• ก.ล.ต. สั่งพักเป็นที่ปรึกษาการเงิน KGI (23/05/68) #news1 #คุยคุ้ยหุ้น #ก.ล.ต. #KGI #หุ้น
    ก.ล.ต. สั่งพักเป็นที่ปรึกษาการเงิน KGI (23/05/68) #news1 #คุยคุ้ยหุ้น #ก.ล.ต. #KGI #หุ้น
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 482 มุมมอง 29 0 รีวิว
  • อ่านดีๆ ดูดีๆ

    ทำความรู้จัก G-Token เครื่องมือกู้เงินใหม่ของรัฐบาลไทย คล้าย ‘พันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบโทเคน’ หวังเข้าถึง ‘คนรุ่นใหม่’ เพิ่มการออมของประชาชน และเพิ่มการเข้าถึงการเงินให้ทั่วถึงและเท่าเทียม (Financial Inclusion) มากขึ้น โดยเล็งออก G-Token ในราคาเริ่มต้น หน่วยละ 1 บาทเท่านั้น ยืนยันผลตอบแทนดี สามารถซื้อได้ผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เร็วสุดในกรกฎาคมปีนี้



    เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกโทเคนดิจิทัล พ.ศ. …. นับเป็นการเปิดทางให้ กระทรวงการคลังสามารถออกและเสนอขาย ‘โทเคนดิจิทัลของรัฐบาล’ (Government Token: G-Token) เป็นประเทศแรกของโลก



    ความเคลื่อนไหวครั้งนี้นับว่ามีขึ้นหลัง เมื่อปลายปีที่แล้ว ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นำเสนอแนวคิดการออกสเตเบิลคอยน์ที่ค้ำประกันด้วยพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) ซึ่งไม่นานหลังจากนั้น พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยว่า มีแผนการ Bond Tokenization หรือการออกโทเคนโดยมีพันธบัตรรัฐบาลหนุน (Backed)



    ‘โทเคนดิจิทัลของรัฐบาล’ (G-Token) คืออะไร?


    ไม่ใช่เงินตรา เนื่องจาก ไม่สามารถใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือชำระเงินได้
    ไม่ใช่คริปโตเคอร์เรนซี
    เป็น ‘เครื่องมือการระดมทุน’ โดยเทียบเคียงได้กับ ‘พันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง’
    เป็นการกู้เงินโดยตรงจากประชาชนของรัฐบาล


    G-Token ไม่กระทบหนี้สาธารณะ ไม่เกี่ยวกับดิจิทัลวอลเล็ต


    พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) อธิบายเพิ่มเติมว่า การออก G-Token นี้เป็นการระดมทุนรูปแบบใหม่ คล้ายคลึงกับการออกพันธบัตรออมทรัพย์สำหรับประชาชนตามปกติของ สบน.



    โดยการออก G-Token รอบแรก คาดว่า จะออกในวงเงินไม่เกิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการระดมเงิน ภายใต้กรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2568 ตามปกติ และเป็นไปตามกรอบวงเงินการออกพันธบัตรออมทรัพย์ประจำปีงบประมาณ 2568 ที่ สบน. วางแผนไว้ว่าในวงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาท



    ดังนั้นการออก G-Token ในรอบแรกนี้จึงจะไม่เพิ่ม หรือไม่กระทบต่อ ‘หนี้สาธารณะ’ และไม่ใช่การระดมทุนเพื่อนำไปใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตแต่อย่างใด



    ยืนยันการออกเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ


    พชรยังยืนยันว่า การออก G-Token นี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และ พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2567 ของ ก.ล.ต.



    “มติ ครม. วันนี้ เป็นการเปิดทางให้กระทรวงการคลัง ออก G-Token ตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 10 ที่ระบุว่า การกู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้หรือวิธีการอื่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ” พชร กล่าว



