• ถกเดือดพิมพ์แบบเรียน สกสค. ส่อกีดกัน บ.รุ่งศิลป์ เสนอราคาต่ำสุด ไม่ได้สักรายการ
    .
    “กมธ.ป.ป.ช. สภาฯ” ถกเดือดโครงการพิมพ์แบบเรียนปี 68 งบฯพันล้าน “ก.บัญชีกลาง” จัดหนัก “องค์การค้าของ สกสค.” เจตนากีดกันแข่งขัน แถมส่อล็อกสเปกกระดาษ ส่อปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ทั้งที่เคยแจ้งว่าขัด กม.จัดซื้อฯ “รุ่งศิลป์ฯ” โอดไม่ได้งานแม้แต่รายการเดียว ทั้งที่เสนอราคาต่ำกว่าอื้อ “องค์การค้าฯ” ขยี้เหตุส่งหนังสือปี 67 ไม่ทัน จนถูกบอกเลิกสัญญา เจองัดหนังสือฝ่ายผลิต องค์การค้าฯ เซ็นยอมรับส่งปกไม่ครบสวน
    .
    เมื่อวันที่ 6 มี.ค.68 ที่อาคารรัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (กมธ.ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายฉลาด ขามช่วง สส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธาน กมธ.ป.ป.ช.เป็นประธานในที่ประชุม มีการพิจารณาเรื่องร้องเรียนขอให้ตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโครงการจ้างพิมพ์หนังสือแบบเรียนปีการศึกษา 2568 จำนวน 145 รายการ งบประมาณ 1,060 ล้านบาท ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (องค์การค้าของ สกสค.) ที่มีลักษณะกีดกันการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่ง บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1997) จำกัด (บจ.รุ่งศิลป์ฯ) ที่เป็นผู้ร่วมเสนอราคายื่นร้องเรียนต่อ กมธ.ฯ
    .
    ในการประชุมได้เชิญ ผู้แทน บจ.รุ่งศิลป์ฯ หรือโรงพิมพ์รุ่งศิลป์ ในฐานะผู้ร้อง, ผู้แทนองค์การค้าของ สกสค. ในฐานะผู้ถูกร้อง และผู้แทนจากหน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ในฐานะกำกับดูแลระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เข้าร่วมชี้แจง
    .
    นายธีรัจชัย พันธุมาศ สส.พรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธาน กมธ.ฯ คนที่ 1 ได้สอบถามถึงประเด็นที่ บจ.รุ่งศิลป์ฯ ได้ร้องเรียนว่า ในขอบเขตงาน (ทีโออาร์) ของโครงการฯ ทั้งครั้งที่เปิดประกวดราคาโดยวิธี e-bidding ซึ่งยกเลิกไปแล้ว และการประกวดราคาโดยวิธีคัดเลือก มีการระบุถึงคุณสมบัติผู้เข้าร่วมเสนอราคาว่า ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกองค์การค้าของ สกสค.บอกเลิกสัญญาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่ง บจ.รุ่งศิลป์ฯ ระบุว่า ถูก องค์การค้าของ สกสค.บอกเลิกสัญญาบางรายการของโครงการจ้างพิมพ์หนังสือแบบเรียนปีการศึกษา 2567 อย่างไม่เป็นธรรม และมีการเรียกร้องค่าเสียจากทางองค์การค้าของ สกสค. รวมทั้งคดีที่ฟ้องร้องต่อศาลปกครองก็ยังไม่สิ้นสุด จึงมองว่าเป็นการกีดกัน บจ.รุ่งศิลป์ฯ ในแข่งขันโครงการฯ ปี 2568 ซึ่ง บจ.รุ่งศิลป์ฯ ก็ได้ร้องเรียนไปยัง กรมบัญชีกลาง รวมถึงยื่นคำร้องต่อ ศาลปกครองกลาง และอยู่ระหว่างการไต่สวนด้วย
    .
    ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ชี้แจงว่า กรณีกีดกันนี้ บจ.รุ่งศิลป์ฯ ได้ร้องเรียนมายังกรมฯ 2 ครั้ง คือเมื่อวันที่ 2 ม.ค.68 ขณะมีการประกวดราคาโดยวิธี e-bidding ที่ได้ยกเลิกไปแล้ว ถือว่าคำร้องสิ้นสุด และเมื่อวันที่ 27 ก.พ.68 ช่วงประกวดราคาโดยวิธีการคัดเลือก ซึ่งอยู่ในระหว่างหาข้อมูลประกอบเพื่อพิจารณา จึงยังไม่ได้ตอบกลับข้อร้องเรียนกับทาง บจ.รุ่งศิลป์ฯ อย่างไรก็ตามเมื่อโครงการฯปี 2567 ทาง บจ.รุ่งศิลป์ฯ ก็เคยได้หารือในกรณีถูกกีดกันมาเช่นกัน กรมฯ ก็เคยตอบกลับแล้วว่า การกำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาว่า ต้องไม่เคยถูกบอกเลิกสัญญา หรือเคยทำให้หน่วยงานเสียหาย ไม่สามารถกำหนดในทีโออาร์ได้ เพราะขัดกับมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 (พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ)
    .
    “โดยหลักการ ไม่ว่าจะประกวดราคาด้วยวิธีการใด หากระบุในทีโออาร์เกี่ยวกับคุณสมบัติการถูกบอกเลิกสัญญา หรือทำให้หน่วยงานเสียหายในลักษณะนี้ ถือเป็นการกีดกันทั้งสิ้น ซึ่งกรมฯ ได้เคยตอบข้อหารือไปหมดแล้วว่าขัดกฎหมาย แต่หน่วยงานจะปรับแก้ไข หรือนำไปดำเนินการอย่างไร กรมฯ ไม่อาจรับรู้ได้ทุกรายการ แต่ยืนยันว่าการระบุคุณสมบัติเช่นนี้ไม่เป็นไปตามระเบียบและกฎหมาย” ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ระบุ
    .
    ถึงช่วงนี้ นายธีรัจชัย ที่ผลัดทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมกล่าวสรุปว่า “กรณีที่ กรมบัญชีกลาง มีความเห็น หรือเคยเตือนแล้วว่า ขัดต่อกฎหมาย แต่หน่วยงานยังดำเนินการต่ออีก ก็ถือว่าเจตนาที่จะกีดกัน เข้าข่ายการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ” ซึ่งในที่ประชุมไม่มีผู้คัดค้านถ้อยคำดังกล่าว
    .
    อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ ผู้แทนองค์การค้าของ สกสค. รวมถึงผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ยังไม่ได้รับเชิญเข้าห้องประชุม
    .
    นายนัทธพลพงศ์ จิวัจฉรานุกูล รองกรรมการผู้จัดการ บจ.รุ่งศิลป์ฯ กล่าวต่อประชุมเสริมว่า ในการประกวดราคาโครงการฯ ปี 2568 โดยวิธีการคัดเลือก บริษัทฯก็ได้เข้าร่วมเสนอราคาด้วย และหลังจากมีการประกาศผลการประกวดราคา ปรากฎว่า บริษัทฯ ไม่ได้รับการคัดเลือกแม้แต่รายการเดียว ทั้งที่มีอย่างน้อย 30 จาก 145 รายการ ที่บริษัทฯเสนอราคาต่ำกว่าผู้ชนะการประกวดราคาค่อนข้างมาก จึงเชื่อว่ามีการใช้เงื่อนไขที่ระบุในทีโออาร์ในเรื่องการถูกบอกเลิกสัญญา รวมถึงต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยทำให้ องค์การค้าของ สกสค.เสียหาย มากีดกันโดยตัดคะแนน หรือตัดคุณสมบัติบริษัทฯ อย่างไม่เป็นธรรม
    .
    “เรายังไม่ทราบเหตุผลที่แท้จริงว่า เหตุใดที่เราซึ่งเสนอราคาต่ำกว่าผู้ชนะในหลายรายการ แล้วแต่ละรายการก็ต่ำกว่าค่อนข้างมาก แต่กลับไม่ได้คัดเลือกเป็นผู้รับจ้างแม้แต่รายการเดียว เพราะประกาศของ องค์การค้าของ สกสค.มีเฉพาะรายชื่อผู้ชนะการประกวดราคา 145 รายการของโครงการฯ แต่ไม่ได้แนบแบบฟอร์มรายละเอียดการให้คะแนนแต่ละรายการตามที่ กรมบัญชีกลาง กำหนด อีกทั้งการประกวดราคาโดยการคัดเลือกครั้งนี้เลือกใช้ข้อ (ค.) ที่ใช้เหตุความจำเป็นเร่งด่วน ทำให้ไม่สามารถอุทธรณ์ผลการประกวดราคาได้ และทำได้เพียงร้องเรียนต่อ กรมบัญชีกลาง รวมถึงอาจจะยื่นฟ้องต่อศาลเท่านั้น“ นายนัทธพลพงศ์ กล่าว
    .
    นอกจากนี้ที่ประชุม กมธ.ฯ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การที่หน่วยงานใช้เกณฑ์การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (Price Performance) ในการประกวดราคาอาจเปิดช่องให้มีการกำหนดคุณสมบัติส่อไปในทางล็อกสเปกได้ โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความซับซ้อนทางเทคนิค อย่างโครงการจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนขององค์การค้าของ สกสค.ในช่วงหลัง ก็มีการกำหนดคุณสมบัติกระดาษ ที่มีข้อร้องเรียนว่า ไปตรงกับคุณสมบัติกระดาษของผู้นำเข้าเพียงรายเดียวในประเทศไทย
    .
    ผู้แทนกรมบัญชีกลาง กล่าวตอบว่า เป็นดุลพินิจของแต่ละหน่วยงานที่จะกำหนดใช้เกณฑ์ Price Performance หรือไม่ แต่เมื่อนำมาใช้ หน่วยงานต้องกำหนดเกณฑ์ให้ชัดเจนเพื่อให้มีการแข่งขันในด้านคุณภาพอย่างแท้จริง ซึ่งบางกรณี กรมบัญชีกลาง ก็ไม่อาจล่วงรู้ถึงเหตุผลความจำเป็นจริงๆ
    .
    “แต่ถ้าเป็นไปตามที่ กมธ.ระบุว่า กำหนดคุณสมบัติกระดาษแล้วไปตรงกับของรายใดรายหนึ่งในประเทศก็แบบนี้ถือว่า ล็อกสเปก เพราะตามกฎหมายต้องมีผู้ค้าอย่างน้อย 3 ราย” ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ระบุ
    .
    ขณะที่ ผู้แทนองค์การค้าของ สกสค.ซึ่งเข้าร่วมชี้แจงในช่วงท้าย ได้เน้นประเด็นคุณสมบัติของ บจ.รุ่งศิลป์ฯ ว่า ในการรับจ้างพิมพ์หนังสือแบบเรียนปี 2567 นั้น บจ.รุ่งศิลป์ฯ ส่งหนังสือบางรายการไม่ทันตามกำหนดโดยอ้างว่าได้รับปกหนังสือจากองค์การค้าฯ ไม่ครบ ตามกระบวนการ องค์การค้าฯ ก็จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญา และเรียกค่าเสียหายตามสัญญา เนื่องจากในความเป็นจริง องค์การค้าฯ ได้ส่งปกหนังสือให้ตามกำหนด และมีเกินจำนวนสำรองไปด้วย ทาง บจ.รุ่งศิลป์ฯ ก็ลงนามรับปกหนังสือไปเป็นที่เรียบร้อย แต่กลับทำหนังสือโต้แย้งหลังผ่านไปเกินกว่า 20 วันว่า ได้รับปกหนังสือไม่ครบ จึงไม่ถือเป็นความผิดพลาดองค์การค้าฯ แต่เป็นความไม่พร้อมของ บจ.รุ่งศิลป์ฯ เอง อีกทั้ง องค์การค้าฯ ก็ได้สั่งผลิตปกหนังสือเพิ่มกลับไปให้ เพราะต้องการหนังสือให้กับเด็กนักเรียนทันเปิดเทอม นอกจากนี้ บจ.รุ่งศิลป์ฯ ก็ได้ขอขยายระยะเวลาสัญญา เนื่องจากจัดส่งหนังสือได้ไม่ทันตามกำหนดด้วย
    .
    ด้าน ผู้แทน บจ.รุ่งศิลป์ฯ ชี้แจงว่า ปกหนังสือทั้งหมดตามรายการที่บริษัทฯ ได้รับว่าจ้างมีจำนวนมาก และแพ็คส่งมาในพาเลท มีการทยอยส่งมาเป็นระยะ คละกันหลายรายการ บริษัทฯ จึงไม่ได้ตรวจนับขณะได้รับจริงๆ ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ ก่อนมาพบภายหลังว่าไม่ครบตามจำนวน และบางส่วนยังชำรุดด้วย เมื่อพบปัญหาก็ได้ทำการโต้แย้งไปยังองค์การค้าของ สกสค. และก็มีผู้รับผิดชอบขององค์การค้าของ สกสค.ลงนามรับทราบว่า ส่งปกหนังสือไม่ครบจริงๆ โดยจะขอนำส่งเอกสารดังกล่าวให้กับ กมธ.ฯ เพื่อรปะกอบการพิจารณากรณีนี้
    .
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเอกสารที่ บจ.รุ่งศิลป์ฯ ยื่นเพิ่มเติมให้แก่ กมธ.ฯนั้น เป็นบันทึกข้อความที่ สำนักบริหารการผลิต ฝ่ายการผลิต องค์การค้าของ สกสค. ลงวันที่ 11 เม.ย.67 ลงนามโดย หัวหน้าฝ่ายการผลิต องค์การค้าของ สกสค. ทำถึง บจ.รุ่งศิลป์ฯ เรื่อง ขอยืนยันจะส่งปกเพิ่มให้ครบจำนวนสั่งผลิต โดยระบุข้อความตอนหนึ่งว่า ”ได้มีการตรวจนับปกแต่ละรายการ พบว่าจำนวนใบพิมพ์ในแต่ละพาเลทมีจำนวนน้อยกว่าในใบแจ้งสถานะ องค์การค้าฯ จึงขอแจ้งกับทางบริษัทฯ ว่า ทางองค์การค้าฯ จะติดตาม ประสานงาน นำปกที่ทางบริษัทฯ แจ้งขาดจำนวน ส่งเพิ่มให้ตามจำนวนที่ทางบริษัทฯ แจ้งมา”.
    ............
    Sondhi X
