-29 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 172 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.59 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30-39 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 347 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.56 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40-49 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 174 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.83 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ในกลุ่มนี้หากพิจารณาแยกแยะผู้ที่มีอายุ 40-44 ปี ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อนมีจำนวน 130 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.65 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45-49 ที่เชื่อว่าน่าจะได้รับการปลูกฝีแล้วติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 44 ราย คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.27 เท่านั้น ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 29 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.47 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ติดเชื้อฝีดาษลิง 8 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.95 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย[7] จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปซึ่งน่าจะมีการปลูกฝีไข้ทรพิษไปแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงได้ เพียงแต่มีสัดส่วนน้อยกว่าประชากรที่ยังไม่เคยได้รับการปลูกฝี คือ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปีลงมา มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 754 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.30 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้น (ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้รับการปลูกฝีไปแล้ว)มีผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งสิ้น 81 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ราย อย่างไรก็ตามในภาวะดังกล่าว มีคำแถลงจากนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นเอาไว้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ความว่า “โดยจริงๆ วัคซีนไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน ไม่มีการระบาดทั่วไป เพราะอัตราการระบาดต่ำ แต่จะพบในผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้ง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวี และไม่ทานยาทั้งหมด 13 รายที่ผ่านมา (เชื้อเคลด2)”[8] นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังได้ “คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการควบคุมโรค แต่เนื่องจากวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทางกรมควบคุมโรคจึงใช้ มาตรา 13(5) เพื่อการควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510  จะมีการใช้งบประมาณ กรมควบคุมโรค วงเงิน 21 ล้านบาท เพื่อการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าว รวม 3,000 โดส  เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง  3 กลุ่ม ประกอบด้วย   1. บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่อการติดโรค อาทิ ไปสัมผัสเสี่ยงสูง คือ สัมผัสคนติดเชื้อ 2. กลุ่มไปสัมผัสโรค เสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ก็จะฉีดภายใน 4 วัน และ3. มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ซึ่ง 3 กลุ่มเสี่ยงนี้ กรมควบคุมโรคจะดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย“[8] เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความเห็น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ในเรื่องความพยายามกระพือข่าวให้กลัวเพื่อให้เกิดการระดมฉีดวัคซีน ความว่า “กรมควบคุมโรคประกาศแล้ว ฝีดาษลิงอัตราการระบาดต่ำ ทั้งประเทศมีประมาณ 800 ราย และที่เสียชีวิตนั้น เพราะมีติดเชื้อไวรัสเอดส์ และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น การติดตามของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ติดเชื้อปลอดภัยดี วัคซีนขณะนี้ “ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน” และกระทรวงสาธารณสุข จะจัดการให้ฉีดฟรีใน “กลุ่มเสี่ยง” เท่านั้น ได้แก่ 1. บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ 2. คนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยต้องฉีดภายใน 4 วัน ทั้งสองกลุ่มนี้ฟรี ส่วนกลุ่มที่ต้องเดินทางในพื้นที่เสี่ยงนั้น การฉีดนั้นต้องจ่ายเงิน “กลุ่มที่กระพือข่าวให้น่ากลัว โดยไม่ยึดความจริง และอาจทำให้นำไปสู่การค้าวัคซีน ควรต้องจับตามองอย่างเข้มข้น””[9] อย่างไรก็ตามแม้ว่าฝีดาษลิงจะเป็นเชื้อที่ยังติดได้ยาก ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเฉพาะคือ ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่ทานยาทั้งหมด ส่วนการติดนั้นต้องอาศัยการสัมผัสผิวใกล้ชิด อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่จึงยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนแต่ประการใด อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรคฝีดาษที่กลับมาระบาดอีกครั้งในรอบ 44 ปี ทำให้ความรู้ในการรักษาผู้ป่วยขาดตอนไป คงเหลือแต่การค้นคว้ากรรมวิธีการรักษาในประวัติศาสตร์ของคนไทยว่าใช้วิธีการรักษาอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “โรคฝีดาษ” เป็นโรคที่มีความจำเพาะ ถึงขนาดทำให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ จึงปรากฏเรื่องของตำรับยาและสมุนไพรที่เกี่ยวกับการรักษา “โรคฝีดาษ” แยกออกมาต่างหากจากโรคระบาดอื่นๆ บันทึกปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 2 ของจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[10]-[12] และอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[10],[13]-[15] นอกจากนั้น โรคฝีดาษไม่ใช่เป็นโรคระบาดอื่นๆที่ใช้ “ยาขาว”ที่ใช้กับโรคระบาดหลายชนิดในตำรับยาเดียว ที่ปรากฏในศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกด้วย[16] หลักฐานที่ว่า “โรคฝีดาษ” ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปนั้น จะเห็นได้จากพระคัมภีร์ตักกะศิลาที่บันทึกภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และบันทึกมาโดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่ตกทอดมาถึงตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่พบการกล่าวถึงคำว่า “ฝีดาษ” แต่ประการใด แต่ในที่สุดก็ได้พบตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ระบุคัมภีร์ชื่อ “พระตำหรับแผนฝีดาษ” บันทึกในสมุดไทย มีรายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะ และมีจำนวนมากถึง 3 เล่ม จนไม่สามารถที่จะถ่ายทอดมาให้อ่านในหมดในบทความนี้ โดย “พระตำหรับแผนฝีดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการกล่าวถึงลักษณะของฝีแต่ละชนิด และจุดที่เกิดฝีว่าบริเวณใดเป็นแล้วไม่เสียชีวิต รวมถึงบริเวณใดจะทำให้เสียชีวิตภายในกี่วัน จึงได้มีการแบ่งแยกวิธีการรักษาอย่างละเอียดยิบ อย่างไรก็ตามก็มีวาง “หลักการ“ ถึงวิธีการรักษาโรคฝีดาษปรากฏอยู่ใน ”พระตำหรับแผนฝีดาษ เล่ม 2“ ที่ระบุความตอนหนึ่งว่า ”๏ สิทธิการิยะ พระตำราประสะฝีดาษทั้งปวง ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษาฝีดาษ ถ้าเห็นศีศะรู้ว่าเปนฝีดาษแน่แล้ว ให้กินยาล้อมตับดับพิศม์และให้กินยารุเสีย แลกินยาแปรภายใน พ่นยาแปรภายนอกแลกินยากะทุ้ง…“[17] หลังจากนั้นพอวันเวลาเปลี่ยนไปก็มีตำรับยาเฉพาะที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนรักษาฝีดาษจนหายในที่สุด ซึ่งในโอกาสอันสมควรก็น่าจะมีการรื้อฟื้น ศึกษา พระตำหรับแผนฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำการวิจัย พัฒนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรคฝีดาษในยุคปัจจุบันต่อไป ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 12 กันยายน 2567 อ้างอิง [1] Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 525–28. ISBN 978-0-8385-8529-0. [2] CDC, History of Smallpox, 25 July 2017 https://www.cdc.gov/smallpox/history/history.html [3] Hfocus, โรคระบาดร้ายแรงในอดีต ตอนที่ 3 โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ), วันที่ 26 สิงหาคม 2558 https://www.hfocus.org/content/2014/08/7977 [4] World Health Organization, Small Pox, Media Center https://web.archive.org/web/20070921235036/http://www.who.int/mediacentre/factsheets/smallpox/en/ [5] U.S. House of Representatives, Interim Staff Report on Investigation into Risky MPXV Experiment at the National Institute of Allergy and Infectious Diseases, June 14 2024 https://d1dth6e84htgma.cloudfront.net/Mpox_Memo_Rpt_correction_18e95e3204.pdf?utm_source=substack&utm_medium=email&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0YlqstCXKzOUttRicgqQ6lG00dtMnZ_9pFf4FqtlBbSAyw5uR-tGR6QIM_aem_ZXPXy1XgTiGCTixSJJ-aFg [6] ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, “หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์, ผู้จัดการออนไลน์, 6 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903 [7] กรมควบคุมโรค, รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร (Mpox), 12 กันยายน 2567 https://ddc.moph.go.th/monkeypox/dashboard.php [8] Hfocus, กรมควบคุมโรค ทุ่มงบ 21 ล้านบาท จัดหา “วัคซีนฝีดาษวานร” 3 พันโดสให้เฉพาะ 3 กลุ่มเสี่ยง, 6 กันยายน 2567 https://www.hfocus.org/content/2024/09/31577 [9] ผู้จัดการออนไลน์, “หมอธีระวัฒน์” แนะจับตาพวกกระพือข่าวให้ตื่นกลัวฝีดาษลิง หวังค้าวัคซีน หลังกรมควบคุมโรคยืนยันแล้วอัตราระบาดต่ำ, 7 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000083178 [10] ผู้จัดการออนไลน์, “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”, เผยแพร่: 5 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615 [11] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567) https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/14798 [12] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/16335 [13] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560 https://db.sac.or.th/.../file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf [14] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 https://db.sac.or.th/.../7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf [15] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723 [16] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔ [17] คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒
    Like
    Love
    46
    3 Comments 2 Shares 1404 Views 0 Reviews
  • วันนี้ผมใช้งาน Thaitimes เป็นวันที่ 3 แล้วครับ
    และขอพูดถึงเกมส์นี้กัน แต่เกมส์นี้คนเล่นเยอะพอๆกับเกมส์คนเลี้ยงหมูช่วงที่ Facebook บูมๆ ในปี 2554 แต่เกมส์นี้ทำให้รู้จักพืช ผัก ผลไม้ เครื่องเทศ มากขึ้น และรู้จักอาหารมากขึ้น จนต้องค้นคว้าสูตรอาหารมาลงฐานข้อมูลในโปรแกรมที่ผมพัฒนาแต่ยังไม่ได้ใช้งานจริง ใครชอบปลูกผักแปลกๆและชอบทำเมนูแปลกๆเพราะเกมส์นี้แสดงตนหน่อยนะครับ
    วันนี้ผมใช้งาน Thaitimes เป็นวันที่ 3 แล้วครับ และขอพูดถึงเกมส์นี้กัน แต่เกมส์นี้คนเล่นเยอะพอๆกับเกมส์คนเลี้ยงหมูช่วงที่ Facebook บูมๆ ในปี 2554 แต่เกมส์นี้ทำให้รู้จักพืช ผัก ผลไม้ เครื่องเทศ มากขึ้น และรู้จักอาหารมากขึ้น จนต้องค้นคว้าสูตรอาหารมาลงฐานข้อมูลในโปรแกรมที่ผมพัฒนาแต่ยังไม่ได้ใช้งานจริง ใครชอบปลูกผักแปลกๆและชอบทำเมนูแปลกๆเพราะเกมส์นี้แสดงตนหน่อยนะครับ
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 489 Views 0 Reviews
  • ร้านอาหารเรณู ร้านอาหารเจ้าเด็ดที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับน้ำตกไทรโยคน้อย เที่ยวน้ำตกเสร็จแล้ว แวะทานได้ชิลๆ ใครที่ชอบทานอาหารไทยพื้นบ้าน ต้องมาที่นี่เลย เพราะเค้ามีเมนูให้เลือกมากกว่า 100 รายการ ไม่ว่าจะเป็น ปลาคังทอดน้ำปลา หมูป่าผัดเผ็ด ผัดผักพื้นบ้าน แถมราคาก็ไม่แพง สามารถมานั่งทานข้าวได้ทั้งครอบครัว ตัวร้านมีความกว้างขวาง โล่งสบายๆ เป็นอีกหนึ่งร้านอาหารในอำเภอไทรโยคที่น่าไปลองชิมกันครับ

    พิกัด : https://goo.gl/maps/FPs1LdGD6QvDzwcy6
    ที่อยู่ : 66/2 หมู่ 3 ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
    ร้านเปิดบริการ : 08.00 - 20.00 น.
    โทร : 08-1880-1987

    #แนะนำร้านอาหารกาญจนบุรี #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    ร้านอาหารเรณู ร้านอาหารเจ้าเด็ดที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับน้ำตกไทรโยคน้อย เที่ยวน้ำตกเสร็จแล้ว แวะทานได้ชิลๆ ใครที่ชอบทานอาหารไทยพื้นบ้าน ต้องมาที่นี่เลย เพราะเค้ามีเมนูให้เลือกมากกว่า 100 รายการ ไม่ว่าจะเป็น ปลาคังทอดน้ำปลา หมูป่าผัดเผ็ด ผัดผักพื้นบ้าน แถมราคาก็ไม่แพง สามารถมานั่งทานข้าวได้ทั้งครอบครัว ตัวร้านมีความกว้างขวาง โล่งสบายๆ เป็นอีกหนึ่งร้านอาหารในอำเภอไทรโยคที่น่าไปลองชิมกันครับ พิกัด : https://goo.gl/maps/FPs1LdGD6QvDzwcy6 ที่อยู่ : 66/2 หมู่ 3 ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ร้านเปิดบริการ : 08.00 - 20.00 น. โทร : 08-1880-1987 #แนะนำร้านอาหารกาญจนบุรี #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    Like
    5
    0 Comments 0 Shares 459 Views 0 Reviews
  • ครัวผักหวานบ้านไร่นฤบดินทร์ ใครที่ชื่นชอบผักหวานร้านนี้เค้ามีเมนูผักหวานแสนอร่อยสมชื่อร้านเลย ไม่ว่าจะเป็น ส้มตำผักหวาน ยำผักหวาน ผักหวานผัดน้ำมันหอย ผักหวานชุบแป้งทอด นอกจากนี้ยังมีอาหารจานเด็ดอื่นๆ อีกมากมาย ที่ต้องไปลองชิมกันให้ได้ เช่น ต้มยำปลาคัง ทอดมันปลากราย แกงป่า ใครแวะไปอำเภอไทรโยค ต้องลองไปเช็คอินร้านนี้เลยครับ

    พิกัด : https://goo.gl/maps/TQMkhaL51cvkDJBb9
    ที่อยู่ : ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
    ร้านเปิดบริการ : 08.00 - 20.00 น.
    โทร : 08-3241-6561
    #อาหารป่า #กินสาระนัวร์ #แนะนำร้านอาหารเด็ด #Thaitimes
    ครัวผักหวานบ้านไร่นฤบดินทร์ ใครที่ชื่นชอบผักหวานร้านนี้เค้ามีเมนูผักหวานแสนอร่อยสมชื่อร้านเลย ไม่ว่าจะเป็น ส้มตำผักหวาน ยำผักหวาน ผักหวานผัดน้ำมันหอย ผักหวานชุบแป้งทอด นอกจากนี้ยังมีอาหารจานเด็ดอื่นๆ อีกมากมาย ที่ต้องไปลองชิมกันให้ได้ เช่น ต้มยำปลาคัง ทอดมันปลากราย แกงป่า ใครแวะไปอำเภอไทรโยค ต้องลองไปเช็คอินร้านนี้เลยครับ พิกัด : https://goo.gl/maps/TQMkhaL51cvkDJBb9 ที่อยู่ : ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ร้านเปิดบริการ : 08.00 - 20.00 น. โทร : 08-3241-6561 #อาหารป่า #กินสาระนัวร์ #แนะนำร้านอาหารเด็ด #Thaitimes
    Like
    Love
    3
    0 Comments 0 Shares 447 Views 0 Reviews
  • เปิดร้านเด็ดที่ซีฟู้ดสดแบบไม่มีอะไรกั้น กับ "บ้านปูเป็น 2 เพชรบุรี" ยกทะเลขึ้นมาบนโต๊ะ บรรยากาศร้านสุดชิลท่ามกลางวิวทุ่งนาเกลือ เหมาะกับการมากับแก๊งเพื่อนและครอบครัว เมนูเด็ดของที่นี่คือ "ปูนึ่ง" เนื้อสด หวาน แกะมาให้พร้อมกิน จิ้มน้ำจิ้มซีฟู้ดรสแซ่บยิ่งฟินแบบสุด ๆ หรือจะลอง "ทะเลเผา" ซีฟู้ดรวมมิตรจัดเต็มมาในตะกร้าจานยักษ์ มีทั้งหอย ปู กุ้ง ปลาหมึก มาหลายคนต้องจัด และห้ามพลาด "กั้งกระดานทอดกระเทียม” ที่เนื้อแน่น กระเทียมกรุบกรอบ หอมไปทั้งโต๊ะ ใครได้กินก็อยากกลับมาซ้ำ!.

