• Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    2 Comments 0 Shares 140 Views 0 Reviews
  • อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ
    สัทธรรมลำดับที่ : 956
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=956
    ชื่อบทธรรม :- ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ (การรักษาโรคด้วยอำนาจสมาธิ)
    --อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่เธอแล้ว
    ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว
    อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ.
    สัญญา ๑๐ ประการนั้นคือ
    อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา
    อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา
    สัพพโลเกอนภิรตสัญญา สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา
    อานาปานสติ.
    --อานนท์ ! อนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้
    ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ ว่า
    “รูป ไม่เที่ยง; เวทนา ไม่เที่ยง;
    สัญญา ไม่เที่ยง; สังขาร ไม่เที่ยง;
    วิญญาณ ไม่เที่ยง”
    ดังนี้
    เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้
    อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อนิจจสัญญา.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/115/?keywords=อนิจฺจสญฺญา

    --อานนท์ ! อนัตตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า
    “ตา เป็นอนัตตา รูป เป็นอนัตตา;
    หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา;
    จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา;
    ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา;
    กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา;
    ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา”
    ดังนี้
    เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งภายในและภายนอกหก เหล่านี้
    อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อนัตตสัญญา.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/116/?keywords=อนตฺตสญฺญา

    --อานนท์ ! อสุภสัญญา เป็นอย่างไรเล่า?
    +--อานนท์! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นโดยประจักษ์ซึ่งกายนี้นี่แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไปถึงเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาถึงเบื้องล่าง ว่ามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของอสุจิมีประการต่างๆ; คือกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร;
    เป็นผู้ตามเห็นความไม่งาม ในกายนี้ อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อสุภสัญญา.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/117/?keywords=อสุภสญฺญา

    --อานนท์ ! อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า
    “กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก; คือในกายนี้มีอาพาธต่างๆ เกิดขึ้น,
    กล่าวคือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคที่ศีรษะ โรคที่หู โรคที่ปาก โรคที่ฟัน โรคไอ โรคหืด
    ไข้หวัด ไข้มีพิษร้อน ไข้เซื่องซึม
    โรคกระเพาะ โรคลมสลบ ลงแดง จุกเสียด เจ็บเสียว
    โรคเรื้อรัง โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน คุดทะราด โรคละออง โรคโลหิต โรคดีซ่าน เบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง ริดสีดวงทวาร
    อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฎฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน
    ไข้สันนิบาต ไข้เพราะฤดูแปรปรวน ไข้เพราะบริหารกายไม่สม่ำเสมอ ไข้เพราะออกกำลังเกิน ไข้เพราะวิบากกรรม
    ความไม่สบายเพราะความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย
    การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะ”
    ดังนี้;
    เป็นผู้ตามเห็นโทษในกายนี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อาทีนวสัญญา.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/117/?keywords=อาทีนวสญฺญา

    --อานนท์ ! ปหานสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง กามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป;
    ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง พยาบาทวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป;
    ไม่ยอมรับไว้ซึ่งวิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา
    กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป;
    ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง อกุศลธรรมทั้งหลาย อันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป : นี้เรียกว่า #ปหานสัญญา.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=ปหานสญฺญา

    --อานนท์ ! วิราคสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง
    พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อ ย่างนี้ว่า
    “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต : กล่าวคือ
    ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง
    เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
    เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับเย็น”
    ดังนี้ : นี้เรียกว่า วิราคสัญญา.
    --อานนท์ ! นิโรธสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง
    พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า
    “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต
    : กล่าวคือ
    ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง
    เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
    เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
    เป็นความดับ เป็นความดับเย็น”
    ดังนี้
    : นี้เรียกว่า #นิโรธสัญญา.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=นิโรธสญฺญา

    --อานนท์ ! สัพพโลเกอนภิรตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ อนุสัย (ความเคยชิน)
    ในการตั้งทับในการฝังตัวเข้าไปยึดมั่นแห่งจิตด้วยตัณหาอุปาทาน ใดๆ ในโลก มีอยู่,
    เธอละอยู่ซึ่งอนุสัยนั้นๆ
    งดเว้นไม่เข้าไปยึดถืออยู่
    : นี้เรียกว่า #สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดี).
    http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=สพฺพโลเก+อนภิรตสญฺญา

    --อานนท์ ! สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง ต่อสังขารทั้งหลายทั้งปวง
    : นี้เรียกว่า #สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง).
    -http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=สพฺพสงฺขาเรสุ+อนิจฺจสญฺญา

    (สัญญาข้อที่เก้านี้ ควรจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา หรือมิฉะนั้นก็ควรจะมีชื่อว่าสัพพสังขาเรสุทุกขสัญญา จึงจะสมกับเนื้อความตามที่กล่าวอยู่,
    และสัญญาข้อที่แปดข้างบนแห่งข้อนี้ ที่มีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น น่าจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนุปาทานสัญญามากกว่า จึงจะมีความสมชื่อ, ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน).

    --อานนท์ ! อานาปานสติ เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก.
    1. เมื่อ หายใจเข้า ยาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว ,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว ;
    2. เมื่อ หายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น ,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    3. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า,
    รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    4. ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า,
    ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก.
    ทำการศึกษาว่า เรา
    5. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า,
    รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    6. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า,
    รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    7. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า,
    รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    8. ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า,
    ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก.
    ทำการศึกษาว่า เรา
    9. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า,
    รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    10. ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า,
    ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    11. ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า,
    ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    12. ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า,
    ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก.
    ทำการศึกษาว่า เรา
    13. ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า,
    ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    14. ตามเห็นความจางคลาย หายใจเข้า,
    ตามเห็นความจางคลาย หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    15. ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจเข้า,
    ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจออก;
    ทำการศึกษาว่า เรา
    16. ตามเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า,
    ตามเห็นความสลัดคืน หายใจออก.
    : นี้เรียกว่า #อานาปานสติ.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/119/?keywords=อานาปานสติ

    --อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์
    แล้วกล่าวสัญญาสิบประการเหล่านี้ แก่เธอแล้ว
    ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว
    อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ.
    +--ลำดับนั้นแล ท่านอานนท์จำเอาสัญญาสิบประการเหล่านี้
    ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    แล้วเข้าไปหาท่านคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการแก่ท่าน
    เมื่อท่านพระคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธก็ระงับไปโดยฐานะอันควร.
    ท่านคิริมานนท์หาย แล้วจากอาพาธ และอาพาธก็เป็นเสมือนละไปแล้วด้วย
    แล.-

    (บาลีพระสูตรนี้ ได้ทำให้เกิดประเพณีสวดคิริมานนทสูตร
    ให้คนเจ็บฟัง เพื่อจะได้หายเจ็บไข้ เช่นเดียวกับโพชฌงคสูตร.
    บางคนอาจจะสงสัยว่า มิเป็นการผิดหลักกรรมหรือเหตุปัจจัยไป
    หรือ ที่ความทุกข์ดับไปโดยไม่มีการดับเหตุแห่งทุกข์ ตามหลักแห่งจตุราริยสัจ.
    ข้อนี้ขอให้เข้าใจว่า การฟังธรรมของพระคิริมานนท์ ทำให้มีธรรมปีติอย่างแรงกล้า
    อำนาจของธรรมปีตินั้นสามารถระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงระงับไป
    ดุจดังว่าหายจากอาพาธ;
    กล่าวได้ว่ามีปัจจัยเพื่อการดับแห่งทุกข์อริยสัจ;
    ไม่ผิดไปจากกฎเกณฑ์แห่งกรรมหรือกฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัยเลย;
    เป็นการดับทุกข์ได้วิธีหนึ่ง จึงนำข้อความนี้ มาใส่ไว้ในหมวดนี้
    ).