    ถกเดือดพิมพ์แบบเรียน สกสค. ส่อกีดกัน บ.รุ่งศิลป์ เสนอราคาต่ำสุด ไม่ได้สักรายการ . “กมธ.ป.ป.ช. สภาฯ” ถกเดือดโครงการพิมพ์แบบเรียนปี 68 งบฯพันล้าน “ก.บัญชีกลาง” จัดหนัก “องค์การค้าของ สกสค.” เจตนากีดกันแข่งขัน แถมส่อล็อกสเปกกระดาษ ส่อปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ทั้งที่เคยแจ้งว่าขัด กม.จัดซื้อฯ “รุ่งศิลป์ฯ” โอดไม่ได้งานแม้แต่รายการเดียว ทั้งที่เสนอราคาต่ำกว่าอื้อ “องค์การค้าฯ” ขยี้เหตุส่งหนังสือปี 67 ไม่ทัน จนถูกบอกเลิกสัญญา เจองัดหนังสือฝ่ายผลิต องค์การค้าฯ เซ็นยอมรับส่งปกไม่ครบสวน . เมื่อวันที่ 6 มี.ค.68 ที่อาคารรัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (กมธ.ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายฉลาด ขามช่วง สส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธาน กมธ.ป.ป.ช.เป็นประธานในที่ประชุม มีการพิจารณาเรื่องร้องเรียนขอให้ตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโครงการจ้างพิมพ์หนังสือแบบเรียนปีการศึกษา 2568 จำนวน 145 รายการ งบประมาณ 1,060 ล้านบาท ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (องค์การค้าของ สกสค.) ที่มีลักษณะกีดกันการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่ง บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1997) จำกัด (บจ.รุ่งศิลป์ฯ) ที่เป็นผู้ร่วมเสนอราคายื่นร้องเรียนต่อ กมธ.ฯ . ในการประชุมได้เชิญ ผู้แทน บจ.รุ่งศิลป์ฯ หรือโรงพิมพ์รุ่งศิลป์ ในฐานะผู้ร้อง, ผู้แทนองค์การค้าของ สกสค. ในฐานะผู้ถูกร้อง และผู้แทนจากหน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ในฐานะกำกับดูแลระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เข้าร่วมชี้แจง . นายธีรัจชัย พันธุมาศ สส.พรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธาน กมธ.ฯ คนที่ 1 ได้สอบถามถึงประเด็นที่ บจ.รุ่งศิลป์ฯ ได้ร้องเรียนว่า ในขอบเขตงาน (ทีโออาร์) ของโครงการฯ ทั้งครั้งที่เปิดประกวดราคาโดยวิธี e-bidding ซึ่งยกเลิกไปแล้ว และการประกวดราคาโดยวิธีคัดเลือก มีการระบุถึงคุณสมบัติผู้เข้าร่วมเสนอราคาว่า ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกองค์การค้าของ สกสค.บอกเลิกสัญญาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่ง บจ.รุ่งศิลป์ฯ ระบุว่า ถูก องค์การค้าของ สกสค.บอกเลิกสัญญาบางรายการของโครงการจ้างพิมพ์หนังสือแบบเรียนปีการศึกษา 2567 อย่างไม่เป็นธรรม และมีการเรียกร้องค่าเสียจากทางองค์การค้าของ สกสค. รวมทั้งคดีที่ฟ้องร้องต่อศาลปกครองก็ยังไม่สิ้นสุด จึงมองว่าเป็นการกีดกัน บจ.รุ่งศิลป์ฯ ในแข่งขันโครงการฯ ปี 2568 ซึ่ง บจ.รุ่งศิลป์ฯ ก็ได้ร้องเรียนไปยัง กรมบัญชีกลาง รวมถึงยื่นคำร้องต่อ ศาลปกครองกลาง และอยู่ระหว่างการไต่สวนด้วย . ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ชี้แจงว่า กรณีกีดกันนี้ บจ.รุ่งศิลป์ฯ ได้ร้องเรียนมายังกรมฯ 2 ครั้ง คือเมื่อวันที่ 2 ม.ค.68 ขณะมีการประกวดราคาโดยวิธี e-bidding ที่ได้ยกเลิกไปแล้ว ถือว่าคำร้องสิ้นสุด และเมื่อวันที่ 27 ก.พ.68 ช่วงประกวดราคาโดยวิธีการคัดเลือก ซึ่งอยู่ในระหว่างหาข้อมูลประกอบเพื่อพิจารณา จึงยังไม่ได้ตอบกลับข้อร้องเรียนกับทาง บจ.รุ่งศิลป์ฯ อย่างไรก็ตามเมื่อโครงการฯปี 2567 ทาง บจ.รุ่งศิลป์ฯ ก็เคยได้หารือในกรณีถูกกีดกันมาเช่นกัน กรมฯ ก็เคยตอบกลับแล้วว่า การกำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาว่า ต้องไม่เคยถูกบอกเลิกสัญญา หรือเคยทำให้หน่วยงานเสียหาย ไม่สามารถกำหนดในทีโออาร์ได้ เพราะขัดกับมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 (พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ) . “โดยหลักการ ไม่ว่าจะประกวดราคาด้วยวิธีการใด หากระบุในทีโออาร์เกี่ยวกับคุณสมบัติการถูกบอกเลิกสัญญา หรือทำให้หน่วยงานเสียหายในลักษณะนี้ ถือเป็นการกีดกันทั้งสิ้น ซึ่งกรมฯ ได้เคยตอบข้อหารือไปหมดแล้วว่าขัดกฎหมาย แต่หน่วยงานจะปรับแก้ไข หรือนำไปดำเนินการอย่างไร กรมฯ ไม่อาจรับรู้ได้ทุกรายการ แต่ยืนยันว่าการระบุคุณสมบัติเช่นนี้ไม่เป็นไปตามระเบียบและกฎหมาย” ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ระบุ . ถึงช่วงนี้ นายธีรัจชัย ที่ผลัดทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมกล่าวสรุปว่า “กรณีที่ กรมบัญชีกลาง มีความเห็น หรือเคยเตือนแล้วว่า ขัดต่อกฎหมาย แต่หน่วยงานยังดำเนินการต่ออีก ก็ถือว่าเจตนาที่จะกีดกัน เข้าข่ายการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ” ซึ่งในที่ประชุมไม่มีผู้คัดค้านถ้อยคำดังกล่าว . อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ ผู้แทนองค์การค้าของ สกสค. รวมถึงผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ยังไม่ได้รับเชิญเข้าห้องประชุม . นายนัทธพลพงศ์ จิวัจฉรานุกูล รองกรรมการผู้จัดการ บจ.รุ่งศิลป์ฯ กล่าวต่อประชุมเสริมว่า ในการประกวดราคาโครงการฯ ปี 2568 โดยวิธีการคัดเลือก บริษัทฯก็ได้เข้าร่วมเสนอราคาด้วย และหลังจากมีการประกาศผลการประกวดราคา ปรากฎว่า บริษัทฯ ไม่ได้รับการคัดเลือกแม้แต่รายการเดียว ทั้งที่มีอย่างน้อย 30 จาก 145 รายการ ที่บริษัทฯเสนอราคาต่ำกว่าผู้ชนะการประกวดราคาค่อนข้างมาก จึงเชื่อว่ามีการใช้เงื่อนไขที่ระบุในทีโออาร์ในเรื่องการถูกบอกเลิกสัญญา รวมถึงต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยทำให้ องค์การค้าของ สกสค.เสียหาย มากีดกันโดยตัดคะแนน หรือตัดคุณสมบัติบริษัทฯ อย่างไม่เป็นธรรม . “เรายังไม่ทราบเหตุผลที่แท้จริงว่า เหตุใดที่เราซึ่งเสนอราคาต่ำกว่าผู้ชนะในหลายรายการ แล้วแต่ละรายการก็ต่ำกว่าค่อนข้างมาก แต่กลับไม่ได้คัดเลือกเป็นผู้รับจ้างแม้แต่รายการเดียว เพราะประกาศของ องค์การค้าของ สกสค.มีเฉพาะรายชื่อผู้ชนะการประกวดราคา 145 รายการของโครงการฯ แต่ไม่ได้แนบแบบฟอร์มรายละเอียดการให้คะแนนแต่ละรายการตามที่ กรมบัญชีกลาง กำหนด อีกทั้งการประกวดราคาโดยการคัดเลือกครั้งนี้เลือกใช้ข้อ (ค.) ที่ใช้เหตุความจำเป็นเร่งด่วน ทำให้ไม่สามารถอุทธรณ์ผลการประกวดราคาได้ และทำได้เพียงร้องเรียนต่อ กรมบัญชีกลาง รวมถึงอาจจะยื่นฟ้องต่อศาลเท่านั้น“ นายนัทธพลพงศ์ กล่าว . นอกจากนี้ที่ประชุม กมธ.ฯ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การที่หน่วยงานใช้เกณฑ์การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (Price Performance) ในการประกวดราคาอาจเปิดช่องให้มีการกำหนดคุณสมบัติส่อไปในทางล็อกสเปกได้ โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความซับซ้อนทางเทคนิค อย่างโครงการจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนขององค์การค้าของ สกสค.ในช่วงหลัง ก็มีการกำหนดคุณสมบัติกระดาษ ที่มีข้อร้องเรียนว่า ไปตรงกับคุณสมบัติกระดาษของผู้นำเข้าเพียงรายเดียวในประเทศไทย . ผู้แทนกรมบัญชีกลาง กล่าวตอบว่า เป็นดุลพินิจของแต่ละหน่วยงานที่จะกำหนดใช้เกณฑ์ Price Performance หรือไม่ แต่เมื่อนำมาใช้ หน่วยงานต้องกำหนดเกณฑ์ให้ชัดเจนเพื่อให้มีการแข่งขันในด้านคุณภาพอย่างแท้จริง ซึ่งบางกรณี กรมบัญชีกลาง ก็ไม่อาจล่วงรู้ถึงเหตุผลความจำเป็นจริงๆ . “แต่ถ้าเป็นไปตามที่ กมธ.ระบุว่า กำหนดคุณสมบัติกระดาษแล้วไปตรงกับของรายใดรายหนึ่งในประเทศก็แบบนี้ถือว่า ล็อกสเปก เพราะตามกฎหมายต้องมีผู้ค้าอย่างน้อย 3 ราย” ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ระบุ . ขณะที่ ผู้แทนองค์การค้าของ สกสค.ซึ่งเข้าร่วมชี้แจงในช่วงท้าย ได้เน้นประเด็นคุณสมบัติของ บจ.รุ่งศิลป์ฯ ว่า ในการรับจ้างพิมพ์หนังสือแบบเรียนปี 2567 นั้น บจ.รุ่งศิลป์ฯ ส่งหนังสือบางรายการไม่ทันตามกำหนดโดยอ้างว่าได้รับปกหนังสือจากองค์การค้าฯ ไม่ครบ ตามกระบวนการ องค์การค้าฯ ก็จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญา และเรียกค่าเสียหายตามสัญญา เนื่องจากในความเป็นจริง องค์การค้าฯ ได้ส่งปกหนังสือให้ตามกำหนด และมีเกินจำนวนสำรองไปด้วย ทาง บจ.รุ่งศิลป์ฯ ก็ลงนามรับปกหนังสือไปเป็นที่เรียบร้อย แต่กลับทำหนังสือโต้แย้งหลังผ่านไปเกินกว่า 20 วันว่า ได้รับปกหนังสือไม่ครบ จึงไม่ถือเป็นความผิดพลาดองค์การค้าฯ แต่เป็นความไม่พร้อมของ บจ.รุ่งศิลป์ฯ เอง อีกทั้ง องค์การค้าฯ ก็ได้สั่งผลิตปกหนังสือเพิ่มกลับไปให้ เพราะต้องการหนังสือให้กับเด็กนักเรียนทันเปิดเทอม นอกจากนี้ บจ.รุ่งศิลป์ฯ ก็ได้ขอขยายระยะเวลาสัญญา เนื่องจากจัดส่งหนังสือได้ไม่ทันตามกำหนดด้วย . ด้าน ผู้แทน บจ.รุ่งศิลป์ฯ ชี้แจงว่า ปกหนังสือทั้งหมดตามรายการที่บริษัทฯ ได้รับว่าจ้างมีจำนวนมาก และแพ็คส่งมาในพาเลท มีการทยอยส่งมาเป็นระยะ คละกันหลายรายการ บริษัทฯ จึงไม่ได้ตรวจนับขณะได้รับจริงๆ ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ ก่อนมาพบภายหลังว่าไม่ครบตามจำนวน และบางส่วนยังชำรุดด้วย เมื่อพบปัญหาก็ได้ทำการโต้แย้งไปยังองค์การค้าของ สกสค. และก็มีผู้รับผิดชอบขององค์การค้าของ สกสค.ลงนามรับทราบว่า ส่งปกหนังสือไม่ครบจริงๆ โดยจะขอนำส่งเอกสารดังกล่าวให้กับ กมธ.ฯ เพื่อรปะกอบการพิจารณากรณีนี้ . ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเอกสารที่ บจ.รุ่งศิลป์ฯ ยื่นเพิ่มเติมให้แก่ กมธ.ฯนั้น เป็นบันทึกข้อความที่ สำนักบริหารการผลิต ฝ่ายการผลิต องค์การค้าของ สกสค. ลงวันที่ 11 เม.ย.67 ลงนามโดย หัวหน้าฝ่ายการผลิต องค์การค้าของ สกสค. ทำถึง บจ.รุ่งศิลป์ฯ เรื่อง ขอยืนยันจะส่งปกเพิ่มให้ครบจำนวนสั่งผลิต โดยระบุข้อความตอนหนึ่งว่า ”ได้มีการตรวจนับปกแต่ละรายการ พบว่าจำนวนใบพิมพ์ในแต่ละพาเลทมีจำนวนน้อยกว่าในใบแจ้งสถานะ องค์การค้าฯ จึงขอแจ้งกับทางบริษัทฯ ว่า ทางองค์การค้าฯ จะติดตาม ประสานงาน นำปกที่ทางบริษัทฯ แจ้งขาดจำนวน ส่งเพิ่มให้ตามจำนวนที่ทางบริษัทฯ แจ้งมา”. ............ Sondhi X
    Like
    Haha
    Angry
    15
    0 Comments 0 Shares 2351 Views 0 Reviews
  • "การรถไฟฯ" แถลงการณ์ยืนยัน ที่ดิน "เขากระโดง" เป็นกรรมสิทธิของ รฟท. ย้ำมีเอกสาร-ข้อมูล พร้อมยืนยัน
    ลั่นจะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ที่ดินดังกล่าว กลับมาเป็นของ รฟท. เพื่อรักษาสมบัติของแผ่นดิน

    การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แถลงการณ์จากกรณีที่มีผู้มาพาดพิง ตามที่มีการรายงานข่าวของสื่อมวลชนว่า นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ซึ่งกำกับดูแลกรมที่ดิน ได้นำอธิบดีกรมที่ดิน รองอธิบดีกรมที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สส.จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ พบกับราษฎรที่ครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อยืนยันสิทธิ์การครอบครองที่ดินของราษฎร และกล่าวพาดพิงถึง รฟท. ในทำนองว่า รฟท. จะไปก้าวล่วงสิทธิของประชาชนนั้น

    ทั้งนี้ รฟท. เห็นว่า การดำเนินการข้างต้น อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดของประชาชนต่อการดำเนินการของ รฟท. เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ดังนั้นจึงขอชี้แจงว่า รฟท. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ดินของ รฟท. จึงเป็นที่ดินของรัฐและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่ง รฟท. มีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนกิจการของกรมรถไฟ ดังนั้นบรรดาที่ดินและทรัพย์สินที่เคยเป็นของกรมรถไฟจึงโอนมาเป็นของ รฟท. ซึ่ง รฟท. มีหน้าที่ต้องดูแลที่ดินบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ และติดตามเอาที่ดินของ รฟท. ที่มีการยึดถือครอบครองและออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบให้กลับคืนมาเป็นของ รฟท. อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การดำเนินการของ รฟท. เพื่อทวงคืนที่ดินบริเวณเขากระโดง จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด

    ทั้งนี้ที่ดินบริเวณเขากระโดงได้รับการพิสูจน์และยืนยันผ่านกระบวนการทางศาล และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินประมาณ 5,000 ไร่เศษ บริเวณ ตำบลอิสาณ และ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิของ รฟท. พร้อมกันนี้ศาลปกครองได้วินิจฉัยโดยอ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองเรื่องข้างต้นแล้วสรุปว่าที่ดินบริเวณพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. นอกจากนี้ คำพิพากษาของศาลปกครองกลางยังระบุด้วยว่า กรมที่ดินมีหน้าที่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการรถไฟฯ ไม่จำต้องไปฟ้องต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาทุกแปลง

    ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของกรมที่ดินที่จะต้องดำเนินการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินของ รฟท. ซึ่งเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้ง ไม่ได้เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ส่วนกรณีที่มีคำถามว่า เหตุใด รฟท. จึงไม่ยื่นเอกสารแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินชุดเดียวกับที่ยื่นต่อศาลฎีกา ซึ่งแสดงถึงเขตที่ดินของการรถไฟฯ ที่ครบถ้วน และที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนของกรมที่ดินพิจารณานั้น ขอชี้แจงว่า รฟท. ยื่นเอกสารซึ่งแสดงถึงการได้มาของที่ดินรถไฟ รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้กับคณะกรรมการสอบสวนทั้งหมด และเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ยื่นต่อศาลยุติธรรมด้วย

    ทั้งนี้ปัญหาการออกเอกสารทับซ้อนที่ดินของ รฟท. นั้น หน่วยงานที่เป็นผู้ออกเอกสารสิทธิในที่ดิน คือ กรมที่ดินและสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินที่จะต้องแก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินทั้งหมด

    พร้อมขอขอยืนยันว่า สิทธิในความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของ รฟท. บริเวณแยกเขากระโดง อันเป็นที่ดินของรัฐ โดยจะดำเนินการทุกอย่างภายในกรอบของกฎหมาย เพื่อให้ที่ดินดังกล่าวกลับคืนมาเป็นที่ดินของ รฟท. เพื่อสงวนไว้เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอันเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนทุกคนต่อไป

    โดยการแก้ปัญหาที่ดินเขากระโดงไม่ใช่เรื่องยาก หากกรมที่ดินซึ่งเป็นผู้ออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินได้ร่วมมือกับ รฟท. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองกลาง และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีฝ่ายใดนำเอาปัญหาที่ดินเขากระโดง ไปเชื่อมโยงเพื่อเป็นประเด็นการเมือง เพียงหวังเรื่องคะแนนนิยมทางการเมือง เพราะจะทำให้การแก้ปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีก
    "การรถไฟฯ" แถลงการณ์ยืนยัน ที่ดิน "เขากระโดง" เป็นกรรมสิทธิของ รฟท. ย้ำมีเอกสาร-ข้อมูล พร้อมยืนยัน ลั่นจะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ที่ดินดังกล่าว กลับมาเป็นของ รฟท. เพื่อรักษาสมบัติของแผ่นดิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แถลงการณ์จากกรณีที่มีผู้มาพาดพิง ตามที่มีการรายงานข่าวของสื่อมวลชนว่า นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ซึ่งกำกับดูแลกรมที่ดิน ได้นำอธิบดีกรมที่ดิน รองอธิบดีกรมที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สส.จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ พบกับราษฎรที่ครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อยืนยันสิทธิ์การครอบครองที่ดินของราษฎร และกล่าวพาดพิงถึง รฟท. ในทำนองว่า รฟท. จะไปก้าวล่วงสิทธิของประชาชนนั้น ทั้งนี้ รฟท. เห็นว่า การดำเนินการข้างต้น อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดของประชาชนต่อการดำเนินการของ รฟท. เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ดังนั้นจึงขอชี้แจงว่า รฟท. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ดินของ รฟท. จึงเป็นที่ดินของรัฐและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่ง รฟท. มีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนกิจการของกรมรถไฟ ดังนั้นบรรดาที่ดินและทรัพย์สินที่เคยเป็นของกรมรถไฟจึงโอนมาเป็นของ รฟท. ซึ่ง รฟท. มีหน้าที่ต้องดูแลที่ดินบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ และติดตามเอาที่ดินของ รฟท. ที่มีการยึดถือครอบครองและออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบให้กลับคืนมาเป็นของ รฟท. อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การดำเนินการของ รฟท. เพื่อทวงคืนที่ดินบริเวณเขากระโดง จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด ทั้งนี้ที่ดินบริเวณเขากระโดงได้รับการพิสูจน์และยืนยันผ่านกระบวนการทางศาล และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินประมาณ 5,000 ไร่เศษ บริเวณ ตำบลอิสาณ และ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิของ รฟท. พร้อมกันนี้ศาลปกครองได้วินิจฉัยโดยอ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองเรื่องข้างต้นแล้วสรุปว่าที่ดินบริเวณพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. นอกจากนี้ คำพิพากษาของศาลปกครองกลางยังระบุด้วยว่า กรมที่ดินมีหน้าที่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการรถไฟฯ ไม่จำต้องไปฟ้องต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาทุกแปลง ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของกรมที่ดินที่จะต้องดำเนินการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินของ รฟท. ซึ่งเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้ง ไม่ได้เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ส่วนกรณีที่มีคำถามว่า เหตุใด รฟท. จึงไม่ยื่นเอกสารแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินชุดเดียวกับที่ยื่นต่อศาลฎีกา ซึ่งแสดงถึงเขตที่ดินของการรถไฟฯ ที่ครบถ้วน และที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนของกรมที่ดินพิจารณานั้น ขอชี้แจงว่า รฟท. ยื่นเอกสารซึ่งแสดงถึงการได้มาของที่ดินรถไฟ รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้กับคณะกรรมการสอบสวนทั้งหมด และเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ยื่นต่อศาลยุติธรรมด้วย ทั้งนี้ปัญหาการออกเอกสารทับซ้อนที่ดินของ รฟท. นั้น หน่วยงานที่เป็นผู้ออกเอกสารสิทธิในที่ดิน คือ กรมที่ดินและสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินที่จะต้องแก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินทั้งหมด พร้อมขอขอยืนยันว่า สิทธิในความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของ รฟท. บริเวณแยกเขากระโดง อันเป็นที่ดินของรัฐ โดยจะดำเนินการทุกอย่างภายในกรอบของกฎหมาย เพื่อให้ที่ดินดังกล่าวกลับคืนมาเป็นที่ดินของ รฟท. เพื่อสงวนไว้เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอันเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนทุกคนต่อไป โดยการแก้ปัญหาที่ดินเขากระโดงไม่ใช่เรื่องยาก หากกรมที่ดินซึ่งเป็นผู้ออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินได้ร่วมมือกับ รฟท. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองกลาง และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีฝ่ายใดนำเอาปัญหาที่ดินเขากระโดง ไปเชื่อมโยงเพื่อเป็นประเด็นการเมือง เพียงหวังเรื่องคะแนนนิยมทางการเมือง เพราะจะทำให้การแก้ปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีก
    Like
    Love
    3
    1 Comments 1 Shares 654 Views 0 Reviews
  • 20 ธันวาคม 2567-รายงานข่าวNBT Connext ระบุว่าศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา คดีค้างค่าปรับใบสั่งจราจร สั่งกรมการขนส่งทางบกให้ต่อภาษีประจำปีได้ และต้องได้ป้ายหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ชี้ข้อตกลงที่ทำกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการของพระราชบัญญัติการจราจรทางบก ชี้ หลักการชำระภาษีรถเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวรถ แต่การทำผิดกฎจราจรเป็นเรื่องของบุคคล การนำสองเรื่องมาเชื่อมโยงกันจึงไม่ถูกต้อง เป็นการบังคับทางอ้อมให้เจ้าของรถต้องยินยอมชำระค่าปรับ

    20 ธันวาคม 2567-รายงานข่าวNBT Connext ระบุว่าศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา คดีค้างค่าปรับใบสั่งจราจร สั่งกรมการขนส่งทางบกให้ต่อภาษีประจำปีได้ และต้องได้ป้ายหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ชี้ข้อตกลงที่ทำกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการของพระราชบัญญัติการจราจรทางบก ชี้ หลักการชำระภาษีรถเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวรถ แต่การทำผิดกฎจราจรเป็นเรื่องของบุคคล การนำสองเรื่องมาเชื่อมโยงกันจึงไม่ถูกต้อง เป็นการบังคับทางอ้อมให้เจ้าของรถต้องยินยอมชำระค่าปรับ
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 387 Views 0 Reviews
  • ศาล ปค.สั่งเจ้าหน้าที่ขนส่ง จตุจักร ออกป้ายกำกับการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ให้ผู้ค้างค่าปรับรายหนึ่งที่ขับรถเร็วบนทางด่วนบูรพาวิถี พร้อมให้จ่ายสินไหมทดแทนอีก 3,151 บาท เหตุเจ้าพนักงานจราจร ไม่ทำหนังสือแจ้งผู้ขับขี่ ถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้ครบถ้วน จนท.ขนส่งฯ จึงไม่มีอำนาจชะลอการออกป้ายวงกลม

