• อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ
    สัทธรรมลำดับที่ : 956
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=956
    ชื่อบทธรรม :- ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ (การรักษาโรคด้วยอำนาจสมาธิ)
    --อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่เธอแล้ว
    ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว
    อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ.
    สัญญา ๑๐ ประการนั้นคือ
    อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา
    อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา
    สัพพโลเกอนภิรตสัญญา สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา
    อานาปานสติ.
    --อานนท์ ! อนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้
    ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ ว่า
    “รูป ไม่เที่ยง; เวทนา ไม่เที่ยง;
    สัญญา ไม่เที่ยง; สังขาร ไม่เที่ยง;
    วิญญาณ ไม่เที่ยง”
    ดังนี้
    เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้
    อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อนิจจสัญญา.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/115/?keywords=อนิจฺจสญฺญา

    --อานนท์ ! อนัตตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า
    “ตา เป็นอนัตตา รูป เป็นอนัตตา;
    หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา;
    จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา;
    ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา;
    กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา;
    ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา”
    ดังนี้
    เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งภายในและภายนอกหก เหล่านี้
    อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อนัตตสัญญา.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/116/?keywords=อนตฺตสญฺญา

    --อานนท์ ! อสุภสัญญา เป็นอย่างไรเล่า?
    +--อานนท์! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นโดยประจักษ์ซึ่งกายนี้นี่แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไปถึงเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาถึงเบื้องล่าง ว่ามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของอสุจิมีประการต่างๆ; คือกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร;
    เป็นผู้ตามเห็นความไม่งาม ในกายนี้ อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อสุภสัญญา.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/117/?keywords=อสุภสญฺญา

    --อานนท์ ! อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า
    “กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก; คือในกายนี้มีอาพาธต่างๆ เกิดขึ้น,
    กล่าวคือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคที่ศีรษะ โรคที่หู โรคที่ปาก โรคที่ฟัน โรคไอ โรคหืด
    ไข้หวัด ไข้มีพิษร้อน ไข้เซื่องซึม
    โรคกระเพาะ โรคลมสลบ ลงแดง จุกเสียด เจ็บเสียว
    โรคเรื้อรัง โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน คุดทะราด โรคละออง โรคโลหิต โรคดีซ่าน เบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง ริดสีดวงทวาร
    อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฎฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน
    ไข้สันนิบาต ไข้เพราะฤดูแปรปรวน ไข้เพราะบริหารกายไม่สม่ำเสมอ ไข้เพราะออกกำลังเกิน ไข้เพราะวิบากกรรม
    ความไม่สบายเพราะความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย
    การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะ”
    ดังนี้;
    เป็นผู้ตามเห็นโทษในกายนี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อาทีนวสัญญา.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/117/?keywords=อาทีนวสญฺญา

    --อานนท์ ! ปหานสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง กามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป;
    ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง พยาบาทวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป;
    ไม่ยอมรับไว้ซึ่งวิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา
    กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป;
    ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง อกุศลธรรมทั้งหลาย อันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป : นี้เรียกว่า #ปหานสัญญา.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=ปหานสญฺญา

    --อานนท์ ! วิราคสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง
    พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อ ย่างนี้ว่า
    “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต : กล่าวคือ
    ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง
    เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
    เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับเย็น”
    ดังนี้ : นี้เรียกว่า วิราคสัญญา.
    --อานนท์ ! นิโรธสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง
    พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า
    “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต
    : กล่าวคือ
    ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง
    เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
    เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
    เป็นความดับ เป็นความดับเย็น”
    ดังนี้
    : นี้เรียกว่า #นิโรธสัญญา.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=นิโรธสญฺญา

    --อานนท์ ! สัพพโลเกอนภิรตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ อนุสัย (ความเคยชิน)
    ในการตั้งทับในการฝังตัวเข้าไปยึดมั่นแห่งจิตด้วยตัณหาอุปาทาน ใดๆ ในโลก มีอยู่,
    เธอละอยู่ซึ่งอนุสัยนั้นๆ
    งดเว้นไม่เข้าไปยึดถืออยู่
    : นี้เรียกว่า #สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดี).
    http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=สพฺพโลเก+อนภิรตสญฺญา

    --อานนท์ ! สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง ต่อสังขารทั้งหลายทั้งปวง
    : นี้เรียกว่า #สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง).
    -http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=สพฺพสงฺขาเรสุ+อนิจฺจสญฺญา

    (สัญญาข้อที่เก้านี้ ควรจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา หรือมิฉะนั้นก็ควรจะมีชื่อว่าสัพพสังขาเรสุทุกขสัญญา จึงจะสมกับเนื้อความตามที่กล่าวอยู่,
    และสัญญาข้อที่แปดข้างบนแห่งข้อนี้ ที่มีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น น่าจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนุปาทานสัญญามากกว่า จึงจะมีความสมชื่อ, ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน).

    --อานนท์ ! อานาปานสติ เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก.
    1. เมื่อ หายใจเข้า ยาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว ,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว ;
    2. เมื่อ หายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น ,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    3. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า,
    รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    4. ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า,
    ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก.
    ทำการศึกษาว่า เรา
    5. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า,
    รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    6. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า,
    รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    7. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า,
    รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    8. ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า,
    ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก.
    ทำการศึกษาว่า เรา
    9. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า,
    รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    10. ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า,
    ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    11. ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า,
    ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    12. ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า,
    ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก.
    ทำการศึกษาว่า เรา
    13. ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า,
    ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    14. ตามเห็นความจางคลาย หายใจเข้า,
    ตามเห็นความจางคลาย หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    15. ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจเข้า,
    ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    16. ตามเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า,
    ตามเห็นความสลัดคืน หายใจออก.
    : นี้เรียกว่า #อานาปานสติ.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/119/?keywords=อานาปานสติ

    --อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์
    แล้วกล่าวสัญญาสิบประการเหล่านี้ แก่เธอแล้ว
    ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว
    อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ.
    +--ลำดับนั้นแล ท่านอานนท์จำเอาสัญญาสิบประการเหล่านี้
    ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    แล้วเข้าไปหาท่านคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการแก่ท่าน
    เมื่อท่านพระคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธก็ระงับไปโดยฐานะอันควร.
    ท่านคิริมานนท์หาย แล้วจากอาพาธ และอาพาธก็เป็นเสมือนละไปแล้วด้วย
    แล.-

    (บาลีพระสูตรนี้ ได้ทำให้เกิดประเพณีสวดคิริมานนทสูตร
    ให้คนเจ็บฟัง เพื่อจะได้หายเจ็บไข้ เช่นเดียวกับโพชฌงคสูตร.
    บางคนอาจจะสงสัยว่า มิเป็นการผิดหลักกรรมหรือเหตุปัจจัยไป
    หรือ ที่ความทุกข์ดับไปโดยไม่มีการดับเหตุแห่งทุกข์ ตามหลักแห่งจตุราริยสัจ.
    ข้อนี้ขอให้เข้าใจว่า การฟังธรรมของพระคิริมานนท์ ทำให้มีธรรมปีติอย่างแรงกล้า
    อำนาจของธรรมปีตินั้นสามารถระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงระงับไป
    ดุจดังว่าหายจากอาพาธ;
    กล่าวได้ว่ามีปัจจัยเพื่อการดับแห่งทุกข์อริยสัจ;
    ไม่ผิดไปจากกฎเกณฑ์แห่งกรรมหรือกฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัยเลย;
    เป็นการดับทุกข์ได้วิธีหนึ่ง จึงนำข้อความนี้ มาใส่ไว้ในหมวดนี้
    ).

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/99 - 104/60.
    http://etipitaka.com/read/thai/24/99/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%90
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๑๑๕ - ๑๒๐/๖๐
    http://etipitaka.com/read/pali/24/115/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%90
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=956
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=81&id=956
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=81
    ลำดับสาธยายธรรม : 81 ฟังเสียงอ่าน....
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_81.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ สัทธรรมลำดับที่ : 956 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=956 ชื่อบทธรรม :- ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ เนื้อความทั้งหมด :- --ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ (การรักษาโรคด้วยอำนาจสมาธิ) --อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ. สัญญา ๑๐ ประการนั้นคือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา อานาปานสติ. --อานนท์ ! อนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ ว่า “รูป ไม่เที่ยง; เวทนา ไม่เที่ยง; สัญญา ไม่เที่ยง; สังขาร ไม่เที่ยง; วิญญาณ ไม่เที่ยง” ดังนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อนิจจสัญญา. http://etipitaka.com/read/pali/24/115/?keywords=อนิจฺจสญฺญา --อานนท์ ! อนัตตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “ตา เป็นอนัตตา รูป เป็นอนัตตา; หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา; จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา; ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา; กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา; ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา” ดังนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งภายในและภายนอกหก เหล่านี้ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อนัตตสัญญา. http://etipitaka.com/read/pali/24/116/?keywords=อนตฺตสญฺญา --อานนท์ ! อสุภสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? +--อานนท์! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นโดยประจักษ์ซึ่งกายนี้นี่แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไปถึงเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาถึงเบื้องล่าง ว่ามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของอสุจิมีประการต่างๆ; คือกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร; เป็นผู้ตามเห็นความไม่งาม ในกายนี้ อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อสุภสัญญา. http://etipitaka.com/read/pali/24/117/?keywords=อสุภสญฺญา --อานนท์ ! อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก; คือในกายนี้มีอาพาธต่างๆ เกิดขึ้น, กล่าวคือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคที่ศีรษะ โรคที่หู โรคที่ปาก โรคที่ฟัน โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้มีพิษร้อน ไข้เซื่องซึม โรคกระเพาะ โรคลมสลบ ลงแดง จุกเสียด เจ็บเสียว โรคเรื้อรัง โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน คุดทะราด โรคละออง โรคโลหิต โรคดีซ่าน เบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง ริดสีดวงทวาร อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฎฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน ไข้สันนิบาต ไข้เพราะฤดูแปรปรวน ไข้เพราะบริหารกายไม่สม่ำเสมอ ไข้เพราะออกกำลังเกิน ไข้เพราะวิบากกรรม ความไม่สบายเพราะความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะ” ดังนี้; เป็นผู้ตามเห็นโทษในกายนี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อาทีนวสัญญา. http://etipitaka.com/read/pali/24/117/?keywords=อาทีนวสญฺญา --อานนท์ ! ปหานสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง กามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง พยาบาทวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่งวิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง อกุศลธรรมทั้งหลาย อันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป : นี้เรียกว่า #ปหานสัญญา. http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=ปหานสญฺญา --อานนท์ ! วิราคสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อ ย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต : กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับเย็น” ดังนี้ : นี้เรียกว่า วิราคสัญญา. --อานนท์ ! นิโรธสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต : กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความดับ เป็นความดับเย็น” ดังนี้ : นี้เรียกว่า #นิโรธสัญญา. http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=นิโรธสญฺญา --อานนท์ ! สัพพโลเกอนภิรตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ อนุสัย (ความเคยชิน) ในการตั้งทับในการฝังตัวเข้าไปยึดมั่นแห่งจิตด้วยตัณหาอุปาทาน ใดๆ ในโลก มีอยู่, เธอละอยู่ซึ่งอนุสัยนั้นๆ งดเว้นไม่เข้าไปยึดถืออยู่ : นี้เรียกว่า #สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดี). http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=สพฺพโลเก+อนภิรตสญฺญา --อานนท์ ! สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง ต่อสังขารทั้งหลายทั้งปวง : นี้เรียกว่า #สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง). -http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=สพฺพสงฺขาเรสุ+อนิจฺจสญฺญา (สัญญาข้อที่เก้านี้ ควรจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา หรือมิฉะนั้นก็ควรจะมีชื่อว่าสัพพสังขาเรสุทุกขสัญญา จึงจะสมกับเนื้อความตามที่กล่าวอยู่, และสัญญาข้อที่แปดข้างบนแห่งข้อนี้ ที่มีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น น่าจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนุปาทานสัญญามากกว่า จึงจะมีความสมชื่อ, ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน). --อานนท์ ! อานาปานสติ เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก. 1. เมื่อ หายใจเข้า ยาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว , เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว ; 2. เมื่อ หายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น , เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น; ทำการศึกษาว่า เรา 3. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 4. ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า, ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก. ทำการศึกษาว่า เรา 5. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 6. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 7. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 8. ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก. ทำการศึกษาว่า เรา 9. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 10. ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 11. ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 12. ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก. ทำการศึกษาว่า เรา 13. ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า, ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 14. ตามเห็นความจางคลาย หายใจเข้า, ตามเห็นความจางคลาย หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 15. ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจเข้า, ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 16. ตามเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า, ตามเห็นความสลัดคืน หายใจออก. : นี้เรียกว่า #อานาปานสติ. http://etipitaka.com/read/pali/24/119/?keywords=อานาปานสติ --อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการเหล่านี้ แก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ. +--ลำดับนั้นแล ท่านอานนท์จำเอาสัญญาสิบประการเหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเข้าไปหาท่านคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการแก่ท่าน เมื่อท่านพระคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธก็ระงับไปโดยฐานะอันควร. ท่านคิริมานนท์หาย แล้วจากอาพาธ และอาพาธก็เป็นเสมือนละไปแล้วด้วย แล.- (บาลีพระสูตรนี้ ได้ทำให้เกิดประเพณีสวดคิริมานนทสูตร ให้คนเจ็บฟัง เพื่อจะได้หายเจ็บไข้ เช่นเดียวกับโพชฌงคสูตร. บางคนอาจจะสงสัยว่า มิเป็นการผิดหลักกรรมหรือเหตุปัจจัยไป หรือ ที่ความทุกข์ดับไปโดยไม่มีการดับเหตุแห่งทุกข์ ตามหลักแห่งจตุราริยสัจ. ข้อนี้ขอให้เข้าใจว่า การฟังธรรมของพระคิริมานนท์ ทำให้มีธรรมปีติอย่างแรงกล้า อำนาจของธรรมปีตินั้นสามารถระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงระงับไป ดุจดังว่าหายจากอาพาธ; กล่าวได้ว่ามีปัจจัยเพื่อการดับแห่งทุกข์อริยสัจ; ไม่ผิดไปจากกฎเกณฑ์แห่งกรรมหรือกฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัยเลย; เป็นการดับทุกข์ได้วิธีหนึ่ง จึงนำข้อความนี้ มาใส่ไว้ในหมวดนี้ ). #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/99 - 104/60. http://etipitaka.com/read/thai/24/99/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%90 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๑๑๕ - ๑๒๐/๖๐ http://etipitaka.com/read/pali/24/115/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%90 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=956 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=81&id=956 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=81 ลำดับสาธยายธรรม : 81 ฟังเสียงอ่าน.... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_81.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ
    -ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ (การรักษาโรคด้วยอำนาจสมาธิ) อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ. สัญญา ๑๐ ประการนั้นคือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญาสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา อานาปานสติ. อานนท์ ! อนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ ว่า “รูป ไม่เที่ยง; เวทนา ไม่เที่ยง; สัญญา ไม่เที่ยง; สังขาร ไม่เที่ยง; วิญญาณ ไม่เที่ยง” ดังนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา. อานนท์ ! อนัตตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “ตา เป็นอนัตตา รูป เป็นอนัตตา; หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา; จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา; ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา; กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา; ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา” ดังนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งภายในและภายนอกหก เหล่านี้ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา. อานนท์ ! อสุภสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? อานนท์! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นโดยประจักษ์ซึ่งกายนี้นี่แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไปถึงเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาถึงเบื้องล่าง ว่ามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของอสุจิมีประการต่างๆ; คือกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร; เป็นผู้ตามเห็นความไม่งาม ในกายนี้ อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อสุภสัญญา. อานนท์ ! อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก; คือในกายนี้มีอาพาธต่างๆ เกิดขึ้น, กล่าวคือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคที่ศีรษะ โรคที่หู โรคที่ปาก โรคที่ฟัน โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้มีพิษร้อน ไข้เซื่องซึม โรคกระเพาะ โรคลมสลบ ลงแดง จุกเสียด เจ็บเสียว โรคเรื้อรัง โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน คุดทะราด โรคละออง โรคโลหิต โรคดีซ่าน เบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง ริดสีดวงทวาร อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฎฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน ไข้สันนิบาต ไข้เพราะฤดูแปรปรวน ไข้เพราะบริหารกายไม่สม่ำเสมอ ไข้เพราะออกกำลังเกิน ไข้เพราะวิบากกรรม ความไม่สบายเพราะความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะ” ดังนี้; เป็นผู้ตามเห็นโทษในกายนี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา. อานนท์ ! ปหานสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง กามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง พยาบาทวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่งวิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง อกุศลธรรมทั้งหลาย อันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป : นี้เรียกว่า ปหานสัญญา. อานนท์ ! วิราคสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อ ย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต : กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับเย็น” ดังนี้ : นี้เรียกว่า วิราคสัญญา. อานนท์ ! นิโรธสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต : กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความดับ เป็นความดับเย็น” ดังนี้ : นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา. อานนท์ ! สัพพโลเกอนภิรตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ อนุสัย (ความเคยชิน) ในการตั้งทับในการฝังตัวเข้าไปยึดมั่นแห่งจิตด้วยตัณหาอุปาทาน ใดๆ ในโลก มีอยู่, เธอละอยู่ซึ่งอนุสัยนั้นๆ งดเว้นไม่เข้าไปยึดถืออยู่ : นี้เรียกว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดี). อานนท์ ! สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง ต่อสังขารทั้งหลายทั้งปวง : นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง). (สัญญาข้อที่เก้านี้ ควรจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา หรือมิฉะนั้นก็ควรจะมีชื่อว่าสัพพสังขาเรสุทุกขสัญญา จึงจะสมกับเนื้อความตามที่กล่าวอยู่, และสัญญาข้อที่แปดข้างบนแห่งข้อนี้ ที่มีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น น่าจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนุปาทานสัญญามากกว่า จึงจะมีความสมชื่อ, ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน). อานนท์ ! อานาปานสติ เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก. เมื่อ หายใจเข้า ยาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว , เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว ; เมื่อ หายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น , เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น; ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เราทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า, ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก. ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เราทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก. ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก. ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า, ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความจางคลาย หายใจเข้า, ตามเห็นความจางคลาย หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจเข้า, ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า, ตามเห็นความสลัดคืน หายใจออก. นี้เรียกว่า อานาปานสติ. อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการเหล่านี้ แก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ. ลำดับนั้นแล ท่านอานนท์จำเอาสัญญาสิบประการเหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเข้าไปหาท่านคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการแก่ท่าน เมื่อท่านพระคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธก็ระงับไปโดยฐานะอันควร. ท่านคิริมานนท์หาย แล้วจากอาพาธ และอาพาธก็เป็นเสมือนละไปแล้วด้วย แล.
    0 Comments 0 Shares 55 Views 0 Reviews
  • อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาผู้ลวงมัจจุราชให้หลง
    สัทธรรมลำดับที่ : 585
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=585
    ชื่อบทธรรม :- ผู้ลวงมัจจุราชให้หลง
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ผู้ลวงมัจจุราชให้หลง
    --ภิกษุ ท. ! ปุถุชน ผู้ไม่ได้ยิน ได้ฟัง ย่อมพูดว่า ‘สมุทร-สมุทร’
    ดังนี้.
    --ภิกษุ ท. ! สมุทรเช่นที่กล่าวนั้น ไม่ใช่สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า.
    --ภิกษุ ท. ! สมุทรเช่นที่กล่าวนั้น เป็นเพียงแอ่งน้ำใหญ่ เป็นเพียงห้วงน้ำใหญ่.
    --ภิกษุ ท. ! รูป ที่เห็นด้วยตา
    อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา
    น่ารักใคร่น่าพอใจ
    ที่ยวนตายวนใจให้รัก
    เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่
    และเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่.
    --ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ‘#สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า’.
    http://etipitaka.com/read/pali/18/196/?keywords=อริยสฺส+สมุทฺโท

    โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก,
    หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ โดยมากตกอยู่จมอยู่ในสมุทรนั้น.
    เป็นสัตว์ที่มีความใคร่ มีจิตยุ่งเหมือนกลุ่มด้าย
    เกิดประสานกันสับสนดุจรังนก เหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ,
    สัตว์ทั้งหลายในสมุทรนั้น จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏฏ์ไปได้.

    --ภิกษุ ท. ! เสียง ที่ฟังด้วยหู .... ฯลฯ ....
    --ภิกษุ ท. ! กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก .... ฯลฯ ....
    --ภิกษุ ท. ! รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น .... ฯลฯ ....
    --ภิกษุ ท. ! โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย .... ฯลฯ ....

    --ภิกษุ ท. ! ธรรมารมณ์ ที่รู้ด้วยใจ อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่และเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่.
    --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้เราเรียกว่า
    ‘สมุทรใน วินัยของพระอริยเจ้า’.
    โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก,
    หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
    โดยมากตกอยู่จมอยู่ในสมุทรนั้น.
    เป็นสัตว์ที่มีความใคร่ มีจิตยุ่งเหมือนกลุ่มด้าย
    เกิดประสาน กันสับสนดุจรังนก เหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ,
    สัตว์ทั้งหลายในสมุทรนั้น จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏฏ์ไปได้.

