เนสกาแฟจ่อขาดตลาด ศาลสั่งห้ามผลิต-ขาย
สร้างความตกใจแก่ผู้บริโภค เมื่อบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ศาลแพ่งมีนบุรีออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามดำเนินการผลิต ว่าจ้างผลิต จำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปโดยใช้เครื่องหมายการค้าเนสกาแฟ (Nescafé) ในประเทศไทย หลังจากนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ ทายาทรุ่น 2 ของนายประยุทธ มหากิจศิริ เจ้าของฉายา "เจ้าพ่อเนสกาแฟ" ฟ้องดำเนินคดีแพ่งกับบริษัทในเครือเนสท์เล่และกรรมการ 2 คดี เป็นผลทำให้บริษัทฯ จะไม่สามารถรับคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เนสกาแฟจากร้านค้าปลีกต่างๆ ทั่วประเทศ แต่ระหว่างนี้ร้านค้าปลีกที่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟอยู่ในร้าน ยังสามารถจำหน่ายได้ตามปกติ
เนสท์เล่ กล่าวถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นว่า ผู้ประกอบการรายย่อย ร้านกาแฟขนาดเล็ก และรถเข็นขายกาแฟจะสูญเสียรายได้ เพราะไม่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟจำหน่าย หากปรับเปลี่ยนสูตรการชงและวัตถุดิบที่ใช้ อาจส่งผลต่อรสชาติที่เปลี่ยนไป กระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการรายย่อย อีกทั้งพนักงานของลูกค้าและคู่ค้าซัพพลายเออร์ ที่เคยสามารถจัดส่งวัตถุดิบต่างๆ ให้กับเนสกาแฟต้องหยุดชะงักลง ส่งผลให้ขาดรายได้ เกษตรกรผู้เพาะปลูกกาแฟ และเกษตรกรโคนมในไทยจะไม่สามารถจำหน่ายวัตถุดิบให้เนสกาแฟได้ ซึ่งทุกปีจะรับซื้อเมล็ดกาแฟดิบพันธุ์โรบัสต้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้บริโภคหลายล้านคนในประเทศไทย และผู้บริโภคในตลาดส่งออกของเนสกาแฟจะไม่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟดื่ม
"เนสท์เล่ จะดำเนินการอย่างเต็มที่ในการแก้ไขสถานการณ์นี้ และกำลังดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวต่อศาล พร้อมยื่นข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ศาลแพ่งมีนบุรีเพื่อการพิจารณาคำร้อง" แถลงการณ์ ระบุ
เนสกาแฟวางตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2533-2567 ผลิตโดย บริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนในสัดส่วนคนละครึ่ง ระหว่างเนสท์เล่ กับตระกูลมหากิจศิริ นำโดยนายประยุทธ มหากิจศิริ แต่อำนาจในการบริหารงานการผลิต การจัดจำหน่าย รวมทั้งการทำการตลาด เป็นของเนสท์เล่ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเนสกาแฟ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเนสท์เล่
เนสท์เล่ ได้แจ้งยุติสัญญากับบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส เมื่อปี 2564 และศาลอนุญาโตตุลาการสากลตัดสินแล้ว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2567 แต่หลังยุติสัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ เนสท์เล่จึงยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ขอให้ศาลมีคำสั่งเลิกบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส แต่เมื่อเดือน มี.ค.-เม.ย. 2568 นายเฉลิมชัยฟ้องศาลแพ่งมีนบุรี ก่อนจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว
#Newskit
สร้างความตกใจแก่ผู้บริโภค เมื่อบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ศาลแพ่งมีนบุรีออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามดำเนินการผลิต ว่าจ้างผลิต จำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปโดยใช้เครื่องหมายการค้าเนสกาแฟ (Nescafé) ในประเทศไทย หลังจากนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ ทายาทรุ่น 2 ของนายประยุทธ มหากิจศิริ เจ้าของฉายา "เจ้าพ่อเนสกาแฟ" ฟ้องดำเนินคดีแพ่งกับบริษัทในเครือเนสท์เล่และกรรมการ 2 คดี เป็นผลทำให้บริษัทฯ จะไม่สามารถรับคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เนสกาแฟจากร้านค้าปลีกต่างๆ ทั่วประเทศ แต่ระหว่างนี้ร้านค้าปลีกที่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟอยู่ในร้าน ยังสามารถจำหน่ายได้ตามปกติ
เนสท์เล่ กล่าวถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นว่า ผู้ประกอบการรายย่อย ร้านกาแฟขนาดเล็ก และรถเข็นขายกาแฟจะสูญเสียรายได้ เพราะไม่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟจำหน่าย หากปรับเปลี่ยนสูตรการชงและวัตถุดิบที่ใช้ อาจส่งผลต่อรสชาติที่เปลี่ยนไป กระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการรายย่อย อีกทั้งพนักงานของลูกค้าและคู่ค้าซัพพลายเออร์ ที่เคยสามารถจัดส่งวัตถุดิบต่างๆ ให้กับเนสกาแฟต้องหยุดชะงักลง ส่งผลให้ขาดรายได้ เกษตรกรผู้เพาะปลูกกาแฟ และเกษตรกรโคนมในไทยจะไม่สามารถจำหน่ายวัตถุดิบให้เนสกาแฟได้ ซึ่งทุกปีจะรับซื้อเมล็ดกาแฟดิบพันธุ์โรบัสต้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้บริโภคหลายล้านคนในประเทศไทย และผู้บริโภคในตลาดส่งออกของเนสกาแฟจะไม่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟดื่ม