    พิกัด : บ้านปูเป็น2 เพชรบุรีสาขาแหลมผักเบี้ย

    #ชวนกิน #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    เปิดร้านเด็ดที่ซีฟู้ดสดแบบไม่มีอะไรกั้น กับ "บ้านปูเป็น 2 เพชรบุรี" ยกทะเลขึ้นมาบนโต๊ะ บรรยากาศร้านสุดชิลท่ามกลางวิวทุ่งนาเกลือ เหมาะกับการมากับแก๊งเพื่อนและครอบครัว เมนูเด็ดของที่นี่คือ "ปูนึ่ง" เนื้อสด หวาน แกะมาให้พร้อมกิน จิ้มน้ำจิ้มซีฟู้ดรสแซ่บยิ่งฟินแบบสุด ๆ หรือจะลอง "ทะเลเผา" ซีฟู้ดรวมมิตรจัดเต็มมาในตะกร้าจานยักษ์ มีทั้งหอย ปู กุ้ง ปลาหมึก มาหลายคนต้องจัด และห้ามพลาด "กั้งกระดานทอดกระเทียม” ที่เนื้อแน่น กระเทียมกรุบกรอบ หอมไปทั้งโต๊ะ ใครได้กินก็อยากกลับมาซ้ำ!. พิกัด : บ้านปูเป็น2 เพชรบุรีสาขาแหลมผักเบี้ย #ชวนกิน #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 319 Views 0 Reviews
  • จักรวรรดิ์นิยมอเมริกาใช้วิธีการสร้างภาพเพื่อสร้างอัตลักษณ์ตนเอง:

    รัฐบาลจักรวรรดิ์นิยมอเมริกาจ่ายเงินให้สื่อมวลชน ๕๐๐ ล้านดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาเพื่อเขียนข่าวโจมตีจีนให้จีนเสียหายโดยเฉพาะ

    ทำนองเดียวกัน อเมริกาก็จ้างนักข่าวให้เขียนข่าวโจมตีคิมจองอันของเกาหลีเหนือว่าเผด็จการ ฆ่าคนเป็นผักปลา ฯลฯ จ้างนักข่าวให้เขียนข่าวด่ารัฐบาลอิหร่าน รัสเซีย เวเนซุเอล่า ซีเรีย คิวบา นิคารากัว ฯลฯ ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย

    ส่วนตนเองก่ออาชญากรรมไปทั่วโลก ก็สร้างภาพว่าเป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมเสรีภาพ พอสื่อมวลชนไทยติดกับดักสื่อมะกัน เอาข่าวโฆษณาชวนเชื่อมาเผยแพร่ต่อล้างสมองคนไทย นักการเมืองไทยและนักวิชาการไทยจึงพากันบ้าตามอเมริกา

    อเมริกาด่าชาติไหนหรือรัฐบาลไหนว่าเผด็จการ คนไทยก็ด่าตาม เหมือนในช่วงเกิดมาเป็นคน สมองหายไปครึ่งหนึ่งยังไงยังงั้น


    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    จักรวรรดิ์นิยมอเมริกาใช้วิธีการสร้างภาพเพื่อสร้างอัตลักษณ์ตนเอง: รัฐบาลจักรวรรดิ์นิยมอเมริกาจ่ายเงินให้สื่อมวลชน ๕๐๐ ล้านดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาเพื่อเขียนข่าวโจมตีจีนให้จีนเสียหายโดยเฉพาะ ทำนองเดียวกัน อเมริกาก็จ้างนักข่าวให้เขียนข่าวโจมตีคิมจองอันของเกาหลีเหนือว่าเผด็จการ ฆ่าคนเป็นผักปลา ฯลฯ จ้างนักข่าวให้เขียนข่าวด่ารัฐบาลอิหร่าน รัสเซีย เวเนซุเอล่า ซีเรีย คิวบา นิคารากัว ฯลฯ ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ส่วนตนเองก่ออาชญากรรมไปทั่วโลก ก็สร้างภาพว่าเป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมเสรีภาพ พอสื่อมวลชนไทยติดกับดักสื่อมะกัน เอาข่าวโฆษณาชวนเชื่อมาเผยแพร่ต่อล้างสมองคนไทย นักการเมืองไทยและนักวิชาการไทยจึงพากันบ้าตามอเมริกา อเมริกาด่าชาติไหนหรือรัฐบาลไหนว่าเผด็จการ คนไทยก็ด่าตาม เหมือนในช่วงเกิดมาเป็นคน สมองหายไปครึ่งหนึ่งยังไงยังงั้น ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 229 Views 0 Reviews
  • วันศุกร์: ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง
    วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๗ (6 September 2024)

    บริจาคผัก: มะระขี้นก และกระเจี๊ยบ 50 บาท
    โรงทาน วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ
    #ทำบุญทั่วไปโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๕๙ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    วันศุกร์: ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๗ (6 September 2024) บริจาคผัก: มะระขี้นก และกระเจี๊ยบ 50 บาท โรงทาน วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ #ทำบุญทั่วไปโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๕๙ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 Comments 0 Shares 107 Views 0 Reviews
  • ยุคนี้.....กัญชามาแรงแซงโค้ง....!!!

    คือเมื่อคืนนะคะ ดิฉันดูละครโทรทัศน์ เรื่อง ทองเอก หมอยา
    ทุ่งโฉลง เพราะได้ดูตัวอย่างนิดนึงแล้วติดใจ อยากติดตาม เพราะเป็นของใหม่ที่จะให้การศึกษากับคนไทยแบบเนียนด้วยการแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะพืชสมุนไพร..

    อันว่าดิฉันเนี่ยยย เป็นคนที่ค่อนข้างต่อต้านยาฝรั่ง คือพยายามใช้ให้น้อยที่สุด เช่น เฉพาะไมเกรนเจ้าประจำ กับฉีดวัคซีนต่างๆ
    แต่ไม่พยายามพร่ำเพรื่อ อย่างที่น้องมาแวะเยี่ยม ก็ได้ขอให้ติด”ยาน้ำระดมพล” มาให้ด้วย ขอบคุณน้องหลายๆเด้อ
    เพราะสรรพคุณของยาน้ำนี้ คือการ”รุ” เพื่อระบบไฟธาตุในร่างกายได้ทำงานสะดวก (ตามคำของผู้ใหญ่ที่สั่งสอนมา)
    ดิฉันก็ถือมาเป็นวิถีปฏิบัติมาสามสิบปีนี่แล้วค่ะ อาทิตย์ละจอก..
    ที่เห็นๆคือ ไมเกรนห่างหายไปมาก และ สบายตัว

    เลยเถิดไปได้ยังไงเนี่ยยย ว่าจะพูดถึงกัญชา...!!!

    เอาว่าเริ่มจากกัญชาฝรั่งก่อนนะคะ กัญชาไทย หรือ Thai stick เราก็รู้ๆกันอยู่แล้วว่าเป็นสุดยอด....ที่ฝรั่งหลงไหลถึงขนาดจับเครื่องบินมาเพื่อเชยชม ดูดดมเจ้า...
    ตอนนี้ “กัญชา” เป็นที่หอมหวนในวงการธุรกิจ เพราะมันหมายถึงเงินจำนวนแสนล้าน...
    ในปี 2014 อุรุกวัย เป็นประเทศแรกที่ประกาศตัวใช้กัญชาได้
    ตามกฏหมายกำหนด
    ตามด้วย แคนาดา เมื่อเดือนตุลาคม 2018
    ตั้งแต่อุรุกวัย เปิดเสรีเรื่องกัญชาขึ้นมา พลอยสร้างกระแสแรงกระเพื่อมในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประชาชนเหล่านิยมกัญชา เขาคือ กลุ่ม AUMA (Adult Use of Marijuana Act)
    พากันเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณากฏหมายผ่อนปรนด้วยเรื่องสารเสพติด โดยมีการวิจัยออกมาว่า กัญชามีโทษต่อร่างกายน้อยมาก
    น้อยกว่าเหล้า บุหรี่ และยารักษาโรคอื่นๆ
    อีกทั้งช่วยรักษาได้อีกสารพัดโรค

    ในความจริงคือ ตั้งแต่ปี 2003 บริษัท Bayer AG ได้แอบทุ่มทุนร่วมกับ GW Pharmaceuticals ในการทำวิจัยเรื่องกัญชาในการรักษาโรคมาแล้ว

    ปี 2007 Bayer เป็นบริษัทเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ ประเทศเยอรมัน ได้ร่วมมือร่วมทุนกันกับ Monsanto (อเมริกา) เป็นบริษัทที่ทุกคนรู้ๆกันว่า ยิ่งใหญ่มากทางด้านเคมีเกษตร และผันตัวมาทำเรื่อง GMO ในพืชทุกชนิด รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ผัก ผลไม้ จากในอดีตที่เคยเป็นผู้ผลิต “ฝนเหลือง” ที่คร่าชีวิตชาวเวียดนามไปมากมาย...และผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ George Soros

    แต่ในขณะเดียวกันนั้น ประชาชนผู้บริโภคได้ตื่นตัวต่อวิธีการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมในพืชผักของมอนซานโตที่มีข้อเสียซ่อนไว้มากมาย
    และเริ่มมีการต่อต้านกันไปอย่างแพร่หลาย
    มอนซานโตมาถึงจุดตกต่ำ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยที่ได้ถูกฟ้องร้องว่าเป็นเหตุให้เกิดมะเร็ง
    รายที่ฟ้องได้ค่าเสียหายมากสุด คือ 289 ล้านยูเอส ในเดือนสิงหาคม 2018
    คือคนสวน Dewayne Johnson อายุ 46 ปี ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าหญ้าของมอนซานโตในชื่อว่า Roundup

    แต่คนอย่าง โซรอส เขามีทางออกที่สวยสุด คือ รีบเทขาย Monsanto ให้กับ Bayer อย่างว่องไว เพราะไหนๆก็ร่วมมือกันทำวิจัยเรื่อง “กัญชา” มาตั้งแต่ 2007 แล้ว ด้วยจำนวนเงิน หกหมื่นล้านยูเอส
    เท่ากับเป็นการล้างชื่อ มอนซานโต ออกไปจากตำแหน่งของบริษัทที่ชั่วช้าที่สุดในโลกไปได้...

    จากนี้ไป เราไม่มีมอนซานโตก็จริง แต่...ใครจะรู้ว่าจะอวตารขึ้นมาอีกเมื่อไหร่ เพราะสูตรเคมีล้างโลก และ พันธุ์พืชที่ได้แต่งเปลี่ยนนั้น
    อยู่ที่ไหน...?

    และ ที่ Bayer ซื้ออะไรไปด้วยเงินจำนวนขนาดนั้น ในเมื่อไม่มีใครได้เห็นสัญญาซื้อขาย ไม่มีสื่อไหนกล้าหาข้อมูลมาตีแผ่
    เพราะในอดีตของ Bayer ก็ถือว่า ไม่ได้ด้อยไปกว่ามอนซานโตเลย

    Bayer ก็เคยเปลี่ยนชื่อเพราะความฉาวโฉ่มาแล้ว จากชื่อเก่า คือ
    IG Farben เป็นบริษัทเคมีภัณฑ์ที่ผลิตยาให้กับนาซี ตั้งแต่แอสไพรินจนถึงไซยาไนด์
    รวมทั้ง Zyklon B คือแก๊สที่ใช้รมเชลยยิวในค่ายนรก ซึ่งบริษัทนี้ได้เกณฑ์แรงงานยิวมาใช้ตั้งแต่ต้นสงครามจนถึงวันสุดท้ายที่ปราชัย
    พอสงครามเลิก IG Farben ก็ยุบไป และเจ้าหน้าที่ พนักงาน ได้ถูกเป็นจำเลยในศาลกันพร้อมหน้า ติดคุกกันไม่กี่ปีก็ออกมาเดินปร๋อ
    และต่อมาได้มีอวตารบริษัทเกิดขึ้นใหม่ ในนาม Bayer ที่ผู้บริหารตัวบิ๊กๆนั้น มาจาก IG Farben ทั้งแผง

    ในปี 1995 Bayer ได้ออกมาขอโทษกับชาวยิวที่มีส่วนในการผลิตแก๊สทำลายล้างเผ่าพันธุ์

    ส่วน จอร์จ โซรอส นั้น เกิดในฮังการีในปี 1930 และเติบโตมาในช่วงของสงครามโลกครั้งที่สอง ที่นาซีได้แผ่เข้ามาในฮังการี และได้ฆ่ายิวไปกว่าห้าแสนคน
    ครอบครัวของเขาต้องอยู่ในสถานะปลอมๆ ต้องแอ๊บเป็นอารยัน
    แถมได้ทำงานในออฟฟิศให้กับหน่วยงานของนาซี หน้าที่ของเขาคือ
    นำคนไปตามจับและยึดทรัพย์ชาวยิว...จนถึงสงครามเลิก

    แต่ฮังการี...ต้องไปสู่เขตการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์
    ครอบครัวเขาจึงอพยพมุ่งหน้าไปสู่ลอนดอน เขาได้เข้าเรียนระดับวิทยาลัย ในสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี 1947
    จากนั้น เขาจึงไปเริ่มชีวิตใหม่ที่อเมริกา ในปี 1956 โดยเริ่มจากเซลส์แมนกิ๊กก๊อก นักเก็งกำไรหุ้น ค้าอสังหาฯ
    และเพียง สิบกว่าปี เขาก็ก้าวขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐี...

    เรื่องที่เขาขายมอนซานโตออกไปอย่างไม่เสียดมเสียดายเพราะสิ่งที่น่าสนใจกว่า และจะเป็นที่รักใคร่ของประชาชนนั้นคือ
    “กัญชา”
    เขาทุ่มเงินสนับสนุนโอบามา จนได้เป็นประธานาธิบดี เพื่อสนองนโยบายได้เร็วทันใจ เพราะ กัญชาได้เปลี่ยนมาเป็นสารเสพติดร้ายแรงประเภทที่หนึ่ง มาเป็นประเภทที่สอง คือ สารเสพติดที่ใช้ทางการแพทย์
    จากนั้นก็คือหน้าที่ของกลุ่ม AUMA ในรัฐต่างๆที่จะเคลื่อนไหวกันเอง...
    ส่วนโซรอส (ในนามของมอนซานโต) ได้เข้าไปยึดครองการเพาะปลูกกัญชาในอุรุกวัย อันว่ากันว่าเป็นพื้นที่ที่ดีที่สุดในโลกต่อเกษตรกรรมกัญชา ตั้งแต่ 2003 และเขาคือแรงผลักดันให้อุรุกวัยประกาศตนเป็นประเทศที่กัญชาค้าขายได้ถูกกฎหมาย
    รวมทั้งการครอบคลุมเมล็ดพันธุ์

    และที่สำคัญสุดคือ จอร์จ โซรอส ได้มีตำแหน่งเป็นหนึ่งในบอร์ดของ DPA (Drug Policy Alliance) สำนักงานตั้งอยู่ในนิวยอร์ค
    ประมาณว่า เป็นกลุ่มดูแลนโยบายสิ่งเสพติดในการรักษาโรค
    ที่มีข้อปฎิบัติละเอียดยิบย่อย
    และ DPA นี้ ไม่ใช่ครอบคลุมในเพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
    เขาได้กระจายไปในอุรุกวัยและประเทศอื่นในแถบลาตินด้วย

    นั่นหมายถึงว่า ถ้าจะมีสมาชิกใหม่ในกลุ่ม ก็ต้องปฏิบัติตามนโยบายของเขา ปลูกได้ตามที่เขาสั่ง ขายได้ในราคาตามที่เขากำหนด ใช้ได้ตามจำนวนที่เขาจะพิจารณา
    และ ถ้าไม่เป็นสมาชิก...แต่จะมาค้าขายกัญชาตามใจชอบ
    ก็อาจจะมี “สงครามกัญชา”เกิดขึ้น

    เงินไม่เข้าใครออกใคร...
    ถ้าจำนวนมหาศาลพอ ...ยิวกับนาซี ยังจูบปากกันได้เลย...!!!

