รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 11 การทำให้ “เงินทำงานรับใช้”
.
เมื่อพูดถึงเรื่องการหาเงินและการใช้เงิน คนจำนวนไม่น้อยเห็นว่าเป็นเรื่อง “หญ้าปากคอก” ที่ไม่ต้องเรียนรู้ก็ได้ อย่างไรก็ดี “หญ้าปากคอก”นี้ ได้กลายเป็น “หนามยอกอก” ที่ทิ่มแทงคนหลายคน จนบางคนต้องล้มตายจากไปทั้งที่ยังมีลมหายใจอยู่ ดังที่ได้เห็นกันอยู่เนืองๆ การมีฐานะมั่นคงจากการใช้แรงงานของตนเองตลอดชีวิต ถึงแม้จะเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นศิลปะที่มีหลักการบางอย่างเป็นตัวกำกับ การเข้าใจหลักการดังกล่าวจะช่วยให้ไม่เกิดสภาวะที่ทุ่มเททำงานหารายได้อย่างหนัก แต่ในบั้นปลายชีวิตก็ยังหาความมั่นคงทางการเงินไม่ได้
.
มนุษย์มีแนวโน้มโดยธรรมชาติที่จะใช้จ่ายเงินที่หามาได้อย่างตามใจตนเอง เพราะถือว่าเป็นสิ่งตอบแทนการทำงานที่เหน็ดเหนื่อย จนละเลยที่จะเก็บเงินบางส่วนไว้ เพื่อทำให้งอกเงยสำหรับอนาคตที่สุขสบายยิ่งขึ้น หลายคนลืมคิดไปว่าถ้าใช้เงินที่หามาได้ไปทั้งหมด ความสุขที่ได้รับก็จะจบอยู่เพียงแค่นั้น ไม่มีอนาคตที่ว่าทำงานเท่าเดิม แต่ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น ไม่มีอนาคตของความมั่นคงทางการเงินซึ่งจะอำนวยให้เกิดความมั่นคงในชีวิตไปด้วย และไม่มีอนาคตที่จะมีชีวิตสุขสบายเมื่อพ้นวัยทำงานไปแล้ว
.
ถ้าใครเลือกเส้นทาง “สุขวันนี้และจบแค่นี้” ก็จำต้องยอมรับผลที่เกิดมา แต่ถ้าใครเลือกเส้นทาง “ไม่สุขวันนี้เต็มที่ แต่จะสุขยาวกว่านี้ไปในอนาคต” ก็จำเป็นต้องมีเงินเหลือจากการใช้จ่ายเก็บไว้เป็นเงินออม หรือจะให้ดีกว่านั้นก็คือกันส่วนหนึ่งของรายได้ไว้แต่แรกก่อนใช้จ่าย เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักภาษี
.
เงินออมเป็น “ต้นน้ำ” สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการมีความมั่นคงในด้านการเงินต่อไปในอนาคต เงินออมเกิดขึ้นได้เพราะเจ้าของรายได้มีความมัธยัสถ์ กล่าวคือใช้จ่ายเฉพาะในเรื่องที่จำเป็น ไม่สุรุ่ยสุร่ายใช้จ่ายเงินอย่างเขลาในเรื่องต่างๆ ความมัธยัสถ์เป็นแผนหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่มิได้ทำให้ใครเดือดร้อน และมิใช่การเอารัดเอาเปรียบคนอื่น การขาดความมัธยัสถ์ต่างหากที่จะทำให้ตนเองเดือดร้อน และอาจทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย เพราะอาจถูกรบกวนขอเงิน หรือขอยืมเงินเพราะตนเองมีเงินใช้ไม่พอ
.
