ปฐมบทรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ฤกษ์งามยามดีดิถีเพ็ญ 18 กรกฎาคม 2567 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังเสนอค่าก่อสร้างช่วงบางขุนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 95,432.04 ล้านบาท และเสนอผลตอบแทนให้ รฟม. 10,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ รฟม.และ BEM มีแผนที่จะเปิดให้บริการช่วง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี 17 สถานี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร ที่งานโยธาแล้วเสร็จ ภายในเดือนพฤษภาคม 2571 แต่จะเจรจากับ BEM ให้เปิดบริการก่อนกำหนดต้นปี 2571
ส่วนช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 11 สถานี ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร โครงสร้างใต้ดินตลอดสาย จะมีการก่อสร้างงานโยธา โดย รฟม. มีแผนที่จะเปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2573 ซึ่งจะทำให้แนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เริ่มก่อสร้างงานโยธาช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี มาตั้งแต่ปี 2560 แล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 แต่ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เนื่องจากมีคดีในศาลปกครองหลายคดี กรณีประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ก่อนปรับหลักเกณฑ์ ยกเลิกประมูลครั้งแรก แล้วจัดประมูลใหม่อีกรอบ
กระทั่งวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนยกฟ้อง คดีที่กลุ่มบริษัทบีทีเอสฟ้อง รฟม. โดยยืนยันว่าการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ครั้งที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว กระทั่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (PPP) ดังกล่าว
#Newskit #รถไฟฟ้าสายสีส้ม #MRTOrangeLine ปฐมบทรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ฤกษ์งามยามดีดิถีเพ็ญ 18 กรกฎาคม 2567 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังเสนอค่าก่อสร้างช่วงบางขุนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 95,432.04 ล้านบาท และเสนอผลตอบแทนให้ รฟม. 10,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ รฟม.และ BEM มีแผนที่จะเปิดให้บริการช่วง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี 17 สถานี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร ที่งานโยธาแล้วเสร็จ ภายในเดือนพฤษภาคม 2571 แต่จะเจรจากับ BEM ให้เปิดบริการก่อนกำหนดต้นปี 2571
ส่วนช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 11 สถานี ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร โครงสร้างใต้ดินตลอดสาย จะมีการก่อสร้างงานโยธา โดย รฟม. มีแผนที่จะเปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2573 ซึ่งจะทำให้แนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เริ่มก่อสร้างงานโยธาช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี มาตั้งแต่ปี 2560 แล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 แต่ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เนื่องจากมีคดีในศาลปกครองหลายคดี กรณีประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ก่อนปรับหลักเกณฑ์ ยกเลิกประมูลครั้งแรก แล้วจัดประมูลใหม่อีกรอบ
กระทั่งวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนยกฟ้อง คดีที่กลุ่มบริษัทบีทีเอสฟ้อง รฟม. โดยยืนยันว่าการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ครั้งที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว กระทั่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (PPP) ดังกล่าว
#Newskit #รถไฟฟ้าสายสีส้ม #MRTOrangeLine