    Wiwanda W. Vichit
    ยุคนี้.....กัญชามาแรงแซงโค้ง....!!! คือเมื่อคืนนะคะ ดิฉันดูละครโทรทัศน์ เรื่อง ทองเอก หมอยา ทุ่งโฉลง เพราะได้ดูตัวอย่างนิดนึงแล้วติดใจ อยากติดตาม เพราะเป็นของใหม่ที่จะให้การศึกษากับคนไทยแบบเนียนด้วยการแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะพืชสมุนไพร.. อันว่าดิฉันเนี่ยยย เป็นคนที่ค่อนข้างต่อต้านยาฝรั่ง คือพยายามใช้ให้น้อยที่สุด เช่น เฉพาะไมเกรนเจ้าประจำ กับฉีดวัคซีนต่างๆ แต่ไม่พยายามพร่ำเพรื่อ อย่างที่น้องมาแวะเยี่ยม ก็ได้ขอให้ติด”ยาน้ำระดมพล” มาให้ด้วย ขอบคุณน้องหลายๆเด้อ เพราะสรรพคุณของยาน้ำนี้ คือการ”รุ” เพื่อระบบไฟธาตุในร่างกายได้ทำงานสะดวก (ตามคำของผู้ใหญ่ที่สั่งสอนมา) ดิฉันก็ถือมาเป็นวิถีปฏิบัติมาสามสิบปีนี่แล้วค่ะ อาทิตย์ละจอก.. ที่เห็นๆคือ ไมเกรนห่างหายไปมาก และ สบายตัว เลยเถิดไปได้ยังไงเนี่ยยย ว่าจะพูดถึงกัญชา...!!! เอาว่าเริ่มจากกัญชาฝรั่งก่อนนะคะ กัญชาไทย หรือ Thai stick เราก็รู้ๆกันอยู่แล้วว่าเป็นสุดยอด....ที่ฝรั่งหลงไหลถึงขนาดจับเครื่องบินมาเพื่อเชยชม ดูดดมเจ้า... ตอนนี้ “กัญชา” เป็นที่หอมหวนในวงการธุรกิจ เพราะมันหมายถึงเงินจำนวนแสนล้าน... ในปี 2014 อุรุกวัย เป็นประเทศแรกที่ประกาศตัวใช้กัญชาได้ ตามกฏหมายกำหนด ตามด้วย แคนาดา เมื่อเดือนตุลาคม 2018 ตั้งแต่อุรุกวัย เปิดเสรีเรื่องกัญชาขึ้นมา พลอยสร้างกระแสแรงกระเพื่อมในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประชาชนเหล่านิยมกัญชา เขาคือ กลุ่ม AUMA (Adult Use of Marijuana Act) พากันเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณากฏหมายผ่อนปรนด้วยเรื่องสารเสพติด โดยมีการวิจัยออกมาว่า กัญชามีโทษต่อร่างกายน้อยมาก น้อยกว่าเหล้า บุหรี่ และยารักษาโรคอื่นๆ อีกทั้งช่วยรักษาได้อีกสารพัดโรค ในความจริงคือ ตั้งแต่ปี 2003 บริษัท Bayer AG ได้แอบทุ่มทุนร่วมกับ GW Pharmaceuticals ในการทำวิจัยเรื่องกัญชาในการรักษาโรคมาแล้ว ปี 2007 Bayer เป็นบริษัทเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ ประเทศเยอรมัน ได้ร่วมมือร่วมทุนกันกับ Monsanto (อเมริกา) เป็นบริษัทที่ทุกคนรู้ๆกันว่า ยิ่งใหญ่มากทางด้านเคมีเกษตร และผันตัวมาทำเรื่อง GMO ในพืชทุกชนิด รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ผัก ผลไม้ จากในอดีตที่เคยเป็นผู้ผลิต “ฝนเหลือง” ที่คร่าชีวิตชาวเวียดนามไปมากมาย...และผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ George Soros แต่ในขณะเดียวกันนั้น ประชาชนผู้บริโภคได้ตื่นตัวต่อวิธีการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมในพืชผักของมอนซานโตที่มีข้อเสียซ่อนไว้มากมาย และเริ่มมีการต่อต้านกันไปอย่างแพร่หลาย มอนซานโตมาถึงจุดตกต่ำ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยที่ได้ถูกฟ้องร้องว่าเป็นเหตุให้เกิดมะเร็ง รายที่ฟ้องได้ค่าเสียหายมากสุด คือ 289 ล้านยูเอส ในเดือนสิงหาคม 2018 คือคนสวน Dewayne Johnson อายุ 46 ปี ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าหญ้าของมอนซานโตในชื่อว่า Roundup แต่คนอย่าง โซรอส เขามีทางออกที่สวยสุด คือ รีบเทขาย Monsanto ให้กับ Bayer อย่างว่องไว เพราะไหนๆก็ร่วมมือกันทำวิจัยเรื่อง “กัญชา” มาตั้งแต่ 2007 แล้ว ด้วยจำนวนเงิน หกหมื่นล้านยูเอส เท่ากับเป็นการล้างชื่อ มอนซานโต ออกไปจากตำแหน่งของบริษัทที่ชั่วช้าที่สุดในโลกไปได้... จากนี้ไป เราไม่มีมอนซานโตก็จริง แต่...ใครจะรู้ว่าจะอวตารขึ้นมาอีกเมื่อไหร่ เพราะสูตรเคมีล้างโลก และ พันธุ์พืชที่ได้แต่งเปลี่ยนนั้น อยู่ที่ไหน...? และ ที่ Bayer ซื้ออะไรไปด้วยเงินจำนวนขนาดนั้น ในเมื่อไม่มีใครได้เห็นสัญญาซื้อขาย ไม่มีสื่อไหนกล้าหาข้อมูลมาตีแผ่ เพราะในอดีตของ Bayer ก็ถือว่า ไม่ได้ด้อยไปกว่ามอนซานโตเลย Bayer ก็เคยเปลี่ยนชื่อเพราะความฉาวโฉ่มาแล้ว จากชื่อเก่า คือ IG Farben เป็นบริษัทเคมีภัณฑ์ที่ผลิตยาให้กับนาซี ตั้งแต่แอสไพรินจนถึงไซยาไนด์ รวมทั้ง Zyklon B คือแก๊สที่ใช้รมเชลยยิวในค่ายนรก ซึ่งบริษัทนี้ได้เกณฑ์แรงงานยิวมาใช้ตั้งแต่ต้นสงครามจนถึงวันสุดท้ายที่ปราชัย พอสงครามเลิก IG Farben ก็ยุบไป และเจ้าหน้าที่ พนักงาน ได้ถูกเป็นจำเลยในศาลกันพร้อมหน้า ติดคุกกันไม่กี่ปีก็ออกมาเดินปร๋อ และต่อมาได้มีอวตารบริษัทเกิดขึ้นใหม่ ในนาม Bayer ที่ผู้บริหารตัวบิ๊กๆนั้น มาจาก IG Farben ทั้งแผง ในปี 1995 Bayer ได้ออกมาขอโทษกับชาวยิวที่มีส่วนในการผลิตแก๊สทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ส่วน จอร์จ โซรอส นั้น เกิดในฮังการีในปี 1930 และเติบโตมาในช่วงของสงครามโลกครั้งที่สอง ที่นาซีได้แผ่เข้ามาในฮังการี และได้ฆ่ายิวไปกว่าห้าแสนคน ครอบครัวของเขาต้องอยู่ในสถานะปลอมๆ ต้องแอ๊บเป็นอารยัน แถมได้ทำงานในออฟฟิศให้กับหน่วยงานของนาซี หน้าที่ของเขาคือ นำคนไปตามจับและยึดทรัพย์ชาวยิว...จนถึงสงครามเลิก แต่ฮังการี...ต้องไปสู่เขตการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ครอบครัวเขาจึงอพยพมุ่งหน้าไปสู่ลอนดอน เขาได้เข้าเรียนระดับวิทยาลัย ในสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี 1947 จากนั้น เขาจึงไปเริ่มชีวิตใหม่ที่อเมริกา ในปี 1956 โดยเริ่มจากเซลส์แมนกิ๊กก๊อก นักเก็งกำไรหุ้น ค้าอสังหาฯ และเพียง สิบกว่าปี เขาก็ก้าวขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐี... เรื่องที่เขาขายมอนซานโตออกไปอย่างไม่เสียดมเสียดายเพราะสิ่งที่น่าสนใจกว่า และจะเป็นที่รักใคร่ของประชาชนนั้นคือ “กัญชา” เขาทุ่มเงินสนับสนุนโอบามา จนได้เป็นประธานาธิบดี เพื่อสนองนโยบายได้เร็วทันใจ เพราะ กัญชาได้เปลี่ยนมาเป็นสารเสพติดร้ายแรงประเภทที่หนึ่ง มาเป็นประเภทที่สอง คือ สารเสพติดที่ใช้ทางการแพทย์ จากนั้นก็คือหน้าที่ของกลุ่ม AUMA ในรัฐต่างๆที่จะเคลื่อนไหวกันเอง... ส่วนโซรอส (ในนามของมอนซานโต) ได้เข้าไปยึดครองการเพาะปลูกกัญชาในอุรุกวัย อันว่ากันว่าเป็นพื้นที่ที่ดีที่สุดในโลกต่อเกษตรกรรมกัญชา ตั้งแต่ 2003 และเขาคือแรงผลักดันให้อุรุกวัยประกาศตนเป็นประเทศที่กัญชาค้าขายได้ถูกกฎหมาย รวมทั้งการครอบคลุมเมล็ดพันธุ์ และที่สำคัญสุดคือ จอร์จ โซรอส ได้มีตำแหน่งเป็นหนึ่งในบอร์ดของ DPA (Drug Policy Alliance) สำนักงานตั้งอยู่ในนิวยอร์ค ประมาณว่า เป็นกลุ่มดูแลนโยบายสิ่งเสพติดในการรักษาโรค ที่มีข้อปฎิบัติละเอียดยิบย่อย และ DPA นี้ ไม่ใช่ครอบคลุมในเพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้น เขาได้กระจายไปในอุรุกวัยและประเทศอื่นในแถบลาตินด้วย นั่นหมายถึงว่า ถ้าจะมีสมาชิกใหม่ในกลุ่ม ก็ต้องปฏิบัติตามนโยบายของเขา ปลูกได้ตามที่เขาสั่ง ขายได้ในราคาตามที่เขากำหนด ใช้ได้ตามจำนวนที่เขาจะพิจารณา และ ถ้าไม่เป็นสมาชิก...แต่จะมาค้าขายกัญชาตามใจชอบ ก็อาจจะมี “สงครามกัญชา”เกิดขึ้น เงินไม่เข้าใครออกใคร... ถ้าจำนวนมหาศาลพอ ...ยิวกับนาซี ยังจูบปากกันได้เลย...!!! Wiwanda W. Vichit
    Like
    Yay
    2
    0 Comments 1 Shares 353 Views 0 Reviews
  • ตำรับยารักษา “โรคฝีดาษ” จากศิลาจารึก/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    สำหรับตำรับยาโรคระบาดในประเทศไทยนั้น ได้ยึดถึอเอาพระคัมภีร์ตักกะศิลาเป็นกระบวนการรักษาโรค โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน กล่าวคือ

    ขั้นตอนแรก ตำรับยาสำหรับกระทุ้งพิษไข้ โดยใช้ตำรับยาห้าราก

    ขั้นตอนที่สอง ตำรับยาสำหรับแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก มีตำรับยา 5 ขนาน คือ ตำรับยาประสระผิว ตำรับยาพ่นผิวภายนอก ตำรับยาพ่นและยากิน และตำรับยาแปรไข้จากร้ายให้เป็นดี และตำรับยาพ่นแปรผิวภายนอก

    ขั้นตอนสุดท้าย ตำรับยาครอบไข้[1]

    ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นอยู่ในตำรายาหลวง ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ สมัยรัชกาลที่ 5 โดยในตำราดังกล่าวได้กล่าวถึงพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่งประพันธ์โดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังเป็นตำราสำหรับการเรียนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์มาจนถึงปัจจุบัน

    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงมีพระบรมราโชบายให้มีตำรายาจารึกเอาไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามผนังและเสาของวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) พระราชทานเป็นมรดกให้กับประชาชนชาวสยามสืบไปตราบนานเท่านาน รวมถึงวิวัฒนาการที่ลดทอนยา 7 ขนาน 3 ขั้นตอน มาเหลือ “ตำรับยาเดียว” ในการรับมือโรคระบาดหลายชนิดด้วย ซึ่งปัจจุบันคนในวงการแพทย์แผนไทยเรียกว่า “ยาขาว”

    ตำรับยาขาวของวัดโพธิ์นี้ได้ระบุเอาไว้ในตำราว่าแผ่นศิลาแผ่นนี้ได้ถูกรื้อออกมาจากศาลาต่างๆ แต่โชคดีได้บันทึกตำรับยาสำคัญนี้เอาไว้ในตำรายาของวัดโพธิ์ จึงทำให้สามารถตกทอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ โดยตำรายาวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ฉบับเก่า 51 ปีที่แล้ว คือ พ.ศ. 2516 ได้บันทึกตำรับยานี้เอาไว้อยู่ที่หน้า 62-64[2]

    ตำรับยาขนานนี้ได้บรรยายสรรพคุณว่า เพียงตำรับยาเดียวสามารถ “แก้สรรพไข้จากโรคระบาด” โดยตำรายาศิลาจารึกบันทึกว่าตำรับยานี้ใช้สมุนไพร 15 ตัวและมีสรรพคุณแก้สรรพไข้จากโรคระบาดหลายชนิด โดยระบุในบันทึกของแผ่นศิลาความตอนนี้ว่า

    “ขนาน 1 เอา กระเช้าผีมด หัวคล้า รากทองพันชั่ง รากชา รากง้วนหมู รากส้มเส็ด รากข้าวไหม้ รากจิงจ้อ รากสวาด รากสะแก รากมะนาว รากหญ้านาง รากฟักข้าว รากผักสาบ รากผักหวานบ้าน เอาเสมอภาคทำเปนจุณ บดทำแท่ง ไว้ละลายน้ำซาวข้าวกินแก้ไข้รากสาด ออกดำ แดง ขาว และแก้ไข้ประกายดาษ ไข้หงษ์ระทด และแก้ไข้ไฟเดือนห้า ไข้ละอองไฟฟ้า และแก้ไข้มหาเมฆ มหานิล ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น และยาขนานนี้แก้ได้ทุกประการ ตามอาจารย์กล่าวไว้ ให้แพทย์ทั้งหลายรู้ว่าเปน มหาวิเศษนัก“[2]

    แม้ในความจริงแล้วจะมีขั้นตอนและวิวัฒนาการในการรักษาโรคระบาดหลายชนิดในภาพรวม แต่ภายใต้พระคัมภีร์ตักกะศิลา ได้วางหลักถึง “รสยา” สำหรับรับมือโรคระบาดว่ามีข้อห้ามและสิ่งที่ควรจะลองดูในเวลาติดเชื้ออันจากเกิดโรคระบาดเอาไว้ความว่า

    ห้ามใช้ยาหรือการกระทำที่มีรสกระตุ้นธาตุไฟหรือระบบความร้อน (ปิตตะ) แต่ให้ยาที่มีลดธาตุไฟหรือระบบความร้อน หากไม่ฟังตามนี้อาจจะถึงแก่ความตายได้ ความว่า

    “ไข้จำพวกนี้ย่อมห้ามมิให้วางยาร้อนเผ็ดเปรี้ยว อย่าให้ประคบนวด อย่าปล่อยปลิง อย่าให้กอกเอาโลหิตออก อย่าให้ถูกน้ำมัน เหล้าก็อย่าให้ถูก น้ำร้อนก็อย่าให้อาบ อย่าให้กิน ส้มมีควันมีผิวกะทิน้ำมันห้ามิให้กิน ถ้าใครไม่รู้ทำผิดดังกล่าวมานี้ ก็ถึงความตายดังนี้แล”[3]

    ต่อมาเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ได้เรียบเรียงเอาไว้ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในเรื่อง “ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลา” ว่าช่วงเวลาที่มีกำเดาหรือเปลวแห่งความร้อนนี้ ไม่ว่าจะวัดว่ามีไข้จากภายนอก หรือรู้สึกครั่นเนื้อตัวอยู่ภายใน ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือมีผื่นขึ้น จะไม่ใช้ยารสร้อน ห้ามเหล้า น้ำมัน กอกเลือด นวด หรือปล่อยปลิงเพื่อเอาเลือดออก หากไม่ฟังให้ยาหรือการดำเนินการเช่นดังกล่าวนี้ อาจแก้กันไม่ทัน ความว่า

    “ถ้าแรกล้มไข้ ท่านมากล่าวไว้ ให้พิจารณา ภายนอกภายใน ให้ร้อนหนักหนา เมื่อยขบกายา ตาแดงเป็นสาย บ้างเย็นบ้างร้อน เปนบั้นเป็นท่อน ไปทั่วทั้งกาย ขึ้นมาให้เห็น เปนวงเปนสาย เปนริ้วยาวรี ลางบางไม่ขึ้น เปนวงฟกลื่น กายหมดดิบดี หมอมักว่าเปนสันนิบาติก็มี ให้ยาผิดที แก้กันไม่ทัน อย่าเพ่อกินยา ร้อนแรงแขงกล้า ส้มเหล้าน้ำมัน เอาโลหิตออก กอกเลือดนวดฟั้น ปล่อยปลิงมิทัน แก้กันเลยนา” [4]

    ด้วยประสบการณ์ของเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่เกิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้รวบยอดสรุปถ่ายทอดมาเป็นความรู้ว่า ในยามที่ยังต้องถกเถียงกันว่าโรคระบาดที่ทำให้เกิดคนตายมากเป็นโรคประเภทใดกันแน่ ในยามที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่รู้จึงให้ใช้รสยาแรกไปในทางรสขม เย็นอย่างยิ่ง หรือฝาดจืด ซึ่งเป็นรสยาที่ไม่มีธาตุไฟมาปน ดังความว่า

    “ถ้ายังไม่รู้ให้แก้กันดู แต่พรรณฝูงยา เย็นเปนอย่างยิ่ง ขมจริงโอชา ฝาดจืดพืชน์ยา ตามอาจารย์สอน”[4]

    แต่ถึงแม้จะมีหลักการและขั้นตอนต่างๆในการวางรสยาเพื่อรับมือกับโรคระบาด แต่เนื่องจากโรคฝีดาษและไข้ทรพิษนั้น อาจมีลักษณะจำเพาะที่มีการระบาดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนกว่าจะได้หมดสิ้นจากประเทศไทยได้นั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปีจนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2523

    การเอาชนะโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ นอกจากการรับมือกับโรคระบาดในเรื่องตำรับยาต่างๆแล้ว ความรู้เรื่องการปลูกฝีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง เพราะได้เป็นรากฐานที่ทำให้ประเทศไทยสามารถเอาชนะโรคฝีดาษได้ด้วย

    โดยในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการปลูกฝีไข้ทรพิษ และพระราชบัญญัติระงับโรคระบาทว์ พ.ศ.​2456 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บังคับใช้กฎหมายควบคุมโรคแก่ประชาชน

    ต่อมาในปี 2504 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกำจัดไข้ทรพิษครั้งแรกในประเทศไทย โดยตั้งเป้า 3 ปี (พ.ศ.2504-2506) คือคนไทยอย่างน้อย 80% ต้องได้รับการปลูกฝี ภายหลังขยายเวลาเป็น 5 ปี (พ.ศ.2504-2508) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระดมการปลูกฝีทั่วประเทศไทย

    โดยประเทศไทยได้พบผู้ป่วยโรคฝีดาษรายสุดท้ายในปี พ.ศ. 2505 เป็นแขกชื่อ ยาริดาเนา ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร

    เมื่อสิ้นสุดโครงการการระดมปลูกฝี ถึงปี พ.ศ. 2508 ก็เป็นผลทำให้ฝีดาษหรือไข้ทรพิษหายไปจากประเทศไทยติดต่อกันถึง 3 ปีติดต่อกันแล้ว จนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศรับรองว่าฝีดาษหรือไข้ทรพิษได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว[5]

    นี่คือเหตุผลว่าผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่น่าจะได้รับการปลูกฝีแล้ว(โดยดูได้จากแผลเป็นบนหัวไหล่) แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบผู้ที่มีอายุมากกว่า 44 ปีติดโรคฝีดาษลิงได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง เช่นผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นต้น

    อย่างไรก็ตามเนื่องจากฝีดาษที่ได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 2523 หรือเป็นเวลา 44 ปี ทำให้ภูมิปัญญาที่เคยรับมือในการรักษาโรคฝีดาษขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะขั้นตอนการรับมือด้วยสมุนไพร ตำรับยาไทย และกรรมวิธีต่างๆในการรักษา

    ดังนั้นความรู้ที่ว่าคนไทยควรจะรับมือในการรักษาโรคฝีดาษลิงอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะอ้างอิงไปตามพระคัมภีร์ตักกะศิลาในการใช้ยา 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน หรือยาขาวตามตำรับยาของวัดศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) บ้าง แต่ก็ไม่ใช่กล่าวถึงโรคฝีดาษ หรือฝีดาษลิงเป็นการเฉพาะ

    ทำให้หลายคนสงสัยว่าในเมื่อโรคฝีดาษ เป็นโรคที่ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ในการเกิดโรคระบาดมาหลายร้อยปี ควรจะต้องมี “ตำรับยา“ สำหรับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะหรือไม่

    เมื่อทบทวนข้อมูลตามตำราและคัมภีร์ทั้งหมดพบ ”การรักษาโรคฝีดาษ“ เป็นการเฉพาะจารึกเป็นตำรายาที่ปรากฏในแผ่นศิลาของวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

    โดย ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นมรดกที่แสดงถึงภูมิปัญญาของแพทย์แผนโบราณในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ที่จารึกยาขนานต่างๆ ลักษณะของแผ่นศิลาจารึกเป็นหินอ่อนสีเทา สี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 33 เซนติเมตร จัดเรียงบรรทัดในมุมแหลม จำนวน 17 บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น ติดตามผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ 42 แผ่น และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 8 แผ่น เชื่อว่าในอดีตมีแผ่นศิลาจารึก 92 แผ่น แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 50 แผ่น