ความมัธยัสถ์โยงใยกับการมีวินัยบังคับใจตนเอง และการมุ่งมั่นมีเป้าหมายในชีวิต ทำให้เกิดสภาวการณ์ที่สำคัญของชีวิต นั่นคือ “การอยู่กินต่ำกว่าฐานะ” ซึ่งนำไปสู่การมีเงินเหลือเพื่อเก็บออมนั่นเอง ผู้ที่อยู่กินตามฐานะของรายได้ หมายถึงการไม่มีเงินออม และผู้ที่อยู่กินเกินฐานะหมายถึง ใช้จ่ายเงินเกินรายได้ที่ตนเองมี นั่นก็คือต้องหยิบยืมส่วนที่ขาดไปจากผู้อื่น ซึ่งก็คือการเป็นหนี้นั่นเอง
.
เมื่ออยู่กินต่ำกว่าฐานะอย่างสม่ำเสมอก็จะเกิดเงินออมขึ้นอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน เงินออมจะสะสมเป็นเงินก้อน และเมื่อเอาไปลงทุนอย่างชาญฉลาดก็จะเกิดผลตอบแทนเป็นรายได้เพิ่มเติมจากรายได้ที่ได้รับจากการทำงานอยู่แล้ว ถ้าหากผลตอบแทนลักษณะนี้พอกพูนกันมากขึ้น ถึงแม้จะทำงานน้อยลงหรือไม่ได้ทำงานเลย อันเนื่งมาจากความเจ็บป่วยหรือพ้นวัยทำงานแล้ว ก็จะยังคงมีรายได้อยู่เช่นเดิม
.
ความมั่งคั่งเป็นผลพวงของ “การออกลูกออกหลาน” ของเงินตอบแทนจากการออมขั้นแรก กล่าวคือ เมื่อได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนครั้งแรกก็นำไปลงทุนต่อ และเมื่อได้รับผลตอบแทนอีกก็ลงทุนต่อไปอีกขั้นหนึ่งต่อไปเรื่อยๆ จนสมทบพอกพูนเป็นความมั่งคั่ง
.
การกระทำเช่นนี้ ซึ่งเริ่มจากการมีเงินออมเป็นเบื้องต้นจนถึงการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง คือ การให้ “เงินทำงานรับใช้” นั่นเอง
.
ในชีวิตของผู้คน ทุกคนมีทั้งวัยทำงานที่หารายได้คล่องมือจากการออกแรงทำงาน และมีวัยพ้นทำงานที่ไม่มีรายได้จากการออกแรงทำงาน ดังนั้นการวางแผนการเงินเพื่อให้ “เงินทำงานรับใช้” ตั้งแต่อยู่ในวัยทำงานจนสามารถหารายได้เป็นกอบเป็นกำเผื่อไปถึงวัยที่ไม่อาจหารยได้ได้เต็มที่จากการทำงานจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
.
ตลอดชีวิตการทำงานซึ่งมีเวลา 30 ปีเศษๆ ถ้าบุคคลในช่วงวัยทำงานใช้จ่ายเงินอย่างขาดการวางแผนให้ “เงินทำงานรับใช้” แล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณอายุ คุณภาพชีวิตที่ได้รับก็จะไม่เหมือนเดิม หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าจะไม่ร่ำรวยตลอดชีวิตอย่างแน่นอน อย่างนี้เรียกว่า “รวยในวันนี้ เพื่อจนในวันข้างหน้า”
.
ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ตระหนักดีถึงการร่ำรวยตลอดชีวิต จะวางแผนให้เงินทำงานรับใช้เป็นอย่างดี โดยมีการดำเนินชีวิตพื้นฐานแบบ “อยู่กินต่ำกว่าฐานะ” การกระทำเช่นนี้ก็คือ “ยอมจนวันนี้ เพื่อร่ำรวยตลอดชีวิต” นั่นเอง
.
การยอมสละการบริโภคในปัจจุบันไปบ้าง เพื่อให้มีอนาคตทางการเงินที่มั่นคง และสามารถดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพสม่ำเสมอไปจนตลอดชีวิต คือ การมีวิสัยทัศน์
.