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/99 - 104/60.
    http://etipitaka.com/read/thai/24/99/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%90
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๑๑๕ - ๑๒๐/๖๐
    http://etipitaka.com/read/pali/24/115/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%90
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=956
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=81&id=956
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=81
    ลำดับสาธยายธรรม : 81 ฟังเสียงอ่าน....
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_81.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ สัทธรรมลำดับที่ : 956 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=956 ชื่อบทธรรม :- ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ เนื้อความทั้งหมด :- --ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ (การรักษาโรคด้วยอำนาจสมาธิ) --อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ. สัญญา ๑๐ ประการนั้นคือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา อานาปานสติ. --อานนท์ ! อนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ ว่า “รูป ไม่เที่ยง; เวทนา ไม่เที่ยง; สัญญา ไม่เที่ยง; สังขาร ไม่เที่ยง; วิญญาณ ไม่เที่ยง” ดังนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อนิจจสัญญา. http://etipitaka.com/read/pali/24/115/?keywords=อนิจฺจสญฺญา --อานนท์ ! อนัตตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “ตา เป็นอนัตตา รูป เป็นอนัตตา; หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา; จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา; ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา; กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา; ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา” ดังนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งภายในและภายนอกหก เหล่านี้ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อนัตตสัญญา. http://etipitaka.com/read/pali/24/116/?keywords=อนตฺตสญฺญา --อานนท์ ! อสุภสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? +--อานนท์! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นโดยประจักษ์ซึ่งกายนี้นี่แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไปถึงเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาถึงเบื้องล่าง ว่ามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของอสุจิมีประการต่างๆ; คือกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร; เป็นผู้ตามเห็นความไม่งาม ในกายนี้ อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อสุภสัญญา. http://etipitaka.com/read/pali/24/117/?keywords=อสุภสญฺญา --อานนท์ ! อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก; คือในกายนี้มีอาพาธต่างๆ เกิดขึ้น, กล่าวคือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคที่ศีรษะ โรคที่หู โรคที่ปาก โรคที่ฟัน โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้มีพิษร้อน ไข้เซื่องซึม โรคกระเพาะ โรคลมสลบ ลงแดง จุกเสียด เจ็บเสียว โรคเรื้อรัง โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน คุดทะราด โรคละออง โรคโลหิต โรคดีซ่าน เบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง ริดสีดวงทวาร อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฎฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน ไข้สันนิบาต ไข้เพราะฤดูแปรปรวน ไข้เพราะบริหารกายไม่สม่ำเสมอ ไข้เพราะออกกำลังเกิน ไข้เพราะวิบากกรรม ความไม่สบายเพราะความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะ” ดังนี้; เป็นผู้ตามเห็นโทษในกายนี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า #อาทีนวสัญญา. http://etipitaka.com/read/pali/24/117/?keywords=อาทีนวสญฺญา --อานนท์ ! ปหานสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง กามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง พยาบาทวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่งวิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง อกุศลธรรมทั้งหลาย อันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป : นี้เรียกว่า #ปหานสัญญา. http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=ปหานสญฺญา --อานนท์ ! วิราคสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อ ย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต : กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับเย็น” ดังนี้ : นี้เรียกว่า วิราคสัญญา. --อานนท์ ! นิโรธสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต : กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความดับ เป็นความดับเย็น” ดังนี้ : นี้เรียกว่า #นิโรธสัญญา. http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=นิโรธสญฺญา --อานนท์ ! สัพพโลเกอนภิรตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ อนุสัย (ความเคยชิน) ในการตั้งทับในการฝังตัวเข้าไปยึดมั่นแห่งจิตด้วยตัณหาอุปาทาน ใดๆ ในโลก มีอยู่, เธอละอยู่ซึ่งอนุสัยนั้นๆ งดเว้นไม่เข้าไปยึดถืออยู่ : นี้เรียกว่า #สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดี). http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=สพฺพโลเก+อนภิรตสญฺญา --อานนท์ ! สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง ต่อสังขารทั้งหลายทั้งปวง : นี้เรียกว่า #สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง). -http://etipitaka.com/read/pali/24/118/?keywords=สพฺพสงฺขาเรสุ+อนิจฺจสญฺญา (สัญญาข้อที่เก้านี้ ควรจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา หรือมิฉะนั้นก็ควรจะมีชื่อว่าสัพพสังขาเรสุทุกขสัญญา จึงจะสมกับเนื้อความตามที่กล่าวอยู่, และสัญญาข้อที่แปดข้างบนแห่งข้อนี้ ที่มีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น น่าจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนุปาทานสัญญามากกว่า จึงจะมีความสมชื่อ, ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน). --อานนท์ ! อานาปานสติ เป็นอย่างไรเล่า ? +--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก. 1. เมื่อ หายใจเข้า ยาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว , เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว ; 2. เมื่อ หายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น , เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น; ทำการศึกษาว่า เรา 3. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 4. ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า, ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก. ทำการศึกษาว่า เรา 5. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 6. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 7. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 8. ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก. ทำการศึกษาว่า เรา 9. รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 10. ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 11. ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 12. ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก. ทำการศึกษาว่า เรา 13. ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า, ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 14. ตามเห็นความจางคลาย หายใจเข้า, ตามเห็นความจางคลาย หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 15. ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจเข้า, ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา 16. ตามเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า, ตามเห็นความสลัดคืน หายใจออก. : นี้เรียกว่า #อานาปานสติ. http://etipitaka.com/read/pali/24/119/?keywords=อานาปานสติ --อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการเหล่านี้ แก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ. +--ลำดับนั้นแล ท่านอานนท์จำเอาสัญญาสิบประการเหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเข้าไปหาท่านคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการแก่ท่าน เมื่อท่านพระคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธก็ระงับไปโดยฐานะอันควร. ท่านคิริมานนท์หาย แล้วจากอาพาธ และอาพาธก็เป็นเสมือนละไปแล้วด้วย แล.- (บาลีพระสูตรนี้ ได้ทำให้เกิดประเพณีสวดคิริมานนทสูตร ให้คนเจ็บฟัง เพื่อจะได้หายเจ็บไข้ เช่นเดียวกับโพชฌงคสูตร. บางคนอาจจะสงสัยว่า มิเป็นการผิดหลักกรรมหรือเหตุปัจจัยไป หรือ ที่ความทุกข์ดับไปโดยไม่มีการดับเหตุแห่งทุกข์ ตามหลักแห่งจตุราริยสัจ. ข้อนี้ขอให้เข้าใจว่า การฟังธรรมของพระคิริมานนท์ ทำให้มีธรรมปีติอย่างแรงกล้า อำนาจของธรรมปีตินั้นสามารถระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงระงับไป ดุจดังว่าหายจากอาพาธ; กล่าวได้ว่ามีปัจจัยเพื่อการดับแห่งทุกข์อริยสัจ; ไม่ผิดไปจากกฎเกณฑ์แห่งกรรมหรือกฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัยเลย; เป็นการดับทุกข์ได้วิธีหนึ่ง จึงนำข้อความนี้ มาใส่ไว้ในหมวดนี้ ). #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/99 - 104/60. http://etipitaka.com/read/thai/24/99/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%90 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๑๑๕ - ๑๒๐/๖๐ http://etipitaka.com/read/pali/24/115/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%90 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=956 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=81&id=956 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=81 ลำดับสาธยายธรรม : 81 ฟังเสียงอ่าน.... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_81.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ
    -ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ (การรักษาโรคด้วยอำนาจสมาธิ) อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ. สัญญา ๑๐ ประการนั้นคือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญาสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา อานาปานสติ. อานนท์ ! อนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ ว่า “รูป ไม่เที่ยง; เวทนา ไม่เที่ยง; สัญญา ไม่เที่ยง; สังขาร ไม่เที่ยง; วิญญาณ ไม่เที่ยง” ดังนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา. อานนท์ ! อนัตตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “ตา เป็นอนัตตา รูป เป็นอนัตตา; หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา; จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา; ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา; กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา; ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา” ดังนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งภายในและภายนอกหก เหล่านี้ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา. อานนท์ ! อสุภสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? อานนท์! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นโดยประจักษ์ซึ่งกายนี้นี่แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไปถึงเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาถึงเบื้องล่าง ว่ามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของอสุจิมีประการต่างๆ; คือกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร; เป็นผู้ตามเห็นความไม่งาม ในกายนี้ อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อสุภสัญญา. อานนท์ ! อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก; คือในกายนี้มีอาพาธต่างๆ เกิดขึ้น, กล่าวคือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคที่ศีรษะ โรคที่หู โรคที่ปาก โรคที่ฟัน โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้มีพิษร้อน ไข้เซื่องซึม โรคกระเพาะ โรคลมสลบ ลงแดง จุกเสียด เจ็บเสียว โรคเรื้อรัง โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน คุดทะราด โรคละออง โรคโลหิต โรคดีซ่าน เบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง ริดสีดวงทวาร อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฎฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน ไข้สันนิบาต ไข้เพราะฤดูแปรปรวน ไข้เพราะบริหารกายไม่สม่ำเสมอ ไข้เพราะออกกำลังเกิน ไข้เพราะวิบากกรรม ความไม่สบายเพราะความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะ” ดังนี้; เป็นผู้ตามเห็นโทษในกายนี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา. อานนท์ ! ปหานสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง กามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง พยาบาทวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่งวิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง อกุศลธรรมทั้งหลาย อันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป : นี้เรียกว่า ปหานสัญญา. อานนท์ ! วิราคสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อ ย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต : กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับเย็น” ดังนี้ : นี้เรียกว่า วิราคสัญญา. อานนท์ ! นิโรธสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต : กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความดับ เป็นความดับเย็น” ดังนี้ : นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา. อานนท์ ! สัพพโลเกอนภิรตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ อนุสัย (ความเคยชิน) ในการตั้งทับในการฝังตัวเข้าไปยึดมั่นแห่งจิตด้วยตัณหาอุปาทาน ใดๆ ในโลก มีอยู่, เธอละอยู่ซึ่งอนุสัยนั้นๆ งดเว้นไม่เข้าไปยึดถืออยู่ : นี้เรียกว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดี). อานนท์ ! สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง ต่อสังขารทั้งหลายทั้งปวง : นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง). (สัญญาข้อที่เก้านี้ ควรจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา หรือมิฉะนั้นก็ควรจะมีชื่อว่าสัพพสังขาเรสุทุกขสัญญา จึงจะสมกับเนื้อความตามที่กล่าวอยู่, และสัญญาข้อที่แปดข้างบนแห่งข้อนี้ ที่มีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น น่าจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนุปาทานสัญญามากกว่า จึงจะมีความสมชื่อ, ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน). อานนท์ ! อานาปานสติ เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก. เมื่อ หายใจเข้า ยาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว , เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว ; เมื่อ หายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น , เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น; ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เราทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า, ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก. ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เราทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก. ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก. ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า, ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความจางคลาย หายใจเข้า, ตามเห็นความจางคลาย หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจเข้า, ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า, ตามเห็นความสลัดคืน หายใจออก. นี้เรียกว่า อานาปานสติ. อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการเหล่านี้ แก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ. ลำดับนั้นแล ท่านอานนท์จำเอาสัญญาสิบประการเหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเข้าไปหาท่านคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการแก่ท่าน เมื่อท่านพระคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธก็ระงับไปโดยฐานะอันควร. ท่านคิริมานนท์หาย แล้วจากอาพาธ และอาพาธก็เป็นเสมือนละไปแล้วด้วย แล.
    0 Comments 0 Shares 109 Views 0 Reviews
  • คนเกาหลีใต้ ก็ไล่ผู้นำสำเร็จ คนวัยหนุ่มสาวไทย จะรู้ร้อนรู้หนาวว่าภัยประเทศกำลังเกิด

    คนอิตาลี เค้าก็ตื่นตัวตรวจสอบรัฐบาล
    คนเกาหลีใต้ ก็ไล่ผู้นำสำเร็จ คนวัยหนุ่มสาวไทย จะรู้ร้อนรู้หนาวว่าภัยประเทศกำลังเกิด คนอิตาลี เค้าก็ตื่นตัวตรวจสอบรัฐบาล
    0 Comments 0 Shares 51 Views 0 Reviews
  • ซากตึกที่ถล่มลงมากองเป็นภูเขาขนาดใหญ่ ทับถมความไม่ถูกต้อง เรื่องทุจริตคอรัปชั่น ยังมีหลักฐานพยานการนำแรงงานต่างด้าวเข้าไทยโดยผิดกฎหมายอีกด้วย

    #หนาว!ตัวเลขจริงคนงานใต้ซากตึกสตง #ตัวเลขจริงซากคนงาน #ตึกถล่มสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน #เหล็กไม่ได้มาตราฐาน #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ
    ซากตึกที่ถล่มลงมากองเป็นภูเขาขนาดใหญ่ ทับถมความไม่ถูกต้อง เรื่องทุจริตคอรัปชั่น ยังมีหลักฐานพยานการนำแรงงานต่างด้าวเข้าไทยโดยผิดกฎหมายอีกด้วย #หนาว!ตัวเลขจริงคนงานใต้ซากตึกสตง #ตัวเลขจริงซากคนงาน #ตึกถล่มสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน #เหล็กไม่ได้มาตราฐาน #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ
    Like
    Sad
    Love
    Angry
    15
    1 Comments 0 Shares 1731 Views 43 0 Reviews
  • ที่วัด อากาศเปลี่ยนแปลงมาก หนาว 1เมษายน 68
    ที่วัด อากาศเปลี่ยนแปลงมาก หนาว 1เมษายน 68
    0 Comments 0 Shares 117 Views 0 0 Reviews
  • รักเลยดีกว่าอย่าห้ามมันเลยความรัก
    เดี๋ยวมันจะหนักจะเหนื่อยจะเมื่อยสมอง
    เอาตามที่ใจใฝ่ฝันไปตามครรลอง
    ตามที่หัวใจเรียกร้องว่ามันต้องการ
    รักเลยดีกว่าถ้าห้ามถ้าไปตามหัก
    มิให้มันรักมิให้หลงห้ามความสงสาร
    ใจมันจะเจ็บเหน็บหนาวมันจะร้าวราน
    ใจจะสิ้นรสหมดหวานหมดน้ำตาลใจ
    รักเลยดีกว่าหน้าที่ของคนมีรัก
    มิใช่จะหักจะเหเที่ยวทำเฉไฉ
    ควรจะบรรจงส่งเสริมคอยเติมเชื้อไฟ
    ทำให้ห้องใจบรรเจิดกันเสียเถิดเธอ
    รักเลยเถิดจ้าเถิดจ้ารีบรีบมารัก
    อย่าทำยึกยักโยเยทำโอ้เอ้เอ๋อ
    ที่ฉันเที่ยวถามเที่ยวทักหมั่นมาดักเจอ
    ก็เพราะรักเธอแท้แท้เลยนะแม่คุณ
    รักเลยดีกว่าอย่าห้ามมันเลยความรัก เดี๋ยวมันจะหนักจะเหนื่อยจะเมื่อยสมอง เอาตามที่ใจใฝ่ฝันไปตามครรลอง ตามที่หัวใจเรียกร้องว่ามันต้องการ รักเลยดีกว่าถ้าห้ามถ้าไปตามหัก มิให้มันรักมิให้หลงห้ามความสงสาร ใจมันจะเจ็บเหน็บหนาวมันจะร้าวราน ใจจะสิ้นรสหมดหวานหมดน้ำตาลใจ รักเลยดีกว่าหน้าที่ของคนมีรัก มิใช่จะหักจะเหเที่ยวทำเฉไฉ ควรจะบรรจงส่งเสริมคอยเติมเชื้อไฟ ทำให้ห้องใจบรรเจิดกันเสียเถิดเธอ รักเลยเถิดจ้าเถิดจ้ารีบรีบมารัก อย่าทำยึกยักโยเยทำโอ้เอ้เอ๋อ ที่ฉันเที่ยวถามเที่ยวทักหมั่นมาดักเจอ ก็เพราะรักเธอแท้แท้เลยนะแม่คุณ
    0 Comments 0 Shares 167 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง

    ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว

    ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท

    จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก?

    บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก)
    “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว
    แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย”
    ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม”

    และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง
    “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์
    เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย”
    - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง
    โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว

    ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้:
    หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค
    หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
    และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์
    เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้
    เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม

    เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml
    http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx
    https://www.sohu.com/a/239647354_661147

    #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก? บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก) “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย” ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม” และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์ เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย” - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้: หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์ เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้ เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx https://www.sohu.com/a/239647354_661147 #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????_Ӱ?????_????
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????
    1 Comments 0 Shares 620 Views 0 Reviews
  • ค่ำคืนคืนนี้มีใจที่ไหนบ้างเอ่ย
    น้องหนาวจังเลยหนาวใจอยากหาใจห่ม
    หนาวในน้ำค้างอีกทั้งหนาวในสายลม
    ซุกใต้ผ้าห่มไม่หายหนาวกายหนาวใจ
    อันว่าหนาวลมห่มผ้าก็ซาลงแล้ว
    ได้นอนกอดแมวประทังก็ยังพอไหว
    ถ้าหากเหน็บหนาวหนักจริงก็จะผิงไฟ
    แต่หนาวที่ใจหน๊าวหนาวเกินจะกล่าวความ
    ค่ำคืนคืนนี้มีใจที่ไหนบ้างหนอ
    น้องนอนหนาวรอหัวใจมันเฝ้าไถ่ถาม
    จะมีมั่งไหมหากทราบจะขอทาบทาม
    อยากจะติดตามติดต่อใจหล่อหล่อสักใจ
    คอยเหม่อมองหาหัวใจของใครคนนั้น
    พี่จะแบ่งปันสักห้องให้น้องได้ไหม
    น้องนี้เหน็บหนาวเฝ้าคอยเหนื่อยนอยด์ทรวงใน
    พี่จะเห็นใจให้ใจน้องไหมคนดี
    ค่ำคืนคืนนี้มีใจที่ไหนบ้างเอ่ย น้องหนาวจังเลยหนาวใจอยากหาใจห่ม หนาวในน้ำค้างอีกทั้งหนาวในสายลม ซุกใต้ผ้าห่มไม่หายหนาวกายหนาวใจ อันว่าหนาวลมห่มผ้าก็ซาลงแล้ว ได้นอนกอดแมวประทังก็ยังพอไหว ถ้าหากเหน็บหนาวหนักจริงก็จะผิงไฟ แต่หนาวที่ใจหน๊าวหนาวเกินจะกล่าวความ ค่ำคืนคืนนี้มีใจที่ไหนบ้างหนอ น้องนอนหนาวรอหัวใจมันเฝ้าไถ่ถาม จะมีมั่งไหมหากทราบจะขอทาบทาม อยากจะติดตามติดต่อใจหล่อหล่อสักใจ คอยเหม่อมองหาหัวใจของใครคนนั้น พี่จะแบ่งปันสักห้องให้น้องได้ไหม น้องนี้เหน็บหนาวเฝ้าคอยเหนื่อยนอยด์ทรวงใน พี่จะเห็นใจให้ใจน้องไหมคนดี
    0 Comments 0 Shares 221 Views 0 Reviews
  • อากาศหนาวเหมือนจะดี... แต่ค่าPM144 จักรยานเลยต้องจอดอยู่กับที่ #ราชบุรีอากาศดีตอนกี่โมง???.. ในบ้านเราแค่7เอง ทุ่งนาหว่านข้าวแล้ว..ฟ้าหลัวภูเขาเป็นสีเทา..T=22°C ลมหนาวพัดจากหน้าบ้าน 21-3-68 หนาวอีกรอบเดือนมีนา
    อากาศหนาวเหมือนจะดี... แต่ค่าPM144 จักรยานเลยต้องจอดอยู่กับที่ #ราชบุรีอากาศดีตอนกี่โมง???.. ในบ้านเราแค่7เอง ทุ่งนาหว่านข้าวแล้ว..ฟ้าหลัวภูเขาเป็นสีเทา..T=22°C ลมหนาวพัดจากหน้าบ้าน 21-3-68 หนาวอีกรอบเดือนมีนา
    0 Comments 0 Shares 186 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ Storyฯ หายไปตามรอยซากุระมา จำได้ว่าตอนที่เคยเล่าถึงความหมายของดอกเหมยในวัฒนธรรมจีน มีเพื่อนเพจถามถึงดอกซากุระด้วย วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ

    เพื่อนเพจคงทราบดีว่าดอกซากุระเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีคนกล่าวถึงความหมายของมันต่อคนญี่ปุ่นว่าจริงแล้วคือ Rebirth หรือการเกิดใหม่ กล่าวคือการยอมรับความไม่จีรังในชีวิตแต่ยังเปี่ยมด้วยความหวังว่าสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นใหม่ เฉกเช่นดอกซากุระที่บานให้ชื่นชมเพียงไม่นานก็ร่วงโรยแต่แล้วก็จะผลิใหม่และเบ่งบานให้ชมอีกเรื่อยไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายความหมาย เช่น ความสำเร็จ หัวใจที่เข้มแข็ง ความรัก ความบริสุทธิ์ และความอ่อนโยน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนให้อารมณ์แห่งความหวังและความสุข

    แล้วที่จีนล่ะ?

    ดอกซากุระมีชื่อจีนว่า ‘อิงฮวา’ (樱花) หรือโบราณเคยเรียกว่า ‘อิงเถา’ แต่มีการระบุชัดว่าไม่ใช่ดอกท้อ (เถาฮวา) เฉพาะในประเทศจีนมีกว่าสี่สิบสายพันธุ์ เชื่อว่ามีการเริ่มปลูกต้นอิงฮวาในเขตพระราชฐานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น แต่แพร่สู่บ้านเรือนสามัญชนและพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยราชวงศ์ถัง (บ้างก็ว่าในช่วงสมัยถังนี่เองที่ อิงฮวาหรือซากุระถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่น) ต่อมาในสมัยซ่งเหนือคนหันมานิยมดอกเหมยมากกว่า ทำให้ดอกอิงฮวาถูกกล่าวขานถึงน้อยลง

    ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับอิงฮวามีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือภาพวาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดอกบ๊วยหรือดอกท้อที่ดูจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผลงานมากกว่า แรกเริ่มเลยในงานประพันธ์ต่างๆ จะเรียกมันว่า ‘ซันอิง’ หมายถึงต้นอิงฮวาที่โตตามป่าเขา โดยบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับอิงฮวาคือในสมัยราชวงศ์ใต้ ประพันธ์โดยเสิ่นเยวี้ย (ค.ศ. 441-513) เป็นการบรรยายถึงดอกซันอิงบานรับฤดูใบไม้ผลิ คงจะกล่าวได้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่ดอกอิงฮวาถูกโยงเข้ากับการมาเยือนของวสันตฤดู

    ในสมัยถังมีบทกวีเกี่ยวกับดอกอิงฮวามากกว่ายุคสมัยอื่น บ่งบอกถึงความนิยมในสมัยนั้น โดยนักการเมืองไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) ได้สร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกอิงฮวาไว้หลายบท แต่ผลงานของเขามักบ่งบอกถึงอารมณ์แห่งความเสียดายยามบุปผาโรยรา ทว่าแฝงไว้ซึ่งความหวังเพราะซันอิงยังจะคงอยู่และผลิบานใหม่ท่ามกลางป่าเขา โดยผลงานเหล่านี้สะท้อนถึงชีวิตทางการเมืองที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของเขา

    อิงฮวากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ในช่วงยุคสมัยถังเช่นเดียวกัน มีการกล่าวถึงธรรมเนียมการหักกิ่งอิงฮวามอบให้กันยามคู่รักต้องจากลา โดยใช้อิงฮวาเป็นตัวแทนแห่งความคนึงหา และในหลายบทกวีในยุคนั้น ใช้อิงฮวาเปรียบเปรยถึงความคิดถึงและความอ้างว้าง ดุจฉากดอกอิงฮวาร่วงโรยโปรยพลิ้วในสายลม Storyฯ ขอยกตัวอย่างจากบทกวี <หักกิ่งบุปผามอบอำลา> ของหยวนเจิ่นในสมัยถัง (ขออภัยหากแปลไม่สละสลวย) ที่กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของสตรียามต้องส่งชายคนรักจากไป:
    “ส่งท่านใต้ร่มเงาอิงเถา ใจวสันต์ฝากไว้ในกิ่ง
    ที่ใดชวนให้คำนึงถึงที่สุด นั่นคือป่าอิงเถาอันดารดาษ”

    ต่อมาอิงฮวากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเพศที่อ่อนหวานและอ่อนโยน ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามุมมองในลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ในบทกวี <ซันอิง> ของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ (คนเดียวกับที่ฝากผลงานอันโดดเด่น <เหมยฮวา> ที่ Storyฯ เคยเขียนไปแล้ว) มีการบรรยายเปรียบเปรยอิงฮวาดุจสตรีที่เอียงอายหลบอยู่ใต้เงาไม้และเบ่งบานหลังดอกไม้อื่น แต่เมื่อลมวสันต์โชยก็พัดพากลิ่นหอมขจรขจายให้ความงามเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน

    จะเห็นได้ว่า ในวัฒนธรรมจีนนั้น ความหมายของดอกอิงฮวาคล้ายคลึงกับซากุระในวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือเป็นตัวแทนแห่งความไม่จีรัง ความบริสุทธิ์ และความอ่อนหวาน

    แต่ในความคล้ายคลึงก็มีความแตกต่าง เพราะซากุระในญี่ปุ่นแฝงไว้ด้วยความหวังท่ามกลางความไม่จีรังในชีวิต แต่โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ รู้สึกว่าบทกวีเกี่ยวกับอิงฮวาของจีนมักแฝงไว้ด้วยความเศร้า หากจะกล่าวว่าดอกบ๊วยเป็นตัวแทนแห่งความงามที่คงทน ดอกอิงฮวาก็คงเป็นตัวแทนแห่งความงามที่เปราะบาง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    รูปภาพจาก: พี่ชายของ Storyฯ เอง
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://news.bjd.com.cn/2022/04/08/10066983.shtml
    https://www.baike.com/wikiid/4777101092071907963?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=32kicegvg8m000
    https://www.163.com/dy/article/HV0LDNRE05418YI9.html

    #อิงฮวา #ซากุระจีน
    สวัสดีค่ะ Storyฯ หายไปตามรอยซากุระมา จำได้ว่าตอนที่เคยเล่าถึงความหมายของดอกเหมยในวัฒนธรรมจีน มีเพื่อนเพจถามถึงดอกซากุระด้วย วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เพื่อนเพจคงทราบดีว่าดอกซากุระเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีคนกล่าวถึงความหมายของมันต่อคนญี่ปุ่นว่าจริงแล้วคือ Rebirth หรือการเกิดใหม่ กล่าวคือการยอมรับความไม่จีรังในชีวิตแต่ยังเปี่ยมด้วยความหวังว่าสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นใหม่ เฉกเช่นดอกซากุระที่บานให้ชื่นชมเพียงไม่นานก็ร่วงโรยแต่แล้วก็จะผลิใหม่และเบ่งบานให้ชมอีกเรื่อยไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายความหมาย เช่น ความสำเร็จ หัวใจที่เข้มแข็ง ความรัก ความบริสุทธิ์ และความอ่อนโยน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนให้อารมณ์แห่งความหวังและความสุข แล้วที่จีนล่ะ? ดอกซากุระมีชื่อจีนว่า ‘อิงฮวา’ (樱花) หรือโบราณเคยเรียกว่า ‘อิงเถา’ แต่มีการระบุชัดว่าไม่ใช่ดอกท้อ (เถาฮวา) เฉพาะในประเทศจีนมีกว่าสี่สิบสายพันธุ์ เชื่อว่ามีการเริ่มปลูกต้นอิงฮวาในเขตพระราชฐานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น แต่แพร่สู่บ้านเรือนสามัญชนและพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยราชวงศ์ถัง (บ้างก็ว่าในช่วงสมัยถังนี่เองที่ อิงฮวาหรือซากุระถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่น) ต่อมาในสมัยซ่งเหนือคนหันมานิยมดอกเหมยมากกว่า ทำให้ดอกอิงฮวาถูกกล่าวขานถึงน้อยลง ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับอิงฮวามีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือภาพวาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดอกบ๊วยหรือดอกท้อที่ดูจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผลงานมากกว่า แรกเริ่มเลยในงานประพันธ์ต่างๆ จะเรียกมันว่า ‘ซันอิง’ หมายถึงต้นอิงฮวาที่โตตามป่าเขา โดยบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับอิงฮวาคือในสมัยราชวงศ์ใต้ ประพันธ์โดยเสิ่นเยวี้ย (ค.ศ. 441-513) เป็นการบรรยายถึงดอกซันอิงบานรับฤดูใบไม้ผลิ คงจะกล่าวได้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่ดอกอิงฮวาถูกโยงเข้ากับการมาเยือนของวสันตฤดู ในสมัยถังมีบทกวีเกี่ยวกับดอกอิงฮวามากกว่ายุคสมัยอื่น บ่งบอกถึงความนิยมในสมัยนั้น โดยนักการเมืองไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) ได้สร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกอิงฮวาไว้หลายบท แต่ผลงานของเขามักบ่งบอกถึงอารมณ์แห่งความเสียดายยามบุปผาโรยรา ทว่าแฝงไว้ซึ่งความหวังเพราะซันอิงยังจะคงอยู่และผลิบานใหม่ท่ามกลางป่าเขา โดยผลงานเหล่านี้สะท้อนถึงชีวิตทางการเมืองที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของเขา อิงฮวากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ในช่วงยุคสมัยถังเช่นเดียวกัน มีการกล่าวถึงธรรมเนียมการหักกิ่งอิงฮวามอบให้กันยามคู่รักต้องจากลา โดยใช้อิงฮวาเป็นตัวแทนแห่งความคนึงหา และในหลายบทกวีในยุคนั้น ใช้อิงฮวาเปรียบเปรยถึงความคิดถึงและความอ้างว้าง ดุจฉากดอกอิงฮวาร่วงโรยโปรยพลิ้วในสายลม Storyฯ ขอยกตัวอย่างจากบทกวี <หักกิ่งบุปผามอบอำลา> ของหยวนเจิ่นในสมัยถัง (ขออภัยหากแปลไม่สละสลวย) ที่กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของสตรียามต้องส่งชายคนรักจากไป: “ส่งท่านใต้ร่มเงาอิงเถา ใจวสันต์ฝากไว้ในกิ่ง ที่ใดชวนให้คำนึงถึงที่สุด นั่นคือป่าอิงเถาอันดารดาษ” ต่อมาอิงฮวากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเพศที่อ่อนหวานและอ่อนโยน ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามุมมองในลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ในบทกวี <ซันอิง> ของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ (คนเดียวกับที่ฝากผลงานอันโดดเด่น <เหมยฮวา> ที่ Storyฯ เคยเขียนไปแล้ว) มีการบรรยายเปรียบเปรยอิงฮวาดุจสตรีที่เอียงอายหลบอยู่ใต้เงาไม้และเบ่งบานหลังดอกไม้อื่น แต่เมื่อลมวสันต์โชยก็พัดพากลิ่นหอมขจรขจายให้ความงามเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน จะเห็นได้ว่า ในวัฒนธรรมจีนนั้น ความหมายของดอกอิงฮวาคล้ายคลึงกับซากุระในวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือเป็นตัวแทนแห่งความไม่จีรัง ความบริสุทธิ์ และความอ่อนหวาน แต่ในความคล้ายคลึงก็มีความแตกต่าง เพราะซากุระในญี่ปุ่นแฝงไว้ด้วยความหวังท่ามกลางความไม่จีรังในชีวิต แต่โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ รู้สึกว่าบทกวีเกี่ยวกับอิงฮวาของจีนมักแฝงไว้ด้วยความเศร้า หากจะกล่าวว่าดอกบ๊วยเป็นตัวแทนแห่งความงามที่คงทน ดอกอิงฮวาก็คงเป็นตัวแทนแห่งความงามที่เปราะบาง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) รูปภาพจาก: พี่ชายของ Storyฯ เอง Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://news.bjd.com.cn/2022/04/08/10066983.shtml https://www.baike.com/wikiid/4777101092071907963?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=32kicegvg8m000 https://www.163.com/dy/article/HV0LDNRE05418YI9.html #อิงฮวา #ซากุระจีน
    樱花 花开花谢皆诗意的早春花木_北京日报网
    我国野生樱花品种最多 樱属植物广泛分布于北半球的温带与亚热带地区。亚洲、欧洲、北美洲均有分布,但主要集中在东亚地区。中国的西南、华南、长江流域、华北、东北地区,俄罗斯、日本、朝鲜一线,以及缅甸、不丹...
    0 Comments 0 Shares 579 Views 0 Reviews
  • ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์

    วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก

    เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี

    แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย

    แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้

    - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/)
    - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ)
    - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ
    - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน

    หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://wang-tobeboss.com/archives/1449
    https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837
    https://www.lzs100.com/post/565.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354

    #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์ วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้ - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/) - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ) - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://wang-tobeboss.com/archives/1449 https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837 https://www.lzs100.com/post/565.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354 #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    PASAJEEN.COM
    คัมภีร์ภาษาจีน สามอักษร 三字经 | ภาษาจีน.คอม "เปิดโลกอักษรจีน เปิดโลกภาษาจีน"
    เสน่ห์ของ 三字经 อยู่ที่การท่องทีละ 3 คำ และแม้มีการแบ่งคำ แบ่ง 3 คำๆก็จริง ยังแยกเป็นคู่ๆ สังเกตุจากเครื่องหมายวรรคตอน โดย 3 ตัวแรก อาจบอกสาเหตุ 3 ตัวหลังบอกผล หรือ 3 ตัวแรก อาจบอกอะไรสักอย่าง 3 ตัวหลังขยายความ คู่ ที่ 1 人之初,性本善。คู่ที่ 1 3 ตัวแรกบอกว่า กำเนิดของมนุษย์ หรือธรรมชาติดั้งเดิมของคน 3 ตัวหลังบอกว่า พื้นฐานจิตใจมีเมตตากรุณา คู่ ที่ 2 性相近,习相远。 3 ตัวแรกบอกว่า จิตใจอารมณ์มนุษย์ทุกคนธรรมชาติให้มาใกล้เคียง 3 ตัวหลังบอกว่า การฝึกหัด (อาจดีหรือเลว อยู่ที่สิ่งแวดล้อม) ทำให้คนห่างไกลกัน คนเราพื้นฐานล้วนคล้ายคลึงกันคือเป็นคนดี แต่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนแตกต่างกัน อันนี้เป็นความเชื่อ ที่นำไปสู่ทัศนคติ การอบรม ลัทธิต่างๆอีกมากมาย บางระบบอย่างฝรั่ง
    0 Comments 0 Shares 684 Views 0 Reviews
  • ในหลวง พระราชินี ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูร้อน ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

    วันที่ 14 มีนาคม 2568
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง
    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    ในหลวง พระราชินี ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูร้อน ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร วันที่ 14 มีนาคม 2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    Like
    Love
    4
    0 Comments 0 Shares 347 Views 0 Reviews
  • มีการขุดภาพถ่าย “คิมแซรน” ขณะยืนรอลิฟท์อยู่กับชายคนหนึ่ง เมื่อปี 2017 โดยชาวเน็ตต่างเชื่อว่าชายคนนั้นคือ “คิมซูฮยอน”

    มีการขุดภาพถ่ายจากอินสตาแกรมที่ชื่อว่า sae_ron_daily นำมาแชร์ว่อนเน็ตกันอีกครั้ง โดยเป็นภาพที่ คิมแซรน ยืนอยู่หน้าลิฟท์ในชุดเสื่อคลุมกันหนาวสีดำ ขณะที่ชายที่ยืนด้านข้างใส่เสื่อคลุมกันหนาวสีแดง โดยดูจากลักษณะต่างพากันคาดว่าคนในภาพคือ คิมซูฮยอน แม้ว่าศีรษะของเขาจะก้มหลบและพิงอยู่กับกำแพง จนยากจะระบุตัวตน แต่หลายๆคนก็มีความเห็นตรงกันว่า

    “เห็นแค่หู กับรูปทรงหัวของเขา คนที่เป็นแฟนคลับ คิมซูฮยอน เห็นปุ๊บรู้ปั๊บทันที”

    อย่างไรก็ตามชาวเน็ตบางส่วนยังลังเล โดยแสดงความเห็นว่า “ตอนนั้น แซรน ยังมักจะไปไหนมาไหนกับแม่ ไม่ได้ไปกับผู้จัดการ มันดูเหมือนจะเป็นเขานะ แต่มันก็มีโอกาสได้ว่าอาจจะไม่ใช่”

    รูปภาพดังกล่าวถูกโพสต์ลงในอินสตาแกรมของแฟนคลับที่สร้างขึ้นเพื่อติดตาม คิมแซรน ทำให้เชื่อว่า แฟนคลับของนักแสดงสาวน่าจะรู้เรื่องความสัมพันธ์ของทั้งคู่มานานตั้งแต่ก่อนเป็นข่าวฉาวแล้ว และภาพดังกล่าวถูกโพสต์มานานตั้งแต่ปี 2017

    จึงเป็นการตอกย้ำข่าวที่ คิมซูฮยอน น่าจะคบหากับ คิมแซรน ที่เด็กกว่าเขา 12 ปี ตั้งแต่เธอยังเป็นผู้เยาว์ ตามที่ คิมแซรน เคยระบุว่า คบกันตั้งแต่ปี 2015 - 2021 ไม่ใช่เริ่มคบกันตอนปี 2019 ตามที่ต้นสังกัด Gold Medalist เคยแถลงไว้

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000025362

    #MGROnline #คิมแซรน #คิมซูฮยอน
    มีการขุดภาพถ่าย “คิมแซรน” ขณะยืนรอลิฟท์อยู่กับชายคนหนึ่ง เมื่อปี 2017 โดยชาวเน็ตต่างเชื่อว่าชายคนนั้นคือ “คิมซูฮยอน” • มีการขุดภาพถ่ายจากอินสตาแกรมที่ชื่อว่า sae_ron_daily นำมาแชร์ว่อนเน็ตกันอีกครั้ง โดยเป็นภาพที่ คิมแซรน ยืนอยู่หน้าลิฟท์ในชุดเสื่อคลุมกันหนาวสีดำ ขณะที่ชายที่ยืนด้านข้างใส่เสื่อคลุมกันหนาวสีแดง โดยดูจากลักษณะต่างพากันคาดว่าคนในภาพคือ คิมซูฮยอน แม้ว่าศีรษะของเขาจะก้มหลบและพิงอยู่กับกำแพง จนยากจะระบุตัวตน แต่หลายๆคนก็มีความเห็นตรงกันว่า • “เห็นแค่หู กับรูปทรงหัวของเขา คนที่เป็นแฟนคลับ คิมซูฮยอน เห็นปุ๊บรู้ปั๊บทันที” • อย่างไรก็ตามชาวเน็ตบางส่วนยังลังเล โดยแสดงความเห็นว่า “ตอนนั้น แซรน ยังมักจะไปไหนมาไหนกับแม่ ไม่ได้ไปกับผู้จัดการ มันดูเหมือนจะเป็นเขานะ แต่มันก็มีโอกาสได้ว่าอาจจะไม่ใช่” • รูปภาพดังกล่าวถูกโพสต์ลงในอินสตาแกรมของแฟนคลับที่สร้างขึ้นเพื่อติดตาม คิมแซรน ทำให้เชื่อว่า แฟนคลับของนักแสดงสาวน่าจะรู้เรื่องความสัมพันธ์ของทั้งคู่มานานตั้งแต่ก่อนเป็นข่าวฉาวแล้ว และภาพดังกล่าวถูกโพสต์มานานตั้งแต่ปี 2017 • จึงเป็นการตอกย้ำข่าวที่ คิมซูฮยอน น่าจะคบหากับ คิมแซรน ที่เด็กกว่าเขา 12 ปี ตั้งแต่เธอยังเป็นผู้เยาว์ ตามที่ คิมแซรน เคยระบุว่า คบกันตั้งแต่ปี 2015 - 2021 ไม่ใช่เริ่มคบกันตอนปี 2019 ตามที่ต้นสังกัด Gold Medalist เคยแถลงไว้ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000025362 • #MGROnline #คิมแซรน #คิมซูฮยอน
    0 Comments 0 Shares 309 Views 0 Reviews
  • ในหลวง ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน ถวายพระแก้วมรกต
    14 มีนาคม 2568 - เวลา 17.34 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง ฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง
    ในหลวง ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน ถวายพระแก้วมรกต 14 มีนาคม 2568 - เวลา 17.34 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง ฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 303 Views 0 Reviews
  • Congatec เปิดตัว ท่อความร้อนแบบใช้สารอะซิโตน (Acetone-based heat pipe) สำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำถึง -40 องศาเซลเซียส เช่น บริเวณขั้วโลกหรือที่สูงที่เย็นจัด

    ทำไมต้องใช้อะซิโตนแทนน้ำ? ท่อความร้อนทั่วไปมักใช้ "น้ำ" เป็นของเหลวที่ดูดซับและถ่ายเทความร้อน เนื่องจากน้ำมีคุณสมบัติดูดความร้อนได้ดีเยี่ยม แต่ในอุณหภูมิติดลบ น้ำจะแข็งตัวและอาจทำลายระบบระบายความร้อน ในขณะที่อะซิโตนมีจุดเยือกแข็งต่ำมาก ทำให้สามารถใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมหนาวจัดโดยไม่เกิดการแช่แข็ง

    คุณสมบัติที่สำคัญ:
    - ระบบระบายความร้อนด้วยอะซิโตนสามารถทำงานได้ในช่วงอุณหภูมิ -40°C ถึง 85°C
    - ช่วยลดความจำเป็นในการออกแบบระบบที่ซับซ้อนและแพง เพราะสามารถติดตั้งกับโมดูลคอมพิวเตอร์แบบสำเร็จรูป (COM) ของ Congatec เช่น COM-HPC และ COM-HPC mini

    เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพสูงสำหรับการใช้งานในสถานที่ที่มีความหนาวเย็น เช่น การวิจัยในขั้วโลก หรือในโกดังแช่เย็น นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปปรับใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการความแม่นยำและความเสถียรในอุณหภูมิติดลบ

    https://www.tomshardware.com/pc-components/cooling/congatec-shows-off-acetone-based-heat-pipe-cooling-solution-for-extremely-cold-environments
    Congatec เปิดตัว ท่อความร้อนแบบใช้สารอะซิโตน (Acetone-based heat pipe) สำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำถึง -40 องศาเซลเซียส เช่น บริเวณขั้วโลกหรือที่สูงที่เย็นจัด ทำไมต้องใช้อะซิโตนแทนน้ำ? ท่อความร้อนทั่วไปมักใช้ "น้ำ" เป็นของเหลวที่ดูดซับและถ่ายเทความร้อน เนื่องจากน้ำมีคุณสมบัติดูดความร้อนได้ดีเยี่ยม แต่ในอุณหภูมิติดลบ น้ำจะแข็งตัวและอาจทำลายระบบระบายความร้อน ในขณะที่อะซิโตนมีจุดเยือกแข็งต่ำมาก ทำให้สามารถใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมหนาวจัดโดยไม่เกิดการแช่แข็ง คุณสมบัติที่สำคัญ: - ระบบระบายความร้อนด้วยอะซิโตนสามารถทำงานได้ในช่วงอุณหภูมิ -40°C ถึง 85°C - ช่วยลดความจำเป็นในการออกแบบระบบที่ซับซ้อนและแพง เพราะสามารถติดตั้งกับโมดูลคอมพิวเตอร์แบบสำเร็จรูป (COM) ของ Congatec เช่น COM-HPC และ COM-HPC mini เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพสูงสำหรับการใช้งานในสถานที่ที่มีความหนาวเย็น เช่น การวิจัยในขั้วโลก หรือในโกดังแช่เย็น นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปปรับใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการความแม่นยำและความเสถียรในอุณหภูมิติดลบ https://www.tomshardware.com/pc-components/cooling/congatec-shows-off-acetone-based-heat-pipe-cooling-solution-for-extremely-cold-environments
    0 Comments 0 Shares 186 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ จากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid036pXf9b2bDT6Pj7hz6t8U4hTYrJTrubWu3xRGJ26wogVFFnWAsTm6iQm7PECsHvbFl) วันนี้มาคุยต่อกันเกี่ยวกับอีกหนึ่งวลีเด็ดจากเรื่องเดียวกัน คือ ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วง... ตามเวลาของมัน’ (ฮวาคายฮวาลั่วจื้อโหย่วสือ / 花开花落自有时)