    และนับว่าเป็นความโชคดีของคนไทย เพราะแผ่นศิลาที่กล่าวถึงการรักษาโรคฝีดาษ ยังไม่สูญหายและข้อความที่ปรากฏก็ยังไม่เลือนหายไปด้วย จึงนับว่าเป็นบุญของประเทศที่มีภูมิปัญญาและมีคุณค่ายิ่งในสถานการณ์ที่โรคฝีดาษลิงกลับมาเริ่มระบาดในบางประเทศ และเริ่มเข้ามาในประเทศไทย

    โดยแผ่นศิลาที่กล่าวถึงฝีดาษนั้น เป็นแผนที่ 18 ของศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ปรากฏข้อความดังนี้

    “๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวฝีดาษเกิดในเดือน 11 เดือน 12 เดือน 1 ทั้ง 3 เดือนนี้ เกิดเพื่ออาโปธาตุ มักให้เย็นในอกแลมักตกมูกตกเลือด ให้เสียแม่แสลงพ่อแสลง นุ่งขาวห่มขาว แล้วทำบัตรไปส่งทิศอุดรแลอีสาร จึ่งจะดี๚

    ถ้าจะแก้ให้เอาใบมะอึก ใบผักบุ้งร้วม ใบผักบุ้งขัน ใบก้างปลาทั้งสอง ใบพุงดา ใบผักขวง ใบหมาก ใบทองพันชั่ง เอาเสมอภาคตำเอาน้ำพ่น ดับฝี เพื่อเสมหะหาย ๚

    ขนานหนึ่ง เอากะทิมะพร้าว น้ำคาวปลาไหล ไข่เป็ดลูกหนึ่ง มูลโคดำ แก่นประดู่ เอาเสมอภาคบด พ่นฝีเพื่อเสมหะที่ด้านอยู่นั้นขึ้นแลแปรฝีร้ายให้เป็นดี ๚

    ขนานหนึ่ง เอาน้ำลูกตำลึง น้ำมันงา น้ำมันหัวกุ้ง น้ำรากถั่วพู เอาเสมอภาค พ่นฝีเพื่อเสมหะให้ยอดขึ้น หนองงามดีนัก๚

    ขนานหนึ่ง เอาเห็ดมูลโค ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สังกรณี ชะเอม ลูกประคำดีควาย หวายตะค้า เขากวางเผา กระดูกเสือเผา มะกล่ำเครือ ขันฑสกร มะขามเปียก เอาเสมอภาคบดทคำเป็นจุณ บดด้วยน้ำมะนาวทำแท่งไว้ละลายสุรา ดีงูเหลือม รำหัด กินแก้คอแหบแห้ง แก้คอเครือ หายดีนัก๚

    ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚[6]

    ในตำรับยาขนานต่างๆข้างต้นนั้น เป็นยาพ่นภายนอกเสียส่วนใหญ่ ตำรับยาเพื่อการรับประทานที่พอาจะหาได้โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์วัตถุคือตำรับยาขนานสุดท้ายที่น่าจะนำไปวิจัยต่อที่ว่า

    ”ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚“ [6]

    นอกจากนั้นจากจารึกวัดราชโอรสราชวรมหาวิหารยังปรากฏในแผ่นที่ 46 ทำให้เห็นว่ายังมีตำรับยาอีกขนานหนึ่งสำหรับโรคฝีดาษที่เป็นไข้หนักเข้าขั้นไข้สันนิบาตแล้วโดยใช้ ”ยาผายเลือด“ ความว่า

    “๏ สิทธิการิยะ ยาผายเลือดเอารากขี้กาแดง 1 เบญจาขี้เหล็ก ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไซ ลูกคัดเค้า ต้มให้งวดแล้วกรอง เอาน้ำขยำใส่ลงอีกเคี่ยวให้ข้น ปรุงยาดำ 1 สลึง 1 เฟื้อง ดีเกลือ 1 บาท กินประจุเลือดร้ายทั้งปวง แก้ไขสันนิบาตฝีดาษด้วย๚“[7]

    แต่สำหรับศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้กล่าวถึงโรคฝีดาษที่มีรายละเอียดในบางอาการเพิ่มเติมอีก เช่น อาการฝีดาษขึ้นตา ปรากฏในศิลาจารึกว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวงแผ่นที่ 22 ความว่า

    “ยาชื่อ สังขรัศมี เอาชะมดสด พิมเสน สิ่งละส่วน ลิ้นทะเลแช่น้ำมะนาวไว้ยังรุ่งแล้วล้างเสีย จึงเอามาแช่น้ำท่าไว้แต่เช้าถึงเที่ยง แล้วเอาตากให้แห้ง 3 ส่วน รากช้าแป้น ดินถนำสุทธิ สังข์สุทธิ สิ่งละ 4 ส่วน ทำเป็นจุณบดทำแท่งไว้ ฝนป้ายจักษุแก้สรรพต้อให้ปวดเคืองต่างๆ แก้ฝีดาษขึ้นจักษุก็ได้หายวิเศษนักฯ”[8]

    อย่างไรก็ตามการบันทึกในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังให้เบาะแสเกี่ยวกับ “สมุนไพรเดี่ยว” ที่เป็นเบาะแสว่าอาจจะมีสรรพคุณในการลดฝีดาษได้ ได้แก่ ข่าลิง บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี ฯลฯ[8]

    ดังปรากฏตัวอย่างในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศและสมุนไพรแผ่นที่ 7 ที่กล่าวถึง “ต้นข่าลิง”แก้พิษฝีดาษ ความว่า

    “อันว่าคุณแห่งข่าลิงนั้น ต้นรู้แก้พิษฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดเพื่อโลหิต รู้แก้ฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษไข้เหนือสันนิบาตฯ”[9]

    นอกจากนั้นยังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 ซึ่งกล่าวถึง “บอระเพ็ด” และ “ชิงช้าชาลี” ความว่า

    “อันว่าคุณแห่งบอระเพ็ดและชิงช้าชาลีนั้นคุณดุจกัน ต้นรู้แก้ฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดโลหิต รู้แก้ฝีกาฬอันบังเกิดฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและในฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษเพื่อไข้สันนิบาตฯ”[10]

    นอกจากนั้นสมุนไพรที่มีการวิจัยที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสหลายชนิดในยุคปัจจุบัน ก็ควรจะนำมาสู่การวิจัยกับฝีดาษลิงต่อไป เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ใบสะเดา กัญชา กัญชง ฝีหมอบ เสลดพังพอนตัวเมีย ฯลฯ

    ดังนั้นการกลับมาของโรคฝีดาษลิง จึงควรให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาในการรักษาที่มีมาแต่ในอดีตรวมถึงความรู้จากการวิจัยในสมุนไพรต่างๆที่มีมากขึ้น ซึ่งควรจะนำมาวิจัยกับไวรัสฝีดาษลิงเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมประยุกต์ให้เหมาะสมใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันและต่อไปในกาลข้างหน้าด้วยความไม่ประมาท

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    5 กันยายน 2567
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1045825823577784/?

    อ้างอิง
    [1] พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ และ รัชฎาพร พิสัยพันธุ์, การวิเคราะห์องค์ความรู้ไข้ตามคัมภีร์ตักศิลา: คัมภีร์ว่าด้วยโรคระบาด, วารสารหมอยาไทยวิจัย, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2566), หน้า 131-152
    https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/258845/180094

    [2] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔

    [3] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรมหายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ :ภูมิปัญญาการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, องค์การการค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2554 จำนวน 3,000 เล่ม ISBN 978-947-01-9742-3 หน้า 694

    [4] เรื่องเดียวกัน, หน้า 37

    [5] เว็บไซต์กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค, การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ จุดเริ่มงานควบคุมโรคติดต่อในประเทศไทย
    https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ.pdf

    [6] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567)
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/14798

    [7] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/16335

    [8] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560
    https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf

    [9] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
    https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf

    [10] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723
    ตำรับยารักษา “โรคฝีดาษ” จากศิลาจารึก/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ สำหรับตำรับยาโรคระบาดในประเทศไทยนั้น ได้ยึดถึอเอาพระคัมภีร์ตักกะศิลาเป็นกระบวนการรักษาโรค โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน กล่าวคือ ขั้นตอนแรก ตำรับยาสำหรับกระทุ้งพิษไข้ โดยใช้ตำรับยาห้าราก ขั้นตอนที่สอง ตำรับยาสำหรับแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก มีตำรับยา 5 ขนาน คือ ตำรับยาประสระผิว ตำรับยาพ่นผิวภายนอก ตำรับยาพ่นและยากิน และตำรับยาแปรไข้จากร้ายให้เป็นดี และตำรับยาพ่นแปรผิวภายนอก ขั้นตอนสุดท้าย ตำรับยาครอบไข้[1] ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นอยู่ในตำรายาหลวง ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ สมัยรัชกาลที่ 5 โดยในตำราดังกล่าวได้กล่าวถึงพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่งประพันธ์โดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังเป็นตำราสำหรับการเรียนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงมีพระบรมราโชบายให้มีตำรายาจารึกเอาไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามผนังและเสาของวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) พระราชทานเป็นมรดกให้กับประชาชนชาวสยามสืบไปตราบนานเท่านาน รวมถึงวิวัฒนาการที่ลดทอนยา 7 ขนาน 3 ขั้นตอน มาเหลือ “ตำรับยาเดียว” ในการรับมือโรคระบาดหลายชนิดด้วย ซึ่งปัจจุบันคนในวงการแพทย์แผนไทยเรียกว่า “ยาขาว” ตำรับยาขาวของวัดโพธิ์นี้ได้ระบุเอาไว้ในตำราว่าแผ่นศิลาแผ่นนี้ได้ถูกรื้อออกมาจากศาลาต่างๆ แต่โชคดีได้บันทึกตำรับยาสำคัญนี้เอาไว้ในตำรายาของวัดโพธิ์ จึงทำให้สามารถตกทอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ โดยตำรายาวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ฉบับเก่า 51 ปีที่แล้ว คือ พ.ศ. 2516 ได้บันทึกตำรับยานี้เอาไว้อยู่ที่หน้า 62-64[2] ตำรับยาขนานนี้ได้บรรยายสรรพคุณว่า เพียงตำรับยาเดียวสามารถ “แก้สรรพไข้จากโรคระบาด” โดยตำรายาศิลาจารึกบันทึกว่าตำรับยานี้ใช้สมุนไพร 15 ตัวและมีสรรพคุณแก้สรรพไข้จากโรคระบาดหลายชนิด โดยระบุในบันทึกของแผ่นศิลาความตอนนี้ว่า “ขนาน 1 เอา กระเช้าผีมด หัวคล้า รากทองพันชั่ง รากชา รากง้วนหมู รากส้มเส็ด รากข้าวไหม้ รากจิงจ้อ รากสวาด รากสะแก รากมะนาว รากหญ้านาง รากฟักข้าว รากผักสาบ รากผักหวานบ้าน เอาเสมอภาคทำเปนจุณ บดทำแท่ง ไว้ละลายน้ำซาวข้าวกินแก้ไข้รากสาด ออกดำ แดง ขาว และแก้ไข้ประกายดาษ ไข้หงษ์ระทด และแก้ไข้ไฟเดือนห้า ไข้ละอองไฟฟ้า และแก้ไข้มหาเมฆ มหานิล ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น และยาขนานนี้แก้ได้ทุกประการ ตามอาจารย์กล่าวไว้ ให้แพทย์ทั้งหลายรู้ว่าเปน มหาวิเศษนัก“[2] แม้ในความจริงแล้วจะมีขั้นตอนและวิวัฒนาการในการรักษาโรคระบาดหลายชนิดในภาพรวม แต่ภายใต้พระคัมภีร์ตักกะศิลา ได้วางหลักถึง “รสยา” สำหรับรับมือโรคระบาดว่ามีข้อห้ามและสิ่งที่ควรจะลองดูในเวลาติดเชื้ออันจากเกิดโรคระบาดเอาไว้ความว่า ห้ามใช้ยาหรือการกระทำที่มีรสกระตุ้นธาตุไฟหรือระบบความร้อน (ปิตตะ) แต่ให้ยาที่มีลดธาตุไฟหรือระบบความร้อน หากไม่ฟังตามนี้อาจจะถึงแก่ความตายได้ ความว่า “ไข้จำพวกนี้ย่อมห้ามมิให้วางยาร้อนเผ็ดเปรี้ยว อย่าให้ประคบนวด อย่าปล่อยปลิง อย่าให้กอกเอาโลหิตออก อย่าให้ถูกน้ำมัน เหล้าก็อย่าให้ถูก น้ำร้อนก็อย่าให้อาบ อย่าให้กิน ส้มมีควันมีผิวกะทิน้ำมันห้ามิให้กิน ถ้าใครไม่รู้ทำผิดดังกล่าวมานี้ ก็ถึงความตายดังนี้แล”[3] ต่อมาเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ได้เรียบเรียงเอาไว้ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในเรื่อง “ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลา” ว่าช่วงเวลาที่มีกำเดาหรือเปลวแห่งความร้อนนี้ ไม่ว่าจะวัดว่ามีไข้จากภายนอก หรือรู้สึกครั่นเนื้อตัวอยู่ภายใน ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือมีผื่นขึ้น จะไม่ใช้ยารสร้อน ห้ามเหล้า น้ำมัน กอกเลือด นวด หรือปล่อยปลิงเพื่อเอาเลือดออก หากไม่ฟังให้ยาหรือการดำเนินการเช่นดังกล่าวนี้ อาจแก้กันไม่ทัน ความว่า “ถ้าแรกล้มไข้ ท่านมากล่าวไว้ ให้พิจารณา ภายนอกภายใน ให้ร้อนหนักหนา เมื่อยขบกายา ตาแดงเป็นสาย บ้างเย็นบ้างร้อน เปนบั้นเป็นท่อน ไปทั่วทั้งกาย ขึ้นมาให้เห็น เปนวงเปนสาย เปนริ้วยาวรี ลางบางไม่ขึ้น เปนวงฟกลื่น กายหมดดิบดี หมอมักว่าเปนสันนิบาติก็มี ให้ยาผิดที แก้กันไม่ทัน อย่าเพ่อกินยา ร้อนแรงแขงกล้า ส้มเหล้าน้ำมัน เอาโลหิตออก กอกเลือดนวดฟั้น ปล่อยปลิงมิทัน แก้กันเลยนา” [4] ด้วยประสบการณ์ของเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่เกิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้รวบยอดสรุปถ่ายทอดมาเป็นความรู้ว่า ในยามที่ยังต้องถกเถียงกันว่าโรคระบาดที่ทำให้เกิดคนตายมากเป็นโรคประเภทใดกันแน่ ในยามที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่รู้จึงให้ใช้รสยาแรกไปในทางรสขม เย็นอย่างยิ่ง หรือฝาดจืด ซึ่งเป็นรสยาที่ไม่มีธาตุไฟมาปน ดังความว่า “ถ้ายังไม่รู้ให้แก้กันดู แต่พรรณฝูงยา เย็นเปนอย่างยิ่ง ขมจริงโอชา ฝาดจืดพืชน์ยา ตามอาจารย์สอน”[4] แต่ถึงแม้จะมีหลักการและขั้นตอนต่างๆในการวางรสยาเพื่อรับมือกับโรคระบาด แต่เนื่องจากโรคฝีดาษและไข้ทรพิษนั้น อาจมีลักษณะจำเพาะที่มีการระบาดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนกว่าจะได้หมดสิ้นจากประเทศไทยได้นั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปีจนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2523 การเอาชนะโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ นอกจากการรับมือกับโรคระบาดในเรื่องตำรับยาต่างๆแล้ว ความรู้เรื่องการปลูกฝีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง เพราะได้เป็นรากฐานที่ทำให้ประเทศไทยสามารถเอาชนะโรคฝีดาษได้ด้วย โดยในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการปลูกฝีไข้ทรพิษ และพระราชบัญญัติระงับโรคระบาทว์ พ.ศ.​2456 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บังคับใช้กฎหมายควบคุมโรคแก่ประชาชน ต่อมาในปี 2504 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกำจัดไข้ทรพิษครั้งแรกในประเทศไทย โดยตั้งเป้า 3 ปี (พ.ศ.2504-2506) คือคนไทยอย่างน้อย 80% ต้องได้รับการปลูกฝี ภายหลังขยายเวลาเป็น 5 ปี (พ.ศ.2504-2508) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระดมการปลูกฝีทั่วประเทศไทย โดยประเทศไทยได้พบผู้ป่วยโรคฝีดาษรายสุดท้ายในปี พ.ศ. 2505 เป็นแขกชื่อ ยาริดาเนา ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร เมื่อสิ้นสุดโครงการการระดมปลูกฝี ถึงปี พ.ศ. 2508 ก็เป็นผลทำให้ฝีดาษหรือไข้ทรพิษหายไปจากประเทศไทยติดต่อกันถึง 3 ปีติดต่อกันแล้ว จนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศรับรองว่าฝีดาษหรือไข้ทรพิษได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว[5] นี่คือเหตุผลว่าผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่น่าจะได้รับการปลูกฝีแล้ว(โดยดูได้จากแผลเป็นบนหัวไหล่) แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบผู้ที่มีอายุมากกว่า 44 ปีติดโรคฝีดาษลิงได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง เช่นผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากฝีดาษที่ได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 2523 หรือเป็นเวลา 44 ปี ทำให้ภูมิปัญญาที่เคยรับมือในการรักษาโรคฝีดาษขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะขั้นตอนการรับมือด้วยสมุนไพร ตำรับยาไทย และกรรมวิธีต่างๆในการรักษา ดังนั้นความรู้ที่ว่าคนไทยควรจะรับมือในการรักษาโรคฝีดาษลิงอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะอ้างอิงไปตามพระคัมภีร์ตักกะศิลาในการใช้ยา 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน หรือยาขาวตามตำรับยาของวัดศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) บ้าง แต่ก็ไม่ใช่กล่าวถึงโรคฝีดาษ หรือฝีดาษลิงเป็นการเฉพาะ ทำให้หลายคนสงสัยว่าในเมื่อโรคฝีดาษ เป็นโรคที่ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ในการเกิดโรคระบาดมาหลายร้อยปี ควรจะต้องมี “ตำรับยา“ สำหรับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะหรือไม่ เมื่อทบทวนข้อมูลตามตำราและคัมภีร์ทั้งหมดพบ ”การรักษาโรคฝีดาษ“ เป็นการเฉพาะจารึกเป็นตำรายาที่ปรากฏในแผ่นศิลาของวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร โดย ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นมรดกที่แสดงถึงภูมิปัญญาของแพทย์แผนโบราณในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ที่จารึกยาขนานต่างๆ ลักษณะของแผ่นศิลาจารึกเป็นหินอ่อนสีเทา สี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 33 เซนติเมตร จัดเรียงบรรทัดในมุมแหลม จำนวน 17 บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น ติดตามผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ 42 แผ่น และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 8 แผ่น เชื่อว่าในอดีตมีแผ่นศิลาจารึก 92 แผ่น แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 50 แผ่น และนับว่าเป็นความโชคดีของคนไทย เพราะแผ่นศิลาที่กล่าวถึงการรักษาโรคฝีดาษ ยังไม่สูญหายและข้อความที่ปรากฏก็ยังไม่เลือนหายไปด้วย จึงนับว่าเป็นบุญของประเทศที่มีภูมิปัญญาและมีคุณค่ายิ่งในสถานการณ์ที่โรคฝีดาษลิงกลับมาเริ่มระบาดในบางประเทศ และเริ่มเข้ามาในประเทศไทย โดยแผ่นศิลาที่กล่าวถึงฝีดาษนั้น เป็นแผนที่ 18 ของศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ปรากฏข้อความดังนี้ “๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวฝีดาษเกิดในเดือน 11 เดือน 12 เดือน 1 ทั้ง 3 เดือนนี้ เกิดเพื่ออาโปธาตุ มักให้เย็นในอกแลมักตกมูกตกเลือด ให้เสียแม่แสลงพ่อแสลง นุ่งขาวห่มขาว แล้วทำบัตรไปส่งทิศอุดรแลอีสาร จึ่งจะดี๚ ถ้าจะแก้ให้เอาใบมะอึก ใบผักบุ้งร้วม ใบผักบุ้งขัน ใบก้างปลาทั้งสอง ใบพุงดา ใบผักขวง ใบหมาก ใบทองพันชั่ง เอาเสมอภาคตำเอาน้ำพ่น ดับฝี เพื่อเสมหะหาย ๚ ขนานหนึ่ง เอากะทิมะพร้าว น้ำคาวปลาไหล ไข่เป็ดลูกหนึ่ง มูลโคดำ แก่นประดู่ เอาเสมอภาคบด พ่นฝีเพื่อเสมหะที่ด้านอยู่นั้นขึ้นแลแปรฝีร้ายให้เป็นดี ๚ ขนานหนึ่ง เอาน้ำลูกตำลึง น้ำมันงา น้ำมันหัวกุ้ง น้ำรากถั่วพู เอาเสมอภาค พ่นฝีเพื่อเสมหะให้ยอดขึ้น หนองงามดีนัก๚ ขนานหนึ่ง เอาเห็ดมูลโค ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สังกรณี ชะเอม ลูกประคำดีควาย หวายตะค้า เขากวางเผา กระดูกเสือเผา มะกล่ำเครือ ขันฑสกร มะขามเปียก เอาเสมอภาคบดทคำเป็นจุณ บดด้วยน้ำมะนาวทำแท่งไว้ละลายสุรา ดีงูเหลือม รำหัด กินแก้คอแหบแห้ง แก้คอเครือ หายดีนัก๚ ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚[6] ในตำรับยาขนานต่างๆข้างต้นนั้น เป็นยาพ่นภายนอกเสียส่วนใหญ่ ตำรับยาเพื่อการรับประทานที่พอาจะหาได้โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์วัตถุคือตำรับยาขนานสุดท้ายที่น่าจะนำไปวิจัยต่อที่ว่า ”ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚“ [6] นอกจากนั้นจากจารึกวัดราชโอรสราชวรมหาวิหารยังปรากฏในแผ่นที่ 46 ทำให้เห็นว่ายังมีตำรับยาอีกขนานหนึ่งสำหรับโรคฝีดาษที่เป็นไข้หนักเข้าขั้นไข้สันนิบาตแล้วโดยใช้ ”ยาผายเลือด“ ความว่า “๏ สิทธิการิยะ ยาผายเลือดเอารากขี้กาแดง 1 เบญจาขี้เหล็ก ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไซ ลูกคัดเค้า ต้มให้งวดแล้วกรอง เอาน้ำขยำใส่ลงอีกเคี่ยวให้ข้น ปรุงยาดำ 1 สลึง 1 เฟื้อง ดีเกลือ 1 บาท กินประจุเลือดร้ายทั้งปวง แก้ไขสันนิบาตฝีดาษด้วย๚“[7] แต่สำหรับศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้กล่าวถึงโรคฝีดาษที่มีรายละเอียดในบางอาการเพิ่มเติมอีก เช่น อาการฝีดาษขึ้นตา ปรากฏในศิลาจารึกว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวงแผ่นที่ 22 ความว่า “ยาชื่อ สังขรัศมี เอาชะมดสด พิมเสน สิ่งละส่วน ลิ้นทะเลแช่น้ำมะนาวไว้ยังรุ่งแล้วล้างเสีย จึงเอามาแช่น้ำท่าไว้แต่เช้าถึงเที่ยง แล้วเอาตากให้แห้ง 3 ส่วน รากช้าแป้น ดินถนำสุทธิ สังข์สุทธิ สิ่งละ 4 ส่วน ทำเป็นจุณบดทำแท่งไว้ ฝนป้ายจักษุแก้สรรพต้อให้ปวดเคืองต่างๆ แก้ฝีดาษขึ้นจักษุก็ได้หายวิเศษนักฯ”[8] อย่างไรก็ตามการบันทึกในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังให้เบาะแสเกี่ยวกับ “สมุนไพรเดี่ยว” ที่เป็นเบาะแสว่าอาจจะมีสรรพคุณในการลดฝีดาษได้ ได้แก่ ข่าลิง บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี ฯลฯ[8] ดังปรากฏตัวอย่างในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศและสมุนไพรแผ่นที่ 7 ที่กล่าวถึง “ต้นข่าลิง”แก้พิษฝีดาษ ความว่า “อันว่าคุณแห่งข่าลิงนั้น ต้นรู้แก้พิษฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดเพื่อโลหิต รู้แก้ฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษไข้เหนือสันนิบาตฯ”[9] นอกจากนั้นยังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 ซึ่งกล่าวถึง “บอระเพ็ด” และ “ชิงช้าชาลี” ความว่า “อันว่าคุณแห่งบอระเพ็ดและชิงช้าชาลีนั้นคุณดุจกัน ต้นรู้แก้ฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดโลหิต รู้แก้ฝีกาฬอันบังเกิดฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและในฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษเพื่อไข้สันนิบาตฯ”[10] นอกจากนั้นสมุนไพรที่มีการวิจัยที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสหลายชนิดในยุคปัจจุบัน ก็ควรจะนำมาสู่การวิจัยกับฝีดาษลิงต่อไป เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ใบสะเดา กัญชา กัญชง ฝีหมอบ เสลดพังพอนตัวเมีย ฯลฯ ดังนั้นการกลับมาของโรคฝีดาษลิง จึงควรให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาในการรักษาที่มีมาแต่ในอดีตรวมถึงความรู้จากการวิจัยในสมุนไพรต่างๆที่มีมากขึ้น ซึ่งควรจะนำมาวิจัยกับไวรัสฝีดาษลิงเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมประยุกต์ให้เหมาะสมใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันและต่อไปในกาลข้างหน้าด้วยความไม่ประมาท ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 กันยายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1045825823577784/? อ้างอิง [1] พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ และ รัชฎาพร พิสัยพันธุ์, การวิเคราะห์องค์ความรู้ไข้ตามคัมภีร์ตักศิลา: คัมภีร์ว่าด้วยโรคระบาด, วารสารหมอยาไทยวิจัย, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2566), หน้า 131-152 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/258845/180094 [2] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔ [3] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรมหายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ :ภูมิปัญญาการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, องค์การการค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2554 จำนวน 3,000 เล่ม ISBN 978-947-01-9742-3 หน้า 694 [4] เรื่องเดียวกัน, หน้า 37 [5] เว็บไซต์กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค, การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ จุดเริ่มงานควบคุมโรคติดต่อในประเทศไทย https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ.pdf [6] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567) https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/14798 [7] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/16335 [8] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560 https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf [9] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf [10] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723
    Like
    Love
    23
    0 Comments 0 Shares 865 Views 0 Reviews
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,508
    วันพฤหัสบดี: ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง
    วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๗ (5 September 2024)