    นอกจากนี้พชรยังเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ได้ขอความเห็นจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ได้ยืนยันว่า ธปท.ไม่ได้ดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ G-Token นี้
    อ่านดีๆ ดูดีๆ ทำความรู้จัก G-Token เครื่องมือกู้เงินใหม่ของรัฐบาลไทย คล้าย ‘พันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบโทเคน’ หวังเข้าถึง ‘คนรุ่นใหม่’ เพิ่มการออมของประชาชน และเพิ่มการเข้าถึงการเงินให้ทั่วถึงและเท่าเทียม (Financial Inclusion) มากขึ้น โดยเล็งออก G-Token ในราคาเริ่มต้น หน่วยละ 1 บาทเท่านั้น ยืนยันผลตอบแทนดี สามารถซื้อได้ผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เร็วสุดในกรกฎาคมปีนี้ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกโทเคนดิจิทัล พ.ศ. …. นับเป็นการเปิดทางให้ กระทรวงการคลังสามารถออกและเสนอขาย ‘โทเคนดิจิทัลของรัฐบาล’ (Government Token: G-Token) เป็นประเทศแรกของโลก ความเคลื่อนไหวครั้งนี้นับว่ามีขึ้นหลัง เมื่อปลายปีที่แล้ว ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นำเสนอแนวคิดการออกสเตเบิลคอยน์ที่ค้ำประกันด้วยพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) ซึ่งไม่นานหลังจากนั้น พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยว่า มีแผนการ Bond Tokenization หรือการออกโทเคนโดยมีพันธบัตรรัฐบาลหนุน (Backed) ‘โทเคนดิจิทัลของรัฐบาล’ (G-Token) คืออะไร? ไม่ใช่เงินตรา เนื่องจาก ไม่สามารถใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือชำระเงินได้ ไม่ใช่คริปโตเคอร์เรนซี เป็น ‘เครื่องมือการระดมทุน’ โดยเทียบเคียงได้กับ ‘พันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง’ เป็นการกู้เงินโดยตรงจากประชาชนของรัฐบาล G-Token ไม่กระทบหนี้สาธารณะ ไม่เกี่ยวกับดิจิทัลวอลเล็ต พชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) อธิบายเพิ่มเติมว่า การออก G-Token นี้เป็นการระดมทุนรูปแบบใหม่ คล้ายคลึงกับการออกพันธบัตรออมทรัพย์สำหรับประชาชนตามปกติของ สบน. โดยการออก G-Token รอบแรก คาดว่า จะออกในวงเงินไม่เกิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการระดมเงิน ภายใต้กรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2568 ตามปกติ และเป็นไปตามกรอบวงเงินการออกพันธบัตรออมทรัพย์ประจำปีงบประมาณ 2568 ที่ สบน. วางแผนไว้ว่าในวงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาท ดังนั้นการออก G-Token ในรอบแรกนี้จึงจะไม่เพิ่ม หรือไม่กระทบต่อ ‘หนี้สาธารณะ’ และไม่ใช่การระดมทุนเพื่อนำไปใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตแต่อย่างใด ยืนยันการออกเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ พชรยังยืนยันว่า การออก G-Token นี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และ พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2567 ของ ก.ล.ต. “มติ ครม. วันนี้ เป็นการเปิดทางให้กระทรวงการคลัง ออก G-Token ตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 10 ที่ระบุว่า การกู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้หรือวิธีการอื่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ” พชร กล่าว นอกจากนี้พชรยังเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ได้ขอความเห็นจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ได้ยืนยันว่า ธปท.ไม่ได้ดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ G-Token นี้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 254 มุมมอง 0 รีวิว
  • 14 พฤษภาคม 2568 -อดีตรัฐมนตรีคลัง ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล วิเคราะห์เรื่องสำคัญในประเด็น“ประเทศชาติได้อะไรจาก G-token“[เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2568 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติวิธีการกู้เงินโดยการออกโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล (Government Token: G-Token) ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548อนุมัติให้กระทรวงการคลังออกโทเคนดิจิทัลโดยวงเงินกู้ตามกรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณด้วยวิธีการเสนอขายให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อโดยตรงผ่านผู้ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือนิติบุคคลอื่นที่สามารถรับคำสั่งซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้ ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและการออกโทเคนดิจิทัล นายทะเบียน หรือผู้รับฝากโทเคนดิจิทัล เป็นต้นให้กระทรวงการคลังกำหนดหลักเกณฑ์การชำระระดอกเบี้ยและการใช้เงินตามโทเคนดิจิทัล โดยให้กระทรวงการคลังหรือนิติบุคคลอื่นใดที่กระทรวงการคลังมอบหมาย โอนเงินให้แก่ผู้ถือโทเคน ดิจิทัลหรือผู้รับตามที่นายทะเบียนกำหนด ให้การโอนโทเคนดิจิทัลดำเนินการตามวิธีการที่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือนิติบุคคลอื่นใดที่สามารถรับคำสั่งซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้โอนได้เปิดบัญชีเก็บรักษาโทเคนดิจิทัลของตนไว้โดยให้มีผลสมบูรณ์เมื่อผู้โอนนั้นได้บันทึกการรับโอนโทเคนดิจิทัลเข้าไปในบัญชีของผู้รับโอนแล้ว เพื่อนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการพัฒนากลไกการบริหารหนี้สาธารณะให้มีประสิทธิภาพและภาครัฐสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่หลากหลายมากขึ้น ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการออมของภาคประชาชน อันสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัล พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่มีคุณภาพ มั่นคง ปลอดภัย ครอบคลุมเพียงพอ และเข้าถึงได้ทั้งในด้านพื้นที่และราคา เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงบประมาณ และธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นว่า หาก กค. พิจารณาได้ว่าการกู้เงินโดยวิธีการออก G-Token ไม่ใช่การออกตราสารหนี้ ซึ่งไม่เป็น “หลักทรัพย์” ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แล้ว ก็สามารถดำเนินการภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 โดย G-Token มีการกำหนดสิทธิให้ผู้ถือมีสิทธิได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตามเงื่อนไขที่ กค. กำหนด จึงมีลักษณะเป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือ กิจการใด ๆ หรือกำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง และเข้าข่ายเป็นโทเคนดิจิทัล ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561]**ถามว่า ประเทศชาติได้อะไรจาก G-token?+เรื่อง การนำประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลการนำประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลให้สำเร็จนั้น มีเรื่องที่ต้องดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐานก่อนหลายอย่าง (ดูรูป) กล่าวคือ (1) ต้องช่วยให้ประชากรเข้าถึงระบบอินเทอร์เนตอย่างกว้างขวาง (2) ต้องให้ความรู้ทั้งในระบบโรงเรียนและในกลุ่มประชาคม (3) ต้องพัฒนาธุรกิจการเงินแบบดิจิทัลให้กว้างขวางมากขึ้น (4) ต้องกระตุ้นคนรุ่นหนุ่มสาวให้ลองทำธุรกิจขนาดย่อมด้านดิจิทัลให้มากขึ้น และ (5) รัฐต้องให้บริการทางออนไลน์มากขึ้นรวมทั้งใช้บล็อกเชนในการบริหารราชการให้โปร่งใส หน้าที่ของฝ่ายรัฐบาล คือพัฒนาให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ รวมไปถึงความแน่นอนด้านกฎหมายที่จะตีความกรณีเกิดข้อพิพาทเกี่ยวข้องกับโทเคน และการนำโทเคนไปใช้เป็นหลักประกันส่วนการดำเนินการให้โทเคนเกิดขึ้นในหลักทรัพย์ต่างๆ (tokenization) อย่างหลากหลาย เพื่อนำไปสู่ตลาดทุนดิจิทัลนั้น จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วนเสียก่อน ทั้ง stable coin สกุลบาท ทั้ง smart contract ทั้งระบบเคลียริ่งที่ปลอดภัย โดยภายหลังจากมีโครงสร้างพื้นฐานแน่นหนาแล้ว ก็จะเป็นหน้าที่ของเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ สำหรับรัฐบาลเองไม่ควรมีหน้าที่ไปออกโทเคนของตนเอง ดังเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ยังไม่มีประเทศใดที่ระบบการเงินล้ำหน้า ที่รัฐบาลเป็นผู้ออกโทเคนของตนเองในการกู้หนี้สาธารณะ+เรื่อง การทำให้ผู้ลงทุนรายย่อยซื้อพันธบัตรได้สะดวกวิธีการในการเปิดให้ผู้ลงทุนรายย่อยเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลนั้นมีอยู่แล้วในปัจจุบัน ด้วยกลไกผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงต้องชี้แจงให้ชัดเจนก่อนว่า G-Token จะเพิ่มความสะดวกอย่างใดแก่ผู้ลงทุน โดยเฉพาะในเรื่องการขายคืน ซึ่งราคาในกองทุนรวมจะเป็นไปตามกติกาโดยมี ก.ล.ต. กำกับดูแล แต่กรณี G-Token ผู้ลงทุนจะต้องไปขายในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งราคาอาจจะผันผวนไปแต่ละชั่วโมงตามแรงเก็งกำไรได้แทนที่จะเป็นการชักจูงให้ผู้ลงทุนรายย่อย ลงทุนเพื่อออมเงินอย่างปลอดภัย ระวังจะกลับกลายเป็นเวทีเก็งกำไร ระวังจะกลายเป็นกาสิโนโทเคนดิจิทัล+เรื่อง ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548ถึงแม้มาตรา 10 วรรคหนึ่งเปิดช่อง ให้กู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้จะทำเป็นวิธีการอื่นใดก็ได้ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ แต่ข้อความก่อนหน้าซึ่งบัญญัติว่า “การกู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้หรือวิธีการอื่นใดก็ได้” นั้น คำว่า “วิธีการอื่นใด” น่าจะอยู่ในความหมายเดียวกับสัญญาหรือตราสารหนี้ ดังที่รายงานคณะรัฐมนตรีไว้ว่า “ปัจจุบัน การกู้เงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หรือหุ้นกู้”การที่ กค. พิจารณาได้ว่าการกู้เงินโดยวิธีการออก G-Token ไม่ใช่การออกตราสารหนี้ เพื่อไม่เป็นให้เป็น “หลักทรัพย์” ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นั้น ผมเห็นว่าขัดกับเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548ทั้งนี้ โทเคนดิจิทัลซึ่งตามนิยามในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 กำหนดเป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือในการได้มาซึ่งสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง นั้น คำว่า token แปลว่า สัญลักษณ์ ดังเช่น non-fungible token (NFT) หมายถึงสัญลักษณ์ที่ไม่สามารถแทนกันได้ ตัวอย่างที่ใช้กรณีงานศิลปะ ดังนั้น G-Token จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนสัญญาหรือตราสารหนี้ที่ผูกพันกระทรวงการคลัง ตัว G-Token เองจึงไม่ใช่สัญญาหรือตราสารหนี้ที่ผูกพันกระทรวงการคลังผมจึงเห็นว่า ในเมื่อเป็นเพียงสัญลักษณ์แทน แต่ไม่ใช่สัญญาหรือตราสารหนี้ที่ผูกพันกระทรวงการคลัง จึงไม่เข้าข่ายนิยามใดในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และจะนำไปสู่ปัญหาข้อพิพาททางกฎหมายเกิดขึ้นได้ในภายหลัง+เรื่อง การปฏิบัติตามกฏหมายเงินตรายังมีจำเป็นจะต้องมีเงื่อนไขบังคับ เพื่อไม่ให้ผู้ถือ G-Token นำไปใช้เพื่อชำระหนี้ตามกฎหมายแก่บุคคลอื่น เพราะจะเข้าข่ายเป็นเงินตราอย่างหนึ่งซึ่งจะต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนกระทรวงการคลังต้องชี้แจงก่อนว่า จะมีมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้ถือ G-Token นำไปใช้เพื่อชำระหนี้ตามกฎหมายแก่บุคคลอื่นได้อย่างไร+เรื่อง การประหยัดค่าใช้จ่ายนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง กล่าวว่าการออก G-Token จะช่วยลดต้นทุนการดำเนินการ จากเดิมที่ออกพันธบัตรมีค่าธรรมเนียมดำเนินการจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 0.03% ของกรอบวงเงินจำหน่ายนั้น กระทรวงการคลังจะต้องแจกแจงก่อนว่า G-Token จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายจริงเท่าไหร่ ทั้งด้านกระทรวงการคลัง ซึ่งต้องรวมไปถึงค่าใช้จ่ายทำหน้าที่เป็นนายทะเบียน ว่าต่ำกว่า ธปท. อย่างไร และทั้งด้านประชาชนผู้ลงทุนที่จะซื้อและขายคืน จะสูงหรือต่ำกว่ากลไกกองทุนรวมอย่างใดทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าเงินที่กระทรวงการคลังจ่ายแก่ ธปท. นั้นไม่รั่วไหลไปไหน เพราะ ธปท. เป็นองค์กรของรัฐ **กล่าวโดยสรุป ระบบการขายพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ของรัฐบาลที่มีอยู่แล้วขณะนี้โดยผ่านกลไก ธปท. นั้น ใช้งานได้ดีไม่เคยมีปัญหา ดังนั้น การที่กระทรวงการคลังจะเพิ่มแนวการกู้หนี้สาธารณะโดยใช้โทเคนดิจิทัลนั้น จะต้องชั่งน้ำหนักแสดงแก่ประชาชนก่อนว่า ผลได้คุ้มกับผลเสียหรือไม่ส่วนความหวังที่จะนำไปสู่ตลาดทุนดิจิทัลนั้น ควรนำเสนอต่อประชาชนก่อนว่า รัฐบาลมีแผนการพัฒนาองค์รวมด้านนี้เป็นอย่างไร ไม่ใช่เดินหน้าเพียงเสี้ยวเดียวในเรื่องของการจัดทำโทเคนของรัฐบาล ซึ่งจนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีรัฐบาลอื่นใดในโลกที่ดำเนินการวันที่ 14 พฤษภาคม 2568นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายเศรษฐกิจ พรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    14 พฤษภาคม 2568 -อดีตรัฐมนตรีคลัง ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล วิเคราะห์เรื่องสำคัญในประเด็น“ประเทศชาติได้อะไรจาก G-token“[เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2568 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติวิธีการกู้เงินโดยการออกโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล (Government Token: G-Token) ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548อนุมัติให้กระทรวงการคลังออกโทเคนดิจิทัลโดยวงเงินกู้ตามกรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณด้วยวิธีการเสนอขายให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อโดยตรงผ่านผู้ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือนิติบุคคลอื่นที่สามารถรับคำสั่งซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้ ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและการออกโทเคนดิจิทัล นายทะเบียน หรือผู้รับฝากโทเคนดิจิทัล เป็นต้นให้กระทรวงการคลังกำหนดหลักเกณฑ์การชำระระดอกเบี้ยและการใช้เงินตามโทเคนดิจิทัล โดยให้กระทรวงการคลังหรือนิติบุคคลอื่นใดที่กระทรวงการคลังมอบหมาย โอนเงินให้แก่ผู้ถือโทเคน ดิจิทัลหรือผู้รับตามที่นายทะเบียนกำหนด ให้การโอนโทเคนดิจิทัลดำเนินการตามวิธีการที่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือนิติบุคคลอื่นใดที่สามารถรับคำสั่งซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้โอนได้เปิดบัญชีเก็บรักษาโทเคนดิจิทัลของตนไว้โดยให้มีผลสมบูรณ์เมื่อผู้โอนนั้นได้บันทึกการรับโอนโทเคนดิจิทัลเข้าไปในบัญชีของผู้รับโอนแล้ว เพื่อนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการพัฒนากลไกการบริหารหนี้สาธารณะให้มีประสิทธิภาพและภาครัฐสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่หลากหลายมากขึ้น ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการออมของภาคประชาชน อันสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัล พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่มีคุณภาพ มั่นคง ปลอดภัย ครอบคลุมเพียงพอ และเข้าถึงได้ทั้งในด้านพื้นที่และราคา เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงบประมาณ และธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นว่า หาก กค. พิจารณาได้ว่าการกู้เงินโดยวิธีการออก G-Token ไม่ใช่การออกตราสารหนี้ ซึ่งไม่เป็น “หลักทรัพย์” ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แล้ว ก็สามารถดำเนินการภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 โดย G-Token มีการกำหนดสิทธิให้ผู้ถือมีสิทธิได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตามเงื่อนไขที่ กค. กำหนด จึงมีลักษณะเป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือ กิจการใด ๆ หรือกำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง และเข้าข่ายเป็นโทเคนดิจิทัล ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561]**ถามว่า ประเทศชาติได้อะไรจาก G-token?+เรื่อง การนำประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลการนำประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลให้สำเร็จนั้น มีเรื่องที่ต้องดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐานก่อนหลายอย่าง (ดูรูป) กล่าวคือ (1) ต้องช่วยให้ประชากรเข้าถึงระบบอินเทอร์เนตอย่างกว้างขวาง (2) ต้องให้ความรู้ทั้งในระบบโรงเรียนและในกลุ่มประชาคม (3) ต้องพัฒนาธุรกิจการเงินแบบดิจิทัลให้กว้างขวางมากขึ้น (4) ต้องกระตุ้นคนรุ่นหนุ่มสาวให้ลองทำธุรกิจขนาดย่อมด้านดิจิทัลให้มากขึ้น และ (5) รัฐต้องให้บริการทางออนไลน์มากขึ้นรวมทั้งใช้บล็อกเชนในการบริหารราชการให้โปร่งใส หน้าที่ของฝ่ายรัฐบาล คือพัฒนาให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ รวมไปถึงความแน่นอนด้านกฎหมายที่จะตีความกรณีเกิดข้อพิพาทเกี่ยวข้องกับโทเคน และการนำโทเคนไปใช้เป็นหลักประกันส่วนการดำเนินการให้โทเคนเกิดขึ้นในหลักทรัพย์ต่างๆ (tokenization) อย่างหลากหลาย เพื่อนำไปสู่ตลาดทุนดิจิทัลนั้น จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วนเสียก่อน ทั้ง stable coin สกุลบาท ทั้ง smart contract ทั้งระบบเคลียริ่งที่ปลอดภัย โดยภายหลังจากมีโครงสร้างพื้นฐานแน่นหนาแล้ว ก็จะเป็นหน้าที่ของเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ สำหรับรัฐบาลเองไม่ควรมีหน้าที่ไปออกโทเคนของตนเอง ดังเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ยังไม่มีประเทศใดที่ระบบการเงินล้ำหน้า ที่รัฐบาลเป็นผู้ออกโทเคนของตนเองในการกู้หนี้สาธารณะ+เรื่อง การทำให้ผู้ลงทุนรายย่อยซื้อพันธบัตรได้สะดวกวิธีการในการเปิดให้ผู้ลงทุนรายย่อยเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลนั้นมีอยู่แล้วในปัจจุบัน ด้วยกลไกผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงต้องชี้แจงให้ชัดเจนก่อนว่า G-Token จะเพิ่มความสะดวกอย่างใดแก่ผู้ลงทุน โดยเฉพาะในเรื่องการขายคืน ซึ่งราคาในกองทุนรวมจะเป็นไปตามกติกาโดยมี ก.ล.ต. กำกับดูแล แต่กรณี G-Token ผู้ลงทุนจะต้องไปขายในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งราคาอาจจะผันผวนไปแต่ละชั่วโมงตามแรงเก็งกำไรได้แทนที่จะเป็นการชักจูงให้ผู้ลงทุนรายย่อย ลงทุนเพื่อออมเงินอย่างปลอดภัย ระวังจะกลับกลายเป็นเวทีเก็งกำไร ระวังจะกลายเป็นกาสิโนโทเคนดิจิทัล+เรื่อง ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548ถึงแม้มาตรา 10 วรรคหนึ่งเปิดช่อง ให้กู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้จะทำเป็นวิธีการอื่นใดก็ได้ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ แต่ข้อความก่อนหน้าซึ่งบัญญัติว่า “การกู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้หรือวิธีการอื่นใดก็ได้” นั้น คำว่า “วิธีการอื่นใด” น่าจะอยู่ในความหมายเดียวกับสัญญาหรือตราสารหนี้ ดังที่รายงานคณะรัฐมนตรีไว้ว่า “ปัจจุบัน การกู้เงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หรือหุ้นกู้”การที่ กค. พิจารณาได้ว่าการกู้เงินโดยวิธีการออก G-Token ไม่ใช่การออกตราสารหนี้ เพื่อไม่เป็นให้เป็น “หลักทรัพย์” ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นั้น ผมเห็นว่าขัดกับเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548ทั้งนี้ โทเคนดิจิทัลซึ่งตามนิยามในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 กำหนดเป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือในการได้มาซึ่งสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง นั้น คำว่า token แปลว่า สัญลักษณ์ ดังเช่น non-fungible token (NFT) หมายถึงสัญลักษณ์ที่ไม่สามารถแทนกันได้ ตัวอย่างที่ใช้กรณีงานศิลปะ ดังนั้น G-Token จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนสัญญาหรือตราสารหนี้ที่ผูกพันกระทรวงการคลัง ตัว G-Token เองจึงไม่ใช่สัญญาหรือตราสารหนี้ที่ผูกพันกระทรวงการคลังผมจึงเห็นว่า ในเมื่อเป็นเพียงสัญลักษณ์แทน แต่ไม่ใช่สัญญาหรือตราสารหนี้ที่ผูกพันกระทรวงการคลัง จึงไม่เข้าข่ายนิยามใดในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และจะนำไปสู่ปัญหาข้อพิพาททางกฎหมายเกิดขึ้นได้ในภายหลัง+เรื่อง การปฏิบัติตามกฏหมายเงินตรายังมีจำเป็นจะต้องมีเงื่อนไขบังคับ เพื่อไม่ให้ผู้ถือ G-Token นำไปใช้เพื่อชำระหนี้ตามกฎหมายแก่บุคคลอื่น เพราะจะเข้าข่ายเป็นเงินตราอย่างหนึ่งซึ่งจะต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนกระทรวงการคลังต้องชี้แจงก่อนว่า จะมีมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้ถือ G-Token นำไปใช้เพื่อชำระหนี้ตามกฎหมายแก่บุคคลอื่นได้อย่างไร+เรื่อง การประหยัดค่าใช้จ่ายนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง กล่าวว่าการออก G-Token จะช่วยลดต้นทุนการดำเนินการ จากเดิมที่ออกพันธบัตรมีค่าธรรมเนียมดำเนินการจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 0.03% ของกรอบวงเงินจำหน่ายนั้น กระทรวงการคลังจะต้องแจกแจงก่อนว่า G-Token จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายจริงเท่าไหร่ ทั้งด้านกระทรวงการคลัง ซึ่งต้องรวมไปถึงค่าใช้จ่ายทำหน้าที่เป็นนายทะเบียน ว่าต่ำกว่า ธปท. อย่างไร และทั้งด้านประชาชนผู้ลงทุนที่จะซื้อและขายคืน จะสูงหรือต่ำกว่ากลไกกองทุนรวมอย่างใดทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าเงินที่กระทรวงการคลังจ่ายแก่ ธปท. นั้นไม่รั่วไหลไปไหน เพราะ ธปท. เป็นองค์กรของรัฐ **กล่าวโดยสรุป ระบบการขายพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ของรัฐบาลที่มีอยู่แล้วขณะนี้โดยผ่านกลไก ธปท. นั้น ใช้งานได้ดีไม่เคยมีปัญหา ดังนั้น การที่กระทรวงการคลังจะเพิ่มแนวการกู้หนี้สาธารณะโดยใช้โทเคนดิจิทัลนั้น จะต้องชั่งน้ำหนักแสดงแก่ประชาชนก่อนว่า ผลได้คุ้มกับผลเสียหรือไม่ส่วนความหวังที่จะนำไปสู่ตลาดทุนดิจิทัลนั้น ควรนำเสนอต่อประชาชนก่อนว่า รัฐบาลมีแผนการพัฒนาองค์รวมด้านนี้เป็นอย่างไร ไม่ใช่เดินหน้าเพียงเสี้ยวเดียวในเรื่องของการจัดทำโทเคนของรัฐบาล ซึ่งจนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีรัฐบาลอื่นใดในโลกที่ดำเนินการวันที่ 14 พฤษภาคม 2568นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายเศรษฐกิจ พรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 375 มุมมอง 0 รีวิว
  • มูดี้ส์ลดอันดับอนาคตของไทย เกิดจากนโยบายรัฐบาลเมื่อวันที่ 29 เม.ย. มูดี้ส์ลดอันดับอนาคตของไทยจากสถานะ “ทรงตัว” เป็น “โน้มลง” ถึงแม้ระดับเรตติ้งจะคงเดิมก็ตาม (Baa1)นักวิเคราะห์บางคนเข้าใจว่า เกิดจากปัจจัยภาษีทรัมป์ ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของรัฐบาล โดยอาจดูจากคำบรรยาย[The already announced US tariffs are likely to weigh significantly on global trade and global economic growth, and which will affect Thailand's open economy. In addition, there remains significant uncertainty as to whether the US will implement additional tariffs on Thailand and other countries, after the 90-day pause elapse.][ภาษีทรัมป์จะกระทบเศรษฐกิจการค้าโลก และจะกระทบไทยเนื่องจากมีการส่งออกมาก รวมทั้งไม่ชัดเจนว่า เมื่อครบ 90 วัน สหรัฐจะยังเก็บภาษีตอบโต้เท่าใด]**แต่ในข้อเท็จจริง ปัจจัยหลักที่ มูดี้ส์ ใช้พิจารณานั้น อยู่ที่นโยบายรัฐบาล ดังเห็นได้ว่า คำอธิบายเหตุผลเริ่มต้นว่า[The decision to change the outlook to negative from stable captures the risks that Thailand's economic and fiscal strength will weaken further.][เหตุผลที่เราลดอันดับ เนื่องจากไทยมีความเสี่ยงทั้งด้านเศรษฐกิจและฐานะการคลังมีแนวโน้มจะเลวลง][This shock exacerbates Thailand's already sluggish economic recovery post-pandemic, and risk aggravating the trend decline in the country's potential growth. Material downward pressures on Thailand's growth raises risks of further weakening in the government's fiscal position, which has already deteriorated since the pandemic.][เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวหลังวิกฤตโควิดอย่างอืดอาด และศักยภาพการเติบโตมีแนวโน้มต่ำลง ซึ่งจะยิ่งทำให้ฐานะการคลังที่อ่อนแออยู่แล้วตั้งแต่โควิด จะเลวลงไปอีก]**นี่เอง ปัจจัยหลักที่ มูดี้ส์ ลดอันดับอนาคตไทย ก็เนื่องจากความเป็นห่วงในฐานะการคลัง **ซึ่งรัฐบาลมีรายจ่ายเกินรายได้ > ทำให้ขาดดุลงบประมาณทุกปี > ประกอบกับรัฐบาลนี้และรัฐบาลก่อนหน้ากู้เงินมาแจกหมื่น > เพื่อกินใช้รายวัน > โดยไม่กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน > ถึงแม้ จีดีพีเพิ่มบ้างเล็กน้อยก็เป็นแบบไฟไหม้ฟาง วูบเดียวก็หมดไป**อย่างไรก็ดี มูดี้ส์ ให้คะแนน 3 ปัจจัยบวกหนึ่ง แบงค์ชาติและระบบราชการน่าเชื่อถือ[The affirmation of the Baa1 ratings reflects the country's moderately strong institutions and governance which support sound monetary and macroeconomic policies.][เรายังคงอันดับเครดิตไว้ที่ Baa1 เพราะองค์กรด้านนโยบายการเงินและพัฒนาเศรษฐกิจยังพอจะสามารถประคองความน่าเชื่อถือ]**ผมเพิ่มเติมว่า คือสังคมไทยยังช่วยกันคัดค้านการแทรกแซงที่ไม่ถูกต้องสอง มีการพัฒนาตลาดพันธบัตรดี[The Baal ratings also take into account Thailand's moderately strong debt affordability - despite the sharp increase in government debt since the pandemic - supported by its deep domestic markets and the fact that its government debt is almost entirely denominated in local currency.][และถึงแม้รัฐบาลจะกู้เงินมากแล้วตั้งแต่วิกฤตโควิด ตลาดพันธบัตรไทยได้พัฒนาจนมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับการกู้เพิ่มได้ การที่หนี้สาธารณะเกือบทั้งหมดเป็นสกุลบาท (ทำให้รัฐบาลไม่มีความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน)]**ผมเพิ่มเติมว่า บุคคลหลักที่สร้างรากฐานตลาดพันธบัตรไทยคือ 2 อดีตผู้ว่าฯ ม.ร.ว.จตุมงคล และ ม.ร.ว.ปรีดียาธร โดยผมรับลูกในตำแหน่งเลขา ก.ล.ต.สาม มีทุนสำรองมั่นคง[Moreover, Thailand has a strong external position, with ample foreign exchange reserves buffer.][และไทยมีทุนสำรองมากพอ ฐานะหนี้สกุลต่างประเทศต่ำ]ผมจึงขอแนะนำให้รัฐบาลนำข้อวิเคราะห์เหล่านี้ไปปรับปรุงนโยบายเป็นการด่วนวันที่ 30 เมษายน 2568นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายเศรษฐกิจ พรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    มูดี้ส์ลดอันดับอนาคตของไทย เกิดจากนโยบายรัฐบาลเมื่อวันที่ 29 เม.ย. มูดี้ส์ลดอันดับอนาคตของไทยจากสถานะ “ทรงตัว” เป็น “โน้มลง” ถึงแม้ระดับเรตติ้งจะคงเดิมก็ตาม (Baa1)นักวิเคราะห์บางคนเข้าใจว่า เกิดจากปัจจัยภาษีทรัมป์ ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของรัฐบาล โดยอาจดูจากคำบรรยาย[The already announced US tariffs are likely to weigh significantly on global trade and global economic growth, and which will affect Thailand's open economy. In addition, there remains significant uncertainty as to whether the US will implement additional tariffs on Thailand and other countries, after the 90-day pause elapse.][ภาษีทรัมป์จะกระทบเศรษฐกิจการค้าโลก และจะกระทบไทยเนื่องจากมีการส่งออกมาก รวมทั้งไม่ชัดเจนว่า เมื่อครบ 90 วัน สหรัฐจะยังเก็บภาษีตอบโต้เท่าใด]**แต่ในข้อเท็จจริง ปัจจัยหลักที่ มูดี้ส์ ใช้พิจารณานั้น อยู่ที่นโยบายรัฐบาล ดังเห็นได้ว่า คำอธิบายเหตุผลเริ่มต้นว่า[The decision to change the outlook to negative from stable captures the risks that Thailand's economic and fiscal strength will weaken further.][เหตุผลที่เราลดอันดับ เนื่องจากไทยมีความเสี่ยงทั้งด้านเศรษฐกิจและฐานะการคลังมีแนวโน้มจะเลวลง][This shock exacerbates Thailand's already sluggish economic recovery post-pandemic, and risk aggravating the trend decline in the country's potential growth. Material downward pressures on Thailand's growth raises risks of further weakening in the government's fiscal position, which has already deteriorated since the pandemic.][เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวหลังวิกฤตโควิดอย่างอืดอาด และศักยภาพการเติบโตมีแนวโน้มต่ำลง ซึ่งจะยิ่งทำให้ฐานะการคลังที่อ่อนแออยู่แล้วตั้งแต่โควิด จะเลวลงไปอีก]**นี่เอง ปัจจัยหลักที่ มูดี้ส์ ลดอันดับอนาคตไทย ก็เนื่องจากความเป็นห่วงในฐานะการคลัง **ซึ่งรัฐบาลมีรายจ่ายเกินรายได้ > ทำให้ขาดดุลงบประมาณทุกปี > ประกอบกับรัฐบาลนี้และรัฐบาลก่อนหน้ากู้เงินมาแจกหมื่น > เพื่อกินใช้รายวัน > โดยไม่กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน > ถึงแม้ จีดีพีเพิ่มบ้างเล็กน้อยก็เป็นแบบไฟไหม้ฟาง วูบเดียวก็หมดไป**อย่างไรก็ดี มูดี้ส์ ให้คะแนน 3 ปัจจัยบวกหนึ่ง แบงค์ชาติและระบบราชการน่าเชื่อถือ[The affirmation of the Baa1 ratings reflects the country's moderately strong institutions and governance which support sound monetary and macroeconomic policies.][เรายังคงอันดับเครดิตไว้ที่ Baa1 เพราะองค์กรด้านนโยบายการเงินและพัฒนาเศรษฐกิจยังพอจะสามารถประคองความน่าเชื่อถือ]**ผมเพิ่มเติมว่า คือสังคมไทยยังช่วยกันคัดค้านการแทรกแซงที่ไม่ถูกต้องสอง มีการพัฒนาตลาดพันธบัตรดี[The Baal ratings also take into account Thailand's moderately strong debt affordability - despite the sharp increase in government debt since the pandemic - supported by its deep domestic markets and the fact that its government debt is almost entirely denominated in local currency.][และถึงแม้รัฐบาลจะกู้เงินมากแล้วตั้งแต่วิกฤตโควิด ตลาดพันธบัตรไทยได้พัฒนาจนมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับการกู้เพิ่มได้ การที่หนี้สาธารณะเกือบทั้งหมดเป็นสกุลบาท (ทำให้รัฐบาลไม่มีความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน)]**ผมเพิ่มเติมว่า บุคคลหลักที่สร้างรากฐานตลาดพันธบัตรไทยคือ 2 อดีตผู้ว่าฯ ม.ร.ว.จตุมงคล และ ม.ร.ว.ปรีดียาธร โดยผมรับลูกในตำแหน่งเลขา ก.ล.ต.สาม มีทุนสำรองมั่นคง[Moreover, Thailand has a strong external position, with ample foreign exchange reserves buffer.][และไทยมีทุนสำรองมากพอ ฐานะหนี้สกุลต่างประเทศต่ำ]ผมจึงขอแนะนำให้รัฐบาลนำข้อวิเคราะห์เหล่านี้ไปปรับปรุงนโยบายเป็นการด่วนวันที่ 30 เมษายน 2568นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายเศรษฐกิจ พรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 558 มุมมอง 0 รีวิว
  • เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) 2025 แก้ไขข้อจำกัดการต่อสู้่กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์แบบเดิมๆ และเพิ่มแนวทางให้ผู้ให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมรับผิดชอบค่าเสียหาย หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้ทำตามมาตรฐานต่างๆ ครบถ้วนแล้ว
    ความเปลี่ยนแปลงสำคัญ ของกฎหมายนี้คือการก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ศปอท.) เป็นศูนย์กลางรับแจ้งอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีอำนาจในการต่อสู้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์รูปแบบต่างๆ เช่น
    ระงับบัญชีเงินฝาก รวบรวมจำนวนบัญชีเงินฝากที่บุคคลถือไว้ (ไม่รวมจำนวนเงิน), ขอข้อมูลบัญชีต้องสงสัย
    เปิดเผยข้อมูลบัญชีไปยังหน่วยงานเอกชนหรือรัฐที่เกี่ยวข้อง แก้ไขข้อจำกัดที่เดิมธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับฝั่งผู้ให้บริการคริปโต
    แจ้งข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ หรือชื่อ SMS ให้กสทช. สั่งบล็อค
    รวบรวมรายชื่อบุคคลหรือหมายเลขบัญชีคริปโต และสั่งให้ระงับการให้บริการได้
    ศปอท. จะใช้คนจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิย, ธนาคารแห่งประเทศไทย, ก.ล.ต., กสทช., และหน่วยงานอื่นที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
    ประเด็นหนึ่งที่กฎหมายนี้ได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างนอกจากการตั้ง ศปอท. ก็คือการให้ธนาคารและค่ายโทรศัพท์มือถือร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายเหมือนมาตรการของสิงคโปร์ แต่พ.ร.ก. ฉบับนี้เขียนในมาตรา 8/10 ให้ครอบคลุมขึ้น ด้วยการรวมทั้งสถาบันการเงิน, ผู้ให้บริการโทรคมนาคม, ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์, และผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ยกเว้นว่าจะพิสูจน์ได้ว่าได้ปฎิบัติตามมาตรฐานป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีไว้ครบแล้ว
    กฎหมายมีผลแล้ววันนี้ แต่ประกาศหลักเกณฑ์จำนวนมากยังต้องรอการประกาศต่อไป
    ที่มา - ราชกิจจานุเบกษา
    เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) 2025 แก้ไขข้อจำกัดการต่อสู้่กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์แบบเดิมๆ และเพิ่มแนวทางให้ผู้ให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมรับผิดชอบค่าเสียหาย หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้ทำตามมาตรฐานต่างๆ ครบถ้วนแล้ว ความเปลี่ยนแปลงสำคัญ ของกฎหมายนี้คือการก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ศปอท.) เป็นศูนย์กลางรับแจ้งอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีอำนาจในการต่อสู้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์รูปแบบต่างๆ เช่น ระงับบัญชีเงินฝาก รวบรวมจำนวนบัญชีเงินฝากที่บุคคลถือไว้ (ไม่รวมจำนวนเงิน), ขอข้อมูลบัญชีต้องสงสัย เปิดเผยข้อมูลบัญชีไปยังหน่วยงานเอกชนหรือรัฐที่เกี่ยวข้อง แก้ไขข้อจำกัดที่เดิมธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับฝั่งผู้ให้บริการคริปโต แจ้งข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ หรือชื่อ SMS ให้กสทช. สั่งบล็อค รวบรวมรายชื่อบุคคลหรือหมายเลขบัญชีคริปโต และสั่งให้ระงับการให้บริการได้ ศปอท. จะใช้คนจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิย, ธนาคารแห่งประเทศไทย, ก.ล.ต., กสทช., และหน่วยงานอื่นที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ประเด็นหนึ่งที่กฎหมายนี้ได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างนอกจากการตั้ง ศปอท. ก็คือการให้ธนาคารและค่ายโทรศัพท์มือถือร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายเหมือนมาตรการของสิงคโปร์ แต่พ.ร.ก. ฉบับนี้เขียนในมาตรา 8/10 ให้ครอบคลุมขึ้น ด้วยการรวมทั้งสถาบันการเงิน, ผู้ให้บริการโทรคมนาคม, ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์, และผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ยกเว้นว่าจะพิสูจน์ได้ว่าได้ปฎิบัติตามมาตรฐานป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีไว้ครบแล้ว กฎหมายมีผลแล้ววันนี้ แต่ประกาศหลักเกณฑ์จำนวนมากยังต้องรอการประกาศต่อไป ที่มา - ราชกิจจานุเบกษา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 540 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ก.ล.ต." แจ้งจับ "หมอบุญ" ให้ข่าวเท็จปกปิดจำนำหุ้น THG พร้อมส่งต่อ ปปง.ฟันข้อหาฟอกเงิน
    https://www.thai-tai.tv/news/18146/
    "ก.ล.ต." แจ้งจับ "หมอบุญ" ให้ข่าวเท็จปกปิดจำนำหุ้น THG พร้อมส่งต่อ ปปง.ฟันข้อหาฟอกเงิน https://www.thai-tai.tv/news/18146/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 143 มุมมอง 0 รีวิว
  • ย้อนตำนานทักษิณ ทำแคปิตอล โอเค

    นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปราศรัยต่อกลุ่มคนเสื้อแดงที่จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 17 มี.ค. ตอนหนึ่งระบุว่า วันก่อนคิดกับนายกฯ (แพทองธาร ชินวัตร) ดังๆ ทำอย่างไรจะให้หนี้สินคนไทยหมดไปได้ คิดดังๆ ว่าเราจะซื้อหนี้ทั้งหมด ซื้อหนี้ประชาชนออกจากระบบธนาคารดีหรือไม่ แล้วให้ประชาชนค่อยๆ ผ่อน ไม่ต้องชำระเต็มจำนวน ให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ ทำมาหากินใหม่ ไม่ต้องใช้เงินรัฐสักบาทสามารถให้เอกชนลงทุน เรียกเสียงฮือฮาแก่ผู้สนับสนุน แม้จะไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน แต่ก็ทำให้ย้อนถึงสมัยเป็นนักธุรกิจ ตระกูลชินวัตรทำธุรกิจสินเชื่อบุคคลมาก่อน ภายใต้ชื่อ "แคปปิตอล โอเค"

    ปี 2546 กลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น ของตระกูลชินวัตร ร่วมทุนกับดีบีเอส แบงก์ ลิมิเต็ด ประเทศสิงคโปร์ เจ้าของธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ ในขณะนั้น ก่อตั้งบริษัท แคปปิตอล โอเค จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งสินเชื่อไม่มีหลักประกัน บัตรเครดิต และสินเชื่อเช่าซื้อต่างๆ โดยกลุ่มชินคอร์ปฯ ถือหุ้น 60% และดีบีเอส 40% ผ่านไป 2 ปีมีลูกค้าราว 6 แสนราย ส่วนมากเป็นสินเชื่อบุคคล 60% สินเชื่อเช่าซื้อ 30% และบัตรเครดิต 10%

    23 ม.ค. 2549 ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้แก่ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 1,487.74 ล้านหุ้น รวม 73,271.20 ล้านบาท ทำให้แคปปิตอล โอเค ไม่ได้เป็นของตระกูลชินวัตรอีกต่อไป หลังจากนั้นเมื่อรัฐบาลทักษิณถูกประชาชนชุมนุมขับไล่และเกิดรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ธุรกิจสินเชื่อของแคปิตอลโอเคเริ่มซบเซา แม้กลุ่มชินคอร์ปฯ ซื้อหุ้นที่เหลือจากดีบีเอส กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 99.99% และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5,200 ล้านบาท แต่สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้น

    ในที่สุดเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2550 กลุ่มชินคอร์ปฯ จึงได้ขายหุ้นแคปปิตอล โอเค ซึ่งขณะนั้นมีทุนจดทะเบียน 7,500 ล้านบาท ให้กับ 2 บริษัท ได้แก่ เอแคป แอ๊ดไวเซอรี่ (ACAP) และออริกซ์ คอร์ปอเรชั่น (บริษัทย่อยของ ORIX) เพื่อลดภาระผลขาดทุนจากการลงทุนในธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักของบริษัทฯ และลดภาระการสนับสนุนเงินทุนแก่แคปปิตอล โอเค ในอนาคต หลังจากนั้นเมื่อเศรษฐกิจซบเซา ปลายปี 2552 แคปปิตอล โอเค จึงหยุดการให้สินเชื่อลูกค้าบุคคลในที่สุด

    ปัจจุบัน แคปปิตอล โอเค เป็นบริษัทย่อยของ บริษัท เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACAP ซึ่งมีปัญหาการผิดนัดชําระหนี้หุ้นกู้รวม 7 รุ่น กว่า 4,000 ล้านบาท เคยถูกสำนักงาน ก.ล.ต.กล่าวโทษอดีตผู้บริหารกรณีทุจริต และผู้ถือหุ้นกู้กำลังร้องเรียนหน่วยงานทีเกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบธรรมาภิบาล

    #Newskit
    ย้อนตำนานทักษิณ ทำแคปิตอล โอเค นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปราศรัยต่อกลุ่มคนเสื้อแดงที่จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 17 มี.ค. ตอนหนึ่งระบุว่า วันก่อนคิดกับนายกฯ (แพทองธาร ชินวัตร) ดังๆ ทำอย่างไรจะให้หนี้สินคนไทยหมดไปได้ คิดดังๆ ว่าเราจะซื้อหนี้ทั้งหมด ซื้อหนี้ประชาชนออกจากระบบธนาคารดีหรือไม่ แล้วให้ประชาชนค่อยๆ ผ่อน ไม่ต้องชำระเต็มจำนวน ให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ ทำมาหากินใหม่ ไม่ต้องใช้เงินรัฐสักบาทสามารถให้เอกชนลงทุน เรียกเสียงฮือฮาแก่ผู้สนับสนุน แม้จะไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน แต่ก็ทำให้ย้อนถึงสมัยเป็นนักธุรกิจ ตระกูลชินวัตรทำธุรกิจสินเชื่อบุคคลมาก่อน ภายใต้ชื่อ "แคปปิตอล โอเค" ปี 2546 กลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น ของตระกูลชินวัตร ร่วมทุนกับดีบีเอส แบงก์ ลิมิเต็ด ประเทศสิงคโปร์ เจ้าของธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ ในขณะนั้น ก่อตั้งบริษัท แคปปิตอล โอเค จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งสินเชื่อไม่มีหลักประกัน บัตรเครดิต และสินเชื่อเช่าซื้อต่างๆ โดยกลุ่มชินคอร์ปฯ ถือหุ้น 60% และดีบีเอส 40% ผ่านไป 2 ปีมีลูกค้าราว 6 แสนราย ส่วนมากเป็นสินเชื่อบุคคล 60% สินเชื่อเช่าซื้อ 30% และบัตรเครดิต 10% 23 ม.ค. 2549 ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้แก่ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 1,487.74 ล้านหุ้น รวม 73,271.20 ล้านบาท ทำให้แคปปิตอล โอเค ไม่ได้เป็นของตระกูลชินวัตรอีกต่อไป หลังจากนั้นเมื่อรัฐบาลทักษิณถูกประชาชนชุมนุมขับไล่และเกิดรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ธุรกิจสินเชื่อของแคปิตอลโอเคเริ่มซบเซา แม้กลุ่มชินคอร์ปฯ ซื้อหุ้นที่เหลือจากดีบีเอส กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 99.99% และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5,200 ล้านบาท แต่สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้น ในที่สุดเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2550 กลุ่มชินคอร์ปฯ จึงได้ขายหุ้นแคปปิตอล โอเค ซึ่งขณะนั้นมีทุนจดทะเบียน 7,500 ล้านบาท ให้กับ 2 บริษัท ได้แก่ เอแคป แอ๊ดไวเซอรี่ (ACAP) และออริกซ์ คอร์ปอเรชั่น (บริษัทย่อยของ ORIX) เพื่อลดภาระผลขาดทุนจากการลงทุนในธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักของบริษัทฯ และลดภาระการสนับสนุนเงินทุนแก่แคปปิตอล โอเค ในอนาคต หลังจากนั้นเมื่อเศรษฐกิจซบเซา ปลายปี 2552 แคปปิตอล โอเค จึงหยุดการให้สินเชื่อลูกค้าบุคคลในที่สุด ปัจจุบัน แคปปิตอล โอเค เป็นบริษัทย่อยของ บริษัท เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACAP ซึ่งมีปัญหาการผิดนัดชําระหนี้หุ้นกู้รวม 7 รุ่น กว่า 4,000 ล้านบาท เคยถูกสำนักงาน ก.ล.ต.กล่าวโทษอดีตผู้บริหารกรณีทุจริต และผู้ถือหุ้นกู้กำลังร้องเรียนหน่วยงานทีเกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบธรรมาภิบาล #Newskit
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 636 มุมมอง 0 รีวิว
  • 27/2/68

    ประวัติอ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    https://youtu.be/ptET6EOeFwo?si=F24iH5N_QJ1sO4-O

    ประวัติ

    เกิด 12 สิงหาคม พ.ศ. 2513 (54ปี) กรุงเทพมหานคร ถิ่นพำนัก กรุงเทพมหานคร สัญชาติไทย

    ประวัติการศึกษา

    โรงเรียนอัสสัมชัญ รุ่น 103
    พ.ศ. 2536 : ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
    พ.ศ. 2539 : ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
    อาชีพ
    นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และ ผู้จัดรายการ

    ปีปฏิบัติงาน

    พ.ศ. 2519 - 2550 : เป็นที่รู้จักจากแกนนำกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2
    โฆษกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

    พ.ศ. 2549 : การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551
    ศาสนา : ศาสนาพุทธ

    บิดามารดา
    นายเจริญ และ นางสุจิตรา พัวพงษ์พันธ์

    ญาติ
    พรรคความหวังใหม่
    โฆษกและแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2
    สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี และ เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิตChoawalit Chotwattanaphong [2]อดีตผู้จัดรายการ "ยามเฝ้าแผ่นดิน" และคอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เกิดวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ นายเจริญ และนางสุจิตรา พัวพงษ์พันธ์ บิดาเป็นคนไทยเชื้อสายจีนไหหลำ และมารดาเป็นคนไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว นามสกุล "พัวพงษ์พันธ์" ตั้งให้สอดคล้องกับแซ่ "พัว" ของตระกูลนั่นเอง

    ประวัติชีวิต

    นายปานเทพเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขา การเงินการจัดการ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นสมาชิกเครือข่ายสันติอโศกโดยมีถูกวางบทบาทในด้านสุขภาพ การเมือง และอื่นๆ

    เมื่อกลับมาเมืองไทยได้เข้าทำงานกับองค์กรภาคเอกชน โดยเข้าไปเป็นผู้บริหารดูด้านการเงิน และการก่อสร้างอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนที่ประเทศไทยจะประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2540

    ประวัติทางการเมือง

    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เข้าสู่วงการเมือง โดยมีผู้แนะนำให้รู้จักกับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในปี พ.ศ. 2541 โดยเข้าไปช่วยงานในพรรคความหวังใหม่ ขณะที่มีอายุ 28 ปี กระทั่งได้เป็นกรรมการบริหารพรรค เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคความหวังใหม่[3] และมีตำแหน่งสุดท้ายเป็นรองโฆษกพรรคความหวังใหม่ ในปี พ.ศ. 2544 ก่อนที่จะไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนัง ด้วยวัย 31 ปี ซึ่งถือว่าเป็นผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย

    เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ยุบพรรคความหวังใหม่ รวมกับพรรคไทยรักไทย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้เป็นทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจในช่วง รัฐบาลทักษิณ 1 โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจภาคใต้ ก่อนที่จะถอนตัวในเวลาต่อมาด้วยความเห็นที่ไม่ตรงกัน และหลังจากนั้นยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับรัฐบาลทักษิณมาโดยตลอด โดยชื่อของ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โด่งดังอีกครั้ง เมื่อออกหนังสือชื่อ "บันทึกลับ ๒๕๔o" โดยมีเนื้อหาชี้แจงถึงปัญหาเศรษฐกิจในช่วงที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ถูกโจมตีว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดวิกฤต

    ปานเทพ พัวพงษ์พันธุ์ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลมาโดยตลอด เช่น การเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐชื่อ "วิสัยทัศน์เศรษฐกิจ" รวมไปถึงเคยจัดรายการโทรทัศน์ทาง UBC ช่อง 7 ร่วมกับดุสิต ศิริวรรณ ด้วยอยู่ช่วงหนึ่ง ในชื่อรายการ "โต๊ะข่าวเช้านี้"

    ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปานเทพ ได้เข้าไปทำงานในเครือผู้จัดการ ของสนธิ ลิ้มทองกุล และได้ทำรายการในเอเอสทีวี (ASTV) คือรายการ "ยามเฝ้าแผ่นดิน" ในช่วงเวลา 20:30น.- 21:30น. ทุกวันจันทร์ ถึง ศุกร์ และเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการอีกด้วย ซึ่งยังทำมาจนถึงปัจจุบัน

    ในการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2549 ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ทำหน้าที่เป็นโฆษกบนเวที และในการขับไล่ รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ.ศ. 2551 ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ยังคงทำหน้าที่เป็นโฆษกบนเวทีอย่างต่อเนื่อง

    นอกเหนือจากรายการที่ เอเอสทีวี แล้ว ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ยังมีรายการ "เวทีเสรี" ที่อออกอากาศ ช่วง 21.00 - 22.00 น. ทาง ทีทีวี ช่อง เอ็มวี1 ด้วย โดยเป็นวิทยากรประจำวันอังคาร ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ออกอากาศแล้ว

    ได้รับแต่งตั้งให้เป็นโฆษกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเป็นนักวิชาการบนเวทีที่พูดในประเด็นกรณีเขาพระวิหาร เมื่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ชื่อการชุมนุมรวมพลังปกป้องแผ่นดิน พ.ศ. 2554 คู่กับเทพมนตรี ลิมปพยอม

    ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ปานเทพได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 พร้อมกับ ประพันธ์ คูณมี

    และเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2555 ปานเทพได้ ให้ข้อมูลกับสำนักข่าว เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ ว่าอเมริกามีโครงการ H.A.A.R.P. เป็นการยิงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แล้วสะท้อนกลับมายังผิวโลก ทำให้เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ ในพื้นที่ตามที่ต้องการได้ เพื่อใช้เป็นอาวุธกำจัดศัตรูแบบใหม่