เมื่อพูดถึงเรื่องการหาเงินและการใช้เงิน คนจำนวนไม่น้อยเห็นว่าเป็นเรื่อง “หญ้าปากคอก” ที่ไม่ต้องเรียนรู้ก็ได้ อย่างไรก็ดี “หญ้าปากคอก”นี้ ได้กลายเป็น “หนามยอกอก” ที่ทิ่มแทงคนหลายคน จนบางคนต้องล้มตายจากไปทั้งที่ยังมีลมหายใจอยู่ ดังที่ได้เห็นกันอยู่เนืองๆ การมีฐานะมั่นคงจากการใช้แรงงานของตนเองตลอดชีวิต ถึงแม้จะเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นศิลปะที่มีหลักการบางอย่างเป็นตัวกำกับ การเข้าใจหลักการดังกล่าวจะช่วยให้ไม่เกิดสภาวะที่ทุ่มเททำงานหารายได้อย่างหนัก แต่ในบั้นปลายชีวิตก็ยังหาความมั่นคงทางการเงินไม่ได้
.
มนุษย์มีแนวโน้มโดยธรรมชาติที่จะใช้จ่ายเงินที่หามาได้อย่างตามใจตนเอง เพราะถือว่าเป็นสิ่งตอบแทนการทำงานที่เหน็ดเหนื่อย จนละเลยที่จะเก็บเงินบางส่วนไว้ เพื่อทำให้งอกเงยสำหรับอนาคตที่สุขสบายยิ่งขึ้น หลายคนลืมคิดไปว่าถ้าใช้เงินที่หามาได้ไปทั้งหมด ความสุขที่ได้รับก็จะจบอยู่เพียงแค่นั้น ไม่มีอนาคตที่ว่าทำงานเท่าเดิม แต่ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น ไม่มีอนาคตของความมั่นคงทางการเงินซึ่งจะอำนวยให้เกิดความมั่นคงในชีวิตไปด้วย และไม่มีอนาคตที่จะมีชีวิตสุขสบายเมื่อพ้นวัยทำงานไปแล้ว
.
ถ้าใครเลือกเส้นทาง “สุขวันนี้และจบแค่นี้” ก็จำต้องยอมรับผลที่เกิดมา แต่ถ้าใครเลือกเส้นทาง “ไม่สุขวันนี้เต็มที่ แต่จะสุขยาวกว่านี้ไปในอนาคต” ก็จำเป็นต้องมีเงินเหลือจากการใช้จ่ายเก็บไว้เป็นเงินออม หรือจะให้ดีกว่านั้นก็คือกันส่วนหนึ่งของรายได้ไว้แต่แรกก่อนใช้จ่าย เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักภาษี
.
เงินออมเป็น “ต้นน้ำ” สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการมีความมั่นคงในด้านการเงินต่อไปในอนาคต เงินออมเกิดขึ้นได้เพราะเจ้าของรายได้มีความมัธยัสถ์ กล่าวคือใช้จ่ายเฉพาะในเรื่องที่จำเป็น ไม่สุรุ่ยสุร่ายใช้จ่ายเงินอย่างเขลาในเรื่องต่างๆ ความมัธยัสถ์เป็นแผนหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่มิได้ทำให้ใครเดือดร้อน และมิใช่การเอารัดเอาเปรียบคนอื่น การขาดความมัธยัสถ์ต่างหากที่จะทำให้ตนเองเดือดร้อน และอาจทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย เพราะอาจถูกรบกวนขอเงิน หรือขอยืมเงินเพราะตนเองมีเงินใช้ไม่พอ
.