    สร้างกุฏิสงฆ์ 10 วัด เป็นเงิน 200 บาท
    01. วัดป่าสัก อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
    02. วัดท่าทรุด อ.เมือง จ.พิษณุโลก
    03. วัดโพธาราม อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
    04. วัดสันผักแค อ.พาน จ.เชียงราย
    05. วัดหน้าพระเมรุราชิการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    06. วัดสุชน อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช
    07. วัดสว่างอารมณ์ อ.แม่สอด จ.ตาก
    08. วัดโคกพิกุลเรียง อ.เมือง จ.ราชบุรี
    09. วัดหุบกระทิง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
    10. สำนักสงฆ์ป่าพุทธธรรม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๖๐ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,508 วันพฤหัสบดี: ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๗ (5 September 2024) สร้างกุฏิสงฆ์ 10 วัด เป็นเงิน 200 บาท 01. วัดป่าสัก อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก 02. วัดท่าทรุด อ.เมือง จ.พิษณุโลก 03. วัดโพธาราม อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช 04. วัดสันผักแค อ.พาน จ.เชียงราย 05. วัดหน้าพระเมรุราชิการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา 06. วัดสุชน อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช 07. วัดสว่างอารมณ์ อ.แม่สอด จ.ตาก 08. วัดโคกพิกุลเรียง อ.เมือง จ.ราชบุรี 09. วัดหุบกระทิง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 10. สำนักสงฆ์ป่าพุทธธรรม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๖๐ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 Comments 0 Shares 186 Views 0 Reviews
  • สมัยที่ผมยังเด็ก...

       บ้านไม้เก่าแก่หลังหนึ่ง ตั้งอยู่ริมน้ำสายใหญ่ เป็นบ้านไม้ที่ทีอายุร่วม 80 ปี ด้านหน้าบ้าน ติดถนนเลียบริมนำ้ หันไปทางทิศ ตะวันตก ส่วนหลังบ้าน ติดแม่นำสายใหญ่ และแน่นอน ฉันเองก็เติบโตขึ้นมา ในบ้านหลังนี้ ครอบครัวของเราอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้มานาน ตั้งแต่อาก๋ง อาม่า รวมถึงพ่อ แม่ และพี่น้องของฉันด้วย

    มันเป็นบ้านไม้ ชั้นเดียวเป็นเรื่องปกติที่ บ้านไม้อายุขนาดนี้ คงไม่มีการจัดแบ่ง พื้นที่ใช้สอยได้ดีนัก ตัวบ้านแบ่งเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ โดยเป็นโถง ขนาดพอสมควร ซึ่งปัจจุบัน คงจะเรียกกันตามภาษาฝรั่งว่า ลิฟวิ่งรูม ก็คงจะำงบึได้ แต่เอาเถอะไม่ว่าจะเรียกอย่างไร มันก็เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของฉันมาตลอด 10 กว่าปี ของการเติบโตในบ้านหลังนั้น แต่น่าจะเป็นเรื่องตลกที่บ้านโบราณจะมี ลิฟวิ่งรูม ชิ้นที่2
    เนื่องจากว่าพื้นที่ๆถัดจากโถง ลงไป1 ก้าว มันเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ ชิ้นที่ 2 พวกเราได้ใช้พื้นที่นี้ เป็นส่วนทานอาหาร สำหรับอาม่าใช้เป็น ห้องสมุด และสำหรับแม่ มันกลายเป็น พื้นที่เย็บปักถักร้อย และทำงานอื่นๆ พูดถึงพื้นที่ทานอาหารแล้ว น่าจะเป็นส่วนรับประทานอาหารที่สวยที่สุดในโลก...
       เพราะทุกมื้อเช้าของพวกเราจะต้องทานอาหารเช้าไปพร้อมกับ แสงอ่อนๆของอาทิตย์ยามเช้า แต่ อาจจะเป็นเพราะว่าฉันยังเด็ก เกินกว่าจะมองเห็นความสวยงามของธรรมชาติ ฉันเองกลับคิดว่า มันแย่จังที่มีแสงแดดมาแยงตายามเช้าและมันยังร้อนมากอีกด้วย...

    สุดพื้นที่อเนกประสงค์ เป็นหน้าต่างกระจก กรอบบานเป็นไม้ วางเรียงกันไปตลอดแนวของตัวบ้าน และส่วนริมหน้าต่างนี่เอง ถ้ามองออกไปที่หน้าต่างจะมองเห็น แม่น้ำสายใหญ่ ถัดจากหน้าต่างออกไป จะเป็นส่วนของระเบียง ซึ่งกลายเป็น สวนดอกไม้ลอยฟ้า ของอาม่าฉันเอง
    ภายในตัวบ้าน ด้านซ้ายมือของทางเดินจะเป็นส่วนที่ฉัน หวาดกลัวที่สุด ฉันเรียกมันว่า ห้องมืด จริงๆแล้วมันก็เป็นแค่ ห้อง อย่าเรียกว่า ห้องดีกว่า น่าจะเป็นพื้นที่เก็บของ เพียงแต่ว่าทุกครั้งที่ ฉันได้เข้าไปนั้น น้อยครั้งเหลือเกินที่จะมีการเปิดไฟส่องสว่าง ทำให้ในความรู้สึกของเด็กน้อยอย่างฉัน รู้สึกหวาดกลัวทุกครั้งที่เฉียดใกล้ ถ้าเดินผ่านส่วนห้องมืดไป ติดกันนั้นจะเป็นห้องนอนของอาม่า ซึ่งยาวไปจนสุดตัวบ้านติดริมน้ำแต่ แต่ห้องอาม่าจะถูกแบ่งช่วงสุดท้ายเป็นห้องเก็บของเล็กๆจะมีตู้กับข้าว อาหารแห้ง และเป็นพื้นที่ทางสัญจร ไปที่ที่สำหรับตากผ้า ริมหน้าต่าง และยังมีส่วนของห้องนอนแม่บ้านซึ่งอยู่ติดกับห้องมืด

    ทางด้านขวา ของตัวบ้านส่วนแรกจะเป็น ห้องเก็บของ(อีกแล้ว) ซึ่งแต่เดิม ห้องส่วนนี้ เคยเป็นห้องนอนของ บีเอ 2 ห้อง แล้วต่อมาก็เลยกลายมาเป็นห้องเก็บของ
    เข้ามาก็เป็นห้องนอน ของพ่อ และแม่ ของฉัน ถัดมาก็เป็นส่วนของห้องนอนเด็กๆ
    และสุดท้ายก็เป็น ส่วนของห้องน้ำ

    คงจะงงแล้วสิว่าห้องครัวอยู่ตรงไหน มันอยู่ชั้นล่างครับ ไม่ผิดแน่ครับ ชั้นล่างแน่นอน !
    อ้าว ไหนบอกว่าเป็นบ้านชั้นเดียวไงหละ!!!

        คือมันเป็นอย่างนี้ บังเอิญว่า บ้านหลังนี้อยู่ริมแม่น้ำ ดังนั้น ตัวบ้านจริงๆเป็นบ้านชั้นเดียว แต่มีการต่อเติม บนส่วนของตลิ่ง นานวันเข้าเลยกลายเป็นส่วนถาวร ของบ้านไป ชั้นล่างนี้แหละ เป็นส่วนครัว และส่วนเก็บอุปกรณ์ และผลิตผลทางการเกษตร