    จริงๆ แล้วความหมายของมันค่อนข้างตรงตัวเพราะสะท้อนถึงวัฏจักรแห่งชีวิต และเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงคิดว่ามันมาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    วลีนี้ผันแปรมาจากวรรคหนึ่งในบทกวีในสมัยซ่งใต้ เป็นบทกวีของนางคณิกาหลวงเหยียนหรุ่ยผู้เลื่องชื่อด้านบทกวี มีชื่อว่า ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ (不是爱风尘 / มิได้รักในชีวิตนางคณิกา) และประโยคดั้งเดิมคือ ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน’ (คือร่วงก่อนแล้วค่อยบาน ไม่ใช่บานแล้วจึงร่วงแบบที่เราคุ้นเคย)

    ประวัติของเหยียนหรุ่ยไม่แน่ชัด บ้างว่านางถูกพ่อเลี้ยงหลอกมาขาย บ้างว่าพ่อของนางเคยเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่ต้องโทษ แต่ที่ชัดเจนคือนางได้รับการศึกษามาอย่างดีก่อนจะกลายมาเป็นนางคณิกาหลวง (คือถูกเรียกใช้ร้องรำทำเพลงในงานเลี้ยงต่างๆ ของขุนนาง) ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย นางได้รับการชื่นชมจากขุนนางและผู้มีหน้ามีตาในสังคมไม่น้อยด้วยบทกวีที่โดดเด่น หนึ่งในนั้นคือถังจงโหย่วผู้ว่าราชการเขตเจ๋อตง จนต่อมานางถูกจับเข้าคุกไปทรมานด้วยข้อหาที่ว่านางค้างคืนในจวนของถังจงโหย่ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาผิดถังจงโหย่ว (ซึ่งเป็นการผิดกฎการใช้บริการนางคณิกาหลวง) แต่นางไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหา จนสุดท้ายเรื่องถึงในวังและได้มีการแต่งตั้งเยวี่ยหลิน (ลูกชายของเยวี่ยเฟยหรืองักฮุย) มาไต่สวนจนพบว่าจริงแล้วมันเป็นการแย่งชิงอำนาจของขุนนางโดยมีนางเป็นหมากตาหนึ่ง นางจึงได้รับการปลดปล่อย และต่อมาในบั้นปลายชีวิตนางกินดีอยู่ดีในฐานะอนุภรรยาอันเป็นที่รักของพ่อม่ายเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง

    เรื่องราวตอนที่นางถูกใส่ร้ายจนจำคุกและถูกทรมานเจียนตายนั้น เป็นคดีความที่โด่งดัง เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1182 และตอนที่นางถูกนำมาไต่สวนอีกครั้งโดยเยวี่ยหลินนั้น ด้วยความที่เยวี่ยหลินได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านโคลงกลอนของนางและสืบรู้เรื่องราวที่แท้จริงจนตั้งใจจะปล่อยนางอยู่แล้ว จึงตั้งเงื่อนไขให้นางเล่าความจริงผ่านบทกวีเพื่อแลกกับอิสรภาพ และ ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ คือบทกวีบทนั้น

    ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ มีแปดวรรค เป็นบทกลอนที่ใช้การเปรียบเปรยและอุปมาอุไมยไม่น้อย สาระใจความสรุปได้ว่า: อย่าได้คิดดูถูกว่านางเป็นสตรีใฝ่ต่ำ นางไม่ได้ต้องการมาเป็นนางคณิกา แต่มีเหตุผิดพลาดทำให้ชีวิตผกผัน ชะตาชีวิตของนางตอนนี้ขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลินแล้ว นางอยากหลุดพ้นจากชีวิตนางคณิกานี้ แต่ยังจำต้องทนแม้ฝืนใจเต็มที และสิ่งที่โหยหาคืออิสรภาพ

    ฟังดูเหมือนไม่น่ามีอะไรเกี่ยวกับ ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ ใช่ไหม?

    ประโยค ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ นี้ ในบทกวีเดิมเขียนไว้ว่า ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน ล้วนแล้วแต่สุริยเทพจะกำหนด’ (花落花开自有时, 总赖东君主) เป็นการอุปมาอุปไมยว่า ไม่ว่านางจะตกอับจำคุก (บุปผาโรยร่วง) หรือจะพ้นคุกยืนหยัดขึ้นได้ใหม่ (บุปผาผลิบาน) อาจดูคล้ายเป็นเรื่องที่ชะตาชีวิตกำหนดไว้แล้ว แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลิน (สุริยเทพ) ดังนั้นประโยคนี้ในความหมายดั้งเดิมของมันคือการรำพันถึงชะตาชีวิตที่ตกอยู่ในมือคนอื่น ตนเองไม่อาจกำหนดได้ สะท้อนถึงความท้อแท้ในใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับในธรรมชาติของมันและอ้อนวอนขอความเห็นใจ

    ว่ากันว่าบทกวีนี้มิเพียงทำให้นางหลุดจากคุกแต่ยังได้รับการปลดชื่อออกจากทะเบียนทาสซึ่งเป็นสถานะของนางคณิกาหลวงอีกด้วย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงสถานะทาสของนางคณิกาหลวงแล้วในเรื่องของ ซ่งอิ่นจาง ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) เป็นการได้รับอิสรภาพสองแบบเลยทีเดียว

    วรรคที่ใช้ดอกไม้อุปมาอุปไมยถึงชะตาชีวิตนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายด้วยความไพเราะของมัน และต่อมาถูกผันเปลี่ยนมาเป็น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ (คือบานแล้วจึงโรย ตามวัฏจักรธรรมชาติ) และมีการแต่งวรรคต่ออีกหลากหลาย เช่น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน รักเกิดรักดับไม่มีผู้ใดบังคับได้’ เป็นต้น แต่ล้วนเป็นประโยคที่กล่าวถึงการดับการเกิดตามครรลองธรรมชาติเพื่อสะท้อนความไม่จีรัง และนิยมนำมาใช้กับความรักหรือความสัมพันธ์ระหว่างคน และนี่ก็เป็นบริบทและความหมายที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นี่เอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.vogue.com.tw/culture/content-42286
    https://kknews.cc/history/5x9gyb8.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/严蕊/892616
    http://www.gaosan.com/gaokao/262749.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_753d1a95cd9e.aspx
    http://book.sina.com.cn/excerpt/rwws/2017-04-14/1446/doc-ifyeimqc3679324-p2.shtml

