• วันที่สามเดือด! "ตราดพิฆาตไพรี 1" ตอบโต้สำเร็จ หลังเขมรเปิดฉากยิงคลองใหญ่ ตีรุกกลับ 3 จุด
    https://www.thai-tai.tv/news/20552/
    .
    #ชายแดนไทยกัมพูชา #ตราด #คลองใหญ่ #บ้านชำราก #กองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด #ตราดพิฆาตไพรี1 #เกาะกง #นาวิกโยธินไทย #สถานการณ์ชายแดน #ความมั่นคง
    วันที่สามเดือด! "ตราดพิฆาตไพรี 1" ตอบโต้สำเร็จ หลังเขมรเปิดฉากยิงคลองใหญ่ ตีรุกกลับ 3 จุด https://www.thai-tai.tv/news/20552/ . #ชายแดนไทยกัมพูชา #ตราด #คลองใหญ่ #บ้านชำราก #กองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด #ตราดพิฆาตไพรี1 #เกาะกง #นาวิกโยธินไทย #สถานการณ์ชายแดน #ความมั่นคง
    0 Comments 0 Shares 41 Views 0 Reviews
  • จันทบุรี -​ ปลดล็อกชายแดนจันท์-ตราด! ศบ.ทก. ประกาศผ่อนปรนมาตรการควบคุมการผ่านแดนอนุญาตให้รถขนส่งสินค้าสามารถผ่านเข้า-ออกได้ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.ตั้งแต่ 17.ก.ค68 ลดกระทบการค้า การลงทุน

    จากกรณีที่ กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (เฉพาะ) ได้ออกคำสั่งที่ 1092/2568 ลงวันที่ 23 มิ.ย.2568 เรื่อง มาตรการยกระดับการควบคุมการผ่านแดนในพื้นที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม ต.เทพนิมิต , จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด ต.คลองใหญ่ อ.โป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000067605

    #Thaitimes #MGROnline #จันทบุรี #กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด #จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม
    จันทบุรี -​ ปลดล็อกชายแดนจันท์-ตราด! ศบ.ทก. ประกาศผ่อนปรนมาตรการควบคุมการผ่านแดนอนุญาตให้รถขนส่งสินค้าสามารถผ่านเข้า-ออกได้ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.ตั้งแต่ 17.ก.ค68 ลดกระทบการค้า การลงทุน • จากกรณีที่ กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (เฉพาะ) ได้ออกคำสั่งที่ 1092/2568 ลงวันที่ 23 มิ.ย.2568 เรื่อง มาตรการยกระดับการควบคุมการผ่านแดนในพื้นที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม ต.เทพนิมิต , จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด ต.คลองใหญ่ อ.โป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000067605 • #Thaitimes #MGROnline #จันทบุรี #กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด #จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม
    0 Comments 0 Shares 258 Views 0 Reviews
  • ตามที่เกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงบริเวณแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มีสัญญาจำหน่ายไฟฟ้าให้กับราชอาณาจักรกัมพูชาจำนวน 8 จุดซื้อขายไฟฟ้านั้น สถานะปัจจุบัน (26 มิถุนายน 2568 เวลา 20.00 น.) PEA ยังมิได้ดำเนินการงดจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ราชอาณาจักรกัมพูชาแต่อย่างใด ทั้งนี้จากข้อมูล
    การตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าตามจุดซื้อขายทั้ง 8 จุด นั้น ราชอาณาจักรกัมพูชา มิได้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจาก PEA โดยมีหน่วยการใช้ไฟฟ้าเป็น 0 ทั้ง 8 จุดซื้อขายไฟฟ้า ดังนี้

    1.เทศบาลบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว → อำเภอปอยเปตจังหวัดบันเตียเมียนเจย วงจรที่ 1 และ วงจรที่ 2
    2. อำเภอกาบเชิง (ช่องจอม) จังหวัดสุรินทร์ → บ้านโอเสม็ด จังหวัดอุดรมีชัย
    3. บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด → บ้านหาดทรายยาว จังหวัดเกาะกง
    4. บ้านซับตารี อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี → อำเภอพนมปรึก จังหวัดพระตะบอง
    5. บ้านสวนส้ม อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี → บ้านโอลั๊ว อำเภอกร็อมเรียง จังหวัดพระตะบอง
    6. บ้านเขาดิน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว → อำเภอสำเภาลูน จังหวัดพระตะบอง
    7. บ้านแหลม อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี → อำเภอกร็อมเรียง จังหวัดพระตะบอง
    8. บ้านหนองปรือ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว → อำเภอมาลัย จังหวัดบันเตียเมียนเจย

    สำหรับเงื่อนไขการงดจำหน่ายไฟฟ้าและยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้า PEA สามารถดำเนินการได้ดังนี้
    1. คู่สัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือตัวแทนรัฐ (สถานทูตกัมพูชา รัฐกัมพูชา) ทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและงดจำหน่ายไฟฟ้า
    2. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีหนังสือแจ้ง PEAให้ดำเนินการงดจำหน่ายไฟฟ้าและยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
    3. ไม่ดำเนินการตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เช่น ไม่ชำระค่าไฟฟ้าภายในเวลาที่กำหนด หรือ หลักประกันการใช้ไฟฟ้าไม่ครบถ้วน เป็นต้น
    ตามที่เกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงบริเวณแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มีสัญญาจำหน่ายไฟฟ้าให้กับราชอาณาจักรกัมพูชาจำนวน 8 จุดซื้อขายไฟฟ้านั้น สถานะปัจจุบัน (26 มิถุนายน 2568 เวลา 20.00 น.) PEA ยังมิได้ดำเนินการงดจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ราชอาณาจักรกัมพูชาแต่อย่างใด ทั้งนี้จากข้อมูล การตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าตามจุดซื้อขายทั้ง 8 จุด นั้น ราชอาณาจักรกัมพูชา มิได้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจาก PEA โดยมีหน่วยการใช้ไฟฟ้าเป็น 0 ทั้ง 8 จุดซื้อขายไฟฟ้า ดังนี้ 1.เทศบาลบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว → อำเภอปอยเปตจังหวัดบันเตียเมียนเจย วงจรที่ 1 และ วงจรที่ 2 2. อำเภอกาบเชิง (ช่องจอม) จังหวัดสุรินทร์ → บ้านโอเสม็ด จังหวัดอุดรมีชัย 3. บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด → บ้านหาดทรายยาว จังหวัดเกาะกง 4. บ้านซับตารี อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี → อำเภอพนมปรึก จังหวัดพระตะบอง 5. บ้านสวนส้ม อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี → บ้านโอลั๊ว อำเภอกร็อมเรียง จังหวัดพระตะบอง 6. บ้านเขาดิน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว → อำเภอสำเภาลูน จังหวัดพระตะบอง 7. บ้านแหลม อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี → อำเภอกร็อมเรียง จังหวัดพระตะบอง 8. บ้านหนองปรือ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว → อำเภอมาลัย จังหวัดบันเตียเมียนเจย สำหรับเงื่อนไขการงดจำหน่ายไฟฟ้าและยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้า PEA สามารถดำเนินการได้ดังนี้ 1. คู่สัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือตัวแทนรัฐ (สถานทูตกัมพูชา รัฐกัมพูชา) ทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและงดจำหน่ายไฟฟ้า 2. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีหนังสือแจ้ง PEAให้ดำเนินการงดจำหน่ายไฟฟ้าและยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 3. ไม่ดำเนินการตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เช่น ไม่ชำระค่าไฟฟ้าภายในเวลาที่กำหนด หรือ หลักประกันการใช้ไฟฟ้าไม่ครบถ้วน เป็นต้น
    0 Comments 0 Shares 382 Views 0 Reviews
  • ปฐมบท ไทยเสียดินแดน?

    7 โมงเช้า 15 มิ.ย. พล.อ.ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ประกาศส่งจดหมายอย่างเป็นทางการถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือศาลโลก เพื่อขอแก้ไขข้อพิพาทชายแดนในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และสามเหลี่ยมมรกต อาศัยวันที่ศาลโลกตัดสินให้กัมพูชาชนะคดีปราสาทพระวิหารเมื่อ 63 ปีก่อน อ้างว่าต้องการแก้ไขข้อพิพาทชายแดนซึ่งเสี่ยงที่จะปะทะด้วยอาวุธ กลไกทวิภาคีไม่สามารถแก้ไขได้ และอ้างว่าขอความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความชัดเจนในการกำหนดเขตแดนและขอบเขตกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อที่คนรุ่นหลังจะไม่มีปัญหากันอีกต่อไป

    ขณะที่ผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) นอกจากจะอนุมัติวาระการประชุม 4 หัวข้อแล้ว นายลัม เจีย รัฐมนตรีประจำสำนักเลขาธิการกิจการชายแดน และประธานคณะกรรมาธิการชายแดนร่วมกัมพูชา ยังกล่าวว่า กัมพูชาจะนำข้อพิพาทชายแดนทั้ง 4 พื้นที่ขึ้นสู่ศาลโลก แม้ไทยจะไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลโลกก็ตาม โดยจะไม่นำมาเป็นหัวข้อในการหารือภายใต้กรอบ JBC อีกต่อไป อีกทั้งนโยบายรัฐบาลกัมพูชายังยึดถือ MOU 2543 โดยใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904 และ 1907 และไม่ยอมรับแผนที่ฝ่ายไทยวาดขึ้นเพียงฝ่ายเดียว

    ส่วนกระทรวงการต่างประเทศของไทย อ้างว่ามิได้มีการหารือในประเด็นที่กัมพูชาจะนำพื้นที่ 4 จุด เข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก โดยมิได้มีการหารือประเด็นแผนที่ 1:200,000 คณะกรรมการปักปันสยาม-อินโดจีน ตามที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างแต่อย่างใด

    พรมแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามีระยะทาง 798 กิโลเมตร ปักปันเขตแดนแล้ว 603 กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ถึงบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด รวม 73 หลัก แต่ยังไม่ปักปันเขตแดน 195 กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องสะงำ ถึงช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี กำหนดให้เป็นไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรัก แต่ไทยและกัมพูชาถือแผนที่คนละฉบับ กัมพูชาใช้แผนที่ 1:200,000 ที่มีมาตราส่วนหยาบ คลาดเคลื่อนจากเส้นสันปันน้ำจริงหลายจุด คลาดเคลื่อนหลักเขตแดนมากถึง 200 เมตร ขณะที่ไทยถือแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ที่จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร มีความละเอียดของเส้นแบ่งเขตแดนที่ชัดเจน เห็นแนวสันเขา ร่องน้ำที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางภูมิศาสตร์

    ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาทำสงครามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร กลับไม่มีท่าทีใดๆ ออกมาชัดเจน ท่ามกลางสังคมเคลือบแคลงสงสัยถึงความสัมพันธ์ลึกซึ้งระหว่างตระกูลชินวัตรกับตระกูลฮุนของกัมพูชา และความไม่ไว้วางใจของประชาชนชาวไทย ที่ประเทศไทยกำลังจะเสียดินแดนอีกครั้งต่อจากเขาพระวิหาร

    #Newskit
    ปฐมบท ไทยเสียดินแดน? 7 โมงเช้า 15 มิ.ย. พล.อ.ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ประกาศส่งจดหมายอย่างเป็นทางการถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือศาลโลก เพื่อขอแก้ไขข้อพิพาทชายแดนในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และสามเหลี่ยมมรกต อาศัยวันที่ศาลโลกตัดสินให้กัมพูชาชนะคดีปราสาทพระวิหารเมื่อ 63 ปีก่อน อ้างว่าต้องการแก้ไขข้อพิพาทชายแดนซึ่งเสี่ยงที่จะปะทะด้วยอาวุธ กลไกทวิภาคีไม่สามารถแก้ไขได้ และอ้างว่าขอความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความชัดเจนในการกำหนดเขตแดนและขอบเขตกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อที่คนรุ่นหลังจะไม่มีปัญหากันอีกต่อไป ขณะที่ผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) นอกจากจะอนุมัติวาระการประชุม 4 หัวข้อแล้ว นายลัม เจีย รัฐมนตรีประจำสำนักเลขาธิการกิจการชายแดน และประธานคณะกรรมาธิการชายแดนร่วมกัมพูชา ยังกล่าวว่า กัมพูชาจะนำข้อพิพาทชายแดนทั้ง 4 พื้นที่ขึ้นสู่ศาลโลก แม้ไทยจะไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลโลกก็ตาม โดยจะไม่นำมาเป็นหัวข้อในการหารือภายใต้กรอบ JBC อีกต่อไป อีกทั้งนโยบายรัฐบาลกัมพูชายังยึดถือ MOU 2543 โดยใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904 และ 1907 และไม่ยอมรับแผนที่ฝ่ายไทยวาดขึ้นเพียงฝ่ายเดียว ส่วนกระทรวงการต่างประเทศของไทย อ้างว่ามิได้มีการหารือในประเด็นที่กัมพูชาจะนำพื้นที่ 4 จุด เข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก โดยมิได้มีการหารือประเด็นแผนที่ 1:200,000 คณะกรรมการปักปันสยาม-อินโดจีน ตามที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างแต่อย่างใด พรมแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามีระยะทาง 798 กิโลเมตร ปักปันเขตแดนแล้ว 603 กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ถึงบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด รวม 73 หลัก แต่ยังไม่ปักปันเขตแดน 195 กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องสะงำ ถึงช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี กำหนดให้เป็นไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรัก แต่ไทยและกัมพูชาถือแผนที่คนละฉบับ กัมพูชาใช้แผนที่ 1:200,000 ที่มีมาตราส่วนหยาบ คลาดเคลื่อนจากเส้นสันปันน้ำจริงหลายจุด คลาดเคลื่อนหลักเขตแดนมากถึง 200 เมตร ขณะที่ไทยถือแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ที่จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร มีความละเอียดของเส้นแบ่งเขตแดนที่ชัดเจน เห็นแนวสันเขา ร่องน้ำที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางภูมิศาสตร์ ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาทำสงครามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร กลับไม่มีท่าทีใดๆ ออกมาชัดเจน ท่ามกลางสังคมเคลือบแคลงสงสัยถึงความสัมพันธ์ลึกซึ้งระหว่างตระกูลชินวัตรกับตระกูลฮุนของกัมพูชา และความไม่ไว้วางใจของประชาชนชาวไทย ที่ประเทศไทยกำลังจะเสียดินแดนอีกครั้งต่อจากเขาพระวิหาร #Newskit
    0 Comments 0 Shares 563 Views 0 Reviews
  • ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู

    มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม

    Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ

    มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล

    Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง)

    เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ

    เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง

    หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้

    ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง)

    เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน

    หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html
    https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html
    https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html
    https://baike.baidu.com/item/扬州市
    https://turnstone.ca/rom186be.htm