    ผลงานหนังสือ

    บันทึกลับ 2540
    ประเทศไทยได้รับบทเรียนอะไรจากการปิด 56 สถาบันการเงินเป็นการถาวร
    ผ่าทางตันแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ.
    บทเรียนขายหุ้นชินคอร์ป ระเบียบ ก.ล.ต. -ภาษี-จริยธรรม
    สงครามจิตวิทยาราคาน้ำมัน
    มหกรรมผลประโยชน์ทับซ้อน
    33 ประเด็นถาม-ตอบ ราชอาณาจักรไทยกำลังจะเสียดินแดน
    คำเตือนสุดท้าย ราชอาณาจักรไทยกำลังจะเสียดินแดน
    cr: http://www.cannhealth.in.th
    : บ้านคนดัง Celebrity Homes 4
    27/2/68 ประวัติอ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ https://youtu.be/ptET6EOeFwo?si=F24iH5N_QJ1sO4-O ประวัติ เกิด 12 สิงหาคม พ.ศ. 2513 (54ปี) กรุงเทพมหานคร ถิ่นพำนัก กรุงเทพมหานคร สัญชาติไทย ประวัติการศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญ รุ่น 103 พ.ศ. 2536 : ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2539 : ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา อาชีพ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และ ผู้จัดรายการ ปีปฏิบัติงาน พ.ศ. 2519 - 2550 : เป็นที่รู้จักจากแกนนำกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 โฆษกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ.ศ. 2549 : การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 ศาสนา : ศาสนาพุทธ บิดามารดา นายเจริญ และ นางสุจิตรา พัวพงษ์พันธ์ ญาติ พรรคความหวังใหม่ โฆษกและแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี และ เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต[1][2]อดีตผู้จัดรายการ "ยามเฝ้าแผ่นดิน" และคอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เกิดวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ นายเจริญ และนางสุจิตรา พัวพงษ์พันธ์ บิดาเป็นคนไทยเชื้อสายจีนไหหลำ และมารดาเป็นคนไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว นามสกุล "พัวพงษ์พันธ์" ตั้งให้สอดคล้องกับแซ่ "พัว" ของตระกูลนั่นเอง ประวัติชีวิต นายปานเทพเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขา การเงินการจัดการ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นสมาชิกเครือข่ายสันติอโศกโดยมีถูกวางบทบาทในด้านสุขภาพ การเมือง และอื่นๆ เมื่อกลับมาเมืองไทยได้เข้าทำงานกับองค์กรภาคเอกชน โดยเข้าไปเป็นผู้บริหารดูด้านการเงิน และการก่อสร้างอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนที่ประเทศไทยจะประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2540 ประวัติทางการเมือง ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เข้าสู่วงการเมือง โดยมีผู้แนะนำให้รู้จักกับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในปี พ.ศ. 2541 โดยเข้าไปช่วยงานในพรรคความหวังใหม่ ขณะที่มีอายุ 28 ปี กระทั่งได้เป็นกรรมการบริหารพรรค เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคความหวังใหม่[3] และมีตำแหน่งสุดท้ายเป็นรองโฆษกพรรคความหวังใหม่ ในปี พ.ศ. 2544 ก่อนที่จะไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนัง ด้วยวัย 31 ปี ซึ่งถือว่าเป็นผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ยุบพรรคความหวังใหม่ รวมกับพรรคไทยรักไทย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้เป็นทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจในช่วง รัฐบาลทักษิณ 1 โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจภาคใต้ ก่อนที่จะถอนตัวในเวลาต่อมาด้วยความเห็นที่ไม่ตรงกัน และหลังจากนั้นยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับรัฐบาลทักษิณมาโดยตลอด โดยชื่อของ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โด่งดังอีกครั้ง เมื่อออกหนังสือชื่อ "บันทึกลับ ๒๕๔o" โดยมีเนื้อหาชี้แจงถึงปัญหาเศรษฐกิจในช่วงที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ถูกโจมตีว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดวิกฤต ปานเทพ พัวพงษ์พันธุ์ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลมาโดยตลอด เช่น การเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐชื่อ "วิสัยทัศน์เศรษฐกิจ" รวมไปถึงเคยจัดรายการโทรทัศน์ทาง UBC ช่อง 7 ร่วมกับดุสิต ศิริวรรณ ด้วยอยู่ช่วงหนึ่ง ในชื่อรายการ "โต๊ะข่าวเช้านี้" ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปานเทพ ได้เข้าไปทำงานในเครือผู้จัดการ ของสนธิ ลิ้มทองกุล และได้ทำรายการในเอเอสทีวี (ASTV) คือรายการ "ยามเฝ้าแผ่นดิน" ในช่วงเวลา 20:30น.- 21:30น. ทุกวันจันทร์ ถึง ศุกร์ และเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการอีกด้วย ซึ่งยังทำมาจนถึงปัจจุบัน ในการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2549 ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ทำหน้าที่เป็นโฆษกบนเวที และในการขับไล่ รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ.ศ. 2551 ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ยังคงทำหน้าที่เป็นโฆษกบนเวทีอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากรายการที่ เอเอสทีวี แล้ว ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ยังมีรายการ "เวทีเสรี" ที่อออกอากาศ ช่วง 21.00 - 22.00 น. ทาง ทีทีวี ช่อง เอ็มวี1 ด้วย โดยเป็นวิทยากรประจำวันอังคาร ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ออกอากาศแล้ว ได้รับแต่งตั้งให้เป็นโฆษกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเป็นนักวิชาการบนเวทีที่พูดในประเด็นกรณีเขาพระวิหาร เมื่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ชื่อการชุมนุมรวมพลังปกป้องแผ่นดิน พ.ศ. 2554 คู่กับเทพมนตรี ลิมปพยอม ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ปานเทพได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 พร้อมกับ ประพันธ์ คูณมี และเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2555 ปานเทพได้ ให้ข้อมูลกับสำนักข่าว เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ ว่าอเมริกามีโครงการ H.A.A.R.P. เป็นการยิงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แล้วสะท้อนกลับมายังผิวโลก ทำให้เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ ในพื้นที่ตามที่ต้องการได้ เพื่อใช้เป็นอาวุธกำจัดศัตรูแบบใหม่ ผลงานหนังสือ บันทึกลับ 2540 ประเทศไทยได้รับบทเรียนอะไรจากการปิด 56 สถาบันการเงินเป็นการถาวร ผ่าทางตันแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กฟผ. บทเรียนขายหุ้นชินคอร์ป ระเบียบ ก.ล.ต. -ภาษี-จริยธรรม สงครามจิตวิทยาราคาน้ำมัน มหกรรมผลประโยชน์ทับซ้อน 33 ประเด็นถาม-ตอบ ราชอาณาจักรไทยกำลังจะเสียดินแดน คำเตือนสุดท้าย ราชอาณาจักรไทยกำลังจะเสียดินแดน cr: http://www.cannhealth.in.th : บ้านคนดัง Celebrity Homes 4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1295 มุมมอง 0 รีวิว
  • BINANCE TH by Gulf BINANCE ผู้นำแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับการกำกับดูแลภายใต้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อพัฒนาและเติมทักษะให้กับบุคลากรรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมต่าง ๆ รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย

    ข้อมูลจาก ก.ล.ต. เผยมูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ณ เดือน มกราคม 2568 มีมูลค่ากว่า 9.95 หมื่นล้านบาท โดยมีบัญชีนักลงทุนมากกว่า 2.45 ล้านราย สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาดคริปโทเคอร์เรนซี่ที่มีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งในด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลที่ยังอยู่ในวงจำกัด สอดคล้องกับข้อมูลของกระทรวงแรงงาน ที่ระบุว่า ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยต้องการกําลังแรงงานด้านดิจิทัลมากกว่า 140,000 คน อาทิ วิศวกรซอฟต์แวร์ นักวิเคราะห์ข้อมูล นักพัฒนาเอไอ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ผู้พัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชน ผู้พัฒนาโปรแกรมเซมิคอนดัคเตอร์ ไมโครชิป ออโตเมชั่น และนักการตลาดดิจิทัล

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/stockmarket/detail/9680000018253

    #MGROnline #Binance #BinanceTH #GULF #มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ #บุคลากรสินทรัพย์ดิจิทัล
    BINANCE TH by Gulf BINANCE ผู้นำแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับการกำกับดูแลภายใต้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อพัฒนาและเติมทักษะให้กับบุคลากรรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมต่าง ๆ รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย • ข้อมูลจาก ก.ล.ต. เผยมูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ณ เดือน มกราคม 2568 มีมูลค่ากว่า 9.95 หมื่นล้านบาท โดยมีบัญชีนักลงทุนมากกว่า 2.45 ล้านราย สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาดคริปโทเคอร์เรนซี่ที่มีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งในด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลที่ยังอยู่ในวงจำกัด สอดคล้องกับข้อมูลของกระทรวงแรงงาน ที่ระบุว่า ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยต้องการกําลังแรงงานด้านดิจิทัลมากกว่า 140,000 คน อาทิ วิศวกรซอฟต์แวร์ นักวิเคราะห์ข้อมูล นักพัฒนาเอไอ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ผู้พัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชน ผู้พัฒนาโปรแกรมเซมิคอนดัคเตอร์ ไมโครชิป ออโตเมชั่น และนักการตลาดดิจิทัล • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/stockmarket/detail/9680000018253 • #MGROnline #Binance #BinanceTH #GULF #มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ #บุคลากรสินทรัพย์ดิจิทัล
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 585 มุมมอง 0 รีวิว
  • เอกลาภ ยิ้มวิไล คุก 5 ปี คดี Zipmex ฉ้อโกงพันล้าน

    ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 ก.พ.2568 จำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นอดีตกรรมการและผู้บริหารบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) ผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่รอลงอาญา และลงโทษปรับบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ เป็นเงิน 100,000 บาท ในคดีที่ผู้เสียหายรายหนึ่งยื่นฟ้องฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แม้นายเอกลาภยื่นขอประกันตนเองในชั้นอุทธรณ์ โดยยื่นหลักทรัพย์ 15 ล้านบาท แต่ทำเรื่องไม่ทัน จึงต้องไปคุมขังในเรือนจำ

    ถือเป็นคดีที่สั่นสะเทือนวงการคริปโตเคอเรนซี่ เพราะซิปเม็กซ์เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลชื่อดัง ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับสองของไทย รองจากบิทคับ (Bitkub) ของนายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 20 ก.ค.2565 ซิปเม็กซ์ประกาศระงับการเพิกถอนเงินบาทและสินทรัพย์ดิจิทัลทุกกรณีเป็นการชั่วคราว ก่อนที่นายเอกลาภจะยอมรับว่าเกิดปัญหากับบริการ Zip-up ที่ลูกค้าในประเทศไทยฝากไปที่ Zipmex Global ในในสิงคโปร์ โดยคู่ค้าคือ Bebel Finance และ Celsius ประสบปัญหาสภาพคล่อง ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีอยู่ใน Zip-up ทั้ง Bitcoin Etherium USDT และ USDC มีปัญหา

    แต่กลุ่มผู้เสียหายจากการลงทุนในซิปเม็กซ์พบว่า มีการโอนเหรียญไปที่ Celsius ตั้งแต่ปี 2564 แต่เพิ่งมีการออก Term & Condition ให้ผู้ใช้งานกดยอมรับเมื่อเดือน เม.ย.2565 ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. แม้รับทราบว่า Babel Finance และ Celsius มีปัญหาขาดสภาพคล่อง แต่ยังโฆษณาชักชวนให้ไปลงทุน ในที่สุด ก.ล.ต.ได้มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับนายเอกลาภ 7 ข้อหา และบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ 6 ข้อหา ตาม พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล รวมเป็นเงิน 10.97 ล้านบาท ไม่นับรวมกลุ่มผู้เสียหายแจ้งความเอาผิดในข้อหาร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งตำรวจได้ให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษไปแล้ว

    ซิปเม็กซ์ถูกเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค.2567 ขณะที่กลุ่มผู้เสียหายในนาม “กลุ่มร่วมสู้ Zipmex” ประกอบด้วยสมาชิก 741 คน มูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 2,667.29 ล้านบาท ได้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) ต่อบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ นายเอกลาภ และผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศรวม 23 ราย เรียกค่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งคดีล่าสุดที่นายเอกลาภติดคุก ถือเป็นการจุดความหวังให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลคดีแรกของประเทศไทย

    #Newskit
    เอกลาภ ยิ้มวิไล คุก 5 ปี คดี Zipmex ฉ้อโกงพันล้าน ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 ก.พ.2568 จำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นอดีตกรรมการและผู้บริหารบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) ผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่รอลงอาญา และลงโทษปรับบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ เป็นเงิน 100,000 บาท ในคดีที่ผู้เสียหายรายหนึ่งยื่นฟ้องฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แม้นายเอกลาภยื่นขอประกันตนเองในชั้นอุทธรณ์ โดยยื่นหลักทรัพย์ 15 ล้านบาท แต่ทำเรื่องไม่ทัน จึงต้องไปคุมขังในเรือนจำ ถือเป็นคดีที่สั่นสะเทือนวงการคริปโตเคอเรนซี่ เพราะซิปเม็กซ์เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลชื่อดัง ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับสองของไทย รองจากบิทคับ (Bitkub) ของนายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 20 ก.ค.2565 ซิปเม็กซ์ประกาศระงับการเพิกถอนเงินบาทและสินทรัพย์ดิจิทัลทุกกรณีเป็นการชั่วคราว ก่อนที่นายเอกลาภจะยอมรับว่าเกิดปัญหากับบริการ Zip-up ที่ลูกค้าในประเทศไทยฝากไปที่ Zipmex Global ในในสิงคโปร์ โดยคู่ค้าคือ Bebel Finance และ Celsius ประสบปัญหาสภาพคล่อง ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีอยู่ใน Zip-up ทั้ง Bitcoin Etherium USDT และ USDC มีปัญหา แต่กลุ่มผู้เสียหายจากการลงทุนในซิปเม็กซ์พบว่า มีการโอนเหรียญไปที่ Celsius ตั้งแต่ปี 2564 แต่เพิ่งมีการออก Term & Condition ให้ผู้ใช้งานกดยอมรับเมื่อเดือน เม.ย.2565 ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. แม้รับทราบว่า Babel Finance และ Celsius มีปัญหาขาดสภาพคล่อง แต่ยังโฆษณาชักชวนให้ไปลงทุน ในที่สุด ก.ล.ต.ได้มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับนายเอกลาภ 7 ข้อหา และบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ 6 ข้อหา ตาม พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล รวมเป็นเงิน 10.97 ล้านบาท ไม่นับรวมกลุ่มผู้เสียหายแจ้งความเอาผิดในข้อหาร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งตำรวจได้ให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษไปแล้ว ซิปเม็กซ์ถูกเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค.2567 ขณะที่กลุ่มผู้เสียหายในนาม “กลุ่มร่วมสู้ Zipmex” ประกอบด้วยสมาชิก 741 คน มูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 2,667.29 ล้านบาท ได้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) ต่อบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ นายเอกลาภ และผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศรวม 23 ราย เรียกค่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งคดีล่าสุดที่นายเอกลาภติดคุก ถือเป็นการจุดความหวังให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลคดีแรกของประเทศไทย #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 777 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษาจำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา เอกลาภ ยิ้มวิไล ผู้ก่อตั้ง Zipmex ผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล ฐานฉ้อโกงประชาชน พร้อมปรับบริษัทฯ 1 แสนบาท หลังผู้เสียหายรายหนึ่งฟ้องคดีอาญา ยังมีคดีกลุ่มผู้เสียหายยื่นฟ้องแบบกลุ่ม เรียกค่าเสียหายกว่า 5 พันล้าน กำลังไต่สวนคดี
    .
    วันนี้ (17 ก.พ.) ศาลอาญากรุงเทพใต้ อ่านคำพิพากษาคดีที่มีผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) ผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล จำเลยที่ 1 และนายเอกลาภ ยิ้มวิไล ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นอดีตกรรมการและผู้บริหารบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ จำเลยที่ 2 ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานและพิพากษาให้จำเลยทั้งสองมีความผิด พิพากษาลงโทษปรับบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ เป็นเงิน 100,000 บาท และลงโทษจำคุกนายเอกลาภ ยิ้มวิไล เวลา 5 ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง
    .
    คดีนี้สืบเนื่องจาก Zipmex ซึ่งเคยได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็น ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลตามพระราชกำหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ได้ก่อความเสียหายต่อประชาชนผู้ลงทุน ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้พบการกระทำความผิดกฎหมายหลายกรณีและได้กล่าวโทษจำเลยไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีอาญา อีกทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีคำสั่งเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของ Zipmex ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. 2567
    .
    คดีดังกล่าวผู้เสียหายรายหนึ่งได้ฟ้องดำเนินคดีอาญา และมีคำพิพากษาในวันนี้ แต่ยังมีกลุ่มผู้เสียหายที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มร่วมสู้ Zipmex ร่วมมือกันยื่นฟ้องคดีผู้บริโภคแบบกลุ่ม (Consumer Class Action) ซึ่งมีผู้เสียหายรวมตัวกัน 741 ราย มูลค่าความเสียหาย 2,667.29 ล้านบาท โดยฟ้องจำเลย 23 ราย ทั้งในไทยและต่างประเทศเพื่อเรียกค่าเสียหายเพื่อการลงโทษรวมไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งได้มอบหมายให้นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ผู้ก่อตั้งสำนักกฎหมาย VLA รับมอบอำนาจยื่นฟ้องคดีแพ่งแบบกลุ่ม ปัจจุบันศาลแพ่งกรุงเทพใต้ นัดไต่สวคดีเมื่อวันที่ 3 ก.พ. ที่ผ่านมา
    .
    คลิกอ่าน >> https://sondhitalk.com/detail/9680000015807
    ......
    Sondhi X
    ศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษาจำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา เอกลาภ ยิ้มวิไล ผู้ก่อตั้ง Zipmex ผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล ฐานฉ้อโกงประชาชน พร้อมปรับบริษัทฯ 1 แสนบาท หลังผู้เสียหายรายหนึ่งฟ้องคดีอาญา ยังมีคดีกลุ่มผู้เสียหายยื่นฟ้องแบบกลุ่ม เรียกค่าเสียหายกว่า 5 พันล้าน กำลังไต่สวนคดี . วันนี้ (17 ก.พ.) ศาลอาญากรุงเทพใต้ อ่านคำพิพากษาคดีที่มีผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) ผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล จำเลยที่ 1 และนายเอกลาภ ยิ้มวิไล ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นอดีตกรรมการและผู้บริหารบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ จำเลยที่ 2 ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานและพิพากษาให้จำเลยทั้งสองมีความผิด พิพากษาลงโทษปรับบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ เป็นเงิน 100,000 บาท และลงโทษจำคุกนายเอกลาภ ยิ้มวิไล เวลา 5 ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง . คดีนี้สืบเนื่องจาก Zipmex ซึ่งเคยได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็น ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลตามพระราชกำหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ได้ก่อความเสียหายต่อประชาชนผู้ลงทุน ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้พบการกระทำความผิดกฎหมายหลายกรณีและได้กล่าวโทษจำเลยไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีอาญา อีกทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีคำสั่งเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของ Zipmex ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. 2567 . คดีดังกล่าวผู้เสียหายรายหนึ่งได้ฟ้องดำเนินคดีอาญา และมีคำพิพากษาในวันนี้ แต่ยังมีกลุ่มผู้เสียหายที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มร่วมสู้ Zipmex ร่วมมือกันยื่นฟ้องคดีผู้บริโภคแบบกลุ่ม (Consumer Class Action) ซึ่งมีผู้เสียหายรวมตัวกัน 741 ราย มูลค่าความเสียหาย 2,667.29 ล้านบาท โดยฟ้องจำเลย 23 ราย ทั้งในไทยและต่างประเทศเพื่อเรียกค่าเสียหายเพื่อการลงโทษรวมไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งได้มอบหมายให้นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ผู้ก่อตั้งสำนักกฎหมาย VLA รับมอบอำนาจยื่นฟ้องคดีแพ่งแบบกลุ่ม ปัจจุบันศาลแพ่งกรุงเทพใต้ นัดไต่สวคดีเมื่อวันที่ 3 ก.พ. ที่ผ่านมา . คลิกอ่าน >> https://sondhitalk.com/detail/9680000015807 ...... Sondhi X
    SONDHITALK.COM
    คุก 5 ปี เอกลาภ ยิ้มวิไล อดีตผู้บริหาร Zipmex ฐานฉ้อโกงประชาชน
    ศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษาจำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา เอกลาภ ยิ้มวิไล ผู้ก่อตั้ง Zipmex ผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล ฐานฉ้อโกงประชาชน พร้อมปรับบริษัทฯ 1 แสนบาท หลังผู้เสียหายรายหนึ่งฟ้องคดีอาญา ยังมีคดีกลุ่มผู้เสียหายยื่นฟ้องแบบกลุ่
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 698 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาลแม่สะเรียงยกฟ้อง "สนธิ ลิ้มทองกุล" คดีหมิ่น "สยามราช ผ่องสกุล" กรณีกล่าวหาพัวพันแก๊งสวาปาล์ม บริษัทยักษ์ใหญ่ในเครือ ปตท. GGC และ PTTGC ชี้เป็นการเรียบเรียงข้อเท็จจริง เผยแพร่จากหน่วยงานรัฐให้เข้าใจง่าย สะดวกแก่ประชาชนที่ติดตาม ทำความเข้าใจเรื่องซับซ้อน อีกทั้งนำเสนอข่าวสารเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ และติชมด้วยความเป็นธรรม

