• คณะบริหารไบเดนเสนอกรอบโครงใหม่จำกัดการส่งออกชิปเอไอ หวังสกัดจีน คู่แข่งตัวกลั่นในสงครามไฮเทค แต่กลับกลายเป็นการสร้างความกังวลในหมู่ผู้บริหารในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศ ตลอดจนถึงอียู
    .
    ขณะที่เหลือเวลาอีกเพียงสัปดาห์เดียวก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ พวกเจ้าหน้าที่คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุชัดเจนว่า กฎใหม่หล่านี้จะมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน ดังนั้นจึงทำให้คณะบริหารของทรัมป์ต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะสานต่อหรือยกเลิกกรอบโครงเหล่านี้ที่จะส่งผลกระทบต่อ 120 ประเทศ ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งเตือนว่า การระงับการใช้กฎนี้อาจเท่ากับเปิดโอกาสให้จีนมีเวลาสะสมมากขึ้นในการสะสมฮาร์ดแวร์ที่มาจากอเมริกา
    .
    เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว กล่าวอ้างเมื่อวันจันทร์ (13 ม.ค.) ว่า เดิมพันจะสูงมาก หากจีนกลายเป็นผู้กำหนดอนาคตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)
    .
    จีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐฯ ขานรับว่า สิ่งสำคัญคือการรักษาความเป็นผู้นำของอเมริกาในด้านเอไอและการพัฒนาชิปเกี่ยวกับเอไอ และเสริมว่า กรอบโครงนี้ออกแบบมาเพื่อปกป้องเทคโนโลยีเอไอขั้นสูงสุด และให้ความมั่นใจว่า เทคโนโลยีนี้จะไม่ตกอยู่ในมือศัตรูต่างชาติ แต่ขณะเดียวกันจะสามารถเผยแพร่และแบ่งปันประโยชน์กับประเทศที่เป็นหุ้นส่วนของอเมริกา
    .
    แม้คณะบริหารชุดนี้ออกมาตรการจำกัดการส่งออกกับศัตรู เช่น จีนและรัสเซียไปแล้ว แต่พวกเขาอ้างว่าบางมาตรการยังมีช่องโหว่ และกฎล่าสุดมุ่งจะตั้งข้อจำกัดกับประเทศต่างๆ ในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น
    .
    ด้าน เอ็ด มิลส์ นักวิเคราะห์ของ เรย์มอนด์ เจมส์ ชี้ว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ แสดงความกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับศูนย์ข้อมูลในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากบริษัทจีนใช้ศูนย์เหล่านั้นในการสร้างโมเดลเอไอด้วยเทคโนโลยีที่ตนเองไม่สามารถนำเข้าสู่จีนได้โดยตรง
    .
    อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่แล้ว สภาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของอเมริกาเตือนไรมอนโดว่า การเร่งรีบใช้กฎใหม่ของคณะบริหารเดโมแครต อาจกลายเป็นการบ่อนทำลายห่วงโซ่อุปทานโลก และทำให้บริษัทอเมริกันเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
    .
    ต่อมาในวันจันทร์ สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของอเมริกา (เอสไอเอ) แสดงความเห็นว่า ผิดหวังที่มีการเร่งรัดผลักดันนโยบายก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่านคณะบริหาร
    .
    จอห์น นิวเฟอร์ ประธานและซีอีโอเอสไอเอ เตือนว่า กฎใหม่เสี่ยงทำให้เกิดความเสียหายยาวนานโดยไม่ตั้งใจกับเศรษฐกิจและขีดความสามารถแข่งขันระดับโลกของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์และเอไอของอเมริกา เนื่องจากการทำเช่นนี้มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการยกตลาดสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ให้แก่พวกคู่แข่ง
    .
    เอ็นวิเดีย บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ โพสต์บนบล็อก สำทับว่า แม้มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านจีน แต่มาตรการนี้ไม่ได้ช่วยส่งเสริมความมั่นคงของอเมริกาแต่อย่างใด
    .
    กฎใหม่นี้เนื้อหาสำคัญคือยกระดับการควบคุมการส่งออกชิป ด้วยการกำหนดให้ต้องมีการขออนุญาตสำหรับการส่งออก รวมทั้งการส่งออกต่อ และการถ่ายโอนภายในประเทศ ขณะที่ศูนย์ข้อมูลเอไอต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมมากขึ้นหากต้องการนำเข้าชิป รวมทั้งมีการเพิ่มความเข้มงวดในการแชร์โมเดลเอไอล้ำสมัย
    .
    กฎใหม่เหล่านี้มีข้อยกเว้นหลายอย่างสำหรับพันธมิตรและหุ้นส่วนสำคัญราว 20 ชาติ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอังกฤษ
    .
    อย่างไรก็ดี การตั้งข้อจำกัดกับบางประเทศในสหภาพยุโรป ทำให้เจ้าหน้าที่บรัสเซลส์ออกมาคัดค้านโดยระบุว่า การขายชิปเอไอขั้นสูงให้สมาชิกอียูถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับอเมริกา ไม่ใช่ความเสี่ยงด้านความมั่นคง
    .
    ทางด้านกระทรวงพาณิชย์จีนโจมตีนโยบายใหม่ของไบเดนว่า ละเมิดกฎการค้าระหว่างประเทศ พร้อมประกาศปกป้องผลประโยชน์ของชาติเต็มที่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004280
    ..............
    Sondhi X
    คณะบริหารไบเดนเสนอกรอบโครงใหม่จำกัดการส่งออกชิปเอไอ หวังสกัดจีน คู่แข่งตัวกลั่นในสงครามไฮเทค แต่กลับกลายเป็นการสร้างความกังวลในหมู่ผู้บริหารในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศ ตลอดจนถึงอียู . ขณะที่เหลือเวลาอีกเพียงสัปดาห์เดียวก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ พวกเจ้าหน้าที่คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุชัดเจนว่า กฎใหม่หล่านี้จะมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน ดังนั้นจึงทำให้คณะบริหารของทรัมป์ต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะสานต่อหรือยกเลิกกรอบโครงเหล่านี้ที่จะส่งผลกระทบต่อ 120 ประเทศ ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งเตือนว่า การระงับการใช้กฎนี้อาจเท่ากับเปิดโอกาสให้จีนมีเวลาสะสมมากขึ้นในการสะสมฮาร์ดแวร์ที่มาจากอเมริกา . เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว กล่าวอ้างเมื่อวันจันทร์ (13 ม.ค.) ว่า เดิมพันจะสูงมาก หากจีนกลายเป็นผู้กำหนดอนาคตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) . จีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐฯ ขานรับว่า สิ่งสำคัญคือการรักษาความเป็นผู้นำของอเมริกาในด้านเอไอและการพัฒนาชิปเกี่ยวกับเอไอ และเสริมว่า กรอบโครงนี้ออกแบบมาเพื่อปกป้องเทคโนโลยีเอไอขั้นสูงสุด และให้ความมั่นใจว่า เทคโนโลยีนี้จะไม่ตกอยู่ในมือศัตรูต่างชาติ แต่ขณะเดียวกันจะสามารถเผยแพร่และแบ่งปันประโยชน์กับประเทศที่เป็นหุ้นส่วนของอเมริกา . แม้คณะบริหารชุดนี้ออกมาตรการจำกัดการส่งออกกับศัตรู เช่น จีนและรัสเซียไปแล้ว แต่พวกเขาอ้างว่าบางมาตรการยังมีช่องโหว่ และกฎล่าสุดมุ่งจะตั้งข้อจำกัดกับประเทศต่างๆ ในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น . ด้าน เอ็ด มิลส์ นักวิเคราะห์ของ เรย์มอนด์ เจมส์ ชี้ว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ แสดงความกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับศูนย์ข้อมูลในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากบริษัทจีนใช้ศูนย์เหล่านั้นในการสร้างโมเดลเอไอด้วยเทคโนโลยีที่ตนเองไม่สามารถนำเข้าสู่จีนได้โดยตรง . อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่แล้ว สภาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของอเมริกาเตือนไรมอนโดว่า การเร่งรีบใช้กฎใหม่ของคณะบริหารเดโมแครต อาจกลายเป็นการบ่อนทำลายห่วงโซ่อุปทานโลก และทำให้บริษัทอเมริกันเป็นฝ่ายเสียเปรียบ . ต่อมาในวันจันทร์ สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของอเมริกา (เอสไอเอ) แสดงความเห็นว่า ผิดหวังที่มีการเร่งรัดผลักดันนโยบายก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่านคณะบริหาร . จอห์น นิวเฟอร์ ประธานและซีอีโอเอสไอเอ เตือนว่า กฎใหม่เสี่ยงทำให้เกิดความเสียหายยาวนานโดยไม่ตั้งใจกับเศรษฐกิจและขีดความสามารถแข่งขันระดับโลกของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์และเอไอของอเมริกา เนื่องจากการทำเช่นนี้มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการยกตลาดสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ให้แก่พวกคู่แข่ง . เอ็นวิเดีย บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ โพสต์บนบล็อก สำทับว่า แม้มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านจีน แต่มาตรการนี้ไม่ได้ช่วยส่งเสริมความมั่นคงของอเมริกาแต่อย่างใด . กฎใหม่นี้เนื้อหาสำคัญคือยกระดับการควบคุมการส่งออกชิป ด้วยการกำหนดให้ต้องมีการขออนุญาตสำหรับการส่งออก รวมทั้งการส่งออกต่อ และการถ่ายโอนภายในประเทศ ขณะที่ศูนย์ข้อมูลเอไอต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมมากขึ้นหากต้องการนำเข้าชิป รวมทั้งมีการเพิ่มความเข้มงวดในการแชร์โมเดลเอไอล้ำสมัย . กฎใหม่เหล่านี้มีข้อยกเว้นหลายอย่างสำหรับพันธมิตรและหุ้นส่วนสำคัญราว 20 ชาติ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอังกฤษ . อย่างไรก็ดี การตั้งข้อจำกัดกับบางประเทศในสหภาพยุโรป ทำให้เจ้าหน้าที่บรัสเซลส์ออกมาคัดค้านโดยระบุว่า การขายชิปเอไอขั้นสูงให้สมาชิกอียูถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับอเมริกา ไม่ใช่ความเสี่ยงด้านความมั่นคง . ทางด้านกระทรวงพาณิชย์จีนโจมตีนโยบายใหม่ของไบเดนว่า ละเมิดกฎการค้าระหว่างประเทศ พร้อมประกาศปกป้องผลประโยชน์ของชาติเต็มที่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004280 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    5
    0 Comments 0 Shares 1099 Views 0 Reviews
  • อิตาลีจะมีการควบคุมข้อมูลอย่างเต็มที่ภายใต้ข้อตกลงที่อาจเกิดขึ้นกับ Starlink ของ Elon Musk สำหรับการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ปลอดภัย ตัวแทนของบริษัทอวกาศของ Musk ในอิตาลีกล่าวว่า โรมกำลังพิจารณาใช้ระบบโทรคมนาคมของ Musk เพื่อให้การสื่อสารที่เข้ารหัสระหว่างรัฐบาล นักการทูตอิตาลี และเจ้าหน้าที่กลาโหมที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยง

    โครงการนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากพรรคฝ่ายค้านที่ตั้งคำถามว่าการจัดการการสื่อสารดังกล่าวควรจะมอบหมายให้กับบริษัทที่เป็นเจ้าของโดยมหาเศรษฐีเทคโนโลยีสหรัฐหรือไม่ Starlink ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจอวกาศ SpaceX ของ Musk มีดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ 6,700 ดวงในวงโคจรต่ำของโลก และเป็นกำลังสำคัญในภาคส่วนนี้ อิตาลีกำลังพิจารณาข้อตกลงระยะเวลา 5 ปี มูลค่ารวม 1.5 พันล้านยูโร (ประมาณ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อใช้งานของกิจการภายในของรัฐบาล

    Andrea Stroppa ที่ปรึกษาของ Elon Musk กล่าวกับสถานีโทรทัศน์แห่งชาติอิตาลี RAI ว่า "ข้อมูลจะยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเต็มที่ของสถาบันอิตาลี ซึ่งจะสามารถใช้เทคโนโลยีของสหรัฐได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ปกป้องผลประโยชน์ของชาติ" นายกรัฐมนตรี Giorgia Meloni ของอิตาลี ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายค้านเกี่ยวกับการเจรจาเนื่องจากความสัมพันธ์ที่ดีกับ Musk ได้ปฏิเสธข้อกังวลที่ว่าความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการประเมินโครงการ

    การควบคุมข้อมูลอย่างเต็มที่ของอิตาลีในข้อตกลงนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ช่วยให้รัฐบาลสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของสหรัฐได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล ข้อตกลงนี้ยังเป็นการตอบสนองต่อความต้องการในการสื่อสารที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง

    ในความคิดลุงคือ เพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ อิตาลีไม่ควรจะใช้หรือพึ่งพิงดาวเทียมของอเมริกากับ กิจการภายในและภายนอกของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นความลับ ไม่ว่าจะเกิดการสอดส่อง copy ข้อมูลโดยคำสั่งของอเมีริกาเอง หรือ อเมริกาสั่งให้ตัดการสื่อสาร จะทำให้หน่วยงานความมั่นคงของอิตาลีทำงา่นไม่ได้เต็ม 100%

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/01/10/italy-will-fully-control-data-in-any-starlink-deal-musk-adviser-says
    อิตาลีจะมีการควบคุมข้อมูลอย่างเต็มที่ภายใต้ข้อตกลงที่อาจเกิดขึ้นกับ Starlink ของ Elon Musk สำหรับการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ปลอดภัย ตัวแทนของบริษัทอวกาศของ Musk ในอิตาลีกล่าวว่า โรมกำลังพิจารณาใช้ระบบโทรคมนาคมของ Musk เพื่อให้การสื่อสารที่เข้ารหัสระหว่างรัฐบาล นักการทูตอิตาลี และเจ้าหน้าที่กลาโหมที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยง โครงการนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากพรรคฝ่ายค้านที่ตั้งคำถามว่าการจัดการการสื่อสารดังกล่าวควรจะมอบหมายให้กับบริษัทที่เป็นเจ้าของโดยมหาเศรษฐีเทคโนโลยีสหรัฐหรือไม่ Starlink ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจอวกาศ SpaceX ของ Musk มีดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ 6,700 ดวงในวงโคจรต่ำของโลก และเป็นกำลังสำคัญในภาคส่วนนี้ อิตาลีกำลังพิจารณาข้อตกลงระยะเวลา 5 ปี มูลค่ารวม 1.5 พันล้านยูโร (ประมาณ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อใช้งานของกิจการภายในของรัฐบาล Andrea Stroppa ที่ปรึกษาของ Elon Musk กล่าวกับสถานีโทรทัศน์แห่งชาติอิตาลี RAI ว่า "ข้อมูลจะยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเต็มที่ของสถาบันอิตาลี ซึ่งจะสามารถใช้เทคโนโลยีของสหรัฐได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ปกป้องผลประโยชน์ของชาติ" นายกรัฐมนตรี Giorgia Meloni ของอิตาลี ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายค้านเกี่ยวกับการเจรจาเนื่องจากความสัมพันธ์ที่ดีกับ Musk ได้ปฏิเสธข้อกังวลที่ว่าความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการประเมินโครงการ การควบคุมข้อมูลอย่างเต็มที่ของอิตาลีในข้อตกลงนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ช่วยให้รัฐบาลสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของสหรัฐได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล ข้อตกลงนี้ยังเป็นการตอบสนองต่อความต้องการในการสื่อสารที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง ในความคิดลุงคือ เพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ อิตาลีไม่ควรจะใช้หรือพึ่งพิงดาวเทียมของอเมริกากับ กิจการภายในและภายนอกของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นความลับ ไม่ว่าจะเกิดการสอดส่อง copy ข้อมูลโดยคำสั่งของอเมีริกาเอง หรือ อเมริกาสั่งให้ตัดการสื่อสาร จะทำให้หน่วยงานความมั่นคงของอิตาลีทำงา่นไม่ได้เต็ม 100% https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/01/10/italy-will-fully-control-data-in-any-starlink-deal-musk-adviser-says
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Italy will fully control data in any Starlink deal, Musk adviser says
    MILAN (Reuters) - Italy would have full control of its data under any potential deal struck with Elon Musk's Starlink for secure satellite communications, an Italian representative for the billionaire's aerospace businesses said.
    0 Comments 0 Shares 169 Views 0 Reviews
  • ## เปิดหนังสือทวงถามนายกรัฐมนตรีครบ 15 วันหลังได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้เพิกถอน MOU2544 และ JC2544 ##
    ..
    ..
    ด่วนที่สุด!
    ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗
    วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗

    เรื่อง ​ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย
    กราบเรียน​ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
    อ้างถึง
    (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
    (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙

    ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป

    ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว
    บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้
    ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน
    ดังนั้นการแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓)
    ดังนั้นข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙
    และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป
    จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

    ขอแสดงความนับถือ
    นายสนธิ ลิ้มทองกุล
    นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    ## เปิดหนังสือทวงถามนายกรัฐมนตรีครบ 15 วันหลังได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้เพิกถอน MOU2544 และ JC2544 ## .. .. ด่วนที่สุด! ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ เรื่อง ​ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย กราบเรียน​ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อ้างถึง (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙ ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้ ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน ดังนั้นการแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓) ดังนั้นข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    0 Comments 0 Shares 294 Views 0 Reviews
  • ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ##
    ..
    ..
    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้
    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้
    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม
    .
    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ
    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ
    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ
    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย
    .
    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก
    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    .
    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล
    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว
    .
    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย
    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน
    .
    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้
    .
    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
    .
    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน
    .
    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที
    .
    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
    .
    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง
    .
    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป
    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้
    .
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ## .. .. เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม . ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย . ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 . ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว . ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน . จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ . 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 . 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน . 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที . 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป . 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง . 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ . https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 Comments 0 Shares 452 Views 0 Reviews
  • “สนธิ” ยื่นหนังสือทวงถามนายกฯ ปมยกเลิก MOU2544 และ JC2544 หลังยื่นข้อเรียกร้องครบ 15 วันแล้วยังนิ่งเฉย เสี่ยงทำให้ประเทศเสียอธิปไตยทางทะเล ผิดรัฐธรรมนูญ เตรียมดำเนินการทางกฎหมายตามที่เห็นสมควรต่อไป
    .
    วันนี้(24 ธ.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะได้เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีให้เพิกถอน MOU 2544 และ JC 2544 ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ (กพร. ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล) วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2567 ร่วมลงนามตั้งแต่ 9.00 น. และยื่นหนังสือเวลา 10.00 น. หลังเคยยื่นหนังสือเรียกร้องเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 และครบกำหนด 15 วัน จึงมาทวงถามในวันนี้
    .
    รายละเอียดหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี
    .
    ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗
    วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗
    เรื่อง ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย
    .
    กราบเรียนฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
    อ้างถึง (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
    (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙
    .
    ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว
    .
    บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน ดังนั้น การแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓) ดังนั้น ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป
    .
    จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
    ขอแสดงความนับถือ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000123204
    ..............
    Sondhi X
    “สนธิ” ยื่นหนังสือทวงถามนายกฯ ปมยกเลิก MOU2544 และ JC2544 หลังยื่นข้อเรียกร้องครบ 15 วันแล้วยังนิ่งเฉย เสี่ยงทำให้ประเทศเสียอธิปไตยทางทะเล ผิดรัฐธรรมนูญ เตรียมดำเนินการทางกฎหมายตามที่เห็นสมควรต่อไป . วันนี้(24 ธ.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะได้เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีให้เพิกถอน MOU 2544 และ JC 2544 ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ (กพร. ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล) วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2567 ร่วมลงนามตั้งแต่ 9.00 น. และยื่นหนังสือเวลา 10.00 น. หลังเคยยื่นหนังสือเรียกร้องเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 และครบกำหนด 15 วัน จึงมาทวงถามในวันนี้ . รายละเอียดหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี . ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ เรื่อง ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย . กราบเรียนฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อ้างถึง (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙ . ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว . บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน ดังนั้น การแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓) ดังนั้น ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป . จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000123204 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    14
    1 Comments 0 Shares 791 Views 0 Reviews
  • เปิดหนังสือทวงถามนายกรัฐมนตรีครบ 15 วันหลังได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้เพิกถอน MOU2544 และ JC2544

    ด่วนท่ีสุด!

    ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗

    วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗

    เรื่อง ​ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย

    กราบเรียน​ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

    อ้างถึง (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
    (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙

    ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป

    ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว
    บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้
    ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน

    ดังนั้นการแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓)

    ดังนั้นข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙
    และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป

    จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
    ขอแสดงความนับถือ
    นายสนธิ ลิ้มทองกุล
    นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    เปิดหนังสือทวงถามนายกรัฐมนตรีครบ 15 วันหลังได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้เพิกถอน MOU2544 และ JC2544 ด่วนท่ีสุด! ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ เรื่อง ​ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย กราบเรียน​ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อ้างถึง (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙ ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้ ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน ดังนั้นการแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓) ดังนั้นข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    Like
    Love
    Wow
    5
    0 Comments 0 Shares 292 Views 1 Reviews
  • ผมไม่แน่ใจว่า “นายกรัฐมนตรี อ.อ.” เคยรู้เห็นเรื่องเกี่ยวกับ พรบ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ปี ๒๕๖๒ หรือไม่

    หรือเธอถูกปิดบังไม่ให้รู้เรื่องนี้

    หรือเคยศึกษาเรื่อง “กฎหมายทะเลหรือไม่?” ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบเรื่อง “ผลประโยชน์ของชาติทั้งมวล โดยเฉพาะผลประโยชน์ทางทะเล”

    เอาละ “เรื่องมาตราส่วนแผ่นที่ระหว่างแผนที่ทางบกกับแผ่นที่ทางทะเลต่างกัน มาตรฐานการใช้มาตราส่วนต่างกัน แผนที่ทะเลมีมาตรฐานเดียวทั้งโลก แต่มาตราส่วนขึ้นอยู่กับขนาดของแผ่นที่ที่ใช้ว่าต้องการละเอียดมากน้อยอย่างไร ซึ่งมีมาแต่โบราณแต่มาตราส่วนแผ่นที่ทางบกนั้นแต่งต่างกันตามยุค ตามเวลา ที่มีการทำขึ้นเพื่อใช้ในข้อตกลง

    แต่แผ่นที่ทะเลมีการกำหนดพิกัดตำบลสมมติบนผิวทะเลตามเส้นรุ้ง เส้นแวงที่มีฐานจากการวัดตำแหน่งของดวงดาวตามที่ Sextant เครื่องวัดมุมตามตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ ที่กระทำต่อพื้นผิวทะเล

    ทำให้วิธี “คำนวณลากเส้นมัธยฐานเลขาคณิตสมุทรศาสตร์เป็นสากล”

    ดังนั้นการกำหนดเส้นมัธยฐานทางทะเลเพื่อแบ่งเขตทะเลจึงพิสูจน์ได้ง่ายเป็นสากลตาม กฎหมายทะเล ที่สหประชาชาติประกาศใช้

    พรบ.ประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของไทย พ.ศ.๒๕๑๖ (ค.ศ.๑๙๗๓) ก็เป็นไปตาม “หลักกฎหมายทะเลของสหประชาชาติว่าด้วยการกำหนดเขตไหล่ทวีป แต่เขตไหล่ทวีปไม่ละเอียดพอ ทำให้สหประชาชาติจึงออกกฎหมายทะเล ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๘๒ (พ.ศ.๒๕๑๕) เพื่อ “ขยายความไหล่ทวีปที่มีขนาดไม่เท่ากันในพื้นที่ทะเลต่างๆ และแก้ไขด้วยการกำหนดเป็นระยะทาง ๒๐๐ ไมล์ทะเล” แต่ก็ยังใช้หลักการทางนิตินัยเดิมเป็นหลัก

    It was not until 1982 with the UN Convention on the Law of the Sea (UNCLOS) that the 200 nautical mile exclusive economic zone was formally adopted.

    ตัวแปรหลักๆ เรื่อง “พื้นที่ไหล่ทวีป (ก่อน พ.ศ.๒๕ค๑๕) เปลี่ยนเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเล” แต่พื้นฐานการลากเส้นกำหนดเขตทะเลเป็นไปตาม “กฎหมายทะเล” ก่อนหน้านี้ คือ ๑. แนวเส้นชายฝั่งทะเลของไทยและวัดออกไป ๒๐๐ ไมล์ทะเลจากแนวเขตทะเลต่อเนื่องที่น้ำลงต่ำสุด โดยลากตามหลักกฎหมายทะเล ๒๕๑๕ (ค.ศ.๑๙๘๒) ๒. เกาะกูดเป็นของไทยตามสนธิสัญญาสยาม/ฝรั่งเศส และเกาะกูดตามกฎหมายทะเลนั้นมีทะเลอาณาเขตของมันเอง แม้ติดกับชาบฝั่งทะเลของกัมพูชาก็ตามก็มีกฎหมายกำหนดวิธีกำหนดเขตชายฝั่งของเกาะกูด

    ดังนั้นเรื่อง “พื้นที่ไหล่ทวีปหรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเลไม่มีการทับซ้อนกัน” อย่างแน่นอน (ศึกษาเพิ่มเติมจาก IILSS - International Institue for Law of the Sea Studies ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษากฎหมายทะเลอิสระ)

    ไม่ทราบว่านายกรัฐมนตรี อ.อ.รู้เรื่องหรือเปล่า (เห็นท่าทางจะใช้ IPad ได้คล่องแคล่ว).