    #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง) เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้ ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง) เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html https://baike.baidu.com/item/扬州市 https://turnstone.ca/rom186be.htm #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    M.BJNEWS.COM.CN
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    0 Comments 0 Shares 1501 Views 0 Reviews
  • เรือประมงเวียดนามหันหัวพุ่งชน "เรือหลวงเทพา" กองทัพเรือพังเสียหาย หลังพยายามเข้าไปจับกุมรุกลํ้าน่านนํ้าไทยเข้ามาทำประมงนับ 10 ลำ ก่อนจับเรือได้ 1 ลำ ผู้ต้องหา 4 คน ที่เหลือหลบหนีไปได้
    .
    เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่บริเวณท่าเรืออเนกประสงค์ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เรือหลวงเทพา และเรือต.246 ลากเรือประมงต่างชาติ 1 ลำ พร้อมลูกเรือประมงจำนวน 4 คน มาเทียบท่าเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ หลังถูกจับกุมได้ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย เมื่อเช้าวันนี้ โดยมี พล.ร.ท.อาภา ชพานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1/ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 พร้อมด้วย พล.ร.ต.ไชยนันท์ ชูใหม่ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 และคณะ ร่วมให้ข้อมูลกับสื่อมวลชนที่มาติดตามสถานการณ์
    .
    พล.ร.ท.อาภา เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 (ศรชล.ภาค 1) บูรณาการร่วมกับ ทัพเรือภาคที่ 1 (ทรภ.1) กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.) หมวดเรือลาดตระเวนชายแดน (มชด.) รวมถึงการประสานงานด้านการข่าวร่วมกับ กรมข่าวทหารเรือ (ขว.ทร.) จากการปฏิบัติการด้านการข่าวนำไปสู่การจับกุมเรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้าทำการประมงในเขตน่านน้ำไทยจำนวน 1 ลำ
    .
    โดยเมื่อ 24 ก.พ. ได้รับแจ้งจากแหล่งข่าว กรณีตรวจพบเรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้ามาทำการประมงในเขตน่านน้ำไทย โดยตรวจพบเป็นกลุ่มเรือประมงต่างชาติ จำนวนประมาณ 10 ลำ ประกอบด้วยเรือประมงลากคู่ เรืออวนล้อม และเรือไดปั่นไฟ เข้ามาทำการประมงอยู่ในน่านน้ำไทย บริเวณพิกัด ละติจูด 11 องศา 06 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 26 ลิปดาตะวันออก ลงไปจนถึง ละติจูด 10 องศา 58 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 25 ลิปดาตะวันออก อย่างต่อเนื่อง และมีพฤติการณ์รุกล้ำเข้ามาทำประมงในห้วงเวลากลางคืนในพื้นที่ดังกล่าว และจะออกจากพื้นที่วิ่งลงใต้ไปจอดพักคอยในเวลากลางวัน เพื่อรอทำการประมงในห้วงกลางคืนของทุกวัน
    .
    จากปัจจัยพื้นที่และเวลา ศรชล.ภาค 1 จึงขอรับการสนับสนุนเรือในบัญชีกำลัง ศรชล.ภาค 1 จาก กปช.จต. โดยเป็นเรือใน มชด./1 และอากาศยานจาก มวบ.กปก.ทรภ.1 ในการตรวจสอบในพื้นที่และกลุ่มเรือประมงดังกล่าว ซึ่ง กปช.จต. ให้การสนับสนุน ร.ล.เทพา และ เรือ ต.264 พร้อมด้วย ทรภ.1 จัด บ.ตช.1 สนับสนุน ศรชล.ภาค 1 และผลการปฏิบัติ จับกุมเรือประมงต่างชาติ ได้จำนวน 1 ลำ พร้อม ลูกเรือจำนวน 4 คน ส่วนที่เหลือเร่งเครื่องและหันทิศทางหนีออกนอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทยไปได้
    .
    พล.ร.ท.อาภา ตอบคำถามสื่อมวลชนเพิ่มเติมกรณีที่มีเรือประมงเวียดนามทำการชนเรือหลวงเทพา ว่า ระหว่างทำการจับกุมนั้น เรือประมงเวียดนามหลายลำได้เร่งเครื่องยนต์และหลบหนีไปนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่มีเรือประมงเวียดนามอีกลำที่หลบหนีไม่ทัน ได้หันหัวเรือพุ่งเข้าชนเรือหลวงเทพาที่บริเวณด้านข้างเรือด้านขวา ทำให้ยุบไปส่วนหนึ่ง แต่ไม่มากนัก แต่สุดท้ายถูกจับได้พร้อมลูกเรือ 4 คน ส่วนก่อนการจับกุมได้ทำการยิงปืนเอ็ม 16 ขู่ เพื่อให้หยุดการหลบหนี ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการตามหลักสากล
    .
    ทั้งนี้ ทางกองทัพเรือจะดำเนินการอย่างเข้มงวดต่อไป โดยก่อนหน้านี้ เรือประมงเวียดนามได้เข้ามาลักลอบทำประมงในเขตน่านน้ำไทยบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ทัพเรือภาค 2 หรืออ่าวไทยตอนล่าง ซึ่งได้มีการจับกุมบ่อยครั้ง และครั้งนี้ ได้เข้ามายังพื้นที่ทัพเรือภาค 1 ซึ่งเหนือขึ้นมา และครั้งนี้ เป็นครั้งแรกในปี 2568 ที่มีการจับกุมได้ของพื้นที่ทัพเรือภาค 1 ทั้งนี้ ทางกองทัพเรือจะได้ทำหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศให้ประสานไปยังรัฐบาลเวียดนามในการดูแลในเรื่องนี้ต่อไป
    .
    สุดท้ายศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 ขอขอบคุณพี่น้องชาวประมง ในความร่วมมือที่ได้แจ้งเบาะแสของเรือที่กระทำความผิด และขอให้ความมั่นใจกับพี่น้องประชาชนและชาวประมงไทยว่า “ในพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 นั้น เราจะปกป้อง และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มความสามารถ โดยมิยอมให้เรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรในการทำการประมงเป็นอันขาด ทั้งนี้เพื่อให้ทรัพยากรของประเทศไทย คงอยู่กับลูกหลานของคนไทย”
    ---------
    ที่มา : เดลินิวส์
    ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/4436420/
    เรือประมงเวียดนามหันหัวพุ่งชน "เรือหลวงเทพา" กองทัพเรือพังเสียหาย หลังพยายามเข้าไปจับกุมรุกลํ้าน่านนํ้าไทยเข้ามาทำประมงนับ 10 ลำ ก่อนจับเรือได้ 1 ลำ ผู้ต้องหา 4 คน ที่เหลือหลบหนีไปได้ . เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่บริเวณท่าเรืออเนกประสงค์ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เรือหลวงเทพา และเรือต.246 ลากเรือประมงต่างชาติ 1 ลำ พร้อมลูกเรือประมงจำนวน 4 คน มาเทียบท่าเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ หลังถูกจับกุมได้ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย เมื่อเช้าวันนี้ โดยมี พล.ร.ท.อาภา ชพานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1/ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 พร้อมด้วย พล.ร.ต.ไชยนันท์ ชูใหม่ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 และคณะ ร่วมให้ข้อมูลกับสื่อมวลชนที่มาติดตามสถานการณ์ . พล.ร.ท.อาภา เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 (ศรชล.ภาค 1) บูรณาการร่วมกับ ทัพเรือภาคที่ 1 (ทรภ.1) กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.) หมวดเรือลาดตระเวนชายแดน (มชด.) รวมถึงการประสานงานด้านการข่าวร่วมกับ กรมข่าวทหารเรือ (ขว.ทร.) จากการปฏิบัติการด้านการข่าวนำไปสู่การจับกุมเรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้าทำการประมงในเขตน่านน้ำไทยจำนวน 1 ลำ . โดยเมื่อ 24 ก.พ. ได้รับแจ้งจากแหล่งข่าว กรณีตรวจพบเรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้ามาทำการประมงในเขตน่านน้ำไทย โดยตรวจพบเป็นกลุ่มเรือประมงต่างชาติ จำนวนประมาณ 10 ลำ ประกอบด้วยเรือประมงลากคู่ เรืออวนล้อม และเรือไดปั่นไฟ เข้ามาทำการประมงอยู่ในน่านน้ำไทย บริเวณพิกัด ละติจูด 11 องศา 06 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 26 ลิปดาตะวันออก ลงไปจนถึง ละติจูด 10 องศา 58 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 25 ลิปดาตะวันออก อย่างต่อเนื่อง และมีพฤติการณ์รุกล้ำเข้ามาทำประมงในห้วงเวลากลางคืนในพื้นที่ดังกล่าว และจะออกจากพื้นที่วิ่งลงใต้ไปจอดพักคอยในเวลากลางวัน เพื่อรอทำการประมงในห้วงกลางคืนของทุกวัน . จากปัจจัยพื้นที่และเวลา ศรชล.ภาค 1 จึงขอรับการสนับสนุนเรือในบัญชีกำลัง ศรชล.ภาค 1 จาก กปช.จต. โดยเป็นเรือใน มชด./1 และอากาศยานจาก มวบ.กปก.ทรภ.1 ในการตรวจสอบในพื้นที่และกลุ่มเรือประมงดังกล่าว ซึ่ง กปช.จต. ให้การสนับสนุน ร.ล.เทพา และ เรือ ต.264 พร้อมด้วย ทรภ.1 จัด บ.ตช.1 สนับสนุน ศรชล.ภาค 1 และผลการปฏิบัติ จับกุมเรือประมงต่างชาติ ได้จำนวน 1 ลำ พร้อม ลูกเรือจำนวน 4 คน ส่วนที่เหลือเร่งเครื่องและหันทิศทางหนีออกนอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทยไปได้ . พล.ร.ท.อาภา ตอบคำถามสื่อมวลชนเพิ่มเติมกรณีที่มีเรือประมงเวียดนามทำการชนเรือหลวงเทพา ว่า ระหว่างทำการจับกุมนั้น เรือประมงเวียดนามหลายลำได้เร่งเครื่องยนต์และหลบหนีไปนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่มีเรือประมงเวียดนามอีกลำที่หลบหนีไม่ทัน ได้หันหัวเรือพุ่งเข้าชนเรือหลวงเทพาที่บริเวณด้านข้างเรือด้านขวา ทำให้ยุบไปส่วนหนึ่ง แต่ไม่มากนัก แต่สุดท้ายถูกจับได้พร้อมลูกเรือ 4 คน ส่วนก่อนการจับกุมได้ทำการยิงปืนเอ็ม 16 ขู่ เพื่อให้หยุดการหลบหนี ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการตามหลักสากล . ทั้งนี้ ทางกองทัพเรือจะดำเนินการอย่างเข้มงวดต่อไป โดยก่อนหน้านี้ เรือประมงเวียดนามได้เข้ามาลักลอบทำประมงในเขตน่านน้ำไทยบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ทัพเรือภาค 2 หรืออ่าวไทยตอนล่าง ซึ่งได้มีการจับกุมบ่อยครั้ง และครั้งนี้ ได้เข้ามายังพื้นที่ทัพเรือภาค 1 ซึ่งเหนือขึ้นมา และครั้งนี้ เป็นครั้งแรกในปี 2568 ที่มีการจับกุมได้ของพื้นที่ทัพเรือภาค 1 ทั้งนี้ ทางกองทัพเรือจะได้ทำหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศให้ประสานไปยังรัฐบาลเวียดนามในการดูแลในเรื่องนี้ต่อไป . สุดท้ายศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 ขอขอบคุณพี่น้องชาวประมง ในความร่วมมือที่ได้แจ้งเบาะแสของเรือที่กระทำความผิด และขอให้ความมั่นใจกับพี่น้องประชาชนและชาวประมงไทยว่า “ในพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 นั้น เราจะปกป้อง และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มความสามารถ โดยมิยอมให้เรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรในการทำการประมงเป็นอันขาด ทั้งนี้เพื่อให้ทรัพยากรของประเทศไทย คงอยู่กับลูกหลานของคนไทย” --------- ที่มา : เดลินิวส์ ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/4436420/
    0 Comments 0 Shares 846 Views 0 Reviews
  • เมืองลั่วหยางสมัยราชวงศ์ถัง

    สืบเนื่องจาก Storyฯ ได้คุยถึงผังเมืองของนครฉางอันไปเมื่อก่อนปีใหม่ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02cQKRgfWrxcLutCyxbav8Gf7oz28wFuamLUEMyAg6ZGgK1FC6zJZJtCkiwG45Nrvnl) มีเพื่อนเพจถามถึงเมืองลั่วหยาง Storyฯ เลยไปหาข้อมูลมาสรุปให้ฟังกันในวันนี้

    เมืองลั่วหยางเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของหลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เดียวกันตลอดทุกยุคทุกสมัย (ดูรูปประกอบ 2 ซ้าย) และสถานะของเมืองก็แตกต่างไปตามยุคสมัยอีกด้วย

    เมืองลั่วหยางในสมัยถังแรกเริ่มเป็นเมืองหลวงรองเรียกว่านครตะวันออก (ตงตู / 东都) โดยมีนครฉางอันเป็นเมืองหลวงหลัก และตลอดยุคสมัยราชวงศ์ถังนี้เอง สถานะของลั่วหยางผันแปรไปมา ในบางรัชสมัยก็ขึ้นเป็นเมืองหลวงหลักเทียบเท่าฉางอัน ในบางรัชสมัยเป็นเมืองหลวงรอง และในสมัยของพระนางบูเช็คเทียน ลั่วหยางมีสถานะเป็นเมืองหลวงหลักในขณะที่ฉางอันกลายเป็นเมืองหลวงรอง โดยในสมัยของพระนางบูเช็คเทียนนั้น ลั่วหยางถูกเรียกว่า ‘เสินตู’ (神都 แปลตรงตัวว่าเทพนคร ... อ๊ะ... ที่แท้ก็ความหมายเดียวกับกรุงเทพฯ ของเรา!) แต่หลังจากนั้นสถานะของเมืองลั่วหยางก็แปรเปลี่ยนไปมาระหว่างเมืองหลวงหลักและเมืองหลวงรองอีกหลายครั้ง จนในปลายสมัยถัง ฉางอันถูกโจมตีเสียหายมาก ลั่วหยางจึงถูกใช้เป็นเมืองหลวงหลักจนสิ้นราชวงศ์ถังในปีค.ศ. 907 แต่หลังจากนั้นมาลั่วหยางก็ไม่เคยเป็นเมืองหลวงหลักของจีนอีกเลย

    เมืองลั่วหยางในสมัยถังมีขนาดประมาณ 7.3 x 7 กิโลเมตร ถนนที่นี่ไม่ใหญ่เท่าที่ฉางอัน ถนนใหญ่กว้าง 40-60 เมตร (เล็กกว่าถนนจูเชวี่ยที่ฉางอัน แต่ก็เทียบเท่าประมาณ 13-20 เลนแล้ว!) ถนนเล็กกว้างประมาณ 10 เมตร พื้นที่ถูกแบ่งเป็นเขตฟางเช่นเดียวกับนครฉางอัน มีทั้งสิ้น 103 เขตฟาง กว้างยาวเขตฟางละประมาณ 500-600 เมตร มีกำแพงและประตูเข้าออกของตนเองเหมือนกับที่ฉางอัน เขตที่อยู่อาศัยของเมืองลั่วหยางแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือโซนเหนือแม่น้ำลั่ว โซนใต้แม่น้ำลั่ว และโซนตะวันตก ในแต่ละโซนมีตลาดของมันเอง (ดูรูปประกอบ 2 ขวา) แม้ว่าจำนวนเขตฟางจะน้อยกว่านครฉางอัน แต่เมืองลั่วหยางก็แออัดใช่ย่อย... มันเคยมีประชากรสูงถึงกว่าสองล้านคน และเพราะมันตั้งอยู่บนแม่น้ำลั่ว อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) อีกทั้งมีคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอ และเส้นทางบกหลายสายผ่านแนวเขาที่จัดว่าไม่สูงชัน เส้นทางคมนาคมจึงเอื้อต่อการขนส่ง ที่นี่จึงเป็นเมืองที่การค้าขายเจริญคึกคักนัก ว่ากันว่าตลาดใต้ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเมืองนั้น มีกว่า 3,000 ร้านค้าเลยทีเดียว

    เมืองลั่วหยางถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีฮวงจุ้ยดีที่สุดของจีน Storyฯ ก็ไม่เชี่ยวชาญศาสตร์แขนงนี้ แต่พอจะสรุปจากข้อมูลที่หาได้ว่า เป็นเพราะมันตั้งอยู่บนหนึ่งในสามมังกรที่ใหญ่ที่สุดของแผ่นดินจีนตามแนวเทือกเขาและแม่น้ำสายหลัก หรือที่จีนเรียกว่า ‘หลงม่าย’ (龙脉 แปลว่าชีพจรหรือเส้นเอ็นมังกร ไม่ใช่หลงใหลในแม่ม่ายนะจ๊ะ) ซึ่งในหลากหลายตำราอาจพูดถึงจำนวนมังกรที่แตกต่างกันไปและอาจมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงมังกรสามสายหลักที่เริ่มจากเขาคุนลุ้นทางตะวันตกมุ่งหน้าสู่ทะเลทางทิศตะวันออก (ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) เมืองลั่วหยางตั้งอยู่บนมังกรตัวกลาง ซึ่งตามศาสตร์ฮวงจุ้ย มังกรจะช่วยเสริมดวง เสริมทรัพย์และปกปักษ์รักษาให้แคล้วคลาดปลอดภัย

    นอกจากนี้ มันตั้งอยู่บนพื้นที่ราบที่โอบล้อมด้วยแม่น้ำเหลือง แม่น้ำลั่วและแม่น้ำอื่นๆ รวม 5 สาย ด้านเหนือของเมืองคือแนวเขาหมางซาน ด้านอื่นๆ มีภูเขาเช่นกัน มีลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ขุมทรัพย์ และในความเป็นจริง เมืองลั่วหยางอุดมสมบูรณ์ไม่ค่อยประสบภัยธรรมชาติ เพียงแต่แรกเริ่มถูกมองว่าชัยภูมิไม่เหมาะต่อการใช้เป็นเมืองหลวงเนื่องจากง่ายต่อการโจมตี ภายหลังจึงมีการสร้างด่านต่างๆ นอกเมืองขึ้นมารวม 8 ด่านเพื่อแก้จุดนี้ (ดูรูปประกอบ 3 ขวา)

    อนึ่ง เขาหมางซานทางทิศเหนือของเมืองลั่วหยางนี้ ว่ากันว่าเป็นภูเขาที่มีฮวงจุ้ยที่ดีที่สุดจนถึงกับมีวลีโบราณที่ว่า “ยามเป็นควรอยู่ในซูหาง (คือซูโจวและหางโจว) ยามตายควรฝังที่หมางซาน” จริงไม่จริงไม่ทราบ... แต่ที่แน่ๆ บนหมางซานมีสุสานกษัตริย์โบราณที่ขุดพบแล้วถึง 24 หลุมจาก 6 ราชวงศ์ ไม่นับสุสานของเชื้อพระวงศ์ ขุนนางระดับสูงและคนดังในอดีตอีกหลายคน

    จริงๆ ในตำราฮวงจุ้ยมีบรรยายละเอียดกว่านี้ถึงข้อดีของที่ตั้งของเมืองลั่วหยาง แต่ Storyฯ ไม่สามารถเก็บรายละเอียดมาได้หมด เพื่อนเพจที่มีความรู้เรื่องนี้ขอเชิญเข้ามาแบ่งปันความรู้ได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://xinzhuobu.com/?p=4593
    http://www.xinhuanet.com/ent/20211209/11730dc352064a5e8c743656fad3dc44/c.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/442706959
    https://www.mdpi.com/2073-445X/12/3/663
    http://www.kaogu.cn/cn/kaoguyuandi/kaogubaike/2015/0316/49566.html
    http://www.zhlscm.com/news/?49_3719.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/420714890
    http://wwj.ly.gov.cn/bencandy.php?fid=125&id=13457#:~:text=隋朝,581年隋,为首都,两京并重。
    https://en.chinaculture.org/library/2008-02/15/content_33624.htm
    https://www.sohu.com/a/515579803_422134
    https://news.lyd.com.cn/system/2020/08/25/031785380.shtml