         ส่วนพื้นที่ใช้สอยนี้ ในส่วนตัวของฉันคิดว่า บ้านที่อยู่ริมน้ำน่าจะมีแทบทุกบ้าน เหตุเพราะว่าหลังผ่านฤดูน้ำหลากแล้ว ช่วงน้ำลด น้ำจะพาเอาดินที่อุดม มาทับถมที่ตลิ่ง แล้วตลิ่งแถวบ้านฉันก็เป็นตลิ่งที่ค่อนข้างกว้าง หลังช่วงออกพรรษาแล้ว ลมหนาวเริ่มโชยมาก็จะเห็นชาวบ้านลงไปทำสวน ปลูกผัก กันอยู่ครึกโครม ซึ่งบ้านของฉันก็รวมอยู่ในนั้นด้วย.....
    สมัยที่ผมยังเด็ก...    บ้านไม้เก่าแก่หลังหนึ่ง ตั้งอยู่ริมน้ำสายใหญ่ เป็นบ้านไม้ที่ทีอายุร่วม 80 ปี ด้านหน้าบ้าน ติดถนนเลียบริมนำ้ หันไปทางทิศ ตะวันตก ส่วนหลังบ้าน ติดแม่นำสายใหญ่ และแน่นอน ฉันเองก็เติบโตขึ้นมา ในบ้านหลังนี้ ครอบครัวของเราอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้มานาน ตั้งแต่อาก๋ง อาม่า รวมถึงพ่อ แม่ และพี่น้องของฉันด้วย มันเป็นบ้านไม้ ชั้นเดียวเป็นเรื่องปกติที่ บ้านไม้อายุขนาดนี้ คงไม่มีการจัดแบ่ง พื้นที่ใช้สอยได้ดีนัก ตัวบ้านแบ่งเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ โดยเป็นโถง ขนาดพอสมควร ซึ่งปัจจุบัน คงจะเรียกกันตามภาษาฝรั่งว่า ลิฟวิ่งรูม ก็คงจะำงบึได้ แต่เอาเถอะไม่ว่าจะเรียกอย่างไร มันก็เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของฉันมาตลอด 10 กว่าปี ของการเติบโตในบ้านหลังนั้น แต่น่าจะเป็นเรื่องตลกที่บ้านโบราณจะมี ลิฟวิ่งรูม ชิ้นที่2 เนื่องจากว่าพื้นที่ๆถัดจากโถง ลงไป1 ก้าว มันเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ ชิ้นที่ 2 พวกเราได้ใช้พื้นที่นี้ เป็นส่วนทานอาหาร สำหรับอาม่าใช้เป็น ห้องสมุด และสำหรับแม่ มันกลายเป็น พื้นที่เย็บปักถักร้อย และทำงานอื่นๆ พูดถึงพื้นที่ทานอาหารแล้ว น่าจะเป็นส่วนรับประทานอาหารที่สวยที่สุดในโลก...    เพราะทุกมื้อเช้าของพวกเราจะต้องทานอาหารเช้าไปพร้อมกับ แสงอ่อนๆของอาทิตย์ยามเช้า แต่ อาจจะเป็นเพราะว่าฉันยังเด็ก เกินกว่าจะมองเห็นความสวยงามของธรรมชาติ ฉันเองกลับคิดว่า มันแย่จังที่มีแสงแดดมาแยงตายามเช้าและมันยังร้อนมากอีกด้วย... สุดพื้นที่อเนกประสงค์ เป็นหน้าต่างกระจก กรอบบานเป็นไม้ วางเรียงกันไปตลอดแนวของตัวบ้าน และส่วนริมหน้าต่างนี่เอง ถ้ามองออกไปที่หน้าต่างจะมองเห็น แม่น้ำสายใหญ่ ถัดจากหน้าต่างออกไป จะเป็นส่วนของระเบียง ซึ่งกลายเป็น สวนดอกไม้ลอยฟ้า ของอาม่าฉันเอง ภายในตัวบ้าน ด้านซ้ายมือของทางเดินจะเป็นส่วนที่ฉัน หวาดกลัวที่สุด ฉันเรียกมันว่า ห้องมืด จริงๆแล้วมันก็เป็นแค่ ห้อง อย่าเรียกว่า ห้องดีกว่า น่าจะเป็นพื้นที่เก็บของ เพียงแต่ว่าทุกครั้งที่ ฉันได้เข้าไปนั้น น้อยครั้งเหลือเกินที่จะมีการเปิดไฟส่องสว่าง ทำให้ในความรู้สึกของเด็กน้อยอย่างฉัน รู้สึกหวาดกลัวทุกครั้งที่เฉียดใกล้ ถ้าเดินผ่านส่วนห้องมืดไป ติดกันนั้นจะเป็นห้องนอนของอาม่า ซึ่งยาวไปจนสุดตัวบ้านติดริมน้ำแต่ แต่ห้องอาม่าจะถูกแบ่งช่วงสุดท้ายเป็นห้องเก็บของเล็กๆจะมีตู้กับข้าว อาหารแห้ง และเป็นพื้นที่ทางสัญจร ไปที่ที่สำหรับตากผ้า ริมหน้าต่าง และยังมีส่วนของห้องนอนแม่บ้านซึ่งอยู่ติดกับห้องมืด ทางด้านขวา ของตัวบ้านส่วนแรกจะเป็น ห้องเก็บของ(อีกแล้ว) ซึ่งแต่เดิม ห้องส่วนนี้ เคยเป็นห้องนอนของ บีเอ 2 ห้อง แล้วต่อมาก็เลยกลายมาเป็นห้องเก็บของ เข้ามาก็เป็นห้องนอน ของพ่อ และแม่ ของฉัน ถัดมาก็เป็นส่วนของห้องนอนเด็กๆ และสุดท้ายก็เป็น ส่วนของห้องน้ำ คงจะงงแล้วสิว่าห้องครัวอยู่ตรงไหน มันอยู่ชั้นล่างครับ ไม่ผิดแน่ครับ ชั้นล่างแน่นอน ! อ้าว ไหนบอกว่าเป็นบ้านชั้นเดียวไงหละ!!!     คือมันเป็นอย่างนี้ บังเอิญว่า บ้านหลังนี้อยู่ริมแม่น้ำ ดังนั้น ตัวบ้านจริงๆเป็นบ้านชั้นเดียว แต่มีการต่อเติม บนส่วนของตลิ่ง นานวันเข้าเลยกลายเป็นส่วนถาวร ของบ้านไป ชั้นล่างนี้แหละ เป็นส่วนครัว และส่วนเก็บอุปกรณ์ และผลิตผลทางการเกษตร      ส่วนพื้นที่ใช้สอยนี้ ในส่วนตัวของฉันคิดว่า บ้านที่อยู่ริมน้ำน่าจะมีแทบทุกบ้าน เหตุเพราะว่าหลังผ่านฤดูน้ำหลากแล้ว ช่วงน้ำลด น้ำจะพาเอาดินที่อุดม มาทับถมที่ตลิ่ง แล้วตลิ่งแถวบ้านฉันก็เป็นตลิ่งที่ค่อนข้างกว้าง หลังช่วงออกพรรษาแล้ว ลมหนาวเริ่มโชยมาก็จะเห็นชาวบ้านลงไปทำสวน ปลูกผัก กันอยู่ครึกโครม ซึ่งบ้านของฉันก็รวมอยู่ในนั้นด้วย.....
    0 Comments 0 Shares 200 Views 0 Reviews
  • 5.สิ่งที่ดีที่สุด..ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

    “อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่” เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย มีพื้นที่ ครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วย สระบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี และนครนายก เป็นพื้นที่ผืนใหญ่ตั้งอยู่ในเทือกเขาพนมดงรัก ในส่วนหนึ่งของดงพญาเย็นหรือดงพญาไฟในอดีต ประกอบด้วยขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนหลายลูก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำมูล มีความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นบ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญ หายาก และใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด รวมถึงนกมากกว่า 280 ชนิด จึงทำให้เป็นที่นิยมของนักดูนกจากทั่วโลก

    นอกจากจะเป็นแหล่งธรรมชาติที่สำคัญของไทย ยังมีความสำคัญในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก คือ อุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Park) และ มรดกโลกทางธรรมชาติ (World Heritage Site)

    และที่สำคัญยิ่งใกล้ช่วงสิ้นปี หรือประมาณปลายฝนต้นหนาว
    หรือช่วงเดือนปลายเดือนกันยายนเป็นต้นไป จะเป็นฤดูการท่องเที่ยว ของบรรดาผู้ที่หลงไหลในการเดินป่า
    และธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ของ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่แห่งนี้นี่เอง.

    วันนี้เพจเทพชวนเที่ยว จึงขอยก 5. สิ่งที่ดีที่สุด ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มาให้รับชมกันจ้า

    1.ได้สัมผัสธรรมชาติและสัตว์ป่าตามธรรมชาติ ที่ไม่ใช่สวนสัตว์อย่างใกล้ชิด
    อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีสัตว์ป่าชุกชุมมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่เหมาะสมกับสัตว์ป่าหลายชนิดสัตว์ที่พบเห็นได้บ่อยและเป็นที่ดึงดูดใจผู้มาเยือน ได้แก่ ช้างป่า กระทิง หมาใน เก้ง กวางป่า ชะนี นกเงือก และลิงกัง

    2.น้ำตกเหวสุวัติ น้ำตกสวยงาม ชุ่มช่ำหัวใจ
    ยิ่งช่วงนี้ฝนตก น้ำตกยิ่งสวยงาม น้ำตกเหวสุวัต อยู่ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ น้ำตกเหวสุวัตที่มาของชื่อเหวสุวัตินั้น ถูกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า มีโจรคนหนึ่ง ชื่อสุวัติ หนีอาญาบ้านเมืองมาที่น้ำตกแห่งนี้ และเมื่อจนมุมต่อเจ้าหน้าที่ ก็ตัดสินจบชีวิตตัวเองลงที่น้ำตกแห่งนี้

    3.เสน่ห์อีกอย่างของการมาเที่ยวเขาใหญ่ คือการได้เข้าไปเยือนจุดชมวิวบนหน้าผาที่สวยที่สุดบนเขาใหญ่ นั่นคือ "ผาเดียวดาย" นั่นเองครับ ยิ่งถ้าคุณขึ้นมานอนค้างอ้างแรมที่จุดกางเต็นท์บนเขาใหญ่ล่ะก็ เท่ากับว่าจะได้โอกาสขึ้นไปชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ผาเดียวดายด้วย ตำนาน เรื่องเล่าของผาเดียวดาย เล่าเรื่องของผาเดียวดายสักนิด ที่มาของชื่อผานั้นมีอยู่ว่า นานมาแล้วมีหญิงสาวคนหนึ่งรักใคร่ชอบพอกับชายหนุ่มหน้าตาดีมีฐานะ แต่เนื่องจากทางบ้านของฝ่ายชายไม่ยอมรับเธอ ทั้งคู่จึงต้องแอบคบหากัน กระทั่งวันหนึ่งฝ่ายหญิงเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา เลยคิดจะหนีไปด้วยกันโดยตกลงจะมาพบกันที่ปลายผาที่ซึ่งทั้งสองนัดพบกันบ่อยๆ แต่พอถึงวันนัดชายหนุ่มกลับไม่มา เธอจึงท้อแท้ในชีวิตรัก สุดท้ายจึงกระโดดลงสู่ก้นเหวนั่นเอง

    4.ทุ่งหญ้าที่เขาใหญ่ ป็นหนึ่งในที่เที่ยวที่ตั้งอยู่ภายในอุยานแห่งชาติเขาใหญ่ อยู่ตรงบริเวณหอดูสัตว์หนองผักชี และเป็นไฮไลต์ของที่นี่ ถือว่าเป็นจุดพักผ่อนชมวิวมุมสูง พร้อมทุ่งหญ้าสะวันนาไกลสุดตา
    ก่อนหน้านี้มี ปรากฏการณ์ “ทุ่งหญ้าฟีเวอร์” ทำเขาใหญ่แทบแตก หลังนักท่องเที่ยวแห่เช็กอินแน่น ขณะที่นักท่องเที่ยวไร้สำนึกจำนวนหนึ่งไม่สนกฎระเบียบ ลงไปเดินใน “โป่งสัตว์” ทั้งที่มีป้ายห้าม จนเกิดเป็นดราม่าให้คอมเม้นต์กันสนั่นบนโลกโซเชียล
    ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตในช่วงต้นฤดูฝนของบ้านเรา สำหรับวิวทิวทัศน์ของ “ทุ่งหญ้าเขาใหญ่” หรือ “ทุ่งหญ้าคาที่เขาใหญ่” ซึ่งหลังสายฝนโปรยสายท้องทุ่งหญ้ากว้างใหญ่หลาย ๆ จุดในพื้นที่ “อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่” จะเติบโตเขียวขจี ก่อนจะออกดอกสีขาวโพลน ยามต้องสายลมจะโบกพลิ้วไสวดูโรแมนติก ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปถ่ายรูปจุดเช็กอินกันเป็นจำนวนมาก

    5. น้ำตกเหวนรก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 3 ชั้น ตั้งอยู่ใน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ฝั่งจังหวัดนครนายก จากความสูงในแต่ละชั้นที่ไม่ต่ำกว่า 50 เมตรนั้น ก็พอจะดูออกว่าความสูงโดยรวมของน้ำตกแห่งนี้จะต้องไม่ต่ำกว่า 150 เมตรอย่างแน่นอน ส่วนที่มาของชื่อ น้ำตกเหวนรก มาจากลักษณะของมวลน้ำมหาศาลที่ตกลงมาจากผาสูงปรี๊ด ซ่อนตัวอยู่ในหุบเหว ดูลึกลับซับซ้อน และหวาดเสียวในเวลาเดียวกัน แต่ก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้คนอยากเข้าไปชมความงามของน้ำตกแห่ง
    การเดินทางเพื่อเข้าไปชม น้ำตกเหวนรก ในปัจจุบันนั้นสะดวกขึ้นมาก เพราะถ้าเป็นสมัยก่อน ทุกคนจะต้องใช้เวลาเดินเท้าเพื่อเข้าไปยังตัวน้ำตกถึง 6 ชั่วโมงเลยทีเดียว แต่หลังจากที่มีการตัดถนนสายปราจีนบุรี-เขาใหญ่ พวกเราก็สามารถขับรถไปจอดใกล้ตัวน้ำตกได้มากขึ้น เพียงเดินจากลานจอดรถไปแค่ 1 กิโลเมตรก็ถึงตัวน้ำตกแล้ว

    และนี่ก็เป็นสิ่งที่นักเที่ยวพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นสิ่งที่ดีที่สุดและน่ามาชมให้เห็นกับตา
    เพื่อนๆท่านใดอยากให้เพจ เทพชวนเที่ยว หาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่ใดมานำเสนอ คอมเม้นไว้ได้เลย
    ทีมงานจะจัดมาให้อีก อย่าลืมกดไลค์กดแชร์ กันด้วยนะจ๊ะ! ขอบคุณคร้าบ
    #อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
    #ผาเดียวดาย
    #น้ำตกเหวสุวัต
    #น้ำตกเหวนรก
    #ทุ่งหญ้าเขาใหญ่

    5.สิ่งที่ดีที่สุด..ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ “อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่” เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย มีพื้นที่ ครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วย สระบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี และนครนายก เป็นพื้นที่ผืนใหญ่ตั้งอยู่ในเทือกเขาพนมดงรัก ในส่วนหนึ่งของดงพญาเย็นหรือดงพญาไฟในอดีต ประกอบด้วยขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนหลายลูก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำมูล มีความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นบ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญ หายาก และใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด รวมถึงนกมากกว่า 280 ชนิด จึงทำให้เป็นที่นิยมของนักดูนกจากทั่วโลก นอกจากจะเป็นแหล่งธรรมชาติที่สำคัญของไทย ยังมีความสำคัญในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก คือ อุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Park) และ มรดกโลกทางธรรมชาติ (World Heritage Site) และที่สำคัญยิ่งใกล้ช่วงสิ้นปี หรือประมาณปลายฝนต้นหนาว หรือช่วงเดือนปลายเดือนกันยายนเป็นต้นไป จะเป็นฤดูการท่องเที่ยว ของบรรดาผู้ที่หลงไหลในการเดินป่า และธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ของ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่แห่งนี้นี่เอง.😊 วันนี้เพจเทพชวนเที่ยว จึงขอยก 5. สิ่งที่ดีที่สุด ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มาให้รับชมกันจ้า 1.ได้สัมผัสธรรมชาติและสัตว์ป่าตามธรรมชาติ ที่ไม่ใช่สวนสัตว์อย่างใกล้ชิด🥰 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีสัตว์ป่าชุกชุมมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่เหมาะสมกับสัตว์ป่าหลายชนิดสัตว์ที่พบเห็นได้บ่อยและเป็นที่ดึงดูดใจผู้มาเยือน ได้แก่ ช้างป่า กระทิง หมาใน เก้ง กวางป่า ชะนี นกเงือก และลิงกัง 2.น้ำตกเหวสุวัติ น้ำตกสวยงาม ชุ่มช่ำหัวใจ😘 ยิ่งช่วงนี้ฝนตก น้ำตกยิ่งสวยงาม น้ำตกเหวสุวัต อยู่ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ น้ำตกเหวสุวัตที่มาของชื่อเหวสุวัตินั้น ถูกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า มีโจรคนหนึ่ง ชื่อสุวัติ หนีอาญาบ้านเมืองมาที่น้ำตกแห่งนี้ และเมื่อจนมุมต่อเจ้าหน้าที่ ก็ตัดสินจบชีวิตตัวเองลงที่น้ำตกแห่งนี้ 3.เสน่ห์อีกอย่างของการมาเที่ยวเขาใหญ่ คือการได้เข้าไปเยือนจุดชมวิวบนหน้าผาที่สวยที่สุดบนเขาใหญ่ นั่นคือ "ผาเดียวดาย" นั่นเองครับ ยิ่งถ้าคุณขึ้นมานอนค้างอ้างแรมที่จุดกางเต็นท์บนเขาใหญ่ล่ะก็ เท่ากับว่าจะได้โอกาสขึ้นไปชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ผาเดียวดายด้วย ตำนาน เรื่องเล่าของผาเดียวดาย เล่าเรื่องของผาเดียวดายสักนิด ที่มาของชื่อผานั้นมีอยู่ว่า นานมาแล้วมีหญิงสาวคนหนึ่งรักใคร่ชอบพอกับชายหนุ่มหน้าตาดีมีฐานะ แต่เนื่องจากทางบ้านของฝ่ายชายไม่ยอมรับเธอ ทั้งคู่จึงต้องแอบคบหากัน กระทั่งวันหนึ่งฝ่ายหญิงเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา เลยคิดจะหนีไปด้วยกันโดยตกลงจะมาพบกันที่ปลายผาที่ซึ่งทั้งสองนัดพบกันบ่อยๆ แต่พอถึงวันนัดชายหนุ่มกลับไม่มา เธอจึงท้อแท้ในชีวิตรัก สุดท้ายจึงกระโดดลงสู่ก้นเหวนั่นเอง😢 4.ทุ่งหญ้าที่เขาใหญ่ ป็นหนึ่งในที่เที่ยวที่ตั้งอยู่ภายในอุยานแห่งชาติเขาใหญ่ อยู่ตรงบริเวณหอดูสัตว์หนองผักชี และเป็นไฮไลต์ของที่นี่ ถือว่าเป็นจุดพักผ่อนชมวิวมุมสูง พร้อมทุ่งหญ้าสะวันนาไกลสุดตา ก่อนหน้านี้มี ปรากฏการณ์ “ทุ่งหญ้าฟีเวอร์” ทำเขาใหญ่แทบแตก หลังนักท่องเที่ยวแห่เช็กอินแน่น ขณะที่นักท่องเที่ยวไร้สำนึกจำนวนหนึ่งไม่สนกฎระเบียบ ลงไปเดินใน “โป่งสัตว์” ทั้งที่มีป้ายห้าม จนเกิดเป็นดราม่าให้คอมเม้นต์กันสนั่นบนโลกโซเชียล ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตในช่วงต้นฤดูฝนของบ้านเรา สำหรับวิวทิวทัศน์ของ “ทุ่งหญ้าเขาใหญ่” หรือ “ทุ่งหญ้าคาที่เขาใหญ่” ซึ่งหลังสายฝนโปรยสายท้องทุ่งหญ้ากว้างใหญ่หลาย ๆ จุดในพื้นที่ “อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่” จะเติบโตเขียวขจี ก่อนจะออกดอกสีขาวโพลน ยามต้องสายลมจะโบกพลิ้วไสวดูโรแมนติก ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปถ่ายรูปจุดเช็กอินกันเป็นจำนวนมาก 5. น้ำตกเหวนรก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 3 ชั้น ตั้งอยู่ใน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ฝั่งจังหวัดนครนายก จากความสูงในแต่ละชั้นที่ไม่ต่ำกว่า 50 เมตรนั้น ก็พอจะดูออกว่าความสูงโดยรวมของน้ำตกแห่งนี้จะต้องไม่ต่ำกว่า 150 เมตรอย่างแน่นอน ส่วนที่มาของชื่อ น้ำตกเหวนรก มาจากลักษณะของมวลน้ำมหาศาลที่ตกลงมาจากผาสูงปรี๊ด ซ่อนตัวอยู่ในหุบเหว ดูลึกลับซับซ้อน และหวาดเสียวในเวลาเดียวกัน แต่ก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้คนอยากเข้าไปชมความงามของน้ำตกแห่ง การเดินทางเพื่อเข้าไปชม น้ำตกเหวนรก ในปัจจุบันนั้นสะดวกขึ้นมาก เพราะถ้าเป็นสมัยก่อน ทุกคนจะต้องใช้เวลาเดินเท้าเพื่อเข้าไปยังตัวน้ำตกถึง 6 ชั่วโมงเลยทีเดียว แต่หลังจากที่มีการตัดถนนสายปราจีนบุรี-เขาใหญ่ พวกเราก็สามารถขับรถไปจอดใกล้ตัวน้ำตกได้มากขึ้น เพียงเดินจากลานจอดรถไปแค่ 1 กิโลเมตรก็ถึงตัวน้ำตกแล้ว และนี่ก็เป็นสิ่งที่นักเที่ยวพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นสิ่งที่ดีที่สุดและน่ามาชมให้เห็นกับตา🥰 เพื่อนๆท่านใดอยากให้เพจ เทพชวนเที่ยว หาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่ใดมานำเสนอ คอมเม้นไว้ได้เลย ทีมงานจะจัดมาให้อีก อย่าลืมกดไลค์กดแชร์ กันด้วยนะจ๊ะ! ขอบคุณคร้าบ😍 #อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ #ผาเดียวดาย #น้ำตกเหวสุวัต #น้ำตกเหวนรก #ทุ่งหญ้าเขาใหญ่
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 442 Views 0 Reviews
  • ฮอตพอต ซินีมา กินสุกี้ไปดูหนังไป