    วันนี้ (17 ก.พ.) ที่ศาลจังหวัดแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ศาลพิพากษายกฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อ.85/2566 ที่นายสยามราช ผ่องสกุล อายุ 47 ปี เป็นโจทก์ยื่นฟ้องร้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการคุยทุกเรื่องกับสนธิ ในคดีหมิ่นประมาท อันเกี่ยวข้องกับการที่นายสนธิออกรายการคุยทุกเรื่องกับสนธิ EP. 196 เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2566 โดยโจทก์กล่าวหาว่า นายสนธิหมิ่นประมาทตนเอง โดยนำตนเองไปเกี่ยวพันกับบุคคลที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด และเกี่ยวพันกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ

    โดยศาลเห็นว่า จำเลยมุ่งประสงค์บรรยายสรุปถึงพฤติกรรมต่างๆ ของกลุ่มขบวนการทุจริตซึ่งกำลังถูกติดตามตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการทุจริตต่างๆที่เกิดขึ้นในบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด หรือ GGC, บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ซึ่งมีความซับซ้อนให้เข้าใจโดยง่าย สะดวกแก่การติดตาม โดยใช้ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.), ป.ป.ช., ดีเอสไอ ตลอดจนบริษัท GGC ซึ่งเป็นที่รับทราบกันทั่วไปแพร่หลายดีอยู่แล้ว มาเรียบเรียงกล่าวขึ้นมาใหม่ โดยล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่สำนักข่าวหรือสื่อสารมวลชนอื่นนำเสนอเช่นกัน หาใช่มีแต่จำเลยที่นำเสนอข่าวเท่านั้น และยังไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องที่จำเลยปั้นแต่งหรือกุขึ้นมาเอง

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000015756

    #MGROnline #สนธิลิ้มทองกุล #สยามราชผ่องสกุล
    ศาลแม่สะเรียงยกฟ้อง "สนธิ ลิ้มทองกุล" คดีหมิ่น "สยามราช ผ่องสกุล" กรณีกล่าวหาพัวพันแก๊งสวาปาล์ม บริษัทยักษ์ใหญ่ในเครือ ปตท. GGC และ PTTGC ชี้เป็นการเรียบเรียงข้อเท็จจริง เผยแพร่จากหน่วยงานรัฐให้เข้าใจง่าย สะดวกแก่ประชาชนที่ติดตาม ทำความเข้าใจเรื่องซับซ้อน อีกทั้งนำเสนอข่าวสารเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ และติชมด้วยความเป็นธรรม • วันนี้ (17 ก.พ.) ที่ศาลจังหวัดแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ศาลพิพากษายกฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อ.85/2566 ที่นายสยามราช ผ่องสกุล อายุ 47 ปี เป็นโจทก์ยื่นฟ้องร้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการคุยทุกเรื่องกับสนธิ ในคดีหมิ่นประมาท อันเกี่ยวข้องกับการที่นายสนธิออกรายการคุยทุกเรื่องกับสนธิ EP. 196 เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2566 โดยโจทก์กล่าวหาว่า นายสนธิหมิ่นประมาทตนเอง โดยนำตนเองไปเกี่ยวพันกับบุคคลที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด และเกี่ยวพันกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ • โดยศาลเห็นว่า จำเลยมุ่งประสงค์บรรยายสรุปถึงพฤติกรรมต่างๆ ของกลุ่มขบวนการทุจริตซึ่งกำลังถูกติดตามตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการทุจริตต่างๆที่เกิดขึ้นในบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด หรือ GGC, บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ซึ่งมีความซับซ้อนให้เข้าใจโดยง่าย สะดวกแก่การติดตาม โดยใช้ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.), ป.ป.ช., ดีเอสไอ ตลอดจนบริษัท GGC ซึ่งเป็นที่รับทราบกันทั่วไปแพร่หลายดีอยู่แล้ว มาเรียบเรียงกล่าวขึ้นมาใหม่ โดยล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่สำนักข่าวหรือสื่อสารมวลชนอื่นนำเสนอเช่นกัน หาใช่มีแต่จำเลยที่นำเสนอข่าวเท่านั้น และยังไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องที่จำเลยปั้นแต่งหรือกุขึ้นมาเอง • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000015756 • #MGROnline #สนธิลิ้มทองกุล #สยามราชผ่องสกุล
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 723 มุมมอง 0 รีวิว
  • บล.คิงส์ฟอร์ดถูกหวย "หมอบุญ" บทความโดยสุนันท์ ศรีจันทราคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้เปิดโปงขบวนการหลอกลวงของ "นายแพทย์บุญ วนาสิน ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี" ระบุชัดเจนว่า พวกโบรกเกอร์ที่อยู่ตามบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งต้องการเปอร์เซ็นต์จากค่านายหน้า โดยนำโครงการเลื่อนลอยฝันเฟื่องของหมอบุญไปขายประชาชน สมควรโดนหนักเพราะโบรกเกอร์พวกนี้ เปรียบเสมือนแม่ข่ายแชร์ลูกโซ่ ที่ชักชวนคนมาลงทุนแม้คุณสนธิจะไม่ได้พูดถึงชื่อโบรกเกอร์ใด แต่บริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด จำกัด ได้ออกแถลงการณ์ด่วน ชี้แจงในทันทีว่า ไม่เคยเกี่ยวข้องกับธุรกรรมการกู้ยืมเงินและโครงการลงทุนทางการแพทย์ของหมอบุญรวมถึงไม่เคยทำสัญญาใด ๆ หรือการเป็นที่ปรึกษาโครงการ และไม่เคยให้พนักงานของบริษัทแนะนำหรือชักชวนนักลงทุนมาร่วมลงทุนในโครงการ โดย บริษัทได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้ว และได้สั่งให้พนักงานของบริษัทยุติปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว จนกว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ จะปรากฎเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ศาลได้อนุมัติออกหมายจับนายแพทย์บุญพร้อมพวกรวม 9 คน ในความผิดร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และความผิดอื่นรวมทั้งความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินในวันเดียวกัน ตำรวจได้ควบคุมผู้ต้องหาได้ 6คน ซึ่งนอกจากมีภรรยาและบุตรสาวของนายแพทย์บุญแล้ว ยังมีนางอัจจิมา พาณิชย์เกรียงไกร และนายภาคย์ วัฒนาพร พนักงานบริษัท หลักทรัพย์ คิงส์ฟๆอร์ดติดร่างแหไปด้วย และศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวตามข้อมูลคณะผู้บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 มีนายประจวบ ศิริรัตน์บุญขจร เป็นกรรมการแบะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายวุฒิพงษ์ วงศ์ภัทรกุล เป็นกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม นางสาวชญานี โปขันเงิน เป็นกรรมการผู้จัดการอาวุโสขณะที่นางสาวอัจจิมา เป็นกรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจบริหารความมั่นคง และนายภาคย์ เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์บริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด เป็นหนึ่งในโบรกเกอร์ที่ถูกขบวนการสร้างราคาหุ้นบริษัท มอร์รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE โดยการโยนคำสั่งซื้อขายหุ้นผ่านโบรกเกอร์เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 25650 ซึ่ง บล.คิงส์ฟอร์ดได้รับคำสั่งซื้อหุ้น MORE จากแก๊งปั่นหุ้น จนถูกจับตาผลกระทบด้านฐานะการเงินในช่วงนั้นและบล.คิงส์ฟอร์ด ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการ UPTICK RULE รวมทั้งมาตรการคุมเข้มโปรแกรมการซื้อขาย หรือ ROBOT TRADING ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2567 ทำให้มูลค่าซื้อขายหุ้น บล.คิงส์ฟอร์ดลดฮวบลงจากโบรกเกอร์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุดติด 5 อันดับแรก ร่วงลงไปเป็นโบรกเกอร์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงประมาณอันดับ 10มีสื่อหุ้นบางสำนัก ทำหน้าที่เป็นองค์รักษ์ บล.คิงส์ฟอร์ด ในรูปแบบผลประโยชน์ต่างตอบแทนจากค่าโฆษณา โดยทำตัวเป็นกระบอกเสียง แก้ต่างแทนบล.คิงส์ฟอร์ด ทันทีที่เรียกใช้บริการเช่นเดียวกับกรณีที่มีชื่อ บล.คิงส์ฟอร์ด ไปเกี่ยวพันกับหมอบุญ และพนักงานระดับบริหารของ บล.คิงส์ฟอร์ด ถูกจับกุมคดีฉ้อโกงประชาชนร่วมกับหมอบุญ ซึ่งสื่อหุ้นบางสำนักทำหน้าที่กระบอกเสียงของ บล.คิงส์ฟอร์ด ทันทีคดีนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือทนายตั้ม กรณีฉ้อโกงเงิน 71 ล้านบาท ก่อนที่คุณสนธิจะนำหลักฐานออกมาเปิดโปง ทนายตั้มปฏิเสธเหยง ๆ มาตลอดว่า ไม่ได้ฉ้อโกงเงิน แต่สุดท้ายถูกหลักฐานมัดตัว จนทนายประชาชนถูกกระชากหน้ากาก และนำไปสู่ผู้เกี่ยวข้องร่วมฉ้อโกงอีกหลายคนคดี 2 พนักงานระดับบริหารของ บล.คิงส์ฟอร์ด ถูกจับกุม แม้บริษัท ฯ จะปฏิเสธความเกี่ยวพันใด ๆ ในพฤติกรรมของพนักงาน และธุรกรรมหรือโครงการลงทุนของหมอบุญ แต่ข้อเท็จจริงยังต้องรอการพิสูจน์การสอบสวนขยายผลจาก 2 พนักงาน บล.คิงส์ฟอร์ด ที่ถูกจับกุม จะเป็นบทพิสูจน์ว่า บล.คิงส์ฟอร์ด ไม่รู้ไม่เห็นกับการกู้ยืมเงินหรือหลอกลวงให้คนมาร่วมลงทุนในโครงการของหมอบุญจริงหรือไม่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทโบรกเกอร์ จะต้องทำหน้าที่ควบคู่กับตำรวจต้องตรวจสอบและสอบสวนว่า บล.คิงส์ฟอร์ด ไม่มีเอี่ยวกับคดีหมอบุญที่หลอกลวงประชาชนประมาณ 2 หมื่นล้านบาทจริงหรือไม่วันนี้ ยังไม่อาจปฏิเสธหรือยืนยันได้ว่า บล.คิงส์ฟอร์ดเกี่ยวพันกับ 2 พนักงานระดับบริหารที่ถูกจับกุมฐานร่วมขบวนการฉ้อโกงประชาชนร่วมกับหมอบุญหรือไม่จนกว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ จะปรากฏว่า บล.คิงส์ฟอร์ด ไม่มีเอี่ยวกับโครงการหลอกลวงของหมอบุญจริง
    บล.คิงส์ฟอร์ดถูกหวย "หมอบุญ" บทความโดยสุนันท์ ศรีจันทราคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้เปิดโปงขบวนการหลอกลวงของ "นายแพทย์บุญ วนาสิน ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี" ระบุชัดเจนว่า พวกโบรกเกอร์ที่อยู่ตามบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งต้องการเปอร์เซ็นต์จากค่านายหน้า โดยนำโครงการเลื่อนลอยฝันเฟื่องของหมอบุญไปขายประชาชน สมควรโดนหนักเพราะโบรกเกอร์พวกนี้ เปรียบเสมือนแม่ข่ายแชร์ลูกโซ่ ที่ชักชวนคนมาลงทุนแม้คุณสนธิจะไม่ได้พูดถึงชื่อโบรกเกอร์ใด แต่บริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด จำกัด ได้ออกแถลงการณ์ด่วน ชี้แจงในทันทีว่า ไม่เคยเกี่ยวข้องกับธุรกรรมการกู้ยืมเงินและโครงการลงทุนทางการแพทย์ของหมอบุญรวมถึงไม่เคยทำสัญญาใด ๆ หรือการเป็นที่ปรึกษาโครงการ และไม่เคยให้พนักงานของบริษัทแนะนำหรือชักชวนนักลงทุนมาร่วมลงทุนในโครงการ โดย บริษัทได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้ว และได้สั่งให้พนักงานของบริษัทยุติปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว จนกว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ จะปรากฎเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ศาลได้อนุมัติออกหมายจับนายแพทย์บุญพร้อมพวกรวม 9 คน ในความผิดร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และความผิดอื่นรวมทั้งความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินในวันเดียวกัน ตำรวจได้ควบคุมผู้ต้องหาได้ 6คน ซึ่งนอกจากมีภรรยาและบุตรสาวของนายแพทย์บุญแล้ว ยังมีนางอัจจิมา พาณิชย์เกรียงไกร และนายภาคย์ วัฒนาพร พนักงานบริษัท หลักทรัพย์ คิงส์ฟๆอร์ดติดร่างแหไปด้วย และศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวตามข้อมูลคณะผู้บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 มีนายประจวบ ศิริรัตน์บุญขจร เป็นกรรมการแบะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายวุฒิพงษ์ วงศ์ภัทรกุล เป็นกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม นางสาวชญานี โปขันเงิน เป็นกรรมการผู้จัดการอาวุโสขณะที่นางสาวอัจจิมา เป็นกรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจบริหารความมั่นคง และนายภาคย์ เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์บริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด เป็นหนึ่งในโบรกเกอร์ที่ถูกขบวนการสร้างราคาหุ้นบริษัท มอร์รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE โดยการโยนคำสั่งซื้อขายหุ้นผ่านโบรกเกอร์เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 25650 ซึ่ง บล.คิงส์ฟอร์ดได้รับคำสั่งซื้อหุ้น MORE จากแก๊งปั่นหุ้น จนถูกจับตาผลกระทบด้านฐานะการเงินในช่วงนั้นและบล.คิงส์ฟอร์ด ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการ UPTICK RULE รวมทั้งมาตรการคุมเข้มโปรแกรมการซื้อขาย หรือ ROBOT TRADING ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2567 ทำให้มูลค่าซื้อขายหุ้น บล.คิงส์ฟอร์ดลดฮวบลงจากโบรกเกอร์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุดติด 5 อันดับแรก ร่วงลงไปเป็นโบรกเกอร์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงประมาณอันดับ 10มีสื่อหุ้นบางสำนัก ทำหน้าที่เป็นองค์รักษ์ บล.คิงส์ฟอร์ด ในรูปแบบผลประโยชน์ต่างตอบแทนจากค่าโฆษณา โดยทำตัวเป็นกระบอกเสียง แก้ต่างแทนบล.คิงส์ฟอร์ด ทันทีที่เรียกใช้บริการเช่นเดียวกับกรณีที่มีชื่อ บล.คิงส์ฟอร์ด ไปเกี่ยวพันกับหมอบุญ และพนักงานระดับบริหารของ บล.คิงส์ฟอร์ด ถูกจับกุมคดีฉ้อโกงประชาชนร่วมกับหมอบุญ ซึ่งสื่อหุ้นบางสำนักทำหน้าที่กระบอกเสียงของ บล.คิงส์ฟอร์ด ทันทีคดีนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือทนายตั้ม กรณีฉ้อโกงเงิน 71 ล้านบาท ก่อนที่คุณสนธิจะนำหลักฐานออกมาเปิดโปง ทนายตั้มปฏิเสธเหยง ๆ มาตลอดว่า ไม่ได้ฉ้อโกงเงิน แต่สุดท้ายถูกหลักฐานมัดตัว จนทนายประชาชนถูกกระชากหน้ากาก และนำไปสู่ผู้เกี่ยวข้องร่วมฉ้อโกงอีกหลายคนคดี 2 พนักงานระดับบริหารของ บล.คิงส์ฟอร์ด ถูกจับกุม แม้บริษัท ฯ จะปฏิเสธความเกี่ยวพันใด ๆ ในพฤติกรรมของพนักงาน และธุรกรรมหรือโครงการลงทุนของหมอบุญ แต่ข้อเท็จจริงยังต้องรอการพิสูจน์การสอบสวนขยายผลจาก 2 พนักงาน บล.คิงส์ฟอร์ด ที่ถูกจับกุม จะเป็นบทพิสูจน์ว่า บล.คิงส์ฟอร์ด ไม่รู้ไม่เห็นกับการกู้ยืมเงินหรือหลอกลวงให้คนมาร่วมลงทุนในโครงการของหมอบุญจริงหรือไม่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทโบรกเกอร์ จะต้องทำหน้าที่ควบคู่กับตำรวจต้องตรวจสอบและสอบสวนว่า บล.คิงส์ฟอร์ด ไม่มีเอี่ยวกับคดีหมอบุญที่หลอกลวงประชาชนประมาณ 2 หมื่นล้านบาทจริงหรือไม่วันนี้ ยังไม่อาจปฏิเสธหรือยืนยันได้ว่า บล.คิงส์ฟอร์ดเกี่ยวพันกับ 2 พนักงานระดับบริหารที่ถูกจับกุมฐานร่วมขบวนการฉ้อโกงประชาชนร่วมกับหมอบุญหรือไม่จนกว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ จะปรากฏว่า บล.คิงส์ฟอร์ด ไม่มีเอี่ยวกับโครงการหลอกลวงของหมอบุญจริง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1303 มุมมอง 0 รีวิว
  • ก.ล.ต.ชี้ "หมอบุญ" ถูกดำเนินคดีฐานฉ้อโกงประชาชน เบื้องต้นพบเป็นกระทำในนามส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับ "ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป" ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่จะติดตามจับตาต่อเนื่องหากพบว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ก็จะเร่งดำเนินคดีต่อไป

    อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000112886

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ก.ล.ต.ชี้ "หมอบุญ" ถูกดำเนินคดีฐานฉ้อโกงประชาชน เบื้องต้นพบเป็นกระทำในนามส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับ "ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป" ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่จะติดตามจับตาต่อเนื่องหากพบว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ก็จะเร่งดำเนินคดีต่อไป อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000112886 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Angry
    Sad
    Haha
    34
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2349 มุมมอง 1 รีวิว
  • ย้อนรอยหมอบุญ จ้อสื่อทุ่ม 1.6 หมื่นล้าน รุกธุรกิจเฮลท์แคร์ สุดท้ายฉ้อโกง-ฟอกเงิน

    สำหรับพฤติการณ์การออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 9 ราย เนื่องจากก่อนหน้านี้ ในห้วงวันที่ 2-4 ก.พ. 2566 นพ.บุญ ได้สร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเอง โดยออกสื่อสารธารณะแพร่ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์สาธารณะ โดยกล่าวอ้างการลงทุนที่น่าสนใจ จำนวน 5 โครงการ จากนั้นจึงมีผู้เสียหายซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ และบุคลากรวงการแพทย์หลายร้อยราย หลงเชื่อเพราะ นพ.บุญ และครอบครัว มีบริษัทหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหลายแห่ง จึงเข้าร่วมลงทุน ผ่านการติดต่อจากตัวแทน (โบรกเกอร์) บริษัทหลักทรัพย์ เป็นตัวแทนการระดมเงินลงทุน ให้ นพ.บุญ และครอบครัว ตลอดจนการลงทุนในลักษณะโครงการที่เสนอให้ลงทุนในรูปแบบที่ นพ.บุญ ทำสัญญากู้ยืมเงินโดยให้ดอกเบี้ยกับผู้เสียหาย และได้จ่ายเช็คให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้เงินกู้ พร้อมทั้งเช็คเพื่อชำระค่าดอกเบี้ยล่วงหน้าในชื่อ นพ.บุญ วนาสิน พร้อมทั้งมี นางจารุวรรณ วนาสิน และนางณวรา วนาสิน บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญา
    นอกจากนี้ นางจารุวรรณ และ นางณวรา ทั้งสองคนยังเซ็นสลักหลังในเช็คทุกใบของ นพ.บุญ มอบให้แก่ผู้ให้กู้ โดยในช่วงแรกมีการให้ดอกเบี้ย แต่ต่อมาไม่มีการชำระแต่อย่างใด ในส่วนเช็คที่ออกไว้ เมื่อผู้เสียหายนำเช็คไปขึ้นเงินตามวันเวลาที่สั่งจ่าย ปรากฏว่า ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จนกระทั่งต่อมาจากการตรวจสอบ พบว่า นพ.บุญ ได้เดินทางออกไปจากประเทศไทย ในวันที่ 29 ก.ย. 67 เวลา 14.25 น. โดยสายการบินคาร์เธฯ ออกไปประเทศจีน โดยมีพฤติการณ์หลบหนี ซึ่งในกรณี ตั้งแต่ช่วงเดือน ธ.ค. 66 ถึง ต.ค. 67 มีกลุ่มผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สน.ห้วยขวาง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค 2534 แล้วจำนวน 527 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 7,564,433,637 บาท

    อนึ่ง นพ.บุญเคยถูกยกย่องจากสังคมไทยส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากนักการเมืองบางพรรค สื่อมวลชนกระแสหลักบางค่ายของประเทศไทย และอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในประเทศไทย ต่างยกย่องในฐานะที่ นพ.บุญเป็นผู้ประกาศตนว่าจะจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ชนิด MRNA ที่สังคมไทยส่วนหนึ่งถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด จำนวน 20 ล้านโดส แต่สุดท้ายนอกจากไม่มีการลงนามในสัญญานำเข้าวัคซีนภายในเดือนดังกล่าวจริงแล้ว ในช่วงที่เป็นข่าวเคยทำให้มีผลต่อหุ้น THG สุดท้ายเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ลงโทษทางแพ่ง นพ.บุญ ในอัตราสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติ คือ 2 ล้านบาท และชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิดเป็นเงิน 2,348,834 บาท และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์เป็นเวลา 42 เดือน

    .
    https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000112606
    ย้อนรอยหมอบุญ จ้อสื่อทุ่ม 1.6 หมื่นล้าน รุกธุรกิจเฮลท์แคร์ สุดท้ายฉ้อโกง-ฟอกเงิน สำหรับพฤติการณ์การออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 9 ราย เนื่องจากก่อนหน้านี้ ในห้วงวันที่ 2-4 ก.พ. 2566 นพ.บุญ ได้สร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเอง โดยออกสื่อสารธารณะแพร่ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์สาธารณะ โดยกล่าวอ้างการลงทุนที่น่าสนใจ จำนวน 5 โครงการ จากนั้นจึงมีผู้เสียหายซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ และบุคลากรวงการแพทย์หลายร้อยราย หลงเชื่อเพราะ นพ.บุญ และครอบครัว มีบริษัทหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหลายแห่ง จึงเข้าร่วมลงทุน ผ่านการติดต่อจากตัวแทน (โบรกเกอร์) บริษัทหลักทรัพย์ เป็นตัวแทนการระดมเงินลงทุน ให้ นพ.บุญ และครอบครัว ตลอดจนการลงทุนในลักษณะโครงการที่เสนอให้ลงทุนในรูปแบบที่ นพ.บุญ ทำสัญญากู้ยืมเงินโดยให้ดอกเบี้ยกับผู้เสียหาย และได้จ่ายเช็คให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้เงินกู้ พร้อมทั้งเช็คเพื่อชำระค่าดอกเบี้ยล่วงหน้าในชื่อ นพ.บุญ วนาสิน พร้อมทั้งมี นางจารุวรรณ วนาสิน และนางณวรา วนาสิน บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญา นอกจากนี้ นางจารุวรรณ และ นางณวรา ทั้งสองคนยังเซ็นสลักหลังในเช็คทุกใบของ นพ.บุญ มอบให้แก่ผู้ให้กู้ โดยในช่วงแรกมีการให้ดอกเบี้ย แต่ต่อมาไม่มีการชำระแต่อย่างใด ในส่วนเช็คที่ออกไว้ เมื่อผู้เสียหายนำเช็คไปขึ้นเงินตามวันเวลาที่สั่งจ่าย ปรากฏว่า ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จนกระทั่งต่อมาจากการตรวจสอบ พบว่า นพ.บุญ ได้เดินทางออกไปจากประเทศไทย ในวันที่ 29 ก.ย. 67 เวลา 14.25 น. โดยสายการบินคาร์เธฯ ออกไปประเทศจีน โดยมีพฤติการณ์หลบหนี ซึ่งในกรณี ตั้งแต่ช่วงเดือน ธ.ค. 66 ถึง ต.ค. 67 มีกลุ่มผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สน.ห้วยขวาง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค 2534 แล้วจำนวน 527 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 7,564,433,637 บาท อนึ่ง นพ.บุญเคยถูกยกย่องจากสังคมไทยส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากนักการเมืองบางพรรค สื่อมวลชนกระแสหลักบางค่ายของประเทศไทย และอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในประเทศไทย ต่างยกย่องในฐานะที่ นพ.บุญเป็นผู้ประกาศตนว่าจะจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ชนิด MRNA ที่สังคมไทยส่วนหนึ่งถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด จำนวน 20 ล้านโดส แต่สุดท้ายนอกจากไม่มีการลงนามในสัญญานำเข้าวัคซีนภายในเดือนดังกล่าวจริงแล้ว ในช่วงที่เป็นข่าวเคยทำให้มีผลต่อหุ้น THG สุดท้ายเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ลงโทษทางแพ่ง นพ.บุญ ในอัตราสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติ คือ 2 ล้านบาท และชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิดเป็นเงิน 2,348,834 บาท และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์เป็นเวลา 42 เดือน . https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000112606
    MGRONLINE.COM
    ย้อนรอยหมอบุญ จ้อสื่อทุ่ม 1.6 หมื่นล้าน รุกธุรกิจเฮลท์แคร์ สุดท้ายฉ้อโกง-ฟอกเงิน
    ถอดบทเรียนนักลงทุน หมอบุญคนดี ฮีโร่ของคนไทย อัศวินม้าขาวผู้จัดหาวัคซีนไฟเซอร์ทิพย์ เคยออกฐานเศรษฐกิจเมื่อ 2 ปีก่อน เตรียมแผนลงทุน 1.6 หมื่นล้าน สยายปีกลงทุนรับอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์โตแรง ทั้งศูนย์มะเร็งย่านปิ่นเกล้า เวลเนสเซ็นเตอร์ย่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 894 มุมมอง 0 รีวิว
  • อวสานหมอบุญ ฮีโร่ของคนไทย

    การออกหมายจับ นพ.บุญ วนาสิน อายุ 86 ปี ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี พร้อมด้วยนางจารุวรรณ วนาสิน อายุ 79 ปี ภรรยา และ น.ส.นลิน วนาสิน อายุ 51 ปี บุตรสาวในข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ฟอกเงิน และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค 2534 หลังร่วมกับพวกรวม 9 คน หลอกลวงผู้เสียหายระดับนักธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ และบุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วมลงทุน แล้วไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้ มีผู้เสียหาย 527 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 7,564 ล้านบาท

    นับเป็นการปิดฉากหน้ากากคนดี ฮีโร่ของคนไทย อัศวินม้าขาวที่นักการเมืองบางพรรค สื่อกระแสหลักบางค่าย และอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในไทย ต่างยกย่องในฐานะที่ประกาศตนว่าจะจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ ชนิด mRNA ที่สังคมไทยส่วนหนึ่งถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด จำนวน 20 ล้านโดส และด้อยค่ารัฐบาลขณะนั้นที่กำลังจัดการปัญหาโควิด-19 แต่สุดท้ายนอกจากไม่มีการลงนามในสัญญานำเข้าวัคซีนตามที่กล่าวอ้าง การออกข่าวส่งผลต่อราคาหุ้น บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป (THG)

    กระทั่งเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2565 สำนักงาน ก.ล.ต. ลงโทษทางแพ่ง นพ.บุญ ในอัตราสูงสุด คือ 2 ล้านบาท ชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด 2,348,834 บาท และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ 42 เดือน จึงได้ให้ภรรยาเป็นประธานกรรมการบริษัท

    แต่คณะกรรมการตรวจสอบภายในพบรายการธุรกรรมน่าสงสัย 3 รายการ 210 ล้านบาท ทำให้กลุ่มวนาสินยอมเปิดทางให้กลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง แต่งตั้ง นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม โดยลดบทบาท นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ คนใกล้ชิด นพ.บุญ เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และประธานกลุ่มโรงพยาบาลในเครือที่ 1 ส่วน น.ส.นลิน เป็นประธานเจ้าหน้าที่ความยั่งยืน แต่นางจารุวรรณยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท

    สำหรับพฤติการณ์พบว่า นพ.บุญสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการออกสื่อ อ้างการลงทุนที่น่าสนใจ 5 โครงการ ให้ตัวแทน (โบรกเกอร์) บริษัทหลักทรัพย์ระดมเงินลงทุนให้ นพ.บุญ และครอบครัว รวมทั้ง นพ.บุญ ทำสัญญากู้ยืมเงินโดยให้ดอกเบี้ยและได้จ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยล่วงหน้า เซ็นสลักหลังนางจารุวรรณ และอดีตลูกสะใภ้ในเช็คทุกใบของ นพ.บุญ มอบให้แก่ผู้ให้กู้ ช่วงแรกให้ดอกเบี้ย ช่วงหลังไม่มีการจ่าย และเมื่อนำเช็คไปขึ้นเงินตามวันเวลาที่สั่งจ่าย ปรากฎว่าเช็คเด้ง

    นพ.บุญออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2567 เวลา 14.25 น. โดยสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิก เที่ยวบินที่ CX712 ไปยังฮ่องกง

    #Newskit
    อวสานหมอบุญ ฮีโร่ของคนไทย การออกหมายจับ นพ.บุญ วนาสิน อายุ 86 ปี ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี พร้อมด้วยนางจารุวรรณ วนาสิน อายุ 79 ปี ภรรยา และ น.ส.นลิน วนาสิน อายุ 51 ปี บุตรสาวในข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ฟอกเงิน และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค 2534 หลังร่วมกับพวกรวม 9 คน หลอกลวงผู้เสียหายระดับนักธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ และบุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วมลงทุน แล้วไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้ มีผู้เสียหาย 527 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 7,564 ล้านบาท นับเป็นการปิดฉากหน้ากากคนดี ฮีโร่ของคนไทย อัศวินม้าขาวที่นักการเมืองบางพรรค สื่อกระแสหลักบางค่าย และอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในไทย ต่างยกย่องในฐานะที่ประกาศตนว่าจะจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ ชนิด mRNA ที่สังคมไทยส่วนหนึ่งถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด จำนวน 20 ล้านโดส และด้อยค่ารัฐบาลขณะนั้นที่กำลังจัดการปัญหาโควิด-19 แต่สุดท้ายนอกจากไม่มีการลงนามในสัญญานำเข้าวัคซีนตามที่กล่าวอ้าง การออกข่าวส่งผลต่อราคาหุ้น บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป (THG) กระทั่งเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2565 สำนักงาน ก.ล.ต. ลงโทษทางแพ่ง นพ.บุญ ในอัตราสูงสุด คือ 2 ล้านบาท ชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด 2,348,834 บาท และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ 42 เดือน จึงได้ให้ภรรยาเป็นประธานกรรมการบริษัท แต่คณะกรรมการตรวจสอบภายในพบรายการธุรกรรมน่าสงสัย 3 รายการ 210 ล้านบาท ทำให้กลุ่มวนาสินยอมเปิดทางให้กลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง แต่งตั้ง นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม โดยลดบทบาท นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ คนใกล้ชิด นพ.บุญ เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และประธานกลุ่มโรงพยาบาลในเครือที่ 1 ส่วน น.ส.นลิน เป็นประธานเจ้าหน้าที่ความยั่งยืน แต่นางจารุวรรณยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท สำหรับพฤติการณ์พบว่า นพ.บุญสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการออกสื่อ อ้างการลงทุนที่น่าสนใจ 5 โครงการ ให้ตัวแทน (โบรกเกอร์) บริษัทหลักทรัพย์ระดมเงินลงทุนให้ นพ.บุญ และครอบครัว รวมทั้ง นพ.บุญ ทำสัญญากู้ยืมเงินโดยให้ดอกเบี้ยและได้จ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยล่วงหน้า เซ็นสลักหลังนางจารุวรรณ และอดีตลูกสะใภ้ในเช็คทุกใบของ นพ.บุญ มอบให้แก่ผู้ให้กู้ ช่วงแรกให้ดอกเบี้ย ช่วงหลังไม่มีการจ่าย และเมื่อนำเช็คไปขึ้นเงินตามวันเวลาที่สั่งจ่าย ปรากฎว่าเช็คเด้ง นพ.บุญออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2567 เวลา 14.25 น. โดยสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิก เที่ยวบินที่ CX712 ไปยังฮ่องกง #Newskit
    Like
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1469 มุมมอง 0 รีวิว
  • Bitcoin ทะยานแตะ $95,000! จ่อทุบสถิติ $100,000 📌หลัง BlackRock เปิดซื้อขายออปชัน ขณะทองคำพุ่ง $2,650 รับบทสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางตลาดผันผวน
    👉ตลาดสินทรัพย์ผันผวนหนักเมื่อวานนี้ 20 พ.ย.67 แต่ บิตคอยน์ทำสถิติใหม่ที่ 95,000 ดอลลาร์ ก่อนปรับฐานมาที่ 94,424 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 2.26% ได้แรงหนุนจากการเปิดซื้อขายออปชันของกองทุน IBIT จาก BlackRock มูลค่า 44,000 ล้านดอลลาร์ พร้อมข่าว MicroStrategy เพิ่มการลงทุนและข่าวลือการเจรจากับ Microsoft
    👉ขณะที่ตลาดรับข่าวดีจากความเป็นไปได้ที่ทรัมป์จะแต่งตั้งผู้สนับสนุนคริปโตเป็นประธาน ก.ล.ต. ด้านนักวิเคราะห์คาดราคาอาจพุ่งถึง 120,000 ดอลลาร์ในไม่กี่เดือน ส่วนทองคำปรับตัวขึ้น 0.71% แตะ 2,649.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ #imctnews รายงาน
    Bitcoin ทะยานแตะ $95,000! จ่อทุบสถิติ $100,000 📌หลัง BlackRock เปิดซื้อขายออปชัน ขณะทองคำพุ่ง $2,650 รับบทสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางตลาดผันผวน 👉ตลาดสินทรัพย์ผันผวนหนักเมื่อวานนี้ 20 พ.ย.67 แต่ บิตคอยน์ทำสถิติใหม่ที่ 95,000 ดอลลาร์ ก่อนปรับฐานมาที่ 94,424 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 2.26% ได้แรงหนุนจากการเปิดซื้อขายออปชันของกองทุน IBIT จาก BlackRock มูลค่า 44,000 ล้านดอลลาร์ พร้อมข่าว MicroStrategy เพิ่มการลงทุนและข่าวลือการเจรจากับ Microsoft 👉ขณะที่ตลาดรับข่าวดีจากความเป็นไปได้ที่ทรัมป์จะแต่งตั้งผู้สนับสนุนคริปโตเป็นประธาน ก.ล.ต. ด้านนักวิเคราะห์คาดราคาอาจพุ่งถึง 120,000 ดอลลาร์ในไม่กี่เดือน ส่วนทองคำปรับตัวขึ้น 0.71% แตะ 2,649.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ #imctnews รายงาน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 729 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥สุดยอด ปรบมือ!! ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    ประสานความร่วมมือ ยกระดับการทำหน้าที่กำกับดูแล
    ตลาดทุนร่วมกัน ให้มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม มากยิ่งขึ้น

    บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงกรอบการ
    ทำงานร่วมกันของทั้ง 2 องค์กรในงานด้านกำกับดูแล
    ให้มีความชัดเจน ลดความซ้ำซ้อน รวมถึงสอดรับกับระบบนิเวศ
    และการเปลี่ยนแปลงของตลาดทุนในปัจจุบัน
    ตลอดจนสามารถรองรับกับแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
    ได้แก่

    (1) การกำกับดูแลบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน
    และการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน

    (2) การกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และสมาชิก
    ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

    (3) การติดตามดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน
    และการบังคับใช้กฎหมาย และ