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #เหยียนหรุ่ย #บุปผาผลิบาน #ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน
    สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ จากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid036pXf9b2bDT6Pj7hz6t8U4hTYrJTrubWu3xRGJ26wogVFFnWAsTm6iQm7PECsHvbFl) วันนี้มาคุยต่อกันเกี่ยวกับอีกหนึ่งวลีเด็ดจากเรื่องเดียวกัน คือ ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วง... ตามเวลาของมัน’ (ฮวาคายฮวาลั่วจื้อโหย่วสือ / 花开花落自有时) จริงๆ แล้วความหมายของมันค่อนข้างตรงตัวเพราะสะท้อนถึงวัฏจักรแห่งชีวิต และเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงคิดว่ามันมาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ วลีนี้ผันแปรมาจากวรรคหนึ่งในบทกวีในสมัยซ่งใต้ เป็นบทกวีของนางคณิกาหลวงเหยียนหรุ่ยผู้เลื่องชื่อด้านบทกวี มีชื่อว่า ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ (不是爱风尘 / มิได้รักในชีวิตนางคณิกา) และประโยคดั้งเดิมคือ ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน’ (คือร่วงก่อนแล้วค่อยบาน ไม่ใช่บานแล้วจึงร่วงแบบที่เราคุ้นเคย) ประวัติของเหยียนหรุ่ยไม่แน่ชัด บ้างว่านางถูกพ่อเลี้ยงหลอกมาขาย บ้างว่าพ่อของนางเคยเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่ต้องโทษ แต่ที่ชัดเจนคือนางได้รับการศึกษามาอย่างดีก่อนจะกลายมาเป็นนางคณิกาหลวง (คือถูกเรียกใช้ร้องรำทำเพลงในงานเลี้ยงต่างๆ ของขุนนาง) ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย นางได้รับการชื่นชมจากขุนนางและผู้มีหน้ามีตาในสังคมไม่น้อยด้วยบทกวีที่โดดเด่น หนึ่งในนั้นคือถังจงโหย่วผู้ว่าราชการเขตเจ๋อตง จนต่อมานางถูกจับเข้าคุกไปทรมานด้วยข้อหาที่ว่านางค้างคืนในจวนของถังจงโหย่ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาผิดถังจงโหย่ว (ซึ่งเป็นการผิดกฎการใช้บริการนางคณิกาหลวง) แต่นางไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหา จนสุดท้ายเรื่องถึงในวังและได้มีการแต่งตั้งเยวี่ยหลิน (ลูกชายของเยวี่ยเฟยหรืองักฮุย) มาไต่สวนจนพบว่าจริงแล้วมันเป็นการแย่งชิงอำนาจของขุนนางโดยมีนางเป็นหมากตาหนึ่ง นางจึงได้รับการปลดปล่อย และต่อมาในบั้นปลายชีวิตนางกินดีอยู่ดีในฐานะอนุภรรยาอันเป็นที่รักของพ่อม่ายเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง เรื่องราวตอนที่นางถูกใส่ร้ายจนจำคุกและถูกทรมานเจียนตายนั้น เป็นคดีความที่โด่งดัง เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1182 และตอนที่นางถูกนำมาไต่สวนอีกครั้งโดยเยวี่ยหลินนั้น ด้วยความที่เยวี่ยหลินได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านโคลงกลอนของนางและสืบรู้เรื่องราวที่แท้จริงจนตั้งใจจะปล่อยนางอยู่แล้ว จึงตั้งเงื่อนไขให้นางเล่าความจริงผ่านบทกวีเพื่อแลกกับอิสรภาพ และ ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ คือบทกวีบทนั้น ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ มีแปดวรรค เป็นบทกลอนที่ใช้การเปรียบเปรยและอุปมาอุไมยไม่น้อย สาระใจความสรุปได้ว่า: อย่าได้คิดดูถูกว่านางเป็นสตรีใฝ่ต่ำ นางไม่ได้ต้องการมาเป็นนางคณิกา แต่มีเหตุผิดพลาดทำให้ชีวิตผกผัน ชะตาชีวิตของนางตอนนี้ขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลินแล้ว นางอยากหลุดพ้นจากชีวิตนางคณิกานี้ แต่ยังจำต้องทนแม้ฝืนใจเต็มที และสิ่งที่โหยหาคืออิสรภาพ ฟังดูเหมือนไม่น่ามีอะไรเกี่ยวกับ ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ ใช่ไหม? ประโยค ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ นี้ ในบทกวีเดิมเขียนไว้ว่า ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน ล้วนแล้วแต่สุริยเทพจะกำหนด’ (花落花开自有时, 总赖东君主) เป็นการอุปมาอุปไมยว่า ไม่ว่านางจะตกอับจำคุก (บุปผาโรยร่วง) หรือจะพ้นคุกยืนหยัดขึ้นได้ใหม่ (บุปผาผลิบาน) อาจดูคล้ายเป็นเรื่องที่ชะตาชีวิตกำหนดไว้แล้ว แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลิน (สุริยเทพ) ดังนั้นประโยคนี้ในความหมายดั้งเดิมของมันคือการรำพันถึงชะตาชีวิตที่ตกอยู่ในมือคนอื่น ตนเองไม่อาจกำหนดได้ สะท้อนถึงความท้อแท้ในใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับในธรรมชาติของมันและอ้อนวอนขอความเห็นใจ ว่ากันว่าบทกวีนี้มิเพียงทำให้นางหลุดจากคุกแต่ยังได้รับการปลดชื่อออกจากทะเบียนทาสซึ่งเป็นสถานะของนางคณิกาหลวงอีกด้วย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงสถานะทาสของนางคณิกาหลวงแล้วในเรื่องของ ซ่งอิ่นจาง ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) เป็นการได้รับอิสรภาพสองแบบเลยทีเดียว วรรคที่ใช้ดอกไม้อุปมาอุปไมยถึงชะตาชีวิตนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายด้วยความไพเราะของมัน และต่อมาถูกผันเปลี่ยนมาเป็น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ (คือบานแล้วจึงโรย ตามวัฏจักรธรรมชาติ) และมีการแต่งวรรคต่ออีกหลากหลาย เช่น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน รักเกิดรักดับไม่มีผู้ใดบังคับได้’ เป็นต้น แต่ล้วนเป็นประโยคที่กล่าวถึงการดับการเกิดตามครรลองธรรมชาติเพื่อสะท้อนความไม่จีรัง และนิยมนำมาใช้กับความรักหรือความสัมพันธ์ระหว่างคน และนี่ก็เป็นบริบทและความหมายที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นี่เอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.vogue.com.tw/culture/content-42286 https://kknews.cc/history/5x9gyb8.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/严蕊/892616 http://www.gaosan.com/gaokao/262749.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_753d1a95cd9e.aspx http://book.sina.com.cn/excerpt/rwws/2017-04-14/1446/doc-ifyeimqc3679324-p2.shtml #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #เหยียนหรุ่ย #บุปผาผลิบาน #ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน
    0 Comments 0 Shares 769 Views 0 Reviews
  • มารักกันดีไหมถ้าห้องใจยังว่าง
    มาร่วมทางเดินเที่ยวไม่เปลี่ยวเหงา
    เกิดมาหนึ่งหนนะคนเรา
    อย่าให้ตายไปเปล่ามันจะไม่เข้าที
    มากอดกันดีไหมอุ่นใจดีนะ
    กอดแล้วจะหายหนาวหายโศกเศร้าเลยนี่
    เขาให้กายมากอดหากไม่กอดก็ไม่ดี
    ต้องให้มีการกอดจึงปลอดภัย
    มารักกันเถิดหนอแล้วก็กอด
    อย่าอิดออดเลยที่รักจงอย่าได้ผลักไส
    อยู่เปล่าเปล่าปรี้ปรี้ไม่ดีอะไร
    ตัดสินใจเถอะจ้าอย่าได้ช้าเลยเธอ
    มารักกันดีไหมถ้าห้องใจยังว่าง มาร่วมทางเดินเที่ยวไม่เปลี่ยวเหงา เกิดมาหนึ่งหนนะคนเรา อย่าให้ตายไปเปล่ามันจะไม่เข้าที มากอดกันดีไหมอุ่นใจดีนะ กอดแล้วจะหายหนาวหายโศกเศร้าเลยนี่ เขาให้กายมากอดหากไม่กอดก็ไม่ดี ต้องให้มีการกอดจึงปลอดภัย มารักกันเถิดหนอแล้วก็กอด อย่าอิดออดเลยที่รักจงอย่าได้ผลักไส อยู่เปล่าเปล่าปรี้ปรี้ไม่ดีอะไร ตัดสินใจเถอะจ้าอย่าได้ช้าเลยเธอ
    0 Comments 0 Shares 192 Views 0 Reviews
  • เหลือเชื่อ! แค่เอาเท้าไปแช่ลงในน้ำเกลือ ผลที่ได้แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ยังไม่สามารถอธิบายได้
    สำหรับคนรักสุขภาพ!!! เทรนด์ยอดฮิตที่กำลังมาแรงในตอนนี้นอกจากการออกกำลังกายแล้วนั้นคือ “แช่เท้าด้วยน้ำเกลือ” ที่ใครก็สามารถทำได้แบบไม่ต้องเสียเงินเข้าสปาเลย แถมได้ประโยชน์มากมายเกินคาด!!
    ประโยชน์ของการแช่เท้าด้วยน้ำเกลือ
    1. ช่วยดึงสิ่งที่ตกค้างในร่างกายออก
    2. ช่วยดึงพลังงานลบที่เกิดจากอารมณ์ที่ไม่ดีและไฟฟ้าไร้สายที่ยิงผ่านร่างกายมนุษย์ออก
    3. หลังจากที่ดึงพลังงานลบออกจากร่างกายแล้วเราก็ใช้วิธีการรักษาได้ตามปกติ ทั้งนี้วิธีการนี้จะเป็นการช่วยดึงพลังงานลบออกจากร่างกาย ก่อนการรักษา ทำให้รักษาได้ง่ายขึ้น
    4. เมื่อแช่เท้าด้วยน้ำเกลือ บ่อยๆ ร่างกายจึงไม่มีพลังงานลบที่ก่อโรคหลงเหลืออยู่อีก และนี่เองจึงทำให้สุขภาพของเราดีขึ้น
    วิธีการแช่เท้าด้วยน้ำเกลือ
    1. นำกะละมังขนาดที่สามารถวางเท้าแช่ได้-ใส่เกลือทะเล(เกลือเม็ดใหญ่)ลงไป3-4ช้อนโต๊ะเติมน้ำลงไปให้ท่วมตาตุ่มควรเป็นน้ำอุ่น แล้วใส่น้ำส้มสายชู ลงไป 1 ช้อนโต๊ะ เพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกจากเท้า
    2. เอาเท้าเหยียบเกลือที่ยังละลายไม่หมดได้
    3. ทำจิตใจให้สงบ หรือเปิดเพลงบรรเลงเบาๆ นั่งอยู่ประมาณ 25-30 นาที
    4. หลังจากนั้นให้ล้างเท้าด้วยน้ำเปล่า
    การแช่เท้าด้วยน้ำเกลือนั้นคนปกติ สามารถทำได้ทำอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง ส่วนคนป่วย ทำทุกวันก่อนนอน
    ทั้งนี้การแช่เท้า ไม่ว่าจะเป็นน้ำเกลือหรือน้ำอุ่นหรือไม่ก็ตาม ยังมีข้อดีอีกหลายอย่างดังนี้!
    1. ลดอาการปวดบวมที่เท้า
    2. ลดอาการปวดท้อง
    3. กระตุ้นความต้านทานของร่างกาย
    4. ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น
    5. ป้องกันอาการมือเท้าเย็นโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว
    6. ลดอาการอักเสบของจมูกและลำคอ
    7. ช่วยให้อาการปวดหัวหรือปวดประจำเดือนลดลง
    8. ลดอาการคั่งของเลือดที่ส่วนอื่นๆ
    9. ทำให้นอนหลับง่ายตลอดคืน เป็นต้น
    ขอมอบให้ทุกท่านเพื่อดูแลสุขภาพกันด้วยความห่วงใยกันและกัน
    เหลือเชื่อ! แค่เอาเท้าไปแช่ลงในน้ำเกลือ ผลที่ได้แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ สำหรับคนรักสุขภาพ!!! เทรนด์ยอดฮิตที่กำลังมาแรงในตอนนี้นอกจากการออกกำลังกายแล้วนั้นคือ “แช่เท้าด้วยน้ำเกลือ” ที่ใครก็สามารถทำได้แบบไม่ต้องเสียเงินเข้าสปาเลย แถมได้ประโยชน์มากมายเกินคาด!! ประโยชน์ของการแช่เท้าด้วยน้ำเกลือ 1. ช่วยดึงสิ่งที่ตกค้างในร่างกายออก 2. ช่วยดึงพลังงานลบที่เกิดจากอารมณ์ที่ไม่ดีและไฟฟ้าไร้สายที่ยิงผ่านร่างกายมนุษย์ออก 3. หลังจากที่ดึงพลังงานลบออกจากร่างกายแล้วเราก็ใช้วิธีการรักษาได้ตามปกติ ทั้งนี้วิธีการนี้จะเป็นการช่วยดึงพลังงานลบออกจากร่างกาย ก่อนการรักษา ทำให้รักษาได้ง่ายขึ้น 4. เมื่อแช่เท้าด้วยน้ำเกลือ บ่อยๆ ร่างกายจึงไม่มีพลังงานลบที่ก่อโรคหลงเหลืออยู่อีก และนี่เองจึงทำให้สุขภาพของเราดีขึ้น วิธีการแช่เท้าด้วยน้ำเกลือ 1. นำกะละมังขนาดที่สามารถวางเท้าแช่ได้-ใส่เกลือทะเล(เกลือเม็ดใหญ่)ลงไป3-4ช้อนโต๊ะเติมน้ำลงไปให้ท่วมตาตุ่มควรเป็นน้ำอุ่น แล้วใส่น้ำส้มสายชู ลงไป 1 ช้อนโต๊ะ เพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกจากเท้า 2. เอาเท้าเหยียบเกลือที่ยังละลายไม่หมดได้ 3. ทำจิตใจให้สงบ หรือเปิดเพลงบรรเลงเบาๆ นั่งอยู่ประมาณ 25-30 นาที 4. หลังจากนั้นให้ล้างเท้าด้วยน้ำเปล่า การแช่เท้าด้วยน้ำเกลือนั้นคนปกติ สามารถทำได้ทำอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง ส่วนคนป่วย ทำทุกวันก่อนนอน ทั้งนี้การแช่เท้า ไม่ว่าจะเป็นน้ำเกลือหรือน้ำอุ่นหรือไม่ก็ตาม ยังมีข้อดีอีกหลายอย่างดังนี้! 1. ลดอาการปวดบวมที่เท้า 2. ลดอาการปวดท้อง 3. กระตุ้นความต้านทานของร่างกาย 4. ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น 5. ป้องกันอาการมือเท้าเย็นโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว 6. ลดอาการอักเสบของจมูกและลำคอ 7. ช่วยให้อาการปวดหัวหรือปวดประจำเดือนลดลง 8. ลดอาการคั่งของเลือดที่ส่วนอื่นๆ 9. ทำให้นอนหลับง่ายตลอดคืน เป็นต้น ขอมอบให้ทุกท่านเพื่อดูแลสุขภาพกันด้วยความห่วงใยกันและกัน
    0 Comments 0 Shares 415 Views 0 Reviews
  • ขอกอดหน่อยนะดวงใจขอได้ไหมจ๊ะ
    กอดก่อนที่จะห่างใจก่อนสิ้นไฟฝัน
    ก่อนจะพลัดก่อนจะพรากก่อนจะจากกัน
    อยากให้วันวันนี้ยังคงมีใจ
    ขอกอดหน่อยเถิดดวงใจก่อนจะไกลลับ
    ต่อแต่นี้นับคืนวันคงจะหวั่นไหว
    จะเนืองนองน้ำตาโหยหาดวงใจ
    อยู่แห่งหนไหนเหน็บหนาวมีแต่ร้าวราน
    ขอกอดหน่อยนะดวงใจขออุ่นไอรัก
    ก่อนที่จะหักใจลงก่อนสิ้นสงสาร
    กอดแน่นแน่นแทนการกอดตลอดกาล
    ขอกอดก่อนวันอวสานตำนานใจ
    ขอกอดหน่อยนะดวงใจขอได้ไหมจ๊ะ กอดก่อนที่จะห่างใจก่อนสิ้นไฟฝัน ก่อนจะพลัดก่อนจะพรากก่อนจะจากกัน อยากให้วันวันนี้ยังคงมีใจ ขอกอดหน่อยเถิดดวงใจก่อนจะไกลลับ ต่อแต่นี้นับคืนวันคงจะหวั่นไหว จะเนืองนองน้ำตาโหยหาดวงใจ อยู่แห่งหนไหนเหน็บหนาวมีแต่ร้าวราน ขอกอดหน่อยนะดวงใจขออุ่นไอรัก ก่อนที่จะหักใจลงก่อนสิ้นสงสาร กอดแน่นแน่นแทนการกอดตลอดกาล ขอกอดก่อนวันอวสานตำนานใจ
    0 Comments 0 Shares 124 Views 0 Reviews
  • “อิ๊งค์” เตรียมหนาว “บิ๊กป้อม” นับวันรออภิปรายนำทีมถล่มเอง “ไพบูลย์” เผย พร้อมงัด 4 ประเด็นฉาว สนามอัลไพน์ -กาสิโน-MOU44-นักโทษเทวดาชั้น 14 มั่นใจสะเทือนเก้าอี้นายกฯ เชื่อถึงขั้นยุบสภาในเวลาอันใกล้

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000021051

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “อิ๊งค์” เตรียมหนาว “บิ๊กป้อม” นับวันรออภิปรายนำทีมถล่มเอง “ไพบูลย์” เผย พร้อมงัด 4 ประเด็นฉาว สนามอัลไพน์ -กาสิโน-MOU44-นักโทษเทวดาชั้น 14 มั่นใจสะเทือนเก้าอี้นายกฯ เชื่อถึงขั้นยุบสภาในเวลาอันใกล้ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000021051 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Haha
    Like
    Love
    6
    0 Comments 0 Shares 998 Views 0 Reviews
  • ”อิ๊งค์" เตรียมหนาว “บิ๊กป้อม” นับวันรออภิปรายนำทีมถล่มเอง "ไพบูลย์" เผยพร้อมงัด 4 ประเด็นฉาว สนามอัลไพน์ -กาสิโน-MOU44 -นักโทษเทวดาชั้น 14 มั่นใจสะเทือนเก้าอี้นายกฯ เชื่อถึงขั้นยุบสภาในเวลาอันใกล้

    วันนี้ (4มี.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค และ สส. พรรคพลังประชารัฐ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ภายกลังการประชุม ก่อนเดินทางกลับ ผู้สื่อข่าว ได้พยายามสอบถามถึงการไปออกรายการโทรทัศน์ ช่องหนึ่ง โดยมีการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ซึ่ง พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ”ก็ให้สัมภาษณ์ซิ เพราะเขาเชิญไป ก็ไปตอบคำถามของเขา”

    ผู้สื่อข่าวถามถึง การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร จะเป็นผู้นำอภิปรายด้วยตัวเองหรือไม่ ซึ่งพล.อ.ประวิตร ปฎิเสธตอบคำถามดังกล่าวว่า จะเป็นผู้นำอภิปรายหรือไม่ และจะอภิปรายในประเด็นอะไร