    :Vachara Riddhagni
    ผมไม่แน่ใจว่า “นายกรัฐมนตรี อ.อ.” เคยรู้เห็นเรื่องเกี่ยวกับ พรบ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ปี ๒๕๖๒ หรือไม่ หรือเธอถูกปิดบังไม่ให้รู้เรื่องนี้ หรือเคยศึกษาเรื่อง “กฎหมายทะเลหรือไม่?” ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบเรื่อง “ผลประโยชน์ของชาติทั้งมวล โดยเฉพาะผลประโยชน์ทางทะเล” เอาละ “เรื่องมาตราส่วนแผ่นที่ระหว่างแผนที่ทางบกกับแผ่นที่ทางทะเลต่างกัน มาตรฐานการใช้มาตราส่วนต่างกัน แผนที่ทะเลมีมาตรฐานเดียวทั้งโลก แต่มาตราส่วนขึ้นอยู่กับขนาดของแผ่นที่ที่ใช้ว่าต้องการละเอียดมากน้อยอย่างไร ซึ่งมีมาแต่โบราณแต่มาตราส่วนแผ่นที่ทางบกนั้นแต่งต่างกันตามยุค ตามเวลา ที่มีการทำขึ้นเพื่อใช้ในข้อตกลง แต่แผ่นที่ทะเลมีการกำหนดพิกัดตำบลสมมติบนผิวทะเลตามเส้นรุ้ง เส้นแวงที่มีฐานจากการวัดตำแหน่งของดวงดาวตามที่ Sextant เครื่องวัดมุมตามตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ ที่กระทำต่อพื้นผิวทะเล ทำให้วิธี “คำนวณลากเส้นมัธยฐานเลขาคณิตสมุทรศาสตร์เป็นสากล” ดังนั้นการกำหนดเส้นมัธยฐานทางทะเลเพื่อแบ่งเขตทะเลจึงพิสูจน์ได้ง่ายเป็นสากลตาม กฎหมายทะเล ที่สหประชาชาติประกาศใช้ พรบ.ประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของไทย พ.ศ.๒๕๑๖ (ค.ศ.๑๙๗๓) ก็เป็นไปตาม “หลักกฎหมายทะเลของสหประชาชาติว่าด้วยการกำหนดเขตไหล่ทวีป แต่เขตไหล่ทวีปไม่ละเอียดพอ ทำให้สหประชาชาติจึงออกกฎหมายทะเล ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๘๒ (พ.ศ.๒๕๑๕) เพื่อ “ขยายความไหล่ทวีปที่มีขนาดไม่เท่ากันในพื้นที่ทะเลต่างๆ และแก้ไขด้วยการกำหนดเป็นระยะทาง ๒๐๐ ไมล์ทะเล” แต่ก็ยังใช้หลักการทางนิตินัยเดิมเป็นหลัก It was not until 1982 with the UN Convention on the Law of the Sea (UNCLOS) that the 200 nautical mile exclusive economic zone was formally adopted. ตัวแปรหลักๆ เรื่อง “พื้นที่ไหล่ทวีป (ก่อน พ.ศ.๒๕ค๑๕) เปลี่ยนเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเล” แต่พื้นฐานการลากเส้นกำหนดเขตทะเลเป็นไปตาม “กฎหมายทะเล” ก่อนหน้านี้ คือ ๑. แนวเส้นชายฝั่งทะเลของไทยและวัดออกไป ๒๐๐ ไมล์ทะเลจากแนวเขตทะเลต่อเนื่องที่น้ำลงต่ำสุด โดยลากตามหลักกฎหมายทะเล ๒๕๑๕ (ค.ศ.๑๙๘๒) ๒. เกาะกูดเป็นของไทยตามสนธิสัญญาสยาม/ฝรั่งเศส และเกาะกูดตามกฎหมายทะเลนั้นมีทะเลอาณาเขตของมันเอง แม้ติดกับชาบฝั่งทะเลของกัมพูชาก็ตามก็มีกฎหมายกำหนดวิธีกำหนดเขตชายฝั่งของเกาะกูด ดังนั้นเรื่อง “พื้นที่ไหล่ทวีปหรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเลไม่มีการทับซ้อนกัน” อย่างแน่นอน (ศึกษาเพิ่มเติมจาก IILSS - International Institue for Law of the Sea Studies ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษากฎหมายทะเลอิสระ) ไม่ทราบว่านายกรัฐมนตรี อ.อ.รู้เรื่องหรือเปล่า (เห็นท่าทางจะใช้ IPad ได้คล่องแคล่ว). :Vachara Riddhagni
    0 Comments 0 Shares 280 Views 0 Reviews
  • สื่ออังกฤษป้ายสีนักธุรกิจจีนว่าเป็นสายลับ บิดคำพิพากษาของศาล กรณีของเจ้าชายแอนดรูว์และ “สายลับจีน” โดยบทวิเคราะห์ของArnaud Bertrand เขียนในXระบุว่า การดำเนินการของสื่อของอังกฤษ ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่น่าหวาดระแวงเกี่ยวกับ “ภัยสีเหลือง” ที่สุดที่เคยพบเห็นเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว จะพบว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่น่าเชื่ออย่างยิ่ง ในทางปฏิบัติแล้ว หมายความว่าชาวจีนทุกคน - ไม่จำเป็นต้องเป็นคนจีนด้วยซ้ำ อาจเป็นใครก็ได้ที่มีความเชื่อมโยงกับจีน - จะถูกแบนจากสหราชอาณาจักรอย่างถาวร หากพวกเขามีความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญในสหราชอาณาจักรก่อนอื่น มาดูกันว่าสื่อมีแนวคิดเกี่ยวกับกรณีนี้อย่างไร พาดหัวข่าวระบุว่า “สายลับจีนเชื่อมโยงกับเจ้าชายแอนดรูว์ ส.ส. เตือนว่าเขาไม่ใช่หมาป่าเดียวดาย” (The Independent: independent.co.uk/news/uk/politi… ) “เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับสายลับกับเจ้าชายแอนดรูว์อาจทำให้มีการเปิดโปงภัยคุกคามจากจีนมากขึ้น”(The Guardian: theguardian.com/world/2024/dec… ) "'สายลับ' ชาวจีนที่เชื่อมโยงกับเจ้าชายแอนดรูว์เป็นเพียง 'ส่วนเล็กๆ ของภูเขาน้ำแข็ง' เท่านั้น" (Politico: politico.eu/article/china-… )สื่อหลักทุกสำนักข่าวของอังกฤษที่รายงานเกี่ยวกับเรื่อง "สายลับจีน" ต่างพากันวาดภาพอันชั่วร้ายของการแทรกซึมเข้าสู่ระดับสูงสุดของสังคมอังกฤษ โดยถือเป็น "หลักฐาน" ของ "ภัยคุกคามอันเลวร้ายจากจีน"ทั้งหมดนี้ไม่เป็นความความจริและเหลือเชื่อ เมื่อคุณพิจารณาความเป็นจริงของคดี (อ่านคำพิพากษาของศาลได้ที่นี่: judiciary.uk/judgments/h6-v… ) ข้อกล่าวหาเหล่านี้ไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง ไม่มีหลักฐานใดๆ ของการจารกรรม ไม่มีหลักฐานของการกระทำผิดใดๆ เลย จริงๆ แล้วไม่มีข้อกล่าวหาใดๆ เลยเกี่ยวกับการกระทำผิดที่เกิดขึ้น ไม่มีเลย ไม่มีเลย ไม่มีเลยแต่ในความเป็นจริงแล้วคดีของรัฐบาลประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้:- นายหยางมีความเชื่อมโยงกับสถาบันของจีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนกงานแนวร่วมและพรรคคอมมิวนิสต์) ซึ่งศาลเองก็ยอมรับว่า "อาจใช้ได้กับนักธุรกิจชาวจีนทุกคน"- เขาถูกกล่าวหาว่าไม่ได้พูดออกมาอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความเชื่อมโยงเหล่านี้และป้ายสีว่าเขาโกหกเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยซ้ำ - ทั้ๆที่เขายอมรับว่าความเชื่อมโยงดังกล่าวเป็นสิ่งที่ "หลีกเลี่ยงไม่ได้" สำหรับนักธุรกิจจีน (ซึ่งเป็นเพียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการดำเนินธุรกิจในจีน)แม้ว่าศาลจะยอมรับในคำพิพากษาว่า "ไม่มีหลักฐานมากมาย" ที่สนับสนุนความเชื่อมโยงเหล่านี้ในตอนแรก- เขาสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญของอังกฤษ (โดยเฉพาะเจ้าชายแอนดรูว์) ผ่านทางโครงการธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น Pitch@Palace ซึ่งรัฐบาลอังกฤษโต้แย้งว่า "สามารถนำมาใช้ประโยชน์" เพื่อสร้างอิทธิพลในบางจุดในอนาคตได้ แม้ว่าศาลจะเขียนว่า "อาจเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจปกติ" ก็ตามนั่นแหละ นั่นคือกรณีทั้งหมดจริงๆสามารถตรวจสอบด้วยตัวเองได้ถ้าคุณไม่เชื่อฉัน: judiciary.uk/judgments/h6-v… นั่นคือกรณีทั้งหมดจริงๆไม่มีหลักฐานหรือข้อกล่าวหา (!), เกี่ยวกับการจารกรรมในคดีที่สื่อทั้งหมดนำเสนอว่าเป็น "สายลับจีน" ความผิดของนายหยางคือการเป็นนักธุรกิจชาวจีนที่มีความเชื่อมโยงกับสถาบันของจีน ซึ่งศาลเองก็ยอมรับว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเขาประสบความสำเร็จในการสร้างความสัมพันธ์กับชนชั้นนำอังกฤษผ่านการร่วมทุนทางธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเพียงแค่ความจริงที่ว่าความสัมพันธ์เหล่านี้สามารถ "ใช้ประโยชน์" เพื่อสร้างอิทธิพลในบางจุดในอนาคต  แค่นี้ก็เพียงพอที่จะทำให้เขาถูกแบนจากสหราชอาณาจักรอย่างถาวร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าเขาตั้งใจจะทำเช่นนั้นหรือทำอะไรที่ไม่เหมาะสมก็ตามและนี่คือจุดที่ทุกอย่างกลายเป็นโลกดิสโทเปียอย่างแท้จริง นายหยางถูกห้ามเข้าสหราชอาณาจักรอย่างถาวรโดยไม่ได้อ้างกฎหมายหรือหลักฐานการกระทำผิดใดๆ แต่อยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์โบราณที่เรียกว่า "พระราชอำนาจพิเศษ" รัฐบาลไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยซ้ำว่าเขาทำอะไรผิด พวกเขาเพียงแค่ต้องโต้แย้งว่าเป็นเรื่อง "สมเหตุสมผล" ที่จะคิดว่าความสัมพันธ์ทางธุรกิจของเขาสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างอิทธิพลในสักวันหนึ่งลองคิดดูว่าสิ่งนี้มีความหมายอย่างไรในทางปฏิบัติ นักธุรกิจชาวจีนที่:- พัฒนาความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญในสหราชอาณาจักร (ซึ่งมักจำเป็นต่อการทำธุรกิจ)- มีความสัมพันธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับสถาบันของจีน (ซึ่งมักจะเป็นเช่นนี้เกือบเสมอ)- ถือเป็นการไม่แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงเหล่านี้อาจถูกแบนจากสหราชอาณาจักรอย่างถาวรโดยไม่ต้องก่ออาชญากรรมหรือกระทำผิดใดๆ รัฐบาลเพียงแค่ต้องโบกไม้กายสิทธิ์แห่ง "ความมั่นคงแห่งชาติ" และเสนอแนะความเสี่ยงในอนาคตตามทฤษฎีสิ่งที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือสื่อตะวันตกล้มเหลวในการตรวจสอบเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง แทนที่จะตั้งคำถามว่าทำไมคนๆ หนึ่งจึงถูกตราหน้าว่าเป็น "สายลับ" และถูกห้ามเข้าประเทศเพียงเพราะไม่มีหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับการจารกรรม พวกเขากลับขยายความหวาดระแวงด้วยพาดหัวข่าวที่สร้างความตื่นตระหนกและอ้างคำพูดของสมาชิกรัฐสภาที่เตือนว่านี่เป็นเพียง "ส่วนเล็กๆ ของเรื่องใหญ่" และเขา "ไม่ใช่หมาป่าเดียวดาย"โดยพื้นฐานแล้ว เรากำลังเฝ้าดูการสร้างกรอบกฎหมายสำหรับการเลือกปฏิบัติต่อพลเมืองจีน (และอาจรวมถึงผู้ที่มีความเชื่อมโยงกับจีนด้วย) โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่พวกเขาทำ แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่รัฐบาลคิดว่าพวกเขาอาจทำในอนาคตโดยอาศัยพื้นฐานง่ายๆ ว่าพวกเขาเป็นชาวจีน ในขณะที่สื่อมวลชนก็เชียร์การกัดกร่อนหลักการทางกฎหมายและศีลธรรมพื้นฐานนี้ด้วยวาทกรรม "สายลับ" ที่ยั่วยุและไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานของคาฟคาทั้งสิ้นลองนึกภาพดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากจีนเริ่มสั่งห้ามนักธุรกิจชาวอังกฤษเข้าประเทศอย่างถาวร เนื่องจากพวกเขามีความสัมพันธ์กับสถาบันของอังกฤษ และพัฒนาความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่จีนที่ "สามารถใช้ประโยชน์" เพื่อสร้างอิทธิพลได้ ซึ่งหมายถึงนักธุรกิจชาวอังกฤษเกือบทั้งหมดในจีนที่มีอาวุโสในระดับหนึ่ง ดังนั้น เราจะต้องเผชิญหน้ากับการเนรเทศชุมชนธุรกิจชาวอังกฤษออกจากจีนเกือบทั้งหมด...แม้แต่จากมุมมองของผลประโยชน์ของชาติอังกฤษแล้ว ก็ไม่สมเหตุสมผลเลย พวกเขาควรต้องการให้นักธุรกิจชาวจีนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีมาทำธุรกิจที่นั่น เพราะความสัมพันธ์เหล่านี้มีความสำคัญต่อธุรกิจ หากพวกเขากังวลว่าความสัมพันธ์เหล่านี้อาจถูกนำมาใช้เพื่อมีอิทธิพลที่ไม่เหมาะสม การตอบสนองของพวกเขาควรเสริมสร้างมาตรการต่อต้านการทุจริตในประเทศ ไม่ใช่ห้ามนักธุรกิจชาวจีนสร้างความสัมพันธ์ที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ แนวทางนี้ไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ของอังกฤษ แต่กลับสร้างความเสียหายให้กับพวกเขาโดยสร้างผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศคดีของหยาง เติงโป ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่น่าเศร้าอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ชาติตะวันตกต้องคลี่คลายสิ่งที่ชาติตะวันตกอ้างว่าเป็น "ค่านิยมพื้นฐาน" ของตน เมื่อเราเริ่มลงโทษผู้คนไม่ใช่เพราะสิ่งที่พวกเขาทำ แต่เพราะสิ่งที่พวกเขาอาจทำในทางทฤษฎีเพราะสัญชาติของพวกเขา เรากำลังก้าวข้ามเส้นที่ควรทำให้ผู้ที่เชื่อในหลักนิติธรรมและความยุติธรรมขั้นพื้นฐานวิตกกังวล สิ่งนี้ไม่ได้ทำให้เราปลอดภัยและเจริญรุ่งเรืองขึ้น แต่ทำให้เรามีความยุติธรรมน้อยลงเท่านั้น หากสิ่งนี้ไม่ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับทิศทางที่เรากำลังมุ่งหน้าไป ฉันก็ไม่รู้ว่าอะไรจะทำให้เกิดขึ้นได้
    สื่ออังกฤษป้ายสีนักธุรกิจจีนว่าเป็นสายลับ บิดคำพิพากษาของศาล กรณีของเจ้าชายแอนดรูว์และ “สายลับจีน” โดยบทวิเคราะห์ของArnaud Bertrand เขียนในXระบุว่า การดำเนินการของสื่อของอังกฤษ ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่น่าหวาดระแวงเกี่ยวกับ “ภัยสีเหลือง” ที่สุดที่เคยพบเห็นเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว จะพบว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่น่าเชื่ออย่างยิ่ง ในทางปฏิบัติแล้ว หมายความว่าชาวจีนทุกคน - ไม่จำเป็นต้องเป็นคนจีนด้วยซ้ำ อาจเป็นใครก็ได้ที่มีความเชื่อมโยงกับจีน - จะถูกแบนจากสหราชอาณาจักรอย่างถาวร หากพวกเขามีความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญในสหราชอาณาจักรก่อนอื่น มาดูกันว่าสื่อมีแนวคิดเกี่ยวกับกรณีนี้อย่างไร พาดหัวข่าวระบุว่า “สายลับจีนเชื่อมโยงกับเจ้าชายแอนดรูว์ ส.ส. เตือนว่าเขาไม่ใช่หมาป่าเดียวดาย” (The Independent: independent.co.uk/news/uk/politi… ) “เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับสายลับกับเจ้าชายแอนดรูว์อาจทำให้มีการเปิดโปงภัยคุกคามจากจีนมากขึ้น”(The Guardian: theguardian.com/world/2024/dec… ) "'สายลับ' ชาวจีนที่เชื่อมโยงกับเจ้าชายแอนดรูว์เป็นเพียง 'ส่วนเล็กๆ ของภูเขาน้ำแข็ง' เท่านั้น" (Politico: politico.eu/article/china-… )สื่อหลักทุกสำนักข่าวของอังกฤษที่รายงานเกี่ยวกับเรื่อง "สายลับจีน" ต่างพากันวาดภาพอันชั่วร้ายของการแทรกซึมเข้าสู่ระดับสูงสุดของสังคมอังกฤษ โดยถือเป็น "หลักฐาน" ของ "ภัยคุกคามอันเลวร้ายจากจีน"ทั้งหมดนี้ไม่เป็นความความจริและเหลือเชื่อ เมื่อคุณพิจารณาความเป็นจริงของคดี (อ่านคำพิพากษาของศาลได้ที่นี่: judiciary.uk/judgments/h6-v… ) ข้อกล่าวหาเหล่านี้ไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง ไม่มีหลักฐานใดๆ ของการจารกรรม ไม่มีหลักฐานของการกระทำผิดใดๆ เลย จริงๆ แล้วไม่มีข้อกล่าวหาใดๆ เลยเกี่ยวกับการกระทำผิดที่เกิดขึ้น ไม่มีเลย ไม่มีเลย ไม่มีเลยแต่ในความเป็นจริงแล้วคดีของรัฐบาลประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้:- นายหยางมีความเชื่อมโยงกับสถาบันของจีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนกงานแนวร่วมและพรรคคอมมิวนิสต์) ซึ่งศาลเองก็ยอมรับว่า "อาจใช้ได้กับนักธุรกิจชาวจีนทุกคน"- เขาถูกกล่าวหาว่าไม่ได้พูดออกมาอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความเชื่อมโยงเหล่านี้และป้ายสีว่าเขาโกหกเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยซ้ำ - ทั้ๆที่เขายอมรับว่าความเชื่อมโยงดังกล่าวเป็นสิ่งที่ "หลีกเลี่ยงไม่ได้" สำหรับนักธุรกิจจีน (ซึ่งเป็นเพียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการดำเนินธุรกิจในจีน)แม้ว่าศาลจะยอมรับในคำพิพากษาว่า "ไม่มีหลักฐานมากมาย" ที่สนับสนุนความเชื่อมโยงเหล่านี้ในตอนแรก- เขาสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญของอังกฤษ (โดยเฉพาะเจ้าชายแอนดรูว์) ผ่านทางโครงการธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น Pitch@Palace ซึ่งรัฐบาลอังกฤษโต้แย้งว่า "สามารถนำมาใช้ประโยชน์" เพื่อสร้างอิทธิพลในบางจุดในอนาคตได้ แม้ว่าศาลจะเขียนว่า "อาจเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจปกติ" ก็ตามนั่นแหละ นั่นคือกรณีทั้งหมดจริงๆสามารถตรวจสอบด้วยตัวเองได้ถ้าคุณไม่เชื่อฉัน: judiciary.uk/judgments/h6-v… นั่นคือกรณีทั้งหมดจริงๆไม่มีหลักฐานหรือข้อกล่าวหา (!), เกี่ยวกับการจารกรรมในคดีที่สื่อทั้งหมดนำเสนอว่าเป็น "สายลับจีน" ความผิดของนายหยางคือการเป็นนักธุรกิจชาวจีนที่มีความเชื่อมโยงกับสถาบันของจีน ซึ่งศาลเองก็ยอมรับว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเขาประสบความสำเร็จในการสร้างความสัมพันธ์กับชนชั้นนำอังกฤษผ่านการร่วมทุนทางธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเพียงแค่ความจริงที่ว่าความสัมพันธ์เหล่านี้สามารถ "ใช้ประโยชน์" เพื่อสร้างอิทธิพลในบางจุดในอนาคต  แค่นี้ก็เพียงพอที่จะทำให้เขาถูกแบนจากสหราชอาณาจักรอย่างถาวร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าเขาตั้งใจจะทำเช่นนั้นหรือทำอะไรที่ไม่เหมาะสมก็ตามและนี่คือจุดที่ทุกอย่างกลายเป็นโลกดิสโทเปียอย่างแท้จริง นายหยางถูกห้ามเข้าสหราชอาณาจักรอย่างถาวรโดยไม่ได้อ้างกฎหมายหรือหลักฐานการกระทำผิดใดๆ แต่อยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์โบราณที่เรียกว่า "พระราชอำนาจพิเศษ" รัฐบาลไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยซ้ำว่าเขาทำอะไรผิด พวกเขาเพียงแค่ต้องโต้แย้งว่าเป็นเรื่อง "สมเหตุสมผล" ที่จะคิดว่าความสัมพันธ์ทางธุรกิจของเขาสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างอิทธิพลในสักวันหนึ่งลองคิดดูว่าสิ่งนี้มีความหมายอย่างไรในทางปฏิบัติ นักธุรกิจชาวจีนที่:- พัฒนาความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญในสหราชอาณาจักร (ซึ่งมักจำเป็นต่อการทำธุรกิจ)- มีความสัมพันธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับสถาบันของจีน (ซึ่งมักจะเป็นเช่นนี้เกือบเสมอ)- ถือเป็นการไม่แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงเหล่านี้อาจถูกแบนจากสหราชอาณาจักรอย่างถาวรโดยไม่ต้องก่ออาชญากรรมหรือกระทำผิดใดๆ รัฐบาลเพียงแค่ต้องโบกไม้กายสิทธิ์แห่ง "ความมั่นคงแห่งชาติ" และเสนอแนะความเสี่ยงในอนาคตตามทฤษฎีสิ่งที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือสื่อตะวันตกล้มเหลวในการตรวจสอบเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง แทนที่จะตั้งคำถามว่าทำไมคนๆ หนึ่งจึงถูกตราหน้าว่าเป็น "สายลับ" และถูกห้ามเข้าประเทศเพียงเพราะไม่มีหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับการจารกรรม พวกเขากลับขยายความหวาดระแวงด้วยพาดหัวข่าวที่สร้างความตื่นตระหนกและอ้างคำพูดของสมาชิกรัฐสภาที่เตือนว่านี่เป็นเพียง "ส่วนเล็กๆ ของเรื่องใหญ่" และเขา "ไม่ใช่หมาป่าเดียวดาย"โดยพื้นฐานแล้ว เรากำลังเฝ้าดูการสร้างกรอบกฎหมายสำหรับการเลือกปฏิบัติต่อพลเมืองจีน (และอาจรวมถึงผู้ที่มีความเชื่อมโยงกับจีนด้วย) โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่พวกเขาทำ แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่รัฐบาลคิดว่าพวกเขาอาจทำในอนาคตโดยอาศัยพื้นฐานง่ายๆ ว่าพวกเขาเป็นชาวจีน ในขณะที่สื่อมวลชนก็เชียร์การกัดกร่อนหลักการทางกฎหมายและศีลธรรมพื้นฐานนี้ด้วยวาทกรรม "สายลับ" ที่ยั่วยุและไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานของคาฟคาทั้งสิ้นลองนึกภาพดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากจีนเริ่มสั่งห้ามนักธุรกิจชาวอังกฤษเข้าประเทศอย่างถาวร เนื่องจากพวกเขามีความสัมพันธ์กับสถาบันของอังกฤษ และพัฒนาความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่จีนที่ "สามารถใช้ประโยชน์" เพื่อสร้างอิทธิพลได้ ซึ่งหมายถึงนักธุรกิจชาวอังกฤษเกือบทั้งหมดในจีนที่มีอาวุโสในระดับหนึ่ง ดังนั้น เราจะต้องเผชิญหน้ากับการเนรเทศชุมชนธุรกิจชาวอังกฤษออกจากจีนเกือบทั้งหมด...แม้แต่จากมุมมองของผลประโยชน์ของชาติอังกฤษแล้ว ก็ไม่สมเหตุสมผลเลย พวกเขาควรต้องการให้นักธุรกิจชาวจีนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีมาทำธุรกิจที่นั่น เพราะความสัมพันธ์เหล่านี้มีความสำคัญต่อธุรกิจ หากพวกเขากังวลว่าความสัมพันธ์เหล่านี้อาจถูกนำมาใช้เพื่อมีอิทธิพลที่ไม่เหมาะสม การตอบสนองของพวกเขาควรเสริมสร้างมาตรการต่อต้านการทุจริตในประเทศ ไม่ใช่ห้ามนักธุรกิจชาวจีนสร้างความสัมพันธ์ที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ แนวทางนี้ไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ของอังกฤษ แต่กลับสร้างความเสียหายให้กับพวกเขาโดยสร้างผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศคดีของหยาง เติงโป ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่น่าเศร้าอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ชาติตะวันตกต้องคลี่คลายสิ่งที่ชาติตะวันตกอ้างว่าเป็น "ค่านิยมพื้นฐาน" ของตน เมื่อเราเริ่มลงโทษผู้คนไม่ใช่เพราะสิ่งที่พวกเขาทำ แต่เพราะสิ่งที่พวกเขาอาจทำในทางทฤษฎีเพราะสัญชาติของพวกเขา เรากำลังก้าวข้ามเส้นที่ควรทำให้ผู้ที่เชื่อในหลักนิติธรรมและความยุติธรรมขั้นพื้นฐานวิตกกังวล สิ่งนี้ไม่ได้ทำให้เราปลอดภัยและเจริญรุ่งเรืองขึ้น แต่ทำให้เรามีความยุติธรรมน้อยลงเท่านั้น หากสิ่งนี้ไม่ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับทิศทางที่เรากำลังมุ่งหน้าไป ฉันก็ไม่รู้ว่าอะไรจะทำให้เกิดขึ้นได้
    0 Comments 0 Shares 492 Views 0 Reviews
  • สำนักข่าวกัมพูชาหลายแห่งรายงานว่า นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทชายแดนเกาะกูดกับไทย โดยระบุอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาจะไม่ประนีประนอมบูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักร
    .
    ผู้นำเขมรได้แสดงความคิดเห็นดังกล่าวตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย. โดยระบุว่าการเจรจาประเด็นเรื่องชายแดนต้องใช้เวลาและการเตรียมการอย่างรอบคอบ
    .
    “สิ่งนี้คือความรับผิดชอบของเรา และเราจะไม่สูญเสียดินแดนหรืออธิปไตย โปรดไว้ใจเราในเรื่องนี้” ผู้นำกัมพูชา กล่าว
    .
    ฮุน มาเนต กล่าวเสริมว่ารัฐบาลกัมพูชาใช้วิถีทางที่ผ่านการไตร่ตรองอย่างรอบคอบและมีวุฒิภาวะ ไม่ตอบสนองอย่างหุนหันพลันแล่น
    .
    “ปัญหาเกาะกูดต้องได้รับการแก้ไขอย่างมีวุฒิภาวะทางการเมืองและความรับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของชาติเป็นอย่างแรก” ฮุน มาเนต กล่าว
    .
    นายกรัฐมนตรีกัมพูชาชี้แจงว่า การเจรจาระหว่างกัมพูชาและไทยยังคงดำเนินต่อไป และยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ ดังนั้นการอ้างว่าเสียเกาะกูดให้ไทยนั้นไม่มีมูลความจริง และย้ำว่าการตอบสนองอย่างใจเย็นของรัฐบาลนั้นเป็นความตั้งใจ ด้วยมีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาผ่านช่องทางทางการทูต มากกว่าที่จะเพิ่มความตึงเครียด
    .
    “การคิดถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราต้องเข้าใจว่าเมื่อใดควรดำเนินการและดำเนินการอย่างไร” ฮุน มาเนต ระบุ
    .
    รัฐบาลกัมพูชาดำเนินการแก้ไขปัญหาชายแดนด้วยการใช้กลไกอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่ผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก หรือกลไกสื่อ ฮุน มาเนต กล่าวเสริม และว่ากลไกการแก้ไขอย่างเป็นทางการคือกลไกที่ตกลงกันโดยรัฐบาลกัมพูชาและไทย คือคณะกรรมการเขตแดนร่วม (JBC) และคณะกรรมการเทคนิคร่วม (JTC) ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้ทำหน้าที่เจรจาเรื่องการกำหนดเขตแดนทางบกและกำหนดเขตแดนทางทะเล
    .
    “ขณะนี้ชายแดนกัมพูชา-ไทย บรรลุข้อตกลงเพียงพรมแดนทางบก ที่ครอบคลุมระยะทาง 805 กิโลเมตร และหลักเขต 73 หลัก รัฐบาลของทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงไปแล้ว 42 หลัก” ฮุน มาเนต กล่าว และว่าประเด็นเรื่องเกาะกูดยังอยู่ระหว่างเจรจา ยังไม่มีข้อตกลงใดๆ ดังนั้น เกาะนี้จึงยังไม่ถูกยกให้ใคร
    .
    เขายอมรับว่ามีความคิดเห็นและคำวิจารณ์มากมายเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูดจากไทย แต่เน้นย้ำว่ารัฐบาลจะไม่นำไฟเข้ามาในบ้านของตัวเอง
    .
    ฮุน มาเนต เสริมว่ากัมพูชาและไทยได้เจรจากันมาตั้งแต่ปี 2549 เกี่ยวกับการกำหนดเขตแดน แต่การหารือเกี่ยวกับดินแดนทางบกและทางทะเลยังไม่เสร็จสิ้นและยังคงดำเนินต่อไป
    .
    ขณะเดียวกัน ฮุนเซน ประธานสภาสูงของกัมพูชา ได้วิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองฝ่ายค้านในต่างประเทศที่พยายามเปลี่ยนประเด็นเกาะกูดให้กลายเป็นความขัดแย้งชายแดนระหว่างกัมพูชาและไทยผ่านการยุยงปลุกปั่นประชาชน แม้ว่าสองรัฐบาลจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาโดยสันติ
    .
    ทั้งนี้ อดีตผู้นำเขมรยังได้กล่าวย้อนถึงเรื่องการเจรจาร่วมกันกับ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เรื่องการเจาะน้ำมันที่เกาะกูด แต่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในแผนนี้ และในปี 2544 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ แต่ไม่มีการหารืออย่างละเอียดในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา
    .
    “รัฐบาลทั้งสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แต่ในไทย กลุ่มหัวรุนแรงเรียกร้องให้รัฐบาลอ้างสิทธิเกาะกูดจากกัมพูชา ขณะที่กลุ่มฝ่ายค้านหัวรุนแรงของกัมพูชาในต่างประเทศเรียกร้องให้ชาวกัมพูชาเข้าร่วมการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลฟ้องศาลระหว่างประเทศเพื่อเรียกร้องเกาะกูดคืน” ฮุนเซน กล่าว
    .
    ฮุนเซนกล่าวว่า ความพยายามของฝ่ายค้านในต่างประเทศครั้งนี้อาจส่งผลร้ายแรงต่อประเทศ
    .
    “ครั้งแล้วครั้งเล่าที่กลุ่มฝ่ายค้านกดดันประชาชนและขัดขวางไม่ให้พวกเขาอยู่กันอย่างสันติ ด้วยการปลุกระดมให้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล บางทีอาจถึงเวลาที่ต้องตราพวกเขาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เพราะพวกเขากำลังยุยงให้เกิดความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างกัมพูชาและไทย” อดีตผู้นำเขมร กล่าว
    .
    นอกจากนี้ ฮุนเซนยังเรียกร้องให้ชาวกัมพูชาและชาวไทยเชื่อมั่นในรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายในการแก้ไขปัญหาเกาะกูดด้วยสันติวิธี และขอให้กองทัพบกและกองทัพเรือกัมพูชาไม่ระดมกำลังเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว
    .
    อดีตผู้นำเขมรเตือนว่าบาดแผลจากสงครามที่ปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือน และปราสาทตากระบัย และความทุกข์ทรมานของประชาชนกัมพูชาและไทยจากการสูญเสียคนรักหรือได้รับบาดเจ็บจากสงครามเหล่านั้นยังคงไม่สิ้นสุด
    .
    “การยุติข้อพิพาทจะดำเนินต่อไป แต่ด้วยการเจรจา เรายังไม่ได้ใช้ความเป็นไปได้ทั้งหมดของการเจรจาทวิภาคี” ฮุนเซน กล่าว.
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000119176
    ..............
    Sondhi X
    สำนักข่าวกัมพูชาหลายแห่งรายงานว่า นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทชายแดนเกาะกูดกับไทย โดยระบุอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาจะไม่ประนีประนอมบูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักร . ผู้นำเขมรได้แสดงความคิดเห็นดังกล่าวตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย. โดยระบุว่าการเจรจาประเด็นเรื่องชายแดนต้องใช้เวลาและการเตรียมการอย่างรอบคอบ . “สิ่งนี้คือความรับผิดชอบของเรา และเราจะไม่สูญเสียดินแดนหรืออธิปไตย โปรดไว้ใจเราในเรื่องนี้” ผู้นำกัมพูชา กล่าว . ฮุน มาเนต กล่าวเสริมว่ารัฐบาลกัมพูชาใช้วิถีทางที่ผ่านการไตร่ตรองอย่างรอบคอบและมีวุฒิภาวะ ไม่ตอบสนองอย่างหุนหันพลันแล่น . “ปัญหาเกาะกูดต้องได้รับการแก้ไขอย่างมีวุฒิภาวะทางการเมืองและความรับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของชาติเป็นอย่างแรก” ฮุน มาเนต กล่าว . นายกรัฐมนตรีกัมพูชาชี้แจงว่า การเจรจาระหว่างกัมพูชาและไทยยังคงดำเนินต่อไป และยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ ดังนั้นการอ้างว่าเสียเกาะกูดให้ไทยนั้นไม่มีมูลความจริง และย้ำว่าการตอบสนองอย่างใจเย็นของรัฐบาลนั้นเป็นความตั้งใจ ด้วยมีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาผ่านช่องทางทางการทูต มากกว่าที่จะเพิ่มความตึงเครียด . “การคิดถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราต้องเข้าใจว่าเมื่อใดควรดำเนินการและดำเนินการอย่างไร” ฮุน มาเนต ระบุ . รัฐบาลกัมพูชาดำเนินการแก้ไขปัญหาชายแดนด้วยการใช้กลไกอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่ผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก หรือกลไกสื่อ ฮุน มาเนต กล่าวเสริม และว่ากลไกการแก้ไขอย่างเป็นทางการคือกลไกที่ตกลงกันโดยรัฐบาลกัมพูชาและไทย คือคณะกรรมการเขตแดนร่วม (JBC) และคณะกรรมการเทคนิคร่วม (JTC) ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้ทำหน้าที่เจรจาเรื่องการกำหนดเขตแดนทางบกและกำหนดเขตแดนทางทะเล . “ขณะนี้ชายแดนกัมพูชา-ไทย บรรลุข้อตกลงเพียงพรมแดนทางบก ที่ครอบคลุมระยะทาง 805 กิโลเมตร และหลักเขต 73 หลัก รัฐบาลของทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงไปแล้ว 42 หลัก” ฮุน มาเนต กล่าว และว่าประเด็นเรื่องเกาะกูดยังอยู่ระหว่างเจรจา ยังไม่มีข้อตกลงใดๆ ดังนั้น เกาะนี้จึงยังไม่ถูกยกให้ใคร . เขายอมรับว่ามีความคิดเห็นและคำวิจารณ์มากมายเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูดจากไทย แต่เน้นย้ำว่ารัฐบาลจะไม่นำไฟเข้ามาในบ้านของตัวเอง . ฮุน มาเนต เสริมว่ากัมพูชาและไทยได้เจรจากันมาตั้งแต่ปี 2549 เกี่ยวกับการกำหนดเขตแดน แต่การหารือเกี่ยวกับดินแดนทางบกและทางทะเลยังไม่เสร็จสิ้นและยังคงดำเนินต่อไป . ขณะเดียวกัน ฮุนเซน ประธานสภาสูงของกัมพูชา ได้วิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองฝ่ายค้านในต่างประเทศที่พยายามเปลี่ยนประเด็นเกาะกูดให้กลายเป็นความขัดแย้งชายแดนระหว่างกัมพูชาและไทยผ่านการยุยงปลุกปั่นประชาชน แม้ว่าสองรัฐบาลจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาโดยสันติ . ทั้งนี้ อดีตผู้นำเขมรยังได้กล่าวย้อนถึงเรื่องการเจรจาร่วมกันกับ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เรื่องการเจาะน้ำมันที่เกาะกูด แต่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในแผนนี้ และในปี 2544 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ แต่ไม่มีการหารืออย่างละเอียดในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา . “รัฐบาลทั้งสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แต่ในไทย กลุ่มหัวรุนแรงเรียกร้องให้รัฐบาลอ้างสิทธิเกาะกูดจากกัมพูชา ขณะที่กลุ่มฝ่ายค้านหัวรุนแรงของกัมพูชาในต่างประเทศเรียกร้องให้ชาวกัมพูชาเข้าร่วมการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลฟ้องศาลระหว่างประเทศเพื่อเรียกร้องเกาะกูดคืน” ฮุนเซน กล่าว . ฮุนเซนกล่าวว่า ความพยายามของฝ่ายค้านในต่างประเทศครั้งนี้อาจส่งผลร้ายแรงต่อประเทศ . “ครั้งแล้วครั้งเล่าที่กลุ่มฝ่ายค้านกดดันประชาชนและขัดขวางไม่ให้พวกเขาอยู่กันอย่างสันติ ด้วยการปลุกระดมให้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล บางทีอาจถึงเวลาที่ต้องตราพวกเขาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เพราะพวกเขากำลังยุยงให้เกิดความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างกัมพูชาและไทย” อดีตผู้นำเขมร กล่าว . นอกจากนี้ ฮุนเซนยังเรียกร้องให้ชาวกัมพูชาและชาวไทยเชื่อมั่นในรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายในการแก้ไขปัญหาเกาะกูดด้วยสันติวิธี และขอให้กองทัพบกและกองทัพเรือกัมพูชาไม่ระดมกำลังเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว . อดีตผู้นำเขมรเตือนว่าบาดแผลจากสงครามที่ปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือน และปราสาทตากระบัย และความทุกข์ทรมานของประชาชนกัมพูชาและไทยจากการสูญเสียคนรักหรือได้รับบาดเจ็บจากสงครามเหล่านั้นยังคงไม่สิ้นสุด . “การยุติข้อพิพาทจะดำเนินต่อไป แต่ด้วยการเจรจา เรายังไม่ได้ใช้ความเป็นไปได้ทั้งหมดของการเจรจาทวิภาคี” ฮุนเซน กล่าว. . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000119176 .............. Sondhi X
    Angry
    Like
    Yay
    Haha
    Sad
    10
    0 Comments 0 Shares 883 Views 0 Reviews
  • 🚨ข้อมูลที่อันตรายและน่าเป็นห่วงสำหรับมุสลิม แต่เพื่อความสัตย์จริงและประวัติศาสตร์ ผมต้องเผยแพร่มันเกี่ยวกับสัญชาติที่แท้จริงของอัล-โจลานี เพราะเขาเป็น #ยิว และสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนิติศาสตร์อิสลามใน #เทลอาวีฟ! ● ฉากทัศน์เวอร์ชันใหม่ของไซออนิสต์ สำหรับ โจลานี Mohammad al-Jolani ซึ่งปัจจุบันในฐานะผู้นำของกลุ่มผู้ก่อการร้าย HTS ( Tahrir al-Sham ) ในซีเรียได้กลายเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของสื่อในเครือข่ายระหว่างประเทศ ซึ่งตลอดกิจกรรมของเขาในกลุ่มก่อการร้าย เขาสามารถปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของระบอบไซออนิสต์ในตะวันออกกลางตามความต้องการของประเทศตะวันตกอย่างดีเยี่ยมปัจจุบันเขาปรากฏอยู่ในสื่อไซออนิสต์ด้วยหน้าตาที่มีเสน่ห์ เป็นที่นิยม ร่วมสนทนา และมีอารยธรรม เป็นคนที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ก่อการร้ายในเดือนพฤษภาคม 2013 และสี่ปีต่อมาตั้งค่าหัว 10 ล้านดอลลาร์สำหรับบุคคลที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจับกุมของเขาเขามีชื่อเล่นว่า Al-Jolani มาจากชื่อของที่ราบสูงโกลัน ซึ่งระบอบไซออนิสต์ยึดครองและผนวกเข้ากับอาณาเขตของตนในสงครามปี 1967เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2014 โจลานีอ้างว่าเขาจะต่อสู้กับสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร อย่างไรก็ตาม เขาถอนตัวออกจากจุดยืนดังกล่าวและประกาศในการให้สัมภาษณ์ว่า ตาห์รีร์ อัล-ชาม #ไม่เป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐอเมริกา และได้เรียกร้องรัฐบาลอเมริกา เพื่อลบกลุ่มนี้ออกจากบัญชีรายการผู้ก่อการร้าย● โจลานี และมรดกของอเมริกาสำหรับภูมิภาคนี้ในปี 2033 โจลานีเข้าร่วมกลุ่มอัลกออิดะห์ในอิรักภายใต้การนำของอาบู มัซอับ อัล-ซาร์กาวี เขาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในตำแหน่งอัลกออิดะห์ในอิรัก และกลายเป็นหนึ่งในผู้ร่วมงานที่ใกล้ชิดของ Abu Musab al-Zarqawi ซึ่งเป็นผู้นำขององค์กรนี้ในขณะนั้นการปรากฏตัวของโจลานีในองค์กรอัลกออิดะห์ในฐานะมรดกของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางที่เชื่อมโยงโจลานีกับนโยบายอเมริกัน-ไซออนิสต์แม้ว่าอเมริกาจะเผชิญหน้ากับอัลกออิดะห์อย่างชัดเจน แต่ความสัมพันธ์เบื้องหลังผู้นำหลักของอัลกออิดะห์กับหน่วยข่าวกรองอเมริกันยังคงมีการติดต่ออยู่ตลอดเวลา และเพื่อสนับสนุนข้อกล่าวอ้างนี้ ควรกล่าวได้ว่าการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมและรุนแรงของอัลกออิดะห์ มีมากกว่าการโจมตีชาติตะวันตก เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของชาติตะวันตก และได้เตรียมพื้นที่สำหรับการรณรงค์ของอเมริกาและพันธมิตรในตะวันออกกลางโดยอ้างว่าต่อสู้กับการก่อการร้าย● การบริการที่ดีเยี่ยมของ โจลานี ให้กับอเมริกาในขบวนการ ISISหลังจากการก่อตั้งอัลกออิดะห์ การสร้าง ISIS ก็ถูกจัดให้อยู่ในวาระนโยบายของอเมริกา ซึ่งเป็นหัวข้อที่เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเน้นย้ำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ฮิลลารี คลินตัน อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศว่า เราสร้าง ISIS ด้วยตัวเราเองอย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้ ISIS เป็นข้อแก้ตัวที่ดีที่สุดสำหรับการบริการและการรับใช้ที่ดีของ โจลานีต่อนโยบายของอเมริกา เขาจึงเปิดสาขาของ ISIS ในซีเรียภายใต้ชื่อ Jabhat al-Nusra และรับผิดชอบดูแลเรื่องนี้ กลุ่มนี้ทำหน้าที่เป็นสาขาของ ISIS ในซีเรียภายใต้การนำของ Abu Bakr al-Baghdadi และ al-Baghdadi ได้ช่วยเหลือ โจลานี ด้วยการจัดหานักรบ อาวุธ และเงิน ในเดือนมกราคม 2012 อัล-โจลานีได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำแนวร่วมอัล-นุสรา● ญับฮะตุล อัล-นุสเราะห์ จะเป็นที่รู้จักในนาม ญับฮะตุล ตาห์รีร์ อัลชามในปี 2016 โจลานีประกาศว่าต่อจากนี้ไป Jabhat al-Nusra จะเป็นที่รู้จักในชื่อ Jabhat Tahrir al-Shamการเปลี่ยนชื่อองค์กรที่โจลานีเป็นหัวหน้ายังคงเป็นการสานต่อนโยบายอเมริกัน-ไซออนิสต์ และเป็นปฐมบทจนกระทั่งในที่สุด กลุ่มผู้ก่อการร้ายกลุ่มนี้โจมตีซีเรียด้วยอุปกรณ์ชนิดใหม่ เช่น โดรนพิฆาต เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังการประกาศ การหยุดยิงระหว่างระบอบไซออนิสต์กับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ของเลบานอน ทำให้เกิดความกระจ่างเกี่ยวกับความร่วมมือขององค์กรก่อการร้ายเหล่านี้กับระบอบไซออนิสต์● โจลานี เปลี่ยนสีทุกวันและปรากฏตัวพร้อมกับรูปลักษณ์ใหม่โซฮาอิล คาริมี ผู้สร้างสารคดีแนวต่อต้านกล่าวในการสนทนากับ “ดานา” ว่า “โจลานีได้แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นบุตรชายแห่งกาลเวลาตั้งแต่เริ่มกิจกรรมก่อการร้ายในทุกแง่มุม และเขาได้เปลี่ยนสีและใบหน้าของเขาเพื่อให้สนองตามข้อเรียกร้องของอเมริกา-ไซออนิสต์" เขากล่าวต่อไปว่า ผู้ก่อการร้ายเช่น บิน ลาเดน มีความคิดบางอย่าง และเขาได้เริ่มต้นชีวิตนักรบญิฮาดตั้งแต่เริ่มต้นและดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อที่ผิด ๆ จนกระทั่งถึงจุดสิ้นสุด แต่คนอย่างโจลานีเปลี่ยนสีทุกวันและปรากฏตัวพร้อมกับรูปลักษณ์ใหม่ๆตลอดเวลาคาริมี กล่าวเสริมโดยชี้ให้เห็นว่า โจลานี มีความสอดคล้องกับความคิดของขบวนการภราดรภาพ ด้วยความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากซัดดัมและการสนับสนุนของประเทศต่างๆ ที่ต่อต้านขบวนการต่อสู้ กลุ่มภราดรภาพจึงเริ่มก่อกบฏในซีเรีย และต่อมา โจลานีก็เข้าร่วมความคิดเหล่านี้และเติบโตไปพร้อมกับมุมมองของลัทธิซาลาฟีตักฟีรีย์ เขากล่าวเสริมว่า : เมื่อบุคคล เช่น Abu Musab al-Zarqawi เริ่มกิจกรรมการก่อการร้ายของเขา โจลานีก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หลังจากที่เขาไม่เห็นด้วยกับอัลกออิดะห์ และขัดแย้งกับ Abu Bakr al-Baghdadi จึงหันมาสร้างกลุ่ม Jabhat al-Nusra ขึ้นมา ซึ่งมันคือกลุ่ม Tahrir al-Sham ในเวลาต่อเวลา คาริมี ชี้ให้เห็นว่า โจลานีไม่เคยเป็นบุคคลที่เป็นอิสระในชีวิตการต่อสู้ของเขา และนำนโยบายตะวันตกในภูมิภาคนี้มาปฏิบัติเสมอมาในฐานะเสาหลักไซออนิสต์-อเมริกา คาริมีกล่าวเสริมว่า: วันหนึ่งเขาใช้ชีวิตตามคำสั่งและสถานการณ์ของเจ้านายของเขา และวันหนึ่งเขาก็มีชีวิตอยู่ด้วยมือที่ถือดอกกุหลาบแต่ตอนนี้เราต้องรอดูชะตากรรมที่นโยบายไซออนิสต์-อเมริกา ว่าจะกำหนดให้กับโมฮัมหมัด อัล-โจลานี อย่างไรแต่อาจจะเป็นชะตากรรมที่วันหนึ่งอเมริกากำหนดไว้สำหรับบิน ลาเดน, อาบู บักร์ อัล-แบกดาดี, อัล-ซาร์กาวี, ซัดดัม ฮุสเซน, มูฮัมหมัด มอร์ซี, กัดดาฟี และหุ่นเชิดอื่นๆ อีกมากมายในภูมิภาคนี้#โจลานีเป็นตัวแทนไซออนิสต์ในภูมิภาค ซึ่งพี่น้องจะเห็นบทบาทของเขาในฐานะหุ่นเชิดของไซออนิสต์ในเร็วๆนี้อย่างแน่นอน
    🚨ข้อมูลที่อันตรายและน่าเป็นห่วงสำหรับมุสลิม แต่เพื่อความสัตย์จริงและประวัติศาสตร์ ผมต้องเผยแพร่มันเกี่ยวกับสัญชาติที่แท้จริงของอัล-โจลานี เพราะเขาเป็น #ยิว และสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนิติศาสตร์อิสลามใน #เทลอาวีฟ! ● ฉากทัศน์เวอร์ชันใหม่ของไซออนิสต์ สำหรับ โจลานี Mohammad al-Jolani ซึ่งปัจจุบันในฐานะผู้นำของกลุ่มผู้ก่อการร้าย HTS ( Tahrir al-Sham ) ในซีเรียได้กลายเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของสื่อในเครือข่ายระหว่างประเทศ ซึ่งตลอดกิจกรรมของเขาในกลุ่มก่อการร้าย เขาสามารถปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของระบอบไซออนิสต์ในตะวันออกกลางตามความต้องการของประเทศตะวันตกอย่างดีเยี่ยมปัจจุบันเขาปรากฏอยู่ในสื่อไซออนิสต์ด้วยหน้าตาที่มีเสน่ห์ เป็นที่นิยม ร่วมสนทนา และมีอารยธรรม เป็นคนที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ก่อการร้ายในเดือนพฤษภาคม 2013 และสี่ปีต่อมาตั้งค่าหัว 10 ล้านดอลลาร์สำหรับบุคคลที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจับกุมของเขาเขามีชื่อเล่นว่า Al-Jolani มาจากชื่อของที่ราบสูงโกลัน ซึ่งระบอบไซออนิสต์ยึดครองและผนวกเข้ากับอาณาเขตของตนในสงครามปี 1967เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2014 โจลานีอ้างว่าเขาจะต่อสู้กับสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร อย่างไรก็ตาม เขาถอนตัวออกจากจุดยืนดังกล่าวและประกาศในการให้สัมภาษณ์ว่า ตาห์รีร์ อัล-ชาม #ไม่เป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐอเมริกา และได้เรียกร้องรัฐบาลอเมริกา เพื่อลบกลุ่มนี้ออกจากบัญชีรายการผู้ก่อการร้าย● โจลานี และมรดกของอเมริกาสำหรับภูมิภาคนี้ในปี 2033 โจลานีเข้าร่วมกลุ่มอัลกออิดะห์ในอิรักภายใต้การนำของอาบู มัซอับ อัล-ซาร์กาวี เขาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในตำแหน่งอัลกออิดะห์ในอิรัก และกลายเป็นหนึ่งในผู้ร่วมงานที่ใกล้ชิดของ Abu Musab al-Zarqawi ซึ่งเป็นผู้นำขององค์กรนี้ในขณะนั้นการปรากฏตัวของโจลานีในองค์กรอัลกออิดะห์ในฐานะมรดกของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางที่เชื่อมโยงโจลานีกับนโยบายอเมริกัน-ไซออนิสต์แม้ว่าอเมริกาจะเผชิญหน้ากับอัลกออิดะห์อย่างชัดเจน แต่ความสัมพันธ์เบื้องหลังผู้นำหลักของอัลกออิดะห์กับหน่วยข่าวกรองอเมริกันยังคงมีการติดต่ออยู่ตลอดเวลา และเพื่อสนับสนุนข้อกล่าวอ้างนี้ ควรกล่าวได้ว่าการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมและรุนแรงของอัลกออิดะห์ มีมากกว่าการโจมตีชาติตะวันตก เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของชาติตะวันตก และได้เตรียมพื้นที่สำหรับการรณรงค์ของอเมริกาและพันธมิตรในตะวันออกกลางโดยอ้างว่าต่อสู้กับการก่อการร้าย● การบริการที่ดีเยี่ยมของ โจลานี ให้กับอเมริกาในขบวนการ ISISหลังจากการก่อตั้งอัลกออิดะห์ การสร้าง ISIS ก็ถูกจัดให้อยู่ในวาระนโยบายของอเมริกา ซึ่งเป็นหัวข้อที่เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเน้นย้ำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ฮิลลารี คลินตัน อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศว่า เราสร้าง ISIS ด้วยตัวเราเองอย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้ ISIS เป็นข้อแก้ตัวที่ดีที่สุดสำหรับการบริการและการรับใช้ที่ดีของ โจลานีต่อนโยบายของอเมริกา เขาจึงเปิดสาขาของ ISIS ในซีเรียภายใต้ชื่อ Jabhat al-Nusra และรับผิดชอบดูแลเรื่องนี้ กลุ่มนี้ทำหน้าที่เป็นสาขาของ ISIS ในซีเรียภายใต้การนำของ Abu Bakr al-Baghdadi และ al-Baghdadi ได้ช่วยเหลือ โจลานี ด้วยการจัดหานักรบ อาวุธ และเงิน ในเดือนมกราคม 2012 อัล-โจลานีได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำแนวร่วมอัล-นุสรา● ญับฮะตุล อัล-นุสเราะห์ จะเป็นที่รู้จักในนาม ญับฮะตุล ตาห์รีร์ อัลชามในปี 2016 โจลานีประกาศว่าต่อจากนี้ไป Jabhat al-Nusra จะเป็นที่รู้จักในชื่อ Jabhat Tahrir al-Shamการเปลี่ยนชื่อองค์กรที่โจลานีเป็นหัวหน้ายังคงเป็นการสานต่อนโยบายอเมริกัน-ไซออนิสต์ และเป็นปฐมบทจนกระทั่งในที่สุด กลุ่มผู้ก่อการร้ายกลุ่มนี้โจมตีซีเรียด้วยอุปกรณ์ชนิดใหม่ เช่น โดรนพิฆาต เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังการประกาศ การหยุดยิงระหว่างระบอบไซออนิสต์กับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ของเลบานอน ทำให้เกิดความกระจ่างเกี่ยวกับความร่วมมือขององค์กรก่อการร้ายเหล่านี้กับระบอบไซออนิสต์● โจลานี เปลี่ยนสีทุกวันและปรากฏตัวพร้อมกับรูปลักษณ์ใหม่โซฮาอิล คาริมี ผู้สร้างสารคดีแนวต่อต้านกล่าวในการสนทนากับ “ดานา” ว่า “โจลานีได้แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นบุตรชายแห่งกาลเวลาตั้งแต่เริ่มกิจกรรมก่อการร้ายในทุกแง่มุม และเขาได้เปลี่ยนสีและใบหน้าของเขาเพื่อให้สนองตามข้อเรียกร้องของอเมริกา-ไซออนิสต์" เขากล่าวต่อไปว่า ผู้ก่อการร้ายเช่น บิน ลาเดน มีความคิดบางอย่าง และเขาได้เริ่มต้นชีวิตนักรบญิฮาดตั้งแต่เริ่มต้นและดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อที่ผิด ๆ จนกระทั่งถึงจุดสิ้นสุด แต่คนอย่างโจลานีเปลี่ยนสีทุกวันและปรากฏตัวพร้อมกับรูปลักษณ์ใหม่ๆตลอดเวลาคาริมี กล่าวเสริมโดยชี้ให้เห็นว่า โจลานี มีความสอดคล้องกับความคิดของขบวนการภราดรภาพ ด้วยความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากซัดดัมและการสนับสนุนของประเทศต่างๆ ที่ต่อต้านขบวนการต่อสู้ กลุ่มภราดรภาพจึงเริ่มก่อกบฏในซีเรีย และต่อมา โจลานีก็เข้าร่วมความคิดเหล่านี้และเติบโตไปพร้อมกับมุมมองของลัทธิซาลาฟีตักฟีรีย์ เขากล่าวเสริมว่า : เมื่อบุคคล เช่น Abu Musab al-Zarqawi เริ่มกิจกรรมการก่อการร้ายของเขา โจลานีก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หลังจากที่เขาไม่เห็นด้วยกับอัลกออิดะห์ และขัดแย้งกับ Abu Bakr al-Baghdadi จึงหันมาสร้างกลุ่ม Jabhat al-Nusra ขึ้นมา ซึ่งมันคือกลุ่ม Tahrir al-Sham ในเวลาต่อเวลา คาริมี ชี้ให้เห็นว่า โจลานีไม่เคยเป็นบุคคลที่เป็นอิสระในชีวิตการต่อสู้ของเขา และนำนโยบายตะวันตกในภูมิภาคนี้มาปฏิบัติเสมอมาในฐานะเสาหลักไซออนิสต์-อเมริกา คาริมีกล่าวเสริมว่า: วันหนึ่งเขาใช้ชีวิตตามคำสั่งและสถานการณ์ของเจ้านายของเขา และวันหนึ่งเขาก็มีชีวิตอยู่ด้วยมือที่ถือดอกกุหลาบแต่ตอนนี้เราต้องรอดูชะตากรรมที่นโยบายไซออนิสต์-อเมริกา ว่าจะกำหนดให้กับโมฮัมหมัด อัล-โจลานี อย่างไรแต่อาจจะเป็นชะตากรรมที่วันหนึ่งอเมริกากำหนดไว้สำหรับบิน ลาเดน, อาบู บักร์ อัล-แบกดาดี, อัล-ซาร์กาวี, ซัดดัม ฮุสเซน, มูฮัมหมัด มอร์ซี, กัดดาฟี และหุ่นเชิดอื่นๆ อีกมากมายในภูมิภาคนี้#โจลานีเป็นตัวแทนไซออนิสต์ในภูมิภาค ซึ่งพี่น้องจะเห็นบทบาทของเขาในฐานะหุ่นเชิดของไซออนิสต์ในเร็วๆนี้อย่างแน่นอน
    0 Comments 0 Shares 489 Views 0 Reviews
  • 9/12/67

    เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ)

    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้

    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้

    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม

    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ

    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ

    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ

    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย

    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก

    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล

    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว

    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย

    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน

    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้

    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน

    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที

    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป

    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง

    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป

    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    9/12/67 เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 Comments 0 Shares 639 Views 0 Reviews
  • กรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ยื่นหนังสือกล่าวหารัฐบาลเกี่ยวกับประเด็น MOU44 มีหลายปัจจัยที่ควรพิจารณาเพื่อทำความเข้าใจในเชิงลึก ดังนี้:1. บริบททางการเมืองMOU44 คืออะไร: เป็นข้อตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่มักเกี่ยวข้องกับประเด็นเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง ซึ่งยังต้องการข้อมูลที่ชัดเจนว่าข้อกล่าวหาของนายสนธิพุ่งเป้าไปที่ประเด็นใดเจตนาของนายสนธิ: การเคลื่อนไหวครั้งนี้อาจเป็นไปเพื่อเรียกร้องความโปร่งใส หรือสร้างแรงกดดันทางการเมืองต่อรัฐบาลปัจจุบันปัจจัยความขัดแย้งเดิม: นายสนธิเคยเป็นบุคคลสำคัญที่เคลื่อนไหวทางการเมืองในหลายประเด็น อาจมีประวัติความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองหรือรัฐบาลในอดีต2. ผลกระทบของ MOU44หาก MOU44 มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติ เช่น การให้สิทธิ์หรือทรัพยากรแก่ต่างชาติ อาจถูกตั้งคำถามเรื่องผลกระทบต่อประชาชนการเปิดเผยหรือการปกปิดเนื้อหาในข้อตกลงอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ความโปร่งใสของรัฐบาล3. ความสำคัญของการตรวจสอบบทบาทของประชาชนและสื่อมวลชน: การยื่นหนังสือดังกล่าวอาจเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้สังคมรับรู้และตรวจสอบนโยบายของรัฐบาลกระบวนการยุติธรรม: หากมีข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำผิดหรือทุจริต จะต้องผ่านการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความเป็นธรรม4. กลยุทธ์และผลลัพธ์ทางการเมืองนายสนธิอาจใช้การยื่นหนังสือครั้งนี้เพื่อส่งสัญญาณทางการเมืองหรือรวบรวมกลุ่มผู้สนับสนุนผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับการตอบสนองของรัฐบาล และการขยายตัวของประเด็นในสื่อและสังคม5. ข้อสังเกตเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือการยื่นหนังสือดังกล่าวมาพร้อมกับความคาดหวังให้สังคมตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งสองฝ่าย: ฝ่ายกล่าวหาและฝ่ายรัฐบาลคำกล่าวหาอาจมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในตัวรัฐบาล หากข้อกล่าวหามีน้ำหนักโดยสรุป การยื่นหนังสือของนายสนธิในกรณีนี้สะท้อนถึงบทบาทของการตรวจสอบและความตื่นตัวทางการเมืองในสังคมไทย แต่การวิเคราะห์ประเด็นอย่างรอบด้านต้องพิจารณาเอกสารหรือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MOU44 และข้อกล่าวหาที่ชัดเจน.
    กรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ยื่นหนังสือกล่าวหารัฐบาลเกี่ยวกับประเด็น MOU44 มีหลายปัจจัยที่ควรพิจารณาเพื่อทำความเข้าใจในเชิงลึก ดังนี้:1. บริบททางการเมืองMOU44 คืออะไร: เป็นข้อตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่มักเกี่ยวข้องกับประเด็นเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง ซึ่งยังต้องการข้อมูลที่ชัดเจนว่าข้อกล่าวหาของนายสนธิพุ่งเป้าไปที่ประเด็นใดเจตนาของนายสนธิ: การเคลื่อนไหวครั้งนี้อาจเป็นไปเพื่อเรียกร้องความโปร่งใส หรือสร้างแรงกดดันทางการเมืองต่อรัฐบาลปัจจุบันปัจจัยความขัดแย้งเดิม: นายสนธิเคยเป็นบุคคลสำคัญที่เคลื่อนไหวทางการเมืองในหลายประเด็น อาจมีประวัติความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองหรือรัฐบาลในอดีต2. ผลกระทบของ MOU44หาก MOU44 มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติ เช่น การให้สิทธิ์หรือทรัพยากรแก่ต่างชาติ อาจถูกตั้งคำถามเรื่องผลกระทบต่อประชาชนการเปิดเผยหรือการปกปิดเนื้อหาในข้อตกลงอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ความโปร่งใสของรัฐบาล3. ความสำคัญของการตรวจสอบบทบาทของประชาชนและสื่อมวลชน: การยื่นหนังสือดังกล่าวอาจเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้สังคมรับรู้และตรวจสอบนโยบายของรัฐบาลกระบวนการยุติธรรม: หากมีข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำผิดหรือทุจริต จะต้องผ่านการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความเป็นธรรม4. กลยุทธ์และผลลัพธ์ทางการเมืองนายสนธิอาจใช้การยื่นหนังสือครั้งนี้เพื่อส่งสัญญาณทางการเมืองหรือรวบรวมกลุ่มผู้สนับสนุนผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับการตอบสนองของรัฐบาล และการขยายตัวของประเด็นในสื่อและสังคม5. ข้อสังเกตเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือการยื่นหนังสือดังกล่าวมาพร้อมกับความคาดหวังให้สังคมตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งสองฝ่าย: ฝ่ายกล่าวหาและฝ่ายรัฐบาลคำกล่าวหาอาจมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในตัวรัฐบาล หากข้อกล่าวหามีน้ำหนักโดยสรุป การยื่นหนังสือของนายสนธิในกรณีนี้สะท้อนถึงบทบาทของการตรวจสอบและความตื่นตัวทางการเมืองในสังคมไทย แต่การวิเคราะห์ประเด็นอย่างรอบด้านต้องพิจารณาเอกสารหรือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MOU44 และข้อกล่าวหาที่ชัดเจน.
    0 Comments 0 Shares 266 Views 0 Reviews
  • เร่งประสานช่วยคนไทย มั่นใจเมียนมาแค่ยิงเตือน เชื่อปัญหาไม่บานปลาย
    .
    เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา ภายหลังศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เปิดเผยว่า ศรชล.ภาค 3 ได้รับแจ้งข่าวจากเรือประมงชื่อเรือ มหาลาภธนวัฒน์ 4 บริเวณพื้นที่ทับซ้อนไทย-เมียนมา ขณะทำการหาปลากับกลุ่มเรือประมงในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวได้ร้องขอความช่วยเหลือ เนื่องจากถูกเรือรบเมียนมาทำการใช้อาวุธ โดยตัวเรือได้รับความเสียหายน้ำเข้าเรือปริมาณมาก มีผู้เสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บอีก 2 ราย และเรือรบเมียนมาได้เข้าจับกุมเรือประมงไทยจำนวน 1 ลำ คือเรือ ส.เจริญชัย 8 มีลูกเรือจำนวน 31 คน โดยถูกจับกุมไปยังเกาะย่านเชือก ประเทศเมียนมา
    .
    พล.ร.ท.สุวัจ ดอนสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 (ผบ.ทรภ.3) และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ผอ.ศรชล.ภาค 3) ได้รับรายงานว่ามีการดำเนินการจับกุมเรือประมงไทยจริง เนื่องจากมีกลุ่มเรือประมงไทยเข้าไปทำการประมงในเขตน่านน้ำลึกเข้าไปในเขตประเทศเมียนมา ประมาณ 4-5.7 ไมล์ และผลจากการประสาน ได้รับแจ้งจาก ผบ.สน.เรือ 58 เกาะย่านเชือก ว่าจะส่งมอบเรือประมงและลูกเรือที่ถูกจับกุมไปยังสถานีประมงเกาะสอง ในอีกประมาณ 2 วันข้างหน้า
    .
    ทั้งนี้ สรุปผลการเข้าให้การช่วยเหลือ เรือดวงทวีผล 333 (เรือในกลุ่มเรือประมงในที่เกิดเหตุ) โดยเรือ ต.274 เข้าทำการค้นหาและช่วยเหลือลูกเรือได้ครบทั้งหมด โดยเสียชีวิต 1 ราย คาดว่าเกิดจากการสำลักน้ำขณะโดดน้ำหนี นอกจากนี้ เรือ ต.274 ได้นำลูกเรือประมงชื่อเรือ มหาลาภธนวัฒน์ 4 จำนวน 2 คน ซึ่งได้รับบาดเจ็บมาส่งท่าเทียบเรือน้ำลึกจังหวัดระนอง นำส่งผู้บาดเจ็บให้กับ รพ.ระนอง เพื่อทำการรักษาต่อ
    .
    พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า กองทัพเรือจะเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงการใช้อาวุธและอำนาจของเมียนมาว่าเกินขอบเขตหรือไม่ และเรามีอำนาจเข้าไปป้องกันมากน้อยเพียงใด ที่สำคัญคือต้องดูว่าพื้นที่เกิดเหตุอยู่ตรงไหน จุดใด มีกฎหมายใดบังคับใช้ เราเข้าไปรุกล้ำเขา หรือเขาเข้ามาใช้อำนาจเกินขอบเขต หากเป็นอย่างหลังจะมีการตอบโต้อย่างชัดเจน
    .
    ด้านนาย​ภูมิธรรม​ เวชย​ชัย​ รองนายก​รัฐมนตรี​และ ​รมว.กลาโหม​ ยอมรับว่า เรือรบเมียนมายิงเรือประมงของไทยจริง​ แต่เป็นการยิงสัญญาณเตือน ไม่ใช่การทำร้าย​ และมีบางส่วนกระเจิดกระเจิง​และตกใจตกน้ำไป​ แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานว่าเหตุการณ์​ดังกล่าวนั้นเป็นเช่นไร​
    .
    "ในเบื้องต้นทางกองทัพเรือได้มีการเจรจากับทางการเมียนมา​ เนื่องจากเจตนาในเบื้องต้นไม่ใช่ต้องการรุกล้ำน่านน้ำแต่อย่างใด​ และจะไม่ลุกลามเป็นปัญหาระหว่างสองประเทศ​ มองว่ายังไม่ถึงขั้นที่ต้องทำหนังสือเตือนระหว่างรัฐบาล" รมว.กลาโหมกล่าว
    .
    พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีเรือรบเมียนมายิงเรือประมงไทยว่า มองว่าการกระทำของเรือรบเมียนมา จะต้องมีการประท้วง ตามช่องทางของกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงคณะกรรมการชายแดน หรือ TBC ว่าได้กระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุหรือไม่ และเท่าที่ได้รับรายงานเบื้องต้น เรือรบเมียนมา ยิงเข้าไปตัวเรือประมงไทย ไม่ใช่จุดที่เป็นที่อยู่ของลูกเรือ ซึ่งกรณีผู้เสียชีวิต เกิดจากการกระโดดน้ำและจมน้ำเสียชีวิต แต่เรื่องนี้ทางการไทยไม่ยอม จะประท้วงตามช่องทางที่ทำได้ และเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ต่อไป
    ..................
    Sondhi X
    เร่งประสานช่วยคนไทย มั่นใจเมียนมาแค่ยิงเตือน เชื่อปัญหาไม่บานปลาย . เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา ภายหลังศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เปิดเผยว่า ศรชล.ภาค 3 ได้รับแจ้งข่าวจากเรือประมงชื่อเรือ มหาลาภธนวัฒน์ 4 บริเวณพื้นที่ทับซ้อนไทย-เมียนมา ขณะทำการหาปลากับกลุ่มเรือประมงในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวได้ร้องขอความช่วยเหลือ เนื่องจากถูกเรือรบเมียนมาทำการใช้อาวุธ โดยตัวเรือได้รับความเสียหายน้ำเข้าเรือปริมาณมาก มีผู้เสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บอีก 2 ราย และเรือรบเมียนมาได้เข้าจับกุมเรือประมงไทยจำนวน 1 ลำ คือเรือ ส.เจริญชัย 8 มีลูกเรือจำนวน 31 คน โดยถูกจับกุมไปยังเกาะย่านเชือก ประเทศเมียนมา . พล.ร.ท.สุวัจ ดอนสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 (ผบ.ทรภ.3) และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ผอ.ศรชล.ภาค 3) ได้รับรายงานว่ามีการดำเนินการจับกุมเรือประมงไทยจริง เนื่องจากมีกลุ่มเรือประมงไทยเข้าไปทำการประมงในเขตน่านน้ำลึกเข้าไปในเขตประเทศเมียนมา ประมาณ 4-5.7 ไมล์ และผลจากการประสาน ได้รับแจ้งจาก ผบ.สน.เรือ 58 เกาะย่านเชือก ว่าจะส่งมอบเรือประมงและลูกเรือที่ถูกจับกุมไปยังสถานีประมงเกาะสอง ในอีกประมาณ 2 วันข้างหน้า . ทั้งนี้ สรุปผลการเข้าให้การช่วยเหลือ เรือดวงทวีผล 333 (เรือในกลุ่มเรือประมงในที่เกิดเหตุ) โดยเรือ ต.274 เข้าทำการค้นหาและช่วยเหลือลูกเรือได้ครบทั้งหมด โดยเสียชีวิต 1 ราย คาดว่าเกิดจากการสำลักน้ำขณะโดดน้ำหนี นอกจากนี้ เรือ ต.274 ได้นำลูกเรือประมงชื่อเรือ มหาลาภธนวัฒน์ 4 จำนวน 2 คน ซึ่งได้รับบาดเจ็บมาส่งท่าเทียบเรือน้ำลึกจังหวัดระนอง นำส่งผู้บาดเจ็บให้กับ รพ.ระนอง เพื่อทำการรักษาต่อ . พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า กองทัพเรือจะเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงการใช้อาวุธและอำนาจของเมียนมาว่าเกินขอบเขตหรือไม่ และเรามีอำนาจเข้าไปป้องกันมากน้อยเพียงใด ที่สำคัญคือต้องดูว่าพื้นที่เกิดเหตุอยู่ตรงไหน จุดใด มีกฎหมายใดบังคับใช้ เราเข้าไปรุกล้ำเขา หรือเขาเข้ามาใช้อำนาจเกินขอบเขต หากเป็นอย่างหลังจะมีการตอบโต้อย่างชัดเจน . ด้านนาย​ภูมิธรรม​ เวชย​ชัย​ รองนายก​รัฐมนตรี​และ ​รมว.กลาโหม​ ยอมรับว่า เรือรบเมียนมายิงเรือประมงของไทยจริง​ แต่เป็นการยิงสัญญาณเตือน ไม่ใช่การทำร้าย​ และมีบางส่วนกระเจิดกระเจิง​และตกใจตกน้ำไป​ แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานว่าเหตุการณ์​ดังกล่าวนั้นเป็นเช่นไร​ . "ในเบื้องต้นทางกองทัพเรือได้มีการเจรจากับทางการเมียนมา​ เนื่องจากเจตนาในเบื้องต้นไม่ใช่ต้องการรุกล้ำน่านน้ำแต่อย่างใด​ และจะไม่ลุกลามเป็นปัญหาระหว่างสองประเทศ​ มองว่ายังไม่ถึงขั้นที่ต้องทำหนังสือเตือนระหว่างรัฐบาล" รมว.กลาโหมกล่าว . พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีเรือรบเมียนมายิงเรือประมงไทยว่า มองว่าการกระทำของเรือรบเมียนมา จะต้องมีการประท้วง ตามช่องทางของกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงคณะกรรมการชายแดน หรือ TBC ว่าได้กระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุหรือไม่ และเท่าที่ได้รับรายงานเบื้องต้น เรือรบเมียนมา ยิงเข้าไปตัวเรือประมงไทย ไม่ใช่จุดที่เป็นที่อยู่ของลูกเรือ ซึ่งกรณีผู้เสียชีวิต เกิดจากการกระโดดน้ำและจมน้ำเสียชีวิต แต่เรื่องนี้ทางการไทยไม่ยอม จะประท้วงตามช่องทางที่ทำได้ และเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ต่อไป .................. Sondhi X
    Like
    Angry
    Sad
    7
    1 Comments 0 Shares 837 Views 0 Reviews
  • "เสธ.นิด" ถาม "บิ๊กอ้วน" ขู่คนไทยหรือ? ไม่ทำตาม MOU44 จะเกิดสงคราม (28/11/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #MOU44 #เสธ.นิด #มติยกเลิกMOU44 #ผลประโยชน์ของชาติ
    "เสธ.นิด" ถาม "บิ๊กอ้วน" ขู่คนไทยหรือ? ไม่ทำตาม MOU44 จะเกิดสงคราม (28/11/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #MOU44 #เสธ.นิด #มติยกเลิกMOU44 #ผลประโยชน์ของชาติ
    Like
    Haha
    Yay
    Sad
    8
    0 Comments 0 Shares 1128 Views 49 1 Reviews
  • ## เราไม่ได้คลั่งชาติ แต่ เรารักชาติ ##
    ..
    ..
    ประเทศชาติ
    ดินแดนของประเทศไทย
    ทรัพยากรของประเทศไทย
    ผืนแผ่นดินของประเทศไทย
    ผลประโยชน์ของประชาชนคนไทย
    .
    ถ้าคนไทยไม่รัก ไม่หวงแหน...???
    .
    แล้วใครจะรัก จะหวงแหน...???
    .
    ทำไม ข้าราชการ และ นักการเมือง ไทย ไม่ว่าจะพูดอะไร ก็ไม่ยอมที่จะแสดงท่าที "กระตือรือร้น" ที่จะระมัดระวังในการ รักษาผลประโยชน์ของชาติเลยแม้แต่นิดเดียว...???
    .
    เราจะหวังพึ่งพา นักการเมือง ได้จริงหรือ...???
    .
    ถ้าเราไม่ลุกขึ้นมาติดอาวุธทางปัญญาให้กับตัวเอง ถ้าเราไม่ลองลุกขึ้นมา สละเวลาบางส่วน มาศึกษา มาค้นข้อมูล มาค้นหาความจริง...
    .
    ถ้าเราไม่เริ่มต้นที่ตัวเอง ต่อไปใครจะมาคอยดูแลบ้านเมืองของเรา...
    .
    เราจะให้สิทธิ์ขาด ไว้ใจ ทิ้งบ้านเมืองของเราเอาไว้ในมือของพวก "นักการเมืองสมองหมู" ได้อย่างสบายใจจริงๆหรือ...???
    .
    https://youtu.be/2ZJZ9pN-Uak?si=N9TBaPHSwZXUu-PJ
    ## เราไม่ได้คลั่งชาติ แต่ เรารักชาติ ## .. .. ประเทศชาติ ดินแดนของประเทศไทย ทรัพยากรของประเทศไทย ผืนแผ่นดินของประเทศไทย ผลประโยชน์ของประชาชนคนไทย . ถ้าคนไทยไม่รัก ไม่หวงแหน...??? . แล้วใครจะรัก จะหวงแหน...??? . ทำไม ข้าราชการ และ นักการเมือง ไทย ไม่ว่าจะพูดอะไร ก็ไม่ยอมที่จะแสดงท่าที "กระตือรือร้น" ที่จะระมัดระวังในการ รักษาผลประโยชน์ของชาติเลยแม้แต่นิดเดียว...??? . เราจะหวังพึ่งพา นักการเมือง ได้จริงหรือ...??? . ถ้าเราไม่ลุกขึ้นมาติดอาวุธทางปัญญาให้กับตัวเอง ถ้าเราไม่ลองลุกขึ้นมา สละเวลาบางส่วน มาศึกษา มาค้นข้อมูล มาค้นหาความจริง... . ถ้าเราไม่เริ่มต้นที่ตัวเอง ต่อไปใครจะมาคอยดูแลบ้านเมืองของเรา... . เราจะให้สิทธิ์ขาด ไว้ใจ ทิ้งบ้านเมืองของเราเอาไว้ในมือของพวก "นักการเมืองสมองหมู" ได้อย่างสบายใจจริงๆหรือ...??? . https://youtu.be/2ZJZ9pN-Uak?si=N9TBaPHSwZXUu-PJ
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 189 Views 0 Reviews
  • ~~ ดวง ดาว ท่านฟ้องมาค่ะ ~~🇹🇭 อาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2567/ค.ศ.2024 ดวงเมืองประเทศไทยมีอายุ 242 ปี 🇹🇭 วันนี้ "ทักษา" ดวงเมืองเปลี่ยน ดาวศุกร์ (๖) เป็นภูมิบริวาร ราหู (๘) เป็นภูมิกาลกิณี 😭😭😭⭐️ ราหูปกครองราศีกุมภ์แทนดาวเสาร์ ราศีกุมภ์เป็นภพลาภะของดวงเมือง ครอบคลุมเกี่ยวข้องกับเรื่อง มิตรประเทศ อาคันตุกะ ผลประโยชน์ของประเทศ รายได้ของประเทศ (ส่วนความหมายของคำว่า "กาลกิณี" คงไม่ต้องอธิบายนะคะว่าดีหรือร้าย) 😭⭐️ ขณะนี้ดาวเสาร์ก็โคจรอยู่ในราศีกุมภ์ และจะยังอยู่ที่ราศีกุมภ์ไปจนถึง 12 กุมภาพันธ์ 2569🔮 1 ปีจากนี้ (จนถึง 21 เมษายน 2568) ประเทศไทยต้องระมัดระวัง การสูญเสียประโยชน์ รายได้ของประเทศอาจจะเกิดความเสียหายจากมิตรประเทศ หรืออาคันตุกะผู้มาเยือน ทำทีท่าว่ามาช่วยส่งเสริมลงทุน แต่แท้จริงแล้วไทยอาจต้องแลกด้วยสินทรัพย์และทรัพย์สินให้กับการช่วยเหลือ เป็นเรื่องที่รัฐบาลควรจะระมัดระวัง การกระทำใดๆ ในเรื่องที่เป็นรายได้หรือผลประโยชน์ของชาติ และประชาชน อย่าหมกเม็ดทำอะไรคลุมเครือไม่ชัดเจน "ดวงดาว และ ดวงเมือง กำลังจับตาดูพวกท่านอยู่นะ" 🥸🥸🥸#โหราศาสตร์ #ดวงเมืองประเทศไทย #ดูดวง#คุณหญิงไทยแดกดวง#saveเกาะกรูด
    ~~ ดวง ดาว ท่านฟ้องมาค่ะ ~~🇹🇭 อาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2567/ค.ศ.2024 ดวงเมืองประเทศไทยมีอายุ 242 ปี 🇹🇭 วันนี้ "ทักษา" ดวงเมืองเปลี่ยน ดาวศุกร์ (๖) เป็นภูมิบริวาร ราหู (๘) เป็นภูมิกาลกิณี 😭😭😭⭐️ ราหูปกครองราศีกุมภ์แทนดาวเสาร์ ราศีกุมภ์เป็นภพลาภะของดวงเมือง ครอบคลุมเกี่ยวข้องกับเรื่อง มิตรประเทศ อาคันตุกะ ผลประโยชน์ของประเทศ รายได้ของประเทศ (ส่วนความหมายของคำว่า "กาลกิณี" คงไม่ต้องอธิบายนะคะว่าดีหรือร้าย) 😭⭐️ ขณะนี้ดาวเสาร์ก็โคจรอยู่ในราศีกุมภ์ และจะยังอยู่ที่ราศีกุมภ์ไปจนถึง 12 กุมภาพันธ์ 2569🔮 1 ปีจากนี้ (จนถึง 21 เมษายน 2568) ประเทศไทยต้องระมัดระวัง การสูญเสียประโยชน์ รายได้ของประเทศอาจจะเกิดความเสียหายจากมิตรประเทศ หรืออาคันตุกะผู้มาเยือน ทำทีท่าว่ามาช่วยส่งเสริมลงทุน แต่แท้จริงแล้วไทยอาจต้องแลกด้วยสินทรัพย์และทรัพย์สินให้กับการช่วยเหลือ เป็นเรื่องที่รัฐบาลควรจะระมัดระวัง การกระทำใดๆ ในเรื่องที่เป็นรายได้หรือผลประโยชน์ของชาติ และประชาชน อย่าหมกเม็ดทำอะไรคลุมเครือไม่ชัดเจน "ดวงดาว และ ดวงเมือง กำลังจับตาดูพวกท่านอยู่นะ" 🥸🥸🥸#โหราศาสตร์ #ดวงเมืองประเทศไทย #ดูดวง#คุณหญิงไทยแดกดวง#saveเกาะกรูด
    0 Comments 0 Shares 419 Views 0 Reviews
  • 🇺🇸🇺🇦 ฝ่ายบริหารของไบเดนกล่าวว่า 🤣"การช่วยให้ยูเครนได้รับชัยชนะเป็นผลประโยชน์ของชาติสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป, กลุ่ม G7+, และพันธมิตรนาโต"🤣
    .
    JUST IN: 🇺🇸🇺🇦 Biden administration says "helping Ukraine prevail is in the national interest of the United States and its EU, G7+, and NATO partners."
    .
    10:23 AM · Nov 21, 2024 · 140.3K Views
    https://x.com/BRICSinfo/status/1859437426382397483
    🇺🇸🇺🇦 ฝ่ายบริหารของไบเดนกล่าวว่า 🤣"การช่วยให้ยูเครนได้รับชัยชนะเป็นผลประโยชน์ของชาติสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป, กลุ่ม G7+, และพันธมิตรนาโต"🤣 . JUST IN: 🇺🇸🇺🇦 Biden administration says "helping Ukraine prevail is in the national interest of the United States and its EU, G7+, and NATO partners." . 10:23 AM · Nov 21, 2024 · 140.3K Views https://x.com/BRICSinfo/status/1859437426382397483
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 292 Views 0 Reviews
  • อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
    โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ https://www.facebook.com/surawich.verawan

    การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้”

    กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย

    แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ

    อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง

    เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน

    และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร

    ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม

    แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว

    มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา

    ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย

    และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้

    วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้

    แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง

    อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม

    วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง

    วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น


    ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483

    #Thaitimes
    อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ https://www.facebook.com/surawich.verawan การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้” กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้ วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้ แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483 #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
    การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 1369 Views 0 Reviews
  • ## มหาเทพ ซัด "บัวแก้ว" ตัดตอนพระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องเกาะกูด และ พื้นที่ทางทะเล...!!! ##
    ..
    ..
    วันอังคาร ที่ 05/11/2567 อาจารย์ ปานเทพ ละเอียดยิบ ชี้...!!!
    .
    กรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ แถลงการณ์
    โดยมีการนำเสนอ ด้วยการ ทำกรอบสีแดง และไฮไลท์เน้นข้อความสีเหลือง
    .
    ซึ่ง อาจารย์ ปานเทพ ไม่สบายใจ ว่านี่ทำให้คนทั่วไป เข้าใจได้ว่าเป็นการ ตัดตอน พระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9...!!!
    .
    และ เป็นการส่งสัญญาณบางอย่างหรือไม่...???
    .
    ซึ่ง พระบรมราชโองการนี้ ประกาศจริง ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2516 และ ประกาศ ไว้ใน ราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2516
    .
    โดย ฉบับเต็ม มีใจความตอนหนึ่งว่า...
    .
    "สำหรับสิทธิอธิปไตยที่เป็นทะเลอาณาเขต ซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียง อันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และ เขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958"
    .
    และ ตีกรอบ ลงไฮไลท์ ตัดตอนลงเหลือเพียง...
    .
    "...สิทธิอธิปไตย...จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน..."
    .
    MOU44 เท่ากับประเทศไทยเปลี่ยนจุดยืนจากการปฏิเสธเส้นไหล่ทวีปของ กัมพูชา โดยพระบรมราชโองการ ของ ในหลวงรัชกาลที่ 9
    .
    กลายมาเป็น รับรู้ และ ไม่ปฏิเสธ เส้นเขตแดนที่ กัมพูชา วาดขึ้นตามอำเภอใจ โดยไม่ได้สนกฎหมายระหว่างประเทศอะไรเลย..!!!
    .
    ซ้ำ เปลี่ยนหลักการแบ่งเขตไหล่ทวีป จากการใช้บทบัญญัติของอนุสัญญา กรุงเจนีวา กลายเป็นใช้มูลฐานอื่น
    .
    นี่เป็นการ จงใจ เปิดโอกาส ให้มีการเจรจากัน นอกเหนือจากมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และ เขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ได้ ใช่หรือไม่...???
    .
    ทั้งหมดนี้ ทำไปเพื่ออะไร...???
    .
    ที่แท้ มีเจตนา อะไรกันแน่...???
    .
    ในเมื่อประเทศไทย มีโอกาสที่จะสูญเสียผลประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ จาก MOU44 อันเนื่องมาจาก หลักกฎหมายปิดปาก เช่นเดียวกับ กรณี เขาพระวิหาร...
    .
    เมื่อมีคนเสนอให้ยกเลิกไปซะ แต่รัฐบาลกลับ ปฏิเสธว่าทำไมได้...!!!
    .
    หึหึ...
    .
    คนเราผิดแล้ว รู้แก้ไข นั้น ถือเป็นผู้ตื่นรู้ครับ...
    .
    แต่ถ้าหากว่า มีคนเตือนแล้ว รู้ผิดแล้ว คงยังดึงดันที่จะเดินหน้าทำต่อให้ได้...!!!
    .
    แสดงว่าคนผู้นั้นมีเจตนาแอบแฝง ในการที่จะกระทำผิดต่อไป ใช่หรือไม่...???
    .
    นี่ผลประโยชน์ของชาตินะครับ
    ประเด็นนี้ เผ็ดร้อน ระดับ พริก 1 ล้านเม็ด...!!!
    .
    https://youtu.be/yy-kEcRaovY?si=uQ8KFo1yAI9dSdng
    .
    https://mgronline.com/daily/detail/9670000102716
    .
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000106616
    ## มหาเทพ ซัด "บัวแก้ว" ตัดตอนพระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องเกาะกูด และ พื้นที่ทางทะเล...!!! ## .. .. วันอังคาร ที่ 05/11/2567 อาจารย์ ปานเทพ ละเอียดยิบ ชี้...!!! . กรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ แถลงการณ์ โดยมีการนำเสนอ ด้วยการ ทำกรอบสีแดง และไฮไลท์เน้นข้อความสีเหลือง . ซึ่ง อาจารย์ ปานเทพ ไม่สบายใจ ว่านี่ทำให้คนทั่วไป เข้าใจได้ว่าเป็นการ ตัดตอน พระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9...!!! . และ เป็นการส่งสัญญาณบางอย่างหรือไม่...??? . ซึ่ง พระบรมราชโองการนี้ ประกาศจริง ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2516 และ ประกาศ ไว้ใน ราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2516 . โดย ฉบับเต็ม มีใจความตอนหนึ่งว่า... . "สำหรับสิทธิอธิปไตยที่เป็นทะเลอาณาเขต ซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียง อันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และ เขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958" . และ ตีกรอบ ลงไฮไลท์ ตัดตอนลงเหลือเพียง... . "...สิทธิอธิปไตย...จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน..." . MOU44 เท่ากับประเทศไทยเปลี่ยนจุดยืนจากการปฏิเสธเส้นไหล่ทวีปของ กัมพูชา โดยพระบรมราชโองการ ของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 . กลายมาเป็น รับรู้ และ ไม่ปฏิเสธ เส้นเขตแดนที่ กัมพูชา วาดขึ้นตามอำเภอใจ โดยไม่ได้สนกฎหมายระหว่างประเทศอะไรเลย..!!! . ซ้ำ เปลี่ยนหลักการแบ่งเขตไหล่ทวีป จากการใช้บทบัญญัติของอนุสัญญา กรุงเจนีวา กลายเป็นใช้มูลฐานอื่น . นี่เป็นการ จงใจ เปิดโอกาส ให้มีการเจรจากัน นอกเหนือจากมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และ เขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ได้ ใช่หรือไม่...??? . ทั้งหมดนี้ ทำไปเพื่ออะไร...??? . ที่แท้ มีเจตนา อะไรกันแน่...??? . ในเมื่อประเทศไทย มีโอกาสที่จะสูญเสียผลประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ จาก MOU44 อันเนื่องมาจาก หลักกฎหมายปิดปาก เช่นเดียวกับ กรณี เขาพระวิหาร... . เมื่อมีคนเสนอให้ยกเลิกไปซะ แต่รัฐบาลกลับ ปฏิเสธว่าทำไมได้...!!! . หึหึ... . คนเราผิดแล้ว รู้แก้ไข นั้น ถือเป็นผู้ตื่นรู้ครับ... . แต่ถ้าหากว่า มีคนเตือนแล้ว รู้ผิดแล้ว คงยังดึงดันที่จะเดินหน้าทำต่อให้ได้...!!! . แสดงว่าคนผู้นั้นมีเจตนาแอบแฝง ในการที่จะกระทำผิดต่อไป ใช่หรือไม่...??? . นี่ผลประโยชน์ของชาตินะครับ ประเด็นนี้ เผ็ดร้อน ระดับ พริก 1 ล้านเม็ด...!!! . https://youtu.be/yy-kEcRaovY?si=uQ8KFo1yAI9dSdng . https://mgronline.com/daily/detail/9670000102716 . https://mgronline.com/politics/detail/9670000106616
    Like
    Love
    4
    0 Comments 0 Shares 863 Views 0 Reviews
  • ผบ.ทร. ลงพื้นที่เกาะกูด ย้ำปกป้องอธิปไตยชาติ มั่นใจปัญหาไม่บายปลาย
    .
    เรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงอย่างมากในสังคมเวลานี้ โดยเฉพาะท่าทีขององค์กรภาคประชาชนและพรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างพรรคพลังประชารัฐที่ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าประเทศไทยมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ซึ่งเป็นเหตุผลที่สืบเนื่องมาจากการที่ไทยยังไม่ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทยทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544)
    .
    ในเรื่องนี้มีท่าทีจากฝ่ายกองทัพออกมาแสดงความคิดเห็น โดยพล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด พร้อมรับฟังบรรยายสรุปถึงการปฏิบัติงานของหน่วย และการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล และประสิทธิภาพของหน่วย เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กำลังพลที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ห่างไกลต่อไป โดยมี พล.ร.ต.ชรัมม์ภากร พรหมภากร รองผู้บัญชาการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด คณะผู้บังคับบัญชาและกำลังพลของหน่วย ให้การต้อนรับ
    .
    ทั้งนี้ พล.ร.อ. จิรพล ระบุว่า หน้าที่ของกองทัพเรือ คือการดูแลรักษาผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลไทยได้ประกาศเขต เอาไว้แล้วเมื่อปี พุทธศักราช 2516 เราจะดูแลพื้นที่ตามเขตแดนที่รัฐบาลประกาศไว้ ส่วนความคืบหน้าหรือข้อตกลงอะไรนั้น เป็นเรื่องของรัฐบาล เราทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ที่จะดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้กับประชาชน
    .
    “ขอให้มั่นใจกองทัพเรือดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่ ยืนยันความสัมพันธ์ ทั้งสองประเทศ พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ไม่มีความขัดแย้งใดๆ”
    .
    สำหรับกรณีที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวนั้น ผบ.ทร. กล่าวว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจ ว่ากองทัพเรือจะดูแลพื้นที่ตรงนี้ได้ ไม่ต้องเดินทางไกลมาถึงที่นี่ ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนฝั่ง และบนเกาะมีความมั่นใจกับกองทัพเรืออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามพื้นที่ของเรามีความสงบ ปลอดภัย ชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ปกติ ขณะที่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้าใจ และก็หากินในพื้นที่ของตนเอง ส่วนเราก็ทำมาหากินในพื้นที่ของเราไม่มีความขัดแย้งใดๆ
    ..............
    Sondhi X
    ผบ.ทร. ลงพื้นที่เกาะกูด ย้ำปกป้องอธิปไตยชาติ มั่นใจปัญหาไม่บายปลาย . เรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงอย่างมากในสังคมเวลานี้ โดยเฉพาะท่าทีขององค์กรภาคประชาชนและพรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างพรรคพลังประชารัฐที่ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าประเทศไทยมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ซึ่งเป็นเหตุผลที่สืบเนื่องมาจากการที่ไทยยังไม่ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทยทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) . ในเรื่องนี้มีท่าทีจากฝ่ายกองทัพออกมาแสดงความคิดเห็น โดยพล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด พร้อมรับฟังบรรยายสรุปถึงการปฏิบัติงานของหน่วย และการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล และประสิทธิภาพของหน่วย เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กำลังพลที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ห่างไกลต่อไป โดยมี พล.ร.ต.ชรัมม์ภากร พรหมภากร รองผู้บัญชาการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด คณะผู้บังคับบัญชาและกำลังพลของหน่วย ให้การต้อนรับ . ทั้งนี้ พล.ร.อ. จิรพล ระบุว่า หน้าที่ของกองทัพเรือ คือการดูแลรักษาผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลไทยได้ประกาศเขต เอาไว้แล้วเมื่อปี พุทธศักราช 2516 เราจะดูแลพื้นที่ตามเขตแดนที่รัฐบาลประกาศไว้ ส่วนความคืบหน้าหรือข้อตกลงอะไรนั้น เป็นเรื่องของรัฐบาล เราทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ที่จะดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้กับประชาชน . “ขอให้มั่นใจกองทัพเรือดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่ ยืนยันความสัมพันธ์ ทั้งสองประเทศ พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ไม่มีความขัดแย้งใดๆ” . สำหรับกรณีที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวนั้น ผบ.ทร. กล่าวว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจ ว่ากองทัพเรือจะดูแลพื้นที่ตรงนี้ได้ ไม่ต้องเดินทางไกลมาถึงที่นี่ ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนฝั่ง และบนเกาะมีความมั่นใจกับกองทัพเรืออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามพื้นที่ของเรามีความสงบ ปลอดภัย ชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ปกติ ขณะที่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้าใจ และก็หากินในพื้นที่ของตนเอง ส่วนเราก็ทำมาหากินในพื้นที่ของเราไม่มีความขัดแย้งใดๆ .............. Sondhi X
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 951 Views 0 Reviews
  • อินโดฯ:ไม่มีการลงทุน ก็ไม่ต้องมี iPhone16

    ชัดเจนแล้วว่าทางการอินโดนีเซียไม่ให้บริษัทแอปเปิ้ล (Apple Inc.) ของสหรัฐอเมริกา จำหน่ายโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 (iPhone 16) ในประเทศ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (25 ต.ค.) หลังบริษัทท้องถิ่น พีที แอปเปิ้ล อินโดนีเซีย (PT Apple Indonesia) ไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ให้ได้ 40% แต่ผลิตภัณฑ์รุ่นเก่าของแอปเปิ้ลยังคงจำหน่ายในอินโดนีเซียได้

    ทั้งนี้ มีโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 นำเข้ามาในประเทศอินโดนีเซียแล้ว 9,000 เครื่อง ผ่านการซื้อจากต่างประเทศของผู้โดยสาร และลูกเรือบนเครื่องบิน หรือการส่งพัสดุระหว่างประเทศ แต่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานส่วนบุคคล (Personal Use) เท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายแก่ผู้อื่นได้ และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ทางการอินโดนีเซียได้กำหนดให้โทรศัพท์มือถือทุกรุ่นที่ซื้อจากต่างประเทศต้องลงทะเบียนกับรัฐบาล และเสียภาษีในอัตราที่สูง

    กรณีนี้กลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้แอปเปิ้ล ไม่สามารถเจาะตลาดสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ แก่ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ประมาณ 350 ล้านเครื่อง มากกว่าจำนวนประชากรราว 270 ล้านคน ทั้งที่แอปเปิ้ลเปิดตัวผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 เป็นต้นมา ซึ่งในภูมิภาคอาเซียนวางจำหน่ายแล้วที่ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์

    ตามข้อบังคับของกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย ปี 2017 กำหนดให้ผู้ประกอบการจะต้องขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศ เรียกว่า TKDN (Tingkat Komponen Domestik Negeri) หนึ่งในนั้นคือการกำหนด Local Content ในรูปแบบการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ การผลิตและการจ้างแรงงานในประเทศ การพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือนวัตกรรมในประเทศ ที่ผ่านมาแอปเปิ้ลเลือกใช้โครงการพัฒนานวัตกรรม ก่อตั้งสถาบัน Apple Academies ที่เมืองทังเกอรัง เมืองซิโดอาร์โจ และเมืองบาตัม

    ปัญหาก็คือ เม็ดเงินลงทุนของแอปเปิ้ลในอินโดนีเซียอยู่ที่ 1.48 ล้านล้านรูเปียห์ ต่ำกว่ายอดการลงทุนทั้งหมดที่กำหนดไว้ 1.71 ล้านล้านรูเปียห์ ทำให้อินโดนีเซียขาดดุลทางการค้าคิดเป็นเงินไทยเกือบ 500 ล้านบาท แม้มองผิวเผินดูเหมือนว่าเป็นการกีดกันทางการค้า จำกัดเสรีภาพในการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ แต่อีกมุมหนึ่ง ถือเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ไม่ให้เกิดการขาดดุลทางการค้า ซึ่งที่ผ่านมา ซัมซุงและเสียวมี่ เลือกที่จะตั้งโรงงานในอินโดนีเซียเช่นกัน

    #Newskit #iPhone16 #Indonesia
    อินโดฯ:ไม่มีการลงทุน ก็ไม่ต้องมี iPhone16 ชัดเจนแล้วว่าทางการอินโดนีเซียไม่ให้บริษัทแอปเปิ้ล (Apple Inc.) ของสหรัฐอเมริกา จำหน่ายโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 (iPhone 16) ในประเทศ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (25 ต.ค.) หลังบริษัทท้องถิ่น พีที แอปเปิ้ล อินโดนีเซีย (PT Apple Indonesia) ไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ให้ได้ 40% แต่ผลิตภัณฑ์รุ่นเก่าของแอปเปิ้ลยังคงจำหน่ายในอินโดนีเซียได้ ทั้งนี้ มีโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 นำเข้ามาในประเทศอินโดนีเซียแล้ว 9,000 เครื่อง ผ่านการซื้อจากต่างประเทศของผู้โดยสาร และลูกเรือบนเครื่องบิน หรือการส่งพัสดุระหว่างประเทศ แต่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานส่วนบุคคล (Personal Use) เท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายแก่ผู้อื่นได้ และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ทางการอินโดนีเซียได้กำหนดให้โทรศัพท์มือถือทุกรุ่นที่ซื้อจากต่างประเทศต้องลงทะเบียนกับรัฐบาล และเสียภาษีในอัตราที่สูง กรณีนี้กลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้แอปเปิ้ล ไม่สามารถเจาะตลาดสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ แก่ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ประมาณ 350 ล้านเครื่อง มากกว่าจำนวนประชากรราว 270 ล้านคน ทั้งที่แอปเปิ้ลเปิดตัวผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 เป็นต้นมา ซึ่งในภูมิภาคอาเซียนวางจำหน่ายแล้วที่ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ ตามข้อบังคับของกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย ปี 2017 กำหนดให้ผู้ประกอบการจะต้องขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศ เรียกว่า TKDN (Tingkat Komponen Domestik Negeri) หนึ่งในนั้นคือการกำหนด Local Content ในรูปแบบการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ การผลิตและการจ้างแรงงานในประเทศ การพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือนวัตกรรมในประเทศ ที่ผ่านมาแอปเปิ้ลเลือกใช้โครงการพัฒนานวัตกรรม ก่อตั้งสถาบัน Apple Academies ที่เมืองทังเกอรัง เมืองซิโดอาร์โจ และเมืองบาตัม ปัญหาก็คือ เม็ดเงินลงทุนของแอปเปิ้ลในอินโดนีเซียอยู่ที่ 1.48 ล้านล้านรูเปียห์ ต่ำกว่ายอดการลงทุนทั้งหมดที่กำหนดไว้ 1.71 ล้านล้านรูเปียห์ ทำให้อินโดนีเซียขาดดุลทางการค้าคิดเป็นเงินไทยเกือบ 500 ล้านบาท แม้มองผิวเผินดูเหมือนว่าเป็นการกีดกันทางการค้า จำกัดเสรีภาพในการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ แต่อีกมุมหนึ่ง ถือเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ไม่ให้เกิดการขาดดุลทางการค้า ซึ่งที่ผ่านมา ซัมซุงและเสียวมี่ เลือกที่จะตั้งโรงงานในอินโดนีเซียเช่นกัน #Newskit #iPhone16 #Indonesia
    Like
    6
    0 Comments 2 Shares 954 Views 0 Reviews
  • ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงต่างประเทศรัสเซียเตือนสติปธน.จอร์เจีย หลังจากเธอออกมาบอกว่าจะไม่รัฐรองผลการเลือกตั้งสมาชิกรับสภาในจอร์เจียหลังการเลือกตั้งเพิ่งเสร็จสิ้น

    ซาคาโรวา ระบุว่า เป็นเรื่องโง่เขลา หากยังเชื่อว่าสหภาพยุโรปสามารถมอบอนาคตที่ดีในยุโรปให้กับใครบางคนได้

    “วอชิงตันเพิ่งพรากอนาคตของยุโรปไปจากสหภาพยุโรป ตอนนี้ยุโรปขาดแหล่งทรัพยากรที่มั่นคง ทำให้เศรษฐกิจพังทลาย
    ก่อนหน้านี้ พวกประเทศของพวกเขา(ยุโรป)เต็มไปด้วยจำนวนผู้อพยพผิดกฎหมายที่หลั่งไหลเข้ามาจำนวนนับล้านคน เนื่องจากต้องทำตามคำสั่งของอเมริกาให้เปิดรับและดูแลผู้อพยพ ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบของอเมริกาในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ”