ความมัธยัสถ์โยงใยกับการมีวินัยบังคับใจตนเอง และการมุ่งมั่นมีเป้าหมายในชีวิต ทำให้เกิดสภาวการณ์ที่สำคัญของชีวิต นั่นคือ “การอยู่กินต่ำกว่าฐานะ” ซึ่งนำไปสู่การมีเงินเหลือเพื่อเก็บออมนั่นเอง ผู้ที่อยู่กินตามฐานะของรายได้ หมายถึงการไม่มีเงินออม และผู้ที่อยู่กินเกินฐานะหมายถึง ใช้จ่ายเงินเกินรายได้ที่ตนเองมี นั่นก็คือต้องหยิบยืมส่วนที่ขาดไปจากผู้อื่น ซึ่งก็คือการเป็นหนี้นั่นเอง
.
เมื่ออยู่กินต่ำกว่าฐานะอย่างสม่ำเสมอก็จะเกิดเงินออมขึ้นอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน เงินออมจะสะสมเป็นเงินก้อน และเมื่อเอาไปลงทุนอย่างชาญฉลาดก็จะเกิดผลตอบแทนเป็นรายได้เพิ่มเติมจากรายได้ที่ได้รับจากการทำงานอยู่แล้ว ถ้าหากผลตอบแทนลักษณะนี้พอกพูนกันมากขึ้น ถึงแม้จะทำงานน้อยลงหรือไม่ได้ทำงานเลย อันเนื่งมาจากความเจ็บป่วยหรือพ้นวัยทำงานแล้ว ก็จะยังคงมีรายได้อยู่เช่นเดิม
.
ความมั่งคั่งเป็นผลพวงของ “การออกลูกออกหลาน” ของเงินตอบแทนจากการออมขั้นแรก กล่าวคือ เมื่อได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนครั้งแรกก็นำไปลงทุนต่อ และเมื่อได้รับผลตอบแทนอีกก็ลงทุนต่อไปอีกขั้นหนึ่งต่อไปเรื่อยๆ จนสมทบพอกพูนเป็นความมั่งคั่ง
.
การกระทำเช่นนี้ ซึ่งเริ่มจากการมีเงินออมเป็นเบื้องต้นจนถึงการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง คือ การให้ “เงินทำงานรับใช้” นั่นเอง
.
ในชีวิตของผู้คน ทุกคนมีทั้งวัยทำงานที่หารายได้คล่องมือจากการออกแรงทำงาน และมีวัยพ้นทำงานที่ไม่มีรายได้จากการออกแรงทำงาน ดังนั้นการวางแผนการเงินเพื่อให้ “เงินทำงานรับใช้” ตั้งแต่อยู่ในวัยทำงานจนสามารถหารายได้เป็นกอบเป็นกำเผื่อไปถึงวัยที่ไม่อาจหารยได้ได้เต็มที่จากการทำงานจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
.
ตลอดชีวิตการทำงานซึ่งมีเวลา 30 ปีเศษๆ ถ้าบุคคลในช่วงวัยทำงานใช้จ่ายเงินอย่างขาดการวางแผนให้ “เงินทำงานรับใช้” แล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณอายุ คุณภาพชีวิตที่ได้รับก็จะไม่เหมือนเดิม หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าจะไม่ร่ำรวยตลอดชีวิตอย่างแน่นอน อย่างนี้เรียกว่า “รวยในวันนี้ เพื่อจนในวันข้างหน้า”
.
ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ตระหนักดีถึงการร่ำรวยตลอดชีวิต จะวางแผนให้เงินทำงานรับใช้เป็นอย่างดี โดยมีการดำเนินชีวิตพื้นฐานแบบ “อยู่กินต่ำกว่าฐานะ” การกระทำเช่นนี้ก็คือ “ยอมจนวันนี้ เพื่อร่ำรวยตลอดชีวิต” นั่นเอง
.
การยอมสละการบริโภคในปัจจุบันไปบ้าง เพื่อให้มีอนาคตทางการเงินที่มั่นคง และสามารถดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพสม่ำเสมอไปจนตลอดชีวิต คือ การมีวิสัยทัศน์
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 11 การทำให้ “เงินทำงานรับใช้”
.