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000021051

    #MGROnline #อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี #บิ๊กป้อม
    ”อิ๊งค์" เตรียมหนาว “บิ๊กป้อม” นับวันรออภิปรายนำทีมถล่มเอง "ไพบูลย์" เผยพร้อมงัด 4 ประเด็นฉาว สนามอัลไพน์ -กาสิโน-MOU44 -นักโทษเทวดาชั้น 14 มั่นใจสะเทือนเก้าอี้นายกฯ เชื่อถึงขั้นยุบสภาในเวลาอันใกล้ • วันนี้ (4มี.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค และ สส. พรรคพลังประชารัฐ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ภายกลังการประชุม ก่อนเดินทางกลับ ผู้สื่อข่าว ได้พยายามสอบถามถึงการไปออกรายการโทรทัศน์ ช่องหนึ่ง โดยมีการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ซึ่ง พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ”ก็ให้สัมภาษณ์ซิ เพราะเขาเชิญไป ก็ไปตอบคำถามของเขา” • ผู้สื่อข่าวถามถึง การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร จะเป็นผู้นำอภิปรายด้วยตัวเองหรือไม่ ซึ่งพล.อ.ประวิตร ปฎิเสธตอบคำถามดังกล่าวว่า จะเป็นผู้นำอภิปรายหรือไม่ และจะอภิปรายในประเด็นอะไร • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000021051 • #MGROnline #อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี #บิ๊กป้อม
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 608 Views 0 Reviews
  • วงการพระ...ไม่เคย...เงียบ..ขนาดนี้มาก่อน...ตลอด 30 กว่าปีที่ผู้เขียน คลุกคลี และสัมผัสมา....ยกตัวอย่าง...สนามพระ..ที่ได้ชื่อว่า มีคนคลุมผ้าจองโต๊ะ ..หมดเร็วที่สุดในประเทศไทย
    ..ในบรรดาสนามพระด้วยกัน....ตอนนี้...โล่ง..แบบ...นั่งหนาว..กันทีเดียว....ทั้งเก๊..ทั้งแท้ ..ทั้งหลัก..ทั้งย่อย...เงียบสนิท...!!..อ๋อ ไม่เกี่ยวกับเรื่อง สายวิทย์ ทฤษฎีอะไรนั่นหรอก...มันเกี่ยวกับ..เศรษฐกิจ...!! ..อะไรที่เป็น "ส่วนเกิน" ในชีวิต...ที่ รอได้...ต้องรอไปก่อน...ตอนนี้จะหากินใช้ให้พอ....ยังไม่ง่าย...!!
    วงการพระ...ไม่เคย...เงียบ..ขนาดนี้มาก่อน...ตลอด 30 กว่าปีที่ผู้เขียน คลุกคลี และสัมผัสมา....ยกตัวอย่าง...สนามพระ..ที่ได้ชื่อว่า มีคนคลุมผ้าจองโต๊ะ ..หมดเร็วที่สุดในประเทศไทย ..ในบรรดาสนามพระด้วยกัน....ตอนนี้...โล่ง..แบบ...นั่งหนาว..กันทีเดียว....ทั้งเก๊..ทั้งแท้ ..ทั้งหลัก..ทั้งย่อย...เงียบสนิท...!!..อ๋อ ไม่เกี่ยวกับเรื่อง สายวิทย์ ทฤษฎีอะไรนั่นหรอก...มันเกี่ยวกับ..เศรษฐกิจ...!! ..อะไรที่เป็น "ส่วนเกิน" ในชีวิต...ที่ รอได้...ต้องรอไปก่อน...ตอนนี้จะหากินใช้ให้พอ....ยังไม่ง่าย...!!
    0 Comments 0 Shares 149 Views 0 Reviews
  • เพลงจีนกวางตุ้ง 铁血丹心 ( ถิด-ฮวิด-ต๊าน-ซั้ม )
    แปลเป็นภาษาไทย ได้ว่า "หัวใจเหล็ก"
    เป็นเพลงประกอบซีรี่ย์ มังกรหยก ที่ทุกคนคุ้นเคย
    -----------------------------------
    ฉัน เป็น ชาวจีน(กวางตุ้ง) เข้าใจ+แปลเนื้อร้องเป็นภาษาไทย
    ได้ใจความดังนี้...
    ราวกับเคยเห็นมาก่อนในความฝัน
    依稀往夢似曾見
    คลื่นในใจของฉันปรากฏขึ้น
    心內波瀾現
    ละทิ้งความโศกเศร้าทางโลก
    拋開世事斷愁怨
    มาพร้อมกับคุณไปยังจุดสิ้นสุดของโลก
    相伴到天邊
    ไล่หญ้าไปทุกทิศ ทะเลทรายกว้างใหญ่
    (ลมหนาวพัด ท้องฟ้าก็ซีด)
    逐草四方沙漠蒼茫(冷風吹 天蒼蒼)
    ความกลัวหิมะและน้ำค้างแข็งกระทบหน้าของฉัน
    (เถาวัลย์และต้นไม้เชื่อมโยงกัน)
    那懼雪霜撲面(藤樹 相連)
    แร้งยิงธนูและควบม้าออกไปนอกกำแพงเมืองจีน
    (ลมและทรายรุนแรง พื้นที่รกร้างอันกว้างใหญ่)
    射雕引弓塞外奔馳(猛風沙 野茫茫)
    ชีวิตนี้ยิ้มอย่างภาคภูมิใจไม่เคยเบื่อ
    (เถาวัลย์ และต้นไม้สองต้นอ้อยอิ่ง)
    笑傲此生無厭倦(藤樹兩纏綿)
    ฟ้าเป็นสีฟ้า ท้องทุ่งกว้างใหญ่
    (ควรรู้ว่ารักก็เหมือนน้ำไหล)
    天蒼蒼 野茫茫(應知愛意是流水)
    การเปลี่ยนแปลงทุกประเภท
    萬般變化(斬不斷理還亂)
    ผ่านภัยมานับร้อยก็อยู่ในใจฉันเช่นกัน
    身經百劫也在心間
    ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกระหว่างพระคุณและความชอบธรรม
    恩義兩難斷
    ไล่หญ้าไปทุกทิศ ทะเลทรายกว้างใหญ่
    (ลมหนาวพัด ท้องฟ้าก็ซีด)
    逐草四方沙漠蒼茫(冷風吹 天蒼蒼)
    กลัวหิมะและน้ำค้างแข็ง
    (เถาวัลย์และต้นไม้เชื่อมต่อกัน)
    那懼雪霜撲面(藤樹相連)
    แร้งยิงธนูและควบม้าออกไปนอกกำแพงเมืองจีน
    (ลมและทรายรุนแรง พื้นที่รกร้างอันกว้างใหญ่)
    射雕引弓塞外奔馳(猛風沙 野茫茫)
    ชีวิตนี้ยิ้มอย่างภาคภูมิใจไม่เคยเบื่อ
    (เถาวัลย์ และต้นไม้สองต้นอ้อยอิ่ง)
    笑傲此生無厭倦(藤樹兩纏綿)
    ฟ้าเป็นสีฟ้า ท้องทุ่งกว้างใหญ่
    (ควรรู้ว่ารักก็เหมือนน้ำไหล)
    天蒼蒼 野茫茫(應知愛意是流水)
    การเปลี่ยนแปลงต่างๆ
    萬般變化 (斬不斷理還亂)
    ผ่านภัยมานับร้อยก็อยู่ในใจฉันเช่นกัน
    身經百劫也在心間
    ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกระหว่างพระคุณและความชอบธรรม
    恩義兩難斷
    หลังจากภัยพิบัติหลายร้อยครั้งในร่างกายของฉัน ฉันยังคงอยู่ในใจของฉัน
    身經百劫也在心間
    ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกระหว่างพระคุณและความชอบธรรม
    恩義兩難斷
    เพลงจีนกวางตุ้ง 铁血丹心 ( ถิด-ฮวิด-ต๊าน-ซั้ม ) แปลเป็นภาษาไทย ได้ว่า "หัวใจเหล็ก" เป็นเพลงประกอบซีรี่ย์ มังกรหยก ที่ทุกคนคุ้นเคย ----------------------------------- ฉัน เป็น ชาวจีน(กวางตุ้ง) เข้าใจ+แปลเนื้อร้องเป็นภาษาไทย ได้ใจความดังนี้... ราวกับเคยเห็นมาก่อนในความฝัน 依稀往夢似曾見 คลื่นในใจของฉันปรากฏขึ้น 心內波瀾現 ละทิ้งความโศกเศร้าทางโลก 拋開世事斷愁怨 มาพร้อมกับคุณไปยังจุดสิ้นสุดของโลก 相伴到天邊 ไล่หญ้าไปทุกทิศ ทะเลทรายกว้างใหญ่ (ลมหนาวพัด ท้องฟ้าก็ซีด) 逐草四方沙漠蒼茫(冷風吹 天蒼蒼) ความกลัวหิมะและน้ำค้างแข็งกระทบหน้าของฉัน (เถาวัลย์และต้นไม้เชื่อมโยงกัน) 那懼雪霜撲面(藤樹 相連) แร้งยิงธนูและควบม้าออกไปนอกกำแพงเมืองจีน (ลมและทรายรุนแรง พื้นที่รกร้างอันกว้างใหญ่) 射雕引弓塞外奔馳(猛風沙 野茫茫) ชีวิตนี้ยิ้มอย่างภาคภูมิใจไม่เคยเบื่อ (เถาวัลย์ และต้นไม้สองต้นอ้อยอิ่ง) 笑傲此生無厭倦(藤樹兩纏綿) ฟ้าเป็นสีฟ้า ท้องทุ่งกว้างใหญ่ (ควรรู้ว่ารักก็เหมือนน้ำไหล) 天蒼蒼 野茫茫(應知愛意是流水) การเปลี่ยนแปลงทุกประเภท 萬般變化(斬不斷理還亂) ผ่านภัยมานับร้อยก็อยู่ในใจฉันเช่นกัน 身經百劫也在心間 ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกระหว่างพระคุณและความชอบธรรม 恩義兩難斷 ไล่หญ้าไปทุกทิศ ทะเลทรายกว้างใหญ่ (ลมหนาวพัด ท้องฟ้าก็ซีด) 逐草四方沙漠蒼茫(冷風吹 天蒼蒼) กลัวหิมะและน้ำค้างแข็ง (เถาวัลย์และต้นไม้เชื่อมต่อกัน) 那懼雪霜撲面(藤樹相連) แร้งยิงธนูและควบม้าออกไปนอกกำแพงเมืองจีน (ลมและทรายรุนแรง พื้นที่รกร้างอันกว้างใหญ่) 射雕引弓塞外奔馳(猛風沙 野茫茫) ชีวิตนี้ยิ้มอย่างภาคภูมิใจไม่เคยเบื่อ (เถาวัลย์ และต้นไม้สองต้นอ้อยอิ่ง) 笑傲此生無厭倦(藤樹兩纏綿) ฟ้าเป็นสีฟ้า ท้องทุ่งกว้างใหญ่ (ควรรู้ว่ารักก็เหมือนน้ำไหล) 天蒼蒼 野茫茫(應知愛意是流水) การเปลี่ยนแปลงต่างๆ 萬般變化 (斬不斷理還亂) ผ่านภัยมานับร้อยก็อยู่ในใจฉันเช่นกัน 身經百劫也在心間 ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกระหว่างพระคุณและความชอบธรรม 恩義兩難斷 หลังจากภัยพิบัติหลายร้อยครั้งในร่างกายของฉัน ฉันยังคงอยู่ในใจของฉัน 身經百劫也在心間 ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกระหว่างพระคุณและความชอบธรรม 恩義兩難斷
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 493 Views 13 0 Reviews
  • กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเริ่มต้นฤดูร้อน ปี พ.ศ. 2568ประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูหนาวและเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 โดยอุณหภูมิสูงสุดบริเวณประเทศไทยตอนบนสูงขึ้นและมีอากาศร้อน ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้หรือลมฝ่ายใต้พัดปกคลุม ซึ่งเป็นการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย อย่างไรก็ตามบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าต่อไปอีกระยะหนึ่ง และคาดว่าฤดูร้อนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2568
    กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเริ่มต้นฤดูร้อน ปี พ.ศ. 2568ประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูหนาวและเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 โดยอุณหภูมิสูงสุดบริเวณประเทศไทยตอนบนสูงขึ้นและมีอากาศร้อน ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้หรือลมฝ่ายใต้พัดปกคลุม ซึ่งเป็นการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย อย่างไรก็ตามบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าต่อไปอีกระยะหนึ่ง และคาดว่าฤดูร้อนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2568
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 219 Views 0 Reviews