    วันนี้ (20 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ลงวันที่ 18 ธ.ค.2567 พิพากษาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับชำระค่าภาษีรถยนต์สำนักงานขนส่งกรุงเทพฯพื้นที่ 5 (จตุจักร) ในฐานะนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปี พ.ศ. 2568 ให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ ภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้กรมขนส่งทางบก ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ เป็นเงินจำนวน 3,151.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 7 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ตามที่ นายอำนาจ แก้วประสงค์ ยื่นฟ้องกล่าวหาว่า กรมการขนส่งทางบก อธิบดีกรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ฝ่ายทะเบียนสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ในการปฏิเสธไม่ออกป้ายภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) ให้ โดยอ้างว่า นายอำนาจยังค้างชำระค่าปรับจากการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร

    ศาลปกครองให้เหตุผลว่า แม้จะเป็นความจริงว่า ระหว่างกรใขนส่งทางบก กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับกรมการขนส่งทางบก ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 8 ก.พ.2566 และในการปฏิบัติงานด้านจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในแต่ละขั้นตอนต่างๆ เรียกว่า "ระบบบริหารจัดการใบสั่ง"

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000122270

    #MGROnline #ศาลปกครองกลาง #ระบบบริหารจัดการใบสั่ง
    ศาล ปค.สั่งเจ้าหน้าที่ขนส่ง จตุจักร ออกป้ายกำกับการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ให้ผู้ค้างค่าปรับรายหนึ่งที่ขับรถเร็วบนทางด่วนบูรพาวิถี พร้อมให้จ่ายสินไหมทดแทนอีก 3,151 บาท เหตุเจ้าพนักงานจราจร ไม่ทำหนังสือแจ้งผู้ขับขี่ ถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้ครบถ้วน จนท.ขนส่งฯ จึงไม่มีอำนาจชะลอการออกป้ายวงกลม • วันนี้ (20 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ลงวันที่ 18 ธ.ค.2567 พิพากษาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับชำระค่าภาษีรถยนต์สำนักงานขนส่งกรุงเทพฯพื้นที่ 5 (จตุจักร) ในฐานะนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปี พ.ศ. 2568 ให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ ภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้กรมขนส่งทางบก ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ เป็นเงินจำนวน 3,151.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 7 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ตามที่ นายอำนาจ แก้วประสงค์ ยื่นฟ้องกล่าวหาว่า กรมการขนส่งทางบก อธิบดีกรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ฝ่ายทะเบียนสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ในการปฏิเสธไม่ออกป้ายภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) ให้ โดยอ้างว่า นายอำนาจยังค้างชำระค่าปรับจากการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร • ศาลปกครองให้เหตุผลว่า แม้จะเป็นความจริงว่า ระหว่างกรใขนส่งทางบก กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับกรมการขนส่งทางบก ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 8 ก.พ.2566 และในการปฏิบัติงานด้านจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในแต่ละขั้นตอนต่างๆ เรียกว่า "ระบบบริหารจัดการใบสั่ง" • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000122270 • #MGROnline #ศาลปกครองกลาง #ระบบบริหารจัดการใบสั่ง
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 660 Views 0 Reviews
  • “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด
    .
    ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้
    .
    คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ"
    .
    ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ
    .
    แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    .
    แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้
    .
    ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้
    .
    สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด . ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้ . คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ" . ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ . แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย . แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้ . ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้ . สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    Like
    Angry
    Love
    Sad
    23
    1 Comments 0 Shares 1771 Views 0 Reviews
  • “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด
    .
    ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้
    .
    คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ"
    .
    ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ
    .
    แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    .
    แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้
    .
    ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้
    .
    สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด . ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้ . คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ" . ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ . แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย . แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้ . ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้ . สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    Like
    Angry
    19
    0 Comments 0 Shares 1748 Views 1 Reviews
  • ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดถกเครียด ปมคดี ‘บิ๊กโจ๊ก’ ขอคืนตำแหน่งหลังกระแสข่าวองค์คณะฯ ชุดเล็กมีมติเห็นว่าคำสั่งให้ออกจากราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

    วันนี้( 13 พ.ย.) ที่ศาลปกครองกลาง ถนนเเจ้งวัฒนะ ตั้งแต่เวลา 09.30น. นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยมีรายงานว่าจะมีการนำประเด็นข้อกฎหมายในคดีหมายเลขดำที่ ฟ.117/2567 ที่ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรอง ผบ.ตร. ยื่นฟ้อง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.), นายกรัฐมนตรีเป็น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 เมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมาเข้สพิจารณา

    ซึ่งปรากฏว่าตั้งแต่เช้ามีผู้สื่อข่าวมาติดตามผลการประชุมจำนวนมาก

    โดยเจ้าหน้าที่ศาลปกครอง เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมใหญ่ของตุลาการศาลปกครองสูงสุดและเป็นการประชุมภายใน มีตุลาการศาลปกครองสูงสุดเข้าร่วม 40-50 คน โดยวาระที่จะพิจารณาในวันนี้มี 4-5 วาระ เป็นความลับที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000109260

    #MGROnline #ศาลปกครอง #บิ๊กโจ๊ก #ขอคืนตำแหน่ง
    ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดถกเครียด ปมคดี ‘บิ๊กโจ๊ก’ ขอคืนตำแหน่งหลังกระแสข่าวองค์คณะฯ ชุดเล็กมีมติเห็นว่าคำสั่งให้ออกจากราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย • วันนี้( 13 พ.ย.) ที่ศาลปกครองกลาง ถนนเเจ้งวัฒนะ ตั้งแต่เวลา 09.30น. นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยมีรายงานว่าจะมีการนำประเด็นข้อกฎหมายในคดีหมายเลขดำที่ ฟ.117/2567 ที่ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรอง ผบ.ตร. ยื่นฟ้อง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.), นายกรัฐมนตรีเป็น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 เมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมาเข้สพิจารณา • ซึ่งปรากฏว่าตั้งแต่เช้ามีผู้สื่อข่าวมาติดตามผลการประชุมจำนวนมาก • โดยเจ้าหน้าที่ศาลปกครอง เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมใหญ่ของตุลาการศาลปกครองสูงสุดและเป็นการประชุมภายใน มีตุลาการศาลปกครองสูงสุดเข้าร่วม 40-50 คน โดยวาระที่จะพิจารณาในวันนี้มี 4-5 วาระ เป็นความลับที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000109260 • #MGROnline #ศาลปกครอง #บิ๊กโจ๊ก #ขอคืนตำแหน่ง
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 742 Views 0 Reviews
  • ศาลปกครองกลาง ตอกตะปูปิดฝาโจ๊ก สะเทือนถึงไอ้ตั้ม นั่งน้ำตารินในซังเต เพราะไร้ที่พึ่งสุดท้ายจะมาช่วยให้พ้นผิด
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    ศาลปกครองกลาง ตอกตะปูปิดฝาโจ๊ก สะเทือนถึงไอ้ตั้ม นั่งน้ำตารินในซังเต เพราะไร้ที่พึ่งสุดท้ายจะมาช่วยให้พ้นผิด #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Like
    Haha
    2
    0 Comments 0 Shares 527 Views 0 Reviews
  • จากหมาตื่นเป็นหมาหงอย หลังศาลปกครองกลางลงติชี้ขาดยกคำร้องบิ๊กโจ๊ก อดกลับสตช.
    #7คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    จากหมาตื่นเป็นหมาหงอย หลังศาลปกครองกลางลงติชี้ขาดยกคำร้องบิ๊กโจ๊ก อดกลับสตช. #7คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Like
    Haha
    8
    1 Comments 0 Shares 659 Views 0 Reviews
  • เขาบอกว่า หากใครมีประเด็นก็ไปฟ้องศาล พื้นที่เขากระโดงมีพื้นที่กว่า 5 พันไร่ เท่าที่ทราบตระกูลชิดชอบมีอยู่ 300 ไร่ แล้วอีก 4,700 ไร่ จะผิดแค่ 300 ไร่ได้อย่างไร หากเป็นอย่างนั้นก็ไปพิสูจน์เอา ไม่เกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่อำนาจในการเพิกถอนหรืออนุญาต อยากจะยุ่งก็ยุ่งไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจ

    ด้านนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่ายังมีรายละเอียดอีกเยอะที่หลายคนไม่รู้ ซึ่ง รฟท.หรือประชาชนเองต้องทำการพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน ตนไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ให้ลองคิดดูว่าในประเทศไทยมีพื้นที่ใดที่กันรางรถไฟออกไป 1 กิโลเมตร ตรงไหนบ้างที่ไม่ใช่ชุมทาง แต่เป็นสถานีใหญ่ๆ มีหรือไม่ หากมี มีที่ไหนบ้างช่วยตอบหน่อย แล้วทำไมต้องเป็นแค่พื้นที่ตรงนี้ รฟท.จะเอาที่ดินไปทำอะไร

    เขาบอกว่า โดยส่วนตัวได้ติดตามเรื่องนี้มาพอสมควร และมองว่าน่าจะมีแผนที่บางตอนที่หายไป ซึ่งแผนที่ที่นำมาแสดงตนดูแล้วมีคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ 500 เมตร ซึ่งมองว่าน่าจะมีความขัดแย้งกัน แต่ทั้งนี้เราได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 ซึ่งได้มีการพิจารณาไปแล้วว่า กรมที่ดินยังไม่ได้เพิกถอนโฉนดพื้นที่เขากระโดง แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ์การรถไฟฯ แต่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เพราะการรถไฟฯ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่จะทำให้คณะกรรมการสามารถเพิกถอนได้ ครั้งนี้ก็เป็นสิทธิ์ของการรถไฟฯ ที่จะไปฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป

    เมื่อถามว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ก็ระบุว่าพื้นที่เขากระโดงต้องเป็นของการรถไฟฯ เพราะถือว่าคำตัดสินของศาลฎีกาเป็นที่สิ้นสุด รมช.มหาดไทยตอบว่า ส่วนตัวมองว่าคำพิพากษาของศาลฎีกา หากอ่านดีๆ จะพบว่ามีฎีกาทับฎีกาอยู่เสมอ ในโอกาสที่จะมีหลักฐานใหม่เข้ามา เพื่อให้เกิดความรอบคอบและความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน

    เมื่อถามถึงข้อกังขาว่า หนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบเป็นคนในกลุ่มเพื่อนเนวิน นายทรงศักดิ์กล่าวว่า คิดมากไป ทุกคนที่มาเป็นคณะกรรมการก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว หากการทำหน้าที่ทำอะไรผิดไปและมีคนติดใจ ก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย จะไปมองว่าคนนั้นคนนี้เป็นใครไม่ได้ เพราะการทำงานของแต่ละคนก็มีบรรทัดฐานตามกรอบอยู่แล้ว

    ซักว่า ในพื้นที่เขากระโดงปรากฏว่ามีการถือครองที่ดินจากคนในตระกูลชิดชอบอยู่กว่า 20 แปลง ได้มีการตรวจสอบอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ นายทรงศักดิ์กล่าวว่า การได้มาของที่ดินเขากระโดงก็ได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้สิทธิ์ตามกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของกระบวนการ จะจำกัดว่าตระกูลหนึ่ง จะไม่มีสิทธิ์ไปครอบครองที่ดินเลยก็คงไม่ได้ มีกฎหมายตรงไหนที่ห้ามตระกูลหนึ่งเข้าไปถือสิทธิที่ดินตามกฎหมาย มีหรือไม่ มันไม่มี เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน

    ขณะที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจง งานในส่วนของกรมที่ดินว่าทำอยู่ 3 ส่วน โดยส่วนแรกทำตามคำสั่งศาลปกครอง ส่วนที่สองทำตามข้อกฎหมาย ไม่มีส่วนใดใช้เรื่องดุลยพินิจ และส่วนที่สามทำไปตามข้อเท็จจริงที่มีพยานหลักฐานและกฎหมายที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นทุกอย่างสามารถตรวจสอบในเรื่องการดำเนินการได้

    เมื่อถามต่อว่า ผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทยอยู่ในพรรคภูมิใจไทย จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นการฟอกขาว อธิบดีกรมที่ดินยืนยันว่า กระบวนการที่ดำเนินมาทำตั้งแต่ก่อนที่นายอนุทินจะเข้ามา การตั้งคณะกรรมการมีการตั้งก่อน และการหาเอกสารพยานหลักฐานในการดำเนินการก็ทำมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ตนจึงยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามคำสั่งศาลปกครอง ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

    อย่างไรก็ตาม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้มีความสำคัญ หากเป็นที่ดินของ รฟท.แม้กระทั่งตารางวาก็จะเสียไปไม่ได้ จึงให้ รฟท.ไปเช็กดู ซึ่งได้รับรายงานว่าวันที่ 10 พ.ย.นี้ รฟท.ได้ยื่นขอต่อศาลปกครองกลาง แจ้งว่าอธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน ขอให้ศาลปกครองพิจารณาหรือไต่สวนกำหนดวิธีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในการร่วมกันชี้แนวเขตที่ดินของ รฟท. และให้พิจารณามีคำสั่งในประเด็นต่างๆ ต่อไป ซึ่งผู้ว่าฯ รฟท.ได้ทำหนังสือถึงกรมที่ดินเพื่อยื่นคัดค้านหนังสือของอธิบดีกรมที่ดิน ตามมาตรา 44 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง ซึ่งในนั้นระบุว่าเราต้องยื่นภายใน 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 12 พ.ย. และเราส่งไปเรียบร้อยแล้ววันที่ 11 พ.ย. รฟท.รู้กฎหมายอยู่ จะไปหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินกว่า 900 แปลง ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ยังมีเวลา ยืนยันว่าจะดูให้รอบคอบ

    ถามว่า เรื่องนี้เรื้อรังมานานจะเคลียร์ให้จบภายในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ รมว.คมนาคมตอบว่า เรื่องนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มันไม่ช้าอยู่แล้ว

    ซักว่า จำเป็นต้องพูดคุยกับนายอนุทินหรือไม่ นายสุริยะชี้แจงว่า เป็นระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ เมื่อกรมที่ดินบอกว่าเป็นที่ของเขา ไม่ได้เป็นที่ของ รฟท. เพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ รฟท.เชื่อว่ามีหลักฐานเพียงพอ ก็ได้ดำเนินการไป

    เมื่อถามว่า มีการมองว่าที่ดินหลายแปลงในเขากระโดงเป็นของตระกูลชิดชอบ นายสุริยะกล่าวว่า ไม่อยากให้เรื่องขยายเป็นประเด็นการเมือง อยากให้ว่าไปตามกระบวนการ หรือ รฟท.เห็นว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไรเมื่ออธิบดีกรมที่ดินชี้มาแบบนี้ รฟท.เห็นว่าไม่ใช่ก็ต้องพยายามรักษาสิทธิ์ของ รฟท.ไว้

    "คิดว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติตามกฎหมาย อย่าไปมองว่าใครอยู่พรรคไหนหรือมีความขัดแย้งกัน" รมว.คมนาคมกล่าว.

    ที่มา https://www.thaipost.net/one-newspaper/688793/

    #Thaitimes
    เขาบอกว่า หากใครมีประเด็นก็ไปฟ้องศาล พื้นที่เขากระโดงมีพื้นที่กว่า 5 พันไร่ เท่าที่ทราบตระกูลชิดชอบมีอยู่ 300 ไร่ แล้วอีก 4,700 ไร่ จะผิดแค่ 300 ไร่ได้อย่างไร หากเป็นอย่างนั้นก็ไปพิสูจน์เอา ไม่เกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่อำนาจในการเพิกถอนหรืออนุญาต อยากจะยุ่งก็ยุ่งไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจ ด้านนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่ายังมีรายละเอียดอีกเยอะที่หลายคนไม่รู้ ซึ่ง รฟท.หรือประชาชนเองต้องทำการพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน ตนไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ให้ลองคิดดูว่าในประเทศไทยมีพื้นที่ใดที่กันรางรถไฟออกไป 1 กิโลเมตร ตรงไหนบ้างที่ไม่ใช่ชุมทาง แต่เป็นสถานีใหญ่ๆ มีหรือไม่ หากมี มีที่ไหนบ้างช่วยตอบหน่อย แล้วทำไมต้องเป็นแค่พื้นที่ตรงนี้ รฟท.จะเอาที่ดินไปทำอะไร เขาบอกว่า โดยส่วนตัวได้ติดตามเรื่องนี้มาพอสมควร และมองว่าน่าจะมีแผนที่บางตอนที่หายไป ซึ่งแผนที่ที่นำมาแสดงตนดูแล้วมีคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ 500 เมตร ซึ่งมองว่าน่าจะมีความขัดแย้งกัน แต่ทั้งนี้เราได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 ซึ่งได้มีการพิจารณาไปแล้วว่า กรมที่ดินยังไม่ได้เพิกถอนโฉนดพื้นที่เขากระโดง แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ์การรถไฟฯ แต่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เพราะการรถไฟฯ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่จะทำให้คณะกรรมการสามารถเพิกถอนได้ ครั้งนี้ก็เป็นสิทธิ์ของการรถไฟฯ ที่จะไปฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป เมื่อถามว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ก็ระบุว่าพื้นที่เขากระโดงต้องเป็นของการรถไฟฯ เพราะถือว่าคำตัดสินของศาลฎีกาเป็นที่สิ้นสุด รมช.มหาดไทยตอบว่า ส่วนตัวมองว่าคำพิพากษาของศาลฎีกา หากอ่านดีๆ จะพบว่ามีฎีกาทับฎีกาอยู่เสมอ ในโอกาสที่จะมีหลักฐานใหม่เข้ามา เพื่อให้เกิดความรอบคอบและความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน เมื่อถามถึงข้อกังขาว่า หนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบเป็นคนในกลุ่มเพื่อนเนวิน นายทรงศักดิ์กล่าวว่า คิดมากไป ทุกคนที่มาเป็นคณะกรรมการก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว หากการทำหน้าที่ทำอะไรผิดไปและมีคนติดใจ ก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย จะไปมองว่าคนนั้นคนนี้เป็นใครไม่ได้ เพราะการทำงานของแต่ละคนก็มีบรรทัดฐานตามกรอบอยู่แล้ว ซักว่า ในพื้นที่เขากระโดงปรากฏว่ามีการถือครองที่ดินจากคนในตระกูลชิดชอบอยู่กว่า 20 แปลง ได้มีการตรวจสอบอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ นายทรงศักดิ์กล่าวว่า การได้มาของที่ดินเขากระโดงก็ได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้สิทธิ์ตามกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของกระบวนการ จะจำกัดว่าตระกูลหนึ่ง จะไม่มีสิทธิ์ไปครอบครองที่ดินเลยก็คงไม่ได้ มีกฎหมายตรงไหนที่ห้ามตระกูลหนึ่งเข้าไปถือสิทธิที่ดินตามกฎหมาย มีหรือไม่ มันไม่มี เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน ขณะที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจง งานในส่วนของกรมที่ดินว่าทำอยู่ 3 ส่วน โดยส่วนแรกทำตามคำสั่งศาลปกครอง ส่วนที่สองทำตามข้อกฎหมาย ไม่มีส่วนใดใช้เรื่องดุลยพินิจ และส่วนที่สามทำไปตามข้อเท็จจริงที่มีพยานหลักฐานและกฎหมายที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นทุกอย่างสามารถตรวจสอบในเรื่องการดำเนินการได้ เมื่อถามต่อว่า ผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทยอยู่ในพรรคภูมิใจไทย จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นการฟอกขาว อธิบดีกรมที่ดินยืนยันว่า กระบวนการที่ดำเนินมาทำตั้งแต่ก่อนที่นายอนุทินจะเข้ามา การตั้งคณะกรรมการมีการตั้งก่อน และการหาเอกสารพยานหลักฐานในการดำเนินการก็ทำมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ตนจึงยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามคำสั่งศาลปกครอง ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้มีความสำคัญ หากเป็นที่ดินของ รฟท.แม้กระทั่งตารางวาก็จะเสียไปไม่ได้ จึงให้ รฟท.ไปเช็กดู ซึ่งได้รับรายงานว่าวันที่ 10 พ.ย.นี้ รฟท.ได้ยื่นขอต่อศาลปกครองกลาง แจ้งว่าอธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน ขอให้ศาลปกครองพิจารณาหรือไต่สวนกำหนดวิธีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในการร่วมกันชี้แนวเขตที่ดินของ รฟท. และให้พิจารณามีคำสั่งในประเด็นต่างๆ ต่อไป ซึ่งผู้ว่าฯ รฟท.ได้ทำหนังสือถึงกรมที่ดินเพื่อยื่นคัดค้านหนังสือของอธิบดีกรมที่ดิน ตามมาตรา 44 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง ซึ่งในนั้นระบุว่าเราต้องยื่นภายใน 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 12 พ.ย. และเราส่งไปเรียบร้อยแล้ววันที่ 11 พ.ย. รฟท.รู้กฎหมายอยู่ จะไปหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินกว่า 900 แปลง ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ยังมีเวลา ยืนยันว่าจะดูให้รอบคอบ ถามว่า เรื่องนี้เรื้อรังมานานจะเคลียร์ให้จบภายในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ รมว.คมนาคมตอบว่า เรื่องนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มันไม่ช้าอยู่แล้ว ซักว่า จำเป็นต้องพูดคุยกับนายอนุทินหรือไม่ นายสุริยะชี้แจงว่า เป็นระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ เมื่อกรมที่ดินบอกว่าเป็นที่ของเขา ไม่ได้เป็นที่ของ รฟท. เพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ รฟท.เชื่อว่ามีหลักฐานเพียงพอ ก็ได้ดำเนินการไป เมื่อถามว่า มีการมองว่าที่ดินหลายแปลงในเขากระโดงเป็นของตระกูลชิดชอบ นายสุริยะกล่าวว่า ไม่อยากให้เรื่องขยายเป็นประเด็นการเมือง อยากให้ว่าไปตามกระบวนการ หรือ รฟท.เห็นว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไรเมื่ออธิบดีกรมที่ดินชี้มาแบบนี้ รฟท.เห็นว่าไม่ใช่ก็ต้องพยายามรักษาสิทธิ์ของ รฟท.ไว้ "คิดว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติตามกฎหมาย อย่าไปมองว่าใครอยู่พรรคไหนหรือมีความขัดแย้งกัน" รมว.คมนาคมกล่าว. ที่มา https://www.thaipost.net/one-newspaper/688793/ #Thaitimes
    WWW.THAIPOST.NET
    มท.ปัดเอื้อที่ดินเขากระโดง ‘สุริยะ’ลั่นรฟท.ไม่ยอมแน่!
    "อนุทิน" ยัน “คดีเขากระโดง” ไม่มีแทรกแซง ไม่มีช่วยเพื่อน ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย
    Sad
    2
    0 Comments 0 Shares 1116 Views 0 Reviews
  • ตำนานยุคทักษิณ ใบสั่งปปง.สอบสื่อฯ