    #ตำนานลั่วหยาง #เมืองลั่วหยาง #มังกรจีน #ฮวงจุ้ยเมืองลั่วหยาง
    เมืองลั่วหยางสมัยราชวงศ์ถัง สืบเนื่องจาก Storyฯ ได้คุยถึงผังเมืองของนครฉางอันไปเมื่อก่อนปีใหม่ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02cQKRgfWrxcLutCyxbav8Gf7oz28wFuamLUEMyAg6ZGgK1FC6zJZJtCkiwG45Nrvnl) มีเพื่อนเพจถามถึงเมืองลั่วหยาง Storyฯ เลยไปหาข้อมูลมาสรุปให้ฟังกันในวันนี้ เมืองลั่วหยางเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของหลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เดียวกันตลอดทุกยุคทุกสมัย (ดูรูปประกอบ 2 ซ้าย) และสถานะของเมืองก็แตกต่างไปตามยุคสมัยอีกด้วย เมืองลั่วหยางในสมัยถังแรกเริ่มเป็นเมืองหลวงรองเรียกว่านครตะวันออก (ตงตู / 东都) โดยมีนครฉางอันเป็นเมืองหลวงหลัก และตลอดยุคสมัยราชวงศ์ถังนี้เอง สถานะของลั่วหยางผันแปรไปมา ในบางรัชสมัยก็ขึ้นเป็นเมืองหลวงหลักเทียบเท่าฉางอัน ในบางรัชสมัยเป็นเมืองหลวงรอง และในสมัยของพระนางบูเช็คเทียน ลั่วหยางมีสถานะเป็นเมืองหลวงหลักในขณะที่ฉางอันกลายเป็นเมืองหลวงรอง โดยในสมัยของพระนางบูเช็คเทียนนั้น ลั่วหยางถูกเรียกว่า ‘เสินตู’ (神都 แปลตรงตัวว่าเทพนคร ... อ๊ะ... ที่แท้ก็ความหมายเดียวกับกรุงเทพฯ ของเรา!) แต่หลังจากนั้นสถานะของเมืองลั่วหยางก็แปรเปลี่ยนไปมาระหว่างเมืองหลวงหลักและเมืองหลวงรองอีกหลายครั้ง จนในปลายสมัยถัง ฉางอันถูกโจมตีเสียหายมาก ลั่วหยางจึงถูกใช้เป็นเมืองหลวงหลักจนสิ้นราชวงศ์ถังในปีค.ศ. 907 แต่หลังจากนั้นมาลั่วหยางก็ไม่เคยเป็นเมืองหลวงหลักของจีนอีกเลย เมืองลั่วหยางในสมัยถังมีขนาดประมาณ 7.3 x 7 กิโลเมตร ถนนที่นี่ไม่ใหญ่เท่าที่ฉางอัน ถนนใหญ่กว้าง 40-60 เมตร (เล็กกว่าถนนจูเชวี่ยที่ฉางอัน แต่ก็เทียบเท่าประมาณ 13-20 เลนแล้ว!) ถนนเล็กกว้างประมาณ 10 เมตร พื้นที่ถูกแบ่งเป็นเขตฟางเช่นเดียวกับนครฉางอัน มีทั้งสิ้น 103 เขตฟาง กว้างยาวเขตฟางละประมาณ 500-600 เมตร มีกำแพงและประตูเข้าออกของตนเองเหมือนกับที่ฉางอัน เขตที่อยู่อาศัยของเมืองลั่วหยางแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือโซนเหนือแม่น้ำลั่ว โซนใต้แม่น้ำลั่ว และโซนตะวันตก ในแต่ละโซนมีตลาดของมันเอง (ดูรูปประกอบ 2 ขวา) แม้ว่าจำนวนเขตฟางจะน้อยกว่านครฉางอัน แต่เมืองลั่วหยางก็แออัดใช่ย่อย... มันเคยมีประชากรสูงถึงกว่าสองล้านคน และเพราะมันตั้งอยู่บนแม่น้ำลั่ว อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) อีกทั้งมีคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอ และเส้นทางบกหลายสายผ่านแนวเขาที่จัดว่าไม่สูงชัน เส้นทางคมนาคมจึงเอื้อต่อการขนส่ง ที่นี่จึงเป็นเมืองที่การค้าขายเจริญคึกคักนัก ว่ากันว่าตลาดใต้ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเมืองนั้น มีกว่า 3,000 ร้านค้าเลยทีเดียว เมืองลั่วหยางถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีฮวงจุ้ยดีที่สุดของจีน Storyฯ ก็ไม่เชี่ยวชาญศาสตร์แขนงนี้ แต่พอจะสรุปจากข้อมูลที่หาได้ว่า เป็นเพราะมันตั้งอยู่บนหนึ่งในสามมังกรที่ใหญ่ที่สุดของแผ่นดินจีนตามแนวเทือกเขาและแม่น้ำสายหลัก หรือที่จีนเรียกว่า ‘หลงม่าย’ (龙脉 แปลว่าชีพจรหรือเส้นเอ็นมังกร ไม่ใช่หลงใหลในแม่ม่ายนะจ๊ะ) ซึ่งในหลากหลายตำราอาจพูดถึงจำนวนมังกรที่แตกต่างกันไปและอาจมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงมังกรสามสายหลักที่เริ่มจากเขาคุนลุ้นทางตะวันตกมุ่งหน้าสู่ทะเลทางทิศตะวันออก (ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) เมืองลั่วหยางตั้งอยู่บนมังกรตัวกลาง ซึ่งตามศาสตร์ฮวงจุ้ย มังกรจะช่วยเสริมดวง เสริมทรัพย์และปกปักษ์รักษาให้แคล้วคลาดปลอดภัย นอกจากนี้ มันตั้งอยู่บนพื้นที่ราบที่โอบล้อมด้วยแม่น้ำเหลือง แม่น้ำลั่วและแม่น้ำอื่นๆ รวม 5 สาย ด้านเหนือของเมืองคือแนวเขาหมางซาน ด้านอื่นๆ มีภูเขาเช่นกัน มีลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ขุมทรัพย์ และในความเป็นจริง เมืองลั่วหยางอุดมสมบูรณ์ไม่ค่อยประสบภัยธรรมชาติ เพียงแต่แรกเริ่มถูกมองว่าชัยภูมิไม่เหมาะต่อการใช้เป็นเมืองหลวงเนื่องจากง่ายต่อการโจมตี ภายหลังจึงมีการสร้างด่านต่างๆ นอกเมืองขึ้นมารวม 8 ด่านเพื่อแก้จุดนี้ (ดูรูปประกอบ 3 ขวา) อนึ่ง เขาหมางซานทางทิศเหนือของเมืองลั่วหยางนี้ ว่ากันว่าเป็นภูเขาที่มีฮวงจุ้ยที่ดีที่สุดจนถึงกับมีวลีโบราณที่ว่า “ยามเป็นควรอยู่ในซูหาง (คือซูโจวและหางโจว) ยามตายควรฝังที่หมางซาน” จริงไม่จริงไม่ทราบ... แต่ที่แน่ๆ บนหมางซานมีสุสานกษัตริย์โบราณที่ขุดพบแล้วถึง 24 หลุมจาก 6 ราชวงศ์ ไม่นับสุสานของเชื้อพระวงศ์ ขุนนางระดับสูงและคนดังในอดีตอีกหลายคน จริงๆ ในตำราฮวงจุ้ยมีบรรยายละเอียดกว่านี้ถึงข้อดีของที่ตั้งของเมืองลั่วหยาง แต่ Storyฯ ไม่สามารถเก็บรายละเอียดมาได้หมด เพื่อนเพจที่มีความรู้เรื่องนี้ขอเชิญเข้ามาแบ่งปันความรู้ได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: https://xinzhuobu.com/?p=4593 http://www.xinhuanet.com/ent/20211209/11730dc352064a5e8c743656fad3dc44/c.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/442706959 https://www.mdpi.com/2073-445X/12/3/663 http://www.kaogu.cn/cn/kaoguyuandi/kaogubaike/2015/0316/49566.html http://www.zhlscm.com/news/?49_3719.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/420714890 http://wwj.ly.gov.cn/bencandy.php?fid=125&id=13457#:~:text=隋朝,581年隋,为首都,两京并重。 https://en.chinaculture.org/library/2008-02/15/content_33624.htm https://www.sohu.com/a/515579803_422134 https://news.lyd.com.cn/system/2020/08/25/031785380.shtml #ตำนานลั่วหยาง #เมืองลั่วหยาง #มังกรจีน #ฮวงจุ้ยเมืองลั่วหยาง
    0 Comments 0 Shares 1166 Views 0 Reviews
  • โยวโจวคือสถานที่ใด?

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เพิ่งอ่านนวนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จบไป (ชอบมาก คุณธรรมน้ำมิตรดี แนะนำ!) แต่ยังไม่มีเวลาดูซีรีส์ ก็ไม่แน่ใจว่ามีการดัดแปลงเนื้อหาไปจากนิยายต้นฉบับมากน้อยแค่ไหน

    เนื่องจากมีหลายเหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ ‘โยวโจว’ (幽州) จึงเกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่ามันคือสถานที่ใด เพราะชื่อนี้ปรากฏบ่อยมากในนิยายและซีรีส์จีนโบราณหลายเรื่องที่มีฉากสู้รบ (ใครคุ้นหูคุ้นตาจากเรื่องอะไรมาเม้นท์บอกกันได้) Storyฯ เลยไปทำการบ้านมาเล่าสู่กันฟัง

    ‘โจว’ ปัจจุบันใช้เรียกทวีป เช่น ย่าโจว คือทวีปเอเชีย แต่ในสมัยจีนโบราณ โจวเป็นการเรียกเขตพื้นที่ แต่ขนาดและอำนาจการปกครองของมันแตกต่างกันไป แรกเริ่มเลยมันเป็นเพียงการแบ่งพื้นที่ ไม่ได้มีอำนาจการปกครอง ในสมัยฉินมีการกล่าวถึงเก้าโจว แต่จากบันทึกโบราณพบว่าชื่อเรียกของเก้าโจวนี้แตกต่างกันไป ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพิ่มเป็นสิบสามโจว มีอำนาจการปกครองท้องถิ่น นับเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด หากต้องใช้คำไทย Storyฯ คิดว่า ‘มณฑล’ น่าจะเป็นคำที่ใกล้เคียงที่สุด ถัดจากโจวคือจวิ้น (郡) แล้วก็เป็นเซี่ยน (县)

    สิบสามมณฑลนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ดูได้ในรูปประกอบ 2 (ขวา) โยวโจวคือเขตพื้นที่สีเหลืองและหยางโจว (บ้านเดิมของพระเอกและนางเอกในเรื่อง) คือพื้นที่สีม่วง เห็นแล้วเพื่อนเพจคงได้อรรถรสของความยากลำบากและระยะทางของการเดินทางที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย/ละครเรื่องนี้กัน

    <สยบรักจอมเสเพล> ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่เกิดในสมัยฮั่น มันเป็นยุคสมัยสมมุติและราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากเหตุการณ์ต่างๆ และสไตล์การแต่งกายในละครแล้ว เทียบใกล้เคียงกับช่วงปลายสมัยห้าราชวงศ์สิบรัฐที่แม่ทัพใหญ่ระดับเจี๋ยตู้สื่อมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครองและการทหารในพื้นที่ของตนและช่วงชิงดินแดนกัน (เริ่มมีตำแหน่งนี้ในสมัยถัง) และเลียนแบบเหตุการณ์สวมอาภรณ์สีเหลืองตั้งตนเป็นฮ่องเต้อันเป็นตำนานของจ้าวควงอิ้นเมื่อครั้งสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง มีการกล่าวถึงแม่น้ำฮวงโห เขตเปี้ยนเหลียงและเมืองหลวงที่ชื่อว่าตงตู ซึ่งอาจเป็นชื่อสมมุติของเมืองตงจิง (เปี้ยนเหลียงหรือไคเฟิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือ) หรืออาจหมายถึงเมืองลั่วหยางซึ่งเป็นตงตูหรือนครตะวันออกสมัยถัง (หมายเหตุ ‘จิง’ ‘ตู’ และ ‘เฉิง’ ล้วนแปลว่านครหรือเมือง)

    แต่... แม้ว่าเหตุการณ์ในละคร/นิยายจะใกล้เคียงกับช่วงต้นราชวงศ์ซ่ง ทว่าการเรียกเขตพื้นที่การปกครองต่างๆ ยังอิงตามสิบสามมณฑลสมัยฮั่น เพราะในสมัยซ่งเหนือ โยวโจวไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของซ่ง แต่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์เหลียว และมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไป (ดูแผนที่โดยคร่าวในรูปประกอบ 1)

    หน้าตาแผนที่ของจีนเปลี่ยนไปในแต่ละสมัย การแบ่งเขตปกครองและชื่อเรียกก็ย่อมแตกต่างกันไป โยวโจวในสมัยฮั่นนั้น ต่อมาถูกเรียกเป็นเยียนเป่ยในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจัวจวิ้นในสมัยสุย กลับมาเป็นโยวโจวในสมัยถัง ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่ออีกเป็นฟ่านหยางจวิ้นในสมัยถังกลาง หลังจากนั้นกลับมาเป็นโยวโจวแล้วจัวโจว ในสมัยเหลียว/ซ่งกลายเป็นเขตปกครองสิบหกเขตย่อยเรียกว่าโยวอวิ๋นหรือเยียนอวิ๋น หลังจากนั้นเขตการปกครองก็เปลี่ยนไปอีก และชื่อ ‘โยวโจว’ ก็หายไปจากแผนที่จีน

    แต่มันไม่ได้หายไปไหน ศูนย์การปกครองของโยวโจวในสมัยโบราณคือเมืองโยวตู (หรือในสมัยสุยคือจัวตู) ซึ่งก็คือกรุงปักกิ่งในปัจจุบันนั่นเอง

    โยวตูในสมัยก่อนเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นศูนย์กลางการปกครองของมณฑลโยวโจว ซึ่งเป็นฐานกำลังทหารรักษาชายแดนที่สำคัญ ในสมัยถังนั้น เจี๋ยตู้สื่อแห่งโยวโจวมีอำนาจการปกครองและจำนวนกองทัพในมือมากที่สุดในบรรดาเจี๋ยตู้สื่อทั้งหมด จึงไม่แปลกที่จะมีนิยายเกี่ยวกับการรบและการแย่งชิงกำลังทหารกันที่โยวโจว นอกจากนี้ โยวตูยังเป็นเมืองปลายทางเมืองหนึ่งของคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุย จึงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมและการค้าขายในภาคเหนือของจีน พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์การเกษตรธัญพืชที่สำคัญ ไม่เพียงมีปริมาณผลผลิตเพียงพอสำหรับประชากรในโยวโจวเอง หากแต่ยังส่งออกโดยผ่านต้าอวิ้นเหอไปขายเป็นเสบียงยังพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ดังเช่นที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g44250708/destined/
    https://kknews.cc/history/l8r6qvg.html
    https://www.artsmia.org/art-of-asia/history/maps.cfm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/幽州/1049370
    https://zh.wikipedia.org/wiki/北京历史
    https://www.sohu.com/a/674479826_121180648
    https://www.sohu.com/a/277568460_628936

    #สยบรักจอมเสเพล #โยวโจว #โยวตู #สิบสามมณฑล #ปักกิ่ง
    โยวโจวคือสถานที่ใด? สวัสดีค่ะ Storyฯ เพิ่งอ่านนวนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จบไป (ชอบมาก คุณธรรมน้ำมิตรดี แนะนำ!) แต่ยังไม่มีเวลาดูซีรีส์ ก็ไม่แน่ใจว่ามีการดัดแปลงเนื้อหาไปจากนิยายต้นฉบับมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากมีหลายเหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ ‘โยวโจว’ (幽州) จึงเกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่ามันคือสถานที่ใด เพราะชื่อนี้ปรากฏบ่อยมากในนิยายและซีรีส์จีนโบราณหลายเรื่องที่มีฉากสู้รบ (ใครคุ้นหูคุ้นตาจากเรื่องอะไรมาเม้นท์บอกกันได้) Storyฯ เลยไปทำการบ้านมาเล่าสู่กันฟัง ‘โจว’ ปัจจุบันใช้เรียกทวีป เช่น ย่าโจว คือทวีปเอเชีย แต่ในสมัยจีนโบราณ โจวเป็นการเรียกเขตพื้นที่ แต่ขนาดและอำนาจการปกครองของมันแตกต่างกันไป แรกเริ่มเลยมันเป็นเพียงการแบ่งพื้นที่ ไม่ได้มีอำนาจการปกครอง ในสมัยฉินมีการกล่าวถึงเก้าโจว แต่จากบันทึกโบราณพบว่าชื่อเรียกของเก้าโจวนี้แตกต่างกันไป ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพิ่มเป็นสิบสามโจว มีอำนาจการปกครองท้องถิ่น นับเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด หากต้องใช้คำไทย Storyฯ คิดว่า ‘มณฑล’ น่าจะเป็นคำที่ใกล้เคียงที่สุด ถัดจากโจวคือจวิ้น (郡) แล้วก็เป็นเซี่ยน (县) สิบสามมณฑลนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ดูได้ในรูปประกอบ 2 (ขวา) โยวโจวคือเขตพื้นที่สีเหลืองและหยางโจว (บ้านเดิมของพระเอกและนางเอกในเรื่อง) คือพื้นที่สีม่วง เห็นแล้วเพื่อนเพจคงได้อรรถรสของความยากลำบากและระยะทางของการเดินทางที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย/ละครเรื่องนี้กัน <สยบรักจอมเสเพล> ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่เกิดในสมัยฮั่น มันเป็นยุคสมัยสมมุติและราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากเหตุการณ์ต่างๆ และสไตล์การแต่งกายในละครแล้ว เทียบใกล้เคียงกับช่วงปลายสมัยห้าราชวงศ์สิบรัฐที่แม่ทัพใหญ่ระดับเจี๋ยตู้สื่อมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครองและการทหารในพื้นที่ของตนและช่วงชิงดินแดนกัน (เริ่มมีตำแหน่งนี้ในสมัยถัง) และเลียนแบบเหตุการณ์สวมอาภรณ์สีเหลืองตั้งตนเป็นฮ่องเต้อันเป็นตำนานของจ้าวควงอิ้นเมื่อครั้งสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง มีการกล่าวถึงแม่น้ำฮวงโห เขตเปี้ยนเหลียงและเมืองหลวงที่ชื่อว่าตงตู ซึ่งอาจเป็นชื่อสมมุติของเมืองตงจิง (เปี้ยนเหลียงหรือไคเฟิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือ) หรืออาจหมายถึงเมืองลั่วหยางซึ่งเป็นตงตูหรือนครตะวันออกสมัยถัง (หมายเหตุ ‘จิง’ ‘ตู’ และ ‘เฉิง’ ล้วนแปลว่านครหรือเมือง) แต่... แม้ว่าเหตุการณ์ในละคร/นิยายจะใกล้เคียงกับช่วงต้นราชวงศ์ซ่ง ทว่าการเรียกเขตพื้นที่การปกครองต่างๆ ยังอิงตามสิบสามมณฑลสมัยฮั่น เพราะในสมัยซ่งเหนือ โยวโจวไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของซ่ง แต่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์เหลียว และมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไป (ดูแผนที่โดยคร่าวในรูปประกอบ 1) หน้าตาแผนที่ของจีนเปลี่ยนไปในแต่ละสมัย การแบ่งเขตปกครองและชื่อเรียกก็ย่อมแตกต่างกันไป โยวโจวในสมัยฮั่นนั้น ต่อมาถูกเรียกเป็นเยียนเป่ยในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจัวจวิ้นในสมัยสุย กลับมาเป็นโยวโจวในสมัยถัง ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่ออีกเป็นฟ่านหยางจวิ้นในสมัยถังกลาง หลังจากนั้นกลับมาเป็นโยวโจวแล้วจัวโจว ในสมัยเหลียว/ซ่งกลายเป็นเขตปกครองสิบหกเขตย่อยเรียกว่าโยวอวิ๋นหรือเยียนอวิ๋น หลังจากนั้นเขตการปกครองก็เปลี่ยนไปอีก และชื่อ ‘โยวโจว’ ก็หายไปจากแผนที่จีน แต่มันไม่ได้หายไปไหน ศูนย์การปกครองของโยวโจวในสมัยโบราณคือเมืองโยวตู (หรือในสมัยสุยคือจัวตู) ซึ่งก็คือกรุงปักกิ่งในปัจจุบันนั่นเอง โยวตูในสมัยก่อนเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นศูนย์กลางการปกครองของมณฑลโยวโจว ซึ่งเป็นฐานกำลังทหารรักษาชายแดนที่สำคัญ ในสมัยถังนั้น เจี๋ยตู้สื่อแห่งโยวโจวมีอำนาจการปกครองและจำนวนกองทัพในมือมากที่สุดในบรรดาเจี๋ยตู้สื่อทั้งหมด จึงไม่แปลกที่จะมีนิยายเกี่ยวกับการรบและการแย่งชิงกำลังทหารกันที่โยวโจว นอกจากนี้ โยวตูยังเป็นเมืองปลายทางเมืองหนึ่งของคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุย จึงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมและการค้าขายในภาคเหนือของจีน พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์การเกษตรธัญพืชที่สำคัญ ไม่เพียงมีปริมาณผลผลิตเพียงพอสำหรับประชากรในโยวโจวเอง หากแต่ยังส่งออกโดยผ่านต้าอวิ้นเหอไปขายเป็นเสบียงยังพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ดังเช่นที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g44250708/destined/ https://kknews.cc/history/l8r6qvg.html https://www.artsmia.org/art-of-asia/history/maps.cfm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/幽州/1049370 https://zh.wikipedia.org/wiki/北京历史 https://www.sohu.com/a/674479826_121180648 https://www.sohu.com/a/277568460_628936 #สยบรักจอมเสเพล #โยวโจว #โยวตู #สิบสามมณฑล #ปักกิ่ง
    0 Comments 0 Shares 1145 Views 0 Reviews
  • ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ##
    ..
    ..
    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้
    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้
    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม
    .
    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ
    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ
    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ
    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย
    .
    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก
    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    .
    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล
    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว
    .
    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย
    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน
    .
    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้
    .
    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
    .
    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน
    .
    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที
    .
    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
    .
    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง
    .
    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป
    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้
    .
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ## .. .. เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม . ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย . ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 . ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว . ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน . จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ . 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 . 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน . 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที . 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป . 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง . 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ . https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 Comments 0 Shares 1361 Views 0 Reviews
  • 9/12/67

    เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ)

    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้

    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้

    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม

    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ

    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ

    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ

    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย

    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก

    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล

    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว

    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย

    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน

    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้

    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน

    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที

    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป

    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง

    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป

    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    9/12/67 เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 Comments 0 Shares 1308 Views 0 Reviews
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,558
    วันพระ: แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ (25 October 2024)

    Photo Album Set 3/3
    ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท
    21. วัดศรีสระแก้ววนาราม อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 28 ต.ค.67)
    22. วัดคลองใหญ่ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง
    (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67)
    23. วัดมงคลศรี อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
    (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67)
    24. วัดธาตุกู่ทอง อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น
    (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67)
    25. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพฯ
    (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67)
    26. วัดป่าหนองบัวใหญ่ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด
    (ทอดกฐินสามัคคี 31 ต.ค.67)
    27. วัดท่านางหอม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
    (ทอดกฐินพระราชทาน 27 ต.ค.67)
    28. วัดยานาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ
    (ทอดกฐินพระราชทาน 01 พ.ย.67)
    29. วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินพระราชทาน 2 พ.ย.67)
    30. วัดแก้วพิจิตร อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
    (ทอดกฐินพระราชทาน 3 พ.ย.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๐ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,558 วันพระ: แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ (25 October 2024) Photo Album Set 3/3 ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท 21. วัดศรีสระแก้ววนาราม อ.กุดจับ จ.อุดรธานี (ทอดกฐินสามัคคี 28 ต.ค.67) 22. วัดคลองใหญ่ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67) 23. วัดมงคลศรี อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67) 24. วัดธาตุกู่ทอง อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67) 25. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพฯ (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67) 26. วัดป่าหนองบัวใหญ่ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด (ทอดกฐินสามัคคี 31 ต.ค.67) 27. วัดท่านางหอม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (ทอดกฐินพระราชทาน 27 ต.ค.67) 28. วัดยานาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ (ทอดกฐินพระราชทาน 01 พ.ย.67) 29. วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี (ทอดกฐินพระราชทาน 2 พ.ย.67) 30. วัดแก้วพิจิตร อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี (ทอดกฐินพระราชทาน 3 พ.ย.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๐ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 Comments 0 Shares 682 Views 0 Reviews
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,558
    วันพระ: แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ (25 October 2024)

    Photo Album Set 3/3
    ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท
    21. วัดศรีสระแก้ววนาราม อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 28 ต.ค.67)
    22. วัดคลองใหญ่ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง
    (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67)
    23. วัดมงคลศรี อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
    (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67)
    24. วัดธาตุกู่ทอง อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น
    (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67)
    25. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพฯ
    (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67)
    26. วัดป่าหนองบัวใหญ่ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด
    (ทอดกฐินสามัคคี 31 ต.ค.67)
    27. วัดท่านางหอม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
    (ทอดกฐินพระราชทาน 27 ต.ค.67)
    28. วัดยานาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ
    (ทอดกฐินพระราชทาน 01 พ.ย.67)
    29. วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินพระราชทาน 2 พ.ย.67)
    30. วัดแก้วพิจิตร อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
    (ทอดกฐินพระราชทาน 3 พ.ย.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๐ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,558 วันพระ: แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ (25 October 2024) Photo Album Set 3/3 ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท 21. วัดศรีสระแก้ววนาราม อ.กุดจับ จ.อุดรธานี (ทอดกฐินสามัคคี 28 ต.ค.67) 22. วัดคลองใหญ่ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67) 23. วัดมงคลศรี อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67) 24. วัดธาตุกู่ทอง อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67) 25. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพฯ (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67) 26. วัดป่าหนองบัวใหญ่ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด (ทอดกฐินสามัคคี 31 ต.ค.67) 27. วัดท่านางหอม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (ทอดกฐินพระราชทาน 27 ต.ค.67) 28. วัดยานาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ (ทอดกฐินพระราชทาน 01 พ.ย.67) 29. วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี (ทอดกฐินพระราชทาน 2 พ.ย.67) 30. วัดแก้วพิจิตร อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี (ทอดกฐินพระราชทาน 3 พ.ย.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๐ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 Comments 0 Shares 656 Views 0 Reviews
  • หยุดฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ หยุดละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกำลัง “เร่งรัด” เจรจาด้านผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ค.ศ. 2001 หรือที่เรียกว่า “MOU 2544” นั้น อาจสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศไทย ฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ และอาจทำให้ประเทศชาติและประชาชนอาจจะสูญเสียผลประโยชน์ตามมาได้ด้วย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น ได้ทำให้เห็นว่า พื้นที่ทางทะเลซึ่งกำลังมีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างไทยและกัมพูชาตาม MOU 2544 อยู่ในขณะนี้มี จำนวน 26,000 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวตามกฎหมายสากลทั้งสิ้น ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาดังที่พยายามเจรจากันอยู่ในขณะนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้

    ประการแรก พระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ไม่สามารถลบล้างด้วยข้อตกลงหรือการเจรจากันเองของนักการเมืองหรือข้าราชการได้

    หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องเป็นไปโดยเงื่อนไขที่กำหนดโดย “พระบรมราชโองการ” เท่านั้น

    ประการที่สอง พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้น ได้ระบุวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าเพื่อใช้ “สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย” จึงต้องตระหนักว่าพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้มี 3 คำสำคัญประกอบกัน คือ “สิทธิ” , “อธิปไตย” ตลอดจนคำว่า ”ของประเทศไทย“

    ดังนั้นพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ไม่ใช่เรื่อง “อธิปไตย“ของประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึง “สิทธิ”ของประเทศไทย ไม่ใช่ “อธิปไตย” ของชาติอื่นและไม่ใช่“สิทธิ”ของชาติอื่นมาผสมปะปนได้

    โดยมีข้อความระบุเฉพาะถึงขอบเขตอย่างชัดเจนด้วยว่า “การใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย”นั้นเพื่อใช้ “ในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ“ ในอ่าวไทย

    ภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีสาระสำคัญในเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย“ ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยย่อมต้องเป็นของราชอาณาจักรไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น

    ดังนั้นผู้สำรวจ ผู้รับสัมปทาน หรือมีผู้แสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรในอ่าวไทยจะต้องทำสัญญากับอธิปไตยได้เพียงรัฐเดียวเท่านั้นคือ ”ประเทศไทย“

    การบิดเบือนให้ “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย” ที่เดิมต้องลงนามโดยรัฐบาลประเทศไทยเพียงรัฐเดียว ให้กลายเป็นสิทธิในการสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางพลังงานที่ต้องลงนามโดยรัฐบาล 2 ประเทศ คือประเทศไทยร่วมกับประเทศกัมพูชานั้น ย่อมเท่ากับว่ารัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้สละ “สิทธิ” และ “อธิปไตย” ในการอนุญาตสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยฝ่ายเดียว

    การกระทำดังที่กล่าวมานี้อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ประการที่สาม พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศตามกฎหมายสากลเท่านั้น ปรากฏเป็นข้อความเป็นหลักการว่า

    “ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511“

    ทั้งนี้ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 นั้น ต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    ประกอบกับจุดเริ่มต้นของประเทศไทยในการแบ่งแยกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 2 นั้น ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่า “เกาะกูดเป็นของสยาม” อย่างแน่นอนความว่า

    “รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไป จนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว“

    นอกจากนั้นยังมีหลักฐานเป็น “แผนที่” แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาที่ได้กำหนดแผนที่แสดง “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 และพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งได้ประกาศกำหนดแผนที่แสดง “เส้นทะเลอาณาเขต”ของกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 โดยมีข้อความด้านซ้ายแผนที่ภาพเกาะกูดเป็นภาษาอังกฤษคำว่า “Koh Kut” โดยมีวงเล็บอยู่ด้านล่างกำกับด้วยคำว่า “สยาม” เป็นภาษาอังกฤษว่า ”(SIAM)“ ทั้ง 2 ฉบับ ย่อมเป็นการยืนยันโดยราชอาณาจักรกัมพูชาว่า “เกาะกูด” เป็นของสยามประเทศอย่างแน่นอน

    เมื่อเกาะกูดเป็นของสยามประเทศ สยามประเทศจึงย่อมต้องมี ”ทะเลอาณาเขต“ จากเส้นฐานของเกาะกูดไปอีก 12 ไมล์ทะเล และมี ”เขตทะเลต่อเนื่อง“จากเส้นฐานของเกาะกูด 24 ไมล์ทะเล “รอบเกาะกูด” ตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาหลักการนี้ได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    อย่างไรก็ตาม “เกาะกูด” ของสยาม และ “เกาะกง” ของกัมพูชา คือเกาะที่มีดินแดนยื่นออกมาในทะเลใกล้ที่สุดจากหลักเขตที่ 73 บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายทางทิศใต้ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด

    ดังนั้นพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 จึงได้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงปรากฏแผนที่การลากเส้นเขตไหล่ทวีปตาม ”กฎหมายสากล“ คือ เริ่มลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง

    การลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกงนั้น ก็เป็นการดำเนินไปตามกฎหมายสากลด้วยทั้งสิ้น คือบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    ดังนั้นพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันตก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันออกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียวซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วยเพราะมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73

    ดังนั้นหากราชอาณาจักรไทยยินยอมหรือรับรู้ โดยไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด ไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่องรอบเกาะกูด และไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางพื้นที่ด้านทิศทะวันตกเส้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงที่ราชอาณาจักรไทยจะสูญเสียสิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด สุ่มเสี่ยงสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเขตทะเลต่อเนื่อง สุ่่มเสี่ยงสูญเสียพื้นที่ทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ

    เมื่อสละกฎหมายทะเลสากลรอบเกาะกูดทั้งหมด ก็จะส่งผลทำให้เกิดความสุ่่มเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ดินแดนเกาะกูด” ในฐานะที่ราชอาณาจักรไทย “นิ่งเฉย” ต่อการละเมิดพื้นที่ทะเลอาณาเขต ละเมิดพื้นที่ทะเลต่อเนื่อง และการละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบเกาะกูด มีความสุ่มเสี่ยงที่รัฐบาลกัมพูชาอาจอ้างกฎหมายปิดปากให้เกาะกูดตกเป็นของกัมพูชาในอนาคตได้ ดังที่ราชอาณาจักรไทยได้เคยสูญเสียปราสาทพระวิหารและสูญเสียพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารโดยศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 มาแล้ว

    ดังนั้นหากยังฝ่าฝืนดำเนินการ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการตกลงใดๆที่อยู่นอกเหนือแผนที่ตามประกาศภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 อาจสุ่มเสี่ยงว่าเป็นการดำเนินที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็นการยึดถือตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วย

    ประการที่สี่ พื้นที่ทับซ้อนสามารถเจรจาแบ่งผลประโยชน์ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสากลเท่านั้น ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ

    พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้นได้ “เปิดช่องให้มีการเจรจาตกลงกันได้”

    แต่จะต้องยึดถือมูลฐานจาก บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น และต้องไม่ใช้เงื่อนไขอื่นในการตกลงกันความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“

    เพราะตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 สามารถเกิดพื้นที่ทับซ้อนกันได้ จึงอาจเกิดพื้นที่ลักษณะอ้างสิทธิทับซ้อนกันได้จริงดังที่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่การพัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย

    แต่เมื่อ MOU 2544 ไทย-กัมพูชา แตกต่างจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เพราะ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา ได้เกิดพื้นที่โดยรับรู้เส้นไหล่ทวีปอ้างสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาที่กำหนดเขตไหล่ทวีปที่ลากเส้น ”ละเมิด“ สิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด และละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาจึงย่อมไม่มีทางเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ได้เลย

    หากจะมีพื้นที่ทับซ้อนในทางเทคนิกก็ต้องเป็นไปตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น จึงจะสามารถเริ่มเจรจาได้ ซึ่งแปลว่าก็ต้องมีความใกล้เคียงกับแผนที่แนบท้ายพระบรมราชโองการทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยฉบับเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น

    ดังนั้นการเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ลากเส้นโดยไม่ยึดถือตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 หรือทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเกินกว่าพระบรมราชโองการย่อมกระทำไม่ได้

    และหากรัฐบาลยังฝ่าฝืนดำเนินต่อไป ก็ย่อมมีความเสี่ยงว่าจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ยินยอมให้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    23 ตุลาคม 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1079446800215686/?

    #Thaitimes
    หยุดฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ หยุดละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกำลัง “เร่งรัด” เจรจาด้านผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ค.ศ. 2001 หรือที่เรียกว่า “MOU 2544” นั้น อาจสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศไทย ฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ และอาจทำให้ประเทศชาติและประชาชนอาจจะสูญเสียผลประโยชน์ตามมาได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น ได้ทำให้เห็นว่า พื้นที่ทางทะเลซึ่งกำลังมีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างไทยและกัมพูชาตาม MOU 2544 อยู่ในขณะนี้มี จำนวน 26,000 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวตามกฎหมายสากลทั้งสิ้น ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาดังที่พยายามเจรจากันอยู่ในขณะนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้ ประการแรก พระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ไม่สามารถลบล้างด้วยข้อตกลงหรือการเจรจากันเองของนักการเมืองหรือข้าราชการได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องเป็นไปโดยเงื่อนไขที่กำหนดโดย “พระบรมราชโองการ” เท่านั้น ประการที่สอง พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้น ได้ระบุวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าเพื่อใช้ “สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย” จึงต้องตระหนักว่าพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้มี 3 คำสำคัญประกอบกัน คือ “สิทธิ” , “อธิปไตย” ตลอดจนคำว่า ”ของประเทศไทย“ ดังนั้นพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ไม่ใช่เรื่อง “อธิปไตย“ของประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึง “สิทธิ”ของประเทศไทย ไม่ใช่ “อธิปไตย” ของชาติอื่นและไม่ใช่“สิทธิ”ของชาติอื่นมาผสมปะปนได้ โดยมีข้อความระบุเฉพาะถึงขอบเขตอย่างชัดเจนด้วยว่า “การใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย”นั้นเพื่อใช้ “ในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ“ ในอ่าวไทย ภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีสาระสำคัญในเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย“ ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยย่อมต้องเป็นของราชอาณาจักรไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ดังนั้นผู้สำรวจ ผู้รับสัมปทาน หรือมีผู้แสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรในอ่าวไทยจะต้องทำสัญญากับอธิปไตยได้เพียงรัฐเดียวเท่านั้นคือ ”ประเทศไทย“ การบิดเบือนให้ “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย” ที่เดิมต้องลงนามโดยรัฐบาลประเทศไทยเพียงรัฐเดียว ให้กลายเป็นสิทธิในการสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางพลังงานที่ต้องลงนามโดยรัฐบาล 2 ประเทศ คือประเทศไทยร่วมกับประเทศกัมพูชานั้น ย่อมเท่ากับว่ารัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้สละ “สิทธิ” และ “อธิปไตย” ในการอนุญาตสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยฝ่ายเดียว การกระทำดังที่กล่าวมานี้อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ประการที่สาม พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศตามกฎหมายสากลเท่านั้น ปรากฏเป็นข้อความเป็นหลักการว่า “ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511“ ทั้งนี้ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 นั้น ต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย ประกอบกับจุดเริ่มต้นของประเทศไทยในการแบ่งแยกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 2 นั้น ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่า “เกาะกูดเป็นของสยาม” อย่างแน่นอนความว่า “รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไป จนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว“ นอกจากนั้นยังมีหลักฐานเป็น “แผนที่” แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาที่ได้กำหนดแผนที่แสดง “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 และพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งได้ประกาศกำหนดแผนที่แสดง “เส้นทะเลอาณาเขต”ของกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 โดยมีข้อความด้านซ้ายแผนที่ภาพเกาะกูดเป็นภาษาอังกฤษคำว่า “Koh Kut” โดยมีวงเล็บอยู่ด้านล่างกำกับด้วยคำว่า “สยาม” เป็นภาษาอังกฤษว่า ”(SIAM)“ ทั้ง 2 ฉบับ ย่อมเป็นการยืนยันโดยราชอาณาจักรกัมพูชาว่า “เกาะกูด” เป็นของสยามประเทศอย่างแน่นอน เมื่อเกาะกูดเป็นของสยามประเทศ สยามประเทศจึงย่อมต้องมี ”ทะเลอาณาเขต“ จากเส้นฐานของเกาะกูดไปอีก 12 ไมล์ทะเล และมี ”เขตทะเลต่อเนื่อง“จากเส้นฐานของเกาะกูด 24 ไมล์ทะเล “รอบเกาะกูด” ตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาหลักการนี้ได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย อย่างไรก็ตาม “เกาะกูด” ของสยาม และ “เกาะกง” ของกัมพูชา คือเกาะที่มีดินแดนยื่นออกมาในทะเลใกล้ที่สุดจากหลักเขตที่ 73 บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายทางทิศใต้ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด ดังนั้นพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 จึงได้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงปรากฏแผนที่การลากเส้นเขตไหล่ทวีปตาม ”กฎหมายสากล“ คือ เริ่มลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง การลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกงนั้น ก็เป็นการดำเนินไปตามกฎหมายสากลด้วยทั้งสิ้น คือบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย ดังนั้นพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันตก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันออกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียวซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วยเพราะมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 ดังนั้นหากราชอาณาจักรไทยยินยอมหรือรับรู้ โดยไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด ไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่องรอบเกาะกูด และไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางพื้นที่ด้านทิศทะวันตกเส้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงที่ราชอาณาจักรไทยจะสูญเสียสิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด สุ่มเสี่ยงสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเขตทะเลต่อเนื่อง สุ่่มเสี่ยงสูญเสียพื้นที่ทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เมื่อสละกฎหมายทะเลสากลรอบเกาะกูดทั้งหมด ก็จะส่งผลทำให้เกิดความสุ่่มเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ดินแดนเกาะกูด” ในฐานะที่ราชอาณาจักรไทย “นิ่งเฉย” ต่อการละเมิดพื้นที่ทะเลอาณาเขต ละเมิดพื้นที่ทะเลต่อเนื่อง และการละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบเกาะกูด มีความสุ่มเสี่ยงที่รัฐบาลกัมพูชาอาจอ้างกฎหมายปิดปากให้เกาะกูดตกเป็นของกัมพูชาในอนาคตได้ ดังที่ราชอาณาจักรไทยได้เคยสูญเสียปราสาทพระวิหารและสูญเสียพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารโดยศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 มาแล้ว ดังนั้นหากยังฝ่าฝืนดำเนินการ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการตกลงใดๆที่อยู่นอกเหนือแผนที่ตามประกาศภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 อาจสุ่มเสี่ยงว่าเป็นการดำเนินที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็นการยึดถือตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วย ประการที่สี่ พื้นที่ทับซ้อนสามารถเจรจาแบ่งผลประโยชน์ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสากลเท่านั้น ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้นได้ “เปิดช่องให้มีการเจรจาตกลงกันได้” แต่จะต้องยึดถือมูลฐานจาก บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น และต้องไม่ใช้เงื่อนไขอื่นในการตกลงกันความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ เพราะตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 สามารถเกิดพื้นที่ทับซ้อนกันได้ จึงอาจเกิดพื้นที่ลักษณะอ้างสิทธิทับซ้อนกันได้จริงดังที่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่การพัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย แต่เมื่อ MOU 2544 ไทย-กัมพูชา แตกต่างจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เพราะ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา ได้เกิดพื้นที่โดยรับรู้เส้นไหล่ทวีปอ้างสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาที่กำหนดเขตไหล่ทวีปที่ลากเส้น ”ละเมิด“ สิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด และละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาจึงย่อมไม่มีทางเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ได้เลย หากจะมีพื้นที่ทับซ้อนในทางเทคนิกก็ต้องเป็นไปตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น จึงจะสามารถเริ่มเจรจาได้ ซึ่งแปลว่าก็ต้องมีความใกล้เคียงกับแผนที่แนบท้ายพระบรมราชโองการทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยฉบับเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น ดังนั้นการเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ลากเส้นโดยไม่ยึดถือตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 หรือทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเกินกว่าพระบรมราชโองการย่อมกระทำไม่ได้ และหากรัฐบาลยังฝ่าฝืนดำเนินต่อไป ก็ย่อมมีความเสี่ยงว่าจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ยินยอมให้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 23 ตุลาคม 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1079446800215686/? #Thaitimes
    Like
    17
    0 Comments 1 Shares 1908 Views 0 Reviews