  • ผมไม่เคยลืม“ส.ต.ท.วรวุฒิ มุ่งสันติ”คนทำชั่วลอบยิงผมแล้วหนีไปอยู่เขมร ผมรอ15ปีเต็มๆ .เป็นเรื่องที่ผมไม่เคยลืม ให้ผมตายไป ผมก็ยังจะไม่ลืม แม้ว่าเวลาจะผ่านไป 15 ปีแล้วก็ตาม อีกเดือนกว่าๆ จะครบรอบ16ปีวันที่ 17 เมษายน 2552 ของการลอบสังหารผมบริเวณใกล้ๆ สี่แยกบางขุนพรหม ระหว่างเดินทางไปจัดรายการ Good Morning Thailand ทางสถานีโทรทัศน์ ASTV ที่ถนนพระอาทิตย์แล้ว แม้เวลาจะผ่านไป 15 ปีกว่าแล้ว แต่เหตุการณ์ยังเหมือนเกิดขึ้นเมื่อวานนี้อยู่เลย.ผู้ต้องหาลอบยิงผมนั้นมีอยู่ 3 คน จ.ส.อ.ปัญญา ศรีเหรา อดีตทหารหน่วยรบพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ ตอนนี้เสียชีวิตแล้วตั้งแต่ปี 2556 และ ส.ต.ท.วรวุฒิ มุ่งสันติ หรือนายอรรถพล ปาทาน เจ้าหน้าที่ศูนย์ข่าว กองบัญชาการปราบปรามยาเสพติดซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการดักฟังโทรศัพท์อย่างมาก อดีตเคยเป็นคนขับรถของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ครั้งเป็นผู้บัญชาการปราบปรามยาเสพติด และ ส.อ.สมชาย บุญนาค สังกัดกองร้อย กองบังคับการกรมรบพิเศษ ค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี.ล่าสุด มีความคืบหน้าเรื่องหนึ่งในผู้ต้องหาที่ยิงผม คือ ส.ต.ท.วรวุฒิ มุ่งสันติ หรือชื่อ นายอรรถพล ปาทาน จากแหล่งข่าวที่ผมมีอยู่ในประเทศกัมพูชา เขาบอกว่าเขาเพิ่งเจอมือปืนที่ยิงผมเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ทำงานอยู่ที่ประเทศกัมพูชา เขาระบุว่า ส.ต.ท.วรวุฒิ ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศกัมพูชาเป็นสิบปีแล้ว เปลี่ยนชื่อตัวเองว่า "ฉัตร" มีบัตรประชาชนเป็นพลเมืองกัมพูชาไปแล้ว มีครอบครัว มีภรรยาเป็นชาวกัมพูชา มีลูกด้วยกันแต่เลิกรากันไปแล้ว และส่งเสียเงินมาเลี้ยงดูลูกเมียที่อยู่ฝั่งไทย ฐานะการเงินของ ส.ต.ท.วรวุฒิ ในปัจจุบันถือว่าใช้ได้ เพราะทำงานในบริษัทรับเหมาก่อสร้างอยู่ประเทศกัมพูชา มีรถราใช้ เป็นรถยนต์อีซูซุ รุ่น MUX ตอนนี้เห็นว่ารับงานก่อสร้างต่อเติมอยู่ที่กาสิโนฝั่งปอยเปต ของคุณวัฒนา อัศวเหม ที่โดนไฟไหม้ใหญ่ไปเมื่อปลายปี 2565 สายสืบผมเก็บข้อมูลเชิงลึกเห็นว่า มีนายทุนที่เป็นคนไทย มีแบ็กคอยดูแลอยู่ ชื่อ เสี่ยพัฒน์ เป็นเจ้าของโรงงานผลิตน้ำตาลในไทย คอยให้ความช่วยเหลือ เมื่อมกราคม 2568 ปีใหม่ที่ผ่านมา ส.ต.ท.วรวุฒิ บ่นอิจฉาเพื่อนๆว่าได้กลับบ้านเกิด ส่วนตัวคุณไม่มีปัญญาที่จะกลับบ้านเหมือนคนอื่นเขา เบอร์โทรศัพท์ที่ลงด้วยเลขหมาย 197 เป็นของคุณใช่ไหม ตอบผมหน่อย รอรับสายผมนะ ผมรอคุณมา 15 ปีเต็มๆ ผมอยากจะทราบว่านายคุณให้ค่าหัวผมเท่าไรวะ คุณถึงรับงานมายิงผม .ผมเคยพูดไปหลายครั้งแล้วว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ผมจะต้องร้องขอความเป็นธรรมกับรัฐบาลทุกๆ รัฐบาล คือเรื่องความเป็นธรรมของการดำเนินคดีกับคนที่ลอบฆ่าผม ซึ่งผมรู้ว่าใครเป็นคนลงมือและใครเป็นคนสั่ง ผมก็จะทำเรื่องร้องเรียนไปยังท่านนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.ตร. ว่าบุคคลที่อยู่ภายใต้หมายจับนี้เป็นคนที่ยิงผม และผมมีหลักฐานชัดเจนว่าหลบอยู่ที่กัมพูชา ไม่ทราบว่าท่านนายกรัฐมนตรีท่านจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไรต่อไป.คนๆนี้มีหมายจับอยู่แล้ว เวรกรรมตามทันจริงๆ จากนี้ไปเขาคงไม่มีความสุขถ้ายังมีชีวิตอยู่ เพราะว่าผมรู้ตัวตน รู้แหล่งที่อยู่เขาเรียบร้อยแล้ว เชื่อผมสิ คนทำชั่วหนีไม่พ้นหรอก ในที่สุดจะต้องโดนเวรกรรมลงโทษ ช้าหรือเร็วเท่านั้น "สวัสดีคุณฉัตร" คุณฉัตรครับ ผมยังไม่ลืมคุณ.เผอิญมีตำรวจที่ให้สัมภาษณ์เรื่องผมโดนยิงกับ หนุ่ม คงกระพัน ทำเป็นรู้เรื่องดี คุยโวโอ้อวดแล้วบอกว่าเป็นคนทำคดีนี้เอง รู้ทุกอย่างนั้น ก็เป็นคนที่ติดตามคดีการเสียชีวิตของน้องแตงโม ภัทริดา ตำรวจคนนี้ชื่อเล่นว่า "ยาว" พล.ต.ต.วีระศักดิ์ มีนะวาณิชย์ อดีตเคยเป็นสืบนครบาล ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนภูธรภาค 8 แต่ชอบมีคนอวยว่าเป็นเชอร์ล็อกโฮล์มของเมืองไทย ส่วนตัวเองก็อวดอ้างว่าไม่มีคดีไหนที่จับไม่ได้ และเผอิญว่าลูกเขยของ พล.ต.ต.วีระศักดิ์ ชื่ออะไร รู้ไหมท่านผู้ชม ? ชื่อว่า นายตนุภัทร เลิศทวีวิทย์ หรือ นายปอ หนึ่งในจำเลยคดีการเสียชีวิตของน้องแตงโมนั่นเอง เผอิญเห็นคุยนักคุยหนาว่าคุณทำคดีที่ลอบยิงผม รู้ทุกเรื่อง แล้วก็เคยบอกว่าไม่มีคดีไหนที่จับไม่ได้ น่าเสียดายที่คุณเกษียณอายุไปนานแล้ว 13-14 ปี ไม่อย่างนั้นผมก็อยากให้ไปตามเรื่องให้ผมหน่อย เพราะเป็นเรื่องที่ผมไม่มีวันจะลืม
    ผมไม่เคยลืม“ส.ต.ท.วรวุฒิ มุ่งสันติ”คนทำชั่วลอบยิงผมแล้วหนีไปอยู่เขมร ผมรอ15ปีเต็มๆ .เป็นเรื่องที่ผมไม่เคยลืม ให้ผมตายไป ผมก็ยังจะไม่ลืม แม้ว่าเวลาจะผ่านไป 15 ปีแล้วก็ตาม อีกเดือนกว่าๆ จะครบรอบ16ปีวันที่ 17 เมษายน 2552 ของการลอบสังหารผมบริเวณใกล้ๆ สี่แยกบางขุนพรหม ระหว่างเดินทางไปจัดรายการ Good Morning Thailand ทางสถานีโทรทัศน์ ASTV ที่ถนนพระอาทิตย์แล้ว แม้เวลาจะผ่านไป 15 ปีกว่าแล้ว แต่เหตุการณ์ยังเหมือนเกิดขึ้นเมื่อวานนี้อยู่เลย.ผู้ต้องหาลอบยิงผมนั้นมีอยู่ 3 คน จ.ส.อ.ปัญญา ศรีเหรา อดีตทหารหน่วยรบพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ ตอนนี้เสียชีวิตแล้วตั้งแต่ปี 2556 และ ส.ต.ท.วรวุฒิ มุ่งสันติ หรือนายอรรถพล ปาทาน เจ้าหน้าที่ศูนย์ข่าว กองบัญชาการปราบปรามยาเสพติดซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการดักฟังโทรศัพท์อย่างมาก อดีตเคยเป็นคนขับรถของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ครั้งเป็นผู้บัญชาการปราบปรามยาเสพติด และ ส.อ.สมชาย บุญนาค สังกัดกองร้อย กองบังคับการกรมรบพิเศษ ค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี.ล่าสุด มีความคืบหน้าเรื่องหนึ่งในผู้ต้องหาที่ยิงผม คือ ส.ต.ท.วรวุฒิ มุ่งสันติ หรือชื่อ นายอรรถพล ปาทาน จากแหล่งข่าวที่ผมมีอยู่ในประเทศกัมพูชา เขาบอกว่าเขาเพิ่งเจอมือปืนที่ยิงผมเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ทำงานอยู่ที่ประเทศกัมพูชา เขาระบุว่า ส.ต.ท.วรวุฒิ ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศกัมพูชาเป็นสิบปีแล้ว เปลี่ยนชื่อตัวเองว่า "ฉัตร" มีบัตรประชาชนเป็นพลเมืองกัมพูชาไปแล้ว มีครอบครัว มีภรรยาเป็นชาวกัมพูชา มีลูกด้วยกันแต่เลิกรากันไปแล้ว และส่งเสียเงินมาเลี้ยงดูลูกเมียที่อยู่ฝั่งไทย ฐานะการเงินของ ส.ต.ท.วรวุฒิ ในปัจจุบันถือว่าใช้ได้ เพราะทำงานในบริษัทรับเหมาก่อสร้างอยู่ประเทศกัมพูชา มีรถราใช้ เป็นรถยนต์อีซูซุ รุ่น MUX ตอนนี้เห็นว่ารับงานก่อสร้างต่อเติมอยู่ที่กาสิโนฝั่งปอยเปต ของคุณวัฒนา อัศวเหม ที่โดนไฟไหม้ใหญ่ไปเมื่อปลายปี 2565 สายสืบผมเก็บข้อมูลเชิงลึกเห็นว่า มีนายทุนที่เป็นคนไทย มีแบ็กคอยดูแลอยู่ ชื่อ เสี่ยพัฒน์ เป็นเจ้าของโรงงานผลิตน้ำตาลในไทย คอยให้ความช่วยเหลือ เมื่อมกราคม 2568 ปีใหม่ที่ผ่านมา ส.ต.ท.วรวุฒิ บ่นอิจฉาเพื่อนๆว่าได้กลับบ้านเกิด ส่วนตัวคุณไม่มีปัญญาที่จะกลับบ้านเหมือนคนอื่นเขา เบอร์โทรศัพท์ที่ลงด้วยเลขหมาย 197 เป็นของคุณใช่ไหม ตอบผมหน่อย รอรับสายผมนะ ผมรอคุณมา 15 ปีเต็มๆ ผมอยากจะทราบว่านายคุณให้ค่าหัวผมเท่าไรวะ คุณถึงรับงานมายิงผม .ผมเคยพูดไปหลายครั้งแล้วว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ผมจะต้องร้องขอความเป็นธรรมกับรัฐบาลทุกๆ รัฐบาล คือเรื่องความเป็นธรรมของการดำเนินคดีกับคนที่ลอบฆ่าผม ซึ่งผมรู้ว่าใครเป็นคนลงมือและใครเป็นคนสั่ง ผมก็จะทำเรื่องร้องเรียนไปยังท่านนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.ตร. ว่าบุคคลที่อยู่ภายใต้หมายจับนี้เป็นคนที่ยิงผม และผมมีหลักฐานชัดเจนว่าหลบอยู่ที่กัมพูชา ไม่ทราบว่าท่านนายกรัฐมนตรีท่านจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไรต่อไป.คนๆนี้มีหมายจับอยู่แล้ว เวรกรรมตามทันจริงๆ จากนี้ไปเขาคงไม่มีความสุขถ้ายังมีชีวิตอยู่ เพราะว่าผมรู้ตัวตน รู้แหล่งที่อยู่เขาเรียบร้อยแล้ว เชื่อผมสิ คนทำชั่วหนีไม่พ้นหรอก ในที่สุดจะต้องโดนเวรกรรมลงโทษ ช้าหรือเร็วเท่านั้น "สวัสดีคุณฉัตร" คุณฉัตรครับ ผมยังไม่ลืมคุณ.เผอิญมีตำรวจที่ให้สัมภาษณ์เรื่องผมโดนยิงกับ หนุ่ม คงกระพัน ทำเป็นรู้เรื่องดี คุยโวโอ้อวดแล้วบอกว่าเป็นคนทำคดีนี้เอง รู้ทุกอย่างนั้น ก็เป็นคนที่ติดตามคดีการเสียชีวิตของน้องแตงโม ภัทริดา ตำรวจคนนี้ชื่อเล่นว่า "ยาว" พล.ต.ต.วีระศักดิ์ มีนะวาณิชย์ อดีตเคยเป็นสืบนครบาล ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนภูธรภาค 8 แต่ชอบมีคนอวยว่าเป็นเชอร์ล็อกโฮล์มของเมืองไทย ส่วนตัวเองก็อวดอ้างว่าไม่มีคดีไหนที่จับไม่ได้ และเผอิญว่าลูกเขยของ พล.ต.ต.วีระศักดิ์ ชื่ออะไร รู้ไหมท่านผู้ชม ? ชื่อว่า นายตนุภัทร เลิศทวีวิทย์ หรือ นายปอ หนึ่งในจำเลยคดีการเสียชีวิตของน้องแตงโมนั่นเอง เผอิญเห็นคุยนักคุยหนาว่าคุณทำคดีที่ลอบยิงผม รู้ทุกเรื่อง แล้วก็เคยบอกว่าไม่มีคดีไหนที่จับไม่ได้ น่าเสียดายที่คุณเกษียณอายุไปนานแล้ว 13-14 ปี ไม่อย่างนั้นผมก็อยากให้ไปตามเรื่องให้ผมหน่อย เพราะเป็นเรื่องที่ผมไม่มีวันจะลืม
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 797 Views 0 Reviews
More Results