    การเสียชีวิตของสื่อมวลชนอาวุโส โสภณ องค์การณ์ มีเรื่องเล่าขานบนเส้นทางน้ำหมึก ในยุคที่ยังไม่มีสื่อโซเชียลฯ มีเพียงหนังสือพิมพ์ทำหน้าที่หมาเฝ้าบ้าน สะท้อนความเป็นไปของบ้านเมือง ย้อนกลับไปในยุครัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ปี 2544-2549 เสรีภาพสื่อมวลชนถูกกดดันจากโฆษณา สื่อไหนเชียร์รัฐบาลก็จะมีงบโฆษณาให้อย่างน้อย 20 ล้านบาท แต่ถ้าสื่อไหนวิจารณ์รัฐบาลก็จะถูกแทรกแซงต่างๆ นานา ตามไปกดดันนายทุนหนังสือพิมพ์ให้ปลดคอลัมนิสต์ หากไม่ทำตามก็จะสั่งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจถอนโฆษณาให้หมด

    ปี 2545 มีการตีแผ่เอกสารที่ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ ขณะเป็นผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศและติดตามประเมินผล สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ออกคำสั่งลงวันที่ 25 ก.พ. 2545 ให้ธนาคารแจ้งข้อมูลรายการฝาก-ถอนเงินและยอดคงเหลือในบัญชีของบุคคลและนิติบุคคล 35 ราย และครอบครัว หนึ่งในนั้นคือสื่อมวลชนที่วิจารณ์รัฐบาลทักษิณ ได้แก่ เครือเนชั่น นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น นายเทพชัย หย่อง นายโสภณ องค์การณ์ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ นายโรจน์ งามแม้น (เปลว สีเงิน) นายวารินทร์ พูนศิริวงศ์ ผู้บริหารหนังสือพิมพ์แนวหน้า

    คำสั่งดังกล่าวเป็นที่วิจารณ์ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ผอ.ศูนย์สารสนเทศฯ ไม่มีอำนาจออกคำสั่ง และถ้าตรวจสอบต้องปรากฏว่ามีการทำความผิดอาญาใน 7 ความผิดมูลฐาน แม้นายทักษิณปฎิเสธว่าไม่มีการตรวจสอบทรัพย์สินสื่อมวลชนและครอบครัว แต่ก็มีรายงานว่า คนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งการ

    ต่อมานายสุทธิชัย นายเทพชัย และนายโสภณ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2545 ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งตรวจสอบข้อมูลธุรกรรม พร้อมขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว กระทั่งวันที่ 14 มี.ค. 2545 ศาลปกครองกลางออกคำสั่งทุเลาให้ยุติการตรวจสอบธุรกรรมการเงิน จนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่น โดยสำนวนคดีพบว่าในการไต่สวน พ.ต.อ.สีหนาท อ้างว่าได้รับการร้องเรียนจากบุคคลภายนอกเพราะสงสัยว่าจะฟอกเงิน แต่ศาลเห็นว่าเป็นบัตรสนเท่ห์ เชื่อถือไม่ได้ ซ้ำร้ายผู้ใช้อำนาจตามกฎหมายอาจทำขึ้นมาเองเพื่อคุกคามสิทธิเสรีภาพ

    อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2545 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้จำหน่ายคดี เนื่องจาก ป.ป.ง.มีหนังสือแจ้งต่อศาลว่าสั่งยุติการตรวจสอบกับธนาคารพาณิชย์แล้ว ขณะที่ พ.ต.อ.สีหนาท แก้เกมให้ พ.ต.อ.ยุทธบูล ดิสสะมาน แจ้งความดำเนินคดีบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เดอะเนชั่น และคมชัดลึก ข้อหาเผยความลับของทางราชการ แต่อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษสั่งไม่ฟ้อง

    #Newskit #ทักษิณชินวัตร #สื่อมวลชน
    ตำนานยุคทักษิณ ใบสั่งปปง.สอบสื่อฯ การเสียชีวิตของสื่อมวลชนอาวุโส โสภณ องค์การณ์ มีเรื่องเล่าขานบนเส้นทางน้ำหมึก ในยุคที่ยังไม่มีสื่อโซเชียลฯ มีเพียงหนังสือพิมพ์ทำหน้าที่หมาเฝ้าบ้าน สะท้อนความเป็นไปของบ้านเมือง ย้อนกลับไปในยุครัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ปี 2544-2549 เสรีภาพสื่อมวลชนถูกกดดันจากโฆษณา สื่อไหนเชียร์รัฐบาลก็จะมีงบโฆษณาให้อย่างน้อย 20 ล้านบาท แต่ถ้าสื่อไหนวิจารณ์รัฐบาลก็จะถูกแทรกแซงต่างๆ นานา ตามไปกดดันนายทุนหนังสือพิมพ์ให้ปลดคอลัมนิสต์ หากไม่ทำตามก็จะสั่งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจถอนโฆษณาให้หมด ปี 2545 มีการตีแผ่เอกสารที่ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ ขณะเป็นผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศและติดตามประเมินผล สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ออกคำสั่งลงวันที่ 25 ก.พ. 2545 ให้ธนาคารแจ้งข้อมูลรายการฝาก-ถอนเงินและยอดคงเหลือในบัญชีของบุคคลและนิติบุคคล 35 ราย และครอบครัว หนึ่งในนั้นคือสื่อมวลชนที่วิจารณ์รัฐบาลทักษิณ ได้แก่ เครือเนชั่น นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น นายเทพชัย หย่อง นายโสภณ องค์การณ์ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ นายโรจน์ งามแม้น (เปลว สีเงิน) นายวารินทร์ พูนศิริวงศ์ ผู้บริหารหนังสือพิมพ์แนวหน้า คำสั่งดังกล่าวเป็นที่วิจารณ์ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ผอ.ศูนย์สารสนเทศฯ ไม่มีอำนาจออกคำสั่ง และถ้าตรวจสอบต้องปรากฏว่ามีการทำความผิดอาญาใน 7 ความผิดมูลฐาน แม้นายทักษิณปฎิเสธว่าไม่มีการตรวจสอบทรัพย์สินสื่อมวลชนและครอบครัว แต่ก็มีรายงานว่า คนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งการ ต่อมานายสุทธิชัย นายเทพชัย และนายโสภณ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2545 ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งตรวจสอบข้อมูลธุรกรรม พร้อมขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว กระทั่งวันที่ 14 มี.ค. 2545 ศาลปกครองกลางออกคำสั่งทุเลาให้ยุติการตรวจสอบธุรกรรมการเงิน จนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่น โดยสำนวนคดีพบว่าในการไต่สวน พ.ต.อ.สีหนาท อ้างว่าได้รับการร้องเรียนจากบุคคลภายนอกเพราะสงสัยว่าจะฟอกเงิน แต่ศาลเห็นว่าเป็นบัตรสนเท่ห์ เชื่อถือไม่ได้ ซ้ำร้ายผู้ใช้อำนาจตามกฎหมายอาจทำขึ้นมาเองเพื่อคุกคามสิทธิเสรีภาพ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2545 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้จำหน่ายคดี เนื่องจาก ป.ป.ง.มีหนังสือแจ้งต่อศาลว่าสั่งยุติการตรวจสอบกับธนาคารพาณิชย์แล้ว ขณะที่ พ.ต.อ.สีหนาท แก้เกมให้ พ.ต.อ.ยุทธบูล ดิสสะมาน แจ้งความดำเนินคดีบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เดอะเนชั่น และคมชัดลึก ข้อหาเผยความลับของทางราชการ แต่อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษสั่งไม่ฟ้อง #Newskit #ทักษิณชินวัตร #สื่อมวลชน
    Like
    Angry
    10
    0 Comments 1 Shares 1130 Views 0 Reviews
  • ศาลปกครองพิพากษายกฟ้องคดีที่ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ถูกฟ้องคดีที่มอบพื้นที่ล่าช้า เพราะ ผู้ถูกฟ้องได้ให้สิทธิแก่ซิโน-ไทยขยายเวลาก่อสร้างตามสัญญาออกไป 4 ครั้ง รวมเป็นเวลา 1,864 วัน