    (คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
    ราคะ โทสะ และอวิชชา ของท่านผู้ใด จางคลายไปแล้ว
    ท่านผู้นั้นชื่อว่า ข้ามสมุทรนี้ได้แล้ว
    ซึ่งเป็นแหล่งที่มีสัตว์ร้าย มีทั้งรากษส มีทั้งคลื่นวังวน
    ภัยน่ากลัว แสนจะข้ามได้ยากนัก.
    เราตถาคตกล่าวว่าท่านนั้น เป็นผู้ล่วงเสียได้จากเครื่องข้อง
    ละขาดจากการต้องตาย ไม่มีอุปธิกิเลส ;
    ท่านนั้น หย่าขาดจากความทุกข์ที่ต้องมาเกิดอีกต่อไป ;
    ท่านนั้น มอดดับไป ไม่กลับอีก ลวงเอาพญามัจจุราชให้หลงได้
    http://etipitaka.com/read/pali/18/197/?keywords=อโมหยี+มจฺจุราชนฺติ

    ดังนี้แล.-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/176/287-288.
    http://etipitaka.com/read/thai/18/179/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%98%E0%B9%97
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๙๖/๒๘๗-๒๘๘.
    http://etipitaka.com/read/pali/18/196/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%98%E0%B9%97
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=585
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=39&id=585
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=39
    ลำดับสาธยายธรรม : 39
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_39.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาผู้ลวงมัจจุราชให้หลง สัทธรรมลำดับที่ : 585 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=585 ชื่อบทธรรม :- ผู้ลวงมัจจุราชให้หลง เนื้อความทั้งหมด :- --ผู้ลวงมัจจุราชให้หลง --ภิกษุ ท. ! ปุถุชน ผู้ไม่ได้ยิน ได้ฟัง ย่อมพูดว่า ‘สมุทร-สมุทร’ ดังนี้. --ภิกษุ ท. ! สมุทรเช่นที่กล่าวนั้น ไม่ใช่สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า. --ภิกษุ ท. ! สมุทรเช่นที่กล่าวนั้น เป็นเพียงแอ่งน้ำใหญ่ เป็นเพียงห้วงน้ำใหญ่. --ภิกษุ ท. ! รูป ที่เห็นด้วยตา อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ และเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. --ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ‘#สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า’. http://etipitaka.com/read/pali/18/196/?keywords=อริยสฺส+สมุทฺโท โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก, หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ โดยมากตกอยู่จมอยู่ในสมุทรนั้น. เป็นสัตว์ที่มีความใคร่ มีจิตยุ่งเหมือนกลุ่มด้าย เกิดประสานกันสับสนดุจรังนก เหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ, สัตว์ทั้งหลายในสมุทรนั้น จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏฏ์ไปได้. --ภิกษุ ท. ! เสียง ที่ฟังด้วยหู .... ฯลฯ .... --ภิกษุ ท. ! กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก .... ฯลฯ .... --ภิกษุ ท. ! รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น .... ฯลฯ .... --ภิกษุ ท. ! โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย .... ฯลฯ .... --ภิกษุ ท. ! ธรรมารมณ์ ที่รู้ด้วยใจ อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่และเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้เราเรียกว่า ‘สมุทรใน วินัยของพระอริยเจ้า’. โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก, หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ โดยมากตกอยู่จมอยู่ในสมุทรนั้น. เป็นสัตว์ที่มีความใคร่ มีจิตยุ่งเหมือนกลุ่มด้าย เกิดประสาน กันสับสนดุจรังนก เหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ, สัตว์ทั้งหลายในสมุทรนั้น จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏฏ์ไปได้. (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) ราคะ โทสะ และอวิชชา ของท่านผู้ใด จางคลายไปแล้ว ท่านผู้นั้นชื่อว่า ข้ามสมุทรนี้ได้แล้ว ซึ่งเป็นแหล่งที่มีสัตว์ร้าย มีทั้งรากษส มีทั้งคลื่นวังวน ภัยน่ากลัว แสนจะข้ามได้ยากนัก. เราตถาคตกล่าวว่าท่านนั้น เป็นผู้ล่วงเสียได้จากเครื่องข้อง ละขาดจากการต้องตาย ไม่มีอุปธิกิเลส ; ท่านนั้น หย่าขาดจากความทุกข์ที่ต้องมาเกิดอีกต่อไป ; ท่านนั้น มอดดับไป ไม่กลับอีก ลวงเอาพญามัจจุราชให้หลงได้ http://etipitaka.com/read/pali/18/197/?keywords=อโมหยี+มจฺจุราชนฺติ ดังนี้แล.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/176/287-288. http://etipitaka.com/read/thai/18/179/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%98%E0%B9%97 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๙๖/๒๘๗-๒๘๘. http://etipitaka.com/read/pali/18/196/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%98%E0%B9%97 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=585 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=39&id=585 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=39 ลำดับสาธยายธรรม : 39 http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_39.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - ผู้ลวงมัจจุราชให้หลง
    -ผู้ลวงมัจจุราชให้หลง ภิกษุ ท. ! ปุถุชน ผู้ไม่ได้ยิน ได้ฟัง ย่อมพูดว่า ‘สมุทร-สมุทร’ ดังนี้. ภิกษุ ท. ! สมุทรเช่นที่กล่าวนั้น ไม่ใช่สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า. ภิกษุ ท. ! สมุทรเช่นที่กล่าวนั้น เป็นเพียงแอ่งน้ำใหญ่ เป็นเพียงห้วงน้ำใหญ่. ภิกษุ ท. ! รูป ที่เห็นด้วยตา อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ และเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ‘สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า’. โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก, หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ โดยมากตกอยู่จมอยู่ในสมุทรนั้น. เป็นสัตว์ที่มีความใคร่ มีจิตยุ่งเหมือนกลุ่มด้าย เกิดประสานกันสับสนดุจรังนก เหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ, สัตว์ทั้งหลายในสมุทรนั้น จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏฏ์ไปได้. ภิกษุ ท. ! เสียง ที่ฟังด้วยหู .... ฯลฯ .... ภิกษุ ท. ! กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก .... ฯลฯ .... ภิกษุ ท. ! รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น .... ฯลฯ .... ภิกษุ ท. ! โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย .... ฯลฯ .... ภิกษุ ท. ! ธรรมารมณ์ ที่รู้ด้วยใจ อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่และเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้เราเรียกว่า ‘สมุทรใน วินัยของพระอริยเจ้า’. โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก, หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ โดยมากตกอยู่จมอยู่ ในสมุทรนั้น. เป็นสัตว์ที่มีความใคร่ มีจิตยุ่งเหมือนกลุ่มด้าย เกิดประสาน กันสับสนดุจรังนก เหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ, สัตว์ทั้งหลายในสมุทรนั้น จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏฏ์ไปได้. (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) ราคะ โทสะ และอวิชชา ของท่านผู้ใด จางคลายไปแล้ว ท่านผู้นั้นชื่อว่า ข้ามสมุทรนี้ได้แล้ว ซึ่งเป็นแหล่งที่มีสัตว์ร้าย มีทั้งรากษส มีทั้งคลื่นวังวน ภัยน่ากลัว แสนจะข้ามได้ยากนัก. เราตถาคตกล่าวว่าท่านนั้น เป็นผู้ล่วงเสียได้จากเครื่องข้อง ละขาดจากการต้องตาย ไม่มีอุปธิกิเลส ; ท่านนั้น หย่าขาดจากความทุกข์ที่ต้องมาเกิดอีกต่อไป ; ท่านนั้นมอดดับไป ไม่กลับอีก ลวงเอาพญามัจจุราชให้หลงได้ ดังนี้แล.
    0 Comments 0 Shares 43 Views 0 Reviews
  • “รักแท้คือการร่วมมือเพื่อคลี่คลายทุกข์ ไม่ใช่แค่ร่วมรับทุกข์”
    ---

    1. รักแท้ไม่ใช่แค่ ‘ร่วมทุกข์’ แต่คือ ‘ร่วมกันแก้ทุกข์’

    ความรักไม่ใช่การจมอยู่ในทุกข์ด้วยกัน

    แต่คือการ มีความสุขในการช่วยให้อีกฝ่ายพ้นทุกข์

    ใครยินดีช่วยแก้ทุกข์ให้อีกฝ่ายเสมอ คือผู้มีใจรักแท้

    ---

    2. การวัดใจ ต้องวัดทั้งสองฝ่าย

    ความรักที่แท้จริง คือการที่ ทั้งคู่พร้อมให้ ไม่ใช่แค่ฝ่ายเดียว “ติดหนี้ใจ”

    ดูว่าต่างฝ่ายต่างอยากอยู่ใกล้ เพื่อช่วยกันไม่ใช่เพื่อแบกกัน

    ---

    3. รักคือการ ‘ร่วมบุญ’ ไม่ใช่เอาเปรียบ

    หากความสัมพันธ์มีฝ่ายหนึ่งจ้องเอาแต่ได้ อีกฝ่ายให้ตลอด

    จะกลายเป็นการใช้หนี้ ไม่ใช่การร่วมทุกข์ร่วมสุข

    ---

    4. วิธีคลี่คลายทุกข์ในรัก เริ่มที่สติ

    ความทุกข์ในความสัมพันธ์ไม่ต้องหนี

    แค่ใช้สติ “ดู” ความทุกข์ด้วยความเข้าใจ

    จะเห็นว่า ทุกข์ไม่เที่ยง เปลี่ยนไปเรื่อยๆ

    ใจจะเริ่มหลุดพ้นจากการยึดถือความทุกข์

    ---

    5. อย่าคาดหวังให้ทุกข์หาย แต่ให้ตั้งใจเห็นทุกข์อย่างเป็นจริง

    ความคาดหวังว่าทุกข์จะหายไวๆ จะยิ่งเติมทุกข์

    แต่หาก “ยอมรับและดู” โดยไม่เร่งผล

    ใจจะเริ่มมีอิสรภาพจากความกระวนกระวาย

    ---

    6. จะรักให้ยืนยาว ต้อง ‘ร่วมสร้างบุญใหม่’ ต่อเนื่อง

    ถึงบาปเก่าจะหนักเพียงใด

    ถ้าเติมบุญใหม่ใส่กันทุกวัน ความทุกข์จะเบาบาง

    และความรักจะเติบโตได้จริง

    รักแท้ไม่ได้หมายถึง มีแต่ความสุขตลอด

    แต่คือ “ผ่านทุกข์ไปด้วยกันอย่างไม่ทอดทิ้ง”

    ---

    Essence สั้นๆ

    > รักแท้ = สุขที่ได้ช่วยกันทุกข์ ไม่ใช่ทุกข์ที่ต้องแบกกันไว้
    ถ้าร่วมทุกข์ แล้วไม่ช่วยกันแก้ทุกข์ = ไม่ใช่รัก แต่เป็นภาระ
    ถ้าร่วมทุกข์ แล้วมีใจแปรเปลี่ยนอกุศลเป็นกุศลร่วมกัน = นั่นแหละรักแท้!
    “รักแท้คือการร่วมมือเพื่อคลี่คลายทุกข์ ไม่ใช่แค่ร่วมรับทุกข์” --- 1. รักแท้ไม่ใช่แค่ ‘ร่วมทุกข์’ แต่คือ ‘ร่วมกันแก้ทุกข์’ ความรักไม่ใช่การจมอยู่ในทุกข์ด้วยกัน แต่คือการ มีความสุขในการช่วยให้อีกฝ่ายพ้นทุกข์ ใครยินดีช่วยแก้ทุกข์ให้อีกฝ่ายเสมอ คือผู้มีใจรักแท้ --- 2. การวัดใจ ต้องวัดทั้งสองฝ่าย ความรักที่แท้จริง คือการที่ ทั้งคู่พร้อมให้ ไม่ใช่แค่ฝ่ายเดียว “ติดหนี้ใจ” ดูว่าต่างฝ่ายต่างอยากอยู่ใกล้ เพื่อช่วยกันไม่ใช่เพื่อแบกกัน --- 3. รักคือการ ‘ร่วมบุญ’ ไม่ใช่เอาเปรียบ หากความสัมพันธ์มีฝ่ายหนึ่งจ้องเอาแต่ได้ อีกฝ่ายให้ตลอด จะกลายเป็นการใช้หนี้ ไม่ใช่การร่วมทุกข์ร่วมสุข --- 4. วิธีคลี่คลายทุกข์ในรัก เริ่มที่สติ ความทุกข์ในความสัมพันธ์ไม่ต้องหนี แค่ใช้สติ “ดู” ความทุกข์ด้วยความเข้าใจ จะเห็นว่า ทุกข์ไม่เที่ยง เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ใจจะเริ่มหลุดพ้นจากการยึดถือความทุกข์ --- 5. อย่าคาดหวังให้ทุกข์หาย แต่ให้ตั้งใจเห็นทุกข์อย่างเป็นจริง ความคาดหวังว่าทุกข์จะหายไวๆ จะยิ่งเติมทุกข์ แต่หาก “ยอมรับและดู” โดยไม่เร่งผล ใจจะเริ่มมีอิสรภาพจากความกระวนกระวาย --- 6. จะรักให้ยืนยาว ต้อง ‘ร่วมสร้างบุญใหม่’ ต่อเนื่อง ถึงบาปเก่าจะหนักเพียงใด ถ้าเติมบุญใหม่ใส่กันทุกวัน ความทุกข์จะเบาบาง และความรักจะเติบโตได้จริง รักแท้ไม่ได้หมายถึง มีแต่ความสุขตลอด แต่คือ “ผ่านทุกข์ไปด้วยกันอย่างไม่ทอดทิ้ง” --- Essence สั้นๆ > รักแท้ = สุขที่ได้ช่วยกันทุกข์ ไม่ใช่ทุกข์ที่ต้องแบกกันไว้ ถ้าร่วมทุกข์ แล้วไม่ช่วยกันแก้ทุกข์ = ไม่ใช่รัก แต่เป็นภาระ ถ้าร่วมทุกข์ แล้วมีใจแปรเปลี่ยนอกุศลเป็นกุศลร่วมกัน = นั่นแหละรักแท้!
    0 Comments 0 Shares 85 Views 0 Reviews
  • ** โฉมงามอวี๋ บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู **

    สวัสดีค่ะ ก่อนอื่น Storyฯ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาและหวังเพื่อนเพจทั้งหลายแคล้วคลาดปลอดภัย

    สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงสีแดงจากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> มีการกล่าวถึงบทกวีที่มีชื่อว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人) หรือ ‘โฉมงามอวี๋’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมากแล้วแต่บทความถูกลบไป (อาจด้วยมีลิ้งค์ที่ต้องห้าม) วันนี้เลยแก้ไขแล้วเอามาลงใหม่ให้อ่านกัน

    ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีเลื่องชื่อของจีน และถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู> โดยชื่อของนางเอกพระเอก ‘ชุนฮวา’ และ ‘ชิวเยวี่ย’ มาจากวลีหนึ่งในบทกวีนี้ ซึ่งก็คือ ‘ชุนฮวาชิวเยวี่ยเหอสือเหลี่ยว หว่างซื่อจือตัวส่าว?’ (春花秋月何时了,往事知多少?) แปลตรงตัวว่า ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดูสิ้นสุดไปเมื่อใด มีเรื่องราวมากน้อยเท่าไรให้รำลึกถึง?’ โดยในซีรีส์เรื่องนี้มีการกล่าวถึงวรรคแรกของวลีนี้อยู่บ่อยครั้ง

    ฟังดูเหงาๆ โรแมนติก เป็นวลีฮอตฮิตยามชมจันทร์ ละครเรื่องนี้ก็เป็นแนวรักตลก จะมีเพื่อนเพจกี่ท่านที่ทราบถึงความเจ็บปวดที่แฝงไว้อยู่ในบทกวีนี้?

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทประพันธ์ขององค์หลี่อวี้ (ค.ศ. 937-978) ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถังปลายในช่วงยุคสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น (คือคนเดียวกับที่สั่งให้จิตรกรไปวาดภาพงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่ายที่ Storyฯ เคยเล่าถึง)

    พระองค์ทรงมีชื่อเสียงในฐานะกวีที่มีผลงานน่ายกย่องหลายชิ้น แต่ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่อ่อนแอที่สุดของจีน ภายหลังจากอาณาจักรถังปลายล่มสลาย องค์หลี่อวี้ถูกจับกุมเป็นเชลยศึกและกักบริเวณอยู่ที่เมืองตงจิง (เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง คือเมืองไคเฟิงปัจจุบัน) โดยองค์เจ้าควงอิ้งปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง หลี่อวี้ได้รับการอวยบรรดาศักดิ์ให้ใหม่เป็นระดับโหว นามว่า ‘เหวยมิ่งโหว’ (ก็คือถูกถอดยศกษัตริย์เนื่องจากชาติล่มสลายไปแล้ว) เขาถูกกักบริเวณอยู่ด้วยกันกับมเหสีองค์ที่สองผู้ซึ่งมาจากสกุลโจวเช่นเดียวกับพระมเหสีองค์แรก นามจริงไม่ปรากฏ เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า ‘เสี่ยวโจวโฮ่ว’ (มเหสีสกุลโจวเล็ก) ว่ากันว่าเขารักนางมาก

    ต่อมาเข้าสู่รัชสมัยขององค์เจ้ากวงอี้ (ฮ่องเต้องค์ที่สองของราชวงศ์ซ่ง) หลี่อวี้ได้ประพันธ์บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้ขึ้น ความหมายของบทกวีแปลได้ประมาณว่า: วันเวลาที่สวยงามสิ้นสุดไปแล้วอย่างรวดเร็ว เมื่อคืนนี้ลมบูรพาโชยมาอีกครา ภายใต้ดวงจันทร์ที่ทอแสงสุกสกาว จะทำอย่างไรให้ลืมความทุกข์ของการที่บ้านเมืองล่มสลาย? สถานที่ที่งดงามคงยังอยู่ แต่คนที่อยู่ในห้วงคะนึงหาคงล้วนแก่ชรากันไปตามเวลาแล้ว หากจะถามว่าใจข้าทุกข์เพียงใด... คงเปรียบได้ดั่งคลื่นนทีที่ไหล่รินสู่ทิศบูรพา

    จะเห็นได้ว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีที่บรรยายถึงความทุกข์ขมขื่นในยามที่มองจันทร์ แต่ถูกองค์เจ้ากวงอี้ตีความหมายว่าหลี่อวี้คิดไม่ซื่อกับราชสำนักซ่ง หวังจะพลิกฟื้นราชวงศ์เดิมขึ้นใหม่ จึงพระราชทานยาพิษให้หลี่อวี้ฆ่าตัวตาย

    แต่มีเรื่องเล่าขานกันว่านี่เป็นเพียงข้ออ้าง ว่ากันว่าองค์เจ้ากวงอี้ทรงรอจังหวะหาข้ออ้างสังหารหลี่อวี้อยู่แล้วเพราะทรงหลงไหลในชายาเสี่ยวโจวของหลี่อวี้ผู้ซึ่งงามพิลาส ถึงกับทรงล่อลวงนางเข้าวังแล้วขืนใจและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ในวัง จากนั้นมีการบังคับขืนใจนางอีกหลายครั้งครา มีการเล่าขานว่าทรงถึงขนาดให้จิตรกรมาวาดภาพขณะกำลังย่ำยีนางเพื่อส่งให้หลี่อวี้ดูเป็นการขยี้ใจ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจของบทกวีนี้ขึ้น... ข้อเท็จจริงใช่อย่างนี้หรือไม่? ไม่มีใครยืนยันได้ มีการกล่าวไว้เพียงว่าบทกวีอวี๋เหม่ยเหรินนี้ทำให้หลี่อวี้ถูกพระราชทานยาพิษตาย แต่ก็มีเอกสารเรื่องเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ในสมัยหมิงที่กล่าวถึงภาพวาดที่องค์เจ้ากวงอี้ได้ทรงให้คนวาดขึ้นนี้

    นอกจากชื่อบทกวีแล้ว ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ ยังเป็นชื่อเรียกดอกป๊อปปี้ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึงความทุกข์และการตายจากพลัดพรากมาแต่จีนโบราณอีกด้วย

    วันนี้จบกันแบบสั้นๆ เศร้าๆ อย่างนี้แล

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://image.tmdb.org/t/p/original/enj2s0CNvp2oaf84j87H8Vsdbr0.jpg
    https://bowuguan.bucm.edu.cn/kpzl/zyyzs/57214.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.lllst.com/guoxuejingdian/scmj/271349.html
    https://baike.baidu.com/item/虞美人·春花秋月何时了/10926799
    https://www.jianshu.com/p/8ff00c387fbe
    https://baike.sogou.com/v6849891.htm
    https://www.guwenxuexi.com/classical/24854.html
    https://k.sina.cn/article_1659337544_62e77b48001003bvc.html

    #บุปผาวสันต์ #จันทราสารทฤดู #ชุนฮวาชิวเยวี่ย #อวี๋เหม่ยเหริน #หลี่อวี
    ** โฉมงามอวี๋ บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู ** สวัสดีค่ะ ก่อนอื่น Storyฯ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาและหวังเพื่อนเพจทั้งหลายแคล้วคลาดปลอดภัย สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงสีแดงจากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> มีการกล่าวถึงบทกวีที่มีชื่อว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人) หรือ ‘โฉมงามอวี๋’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมากแล้วแต่บทความถูกลบไป (อาจด้วยมีลิ้งค์ที่ต้องห้าม) วันนี้เลยแก้ไขแล้วเอามาลงใหม่ให้อ่านกัน ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีเลื่องชื่อของจีน และถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู> โดยชื่อของนางเอกพระเอก ‘ชุนฮวา’ และ ‘ชิวเยวี่ย’ มาจากวลีหนึ่งในบทกวีนี้ ซึ่งก็คือ ‘ชุนฮวาชิวเยวี่ยเหอสือเหลี่ยว หว่างซื่อจือตัวส่าว?’ (春花秋月何时了,往事知多少?) แปลตรงตัวว่า ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดูสิ้นสุดไปเมื่อใด มีเรื่องราวมากน้อยเท่าไรให้รำลึกถึง?’ โดยในซีรีส์เรื่องนี้มีการกล่าวถึงวรรคแรกของวลีนี้อยู่บ่อยครั้ง ฟังดูเหงาๆ โรแมนติก เป็นวลีฮอตฮิตยามชมจันทร์ ละครเรื่องนี้ก็เป็นแนวรักตลก จะมีเพื่อนเพจกี่ท่านที่ทราบถึงความเจ็บปวดที่แฝงไว้อยู่ในบทกวีนี้? บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทประพันธ์ขององค์หลี่อวี้ (ค.ศ. 937-978) ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถังปลายในช่วงยุคสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น (คือคนเดียวกับที่สั่งให้จิตรกรไปวาดภาพงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่ายที่ Storyฯ เคยเล่าถึง) พระองค์ทรงมีชื่อเสียงในฐานะกวีที่มีผลงานน่ายกย่องหลายชิ้น แต่ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่อ่อนแอที่สุดของจีน ภายหลังจากอาณาจักรถังปลายล่มสลาย องค์หลี่อวี้ถูกจับกุมเป็นเชลยศึกและกักบริเวณอยู่ที่เมืองตงจิง (เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง คือเมืองไคเฟิงปัจจุบัน) โดยองค์เจ้าควงอิ้งปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง หลี่อวี้ได้รับการอวยบรรดาศักดิ์ให้ใหม่เป็นระดับโหว นามว่า ‘เหวยมิ่งโหว’ (ก็คือถูกถอดยศกษัตริย์เนื่องจากชาติล่มสลายไปแล้ว) เขาถูกกักบริเวณอยู่ด้วยกันกับมเหสีองค์ที่สองผู้ซึ่งมาจากสกุลโจวเช่นเดียวกับพระมเหสีองค์แรก นามจริงไม่ปรากฏ เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า ‘เสี่ยวโจวโฮ่ว’ (มเหสีสกุลโจวเล็ก) ว่ากันว่าเขารักนางมาก ต่อมาเข้าสู่รัชสมัยขององค์เจ้ากวงอี้ (ฮ่องเต้องค์ที่สองของราชวงศ์ซ่ง) หลี่อวี้ได้ประพันธ์บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้ขึ้น ความหมายของบทกวีแปลได้ประมาณว่า: วันเวลาที่สวยงามสิ้นสุดไปแล้วอย่างรวดเร็ว เมื่อคืนนี้ลมบูรพาโชยมาอีกครา ภายใต้ดวงจันทร์ที่ทอแสงสุกสกาว จะทำอย่างไรให้ลืมความทุกข์ของการที่บ้านเมืองล่มสลาย? สถานที่ที่งดงามคงยังอยู่ แต่คนที่อยู่ในห้วงคะนึงหาคงล้วนแก่ชรากันไปตามเวลาแล้ว หากจะถามว่าใจข้าทุกข์เพียงใด... คงเปรียบได้ดั่งคลื่นนทีที่ไหล่รินสู่ทิศบูรพา จะเห็นได้ว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีที่บรรยายถึงความทุกข์ขมขื่นในยามที่มองจันทร์ แต่ถูกองค์เจ้ากวงอี้ตีความหมายว่าหลี่อวี้คิดไม่ซื่อกับราชสำนักซ่ง หวังจะพลิกฟื้นราชวงศ์เดิมขึ้นใหม่ จึงพระราชทานยาพิษให้หลี่อวี้ฆ่าตัวตาย แต่มีเรื่องเล่าขานกันว่านี่เป็นเพียงข้ออ้าง ว่ากันว่าองค์เจ้ากวงอี้ทรงรอจังหวะหาข้ออ้างสังหารหลี่อวี้อยู่แล้วเพราะทรงหลงไหลในชายาเสี่ยวโจวของหลี่อวี้ผู้ซึ่งงามพิลาส ถึงกับทรงล่อลวงนางเข้าวังแล้วขืนใจและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ในวัง จากนั้นมีการบังคับขืนใจนางอีกหลายครั้งครา มีการเล่าขานว่าทรงถึงขนาดให้จิตรกรมาวาดภาพขณะกำลังย่ำยีนางเพื่อส่งให้หลี่อวี้ดูเป็นการขยี้ใจ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจของบทกวีนี้ขึ้น... ข้อเท็จจริงใช่อย่างนี้หรือไม่? ไม่มีใครยืนยันได้ มีการกล่าวไว้เพียงว่าบทกวีอวี๋เหม่ยเหรินนี้ทำให้หลี่อวี้ถูกพระราชทานยาพิษตาย แต่ก็มีเอกสารเรื่องเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ในสมัยหมิงที่กล่าวถึงภาพวาดที่องค์เจ้ากวงอี้ได้ทรงให้คนวาดขึ้นนี้ นอกจากชื่อบทกวีแล้ว ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ ยังเป็นชื่อเรียกดอกป๊อปปี้ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึงความทุกข์และการตายจากพลัดพรากมาแต่จีนโบราณอีกด้วย วันนี้จบกันแบบสั้นๆ เศร้าๆ อย่างนี้แล (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://image.tmdb.org/t/p/original/enj2s0CNvp2oaf84j87H8Vsdbr0.jpg https://bowuguan.bucm.edu.cn/kpzl/zyyzs/57214.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.lllst.com/guoxuejingdian/scmj/271349.html https://baike.baidu.com/item/虞美人·春花秋月何时了/10926799 https://www.jianshu.com/p/8ff00c387fbe https://baike.sogou.com/v6849891.htm https://www.guwenxuexi.com/classical/24854.html https://k.sina.cn/article_1659337544_62e77b48001003bvc.html #บุปผาวสันต์ #จันทราสารทฤดู #ชุนฮวาชิวเยวี่ย #อวี๋เหม่ยเหริน #หลี่อวี
    0 Comments 0 Shares 286 Views 0 Reviews
  • อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่าเวทนาทุกชนิดสรุปลงในความหมายว่า “ทุกข์”
    สัทธรรมลำดับที่ : 144
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=144
    ชื่อบทธรรม : -เวทนาทุกชนิดสรุปลงในความหมายว่า “ทุกข์”
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --เวทนาทุกชนิดสรุปลงในความหมายว่า “ทุกข์”
    --ภิกษุองค์หนึ่งกราบทูลว่า :
    ---“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่
    ได้เกิดการใคร่ครวญขึ้นในใจว่า
    ‘พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือ
    สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.
    ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า
    ‘เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์’
    ดังนี้ ข้อที่พระองค์ตรัสว่า
    ‘เวทนาใด ๆ ก็ตามเวทนา นั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์ ดังนี้
    ทรงหมายถึงอะไรหนอ ?’’
    --ภิกษุ ! ดีแล้ว ดีแล้ว. เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ อย่าง เหล่านี้คือ
    สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา จริง ;
    และยังได้กล่าว่า
    “เวทนาใด ๆ ก็ตามเวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์”.
    ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงความเป็นของไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลายนั่นเอง,
    และเรายังกล่าวหมายถึง
    ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา
    ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา
    ความเป็นของจางคลายไปเป็นธรรมดา
    ความเป็นของดับไม่เหลือเป็นธรรมดา
    ความเป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา
    ของสังขารทั้งหลายนั่นแหละ ที่ได้กล่าวว่า "

    “เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆ
    ประมวลลงในความทุกข์”
    http://etipitaka.com/read/pali/18/268/?keywords=ทุกฺขสฺมินฺติ

    ดังนี้.-


    #ทุกข์ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/268/391.
    http://etipitaka.com/read/thai/18/231/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%99%E0%B9%91
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๘/๓๙๑.
    http://etipitaka.com/read/pali/18/268/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%99%E0%B9%91
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=144
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11&id=144
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11
    ลำดับสาธยายธรรม : 11 หังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_11.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่าเวทนาทุกชนิดสรุปลงในความหมายว่า “ทุกข์” สัทธรรมลำดับที่ : 144 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=144 ชื่อบทธรรม : -เวทนาทุกชนิดสรุปลงในความหมายว่า “ทุกข์” เนื้อความทั้งหมด :- --เวทนาทุกชนิดสรุปลงในความหมายว่า “ทุกข์” --ภิกษุองค์หนึ่งกราบทูลว่า : ---“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ ได้เกิดการใคร่ครวญขึ้นในใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ‘เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์’ ดังนี้ ข้อที่พระองค์ตรัสว่า ‘เวทนาใด ๆ ก็ตามเวทนา นั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์ ดังนี้ ทรงหมายถึงอะไรหนอ ?’’ --ภิกษุ ! ดีแล้ว ดีแล้ว. เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ อย่าง เหล่านี้คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา จริง ; และยังได้กล่าว่า “เวทนาใด ๆ ก็ตามเวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์”. ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงความเป็นของไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลายนั่นเอง, และเรายังกล่าวหมายถึง ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา ความเป็นของจางคลายไปเป็นธรรมดา ความเป็นของดับไม่เหลือเป็นธรรมดา ความเป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา ของสังขารทั้งหลายนั่นแหละ ที่ได้กล่าวว่า " “เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์” http://etipitaka.com/read/pali/18/268/?keywords=ทุกฺขสฺมินฺติ ดังนี้.- #ทุกข์ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/268/391. http://etipitaka.com/read/thai/18/231/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%99%E0%B9%91 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๘/๓๙๑. http://etipitaka.com/read/pali/18/268/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%99%E0%B9%91 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=144 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11&id=144 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11 ลำดับสาธยายธรรม : 11 หังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_11.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - เวทนาทุกชนิดสรุปลงในความหมายว่า “ทุกข์”
    -เวทนาทุกชนิดสรุปลงในความหมายว่า “ทุกข์” ภิกษุองค์หนึ่งกราบทูลว่า : “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ ได้เกิดการใคร่ครวญขึ้นในใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ‘เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์’ ดังนี้ ข้อที่พระองค์ตรัสว่า ‘เวทนาใด ๆ ก็ตามเวทนา นั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์ ดังนี้ ทรงหมายถึงอะไรหนอ ?’’ ภิกษุ ! ดีแล้ว ดีแล้ว. เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ อย่าง เหล่านี้คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา จริง ; และยังได้กล่าว่า “เวทนาใด ๆ ก็ตามเวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์”. ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงความเป็นของไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลายนั่นเอง, และเรายังกล่าวหมายถึงความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา ความเป็นของจางคลายไปเป็นธรรมดา ความเป็นของดับไม่เหลือเป็นธรรมดา ความเป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา ของสังขารทั้งหลายนั่นแหละ ที่ได้กล่าวว่า “เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์” ดังนี้.
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 151 Views 0 Reviews
  • 🎖️ 124 ปี อุบลฯ ปราบกบฏผีบุญองค์มั่น ศรัทธา คือ อาวุธ! ผีบุญขุขันธ์ ใหญ่สุดในอีสาน ไม่มีให้จดจำ ไม่ทำให้ลืมเลือน

    “ความศรัทธา” เปลี่ยนเป็น “การลุกฮือ” เมื่อประชาชนหมดหวังในรัฐ ย้อนรอยประวัติศาสตร์ “ศึกโนนโพธิ์” กับคำถามที่ไม่ควรหายไปจากแผ่นดิน

    🕰️ เสียงปืนใหญ่ที่โลกไม่เคยได้ยิน ย้อนกลับไปในวันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2444 เสียงปืนใหญ่ดังกึกก้องจากป่าบ้านสะพือ จังหวัดอุบลราชธานี ปืนของทหารสยาม ไม่ได้ยิงใส่ข้าศึกจากภายนอก… แต่มุ่งตรงไปยังกลุ่มชาวบ้าน ผู้มีศรัทธาในชายผู้ถูกเรียกว่า “องค์มั่น” ผู้นำแห่งขบวนการ “ผู้มีบุญ”

    การปะทะในวันนั้น จบลงด้วยศพกว่า 300 ราย แต่อุดมการณ์ ยังดังก้องข้ามศตวรรษ 🕊️

    🤔 ผู้มีบุญคือใคร? ก่อนจะไปถึงการสู้รบ... ต้องย้อนกลับมาที่คำว่า “ผู้มีบุญ” หรือที่รัฐไทยเรียกแบบดูหมิ่นว่า “ผีบุญ” 👻

    ผู้มีบุญ = คนที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็น “ผู้วิเศษ” หรือ “พระศรีอริยเมตไตรย” ผู้จะมากู้โลกในยุคที่รัฐล้มเหลว ผู้มีบุญจึงไม่ใช่กบฏธรรมดา แต่คือ "ผู้นำจิตวิญญาณ" ของชาวบ้านที่สิ้นหวังในอำนาจรัฐกลาง ที่ดูห่างไกล เย็นชา และกดขี่

    🧾 จากกบฏถึงความหวัง บันทึก 260 ปี "กบฏผีบุญอีสาน" ภาคอีสานถูกจารึกว่า เป็นพื้นที่ที่มีกบฏผีบุญมากที่สุดในประเทศ

    2242 กบฏบุญกว้าง
    2334 กบฏเชียงแก้ว
    2360 กบฏสาเกียดโง้ง
    2442-44 กบฏสามโบก
    2444-45 กบฏผีบุญอีสาน ครั้งองค์มั่น 🟠
    2467 กบฏหนองหมากแก้ว
    2479 กบฏหมอลำน้อยชาดา
    2483 กบฏหมอลำโสภา พลตรี
    2502 กบฏศิลา วงศ์สิน

    🎯 ครั้งปี 2444-2445 นั้นถือเป็น การลุกฮือใหญ่ที่สุด มีผู้มีบุญมากถึง 60 คน ครอบคลุม 13 จังหวัด ในอีสาน

    "ผีบุญองค์มั่น" โด่งดังสุดในภาคอีสาน นอกจากองค์มั่นแล้ว ยังมีผู้นำรองๆ อีก 5 คน เป็นแกนนำ คือ องค์เขียว องค์ลิ้นก่าน องค์พระบาท องค์พระเมตไตร และองค์เหลือง ฝ่ายกบฏได้ปลุกระดมราษฎรทั้ง 2 ฝั่งโขง ในฝั่งขวา คือฝั่งอีสาน ได้กำลังจากอำเภอโขงเจียม อำเภอตระการพืชผล ในที่สุด ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2444 กลุ่มผีบุญเข้ายึดเมืองเขมราฐ จับเจ้าเมืองไว้เป็นตัวประกัน และเป็นเครื่องมือแห่แหนให้คนเข้าเป็นพวก แต่ฆ่าท้าวกุลบุตร ท้าวโพธิสาร กรมการเมืองที่ไม่ยอมเข้ากับฝ่ายกบฏ

    รวมถึงได้เผาเมืองเขมราฐ ปล่อยนักโทษจากคุก แล้วเคลื่อนกำลังมุ่งตรงมายังเมืองอุบลราชธานี มาตั้งทัพระดมพลอีกครั้งที่บ้านสะพือใหญ่ อำเภอตระการพืชผล มีคนมาเข้ากับองค์มั่น 2,500 คน แต่อาวุธไม่ทันสมัย มีปืนคาบศิลา ปืนแก๊ป มีดพร้า ฝ่ายกบฏได้สะสมเสบียงอาหารด้วย ฝ่ายกบฏได้ฆ่านายอำเภอพนานิคม ซึ่งไม่ยอมเข้ากับฝ่ายกบฏด้วย

    แต่... "ผีบุญขุขันธ์" ใหญ่สุดในภาคอีสาน กบฏกลุ่มบุญจันเมืองขุขันธ์ กลุ่มนี้เป็นกบฏผู้มีบุญอีสานที่ใหญ่ที่สุด มีสมาชิกที่มาเข้าร่วมถึง 6,000 คน หัวหน้ากบฏชื่อบุญจัน เป็นบุตรเจ้าเมืองขุขันธ์คนก่อน และเป็นน้องชายของผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ในขณะนั้น ไม่ถูกกับพี่ชาย ในเรื่องตำแหน่งเจ้าเมืองมากกว่าสาเหตุอื่น ได้ตั้งตัวเป็นผู้มีบุญซ่องสุมกำลังอยู่ที่ภูฝ้าย ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน

    การเคลื่อนไหวของผีบุญ ขยายวงกว้าง รวดเร็ว เพราะมีการเชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้าน และอาศัยระบบวัฒนธรรม แบบปากต่อปาก 🗣️

    จุดแข็งของเครือข่ายนี้อยู่ที่ “ความศรัทธา” ไม่ใช่กำลังพล หรืออาวุธ

    🔥 จุดระเบิด เมื่อภาษี 4 บาท กลายเป็นฟางเส้นสุดท้าย 💸 ภาษีส่วยที่ชาวอีสานรับไม่ไหว รัฐสยามในยุครัชกาลที่ 5 มีนโยบายปฏิรูปการปกครองแบบรวมศูนย์ ส่งคนมาเก็บภาษีตรงจากประชาชน โดยเฉพาะภาษี ชายฉกรรจ์ 4 บาท ต่อคน ต่อปี เทียบค่าเงินปัจจุบันราว 3,500-4,000 บาท

    แต่ในยุคนั้น คนอีสานส่วนใหญ่ไม่ใช้เงิน และใช้ชีวิตพอเพียง เลี้ยงไก่ ปลูกข้าว ใช้ระบบแลกเปลี่ยน เงิน 4 บาท จึงเท่ากับความเดือดร้อนทั้งบ้าน 💔

    ☠️ “ฝูงไทยใจฮ้าย ตายสิ้นบ่หลอ” เสียงหมอลำตอกย้ำความเจ็บปวด ชี้ให้เห็นความไม่ยุติธรรม และปลุกใจชาวบ้าน
    บางพื้นที่ ถึงกับมีคำปลุกระดมชัดเจน เช่น

    “ไล่ไทยเอาดินคืนมา… ฆ่าไทยเสียให้หมด!”

    👑 จากชายธรรมดาสู่ผู้นำกองทัพศรัทธา "องค์มั่น" หรืออ้ายมาน เป็นผู้นำผู้มีบุญที่โดดเด่นที่สุด ตั้งตนเป็น "พระยาธรรมิกราช" หรือ "องค์ปราสาททอง" ✨

    👥 กลุ่มผู้ติดตามที่แข็งแกร่ง มีคนเข้าร่วมกว่า 2,500 คน ครอบคลุมพื้นที่ อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ลาวใต้ มีแกนนำร่วม เช่น องค์เขียว, องค์พระบาท, องค์เมตไตรย ฯลฯ

    ⚔️ ศึกโนนโพธิ์ ปืนใหญ่ที่ดับความหวัง วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2444 ตรงกับวันนี้ครบ 124 ปี พอดี และเป็นวันศุกร์เหมือนกัน กองทัพจากเมืองอุบลฯ ภายใต้การนำของ "พันตรีหลวงสุรกิจพิศาล" ใช้ ปืนใหญ่ 2 กระบอก ซุ่มโจมตีที่ “บ้านสะพือใหญ่” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “โนนโพธิ์”

    🔥 ปืนใหญ่ยิงถล่มตรงกลางกลุ่มกบฏ

    💀 เสียชีวิตทันที 200-300 คน

    😭 บาดเจ็บกว่า 500 คน

    องค์มั่นหนีไปได้ แต่ลูกน้อง 400 คนถูกจับ ศาลตัดสินประหาร “องค์” ทุกคน ✝️

    🧵 จดหมายลูกโซ่ หมอลำ และพลัง Soft Power แห่งยุค การปลุกระดมของผู้มีบุญ ไม่ได้เกิดจากอาวุธ แต่เกิดจาก...

    📜 จดหมายลูกโซ่ ที่คัดลอกคำพยากรณ์ต่อๆ กัน

    🎤 หมอลำ ที่ลำเกี่ยวกับความทุกข์ โจมตีรัฐ และปลุกใจ

    👄 การเล่าปากต่อปาก ที่ขยายความศรัทธาไปทั่วแผ่นดิน

    ในยุคที่คนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ "เสียง" คือพลังที่สุด!

    🛕 การต่อสู้ของคนที่ “ไม่มีเจ้า” หนึ่งในข้อมูลจากเอกสารสอบสวนผู้มีบุญ ระบุว่า “ถ้ายึดเมืองต่างๆ ได้ จะไม่มีเจ้าไม่มีนาย ทุกคนจะเท่ากัน” นี่คือความฝัน ที่ชาวบ้านไม่เคยได้จากรัฐ ยุคพระศรีอาริย์ ที่ไม่มีการกดขี่ มีแต่ความอุดมสมบูรณ์

    🏞️ พื้นที่ความทรงจำ ในวันนี้ โนนโพธิ์ไม่ได้เป็นสนามรบแล้ว แต่กลายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านเดินทางมาทำบุญ
    มีการวางแผนสร้าง อนุสรณ์สถานศึกโนนโพธิ์ ให้ลูกหลานได้เรียนรู้

    🎨 ภายในวัดมีภาพฝาผนังวาดเหตุการณ์

    🪔 ชาวบ้านมาร่วมงานบุญ แจกข้าวให้ผู้ล่วงลับ

    📖 เด็กนักเรียนเคยเก็บข้อมูล สัมภาษณ์คนเฒ่าคนแก่

    🪦 มีหลุมศพกลางทุ่ง ที่ไถนาก็ยังเจอกระโหลก

    🧑‍🏫 เมื่อรัฐหายไป ประวัติศาสตร์จึงถูกเล่าด้วยเสียงของชาวบ้าน “กบฏผีบุญ” คือคำที่รัฐใช้เรียก แต่ “ผู้มีบุญ” คือคำที่ชาวบ้านจดจำ และตอนนี้… คนรุ่นใหม่กำลังฟื้นเสียงนั้นกลับคืนมา

    📌 “การทำอนุสรณ์สถานไม่ใช่การปลุกระดม แต่คือการคืนความทรงจำให้กับแผ่นดิน”

    📌 จากเสียงหมอลำ สู่เสียงประวัติศาสตร์ที่ควรถูกฟัง “ผู้มีบุญ” = ผู้นำทางจิตวิญญาณของประชาชนที่สิ้นหวัง "องค์มั่น" เป็นผู้นำที่ชัดเจนที่สุด มีอิทธิพลมากที่สุด “ศึกโนนโพธิ์” คือตัวแทนของการปะทะระหว่าง รัฐรวมศูนย์ และ ชาวบ้านชายขอบ

    ปัจจุบันโนนโพธิ์ เริ่มกลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ความหวังคือ... การพูดถึงอย่างเปิดเผย จะทำให้ประวัติศาสตร์ไม่เงียบอีกต่อไป

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 041010 เม.ย. 2568

    📌 #กบฏผีบุญ #124ปีศึกโนนโพธิ์ #องค์มั่น #ผู้มีบุญ #บ้านสะพือ #ประวัติศาสตร์อีสาน #ศรัทธาคืออาวุธ #อนุสรณ์สถานผีบุญ #เสียงจากชายขอบ #หมอลำคือพลัง

    🎖️ 124 ปี อุบลฯ ปราบกบฏผีบุญองค์มั่น ศรัทธา คือ อาวุธ! ผีบุญขุขันธ์ ใหญ่สุดในอีสาน ไม่มีให้จดจำ ไม่ทำให้ลืมเลือน “ความศรัทธา” เปลี่ยนเป็น “การลุกฮือ” เมื่อประชาชนหมดหวังในรัฐ ย้อนรอยประวัติศาสตร์ “ศึกโนนโพธิ์” กับคำถามที่ไม่ควรหายไปจากแผ่นดิน 🕰️ เสียงปืนใหญ่ที่โลกไม่เคยได้ยิน ย้อนกลับไปในวันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2444 เสียงปืนใหญ่ดังกึกก้องจากป่าบ้านสะพือ จังหวัดอุบลราชธานี ปืนของทหารสยาม ไม่ได้ยิงใส่ข้าศึกจากภายนอก… แต่มุ่งตรงไปยังกลุ่มชาวบ้าน ผู้มีศรัทธาในชายผู้ถูกเรียกว่า “องค์มั่น” ผู้นำแห่งขบวนการ “ผู้มีบุญ” การปะทะในวันนั้น จบลงด้วยศพกว่า 300 ราย แต่อุดมการณ์ ยังดังก้องข้ามศตวรรษ 🕊️ 🤔 ผู้มีบุญคือใคร? ก่อนจะไปถึงการสู้รบ... ต้องย้อนกลับมาที่คำว่า “ผู้มีบุญ” หรือที่รัฐไทยเรียกแบบดูหมิ่นว่า “ผีบุญ” 👻 ผู้มีบุญ = คนที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็น “ผู้วิเศษ” หรือ “พระศรีอริยเมตไตรย” ผู้จะมากู้โลกในยุคที่รัฐล้มเหลว ผู้มีบุญจึงไม่ใช่กบฏธรรมดา แต่คือ "ผู้นำจิตวิญญาณ" ของชาวบ้านที่สิ้นหวังในอำนาจรัฐกลาง ที่ดูห่างไกล เย็นชา และกดขี่ 🧾 จากกบฏถึงความหวัง บันทึก 260 ปี "กบฏผีบุญอีสาน" ภาคอีสานถูกจารึกว่า เป็นพื้นที่ที่มีกบฏผีบุญมากที่สุดในประเทศ 2242 กบฏบุญกว้าง 2334 กบฏเชียงแก้ว 2360 กบฏสาเกียดโง้ง 2442-44 กบฏสามโบก 2444-45 กบฏผีบุญอีสาน ครั้งองค์มั่น 🟠 2467 กบฏหนองหมากแก้ว 2479 กบฏหมอลำน้อยชาดา 2483 กบฏหมอลำโสภา พลตรี 2502 กบฏศิลา วงศ์สิน 🎯 ครั้งปี 2444-2445 นั้นถือเป็น การลุกฮือใหญ่ที่สุด มีผู้มีบุญมากถึง 60 คน ครอบคลุม 13 จังหวัด ในอีสาน "ผีบุญองค์มั่น" โด่งดังสุดในภาคอีสาน นอกจากองค์มั่นแล้ว ยังมีผู้นำรองๆ อีก 5 คน เป็นแกนนำ คือ องค์เขียว องค์ลิ้นก่าน องค์พระบาท องค์พระเมตไตร และองค์เหลือง ฝ่ายกบฏได้ปลุกระดมราษฎรทั้ง 2 ฝั่งโขง ในฝั่งขวา คือฝั่งอีสาน ได้กำลังจากอำเภอโขงเจียม อำเภอตระการพืชผล ในที่สุด ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2444 กลุ่มผีบุญเข้ายึดเมืองเขมราฐ จับเจ้าเมืองไว้เป็นตัวประกัน และเป็นเครื่องมือแห่แหนให้คนเข้าเป็นพวก แต่ฆ่าท้าวกุลบุตร ท้าวโพธิสาร กรมการเมืองที่ไม่ยอมเข้ากับฝ่ายกบฏ รวมถึงได้เผาเมืองเขมราฐ ปล่อยนักโทษจากคุก แล้วเคลื่อนกำลังมุ่งตรงมายังเมืองอุบลราชธานี มาตั้งทัพระดมพลอีกครั้งที่บ้านสะพือใหญ่ อำเภอตระการพืชผล มีคนมาเข้ากับองค์มั่น 2,500 คน แต่อาวุธไม่ทันสมัย มีปืนคาบศิลา ปืนแก๊ป มีดพร้า ฝ่ายกบฏได้สะสมเสบียงอาหารด้วย ฝ่ายกบฏได้ฆ่านายอำเภอพนานิคม ซึ่งไม่ยอมเข้ากับฝ่ายกบฏด้วย แต่... "ผีบุญขุขันธ์" ใหญ่สุดในภาคอีสาน กบฏกลุ่มบุญจันเมืองขุขันธ์ กลุ่มนี้เป็นกบฏผู้มีบุญอีสานที่ใหญ่ที่สุด มีสมาชิกที่มาเข้าร่วมถึง 6,000 คน หัวหน้ากบฏชื่อบุญจัน เป็นบุตรเจ้าเมืองขุขันธ์คนก่อน และเป็นน้องชายของผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ในขณะนั้น ไม่ถูกกับพี่ชาย ในเรื่องตำแหน่งเจ้าเมืองมากกว่าสาเหตุอื่น ได้ตั้งตัวเป็นผู้มีบุญซ่องสุมกำลังอยู่ที่ภูฝ้าย ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน การเคลื่อนไหวของผีบุญ ขยายวงกว้าง รวดเร็ว เพราะมีการเชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้าน และอาศัยระบบวัฒนธรรม แบบปากต่อปาก 🗣️ จุดแข็งของเครือข่ายนี้อยู่ที่ “ความศรัทธา” ไม่ใช่กำลังพล หรืออาวุธ 🔥 จุดระเบิด เมื่อภาษี 4 บาท กลายเป็นฟางเส้นสุดท้าย 💸 ภาษีส่วยที่ชาวอีสานรับไม่ไหว รัฐสยามในยุครัชกาลที่ 5 มีนโยบายปฏิรูปการปกครองแบบรวมศูนย์ ส่งคนมาเก็บภาษีตรงจากประชาชน โดยเฉพาะภาษี ชายฉกรรจ์ 4 บาท ต่อคน ต่อปี เทียบค่าเงินปัจจุบันราว 3,500-4,000 บาท แต่ในยุคนั้น คนอีสานส่วนใหญ่ไม่ใช้เงิน และใช้ชีวิตพอเพียง เลี้ยงไก่ ปลูกข้าว ใช้ระบบแลกเปลี่ยน เงิน 4 บาท จึงเท่ากับความเดือดร้อนทั้งบ้าน 💔 ☠️ “ฝูงไทยใจฮ้าย ตายสิ้นบ่หลอ” เสียงหมอลำตอกย้ำความเจ็บปวด ชี้ให้เห็นความไม่ยุติธรรม และปลุกใจชาวบ้าน บางพื้นที่ ถึงกับมีคำปลุกระดมชัดเจน เช่น “ไล่ไทยเอาดินคืนมา… ฆ่าไทยเสียให้หมด!” 👑 จากชายธรรมดาสู่ผู้นำกองทัพศรัทธา "องค์มั่น" หรืออ้ายมาน เป็นผู้นำผู้มีบุญที่โดดเด่นที่สุด ตั้งตนเป็น "พระยาธรรมิกราช" หรือ "องค์ปราสาททอง" ✨ 👥 กลุ่มผู้ติดตามที่แข็งแกร่ง มีคนเข้าร่วมกว่า 2,500 คน ครอบคลุมพื้นที่ อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ลาวใต้ มีแกนนำร่วม เช่น องค์เขียว, องค์พระบาท, องค์เมตไตรย ฯลฯ ⚔️ ศึกโนนโพธิ์ ปืนใหญ่ที่ดับความหวัง วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2444 ตรงกับวันนี้ครบ 124 ปี พอดี และเป็นวันศุกร์เหมือนกัน กองทัพจากเมืองอุบลฯ ภายใต้การนำของ "พันตรีหลวงสุรกิจพิศาล" ใช้ ปืนใหญ่ 2 กระบอก ซุ่มโจมตีที่ “บ้านสะพือใหญ่” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “โนนโพธิ์” 🔥 ปืนใหญ่ยิงถล่มตรงกลางกลุ่มกบฏ 💀 เสียชีวิตทันที 200-300 คน 😭 บาดเจ็บกว่า 500 คน องค์มั่นหนีไปได้ แต่ลูกน้อง 400 คนถูกจับ ศาลตัดสินประหาร “องค์” ทุกคน ✝️ 🧵 จดหมายลูกโซ่ หมอลำ และพลัง Soft Power แห่งยุค การปลุกระดมของผู้มีบุญ ไม่ได้เกิดจากอาวุธ แต่เกิดจาก... 📜 จดหมายลูกโซ่ ที่คัดลอกคำพยากรณ์ต่อๆ กัน 🎤 หมอลำ ที่ลำเกี่ยวกับความทุกข์ โจมตีรัฐ และปลุกใจ 👄 การเล่าปากต่อปาก ที่ขยายความศรัทธาไปทั่วแผ่นดิน ในยุคที่คนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ "เสียง" คือพลังที่สุด! 🛕 การต่อสู้ของคนที่ “ไม่มีเจ้า” หนึ่งในข้อมูลจากเอกสารสอบสวนผู้มีบุญ ระบุว่า “ถ้ายึดเมืองต่างๆ ได้ จะไม่มีเจ้าไม่มีนาย ทุกคนจะเท่ากัน” นี่คือความฝัน ที่ชาวบ้านไม่เคยได้จากรัฐ ยุคพระศรีอาริย์ ที่ไม่มีการกดขี่ มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ 🏞️ พื้นที่ความทรงจำ ในวันนี้ โนนโพธิ์ไม่ได้เป็นสนามรบแล้ว แต่กลายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านเดินทางมาทำบุญ มีการวางแผนสร้าง อนุสรณ์สถานศึกโนนโพธิ์ ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ 🎨 ภายในวัดมีภาพฝาผนังวาดเหตุการณ์ 🪔 ชาวบ้านมาร่วมงานบุญ แจกข้าวให้ผู้ล่วงลับ 📖 เด็กนักเรียนเคยเก็บข้อมูล สัมภาษณ์คนเฒ่าคนแก่ 🪦 มีหลุมศพกลางทุ่ง ที่ไถนาก็ยังเจอกระโหลก 🧑‍🏫 เมื่อรัฐหายไป ประวัติศาสตร์จึงถูกเล่าด้วยเสียงของชาวบ้าน “กบฏผีบุญ” คือคำที่รัฐใช้เรียก แต่ “ผู้มีบุญ” คือคำที่ชาวบ้านจดจำ และตอนนี้… คนรุ่นใหม่กำลังฟื้นเสียงนั้นกลับคืนมา 📌 “การทำอนุสรณ์สถานไม่ใช่การปลุกระดม แต่คือการคืนความทรงจำให้กับแผ่นดิน” 📌 จากเสียงหมอลำ สู่เสียงประวัติศาสตร์ที่ควรถูกฟัง “ผู้มีบุญ” = ผู้นำทางจิตวิญญาณของประชาชนที่สิ้นหวัง "องค์มั่น" เป็นผู้นำที่ชัดเจนที่สุด มีอิทธิพลมากที่สุด “ศึกโนนโพธิ์” คือตัวแทนของการปะทะระหว่าง รัฐรวมศูนย์ และ ชาวบ้านชายขอบ ปัจจุบันโนนโพธิ์ เริ่มกลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ความหวังคือ... การพูดถึงอย่างเปิดเผย จะทำให้ประวัติศาสตร์ไม่เงียบอีกต่อไป ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 041010 เม.ย. 2568 📌 #กบฏผีบุญ #124ปีศึกโนนโพธิ์ #องค์มั่น #ผู้มีบุญ #บ้านสะพือ #ประวัติศาสตร์อีสาน #ศรัทธาคืออาวุธ #อนุสรณ์สถานผีบุญ #เสียงจากชายขอบ #หมอลำคือพลัง
    0 Comments 0 Shares 402 Views 0 Reviews

  • ความทุกข์ อุปสรรค ความไม่สมหวัง ความพลัดพราก
    Cr.Wiwan

    ความทุกข์ อุปสรรค ความไม่สมหวัง ความพลัดพราก Cr.Wiwan
    0 Comments 0 Shares 51 Views 0 Reviews
  • ภัยร้ายแรงกำลังจะจ่อคอหอยแผ่นดินไทยอยู่แล้ว ยังคิดจะทุ่มเงินมหาศาลเพื่อสนองตัณหาของพวกเศรษฐีกันอยู่อีก ลมหายใจเข้าออกทั้งตระกูลก็คิดแต่จะสร้างสิ่งของมอมเมาคนในชาติ แค่สร้างภาพให้ต่ะกูลตนเองให้มีชื่อเสียง มีอำนาจ แต่ปล่อยปะละเลยคนในแผ่นดินของตนเอง

    เอ็นเตอร์เทนเม้นต์คอมเพล็ค ใช้งบประมาณมากมายมหาศาล รวมไปถึงการทุ่มงบมากมายไปกับการใช้หินดินทรายถมทะเล เพื่อสร้างอาณาจักรแค่เรื่องความบันเทิง

    แต่คนในแผ่นดินตนเองกำลังเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากจากภัยร้ายของธรรมชาติ ทั้งน้ำท่วมและแผ่นดินไหว แทนที่จะคิดใช้เงินมหาศาลไปกับการออกแบบและป้องกันภัยธรรมชาติ เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้เป็นรูปธรรม

    และควรทุ่มแรงกายแรงใจทั้งหมด ส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนให้เกิดความมั่นคงภายในประเทศตนเองเสียก่อน ไม่ใช่คิดเอาแต่เรื่องที่มันแสวงหาแต่ผลประโยชน์ ที่มันเป็นเรื่องผิดศีลธรรม เอามาล่อหลอก นักการเมืองและผู้มีอำนาจที่สุ่มหัวกัน อยากกอบโกยผลประโยชน์ให้กับตนเอง จึงทำให้เกิดการปล่อยปะละเลยต่อประชาชนของตนเอง ไม่เข้าใจแม้กระทั่งพื้นฐานการเป็นผู้นำประเทศ เข้ามาเล่นการเมืองเพื่ออะไร ประชาชนทั้งประเทศจะได้อะไร

    หากเข้ามาเล่นการเมืองเพื่อตระกูลของตนเอง และคิดแต่เรื่องสกปรกโสโครก ที่นำเงินรายได้มาแบ่งพวกพร้องตนเอง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเรื่องสกปรกก็ตาม

    คุณสมบัติแบบนี้ คนตระกูลชิน ไม่มีความเหมาะสมสักอย่างที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศชาติ ตราบใดที่ยังไม่มีสมองที่จะคิดวางแผน ให้คนในประเทศชาติพบแต่ความสงบสุขและนอนหลับอุ่นใจได้

    ไม่ใช่การคิดสร้างบ่อนคาสิโนขึ้นมาในประเทศ เพื่อใช้ฟอกเงินที่สกปรกและผิดกฏหมาย และคิดจะนำเงินสกปรกพวกนั้นมาบริหารประเทศชาติ

    บ่อนคาสิโน หรือเอ็นเตอร์เม้นต์คอมเพล็ค ต้องเกิดขึ้นหลังจากคนในประเทศชาติมีความมั่งคั่ง และอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขให้ได้เสียก่อน

    นี่ถึงจะเรียกได้ว่า มีคุณสมบัติของผู้นำประเทศชาติ.

    เดชา นฤนารท.

    30/3/68 13.43 น.
    ภัยร้ายแรงกำลังจะจ่อคอหอยแผ่นดินไทยอยู่แล้ว ยังคิดจะทุ่มเงินมหาศาลเพื่อสนองตัณหาของพวกเศรษฐีกันอยู่อีก ลมหายใจเข้าออกทั้งตระกูลก็คิดแต่จะสร้างสิ่งของมอมเมาคนในชาติ แค่สร้างภาพให้ต่ะกูลตนเองให้มีชื่อเสียง มีอำนาจ แต่ปล่อยปะละเลยคนในแผ่นดินของตนเอง เอ็นเตอร์เทนเม้นต์คอมเพล็ค ใช้งบประมาณมากมายมหาศาล รวมไปถึงการทุ่มงบมากมายไปกับการใช้หินดินทรายถมทะเล เพื่อสร้างอาณาจักรแค่เรื่องความบันเทิง แต่คนในแผ่นดินตนเองกำลังเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากจากภัยร้ายของธรรมชาติ ทั้งน้ำท่วมและแผ่นดินไหว แทนที่จะคิดใช้เงินมหาศาลไปกับการออกแบบและป้องกันภัยธรรมชาติ เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้เป็นรูปธรรม และควรทุ่มแรงกายแรงใจทั้งหมด ส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนให้เกิดความมั่นคงภายในประเทศตนเองเสียก่อน ไม่ใช่คิดเอาแต่เรื่องที่มันแสวงหาแต่ผลประโยชน์ ที่มันเป็นเรื่องผิดศีลธรรม เอามาล่อหลอก นักการเมืองและผู้มีอำนาจที่สุ่มหัวกัน อยากกอบโกยผลประโยชน์ให้กับตนเอง จึงทำให้เกิดการปล่อยปะละเลยต่อประชาชนของตนเอง ไม่เข้าใจแม้กระทั่งพื้นฐานการเป็นผู้นำประเทศ เข้ามาเล่นการเมืองเพื่ออะไร ประชาชนทั้งประเทศจะได้อะไร หากเข้ามาเล่นการเมืองเพื่อตระกูลของตนเอง และคิดแต่เรื่องสกปรกโสโครก ที่นำเงินรายได้มาแบ่งพวกพร้องตนเอง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเรื่องสกปรกก็ตาม คุณสมบัติแบบนี้ คนตระกูลชิน ไม่มีความเหมาะสมสักอย่างที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศชาติ ตราบใดที่ยังไม่มีสมองที่จะคิดวางแผน ให้คนในประเทศชาติพบแต่ความสงบสุขและนอนหลับอุ่นใจได้ ไม่ใช่การคิดสร้างบ่อนคาสิโนขึ้นมาในประเทศ เพื่อใช้ฟอกเงินที่สกปรกและผิดกฏหมาย และคิดจะนำเงินสกปรกพวกนั้นมาบริหารประเทศชาติ บ่อนคาสิโน หรือเอ็นเตอร์เม้นต์คอมเพล็ค ต้องเกิดขึ้นหลังจากคนในประเทศชาติมีความมั่งคั่ง และอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขให้ได้เสียก่อน นี่ถึงจะเรียกได้ว่า มีคุณสมบัติของผู้นำประเทศชาติ. เดชา นฤนารท. 30/3/68 13.43 น.
    0 Comments 0 Shares 298 Views 0 Reviews
  • มีความทุกข์อย่างไร ไม่เพิ่มทุกข์ด้วยการเข้าหาคนช่วยผิดๆ https://www.blockdit.com/posts/67ceb1b86dda5b26c8808663
    มีความทุกข์อย่างไร ไม่เพิ่มทุกข์ด้วยการเข้าหาคนช่วยผิดๆ https://www.blockdit.com/posts/67ceb1b86dda5b26c8808663
    WWW.BLOCKDIT.COM
    [sansati ศานสติ] อย่าตกหลุมพรางฟางเส้นสุดท้าย อย่ารอเจ้าหญิงเจ้าชายขี่ม้าขาว คนเราบางครั้งเวลาที่อยู่ในสถานะที่มืดมน ไม่รู้ว่าจะหาทางออกไปยังไง หันหน้าไปทางไหนก็ไม่รู้ว่าจะบอกกล่าวกับใครดี มันทำให้เราก็แอบฝันมโนไปว่า
    คนเราบางครั้งเวลาที่อยู่ในสถานะที่มืดมน ไม่รู้ว่าจะหาทางออกไปยังไง หันหน้าไปทางไหนก็ไม่รู้ว่าจะบอกกล่าวกับใครดี มันทำให้เราก็แอบฝันมโนไปว่า อยากมีจังเลยนะ คนที่จะขี่ม้าขาวมาช่วยเราออกจากความทุกข์ทนตรงนี้ ถ้ามีก็คงจะดี แต่ความคิดเช่นนี้ อาจทำให้เราตกลงไปในหลุมพรางที่เป็นเหมือนฟางเส้นสุดท้ายอันน่ากลัวได้ เพราะมีคนบางคนที่รอฉกฉวยโอกาส จากความอ่อนแอของจิตใจผู้อื่นอยู่หนทุกแห่ง เราไม่รู้เลยว่าเราจะตกเป็นเหยื่อของความหลอกลวงตรงนี้เมื่อไหร่
    0 Comments 0 Shares 100 Views 0 Reviews
  • วันที่ 27 มีนาคม เวลา 13.30 น. ตามเวลาเกาหลี ทนายความ พูจีซอก จากสำนักงานกฎหมาย Buyou ได้จัดแถลงข่าว ณ Space Share ใกล้สถานีคังนัม ย่านซอโชดง กรุงโซล ในนามของครอบครัวผู้ล่วงลับ คิมแซรน นักแสดงสาวที่จากไปก่อนวัยอันควร โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม และชี้แจงข้อเท็จจริงที่ทำให้ครอบครัวต้องเผชิญกับความทุกข์อย่างแสนสาหัส

    “ช่วงหลังมานี้ มีการเปิดเผยเรื่องส่วนตัวของคิมแซรนอย่างไม่ยั้งคิดบนโลกออนไลน์แทบทุกวัน นำมาซึ่งคำวิพากษ์วิจารณ์และการคาดเดาอย่างไม่สิ้นสุด ซึ่งได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจต่อครอบครัวของผู้ล่วงลับ” ทนายพูเปิดเผย

    เขาระบุว่าจุดประสงค์ของการแถลงข่าวครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อเปิดเผยสาเหตุการตัดสินใจจบชีวิตของคิมแซรน แต่เพื่อขอให้สังคมหยุดโจมตีครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมย้ำว่าทางครอบครัวไม่ต้องการยืดเยื้อหรือโต้แย้งเรื่องข้อเท็จจริงในสื่ออีกต่อไป

    ทนายพูยังเปิดเผยว่า ครอบครัวจำเป็นต้องเปิดเผยว่า คิมซูฮยอน นักแสดงหนุ่มชื่อดัง เคยมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับคิมแซรนตั้งแต่เธอยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยเหตุที่จำต้องเปิดเผยเรื่องนี้ เนื่องจากครอบครัวกำลังเตรียมดำเนินคดีทางกฎหมายกับยูทูบเบอร์ อีจินโฮ ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลเท็จและดูหมิ่นผู้ล่วงลับจนทำให้เธอทุกข์ทรมานทางจิตใจอย่างหนัก

    อย่างไรก็ตาม ฝ่ายคิมซูฮยอนกลับปฏิเสธว่าไม่เคยคบหากับคิมแซรน ก่อนที่จะมีหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ และถึงแม้จะมีหลักฐานดังกล่าวแล้ว เขาก็ยังไม่เคยออกมาขอโทษใดๆ และยืนกรานว่าเริ่มคบกันหลังคิมแซรนเป็นผู้ใหญ่แล้ว

    ทนายยังกล่าวหาร่วมว่าอีจินโฮและบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จงใจขุดคุ้ยเรื่องส่วนตัวของคิมแซรน พร้อมใส่ความโดยไร้หลักฐานอย่างต่อเนื่อง

    ล่าสุดในงานแถลง ทนายพูได้เปิดเผยภาพข้อความแชต KakaoTalk ระหว่างคิมแซรนและคิมซูฮยอนลงวันที่ 24 มิถุนายน 2559 (ขณะคิมแซรนอายุเพียง 17 ปี) ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่เกินกว่าความเป็นพี่น้องหรือเพื่อนร่วมงาน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000029159

    #MGROnline #คิมซูฮยอน #คิมแซรน #คิมแซรอน #KimSooHyun #KimSaeron
    วันที่ 27 มีนาคม เวลา 13.30 น. ตามเวลาเกาหลี ทนายความ พูจีซอก จากสำนักงานกฎหมาย Buyou ได้จัดแถลงข่าว ณ Space Share ใกล้สถานีคังนัม ย่านซอโชดง กรุงโซล ในนามของครอบครัวผู้ล่วงลับ คิมแซรน นักแสดงสาวที่จากไปก่อนวัยอันควร โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม และชี้แจงข้อเท็จจริงที่ทำให้ครอบครัวต้องเผชิญกับความทุกข์อย่างแสนสาหัส • “ช่วงหลังมานี้ มีการเปิดเผยเรื่องส่วนตัวของคิมแซรนอย่างไม่ยั้งคิดบนโลกออนไลน์แทบทุกวัน นำมาซึ่งคำวิพากษ์วิจารณ์และการคาดเดาอย่างไม่สิ้นสุด ซึ่งได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจต่อครอบครัวของผู้ล่วงลับ” ทนายพูเปิดเผย • เขาระบุว่าจุดประสงค์ของการแถลงข่าวครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อเปิดเผยสาเหตุการตัดสินใจจบชีวิตของคิมแซรน แต่เพื่อขอให้สังคมหยุดโจมตีครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมย้ำว่าทางครอบครัวไม่ต้องการยืดเยื้อหรือโต้แย้งเรื่องข้อเท็จจริงในสื่ออีกต่อไป • ทนายพูยังเปิดเผยว่า ครอบครัวจำเป็นต้องเปิดเผยว่า คิมซูฮยอน นักแสดงหนุ่มชื่อดัง เคยมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับคิมแซรนตั้งแต่เธอยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยเหตุที่จำต้องเปิดเผยเรื่องนี้ เนื่องจากครอบครัวกำลังเตรียมดำเนินคดีทางกฎหมายกับยูทูบเบอร์ อีจินโฮ ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลเท็จและดูหมิ่นผู้ล่วงลับจนทำให้เธอทุกข์ทรมานทางจิตใจอย่างหนัก • อย่างไรก็ตาม ฝ่ายคิมซูฮยอนกลับปฏิเสธว่าไม่เคยคบหากับคิมแซรน ก่อนที่จะมีหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ และถึงแม้จะมีหลักฐานดังกล่าวแล้ว เขาก็ยังไม่เคยออกมาขอโทษใดๆ และยืนกรานว่าเริ่มคบกันหลังคิมแซรนเป็นผู้ใหญ่แล้ว • ทนายยังกล่าวหาร่วมว่าอีจินโฮและบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จงใจขุดคุ้ยเรื่องส่วนตัวของคิมแซรน พร้อมใส่ความโดยไร้หลักฐานอย่างต่อเนื่อง • ล่าสุดในงานแถลง ทนายพูได้เปิดเผยภาพข้อความแชต KakaoTalk ระหว่างคิมแซรนและคิมซูฮยอนลงวันที่ 24 มิถุนายน 2559 (ขณะคิมแซรนอายุเพียง 17 ปี) ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่เกินกว่าความเป็นพี่น้องหรือเพื่อนร่วมงาน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000029159 • #MGROnline #คิมซูฮยอน #คิมแซรน #คิมแซรอน #KimSooHyun #KimSaeron
    0 Comments 0 Shares 408 Views 0 Reviews
  • "อดทนในความรัก" ควรมีขอบเขตและปัญญา

    ไม่ใช่ทนอยู่กับความทุกข์โดยไม่มีความหวัง
    ความรักที่แท้จริงไม่ใช่การทนจนหมดแรง
    แต่คือการปรับให้ใจเป็นสุขร่วมกัน
    ถ้าไม่ใช่คู่แท้ ก็ขอให้จบอย่างสงบ
    ดีกว่าคลั่งรักสลับเกลียดจนลืมตัวตนของเราไป!
    "อดทนในความรัก" ควรมีขอบเขตและปัญญา ไม่ใช่ทนอยู่กับความทุกข์โดยไม่มีความหวัง ความรักที่แท้จริงไม่ใช่การทนจนหมดแรง แต่คือการปรับให้ใจเป็นสุขร่วมกัน ถ้าไม่ใช่คู่แท้ ก็ขอให้จบอย่างสงบ ดีกว่าคลั่งรักสลับเกลียดจนลืมตัวตนของเราไป!
    0 Comments 0 Shares 111 Views 0 Reviews
  • หลวงปู่ดู่ เตือนเรื่อง "ปรามาสพระ"

    วันหนึ่งมีผู้มากราบนมัสการท่าน และเรียนถามปัญหาต่างๆ จากนั้นจึงกลับไป หลวงปู่ท่านได้ยกเป็นคติเตือนใจให้ผู้เขียนฟังว่า

    “คนที่มาเมื่อกี้ หากไปเจอพระดีล่ะก็ลงนรก ไม่ไปสวรรค์ นิพพานหรอก”

    ผู้เขียนจึงเรียนถามท่านว่า “เพราะเหตุไรครับ”

    ท่านตอบว่า “ก็จะไปปรามาสพระท่านน่ะซี ไม่ได้ไปเอาธรรมจากท่าน”

    หลวงปู่เคยเตือนพวกเราไว้ว่า

    “การไปอยู่กับพระอรหันต์ อย่าอยู่กับท่านนาน เพราะเมื่อเกิดความมักคุ้นแล้ว มักทำให้ลืมตัว เห็นท่านเป็นเพื่อนเล่น คุยเล่นหัวท่านบ้าง ให้ท่านเหาะให้ดูบ้าง ถึงกับออกปากใช้ท่านเลยก็มี การกระทำเช่นนี้ ถือเป็นการปรามาสพระ ลบหลู่ครูอาจารย์ และเป็นบาปมาก ปิดกั้นทางมรรคผลนิพพานได้ จึงขอให้พวกเราสำรวมระวังให้ดี”

    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    #หลวงปู่ดู่พรหมปัญโญ
    #พระพรหมปัญโญ
    #สวดคาถามหาจักรพรรดิ
    #สวดมนต์ #บันทึกบุญ #โมทนาบุญ #ยินดีในบุญ
    #คาถามหาจักรพรรดิ108
    #ธรรมทานเหนือการให้ทั้งปวง
    #พุทธังอนันตังธัมมังจักรวาลังสังฆังนิพพานะปัจจะโยโหตุ
    #ขอให้ประสบแต่ความดีปราศจากความทุกข์"

    ว่ากันต่อต่อไปให้ได้บุญ
    หลวงปู่ดู่ เตือนเรื่อง "ปรามาสพระ" วันหนึ่งมีผู้มากราบนมัสการท่าน และเรียนถามปัญหาต่างๆ จากนั้นจึงกลับไป หลวงปู่ท่านได้ยกเป็นคติเตือนใจให้ผู้เขียนฟังว่า “คนที่มาเมื่อกี้ หากไปเจอพระดีล่ะก็ลงนรก ไม่ไปสวรรค์ นิพพานหรอก” ผู้เขียนจึงเรียนถามท่านว่า “เพราะเหตุไรครับ” ท่านตอบว่า “ก็จะไปปรามาสพระท่านน่ะซี ไม่ได้ไปเอาธรรมจากท่าน” หลวงปู่เคยเตือนพวกเราไว้ว่า “การไปอยู่กับพระอรหันต์ อย่าอยู่กับท่านนาน เพราะเมื่อเกิดความมักคุ้นแล้ว มักทำให้ลืมตัว เห็นท่านเป็นเพื่อนเล่น คุยเล่นหัวท่านบ้าง ให้ท่านเหาะให้ดูบ้าง ถึงกับออกปากใช้ท่านเลยก็มี การกระทำเช่นนี้ ถือเป็นการปรามาสพระ ลบหลู่ครูอาจารย์ และเป็นบาปมาก ปิดกั้นทางมรรคผลนิพพานได้ จึงขอให้พวกเราสำรวมระวังให้ดี” หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ #หลวงปู่ดู่พรหมปัญโญ #พระพรหมปัญโญ #สวดคาถามหาจักรพรรดิ #สวดมนต์ #บันทึกบุญ #โมทนาบุญ #ยินดีในบุญ #คาถามหาจักรพรรดิ108 #ธรรมทานเหนือการให้ทั้งปวง #พุทธังอนันตังธัมมังจักรวาลังสังฆังนิพพานะปัจจะโยโหตุ #ขอให้ประสบแต่ความดีปราศจากความทุกข์" ว่ากันต่อต่อไปให้ได้บุญ
    0 Comments 0 Shares 347 Views 0 Reviews
  • อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกว่ามีบุุคลผู้ตายคาประตูนิพพาน
    สัทธรรมลำดับที่ : 563
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=563
    ชื่อบทธรรม :- ผู้ตายคาประตูนิพพาน
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ผู้ตายคาประตูนิพพาน
    --สุนักขัตตะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือจะมีภิกษุบางรูปในกรณีนี้
    มีความเข้าใจของตนมีความหมายอันสรุปได้อย่างนี้เป็นต้น ว่า

    “ตัณหานั้น สมณะกล่าวกันว่าเป็นลูกศร,
    โทษอันมีพิษของอวิชชา ย่อมงอกงามเพราะฉันทราคะและพยาบาท,
    ลูกศรคือตัณหานั้นเราละได้แล้ว,
    โทษอันมีพิษของอวิชชา เราก็นำออกไปหมดแล้ว,
    เราเป็นผู้น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ”
    ดังนี้.
    +-เธอนั้นย่อมตามประกอบซึ่งธรรมทั้งหลายอัน
    ไม่เป็นที่สบายแก่ผู้น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ ;
    คือตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบาย
    ในการเห็นรูปด้วยตา
    ฟังเสียงด้วยหู
    ดมกลิ่นด้วยจมูก
    ลิ้มรสด้วยลิ้น
    ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
    รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ
    อันล้วนไม่เป็นที่สบาย.
    +-เมื่อเธอตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบายเหล่านี้ อยู่,
    ราคะย่อมเสียบแทงจิตของเธอ.
    เธอมีจิตอันราคะเสียบแทงแล้ว
    ย่อมถึงความตายหรือความทุกข์เจียนตาย.