"เนสท์เล่ จะดำเนินการอย่างเต็มที่ในการแก้ไขสถานการณ์นี้ และกำลังดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวต่อศาล พร้อมยื่นข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ศาลแพ่งมีนบุรีเพื่อการพิจารณาคำร้อง" แถลงการณ์ ระบุ
เนสกาแฟวางตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2533-2567 ผลิตโดย บริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนในสัดส่วนคนละครึ่ง ระหว่างเนสท์เล่ กับตระกูลมหากิจศิริ นำโดยนายประยุทธ มหากิจศิริ แต่อำนาจในการบริหารงานการผลิต การจัดจำหน่าย รวมทั้งการทำการตลาด เป็นของเนสท์เล่ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเนสกาแฟ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเนสท์เล่
เนสท์เล่ ได้แจ้งยุติสัญญากับบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส เมื่อปี 2564 และศาลอนุญาโตตุลาการสากลตัดสินแล้ว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2567 แต่หลังยุติสัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ เนสท์เล่จึงยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ขอให้ศาลมีคำสั่งเลิกบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส แต่เมื่อเดือน มี.ค.-เม.ย. 2568 นายเฉลิมชัยฟ้องศาลแพ่งมีนบุรี ก่อนจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว
#Newskit
เนสกาแฟจ่อขาดตลาด ศาลสั่งห้ามผลิต-ขาย
สร้างความตกใจแก่ผู้บริโภค เมื่อบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ศาลแพ่งมีนบุรีออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามดำเนินการผลิต ว่าจ้างผลิต จำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปโดยใช้เครื่องหมายการค้าเนสกาแฟ (Nescafé) ในประเทศไทย หลังจากนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ ทายาทรุ่น 2 ของนายประยุทธ มหากิจศิริ เจ้าของฉายา "เจ้าพ่อเนสกาแฟ" ฟ้องดำเนินคดีแพ่งกับบริษัทในเครือเนสท์เล่และกรรมการ 2 คดี เป็นผลทำให้บริษัทฯ จะไม่สามารถรับคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เนสกาแฟจากร้านค้าปลีกต่างๆ ทั่วประเทศ แต่ระหว่างนี้ร้านค้าปลีกที่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟอยู่ในร้าน ยังสามารถจำหน่ายได้ตามปกติ
เนสท์เล่ กล่าวถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นว่า ผู้ประกอบการรายย่อย ร้านกาแฟขนาดเล็ก และรถเข็นขายกาแฟจะสูญเสียรายได้ เพราะไม่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟจำหน่าย หากปรับเปลี่ยนสูตรการชงและวัตถุดิบที่ใช้ อาจส่งผลต่อรสชาติที่เปลี่ยนไป กระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการรายย่อย อีกทั้งพนักงานของลูกค้าและคู่ค้าซัพพลายเออร์ ที่เคยสามารถจัดส่งวัตถุดิบต่างๆ ให้กับเนสกาแฟต้องหยุดชะงักลง ส่งผลให้ขาดรายได้ เกษตรกรผู้เพาะปลูกกาแฟ และเกษตรกรโคนมในไทยจะไม่สามารถจำหน่ายวัตถุดิบให้เนสกาแฟได้ ซึ่งทุกปีจะรับซื้อเมล็ดกาแฟดิบพันธุ์โรบัสต้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้บริโภคหลายล้านคนในประเทศไทย และผู้บริโภคในตลาดส่งออกของเนสกาแฟจะไม่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟดื่ม
"เนสท์เล่ จะดำเนินการอย่างเต็มที่ในการแก้ไขสถานการณ์นี้ และกำลังดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวต่อศาล พร้อมยื่นข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ศาลแพ่งมีนบุรีเพื่อการพิจารณาคำร้อง" แถลงการณ์ ระบุ
เนสกาแฟวางตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2533-2567 ผลิตโดย บริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนในสัดส่วนคนละครึ่ง ระหว่างเนสท์เล่ กับตระกูลมหากิจศิริ นำโดยนายประยุทธ มหากิจศิริ แต่อำนาจในการบริหารงานการผลิต การจัดจำหน่าย รวมทั้งการทำการตลาด เป็นของเนสท์เล่ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเนสกาแฟ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเนสท์เล่
เนสท์เล่ ได้แจ้งยุติสัญญากับบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส เมื่อปี 2564 และศาลอนุญาโตตุลาการสากลตัดสินแล้ว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2567 แต่หลังยุติสัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ เนสท์เล่จึงยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ขอให้ศาลมีคำสั่งเลิกบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส แต่เมื่อเดือน มี.ค.-เม.ย. 2568 นายเฉลิมชัยฟ้องศาลแพ่งมีนบุรี ก่อนจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว
#Newskit