    (4) การออกระเบียบข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ
    อีกทั้งจะเพิ่มการสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลการกำกับดูแล
    ระหว่างกัน เพื่อให้การทำหน้าที่ของแต่ละองค์กรมีประสิทธิภาพ
    มากยิ่งขึ้น เช่น การร่วมกันพิจารณาคำขอกรณีการจดทะเบียนโดยอ้อม
    (Backdoor Listing) การขอย้ายกลับมาซื้อขายของบริษัทจดทะเบียน
    หลังแก้ไขเหตุอาจถูกเพิกถอน (Resume Trading) เพื่อให้กระบวนการ
    พิจารณา มีมาตรฐานเทียบเท่าการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนใหม่
    และยังจะมีการร่วมกันกำหนดหรือปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
    หากเห็นว่ากฎเกณฑ์ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยสนับสนุน ป้องปราม
    หรือยับยั้งพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรม
    ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นต้น

    อีกทั้งบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ยังครอบคลุมถึงแนวทางการทำงาน
    และการประสานงานร่วมกัน ทั้งในระดับคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ
    ของทั้ง 2 องค์กร เพื่อให้การขับเคลื่อนทิศทางนโยบายการพัฒนา
    ตลาดทุน การส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันกับตลาดทุนอื่น
    และการกำกับดูแลตลาดทุนของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ
    มีความสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น

    นอกจากนี้ ทั้ง 2 องค์กรยังมีการหารือในประเด็นที่จะขับเคลื่อน
    ร่วมกันที่สำคัญ ดังนี้

    (1) การสร้างระบบนิเวศ (ecosystem) หลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์
    เพื่อรองรับการพัฒนาการลงทุนในรูปแบบใหม่ ที่อยู่ระหว่างปรับปรุง
    พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

    (2) การสนับสนุนการเพิ่มมูลค่า (value up) ของบริษัทจดทะเบียน
    เพื่อสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้บริษัทจดทะเบียนมุ่งมั่น
    ที่จะเสริมศักยภาพและมูลค่าของตัวเอง สื่อสารกับนักลงทุน
    อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือจากที่รัฐบาลได้สนับสนุน
    การขยายรายชื่อหลักทรัพย์ที่กองทุน Thai ESG สามารถลงทุนได้

    (3) การส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามมาตรฐาน
    International Sustainability Standards Board (ISSB)
    ซึ่ง ก.ล.ต. อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมและขอความร่วมมือ
    จากตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการสนับสนุนและต่อยอดการดำเนินการ
    และการทำความเข้าใจกับบริษัทจดทะเบียน

    (4) การส่งเสริมผู้ลงทุนให้มีความรู้ (investor empowerment)
    ผ่าน Open Data ของภาคตลาดทุนและภาคการเงิน เพื่อให้ผู้ลงทุน
    สามารถใช้ข้อมูลของตนที่อยู่กับผู้ประกอบธุรกิจได้อย่างมี
    ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    ที่มา ก.ล.ต.
    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    💥💥สุดยอด ปรบมือ!! ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประสานความร่วมมือ ยกระดับการทำหน้าที่กำกับดูแล ตลาดทุนร่วมกัน ให้มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม มากยิ่งขึ้น บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงกรอบการ ทำงานร่วมกันของทั้ง 2 องค์กรในงานด้านกำกับดูแล ให้มีความชัดเจน ลดความซ้ำซ้อน รวมถึงสอดรับกับระบบนิเวศ และการเปลี่ยนแปลงของตลาดทุนในปัจจุบัน ตลอดจนสามารถรองรับกับแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ (1) การกำกับดูแลบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน และการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน (2) การกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และสมาชิก ของตลาดหลักทรัพย์ฯ (3) การติดตามดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน และการบังคับใช้กฎหมาย และ (4) การออกระเบียบข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกทั้งจะเพิ่มการสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลการกำกับดูแล ระหว่างกัน เพื่อให้การทำหน้าที่ของแต่ละองค์กรมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น เช่น การร่วมกันพิจารณาคำขอกรณีการจดทะเบียนโดยอ้อม (Backdoor Listing) การขอย้ายกลับมาซื้อขายของบริษัทจดทะเบียน หลังแก้ไขเหตุอาจถูกเพิกถอน (Resume Trading) เพื่อให้กระบวนการ พิจารณา มีมาตรฐานเทียบเท่าการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนใหม่ และยังจะมีการร่วมกันกำหนดหรือปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง หากเห็นว่ากฎเกณฑ์ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยสนับสนุน ป้องปราม หรือยับยั้งพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรม ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นต้น อีกทั้งบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ยังครอบคลุมถึงแนวทางการทำงาน และการประสานงานร่วมกัน ทั้งในระดับคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ ของทั้ง 2 องค์กร เพื่อให้การขับเคลื่อนทิศทางนโยบายการพัฒนา ตลาดทุน การส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันกับตลาดทุนอื่น และการกำกับดูแลตลาดทุนของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทั้ง 2 องค์กรยังมีการหารือในประเด็นที่จะขับเคลื่อน ร่วมกันที่สำคัญ ดังนี้ (1) การสร้างระบบนิเวศ (ecosystem) หลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับการพัฒนาการลงทุนในรูปแบบใหม่ ที่อยู่ระหว่างปรับปรุง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) การสนับสนุนการเพิ่มมูลค่า (value up) ของบริษัทจดทะเบียน เพื่อสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้บริษัทจดทะเบียนมุ่งมั่น ที่จะเสริมศักยภาพและมูลค่าของตัวเอง สื่อสารกับนักลงทุน อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือจากที่รัฐบาลได้สนับสนุน การขยายรายชื่อหลักทรัพย์ที่กองทุน Thai ESG สามารถลงทุนได้ (3) การส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามมาตรฐาน International Sustainability Standards Board (ISSB) ซึ่ง ก.ล.ต. อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมและขอความร่วมมือ จากตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการสนับสนุนและต่อยอดการดำเนินการ และการทำความเข้าใจกับบริษัทจดทะเบียน (4) การส่งเสริมผู้ลงทุนให้มีความรู้ (investor empowerment) ผ่าน Open Data ของภาคตลาดทุนและภาคการเงิน เพื่อให้ผู้ลงทุน สามารถใช้ข้อมูลของตนที่อยู่กับผู้ประกอบธุรกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ที่มา ก.ล.ต. #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1046 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
    และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แจ้งเตือน
    ประชาชนและผู้ลงทุน ให้ระมัดระวังมิจฉาชีพหลอกลวง
    แอบอ้างเป็นผู้ประกอบธุรกิจชักชวนให้ลงทุน
    สร้างความเสียหายเป็นมูลค่าสูง พร้อมแนะนำ
    3 ข้อสังเกตระมัดระวังก่อนการลงทุน

    ก.ล.ต. จึงแจ้งเตือนประชาชนให้เพิ่มความระมัดระวัง
    ในการรับข้อมูลชักชวนให้ลงทุน โดยฉพาะผ่านช่อง
    ทางโซเชียลมีเดีย อย่าหลงเชื่อเมื่อพบความผิดปกติ
    และควรตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบ
    โดยมีจุดสังเกต 3 ข้อควรระวังก่อนตัดสินใจลงทุน ดังนี้

    🚩(1) หากถูกทักส่วนตัวและชักชวนลงทุนในช่องทาง
    โซเชียลมีเดีย เช่น ส่งข้อความในไลน์ส่วนตัว หรือกล่อง
    ข้อความส่วนตัว ในเฟซบุ๊ก (Messenger) ให้สงสัยไว้ก่อนว่า
    อาจเป็นมิจฉาชีพ เพราะผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาต
    ส่วนใหญ่ มักไม่ชักชวนลงทุนในลักษณะส่วนตัวผ่าน
    โซเชียลมีเดีย

    🚩(2) หากถูกชักชวนโดยอ้างชื่อ/ภาพของบุคคลใดก็ตาม
    ในข้อความโฆษณา ให้สงสัยไว้ก่อนและสอบถามด้วยตัวเอง
    กับบริษัทที่ถูกอ้างชื่อว่า มีบุคคลนั้นเป็นบุคคลากรทำหน้าที่
    ผู้แนะนำการลงทุนอยู่ในบริษัทจริงหรือไม่ เพราะมิจฉาชีพ
    มักจะแอบอ้างเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีชื่อเสียง
    รวมทั้งต้องตรวจเช็กด้วยว่าบริษัทนั้น ๆ เป็นผู้ประกอบธุรกิจ
    ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ และ

    🚩(3) ก่อนโอนเงินชำระค่าเปิดบัญชีซื้อขายหรือค่าซื้อต้องตรวจดู
    ชื่อบัญชีธนาคารปลายทางก่อนโอนทุกครั้งว่า เป็นชื่อบัญชี
    ของบริษัทที่ประสงค์จะลงทุนจริงหรือไม่

    ที่มา : กลต.

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กลต #thaitimes
    🔥🔥สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แจ้งเตือน ประชาชนและผู้ลงทุน ให้ระมัดระวังมิจฉาชีพหลอกลวง แอบอ้างเป็นผู้ประกอบธุรกิจชักชวนให้ลงทุน สร้างความเสียหายเป็นมูลค่าสูง พร้อมแนะนำ 3 ข้อสังเกตระมัดระวังก่อนการลงทุน ก.ล.ต. จึงแจ้งเตือนประชาชนให้เพิ่มความระมัดระวัง ในการรับข้อมูลชักชวนให้ลงทุน โดยฉพาะผ่านช่อง ทางโซเชียลมีเดีย อย่าหลงเชื่อเมื่อพบความผิดปกติ และควรตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบ โดยมีจุดสังเกต 3 ข้อควรระวังก่อนตัดสินใจลงทุน ดังนี้ 🚩(1) หากถูกทักส่วนตัวและชักชวนลงทุนในช่องทาง โซเชียลมีเดีย เช่น ส่งข้อความในไลน์ส่วนตัว หรือกล่อง ข้อความส่วนตัว ในเฟซบุ๊ก (Messenger) ให้สงสัยไว้ก่อนว่า อาจเป็นมิจฉาชีพ เพราะผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาต ส่วนใหญ่ มักไม่ชักชวนลงทุนในลักษณะส่วนตัวผ่าน โซเชียลมีเดีย 🚩(2) หากถูกชักชวนโดยอ้างชื่อ/ภาพของบุคคลใดก็ตาม ในข้อความโฆษณา ให้สงสัยไว้ก่อนและสอบถามด้วยตัวเอง กับบริษัทที่ถูกอ้างชื่อว่า มีบุคคลนั้นเป็นบุคคลากรทำหน้าที่ ผู้แนะนำการลงทุนอยู่ในบริษัทจริงหรือไม่ เพราะมิจฉาชีพ มักจะแอบอ้างเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีชื่อเสียง รวมทั้งต้องตรวจเช็กด้วยว่าบริษัทนั้น ๆ เป็นผู้ประกอบธุรกิจ ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ และ 🚩(3) ก่อนโอนเงินชำระค่าเปิดบัญชีซื้อขายหรือค่าซื้อต้องตรวจดู ชื่อบัญชีธนาคารปลายทางก่อนโอนทุกครั้งว่า เป็นชื่อบัญชี ของบริษัทที่ประสงค์จะลงทุนจริงหรือไม่ ที่มา : กลต. #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กลต #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 552 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไบแนนซ์ ออกโรงชี้แจงผ่านหนังสือด่วน หลังเกิดประเด็นร้อนจากการโอนเหรียญ USDT มูลค่ากว่า 8,223 ล้านบาท ของหนึ่งในผู้ต้องสงสัย ซึ่งเชื่อมโยงกับ The iCON GROUP เข้ามายัง Binance Hot Wallet หลังเกิดกระแสสังคมสงสัยที่มาของเงินถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่

    ไบแนนซ์ระบุว่า "เบื้องต้นฝ่ายสืบสวนของไบแนนซ์ ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานโดยตรงกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของไทยเป็นที่เรียบร้อย พร้อมทั้งได้รับการชี้แจงว่าในขณะนี้คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการสืบสวน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไบแนนซ์ดำเนินงานโดยให้ความสำคัญในการต่อสู้กับการฉ้อโกงและต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ ผ่านการประสานงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย" ฝ่ายสืบสวนของไบแนนซ์ ระบุ

    อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามกันต่อไปว่าหลังจากนี้จะมีการอายัดบัญชีและเหรียญ USDT มูลค่ากว่า 8,223 ล้านบาทใน Binance Hot Wallet ซึ่งเกี่ยวข้องกับ The iCON GROUP เพื่อตรวจสอบตามกระบวนการทางกฏหมายหรือไม่ แม้ว่าทางไปแนนซ์จะยืนยันว่า "ประสานงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย" แต่เนื่องจากขอบเขตการบังคับใช้กฏหมายของไทยอาจมีข้อจำกัดเฉพาะในราชอาณาจักร ทำให้การอายัดทรัพย์นอกราชอาณาจักรของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายไทย ไม่สามารถทำได้โดยตรง เนื่องจากอำนาจของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายไทยจำกัดอยู่ภายในราชอาณาจักร

    อย่างไรก็ตาม หากมีการสืบสวนพบว่าทรัพย์สินที่ต้องสงสัยอยู่ในต่างประเทศ หน่วยงานไทยสามารถขอความร่วมมือจากประเทศที่เกี่ยวข้อง ผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน หรือความร่วมมือด้านกฎหมายในระดับนานาชาติ (MLAT) เพื่อให้อายัดหรือยึดทรัพย์สินที่อยู่นอกอาณาเขตของไทย

    ทั้งนี้การขอความร่วมมือเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและกฎหมายของประเทศที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ และจะต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายของทั้งสองประเทศ อีกทั้ง ไบแนนซ์เอง ก็อยู่นอกเหนือการบังคับใช้กฏหมายของไทย ณ ปัจจุบัน Binance (ไบแนนซ์) ยังไม่ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Crypto Exchange) ในประเทศไทยจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำให้ในกรณีที่ยังไม่มีใบอนุญาตอย่างเป็นทางการการดำเนินงานของไบแนน์ในประเทศไทย หรือเกี่ยวเนื่องกับประเทศไทย จึงอาจถูกจำกัดทางกฏหมาย หรือ ล่าช้าเพิกเฉยได้

    อย่างไรก็ดี ทางสำนักงาน ก.ล.ต. แนะนำผู้ลงทุนในไทยควรใช้แพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับการอนุญาตจาก ก.ล.ต. เพื่อความปลอดภัยทางกฎหมาย

    https://mgronline.com/stockmarket/detail/9670000101004

    #Thaitimes
    ไบแนนซ์ ออกโรงชี้แจงผ่านหนังสือด่วน หลังเกิดประเด็นร้อนจากการโอนเหรียญ USDT มูลค่ากว่า 8,223 ล้านบาท ของหนึ่งในผู้ต้องสงสัย ซึ่งเชื่อมโยงกับ The iCON GROUP เข้ามายัง Binance Hot Wallet หลังเกิดกระแสสังคมสงสัยที่มาของเงินถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ ไบแนนซ์ระบุว่า "เบื้องต้นฝ่ายสืบสวนของไบแนนซ์ ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานโดยตรงกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของไทยเป็นที่เรียบร้อย พร้อมทั้งได้รับการชี้แจงว่าในขณะนี้คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการสืบสวน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไบแนนซ์ดำเนินงานโดยให้ความสำคัญในการต่อสู้กับการฉ้อโกงและต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ ผ่านการประสานงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย" ฝ่ายสืบสวนของไบแนนซ์ ระบุ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามกันต่อไปว่าหลังจากนี้จะมีการอายัดบัญชีและเหรียญ USDT มูลค่ากว่า 8,223 ล้านบาทใน Binance Hot Wallet ซึ่งเกี่ยวข้องกับ The iCON GROUP เพื่อตรวจสอบตามกระบวนการทางกฏหมายหรือไม่ แม้ว่าทางไปแนนซ์จะยืนยันว่า "ประสานงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย" แต่เนื่องจากขอบเขตการบังคับใช้กฏหมายของไทยอาจมีข้อจำกัดเฉพาะในราชอาณาจักร ทำให้การอายัดทรัพย์นอกราชอาณาจักรของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายไทย ไม่สามารถทำได้โดยตรง เนื่องจากอำนาจของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายไทยจำกัดอยู่ภายในราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม หากมีการสืบสวนพบว่าทรัพย์สินที่ต้องสงสัยอยู่ในต่างประเทศ หน่วยงานไทยสามารถขอความร่วมมือจากประเทศที่เกี่ยวข้อง ผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน หรือความร่วมมือด้านกฎหมายในระดับนานาชาติ (MLAT) เพื่อให้อายัดหรือยึดทรัพย์สินที่อยู่นอกอาณาเขตของไทย ทั้งนี้การขอความร่วมมือเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและกฎหมายของประเทศที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ และจะต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายของทั้งสองประเทศ อีกทั้ง ไบแนนซ์เอง ก็อยู่นอกเหนือการบังคับใช้กฏหมายของไทย ณ ปัจจุบัน Binance (ไบแนนซ์) ยังไม่ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Crypto Exchange) ในประเทศไทยจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำให้ในกรณีที่ยังไม่มีใบอนุญาตอย่างเป็นทางการการดำเนินงานของไบแนน์ในประเทศไทย หรือเกี่ยวเนื่องกับประเทศไทย จึงอาจถูกจำกัดทางกฏหมาย หรือ ล่าช้าเพิกเฉยได้ อย่างไรก็ดี ทางสำนักงาน ก.ล.ต. แนะนำผู้ลงทุนในไทยควรใช้แพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับการอนุญาตจาก ก.ล.ต. เพื่อความปลอดภัยทางกฎหมาย https://mgronline.com/stockmarket/detail/9670000101004 #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    "ไบแนนซ์" แจงประเด็นร้อน "The iCON GROUP" หลัง USDT กว่า 8,223 ล้านโอนเข้า Binance Hot Wallet
    ไบแนนซ์ ออกโรงชี้แจงผ่านหนังสือด่วน หลังเกิดประเด็นร้อนจากการโอนเหรียญ USDT มูลค่ากว่า 8,223 ล้านบาท ของหนึ่งในผู้ต้องสงสัย ซึ่งเชื่อมโยงกับ The iCON GROUP เข้ามายัง Binance Hot Wallet
    Like
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 728 มุมมอง 0 รีวิว
  • "GGC" แจงคืบหน้าคดีอาญาอดีตผู้บริหาร-คู่ค้าทำสต็อกลมเสียหายกว่า 2 พันล้าน หลังเกิดเหตุการณ์วัตถุดิบคงคลังสูญหายช่วงมิถุนายน 2561 ชี้ลงบันทึกในระบบบัญชีของบริษัทได้รับวัตถุดิบครบถ้วน

    18 ตุลาคม 2567-รายงานข่าวฐานเศรษฐกิจระบุว่า นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยความคืบหน้าด้านคดีความอันเนื่องมาจากเหตุการณ์วัตถุดิบคงคลังสูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงมิถุนายน 2561 ตามที่ GGC ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหาร พนักงานและ คู่ค้าที่เกี่ยวข้อง

    ซึ่งต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ได้ กล่าวโทษอดีตผู้บริหาร GGC 2 ราย และบริษัทคู่ค้า อีก 9 ราย ซึ่งเป็นผู้ขายวัตถุดิบ กรณีร่วมกันดำเนินการให้บริษัทซื้อวัตถุดิบและจ่ายชำระเงินค่าซื้อเต็มจำนวนให้แก่ผู้ขายโดยไม่ได้รับวัตถุดิบทั้งหมดหรือได้รับเพียงบางส่วน