เมื่อพูดถึงเรื่องการหาเงินและการใช้เงิน คนจำนวนไม่น้อยเห็นว่าเป็นเรื่อง “หญ้าปากคอก” ที่ไม่ต้องเรียนรู้ก็ได้ อย่างไรก็ดี “หญ้าปากคอก”นี้ ได้กลายเป็น “หนามยอกอก” ที่ทิ่มแทงคนหลายคน จนบางคนต้องล้มตายจากไปทั้งที่ยังมีลมหายใจอยู่ ดังที่ได้เห็นกันอยู่เนืองๆ การมีฐานะมั่นคงจากการใช้แรงงานของตนเองตลอดชีวิต ถึงแม้จะเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นศิลปะที่มีหลักการบางอย่างเป็นตัวกำกับ การเข้าใจหลักการดังกล่าวจะช่วยให้ไม่เกิดสภาวะที่ทุ่มเททำงานหารายได้อย่างหนัก แต่ในบั้นปลายชีวิตก็ยังหาความมั่นคงทางการเงินไม่ได้
.
มนุษย์มีแนวโน้มโดยธรรมชาติที่จะใช้จ่ายเงินที่หามาได้อย่างตามใจตนเอง เพราะถือว่าเป็นสิ่งตอบแทนการทำงานที่เหน็ดเหนื่อย จนละเลยที่จะเก็บเงินบางส่วนไว้ เพื่อทำให้งอกเงยสำหรับอนาคตที่สุขสบายยิ่งขึ้น หลายคนลืมคิดไปว่าถ้าใช้เงินที่หามาได้ไปทั้งหมด ความสุขที่ได้รับก็จะจบอยู่เพียงแค่นั้น ไม่มีอนาคตที่ว่าทำงานเท่าเดิม แต่ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น ไม่มีอนาคตของความมั่นคงทางการเงินซึ่งจะอำนวยให้เกิดความมั่นคงในชีวิตไปด้วย และไม่มีอนาคตที่จะมีชีวิตสุขสบายเมื่อพ้นวัยทำงานไปแล้ว
.
ถ้าใครเลือกเส้นทาง “สุขวันนี้และจบแค่นี้” ก็จำต้องยอมรับผลที่เกิดมา แต่ถ้าใครเลือกเส้นทาง “ไม่สุขวันนี้เต็มที่ แต่จะสุขยาวกว่านี้ไปในอนาคต” ก็จำเป็นต้องมีเงินเหลือจากการใช้จ่ายเก็บไว้เป็นเงินออม หรือจะให้ดีกว่านั้นก็คือกันส่วนหนึ่งของรายได้ไว้แต่แรกก่อนใช้จ่าย เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักภาษี
.
เงินออมเป็น “ต้นน้ำ” สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการมีความมั่นคงในด้านการเงินต่อไปในอนาคต เงินออมเกิดขึ้นได้เพราะเจ้าของรายได้มีความมัธยัสถ์ กล่าวคือใช้จ่ายเฉพาะในเรื่องที่จำเป็น ไม่สุรุ่ยสุร่ายใช้จ่ายเงินอย่างเขลาในเรื่องต่างๆ ความมัธยัสถ์เป็นแผนหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่มิได้ทำให้ใครเดือดร้อน และมิใช่การเอารัดเอาเปรียบคนอื่น การขาดความมัธยัสถ์ต่างหากที่จะทำให้ตนเองเดือดร้อน และอาจทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย เพราะอาจถูกรบกวนขอเงิน หรือขอยืมเงินเพราะตนเองมีเงินใช้ไม่พอ
.