    17 กันยายน 2567-รายงานข่าวระบุว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 961/2563 หมายเลขแดงที่ 2042/2567ระหว่างบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดี กับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้ถูกฟ้องคดี

    โดยศาลพิเคราะห์ข้อกำหนดในเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างและข้อตกลงในสัญญาพิพาทแล้ว เห็นว่า ทั้งผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีต่างรับรู้และตระหนักถึงปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างที่อาจไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ในเบื้องต้น โดยเห็นได้จากในข้อ 1 วรรคสอง ของสัญญาพิพาท ตกลงกันว่า ในการดำเนินการตามสัญญานี้ ผู้ว่าจ้างจะส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหรือตามความพร้อมของผู้ว่าจ้าง

    และในกรณีที่มีการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ผู้รับจ้างไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากผู้ว่าจ้างได้ หรือหากผู้ว่าจ้างไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและผู้รับจ้างไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากผู้ว่าจ้างได้เช่นกัน

    อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ฟ้องคดีได้ตามที่กำหนดไว้ หรือในกรณีที่ผู้รับจ้างรายอื่นๆ ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่หรือผลงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานของผู้รับจ้างได้ตามที่ตกลงกันไว้ ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องพิจารณาขยายระยะเวลาของงานส่วนที่ต้องล่าช้าออกไปอันมีผลกระทบมาจากกรณีดังกล่าวเหล่านั้นให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามความเหมาะสม แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่มีหน้าที่ชดเชยค่าใช้จ่ายใดๆ ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิ้น

    เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้แก่ผู้ฟ้องคดี ไม่เป็นไปตามแผนการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างกำหนดไว้เบื้องต้น และผู้ฟ้องคดีประสบปัญหาอุปสรรคความล่าช้าในการขนดินออกจากพื้นที่ก่อสร้าง เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีไม่สามารถจัดหาที่พักดินให้ได้ตามสัญญาทำให้มีผลกระทบต่องานก่อสร้างฐานและอาคารชั้นใต้ดิน อันเป็นเหตุให้การดำเนินงานก่อสร้างของผู้ฟ้องคดีมีความล่าช้า ซึ่งเหตุดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องแก่ผู้รับจ้างตามกำหนดไว้

    และปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการหาสถานที่ทิ้งดิน รวมถึงการที่ผู้รับซื้อดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีจัดหามา ไม่สามารถขนย้ายดินออกจากโครงการได้ทัน เป็นกรณีที่ผู้รับจ้างรายอื่นๆ ไม่สามารถส่งมอบผลงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานของผู้รับจ้างได้ตามที่ตกลงกันไว้ ตามนัยข้อ 24.2 ของสัญญาพิพาท ที่ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับการพิจารณาขยายเวลาก่อสร้างออกไป และผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องพิจารณาขยายระยะเวลาของงานส่วนที่ต้องล่าช้าออกไปตามความเหมาะสม

    เมื่อผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือขอขยายเวลาก่อสร้างออกไปหลายครั้ง ผู้ถูกฟ้องคดีก็ได้ประชุมพิจารณาร่วมกับที่ปรึกษาบริหารโครงการ คณะกรรมการตรวจการจ้าง ผู้ควบคุมงาน ผู้ฟ้องคดี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วได้ขยายเวลาทำการก่อสร้างตามสัญญาออกไป 4 ครั้ง รวมเป็นเวลา 1,864 วัน

    กรณีจึงเห็นว่า ฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดี ได้ทำหน้าที่พิจารณาขยายระยะเวลาของงานส่วนที่ต้องล่าช้าออกไปให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสิ้น ทั้งนี้ ตามข้อ 1 วรรคสอง และข้อ 24.2 ของสัญญาพิพาท พิพากษายกฟ้อง

    #Thaitimes
    ศาลปกครองพิพากษายกฟ้องคดีที่ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ถูกฟ้องคดีที่มอบพื้นที่ล่าช้า เพราะ ผู้ถูกฟ้องได้ให้สิทธิแก่ซิโน-ไทยขยายเวลาก่อสร้างตามสัญญาออกไป 4 ครั้ง รวมเป็นเวลา 1,864 วัน 17 กันยายน 2567-รายงานข่าวระบุว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 961/2563 หมายเลขแดงที่ 2042/2567ระหว่างบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดี กับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้ถูกฟ้องคดี โดยศาลพิเคราะห์ข้อกำหนดในเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างและข้อตกลงในสัญญาพิพาทแล้ว เห็นว่า ทั้งผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีต่างรับรู้และตระหนักถึงปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างที่อาจไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ในเบื้องต้น โดยเห็นได้จากในข้อ 1 วรรคสอง ของสัญญาพิพาท ตกลงกันว่า ในการดำเนินการตามสัญญานี้ ผู้ว่าจ้างจะส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหรือตามความพร้อมของผู้ว่าจ้าง และในกรณีที่มีการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ผู้รับจ้างไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากผู้ว่าจ้างได้ หรือหากผู้ว่าจ้างไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและผู้รับจ้างไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากผู้ว่าจ้างได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ฟ้องคดีได้ตามที่กำหนดไว้ หรือในกรณีที่ผู้รับจ้างรายอื่นๆ ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่หรือผลงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานของผู้รับจ้างได้ตามที่ตกลงกันไว้ ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องพิจารณาขยายระยะเวลาของงานส่วนที่ต้องล่าช้าออกไปอันมีผลกระทบมาจากกรณีดังกล่าวเหล่านั้นให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามความเหมาะสม แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่มีหน้าที่ชดเชยค่าใช้จ่ายใดๆ ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิ้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้แก่ผู้ฟ้องคดี ไม่เป็นไปตามแผนการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างกำหนดไว้เบื้องต้น และผู้ฟ้องคดีประสบปัญหาอุปสรรคความล่าช้าในการขนดินออกจากพื้นที่ก่อสร้าง เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีไม่สามารถจัดหาที่พักดินให้ได้ตามสัญญาทำให้มีผลกระทบต่องานก่อสร้างฐานและอาคารชั้นใต้ดิน อันเป็นเหตุให้การดำเนินงานก่อสร้างของผู้ฟ้องคดีมีความล่าช้า ซึ่งเหตุดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องแก่ผู้รับจ้างตามกำหนดไว้ และปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการหาสถานที่ทิ้งดิน รวมถึงการที่ผู้รับซื้อดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีจัดหามา ไม่สามารถขนย้ายดินออกจากโครงการได้ทัน เป็นกรณีที่ผู้รับจ้างรายอื่นๆ ไม่สามารถส่งมอบผลงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานของผู้รับจ้างได้ตามที่ตกลงกันไว้ ตามนัยข้อ 24.2 ของสัญญาพิพาท ที่ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับการพิจารณาขยายเวลาก่อสร้างออกไป และผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องพิจารณาขยายระยะเวลาของงานส่วนที่ต้องล่าช้าออกไปตามความเหมาะสม เมื่อผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือขอขยายเวลาก่อสร้างออกไปหลายครั้ง ผู้ถูกฟ้องคดีก็ได้ประชุมพิจารณาร่วมกับที่ปรึกษาบริหารโครงการ คณะกรรมการตรวจการจ้าง ผู้ควบคุมงาน ผู้ฟ้องคดี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วได้ขยายเวลาทำการก่อสร้างตามสัญญาออกไป 4 ครั้ง รวมเป็นเวลา 1,864 วัน กรณีจึงเห็นว่า ฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดี ได้ทำหน้าที่พิจารณาขยายระยะเวลาของงานส่วนที่ต้องล่าช้าออกไปให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสิ้น ทั้งนี้ ตามข้อ 1 วรรคสอง และข้อ 24.2 ของสัญญาพิพาท พิพากษายกฟ้อง #Thaitimes
    Like
    Yay
    3
    0 Comments 0 Shares 882 Views 0 Reviews