    ในขณะที่ประเทศไทยกำลังดรามาเรื่อง 9 จังหวัดในประเทศไทยที่ไม่มีโรงภาพยนตร์ อันเนื่องมาจากภาพยนตร์ดรามาแนว LGBTQ เรื่อง วิมาณหนาม ของค่าย GDH ว่าด้วยความรักของชายสองคนที่ถูกแย่งชิงสวนทุเรียน ซึ่งเนื้อเรื่องระบุชื่อ "สวนแม่ฮ่องสอนหมอนทองคำเสก" และใช้จังหวัดตราดสถานที่ถ่ายทำ แต่ก็โยงไปว่าทั้งสองจังหวัดไม่มีโรงภาพยนตร์แม้แต่โรงเดียว

    ที่ประเทศมาเลเซีย มีไวรัลที่โรงภาพยนตร์ดาดี้ ซินีมา (Dadi Cinema) ชั้น 5 ศูนย์การค้าพาวิเลียน เคแอล (Pavilion KL) ย่านบูกิต บินตัง (Bukit Bintang) ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ มีการโพสต์ภาพเมื่อวันที่ 24 ส.ค. เป็นการเนรมิตโรงภาพยนตร์ผสมผสานกับเมนูอาหารสุกียากี้ ภายใต้ชื่อ "ฮอตพอต ซินีมา" (Hotpot Cinema) เป็นแห่งแรก ซึ่งจะเปิดให้บริการเร็วๆ นี้

    รูปแบบการให้บริการจะมีการเสิร์ฟสุกียากี้ที่ปรุงด้วยน้ำซุปพร้อมกับเนื้อสัตว์และผักต่างๆ ขณะชมภาพยนตร์เรื่องโปรด ซึ่งในภาพจะเป็นโรงภาพยนตร์ชั้นสตาร์พลัส แม้จะยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติม แต่ได้โพสต์ภาพดังกล่าวลงบนเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมของทางโรงภาพยนตร์ ทำให้บรรดาผู้ชมภาพยนตร์ต่างตั้งตารอที่จะใช้บริการ

    อย่างไรก็ตาม ก็มีเสียงวิจารณ์ว่าจะปรุงและรับประทานสุกียากี้อย่างไรภายในโรงภาพยนตร์ที่มืด อีกความเห็นหนึ่งระบุว่า ดูไม่สะดวกสบาย ถ้าในโรงภาพยนตร์มีหม้อไฟเสิร์ฟ จะทำให้มีสมาธิในการดูภาพยนตร์น้อยลง เพราะจะโฟกัสไปที่การกินมากเกินไป

    สำหรับโรงภาพยนตร์ดาดี้ ซินีมา เป็นธุรกิจในเครือดาดี้ มีเดีย กลุ่มอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศจีน ก่อตั้งขึ้นในปี 2543 มีโรงภาพยนตร์ 2,936 โรง ใน 191 แห่งทั่วประเทศจีน ก่อนที่จะขยายกิจการมายังมาเลเซียเป็นประเทศแรกเมื่อปี 2564 ปัจจุบันมี 2 สาขา ได้แก่ ศูนย์การค้าพาวิเลียน เคแอล กรุงกัวลาลัมเปอร์ และศูนย์การค้าดาเมน มอลล์ เมืองสุบังจายา รัฐสลังงอร์

    บริการ "ฮอตพอต ซินีมา" ปรากฎครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งในเมืองฝัวชาน มณฑลกวางตุ้งของจีน สำนักข่าวเซาต์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (SCMP) รายงานเมื่อเดือน ก.พ. 2567 ว่า ลูกค้าจะต้องจ่ายค่าบัตรชมภาพยนตร์แยกต่างหาก สนนราคาชุด 2 คน 188 หยวน (ประมาณ 900 บาท) ประกอบด้วยอาหารทะเลสด เนื้อวัว และผัก

    แต่ละโต๊ะจะมีเตาแม่เหล็กไฟฟ้า และโคมไฟให้ผู้ชมมองเห็นอาหารและวัตถุดิบ มีหม้อขนาดเล็ก และน้ำซุปที่ใช้มีกลิ่นไม่แรง เพื่อลดผลกระทบต่อประสบการณ์การชมภาพยนตร์ อีกทั้งในโรงภาพยนตร์ยังมีจุดระบายอากาศหลายจุดเพื่อปรับคุณภาพอากาศ และมีระบบป้องกันอัคคีภัยเช่นเดียวกับภัตตาคารทั่วไป จึงไม่มีข้อกังวลด้านความปลอดภัย

    ฮอตพอต ซินีมา กลายเป็นไวรัลในจีน และกำลังจะเปิดตัวขึ้นในมาเลเซีย ส่วนประเทศไทย ปัจจุบันธุรกิจโรงภาพยนตร์ผูกขาดอยู่สองรายหลัก ได้แก่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) และ เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น (SF) ขึ้นอยู่กับว่าจะสนใจไอเดียนี้หรือไม่ จากที่ผ่านมาได้ทดลองโมเดลธุรกิจหลายรูปแบบ เช่น โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก โรงภาพยนตร์สำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

    #Newskit #HotpotCinema #DadiCinema
    ฮอตพอต ซินีมา กินสุกี้ไปดูหนังไป ในขณะที่ประเทศไทยกำลังดรามาเรื่อง 9 จังหวัดในประเทศไทยที่ไม่มีโรงภาพยนตร์ อันเนื่องมาจากภาพยนตร์ดรามาแนว LGBTQ เรื่อง วิมาณหนาม ของค่าย GDH ว่าด้วยความรักของชายสองคนที่ถูกแย่งชิงสวนทุเรียน ซึ่งเนื้อเรื่องระบุชื่อ "สวนแม่ฮ่องสอนหมอนทองคำเสก" และใช้จังหวัดตราดสถานที่ถ่ายทำ แต่ก็โยงไปว่าทั้งสองจังหวัดไม่มีโรงภาพยนตร์แม้แต่โรงเดียว ที่ประเทศมาเลเซีย มีไวรัลที่โรงภาพยนตร์ดาดี้ ซินีมา (Dadi Cinema) ชั้น 5 ศูนย์การค้าพาวิเลียน เคแอล (Pavilion KL) ย่านบูกิต บินตัง (Bukit Bintang) ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ มีการโพสต์ภาพเมื่อวันที่ 24 ส.ค. เป็นการเนรมิตโรงภาพยนตร์ผสมผสานกับเมนูอาหารสุกียากี้ ภายใต้ชื่อ "ฮอตพอต ซินีมา" (Hotpot Cinema) เป็นแห่งแรก ซึ่งจะเปิดให้บริการเร็วๆ นี้ รูปแบบการให้บริการจะมีการเสิร์ฟสุกียากี้ที่ปรุงด้วยน้ำซุปพร้อมกับเนื้อสัตว์และผักต่างๆ ขณะชมภาพยนตร์เรื่องโปรด ซึ่งในภาพจะเป็นโรงภาพยนตร์ชั้นสตาร์พลัส แม้จะยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติม แต่ได้โพสต์ภาพดังกล่าวลงบนเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมของทางโรงภาพยนตร์ ทำให้บรรดาผู้ชมภาพยนตร์ต่างตั้งตารอที่จะใช้บริการ อย่างไรก็ตาม ก็มีเสียงวิจารณ์ว่าจะปรุงและรับประทานสุกียากี้อย่างไรภายในโรงภาพยนตร์ที่มืด อีกความเห็นหนึ่งระบุว่า ดูไม่สะดวกสบาย ถ้าในโรงภาพยนตร์มีหม้อไฟเสิร์ฟ จะทำให้มีสมาธิในการดูภาพยนตร์น้อยลง เพราะจะโฟกัสไปที่การกินมากเกินไป สำหรับโรงภาพยนตร์ดาดี้ ซินีมา เป็นธุรกิจในเครือดาดี้ มีเดีย กลุ่มอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศจีน ก่อตั้งขึ้นในปี 2543 มีโรงภาพยนตร์ 2,936 โรง ใน 191 แห่งทั่วประเทศจีน ก่อนที่จะขยายกิจการมายังมาเลเซียเป็นประเทศแรกเมื่อปี 2564 ปัจจุบันมี 2 สาขา ได้แก่ ศูนย์การค้าพาวิเลียน เคแอล กรุงกัวลาลัมเปอร์ และศูนย์การค้าดาเมน มอลล์ เมืองสุบังจายา รัฐสลังงอร์ บริการ "ฮอตพอต ซินีมา" ปรากฎครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งในเมืองฝัวชาน มณฑลกวางตุ้งของจีน สำนักข่าวเซาต์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (SCMP) รายงานเมื่อเดือน ก.พ. 2567 ว่า ลูกค้าจะต้องจ่ายค่าบัตรชมภาพยนตร์แยกต่างหาก สนนราคาชุด 2 คน 188 หยวน (ประมาณ 900 บาท) ประกอบด้วยอาหารทะเลสด เนื้อวัว และผัก แต่ละโต๊ะจะมีเตาแม่เหล็กไฟฟ้า และโคมไฟให้ผู้ชมมองเห็นอาหารและวัตถุดิบ มีหม้อขนาดเล็ก และน้ำซุปที่ใช้มีกลิ่นไม่แรง เพื่อลดผลกระทบต่อประสบการณ์การชมภาพยนตร์ อีกทั้งในโรงภาพยนตร์ยังมีจุดระบายอากาศหลายจุดเพื่อปรับคุณภาพอากาศ และมีระบบป้องกันอัคคีภัยเช่นเดียวกับภัตตาคารทั่วไป จึงไม่มีข้อกังวลด้านความปลอดภัย ฮอตพอต ซินีมา กลายเป็นไวรัลในจีน และกำลังจะเปิดตัวขึ้นในมาเลเซีย ส่วนประเทศไทย ปัจจุบันธุรกิจโรงภาพยนตร์ผูกขาดอยู่สองรายหลัก ได้แก่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) และ เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น (SF) ขึ้นอยู่กับว่าจะสนใจไอเดียนี้หรือไม่ จากที่ผ่านมาได้ทดลองโมเดลธุรกิจหลายรูปแบบ เช่น โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก โรงภาพยนตร์สำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น #Newskit #HotpotCinema #DadiCinema
    Like
    4
    2 Comments 0 Shares 423 Views 0 Reviews
  • 14 #ผัก ที่ไม่ควรกินดิบ: คู่มือสำคัญที่จะช่วยให้คุณไม่เสี่ยง #สุขภาพ และชีวิต

    #อาหาร #food

    https://s.shopee.co.th/5AZGX57rJf
    14 #ผัก ที่ไม่ควรกินดิบ: คู่มือสำคัญที่จะช่วยให้คุณไม่เสี่ยง #สุขภาพ และชีวิต #อาหาร #food https://s.shopee.co.th/5AZGX57rJf
    S.SHOPEE.CO.TH
    14 ผักที่ไม่ควรกินดิบ: คู่มือสำคัญที่จะช่วยให้คุณไม่เสี่ยงสุขภาพและชีวิต
    ผักที่ห้ามกินดิบมีอะไรบ้าง ว่ากันว่ากินผักที่ไม่ควรกินดิบไปถึงตายได้ จริงหรือไม่? ทำไมผักบางชนิดห้ามกินดิบ ลิสต์ผักที่ไม่ควรกินสดมีอะไรบ้าง มาดู!
    0 Comments 0 Shares 96 Views 0 Reviews
  • รายย่อยแบบนี้น่าจะสงวนให้คนไทย รายได้น้อยกำไรแทบไม่เหลือ เพราะ ผู้ค้าส่วนหนึ่งเผ็นต่างด้าว แล้วยังผู้ค้าส่งผัก ผลไม้ ก็แรงงานต่างด้าว คนไทยไม่มีโอกาสต่อรอง หรือ ทำงานเกี่ยวกับผักผลไม้ เพราะ มีการเหยียดเชื้อชาติจากต่างด้าว เจ้าของเองก็ห่วงกิจการ พูดอะไรไม่ได้มาก
    รายย่อยแบบนี้น่าจะสงวนให้คนไทย รายได้น้อยกำไรแทบไม่เหลือ เพราะ ผู้ค้าส่วนหนึ่งเผ็นต่างด้าว แล้วยังผู้ค้าส่งผัก ผลไม้ ก็แรงงานต่างด้าว คนไทยไม่มีโอกาสต่อรอง หรือ ทำงานเกี่ยวกับผักผลไม้ เพราะ มีการเหยียดเชื้อชาติจากต่างด้าว เจ้าของเองก็ห่วงกิจการ พูดอะไรไม่ได้มาก
    0 Comments 0 Shares 98 Views 0 Reviews
  • เวียดนามคาดส่งออก ‘ทุเรียน' ปี 2567 สูงแตะ 3,500 ล้านดอลล์
    .
    คณะผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรคาดการณ์ว่าการส่งออกทุเรียนของเวียดนามจะสูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.23 แสนล้านบาท) ในปี 2024 เนื่องด้วยสภาพเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย
    .
    ดัง ฟุก เหงียน เลขานุการสมาคมผักและผลไม้แห่งเวียดนาม ระบุว่าเกษตรกรในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เช่น เตี่ยนยางและวินห์ลอง ได้เพิ่มการผลิตทุเรียนนอกฤดู ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคมของปีนี้ โดยปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนในภูมิภาคนี้ราวร้อยละ 50-60 กำลังมุ่งเน้นการผลิตนอกฤดู
    .
    รายงานเสริมว่าเวียดนามมีแนวโน้มส่งออกทุเรียนปริมาณมากจากภูมิภาคเซ็นทรัล ไฮแลนด์ส หรือที่ราบสูงตอนกลางของประเทศ ในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้
    .
    สำนักการผลิตพืชผลของกระทรวงฯ ระบุว่าปัจจุบันเวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนราว 1.5 แสนเฮกตาร์ (ราว 9.37 แสนไร่) ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเซ็นทรัล ไฮแลนด์ส มากกว่า 75,000 เฮกตาร์ (ราว 4.69 แสนไร่)
    .
    กระทรวงฯ เผยว่ารายได้จากการส่งออกทุเรียนของเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ราว 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6 หมื่นล้านบาท)
    เวียดนามคาดส่งออก ‘ทุเรียน' ปี 2567 สูงแตะ 3,500 ล้านดอลล์ . คณะผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรคาดการณ์ว่าการส่งออกทุเรียนของเวียดนามจะสูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.23 แสนล้านบาท) ในปี 2024 เนื่องด้วยสภาพเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย . ดัง ฟุก เหงียน เลขานุการสมาคมผักและผลไม้แห่งเวียดนาม ระบุว่าเกษตรกรในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เช่น เตี่ยนยางและวินห์ลอง ได้เพิ่มการผลิตทุเรียนนอกฤดู ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคมของปีนี้ โดยปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนในภูมิภาคนี้ราวร้อยละ 50-60 กำลังมุ่งเน้นการผลิตนอกฤดู . รายงานเสริมว่าเวียดนามมีแนวโน้มส่งออกทุเรียนปริมาณมากจากภูมิภาคเซ็นทรัล ไฮแลนด์ส หรือที่ราบสูงตอนกลางของประเทศ ในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ . สำนักการผลิตพืชผลของกระทรวงฯ ระบุว่าปัจจุบันเวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนราว 1.5 แสนเฮกตาร์ (ราว 9.37 แสนไร่) ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเซ็นทรัล ไฮแลนด์ส มากกว่า 75,000 เฮกตาร์ (ราว 4.69 แสนไร่) . กระทรวงฯ เผยว่ารายได้จากการส่งออกทุเรียนของเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ราว 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6 หมื่นล้านบาท)
    Like
    Sad
    3
    0 Comments 0 Shares 355 Views 0 Reviews
  • มาตัดแต่งต้นไม้บ้านลูกค้า ได้ตนนี้ติดมือกลับบ้าน
    ....
    ภาคใต้เรียก "ออดิบ" คนเหนือเรียก "ตุน"
    เป็นผักพื้นเมืองที่ lit nit แนะนำเลยว่าควรมีติดบ้าน ดูก้านมันซิ 1 ก้านทำกับข้าวได้ 1 จานสบาย ๆ
    รสชาติไม่มี เนื้อสัมผัสเหมือนสายบัว ปรุงได้หลายเมนู แต่ที่ lit nit ชอบมากคือ ผัดใส่หมูสับ
    ....
    ปลูกครั้งเดียวเก็บกินได้ตลอด ชอบอยู่ที่ชื้น ๆ ใครปล่อยน้ำล้างจานออกหลังบ้าน นั่นแหละไปปลูกตรงทางน้ำนั้นได้เลย ที่สำคัญยิ่งกว่าคือไม่คันเหมือนบอนจึงไม่ต้องมีวิธีในการจัดการอถไรมากมายนัก
    #วันนี้ได้มาหลายต้นเพราะเจ้าของบ้านมีเหตุจำเป็นต้องเคลียร์พื้นที่^^
    มาตัดแต่งต้นไม้บ้านลูกค้า ได้ตนนี้ติดมือกลับบ้าน .... ภาคใต้เรียก "ออดิบ" คนเหนือเรียก "ตุน" เป็นผักพื้นเมืองที่ lit nit แนะนำเลยว่าควรมีติดบ้าน ดูก้านมันซิ 1 ก้านทำกับข้าวได้ 1 จานสบาย ๆ รสชาติไม่มี เนื้อสัมผัสเหมือนสายบัว ปรุงได้หลายเมนู แต่ที่ lit nit ชอบมากคือ ผัดใส่หมูสับ .... ปลูกครั้งเดียวเก็บกินได้ตลอด ชอบอยู่ที่ชื้น ๆ ใครปล่อยน้ำล้างจานออกหลังบ้าน นั่นแหละไปปลูกตรงทางน้ำนั้นได้เลย ที่สำคัญยิ่งกว่าคือไม่คันเหมือนบอนจึงไม่ต้องมีวิธีในการจัดการอถไรมากมายนัก #วันนี้ได้มาหลายต้นเพราะเจ้าของบ้านมีเหตุจำเป็นต้องเคลียร์พื้นที่^^
    0 Comments 0 Shares 270 Views 0 Reviews
  • ลิงก์รวมยาและการดูแลสุขภาพที่ได้ผลดี

    เทเลแกรม “รวมศาสตร์การป้องกันและรักษาผลกระทบจากยาฉีด”
    https://t.me/Covidtreatment_th
    กลุ่มไลน์ “ล้างพิษ ยาฉีด”
    https://line.me/ti/g2/wTvY1gxHGpGKCt15sQN1jMHw02XoSC1uXsjUsQ?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default


    ศาสตร์แพทย์แผนไทย
    สมุนไพรรางจืด
    https://youtu.be/cZz-njYEOT0
    ยาห้าราก (ยาเบญจโลกวิเชียร ยาแก้วห้าดวง หรือยาเพชรสว่าง)
    https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/427/ยาห้าราก-แก้ไข้/
    https://fb.watch/ltfGrggPPh/?mibextid=VUMmCQ
    ฟ้าทะลายโจรวาระแห่งชาติ และตำรับยาขาว(นาทีที่ 30) และมหาพิกัดตรีผลา (นาทีที่ 44) โดย อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    https://youtu.be/HUw5rKnEB-A
    https://t.me/Covidtreatment_th/163
    ตำรับป้องกัน(ยาใบมะขาม) และรักษา(ยาขาว) โดย บรมครูแพทย์แผนไทย ครูชุบ แป้นคุ้มญาติ
    https://t.me/Covidtreatment_th/110
    https://youtu.be/PNs04g4pIys
    https://youtu.be/oku1qXZ9YUw
    ตำรับยาตรีผลา (มหาพิกัด) โดย อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา
    https://www.facebook.com/228893067300037/posts/1363509777171688/
    https://t.me/Covidtreatment_th/276
    มาทำความรู้จักโกฐจุฬาลัมพา และตำรับยาแก้ไข้จันทน์ลีลา
    https://youtu.be/CFv-8cW_8fo
    การสุมยาสมุนไพร โดย รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
    https://youtu.be/nf_hPZGG1fU
    ตัวอย่างเกร็ดยาต่างๆ วัดคีรีวงก์ จ.ชุมพร https://t.me/Covidtreatment_th/235
    สมุนไพรต้านมะเร็ง สูตรหมอสมหมาย: https://youtu.be/EhinXIYrEok โทร.0826528992
    ยาลม 300 จำพวก
    https://youtu.be/dv_Dz-Dkyt4
    https://youtu.be/ivO-KrSLDCg
    https://youtu.be/gzY-SbZnou0
    พลูคาวหรือผักคาวตอง https://youtu.be/y9Xee_Iopmg
    กลุ่มไลน์ "โลกของผักคาวตอง The World Under QuawTong"
    https://line.me/ti/g2/3HtIskAzcnB88VCmqR6RfleKsUwNq2yo9hzqHw?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default
    สมุนไพรแก้หวัด,บำรุงปอด
    https://t.me/Covidtreatment_th/311
    ยาไทยได้ผลจริง
    https://www.thethaipress.com/202
    #ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญและจิตอาสาจากกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์
    ลิงก์รวมยาและการดูแลสุขภาพที่ได้ผลดี 🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝 เทเลแกรม “รวมศาสตร์การป้องกันและรักษาผลกระทบจากยาฉีด” https://t.me/Covidtreatment_th กลุ่มไลน์ “ล้างพิษ ยาฉีด” https://line.me/ti/g2/wTvY1gxHGpGKCt15sQN1jMHw02XoSC1uXsjUsQ?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default 🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝 ✅ศาสตร์แพทย์แผนไทย ✍️สมุนไพรรางจืด https://youtu.be/cZz-njYEOT0 ✍️ยาห้าราก (ยาเบญจโลกวิเชียร ยาแก้วห้าดวง หรือยาเพชรสว่าง) https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/427/ยาห้าราก-แก้ไข้/ https://fb.watch/ltfGrggPPh/?mibextid=VUMmCQ ✍️ฟ้าทะลายโจรวาระแห่งชาติ และตำรับยาขาว(นาทีที่ 30) และมหาพิกัดตรีผลา (นาทีที่ 44) โดย อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ https://youtu.be/HUw5rKnEB-A https://t.me/Covidtreatment_th/163 ✍️ตำรับป้องกัน(ยาใบมะขาม) และรักษา(ยาขาว) โดย บรมครูแพทย์แผนไทย ครูชุบ แป้นคุ้มญาติ https://t.me/Covidtreatment_th/110 https://youtu.be/PNs04g4pIys https://youtu.be/oku1qXZ9YUw ✍️ตำรับยาตรีผลา (มหาพิกัด) โดย อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา https://www.facebook.com/228893067300037/posts/1363509777171688/ https://t.me/Covidtreatment_th/276 ✍️มาทำความรู้จักโกฐจุฬาลัมพา และตำรับยาแก้ไข้จันทน์ลีลา https://youtu.be/CFv-8cW_8fo ✍️การสุมยาสมุนไพร โดย รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร https://youtu.be/nf_hPZGG1fU ✍️ ตัวอย่างเกร็ดยาต่างๆ วัดคีรีวงก์ จ.ชุมพร https://t.me/Covidtreatment_th/235 ✍️สมุนไพรต้านมะเร็ง สูตรหมอสมหมาย: https://youtu.be/EhinXIYrEok โทร.0826528992 ✍️ยาลม 300 จำพวก https://youtu.be/dv_Dz-Dkyt4 https://youtu.be/ivO-KrSLDCg https://youtu.be/gzY-SbZnou0 ✍️พลูคาวหรือผักคาวตอง https://youtu.be/y9Xee_Iopmg กลุ่มไลน์ "โลกของผักคาวตอง The World Under QuawTong" https://line.me/ti/g2/3HtIskAzcnB88VCmqR6RfleKsUwNq2yo9hzqHw?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default ✍️สมุนไพรแก้หวัด,บำรุงปอด https://t.me/Covidtreatment_th/311 ✍️ยาไทยได้ผลจริง https://www.thethaipress.com/202 #ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญและจิตอาสาจากกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 832 Views 0 Reviews
  • ผักกรอบราคาถูก ผักผลไม้ ผลไม้ผักอบกรอบ
    ขนมเพื่อสุขภาพ ผักอบแห้ง ขนมกินเล่นถูกๆ ของกินเล่น ขนมอร่อยๆถูกๆ ขนมทอดกรอบ
    จิ้มความอร่อย👇🏻👇🏻👇🏻
    https://s.shopee.co.th/1VfEun5Eze
    🥗ผักกรอบราคาถูก ผักผลไม้ ผลไม้ผักอบกรอบ ขนมเพื่อสุขภาพ ผักอบแห้ง ขนมกินเล่นถูกๆ ของกินเล่น ขนมอร่อยๆถูกๆ ขนมทอดกรอบ จิ้มความอร่อย👇🏻👇🏻👇🏻 https://s.shopee.co.th/1VfEun5Eze
    Love
    1
    1 Comments 0 Shares 165 Views 0 Reviews
  • “พีเอ็ม วิลล่า” โคราช ฟื้นซูเปอร์ฯ สู้ทุนยักษ์

    วิกฤตเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากโควิด-19 และสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบไม่เว้นแม้แต่กลุ่มทุนท้องถิ่น เฉกเช่น กลุ่มคลังพลาซ่า ของตระกูลมานะศิลป์ ที่ปิดกิจการห้างสรรพสินค้าในจังหวัดนครราชสีมา ไล่ตั้งแต่คลังพลาซ่า จอมสุรางค์ (คลังใหม่) คลังวิลล่า สุรนารายน์ (คลังสาม) ส่วนคลังพลาซ่า อัษฎางค์ (คลังเก่า) ปรับพื้นที่เหลือแผนกดีพาร์ตเมนต์สโตร์

    แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงที่คลังวิลล่า สุรนารายน์ (คลังสาม) ซึ่งปิดตัวลงไปเมื่อปี 2565 เมื่อมีผู้เช่ารายใหม่ในนาม "พีเอ็ม วิลล่า" ที่นำโดย บริษัท พีเอ็ม วิลล่า จำกัด ตัดสินใจเช่าพื้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้น 1 คลังวิลล่า จากตระกูลมานะศิลป์ เป็นเวลา 3 ปี และลงทุนกว่า 10 ล้านบาท จำหน่ายอาหารสด เนื้อสัตว์ ผักสด ผลไม้ ของใช้ในครัวเรือน อาหารและเครื่องดื่ม

    เปิดให้บริการแบบซอฟต์ โอเพนนิ่ง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ 3 สิงหาคม 2567 ชูจุดเด่นเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต จำหน่ายสินค้าราคาประหยัด และรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แตกต่างจากโมเดิร์นเทรดของบรรดาทุนยักษ์ พร้อมเตรียมรองรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อีกด้วย

    สำหรับผู้บริหารพี เอ็ม วิลล่า คือ นายขวัญชัย วันชัย กรรมการบริษัท พีเอ็ม วิลล่า จำกัด เป็นนักธุรกิจท้องถิ่นในโคราช อดีตผู้บริหารธนาคาร และเป็นข้าราชการบำนาญ โดยมีอดีตผู้บริหารซูเปอร์มาร์เก็ตของคลังวิลล่ามาร่วมงานด้วย

    สำหรับทำเลที่ตั้งคลังวิลล่า สุรนารายน์ ตั้งอยู่บนถนนสุรนารายน์ เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ห่างจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ลานย่าโม) ประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ใกล้ซอย 30 กันยา แหล่งที่อยู่อาศัยของนักศึกษาและกลุ่มที่เพิ่งเข้าสู่วัยทำงาน (First Jobber) ในจังหวัดนครราชสีมา

    ต้องคอยดูว่า ธุรกิจใหม่ ภายใต้ทำเลที่กลุ่มทุนท้องถิ่นในตำนานเป็นผู้บุกเบิก จะมีเสียงตอบรับจากผู้บริโภคมากน้อยขนาดไหน เพราะวงการค้าปลีกในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งกลุ่มทุนใหญ่ "เดอะมอลล์-บิ๊กซี-ซีพี-เซ็นทรัล-คาราบาว" มากันเกือบครบ และกลุ่มทุนท้องถิ่นที่ปรับตัวสู่ความเป็นโมเดิร์นเทรด นับว่าแข่งขันกันสูงไม่แพ้จังหวัดหัวเมืองหลักทางเศรษฐกิจจังหวัดอื่น

    #Newskit #PMVilla #นครราชสีมา
    “พีเอ็ม วิลล่า” โคราช ฟื้นซูเปอร์ฯ สู้ทุนยักษ์ วิกฤตเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากโควิด-19 และสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบไม่เว้นแม้แต่กลุ่มทุนท้องถิ่น เฉกเช่น กลุ่มคลังพลาซ่า ของตระกูลมานะศิลป์ ที่ปิดกิจการห้างสรรพสินค้าในจังหวัดนครราชสีมา ไล่ตั้งแต่คลังพลาซ่า จอมสุรางค์ (คลังใหม่) คลังวิลล่า สุรนารายน์ (คลังสาม) ส่วนคลังพลาซ่า อัษฎางค์ (คลังเก่า) ปรับพื้นที่เหลือแผนกดีพาร์ตเมนต์สโตร์ แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงที่คลังวิลล่า สุรนารายน์ (คลังสาม) ซึ่งปิดตัวลงไปเมื่อปี 2565 เมื่อมีผู้เช่ารายใหม่ในนาม "พีเอ็ม วิลล่า" ที่นำโดย บริษัท พีเอ็ม วิลล่า จำกัด ตัดสินใจเช่าพื้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้น 1 คลังวิลล่า จากตระกูลมานะศิลป์ เป็นเวลา 3 ปี และลงทุนกว่า 10 ล้านบาท จำหน่ายอาหารสด เนื้อสัตว์ ผักสด ผลไม้ ของใช้ในครัวเรือน อาหารและเครื่องดื่ม เปิดให้บริการแบบซอฟต์ โอเพนนิ่ง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ 3 สิงหาคม 2567 ชูจุดเด่นเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต จำหน่ายสินค้าราคาประหยัด และรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แตกต่างจากโมเดิร์นเทรดของบรรดาทุนยักษ์ พร้อมเตรียมรองรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อีกด้วย สำหรับผู้บริหารพี เอ็ม วิลล่า คือ นายขวัญชัย วันชัย กรรมการบริษัท พีเอ็ม วิลล่า จำกัด เป็นนักธุรกิจท้องถิ่นในโคราช อดีตผู้บริหารธนาคาร และเป็นข้าราชการบำนาญ โดยมีอดีตผู้บริหารซูเปอร์มาร์เก็ตของคลังวิลล่ามาร่วมงานด้วย สำหรับทำเลที่ตั้งคลังวิลล่า สุรนารายน์ ตั้งอยู่บนถนนสุรนารายน์ เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ห่างจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ลานย่าโม) ประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ใกล้ซอย 30 กันยา แหล่งที่อยู่อาศัยของนักศึกษาและกลุ่มที่เพิ่งเข้าสู่วัยทำงาน (First Jobber) ในจังหวัดนครราชสีมา ต้องคอยดูว่า ธุรกิจใหม่ ภายใต้ทำเลที่กลุ่มทุนท้องถิ่นในตำนานเป็นผู้บุกเบิก จะมีเสียงตอบรับจากผู้บริโภคมากน้อยขนาดไหน เพราะวงการค้าปลีกในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งกลุ่มทุนใหญ่ "เดอะมอลล์-บิ๊กซี-ซีพี-เซ็นทรัล-คาราบาว" มากันเกือบครบ และกลุ่มทุนท้องถิ่นที่ปรับตัวสู่ความเป็นโมเดิร์นเทรด นับว่าแข่งขันกันสูงไม่แพ้จังหวัดหัวเมืองหลักทางเศรษฐกิจจังหวัดอื่น #Newskit #PMVilla #นครราชสีมา
    Like
    2
    0 Comments 1 Shares 648 Views 0 Reviews
  • #สุขภาพ #พึ่งตนเอง #หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง #ผัก
    #สุขภาพ #พึ่งตนเอง #หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง #ผัก
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 247 Views 0 Reviews
  • ขออนุญาตขายของครับ ถ้ายังไม่อนุญาต ลบได้นะครับ ผมขายดินถุง ร้านเล็กๆ ติดกับเซเว่น สาขาชุมชนชำผักแพว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

    ชื่อร้านดินเกษตร 40
    ยังไม่ได้ขายออนไลน์นะครับ
    ท่านที่อยู่ใกล้เคียง เข้าไปอุดหนุน หรือคุยกันได้
    ขออนุญาตขายของครับ ถ้ายังไม่อนุญาต ลบได้นะครับ ผมขายดินถุง ร้านเล็กๆ ติดกับเซเว่น สาขาชุมชนชำผักแพว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ชื่อร้านดินเกษตร 40 ยังไม่ได้ขายออนไลน์นะครับ ท่านที่อยู่ใกล้เคียง เข้าไปอุดหนุน หรือคุยกันได้
    0 Comments 0 Shares 157 Views 0 Reviews
  • ทิชาโนโทซอรัส แทะกินซากผักบุ้ง นำกลุ่มคนรุ่นล้มล้างการปกครองมาโหนงานร่วมรำลึกบุ้ง
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #ทิชาโนโทซอรัส
    ทิชาโนโทซอรัส แทะกินซากผักบุ้ง นำกลุ่มคนรุ่นล้มล้างการปกครองมาโหนงานร่วมรำลึกบุ้ง #คิงส์โพธิ์แดง #ทิชาโนโทซอรัส
    0 Comments 0 Shares 143 Views 0 Reviews
  • สคบ.มัวยุ่งๆกับ BYD ชาวบ้านมองบิลค่าน้ำค่าไฟค่าน้ำมัน ค่าผักค่าไก่ค่าไข่ ตาละห้อยแล้วถอนหายใจ
    #คิงส์โพธิ์แดง
    สคบ.มัวยุ่งๆกับ BYD ชาวบ้านมองบิลค่าน้ำค่าไฟค่าน้ำมัน ค่าผักค่าไก่ค่าไข่ ตาละห้อยแล้วถอนหายใจ #คิงส์โพธิ์แดง
    0 Comments 0 Shares 83 Views 0 Reviews