    “การพรากอนาคตไปจากมือ มันก็คือการพรากอิสรภาพและผลประโยชน์ของชาติตนเองออกไป และตราบใดที่ประเทศและประชาชนสามารถคิดเองและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อุปถัมภ์จากวอชิงตัน พวกเขาจะยังมีอนาคต”
    ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงต่างประเทศรัสเซียเตือนสติปธน.จอร์เจีย หลังจากเธอออกมาบอกว่าจะไม่รัฐรองผลการเลือกตั้งสมาชิกรับสภาในจอร์เจียหลังการเลือกตั้งเพิ่งเสร็จสิ้น ซาคาโรวา ระบุว่า เป็นเรื่องโง่เขลา หากยังเชื่อว่าสหภาพยุโรปสามารถมอบอนาคตที่ดีในยุโรปให้กับใครบางคนได้ “วอชิงตันเพิ่งพรากอนาคตของยุโรปไปจากสหภาพยุโรป ตอนนี้ยุโรปขาดแหล่งทรัพยากรที่มั่นคง ทำให้เศรษฐกิจพังทลาย ก่อนหน้านี้ พวกประเทศของพวกเขา(ยุโรป)เต็มไปด้วยจำนวนผู้อพยพผิดกฎหมายที่หลั่งไหลเข้ามาจำนวนนับล้านคน เนื่องจากต้องทำตามคำสั่งของอเมริกาให้เปิดรับและดูแลผู้อพยพ ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบของอเมริกาในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ” “การพรากอนาคตไปจากมือ มันก็คือการพรากอิสรภาพและผลประโยชน์ของชาติตนเองออกไป และตราบใดที่ประเทศและประชาชนสามารถคิดเองและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อุปถัมภ์จากวอชิงตัน พวกเขาจะยังมีอนาคต”
    0 Comments 0 Shares 137 Views 0 Reviews
  • คุณ รสนา โตสิตระกูล โพสเฟสบุ๊ค...
    .
    มีความหมายว่า...
    .
    ที่กระสันจะเจรจากันอยู่นั้น...
    .
    ดูแปลกๆ ทะแม่งๆ รึเปล่า...???
    .
    ผลประโยชน์ของชาติ หรือ ผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคล กันแน่...???
    .
    เราจับตาดูอยู่นะ...!!!
    ...
    ...
    เอาจริงๆ "ถ้า" มันมีการ "ขายชาติ" เพราะผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคล จริง...!!!
    .
    การเตรียม ฟิตร่างกาย ซื้อรองเท้าสุขภาพหลายๆคู่ ก็คงต้องมาแล้วหล่ะมั้ง...
    .
    🤣🤣🤣🤣🤣🤣
    คุณ รสนา โตสิตระกูล โพสเฟสบุ๊ค... . มีความหมายว่า... . ที่กระสันจะเจรจากันอยู่นั้น... . ดูแปลกๆ ทะแม่งๆ รึเปล่า...??? . ผลประโยชน์ของชาติ หรือ ผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคล กันแน่...??? . เราจับตาดูอยู่นะ...!!! ... ... เอาจริงๆ "ถ้า" มันมีการ "ขายชาติ" เพราะผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคล จริง...!!! . การเตรียม ฟิตร่างกาย ซื้อรองเท้าสุขภาพหลายๆคู่ ก็คงต้องมาแล้วหล่ะมั้ง... . 🤣🤣🤣🤣🤣🤣
    0 Comments 0 Shares 88 Views 0 Reviews
  • “เนทันยาฮู” ลั่นโจมตี “ฮิซบอลเลาะห์” ไม่ปรานีทั่วเลบานอน รวมถึงกรุงเบรุต หลังเสียทหาร 4 นายจากปฏิบัติการโจมตีของนักรบกลุ่มนี้ นอกจากนั้น อิสราเอลยังเปิดเผยว่า ผู้นำอิสราเอลได้บอกกับ “ไบเดน” ว่า จะรับฟังความคิดเห็นของอเมริกา แต่การตอบโต้อิหร่านจะอิงกับผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง ขณะที่ประมุขกาตาร์กล่าวหายิวเลือกขยายวงความขัดแย้งในตะวันออกกลางเพื่อบรรลุแผนการที่เตรียมเอาไว้แล้ว ด้วยการรุกรานและตั้งให้ชาวยิวขยายการตั้งถิ่นฐานในเขตยึดครองเวสต์แบงก์และเลบานอน
    .
    นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ประกาศเมื่อวันจันทร์ (14 ต.ค.) ว่า จะโจมตีโดยไม่ปรานีต่อฮิซบอลเลาะห์ในทุกพื้นที่ทั่วเลบานอนซึ่งรวมถึงกรุงเบรุต หลังจากในวันอาทิตย์ (13) กลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านกลุ่มนี้ส่งโดรนโจมตีค่ายฝึกทหารในเมืองบินยามินา ของอิสราเอล ส่งผลให้ทหารเสียชีวิต 4 นาย และมีผู้บาดเจ็บอีก 60 คน
    .
    สำนักข่าวแห่งชาติของทางการเลบานอน (เอ็นเอ็นเอ) รายงานว่าเมื่อเช้าวันอังคาร (15) อิสราเอลโจมตีทางอากาศหลายระลอกในเขตหุบเขาเบกา ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของเลบานอน ทำให้โรงพยาบาลในเมืองบาลเบคต้องปิดทำการ ขณะที่นิโคลัส ฟอน อาร์กซ์ ผู้อำนวยการคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เรียกร้องให้คุ้มครองรถฉุกเฉินและสถานพยาบาลอื่นๆ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์
    .
    ทางด้านฮิซบอลเลาะห์เผยว่า นักรบปะทะกับกองกำลังอิสราเอลที่พยายามบุกเข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่งเมื่อวันอังคาร นอกจากนั้นทางกลุ่มยังยิงขีปนาวุธโจมตีทหารอิสราเอล และยิงจรวดโจมตีเป้าหมายทางตอนเหนือของอิสราเอล ขณะที่กองทัพอิสราเอลเผยว่า มีจรวด 3 ลูกยิงมาจากเลบานอนแต่สกัดไว้ได้โดยไม่มีผู้บาดเจ็บ และตลอดวันจันทร์มีจรวดที่ฮิซบอลเลาะห์ยิงข้ามแดนมาราว 115 ลูก
    .
    ทั้งนี้ นับจากอิสราเอลระดมทิ้งระเบิดในเลบานอนเมื่อเดือนที่แล้วก่อนส่งกำลังบุกภาคพื้นดิน มีผู้เสียชีวิตในเลบานอนจนถึงขณะนี้อย่างน้อย 1,315 คน
    .
    นอกจากกร้าวใส่ฮิซบอลเลาะห์แล้ว เนทันยาฮูยังแถลงตอบโต้ในวันจันทร์ (14) ด้วยว่า ข้อกล่าวหาที่ว่า กองทัพอิสราเอลจงใจโจมตีกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติทางตอนใต้ของเลบานอน หรือยูนิฟิล และทำให้สมาชิกยูนิฟิลบาดเจ็บ 5 นายนั้น “เป็นเรื่องไม่จริงโดยสิ้นเชิง” ถึงแม้ทางสหประชาชาติยืนยันเรื่องนี้อย่างชัดเจน พร้อมกันนั้น นายกฯ รัฐยิวยังเรียกร้องอีกครั้งให้ยูนิฟิลถอนไปจากเขตสู้รบใกล้ชายแดนอิสราเอล และย้ำข้อกล่าวหาที่ว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้ที่ตั้งของยูนิฟิลเป็นที่กำบังเพื่อโจมตีและสังหารคนอิสราเอล ซึ่งรวมถึงการโจมตีค่ายทหารเมื่อวันอาทิตย์
    .
    อย่างไรก็ดี แอนเดรีย เทเนนติ โฆษกยูนิฟิล โพสต์วิดีโอบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ยูนิฟิลจะยังคงปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ดังกล่าว
    .
    ในวันจันทร์เช่นกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้แถลงแสดงความกังวลอย่างยิ่งที่สมาชิกกองกำลังรักษาสันติภาพได้รับบาดเจ็บ
    .
    เมื่อวันอังคาร สำนักนายกรัฐมนตรีอิสราเอลเปิดเผยว่า เนทันยาฮูแจ้งกับประธานาธิบดีโจ ไบเดนว่า อิสราเอลจะรับฟังความคิดเห็นของอเมริกา แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการตอบโต้อิหร่านจะอิงกับผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก
    .
    คำแถลงนี้มีขึ้นหลังจากสื่อวอชิงตันโพสต์รายงานโดยอ้างอิงการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่ไม่ประสงค์เปิดเผยตัวตนว่า เนทันยาฮูให้ความมั่นใจกับไบเดนระหว่างหารือทางโทรศัพท์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า การโจมตีอิหร่านจะจำกัดเป้าหมายที่ที่ตั้งทางทหารเท่านั้น
    .
    รายงานของวอชิงตันโพสต์บอกด้วยว่า การรับรองเช่นนี้ยังมีขึ้นตอนที่โยอาฟ กัลแลนต์ รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล หารือทางโทรศัพท์กับลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเช่นเดียวกัน
    .
    ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 ต.ค. อิหร่านยิงขีปนาวุธราว 200 ลูกโจมตีอิสราเอล เพื่อแก้แค้นที่อิสราเอลถล่มเบรุตและทำให้ฮัสซัน นัสรัลเลาะห์ ผู้นำฮิซบอลเลาะห์ รวมทั้งพลเอกอับบาส นิลโฟรูชาน ของอิหร่านเสียชีวิต
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อวันอังคาร ชัยค์ ตะมิม บิน ฮามัด อัล-ทานี ผู้ปกครองกาตาร์ กล่าวเปิดประชุมประจำปีสภาที่ปรึกษากาตาร์ว่า วิธีที่ง่ายดายและปลอดภัยที่สุดในการหยุดยั้งความรุนแรงบริเวณชายแดนเลบานอนคือการยุติสงครามทำลายล้างในกาซา แต่อิสราเอลกลับเลือกขยายการรุกรานเพื่อดำเนินการตามแผนอุบายต่างๆ ที่วางเอาไว้แล้วในสถานที่อื่นๆ นอกเหนือจากกาซา เป็นต้นว่า เขตเวสต์แบงก์และเลบานอน เนื่องจากเห็นว่า สามารถทำได้
    .
    ชัยค์ ตะมิมเสริมว่า อิสราเอลกำลังฉวยโอกาสที่นานาชาตินิ่งเฉย สานแผนการให้ชาวยิวเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก
    .
    อย่างไรก็ตาม ประมุขกาตาร์บอกว่า ภายหลังการสังหารและทำลายล้างในภูมิภาคนี้ทั้งหมดแล้ว อิสราเอลก็จะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปฏิบัติตามสิ่งที่นานาชาติตกลงกันเกี่ยวกับระบบ 2 รัฐ หรือการสถาปนารัฐปาเลสไตน์เคียงข้างรัฐอิสราเอล
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000099597
    ..............
    Sondhi X
    “เนทันยาฮู” ลั่นโจมตี “ฮิซบอลเลาะห์” ไม่ปรานีทั่วเลบานอน รวมถึงกรุงเบรุต หลังเสียทหาร 4 นายจากปฏิบัติการโจมตีของนักรบกลุ่มนี้ นอกจากนั้น อิสราเอลยังเปิดเผยว่า ผู้นำอิสราเอลได้บอกกับ “ไบเดน” ว่า จะรับฟังความคิดเห็นของอเมริกา แต่การตอบโต้อิหร่านจะอิงกับผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง ขณะที่ประมุขกาตาร์กล่าวหายิวเลือกขยายวงความขัดแย้งในตะวันออกกลางเพื่อบรรลุแผนการที่เตรียมเอาไว้แล้ว ด้วยการรุกรานและตั้งให้ชาวยิวขยายการตั้งถิ่นฐานในเขตยึดครองเวสต์แบงก์และเลบานอน . นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ประกาศเมื่อวันจันทร์ (14 ต.ค.) ว่า จะโจมตีโดยไม่ปรานีต่อฮิซบอลเลาะห์ในทุกพื้นที่ทั่วเลบานอนซึ่งรวมถึงกรุงเบรุต หลังจากในวันอาทิตย์ (13) กลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านกลุ่มนี้ส่งโดรนโจมตีค่ายฝึกทหารในเมืองบินยามินา ของอิสราเอล ส่งผลให้ทหารเสียชีวิต 4 นาย และมีผู้บาดเจ็บอีก 60 คน . สำนักข่าวแห่งชาติของทางการเลบานอน (เอ็นเอ็นเอ) รายงานว่าเมื่อเช้าวันอังคาร (15) อิสราเอลโจมตีทางอากาศหลายระลอกในเขตหุบเขาเบกา ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของเลบานอน ทำให้โรงพยาบาลในเมืองบาลเบคต้องปิดทำการ ขณะที่นิโคลัส ฟอน อาร์กซ์ ผู้อำนวยการคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เรียกร้องให้คุ้มครองรถฉุกเฉินและสถานพยาบาลอื่นๆ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ . ทางด้านฮิซบอลเลาะห์เผยว่า นักรบปะทะกับกองกำลังอิสราเอลที่พยายามบุกเข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่งเมื่อวันอังคาร นอกจากนั้นทางกลุ่มยังยิงขีปนาวุธโจมตีทหารอิสราเอล และยิงจรวดโจมตีเป้าหมายทางตอนเหนือของอิสราเอล ขณะที่กองทัพอิสราเอลเผยว่า มีจรวด 3 ลูกยิงมาจากเลบานอนแต่สกัดไว้ได้โดยไม่มีผู้บาดเจ็บ และตลอดวันจันทร์มีจรวดที่ฮิซบอลเลาะห์ยิงข้ามแดนมาราว 115 ลูก . ทั้งนี้ นับจากอิสราเอลระดมทิ้งระเบิดในเลบานอนเมื่อเดือนที่แล้วก่อนส่งกำลังบุกภาคพื้นดิน มีผู้เสียชีวิตในเลบานอนจนถึงขณะนี้อย่างน้อย 1,315 คน . นอกจากกร้าวใส่ฮิซบอลเลาะห์แล้ว เนทันยาฮูยังแถลงตอบโต้ในวันจันทร์ (14) ด้วยว่า ข้อกล่าวหาที่ว่า กองทัพอิสราเอลจงใจโจมตีกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติทางตอนใต้ของเลบานอน หรือยูนิฟิล และทำให้สมาชิกยูนิฟิลบาดเจ็บ 5 นายนั้น “เป็นเรื่องไม่จริงโดยสิ้นเชิง” ถึงแม้ทางสหประชาชาติยืนยันเรื่องนี้อย่างชัดเจน พร้อมกันนั้น นายกฯ รัฐยิวยังเรียกร้องอีกครั้งให้ยูนิฟิลถอนไปจากเขตสู้รบใกล้ชายแดนอิสราเอล และย้ำข้อกล่าวหาที่ว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้ที่ตั้งของยูนิฟิลเป็นที่กำบังเพื่อโจมตีและสังหารคนอิสราเอล ซึ่งรวมถึงการโจมตีค่ายทหารเมื่อวันอาทิตย์ . อย่างไรก็ดี แอนเดรีย เทเนนติ โฆษกยูนิฟิล โพสต์วิดีโอบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ยูนิฟิลจะยังคงปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ดังกล่าว . ในวันจันทร์เช่นกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้แถลงแสดงความกังวลอย่างยิ่งที่สมาชิกกองกำลังรักษาสันติภาพได้รับบาดเจ็บ . เมื่อวันอังคาร สำนักนายกรัฐมนตรีอิสราเอลเปิดเผยว่า เนทันยาฮูแจ้งกับประธานาธิบดีโจ ไบเดนว่า อิสราเอลจะรับฟังความคิดเห็นของอเมริกา แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการตอบโต้อิหร่านจะอิงกับผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก . คำแถลงนี้มีขึ้นหลังจากสื่อวอชิงตันโพสต์รายงานโดยอ้างอิงการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่ไม่ประสงค์เปิดเผยตัวตนว่า เนทันยาฮูให้ความมั่นใจกับไบเดนระหว่างหารือทางโทรศัพท์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า การโจมตีอิหร่านจะจำกัดเป้าหมายที่ที่ตั้งทางทหารเท่านั้น . รายงานของวอชิงตันโพสต์บอกด้วยว่า การรับรองเช่นนี้ยังมีขึ้นตอนที่โยอาฟ กัลแลนต์ รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล หารือทางโทรศัพท์กับลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเช่นเดียวกัน . ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 ต.ค. อิหร่านยิงขีปนาวุธราว 200 ลูกโจมตีอิสราเอล เพื่อแก้แค้นที่อิสราเอลถล่มเบรุตและทำให้ฮัสซัน นัสรัลเลาะห์ ผู้นำฮิซบอลเลาะห์ รวมทั้งพลเอกอับบาส นิลโฟรูชาน ของอิหร่านเสียชีวิต . ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อวันอังคาร ชัยค์ ตะมิม บิน ฮามัด อัล-ทานี ผู้ปกครองกาตาร์ กล่าวเปิดประชุมประจำปีสภาที่ปรึกษากาตาร์ว่า วิธีที่ง่ายดายและปลอดภัยที่สุดในการหยุดยั้งความรุนแรงบริเวณชายแดนเลบานอนคือการยุติสงครามทำลายล้างในกาซา แต่อิสราเอลกลับเลือกขยายการรุกรานเพื่อดำเนินการตามแผนอุบายต่างๆ ที่วางเอาไว้แล้วในสถานที่อื่นๆ นอกเหนือจากกาซา เป็นต้นว่า เขตเวสต์แบงก์และเลบานอน เนื่องจากเห็นว่า สามารถทำได้ . ชัยค์ ตะมิมเสริมว่า อิสราเอลกำลังฉวยโอกาสที่นานาชาตินิ่งเฉย สานแผนการให้ชาวยิวเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก . อย่างไรก็ตาม ประมุขกาตาร์บอกว่า ภายหลังการสังหารและทำลายล้างในภูมิภาคนี้ทั้งหมดแล้ว อิสราเอลก็จะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปฏิบัติตามสิ่งที่นานาชาติตกลงกันเกี่ยวกับระบบ 2 รัฐ หรือการสถาปนารัฐปาเลสไตน์เคียงข้างรัฐอิสราเอล . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000099597 .............. Sondhi X
    Like
    Angry
    5
    0 Comments 0 Shares 1111 Views 0 Reviews
  • น่าจะอยู่ในหมากท่านยิวลอร์ดซาตานด้วย,ฝรั่ง&ตะวันตกUN&OSS&CIA อยู่เบื้องหลังแบบอีรัก ลิเบีย ปาเลสไตน์นั้นล่ะ,เพื่อสร้างนอมินีสงครามตัวแทนในแต่ละภูมิภาคให้ได้,มุสลิมไทยถูกหลอกใช้เยอะ ให้มุสลิมต่างชาติที่ไม่ใช่คนไทยมุสลิมปั่นหัวว่ามุสลิมทั่วโลกคือเผ่าชนเดียวกัน เช่นนั้นไม่พากันของสัญชาติUAE ดูไบกันอิสระล่ะ,ร่ำรวยจะตายขอย้ายไปอยู่ดูไบเพราะอิสลามเหมือนกันสิสถานะร่ำรวยจะอยู่อย่างสบายได้ก็คนอิสลามเหมือนกัน,อิสลามไทยหรือที่ไหนๆไปสิ เผ่ามุสลิมเหมือนกันไม่กีดกั้นกีดกำแพงกัน ซาอุฯ อิหร่าน ที่ร่ำรวยพากันย้ายถิ่นจากแผ่นดินไทยเลยสิ,มาปั่นป่วนทำไม,เพราะมันคือขบวนการก่อความวุ่นวายโกลาหล รักษาผลประโยชน์ของชาติตะวันตกและพยายามยึดครองแหล่งทรัพยากรมีค่ามากมายบนอ่าวไทย&อันดามันบวกภาคใต้ทัังหมดเพราะทองคำทั้งภูเขายังเต็มตรึมที่ภาคใต้ หวานปากพวกฝรั่งและอีลิทเลวทั่วโลก จึงปั่นจึงย้ายจึงขนคนแขกคนอาหรับคนพม่าคนโรจิงญามาอยู่ในไทยสร้างกำแพงคนกั้นทั้งภาคใต้ สร้างโกลาหล UNในนามผีบ้าโลกจะได้ออกหน้ามาแทรกแซงแบบบอกให้คนไทยต้องเลี้ยง&ต้องรับเลีัยงดูคนพม่านะ ออกหน้าอย่างหน้าด้านๆ,ทีอิสราเอลยึดครองดินแดนปาเลสไตน์อย่างอยุติธรม UNเสือกไม่เสนอหน้าขับไล่อิสราเอลออกจากปาเลสไตน์เลยสักแอะ นี้จึงสมควรยุบUNทิ้งออกไปจากโลก ห้ามก่อการและต้องสลายตัวสลายองค์กรนี้ทันที เป็นภัยหายนะของโลกแทนด้วยซ้ำเพราะยุ่งวุ่นวายชาติอื่นทุกๆชาติและไม่ได้มีความยุติธรรมอะไร ประเทศทุกๆประเทศก็โง่ สมองผู้นำชั่งกระจอก&กาก เห็นUNเหี้ยขนาดนั้นก็สมควรลาออกจากสมาชิกองค์กรมันสะ,ทุกๆชาติไม่เอาด้วยก็สลายในที่สุด หายนะโลกอาจพลิกเป็นดีได้ เหมือนหากกำจัดตระกูลรอธไชล์ดและตระกูลร็อกกี้เฟลเลอร์ทิ้งเสีย เรื่องเลวร้ายทั้งหมดที่โลกกำลังเผชิญก็จบทุกๆปัญหาทันที อย่างมากด้วยหัวไป หางสมุนจะรอดที่ไหน ท่อน้ำเลี้ยงการสนับสนุนถูกตัดตอน ตังไม่มีจากตระกูลผีบ้านี้จบแน่นอน.,อิสลามในไทยก็ไปวัดด้วยแม้แต่โจรใต้ก็จบสู่ความสงบทั้งหมด.เพราะตัวต้นเหตุปัญหาที่แท้จริงถูกตัดตอนจริงๆนั้นเอง.
    น่าจะอยู่ในหมากท่านยิวลอร์ดซาตานด้วย,ฝรั่ง&ตะวันตกUN&OSS&CIA อยู่เบื้องหลังแบบอีรัก ลิเบีย ปาเลสไตน์นั้นล่ะ,เพื่อสร้างนอมินีสงครามตัวแทนในแต่ละภูมิภาคให้ได้,มุสลิมไทยถูกหลอกใช้เยอะ ให้มุสลิมต่างชาติที่ไม่ใช่คนไทยมุสลิมปั่นหัวว่ามุสลิมทั่วโลกคือเผ่าชนเดียวกัน เช่นนั้นไม่พากันของสัญชาติUAE ดูไบกันอิสระล่ะ,ร่ำรวยจะตายขอย้ายไปอยู่ดูไบเพราะอิสลามเหมือนกันสิสถานะร่ำรวยจะอยู่อย่างสบายได้ก็คนอิสลามเหมือนกัน,อิสลามไทยหรือที่ไหนๆไปสิ เผ่ามุสลิมเหมือนกันไม่กีดกั้นกีดกำแพงกัน ซาอุฯ อิหร่าน ที่ร่ำรวยพากันย้ายถิ่นจากแผ่นดินไทยเลยสิ,มาปั่นป่วนทำไม,เพราะมันคือขบวนการก่อความวุ่นวายโกลาหล รักษาผลประโยชน์ของชาติตะวันตกและพยายามยึดครองแหล่งทรัพยากรมีค่ามากมายบนอ่าวไทย&อันดามันบวกภาคใต้ทัังหมดเพราะทองคำทั้งภูเขายังเต็มตรึมที่ภาคใต้ หวานปากพวกฝรั่งและอีลิทเลวทั่วโลก จึงปั่นจึงย้ายจึงขนคนแขกคนอาหรับคนพม่าคนโรจิงญามาอยู่ในไทยสร้างกำแพงคนกั้นทั้งภาคใต้ สร้างโกลาหล UNในนามผีบ้าโลกจะได้ออกหน้ามาแทรกแซงแบบบอกให้คนไทยต้องเลี้ยง&ต้องรับเลีัยงดูคนพม่านะ ออกหน้าอย่างหน้าด้านๆ,ทีอิสราเอลยึดครองดินแดนปาเลสไตน์อย่างอยุติธรม UNเสือกไม่เสนอหน้าขับไล่อิสราเอลออกจากปาเลสไตน์เลยสักแอะ นี้จึงสมควรยุบUNทิ้งออกไปจากโลก ห้ามก่อการและต้องสลายตัวสลายองค์กรนี้ทันที เป็นภัยหายนะของโลกแทนด้วยซ้ำเพราะยุ่งวุ่นวายชาติอื่นทุกๆชาติและไม่ได้มีความยุติธรรมอะไร ประเทศทุกๆประเทศก็โง่ สมองผู้นำชั่งกระจอก&กาก เห็นUNเหี้ยขนาดนั้นก็สมควรลาออกจากสมาชิกองค์กรมันสะ,ทุกๆชาติไม่เอาด้วยก็สลายในที่สุด หายนะโลกอาจพลิกเป็นดีได้ เหมือนหากกำจัดตระกูลรอธไชล์ดและตระกูลร็อกกี้เฟลเลอร์ทิ้งเสีย เรื่องเลวร้ายทั้งหมดที่โลกกำลังเผชิญก็จบทุกๆปัญหาทันที อย่างมากด้วยหัวไป หางสมุนจะรอดที่ไหน ท่อน้ำเลี้ยงการสนับสนุนถูกตัดตอน ตังไม่มีจากตระกูลผีบ้านี้จบแน่นอน.,อิสลามในไทยก็ไปวัดด้วยแม้แต่โจรใต้ก็จบสู่ความสงบทั้งหมด.เพราะตัวต้นเหตุปัญหาที่แท้จริงถูกตัดตอนจริงๆนั้นเอง.
    0 Comments 0 Shares 363 Views 32 0 Reviews
More Results