    --สุนักขัตตะ ! เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอันอาบไว้ด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า.
    มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา
    จัดหาหมอผ่าตัดมารักษาหมอได้ใช้ศาสตราชำแหละปากแผลของเขา
    แล้วใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศร พบแล้วถอนลูกศรออก
    กำจัดโทษอันเป็นพิษที่ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่
    แล้วกล่าวแก่เขาอย่างนี้ว่า
    “--บุรุษผู้เจริญ ! ลูกศรถูกถอนออกแล้ว,
    โทษอันเป็นพิษเรานำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว,
    ท่านไม่มีอันตรายอีกแล้ว,
    และท่านจะ บริโภคอาหารได้ตามสบาย
    แต่อย่าไปกินอาหารชนิดที่ไม่สบายแก่แผลอันจะทำให้แผลอักเสบ
    และจงล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา,
    เมื่อท่านล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา
    อย่าให้หนองและเลือดเกรอะกรังปากแผล,
    และท่านอย่าเที่ยวตากลมตากแดด,
    เมื่อเที่ยวตากลมตากแดด, ก็อย่าให้ฝุ่นละอองและของโสโครกเข้าไปในปากแผล.
    --บุรุษผู้เจริญ ! ท่านจงเป็นผู้ระวังรักษาแผล มีเรื่องแผลเป็นเรื่องสำคัญเถอะนะ”
    ดังนี้.

    บุรุษนั้นมีความคิดว่า
    “หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว
    โทษอันเป็นพิษหมอก็นำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว เราหมดอันตราย”
    เขาจึงบริโภคโภชนะที่แสลง,
    เมื่อบริโภคโภชนะที่แสลง แผลก็กำเริบ,
    และเขาไม่ชะแผลตามเวลาไม่ทายาที่ปากแผลตามเวลา,
    เมื่อเขาไม่ชะแผลตามเวลา ไม่ทายาที่ปากแผลตามเวลา หนองและเลือดก็เกรอะกรังปากแผล,
    และเขาเที่ยวตากลมตากแดดปล่อยให้ฝุ่นละอองของโสโครกเข้าไปในปากแผล,
    และเขาไม่ระวังรักษาแผลไม่มีเรื่องแผลเป็นเรื่องสำคัญ.
    เขานำโทษพิษอันไม่สะอาดออกไปด้วยการกระทำอันไม่ถูกต้องเหล่านี้ แผลจึงมีเชื้อเหลืออยู่,
    แผลก็บวมขึ้นเพราะเหตุทั้งสองนั้น.
    บุรุษนั้นมีแผลบวมแล้ว ก็ถึงซึ่งความตายบ้าง ซึ่งความทุกข์เจียนตายบ้าง,
    นี้ฉันใด ;

    --สุนักขัตตะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือข้อที่ภิกษุบางรูป
    สำคัญตนว่าน้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ
    ....
    แต่ตามประกอบในธรรมไม่เป็นที่สบายแก่การน้อมไปในนิพพานโดยชอบ
    ....
    ราคะก็เสียบแทงจิตของเธอ.
    เธอมีจิตอันราคะเสียบแทงแล้ว ย่อมถึงความตาย หรือความทุกข์เจียนตาย.
    --สุนักขัตตะ ! ในอริยวินัยนี้

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/66/76.
    http://etipitaka.com/read/thai/14/51/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%96
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๖๖/๗๖.
    http://etipitaka.com/read/pali/14/66/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%96
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=563
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=37&id=563
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=37
    ลำดับสาธยายธรรม : 37 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_37.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกว่ามีบุุคลผู้ตายคาประตูนิพพาน สัทธรรมลำดับที่ : 563 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=563 ชื่อบทธรรม :- ผู้ตายคาประตูนิพพาน เนื้อความทั้งหมด :- --ผู้ตายคาประตูนิพพาน --สุนักขัตตะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือจะมีภิกษุบางรูปในกรณีนี้ มีความเข้าใจของตนมีความหมายอันสรุปได้อย่างนี้เป็นต้น ว่า “ตัณหานั้น สมณะกล่าวกันว่าเป็นลูกศร, โทษอันมีพิษของอวิชชา ย่อมงอกงามเพราะฉันทราคะและพยาบาท, ลูกศรคือตัณหานั้นเราละได้แล้ว, โทษอันมีพิษของอวิชชา เราก็นำออกไปหมดแล้ว, เราเป็นผู้น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ” ดังนี้. +-เธอนั้นย่อมตามประกอบซึ่งธรรมทั้งหลายอัน ไม่เป็นที่สบายแก่ผู้น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ ; คือตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ในการเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ อันล้วนไม่เป็นที่สบาย. +-เมื่อเธอตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบายเหล่านี้ อยู่, ราคะย่อมเสียบแทงจิตของเธอ. เธอมีจิตอันราคะเสียบแทงแล้ว ย่อมถึงความตายหรือความทุกข์เจียนตาย. --สุนักขัตตะ ! เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอันอาบไว้ด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า. มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา จัดหาหมอผ่าตัดมารักษาหมอได้ใช้ศาสตราชำแหละปากแผลของเขา แล้วใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศร พบแล้วถอนลูกศรออก กำจัดโทษอันเป็นพิษที่ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่ แล้วกล่าวแก่เขาอย่างนี้ว่า “--บุรุษผู้เจริญ ! ลูกศรถูกถอนออกแล้ว, โทษอันเป็นพิษเรานำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว, ท่านไม่มีอันตรายอีกแล้ว, และท่านจะ บริโภคอาหารได้ตามสบาย แต่อย่าไปกินอาหารชนิดที่ไม่สบายแก่แผลอันจะทำให้แผลอักเสบ และจงล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา, เมื่อท่านล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา อย่าให้หนองและเลือดเกรอะกรังปากแผล, และท่านอย่าเที่ยวตากลมตากแดด, เมื่อเที่ยวตากลมตากแดด, ก็อย่าให้ฝุ่นละอองและของโสโครกเข้าไปในปากแผล. --บุรุษผู้เจริญ ! ท่านจงเป็นผู้ระวังรักษาแผล มีเรื่องแผลเป็นเรื่องสำคัญเถอะนะ” ดังนี้. บุรุษนั้นมีความคิดว่า “หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว โทษอันเป็นพิษหมอก็นำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว เราหมดอันตราย” เขาจึงบริโภคโภชนะที่แสลง, เมื่อบริโภคโภชนะที่แสลง แผลก็กำเริบ, และเขาไม่ชะแผลตามเวลาไม่ทายาที่ปากแผลตามเวลา, เมื่อเขาไม่ชะแผลตามเวลา ไม่ทายาที่ปากแผลตามเวลา หนองและเลือดก็เกรอะกรังปากแผล, และเขาเที่ยวตากลมตากแดดปล่อยให้ฝุ่นละอองของโสโครกเข้าไปในปากแผล, และเขาไม่ระวังรักษาแผลไม่มีเรื่องแผลเป็นเรื่องสำคัญ. เขานำโทษพิษอันไม่สะอาดออกไปด้วยการกระทำอันไม่ถูกต้องเหล่านี้ แผลจึงมีเชื้อเหลืออยู่, แผลก็บวมขึ้นเพราะเหตุทั้งสองนั้น. บุรุษนั้นมีแผลบวมแล้ว ก็ถึงซึ่งความตายบ้าง ซึ่งความทุกข์เจียนตายบ้าง, นี้ฉันใด ; --สุนักขัตตะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือข้อที่ภิกษุบางรูป สำคัญตนว่าน้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ .... แต่ตามประกอบในธรรมไม่เป็นที่สบายแก่การน้อมไปในนิพพานโดยชอบ .... ราคะก็เสียบแทงจิตของเธอ. เธอมีจิตอันราคะเสียบแทงแล้ว ย่อมถึงความตาย หรือความทุกข์เจียนตาย. --สุนักขัตตะ ! ในอริยวินัยนี้ #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/66/76. http://etipitaka.com/read/thai/14/51/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%96 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๖๖/๗๖. http://etipitaka.com/read/pali/14/66/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%96 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=563 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=37&id=563 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=37 ลำดับสาธยายธรรม : 37 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_37.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - ผู้ตายคาประตูนิพพาน
    -ผู้ตายคาประตูนิพพาน สุนักขัตตะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือจะมีภิกษุบางรูปในกรณีนี้มีความเข้าใจของตนมีความหมายอันสรุปได้อย่างนี้เป็นต้น ว่า “ตัณหานั้น สมณะกล่าวกันว่าเป็นลูกศร, โทษอันมีพิษของอวิชชา ย่อมงอกงามเพราะฉันทราคะและพยาบาท, ลูกศรคือตัณหานั้นเราละได้แล้ว, โทษอันมีพิษของอวิชชา เราก็นำออกไปหมดแล้ว, เราเป็นผู้น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ” ดังนี้. เธอนั้นย่อมตามประกอบซึ่งธรรมทั้งหลายอันไม่เป็นที่สบายแก่ผู้น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ ; คือตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ในการเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ อันล้วนไม่เป็นที่สบาย. เมื่อเธอตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบายเหล่านี้ อยู่, ราคะย่อมเสียบแทงจิตของเธอ. เธอมีจิตอันราคะเสียบแทงแล้ว ย่อมถึงความตายหรือความทุกข์เจียนตาย. สุนักขัตตะ ! เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอันอาบไว้ด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า. มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา จัดหาหมอผ่าตัดมารักษาหมอได้ใช้ศาสตราชำแหละปากแผลของเขา แล้วใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศร พบแล้วถอนลูกศรออก กำจัดโทษอันเป็นพิษที่ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่ แล้วกล่าวแก่เขาอย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ลูกศรถูกถอนออกแล้ว, โทษอันเป็นพิษเรานำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว, ท่านไม่มีอันตรายอีกแล้ว, และท่านจะ บริโภคอาหารได้ตามสบาย แต่อย่าไปกินอาหารชนิดที่ไม่สบายแก่แผลอันจะทำให้แผลอักเสบ และจงล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา, เมื่อท่านล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา อย่าให้หนองและเลือดเกรอะกรังปากแผล, และท่านอย่าเที่ยวตากลมตากแดด, เมื่อเที่ยวตากลมตากแดด, ก็อย่าให้ฝุ่นละอองและของโสโครกเข้าไปในปากแผล. บุรุษผู้เจริญ ! ท่านจงเป็นผู้ระวังรักษาแผล มีเรื่องแผลเป็นเรื่องสำคัญเถอะนะ” ดังนี้. บุรุษนั้นมีความคิดว่า “หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว โทษอันเป็นพิษหมอก็นำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว เราหมดอันตราย” เขาจึงบริโภคโภชนะที่แสลง, เมื่อบริโภคโภชนะที่แสลง แผลก็กำเริบ, และเขาไม่ชะแผลตามเวลาไม่ทายาที่ปากแผลตามเวลา, เมื่อเขาไม่ชะแผลตามเวลา ไม่ทายาที่ปากแผลตามเวลา หนองและเลือดก็เกรอะกรังปากแผล, และเขาเที่ยวตากลมตากแดดปล่อยให้ฝุ่นละอองของโสโครกเข้าไปในปากแผล, และเขาไม่ระวังรักษาแผลไม่มีเรื่องแผลเป็นเรื่องสำคัญ. เขานำโทษพิษอันไม่สะอาดออกไปด้วยการกระทำอันไม่ถูกต้องเหล่านี้ แผลจึงมีเชื้อเหลืออยู่, แผลก็บวมขึ้นเพราะเหตุทั้งสองนั้น. บุรุษนั้นมีแผลบวมแล้ว ก็ถึงซึ่งความตายบ้าง ซึ่งความทุกข์เจียนตายบ้าง, นี้ฉันใด ; สุนักขัตตะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือข้อที่ภิกษุบางรูป สำคัญตนว่าน้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ.... แต่ตามประกอบในธรรมไม่เป็นที่สบายแก่การน้อมไปในนิพพานโดยชอบ....ราคะก็เสียบแทงจิตของเธอ. เธอมีจิตอันราคะเสียบแทงแล้ว ย่อมถึงความตาย หรือความทุกข์เจียนตาย. สุนักขัตตะ ! ในอริยวินัยนี้ ความตายหมายถึงการบอกคืนสิกขา เวียนไปสู่เพศต่ำ ; ความทุกข์เจียนตายหมายถึงการต้องอาบัติ อันเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง แล.
    0 Comments 0 Shares 288 Views 0 Reviews
  • 🌿 ศาสนาพุทธ : เปลือกและแก่นของการทำบุญ 🌿


    ---

    🔵 1️⃣ เปลือกแรกของพุทธศาสนา: การทำบุญเพื่อให้ใจเป็นสุข

    ✅ เป้าหมาย → ทำบุญเพื่อให้ใจเบา สบาย และเป็นสุข
    ✅ วิธีการ

    ให้ทาน → สละออกเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

    รักษาศีล → ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

    ฝึกสมาธิ → ทำให้ใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน
    ✅ ผลลัพธ์

    ใจที่สละออก = ใจที่เบาขึ้น

    ใจที่ห้ามความชั่ว = ใจที่สะอาดขึ้น
    📌 "การทำบุญเป็นเรื่องของจิต ไม่ใช่แค่พิธีกรรม"



    ---

    🟢 2️⃣ แก่นแท้ของพุทธศาสนา: การทำบุญเพื่อให้ใจพ้นทุกข์

    ✅ เป้าหมาย → สละความเห็นผิด สละความยึดมั่นในตัวตน
    ✅ วิธีการ

    สละ ‘ความยึดมั่นถือมั่น’ → เห็นว่าทุกสิ่งเป็น ‘อนัตตา’

    รู้ทันจิต → เห็นการเปลี่ยนแปลงของกายและใจอย่างเป็นกลาง

    ใช้ชีวิตด้วยสติ → ไม่เบียดเบียนใคร และอยู่กับธรรมชาติของชีวิต
    ✅ ผลลัพธ์

    จิตโปร่ง โล่ง เบา → ไม่ยึดติดความคิดว่า ‘เรา’ เป็นสิ่งใด

    ไม่มีตัวตนที่แท้จริง → ทุกสิ่งเป็นเพียง ‘การเปลี่ยนแปลง’ เท่านั้น
    📌 "พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้แค่ ‘ดี’ แต่สอนให้ ‘พ้นทุกข์’"



    ---

    🔶 3️⃣ ทำไมบางคนเรียนธรรมะแต่ยังทุกข์?

    📌 ปัญหา

    รู้หลักธรรมะ แต่ ‘ยังมีอัตตา’ → คิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น

    รู้ว่า ‘กายใจเป็นอนัตตา’ แต่ ‘ยังยึดติดความรู้’

    เข้าใจทฤษฎี แต่ยัง ‘โลภ โกรธ หลง’ อยู่


    📌 แนวทางแก้ไข

    เจริญสติในปัจจุบัน → รู้ลมหายใจ รู้กาย รู้จิตของตัวเอง

    ไม่ยึดติดความเป็นผู้รู้ → ไม่หลงคิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น

    ใช้ชีวิตให้เป็นธรรมชาติ → ไม่ต้องฝืน ไม่ต้องกดดันตัวเอง


    📌 "การศึกษาธรรมะไม่ใช่การสะสมความรู้ แต่คือการลดอัตตา จนเหลือแต่จิตที่ว่างและเบาสบาย"


    ---

    🌅 4️⃣ การเจริญสติแบบพุทธ : ฝึก ‘รู้’ อย่างไรให้พ้นทุกข์

    ✅ ฝึกมองกายใจแบบแยกส่วน

    หายใจเข้า → รู้สึกโล่ง หรืออึดอัด?

    หายใจออก → รู้สึกสบาย หรือกดดัน?

    จิตฟุ้งซ่าน → แค่รู้ว่าฟุ้ง ไม่ต้องไปแก้

    จิตสงบ → แค่รู้ว่าสงบ ไม่ต้องไปยึด


    ✅ ฝึกเห็นว่า ‘ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง’

    อารมณ์ดี → เดี๋ยวก็หายไป

    อารมณ์ร้าย → เดี๋ยวก็หายไป

    ความสุข ความทุกข์ → ไม่เที่ยงทั้งคู่


    📌 "เห็นทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นกลาง ใจก็เบาและพ้นทุกข์"


    ---

    🔄 5️⃣ สรุป : พุทธศาสนาสอนอะไร?

    ✅ เปลือกแรก → ทำบุญให้ใจเป็นสุข
    ✅ แก่นแท้ → สละตัวตนเพื่อให้ใจพ้นทุกข์
    ✅ ทางปฏิบัติ → เจริญสติ ฝึกเห็นกายใจเป็น ‘อนัตตา’
    ✅ เป้าหมายสูงสุด → จิตโปร่ง โล่ง เบา ไม่ยึดติดอะไร

    📌 "พระพุทธเจ้าไม่ได้ต้องการให้เรามีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ แต่ต้องการให้เราพ้นทุกข์อย่างแท้จริง" 🏔️

    🌿 ศาสนาพุทธ : เปลือกและแก่นของการทำบุญ 🌿 --- 🔵 1️⃣ เปลือกแรกของพุทธศาสนา: การทำบุญเพื่อให้ใจเป็นสุข ✅ เป้าหมาย → ทำบุญเพื่อให้ใจเบา สบาย และเป็นสุข ✅ วิธีการ ให้ทาน → สละออกเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น รักษาศีล → ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ฝึกสมาธิ → ทำให้ใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ✅ ผลลัพธ์ ใจที่สละออก = ใจที่เบาขึ้น ใจที่ห้ามความชั่ว = ใจที่สะอาดขึ้น 📌 "การทำบุญเป็นเรื่องของจิต ไม่ใช่แค่พิธีกรรม" --- 🟢 2️⃣ แก่นแท้ของพุทธศาสนา: การทำบุญเพื่อให้ใจพ้นทุกข์ ✅ เป้าหมาย → สละความเห็นผิด สละความยึดมั่นในตัวตน ✅ วิธีการ สละ ‘ความยึดมั่นถือมั่น’ → เห็นว่าทุกสิ่งเป็น ‘อนัตตา’ รู้ทันจิต → เห็นการเปลี่ยนแปลงของกายและใจอย่างเป็นกลาง ใช้ชีวิตด้วยสติ → ไม่เบียดเบียนใคร และอยู่กับธรรมชาติของชีวิต ✅ ผลลัพธ์ จิตโปร่ง โล่ง เบา → ไม่ยึดติดความคิดว่า ‘เรา’ เป็นสิ่งใด ไม่มีตัวตนที่แท้จริง → ทุกสิ่งเป็นเพียง ‘การเปลี่ยนแปลง’ เท่านั้น 📌 "พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้แค่ ‘ดี’ แต่สอนให้ ‘พ้นทุกข์’" --- 🔶 3️⃣ ทำไมบางคนเรียนธรรมะแต่ยังทุกข์? 📌 ปัญหา รู้หลักธรรมะ แต่ ‘ยังมีอัตตา’ → คิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น รู้ว่า ‘กายใจเป็นอนัตตา’ แต่ ‘ยังยึดติดความรู้’ เข้าใจทฤษฎี แต่ยัง ‘โลภ โกรธ หลง’ อยู่ 📌 แนวทางแก้ไข เจริญสติในปัจจุบัน → รู้ลมหายใจ รู้กาย รู้จิตของตัวเอง ไม่ยึดติดความเป็นผู้รู้ → ไม่หลงคิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น ใช้ชีวิตให้เป็นธรรมชาติ → ไม่ต้องฝืน ไม่ต้องกดดันตัวเอง 📌 "การศึกษาธรรมะไม่ใช่การสะสมความรู้ แต่คือการลดอัตตา จนเหลือแต่จิตที่ว่างและเบาสบาย" --- 🌅 4️⃣ การเจริญสติแบบพุทธ : ฝึก ‘รู้’ อย่างไรให้พ้นทุกข์ ✅ ฝึกมองกายใจแบบแยกส่วน หายใจเข้า → รู้สึกโล่ง หรืออึดอัด? หายใจออก → รู้สึกสบาย หรือกดดัน? จิตฟุ้งซ่าน → แค่รู้ว่าฟุ้ง ไม่ต้องไปแก้ จิตสงบ → แค่รู้ว่าสงบ ไม่ต้องไปยึด ✅ ฝึกเห็นว่า ‘ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง’ อารมณ์ดี → เดี๋ยวก็หายไป อารมณ์ร้าย → เดี๋ยวก็หายไป ความสุข ความทุกข์ → ไม่เที่ยงทั้งคู่ 📌 "เห็นทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นกลาง ใจก็เบาและพ้นทุกข์" --- 🔄 5️⃣ สรุป : พุทธศาสนาสอนอะไร? ✅ เปลือกแรก → ทำบุญให้ใจเป็นสุข ✅ แก่นแท้ → สละตัวตนเพื่อให้ใจพ้นทุกข์ ✅ ทางปฏิบัติ → เจริญสติ ฝึกเห็นกายใจเป็น ‘อนัตตา’ ✅ เป้าหมายสูงสุด → จิตโปร่ง โล่ง เบา ไม่ยึดติดอะไร 📌 "พระพุทธเจ้าไม่ได้ต้องการให้เรามีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ แต่ต้องการให้เราพ้นทุกข์อย่างแท้จริง" 🏔️
    0 Comments 0 Shares 440 Views 0 Reviews
  • อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาบุคคลผู้รอดไปได้ไม่ตายกลางทาง​
    สัทธรรมลำดับที่ : 562
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=562
    ชื่อบทธรรม :- ผู้รอดไปได้ไม่ตายกลางทาง
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ผู้รอดไปได้ไม่ตายกลางทาง
    --สุนักขัตตะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้
    คือจะมีภิกษุบางรูปในกรณีนี้มีความเข้าใจของตนว่า
    “ตัณหานั้น สมณะกล่าวกันว่าเป็นลูกศร,
    โทษอันมีพิษของอวิชชา ย่อมงอกงามเพราะ​ ฉันทราคะและพยาบาท ;
    ลูกศรคือตัณหานั้นเราละได้แล้ว,
    โทษอันมีพิษของ​ อวิชชา เราก็นำออกไปหมดแล้ว,
    เราเป็นผู้น้อมไปแล้วใน​ นิพพาน​ โดยชอบ.”
    http://etipitaka.com/read/pali/14/69/?keywords=สมฺมานิพฺพานาธิมุตฺโต
    ดังนี้.
    +-เมื่อเธอน้อมไปแล้วใน​ นิพพาน​ โดยชอบ อยู่,
    +-เธอก็ไม่ตามประกอบซึ่งธรรมทั้งหลายอันไม่เป็นที่สบาย
    แก่ผู้น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ ;
    คือไม่ตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ในการ
    เห็นรูปด้วยตาฟังเสียงด้วยหู ;
    ดมกลิ่นด้วยจมูก ;
    ลิ้มรสด้วยลิ้น ;
    ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ;
    รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ
    อันล้วนไม่เป็นที่สบาย.
    เมื่อเธอไม่ตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบายเหล่านี้อยู่,
    ราคะย่อมไม่เสียบแทงจิตของเธอ.
    +-เธอมีจิตอันราคะไม่เสียบแทงแล้ว ย่อมไม่ถึงความตายหรือความทุกข์เจียนตาย.
    --สุนกขัตตะ !
    เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอันอาบไว้ด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า.
    มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขาจัดหาหมอผ่าตัดมารักษา.
    หมอได้ใช้ศาสตราชำแหละปากแผลของเขา แล้ว ใช้เครื่องตรวจ
    ค้นหาลูกศร พบแล้วถอนลูกศรออก นำออกซึ่งโทษอันเป็นพิษจนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่.
    หมอนั้นกล่าวแก่เขาอย่างนี้ว่า
    “บุรุษผู้เจริญ ! ลูกศรถูกถอนออกแล้ว,
    โทษอันเป็นพิษ เรานำออกจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว,
    ท่านหมดอันตรายแล้ว และท่านจะบริโภคอาหารได้ตามสบาย ;
    แต่ท่านอย่าไปกินอาหารชนิดที่ไม่สบายแก่แผลอันจะทำให้แผลอักเสบ
    และจงล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา.
    เมื่อท่านล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา
    อย่าให้หนองและเลือดเกรอะกรังปากแผล,
    และท่านอย่าเที่ยวตากลมและแดด, เมื่อเที่ยวตากลมและแดด
    ก็อย่าให้ฝุ่นละอองของโสโครกเข้าไปในปากแผล.
    บุรุษผู้เจริญ! ท่านจงเป็นผู้ระวังรักษาแผล มีเรื่องแผลเป็นเรื่องสำคัญเถอะนะ”
    ดังนี้.
    บุรุษนั้น มีความคิดว่า
    “หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว
    โทษอันเป็นพิษหมอก็นำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว เราหมดอันตราย”
    เขาบริโภคโภชนะอันเป็นที่สบาย (และประพฤติตามหมอสั่งทุกประการ)
    เขานำโทษพิษอันไม่สะอาดออกไป ด้วยการกระทำอันถูกต้องเหล่านี้
    แผลจึงไม่มีเชื้อเหลืออยู่, และงอกขึ้นเต็มเพราะเหตุทั้งสองนั้น.
    เขามีแผลงอกเต็ม มีผิวหนังราบเรียบแล้ว ก็ไม่ถึงซึ่งความตาย หรือความทุกข์เจียนตาย,
    นี้ฉันใด ;
    --สุนักขัตตะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือข้อที่
    ภิกษุบางรูป สำคัญตนว่าน้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ
    แล้วไม่ตามประกอบในธรรมที่ไม่เป็นที่สบายแก่การน้อมไปในนิพพานโดยชอบ
    ราคะก็ไม่เสียบแทงจิตเธอ.
    เธอมีจิตอันราคะไม่เสียบแทงแล้ว ย่อมไม่ถึงความตาย หรือความทุกข์เจียนตาย.
    --สุนักขัตตะ ! อุปมานี้เรากระทำขึ้น เพื่อให้เข้าใจเนื้อความ นี้คือเนื้อความในอุปมานั้น ;
    +-คำว่า ‘แผล’ เป็นชื่อแห่ง &​อายตนะภายในหก.
    +-คำว่า ‘โทษอันเป็นพิษ’ เป็นชื่อแห่ง &​อวิชชา.
    +-คำว่า ‘ลูกศร’ เป็นชื่อแห่ง &​ตัณหา.
    +-คำว่า ‘เครื่องตรวจ’ เป็นชื่อแห่ง &​สติ.
    +-คำว่า ‘ศาสตรา’ เป็นชื่อของ &​อริยปัญญา.
    +-คำว่า ‘หมอผ่าตัด’ เป็นชื่อของ #ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.-
    http://etipitaka.com/read/pali/14/72/?keywords=ตถาคต

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. 14/53/77.
    http://etipitaka.com/read/thai/14/53/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%97
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. ๑๔/๖๙/๗๗.
    http://etipitaka.com/read/pali/14/69/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%97
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=562
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=37&id=562
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=37
    ลำดับสาธยายธรรม : 37 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_37.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาบุคคลผู้รอดไปได้ไม่ตายกลางทาง​ สัทธรรมลำดับที่ : 562 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=562 ชื่อบทธรรม :- ผู้รอดไปได้ไม่ตายกลางทาง เนื้อความทั้งหมด :- --ผู้รอดไปได้ไม่ตายกลางทาง --สุนักขัตตะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือจะมีภิกษุบางรูปในกรณีนี้มีความเข้าใจของตนว่า “ตัณหานั้น สมณะกล่าวกันว่าเป็นลูกศร, โทษอันมีพิษของอวิชชา ย่อมงอกงามเพราะ​ ฉันทราคะและพยาบาท ; ลูกศรคือตัณหานั้นเราละได้แล้ว, โทษอันมีพิษของ​ อวิชชา เราก็นำออกไปหมดแล้ว, เราเป็นผู้น้อมไปแล้วใน​ นิพพาน​ โดยชอบ.” http://etipitaka.com/read/pali/14/69/?keywords=สมฺมานิพฺพานาธิมุตฺโต ดังนี้. +-เมื่อเธอน้อมไปแล้วใน​ นิพพาน​ โดยชอบ อยู่, +-เธอก็ไม่ตามประกอบซึ่งธรรมทั้งหลายอันไม่เป็นที่สบาย แก่ผู้น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ ; คือไม่ตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ในการ เห็นรูปด้วยตาฟังเสียงด้วยหู ; ดมกลิ่นด้วยจมูก ; ลิ้มรสด้วยลิ้น ; ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ; รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ อันล้วนไม่เป็นที่สบาย. เมื่อเธอไม่ตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบายเหล่านี้อยู่, ราคะย่อมไม่เสียบแทงจิตของเธอ. +-เธอมีจิตอันราคะไม่เสียบแทงแล้ว ย่อมไม่ถึงความตายหรือความทุกข์เจียนตาย. --สุนกขัตตะ ! เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอันอาบไว้ด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า. มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขาจัดหาหมอผ่าตัดมารักษา. หมอได้ใช้ศาสตราชำแหละปากแผลของเขา แล้ว ใช้เครื่องตรวจ ค้นหาลูกศร พบแล้วถอนลูกศรออก นำออกซึ่งโทษอันเป็นพิษจนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่. หมอนั้นกล่าวแก่เขาอย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ลูกศรถูกถอนออกแล้ว, โทษอันเป็นพิษ เรานำออกจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว, ท่านหมดอันตรายแล้ว และท่านจะบริโภคอาหารได้ตามสบาย ; แต่ท่านอย่าไปกินอาหารชนิดที่ไม่สบายแก่แผลอันจะทำให้แผลอักเสบ และจงล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา. เมื่อท่านล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา อย่าให้หนองและเลือดเกรอะกรังปากแผล, และท่านอย่าเที่ยวตากลมและแดด, เมื่อเที่ยวตากลมและแดด ก็อย่าให้ฝุ่นละอองของโสโครกเข้าไปในปากแผล. บุรุษผู้เจริญ! ท่านจงเป็นผู้ระวังรักษาแผล มีเรื่องแผลเป็นเรื่องสำคัญเถอะนะ” ดังนี้. บุรุษนั้น มีความคิดว่า “หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว โทษอันเป็นพิษหมอก็นำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว เราหมดอันตราย” เขาบริโภคโภชนะอันเป็นที่สบาย (และประพฤติตามหมอสั่งทุกประการ) เขานำโทษพิษอันไม่สะอาดออกไป ด้วยการกระทำอันถูกต้องเหล่านี้ แผลจึงไม่มีเชื้อเหลืออยู่, และงอกขึ้นเต็มเพราะเหตุทั้งสองนั้น. เขามีแผลงอกเต็ม มีผิวหนังราบเรียบแล้ว ก็ไม่ถึงซึ่งความตาย หรือความทุกข์เจียนตาย, นี้ฉันใด ; --สุนักขัตตะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือข้อที่ ภิกษุบางรูป สำคัญตนว่าน้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ แล้วไม่ตามประกอบในธรรมที่ไม่เป็นที่สบายแก่การน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ราคะก็ไม่เสียบแทงจิตเธอ. เธอมีจิตอันราคะไม่เสียบแทงแล้ว ย่อมไม่ถึงความตาย หรือความทุกข์เจียนตาย. --สุนักขัตตะ ! อุปมานี้เรากระทำขึ้น เพื่อให้เข้าใจเนื้อความ นี้คือเนื้อความในอุปมานั้น ; +-คำว่า ‘แผล’ เป็นชื่อแห่ง &​อายตนะภายในหก. +-คำว่า ‘โทษอันเป็นพิษ’ เป็นชื่อแห่ง &​อวิชชา. +-คำว่า ‘ลูกศร’ เป็นชื่อแห่ง &​ตัณหา. +-คำว่า ‘เครื่องตรวจ’ เป็นชื่อแห่ง &​สติ. +-คำว่า ‘ศาสตรา’ เป็นชื่อของ &​อริยปัญญา. +-คำว่า ‘หมอผ่าตัด’ เป็นชื่อของ #ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.- http://etipitaka.com/read/pali/14/72/?keywords=ตถาคต #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. 14/53/77. http://etipitaka.com/read/thai/14/53/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%97 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. ๑๔/๖๙/๗๗. http://etipitaka.com/read/pali/14/69/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%97 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=562 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=37&id=562 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=37 ลำดับสาธยายธรรม : 37 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_37.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - ผู้รอดไปได้ไม่ตายกลางทาง
    -ผู้รอดไปได้ไม่ตายกลางทาง สุนักขัตตะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือจะมีภิกษุบางรูปในกรณีนี้มีความเข้าใจของตนว่า “ตัณหานั้น สมณะกล่าวกันว่าเป็นลูกศร, โทษอันมีพิษของอวิชชา ย่อมงอกงามเพราะฉันทราคะและพยาบาท ; ลูกศรคือตัณหานั้นเราละได้แล้ว, โทษอันมีพิษของอวิชชา เราก็นำออกไปหมดแล้ว, เราเป็นผู้น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ.” ดังนี้. เมื่อเธอน้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ อยู่, เธอก็ไม่ตามประกอบซึ่งธรรมทั้งหลายอันไม่เป็นที่สบายแก่ผู้น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ ; คือไม่ตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ในการเห็นรูปด้วยตาฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ อันล้วนไม่เป็นที่สบาย. เมื่อเธอไม่ตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบายเหล่านี้อยู่, ราคะย่อมไม่เสียบแทงจิตของเธอ. เธอมีจิตอันราคะไม่เสียบแทงแล้ว ย่อมไม่ถึงความตายหรือความทุกข์เจียนตาย. สุนกขัตตะ ! เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอันอาบไว้ด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า. มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขาจัดหาหมอผ่าตัดมารักษา. หมอ ได้ใช้ศาสตราชำแหละปากแผลของเขา แล้วใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศร พบแล้วถอนลูกศรออก นำออกซึ่งโทษอันเป็นพิษจนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่. หมอนั้นกล่าวแก่เขาอย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ลูกศรถูกถอนออกแล้ว, โทษอันเป็นพิษ เรานำออกจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว, ท่านหมดอันตรายแล้ว และท่านจะบริโภคอาหารได้ตามสบาย ; แต่ท่านอย่าไปกินอาหารชนิดที่ไม่สบายแก่แผลอันจะทำให้แผลอักเสบ และจงล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา. เมื่อท่านล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา อย่าให้หนองและเลือดเกรอะกรังปากแผล, และท่านอย่าเที่ยวตากลมและแดด, เมื่อเที่ยวตากลมและแดด ก็อย่าให้ฝุ่นละอองของโสโครกเข้าไปในปากแผล. บุรุษผู้เจริญ! ท่านจงเป็นผู้ระวังรักษาแผล มีเรื่องแผลเป็นเรื่องสำคัญเถอะนะ” ดังนี้. บุรุษนั้น มีความคิดว่า “หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว โทษอันเป็นพิษหมอก็นำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว เราหมดอันตราย” เขาบริโภคโภชนะอันเป็นที่สบาย (และประพฤติตามหมอสั่งทุกประการ) เขานำโทษพิษอันไม่สะอาดออกไป ด้วยการกระทำอันถูกต้องเหล่านี้ แผลจึงไม่มีเชื้อเหลืออยู่, และงอกขึ้นเต็มเพราะเหตุทั้งสองนั้น. เขามีแผลงอกเต็ม มีผิวหนังราบเรียบแล้ว ก็ไม่ถึงซึ่งความตาย หรือความทุกข์เจียนตาย, นี้ฉันใด ; สุนักขัตตะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือข้อที่ภิกษุบางรูป สำคัญตนว่าน้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ....แล้วไม่ตามประกอบในธรรมที่ไม่เป็นที่สบายแก่การน้อมไปในนิพพานโดยชอบ....ราคะก็ไม่เสียบแทงจิตเธอ. เธอมีจิตอันราคะไม่เสียบแทงแล้ว ย่อมไม่ถึงความตาย หรือความทุกข์เจียนตาย. สุนักขัตตะ ! อุปมานี้เรากระทำขึ้น เพื่อให้เข้าใจเนื้อความ นี้คือเนื้อความในอุปมานั้น ; คำว่า ‘แผล’ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายในหก. คำว่า ‘โทษอันเป็นพิษ’ เป็นชื่อแห่ง อวิชชา. คำว่า ‘ลูกศร’ เป็นชื่อแห่ง ตัณหา. คำว่า ‘เครื่องตรวจ’ เป็นชื่อแห่ง สติ. คำว่า ‘ศาสตรา’ เป็นชื่อของ อริยปัญญา. คำว่า ‘หมอผ่าตัด’ เป็นชื่อของ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.
    0 Comments 0 Shares 352 Views 0 Reviews
  • 📌 เข้าใจชีวิต = ใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์


    ---

    🔍 1️⃣ ทำไมเราจึงไม่เข้าใจชีวิตได้ง่ายๆ?

    ✅ ชีวิตที่เป็นอยู่ = ผลของสิ่งที่เคยทำ
    ✅ เกิดกับพ่อแม่แบบนี้ อยู่ในสังคมแบบนี้ = ผลจากกรรมเก่า

    📌 ปัญหาคือ
    ❌ อดีตชาติลืมไปหมด
    ❌ จำได้แค่บางอย่างในปัจจุบัน
    ❌ ยังไม่รู้แน่ชัดว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร

    💡 "แต่เรามีอำนาจเปลี่ยนแปลงปัจจุบันและสร้างอนาคตที่ดีได้"


    ---

    🔍 2️⃣ ทำไมชีวิตบางคนถึงดีขึ้น บางคนถึงจมปลัก?

    ✅ ชีวิตที่ดีขึ้น = สะสม บุญใหม่ (ทาน, ศีล, เจริญสติ)
    ❌ ชีวิตที่จมปลัก = ตอกย้ำความทุกข์ สร้าง อกุศลกรรมใหม่

    📌 "ชีวิตเป็นไปตามที่คิดและกระทำ"
    🔹 ถ้าสะสมกุศล → ชีวิตเปลี่ยนดีขึ้นแน่นอน
    🔹 ถ้าสะสมอกุศล → ชีวิตย่ำแย่ลงโดยไม่ต้องรอให้ใครทำร้าย

    💡 "สุข-ทุกข์ ไม่ได้มาจากโชคชะตา แต่มาจากการกระทำของเราเอง"


    ---

    🔍 3️⃣ บุญ 3 อย่าง ที่เปลี่ยนชีวิตได้แน่นอน

    1️⃣ ให้ทาน = ลดโลภ

    📌 สละออก = ได้รับกลับมาในรูปแบบดีขึ้น
    📌 ใครให้ทานสม่ำเสมอ = จิตเบา มีโอกาสดีๆเข้ามาในชีวิต

    2️⃣ รักษาศีล = ลดโทสะ

    📌 ศีลช่วยควบคุมไม่ให้ทำร้ายตัวเองและผู้อื่น
    📌 ศีลทำให้ใจสงบ ไม่ต้องกลัวผลกรรม

    3️⃣ เจริญสติ = ลดโมหะ

    📌 สติช่วยให้ไม่หลงผิด ไม่ตัดสินใจพลาด
    📌 เห็นความจริงของชีวิตว่าไม่มีอะไรเที่ยงแท้

    💡 "ทาน + ศีล + สติ = เปลี่ยนชีวิตทั้งระบบ"


    ---

    🔍 4️⃣ คนที่พลาดโอกาสในชีวิต คิดอย่างไร?

    ❌ คิดว่าชีวิตไม่มีวันดีขึ้น
    ❌ พยายามแล้ว ไม่มีอะไรเปลี่ยน
    ❌ โทษฟ้า โทษดิน โทษคนอื่น
    ❌ มองศาสนาเป็นเรื่องลวงโลก

    📌 "สุดท้ายคนแบบนี้เงยหน้าไม่ขึ้น หลงทางทั้งชีวิต"

    💡 "ชีวิตคือโอกาส ไม่ใช่โทษ"
    💡 "ถ้าไม่ใช้โอกาสที่มีให้ดี จะเสียใจภายหลัง"


    ---

    🔍 5️⃣ สรุป : ถ้าอยากเปลี่ยนชีวิต ต้องเริ่มทำอะไร?

    ✅ หยุดคิดลบ หยุดตอกย้ำความทุกข์
    ✅ เริ่มให้ทาน แม้เพียงเล็กน้อย
    ✅ เริ่มรักษาศีล ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
    ✅ เริ่มเจริญสติ เห็นความจริงของชีวิต
    ✅ เชื่อมั่นว่า “ทุกอย่างดีขึ้นได้” ถ้าทำกรรมใหม่ให้ถูกต้อง

    📌 "อดีตเปลี่ยนไม่ได้ แต่ปัจจุบันและอนาคตอยู่ในมือเรา!" 💙

    📌 เข้าใจชีวิต = ใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ --- 🔍 1️⃣ ทำไมเราจึงไม่เข้าใจชีวิตได้ง่ายๆ? ✅ ชีวิตที่เป็นอยู่ = ผลของสิ่งที่เคยทำ ✅ เกิดกับพ่อแม่แบบนี้ อยู่ในสังคมแบบนี้ = ผลจากกรรมเก่า 📌 ปัญหาคือ ❌ อดีตชาติลืมไปหมด ❌ จำได้แค่บางอย่างในปัจจุบัน ❌ ยังไม่รู้แน่ชัดว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร 💡 "แต่เรามีอำนาจเปลี่ยนแปลงปัจจุบันและสร้างอนาคตที่ดีได้" --- 🔍 2️⃣ ทำไมชีวิตบางคนถึงดีขึ้น บางคนถึงจมปลัก? ✅ ชีวิตที่ดีขึ้น = สะสม บุญใหม่ (ทาน, ศีล, เจริญสติ) ❌ ชีวิตที่จมปลัก = ตอกย้ำความทุกข์ สร้าง อกุศลกรรมใหม่ 📌 "ชีวิตเป็นไปตามที่คิดและกระทำ" 🔹 ถ้าสะสมกุศล → ชีวิตเปลี่ยนดีขึ้นแน่นอน 🔹 ถ้าสะสมอกุศล → ชีวิตย่ำแย่ลงโดยไม่ต้องรอให้ใครทำร้าย 💡 "สุข-ทุกข์ ไม่ได้มาจากโชคชะตา แต่มาจากการกระทำของเราเอง" --- 🔍 3️⃣ บุญ 3 อย่าง ที่เปลี่ยนชีวิตได้แน่นอน 1️⃣ ให้ทาน = ลดโลภ 📌 สละออก = ได้รับกลับมาในรูปแบบดีขึ้น 📌 ใครให้ทานสม่ำเสมอ = จิตเบา มีโอกาสดีๆเข้ามาในชีวิต 2️⃣ รักษาศีล = ลดโทสะ 📌 ศีลช่วยควบคุมไม่ให้ทำร้ายตัวเองและผู้อื่น 📌 ศีลทำให้ใจสงบ ไม่ต้องกลัวผลกรรม 3️⃣ เจริญสติ = ลดโมหะ 📌 สติช่วยให้ไม่หลงผิด ไม่ตัดสินใจพลาด 📌 เห็นความจริงของชีวิตว่าไม่มีอะไรเที่ยงแท้ 💡 "ทาน + ศีล + สติ = เปลี่ยนชีวิตทั้งระบบ" --- 🔍 4️⃣ คนที่พลาดโอกาสในชีวิต คิดอย่างไร? ❌ คิดว่าชีวิตไม่มีวันดีขึ้น ❌ พยายามแล้ว ไม่มีอะไรเปลี่ยน ❌ โทษฟ้า โทษดิน โทษคนอื่น ❌ มองศาสนาเป็นเรื่องลวงโลก 📌 "สุดท้ายคนแบบนี้เงยหน้าไม่ขึ้น หลงทางทั้งชีวิต" 💡 "ชีวิตคือโอกาส ไม่ใช่โทษ" 💡 "ถ้าไม่ใช้โอกาสที่มีให้ดี จะเสียใจภายหลัง" --- 🔍 5️⃣ สรุป : ถ้าอยากเปลี่ยนชีวิต ต้องเริ่มทำอะไร? ✅ หยุดคิดลบ หยุดตอกย้ำความทุกข์ ✅ เริ่มให้ทาน แม้เพียงเล็กน้อย ✅ เริ่มรักษาศีล ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ✅ เริ่มเจริญสติ เห็นความจริงของชีวิต ✅ เชื่อมั่นว่า “ทุกอย่างดีขึ้นได้” ถ้าทำกรรมใหม่ให้ถูกต้อง 📌 "อดีตเปลี่ยนไม่ได้ แต่ปัจจุบันและอนาคตอยู่ในมือเรา!" 💙
    0 Comments 0 Shares 374 Views 0 Reviews
  • ฟ้ามีดาวข้าวมีนาปลามีน้ำ
    ปลุกมีปล้ำกรรมมีแก้แผลมีหนอง
    อ้อนมีโอ๋โชว์มีเชียร์เบียร์มีฟอง
    แต่ละของมันมีของเป็นของมัน
    อยากให้เรามีเราอย่างเขาบ้าง
    ได้ร่วมเสพร่วมสร้างเส้นทางฝัน
    เอาความทุกข์ความสุขมาคลุกเคล้ากัน
    ใส่เครื่องปั่นแล้วก็ปั่นแบ่งกันกิน
    เมื่อวันนี้ไม่มีเราก็เหง๊าเหงา
    โลกเวิ้งว้างว่างเปล่าน่าเศร้าสิ้น
    มีแต่ทุกข์คลุกโขลกกับโศกดื่มกิน
    น้ำตารินต่างน้ำดื่มตามลงไป
    เหม่อมองฟ้ามองดาวมองข้าวกล้า
    มองน้ำมองปลาหัวอกข้าไหว
    ท้อรันทดนั่งซดเบียร์อ่อนเพลียใจ
    อยากบอกใครคนหนึ่งคิดถึงจัง
    ฟ้ามีดาวข้าวมีนาปลามีน้ำ ปลุกมีปล้ำกรรมมีแก้แผลมีหนอง อ้อนมีโอ๋โชว์มีเชียร์เบียร์มีฟอง แต่ละของมันมีของเป็นของมัน อยากให้เรามีเราอย่างเขาบ้าง ได้ร่วมเสพร่วมสร้างเส้นทางฝัน เอาความทุกข์ความสุขมาคลุกเคล้ากัน ใส่เครื่องปั่นแล้วก็ปั่นแบ่งกันกิน เมื่อวันนี้ไม่มีเราก็เหง๊าเหงา โลกเวิ้งว้างว่างเปล่าน่าเศร้าสิ้น มีแต่ทุกข์คลุกโขลกกับโศกดื่มกิน น้ำตารินต่างน้ำดื่มตามลงไป เหม่อมองฟ้ามองดาวมองข้าวกล้า มองน้ำมองปลาหัวอกข้าไหว ท้อรันทดนั่งซดเบียร์อ่อนเพลียใจ อยากบอกใครคนหนึ่งคิดถึงจัง
    0 Comments 0 Shares 396 Views 0 Reviews
  • วางชีวิตเอาไว้เมื่อใกล้จะบ้า
    วางนิทราเอาไว้อยู่ใกล้กับฝัน
    วางความทุกข์ความสุขให้คลุกเคล้ากัน
    วางสวรรค์ไว้สวรรค์อย่าดึงดันไป
    เรื่องนะรกอย่าหมกมุ่นอย่าครุ่นคิด
    เรื่องถูกผิดปล่อยปลงอย่าสงสัย
    เรื่องดีร้ายหลายหลากที่ยุ่งยากใจ
    เรื่องอะไรต่ออะไรจงได้ปล่อยวาง
    ยามดึกดาวเรียงรายสุดปลายฟ้า
    ยามเช้ามาตะวันมาเมื่อฟ้าสาง
    ยามย่อมหยุดเฝ้ายามเมื่อถึงยามรุ่งราง
    เมื่อฟ้าแจ้งจางปางตอนกลางวัน
    ความสุขเศร้าเหงารักอันหนักเหนื่อย
    ยังเรื่อยเปื่อยเลื้อยไหลลงไนความฝัน
    สิ่งในสังสารวัฏสารพัดสารพัน
    วนเวียนวันเวลาเช่นว่าแล

    สิ่งในสังสารวัฏสารพัดสารพัน
    วนเวียนวันเวลาเจ้าข้าเอย
    วางชีวิตเอาไว้เมื่อใกล้จะบ้า วางนิทราเอาไว้อยู่ใกล้กับฝัน วางความทุกข์ความสุขให้คลุกเคล้ากัน วางสวรรค์ไว้สวรรค์อย่าดึงดันไป เรื่องนะรกอย่าหมกมุ่นอย่าครุ่นคิด เรื่องถูกผิดปล่อยปลงอย่าสงสัย เรื่องดีร้ายหลายหลากที่ยุ่งยากใจ เรื่องอะไรต่ออะไรจงได้ปล่อยวาง ยามดึกดาวเรียงรายสุดปลายฟ้า ยามเช้ามาตะวันมาเมื่อฟ้าสาง ยามย่อมหยุดเฝ้ายามเมื่อถึงยามรุ่งราง เมื่อฟ้าแจ้งจางปางตอนกลางวัน ความสุขเศร้าเหงารักอันหนักเหนื่อย ยังเรื่อยเปื่อยเลื้อยไหลลงไนความฝัน สิ่งในสังสารวัฏสารพัดสารพัน วนเวียนวันเวลาเช่นว่าแล สิ่งในสังสารวัฏสารพัดสารพัน วนเวียนวันเวลาเจ้าข้าเอย
    0 Comments 0 Shares 334 Views 0 Reviews
  • 📌 ความจริงของชีวิต : เรามีอะไรอยู่จริงหรือไม่?

    (วิเคราะห์จากหลักพุทธศาสนา และการเจริญสติ)


    ---

    🔍 1️⃣ ตั้งแต่เกิดมา เรามีอะไรอยู่จริงหรือไม่?

    🌱 ความรู้สึกว่า "เราได้อะไร" หรือ "เรามีอะไร"

    เป็นเพียง "กระบวนการของจิต"

    ไม่ใช่ของที่แท้จริง ไม่ใช่สิ่งที่เป็นของเราเสมอไป


    📌 ตั้งแต่เกิดมา จิตของเราถูกฝึกให้ยึดมั่นถือมั่น
    ✅ เด็กแรกเกิด = หิวนม → ได้กิน → รู้สึกมีความสุข
    ✅ โตขึ้น = ได้ของเล่น → เล่นจนเบื่อ → เปลี่ยนของเล่นใหม่
    ✅ เป็นวัยรุ่น = มีมือถือ → พอเก่าแล้วต้องซื้อใหม่
    ✅ เป็นผู้ใหญ่ = มีแฟน → เปลี่ยนแฟน → แต่งงาน → เลิกกัน
    ✅ มีงาน มีธุรกิจ → สูญเสีย → เริ่มใหม่

    💡 ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ

    ความรู้สึกว่า "มี" → เป็นเพียงภาพลวงของจิต

    ความจริงคือ "ไม่มีอะไรอยู่กับเราตลอดไป"



    ---

    🔍 2️⃣ ทำไมเราถึงคิดว่า "ตัวเรา" มีอยู่จริง?

    📌 พระพุทธเจ้าสอนว่า "เราไม่มีตัวตนที่แท้จริง"
    สิ่งที่เราเรียกว่า "ตัวเรา" เกิดจาก
    ✅ กาย (ร่างกาย) → มีความเสื่อมไปเรื่อยๆ
    ✅ เวทนา (ความรู้สึก) → มีสุข ทุกข์ และเฉยๆ ไม่คงที่
    ✅ สัญญา (ความจำได้หมายรู้) → ลืมแล้วลืมอีก
    ✅ สังขาร (การปรุงแต่งทางจิต) → คิดเปลี่ยนไปตลอด
    ✅ วิญญาณ (ความรับรู้) → รับรู้แล้วก็เปลี่ยนแปลงเสมอ

    💡 สรุป : "ตัวตนของเรา" = เป็นเพียงการปรุงแต่งชั่วคราว

    ไม่มีอะไรในชีวิตที่ "ของเรา" จริงๆ

    แม้แต่ร่างกาย ยังต้องคืนให้ธรรมชาติ



    ---

    🔍 3️⃣ เราจะเข้าใจ "ความว่าง" ของชีวิตได้อย่างไร?

    📌 "ความไม่มีตัวตน" (อนัตตา) ไม่ใช่แค่แนวคิด
    แต่คือ ความจริงที่เห็นได้จากการเจริญสติ

    📌 วิธีฝึกให้เห็นความว่างจริงๆ
    ✅ หายใจเข้า-ออก แล้วสังเกต → ลมหายใจไม่เที่ยง
    ✅ พิจารณาร่างกาย → เคยเด็ก เคยหนุ่มสาว แล้วก็เปลี่ยนไป
    ✅ พิจารณาอารมณ์ → เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวหาย ไม่แน่นอน
    ✅ พิจารณาความคิด → คิดเรื่องหนึ่งแค่แป๊บเดียว เดี๋ยวก็เปลี่ยน

    💡 สุดท้ายจะเห็นว่า

    ทุกอย่างที่เราเคยยึดมั่น → ล้วนเปลี่ยนแปลงหมด

    ไม่มีอะไรที่ "ของเรา" ตลอดไป



    ---

    🔍 4️⃣ เมื่อเข้าใจ "ความไม่มีอะไรเป็นของเรา" แล้วควรทำอย่างไร?

    🌿 "ชีวิตเป็นเพียงการยืมใช้ชั่วคราว"
    📌 ดังนั้น เราควร…
    ✅ ใช้ชีวิตให้มีประโยชน์กับตัวเองและผู้อื่น
    ✅ ไม่ยึดติดกับสิ่งใดเกินไป
    ✅ ฝึกให้จิตใจเป็นอิสระจากความทุกข์

    📌 สิ่งที่ควรฝึกในชีวิตประจำวัน
    ✅ เจริญสติ : อยู่กับปัจจุบัน ไม่จมกับอดีต ไม่หลงอนาคต
    ✅ ฝึกปล่อยวาง : อะไรที่ไม่ใช่ของเรา ก็คืนให้ธรรมชาติ
    ✅ ทำบุญ ทำทาน : ให้สิ่งดีๆ ออกไป ไม่ใช่เพื่อยึดถือ แต่เพื่อช่วยผู้อื่น

    💡 "เรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร?"
    ไม่ใช่เพื่อสะสมสิ่งของ
    ไม่ใช่เพื่อยึดติดกับความสัมพันธ์
    แต่เพื่อ เรียนรู้ และปล่อยวาง


    ---

    ✅ สรุป : ความจริงของชีวิตที่เราต้องเข้าใจ

    📌 1. ไม่มีอะไรเป็นของเราจริงๆ ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงเสมอ
    📌 2. "ตัวเรา" เป็นเพียงการปรุงแต่งของจิต
    📌 3. ความว่าง ไม่ใช่ความสูญเปล่า แต่เป็นอิสระจากการยึดติด
    📌 4. ใช้ชีวิตให้มีคุณค่า แต่ไม่ต้องยึดติดกับสิ่งใด

    🌿 "สุดท้ายแล้ว แม้แต่ร่างกายเราก็ต้องคืนให้โลก"
    🌿 "อยู่กับปัจจุบัน ทำสิ่งดี แล้วปล่อยวาง"

    💙 นี่คือหนทางสู่ความสุขที่แท้จริง 💙

    📌 ความจริงของชีวิต : เรามีอะไรอยู่จริงหรือไม่? (วิเคราะห์จากหลักพุทธศาสนา และการเจริญสติ) --- 🔍 1️⃣ ตั้งแต่เกิดมา เรามีอะไรอยู่จริงหรือไม่? 🌱 ความรู้สึกว่า "เราได้อะไร" หรือ "เรามีอะไร" เป็นเพียง "กระบวนการของจิต" ไม่ใช่ของที่แท้จริง ไม่ใช่สิ่งที่เป็นของเราเสมอไป 📌 ตั้งแต่เกิดมา จิตของเราถูกฝึกให้ยึดมั่นถือมั่น ✅ เด็กแรกเกิด = หิวนม → ได้กิน → รู้สึกมีความสุข ✅ โตขึ้น = ได้ของเล่น → เล่นจนเบื่อ → เปลี่ยนของเล่นใหม่ ✅ เป็นวัยรุ่น = มีมือถือ → พอเก่าแล้วต้องซื้อใหม่ ✅ เป็นผู้ใหญ่ = มีแฟน → เปลี่ยนแฟน → แต่งงาน → เลิกกัน ✅ มีงาน มีธุรกิจ → สูญเสีย → เริ่มใหม่ 💡 ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ความรู้สึกว่า "มี" → เป็นเพียงภาพลวงของจิต ความจริงคือ "ไม่มีอะไรอยู่กับเราตลอดไป" --- 🔍 2️⃣ ทำไมเราถึงคิดว่า "ตัวเรา" มีอยู่จริง? 📌 พระพุทธเจ้าสอนว่า "เราไม่มีตัวตนที่แท้จริง" สิ่งที่เราเรียกว่า "ตัวเรา" เกิดจาก ✅ กาย (ร่างกาย) → มีความเสื่อมไปเรื่อยๆ ✅ เวทนา (ความรู้สึก) → มีสุข ทุกข์ และเฉยๆ ไม่คงที่ ✅ สัญญา (ความจำได้หมายรู้) → ลืมแล้วลืมอีก ✅ สังขาร (การปรุงแต่งทางจิต) → คิดเปลี่ยนไปตลอด ✅ วิญญาณ (ความรับรู้) → รับรู้แล้วก็เปลี่ยนแปลงเสมอ 💡 สรุป : "ตัวตนของเรา" = เป็นเพียงการปรุงแต่งชั่วคราว ไม่มีอะไรในชีวิตที่ "ของเรา" จริงๆ แม้แต่ร่างกาย ยังต้องคืนให้ธรรมชาติ --- 🔍 3️⃣ เราจะเข้าใจ "ความว่าง" ของชีวิตได้อย่างไร? 📌 "ความไม่มีตัวตน" (อนัตตา) ไม่ใช่แค่แนวคิด แต่คือ ความจริงที่เห็นได้จากการเจริญสติ 📌 วิธีฝึกให้เห็นความว่างจริงๆ ✅ หายใจเข้า-ออก แล้วสังเกต → ลมหายใจไม่เที่ยง ✅ พิจารณาร่างกาย → เคยเด็ก เคยหนุ่มสาว แล้วก็เปลี่ยนไป ✅ พิจารณาอารมณ์ → เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวหาย ไม่แน่นอน ✅ พิจารณาความคิด → คิดเรื่องหนึ่งแค่แป๊บเดียว เดี๋ยวก็เปลี่ยน 💡 สุดท้ายจะเห็นว่า ทุกอย่างที่เราเคยยึดมั่น → ล้วนเปลี่ยนแปลงหมด ไม่มีอะไรที่ "ของเรา" ตลอดไป --- 🔍 4️⃣ เมื่อเข้าใจ "ความไม่มีอะไรเป็นของเรา" แล้วควรทำอย่างไร? 🌿 "ชีวิตเป็นเพียงการยืมใช้ชั่วคราว" 📌 ดังนั้น เราควร… ✅ ใช้ชีวิตให้มีประโยชน์กับตัวเองและผู้อื่น ✅ ไม่ยึดติดกับสิ่งใดเกินไป ✅ ฝึกให้จิตใจเป็นอิสระจากความทุกข์ 📌 สิ่งที่ควรฝึกในชีวิตประจำวัน ✅ เจริญสติ : อยู่กับปัจจุบัน ไม่จมกับอดีต ไม่หลงอนาคต ✅ ฝึกปล่อยวาง : อะไรที่ไม่ใช่ของเรา ก็คืนให้ธรรมชาติ ✅ ทำบุญ ทำทาน : ให้สิ่งดีๆ ออกไป ไม่ใช่เพื่อยึดถือ แต่เพื่อช่วยผู้อื่น 💡 "เรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร?" ไม่ใช่เพื่อสะสมสิ่งของ ไม่ใช่เพื่อยึดติดกับความสัมพันธ์ แต่เพื่อ เรียนรู้ และปล่อยวาง --- ✅ สรุป : ความจริงของชีวิตที่เราต้องเข้าใจ 📌 1. ไม่มีอะไรเป็นของเราจริงๆ ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงเสมอ 📌 2. "ตัวเรา" เป็นเพียงการปรุงแต่งของจิต 📌 3. ความว่าง ไม่ใช่ความสูญเปล่า แต่เป็นอิสระจากการยึดติด 📌 4. ใช้ชีวิตให้มีคุณค่า แต่ไม่ต้องยึดติดกับสิ่งใด 🌿 "สุดท้ายแล้ว แม้แต่ร่างกายเราก็ต้องคืนให้โลก" 🌿 "อยู่กับปัจจุบัน ทำสิ่งดี แล้วปล่อยวาง" 💙 นี่คือหนทางสู่ความสุขที่แท้จริง 💙
    0 Comments 0 Shares 605 Views 0 Reviews
  • เหรียญจตุคามรามเทพหลังพระราหู ปี2550
    เหรียญจตุคามรามเทพหลังพระราหู ว.ค.บ. ปี2550 //ของขลังที่เชื่อถือว่าช่วยให้ผู้ครอบครองพ้นภยันตราย, ประสบโชคลาภ, ความก้าวหน้าในอาชีพ ฯลฯ // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระสถาพสมบูรณ์ หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณช่วยให้ผู้ครอบครองพ้นภยันตราย, ประสบโชคลาภ, ความก้าวหน้าในอาชีพ เสริมดวง แก้ดวงร้ายให้กลายเป็นดี แก้ปีชง แก้คุณไสย ขจัดความทุกข์ ให้ชีวิตดีราบรื่น มีโชคมีลาภมีผล >>

    ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระสถาพสมบูรณ์ หายากกครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญจตุคามรามเทพหลังพระราหู ปี2550 เหรียญจตุคามรามเทพหลังพระราหู ว.ค.บ. ปี2550 //ของขลังที่เชื่อถือว่าช่วยให้ผู้ครอบครองพ้นภยันตราย, ประสบโชคลาภ, ความก้าวหน้าในอาชีพ ฯลฯ // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระสถาพสมบูรณ์ หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณช่วยให้ผู้ครอบครองพ้นภยันตราย, ประสบโชคลาภ, ความก้าวหน้าในอาชีพ เสริมดวง แก้ดวงร้ายให้กลายเป็นดี แก้ปีชง แก้คุณไสย ขจัดความทุกข์ ให้ชีวิตดีราบรื่น มีโชคมีลาภมีผล >> ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระสถาพสมบูรณ์ หายากกครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 Comments 0 Shares 235 Views 0 Reviews
  • 📌 เข้าใจ "สังขารขันธ์" ผ่านความชอบ-ความชัง

    (อ้างอิงจากหนังสือ "7 เดือนบรรลุธรรม" โดยดังตฤณ)


    ---

    🔍 1️⃣ ความชอบ-ความชัง คืออะไรในแง่พุทธศาสนา?

    สังขารขันธ์ หมายถึง กระบวนการปรุงแต่งของจิต
    ซึ่งแสดงออกผ่าน "ปฏิกิริยา" ที่เรามีต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว

    📌 ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดในชีวิตประจำวัน คือ
    ✅ "ความชอบ" → สิ่งที่ถูกใจ ทำให้เกิดความอยากได้
    ✅ "ความชัง" → สิ่งที่ไม่ถูกใจ ทำให้เกิดความอยากผลักไส

    💡 ทำไมสิ่งนี้สำคัญ?
    เพราะมันเป็น ตัวแปรหลักที่กำหนดทุกข์ของเรา
    ยิ่งชอบมาก → ยิ่งยึดมาก → ทุกข์มาก
    ยิ่งชังมาก → ยิ่งผลักไสมาก → ทุกข์มาก


    ---

    🔍 2️⃣ ทำไมเราหนีความชอบ-ความชังไม่ได้?

    🌀 "หลีกเร้นจากโลก" ก็ไม่ช่วยให้พ้นจากสังขารขันธ์

    ต่อให้หลบเข้าป่า

    หรือหนีโลกไปอยู่ที่ไหน
    🚨 จิตก็ยังชอบ-ชังในสิ่งที่เข้ามากระทบเสมอ


    ✅ วิธีที่ถูกต้อง ไม่ใช่การหลีกหนี
    แต่คือ "เฝ้าดู" และ "เข้าใจ" ว่ามันเกิดขึ้น-ดับไป


    ---

    🔍 3️⃣ การสังเกตความชอบ-ความชัง นำไปสู่การรู้แจ้งได้อย่างไร?

    🔎 หากเราตั้งสติสังเกตบ่อยๆ
    เราจะเริ่มเห็น "กลไกภายในจิต" ว่า

    1️⃣ ชอบหรือชังเกิดขึ้นได้อย่างไร
    2️⃣ เกิดขึ้นแล้วนำไปสู่อะไรต่อ? (เช่น ทำให้ใจร้อน หงุดหงิด อยากเอาชนะ ฯลฯ)
    3️⃣ มันมีวาระ "เกิด" และ "ดับ" อยู่ตลอด

    🌿 เมื่อเห็นชัดว่าความชอบ-ชังเป็นของชั่วคราว
    → ใจจะไม่ไหลตาม
    → จะ "วางเฉย" ได้ง่ายขึ้น
    → ความทะยานอยาก (ตัณหา) ลดลง
    → ทุกข์ก็น้อยลงเองตามธรรมชาติ


    ---

    ✅ สรุป : ทางพ้นทุกข์อยู่ที่ไหน?

    🔹 ไม่ต้องพยายามห้ามชอบ-ชัง → เพราะมันเป็นธรรมชาติของจิต
    🔹 ให้เฝ้าดูการเกิด-ดับของมัน → ด้วยสติที่แจ่มชัด
    🔹 เมื่อเห็นจริงว่า "มันมาแล้วไปเอง" → ใจก็คลายความยึดมั่น

    🌿 เมื่อเห็นแจ้ง ความทุกข์ก็ลดลงเอง!
    เพราะเรารู้ว่า "ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นแล้วไม่ดับ"

    📌 วิธีเริ่มต้นง่ายๆ
    ✅ สังเกตตัวเองทุกวันว่าอะไรทำให้เราชอบ-ชัง
    ✅ ลองดูว่าใจเปลี่ยนแปลงไวแค่ไหน
    ✅ เห็นว่าความรู้สึกเหล่านี้ไม่ได้คงอยู่ตลอด

    ✨ นี่คือก้าวแรกของ "สติปัฏฐาน" และการเข้าใจธรรมะจากชีวิตจริง! ✨

    📌 เข้าใจ "สังขารขันธ์" ผ่านความชอบ-ความชัง (อ้างอิงจากหนังสือ "7 เดือนบรรลุธรรม" โดยดังตฤณ) --- 🔍 1️⃣ ความชอบ-ความชัง คืออะไรในแง่พุทธศาสนา? สังขารขันธ์ หมายถึง กระบวนการปรุงแต่งของจิต ซึ่งแสดงออกผ่าน "ปฏิกิริยา" ที่เรามีต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว 📌 ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดในชีวิตประจำวัน คือ ✅ "ความชอบ" → สิ่งที่ถูกใจ ทำให้เกิดความอยากได้ ✅ "ความชัง" → สิ่งที่ไม่ถูกใจ ทำให้เกิดความอยากผลักไส 💡 ทำไมสิ่งนี้สำคัญ? เพราะมันเป็น ตัวแปรหลักที่กำหนดทุกข์ของเรา ยิ่งชอบมาก → ยิ่งยึดมาก → ทุกข์มาก ยิ่งชังมาก → ยิ่งผลักไสมาก → ทุกข์มาก --- 🔍 2️⃣ ทำไมเราหนีความชอบ-ความชังไม่ได้? 🌀 "หลีกเร้นจากโลก" ก็ไม่ช่วยให้พ้นจากสังขารขันธ์ ต่อให้หลบเข้าป่า หรือหนีโลกไปอยู่ที่ไหน 🚨 จิตก็ยังชอบ-ชังในสิ่งที่เข้ามากระทบเสมอ ✅ วิธีที่ถูกต้อง ไม่ใช่การหลีกหนี แต่คือ "เฝ้าดู" และ "เข้าใจ" ว่ามันเกิดขึ้น-ดับไป --- 🔍 3️⃣ การสังเกตความชอบ-ความชัง นำไปสู่การรู้แจ้งได้อย่างไร? 🔎 หากเราตั้งสติสังเกตบ่อยๆ เราจะเริ่มเห็น "กลไกภายในจิต" ว่า 1️⃣ ชอบหรือชังเกิดขึ้นได้อย่างไร 2️⃣ เกิดขึ้นแล้วนำไปสู่อะไรต่อ? (เช่น ทำให้ใจร้อน หงุดหงิด อยากเอาชนะ ฯลฯ) 3️⃣ มันมีวาระ "เกิด" และ "ดับ" อยู่ตลอด 🌿 เมื่อเห็นชัดว่าความชอบ-ชังเป็นของชั่วคราว → ใจจะไม่ไหลตาม → จะ "วางเฉย" ได้ง่ายขึ้น → ความทะยานอยาก (ตัณหา) ลดลง → ทุกข์ก็น้อยลงเองตามธรรมชาติ --- ✅ สรุป : ทางพ้นทุกข์อยู่ที่ไหน? 🔹 ไม่ต้องพยายามห้ามชอบ-ชัง → เพราะมันเป็นธรรมชาติของจิต 🔹 ให้เฝ้าดูการเกิด-ดับของมัน → ด้วยสติที่แจ่มชัด 🔹 เมื่อเห็นจริงว่า "มันมาแล้วไปเอง" → ใจก็คลายความยึดมั่น 🌿 เมื่อเห็นแจ้ง ความทุกข์ก็ลดลงเอง! เพราะเรารู้ว่า "ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นแล้วไม่ดับ" 📌 วิธีเริ่มต้นง่ายๆ ✅ สังเกตตัวเองทุกวันว่าอะไรทำให้เราชอบ-ชัง ✅ ลองดูว่าใจเปลี่ยนแปลงไวแค่ไหน ✅ เห็นว่าความรู้สึกเหล่านี้ไม่ได้คงอยู่ตลอด ✨ นี่คือก้าวแรกของ "สติปัฏฐาน" และการเข้าใจธรรมะจากชีวิตจริง! ✨
    0 Comments 0 Shares 382 Views 0 Reviews
  • 📌 วิธีจัดการกับ "ความรู้สึก" ตามหลักพุทธศาสตร์

    (บทความโดย ดังตฤณ)


    ---

    🔍 1️⃣ ปัญหาที่ยากที่สุดในชีวิต: "จัดการกับความรู้สึก"

    😣 แม้จะเป็นคนที่ใช้เหตุผลเก่ง

    เข้าใจทุกอย่างทางทฤษฎี

    แต่หากควบคุมความรู้สึกไม่ได้ ก็ยังทุกข์อยู่ดี


    💡 ดังนั้น ทางออกคือการเข้าใจและรู้ทัน "ความรู้สึก" ของตัวเองให้ได้


    ---

    🧘‍♂️ 2️⃣ แนวทาง "เจริญสติ" เพื่อจัดการความรู้สึก

    ☸ พุทธศาสนาดั้งเดิมสอนให้โฟกัสที่ "ภายใน"
    ✅ เน้นให้เห็น ความจริงของกายและใจ
    ✅ เมื่อเข้าใจว่ากาย-ใจไม่ใช่ตัวตน ความทุกข์ก็ลดลง
    ✅ ฝึก รู้ความรู้สึกในปัจจุบันให้ได้ ไม่ใช่คิดไปข้างหน้า หรือจมอยู่กับอดีต

    🌀 ตัวอย่างการฝึกผ่านลมหายใจ

    หายใจเข้า → รู้ว่าอึดอัดหรือสบาย

    หายใจออก → รู้ว่าเป็นสุขหรือเป็นทุกข์


    🎯 เมื่อสามารถ "รู้" ได้ตามจริง
    ✅ จะเข้าใจว่า สุขและทุกข์ไม่เที่ยง
    ✅ จะไม่ "จม" ไปกับความสุขหรือความทุกข์
    ✅ จะ รู้จริง ไม่ใช่แค่จำหลักการพุทธ


    ---

    🔄 3️⃣ เมื่อเข้าใจจริง: คุณจะ "ไม่รู้สึกว่าสูญเสียอะไรเลย"

    💡 เพราะทุกอย่างที่มีอยู่ ไม่มีอะไรเป็นของเราจริงๆ

    ทุกข์ที่รู้สึกว่าหนัก

    ความรู้สึกสูญเสีย

    ความกลัว หรือความยึดติด
    🎯 ล้วนเป็นของชั่วคราวที่มาผ่านไป


    💭 เมื่อเห็นแจ้งด้วยใจจริงๆ
    ✅ จะรู้สึกว่า "ไม่มีอะไรจริงเลย"
    ✅ จิตใจจะ เบาขึ้น ปล่อยวางได้ง่ายขึ้น
    ✅ ไม่ต้องดิ้นรน "รักษา" หรือ "ไขว่คว้า" สิ่งที่ไม่จีรัง


    ---

    🎯 4️⃣ สรุป: วิธีจัดการความรู้สึกให้ใจ "ปล่อยวาง" ได้

    ✅ 1. ฝึกสังเกตความรู้สึกของตัวเอง
    🚫 ไม่ตัดสินว่าดีหรือร้าย แค่รู้ทัน

    ✅ 2. ใช้ลมหายใจเป็นจุดสังเกต
    🌬️ หายใจเข้า = อึดอัด หรือสบาย
    🌬️ หายใจออก = สุข หรือทุกข์

    ✅ 3. เข้าใจว่าสุขและทุกข์ "ไม่เที่ยง"
    🔄 วันนี้ทุกข์ พรุ่งนี้อาจสุข
    🔄 วันนี้สุข อีกไม่นานอาจกลับทุกข์

    ✅ 4. เมื่อเข้าใจแล้ว จะ "ไม่รู้สึกว่าสูญเสียอะไรเลย"
    🔓 เพราะ ไม่มีอะไรเป็นของเราจริงๆ

    💡 สุดท้าย คนที่ "รู้สึกจริงๆ" ว่าไม่มีอะไรเป็นของตัวเอง
    ✅ จะ ปล่อยวางได้ตั้งแต่วันนี้
    ✅ จนกระทั่งถึง วันสุดท้ายของชีวิต!

    📌 วิธีจัดการกับ "ความรู้สึก" ตามหลักพุทธศาสตร์ (บทความโดย ดังตฤณ) --- 🔍 1️⃣ ปัญหาที่ยากที่สุดในชีวิต: "จัดการกับความรู้สึก" 😣 แม้จะเป็นคนที่ใช้เหตุผลเก่ง เข้าใจทุกอย่างทางทฤษฎี แต่หากควบคุมความรู้สึกไม่ได้ ก็ยังทุกข์อยู่ดี 💡 ดังนั้น ทางออกคือการเข้าใจและรู้ทัน "ความรู้สึก" ของตัวเองให้ได้ --- 🧘‍♂️ 2️⃣ แนวทาง "เจริญสติ" เพื่อจัดการความรู้สึก ☸ พุทธศาสนาดั้งเดิมสอนให้โฟกัสที่ "ภายใน" ✅ เน้นให้เห็น ความจริงของกายและใจ ✅ เมื่อเข้าใจว่ากาย-ใจไม่ใช่ตัวตน ความทุกข์ก็ลดลง ✅ ฝึก รู้ความรู้สึกในปัจจุบันให้ได้ ไม่ใช่คิดไปข้างหน้า หรือจมอยู่กับอดีต 🌀 ตัวอย่างการฝึกผ่านลมหายใจ หายใจเข้า → รู้ว่าอึดอัดหรือสบาย หายใจออก → รู้ว่าเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ 🎯 เมื่อสามารถ "รู้" ได้ตามจริง ✅ จะเข้าใจว่า สุขและทุกข์ไม่เที่ยง ✅ จะไม่ "จม" ไปกับความสุขหรือความทุกข์ ✅ จะ รู้จริง ไม่ใช่แค่จำหลักการพุทธ --- 🔄 3️⃣ เมื่อเข้าใจจริง: คุณจะ "ไม่รู้สึกว่าสูญเสียอะไรเลย" 💡 เพราะทุกอย่างที่มีอยู่ ไม่มีอะไรเป็นของเราจริงๆ ทุกข์ที่รู้สึกว่าหนัก ความรู้สึกสูญเสีย ความกลัว หรือความยึดติด 🎯 ล้วนเป็นของชั่วคราวที่มาผ่านไป 💭 เมื่อเห็นแจ้งด้วยใจจริงๆ ✅ จะรู้สึกว่า "ไม่มีอะไรจริงเลย" ✅ จิตใจจะ เบาขึ้น ปล่อยวางได้ง่ายขึ้น ✅ ไม่ต้องดิ้นรน "รักษา" หรือ "ไขว่คว้า" สิ่งที่ไม่จีรัง --- 🎯 4️⃣ สรุป: วิธีจัดการความรู้สึกให้ใจ "ปล่อยวาง" ได้ ✅ 1. ฝึกสังเกตความรู้สึกของตัวเอง 🚫 ไม่ตัดสินว่าดีหรือร้าย แค่รู้ทัน ✅ 2. ใช้ลมหายใจเป็นจุดสังเกต 🌬️ หายใจเข้า = อึดอัด หรือสบาย 🌬️ หายใจออก = สุข หรือทุกข์ ✅ 3. เข้าใจว่าสุขและทุกข์ "ไม่เที่ยง" 🔄 วันนี้ทุกข์ พรุ่งนี้อาจสุข 🔄 วันนี้สุข อีกไม่นานอาจกลับทุกข์ ✅ 4. เมื่อเข้าใจแล้ว จะ "ไม่รู้สึกว่าสูญเสียอะไรเลย" 🔓 เพราะ ไม่มีอะไรเป็นของเราจริงๆ 💡 สุดท้าย คนที่ "รู้สึกจริงๆ" ว่าไม่มีอะไรเป็นของตัวเอง ✅ จะ ปล่อยวางได้ตั้งแต่วันนี้ ✅ จนกระทั่งถึง วันสุดท้ายของชีวิต!
    0 Comments 0 Shares 361 Views 0 Reviews
  • 📌 โลกเต็มไปด้วยคนครึ่งดีครึ่งร้าย: เราควรรับมืออย่างไร?

    ---

    🔍 1️⃣ โลกนี้ไม่ได้มีแต่คนร้าย

    🌍 ไม่มีใครที่ร้ายล้วนๆ

    แม้แต่ ผู้ก่อการร้าย หรือ โจร ยังมีด้านดีให้กับลูกเมีย พวกพ้อง หรือบริวาร

    ⚠️ แต่มองโลกในแง่ร้ายตลอดเวลา

    ใจจะเริ่มยึดถือว่า

    > “ถ้าไม่เป็นเสือ ก็ต้องเป็นเหยื่อ”

    เมื่อเจอคนร้ายทำร้าย เราก็อยากทำร้ายกลับ

    และกลายเป็นวังวนของการตอบโต้

    ---

    🧘‍♂️ 2️⃣ แม้ทำดีแค่ไหน ก็ต้องเจอคนร้าย

    ☸ แม้พระพุทธเจ้าก็ยังมีศัตรู

    พระเทวทัต คิดปองร้าย

    นางจิญจมาณวิกา ใส่ร้าย

    องคุลิมาล ไล่ฆ่าพระองค์

    🛑 ดังนั้นการทำบุญหรือเข้าวัดเพียงอย่างเดียว
    🚫 ไม่ได้แปลว่าจะไม่เจอคนร้าย หรือจะไม่มีปัญหาชีวิต

    ---

    🔄 3️⃣ ทำไมเรายังต้องเจอเรื่องร้ายๆ?

    ☸ เพราะวิบากกรรมดำที่เราสร้างไว้ในอดีตให้ผล

    แม้เราจะดีแค่ไหนในชาตินี้

    แต่ในอดีตชาติ เราอาจเคยทำร้ายคนอื่น

    เมื่อถึงเวลาที่วิบากมืดสุกงอม เราต้องรับผล

    🌱 พระพุทธเจ้าเอง เคยทำผิดในอดีตชาติเช่นกัน

    ฆ่าน้องชายเพื่อแย่งสมบัติ

    ใส่ร้ายพระปัจเจกพุทธเจ้า

    เป็นนักมวยที่ทำร้ายคน

    💡 ดังนั้นเราเอง ก็ต้องมีกรรมเก่าตามมาให้ผลแน่นอน
    ✅ แต่เรามีทางออก คือการตั้งตนเป็นเขตปลอดภัย!

    ---

    🛡️ 4️⃣ วิธีรับมือ: ตั้งตนเป็น "เขตปลอดภัย"

    🔸 เริ่มจากการรักษาศีล
    ✅ จำกัดอันตรายจากตัวเราเอง
    ✅ ลดโอกาสที่เราจะเป็นภัยต่อผู้อื่น

    🔸 ต่อยอดด้วยการให้ทาน
    ✅ ลดความทุกข์ร้อนของคนอื่น
    ✅ ทำให้เขาไม่คิดชั่ว ไม่ต้องเป็นศัตรูกับเรา

    🔸 เจริญสติ และเข้าใจกรรม
    ✅ เราเข้าใจว่าทุกสิ่งที่เจอ เป็นผลของกรรมเก่า
    ✅ เราไม่ตอบโต้ ไม่ก่อกรรมใหม่ให้หนักขึ้น

    ---

    🎯 5️⃣ ผลลัพธ์ของการเป็น "เขตปลอดภัย"

    📌 เมื่อเรารักษาศีลและให้ทานเป็นนิตย์
    ✅ จิตใจเราจะใสกระจ่าง
    ✅ เราจะมองเห็นแต่เรื่องดีที่เกิดจากตัวเรา
    ✅ ไม่สนใจความชั่วที่คนอื่นก่อ

    🚫 ระวังตัว แต่ไม่ถึงขั้นระแวงภัย
    🚫 ไม่เผลอกลายเป็นภัยเสียเอง!

    ---

    🌿 6️⃣ สรุป: ทางออกของชีวิตในโลกที่ครึ่งดีครึ่งร้าย

    ✅ เข้าใจว่าโลกมีทั้งดีและร้ายเสมอ
    ✅ แม้ทำดี ก็ยังต้องเจอเรื่องร้าย เพราะเป็นผลกรรมเก่า
    ✅ อย่าตอบโต้คนร้ายด้วยความร้าย มิฉะนั้นจะวนลูปของเวรกรรม
    ✅ ตั้งตนเป็น "เขตปลอดภัย" โดยรักษาศีล ให้ทาน และเจริญสติ

    💡 สุดท้าย คนที่มีจิตใจสงบ คือคนที่ไม่ตกเป็นเหยื่อของวังวนแห่งกรรม!
    📌 โลกเต็มไปด้วยคนครึ่งดีครึ่งร้าย: เราควรรับมืออย่างไร? --- 🔍 1️⃣ โลกนี้ไม่ได้มีแต่คนร้าย 🌍 ไม่มีใครที่ร้ายล้วนๆ แม้แต่ ผู้ก่อการร้าย หรือ โจร ยังมีด้านดีให้กับลูกเมีย พวกพ้อง หรือบริวาร ⚠️ แต่มองโลกในแง่ร้ายตลอดเวลา ใจจะเริ่มยึดถือว่า > “ถ้าไม่เป็นเสือ ก็ต้องเป็นเหยื่อ” เมื่อเจอคนร้ายทำร้าย เราก็อยากทำร้ายกลับ และกลายเป็นวังวนของการตอบโต้ --- 🧘‍♂️ 2️⃣ แม้ทำดีแค่ไหน ก็ต้องเจอคนร้าย ☸ แม้พระพุทธเจ้าก็ยังมีศัตรู พระเทวทัต คิดปองร้าย นางจิญจมาณวิกา ใส่ร้าย องคุลิมาล ไล่ฆ่าพระองค์ 🛑 ดังนั้นการทำบุญหรือเข้าวัดเพียงอย่างเดียว 🚫 ไม่ได้แปลว่าจะไม่เจอคนร้าย หรือจะไม่มีปัญหาชีวิต --- 🔄 3️⃣ ทำไมเรายังต้องเจอเรื่องร้ายๆ? ☸ เพราะวิบากกรรมดำที่เราสร้างไว้ในอดีตให้ผล แม้เราจะดีแค่ไหนในชาตินี้ แต่ในอดีตชาติ เราอาจเคยทำร้ายคนอื่น เมื่อถึงเวลาที่วิบากมืดสุกงอม เราต้องรับผล 🌱 พระพุทธเจ้าเอง เคยทำผิดในอดีตชาติเช่นกัน ฆ่าน้องชายเพื่อแย่งสมบัติ ใส่ร้ายพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นนักมวยที่ทำร้ายคน 💡 ดังนั้นเราเอง ก็ต้องมีกรรมเก่าตามมาให้ผลแน่นอน ✅ แต่เรามีทางออก คือการตั้งตนเป็นเขตปลอดภัย! --- 🛡️ 4️⃣ วิธีรับมือ: ตั้งตนเป็น "เขตปลอดภัย" 🔸 เริ่มจากการรักษาศีล ✅ จำกัดอันตรายจากตัวเราเอง ✅ ลดโอกาสที่เราจะเป็นภัยต่อผู้อื่น 🔸 ต่อยอดด้วยการให้ทาน ✅ ลดความทุกข์ร้อนของคนอื่น ✅ ทำให้เขาไม่คิดชั่ว ไม่ต้องเป็นศัตรูกับเรา 🔸 เจริญสติ และเข้าใจกรรม ✅ เราเข้าใจว่าทุกสิ่งที่เจอ เป็นผลของกรรมเก่า ✅ เราไม่ตอบโต้ ไม่ก่อกรรมใหม่ให้หนักขึ้น --- 🎯 5️⃣ ผลลัพธ์ของการเป็น "เขตปลอดภัย" 📌 เมื่อเรารักษาศีลและให้ทานเป็นนิตย์ ✅ จิตใจเราจะใสกระจ่าง ✅ เราจะมองเห็นแต่เรื่องดีที่เกิดจากตัวเรา ✅ ไม่สนใจความชั่วที่คนอื่นก่อ 🚫 ระวังตัว แต่ไม่ถึงขั้นระแวงภัย 🚫 ไม่เผลอกลายเป็นภัยเสียเอง! --- 🌿 6️⃣ สรุป: ทางออกของชีวิตในโลกที่ครึ่งดีครึ่งร้าย ✅ เข้าใจว่าโลกมีทั้งดีและร้ายเสมอ ✅ แม้ทำดี ก็ยังต้องเจอเรื่องร้าย เพราะเป็นผลกรรมเก่า ✅ อย่าตอบโต้คนร้ายด้วยความร้าย มิฉะนั้นจะวนลูปของเวรกรรม ✅ ตั้งตนเป็น "เขตปลอดภัย" โดยรักษาศีล ให้ทาน และเจริญสติ 💡 สุดท้าย คนที่มีจิตใจสงบ คือคนที่ไม่ตกเป็นเหยื่อของวังวนแห่งกรรม!
    0 Comments 0 Shares 441 Views 0 Reviews
  • โลกก็มีของร้อนมาก ร้อนด้วยกิเลส ร้อนราคะ ร้อนด้วยความแค้น ร้อนด้วยความทุกข์ฯ
    โลกก็มีของร้อนมาก ร้อนด้วยกิเลส ร้อนราคะ ร้อนด้วยความแค้น ร้อนด้วยความทุกข์ฯ
    0 Comments 0 Shares 117 Views 0 Reviews
  • 📌 เจริญสติแล้วหยุดกรรมร้ายได้ไหม

    ---

    🔍 1️⃣ วิบากร้ายทำงานเมื่อเราไม่พร้อมที่สุด

    ☸ วิบากกรรมดำ (ผลของกรรมไม่ดี) จะให้ผลแรงที่สุด
    ในช่วงที่เรา โลภที่สุด โกรธที่สุด และหลงที่สุด

    🧩 พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในพระไตรปิฎกว่า:

    > "เมื่อวิบากดำให้ผล โมหะก็เข้าครอบ แม้บัณฑิตก็ทำเรื่องโง่ได้ คนรอบคอบก็ประมาทได้"

    📌 แปลว่า:

    แม้เป็นคนดี มีปัญญา หากยังมี โลภะ โทสะ โมหะ แรงๆ ก็ยังพลาดได้

    วิบากดำรอให้เรา "เผลอ" แล้วจึงให้ผลแรงที่สุด

    การฝึก "เจริญสติ" เป็นเกราะป้องกันไม่ให้เผลอ

    ---

    🧘‍♂️ 2️⃣ เจริญสติช่วยลดกรรมร้ายได้อย่างไร?

    💡 สติช่วยให้:
    ✅ ผ่อนหนักเป็นเบา
    ✅ ลดโอกาสสร้างกรรมดำใหม่
    ✅ เพิ่มพลังกรรมขาวให้ช่วยแทรกแซง

    🎯 หลักการง่ายๆ:

    ลดโลภะ → ทุกข์เรื่องเงินลดลง

    ลดโทสะ → คนร้ายก็เบียดเบียนเราน้อยลง

    ลดโมหะ → ไม่ตัดสินใจพลาดเพราะความเขลา

    ⚡ ผลของการฝึกสติอย่างสม่ำเสมอ:

    วิบากขาว (ผลของกรรมดี) จะเกิดขึ้นเร็ว

    กรรมขาว "ลัดคิว" มาแทรกแซงกรรมดำได้

    ชีวิตมีเสถียรภาพ ไม่เป๋ไปตามกระแสของกรรมดำง่ายๆ

    ---

    ⚠️ 3️⃣ สติปัฏฐาน "ไม่ได้" แก้กรรมโดยตรง

    🚫 ไม่ใช่การลบล้างกรรมเหมือนยางลบลบรอยดินสอ
    🚫 ไม่ได้ทำให้กรรมดำหายไปแบบทันตา
    🚫 ไม่ได้รับประกันว่าชีวิตจะไม่มีเรื่องร้ายเกิดขึ้นเลย

    ☸ แต่สติปัฏฐานช่วยให้:
    ✅ ไม่เผลอสร้าง "กรรมดำใหม่" ให้เพิ่มขึ้น
    ✅ มีจิตหนักแน่น รับมือกับสถานการณ์ร้ายได้ดีขึ้น
    ✅ ลดความทุกข์ใจ แม้วิบากร้ายยังให้ผลอยู่

    📌 แม้พระอรหันต์ก็ยังต้องเสวยวิบากเก่า

    ท่านยังต้องรับทุกข์ทางกาย (เช่น พระโมคคัลลานะถูกโจรทำร้าย)

    แต่ท่านไม่ทุกข์ทางใจอีกแล้ว

    🧘‍♀️ สำหรับผู้เริ่มเจริญสติ

    แม้จะยังมีทุกข์ทางใจอยู่

    แต่จะลดการคร่ำครวญ และเข้าใจทุกข์ได้มากขึ้น

    ---

    🎯 4️⃣ สรุป: เจริญสติช่วยอะไร?

    ✅ ทำให้ "ทุกข์ใจ" ลดลงได้แน่นอน
    ✅ ช่วยให้ "กรรมขาว" แทรกแซงกรรมดำได้
    ✅ ช่วยให้ตั้งรับวิบากร้ายได้ดีขึ้น
    ✅ ทำให้จิตเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นเหยื่อของอารมณ์ลบ
    ✅ แม้วิบากร้ายจะยังคงทำหน้าที่ของมันต่อไป

    ---

    🌿 5️⃣ ข้อคิดส่งท้าย: ชาติเดียวก็หมดทุกข์ได้

    ☸ "อานิสงส์ของการเจริญสติถูกทาง อยู่เหนือทุกสิ่ง บุญทุกชนิด"

    📌 แม้กรรมดำจะยังมีอยู่
    แต่ ถ้าเจริญสติถึงที่สุด → ก็สามารถพ้นทุกข์หมดโศกได้ในชาตินี้!

    💡 ขอเป็นกำลังใจให้เพียรต่อบนวิถีทางอันประเสริฐนี้
    🕉️ สติคือเกราะป้องกันกรรมร้ายที่ดีที่สุด 🕉️
    📌 เจริญสติแล้วหยุดกรรมร้ายได้ไหม --- 🔍 1️⃣ วิบากร้ายทำงานเมื่อเราไม่พร้อมที่สุด ☸ วิบากกรรมดำ (ผลของกรรมไม่ดี) จะให้ผลแรงที่สุด ในช่วงที่เรา โลภที่สุด โกรธที่สุด และหลงที่สุด 🧩 พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในพระไตรปิฎกว่า: > "เมื่อวิบากดำให้ผล โมหะก็เข้าครอบ แม้บัณฑิตก็ทำเรื่องโง่ได้ คนรอบคอบก็ประมาทได้" 📌 แปลว่า: แม้เป็นคนดี มีปัญญา หากยังมี โลภะ โทสะ โมหะ แรงๆ ก็ยังพลาดได้ วิบากดำรอให้เรา "เผลอ" แล้วจึงให้ผลแรงที่สุด การฝึก "เจริญสติ" เป็นเกราะป้องกันไม่ให้เผลอ --- 🧘‍♂️ 2️⃣ เจริญสติช่วยลดกรรมร้ายได้อย่างไร? 💡 สติช่วยให้: ✅ ผ่อนหนักเป็นเบา ✅ ลดโอกาสสร้างกรรมดำใหม่ ✅ เพิ่มพลังกรรมขาวให้ช่วยแทรกแซง 🎯 หลักการง่ายๆ: ลดโลภะ → ทุกข์เรื่องเงินลดลง ลดโทสะ → คนร้ายก็เบียดเบียนเราน้อยลง ลดโมหะ → ไม่ตัดสินใจพลาดเพราะความเขลา ⚡ ผลของการฝึกสติอย่างสม่ำเสมอ: วิบากขาว (ผลของกรรมดี) จะเกิดขึ้นเร็ว กรรมขาว "ลัดคิว" มาแทรกแซงกรรมดำได้ ชีวิตมีเสถียรภาพ ไม่เป๋ไปตามกระแสของกรรมดำง่ายๆ --- ⚠️ 3️⃣ สติปัฏฐาน "ไม่ได้" แก้กรรมโดยตรง 🚫 ไม่ใช่การลบล้างกรรมเหมือนยางลบลบรอยดินสอ 🚫 ไม่ได้ทำให้กรรมดำหายไปแบบทันตา 🚫 ไม่ได้รับประกันว่าชีวิตจะไม่มีเรื่องร้ายเกิดขึ้นเลย ☸ แต่สติปัฏฐานช่วยให้: ✅ ไม่เผลอสร้าง "กรรมดำใหม่" ให้เพิ่มขึ้น ✅ มีจิตหนักแน่น รับมือกับสถานการณ์ร้ายได้ดีขึ้น ✅ ลดความทุกข์ใจ แม้วิบากร้ายยังให้ผลอยู่ 📌 แม้พระอรหันต์ก็ยังต้องเสวยวิบากเก่า ท่านยังต้องรับทุกข์ทางกาย (เช่น พระโมคคัลลานะถูกโจรทำร้าย) แต่ท่านไม่ทุกข์ทางใจอีกแล้ว 🧘‍♀️ สำหรับผู้เริ่มเจริญสติ แม้จะยังมีทุกข์ทางใจอยู่ แต่จะลดการคร่ำครวญ และเข้าใจทุกข์ได้มากขึ้น --- 🎯 4️⃣ สรุป: เจริญสติช่วยอะไร? ✅ ทำให้ "ทุกข์ใจ" ลดลงได้แน่นอน ✅ ช่วยให้ "กรรมขาว" แทรกแซงกรรมดำได้ ✅ ช่วยให้ตั้งรับวิบากร้ายได้ดีขึ้น ✅ ทำให้จิตเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นเหยื่อของอารมณ์ลบ ✅ แม้วิบากร้ายจะยังคงทำหน้าที่ของมันต่อไป --- 🌿 5️⃣ ข้อคิดส่งท้าย: ชาติเดียวก็หมดทุกข์ได้ ☸ "อานิสงส์ของการเจริญสติถูกทาง อยู่เหนือทุกสิ่ง บุญทุกชนิด" 📌 แม้กรรมดำจะยังมีอยู่ แต่ ถ้าเจริญสติถึงที่สุด → ก็สามารถพ้นทุกข์หมดโศกได้ในชาตินี้! 💡 ขอเป็นกำลังใจให้เพียรต่อบนวิถีทางอันประเสริฐนี้ 🕉️ สติคือเกราะป้องกันกรรมร้ายที่ดีที่สุด 🕉️
    0 Comments 0 Shares 434 Views 0 Reviews
More Results