ความมัธยัสถ์โยงใยกับการมีวินัยบังคับใจตนเอง และการมุ่งมั่นมีเป้าหมายในชีวิต ทำให้เกิดสภาวการณ์ที่สำคัญของชีวิต นั่นคือ “การอยู่กินต่ำกว่าฐานะ” ซึ่งนำไปสู่การมีเงินเหลือเพื่อเก็บออมนั่นเอง ผู้ที่อยู่กินตามฐานะของรายได้ หมายถึงการไม่มีเงินออม และผู้ที่อยู่กินเกินฐานะหมายถึง ใช้จ่ายเงินเกินรายได้ที่ตนเองมี นั่นก็คือต้องหยิบยืมส่วนที่ขาดไปจากผู้อื่น ซึ่งก็คือการเป็นหนี้นั่นเอง
.
เมื่ออยู่กินต่ำกว่าฐานะอย่างสม่ำเสมอก็จะเกิดเงินออมขึ้นอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน เงินออมจะสะสมเป็นเงินก้อน และเมื่อเอาไปลงทุนอย่างชาญฉลาดก็จะเกิดผลตอบแทนเป็นรายได้เพิ่มเติมจากรายได้ที่ได้รับจากการทำงานอยู่แล้ว ถ้าหากผลตอบแทนลักษณะนี้พอกพูนกันมากขึ้น ถึงแม้จะทำงานน้อยลงหรือไม่ได้ทำงานเลย อันเนื่งมาจากความเจ็บป่วยหรือพ้นวัยทำงานแล้ว ก็จะยังคงมีรายได้อยู่เช่นเดิม
.
ความมั่งคั่งเป็นผลพวงของ “การออกลูกออกหลาน” ของเงินตอบแทนจากการออมขั้นแรก กล่าวคือ เมื่อได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนครั้งแรกก็นำไปลงทุนต่อ และเมื่อได้รับผลตอบแทนอีกก็ลงทุนต่อไปอีกขั้นหนึ่งต่อไปเรื่อยๆ จนสมทบพอกพูนเป็นความมั่งคั่ง
.
การกระทำเช่นนี้ ซึ่งเริ่มจากการมีเงินออมเป็นเบื้องต้นจนถึงการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง คือ การให้ “เงินทำงานรับใช้” นั่นเอง
.
ในชีวิตของผู้คน ทุกคนมีทั้งวัยทำงานที่หารายได้คล่องมือจากการออกแรงทำงาน และมีวัยพ้นทำงานที่ไม่มีรายได้จากการออกแรงทำงาน ดังนั้นการวางแผนการเงินเพื่อให้ “เงินทำงานรับใช้” ตั้งแต่อยู่ในวัยทำงานจนสามารถหารายได้เป็นกอบเป็นกำเผื่อไปถึงวัยที่ไม่อาจหารยได้ได้เต็มที่จากการทำงานจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
.
ตลอดชีวิตการทำงานซึ่งมีเวลา 30 ปีเศษๆ ถ้าบุคคลในช่วงวัยทำงานใช้จ่ายเงินอย่างขาดการวางแผนให้ “เงินทำงานรับใช้” แล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณอายุ คุณภาพชีวิตที่ได้รับก็จะไม่เหมือนเดิม หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าจะไม่ร่ำรวยตลอดชีวิตอย่างแน่นอน อย่างนี้เรียกว่า “รวยในวันนี้ เพื่อจนในวันข้างหน้า”
.
ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ตระหนักดีถึงการร่ำรวยตลอดชีวิต จะวางแผนให้เงินทำงานรับใช้เป็นอย่างดี โดยมีการดำเนินชีวิตพื้นฐานแบบ “อยู่กินต่ำกว่าฐานะ” การกระทำเช่นนี้ก็คือ “ยอมจนวันนี้ เพื่อร่ำรวยตลอดชีวิต” นั่นเอง
.
การยอมสละการบริโภคในปัจจุบันไปบ้าง เพื่อให้มีอนาคตทางการเงินที่มั่นคง และสามารถดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพสม่ำเสมอไปจนตลอดชีวิต คือ การมีวิสัยทัศน์
0 Comments
0 Shares
123 Views
0 Reviews