• จันทบุรี -​ ปลดล็อกชายแดนจันท์-ตราด! ศบ.ทก. ประกาศผ่อนปรนมาตรการควบคุมการผ่านแดนอนุญาตให้รถขนส่งสินค้าสามารถผ่านเข้า-ออกได้ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.ตั้งแต่ 17.ก.ค68 ลดกระทบการค้า การลงทุน

    จากกรณีที่ กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (เฉพาะ) ได้ออกคำสั่งที่ 1092/2568 ลงวันที่ 23 มิ.ย.2568 เรื่อง มาตรการยกระดับการควบคุมการผ่านแดนในพื้นที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม ต.เทพนิมิต , จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด ต.คลองใหญ่ อ.โป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000067605

    #Thaitimes #MGROnline #จันทบุรี #กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด #จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม
    จันทบุรี -​ ปลดล็อกชายแดนจันท์-ตราด! ศบ.ทก. ประกาศผ่อนปรนมาตรการควบคุมการผ่านแดนอนุญาตให้รถขนส่งสินค้าสามารถผ่านเข้า-ออกได้ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.ตั้งแต่ 17.ก.ค68 ลดกระทบการค้า การลงทุน • จากกรณีที่ กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (เฉพาะ) ได้ออกคำสั่งที่ 1092/2568 ลงวันที่ 23 มิ.ย.2568 เรื่อง มาตรการยกระดับการควบคุมการผ่านแดนในพื้นที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม ต.เทพนิมิต , จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด ต.คลองใหญ่ อ.โป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000067605 • #Thaitimes #MGROnline #จันทบุรี #กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด #จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 37 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรือประมงเวียดนามหันหัวพุ่งชน "เรือหลวงเทพา" กองทัพเรือพังเสียหาย หลังพยายามเข้าไปจับกุมรุกลํ้าน่านนํ้าไทยเข้ามาทำประมงนับ 10 ลำ ก่อนจับเรือได้ 1 ลำ ผู้ต้องหา 4 คน ที่เหลือหลบหนีไปได้
    .
    เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่บริเวณท่าเรืออเนกประสงค์ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เรือหลวงเทพา และเรือต.246 ลากเรือประมงต่างชาติ 1 ลำ พร้อมลูกเรือประมงจำนวน 4 คน มาเทียบท่าเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ หลังถูกจับกุมได้ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย เมื่อเช้าวันนี้ โดยมี พล.ร.ท.อาภา ชพานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1/ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 พร้อมด้วย พล.ร.ต.ไชยนันท์ ชูใหม่ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 และคณะ ร่วมให้ข้อมูลกับสื่อมวลชนที่มาติดตามสถานการณ์
    .
    พล.ร.ท.อาภา เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 (ศรชล.ภาค 1) บูรณาการร่วมกับ ทัพเรือภาคที่ 1 (ทรภ.1) กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.) หมวดเรือลาดตระเวนชายแดน (มชด.) รวมถึงการประสานงานด้านการข่าวร่วมกับ กรมข่าวทหารเรือ (ขว.ทร.) จากการปฏิบัติการด้านการข่าวนำไปสู่การจับกุมเรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้าทำการประมงในเขตน่านน้ำไทยจำนวน 1 ลำ
    .
    โดยเมื่อ 24 ก.พ. ได้รับแจ้งจากแหล่งข่าว กรณีตรวจพบเรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้ามาทำการประมงในเขตน่านน้ำไทย โดยตรวจพบเป็นกลุ่มเรือประมงต่างชาติ จำนวนประมาณ 10 ลำ ประกอบด้วยเรือประมงลากคู่ เรืออวนล้อม และเรือไดปั่นไฟ เข้ามาทำการประมงอยู่ในน่านน้ำไทย บริเวณพิกัด ละติจูด 11 องศา 06 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 26 ลิปดาตะวันออก ลงไปจนถึง ละติจูด 10 องศา 58 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 25 ลิปดาตะวันออก อย่างต่อเนื่อง และมีพฤติการณ์รุกล้ำเข้ามาทำประมงในห้วงเวลากลางคืนในพื้นที่ดังกล่าว และจะออกจากพื้นที่วิ่งลงใต้ไปจอดพักคอยในเวลากลางวัน เพื่อรอทำการประมงในห้วงกลางคืนของทุกวัน
    .
    จากปัจจัยพื้นที่และเวลา ศรชล.ภาค 1 จึงขอรับการสนับสนุนเรือในบัญชีกำลัง ศรชล.ภาค 1 จาก กปช.จต. โดยเป็นเรือใน มชด./1 และอากาศยานจาก มวบ.กปก.ทรภ.1 ในการตรวจสอบในพื้นที่และกลุ่มเรือประมงดังกล่าว ซึ่ง กปช.จต. ให้การสนับสนุน ร.ล.เทพา และ เรือ ต.264 พร้อมด้วย ทรภ.1 จัด บ.ตช.1 สนับสนุน ศรชล.ภาค 1 และผลการปฏิบัติ จับกุมเรือประมงต่างชาติ ได้จำนวน 1 ลำ พร้อม ลูกเรือจำนวน 4 คน ส่วนที่เหลือเร่งเครื่องและหันทิศทางหนีออกนอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทยไปได้