    แต่กลับลงบันทึกในระบบบัญชีของบริษัทว่าได้รับวัตถุดิบครบถ้วนแล้ว รวมทั้งกรณีส่งมอบวัตถุดิบไปกลั่นโดยไม่ได้มีการกลั่นจริง ทำให้ GGC ได้รับความเสียหาย คิดเป็นมูลค่ารวม 2,157 ล้านบาท

    ทั้งนี้ GGC ได้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ทั้งทางแพ่ง และอาญา ร่วมกับ ก.ล.ต. มาอย่างต่อเนื่อง โดยคดีมีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก และมีคดีถึงที่สุดแล้วหลายคดี ดังนี้

    ในส่วนคดีแพ่ง GGC มีการฟ้องร้องคดีแพ่ง 5 คดี และศาลตัดสินแล้วทั้งหมด โดย GGC ชนะทุกคดี และคดีถึงที่สุดแล้ว 4 คดี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการบังคับคดีตามคำสั่งศาลมูลค่ารวมกว่า 800 ล้านบาท

    ด้านคดีที่ GGC ถูกฟ้องเป็นจำเลยมี 6 คดี ศาลตัดสินแล้ว 4 คดี โดย GGC ชนะ 3 คดี และอีก 2 คดีอยู่ระหว่างการสืบพยาน

    ขณะที่คดีอาญา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวโทษอดีตผู้บริหารของ GGC และบริษัทคู่ค้า และ GGC ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญากับอดีตผู้บริหารและบริษัทคู่ค้ารวมทั้งสิ้น 8 คดี โดยมีคดีอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน 4 คดี อยู่ในชั้นพนักงานอัยการ 1 คดี และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอีก 3 คดี ซึ่งมีการตัดสินแล้ว 2 คดี

    คดีแรก ในปี 2566 ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยลงโทษจำคุกอดีตผู้บริหาร 2 ปี และกรรมการของคู่ค้า 1 ปี 4 เดือน และให้อดีตผู้บริหารชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ GGC จำนวนประมาณ 328.87 ล้านบาท ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์

    คดีที่สอง ตัดสินเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ศาลพิพากษายกฟ้อง อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาดังกล่าวเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดียังไม่ถึงที่สุด และ GGC จะสามารถใช้สิทธิในการยื่นอุทธรณ์ได้ โดยคดีดังกล่าว มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 72.88 ล้านบาท ซึ่ง GGC ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของบริษัทคู่ค้าไว้แล้ว

    "GGC ขอยืนยันว่า บริษัทจะดำเนินคดีตามพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงผ่านกระบวนการยุติธรรมอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง เพื่อปกป้องสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของ GGC และผู้ถือหุ้นทุกคน"

    ที่มา https://www.thansettakij.com/sustainable/energy/609697

    #Thaitimes
    "GGC" แจงคืบหน้าคดีอาญาอดีตผู้บริหาร-คู่ค้าทำสต็อกลมเสียหายกว่า 2 พันล้าน หลังเกิดเหตุการณ์วัตถุดิบคงคลังสูญหายช่วงมิถุนายน 2561 ชี้ลงบันทึกในระบบบัญชีของบริษัทได้รับวัตถุดิบครบถ้วน 18 ตุลาคม 2567-รายงานข่าวฐานเศรษฐกิจระบุว่า นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยความคืบหน้าด้านคดีความอันเนื่องมาจากเหตุการณ์วัตถุดิบคงคลังสูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงมิถุนายน 2561 ตามที่ GGC ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหาร พนักงานและ คู่ค้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ได้ กล่าวโทษอดีตผู้บริหาร GGC 2 ราย และบริษัทคู่ค้า อีก 9 ราย ซึ่งเป็นผู้ขายวัตถุดิบ กรณีร่วมกันดำเนินการให้บริษัทซื้อวัตถุดิบและจ่ายชำระเงินค่าซื้อเต็มจำนวนให้แก่ผู้ขายโดยไม่ได้รับวัตถุดิบทั้งหมดหรือได้รับเพียงบางส่วน แต่กลับลงบันทึกในระบบบัญชีของบริษัทว่าได้รับวัตถุดิบครบถ้วนแล้ว รวมทั้งกรณีส่งมอบวัตถุดิบไปกลั่นโดยไม่ได้มีการกลั่นจริง ทำให้ GGC ได้รับความเสียหาย คิดเป็นมูลค่ารวม 2,157 ล้านบาท ทั้งนี้ GGC ได้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ทั้งทางแพ่ง และอาญา ร่วมกับ ก.ล.ต. มาอย่างต่อเนื่อง โดยคดีมีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก และมีคดีถึงที่สุดแล้วหลายคดี ดังนี้ ในส่วนคดีแพ่ง GGC มีการฟ้องร้องคดีแพ่ง 5 คดี และศาลตัดสินแล้วทั้งหมด โดย GGC ชนะทุกคดี และคดีถึงที่สุดแล้ว 4 คดี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการบังคับคดีตามคำสั่งศาลมูลค่ารวมกว่า 800 ล้านบาท ด้านคดีที่ GGC ถูกฟ้องเป็นจำเลยมี 6 คดี ศาลตัดสินแล้ว 4 คดี โดย GGC ชนะ 3 คดี และอีก 2 คดีอยู่ระหว่างการสืบพยาน ขณะที่คดีอาญา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวโทษอดีตผู้บริหารของ GGC และบริษัทคู่ค้า และ GGC ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญากับอดีตผู้บริหารและบริษัทคู่ค้ารวมทั้งสิ้น 8 คดี โดยมีคดีอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน 4 คดี อยู่ในชั้นพนักงานอัยการ 1 คดี และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอีก 3 คดี ซึ่งมีการตัดสินแล้ว 2 คดี คดีแรก ในปี 2566 ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยลงโทษจำคุกอดีตผู้บริหาร 2 ปี และกรรมการของคู่ค้า 1 ปี 4 เดือน และให้อดีตผู้บริหารชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ GGC จำนวนประมาณ 328.87 ล้านบาท ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ คดีที่สอง ตัดสินเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ศาลพิพากษายกฟ้อง อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาดังกล่าวเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดียังไม่ถึงที่สุด และ GGC จะสามารถใช้สิทธิในการยื่นอุทธรณ์ได้ โดยคดีดังกล่าว มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 72.88 ล้านบาท ซึ่ง GGC ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของบริษัทคู่ค้าไว้แล้ว "GGC ขอยืนยันว่า บริษัทจะดำเนินคดีตามพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงผ่านกระบวนการยุติธรรมอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง เพื่อปกป้องสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของ GGC และผู้ถือหุ้นทุกคน" ที่มา https://www.thansettakij.com/sustainable/energy/609697 #Thaitimes
    WWW.THANSETTAKIJ.COM
    "GGC" แจงคืบหน้าคดีอาญาอดีตผู้บริหาร-คู่ค้าทำสต็อกลมเสียหายกว่า 2 พันล้าน
    "GGC" แจงคืบหน้าคดีอาญาอดีตผู้บริหาร-คู่ค้าทำสต็อกลมเสียหายกว่า 2 พันล้าน หลังเกิดเหตุการณ์วัตถุดิบคงคลังสูญหายช่วงมิถุนายน 2561 ชี้ลงบันทึกในระบบบัญชีของบริษัทได้รับวัตถุดิบครบถ้วน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 612 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥ก.ล.ต. เพิ่มโทษหนัก สำหรับนักลงทุน,
    โบรก หรือ คัสโตเดี้ยน ต่างประเทศ
    ที่ทำ Naked Short selling
    (นำหุ้นลม หรือ หุ้นที่ไม่มีอยู่จริงมาขาย)
    ถือเป็นความผิดระดับรุนแรง

    🚩บทระวางโทษให้ปรับ 3 เท่าของกำไร
    ที่ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
    โดยโทษสูงสุด อาจถูกปรับมากถึง 10 ล้านบาท

    🚩คาดจะนำมาบังคับใช้เร็วๆนี้

    ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ตลาดหุ้นไทย #SET
    #Nakedshortselling #หุ้นลม #thaitimes
    🔥🔥ก.ล.ต. เพิ่มโทษหนัก สำหรับนักลงทุน, โบรก หรือ คัสโตเดี้ยน ต่างประเทศ ที่ทำ Naked Short selling (นำหุ้นลม หรือ หุ้นที่ไม่มีอยู่จริงมาขาย) ถือเป็นความผิดระดับรุนแรง 🚩บทระวางโทษให้ปรับ 3 เท่าของกำไร ที่ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท โดยโทษสูงสุด อาจถูกปรับมากถึง 10 ล้านบาท 🚩คาดจะนำมาบังคับใช้เร็วๆนี้ ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ตลาดหุ้นไทย #SET #Nakedshortselling #หุ้นลม #thaitimes
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 594 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้กระทำความผิด 2 ราย
    ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด
    เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.)
    กรณีซื้อหรือขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
    ก่อนทำรายการซื้อขายของกองทุน
    โดยใช้ข้อมูลการลงทุนของกองทุน และรายงาน
    การดำเนินการต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
    ได้รับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อปี 2566
    และตรวจสอบเพิ่มเติมพบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่า
    ผู้กระทำความผิดรวม 2 ราย ได้แก่ (1) นายโกเมน นิยมวานิช และ
    (2) นางสาวมนสิชา อุ้นพิพัฒน์ ได้ร่วมกันกระทำการเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น
    ในประการที่น่าจะทำให้กองทุนรวมเสียประโยชน์

    โดยนายโกเมนในฐานะผู้จัดการกองทุน (ขณะกระทำผิดสังกัดบริษัทหลักทรัพย์
    จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นบุคคลที่รู้หรือครอบครองข้อมูล
    เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนที่ตนเป็นผู้จัดการ ได้เปิดเผยข้อมูล
    เกี่ยวกับคำสั่งของกองทุนรวมที่นายโกเมนเป็นผู้จัดการกองทุนให้แก่
    นางสาวมนสิชา และนางสาวมนสิชาได้ส่งคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์
    และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ก่อนที่นายโกเมนจะส่งคำสั่งซื้อหรือขาย
    ให้แก่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนจำนวนหลายรายการ ในช่วงปี 2565
    อันเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 244/2 ประกอบมาตรา 244/1 และมาตรา 315
    แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ)
    แล้วแต่กรณี ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษบุคคลทั้ง 2 ราย ต่อ บก.ปอศ. เพื่อพิจารณา
    ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป

    พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ได้รายงานการดำเนินการดังกล่าวต่อ ปปง. เพื่อพิจารณา
    ดำเนินการต่อไป เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
    เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
    ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
    พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

    ทั้งนี้ ภายหลังการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย
    ทางอาญาต่อไป เป็นการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดี
    ของพนักงานอัยการ และการพิจารณาของศาลยุติธรรม ตามลำดับ
    โดย ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดี และจะร่วมมือกับ
    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย
    ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว

    ที่มา : ก.ล.ต.

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    🔥🔥ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้กระทำความผิด 2 ราย ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กรณีซื้อหรือขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ก่อนทำรายการซื้อขายของกองทุน โดยใช้ข้อมูลการลงทุนของกองทุน และรายงาน การดำเนินการต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อปี 2566 และตรวจสอบเพิ่มเติมพบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่า ผู้กระทำความผิดรวม 2 ราย ได้แก่ (1) นายโกเมน นิยมวานิช และ (2) นางสาวมนสิชา อุ้นพิพัฒน์ ได้ร่วมกันกระทำการเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น ในประการที่น่าจะทำให้กองทุนรวมเสียประโยชน์ โดยนายโกเมนในฐานะผู้จัดการกองทุน (ขณะกระทำผิดสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นบุคคลที่รู้หรือครอบครองข้อมูล เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนที่ตนเป็นผู้จัดการ ได้เปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับคำสั่งของกองทุนรวมที่นายโกเมนเป็นผู้จัดการกองทุนให้แก่ นางสาวมนสิชา และนางสาวมนสิชาได้ส่งคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ก่อนที่นายโกเมนจะส่งคำสั่งซื้อหรือขาย ให้แก่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนจำนวนหลายรายการ ในช่วงปี 2565 อันเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 244/2 ประกอบมาตรา 244/1 และมาตรา 315 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) แล้วแต่กรณี ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษบุคคลทั้ง 2 ราย ต่อ บก.ปอศ. เพื่อพิจารณา ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ได้รายงานการดำเนินการดังกล่าวต่อ ปปง. เพื่อพิจารณา ดำเนินการต่อไป เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ภายหลังการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ทางอาญาต่อไป เป็นการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดี ของพนักงานอัยการ และการพิจารณาของศาลยุติธรรม ตามลำดับ โดย ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดี และจะร่วมมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว ที่มา : ก.ล.ต. #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 597 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
    และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
    ปรับปรุงหลักเกณฑ์การรายงานข้อมูล
    ของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และ
    ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ผู้ประกอบธุรกิจ)
    เพื่อให้ ก.ล.ต.มีข้อมูลเชิงลึกในการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ
    และตลาดทุน รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานข้อมูล
    เพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลในตลาดทุน

    🚩ตามที่ ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อหลักการ
    และหลักเกณฑ์ที่เสนอปรับปรุงเกี่ยวกับการยื่นรายงานทรัพย์สิน
    ของลูกค้าและการทำธุรกรรมของผู้ประกอบธุรกิจ
    โดยปรับปรุงการรายงานให้มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงลึก
    (granular data) เพื่อประโยชน์ในการติดตามกำกับดูแล
    ความเสี่ยงของผู้ประกอบธุรกิจ

    🚩รวมทั้งความเสี่ยงเชิงระบบ (systemic risk) และความเป็น
    ระเบียบเรียบร้อยในตลาดทุน (fair and orderly market)
    เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุนและตลาดทุนโดยรวม รวมทั้งจะทำให้
    ผู้ประกอบธุรกิจได้รับข้อมูลภาพรวมสำหรับใช้ประกอบการ
    บริหารความเสี่ยงด้วย

    นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดมาตรฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
    เพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูล (open data)
    ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุน

    🚩ก.ล.ต. จึงออกประกาศหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงแล้ว โดยได้นำ
    ความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากการเปิดรับฟัง
    ความคิดเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณา ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

    (1) ปรับปรุงขอบเขตการยื่นรายงานของผู้ประกอบธุรกิจ
    ให้รวมถึงการนำส่งข้อมูล หรือเอกสาร โดยจำกัดให้ครอบคลุม
    เท่าที่จำเป็น ตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ ก.ล.ต.
    สามารถปฏิบัติภารกิจตามกฎหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ
    หรือการคุ้มครองผู้ลงทุนได้

    (2) ปรับปรุงแบบรายงานทรัพย์สินลูกค้า และการทำธุรกรรม
    ของผู้ประกอบธุรกิจ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานข้อมูล
    รายละเอียดเชิงลึก แยกรายลูกค้าและรายหลักทรัพย์
    และกำหนดให้ยื่นต่อ ก.ล.ต. เป็นรายสัปดาห์

    ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าว* จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567
    เป็นต้นไป

    ที่มา : ก.ล.ต.

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กลต #thaitimes
    🔥🔥สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ปรับปรุงหลักเกณฑ์การรายงานข้อมูล ของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ผู้ประกอบธุรกิจ) เพื่อให้ ก.ล.ต.มีข้อมูลเชิงลึกในการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ และตลาดทุน รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานข้อมูล เพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลในตลาดทุน 🚩ตามที่ ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อหลักการ และหลักเกณฑ์ที่เสนอปรับปรุงเกี่ยวกับการยื่นรายงานทรัพย์สิน ของลูกค้าและการทำธุรกรรมของผู้ประกอบธุรกิจ โดยปรับปรุงการรายงานให้มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงลึก (granular data) เพื่อประโยชน์ในการติดตามกำกับดูแล ความเสี่ยงของผู้ประกอบธุรกิจ 🚩รวมทั้งความเสี่ยงเชิงระบบ (systemic risk) และความเป็น ระเบียบเรียบร้อยในตลาดทุน (fair and orderly market) เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุนและตลาดทุนโดยรวม รวมทั้งจะทำให้ ผู้ประกอบธุรกิจได้รับข้อมูลภาพรวมสำหรับใช้ประกอบการ บริหารความเสี่ยงด้วย นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดมาตรฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูล (open data) ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุน 🚩ก.ล.ต. จึงออกประกาศหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงแล้ว โดยได้นำ ความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากการเปิดรับฟัง ความคิดเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณา ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ (1) ปรับปรุงขอบเขตการยื่นรายงานของผู้ประกอบธุรกิจ ให้รวมถึงการนำส่งข้อมูล หรือเอกสาร โดยจำกัดให้ครอบคลุม เท่าที่จำเป็น ตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ ก.ล.ต. สามารถปฏิบัติภารกิจตามกฎหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือการคุ้มครองผู้ลงทุนได้ (2) ปรับปรุงแบบรายงานทรัพย์สินลูกค้า และการทำธุรกรรม ของผู้ประกอบธุรกิจ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานข้อมูล รายละเอียดเชิงลึก แยกรายลูกค้าและรายหลักทรัพย์ และกำหนดให้ยื่นต่อ ก.ล.ต. เป็นรายสัปดาห์ ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าว* จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป ที่มา : ก.ล.ต. #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กลต #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 655 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
    และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอให้ผู้ถือหุ้น
    บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (SABUY)
    ศึกษาข้อมูลและไปเข้าร่วมประชุมและใช้สิทธิออกเสียง
    ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 8 ตุลาคม 2567

    🚩เกี่ยวกับการเข้าลงทุนในหุ้นสามัญในบริษัท
    ลอคบอกซ์ กรุ๊ป จำกัด (LOCKBOX) และบริษัท
    ลอคบอกซ์ เวนเจอร์ส จำกัด (LOCKVENT)
    ซึ่งจะชำระค่าตอบแทนด้วยการออก และเสนอขาย
    หุ้นสามัญเพิ่มทุนของ SABUY

    🚩โดยที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) ให้ความเห็นว่า
    ผู้ถือหุ้นไม่ควรอนุมัติการเข้าทำรายการลงทุนดังกล่าว

    ที่มา : ก.ล.ต.

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กลต #thaitimes
    🔥🔥สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอให้ผู้ถือหุ้น บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (SABUY) ศึกษาข้อมูลและไปเข้าร่วมประชุมและใช้สิทธิออกเสียง ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 8 ตุลาคม 2567 🚩เกี่ยวกับการเข้าลงทุนในหุ้นสามัญในบริษัท ลอคบอกซ์ กรุ๊ป จำกัด (LOCKBOX) และบริษัท ลอคบอกซ์ เวนเจอร์ส จำกัด (LOCKVENT) ซึ่งจะชำระค่าตอบแทนด้วยการออก และเสนอขาย หุ้นสามัญเพิ่มทุนของ SABUY 🚩โดยที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) ให้ความเห็นว่า ผู้ถือหุ้นไม่ควรอนุมัติการเข้าทำรายการลงทุนดังกล่าว ที่มา : ก.ล.ต. #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กลต #thaitimes
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 581 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts