• ไฟดูดบนรถบัส เรื่องเล็กอย่าปล่อยผ่าน

    สิ่งอำนวยความสะดวกบนรถโดยสาร หรือรถทัวร์ที่ได้รับความนิยม นอกจากเบาะนั่งนุ่มๆ กับห้องน้ำภายในรถแล้ว ยังมีปลั๊กไฟหรือช่องเสียบ USB ให้ผู้โดยสารชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือระหว่างการเดินทาง แต่เมื่อยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยออกมา ถือเป็นความเสี่ยงที่ผู้โดยสารอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต

    เมื่อไม่นานมานี้้เหตุผู้โดยสารรถทัวร์ในประเทศมาเลเซีย ถูกไฟดูดเสียชีวิตระหว่างเสียบชาร์จโทรศัพท์มือถือ เมื่อเวลา 18.10 น. ของวันที่ 1 พ.ย. ตำรวจรับแจ้งว่าพบคนหมดสติภายในรถทัวร์ ที่สถานีขนส่งปีนังเซ็นทรัล (Penang Sentral) เมืองบัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ระหว่างเสียบปลั๊กภายในรถเพื่อชาร์จโทรศัพท์มือถือ จากการตรวจสอบพบว่าผู้โดยสารเป็นชายวัย 18 ปี ตำรวจตรวจสอบสภาพศพมีรอยไหม้ที่นิ้วมือซ้าย ปลายสายชาร์จโทรศัพท์มือถือละลาย และโทรศัพท์มือถืออุ่นขึ้น สาเหตุคาดว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร

    ตามรายงานข่าวระบุว่า ผู้โดยสารนั่งอยู่บนรถบัส กำลังจะออกเดินทางไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ส่งเสียงกรีดร้องและมีน้ำลายฟูมปาก คนขับรถจึงโทรศัพท์เรียกรถพยาบาล แต่เมื่อรถพยาบาลมาถึงปรากฎว่าผู้โดยสารเสียชีวิตแล้ว

    เรื่องนี้ทำให้นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย สั่งระงับการเดินรถคันดังกล่าวทันที และตั้งหน่วยเฉพาะกิจพิเศษ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมการขนส่งทางบก (RTD) หน่วยงานระบบขนส่งสาธารณะทางบก (APAD) และสถาบันวิจัยความปลอดภัยทางถนนมาเลเซีย เพื่อสืบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยเห็นว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องร้ายแรงอย่างยิ่ง จึงสอบสวนหาสาเหตุดังกล่าว และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก

    กระทั่งวันที่ 7 พ.ย. กระทรวงคมนาคมมาเลเซีย ประกาศไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารใช้ปลั๊กไฟบนรถทัวร์ และรถโดยสารทุกคันที่มีปลั๊กไฟถูกห้ามใช้ชั่วคราว จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น ทำให้ผู้ประกอบการรถทัวร์ในมาเลเซีย ต่างขอความร่วมมือผู้โดยสาร งดใช้ปลั๊กไฟบนรถเพื่อชาร์จโทรศัพท์มือถือชั่วคราว เช่น Causeway Link Express ผู้ประกอบการเดินรถระหว่างรัฐยะโฮร์กับกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประกาศระงับใช้ปลั๊กไฟภายในรถชั่วคราว จนกว่าจะมีมาตรการด้านความปลอดภัยออกมา

    อย่างไรก็ตาม สำหรับปลั๊กไฟบนเครื่องบินและรถไฟ ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ

    ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ปัจจุบันมีรถโดยสารทั้งที่เป็นรถประจำทาง (รถทัวร์) และรถรับจ้างไม่ประจำทาง (รถ 30) ผู้ประกอบการบางรายมีปลั๊กไฟหรือช่องเสียบ USB ให้บริการแก่ผู้โดยสาร หากกรมการขนส่งทางบกยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยออกมา วันหนึ่งเราอาจจะได้เห็นเหตุการณ์สลดใจเฉกเช่นประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นได้

    #Newskit
    ไฟดูดบนรถบัส เรื่องเล็กอย่าปล่อยผ่าน สิ่งอำนวยความสะดวกบนรถโดยสาร หรือรถทัวร์ที่ได้รับความนิยม นอกจากเบาะนั่งนุ่มๆ กับห้องน้ำภายในรถแล้ว ยังมีปลั๊กไฟหรือช่องเสียบ USB ให้ผู้โดยสารชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือระหว่างการเดินทาง แต่เมื่อยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยออกมา ถือเป็นความเสี่ยงที่ผู้โดยสารอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต เมื่อไม่นานมานี้้เหตุผู้โดยสารรถทัวร์ในประเทศมาเลเซีย ถูกไฟดูดเสียชีวิตระหว่างเสียบชาร์จโทรศัพท์มือถือ เมื่อเวลา 18.10 น. ของวันที่ 1 พ.ย. ตำรวจรับแจ้งว่าพบคนหมดสติภายในรถทัวร์ ที่สถานีขนส่งปีนังเซ็นทรัล (Penang Sentral) เมืองบัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ระหว่างเสียบปลั๊กภายในรถเพื่อชาร์จโทรศัพท์มือถือ จากการตรวจสอบพบว่าผู้โดยสารเป็นชายวัย 18 ปี ตำรวจตรวจสอบสภาพศพมีรอยไหม้ที่นิ้วมือซ้าย ปลายสายชาร์จโทรศัพท์มือถือละลาย และโทรศัพท์มือถืออุ่นขึ้น สาเหตุคาดว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ตามรายงานข่าวระบุว่า ผู้โดยสารนั่งอยู่บนรถบัส กำลังจะออกเดินทางไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ส่งเสียงกรีดร้องและมีน้ำลายฟูมปาก คนขับรถจึงโทรศัพท์เรียกรถพยาบาล แต่เมื่อรถพยาบาลมาถึงปรากฎว่าผู้โดยสารเสียชีวิตแล้ว เรื่องนี้ทำให้นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย สั่งระงับการเดินรถคันดังกล่าวทันที และตั้งหน่วยเฉพาะกิจพิเศษ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมการขนส่งทางบก (RTD) หน่วยงานระบบขนส่งสาธารณะทางบก (APAD) และสถาบันวิจัยความปลอดภัยทางถนนมาเลเซีย เพื่อสืบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยเห็นว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องร้ายแรงอย่างยิ่ง จึงสอบสวนหาสาเหตุดังกล่าว และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก กระทั่งวันที่ 7 พ.ย. กระทรวงคมนาคมมาเลเซีย ประกาศไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารใช้ปลั๊กไฟบนรถทัวร์ และรถโดยสารทุกคันที่มีปลั๊กไฟถูกห้ามใช้ชั่วคราว จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น ทำให้ผู้ประกอบการรถทัวร์ในมาเลเซีย ต่างขอความร่วมมือผู้โดยสาร งดใช้ปลั๊กไฟบนรถเพื่อชาร์จโทรศัพท์มือถือชั่วคราว เช่น Causeway Link Express ผู้ประกอบการเดินรถระหว่างรัฐยะโฮร์กับกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประกาศระงับใช้ปลั๊กไฟภายในรถชั่วคราว จนกว่าจะมีมาตรการด้านความปลอดภัยออกมา อย่างไรก็ตาม สำหรับปลั๊กไฟบนเครื่องบินและรถไฟ ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ปัจจุบันมีรถโดยสารทั้งที่เป็นรถประจำทาง (รถทัวร์) และรถรับจ้างไม่ประจำทาง (รถ 30) ผู้ประกอบการบางรายมีปลั๊กไฟหรือช่องเสียบ USB ให้บริการแก่ผู้โดยสาร หากกรมการขนส่งทางบกยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยออกมา วันหนึ่งเราอาจจะได้เห็นเหตุการณ์สลดใจเฉกเช่นประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นได้ #Newskit
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 199 มุมมอง 0 รีวิว
  • คมนาคมทุบโต๊ะ รถเมล์ร้อนหมดไป

    การหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการเดินรถโดยสารประจำทางสายที่ 2-38 (สาย 8 เดิม) ที่มีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2567 มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือ นโยบายลดจำนวนรถธรรมดา หรือรถร้อน เปลี่ยนเป็นรถปรับอากาศ หรือรถแอร์ทั้งหมด ภายในปี 2568 คาดหวังว่ารถร้อนจะหายไปจากถนน นายสุรพงษ์กล่าวว่า ต้นทุนของรถร้อนและรถแอร์ไม่ต่างกัน แต่การจัดเก็บค่าโดยสารค่อนข้างสูงเกินไป จึงมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกไปศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมใหม่ โดยเบื้องต้นพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยรถแอร์ของเอกชนอยู่ที่ประมาณ 18 บาทต่อคน

    นอกจากนี้ ยังต้องการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้บริการรถเมล์ของเอกชนได้ เช่นเดียวกับรถเมล์ ขสมก. จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก คณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง และเอกชนผู้เดินรถ เชื่อมต่อเข้ากับระบบเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยืนยันว่าไม่มีใครอยากนั่งรถร้อนแต่อยู่ที่ราคา ประชาชนอยากนั่งรถที่ดีและราคาถูกเท่านั้นเอง ซึ่งรัฐต้องดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างเต็มที่ โดยตัวแทนจากบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถ 124 เส้นทาง รับปากว่าไม่เกินต้นปี 2568 จะปรับระบบสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ในระบบประมาณ 6-7 แสนคน

    ด้านนายกิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ได้รับงบผูกพัน 7 ปี (2568-2575) ในโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศ EV จำนวน 1,520 คัน ด้วยวิธีการเช่า ประมูลแบบ e-bidding วงเงิน 15,355 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ตามแผนงานหากเสนอ ครม.ได้ภายในปีนี้ กระบวนการประมูลแล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถเริ่มรับมอบได้ภายในเดือน ก.ค. ถึง ส.ค. 2568 ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 1,520 คัน จะเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) อยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังบรรจุลงใน Project Pipeline

    โดยหลักการเบื้องต้น ขสมก.จะให้เอกชนผู้จัดหารถโดยสาร ขสมก.ดำเนินการเรื่องคนขับและบริหารจัดการเอง พร้อมร่วมลงทุนโดยนำพื้นที่อู่จอดรถเมล์บางเขน มาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ ซึ่งหาก ขสมก. มีรถ EV ใหม่เข้ามาทั้งหมด 3,040 คัน จะช่วยลดภาระค่าเหมาซ่อมจากปีละ 1,700 ล้านบาทเหลือ 1,000 ล้านบาท ลดค่าพลังงานจากปีละ 2,000 ล้านบาทเหลือ 700 ล้านบาท รวมแล้วลดค่าใช้จ่ายได้ 2,500 ล้านบาทต่อปี

    อนึ่ง รายงานประจำปี 2566 ระบุว่า ปัจจุบัน ขสมก.มีรถโดยสารรวม 2,885 คัน แยกเป็นรถธรรมดา 1,520 คัน และรถปรับอากาศ 1,365 คัน

    #Newskit #ขสมก #รถเมล์แอร์
    คมนาคมทุบโต๊ะ รถเมล์ร้อนหมดไป การหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการเดินรถโดยสารประจำทางสายที่ 2-38 (สาย 8 เดิม) ที่มีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2567 มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือ นโยบายลดจำนวนรถธรรมดา หรือรถร้อน เปลี่ยนเป็นรถปรับอากาศ หรือรถแอร์ทั้งหมด ภายในปี 2568 คาดหวังว่ารถร้อนจะหายไปจากถนน นายสุรพงษ์กล่าวว่า ต้นทุนของรถร้อนและรถแอร์ไม่ต่างกัน แต่การจัดเก็บค่าโดยสารค่อนข้างสูงเกินไป จึงมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกไปศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมใหม่ โดยเบื้องต้นพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยรถแอร์ของเอกชนอยู่ที่ประมาณ 18 บาทต่อคน นอกจากนี้ ยังต้องการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้บริการรถเมล์ของเอกชนได้ เช่นเดียวกับรถเมล์ ขสมก. จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก คณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง และเอกชนผู้เดินรถ เชื่อมต่อเข้ากับระบบเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยืนยันว่าไม่มีใครอยากนั่งรถร้อนแต่อยู่ที่ราคา ประชาชนอยากนั่งรถที่ดีและราคาถูกเท่านั้นเอง ซึ่งรัฐต้องดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างเต็มที่ โดยตัวแทนจากบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถ 124 เส้นทาง รับปากว่าไม่เกินต้นปี 2568 จะปรับระบบสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ในระบบประมาณ 6-7 แสนคน ด้านนายกิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ได้รับงบผูกพัน 7 ปี (2568-2575) ในโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศ EV จำนวน 1,520 คัน ด้วยวิธีการเช่า ประมูลแบบ e-bidding วงเงิน 15,355 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ตามแผนงานหากเสนอ ครม.ได้ภายในปีนี้ กระบวนการประมูลแล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถเริ่มรับมอบได้ภายในเดือน ก.ค. ถึง ส.ค. 2568 ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 1,520 คัน จะเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) อยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังบรรจุลงใน Project Pipeline โดยหลักการเบื้องต้น ขสมก.จะให้เอกชนผู้จัดหารถโดยสาร ขสมก.ดำเนินการเรื่องคนขับและบริหารจัดการเอง พร้อมร่วมลงทุนโดยนำพื้นที่อู่จอดรถเมล์บางเขน มาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ ซึ่งหาก ขสมก. มีรถ EV ใหม่เข้ามาทั้งหมด 3,040 คัน จะช่วยลดภาระค่าเหมาซ่อมจากปีละ 1,700 ล้านบาทเหลือ 1,000 ล้านบาท ลดค่าพลังงานจากปีละ 2,000 ล้านบาทเหลือ 700 ล้านบาท รวมแล้วลดค่าใช้จ่ายได้ 2,500 ล้านบาทต่อปี อนึ่ง รายงานประจำปี 2566 ระบุว่า ปัจจุบัน ขสมก.มีรถโดยสารรวม 2,885 คัน แยกเป็นรถธรรมดา 1,520 คัน และรถปรับอากาศ 1,365 คัน #Newskit #ขสมก #รถเมล์แอร์
    Like
    Love
    Angry
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 524 มุมมอง 0 รีวิว
  • ก๊าซธรรมชาติ NGV ไม่ได้ไปต่อในมาเลเซีย

    ในที่สุดรัฐบาลมาเลเซียตัดสินใจยกเลิกการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) สำหรับยานยนต์ เมื่อนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย ประกาศว่ายานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซ NGV จะไม่อนุญาตให้จดทะเบียนและนำมาใช้บนท้องถนนตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป รวมทั้งบริษัทน้ำมันและก๊าซแห่งชาติของมาเลเซียอย่างปิโตรนาส (Petronas) จะยุติการจัดหาก๊าซธรรมชาติ NGV สำหรับค้าปลีกในตลาดมาเลเซีย ก่อนยุติกิจการอย่างสมบูรณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน

    รมว.คมนาคมมาเลเซียให้เหตุผลว่า ตั้งแต่ปี 2538-2557 ยานพาหนะในมาเลเซียดัดแปลงและติดตั้งชุดอุปกรณ์ NGV ซึ่งบ่งชี้ว่าถังก๊าซหมดอายุการใช้งานแล้ว จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ โดยอายุการใช้งานอย่างปลอดภัยอยู่ที่ 15 ปี ซึ่งการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่จะมีค่าใช้จ่าย 7,000 ริงกิตต่อคัน (ประมาณ 54,200 บาท) แต่อะไหล่มาตรฐานไม่มีจำหน่ายอีกต่อไป หรือหาซื้อได้ยากในตลาดมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบผู้ใช้รถบางส่วนดัดแปลงอุปกรณ์โดยใช้ถังก๊าซหุงต้ม (LPG) ซึ่งเสี่ยงต่อการระเบิดและอุบัติเหตุอีกด้วย

    ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2551-2557 ในมาเลเซียเคยมีอุบัติเหตุใหญ่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ NGV มาแล้ว 6 ครั้ง รวมทั้งอุบัติเหตุรถบัสทัศนศึกษาในประเทศไทยถูกเพลิงไหม้ ครูและนักเรียนเสียชีวิต 23 ราย เชื่อว่าเกิดจากถังก๊าซ NGV ที่ติดตั้งอย่างผิดกฎหมาย เกิดประกายไฟจากการเสียดสีทำให้ระเบิดและลุกไหม้ดังกล่าว

    ปัจจุบันมาเลเซียมีรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแต่ดัดแปลงให้ใช้ NGV มากกว่า 95% และยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกมาเลเซีย (JPJ) ระบุว่ามียานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 44,383 คัน ประกอบด้วย รถยนต์ส่วนบุคคล 32,137 คัน รถแท็กซี่และรถเช่า 9,509 คัน รถประจำทางและรถบรรทุก 2,150 คัน และยานพาหนะอื่นหรือเครื่องจักร 587 คัน เมื่อเทียบกับยานพาหนะที่จดทะเบียนทั้งหมดในมาเลเซีย (ไม่รวมรถจักรยานยนต์) คิดเป็น 0.2% เท่านั้น

    ด้านบริษัทปิโตรนาส เอ็นจีวี (PETRONAS NGV Sdn Bhd) ได้ออกมาตรการช่วยเหลือการเปลี่ยนผ่านยานพาหนะจากก๊าซ NGV เป็นน้ำมันเบนซิน ดีเซล หรือยานพาหนะอื่นๆ แบ่งเป็น 1.รถแท็กซี่จะได้รับบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ของ Setel จำนวน 3,000 ริงกิต (ประมาณ 23,100 บาท) 2.บริการถอดชุดติดตั้ง NGV ฟรีสำหรับรถยนต์แบบ Dual-fuel และ 3.รถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV อย่างเดียว เมื่อยกเลิกการจดทะเบียนรถและทำลายรถยนต์ผ่านตัวแทนที่ได้รับอนุญาต จะได้รับเงินชดเชยตามราคาประเมิน โดยให้ชาวมาเลเซียยื่นคำร้องผ่านช่องทางออนไลน์ภายใน 31 ธ.ค. 2567 เท่านั้น

    #Newskit #PetronasNGV
    ก๊าซธรรมชาติ NGV ไม่ได้ไปต่อในมาเลเซีย ในที่สุดรัฐบาลมาเลเซียตัดสินใจยกเลิกการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) สำหรับยานยนต์ เมื่อนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย ประกาศว่ายานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซ NGV จะไม่อนุญาตให้จดทะเบียนและนำมาใช้บนท้องถนนตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป รวมทั้งบริษัทน้ำมันและก๊าซแห่งชาติของมาเลเซียอย่างปิโตรนาส (Petronas) จะยุติการจัดหาก๊าซธรรมชาติ NGV สำหรับค้าปลีกในตลาดมาเลเซีย ก่อนยุติกิจการอย่างสมบูรณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน รมว.คมนาคมมาเลเซียให้เหตุผลว่า ตั้งแต่ปี 2538-2557 ยานพาหนะในมาเลเซียดัดแปลงและติดตั้งชุดอุปกรณ์ NGV ซึ่งบ่งชี้ว่าถังก๊าซหมดอายุการใช้งานแล้ว จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ โดยอายุการใช้งานอย่างปลอดภัยอยู่ที่ 15 ปี ซึ่งการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่จะมีค่าใช้จ่าย 7,000 ริงกิตต่อคัน (ประมาณ 54,200 บาท) แต่อะไหล่มาตรฐานไม่มีจำหน่ายอีกต่อไป หรือหาซื้อได้ยากในตลาดมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบผู้ใช้รถบางส่วนดัดแปลงอุปกรณ์โดยใช้ถังก๊าซหุงต้ม (LPG) ซึ่งเสี่ยงต่อการระเบิดและอุบัติเหตุอีกด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2551-2557 ในมาเลเซียเคยมีอุบัติเหตุใหญ่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ NGV มาแล้ว 6 ครั้ง รวมทั้งอุบัติเหตุรถบัสทัศนศึกษาในประเทศไทยถูกเพลิงไหม้ ครูและนักเรียนเสียชีวิต 23 ราย เชื่อว่าเกิดจากถังก๊าซ NGV ที่ติดตั้งอย่างผิดกฎหมาย เกิดประกายไฟจากการเสียดสีทำให้ระเบิดและลุกไหม้ดังกล่าว ปัจจุบันมาเลเซียมีรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแต่ดัดแปลงให้ใช้ NGV มากกว่า 95% และยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกมาเลเซีย (JPJ) ระบุว่ามียานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 44,383 คัน ประกอบด้วย รถยนต์ส่วนบุคคล 32,137 คัน รถแท็กซี่และรถเช่า 9,509 คัน รถประจำทางและรถบรรทุก 2,150 คัน และยานพาหนะอื่นหรือเครื่องจักร 587 คัน เมื่อเทียบกับยานพาหนะที่จดทะเบียนทั้งหมดในมาเลเซีย (ไม่รวมรถจักรยานยนต์) คิดเป็น 0.2% เท่านั้น ด้านบริษัทปิโตรนาส เอ็นจีวี (PETRONAS NGV Sdn Bhd) ได้ออกมาตรการช่วยเหลือการเปลี่ยนผ่านยานพาหนะจากก๊าซ NGV เป็นน้ำมันเบนซิน ดีเซล หรือยานพาหนะอื่นๆ แบ่งเป็น 1.รถแท็กซี่จะได้รับบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ของ Setel จำนวน 3,000 ริงกิต (ประมาณ 23,100 บาท) 2.บริการถอดชุดติดตั้ง NGV ฟรีสำหรับรถยนต์แบบ Dual-fuel และ 3.รถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV อย่างเดียว เมื่อยกเลิกการจดทะเบียนรถและทำลายรถยนต์ผ่านตัวแทนที่ได้รับอนุญาต จะได้รับเงินชดเชยตามราคาประเมิน โดยให้ชาวมาเลเซียยื่นคำร้องผ่านช่องทางออนไลน์ภายใน 31 ธ.ค. 2567 เท่านั้น #Newskit #PetronasNGV
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 417 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขสมก.เดินรถหมวด 3 เดอะแบกกรมขนส่งฯ

    วันที่ 1 พ.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รับหน้าที่เดินรถโดยสาร หมวด 3 สาย 356 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ เป็นการชั่วคราว แทนบริษัท สหายยนต์ จำกัด ผู้ประกอบการรายเดิมที่ยุติการเดินรถ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา อาจรู้สึกแปลกใจสำหรับกลุ่มบัสแฟน เพราะเป็นการเดินรถข้ามหมวด ไม่ตรงตามภารกิจขององค์กรฯ ที่เดินรถในเส้นทางหมวด 1 และหมวด 4 ในกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อกรมการขนส่งทางบกขอความร่วมมือก็ต้องทำ

    นับตั้งแต่การปฎิรูปรถเมล์สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็น รมว.คมนาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 ให้ขนส่งฯ มีอำนาจควบคุมรถเมล์ในกรุงเทพฯ แทน ขสมก. และลดสถานะ ขสมก.เหลือเพียงแค่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง โดยที่ผ่านมา ขสมก. กลายเป็นเดอะแบก รับคำสั่งจากขนส่งฯ เวลาที่ผู้ประกอบการเอกชนเดินรถแล้วเจ๊ง เพราะขนส่งฯ ไม่เคยเหลียวแลผู้ประกอบการยามเดือดร้อน

    รถเมล์สายที่ ขสมก.ช่วยเดินรถชั่วคราว อาทิ สาย R26E (สาย 3-26E) สถาบันจักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 กระทั่งขนส่งฯ ได้จัดหาผู้ประกอบการรายใหม่ คือ ไทยสมายล์บัส ให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567 ทำให้ ขสมก.เดินรถวันที่ 29 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ต่อด้วยสาย Y70E (สาย 4-70E) ศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2566 และสาย 3-21 หรือสาย 207 เดิม มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1-รามคำแหง 2 เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2566

    อย่างไรก็ตาม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถเมล์เส้นทางหมวด 3 ตัวอย่างเช่น สาย 356 ปากน้ำ-บางปะกง และสำโรง-บางพลี เดินรถโดย บริษัท สันติมิตรขนส่ง จำกัด, สาย 381 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-มศว องครักษ์ เดินรถโดย บริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด, สาย 388 ปากเกร็ด-ศาลายา เดินรถโดย บริษัท นิธิทัศน์ทัวร์ (2004) จำกัด ปัจจุบันหยุดการเดินรถแล้ว และสาย 402 สมุทรสาคร-กระทุ่มแบน-นครปฐม เดินรถโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจดีย์ทองขนส่ง

    สำหรับการเดินรถสาย 356 แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ ผ่านฟิวเจอร์พาร์ครังสิต สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแยก คปอ. สะพานใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ ราชภัฎพระนคร ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมเจอร์ปากเกร็ด สถานีรถไฟฟ้า MRT คลองบางไผ่ สิ้นสุดที่ห้างเซ็นทรัลเวสต์เกต ช่วงที่ 2 วงกลม (ปากเกร็ด-ดอนเมือง) จากท่าน้ำปากเกร็ด ใช้ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต สนามบินดอนเมือง กลับเส้นทางเดิม ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-22.00 น.

    #Newskit #ขสมก #รถเมล์ไทย
    ขสมก.เดินรถหมวด 3 เดอะแบกกรมขนส่งฯ วันที่ 1 พ.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รับหน้าที่เดินรถโดยสาร หมวด 3 สาย 356 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ เป็นการชั่วคราว แทนบริษัท สหายยนต์ จำกัด ผู้ประกอบการรายเดิมที่ยุติการเดินรถ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา อาจรู้สึกแปลกใจสำหรับกลุ่มบัสแฟน เพราะเป็นการเดินรถข้ามหมวด ไม่ตรงตามภารกิจขององค์กรฯ ที่เดินรถในเส้นทางหมวด 1 และหมวด 4 ในกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อกรมการขนส่งทางบกขอความร่วมมือก็ต้องทำ นับตั้งแต่การปฎิรูปรถเมล์สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็น รมว.คมนาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 ให้ขนส่งฯ มีอำนาจควบคุมรถเมล์ในกรุงเทพฯ แทน ขสมก. และลดสถานะ ขสมก.เหลือเพียงแค่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง โดยที่ผ่านมา ขสมก. กลายเป็นเดอะแบก รับคำสั่งจากขนส่งฯ เวลาที่ผู้ประกอบการเอกชนเดินรถแล้วเจ๊ง เพราะขนส่งฯ ไม่เคยเหลียวแลผู้ประกอบการยามเดือดร้อน รถเมล์สายที่ ขสมก.ช่วยเดินรถชั่วคราว อาทิ สาย R26E (สาย 3-26E) สถาบันจักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 กระทั่งขนส่งฯ ได้จัดหาผู้ประกอบการรายใหม่ คือ ไทยสมายล์บัส ให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567 ทำให้ ขสมก.เดินรถวันที่ 29 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ต่อด้วยสาย Y70E (สาย 4-70E) ศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2566 และสาย 3-21 หรือสาย 207 เดิม มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1-รามคำแหง 2 เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2566 อย่างไรก็ตาม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถเมล์เส้นทางหมวด 3 ตัวอย่างเช่น สาย 356 ปากน้ำ-บางปะกง และสำโรง-บางพลี เดินรถโดย บริษัท สันติมิตรขนส่ง จำกัด, สาย 381 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-มศว องครักษ์ เดินรถโดย บริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด, สาย 388 ปากเกร็ด-ศาลายา เดินรถโดย บริษัท นิธิทัศน์ทัวร์ (2004) จำกัด ปัจจุบันหยุดการเดินรถแล้ว และสาย 402 สมุทรสาคร-กระทุ่มแบน-นครปฐม เดินรถโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจดีย์ทองขนส่ง สำหรับการเดินรถสาย 356 แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ ผ่านฟิวเจอร์พาร์ครังสิต สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแยก คปอ. สะพานใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ ราชภัฎพระนคร ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมเจอร์ปากเกร็ด สถานีรถไฟฟ้า MRT คลองบางไผ่ สิ้นสุดที่ห้างเซ็นทรัลเวสต์เกต ช่วงที่ 2 วงกลม (ปากเกร็ด-ดอนเมือง) จากท่าน้ำปากเกร็ด ใช้ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต สนามบินดอนเมือง กลับเส้นทางเดิม ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-22.00 น. #Newskit #ขสมก #รถเมล์ไทย
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 488 มุมมอง 0 รีวิว
  • ครั้งนึงใน รายการ "ชวนคิดชวนคุย" ทาง สถานีโทรทัศน์ News1 อาจารย์ ชัยพันธ์ ประภาสะวัต เคยพูดไว้...
    .
    ถ้ามีคนมาปรึกษาผม ผมจะให้ฟ้องไล่ตั้งแต่ ผู้อำนวยการโรงเรียน กรมการขนส่งทางบก รัฐมนตรีคมนาคม รวมไปถึง นายกรัฐมนตรี เรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท..!!!
    .
    https://youtu.be/NaZLdyqW9E0?si=r_59rgSCeXdye9Pd
    ...
    ...
    มันน่าแค้นใจ น่าเศร้าใจจริงๆครับ ที่คนเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียน มีพฤติกรรมแบบนี้...
    .
    😢😢😢😢
    ครั้งนึงใน รายการ "ชวนคิดชวนคุย" ทาง สถานีโทรทัศน์ News1 อาจารย์ ชัยพันธ์ ประภาสะวัต เคยพูดไว้... . ถ้ามีคนมาปรึกษาผม ผมจะให้ฟ้องไล่ตั้งแต่ ผู้อำนวยการโรงเรียน กรมการขนส่งทางบก รัฐมนตรีคมนาคม รวมไปถึง นายกรัฐมนตรี เรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท..!!! . https://youtu.be/NaZLdyqW9E0?si=r_59rgSCeXdye9Pd ... ... มันน่าแค้นใจ น่าเศร้าใจจริงๆครับ ที่คนเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียน มีพฤติกรรมแบบนี้... . 😢😢😢😢
    อี้อึ้ง ! พบเงินทอนให้ผู้บริหารโรงเรียน เหตุรถบัสมรณะ (17/10/67) #news1 #รถบัสมรณะ #ทุจริตการจัดจ้างรถบัส
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 455 มุมมอง 512 1 รีวิว
  • จุดต้นตอรถบัสมรณะ คมนาคม-ขนส่งแก้ไม่ถูกจุด
    .
    ที่นี่จะเป็นที่แรกที่อธิบายเบื้องหน้าเบื้องหลังจริงๆว่าต้นเหตุจริงๆ มาจากไหน ? หลังจากรถบัสคันเกิดเหตุ เจ้าของชื่อ ชินบุตรทัวร์ จังหวัดสิงห์บุรี เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานไปตรวจสอบ พบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เพลิงลุกไหม้ เพราะว่าแก๊ส NGV รั่วไหลบริเวณส่วนหน้าของรถคันนี้ ที่ติดถังแก๊สถึง 11 ถัง เกินไปจากใบอนุญาตจากกรมการขนส่งฯ กะว่าวิ่งยาวโดยไม่ต้องเติมแก๊ส และตรงประตูฉุกเฉินท้ายรถด้านซ้ายเปิดไม่ได้ นี่คือความหละหลวมฉ้อฉลของกรมการขนส่งทางบก ที่ไม่ตรวจสอบอย่างละเอียด
    .
    เมื่อ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมา คุณจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบกที่ได้รับต่ออายุราชการอีก 1 ปี ออกประกาศลงราชกิจจานุเบกษาว่า ให้รถขนส่งผู้โดยสารที่ติดก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ LPG และก๊าซธรรมชาติอัดหรือ NGV เข้ารับการตรวจสภาพใหม่ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 พฤศจิกายน 2567
    .
    ประกาศฉบับนี้ไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา มันเป็นมาตรการเฉพาะหน้า เพราะต่อให้ทำตามมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก อุบัติเหตุก็ยังเกิดขึ้นอยู่ เพราะว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด หัวขบวนอย่างคุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และอธิบดีกรมการขนส่งทางบก จะไม่รับผิดชอบอะไรเลยหรือ หรือมัวแต่หมกมุ่นกับโครงการแสนล้านอยู่ ไม่มีเวลามาดูแลเรื่องที่มันส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชน
    .
    ทำไมประเทศไทยถึงมีความถี่การเกิดไฟไหม้รถ ยานยนต์ บ่อยครั้งซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอด 16 ปีที่ผ่านมา แตกต่างจากประเทศที่รถเขาติดแก๊สกันทั่วโลกเลย ปัญหานี้คือปัญหาเส้นผมบังภูเขา ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้มันเกิดขึ้นจากภาครัฐ ระยำตำบอนมาก
    .
    หม่อมกรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการ และกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ เป็นคนออกมาโพสต์ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2567 สรุปสาระสำคัญได้ว่า ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเพราะว่ารัฐมุ่งโปรโมตขายแก๊ส NGV ใช้ในรถขนส่งผู้โดยสารจนชะล่าใจ ลดมาตรฐานความปลอดภัยต่ำ โดยเฉพาะมาตรฐานวาล์วที่หัวถัง อันตรายมาก เพราะฉะนั้นแล้ว การโยนความผิดให้เอกชนฝ่ายเดียวนั้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
    .
    19 ปีที่แล้ว ในปีนั้น เป็นยุครัฐบาลชุดทักษิณ ชินวัตรที่สนับสนุนบังคับยานยนต์ขนส่งมวลชนใช้ NGV ในมาตรการการลงทุนท่อแก๊ส สถานี NGV มาตรการลดภาษีอุปกรณ์ มาตรการเงินกู้ มาตรการขายราคาต่ำช่วงแรก แต่ค่าถัง อุปกรณ์ แพงกว่า LPG มากก็เลยทำให้มีการลดมาตรฐานความปลอดภัยตามประกาศกรมขนส่ง29มกราคม2551 แล้วก็มาระเบิดในยุคทักษิณ ชินวัตร อีกเช่นกัน มันช่างบังเอิญเสียเช่นนี้

    การตัดสินใจของ มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) คือตัวการ และกรมการขนส่งทางบก กับ ปตท. เท่ากับเป็นการถอยออกจากมาตรฐานยุโรปECE R110ที่กำหนดไว้ว่า ยานพาหนะที่ติดแก๊ส NGV ทุกชนิด จะต้องใช้วาล์วที่ปิดและเปิดอัตโนมัติด้วยระบบไฟฟ้า เขาเรียกวาล์วนี้ว่า โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) หรือ มาตรฐาน มอก. 2333 มาเป็นการลดต้นทุนในการติดตั้งแก๊ส NGV บนมาตรฐานความไม่ปลอดภัยต่อผู้โดยสารจะเลือกวาล์วลิ้นเปิด-ปิดด้วยมือ หรือแบบอัตโนมัติก็ได้ เป็นการโปรโมตการใช้แก๊ส NGV โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตประชาชน
    .
    หวังเพียงแต่ว่าภาคการขนส่งไม่ต้องมาแย่งแก๊ส LPG แล้วให้ไปใช้แก๊ส NGV มากขึ้น เพื่ออะไร ? เพื่อให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมิคัลใน ปตท. จะได้รวยขึ้น ทำให้ผู้ถือหุ้นใน ปตท. ซึ่งยุคนั้นเป็นคนของทักษิณทั้งสิ้น ร่ำรวยมากขึ้น
    .
    ถ้าเรามีวาล์วปิด-เปิดอัตโนมัติ เด็กที่เสียชีวิตไปและครูคงไม่เสียชีวิตแบบนี้ พ่อแม่พี่น้อง ญาติพี่น้องของคนที่ตาย ให้รับทราบว่าลูกๆ คุณเสียชีวิตไปเพราะกรมการขนส่งทางบก มอก. และ ปตท. ยุคนั้น เห็นแก่เงิน แค่พวงหรีดไม่กี่พวงหรืออย่างไร แล้วแค่ตั้งกรรมการสอบหรืออย่างไร หรือว่าคุณสุริยะมัวแต่หมกมุ่นกับโครงการแสนล้านอยู่ ไม่มีเวลามาดูแลเรื่องที่มันส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชน แต่หลักการของการแก้ที่ถูกต้องมันไม่ทำอะไรเลย ท่านผู้ชมครับ นี่ล่ะคือ "ความจริงที่มีหนึ่งเดียว" หาได้เฉพาะที่นี่
    จุดต้นตอรถบัสมรณะ คมนาคม-ขนส่งแก้ไม่ถูกจุด . ที่นี่จะเป็นที่แรกที่อธิบายเบื้องหน้าเบื้องหลังจริงๆว่าต้นเหตุจริงๆ มาจากไหน ? หลังจากรถบัสคันเกิดเหตุ เจ้าของชื่อ ชินบุตรทัวร์ จังหวัดสิงห์บุรี เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานไปตรวจสอบ พบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เพลิงลุกไหม้ เพราะว่าแก๊ส NGV รั่วไหลบริเวณส่วนหน้าของรถคันนี้ ที่ติดถังแก๊สถึง 11 ถัง เกินไปจากใบอนุญาตจากกรมการขนส่งฯ กะว่าวิ่งยาวโดยไม่ต้องเติมแก๊ส และตรงประตูฉุกเฉินท้ายรถด้านซ้ายเปิดไม่ได้ นี่คือความหละหลวมฉ้อฉลของกรมการขนส่งทางบก ที่ไม่ตรวจสอบอย่างละเอียด . เมื่อ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมา คุณจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบกที่ได้รับต่ออายุราชการอีก 1 ปี ออกประกาศลงราชกิจจานุเบกษาว่า ให้รถขนส่งผู้โดยสารที่ติดก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ LPG และก๊าซธรรมชาติอัดหรือ NGV เข้ารับการตรวจสภาพใหม่ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 พฤศจิกายน 2567 . ประกาศฉบับนี้ไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา มันเป็นมาตรการเฉพาะหน้า เพราะต่อให้ทำตามมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก อุบัติเหตุก็ยังเกิดขึ้นอยู่ เพราะว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด หัวขบวนอย่างคุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และอธิบดีกรมการขนส่งทางบก จะไม่รับผิดชอบอะไรเลยหรือ หรือมัวแต่หมกมุ่นกับโครงการแสนล้านอยู่ ไม่มีเวลามาดูแลเรื่องที่มันส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชน . ทำไมประเทศไทยถึงมีความถี่การเกิดไฟไหม้รถ ยานยนต์ บ่อยครั้งซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอด 16 ปีที่ผ่านมา แตกต่างจากประเทศที่รถเขาติดแก๊สกันทั่วโลกเลย ปัญหานี้คือปัญหาเส้นผมบังภูเขา ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้มันเกิดขึ้นจากภาครัฐ ระยำตำบอนมาก . หม่อมกรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการ และกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ เป็นคนออกมาโพสต์ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2567 สรุปสาระสำคัญได้ว่า ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเพราะว่ารัฐมุ่งโปรโมตขายแก๊ส NGV ใช้ในรถขนส่งผู้โดยสารจนชะล่าใจ ลดมาตรฐานความปลอดภัยต่ำ โดยเฉพาะมาตรฐานวาล์วที่หัวถัง อันตรายมาก เพราะฉะนั้นแล้ว การโยนความผิดให้เอกชนฝ่ายเดียวนั้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ . 19 ปีที่แล้ว ในปีนั้น เป็นยุครัฐบาลชุดทักษิณ ชินวัตรที่สนับสนุนบังคับยานยนต์ขนส่งมวลชนใช้ NGV ในมาตรการการลงทุนท่อแก๊ส สถานี NGV มาตรการลดภาษีอุปกรณ์ มาตรการเงินกู้ มาตรการขายราคาต่ำช่วงแรก แต่ค่าถัง อุปกรณ์ แพงกว่า LPG มากก็เลยทำให้มีการลดมาตรฐานความปลอดภัยตามประกาศกรมขนส่ง29มกราคม2551 แล้วก็มาระเบิดในยุคทักษิณ ชินวัตร อีกเช่นกัน มันช่างบังเอิญเสียเช่นนี้ การตัดสินใจของ มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) คือตัวการ และกรมการขนส่งทางบก กับ ปตท. เท่ากับเป็นการถอยออกจากมาตรฐานยุโรปECE R110ที่กำหนดไว้ว่า ยานพาหนะที่ติดแก๊ส NGV ทุกชนิด จะต้องใช้วาล์วที่ปิดและเปิดอัตโนมัติด้วยระบบไฟฟ้า เขาเรียกวาล์วนี้ว่า โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) หรือ มาตรฐาน มอก. 2333 มาเป็นการลดต้นทุนในการติดตั้งแก๊ส NGV บนมาตรฐานความไม่ปลอดภัยต่อผู้โดยสารจะเลือกวาล์วลิ้นเปิด-ปิดด้วยมือ หรือแบบอัตโนมัติก็ได้ เป็นการโปรโมตการใช้แก๊ส NGV โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตประชาชน . หวังเพียงแต่ว่าภาคการขนส่งไม่ต้องมาแย่งแก๊ส LPG แล้วให้ไปใช้แก๊ส NGV มากขึ้น เพื่ออะไร ? เพื่อให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมิคัลใน ปตท. จะได้รวยขึ้น ทำให้ผู้ถือหุ้นใน ปตท. ซึ่งยุคนั้นเป็นคนของทักษิณทั้งสิ้น ร่ำรวยมากขึ้น . ถ้าเรามีวาล์วปิด-เปิดอัตโนมัติ เด็กที่เสียชีวิตไปและครูคงไม่เสียชีวิตแบบนี้ พ่อแม่พี่น้อง ญาติพี่น้องของคนที่ตาย ให้รับทราบว่าลูกๆ คุณเสียชีวิตไปเพราะกรมการขนส่งทางบก มอก. และ ปตท. ยุคนั้น เห็นแก่เงิน แค่พวงหรีดไม่กี่พวงหรืออย่างไร แล้วแค่ตั้งกรรมการสอบหรืออย่างไร หรือว่าคุณสุริยะมัวแต่หมกมุ่นกับโครงการแสนล้านอยู่ ไม่มีเวลามาดูแลเรื่องที่มันส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชน แต่หลักการของการแก้ที่ถูกต้องมันไม่ทำอะไรเลย ท่านผู้ชมครับ นี่ล่ะคือ "ความจริงที่มีหนึ่งเดียว" หาได้เฉพาะที่นี่
    Like
    Angry
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 779 มุมมอง 0 รีวิว
  • ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง! ‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้ 95% รถรับจ้างไม่ประจำทาง คือ ระเบิดเวลาบนท้องถนนไทย แนะรัฐตรวจเข้มกลุ่มรถที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมจัดงบฯ – สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ

    เหตุการณ์รถบัสนักเรียนไฟไหม้ ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สะท้อนความล้มเหลวในการป้องกัน และควบคุมการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไทย ตอกย้ำสมญานามประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากการจราจรมากที่สุด สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และครองแชมป์อันดับ 1 ในอาเซียน
    อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่เพียงชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยง ทั้งในด้านพฤติกรรมการขับขี่ ความรู้ในการเผชิญเหตุฉุกเฉิน ยังได้นำไปสู่การเปิดโปงข้อบกพร่องของ “ระบบตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย” โดยเฉพาะรถทัศนาจร หรือ “รถรับจ้างไม่ประจำทาง” ที่วิ่งให้บริการขวักไขว่ อันเป็นภาพคุ้นชินตาของคนไทย

    ‘ทีดีอาร์ไอ’ เผยมีรถรับจ้างไม่ประจำทางเพียง 5% ผ่าน “มาตรฐานลุกไหม้”
    ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า แม้ว่ากรมการขนส่งทางบก จะมีความพยายามในการปรับปรุงมาตรฐานรถโดยสารขนาดใหญ่ในหลายประเด็น รวมถึงมาตรฐานด้านการลุกไหม้มาตั้งแต่ปี 2559 โดยออกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่องกำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร แต่ปรากฎว่าประกาศดังกล่าวถูกเลื่อนการบังคับใช้อยู่เรื่อย ๆ
    ด้วยเหตุผลเพราะผู้ประกอบการ ไม่มีความพร้อมในการแบกรับต้นทุน จากการเปลี่ยนไปใช้วัสดุกันไฟที่มีราคาแพง จนกระทั่งสุดท้ายเพิ่งบังคับใช้ได้จริงในปี 2565 แต่กลับไม่มีผลย้อนหลัง ซึ่งหมายความว่าใช้บังคับได้เฉพาะกับรถที่จดทะเบียนใหม่ หรือ มีการปรับปรุงตัวถังใหม่ในปี 2565 เท่านั้น “รถคันที่เกิดเหตุก็เป็นหนึ่งในกรณี ที่ไม่เข้าเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ เนื่องจากมีการจดเบียนใหม่ในปี 2561”

    ดร.สุเมธ ระบุว่าปัจจุบันรถทัศนาจรในกลุ่มมาตรฐาน 1 ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับรถคันที่เกิดเหตุ มีจำนวน 5,896 คัน และรถมาตรฐาน 4 หรือรถ 2 ชั้น มีจำนวน 4,972 คน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าในจำนวนทั้งหมดกว่า 1 หมื่นคัน มีจำนวนเพียง 5% เท่านั้น ที่ผ่านมาตรฐานด้านการลุกไหม้ และอนุมานได้ว่าส่วนที่เหลืออีก 95% ที่เป็นรถจดทะเบียนก่อนประกาศดังกล่าวบังคับใช้ ยังไม่ถูกกำหนดให้มีมาตรฐานนี้ ขณะที่ในต่างประเทศเวลากำหนดมาตรฐานในเรื่องเหล่านี้ จะให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังด้วย และต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี

    “คาดว่ามีรถที่ไม่ผ่านหรือไม่ได้มาตรฐานใหม่ ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดเป็นหมื่นคัน แสดงให้เห็นถึงขนาดของปัญหาที่วิ่งอยู่บนท้องถนนตอนนี้ เสมือนกับเป็นระเบิดเวลาที่เราไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุขึ้นอีกเมื่อไหร่ ดังนั้น กรมการขนส่งทางบก ควรติดตามตรวจสอบรถในกลุ่มนี้ ที่ยังวิ่งอยู่ในระบบ เช่น ด้านมาตรฐานทนไฟ การชนด้านหน้า สภาพรถเป็นอย่างไร ติดก๊าซหรือไม่ ฯลฯ โดยเร่งกำหนดมาตรการอย่างเข้มข้นในรถกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงก่อน”

    จี้ ขบ.ตรวจเข้มรถเสี่ยงสูง – เสนอรัฐจัดงบฯหนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ
    ดร.สุเมธ เน้นย้ำว่าเหตุที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัยของรถทัศนาจร ซึ่งความเสี่ยงนี้กระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชน โจทย์ใหญ่ของรัฐคือจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้รถเหล่านี้มีมาตรฐานดีขึ้นได้อย่างไร ทั้งการเปลี่ยนวัสดุไวไฟ เช่น เบาะที่นั่ง ม่าน พรม ให้เป็นไปตามมาตรฐาน UNECE ซึ่งคือการใช้วัสดุที่ทนไฟได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟลุกไหม้จะไม่เร็วและแรง สามารถช่วยซื้อเวลาให้ผู้โดยสารหนีออกภายนอกตัวรถได้
    “ภาครัฐอาจจะต้องเข้ามาร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อปรับปรุงมาตรฐานให้ดีขึ้น โดยสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เช่น การให้เงินช่วยเหลือโดยตรงไปยังผู้ประกอบการ หรือ อาจมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีทุนในการปรับปรุงมาตรฐานรถ”

    สำหรับกรณีระยะเวลาการใช้งานของรถคันเกิดเหตุ ที่พบว่ามีการจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 2513 นั้น ดร.สุเมธ กล่าวว่า องค์ประกอบหลักของรถจะมี 2 ส่วน คือ
    ส่วนที่ 1 : โครงหลัก หรือที่เรียกว่า “แชสซี” ที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของรถ ซึ่งอยู่ด้านใต้ตัวรถติดกับโครงล้อ ซึ่งปกติรถขนาดใหญ่จะจดทะเบียนครั้งแรกด้วยแชสซี ซึ่งส่วนนี้มีอายุการใช้งาน 70-80 ปี
    ส่วนที่ 2 : ตัวถังรถ ประกอบไปด้วย หลังคา ประตู เบาะที่นั่ง โดยตัวถังรถมีอายุการใช้งาน 8-10 ปีเท่านั้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นระยะ
    อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจว่าจะปรับปรุงตัวถังรถหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการเป็นหลักว่าต้องการเปลี่ยนหรือไม่ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการกำหนดอายุรถ หรือระยะเวลาการปรับปรุงสภาพรถ มีแต่การตรวจสอบตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยกรมการขนส่งทางบก 2 ครั้งต่อปี

    “ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง จะมีการปรับปรุงความเสี่ยงเหล่านี้อย่างไร การตรวจสอบมีความเข้มงวดมากน้อยขนาดไหน ตรงนี้ล้วนเป็นประเด็น เพราะมาตรฐานการติดตั้ง ยังเป็นสิ่งที่มีความท้าทายในการตรวจสอบอยู่ หากการติดตั้งทำโดยช่างผู้ชำนาญการก็จะได้มาตรฐานสูง แต่ถ้าติดตั้งโดยไม่รัดกุมมากนัก ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ประกายไฟ ได้” ดร.สุเมธ ระบุ

    ยกระดับทัศนศึกษาปลอดภัย ซักซ้อม – วางแผน – ลงรายละเอียด รับมือเหตุไม่คาดคิด

    ด้าน นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) และอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาผู้บริโภค กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวถึงเวลาที่กระทรวงศึกษาธิการ ต้องทบทวนเชิงระบบ เพื่อสร้างแนวทางการไปทัศนศึกษาที่ปลอดภัย โดยปัจจุบันการไปทัศนศึกษาของเด็กมีอยู่ 2 รูปแบบ 1. ไปเช้า – เย็นกลับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทัศนศึกษาในช่วงปิดเทอมหนึ่ง ประมาณเดือนตุลาคม กับ 2. ทัศนศึกษาแบบพักค้างคืนจะอยู่ในช่วงเทอมสอง ซึ่งจะมีการเดินทางช่วงกลางคืน มีการใช้รถบัสสองชั้น การเกิดอุบัติเหตุจึงมักจะเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม

    นพ.ธนะพงศ์ กล่าวว่า คณะผู้จัดกิจกรรมไปทัศนศึกษา ต้องวางแผนโดยการลงรายละเอียด ทั้งการเตรียมครูประจำรถกี่คนต่อจำนวนเด็ก ยิ่งเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ เช่น อาจจะต้องเป็นครูหนึ่งคนต่อ 10 คน เป็นต้น หรือหากเกิดอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ หรือเกิดเพลิงไหม้ คุณครูก็ต้องรู้จักการใช้ถังดับเพลิง และถ้าจำเป็นต้องอพยพ คุณครูจะต้องวางแผนอพยพออกทางไหน ประตูอยู่ตรงจุดไหน เป็นต้น

    เสนอยกเลิกรถสองชั้นเด็ดขาด – เพิ่มวงเงินประกันภัยภาคบังคับ

    นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวถึงข้อเสนอในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ โดยเน้นย้ำการยกเลิกการใช้รถสองชั้นในการรับจ้างแบบไม่ประจำทาง อันเป็นสิ่งที่องค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ ได้มีข้อเสนอเป็นระยะเวลาหลายปี แต่ยังไม่ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง รวมถึงรื้อระบบตรวจสภาพรถบริการขนส่งสาธารณะ ปัจจุบันตรวจสภาพปีละสองครั้ง แต่ในบางประเทศตรวจทุกไตรมาส ซึ่งจริง ๆ ควรจะดูตามจํานวนการใช้งาน หรือกำหนดเป็นระยะเวลาตายตัวเพียงอย่างเดียว

    นอกจากนี้ เสนอให้ขยายวงเงินประกันภัยภาคบังคับ ของรถโดยสารแบบไม่ประจำทาง โดยเพิ่มวงเงินประกันเป็น 30 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันการทำประกันภัยรถภาคบังคับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาทต่อคน แต่มีข้อกำหนดวงเงินเฉลี่ยจ่ายจากวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อครั้ง ซึ่งไม่ครอบคลุมความเสียหายเมื่อเกิดเหตุร้ายแรงและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

    “ความสูญเสียที่เกิดขึ้นต้องนำไปสู่การพัฒนากฎ ระเบียบ มาตรการต่าง ๆ และวิธีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของรถโดยสาร” เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าว

    จากอุบัติเหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้ สู่ปัญหา “รถโรงเรียนไทยไม่ปลอดภัย”

    ความไม่ปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียนไทย ไม่ใช่ปัญหาที่เพิ่งถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง และเปรียบเทียบมาตรฐานความปลอดภัยของไทยกับต่างประเทศ โดยล่าสุดในโซเชียลมีเดียมีการแชร์ข้อมูล รถรับส่งนักเรียนในสหรัฐ มีการควบคุมความปลอดภัยมากกว่ารถปกติถึง 70 เท่า ขณะที่ของญี่ปุ่นกรณีรถบัสทัศนศึกษา นอกจากการตรวจสอบมาตรฐานตัวรถที่เข้มงวด ยังมีการติดตั้ง GPS ควบคุมความเร็วในการขับขี่อีกด้วย

    สำหรับประเทศไทย หากย้อนกลับไปที่ข้อมูลของ ศวปถ. และสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งระบุในคู่มือการจัดระบบรถโรงเรียนให้ปลอดภัยและเป็นธรรม พบว่าระหว่างปี 2562 – 2564 เกิดอุบัติเหตุกับรถโรงเรียนมากถึง 38 ครั้ง มีนักเรียนได้รับบาดเจ็บรุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 431 ราย

    จากการสํารวจข้อมูลรถโรงเรียนทุกภูมิภาค ได้สะท้อนภาพปัญหาที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง 3 ปมปัญหาใหญ่ที่รอเวลาเกิดเหตุ ได้แก่

    สภาพรถที่ไม่ได้มาตรฐาน : ดัดแปลงรถ ไม่มั่นคงแข็งแรง รวมถึงขาดอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ควรมี เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง เป็นต้น

    ผู้ขับประมาทไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร : ใช้ประสบการณ์ความเคยชินขับเร็วเสี่ยงอันตราย ขาดความรู้ความเข้าใจบทบาทการขับรถส่งนักเรียน

    ขาดระบบจัดการรถที่ดี : ขาดระบบกำกับควบคุมผู้ขับขี่ รวมถึงกลไกสนับสนุนเพื่อให้เกิดระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพ

    แม้การเพิ่มมาตรการและความเข้มงวดภายหลังเกิดเหตุ จะหนีไม่พ้นคำพูดที่ว่า “วัวหายล้อมคอก” แต่ในบริบทของประเทศไทย เมื่อเกิดบทเรียนขึ้นแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบทุกภาคส่วน ต้องร่วมมือกันล้อมคอกไม่ให้เกิดเหตุสลด เช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต

    ที่มา https://thaipublica.org/2024/10/tdri-reveals-95-of-non-regular-taxis-are-ticking-time-bombs-on-thai-roads/

    #Thaitimes
    ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง! ‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้ 95% รถรับจ้างไม่ประจำทาง คือ ระเบิดเวลาบนท้องถนนไทย แนะรัฐตรวจเข้มกลุ่มรถที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมจัดงบฯ – สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ เหตุการณ์รถบัสนักเรียนไฟไหม้ ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สะท้อนความล้มเหลวในการป้องกัน และควบคุมการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไทย ตอกย้ำสมญานามประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากการจราจรมากที่สุด สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และครองแชมป์อันดับ 1 ในอาเซียน อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่เพียงชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยง ทั้งในด้านพฤติกรรมการขับขี่ ความรู้ในการเผชิญเหตุฉุกเฉิน ยังได้นำไปสู่การเปิดโปงข้อบกพร่องของ “ระบบตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย” โดยเฉพาะรถทัศนาจร หรือ “รถรับจ้างไม่ประจำทาง” ที่วิ่งให้บริการขวักไขว่ อันเป็นภาพคุ้นชินตาของคนไทย ‘ทีดีอาร์ไอ’ เผยมีรถรับจ้างไม่ประจำทางเพียง 5% ผ่าน “มาตรฐานลุกไหม้” ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า แม้ว่ากรมการขนส่งทางบก จะมีความพยายามในการปรับปรุงมาตรฐานรถโดยสารขนาดใหญ่ในหลายประเด็น รวมถึงมาตรฐานด้านการลุกไหม้มาตั้งแต่ปี 2559 โดยออกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่องกำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร แต่ปรากฎว่าประกาศดังกล่าวถูกเลื่อนการบังคับใช้อยู่เรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลเพราะผู้ประกอบการ ไม่มีความพร้อมในการแบกรับต้นทุน จากการเปลี่ยนไปใช้วัสดุกันไฟที่มีราคาแพง จนกระทั่งสุดท้ายเพิ่งบังคับใช้ได้จริงในปี 2565 แต่กลับไม่มีผลย้อนหลัง ซึ่งหมายความว่าใช้บังคับได้เฉพาะกับรถที่จดทะเบียนใหม่ หรือ มีการปรับปรุงตัวถังใหม่ในปี 2565 เท่านั้น “รถคันที่เกิดเหตุก็เป็นหนึ่งในกรณี ที่ไม่เข้าเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ เนื่องจากมีการจดเบียนใหม่ในปี 2561” ดร.สุเมธ ระบุว่าปัจจุบันรถทัศนาจรในกลุ่มมาตรฐาน 1 ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับรถคันที่เกิดเหตุ มีจำนวน 5,896 คัน และรถมาตรฐาน 4 หรือรถ 2 ชั้น มีจำนวน 4,972 คน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าในจำนวนทั้งหมดกว่า 1 หมื่นคัน มีจำนวนเพียง 5% เท่านั้น ที่ผ่านมาตรฐานด้านการลุกไหม้ และอนุมานได้ว่าส่วนที่เหลืออีก 95% ที่เป็นรถจดทะเบียนก่อนประกาศดังกล่าวบังคับใช้ ยังไม่ถูกกำหนดให้มีมาตรฐานนี้ ขณะที่ในต่างประเทศเวลากำหนดมาตรฐานในเรื่องเหล่านี้ จะให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังด้วย และต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี “คาดว่ามีรถที่ไม่ผ่านหรือไม่ได้มาตรฐานใหม่ ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดเป็นหมื่นคัน แสดงให้เห็นถึงขนาดของปัญหาที่วิ่งอยู่บนท้องถนนตอนนี้ เสมือนกับเป็นระเบิดเวลาที่เราไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุขึ้นอีกเมื่อไหร่ ดังนั้น กรมการขนส่งทางบก ควรติดตามตรวจสอบรถในกลุ่มนี้ ที่ยังวิ่งอยู่ในระบบ เช่น ด้านมาตรฐานทนไฟ การชนด้านหน้า สภาพรถเป็นอย่างไร ติดก๊าซหรือไม่ ฯลฯ โดยเร่งกำหนดมาตรการอย่างเข้มข้นในรถกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงก่อน” จี้ ขบ.ตรวจเข้มรถเสี่ยงสูง – เสนอรัฐจัดงบฯหนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ ดร.สุเมธ เน้นย้ำว่าเหตุที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัยของรถทัศนาจร ซึ่งความเสี่ยงนี้กระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชน โจทย์ใหญ่ของรัฐคือจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้รถเหล่านี้มีมาตรฐานดีขึ้นได้อย่างไร ทั้งการเปลี่ยนวัสดุไวไฟ เช่น เบาะที่นั่ง ม่าน พรม ให้เป็นไปตามมาตรฐาน UNECE ซึ่งคือการใช้วัสดุที่ทนไฟได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟลุกไหม้จะไม่เร็วและแรง สามารถช่วยซื้อเวลาให้ผู้โดยสารหนีออกภายนอกตัวรถได้ “ภาครัฐอาจจะต้องเข้ามาร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อปรับปรุงมาตรฐานให้ดีขึ้น โดยสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เช่น การให้เงินช่วยเหลือโดยตรงไปยังผู้ประกอบการ หรือ อาจมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีทุนในการปรับปรุงมาตรฐานรถ” สำหรับกรณีระยะเวลาการใช้งานของรถคันเกิดเหตุ ที่พบว่ามีการจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 2513 นั้น ดร.สุเมธ กล่าวว่า องค์ประกอบหลักของรถจะมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 : โครงหลัก หรือที่เรียกว่า “แชสซี” ที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของรถ ซึ่งอยู่ด้านใต้ตัวรถติดกับโครงล้อ ซึ่งปกติรถขนาดใหญ่จะจดทะเบียนครั้งแรกด้วยแชสซี ซึ่งส่วนนี้มีอายุการใช้งาน 70-80 ปี ส่วนที่ 2 : ตัวถังรถ ประกอบไปด้วย หลังคา ประตู เบาะที่นั่ง โดยตัวถังรถมีอายุการใช้งาน 8-10 ปีเท่านั้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจว่าจะปรับปรุงตัวถังรถหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการเป็นหลักว่าต้องการเปลี่ยนหรือไม่ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการกำหนดอายุรถ หรือระยะเวลาการปรับปรุงสภาพรถ มีแต่การตรวจสอบตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยกรมการขนส่งทางบก 2 ครั้งต่อปี “ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง จะมีการปรับปรุงความเสี่ยงเหล่านี้อย่างไร การตรวจสอบมีความเข้มงวดมากน้อยขนาดไหน ตรงนี้ล้วนเป็นประเด็น เพราะมาตรฐานการติดตั้ง ยังเป็นสิ่งที่มีความท้าทายในการตรวจสอบอยู่ หากการติดตั้งทำโดยช่างผู้ชำนาญการก็จะได้มาตรฐานสูง แต่ถ้าติดตั้งโดยไม่รัดกุมมากนัก ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ประกายไฟ ได้” ดร.สุเมธ ระบุ ยกระดับทัศนศึกษาปลอดภัย ซักซ้อม – วางแผน – ลงรายละเอียด รับมือเหตุไม่คาดคิด ด้าน นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) และอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาผู้บริโภค กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวถึงเวลาที่กระทรวงศึกษาธิการ ต้องทบทวนเชิงระบบ เพื่อสร้างแนวทางการไปทัศนศึกษาที่ปลอดภัย โดยปัจจุบันการไปทัศนศึกษาของเด็กมีอยู่ 2 รูปแบบ 1. ไปเช้า – เย็นกลับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทัศนศึกษาในช่วงปิดเทอมหนึ่ง ประมาณเดือนตุลาคม กับ 2. ทัศนศึกษาแบบพักค้างคืนจะอยู่ในช่วงเทอมสอง ซึ่งจะมีการเดินทางช่วงกลางคืน มีการใช้รถบัสสองชั้น การเกิดอุบัติเหตุจึงมักจะเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม นพ.ธนะพงศ์ กล่าวว่า คณะผู้จัดกิจกรรมไปทัศนศึกษา ต้องวางแผนโดยการลงรายละเอียด ทั้งการเตรียมครูประจำรถกี่คนต่อจำนวนเด็ก ยิ่งเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ เช่น อาจจะต้องเป็นครูหนึ่งคนต่อ 10 คน เป็นต้น หรือหากเกิดอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ หรือเกิดเพลิงไหม้ คุณครูก็ต้องรู้จักการใช้ถังดับเพลิง และถ้าจำเป็นต้องอพยพ คุณครูจะต้องวางแผนอพยพออกทางไหน ประตูอยู่ตรงจุดไหน เป็นต้น เสนอยกเลิกรถสองชั้นเด็ดขาด – เพิ่มวงเงินประกันภัยภาคบังคับ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวถึงข้อเสนอในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ โดยเน้นย้ำการยกเลิกการใช้รถสองชั้นในการรับจ้างแบบไม่ประจำทาง อันเป็นสิ่งที่องค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ ได้มีข้อเสนอเป็นระยะเวลาหลายปี แต่ยังไม่ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง รวมถึงรื้อระบบตรวจสภาพรถบริการขนส่งสาธารณะ ปัจจุบันตรวจสภาพปีละสองครั้ง แต่ในบางประเทศตรวจทุกไตรมาส ซึ่งจริง ๆ ควรจะดูตามจํานวนการใช้งาน หรือกำหนดเป็นระยะเวลาตายตัวเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ เสนอให้ขยายวงเงินประกันภัยภาคบังคับ ของรถโดยสารแบบไม่ประจำทาง โดยเพิ่มวงเงินประกันเป็น 30 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันการทำประกันภัยรถภาคบังคับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาทต่อคน แต่มีข้อกำหนดวงเงินเฉลี่ยจ่ายจากวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อครั้ง ซึ่งไม่ครอบคลุมความเสียหายเมื่อเกิดเหตุร้ายแรงและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก “ความสูญเสียที่เกิดขึ้นต้องนำไปสู่การพัฒนากฎ ระเบียบ มาตรการต่าง ๆ และวิธีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของรถโดยสาร” เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าว จากอุบัติเหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้ สู่ปัญหา “รถโรงเรียนไทยไม่ปลอดภัย” ความไม่ปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียนไทย ไม่ใช่ปัญหาที่เพิ่งถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง และเปรียบเทียบมาตรฐานความปลอดภัยของไทยกับต่างประเทศ โดยล่าสุดในโซเชียลมีเดียมีการแชร์ข้อมูล รถรับส่งนักเรียนในสหรัฐ มีการควบคุมความปลอดภัยมากกว่ารถปกติถึง 70 เท่า ขณะที่ของญี่ปุ่นกรณีรถบัสทัศนศึกษา นอกจากการตรวจสอบมาตรฐานตัวรถที่เข้มงวด ยังมีการติดตั้ง GPS ควบคุมความเร็วในการขับขี่อีกด้วย สำหรับประเทศไทย หากย้อนกลับไปที่ข้อมูลของ ศวปถ. และสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งระบุในคู่มือการจัดระบบรถโรงเรียนให้ปลอดภัยและเป็นธรรม พบว่าระหว่างปี 2562 – 2564 เกิดอุบัติเหตุกับรถโรงเรียนมากถึง 38 ครั้ง มีนักเรียนได้รับบาดเจ็บรุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 431 ราย จากการสํารวจข้อมูลรถโรงเรียนทุกภูมิภาค ได้สะท้อนภาพปัญหาที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง 3 ปมปัญหาใหญ่ที่รอเวลาเกิดเหตุ ได้แก่ สภาพรถที่ไม่ได้มาตรฐาน : ดัดแปลงรถ ไม่มั่นคงแข็งแรง รวมถึงขาดอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ควรมี เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง เป็นต้น ผู้ขับประมาทไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร : ใช้ประสบการณ์ความเคยชินขับเร็วเสี่ยงอันตราย ขาดความรู้ความเข้าใจบทบาทการขับรถส่งนักเรียน ขาดระบบจัดการรถที่ดี : ขาดระบบกำกับควบคุมผู้ขับขี่ รวมถึงกลไกสนับสนุนเพื่อให้เกิดระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพ แม้การเพิ่มมาตรการและความเข้มงวดภายหลังเกิดเหตุ จะหนีไม่พ้นคำพูดที่ว่า “วัวหายล้อมคอก” แต่ในบริบทของประเทศไทย เมื่อเกิดบทเรียนขึ้นแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบทุกภาคส่วน ต้องร่วมมือกันล้อมคอกไม่ให้เกิดเหตุสลด เช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต ที่มา https://thaipublica.org/2024/10/tdri-reveals-95-of-non-regular-taxis-are-ticking-time-bombs-on-thai-roads/ #Thaitimes
    THAIPUBLICA.ORG
    ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง! ‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้ 95% รถรับจ้างไม่ประจำทาง คือ ระเบิดเวลาบนท้องถนนไทย
    ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง! ‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้ 95% รถรับจ้างไม่ประจำทาง คือ ระเบิดเวลาบนท้องถนนไทย แนะรัฐตรวจเข้มกลุ่มรถที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมจัดงบฯ - สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 859 มุมมอง 0 รีวิว
  • กรมการขนส่งทางบก ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีไฟไหม้รถบัสนักเรียน พร้อมย้ายนายช่างตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสิงห์บุรี ไปช่วยราชการ หากพบการกระทำความผิดจะดำเนินการทางวินัยขั้นสูงสุด
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000093228

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    กรมการขนส่งทางบก ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีไฟไหม้รถบัสนักเรียน พร้อมย้ายนายช่างตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดสิงห์บุรี ไปช่วยราชการ หากพบการกระทำความผิดจะดำเนินการทางวินัยขั้นสูงสุด อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000093228 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    Love
    17
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 3115 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นมา การนั่งรถประจำทางของ ขสมก. เพื่อเดินทางไปทำงาน กลับบ้าน ทำธุระ เป็นเรื่องยากลำบากและเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเก่าเข้าไปอีก คนที่ยังต้องขึ้นรถประจำทางทุกวันน่าจะเข้าใจ รู้ซึ้ง และเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมอันบัดซบของเพื่อนร่วมทุกข์เป็นอย่างดี

    ผลจากความคิดอุตริพิเรนทร์ของกรมการขนส่ง ที่หาเรื่องให้ประชาชนด่า เดิมคนที่เขามีรายได้น้อยก็มีความทุกข์กับการใช้บริการที่ รถน้อยคอยนานคนแน่นอยู่แล้ว กลับมาทับถมให้หนักหนาสาหัส กลายเป็นว่าเส้นทางที่เขานั่งประจำหายไป หรือย้ายไปวิ่งทางอื่น ทางเลือกที่แทบไม่มีทีนี้ก็ไม่เหลือเลย จากที่นั่งสายเดียวถึงจุดหมายปลายทาง เขาต้องลำบากเพื่อต่อรถหลายต่อ เพราะรถที่เคยนั่งไม่ผ่านบ้าง ไปไม่ถึงจุดหมายบ้าง ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้นในขณะที่เงินในมือแทบไม่พอ ไหนจะคอยนานมากเพราะรถน้อยลง แล้วที่มันน่าเจ็บใจ และชีช้ำสำหรับชาวบ้านคือเวลารอรถสายไหน สายนั้นจะอาถรรพ์แทบไม่โผล่มาเลย

    แต่เวลามาทีนะ วิ่งตามกันมาเลย 2-3 คัน

    ที่ปวดใจสุดคือ คันที่ว่างโล่งไม่ค่อยมีคน แทนที่จะจอดรับก็เปล่า คนขับดันทะลึ่งวิ่งเลนนอก ห้อตะบึงไม่สนว่าคนเขาจะโบกให้จอดหรือไม่ ส่วนคันหลังที่มาแล้วยอมจอดน่ะเหรอ ก็ดันเป็นคันที่คนแน่นเบียดกันจนแทบจะสิงร่าง ที่ยืนแทบไม่มีแต่อยากจอดรับ ให้มันได้อย่างนี้สิ สุดท้ายก็ไม่สามารถขึ้นได้ ต้องรอต่อไปซึ่งไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน อาจเป็นชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แทนที่เขาจะถึงจุดหมายในเวลาตามปกติ ก็ต้องล่าช้าออกไป ถึงที่ทำงานสาย กลับถึงบ้านดึกมาก ทั้งเหนื่อยทั้งเมื่อยกว่าเดิม

    นี่คือบริการของ ขสมก. ของแท้ ผ่านไปกี่สิบปียังยืนพื้นแน่วแน่ในการรักษามาตรฐานที่ไม่ได้มาตรฐานได้อย่างคงเส้นคงวา.. น่าเศร้าใจ

    นอกจากไม่ช่วยประชาชนคนยากจนแล้วยังทำเหมือนกลั่นแกล้งกันซะอย่างนั้น

    คิดได้ยังไง ทุเรศทุรังสิ้นดี

    #กรมการขนส่ง
    #ขสมก
    #thaitimes
    #บทความ
    #รถเมล์
    #เส้นทางเดินรถ
    #รถประจำทาง
    #ขนส่งสาธารณะ
    #คนจน


    ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นมา การนั่งรถประจำทางของ ขสมก. เพื่อเดินทางไปทำงาน กลับบ้าน ทำธุระ เป็นเรื่องยากลำบากและเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเก่าเข้าไปอีก คนที่ยังต้องขึ้นรถประจำทางทุกวันน่าจะเข้าใจ รู้ซึ้ง และเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมอันบัดซบของเพื่อนร่วมทุกข์เป็นอย่างดี ผลจากความคิดอุตริพิเรนทร์ของกรมการขนส่ง ที่หาเรื่องให้ประชาชนด่า เดิมคนที่เขามีรายได้น้อยก็มีความทุกข์กับการใช้บริการที่ รถน้อยคอยนานคนแน่นอยู่แล้ว กลับมาทับถมให้หนักหนาสาหัส กลายเป็นว่าเส้นทางที่เขานั่งประจำหายไป หรือย้ายไปวิ่งทางอื่น ทางเลือกที่แทบไม่มีทีนี้ก็ไม่เหลือเลย จากที่นั่งสายเดียวถึงจุดหมายปลายทาง เขาต้องลำบากเพื่อต่อรถหลายต่อ เพราะรถที่เคยนั่งไม่ผ่านบ้าง ไปไม่ถึงจุดหมายบ้าง ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้นในขณะที่เงินในมือแทบไม่พอ ไหนจะคอยนานมากเพราะรถน้อยลง แล้วที่มันน่าเจ็บใจ และชีช้ำสำหรับชาวบ้านคือเวลารอรถสายไหน สายนั้นจะอาถรรพ์แทบไม่โผล่มาเลย แต่เวลามาทีนะ วิ่งตามกันมาเลย 2-3 คัน ที่ปวดใจสุดคือ คันที่ว่างโล่งไม่ค่อยมีคน แทนที่จะจอดรับก็เปล่า คนขับดันทะลึ่งวิ่งเลนนอก ห้อตะบึงไม่สนว่าคนเขาจะโบกให้จอดหรือไม่ ส่วนคันหลังที่มาแล้วยอมจอดน่ะเหรอ ก็ดันเป็นคันที่คนแน่นเบียดกันจนแทบจะสิงร่าง ที่ยืนแทบไม่มีแต่อยากจอดรับ ให้มันได้อย่างนี้สิ สุดท้ายก็ไม่สามารถขึ้นได้ ต้องรอต่อไปซึ่งไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน อาจเป็นชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แทนที่เขาจะถึงจุดหมายในเวลาตามปกติ ก็ต้องล่าช้าออกไป ถึงที่ทำงานสาย กลับถึงบ้านดึกมาก ทั้งเหนื่อยทั้งเมื่อยกว่าเดิม นี่คือบริการของ ขสมก. ของแท้ ผ่านไปกี่สิบปียังยืนพื้นแน่วแน่ในการรักษามาตรฐานที่ไม่ได้มาตรฐานได้อย่างคงเส้นคงวา.. น่าเศร้าใจ นอกจากไม่ช่วยประชาชนคนยากจนแล้วยังทำเหมือนกลั่นแกล้งกันซะอย่างนั้น คิดได้ยังไง ทุเรศทุรังสิ้นดี #กรมการขนส่ง #ขสมก #thaitimes #บทความ #รถเมล์ #เส้นทางเดินรถ #รถประจำทาง #ขนส่งสาธารณะ #คนจน
    Like
    6
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1648 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทัพเรือเตรียมพร้อมเต็มที่ รับพระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค

    กองทัพเรือได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อรับพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗

    #ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคอันยิ่งใหญ่
    ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะประกอบด้วยเรือพระราชพิธีทั้งหมด ๕๒ ลำ จัดเป็น ๕ ริ้ว ความยาวรวม ๑,๒๐๐เมตร กว้าง ๙๐ เมตร โดยมีกำลังพลประจำเรือรวม ๒,๒๐๐ นาย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อให้การจัดพระราชพิธีครั้งนี้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ

    #กรมศิลปากรบูรณะเรือพระราชพิธี
    กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะเรือพระราชพิธีทั้ง ๕๒ ลำ ซึ่งถือเป็นโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า โดยมีการลงรักปิดทอง ประดับกระจก ด้วยฝีมือช่างจากสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อให้เรือแต่ละลำคงความงดงามและทรงคุณค่าตามแบบศิลปะดั้งเดิม

    #กองทัพเรือฝึกซ้อมฝีพาย
    กองทัพเรือได้ดำเนินการฝึกซ้อมฝีพายเรือพระราชพิธีอย่างเข้มข้น เพื่อให้การพายเรือเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงและสง่างาม อีกทั้งยังคงไว้ซึ่งท่วงท่าตามโบราณราชประเพณี โดยมีการนำเทคนิคสมัยใหม่มาปรับใช้เพื่อเพิ่มความสวยงามและความแม่นยำในการพายเรือ

    เรือพระที่นั่งสำคัญ ๔ ลำ
    * เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์: เรือพระที่นั่งชั้นสูงสุด โขนเรือเป็นรูปหงส์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินี
    * เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์: เรือพระที่นั่งรอง โขนเรือลงรักปิดทองลายรูปงูตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    * เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช: หัวเรือจำหลักรูปพญานาค ๗ เศียร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน
    * เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙: โขนเรือจำหลักรูปพระวิษณุทรงครุฑ สร้างขึ้นใหม่เพื่อถวายในหลวงรัชกาลที่ ๙ โดยปกติแล้วใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน

    เรือพระราชพิธีอื่นๆ
    * เรือรูปสัตว์: มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น เรืออสุรวายุภักษ์ (รูปยักษ์), เรือครุฑเหินเห็จ (รูปครุฑ), เรือกระบี่ปราบเมืองมาร (รูปขุนกระบี่), เรือเอกชัยเหินหาว (รูปจระเข้หรือเหรา)
    * เรือดั้ง: เรือที่มีลักษณะเป็นเรือยาว หัวเรือและท้ายเรือโค้งงอนขึ้น ประดับลวดลายสวยงาม
    * เรือแซง: เรือที่มีลักษณะคล้ายเรือดั้ง แต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้สำหรับพายนำหน้าขบวนเรือพระที่นั่ง
    สืบสานประเพณีอันทรงคุณค่า

    การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังเป็นการสืบสานและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่สืบไป
    ความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ

    พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีอันทรงเกียรติและงดงามตระการตา ซึ่งจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยสืบไป

    เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
    ขบวนพยุหยาตราเพชรพวงทางชลมารค ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจัดขบวนเป็น ๕ ตอน
    ๑. ขบวนนอกหน้าประกอบด้วย เรือพิฆาต ๓ คู่ เรือแซ ๕ คู่ เรือชัย ๑๐ คู่ เรือรูปสัตว์ ๒ คู่
    และมีเรือรูปสัตว์อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นนอก คั่นขบวนนอกหน้ากับขบวนในหน้า
    ๒. ขบวนในหน้า มีเรือรูปสัตว์ ๑๒ คู่ เรือเอกชัย ๒ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นในคั่นขบวนในหน้า
    กับขบวนเรือพระราชยาน มีเรือโขมดยา [ขะ-โหฺมด-ยา] ซ้อนสายนอก ๕ คู่
    ๓. ขบวนเรือพระราชยาน มีเรือพระที่นั่ง ๕ ลำ เป็นเรือดั้งนำเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย
    [สี-สะ-หฺมัด-ถะ-ไช] ลำทรง และเรือพระที่นั่งไกรสรมุข [ไกฺร-สอ-ระ-มุก] ที่ใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง ขบวนเรือ
    พระราชยานเป็นเรือพระที่นั่งกิ่งทั้งหมด
    ๔. ขบวนในหลัง แบ่งเป็น ๓ สาย สายกลางมีเรือพระที่นั่งเอกชัย ๒ ลำ สายในซ้ายและในขวา
    เป็นเรือรูปสัตว์ ๒ คู่ อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหลังชั้นนอก คั่นขบวนในหลังกับขบวนนอกหลัง
    ๕. ขบวนนอกหลัง ประกอบด้วยเรือแซ ๓ คู่ เรือพิฆาต ๒ คู่ และมีม้าแซงเดินริมตลิ่งอีกด้วย

    ภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ยังเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมเรือพระราชพิธี ๔ ลำ และเรือรูปสัตว์ ๔ ลำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี และชมการฝึกฝีพาย ณ บ่อเรือแผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ ในวันราชการ ตั้งแต่วันนี้ ถึง ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

    อ้างอิง
    ๑. Phralan: https://phralan.in.th/Coronation/vocabdetail.php?id=844
    ๒. Thai PBS: https://www.thaipbs.or.th/news/content/341376
    กองทัพเรือเตรียมพร้อมเต็มที่ รับพระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค กองทัพเรือได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อรับพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ #ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคอันยิ่งใหญ่ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะประกอบด้วยเรือพระราชพิธีทั้งหมด ๕๒ ลำ จัดเป็น ๕ ริ้ว ความยาวรวม ๑,๒๐๐เมตร กว้าง ๙๐ เมตร โดยมีกำลังพลประจำเรือรวม ๒,๒๐๐ นาย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อให้การจัดพระราชพิธีครั้งนี้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ #กรมศิลปากรบูรณะเรือพระราชพิธี กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะเรือพระราชพิธีทั้ง ๕๒ ลำ ซึ่งถือเป็นโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า โดยมีการลงรักปิดทอง ประดับกระจก ด้วยฝีมือช่างจากสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อให้เรือแต่ละลำคงความงดงามและทรงคุณค่าตามแบบศิลปะดั้งเดิม #กองทัพเรือฝึกซ้อมฝีพาย กองทัพเรือได้ดำเนินการฝึกซ้อมฝีพายเรือพระราชพิธีอย่างเข้มข้น เพื่อให้การพายเรือเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงและสง่างาม อีกทั้งยังคงไว้ซึ่งท่วงท่าตามโบราณราชประเพณี โดยมีการนำเทคนิคสมัยใหม่มาปรับใช้เพื่อเพิ่มความสวยงามและความแม่นยำในการพายเรือ เรือพระที่นั่งสำคัญ ๔ ลำ * เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์: เรือพระที่นั่งชั้นสูงสุด โขนเรือเป็นรูปหงส์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินี * เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์: เรือพระที่นั่งรอง โขนเรือลงรักปิดทองลายรูปงูตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว * เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช: หัวเรือจำหลักรูปพญานาค ๗ เศียร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน * เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙: โขนเรือจำหลักรูปพระวิษณุทรงครุฑ สร้างขึ้นใหม่เพื่อถวายในหลวงรัชกาลที่ ๙ โดยปกติแล้วใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน เรือพระราชพิธีอื่นๆ * เรือรูปสัตว์: มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น เรืออสุรวายุภักษ์ (รูปยักษ์), เรือครุฑเหินเห็จ (รูปครุฑ), เรือกระบี่ปราบเมืองมาร (รูปขุนกระบี่), เรือเอกชัยเหินหาว (รูปจระเข้หรือเหรา) * เรือดั้ง: เรือที่มีลักษณะเป็นเรือยาว หัวเรือและท้ายเรือโค้งงอนขึ้น ประดับลวดลายสวยงาม * เรือแซง: เรือที่มีลักษณะคล้ายเรือดั้ง แต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้สำหรับพายนำหน้าขบวนเรือพระที่นั่ง สืบสานประเพณีอันทรงคุณค่า การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังเป็นการสืบสานและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่สืบไป ความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีอันทรงเกียรติและงดงามตระการตา ซึ่งจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยสืบไป เกร็ดความรู้เพิ่มเติม ขบวนพยุหยาตราเพชรพวงทางชลมารค ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจัดขบวนเป็น ๕ ตอน ๑. ขบวนนอกหน้าประกอบด้วย เรือพิฆาต ๓ คู่ เรือแซ ๕ คู่ เรือชัย ๑๐ คู่ เรือรูปสัตว์ ๒ คู่ และมีเรือรูปสัตว์อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นนอก คั่นขบวนนอกหน้ากับขบวนในหน้า ๒. ขบวนในหน้า มีเรือรูปสัตว์ ๑๒ คู่ เรือเอกชัย ๒ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นในคั่นขบวนในหน้า กับขบวนเรือพระราชยาน มีเรือโขมดยา [ขะ-โหฺมด-ยา] ซ้อนสายนอก ๕ คู่ ๓. ขบวนเรือพระราชยาน มีเรือพระที่นั่ง ๕ ลำ เป็นเรือดั้งนำเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย [สี-สะ-หฺมัด-ถะ-ไช] ลำทรง และเรือพระที่นั่งไกรสรมุข [ไกฺร-สอ-ระ-มุก] ที่ใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง ขบวนเรือ พระราชยานเป็นเรือพระที่นั่งกิ่งทั้งหมด ๔. ขบวนในหลัง แบ่งเป็น ๓ สาย สายกลางมีเรือพระที่นั่งเอกชัย ๒ ลำ สายในซ้ายและในขวา เป็นเรือรูปสัตว์ ๒ คู่ อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหลังชั้นนอก คั่นขบวนในหลังกับขบวนนอกหลัง ๕. ขบวนนอกหลัง ประกอบด้วยเรือแซ ๓ คู่ เรือพิฆาต ๒ คู่ และมีม้าแซงเดินริมตลิ่งอีกด้วย ภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ยังเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมเรือพระราชพิธี ๔ ลำ และเรือรูปสัตว์ ๔ ลำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี และชมการฝึกฝีพาย ณ บ่อเรือแผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ ในวันราชการ ตั้งแต่วันนี้ ถึง ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อ้างอิง ๑. Phralan: https://phralan.in.th/Coronation/vocabdetail.php?id=844 ๒. Thai PBS: https://www.thaipbs.or.th/news/content/341376
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 732 มุมมอง 0 รีวิว
  • 3 ปี ไทยสมายล์บัส น้อมรับความไม่สะดวก

    ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของไทย สมายล์ บัส ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นับตั้งแต่แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สาขาเอกชัย จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ปัจจุบันมีรถบัสพลังงานไฟฟ้า 2,350 คัน ให้บริการ 123 เส้นทาง พร้อมกัปตันเมล์ (พนักงานขับรถ) 2,500 คน บัสโฮสเตส (พนักงานเก็บค่าโดยสาร) 2,300 คน อู่สาขากว่า 24 สาขา เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้ากว่า 40 ลำ ให้บริการ 3 เส้นทาง กัปตันและลูกเรือกว่า 200 คน อาจเรียกได้ว่าเป็น 3 ปีแบบก้าวกระโดด พร้อมกับการปฎิรูปรถเมล์ที่กรมการขนส่งทางบกเป็นเจ้าภาพหลัก

    น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย สมายล์ บัส เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำให้ระบบขนส่งมวลชนที่ถูกละเลย มีรถเมล์พลังงานไฟฟ้าให้บริการกว่า 2,000 คัน และมีเทคโนโลยีทันสมัย มีโรงเรียนฝึกอบรมบุคลากร ปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนพัฒนาจุดชาร์จ อู่สาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา เติบโตไปพร้อมกับสังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG ในทุกมิติ เช่น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการจ้างงาน ดูแลผู้โดยสาร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ บริหารด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล

    "ตนได้ลงพื้นที่ไปรอรถเมล์อยู่ข้างๆ ผู้โดยสารทุกคนตั้งแต่ช่วงเช้าถึงค่ำ เพื่อให้เข้าใจปัญหา ไปอยู่กับหน้างานจริง ซึ่งยอมรับว่า ยังได้เห็นความไม่สะดวกในหลายจุด ในฐานะผู้บริหารขอน้อมรับฟังทุกคำติชม และจะนำไปปรับปรุง พัฒนาต่อไปเพื่อให้พี่น้องคนไทยได้มีรถเมล์คุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ"

    ที่ผ่านมาได้พัฒนาระบบ Fleet Management งานบริหารจัดการหลังบ้าน กล้อง CCTV เพื่อตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ พัฒนาการปล่อยรถ รวมถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับปรุงข้อติดขัดต่างๆ พร้อมกับพัฒนาบุคลากร อาทิ โครงการสมาร์ทกัปตัน คัดเลือกพนักงานที่อยู่ในสายรถ ให้เข้ามาเป็นผู้ดูแลสายรถนั้นๆ เพื่อต่อยอดอาชีพ สร้างคุณค่า เพิ่มรายได้ให้กับพนักงานอีก 100 คน รวมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชัน TSB Go Plus+ สามารถเติมเงินและอัปเดตยอดบัตร HOP CARD ผ่านระบบ NFC ได้ทันที

    ในอนาคต ไทยสมายล์บัสจะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบแทนลูกค้า มีสิทธิประโยชน์เฉพาะผู้ถือบัตร HOP CARD ให้ร่วมสนุก มีฟังก์ชันใหม่ๆ ให้ได้ทดลองใช้ และมีพันธมิตรอีกหลายรายที่จะเข้าร่วม ควบคู่กับการแก้ไขปัญหา ยกระดับการให้บริการ หวังคนรุ่นใหม่หันมาใช้รถสาธารณะกันมากขึ้น

    #Newskit #ThaiSmileBus #รถเมล์ไฟฟ้า
    3 ปี ไทยสมายล์บัส น้อมรับความไม่สะดวก ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของไทย สมายล์ บัส ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นับตั้งแต่แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สาขาเอกชัย จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ปัจจุบันมีรถบัสพลังงานไฟฟ้า 2,350 คัน ให้บริการ 123 เส้นทาง พร้อมกัปตันเมล์ (พนักงานขับรถ) 2,500 คน บัสโฮสเตส (พนักงานเก็บค่าโดยสาร) 2,300 คน อู่สาขากว่า 24 สาขา เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้ากว่า 40 ลำ ให้บริการ 3 เส้นทาง กัปตันและลูกเรือกว่า 200 คน อาจเรียกได้ว่าเป็น 3 ปีแบบก้าวกระโดด พร้อมกับการปฎิรูปรถเมล์ที่กรมการขนส่งทางบกเป็นเจ้าภาพหลัก น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย สมายล์ บัส เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำให้ระบบขนส่งมวลชนที่ถูกละเลย มีรถเมล์พลังงานไฟฟ้าให้บริการกว่า 2,000 คัน และมีเทคโนโลยีทันสมัย มีโรงเรียนฝึกอบรมบุคลากร ปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนพัฒนาจุดชาร์จ อู่สาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา เติบโตไปพร้อมกับสังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG ในทุกมิติ เช่น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการจ้างงาน ดูแลผู้โดยสาร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ บริหารด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล "ตนได้ลงพื้นที่ไปรอรถเมล์อยู่ข้างๆ ผู้โดยสารทุกคนตั้งแต่ช่วงเช้าถึงค่ำ เพื่อให้เข้าใจปัญหา ไปอยู่กับหน้างานจริง ซึ่งยอมรับว่า ยังได้เห็นความไม่สะดวกในหลายจุด ในฐานะผู้บริหารขอน้อมรับฟังทุกคำติชม และจะนำไปปรับปรุง พัฒนาต่อไปเพื่อให้พี่น้องคนไทยได้มีรถเมล์คุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ" ที่ผ่านมาได้พัฒนาระบบ Fleet Management งานบริหารจัดการหลังบ้าน กล้อง CCTV เพื่อตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ พัฒนาการปล่อยรถ รวมถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับปรุงข้อติดขัดต่างๆ พร้อมกับพัฒนาบุคลากร อาทิ โครงการสมาร์ทกัปตัน คัดเลือกพนักงานที่อยู่ในสายรถ ให้เข้ามาเป็นผู้ดูแลสายรถนั้นๆ เพื่อต่อยอดอาชีพ สร้างคุณค่า เพิ่มรายได้ให้กับพนักงานอีก 100 คน รวมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชัน TSB Go Plus+ สามารถเติมเงินและอัปเดตยอดบัตร HOP CARD ผ่านระบบ NFC ได้ทันที ในอนาคต ไทยสมายล์บัสจะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบแทนลูกค้า มีสิทธิประโยชน์เฉพาะผู้ถือบัตร HOP CARD ให้ร่วมสนุก มีฟังก์ชันใหม่ๆ ให้ได้ทดลองใช้ และมีพันธมิตรอีกหลายรายที่จะเข้าร่วม ควบคู่กับการแก้ไขปัญหา ยกระดับการให้บริการ หวังคนรุ่นใหม่หันมาใช้รถสาธารณะกันมากขึ้น #Newskit #ThaiSmileBus #รถเมล์ไฟฟ้า
    Like
    Haha
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1143 มุมมอง 0 รีวิว
  • Vela de Residence : เวลาดี เรสซิเดนซ์, กรุงเทพ

    เวลาดี เรสซิเดนซ์ ประดิพัทธ์ คอนโดทำเลดีใกล้รถไฟฟ้า BTS สะพานควาย ประมาณ 600 เมตร ใกล้รพ.วิมุต และ Big C สะพานควาย เขตพญาไท กรุงเทพ

    **ราคา/รายละเอียด
    – 1 Bedroom ขนาดพื้นที่ 24.31 ตรม.
    ราคา 3,622,200 บาท

    **จุดเด่น
    โครงการตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้า BTS สะพานควาย อารีย์
    เดินทางสะดวก สามารถเข้า-ออกได้ทั้งซอยประดิพัทธิ์ 23 และประดิพัทธิ์ 25

    **สิ่งอำนวยความสะดวก
    – Fitness
    – Swimming pool
    – Keycard Access
    – CCTV
    – รปภ. 24 ชม.

    **ที่ตั้งโครงการ
    ซอยประดิพัทธ์ 23 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพ

    **สถานที่ใกล้เคียง **

    – ศูนย์การค้า ตลาด และร้านสะดวกซื้อ
    – ตลาดสะพานควาย
    – 7-Eleven ปากซอย
    – Take A Train
    – ประดิพัทธ์ สตรีท มาร์เก็ต
    – The AQUA Ari
    – Big C สะพานควาย
    – The HUB Phahol-Ari
    – The Camping Ground
    – พหลโยธิน รามา
    – La Villa Ari
    – ตลาด อ.ต.ก.
    – ตลาดมิ่งขวัญบ้านนา
    – JJ Mall
    – DD Mall
    – Gump’s Ari
    – feast. ราชครู
    – ตลาดสุทธิสาร
    – Central Plaza ลาดพร้าว
    – Lotus’s ประชาชื่น
    – Union Mall
    – Lotus’s ลาดพร้าว
    – Gateway At Bangsue
    ศูนย์การแพทย์
    – รพ.วิมุต
    – รพ.เปาโล พหลโยธิน
    – รพ.ประสานมิตร
    – รพ.วิชัยยุทธ
    – รพ.พญาไท 2
    อาคารสำนักงาน และหน่วยงานอื่น ๆ
    – The RICE
    – ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ พหลโยธิน
    – AIS Tower 2
    – Ari Hills
    – AIS Tower 1
    – SC Tower
    – กรมการขนส่งทางบก
    – สถาบันการบินพลเรือน
    – EXIM
    – สำนักงานเขตพญาไท
    – PEARL Bangkok
    – VANIT PLACE
    – BTS Office
    – หมอชิต คอมเพล็กซ์
    – ธนาคาร ttb สำนักงานใหญ่
    – สถานีกลางบางซื่อ
    – กระทรวงการคลัง
    – SCG สำนักงานใหญ่
    – Energy Complex

    -------------------------------------------
    สนใจสอบถามข้อมูลที่
    โทร.081-822-6553
    รับซื้อ ฝากขายที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์
    ทุกชนิด “ฟรี” ค่าใช้จ่ายจนกว่าจะขายได้
    พร้อมทั้งทำเรื่องยื่นกู้สินเชื่อ
    จนถึงโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน
    Vela de Residence : เวลาดี เรสซิเดนซ์, กรุงเทพ เวลาดี เรสซิเดนซ์ ประดิพัทธ์ คอนโดทำเลดีใกล้รถไฟฟ้า BTS สะพานควาย ประมาณ 600 เมตร ใกล้รพ.วิมุต และ Big C สะพานควาย เขตพญาไท กรุงเทพ **ราคา/รายละเอียด – 1 Bedroom ขนาดพื้นที่ 24.31 ตรม. ราคา 3,622,200 บาท **จุดเด่น โครงการตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้า BTS สะพานควาย อารีย์ เดินทางสะดวก สามารถเข้า-ออกได้ทั้งซอยประดิพัทธิ์ 23 และประดิพัทธิ์ 25 **สิ่งอำนวยความสะดวก – Fitness – Swimming pool – Keycard Access – CCTV – รปภ. 24 ชม. **ที่ตั้งโครงการ ซอยประดิพัทธ์ 23 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพ **สถานที่ใกล้เคียง ** – ศูนย์การค้า ตลาด และร้านสะดวกซื้อ – ตลาดสะพานควาย – 7-Eleven ปากซอย – Take A Train – ประดิพัทธ์ สตรีท มาร์เก็ต – The AQUA Ari – Big C สะพานควาย – The HUB Phahol-Ari – The Camping Ground – พหลโยธิน รามา – La Villa Ari – ตลาด อ.ต.ก. – ตลาดมิ่งขวัญบ้านนา – JJ Mall – DD Mall – Gump’s Ari – feast. ราชครู – ตลาดสุทธิสาร – Central Plaza ลาดพร้าว – Lotus’s ประชาชื่น – Union Mall – Lotus’s ลาดพร้าว – Gateway At Bangsue ศูนย์การแพทย์ – รพ.วิมุต – รพ.เปาโล พหลโยธิน – รพ.ประสานมิตร – รพ.วิชัยยุทธ – รพ.พญาไท 2 อาคารสำนักงาน และหน่วยงานอื่น ๆ – The RICE – ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ พหลโยธิน – AIS Tower 2 – Ari Hills – AIS Tower 1 – SC Tower – กรมการขนส่งทางบก – สถาบันการบินพลเรือน – EXIM – สำนักงานเขตพญาไท – PEARL Bangkok – VANIT PLACE – BTS Office – หมอชิต คอมเพล็กซ์ – ธนาคาร ttb สำนักงานใหญ่ – สถานีกลางบางซื่อ – กระทรวงการคลัง – SCG สำนักงานใหญ่ – Energy Complex ------------------------------------------- สนใจสอบถามข้อมูลที่ โทร.081-822-6553 รับซื้อ ฝากขายที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ ทุกชนิด “ฟรี” ค่าใช้จ่ายจนกว่าจะขายได้ พร้อมทั้งทำเรื่องยื่นกู้สินเชื่อ จนถึงโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 365 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ รมช.คมนาคม สุรพงศ์ ผู้ดูแลกรมการขนส่งทางบก ต้นเรื่องปฏิรูปรถโดยสารประจำทาง ทำประชาขนเดือดร้อนทั่วกรุง เพิ่มค่าโดยสาร เปลี่ยนเลขรถ ปรับเส้นทาง ทำคนต้องใช้หลายต่อ เพิ่มภาระค่าโดยสาร
    #7ดอกจิก
    #รถเมล์
    ♣ รมช.คมนาคม สุรพงศ์ ผู้ดูแลกรมการขนส่งทางบก ต้นเรื่องปฏิรูปรถโดยสารประจำทาง ทำประชาขนเดือดร้อนทั่วกรุง เพิ่มค่าโดยสาร เปลี่ยนเลขรถ ปรับเส้นทาง ทำคนต้องใช้หลายต่อ เพิ่มภาระค่าโดยสาร #7ดอกจิก #รถเมล์
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 307 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน

    25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง

    ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก.

    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น

    หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน

    มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง

    ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้

    ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท

    ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง

    #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก. ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้ ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 745 มุมมอง 0 รีวิว
  • สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน

    ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน

    โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว

    จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ)

    สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต

    ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป

    นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก

    #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ) สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    Like
    6
    2 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 866 มุมมอง 0 รีวิว
  • 25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก.

    ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้

    เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ

    ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง

    ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน

    #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก. ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้ เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 662 มุมมอง 0 รีวิว