    .
    พล.ร.ท.อาภา ตอบคำถามสื่อมวลชนเพิ่มเติมกรณีที่มีเรือประมงเวียดนามทำการชนเรือหลวงเทพา ว่า ระหว่างทำการจับกุมนั้น เรือประมงเวียดนามหลายลำได้เร่งเครื่องยนต์และหลบหนีไปนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่มีเรือประมงเวียดนามอีกลำที่หลบหนีไม่ทัน ได้หันหัวเรือพุ่งเข้าชนเรือหลวงเทพาที่บริเวณด้านข้างเรือด้านขวา ทำให้ยุบไปส่วนหนึ่ง แต่ไม่มากนัก แต่สุดท้ายถูกจับได้พร้อมลูกเรือ 4 คน ส่วนก่อนการจับกุมได้ทำการยิงปืนเอ็ม 16 ขู่ เพื่อให้หยุดการหลบหนี ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการตามหลักสากล
    .
    ทั้งนี้ ทางกองทัพเรือจะดำเนินการอย่างเข้มงวดต่อไป โดยก่อนหน้านี้ เรือประมงเวียดนามได้เข้ามาลักลอบทำประมงในเขตน่านน้ำไทยบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ทัพเรือภาค 2 หรืออ่าวไทยตอนล่าง ซึ่งได้มีการจับกุมบ่อยครั้ง และครั้งนี้ ได้เข้ามายังพื้นที่ทัพเรือภาค 1 ซึ่งเหนือขึ้นมา และครั้งนี้ เป็นครั้งแรกในปี 2568 ที่มีการจับกุมได้ของพื้นที่ทัพเรือภาค 1 ทั้งนี้ ทางกองทัพเรือจะได้ทำหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศให้ประสานไปยังรัฐบาลเวียดนามในการดูแลในเรื่องนี้ต่อไป
    .
    สุดท้ายศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 ขอขอบคุณพี่น้องชาวประมง ในความร่วมมือที่ได้แจ้งเบาะแสของเรือที่กระทำความผิด และขอให้ความมั่นใจกับพี่น้องประชาชนและชาวประมงไทยว่า “ในพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 นั้น เราจะปกป้อง และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มความสามารถ โดยมิยอมให้เรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรในการทำการประมงเป็นอันขาด ทั้งนี้เพื่อให้ทรัพยากรของประเทศไทย คงอยู่กับลูกหลานของคนไทย”
    ---------
    ที่มา : เดลินิวส์
    ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/4436420/
    เรือประมงเวียดนามหันหัวพุ่งชน "เรือหลวงเทพา" กองทัพเรือพังเสียหาย หลังพยายามเข้าไปจับกุมรุกลํ้าน่านนํ้าไทยเข้ามาทำประมงนับ 10 ลำ ก่อนจับเรือได้ 1 ลำ ผู้ต้องหา 4 คน ที่เหลือหลบหนีไปได้ . เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่บริเวณท่าเรืออเนกประสงค์ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เรือหลวงเทพา และเรือต.246 ลากเรือประมงต่างชาติ 1 ลำ พร้อมลูกเรือประมงจำนวน 4 คน มาเทียบท่าเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ หลังถูกจับกุมได้ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย เมื่อเช้าวันนี้ โดยมี พล.ร.ท.อาภา ชพานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1/ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 พร้อมด้วย พล.ร.ต.ไชยนันท์ ชูใหม่ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 และคณะ ร่วมให้ข้อมูลกับสื่อมวลชนที่มาติดตามสถานการณ์ . พล.ร.ท.อาภา เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 (ศรชล.ภาค 1) บูรณาการร่วมกับ ทัพเรือภาคที่ 1 (ทรภ.1) กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.) หมวดเรือลาดตระเวนชายแดน (มชด.) รวมถึงการประสานงานด้านการข่าวร่วมกับ กรมข่าวทหารเรือ (ขว.ทร.) จากการปฏิบัติการด้านการข่าวนำไปสู่การจับกุมเรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้าทำการประมงในเขตน่านน้ำไทยจำนวน 1 ลำ . โดยเมื่อ 24 ก.พ. ได้รับแจ้งจากแหล่งข่าว กรณีตรวจพบเรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้ามาทำการประมงในเขตน่านน้ำไทย โดยตรวจพบเป็นกลุ่มเรือประมงต่างชาติ จำนวนประมาณ 10 ลำ ประกอบด้วยเรือประมงลากคู่ เรืออวนล้อม และเรือไดปั่นไฟ เข้ามาทำการประมงอยู่ในน่านน้ำไทย บริเวณพิกัด ละติจูด 11 องศา 06 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 26 ลิปดาตะวันออก ลงไปจนถึง ละติจูด 10 องศา 58 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 25 ลิปดาตะวันออก อย่างต่อเนื่อง และมีพฤติการณ์รุกล้ำเข้ามาทำประมงในห้วงเวลากลางคืนในพื้นที่ดังกล่าว และจะออกจากพื้นที่วิ่งลงใต้ไปจอดพักคอยในเวลากลางวัน เพื่อรอทำการประมงในห้วงกลางคืนของทุกวัน . จากปัจจัยพื้นที่และเวลา ศรชล.ภาค 1 จึงขอรับการสนับสนุนเรือในบัญชีกำลัง ศรชล.ภาค 1 จาก กปช.จต. โดยเป็นเรือใน มชด./1 และอากาศยานจาก มวบ.กปก.ทรภ.1 ในการตรวจสอบในพื้นที่และกลุ่มเรือประมงดังกล่าว ซึ่ง กปช.จต. ให้การสนับสนุน ร.ล.เทพา และ เรือ ต.264 พร้อมด้วย ทรภ.1 จัด บ.ตช.1 สนับสนุน ศรชล.ภาค 1 และผลการปฏิบัติ จับกุมเรือประมงต่างชาติ ได้จำนวน 1 ลำ พร้อม ลูกเรือจำนวน 4 คน ส่วนที่เหลือเร่งเครื่องและหันทิศทางหนีออกนอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทยไปได้ . พล.ร.ท.อาภา ตอบคำถามสื่อมวลชนเพิ่มเติมกรณีที่มีเรือประมงเวียดนามทำการชนเรือหลวงเทพา ว่า ระหว่างทำการจับกุมนั้น เรือประมงเวียดนามหลายลำได้เร่งเครื่องยนต์และหลบหนีไปนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่มีเรือประมงเวียดนามอีกลำที่หลบหนีไม่ทัน ได้หันหัวเรือพุ่งเข้าชนเรือหลวงเทพาที่บริเวณด้านข้างเรือด้านขวา ทำให้ยุบไปส่วนหนึ่ง แต่ไม่มากนัก แต่สุดท้ายถูกจับได้พร้อมลูกเรือ 4 คน ส่วนก่อนการจับกุมได้ทำการยิงปืนเอ็ม 16 ขู่ เพื่อให้หยุดการหลบหนี ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการตามหลักสากล . ทั้งนี้ ทางกองทัพเรือจะดำเนินการอย่างเข้มงวดต่อไป โดยก่อนหน้านี้ เรือประมงเวียดนามได้เข้ามาลักลอบทำประมงในเขตน่านน้ำไทยบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ทัพเรือภาค 2 หรืออ่าวไทยตอนล่าง ซึ่งได้มีการจับกุมบ่อยครั้ง และครั้งนี้ ได้เข้ามายังพื้นที่ทัพเรือภาค 1 ซึ่งเหนือขึ้นมา และครั้งนี้ เป็นครั้งแรกในปี 2568 ที่มีการจับกุมได้ของพื้นที่ทัพเรือภาค 1 ทั้งนี้ ทางกองทัพเรือจะได้ทำหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศให้ประสานไปยังรัฐบาลเวียดนามในการดูแลในเรื่องนี้ต่อไป . สุดท้ายศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 ขอขอบคุณพี่น้องชาวประมง ในความร่วมมือที่ได้แจ้งเบาะแสของเรือที่กระทำความผิด และขอให้ความมั่นใจกับพี่น้องประชาชนและชาวประมงไทยว่า “ในพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 นั้น เราจะปกป้อง และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มความสามารถ โดยมิยอมให้เรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรในการทำการประมงเป็นอันขาด ทั้งนี้เพื่อให้ทรัพยากรของประเทศไทย คงอยู่กับลูกหลานของคนไทย” --------- ที่มา : เดลินิวส์ ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/4436420/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 807 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผบ.ทร. ลงพื้นที่เกาะกูด ย้ำปกป้องอธิปไตยชาติ มั่นใจปัญหาไม่บายปลาย
    .
    เรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงอย่างมากในสังคมเวลานี้ โดยเฉพาะท่าทีขององค์กรภาคประชาชนและพรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างพรรคพลังประชารัฐที่ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าประเทศไทยมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ซึ่งเป็นเหตุผลที่สืบเนื่องมาจากการที่ไทยยังไม่ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทยทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544)
    .
    ในเรื่องนี้มีท่าทีจากฝ่ายกองทัพออกมาแสดงความคิดเห็น โดยพล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด พร้อมรับฟังบรรยายสรุปถึงการปฏิบัติงานของหน่วย และการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล และประสิทธิภาพของหน่วย เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กำลังพลที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ห่างไกลต่อไป โดยมี พล.ร.ต.ชรัมม์ภากร พรหมภากร รองผู้บัญชาการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด คณะผู้บังคับบัญชาและกำลังพลของหน่วย ให้การต้อนรับ
    .
    ทั้งนี้ พล.ร.อ. จิรพล ระบุว่า หน้าที่ของกองทัพเรือ คือการดูแลรักษาผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลไทยได้ประกาศเขต เอาไว้แล้วเมื่อปี พุทธศักราช 2516 เราจะดูแลพื้นที่ตามเขตแดนที่รัฐบาลประกาศไว้ ส่วนความคืบหน้าหรือข้อตกลงอะไรนั้น เป็นเรื่องของรัฐบาล เราทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ที่จะดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้กับประชาชน
    .
    “ขอให้มั่นใจกองทัพเรือดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่ ยืนยันความสัมพันธ์ ทั้งสองประเทศ พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ไม่มีความขัดแย้งใดๆ”
    .
    สำหรับกรณีที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวนั้น ผบ.ทร. กล่าวว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจ ว่ากองทัพเรือจะดูแลพื้นที่ตรงนี้ได้ ไม่ต้องเดินทางไกลมาถึงที่นี่ ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนฝั่ง และบนเกาะมีความมั่นใจกับกองทัพเรืออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามพื้นที่ของเรามีความสงบ ปลอดภัย ชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ปกติ ขณะที่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้าใจ และก็หากินในพื้นที่ของตนเอง ส่วนเราก็ทำมาหากินในพื้นที่ของเราไม่มีความขัดแย้งใดๆ
    ..............
    Sondhi X
    ผบ.ทร. ลงพื้นที่เกาะกูด ย้ำปกป้องอธิปไตยชาติ มั่นใจปัญหาไม่บายปลาย . เรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงอย่างมากในสังคมเวลานี้ โดยเฉพาะท่าทีขององค์กรภาคประชาชนและพรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างพรรคพลังประชารัฐที่ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าประเทศไทยมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ซึ่งเป็นเหตุผลที่สืบเนื่องมาจากการที่ไทยยังไม่ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทยทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) . ในเรื่องนี้มีท่าทีจากฝ่ายกองทัพออกมาแสดงความคิดเห็น โดยพล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด พร้อมรับฟังบรรยายสรุปถึงการปฏิบัติงานของหน่วย และการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล และประสิทธิภาพของหน่วย เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กำลังพลที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ห่างไกลต่อไป โดยมี พล.ร.ต.ชรัมม์ภากร พรหมภากร รองผู้บัญชาการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด คณะผู้บังคับบัญชาและกำลังพลของหน่วย ให้การต้อนรับ . ทั้งนี้ พล.ร.อ. จิรพล ระบุว่า หน้าที่ของกองทัพเรือ คือการดูแลรักษาผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลไทยได้ประกาศเขต เอาไว้แล้วเมื่อปี พุทธศักราช 2516 เราจะดูแลพื้นที่ตามเขตแดนที่รัฐบาลประกาศไว้ ส่วนความคืบหน้าหรือข้อตกลงอะไรนั้น เป็นเรื่องของรัฐบาล เราทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ที่จะดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้กับประชาชน . “ขอให้มั่นใจกองทัพเรือดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่ ยืนยันความสัมพันธ์ ทั้งสองประเทศ พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ไม่มีความขัดแย้งใดๆ” . สำหรับกรณีที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวนั้น ผบ.ทร. กล่าวว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจ ว่ากองทัพเรือจะดูแลพื้นที่ตรงนี้ได้ ไม่ต้องเดินทางไกลมาถึงที่นี่ ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนฝั่ง และบนเกาะมีความมั่นใจกับกองทัพเรืออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามพื้นที่ของเรามีความสงบ ปลอดภัย ชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ปกติ ขณะที่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้าใจ และก็หากินในพื้นที่ของตนเอง ส่วนเราก็ทำมาหากินในพื้นที่ของเราไม่มีความขัดแย้งใดๆ .............. Sondhi X
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1441 มุมมอง 0 รีวิว
  • อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า

    “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว !

    ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2

    แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย

    นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้

    เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ

    ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121

    การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้

    - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972)

    - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972)

    - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544)

    ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น

    ผิดทั้งหมด !

    เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว

    การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน

    แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ !

    ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้

    นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554

    นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด !

    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด

    “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้

    อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ

    เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา

    แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย

    จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา !

    นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย

    โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน

    ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร

    ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ…

    “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้”

    การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก

    แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน

    พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U

    วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา

    MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี

    แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด

    หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง

    ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ

    หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร

    ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ !

    ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน

    ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย

    แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982

    หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น

    เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ !

    หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้

    ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA

    #Thaitimes
    อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว ! ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2 แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้ เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121 การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้ - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972) - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972) - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544) ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น ผิดทั้งหมด ! เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ ! ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้ นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด ! ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้ อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา ! นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ… “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้” การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ ! ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ ! หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้ ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA #Thaitimes
    WWW.ISRANEWS.ORG
    เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้
    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด
    Love
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1078 มุมมอง 0 รีวิว